ขอคำแนะนำเรื่องพระสอนสมาธิครับ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ปลาแมว, 16 เมษายน 2013.

  1. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
  2. สีลสิกขา

    สีลสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    1,271
    ค่าพลัง:
    +7,137
    หลวงปู่มั่นตอบสั้นๆ คือ "ใจ"!
    "แล้วศีล ๒๒๗ นั้น หลวงปู่ไม่ได้รักษาหรือ"?
    หลวงปู่มั่นตอบว่า... "อาตมารักษาใจไม่ให้คิดพูดทำในทางผิด
    อันเป็นการล่วงเกินข้อห้ามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ จะเป็น ๒๒๗
    หรือมากกว่านั้นก็ตาม บรรดาที่เป็นข้อบัญญัติห้าม อาตมาก็เย็นใจว่า
    ตนมิได้ทำผิดต่อพุทธบัญญัติ ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล ๒๒๗ หรือไม่นั้น สุดแต่ผู้นั้นจะคิดจะพูดเอาตามความคิดของตน
    เฉพาะอาตมาได้รักษาใจอันเป็นประธานของกายวาจาอย่างเข้มงวดกวดขันตลอดมา นับแต่เริ่มอุปสมบท"
    "การรักษาศีลต้องรักษาใจด้วยหรือ"?
    หลวงปู่มั่นแผ่เมตตาธรรมให้กับคนกรุงผู้ยังเป็นดอกบัวใต้น้ำว่า
    "... ถ้าไม่รักษาใจจะรักษาอะไร ถึงจะเป็นศีลเป็นธรรมที่ดีงามได้
    นอกจากคนที่ตายแล้วเท่านั้นจะไม่ต้องรักษาใจแม้กายวาจาก็ไม่จำต้องรักษา
    แต่ความเป็นเช่นนั้นของคนตายนักปราชญ์ท่านไม่ได้เรียกว่าเขามีศีล
    เพราะไม่มีเจตนาเป็นเครื่องส่องแสดงออก
    ถ้าเป็นศีลได้ควรเรียกได้เพียงว่าศีลคนตาย
    ซึ่งไม่สำเร็จประโยชน์ตามคำเรียกแต่อย่างใด
    ส่วนอาตมามิใช่คนตายจะรักษาศีลแบบคนตายนั้นไม่ได้
    ต้องรักษาใจให้เป็นศีลเป็นธรรมสมกับใจเป็นผู้ทรงไว้ทั้งบุญทั้งบาปอย่างตายตัว..."


    โมทนาสาธุ..จ้าวค่ะ / ขอบพระคุณค่ะ ^^
     
  3. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    หนึ่งดวงใจ ล้านไพรี ที่ขวางกั้น
    ขอฝ่าฟัน ทะลวงไป ให้รู้ผล
    จะไม่ยอม ให้เสียชาติ ที่เกิดเป็นคน
    จะสู้ทน อย่างอาจหาญ แม้ทรมานใจ

    เอาพระพุทธ เอาพระธรรม เอาพระสงฆ์
    ให้เป็นธง นำทาง สว่างไสว
    จะเดินตาม รอยบาท พระศาสดาไป
    ด้วยหัวใจ ที่เที่ยงแท้ แด่พระโพธิญาณ

    หนึ่งดวงใจ หนึ่งดวงจิต ชีวิตนี้
    จะขอพลี ชีวีให้ ด้วยใจหาญ
    จะอดทน ต่อสู้ กับหมู่มาร
    ให้โลกสะท้าน ให้มารกระเซ็น ร่มเย็นด้วยธรรม
     
  4. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    หลวงปู่
    พ.สุรเตโช
     
  5. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    หลวงพ่อทูล

    ผู้ที่ได้ฟังธรรมในสมัยครั้งพุทธกาลฟังกันอย่างมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา พิจารณาแยกแยะในเหตุผลจนเข้าใจ ได้นำเอาธรรมหมวดนั้นมาปฏิบัติก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่ง ตามบุญบารมีของแต่ละท่านที่ได้บำเพ็ญมา จะเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี หรือได้บรรลุธรรมในระดับสูงเป็นพระอรหันต์ ขึ้นอยู่กับวาสนาบารมีที่ได้บำเพ็ญมาแต่ละเท่าไม่เท่ากัน เหตุนั้น การได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าในสมัยครั้งพุทธกาลจึงเป็นไปได้ง่าย เพราะได้รับอุบายธรรมจากพระพุทธเจ้าที่ตรงกับจริตนิสัยของตัวเอง และตรงกับบารมีที่ตัวเองได้บำเพ็ญมา จึงเรียกว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าเป็นจำนวนมาก อุบายธรรมของพระพุทธเจ้าแต่ละหมวดหมู่ พระองค์ให้อุบายธรรมไม่เหมือนกัน ใครได้บำเพ็ญบารมีมาอย่างไร พระองค์ก็ให้อุบายธรรมที่ตรงต่อบารมีของท่านผู้นั้น เว้นเฉพาะผู้สร้างบารมีมาเหมือนกันจึงให้อุบายธรรมเหมือนกัน

    ....ฉะนั้นพวกเราจงศึกษาให้ดี มิใช่ว่าจะเอาหมวดธรรมใดมาปฏิบัติก็จะบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้ ถ้าหมวดธรรมนั้นตรงกับบารมีที่เราได้บำเพ็ญมาก็โชคดีไป ถ้าเอาหมวดธรรมที่ไม่ตรงกับบารมีของตัวเองมาปฏิบัติ ถึงจะเร่งความเพียรอย่างเข้มข้นเต็มที่อยู่ก็ตาม การจะได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยเจ้าก็เป็นไปไม่ได้อยู่นั่นเอง เหมือนกินยาไม่ถูกกับโรค ไม่ว่าจะกินสักปานใดโรคก็ไม่หายนี้ฉันใด การปฏิบัติธรรมก็เป็นฉันนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    โสดาบัน...สำคัญไฉน

    ผู้ปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ ก็มักจะพลั้งเผลอ เอาปริยัติเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอด
    ทำให้เกิดการระแวงสงสัย ว่าการปฏิบัติของเรานั้นไปถึงขั้นไหนแล้ว ทั้งๆที่ในอดีต
    สมัยพระพุทธกาลมานั้น ไม่มีขั้นตอนของการปฏิบัติ แต่เราเอาผลของการปฏิบัติ
    มาแยกออกตั้งเป็นหัวข้อ เพื่อให้มีการเรียนรู้ คนเรารุ่นหลังๆ ก็เลยนำเอาตัวหนังสือ
    มายึดเป็นแบบฉบับ ซึ่งบางครั้ง ผู้ที่ยึดแต่ตัวหนังสือนั้น ยังไม่เคยสัมผัสผลของ
    การปฏิบัตินั้นๆ ก็เลยคิดเอาเองว่า เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ แล้วก็นำมาทุ่มเถียงกัน
    กล่าวอ้างไปตามความนึกคิดของตน

