ปกิณกะธรรมวันสงกรานต์ วันอาทิตย์ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๗ (ก่อนทำวัตรค่ำ)

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 28 เมษายน 2024.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    16,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +26,018
    ปกิณกะธรรมวันสงกรานต์ วันอาทิตย์ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๗ (ก่อนทำวัตรค่ำ)


     
  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    16,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +26,018
    ผู้ใหญ่ให้อะไรต้องรีบรับเอาไว้ ต้องการหรือไม่ต้องการก็รับไว้ ไม่อย่างนั้นแล้วถ้าหากว่าไปทำให้ท่านหมั่นไส้ หลังจากนั้นจะไม่ได้อะไรอีกเลย..! อย่าไปอวดดีประมาณว่ากูไม่โลภ นั่นเป็นการกระทำที่โง่มาก..!

    การทำสิ่งหนึ่งประการใดจะประสบความสำเร็จ นอกจากความสามารถและโอกาสแล้ว ยังมีเรื่องของเส้นสายหรือว่าผู้ใหญ่สนับสนุน เพราะฉะนั้น..อย่าทำให้ผู้ใหญ่เขารู้สึกไม่ดีกับเรา ไม่ว่าจะด้วยประการใดก็ตาม เพราะว่าถ้าเขาเลิกเมตตาเมื่อไร เราจะเดือดร้อนกว่าที่คิด..!

    เรื่องของทางโลกนั้นวุ่นวายมาก เราจะเอาทางธรรมเข้าไปจับอย่างเดียวก็ถือว่า "อยู่ไม่เป็น" บางคน "อยู่ไม่เป็น" หนักถึงขนาดต้องออกจากงาน ต้องเปลี่ยนศาสนาไปเลย..!

    มีโยมอยู่คนหนึ่งตั้งใจปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบัน เกรงว่าศีล ๕ จะไม่พอ ก็เลยถือกรรมบถ ๑๐ คราวนี้พอเพื่อนฝูงร่วมงานสอบถาม ไม่ว่าจะปัญหาทางการทางงาน หรือคุยเล่นอะไร แม่เจ้าประคุณอมลิ้นเงียบอย่างเดียว กลัวว่าจะผิดกรรมบถ ๑๐ ข้อวาจา ซึ่งมีทั้งห้ามโกหก ห้ามส่อเสียด ห้ามเพ้อเจ้อ ห้ามพูดคำหยาบ คราวนี้เพื่อนฝูงก็ยังพอทน พอเจ้านายถามแกก็อมลิ้นเงียบอีก กลัวจะผิดกรรมบถ ๑๐ ท้ายสุดก็เลยโดนไล่ออกจากงาน..!

    แล้วแกก็น้อยใจว่าถือศาสนาพุทธ อุตส่าห์ปฏิบัติเคร่งครัดขนาดนี้แล้ว ยังไม่เห็นได้ผลดีอะไรตอบแทน แกก็เลยเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งคาดว่าปัจจุบันนี้อาจจะเป็นอิสลามไปแล้วก็ได้..!

    นั่นคือลักษณะของคนที่ "อยู่ไม่เป็น" ปฏิบัติธรรมแบบเถรตรง โลกเราวุ่นวายมาก ถ้าใช้ภาษิตจีนเขาบอกว่า "พบผู้คนกล่าววาจาผู้คน พบภูตผีกล่าววาจาภูตผี" ก็คือต้องไปกับเขาได้ทุกเรื่อง เพียงแต่ว่าในฐานะพุทธศาสนิกชนของเราก็ไปแค่สุดขอบของศีล ก็คือถ้าทำให้เราต้องละเมิดศีล ๕ เราก็ไม่ไปด้วย ถ้าลักษณะอย่างนี้เราถึงจะสามารถรักษาตัวรอดได้
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    16,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +26,018
    ในขณะเดียวกัน ถ้าหากว่าทำไปในลักษณะของบุคคลผู้มีน้ำใจ ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่นอยู่เสมอ ท้ายสุดก็จะมีคนเห็นด้วยกับการปฏิบัติของเรา บางคนก็คล้อยตาม บางคนก็ทำตามไปเลย เพียงแต่ว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างที่จะนานมาก

    ดังนั
    ..ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมหรือทำคุณงามความดีจึงเป็นเรื่องที่ควรจะออกจากใจ ถ้าเราทำดีด้วยใจก็จะทำได้ทน ทำได้นาน หน้าด้านทำไปจนกระทั่งตายกันไปข้างหนึ่ง แต่ถ้าเราทำดีเพราะอยากดี ถึงเวลาความดีไม่ตอบแทน เราก็จะท้อถอย หมดกำลังใจ หลายต่อหลายคนก็หลุดวงโคจรหายไปเลย ซึ่งไม่รู้ว่าอีกกี่กัปกี่กัลป์กว่าจะย้อนกลับมาได้โอกาสอย่างนี้อีก..!

