.oO เรื่องสั้น ปั้นแต่ง Oo.

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 22 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    เรื่องสั้น ปั้นแต่ง

    เกริ่นนำ


    welcome001-001-1-gif.gif


    เว็ปไซด์พลังจิต สร้อยฟ้ามาลารู้จักตั้งแต่เกือบจะเมื่อแรกๆ ก่อตั้งขึ้นมาได้มั้ง ที่หาเว็ปไซด์นี้เจอเพราะว่า จะหาข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติ การนั่งสมาธิ แต่สิ่งที่เจอคือ เรื่องราวของ สมาชิก คุณ เทวดา เรื่องวิชาสาม ก็ติดตามอ่านเรื่อยๆ มีทั้งสมาชิกที่เข้ามากล่าวหาว่าคุณเทวดา เห็นโต้กันไปโต้กันมา แต่ตอนนั้นเป็นแค่ผู้อ่านยังไม่ได้สมัครเป็นสมาชิก จนเวลาต่อมา ได้อ่านเจอกระทู้ เมื่อข้าพเจ้าขออโหสิกรรมพระนางเรือล่ม ซึ่งเป็นที่น่าสนใจในส่วนตัว จึงได้สมัครเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๐๐๘ ประมาณ ๔ ปีที่แล้ว ส่วนชื่อว่า " สร้อยฟ้ามาลา" นั้น เพื่อนๆ หลายๆ คนสงสัยว่าชื่อนี้มาจากไหน มาจากที่ว่าก่อนที่จะเป็นสมาชิกได้ดูภาพนางในวรรณคดีของอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต จึงได้ค้นหาชื่อนางในวรรณคดีใน google ก็ไปเจอชื่อของ นางสร้อยฟ้า กับ นางศรีมาลา เรื่องขุนช้างขุนแผน ก็เลยจับมารวมกันเป็น สร้อยฟ้ามาลา....

    ชื่อ สร้อยฟ้ามาลา นี้จึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๐๐๘ หรือปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และค้นหาแล้วไม่เคยเห็นใครใช้ชื่อนี้เลยนอกจากชื่อ สร้อยฟ้า , สร้อยมาลา จนกระทั่งเมื่อปีที่ผ่านมาได้ไปพบผู้ที่ใช้นามปากกา สร้อยฟ้ามาลา ในการแต่งนิยายรัก ในเว็ปไซด์ เด็ก D ซึ่งก็ได้เข้าไปทักท้วงแล้วแต่เขาก็ยังเพิกเฉยอยู่ จึงเกิดความสงสัยว่าชื่อนี้เขาคิดขึ้นมาเองหรือไม่ หรือมาเจอชื่อ สร้อยฟ้ามาลา จากเว็ปไซด์พลังจิต จนกระทั่งต้นปีนี้ ๒๕๕๕ มีเพื่อนสมาชิกได้เข้ามาล้อว่าแต่งนิยายเก่งจัง จึงเกิดความ งง ว่า สร้อยฟ้ามาลา ไปแต่งนิยายตั้งแต่เมื่อไหร่ ก็เอ่ะใจ เลยเข้า google หาข้อมูล จึงพบว่า สร้อยฟ้ามาลา เป็นผู้ที่แต่งนิยายรัก ออกตีพิมพ์เป็นหนังสือไปแล้ว มีจำหน่ายอยู่ตามร้านหนังสือหลายแห่ง จึงขอแจ้งให้เพื่อนๆ ทราบว่า สร้อยฟ้ามาลา ที่ถือกำเนิดจากเว็ปไซด์แห่งนี้ ไม่ใช่ผู้ที่แต่งนิยายรักเพราะว่าจินตนาการไม่บรรเจิดขนาดนั้น ถือว่าชั่งเขา ชื่อคนเหมือนกันก็เยอะแยะ ถ้าคิดขึ้นเองโดยไม่ได้ไปลอกใครมา ก็ชั่งเขาไปถือว่าความคิดตรงกันแต่ต่างกันคนละเวลา แต่ถ้าคิดเองไม่ได้แล้วลอกของคนอื่นมา ก็ปลงอนิจจัง.....


    เหตุที่ตั้งกระทู้ “เรื่องสั้น ปั้นแต่ง” นี้ จุดประสงค์เพื่อรวบรวมเรื่องราวที่สร้อยฟ้ามาลาได้รวบรวมข้อมูลแล้วนำไปตั้งกระทู้ต่างๆ ในห้องท่องเที่ยว – อาหารการกิน ซึ่งมีเสียงจากเพื่อนๆ ขอให้รวมกระทู้เพราะหาอ่านไม่เจอ กระจัดกระจ่ายกันไปตามวันเวลาที่ผ่านพ้น นั่งคิดอยู่นานว่าจะตั้งกระทู้ดีไหม หรือไม่ตั้งดี และจะตั้งไว้ที่ไหน ตกลงปลงใจว่าจะไว้ที่ห้องจักรวาลคู่ขนาน เกรงว่าจะเป็นการเปลืองทรัพยากรของเว็ป เดี๋ยวถูกแบน แต่ก็ได้ปรึกษากับท่านผู้ดูแลเว็ปบอร์ดบางท่าน บอกว่า น่าจะตั้งได้ งั้นก็ ตั้งเลยก็แล้วกัน....


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • attachment.gif
      attachment.gif
      ขนาดไฟล์:
      6.4 KB
      เปิดดู:
      102
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2022
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ส า ร บั ญ

    a.gif

    แผ่นดิน พระพุทธเจ้าหลวง
    ลงไว้เมื่อ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๑

    สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ราชวงศ์กรุงธนบุรี

    ลงไว้เมื่อ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๑


    a.gif

    ๑. เมื่อสาว สาว พลังจิต ไปเที่ยวอยุธยา
    หน้า ๑
    ลงไว้เมื่อ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑

    ๒.แบ่งปันบรรยากาศเที่ยวปีใหม่ กับสร้อยฟ้ามาลา
    หน้า ๒

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๒

    ๓. สร้อยฟ้ามาลาพาไปงานวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์
    หน้า ๒

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

    ๔.สร้อยฟ้ามาลา พาเที่ยว ตอน สาวสาวพิชิต เขาคิชฌกูฏ

    หน้าที่ ๒
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

    ๕.ทริปเหนือสุดแดนสยาม

    หน้าที่ ๒
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๒

    ๖ สร้อยฟ้ามาลา พาเที่ยววัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์

    หน้าที่ ๒
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒

    ๗.สร้อยฟ้ามาลาพาเที่ยว ตอน : ยามบ่ายที่พระนครศรีอยุธยา

    หน้าที่ ๓
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๒

    ๘.สร้อยฟ้ามาลาพาเที่ยว : ตอน วันวาร ณ เกาะเสม็ด

    หน้าที่ ๓
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒

    ๙.ตามหาความทรงจำที่ขาดหาย ตอน พระราชวังพญาไท

    หน้าที่ ๓
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๒

    ๑๐.ตามหาความทรงจำที่ขาดหาย ตอน พระราชวังบางปะอิน

    หน้าที่ ๕
    .ลงไว้เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๒

    ๑๑.สร้อยฟ้าฯ พาเที่ยว ตอน วัดโพธิสัตว์บรรพตนิมิต

    หน้าที่ ๗
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒

    ๑๒. โขนหน้าไฟ

    หน้าที่ ๘
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒

    ๑๓. เที่ยวกระจายบุญ(บรรยากาศแห่พระบรมสารีริกธาตุ)