    ผู้ที่ปฏิบัติธรรมถึงขั้นโสดาบันแล้วนั้น ก็จะทราบแต่เพียงวาระจิตของตัวเอง
    ที่มีความเปลี่ยนแปลงในขณะนั้น เช่นจิตเข้าสู่ความสงบโดยปัญญา แล้วสามารถละ
    บางสิ่งบางอย่างออกไปจากใจได้ โดยไม่รู้เลยว่า ขั้นนั้นเรียกว่า”โสดาบัน” เพราะ
    เมื่อจิตถึงขั้นละวางได้นั้น ไม่มีตัวหนังสือใดๆมาชี้บอกว่าสำเร็จโสดาบัน ก็เหมือนกับ
    เรากินข้าวอิ่ม เราก็รู้สึกอิ่ม ไม่ต้องมีตัวหนังสือใดๆขึ้นมาว่าอิ่ม แล้วเมื่อเรากินข้าว
    อิ่มแล้ว เราจะต้องไปถามใครหรือไม่ ว่า เรากินข้าวอิ่มหรือยัง เพราะมันบ่งบอกความ
    รู้สึกของเราอยู่แล้ว เราจะอิ่มมากอิ่มน้อย เราก็รู้สึกของเราเอง

    การกินข้าว เราเอาอาหารจากภายนอกใส่เข้าไป แล้วเกิดการอิ่มโดยกาย
    แสดงออกให้กายรู้ว่าอิ่ม การสำเร็จธรรม ก็คือการนำธรรมะจากภายนอกเข้าไปสู่
    ภายใน แล้วเกิดการรู้ด้วยใจ

    การจะสำเร็จธรรมได้นั้น ไม่ใช่เพียงแต่รู้ภายนอกแล้วจะสำเร็จ นั่นเป็นเพียง
    การนึกคิดเอา การคาดเดาเอาเท่านั้น เมื่อเราพิจารณาธรรม นั่นคือการนำเอาธรรม
    เข้าสู่ภายในใจ เมื่อจิตสามารถตีความหมายของธรรมออกชัดแจ้งเมื่อไร จิตจะมีความ
    ยินดีในธรรมนั้นๆ จะเกิดความรู้ขึ้นเองภายในจิต แล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงของจิต
    เกิดขึ้นไปในทางที่เป็นสัมมา แล้วจิตก็นำออกมาให้กายปฏิบัติตามนั้น มีการละวาง
    ไปตามขั้นตอนของธรรมะนั้นๆ

    การเกิดนิมิตใดๆเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่ขั้นของการสำเร็จ เป็นเพียงตัวเสริม
    ในการปฏิบัติธรรมเท่านั้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำเอาข้อคิดจากนิมิตนั้นไปพิจารณา
    หาเหตุผลในธรรมะที่ตนเองกำลังพิจารณาอยู่ นิมิตสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในขณะ
    ที่ปฏิบัติอยู่นั้น และแต่ละคน ก็เกิดนิมิตที่แตกต่างกันออกไปตามจริตนิสัยของคนนั้น

    แนวทางการฝึกจิตเพื่อบรรลุธรรม

    เมื่อพอจะรู้จักการฝึกสมาธิขั้นต้นแล้ว ให้มุ่งจิตเข้าสู่การพิจารณาธรรมะ
    โดยการเริ่มที่ กรรมฐานห้า คือสิ่งที่เราเห็นภายนอก ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
    แล้วเข้าสู่ภายในทั้งหมด ที่เรียกว่าอาการสามสิบสอง จะดูความไม่เที่ยง ดูความ
    เป็นทุกข์ ดูการเกิดดับ หรือพิจารณาทางใดก็แล้วแต่จริตนิสัยของแต่ละคนว่า
    ชอบพิจารณาด้านใด การพิจารณา ให้พิจารณาตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด
    อยู่ที่ไหน กำลังทำอะไร แม้กระทั่งในขณะกิน หรือขับถ่าย ก็สามารถนำเอาสิ่งของ
    รอบตัวมาประกอบการใช้ปัญญาพิจารณาได้ทั้งสิ้น เช่นในขณะขับถ่าย นั่นคืออาหารเก่า
    ที่ร่างกายขับทิ้ง การกิน นั่นคืออาหารใหม่ที่เรากินเข้าไป พิจารณาให้รอบรู้ทุกๆด้าน
    เมื่อจิตพิจารณาบ่อยเข้าๆ จิตก็จะคุ้นเคยและพิจารณาโดยไม่หยุด เมื่อถึงเวลาอัน
    สมควรแก่จิต ก็จะเกิดอาการขึ้นทางจิต ทำให้เราสามารถเห็นความเป็นจริงของ
    และการเปลี่ยนแปลงของสัตว์โลก จิตจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในจิต ส่วนอาการ
    เกิดในขณะนั้นจะเป็นอย่างไร ก็แล้วแต่แต่ละคนอีกนั่นแหละ มันจะเกิดขึ้นเองในจิต
    โดยที่เรามิได้เป็นผู้กำหนด และบางครั้ง เราก็กำหนดหรือบังคับไม่ได้ด้วย เพราะ
    เป็นไปตามสภาวะของจิตในขณะนั้น

    ไม่จำเป็นต้องลังเลสงสัย ว่าเราปฏิบัติถึงขั้นใด เพราะนั่นคือความลังเลสงสัย
    จิตยังไม่ข้ามพ้นจากจิตปุถุชนธรรมดา เราจะถึงขั้นใด ก็ช่างมัน เรามุ่งหน้าตั้งตา
    ปฏิบัติต่อไปโดยไม่ยอมหยุด ไม่ต้องตั้งความหวังว่าเราจะต้องสำเร็จโสดาบัน
    หรือขั้นตอนใดหรือไม่ เรากินข้าวไปเรื่อยๆ แล้วเราก็อิ่มเอง เราปฏิบัติพิจารณา
    ไปเรื่อยๆ เราก็สำเร็จเอง

    เราต้องให้ครูบาอาจารย์รับรองหรือไม่ว่าเราสำเร็จธรรมขั้นใด.....
    เราต้องให้ใครมารับรองไหมเมื่อเรากินข้าวอิ่มแล้ว....

    ตัวเรารู้เอง เพียงแต่อย่าด่วนสรุปหลอกตัวเองว่าสำเร็จ จิตย่อมรู้ในจิต
    รู้แล้วก็อยู่ในจิต ถ้าในตำราไม่เขียนขั้นตอนและตั้งชื่อของการสำเร็จเอาไว้
    เราก็ไม่รู้ว่าเราสำเร็จขั้นไหน เพียงในจิตเรารู้ว่า จิตของเราสามารถละวาง
    ในจิตได้หลายอย่าง ผิดจากคนทั่วไปอย่างชัดเจนเท่านั้น จิตจะไม่ตำหนิ
    ติเตียนใคร แต่จิตจะเกิดความสงสาร ความเมตตาแก่เขาเหล่านนั้น

    วัดจิตใจ

    1. อยากได้สมบัติต่างๆไหม ยังอยากแสวงหามาและยังหวงแหนอยู่หรือไม่.
    ..สมบัติทางโลก ตายไปย่อมทิ้งไว้กับโลก ยังอยากแสวงหาพัดยศอยู่หรือไม่
    อยากเป็นท่านเจ้าคุณไหม

