“ชาว มจร” ไม่ทิ้งประชาชนยามยาก! “วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด-ศรีสะเกษ” ร่วมมือรัฐ สละห้องเรียน...

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 14 กรกฎาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    241955_th.jpg

    วันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2564 พระเมธีธรรมาจารย์ (เจ้าคุณประสาร) รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เปิดเผว่า ในสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักอยู่ในเวลานี้ โดยเฉพาะสำหรับกรุงเทพมานครและจังหวัดปริมณฑลที่มีมาตรการจาก ศบค.อย่างเข้มงวดในการออกนอกเคหสถานและปิดแคมป์คนงานทำให้ผู้คนหลั่งไหลกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้มีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กระจัดกระจายกันอยู่ตามพื้นที่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นเหตุให้โรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลประจำอำเภอมีเตียงไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ในขณะนี้ เช่น ในจังหวัดร้อยเอ็ด โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลสนามอีก 2 แห่งเต็มหมด แต่คนที่ติดเชื้อและยังรอเตียงยังมีอีกเป็นจำนวนมาก

    ผู้คนที่ติดเชื้อ ร้องขอความช่วยเหลือ รอความหวัง รอเตียง กลายเป็นทุกข์ของคนทั้งประเทศ เป็นภาพที่ไม่มีใครอยากเห็น ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหวัด ต่างวิ่งหาสถานที่เพื่อขอจัดตั้งโรงพยาบาลสนามกันอลหม่านไปหมด บางที่ก็น่าเห็นใจที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานที่ทางการ ท้องถิ่น ต่างปฎิเสธไม่ขอเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลสนาม ปฎิเสธด้วยเหตุผลต่างๆนาๆทั้งที่หน่วยงานเหล่านั้นล้วนได้รับงบประมาณจากภาครัฐซึ่งเป็นภาษีอากรของประชาชนทั้งประเทศ

    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี ได้ตระหนักถึงทุกข์ครั้งใหญ่ของคนในประเทศในครั้งนี้ จึงมีนโยบายให้วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ในสังกัดทั่วประเทศให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มกำลังและขอให้ทุกที่ทุกแห่งให้ความร่วมมือกับฝ่ายบ้านเมืองในแก้ปัญหาของประเทศชาติในครั้งนี้ เช่นจัดตั้งโรงทานแจกอาหารกระจายไปในทุกภูมิภาคของประเทศ บริจาคสิ่งของที่จำเป็นและขาดแคลนให้กับโรงพยาบาลสนาม เป็นต้น

    บัดนี้เมื่อทางการขาดแคลนสถานที่ตั้งโรงพยาบาลสนาม วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพระราชพรหมจริยคุณ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานกรรมการวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด พระครูวาปีจันทคุณ ผอ.วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าและนิสิตได้ร่วมใจกันเสียสละยกห้องประชุมใหญ่วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ดให้เป็นสถานที่ตั้งโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 4 ของจังหวัดเพื่อช่วยชีวิตประชาชนคนร้อยเอ็ดด้วยกัน

    ในส่วนของวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระอุดมปัญญาภรณ์ รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิตก็ได้ให้ความร่วมมือกับทางจังหวัดยินยอมให้จังหวัดมาเปิดเป็นโรงพยาบาลสนามเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและรักษาชีวิตประชาชนชาวศรีสะเกษ

    ในส่วนภาคเหนือ ทั้งวิทยาลัยสงฆ์ ปัตตานี สุราษฎร์ธานีและวิทยาเขตนครศรีธรรมราช ต่างก็เร่งทำงานช่วยเหลือประชาชนเท่าที่มีกำลังเพียงพออย่างเต็มกำลัง

    ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี วิทยาเขตหนองคาย ขอนแก่น อุบลราชธานี สุรินทร์ นครราชสีมา วิทยาลัยสงฆ์เลย ชัยภูมิ นครพนม บุรีรัมย์ มหาสารคาม ยินดีให้ความร่วมมือและขณะนี้ทุกแห่งก็ต่างทำโรงหรือบริจาคสิ่งของเพื่อบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้นในทุกที่ทุกแห่ง