    หน้าที่ ๘
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๒

    ๑๔. สร้อยฟ้ามาลาพาเที่ยว ตอน ๑ วัน ๓ วัด ณ นนทบุรี

    หน้าที่ ๘
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒

    ๑๕. เยือนพนมรุ้ง มุ่งสู่วัดป่า มาถ้ำนารายณ์

    หน้าที่ ๙
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๒

    .๑๖. เที่ยวกระจายบุญ ตอน งานประเพณีชักพระวัดนางชี
    หน้าที่ ๙

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

    ๑๗. Pai Mini Stories : Part 1 น้ำค้าง นครพิงค์

    หน้าที่ ๑๑
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๒

    ๑๘. Pai Mini Stories : Part 2 อิง ลำน้ำปาย
    หน้าที่ ๑๑

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๒

    ๑๙. Pai Mini Stories : Part 3 หนาวไม่คลาย ห้วยน้ำดัง

    หน้าที่ ๑๒
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๒

    ๒๐. Pai Mini Stories : Part 4 รฤกความหัลง พระราชชายา
    หน้าที่ ๑๒
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒

    ๒๑. เสี้ยวหนึ่งในเทศกาลตรุษจีนปากน้ำโพ
    หน้าที่ ๑๒
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

    ๒๒. สวนน้ำตาลอัมพวา กับกาลเวลาที่ผ่านไป
    หน้าที่ ๑๓
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

    ๒๓. ไหว้หลวงปู่ทวด วัดห้วยมงคล
    หน้าที่ ๑๓
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓


    ๒๔. ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    หน้าที่ ๑๓
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๓


    ๒๕. วัดม่วง มีอะไรดี
    หน้าที่ ๑๔
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๓

    ๒๖. สมเด็จโต องค์ใหญ่ ที่วัดโบสถ์
    หน้าที่ ๑๖
    ลงไว้เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๓


    ๒๗. สงกรานต์ปีนี้ มีเรื่องมาเล่าให้ฟัง
    หน้าที่ ๑๖

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๓

    ๒๘. หอมกลิ่นอุบล ยลดวงจำปา
    หน้าที่ ๑๗

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓

    ๒๙. เมื่อไปร่วมงาน "รวมพลังใจ ถวายความจงรักภักดี"
    หน้าที่ ๒๗

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๓

    ๓๐. ๑ วัน ๑๐ วัด ณ นนทบุรี
    หน้าที่ ๒๙

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓

    ๓๑. น้ำตกสะด่องม่องล่าย
    หน้าที่ ๓๐

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓

    ๓๒. พี่ประทีปแก้วพาเที่ยวเมืองชาลาวัน
    หน้าที่ ๓๐

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๓

    ๓๓. งานประเพณีชักพระวัดนางชี ๒๒ - ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
    หน้าที่ ๓๑

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

    ๓๔. วัดดังนาม "วัดมงคลจินดาราม"
    หน้าที่ ๓๓

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

    ๓๕. สักการะธรรมเจดีย์ คัมภีร์พุทธศาสนาสองพันปี !!!
    หน้าที่ ๓๓

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

    ๓๖. เดินเล่นดูเมือง ชมเอื้องเวียงเหนือ
    หน้าที่ ๓๔

    ลงไว้เื่มื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๔

    ๓๗. ซื้อของดอนหอยหลอด & ไหว้หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา
    หน้าที่ ๔๑

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

    ๓๘. ท่องตามตำนาน ไหว้พระธาตุเมืองเหนือ
    หน้าที่ ๔๑

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

    ๓๙. วัดพุทไธศวรรย์ วันวารจากแรกตั้งกรุงศรีอยุธยา
    หน้าที่ ๔๗

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๔

    ๔๐. เดินเล่นรับลม ที่ตลาดน้ำอโยธยา
    หน้าที่ ๕๐

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๔

    ๔๑. เมื่อสาว สาว พลังจิต ไปเที่ยวอยุธยา ภาค ๒
    หน้าที่ ๕๑

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔

    ๔๒. คลองบางหลวง บ้านศิลปิน
    หน้าที่ ๕๕

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๔

    ๔๓. ไหว้พระเมืองแม่กลอง
    หน้าที่ ๕๖

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔

    ๔๔. สามชุก ตลาด ๑๐๐ ปี พิพิธภัณฑ์มีชีวิต
    หน้าที่ ๕๘

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔

    ๔๕. ตามหาความทรงจำที่ขาดหาย ตอน วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร
    หน้าที่ ๖๑

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๔

    ๔๖. สามชุก : พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงค์จีนารักษ์
    หน้าที่ ๖๓

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๕

    ๔๗. โอ้ดวงจำปา มาลางามยิ่ง มิ่งเมืองลาวเอย
    หน้าที่ ๖๕

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๕

    ๔๘. สุดเขตที่หนองคาย
    หน้าที่ ๗๓

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕

    ๔๙. สายน้ำ อัมพวา
    หน้าที่ ๘๑

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๕

    ๕๐. เที่ยวทั่วไทยในเมืองโบราณ กราบพุทธสถานพระธุตังคเจดีย์
    หน้าที่ ๘๕

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๕.

    เก็บตกภาพจากกระทู้ วัดดังนาม "วัดมงคลจินดาราม" มีใครรู้จักบ้าง
    หน้าที่ ๙๑

    ลงไว้เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๕.


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • map05.jpg
      map05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.9 KB
      เปิดดู:
      2,460
    • 3daisybar.gif
      3daisybar.gif
      ขนาดไฟล์:
      2.1 KB
      เปิดดู:
      1,644
    • welcome001-001-1.gif
      welcome001-001-1.gif
      ขนาดไฟล์:
      10.8 KB
      เปิดดู:
      107
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2022
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    เรื่องที่ ๑

    เมื่อสาว สาว พลังจิต ไปเที่ยวอยุธยา

    ทริปนี้เกิดจากความตั้งใจของคุณครูอำนวยกรณ์ จะมาศึกษานอกสถานที่เพื่อเก็บความรู้ไปฝากลูกศิษย์ เลยชวนคุณหญิงพี่พิชญ์ ให้เป็นไกด์กิติมศักดิ์ ไปชมความงามของกรุงเทพมหานคร อมรทวารวดี ศรีอโยธยา

    ด้วยบุพเพสันนิวาส คุณหญิงพี่และคุณครู เลยมาชักมาชวนสร้อยฟ้ามาลาไปด้วย ก็เคยแต่เจรจากันในนี้ แต่ยังไม่เคยพบปะกันเสียที สร้อยฟ้ามาลาขี้อาย ก็เลยไปชวนเพื่อนแมงปอแก้ว ไปด้วย

    กำหนดการ วันเสาร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เวลาเช้า ๐๗.๐๐ น. พบกันที่ ปั๊มน้ำมัน ป.ต.ท. ตรงข้ามโรงพยาบาลพระมงกุฏ

    ด้วยความตื่นต้นของสร้อยฟ้ามาลา เลยมาช้ากว่าเวลา ครึ่งชั่วโมง

    โดยสมาชิกมี คุณครูอำนวยกรณ์ คุณหญิงพี่พิชญ์ คุณแมงปอแก้ว สร้อยฟ้ามาลา และอีกหนึ่ง(ใครก็ไม่รู้)


    ขอบอกก่อนว่า ไปเที่ยวกันแบบไม่ได้วางแผน ไม่ทราบว่าจะไปที่ไหนก่อน

    คุณหญิงพี่พิชญ์ บอกว่า เจอวัดไหนก็แวะได้ทั้งนั้น เพราะสวยทุกวัด

    ออกจากกรุงเทพมหานคร ได้โดยทางวิภาวดีรังสิต ก่อนอื่น ต้องแวะปั๊มน้ำมัน JET (ยังไม่เปลี่ยนโลโก้) ไปปฏิบัติภาระกิจ คงไม่ต้องบอกรู้ๆ กันอยู่

    แต่ด้วยความที่สร้อยฟ้ามาลาเดินไม่คอยดูดิน มองแต่ข้างหน้าเลยไปเหยียบเอาก้อนทองเข้า โอ้พระเจ้าช่วย! ทำอย่างไรดี ก็ล้างสิจ๊ะ อยากจะลมจับ