    2. ความโกรธ ความพยาบาทอาฆาต อารมณ์ฉุนเฉียว ความน้อยอกน้อยใจ
    มีการทะเลาะเบาะแว้ง อาการเหล่านี้ เป็นอาการของจิตปุถุชน ไม่ใช่อาการ
    ในจิตของผู้สำเร็จธรรม

    3. พูดเสียดสี ความสะใจในความหายนะที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น สะใจ
    เมื่อคนอื่นถูกตำหนิ การนินทาในทางเสื่อมเสีย

    4. หวงและห่วงลูกสาว หวงและห่วงลูกชาย หวงและห่วงสามี ภรรยา
    จิตยังไม่สามารถปล่อยวางจากวัฏฏะสงสารได้

    5. สงสัยว่าตายแล้วเกิด หรือตายแล้วไม่เกิด ตายแล้วสูญ

    6. คิดว่าตัวเองเก่งกว่าใครๆทั้งสิ้นทั้งทางธรรมและทางยศถาบรรดาศักดิ์
    คิดว่าตัวเองเป็นพระย่อมเก่งกว่าโยม คิดว่าห่มผ้าเหลืองแล้วย่อมเหนือกว่าคนธรรมดา
     
  7. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    ท่าทางองค์หลวงปู่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังษี
    กำลังนั่งเหมือนท่าบริกรรม,เข้าฌาณสมาบัติหรือเหมือนชักรูปประคำ
    โดยมีมือขวากำอยู่บนมือซ้าย ส่วนมือซ้ายนั้นกำอยู่ด้านล่างมือขวา
    หากพิจารณาดีๆก็เหมือนท่านั่งสมาธิโดยเอามือขวาวางทับมือซ้ายแล้วตั้งกายให้ตรงดำรงมั่นฯ
    เพียงแต่องค์ท่านยกมือขึ้นมาแล้วทำท่าทางกำมืออยู่ระหว่าง "กลางทรวงอก"
    สำหรับคนทั่วไปก็จะตีความหมายตามภูมิรู้ ภูมิธรรม ตามความหมายข้างต้น
    แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าองค์หลวงปู่ท่านมีปัญญาเลิศล้นกว่าหมู่คนทั้งปวง
    เราจึงได้รับรู้เรื่องราวเรื่องเล่าต่างๆเกี่ยวกับองค์ท่าน ในความปราดเปรื่องทางปัญญาอยู่เสมอๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • bb8sr.jpg
      bb8sr.jpg
      ขนาดไฟล์:
      217.4 KB
      เปิดดู:
      34
  8. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช ท่านเมตตาไขข้อสงสัยนี้ให้เหล่านักรบธรรมแห่งภูดานไหฟังว่า
    เมื่อเราประสพเรื่องราว เครื่องหมาย นิมิตใดๆ ให้ตีความหมายไปใน "ทางธรรม" เสมอ
    ครูบาอาจารย์ระดับนี้ ท่านไม่สื่ออะไรออกมาเป็นของง่ายของธรรมดาเป็นแน่ ความหมายพอสังเขปมีดังนี้

    1. มือขวาที่กำอยู่เบื้องบนมือซ้ายท่านเรียกว่า "กรรมบน" เปรียบเหมือน "ปาก"
    2. มือซ้ายที่กำอยู่ด้านล่างมือขวาท่านเรียกว่า "กรรมล่าง" เปรียบเหมือน "ท้อง"
    3. (ขออนุญาตเสริม) ท่าทางที่องค์ท่านยกมือทั้งสองขึ้นมาระหว่างกลางทรวงอกนั้น..
    ขออนุญาตเรียกว่า "กรรมทั้งมวล" นั้นรวมสู่ที่ "ใจ"

    สรุปว่า อันคนเราจะคิดจะทำสิ่งใดๆ ก็คิด ก็ทำไป "เพื่อปากเพื่อท้อง" ของตนเสมอ
    กรรมทั้งมวลส่วนใหญ่จึงเกิดจากปากจากท้องของบุคคลนั้นๆ
    จะต่อสู้ดิ้นรนแสวงหาทรัพย์สินเงินทองหน้าตายศฐาบรรดาศักดิ์ก็ทำไป "เพื่อปากเพื่อท้อง"
    จะโกงบ้านจะกินเมือง "ก็เพื่อปากเพื่อท้อง" องค์ครูบาอาจารย์ท่านว่ามาประมาณนี้
     
  9. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    เมื่อใดจิตเราหลงเข้าไปยึดเอา รูป-นาม อารมณ์ต่างๆ จนดีใจ เสียใจ ชอบใจ ไม่ชอบใจ ยินดี ยินร้าย สุข ทุกข์ เศร้าหมอง ผ่องใส ตามอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ เรียกว่า "จิตห่างธรรม"

    เมื่อใดจิตเรารู้ตามความเป็นจริง ไม่หลงเข้าไปยึดเอารูปนามอารมณ์ต่างๆ ว่าเป็นเรา เห็นความเกิดดับในสิ่งเหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า "จิตไม่ห่างธรรม"

    ธรรมะองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช
    วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๖
     
  10. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    1. การเกิดที่สูญเปล่า คือการเกิดแล้วไป "หลง" ใน "ทุกข์" ว่าเป็นของ "สุข" จึงเวียนเกิดอยู่อย่างนั้น...หาทางออกมิได้
    2. การเกิดที่ไม่สูญเปล่า คือการเกิดแล้วมา "รู้" ว่ามันเป็น "ทุกข์" จึงออกแสวงหาวิธีดับ "เหตุ" แห่งทุกข์นั้นๆ
    ต่อให้เวียนเกิดอยู่อย่างนั้น...สักวันคง "หยุด" การเกิดได้ สมใจปราถนา

    สู้ไปเถิดเพื่อนนักรบธรรมแห่งภูดานไหทั้งหลาย ไม่ว่าเราจะเกิดมาอีกกี่ภพชาติก็ตาม
    หากการเกิดนั้นได้มาพบพระพุทธเจ้า ได้มาพบพระธรรมคำสั่งสอนของแท้ของพระองค์
    ได้มาประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมของตน ได้มาดำเนินตามรอยบาทของพระองค์อย่างดีแล้ว
    ก็นับเป็น "การเกิดที่ไม่สูญเปล่า" และข้าพเจ้าขอโมทนาสาธุกับการเกิดที่ "ไม่หลงโลก" ของทุกๆท่าน
     
  11. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ครอบครองแก้ว 7 ประการ อันได้แก่


    1. จักรแก้ว (จกฺกรตฺตนํ) เมื่อผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ พระองค์ทรงรักษาศีลอุโบสถ ชำระจิตให้สะอาดแล้วทรงทำสมาธิ จักรแก้วก็บังเกิดขึ้น ทำจากโลหะมีค่า ส่องแสงสว่างไสว แล้วพาพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมเหล่าเสนาบดีลอยไปยังประเทศต่างๆ ในทวีปทั้ง 4 ประเทศต่างๆ ก็ยอมสวามิภักดิ์ ไม่มีการสู้รบกัน เมื่อจะถวายเครื่องบรรณาการพระเจ้าจักรพรรดิก็ไม่ยอมรับแต่พระราชทานโอวาทศีล 5 ให้