    ดังนั้น..พระพุทธเจ้าท่านถึงได้ตรัสเอาไว้ แล้วพระรัฐบาลเถระนำไปกล่าวกับพระเจ้าโกรัพยะว่า "โลกนี้สับสน พร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา" เห็นหรือยังว่าสับสน แต่คราวนี้ความสับสนเหล่านี้ ถ้าเรายึดมั่นในเรื่องของศีล ของสมาธิ ของปัญญา เราก็จะมีสติปัญญาที่แหลมคม ว่องไว สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร แล้วก็จะทำในด้านที่ดีที่สุด ก็คือดีที่สุดทั้งสำหรับตนเอง ทั้งสำหรับผู้อื่น และทั้งสำหรับส่วนรวม

    การปฏิบัติธรรมจึงเป็นเรื่องจำเป็นในทุกที่ ถ้าหากว่าเราปฏิบัติแล้วยังไม่สามารถเอาไปใช้งานในชีวิตจริงได้ แปลว่าการปฏิบัตินั้นยังไม่มีผล ถ้าปฏิบัติแล้วสามารถให้กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเราในการดำเนินชีวิตได้ ถึงจะเรียกว่าการปฏิบัติธรรมแล้วมีผล

    พวกเราตอนนี้ส่วนใหญ่ก็อยู่ในลักษณะของลูกเต๋า โยนลงไปตรงไหนก็แปะอยู่ตรงนั้น เพราะว่าลูกเต๋าเป็นเหลี่ยม ๆ ต้องค่อย ๆ ขัด ค่อย ๆ เกลาตนเองไปเรื่อย จนกระทั่งเหลี่ยมใหญ่เป็นเหลี่ยมเล็ก จากเหลี่ยมเล็กก็ไม่มีเหลี่ยม แล้วท้ายที่สุดก็สามารถกลิ้งไปได้รอบตัว เอาไปแช่น้ำมันเพิ่มได้ยิ่งดี..!

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เราจะดึงเอามาจากรอบข้างของเราได้ เห็นว่าส่วนโน้นของเขาดีเราก็หยิบเอามาใช้สักนิด ส่วนนั้นของคนนี้ดีก็หยิบเอามาใช้เสียหน่อย เมื่อทำไป..ทำไป..ก็กลมกลืนกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเรา ก็จะเป็นตัวตนของเราที่ไม่เหมือนใคร อาจจะมีมุมโน้นเหมือนคนโน้นนิด มุมนี้เหมือนคนนี้หน่อย แต่ว่าจะให้คนอื่นเลียนแบบทั้งหมดนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าเป็นประสบการณ์ทั้งชีวิตหลายสิบปี เหมือนอย่างกับเราหยิบเอาดินเหนียวจากแหล่งโน้นนิดแหล่งนี้หน่อยมา ท้ายสุดก็ปั้นเป็นผลงานของตัวเอง
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    16,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +26,018
    หลักธรรมของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องศึกษาทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หลัก ๆ ก็แค่ ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น เพียงแต่ว่าทำให้จริง ถ้าหากว่าทำไม่จริงอย่างหนึ่ง ยังไม่รู้จักเบื่อหน่ายและเข็ดหลาบกับชีวิตที่เต็มไปด้วยความทุกข์อีกอย่างหนึ่ง เราก็จะไม่ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น

    พูดง่าย ๆ ว่ายังไม่เห็นทุกข์ เห็นโทษ ของการดำเนินชีวิตอยู่ ตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้น จนหลับตาลงไป เราเดินอยู่บนกองทุกข์ตลอดเวลา ในเมื่อมองไม่เห็น ไม่รู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นโทษ เราก็ไม่คิดที่จะดิ้นรนหลีกหนี โดยเฉพาะในสิ่งดี ๆ เป็นสิ่งที่หลีกหนียากที่สุด เพราะว่าทุกคนต้องการ

    ในการปฏิบัติธรรมนั้นดีก็เกาะไม่ได้ ชั่วก็เกาะไม่ได้ เกาะดีก็ติดดี เกาะชั่วก็ติดชั่ว ไปไหนไม่ได้ เพียงแต่ว่าสิ่งใดที่เป็นความดี สมมติทางโลกเขานิยมอย่างนั้น เราก็เร่งทำไปเรื่อย ทำดีจนถึงดีที่สุดเมื่อไร เราก็จะปล่อยดีไปเองโดยอัตโนมัติ เหมือนอย่างกับเราเดินขึ้นบันได เราก็เกาะราวบันไดไปเรื่อยเพื่อความมั่นคง พอขึ้นถึงชั้นบน เราเดินเข้าห้องไป ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าปล่อยราวบันไดตอนไหน

    นั่นคือลักษณะของการทำดีจนถึงที่สุด แล้วท้ายที่สุด รู้ว่าดีก็ทำ รู้ว่าชั่วก็ละ ไม่เกาะทั้งดีทั้งชั่วก็จบ ฟังดูง่ายนะ..ไปลองทำดูก็แล้วกัน แต่ตอนนี้ทำวัตรก่อน
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...