    ออกจากปั๊มได้ ก็วางแผนกันว่าที่แรก กลุ่มของเราจะไปที่ไหนกัน ดี

    ตกลงกันได้ว่า ไปวัดมเหยงค์ ตามมากันเร็ว มาชมวัมเหยงค์กัน

    วัดมเหยงค์

    [​IMG]

    [​IMG]


    วัดมเหยงค์เป็นวัดสำคัญในกลุ่มโบราณสถานทางตะวันออกของเกาะเมือง ปัจจุบันเป็นวัดร้างอยู่ในท้องที่ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา

    [​IMG]

    [​IMG]



    วัดมเหยงค์ สร้างในรัชกาลสมเด็จเจ้าสามพระยา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๑ โดยสร้างเจดีย์ทรงระฆังอยู่บนฐานทักษิณ มีช้างล้อมเป็นประธานของวัดเจดีย์ช้างล้อมนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าคงเอาแบบอย่างมาจากพระเจดีย์ชัยของพระเจ้าทุษฐาคามินีมหาราชในลักกาทวีป ซึ่งทรงช้างชื่อกุลฑลทำสงครามได้ชัยชนะ ได้ครองราชสมบัติมีโอกาสทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในลักกาให้รุ่งเรืองยิ่งในสมัยพระองค์ เจดีย์ช้างล้อมในลักษณะคล้ายกันนี้เคยพบมาแล้วที่เมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชร ส่วนชื่อวัดมเหยงค์นั้นสันนิษฐานว่าตั้งชื่อตามมหิยังคณะเจดีย์ในลักกาทวีป

    [​IMG]

    [​IMG]
    โบราณสถานที่ยังเหลือปรากฏอยู่ คือ พระอุโบสถ เฉพาะตัวพระอุโบสถกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๖.๘๐ เมตร มีมุขหน้าหลัง มีประตูเข้าทางทิศตะวันออก ๓ ช่อง ทิศตะวันตก ๒ ช่อง มีหน้าต่างข้างละ ๓ ช่อง ภายในพระอุโบสถมีแท่นฐานชุกชี ๒ แท่น รอบพระอุโบสถมีกำแพงแก้ว ๒ ชั้น นับเป็นพระอุโบสถที่ใหญ่โตกว่าวัดอื่น ๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์ช้างล้อมตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสยาวด้านละ ๓๒ เมตร มีช้างเห็นได้ทั้งตัวประดับโดยรอบองค์พระเจดีย์เป็นแบบลังกา เหมือนพระเจดีย์ช้างล้อมที่จังหวัดสุโขทัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2013
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ออกจากวัดมเหยงค์ ได้ก็หันรีหันขวางไปไหนต่อ ก็วัดกุฎีดาวอย่างไร อยู่หน้าวัดมเหยงค์ ไปกันเลย ลุยได้ทั้งนั้น จ้า....


    วัดกุฎีดาว


    [​IMG]


    วัดกุฎีดาวเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้รับการปฏิสังขรณ์ในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ในปี ๒๒๕๔-๒๒๕๖ ประกอบด้วยวิหารขนาดใหญ่ มีลักษณะความงามแบบอยุธยาตอนปลาย คือ มีฐานอาคารแอ่นกลาง และเจดีย์ทรงกลมมีเสาขนานวัดกุฎีดาว อยู่หน้าสถานีรถไฟอยุธยา ฝั่งตะวันออก ปัจจุบันเป็นวัดร้าง


    [​IMG]


    ต่อจากวัดกุฎีดาว ก็ไม่ทราบจะไปไหนดี คิดไปคิดมา กางแผนที่ก็แล้ว อืม.... สรุปว่า ต่อไปเราไปวัดกษัตราธิราชวรวิหาร



    วัดกษัตราธิราชวรวิหาร


    [​IMG]


    [​IMG]



    วัดกษัตราธิราช ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง (เดิมชื่อวัดกษัตรา) เป็นวัดกษัตริย์สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตำบลที่ตั้งวัดเรียกว่า "บ้านป้อม" นั้น เพราะในสมัยกรุงศรีอยุธยาทางราชการได้สร้างป้อมไว้ มีชื่อว่า "ป้อมจำปาพล" ซึ่งเป็นป้อมนอกพระนคร ฟากตะวันตกขึ้นไว้ ณ ตำบลนี้ ทางด้านหลังวัดกษัตราออกไปมีทุ่งกว้างอยู่ทุ่งหนึ่ง เรียกว่า "ทุ่งประเชตุ" พม่าเคยยึดเอาทุ่งนี้เป็นที่มั่นตั้งกองทัพเข้าโจมตีพระนครศรีอยุธยาหลายครั้ง ดังปรากฎเรื่องราวอยู่ในพระราชพงศาวดารอยู่แล้ว และวัดกษัตรานี้ได้ถูกทำลายอย่างย่อยยับเยิน เมื่อคราวเสียกรุง ฯ ครั้งหลัง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เพราะบริเวณที่ตั้งวัดอยู่คนละฟากฝั่งกับพระนคร เมื่อข้าศึกยกเข้าล้อมกรุง ฯ ผู้คนต้องพากันอพยพหลบหนี ถึงพระสงฆ์ก็คงอยู่ไม่ได้ วัดจึงร้างไปเลย


    [​IMG]



    ครั้นถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) ในรัชกาลที่ ๑ ทรงศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดกษัตราขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอาราม ให้เป็นวัดมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาสืบต่อเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้


    [​IMG]



    สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอิศรานุรักษ์ (เกศ) เป็นพระโอรสองค์ที่ ๖ ในสมเด็จพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ประสูติแต่ครั้งกรุงธนบุรี ปี ๒๓๑๖ (เป็นต้นสกุลอิศรางกูร) การปฏิสังขรณ์ครั้งนั้นแทบจะกล่าวได้ว่าเท่ากับเป็นการสร้างขึ้นใหม่ทั่วทั้งพระอารามเลยทีเดียว พระอุโบสถ พระปรางค์ ตลอดจนเสนาสะก็ได้ปฏิสังขรณ์โดยทั่วถึง เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จบริบูรณ์แล้ว ได้โปรดประทานนามเพิ่มจากนามเดิมเป็น "วัดกษัตราธิราช"

    ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ในยุคพระอุปัชฌาย์มีพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้น ๑ หลัง ซ่อมพระอุโบสถ สร้างวิหารคู่ ๒ หลัง เจดีย์เหลี่ยม ศาลาตรีมุข ๑ หลัง ศาลาด้านสะกัดเหนือใต้และตก รวม ๓ หลัง หอสวดมนต์ ฯ เพิ่มขึ้นอีก โดยได้รับพระอุปถัมภ์จากกรมหมื่นอดุลยลักษสมบัติ (พระองค์เจ้าอุไร) ในรัชกาลที่ ๓ (ต้นสกุลอุไรพงศ์) สร้างอยู่ ๑๔ ปี เสร็จเมื่อปี ๒๔๒๒ ดังปรากฏตราสัญจกรณ์ในรัชกาลที่ ๕ หน้าบรรณศาลาตรีมุข


    บรรดาถาวรวัตถุในวัดกษัตราธิราชที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ นอกจากพระอุโบสถ พระปรางค์แล้ว ได้สร้างขึ้นในยุคพระครูวินยานุวัติคุณ (ทรง) เป็นส่วนมาก และเจ้าอาวาสองค์ต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบันนี้ก็ได้ปฏิสังขรณ์อีกเรื่อยมาโดยลำดับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2013
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    วันนี้ที่วัดกษัตราธิราช มีการแข่งขันเรือยาวกัน แต่แดดร้อนอากาศเป็นใจ ให้มาเที่ยวซึ่งด้วยความที่หญิงๆ กลัวแดดกัน เดี๋ยวกลับบ้านแล้วไม่งาม เลยไปดูนิดหน่อย พอได้เห็น แล้วก็พากันผลุบไปสักการะ พระปิยมหาราช ที่วัดกษัตราธิราชวรวิหาร พักเหนื่อย คุยกันกระจุ๋งกระจิ๋งตามภาษา