    2. ช้างแก้ว (หตฺถีรตฺตนํ) ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้าง มีชื่อว่า อุโบสถ สีขาวเผือก สง่างาม มีฤทธิ์เดชสามารถเหาะได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า


    3. ม้าแก้ว (อสฺสรตฺตนํ) ม้าแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้า มีชื่อว่า วลาหกะ เป็นอัศวราชผู้สง่างาม ขนงาม มีหางเป็นพวง ตรงปลายคล้ายดอกบัวตูม มีฤทธิ์เดชเหาะเหินเดินบนอากาศได้ คล่องแคล่วว่องไง ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า


    4. มณีแก้ว (มณิรตฺตนํ) มณีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วมณีเปล่งแสงสุกสกาว ใสแวววาวยิ่งกว่าเพชร เปล่งรังสีแสงสว่างไสวโดยรอบถึง 1 โยชน์ คอยบันดาลความอุดมสมบูรณ์ทุกอย่างให้บังเกิดขึ้น ดึงดูดสมบัติทั้งหลายมาให้ สามารถเลี้ยงคนได้ทั้งชมพูทวีปโดยไม่ต้องทำมาหากิน เมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทดลองแก้วมณีกับกองทัพ โดยติดแก้วมณีไว้บนยอดธงนำทัพ แก้วมณีก็เปล่งแสงสว่างไสว ทำให้กองทัพเดินทางได้สะดวกสบาย เหมือนเดินทัพในเวลากลางวัน


    5. นางแก้ว (อิตถรตฺตนํ) นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นหญิงที่มีบุญญาธิการ รูปร่างน่าดูชม ผิวพรรณเปล่งปลั่งผ่องใส สวยงามกว่ามนุษย์ทั่วไป พูดจาไพเราะ ไม่โกหก มีกลิ่นดอกบัวหอมฟุ้งออกจากปาก มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้งรอบกาย นางแก้วเป็นผู้คอยปรนนิบัติพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไม่ขาดสาย ตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยฟังรับสั่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ประพฤติชอบต่อพระเจ้าจักรพรรดิเสมอ


    6. ขุนคลังแก้ว (คหปติรตฺตนํ) คฤหบดีแก้ว หรือขุนคลังแก้ว สามารถนำทรัพย์สินมาให้แด่พระเจ้าจักรพรรดิได้ ขุมทรัพย์อยู่ที่ไหน ขุนคลังแก้วเห็นหมด


    7. ขุนพลแก้ว (ปริณายกรตฺตนํ) ปริณายกแก้ว หรือขุนพลแก้ว คือพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นขุนศึกคู่ใจ เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ มีความฉลาดเฉลียว รู้สิ่งใดควรไม่ควร คอยให้คำแนะนำปรึกษาแด่พระเจ้าจักรพรรดิอยู่เสมอ


    แก้ว จึงประเสริฐยิ่งในการสร้างสิ่งที่ประเสริฐยิ่ง


    พระพุทธปฐวีธาตุที่พ่อแม่ครูอาจารย์มอบให้เหล่า นรธ. ก็เป็นแก้วที่ประเสริฐเช่นกัน; กันบางส่วนไว้...รอบรรจุพระเจดีย์ฯด้วยกันนะครับ
     
  12. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    ท่ามกลางบรรยากาศต้นไม้ใหญ่ ใบสีเขียวหนาทึบทั่วบริเวณภายในวัดอรัญญาวิเวก (บ้านปง) ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ล้วนแล้วมาจากการจรรโลงให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของ พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

    คำพูดที่พระอาจารย์เปลี่ยนมักใช้สนทนาธรรมกับประชาชนที่เดินทางมาปฏิบัติธรรม ณ วัดแห่งนี้กันเป็นจำนวนมาก หลายคนที่มาที่วัดก็เพราะขาดสติคือ "ต้องใช้สติปัญญาในการพิจารณาหาต้นเหตุแห่งกองทุกข์นั้นยังไม่สมบูรณ์ จึงพากันมีความทุกข์อยู่ มีความเดือดร้อนกันอยู่ทั้งบ้านทั้งเมืองในปัจจุบันนี้นั้นก็คือบุคคลนั้นไม่รู้จักความพอดีนั่นเอง"
    นอกจากนี้พระอาจารย์เปลี่ยนยังย้ำเสมอในการสอนญาติโยมเกี่ยวกับการมองตนเองว่า "เมื่อคนเราเกิดมาแล้วอยู่ร่วมกัน ทำการงานร่วมกัน พูดจากัน ในเรื่องราวต่างๆ ประชุมหารือกัน ความคิดเห็นก็ต่างกัน บางบุคคล บางหมู่คณะก็คิดถูกบ้าง บางบุคคลบางหมู่คณะก็คิดผิดบ้าง นี้เป็นเรื่องธรรมดาสามัญ"
    พระอาจารย์เปลี่ยนได้ให้สัมภาษณ์พร้อมความกระจ่างเกี่ยวกับการมองดูตนเองแบบ "คม ชัด ลึก" ดังนี้
    - พระอาจารย์เน้นย้ำเรื่องการมองดูตนเองเพราะอะไรครับ ?
    - ก็เพราะคนเราเกิดขึ้นมานั้น ไม่ใช่พวกเราจะเสียสละ ละกิเลสให้หมดไปได้ง่ายๆ เพราะกิเลสทั้งหลายนั้นนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานของพวกเรามาหลายภพหลายชาติแล้ว เขาครอบงำย่ำยีมาหลายภพหลายชาติแล้ว แต่พวกเราก็ไม่สามารถที่จะแกะหรือสำรอก หรือลดละปล่อยวางกิเลสออกไปได้หมด พวกเราจึงพากันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารตามฐานะของตน
    เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้ การที่ขัดเกลากิเลสของพวกเรามาแต่ชาติอดีตที่ผ่านมานั้น ใครจะขัดเกลาได้มากน้อยเท่าไร บุคคลใดขัดเกลาได้มาก เมื่อมาเกิดในชาตินี้กิเลสก็เบาบางจากจิตใจ บุคคลใดขัดเกลากิเลสได้น้อย กิเลสก็ยังมืดมน บุคคลใดไม่ได้ขัดเกลากิเลสเลย จึงมืดมนไม่รู้จักบุญบาป ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จิตของบุคคลเป็นคนใจดำอำมหิตทั้งหลายอยู่ในปัจจุบันนี้ มันจึงมีหลายระดับหลายขั้นหลายตอน
    - คนเราเกิดมามีหลายระดับชั้นหมายความว่าอย่างไรครับ ?