    ภาคเหนือมีวิทยาเขตเชียงใหม่ แพร่ พะเยา นครสวรรค์ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน พุทธชินราช พิษณุโลก น่านเฉลิมพระเกียรติ ลำปาง เชียงราย พ่อขุนผาเมือง เพชรบูรณ์ พิจิตร อุทัยธานี ต่างก็ปฎิบัติกิจในการให้ความช่วยเหลือประชาชนเช่นเดียวกัน

    ภาคกลางวิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม วิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร ฉเชิงเทรา ราชบุรี พุทธปัญญาศรีทวารวดี วัดไร่ขิง สุพรรณบุรี ระยอง เพชรบุรี ชลบุรี กาญจนบุรี ต่างก็ทำงานหนักในเรื่องนี้ไม่แพ้กัน

    พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวด้วยว่า นี่คือภารกิจของชาวมหาจุฬาฯที่ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ และให้ใช้สถานทึ่เพื่อจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในคราวที่เพื่อนร่วมชาติมีความทุกข์และวิกฤติอย่างแสนสาหัส

    จังหวัดศรีสะเกษ ผุดแคมเปญ “ชมรมคนปรางค์กู่ไม่ทิ้งกัน” รองรับผู้ป่วยโควิดกลับคืนถิ่น

    0b8a3-e0b984e0b8a1e0b988e0b897e0b8b4e0b989e0b887e0b89be0b8a3e0b8b0e0b88ae0b8b2e0b88ae0b899e0b8a2.jpg
    ขณะเดียวกัน หลังจากรัฐบาลได้ประกาศมาตรการล๊อคดาวน์ และปิดแคมป์คนงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้ประชาชนจำนวนมากอพยพกลับคืนสู่ลำเนาของตนเอง และหนึ่งกลุ่มคนที่อพยพกลับบ้านมีกลุ่มคนที่ติดเชื้อโควิดด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะที่จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีแรงงานกลับคืนถิ่นเป็นจำนวนมาก

    นายชูชีพ สืบทรัพย์ สาธารณสุขอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า”อำเภอปรางค์กู่ มีผู้ติดเชื้อโควิดทั้งสามระดับ คือ แดง เหลือง และเขียว กลุ่มแดงจะถูกส่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ กลุ่มเหลืองจะส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลปรางค์กู่ ในขณะที่กลุ่มเขียวจะให้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนาม”

    ขณะที่ นายเทวศน์ มีศรี นายอำเภอปรางค์กู่ กล่าวว่า เพื่อเตรียมมาตรการรองรับผู้ติดเชื้อโควิดที่กลับคืนถิ่นเป็นจำนวนมากในขณะนี้ จะแยกผู้ติดเชื้อออกเป็นสามระดับ โดยเฉพาะตอนนี้ระดับสีเขียว ทาง มูลนิธิสุนีย์ อินฉัตร ได้มอบอาคารว่าง 1 หลัง รองรับผู้ป่วยระดับสีเขียว ขณะนี้ เครือข่ายอำเภอปรางค์กู่กำลังปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสม สำหรับพยาบาล ผู้ป่วยชาย และหญิง

    ทางด้าน พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ในฐานะผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวว่า ตอนนี้ตนเองกำลังระดมกำลังลูกศิษย์สาขาสันติศึกษา มจร และญาติโยมทั่วไป เพื่อจัดหาเตียงและที่นอนสำหรับผู้ป่วย 20 ชุด พัดลม 20 ชุด และกล้องวงจรปิด 6 ตัว เพื่ออำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยในพื้นที่เข้าออก

    จึงถือโอกาสนี้ เชิญชวนทุกท่านร่วมสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ และเครื่องอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ติดเชื้อโควิด ที่กำลังพักอาศัยอยู่ตามหมู่บ้าน เพื่อจะได้นำเข้ามารับการรักษาอย่างเป็นระบบต่อไป


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.banmuang.co.th/news/politic/241955
     

แชร์หน้านี้

Loading...