    ออกจากวัด คุณหญิงพี่พิชญ์ ขอเสนอวัดวรเชษฐ์
    วัดนี้สร้อยฟ้ามาลาไม่รู้จัก แต่เมื่อใดที่ขับรถผ่านอยุธยาแล้วเห็นพระปรางค์ที่วัดนี้จะถามทุกครั้งว่าวัดนี้ชื่อว่าวัดอะไร แต่ไม่มีใครตอบได้ วันนี้ถือเป็นโอกาสดีมากและพิเศษสุดๆ ที่จะได้หายสงสัยเสียที ไปกันเลย เจ้าค่ะ


    วัดวรเชษฐ์

    a.jpg
    พระปรางค์ซึ่งอาจจะเป็นที่เก็บพระบรมโกศและพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    บทความนี้สร้อยฟ้ามาลาขออนุญาตคัดลอกมาจาก ผู้จัดการออนไลน์ 16 กุมภาพันธ์ 2550


    ป้ายเล็กๆ กลางเก่ากลางใหม่บอกนามวัดไว้อย่างเลือนรางจนแทบมองไม่เห็นว่า “วัดวรเชษฐ์” (วัดวรเชต) ซึ่งป้ายดังกล่าวไม่สะดุดตาและไม่เป็นที่น่าสังเกต ง่ายต่อการเลยผ่านไปอย่างไม่สนใจยิ่งนัก แต่หากได้แวะชมที่วัดนี้แล้ว นอกจากที่จะพบกับความร่มรื่นด้วยสถานแห่งธรรมะภายในขอบสีมาธรรมจักรแห่งบวรพุทธศาสนาแล้ว ยังได้แวะหาข้อมูลความรู้เชิงประวัติศาสตร์อันน่าตกตะลึงอีกด้วยในประเด็นที่ว่า วัดแห่งนี้อาจจะเป็นที่ปลงพระบรมศพ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” รวมไปถึงเป็นที่เก็บพระบรมอัฐิของพระผู้เป็นมหาวีรกษัตริย์ผู้กอบกู้สยามประเทศพระองค์นี้ด้วย!!!

    “น. ณ ปากน้ำ” ฟันธง ใช่แน่นอน

    พระอาจารย์ ดร.สิงห์ทน นราสโภ พระภิกษุอดีตอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ผู้สนใจด้านปรัชญาจนศึกษาในระดับปริญญาเอกสาขา Philosophy จาก ม.นาลันทา ประเทศอินเดีย และเดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาตามรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ได้รับการนิมนต์จากศิษยานุศิษย์ให้มาจำวัดที่วัดวรเชษฐ์แห่งนี้เมื่อ 5 เดือนที่แล้ว เปิดเผยว่า แต่เดิมนั้นวัดดังกล่าวมีสภาพทรุดโทรมมาก พื้นที่ของบริเวณวัดก็ถูกออกโฉนดซื้อขายจนกระทั่งมีแม่ชีไปซื้อมาได้และสร้างที่พักแบบพออยู่เพื่ออาศัยสวดมนต์ภาวนาปฏิบัติตนภายใต้ร่มพระศาสนา หญ้าและวัชพืชขึ้นรกรุงรังจนชาวมุสลิมที่เลี้ยงวัวนำวัวมากินหญ้าแถวนี้อยู่เป็นประจำ

    a.jpg


    ป้ายชื่อวัดวรเชษฐ์ที่มีสภาพเก่าและเล็ก ไม่สะดุดตาผู้มาเยือนจนอาจจะขับรถเลยผ่านวัดไปเพราะไม่ทันเห็น

    เมื่อพระอาจารย์เดินทางมาถึงจึงได้จ้างชาวบ้านมาหักร้างถางพงและทำความสะอาดห้องน้ำที่มีอยู่เพียงห้องเดียวที่แสนจะสกปรกนั้น โดยหลวงพ่อได้อาศัยจำวัดอยู่ภายในห้องสวดมนต์ มีกลดแขวนอยู่เพียงอันเดียว ท่ามกลางพระพุทธรูปจำนวนมาก โดยหลวงพ่อเปิดเผยว่าการนิมนต์มาที่วัดนี้นั้นเป็นการเชิญนิมนต์ให้มาสวดมนต์ภาวนาให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และประเทศไทยที่อยู่ในภาวะสับสนและถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทั้งด้านการเมือง และศีลธรรมให้ดีขึ้น

    และเมื่อมาถึงหลวงพ่อก็พบว่าวัดแห่งนี้มีความเกี่ยวโยงกับ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” โดยเฉพาะบทความของ น. ณ ปากน้ำ เรื่อง “ศิลปสมัยพระเจ้าปราสาททอง” ที่ระบุแบบ “ฟันธง” เอาไว้ว่า “วัดวรเชษฐ์” แห่งนี้ เป็นที่ปลงพระบรมศพและเก็บพระบรมอัฐิของ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช”

    จากบทความของ น. ณ ปากน้ำที่เขียนไว้และฟันธงระบุชัดว่า วัดวรเชษฐ์ที่คนอยุธยามักเรียกสร้อยต่อท้ายชื่อว่าวัดวรเชษฐ์นอกเกาะตามที่ตั้งของวัดที่อยู่ในเขตอรัญญวาสีนอกเขตเกาะเมืองอยุธยา เมื่อย้อนไปในสมัยอยุธยา สมัยแผ่นดินอันรุ่งเรืองของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น วัดแห่งนี้ก็คือวัดป่าแก้ว วัดสำคัญของเมืองที่มีสมเด็จพระพันรัตน์เป็นเจ้าอาวาส และเป็นสมเด็จพระสังฆราชจำพรรษาอยู่นั่นเอง” หลวงพ่อ ดร.สิงห์ทนขยายความ

    ระบุเป็น ๓ วัดที่มีสายสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง

    ต่อมาหลวงพ่อ ดร.สิงห์ทน ได้ตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยสัมผัสที่หกจากนักจิตวิญญาณทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ทำให้ตัวหลวงพ่อเองมั่นใจเพิ่มมากขึ้น

    ทั้งนี้ วัดสำคัญย่านนี้ในสมัยอยุธยามี ๓ วัดด้วยกัน และถ้าดูที่ตั้งของแต่ละวัดแล้วจะพบว่า เป็นการตั้งวัดเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด อันเป็นรูปร่างของการประจุพลังงาน เพื่อที่วัดทั้งสามเมื่อสวดมนต์พร้อมกัน ก็จะเป็นคลื่นพลังงานแห่งพระพุทธคุณแผ่ปกคลุมและหนุนนำอยุธยา

    กล่าวคือก่อนหน้านี้ในสมัยโบราณ วัดวรเชษฐ์ถูกเรียกว่า “วัดเจ้าเชษฐ์” ถือเป็นวัดประจำพระองค์พระนเรศวร แต่ที่มาเพี้ยนเป็น “วัดวรเชษฐ์” นั้นอนุมานได้ว่าเป็นเพราะภายหลังการถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว สมเด็จพระเอกาทศรถได้พระราชทานชื่อใหม่เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระบรมเชษฐาธิราช จึงให้เรียกขานวัดนี้ว่า “วัดวรเชษฐ์” อันแปลว่า “วัดพี่ชายผู้ประเสริฐ” และวัดกระชายในปัจจุบันนี้ก็คือ “วัดเจ้าชาย” ในสมัยอยุธยา เป็นวัดประจำพระองค์ของสมเด็จพระเอกาทศรถ


    a.jpg
    a.jpg
    เจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสองที่เมื่อแรกเป็นการสร้างถวายเป็นพระราชกุศลให้แด่สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา

    ส่วนอีกวัดหนึ่งที่ทุกวันนี้เรียกขานกันว่า “วัดลอดช่อง” นั้น จริงๆ แล้วในสมัยอยุธยาก็คือ “วัดพระมหาเถรคันฉ่อง” พระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรที่ทรงไปนิมนต์กลับมาสยามครั้งทรงขึ้นเป็นกษัตริย์นั่นเอง

    “ตามปกติแล้วความดีงามและตบะบารมีที่คนเราได้กระทำเอาไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่นั้น จะถูกเก็บสะสมและฝังเอาไว้ในมวลกระดูก และเมื่อเสียชีวิตลงแล้วเมื่อนำร่างไปบำเพ็ญกุศลตามความเชื่อเป็นที่เรียบร้อย สุดท้ายที่จะเหลือก็คือกระดูก ซึ่งพลังงานตบะบารมีที่สั่งสมนั้นก็ยังอยู่ครบถ้วนในกระดูกเมื่อยามเสียชีวิต และนี่ก็เป็นเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่นักจิตวิญญาณทั้งหลายทั้งไทยและเทศ สามารถรับคลื่นพลังงานจากเจดีย์ในวัดแห่งนี้ได้”

    และสำหรับวัดวรเชษฐ์นี้ หลวงพ่อ ดร.สิงห์ทนยังได้เล่าให้ฟังเรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์แปลกๆ อันเกี่ยวเนื่องกับเจดีย์ที่วัดแห่งนี้อีกว่า สำหรับผู้ที่เคยลงไปในเจดีย์ทรงปรางค์องค์ใหญ่ เช่น จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในสมัยที่เป็นนายกรัฐมนตรี ก็พบโกศขนาดใหญ่และมีงูเห่าเผือกนอนขดอยู่ใกล้ๆ จากนั้นให้หลังประมาณ 30 ปีก็มีเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรลงไปเก็บสมบัติและของมีค่าเพื่อนำไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ ก็พบงูเห่าเผือกที่อยู่เฝ้าโกศขนาดใหญ่นี้ และเมื่อเร็วๆ นี้ที่ผ่านมาที่ได้มีการบวงสรวงเจดีย์เหล่านี้ ก็มีผู้พบงูเห่าเผือกเลื้อยออกมาจากช่องเจดีย์เช่นกัน


    a.jpg
    เจดีย์ระฆังคว่ำ ซึ่งว่ากันว่าเป็นเจดีย์ซึ่งอัฐิขอของสมเด็จพระพันรัต


    “หลวงปู่โง่น” ก็เอาพระอัฐิพระสุพรรณกัลยามาเก็บไว้
    หลวงพ่อ ดร.สิงห์ทน เล่าด้วยว่า มีผู้เชี่ยวชาญด้านสัมผัสที่หกจำนวนไม่น้อยที่ระบุตรงกันว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ปลงพระบรมศพ และเป็นที่เก็บพระโกศที่บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยชี้สถานที่เก็บพระบรมโกศเหมือนกันทุกรายว่าอยู่ในเจดีย์ใหญ่ทรงพระปรางค์ที่เด่นตระหง่านเหนือหมู่เจดีย์อื่นๆ

    นอกจากนี้ยังมีการระบุด้วยว่า ที่ในเจดีย์องค์อื่นๆ มีการเก็บพระอัฐิและอัฐิสำคัญอีกมากมาย คือในเจดีย์เล็กด้านข้างนั้น เป็นเจดีย์เก็บพระอัฐิพระชายาในสมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระราชอนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช, ในเจดีย์ทรงย่อมุมไม้สิบสองที่เดิมสมเด็จพระเอกาทศรถทรงโปรดให้สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ของสมเด็จพระพี่นางผู้เสียสละ คือ “พระสุพรรณกัลยา” นั้น ภายหลังหลวงปู่โง่น โสรโย เกจิอาจารย์ชื่อดังผู้ที่เชื่อว่าได้นิมิตจากการติดต่อจากดวงพระวิญญาณของพระสุพรรณกัลยา ที่เดินทางไปอัญเชิญพระอัฐิของพระองค์จากแดนพม่ากลับมาเมืองไทยก็ได้แบ่งพระอัฐิของพระนางส่วนหนึ่งมาบรรจุไว้ในเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่วัดนี้ด้วย


    “อันนี้เป็นเพราะหลวงปู่โง่นทราบดีว่าสถานที่ใดเป็นสถานที่จริง ท่านเป็นพระที่มีอภิญญา สามารถเล็งเห็นว่าควรเก็บพระอัฐิของพระสุพรรณกัลยาไว้ที่ใด ท่านจึงเดินทางมาที่วัดนี้ และบรรจุส่วนหนึ่งเอาไว้ในเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ท่านก็บอกอาตมาเหมือนกัน แล้วท่านก็เล่าว่านำมาเก็บไว้ที่นี่ ส่วนตัวอาตมาและหลวงปู่โง่นแล้วสนิทมักคุ้นกันดี”

    นอกจากนี้ ที่เจดีย์ทรงระฆังคว่ำในหมู่เจดีย์ภายในวัดนี้ยังเป็นที่เก็บอัฐิของสมเด็จพระพันรัตด้วย

    หลวงพ่อ ดร.สิงห์ทน สรุปว่า โดยส่วนตัวเชื่อมั่นว่าที่วัดแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญดังกล่าวอย่างแน่นอน แต่ที่คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่าสถานที่ปลงพระบรมศพพระนเรศวร คือ วัด “เชษฐาราม” ที่อยู่ในเขตตัวเมือง ที่กรมศิลปากรนำงบไปบูรณะปฏิสังขรณ์ที่ตอนแรกจะเป็นงบที่ตกลงมาให้วัดวรเชษฐ์ แต่เพราะเหตุใดไม่ทราบได้ งบดังกล่าวกลับถูกโยกไปบูรณะวัดเชษฐารามแทน โดยระบุว่าวัดเชษฐารามคือวัดที่ปลงพระบรมศพและที่เก็บพระบรมอัฐิสมเด็จพระนเรศวร และมีการอุปโลกน์ชื่อเรียกขานกันให้ชินปากในหมู่ชาวบ้านโดยเรียกชื่อ “วัดเชษฐาราม” ว่าเป็น “วัดวรเชษฐาราม” หรือ “วัดวรเชษฐ์ในเกาะ” เพื่อความคุ้นชินของชาวบ้านและให้สอดคล้องกับบันทึกทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้วัดวรเชษฐ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีเพียงวัดเดียวคือวัดนี้เท่านั้น และที่สำคัญคือมีหลักฐานบางส่วนกล่าวว่า ที่จริงแล้ววัดเชษฐาธิราชนั้นเป็นที่เก็บพระอัฐิของพระเชษฐาธิราช กษัตริย์ในแผ่นดินหลังจากสมเด็จพระนเรศวร ที่สวรรคตตอนพระชนมายุ ๑๕ พรรษา