    - ใช่ ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนไว้ว่าดอกบัวสี่เหล่า เหมือนเปรียบเทียบกับดอกบัวสี่เหล่า คนเราเกิดมาอยู่ในโลกนี้ย่อมเป็นอย่างนั้น ดังนั้นเมื่อเราคิดดูอย่างนี้แล้ว มันก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล บางคนจิตหยาบมาก บางคนหยาบปานกลาง กิเลสของคนเราจึงแตกต่างกัน อาตมาก็อยากให้ฝึกหัดสติของพวกเรา เพื่อจะให้มีสติมากขึ้น ระลึกได้เร็วขึ้น สัมปชัญญะ หรือตัวของปัญญา ให้รอบรู้เร็วทันกับเหตุการณ์ที่จะเป็นสิ่งสำคัญที่ดีในอนาคต
    - แล้วทำไมถึงต้องทันเหตุการณ์ครับ ?
    - ทำไมต้องทันเหตุการณ์ มันก็คือ พวกเราคิดดูซิ ถ้าพวกเราขาดสติอยู่ สติยังอ่อนอยู่นั้น แม้พวกเราเห็นวัตถุต่างๆ จิตก็ย่อมรั่วไหลไปตามวัตถุนั้นได้ทันที เพราะขาดสตินั่นเอง เราไม่มีสติพอจะรู้ว่ารูป ร่างกาย ของพวกเราก็เหมือนกัน รูปร่างกายของพวกเราทำอะไร เมื่อทำลงไปมันผิดพลาดลงไปแล้ว มันผิดพลาดเพราะอะไร เพราะเราขาดสติ เราระลึกไม่ทันก็ต้องทำไปก่อน สัมปชัญญะก็รู้ไม่ทันเขาจึงทำผิดพลาดกัน
    ทุกวันนี้เราจะเห็นเขาทุบเขาตีฆ่าฟันแทนกันไม่เว้นบนหน้าหนังสือพิมพ์นั้น เป็นเพราะขาดสติสัมปชัญญะควบคุมไม่ได้ ควบคุมร่างกายไม่ได้ ก็เลยทำให้กายนี้ไปทำบาปทำชั่วได้อย่างง่ายดาย ตรงนี้แหละเราจะเห็นได้ชัด ฉะนั้นพวกเราต้องฝึกหัด ฝึกมองตนเอง เราอย่ามองแต่คนอื่น ถ้าเราไม่มีสติปัญญา เราก็จะมองแต่คนอื่น มองจับผิดคนอื่นได้หมด เขาทำอะไรกัน เราก็มองว่ามันผิดไปหมด
    - การมองดูตนเองควรเริ่มต้นอย่างไร ?
    - พระพุทธองค์ยังสั่งสอนเอาไว้ว่าให้ดูตนเอง ฝึกฝนตนเอง แก้ไขตนเอง ปรับปรุงตนเอง จับผิดที่ตนเอง เรียกว่ามาดูที่ตัวเราก่อน อย่าไปดูคนอื่น อย่าไปเพ่งโทษคนอื่นแต่อย่างเดียวเพราะที่ผ่านมาคนเราชอบโทษคนอื่น ดังนั้นการเพ่งโทษตนเองนี้มันยาก ก็เหมือนกับเราดูขนตา ขอบตาเรา มีลูกตาแต่เราดูขนตาไม่เห็น ว่าขนตามีกี่เส้น ขนตามันยาวแค่ไหน มันมองไม่เห็นเลย ตรงนี้มันดูตนเองไม่เห็นอย่างนี้ เพราะอะไร เพราะเราขาดสติปัญญา
    มาถึงตรงนี้อาตมาอยากให้ทุกคนมองดูตนเอง ไม่ต้องมองคนอื่น เป็นเรื่องของคนอื่นไปซะก่อน ถ้าเรามีความสงสารเราก็เตือนกันได้ ถ้าหากเรายังตักเตือนตนเองไม่ได้ เราจะต้องฝึกตนเองก่อน ด้วยการตักเตือนตนเองก่อน มามองดูตนเองก่อน เพื่อจะชำระตนเองก่อน แก้ไขตนเอง เราเกิดมาไม่ใช่จะทำถูกหมด มันต้องทำผิดบ้างถูกบ้าง
    - แล้วสติสัมปชัญญะสำคัญมากน้อยแค่ไหน ?
    - ไม่ว่าคนเราจะยืน เดิน นั่ง นอน ล้วนแล้วต้องมีสติ ถ้าเราขาดสติในการยืน เช่น ถ้าเรายืนอยู่บนสะพานที่จะข้ามน้ำก็ดีหรือยืนอยู่ ณ ที่สูงที่ใดที่หนึ่ง หรือเราไปยืนที่ขอบประตูหน้าต่างก็แล้วแต่ คนที่ขึ้นต้นไม้ก็ดีหรือคนที่ก่อสร้างตึกยืนทำงานอยู่บนไม้นั่งร้าน ถ้าขาดสติก็จะทำให้คนเหล่านั้นพลัดตกลงจากสถานที่ยืนได้ ผลของมันก็จะทำให้เกิดความเสียหาย แข้งขาหัก หรืออาจล้มตายไปก็ได้ นี่เป็นตัวอย่างของคนที่ขาดสติ
    หรือบางคนนอนก็ต้องกำหนดว่าตนเองกำลังนอนอยู่ ใช้สติสัมปชัญญะประคองตนเองในขณะนอน เมื่อมีสติประคองตนเองแล้วมันจะไม่ตกเตียง คนนอนอย่างมีสติหัวมันก็ไม่ตกหมอน คนนอนอย่างมีสตินั่นแหละมันมีประโยชน์ พระพุทธองค์ทรงสอนให้พวกเราศึกษา พัฒนาตนเอง ปรับปรุงตนเอง ให้มีสติสัมปชัญญะในการยืน เดิน นั่ง นอน จึงจะไม่มีอันตราย


    - คนเราทำบุญอย่างไรจึงได้บุญมากๆ ครับ ?
    - ทุกวันนี้เราไม่เข้าใจวิธีทำบุญที่ถูกต้องเหมาะสมในทางพระพุทธศาสนา ท่านจัดไว้ว่า การทำความดีที่ไม่ถูกต้อง ๔ ประการ เป็นเหตุทำให้วิบัติ เป็นทางเสื่อม ไม่เจริญ ได้แก่ ทำความดีไม่ถูกที่ ทำความดีไม่ถูกบุคคล ทำความดีไม่ถูกกาลเวลา และทำความดีแล้วไม่ตามความดีของตน หากว่าเป็นคนที่พอเข้าใจเรื่องการทำบุญแล้ว เขาย่อมเลือกทำบุญได้อย่างดีและถูกต้อง เพราะเขารู้เรื่องดีว่าจะทำบุญอะไรเป็นบุญ และมีประโยชน์อะไรบ้างเมื่อทำบุญ คนไม่มีปัญญาทำบุญย่อมได้บุญน้อย
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า มาสอนวิชาศิลปะแก่พระนี้ ไม่ได้บุญนะ การบริจาคทานให้พระนั้น คิดแล้วน่าจะได้บุญ แต่มันไม่ได้บุญ พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญ เขาก็ยังพากันบริจาคทานกันอยู่ เช่น เอาควาย วัว โค กระบือ ช้าง ม้า มาถวายให้พระ บางที่ก็นำหมู เป็ด ไก่ มาปล่อยไว้ที่วัด จัดเป็นการบริจาคทานที่ไม่ได้บุญเช่นกันเพราะเป็นการสร้างทุกข์ให้กับพระ ต้องเลี้ยงให้กินหญ้าไม่มีเวลาปฏิบัติธรรมหรือเดินจงกรม เป็นต้น
    - เป็นเจ้าอาวาสแล้วทำไมยังต้องกวาดลานวัดอยู่ครับ ?
    - ก็จริงนะ ทุกๆ เช้า อาตมาก็จะออกมากวาดลานวัด ร่วมกับพระลูกวัดอื่นๆ ด้วย ถามว่าอาตมาอายุเยอะแล้วทำไมยังมากวาดลานวัดอีก อาตมาไม่ทำเดี๋ยวพระรูปอื่นจะไม่ทำกัน เราทำเป็นแบบอย่าง โดยการกวาดลานวัดเป็นกิจวัตร จริงๆ มันก็เป็นการออกกำลังกายไปในตัวด้วย สุขภาพจึงแข็งแรงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บให้เป็นทุกข์
    - หลายคนตั้งคำถามพระอาจารย์ว่าทำไมถึงดูไม่ชราเหมือนพระที่มีอายุเท่ากัน ?
    - อาตมาคิดว่าคงเป็นที่สภาพอากาศที่วัดด้วย ไม่มีมลภาวะใดมารบกวน สิ่งแวดล้อมภายในวัดมีแต่ต้นไม้ใบไม้เป็นป่าทึบไปทั่วบริเวณ ซึ่งก็ไม่มีอะไรมาล่อใจใดๆ ให้การปฏิบัติไขว่เขว สิ่งเหล่านี้มันก็ทำให้การปฏิบัติธรรมของอาตมาทำได้อย่างเงียบสงบ
    - มีกิจนิมนต์เทศน์บ่อยหรือเปล่าครับ ?
    - ก็ยังเทศน์อยู่ ใครมานิมนต์ให้ไปเทศน์ที่ไหน อาตมาก็จะไปทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นต่างจังหวัด ปีนี้ก็มีคนมาปฏิบัติธรรมกันมาก ยิ่งเป็นต่างประเทศ คนส่วนใหญ่ชอบฟังธรรมะเช่น ประเทศออสเตรเลีย ไปก็ประมาณ ๒ เดือน ส่วนการเดินทางไปเทศน์ตามสถานที่ต่างๆ ที่จะไปได้ ก็ต้องมีข้อแม้ว่าจะไม่ตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แต่ส่วนใหญ่อาตมาก็จะไปตามที่เขามารับกันตลอดทั้งเดือน อาตมาจะเว้นอยู่แค่ประมาณ ๒-๓ วัน
    ใครจะว่าอย่างไรไม่ทราบ อาตมาคิดว่าใครไม่ดี ใครมันโง่ก็จะพูดภาษาธรรมะไม่ได้ คนที่ไม่รู้จักรักษาศีลปฏิบัติธรรมชีวิตนี้เขาก็จะไม่มีความสุข อาตมาคิดว่าถ้าใครได้ลองปฏิบัติธรรมกันอย่างจริงจังแล้ว ชีวิตพวกเขาก็จะมีความสุข ใครฉลาดหรือโง่ก็ต้องเลือกกันเอาเอง
    - พระอาจารย์มีวัตถุมงคลแจกหรือเปล่าครับ ?


    - วัตถุมงคลก็มีแจกกันบ้าง เพราะลูกศิษย์ของอาตมาเขาทำแล้วก็เอามาถวาย อาตมาก็จะแจกให้กับญาติโยมที่มาทำบุญที่วัด ตอนนี้อาตมาก็บอกให้ลูกศิษย์หยุดทำวัตถุมงคลได้แล้ว อาตมาอยากให้ญาติโยมสนใจอ่านหนังสือธรรมะมากกว่า เพราะธรรมะจะมีความสำคัญกว่าวัตถุมงคล อาตมาเห็นหลายคนยังนิยมวัตถุมงคลมากกว่าธรรมะ เป็นเพราะพวกเขาไม่ได้ศึกษาธรรมะ ไม่ได้ปฏิบัติกันนั่นเอง พวกเขาจึงยังเห็นว่าวัตถุมงคลสำคัญกว่าธรรมะ ถ้าใครได้ปฏิบัติธรรมแล้ว เขาก็จะไม่เอาวัตถุมงคล แต่วัตถุมงคลก็ดี เป็นส่วนหนึ่งของการให้กำลังใจ ยึดเหนี่ยวจิตใจ
    - คนที่แขวนพระเครื่องแล้วไม่ปฏิบัติธรรมจะเป็นอย่างไร ?
    - พวกโยมเห็นนักโทษที่มีอยู่มากมายในบ้านเราไหม พวกเขาแขวนพระเครื่องกันมาก แต่ไม่มีใครปฏิบัติตนให้อยู่ในธรรม เมื่อไปทำอะไรที่ไม่ดี พระท่านก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ เพราะคนเหล่านี้ไม่ได้ปฏิบัตินั่นเอง และอาตมาอยากย้ำว่า ถ้าเรารักษาตนด้วยธรรมะได้ ก็ไม่จำเป็นต้องแขวนพระ ดูสิอาตมาเองยังไม่แขวนพระสักองค์ (หัวเราะด้วยรอยยิ้ม)
    - ที่ว่าขลังและยิงไม่เข้า ตรงนี้เกิดจากอะไรครับ ?
    - ถามอาตมาแบบนี้ ไอ้ที่ว่านี่มันก็เกิดจากพลังจิต พระคาถาที่มีพระเกจิอาจารย์ทำการปลุกเสกลงไป ความขลังไม่ขลังจึงเกิดจากพระเกจิอาจารย์ได้ทำการอธิษฐานประกอบเข้าไป เขาถึงได้เรียกกันว่าสมาธิพลังจิตอย่างหนึ่ง ใครที่นำเอาวัตถุมงคลนี้ไปใช้ไม่ดีก็เป็นบาป ใครเอาไปใช้ในทางที่ดีก็เป็นประโยชน์
    - ทำอย่างไรถึงมีความสุขครับ ?
    - สุขเกิดด้วยการไม่เป็นหนี้ใคร การไม่เป็นหนี้สินใครจะทำให้อยู่เป็นสุขสบาย แต่เราต้องรู้จักจับจ่ายเงินทองได้พอดีกับฐานะของตน จึงไม่เป็นหนี้ใคร เมื่อเห็นคนเดินเข้ามาหาเรา เราก็ไม่หวั่นไหวอะไร ว่าเขาจะมาทวงถามหนี้จากเรา เมื่อเราไม่เป็นหนี้ใคร เราก็อยู่อย่างมีความสุข
     
  13. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    “พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ว่า วิริเย ทุกขมัจเจติ คนจะก้าวล่วงทุกข์ไปได้เพราะความพากเพียร การจะมีความเพียรอยู่ตลอดต้องมีอิทธิบาท ๔ เป็นหลัก คือ ฉันทะ ความพอใจ วิริยะ ความพากเพียร จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ และวิมังสาคือการตรึกตรองดูเหตุผลในการปฏิบัติของตนให้ถูกต้อง”