    “คนไทยไหว้ผิดวัดมาตลอด อาตมาจะอาศัยอยู่จำวัดที่นี่จนกว่าจะทำให้คนไทยรู้ว่าวัดที่เก็บพระบรมอัฐิของพระองค์จริงๆ คือที่นี่ แล้วอาตมาก็จะไป” หลวงพ่อ ดร.สิงห์ทน กล่าวทิ้งท้าย

    a.jpg
    เจดีย์องค์เล็กซึ่งอาจจะเป็นที่เก็บพระอัฐิของพระชายาในสมเด็จพระเอกาทศรถ



    ...อย่างไรก็ตาม ไม่ว่า “วัดวรเชษฐ์นอกเกาะ” จะเป็นวัดป่าแก้วในสมัยอยุธยาจริงหรือไม่ หรือจะเป็นสถานที่อันสูงค่ายิ่งทางประวัติศาสตร์ในการปลงพระบรมศพและเก็บพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือเปล่า แต่เรื่องเศร้าที่เกิดขึ้น คือ วัดแห่งนี้ถูกทอดทิ้งโดยมิได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนใจเหลียวแล ปล่อยให้วัดโบราณที่มีหมู่เจดีย์และเต็มไปด้วยซากปรักหักพังทางประวัติศาสตร์ วิหารที่มีเสมาโบราณที่ควรได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ยืนร้างเหงาเปล่าดาย และจะค่อยๆ ตายไปจากความทรงจำและความสนใจของคนไทย ทั้งที่ประกาศของกรมศิลปากรที่จารึกไว้ในป้ายเหล็กหน้าหมู่เจดีย์ภายในวัดวรเชษฐ์ ก็เขียนเองเป็นนัยว่า “ประวัติศาสตร์และการบันทึกสถานที่ที่แน่นอนที่เป็นที่ปลงพระบรมศพและเป็นที่เก็บพระบรมอัฐิยังคงคลุมเครือ และไม่สามารถระบุชัดได้ว่าเป็นที่ใดกันแน่”

    ซ้ำร้ายเมื่อ หลวงพ่อ ดร.สิงห์ทนเข้ามาปรับปรุงด้วยการนำหลอดไฟนีออนมาติดเพื่อให้แสงสว่างเพื่อความปลอดภัย ก็ยังมีการสั่งรื้อของทางกรมศิลป์ อ้างว่าเป็นการบดบังสายตา


    เรื่องนี้ กรมศิลปากรคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว

    ..................................................................

    วันนี้โชคดีมากๆ โชคดีเป็นพิเศษ ที่คณะของเราได้มีโอกาสกราบนมัสการหลวงพ่อ ดร.สิงห์ทน นราสโภ ด้วยเจ้าค่ะ

    มาชมบรรยากาศภายในวัดวรเชษฐ์ กันเจ้าค่ะ

    a.jpg

    a.jpg

    a.jpg

    a.jpg

    a.jpg

    a.jpg

    a.jpg

    a.jpg

    a.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2018
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    บ่ายโมงกว่าแล้ว แต่ยังสนทนาธรรมกับหลวงพี่ เอ... ชื่อว่าอะไรนะ จำไม่ได้ ต้องถามคุณหญิงพี่พิชญ์ สนทนากันนานไปหน่อย แต่น่าสนใจมากๆ ซึ่งที่วัดวรเชษฐ์นี้ คณะของเราได้ขึ้นไปบนเนินดินที่เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    คุณแมงปอแก้ว ตาลายหน้ามืดขอไปพักในรถแล้ว สร้อยฟ้ามาลาหิวแล้วเจ้าค่ะ

    ออกจากวัดวรเชษฐ์ได้ ก็ตรงดิ่งไปหาอะไรทานกันเลย คุณครูอำนวยกรณ์เสนอเมนู ส้มตำ แต่ที่อยุธยามองไปทางไหน ก็เจอแต่ก๋วยเตี๋ยว ทีแรกปลงใจคงต้องก๋วยเตี๋ยวแล้ว จอดรถจะเข้าร้านก๋วยเตี๋ยว เผอิญ แมงปอแก้วตาไว เห็นร้านส้มตำข้างหน้า ความปรารถนาของคุณครู สัมฤทธิ์ผล พวกเราตรงเข้าร้านทันที โอ้โห คนเยอะมากๆ คงเพราะว่ามีร้านนี้ร้านเดียวกระมัง สร้อยฟ้ามือไม้สั่นหมดแล้ว หิว หิว หิว ชมกันเลยก็แล้วกันว่ามีเมนูอะไรบ้าง แต่รูปที่ถ่ายมาไม่ชัด มือสั่นเพราะความหิว...

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    เอ้า อิ่มแล้ว สาว สาว ลุยกันต่อ หันซ้าย หันขวา อุ้ย อุ้ย ขอประทานโทษ ลืมไป เก็บตังก์ค่าเสียหายด้วยเจ้าค่ะ งานนี้คุณครูอำนวยกรณ์เลี้ยงเองจ้า

    ไปกันต่อเขตพระราชวังเก่า เมื่อถึงจอดรถเสร็จก็เห็นอนุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง เลยเข้าไปถวายบังคมกัน แต่ลมแรงมากๆ จุดไฟไม่ติด คุณหญิงพี่เลยจุดให้ ไฟเลยติด แสดงว่าคุณหญิงพี่ไฟยังแรงดีอยู่ คิก คิก...

    แต่รูปไม่ได้ถ่าย เพราะอยู่กลางแจ้ง แดดดีมากๆ โอ้ จะละลาย จากนั้นเดินขบวนไปไหว้พระกัน วิหารพระมงคลบพิตร ตามมาเลยจ้า


    วิหารพระมงคลบพิตร


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์องค์ใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย เดิมอยู่ทาง ทิศตะวันออกนอกพระราชวัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดฯ ให้ย้ายมา ไว้ทางด้านตะวันตก ที่ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันและโปรดฯ ให้ก่อมณฑปสวมไว้


    [​IMG]


    ครั้นถึงแผ่นดิน ของสมเด็จพระเจ้าเสือ ยอดมณฑปเกิดไฟไหม้เพราะอสุนีบาต ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดให้ก่อสร้างใหม่ แปลงเป็นพระวิหารแทน เมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ วิหารพระมงคลบพิตร ได้ถูกไฟไหม้ พระวิหารและองค์พระพุทธรูปได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ฝีมือ ไม่งดงามอ่อนช้อยเหมือนเก่า บริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออก เดิมเป็น สนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย และเจ้านายเช่นเดียวกับ ท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ

    [​IMG]


    วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟเผาผลาญ ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ จนเครื่องบนของพระวิหารพังลงมา ถูกพระเมาฬีและพระกรขวาขององค์พระชำรุด พระยาโบราณราชธานินทร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้บูรณะซ่อมแซมให้คืนดี สำหรับพระวิหารที่ชำรุดหักพังเกือบจะโดยสิ้นเชิงนั้น ได้บูรณะขึ้นใหม่อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ โดย นายอูนุ นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่าในขณะนั้น ได้บริจาคเงินจำนวนสองแสนบาท ร่วมกับฝ่ายรัฐบาลไทยอีกสองแสนห้าหมื่นบาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2013
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    สักการะ กราบพ่อหลวงพ่อมงคลบพิตรแล้ว ตั้งขบวนเดินกันต่อ เริ่มเมื่อยแล้ว สร้อยฟ้ามาลา ตายแน่... ไม่เป็นไร ไปไหนไปกัน ซื้อตั๋วเข้าชมเขตพระราชวังเก่า แต่เราเดินชมในส่วนของวัดพระศรีสรรเพชญ์ กัน ตามมาเจ้าค่ะ

    วัดพระศรีสรรเพชญ์


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2013
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือและอุทิศที่ดินเดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำ
    พรรษา