    ท่านเล่าว่าในระหว่างที่ปฏิบัติธรรมนั้น ท่านไม่เคยมีความสงสัยใดๆ ภายในจิตใจเลย เพราะท่านนึกถึงครูบาอาจารย์ นึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงบรรดาพระสาวกทั้งหลาย ซึ่งเป็นการระลึกนึกถึงในแง่มุมที่ว่าเมื่อพวกท่านเหล่านั้นปฏิบัติแล้วได้บรรลุถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ ท่านว่าท่านได้ยึดเอาเรื่องนี้มาเป็นกำลังใจ มาเป็นเครื่องวัดใจตัวของท่านเองตลอดเวลา
     
  14. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    ไม่มีเวลาทำสมาธิ

    ผู้ถาม - "หลวงพ่อคะ หนูไม่ค่อยจะมีเวลาทำสมาธิค่ะ...?"
    หลวงพ่อ - คนที่ไม่มีเวลาไม่มี นอกจากขี้เกียจ
    ผู้ถาม - "ถ้ากลางวันทำงานและกลางคืนก็ติดธุระ บางทีจะนั่งสมาธิลูกก็กวน"
    หลวงพ่อ - จะไปนั่งทำไม ให้ลูกมันหลับเวลาเรานอนน่ะ สมาธิทำทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน เขาไม่ได้ห้ามต้องนั่งเสมอไปใช่ไหม จริงๆแล้วถ้าเรามีสมาธิก่อนหลับสัก ๒ นาทีก็พอใจแล้วสมาธิไม่ต้องการมาก ที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระสารีบุตรว่า

    "สารีปุตตะ ดูก่อน สารีบุตร บุคคลใดมีจิตว่างจากกิเลส วันหนึ่งชั่วขณะจิตหนึ่ง เราขอกล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตไม่ว่างจากฌาณ"

    เห็นไหม ก็มัวเอาแต่เรื่องนั่งที่เขาว่า อีตอนนอนนั่นแหละ นอนสบาย หัวถึงหมอนปั๊บนึกถึง นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต นึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ และภาวนา "พุทโธ" หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" หายใจ ๒ ฟื้ดหลับไปเลยใช้ได้

    อย่าลืมนะตอนที่ภาวนาหลับเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีนะ ว่าถ้าจิตไม่ถึงฌานนี่มันจะไม่หลับ "ถ้าจิตถึงฌานปั๊บมันตัดหลับทันที ทีนี้ว่าถ้าภาวนาหรือว่านะโมอยู่ ถ้ามันหลับเวลานั้นมันจิตถึงฌาน ขณะที่หลับอยู่กี่ชั่วโมงเขาถือว่าทรงฌานนั้นอยู่ระหว่างหลับ" ถ้าตายระหว่างนั้นจะไปตามกำลังของฌานทันที เห็นไหม ที่ว่าไม่มีเวลาคนขี้เกียจนะ เวลามันมีใช่ไหม

    ถ้าให้ดีเวลาตื่นนอนเอาอีกนิด ไม่ต้องลุกถ้าไม่ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ พอตื่นปั๊บเอาอีกหน่อย จับลมหายใจ หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" ๒ - ๓ ครั้งก็พอแล้ว จิตไม่นึกถึงใคร แค่นี้ใช้ได้ทุกวัน ขอยืนยันว่าลงนรกไม่ได้

    ผู้ถาม - "แล้วถ้าจะไปนิพพานละค่ะ?"

    หลวงพ่อ - ง่ายนิดเดียว แบบนี้ แบบนี้ต้องใช้วิปัสสนาญาณช่วย ก่อนนอนปั๊บนึกว่าเกิดนี่มันเป็นทุกข์ งานทุกอย่างนี่มันเหนื่อย มันเป็นทุกข์ ไอ้การเกิดมีร่างกายมีทุกข์อย่างนี้เราไม่ต้องการอีกขอไปนิพพานชาตินี้ แล้วภาวนาว่า "พุทธโธ" นี่ง่ายนิดเดียว แล้วก็อย่าคิดว่าใช้เวลาเล็กน้อยไม่มีผลนะ

    ถ้าเวลาป่วย ป่วยมากๆ อาการเครียดจะตาย ถึงจะยังไม่ตายก็ตาม แต่ทำท่าจะตาย อารมณ์นี้ทั้งหมดมันจะรวมตัว และจิตจะเป็น "สังขารุเปกขาญาณ" จะวางเฉย

    ถ้าถามว่าตำราไหน อาตมาประสบมาแล้ว เพราะเคยตายหลายครั้ง ชิน ถ้าถึงวาระนั้นมันวางหมด เฉยๆ ไม่ต้องเอาอะไรไปบังคับมันหรอก มันจะเฉยหมด คนก็เฉย สัตว์ก็เฉย วัตถุธาตุสมบัติเฉยหมด ก็คิดว่าแม้ร่างกายมันจะตายจะสนใจอะไร มันเฉย มันเฉยจริงๆ และก็มีหลายคนมีสภาพแบบนี้นะ หลายๆคนมาหายแล้วก็มีภาระยุ่ง เขาเลยบอก แหม...มันไม่น่าหายเลย น่าจะป่วยอยู่เรื่อยๆ แล้วตายไปเลยใช่ไหม ไม่ต้องมาก แค่นี้พอ

    ดีกว่าคนไปนั่งเป๋งนานๆ แต่ตอนที่นั่งหลับตาไม่แน่นะ ภาวนาหรือนินทาใครก็ไม่รู้ ถ้าว่าจะเอากันให้ดีจริงๆ ภาวนาให้หลับจะดีมาก ก็ถือว่าเราเป็นผู้ทรงฌานทุกวัน ถ้าถามว่าภาวนาใช้เวลาเท่าไหร่ ถ้าพุท ไม่ทันโธ หลับ ยิ่งดีใหญ่ จิตเข้าถึงฌานเร็ว ไอ้นี่เขาต้องการนะ จิตเข้าถึงฌานเร็วะ

    ฉันว่าแล้ว คนที่ไม่มีเวลาคือคนขี้เกียจ(หัวเราะ) ว่าไงเวลามีตั้งเยอะไปใช่ไหม

    สำคัญที่คุณภาพ
    ผู้ถาม - "หลวงพ่อคะ ถ้าทำแบบหลวงพ่อว่า ก่อนนอนและเวลาตื่นเช้าอย่างเดียวจะได้ไหมคะ...?"
    หลวงพ่อ - ก็เหลือแหล่แล้ว จริงๆ แล้วมันเหลือแลห่จริงๆนะคือ จิตเวลานั้นให้มันบริสุทธิ์จริงๆ ใช่ไหม อีแค่ ๒ - ๓ นาทีก็ช่างปะไรและอย่าลืมว่าทุกอย่างที่เราทำได้แล้วจะรวมตัวไม่ไปไหนนี่ มันรวมเลย เข้าไปสะสมตัวเลย