    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg

    ต่อมาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเจดีย์ใหญ่สององค์เมื่อ พ.ศ.๒๐๓๕ องค์แรกทางทิศตะวันออกเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราชบิดา และองค์ที่สองคือองค์กลางเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พระบรมเชษฐา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๐๔๒ ทรงสร้างพระวิหารขนาดใหญ่และในปี พ.ศ.๒๐๔๓ ทรงหล่อพระพุทธรูปยืนสูง ๘ วา (๑๖ เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก ๒๘๖ ชั่ง (ประมาณ ๑๗๑ กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร พระนามว่าพระศรีสรรเพชญดาญาณ ซึ่งภายหลังเมื่อเสียกรุง พ.ศ.๒๓๑๐ พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด และองค์พระพังยับเยิน รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาประดิษฐานวัดพระเชตุพน และ บรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า เจดีย์สรรเพชญดาญาณ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วหารทิศ


    a.jpg

    เจดีย์องค์ที่ ๓ ถัดมาจากด้านทิศตะวันตกเป็น เจดีย์บรรจุพระอัฐิ ของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔(พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดให้สร้างขึ้น เจดีย์ทั้งสามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา
    ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรมพระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้าง พระที่นั่งจอมทอง ตั้งอยู่ใกล้ๆ กำแพงทางด้านติดกับวิหารพระมงคลบพิตรเพื่อให้เป็นสถานที่ให้พระสงฆ์บอกเล่าหนังสือพระสงฆ์


    ราวรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหลวงแห่งนี้เป็นครั้งแรก

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาโบราณราชธานินทร์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าได้ดำเนิน การขุดสมบัติจากกรุภายในเจดีย์ พบพระพุทธรูป เครื่องทองคำมากมาย และในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการบูรณะวัดนี้จนมีสภาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน


    a.jpg


    a.jpg

    เก็บตก...



    a.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2018
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    แผนต่อไป สร้อยฟ้ามาลาขอเสนอ วัดหน้าพระเมรุ เจ้าค่ะ แดดเริ่มอ่อนแล้ว วันนี้ไม่มืดไม่ค่ำกลับบ้านคงกลับไม่ถูกเจ้าค่ะ


    วัดหน้าพระเมรุ

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช ๒๐๔๖ มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้นต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้น มีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงสร้างวัดนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๖ วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อครั้งทำศึกกับพระเจ้าบุเรงนองได้มีการทำสัญญาสงบศึกเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๖ ได้สร้างพลับพลาที่ประทับขึ้นระหว่างวัดหน้าพระเมรุกับวัดหัสดาวาส
    วัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


    พระอุโบสถมีขนาดยาว ๕๐ เมตร กว้าง ๑๖ เมตรเป็นแบบอยุธยาตอนต้นซึ่งมีเสาอยู่ภายใน ต่อมาสร้างขยายออกโดยเพิ่มเสารับชายคาภายนอกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหยียบเศียรนาคและมีรูปราหูสองข้างติดกับเศียรนาค หน้าต่างเจาะเป็นช่องยาวตามแนวตั้ง เสาเหลี่ยมสองแถวๆ ละแปดต้น มีบัวหัวเสาเป็นบัวโถแบบอยุธยา ด้านบนประดับด้วยดาวเพดานเป็นงานจำหลักไม้ลงรักปิดทอง ส่วนลายแกะสลักบานประตูพระวิหารน้อย เป็นลายแกะสลักด้วยไม้สักหนา แกะสลักจากพื้นไม้ไม่มีการนำชิ้นส่วนที่อื่นมาติดต่อเป็นลายซ้อนกันหลายชั้น พระประธานในอุโบสถสร้างปลายสมัยอยุธยาเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทรงเครื่องแบบกษัตราธิราช มีนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ” จัดเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบันและมีความสมบูรณ์งดงามมากสูงประมาณ ๖ เมตรหน้าตักกว้างประมาณ ๔.๔๐ เมตร ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดนี้โดยรักษาแบบอย่างเดิมไว้


    [​IMG]


    [​IMG]


    และได้เชิญพระพุทธรูปศิลาสีเขียวหรือพระคันธารราฐประทับนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีจากวัดมหาธาตุมาไว้ในวิหารสรรเพชญ์(หรือเรียกว่า วิหารน้อยเพราะขนาดวิหารเล็ก มีความยาว ๑๖ เมตร กว้างประมาณ ๖ เมตร) ซึ่งอยู่ข้างพระอุโบสถ พระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ นับเป็น ๑ ใน ๕ องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่าควรแก่การเก็บรักษาไว้ พระอุโบสถเปิดตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ น.


    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2013
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    จุดหมายต่อไป คิดกันว่าเป็นเส้นทางขากลับแล้ว ออกจากวัดหน้าพระเมรุ ไม่อยากจะบอก สร้อยฟ้ามาลา พาคณะหลงทาง ขับรถไปเรื่อย คุณหญิงพี่พิชญ์ต้องรีบเปิดแผนที่เดี๋ยวเตลิดเปิดเปิงไปไหนก็ไม่รู้ คลำทางกันมาจนได้ ถึงแล้วเจ้าค่ะ วัดใหญ่ชัยมงคล จอดรถได้ คุณหญิงพี่พิชญ์ ขอนั่งพักง่วงนอน และอีกอย่างเคยมาหลายหน เลยไม่อยากปีนเจดีย์องค์ใหญ่ ก็ได้ไม่เป็นไร เราก็ไปกัน ๓ คน

    วัดใหญ่ชัยมงคล


    [​IMG]


    [​IMG]


    วัดใหญ่ชัยมงคล

    เดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ ๑ กิโลเมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ สำหรับเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัตน์มหาเถรในประเทศลังกา คณะสงฆ์ที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยเรียกนามนิกายในภาษาไทยว่า “คณะป่าแก้ว”


    วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดคณะป่าแก้ว ต่อมาเรียกให้สั้นลงว่า “วัดป่าแก้ว” ต่อมาคนเลื่อมใสบวชเรียนพระสงฆ์นิกายนี้ พระราชาธิบดีจึงตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตน์มีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับพระพุทธโฆษาจารย์เป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระมีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายซ้าย หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น“วัดเจ้าพระยาไทย” สันนิษฐานว่ามาจากที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสร้างวัดป่าแก้วขึ้น ณ บริเวณที่ซึ่งได้ถวายพระเพลิงพระศพของเจ้าแก้วเจ้าไทยหรืออาจมาจากการที่วัดนี้เป็นที่ประทับของพระสังฆราชฝ่ายขวา ซึ่งในสมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า “เจ้าไทย” ฉะนั้นเจ้าพระยาไทยจึงหมายถึงตำแหน่งพระสังฆราชในปี พ.ศ. ๒๑๓๕ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้มีความสูง ๑ เส้น ๑ วา เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ การสร้างพระเจดีย์อาจสร้างเสริมพระเจดีย์เดิมที่มีอยู่หรืออาจสร้างใหม่ทั้งองค์ก็ได้ ไม่มีหลักฐานแน่นอน ขนานนามว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ราษฎรเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” ฉะนั้นนานวันเข้าวัดนี้จึงเรียกชื่อเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล” วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย และเพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่นานมานี้


    [​IMG]

    [​IMG]

    นอกจากนี้ยังมี วิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวร เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้นิยมไปนมัสการอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก ค่าเข้าชม ต่างชาติ คนละ ๒๐ บาท


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2013
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล ท้องฟ้าเริ่มมจะมืดแล้ว เวลาเกือบห้าโมงเย็น ในเวลาหน้าหนาว ท้องฟ้ามืดเร็ว สร้อยฟ้ามาลาขออนุญาตซิ่งเจ้าค่ะ มีหวาดเสียวตื่นเต้นกันนิดหน่อย รถกระบะเปลี่ยนเลนไม่มองรถของคณะเรา มีหรือสร้อยฟ้ามาลาจะยอมได้ ขอประทานโทษที บีบแตรลั่นถนน ไม่มียอมหรอกงานนี้ อิอิ มาถึงวัดพนัญเชิงโดยสวัสดิภาพ แบบโล่งอก ต้องทำเวลา อย่าว่ากันเลย ไปไหว้พระกันต่อ... อ้อขอบอกอีกอย่าง หลวงพ่อโต กับพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในวิหาร ไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ชมกัน เพราะว่ายังบูรณะไม่เสร็จเจ้าค่ะ...



    วัดพนัญเชิงวรวิหาร

    วัดพนัญเชิง เป็นวัดที่มีมาแต่โบราณก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฎหลักฐาน แน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่าพระเจ้าสายน้ำผึ้งเป็นผู้สร้างและพระ ราชทานนามว่า "วัดเจ้าพระนางเชิง"

    a.jpg

    a.jpg

    ในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่า แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าพแนงเชิง พ.ศ.๑๘๖๗ ก่อนพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา ๒๖ ปี เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง ๑๔ เมตรเศษ สูง ๑๙ เมตร เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ

    ในจดหมายเหตุของแคมเฟอร์ เขียนครั้งกรุงศรีอยุธยาว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นของมอญ ในหนังสือภูมิสถานอยุธยา ว่าเป็นของพระเจ้าสามโปเตียน ซึ่งน่าจะเพี้ยนมาจากภาษาจีนว่า ซำปอกง แปลว่า รัตนตรัย ตามหลักฐานในประวัติศาสตร์ยังค้นไม่พบว่า กษัตริย์อโยธยาองค์ใดที่มีประนามว่าสามโปเตียน

    พระพุทธรูปองค์นี้ชาวจีนนับถือมากเรียกว่า ซำปอกง คนไทยเรียกทั่วไปว่า หลวงพ่อโต หรือ หลวงพ่อพนัญเชิง

    ในสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฎว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงซ่อมครั้งหนึ่ง และต่อมาพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาคงจะซ่อมแซมกันต่อมาอีกหลายพระองค์ และเรียกกันว่า "วัดพระพแนงเชิง" บ้าง "วัดพระเจ้าแพนงเชิง" บ้าง

    ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระปฐมบรมราชจักรีวงศ์ได้ทรงปฎิสังขรณ์ และได้รับการบูรณะต่อมาหลายพระองค์ โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้บูรณะใหม่ทั้งองค์ เมื่อปลาย พ.ศ. ๒๓๙๗ แล้วถวายพระนามพระพุทธรูปว่า "พระไตรรัตนายก" ในรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๔๔ เกิดเพลิงไหม้ผ้าห่มพระเจ้าพนัญเชิง ซ่อมแซมเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมแซมอีก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่นับถือทั้งชาวไทยและชาวจีน

    ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า เมื่อกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าครั้งที่สองนั้น พระพุทธรูปองค์นี้มีน้ำพระเนตรไหลออกมาทั้งสองข้าง

    ในกลางเดือน ๑๐ มีงานทิ้งกระจาดและงานนมัสการประจำปี

    a.jpg


    a.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2018
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    ก่อนออกจากวัดพนัญเชิงวรวิหาร คุณหญิงพี่พิชญ์ได้โทรศัพท์ถึงคุณครูโมเยได้ความว่าจะคุมนักเรียน๒๐๐คน เดินทางไป... เอ่อ ไปไหนไม่ทราบ อยากคุยกับแม่สร้อย แต่สร้อยฟ้ามาลาขี้อายไม่กล้าคุย ขอฝากความคิดถึงไว้ตรงนี้นะเจ้าคะ ให้คุณครูโมเย เข้ามาอ่าน...


    สร้อยฟ้ามาลาบ่นกับคณะของเราว่า อยากจะชวนคุณภัทรอังคารมาด้วยแต่คุณภัทรฯ อยู่ไกลเดินทางมาไม่สะดวกและยังติดขัดเรื่องงานคงจะลามาไม่ได้เลยไม่ได้ชวน สร้อยฟ้ามาลาก็ยังรฤกถึงเสมอ...



    คณะของเราเดินทางออกจากวัดพนัญเชิงวรวิหาร เวลาประมาณเกือบห้าโมงครึ่ง มุ่งหน้าสู่วัดกู้ ปากเกร็ด นนทบุรีเป็นวัดที่ ๙ ในทริปนี้ และก็เหมือนเดิมเจ้าค่ะ สร้อยฟ้ามาลาขอซิ่ง คุณหญิงพี่พิชญ์กับคุณครูอำนวยกรณ์บอกว่าเลี้ยวทีเบาะหลังก็กลิ้งทับกันไปทับกันมาเป็นข้าวต้มมัดไปแล้ว อีกแล้วเจ้าค่ะขึ้นชื่อว่าสร้อยฟ้ามาลามีหรือจะไม่หลงทาง ขับไปขับมาออกสายเอเซียเฉยเลย ไม่เป็นไรอ้อมโลกออกมาแล้ว เลยเข้าเส้นบางบัวทองกะว่าจะเข้าเส้น๓๔๕ เข้าปากเกร็ดไปเลย ปรากฏว่าขับเลยอีกแล้ว คราวนี้ขอเหยียบเลย ๑๓๐ กม./ชม. มาเข้าเส้นราชพฤกษ์ ข้ามสะพานพระราม ๔ มาปากเกร็ด ตรงสู่วัดกู้ มืดเลย วัดนี้คุณครูอำนวยกรณ์ตั้งใจจะมาในวันอาทิตย์ แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ จึงพากันมาด้วยตั้งใจว่าจะมาสักการะ ถวายบังคมสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี แต่เพราะว่ามาถึงช้าไป ศาลของพระองค์ปิดแล้ว จึงได้แต่ไหว้ข้างนอก นำความผิดหวังให้คุณครูอำนวยกรณ์เสียแล้ว ขอนำภาพแทนที่สร้อยฟ้ามาลาไปลงในกระทู้เมื่อข้าพเจ้าไปขออโหสิกรรมกับ ''พระนางเรือล่ม'' มาแก้ขัดก่อนเพราะมืดแล้วถ่ายรูปไม่สวย

    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg


    a.jpg

    คณะของเราออกจากวัดกู้ประมาณหนึ่งทุ่มครึ่ง พวกเราก็แยกย้ายกันกลับเคหาสถานบ้านเรือน สร้อยฟ้ามาลาถึงเรือนสามทุ่มกว่าเพราะไปแวะทานอะไรกลางทางก่อนเข้าเรือน


    ถึงเรือนหมดสภาพ เหนื่อยแต่สนุกมากๆ ได้ข่าวว่าคุณแมงปอแก้วตื่นเต้นว่าจะไปเที่ยวเลยลืมกุญแจห้องไว้ในห้องนอนแล้วก็ล็อคห้องเสียเลย ไม่ทราบว่าเข้าห้องได้อย่างไร


    อาบน้ำเสร็จ คิดว่าจะโทรศัพท์หาคุณหญิงพี่พิชญ์กับคุณครูอำนวยกรณ์ว่าถึงเคหาสถานหรือยัง แต่ด้วยความเหนื่อยเลยหลับไปเลย


    เอาไว้เพลาหน้ามาเยือน จะไปเที่ยวที่ไหนกันอีกจะมาเล่าให้ฟังใหม่นะเจ้าคะ

    จบแล้วเจ้าค่ะ


    ..................................
    สร้อยฟ้ามาลา
    รายงาน
    ............................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2018
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    รูปวัดมเหยงค์

    [​IMG]


    [​IMG]
    ช่องหน้าต่างพระอุโบสถ


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    วัดกุฎีดาว


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    วัดวรเชษฐ์


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    วัดหน้าพระเมรุ


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    วัดใหญ่ชัยมงคล

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    วัดใหญ่ชัยมงคล(อีกครั้ง)


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,828
    ค่าพลัง:
    +43,529
    วัดพระศรีสรรเพชญ์


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...