    ถ้าเรานั่งครึ่งชั่วโมง ดีไม่ดีสมาธิไม่ได้ ๒ นาทีล่ะ เมื่อยบ้าง ปวดบ้าง ตอนภาวนาให้หลับนี่สมัยก่อนที่ยังฝึกอยู่ ที่หลวงพ่อปานท่านส่งไปหาอาจารย์ต่างๆ ทุกองค์สอนเหมือนกันหมดบอกว่ามันเป็นวิธีที่ได้กำไรมากที่สุด ภาวนาจนหลับนี่นะ และหลับกี่ชั่วโมงเขาถือว่าทรงฌานนั้นอยู่ และอารมณ์มันจะชินพอตื่นขึ้นมาปั๊บ

    ทีนี้การทรงสมาธิเป็นฌานมันมี ๓ ชั้น ฌาน ๑, ๒, ๓, มี ๓ อย่าง อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดเราจะสังเกตได้เวลาตื่น พอเริ่มตื่นพั๊บเต็มที่บังคับให้ภาวนา แสดงว่าขณะที่หลับเราเข้าถึง ฌานหยาบ นะ

    ทีนี้พอตื่นพั๊บเราภาวนาเองทันทีเลยโดยไม่ต้องบังคับตื่นรู้สึกตัวเต็มที่นะ อย่างนี้เวลาจะหลับเข้าถึง ฌานอย่างกลาง

    ถ้าว่าครึ่งหลับครึ่งตื่นมันภาวนาออกมาเลย อันนี้เข้าถึง ฌานละเอียด เป็นเครื่องพิจารณา เป็นเครื่องพิสูจน์ ง่ายดีสะดวกดีได้กำไรมาก

    สังเกตดูพระที่ได้แล้วท่านสอนไม่ยาก ที่ไปเรียนกับท่านล่ะนะ เหมือนกันหมด ถามว่าหลวงพ่อครับ ทำไมสอนไม่ยากเหมือนตำรา บอกกูไม่ได้ถือตำรามาสอนนี่หว่า กูถือความจริง สมัยก่อนท่านใช้ยังงี้นะ ตอนยังหนุ่ม กูไม่ถือตำรานี่หว่า ตำราอ่านไม่ออก ตาไม่เห็น สอนความจริง

    หมายถึงว่าสอนที่ท่านได้มาแล้ว ท่านทำได้แล้วใช่ไหม ท่านเข้าใจว่าอะไรมันถูกอะไรมันควร อย่างไหนมีประโยชน์มาก อย่างไหนมีประโยชน์น้อย นั่งตึ้งชั่วโมงไม่ใช่จะมีประโยชน์ทั้งชั่วโมงสังเกตดูเดี๋ยวมึงก็มากูก็มา แทรกเข้ามาเรื่อย อันนี้เป็นเครื่องพิสูจน์จิตเข้าถึงฌานหรือไม่ถึงอีตอนหลับ

    ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า "ความรู้ทั้งหมดที่ตถาคตนำมาสอนไม่ใช่ของใหม่ มันมีแล้วในโลก"

    คือคนนี่มีสมาธิอยู่แล้ว สมาธินี่มีทุกคนน่ะ ฌานนี่มีทุกคน เพราะคนหลับได้ คนไหนหลับได้คนนั้นมีฌาน ถ้าจิตไม่สงบถึงฌานก็จะไม่หลับ ขณะที่หลับนี่จิตต้องเข้าถึงฌาน ไอ้คำว่าสมาธิคือตั้งใจ เวลานี้เรากินข้าวรู้ว่ากินข้าว นี่เป็นสมาธิ
     
  15. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    ให้ตั้งใจอย่างมีสติ กำหนดสูดลมหายใจเข้าเองยาวๆ นึกว่า พุท
    ให้ตั้งใจอย่างมีสติ กำหนดปล่อยลมหายใจยาวๆ เอง นึกว่า โธ

    ให้ตั้งใจอย่างมีสติ กำหนดสูดลมหายใจเข้าเองยาวๆ นึกว่า ธัม
    ให้ตั้งใจอย่างมีสติ กำหนดปล่อยลมหายใจยาวๆ เอง นึกว่า โม

    ให้ตั้งใจอย่างมีสติ กำหนดสูดลมหายใจเข้าเองยาวๆ นึกว่า สัง
    ให้ตั้งใจอย่างมีสติ กำหนดปล่อยลมหายใจยาวๆ เอง นึกว่า โฆ

    ให้กำหนดทำสัก ๓-๗ ครั้ง หรือมากกว่านี้ก็ได้ เพื่อเป็นอุบายให้พุทโธ ธัมโม สังโฆ มารวมกันที่ใจ ต่อไปให้กำหนดเพียงพุทโธคำเดียว ให้หายใจเป็นปกติตามที่เราหายใจอยู่ในท่าปัจจุบัน ให้มีสติกำกับคำบริกรรมและรู้เท่าทันกับลมหายใจ และให้ตั้งอยู่ในท่าเตรียมพร้อมอยู่สม่ำเสมอ อย่าเผลอตัว

    ให้ตั้งใจอย่างมีสติ กำหนดสูดลมหายใจเข้าเองยาวๆ นึกว่า พุท
    ให้ตั้งใจอย่างมีสติ กำหนดปล่อยลมหายใจยาวๆ เอง นึกว่า โธ

    ในขณะใดที่เราไม่ได้ตั้งใจสูดลมหายใจเข้าเอง นึกว่า พุท แต่ลมหายใจได้ล่วงเข้าไปเสียก่อน ขณะนั้นให้รู้ตัวเองทันทีว่า ความตั้งใจเราขาด มีสติรู้ไม่ทัน หรือในขณะใดเราไม่ได้ตั้งใจปล่อยลมหายใจออกเอง พร้อมกับคำบริกรรมในขณะนั้น เราก็รู้ว่าเราเผลอสติและขาดความตั้งใจเช่นกัน ฉะนั้น จึงให้เราสูดลมหายใจเข้าเอง ให้ตั้งใจปล่อยลมหายใจออกเอง

    เมี่อเราขาดความตั้งใจเมื่อไร การกำหนดดูลมหายใจก็เผลอตัวทันที และให้เราตั้งใจตั้งสติ กำหนดสูดลมหายใจเข้าพร้อมกับบริกรรมเอง และตั้งสติปล่อยลมหายใจออกเอง พร้อมทั้งคำบริกรรมจนกว่าความตั้งใจการตั้งสติมีความชำนาญ ถ้าชำนาญแล้ว สติกับผู้รู้และลมหายใจ กับคำบริกรรมก็จะรู้เท่าทันกันเอง นี้เป็นวิธีที่ฝึกสติแบบรัดกุม

    ถ้าเราเผลอตัวเมื่อไรก็จะรู้ตัวทันที ทีแรกก็รู้สึกอยู่ว่าทำยากอยู่บ้าง แต่ก็ต้องฝึกกันบ่อยๆ เมื่อชำนาญแล้วก็จะเป็นธรรมดา การนั่งสมาธิภาวนาทุกครั้งก็จะคล่องตัวเพราะความเคยชิน นี้เป็นวิธีฝึกสติกับผู้รู้ให้เด่นโดยถือเอาลมหายใจเป็นนิมิตเครื่องหมาย เมื่อชำนาญแล้ว ต่อไปเราจะตัดคำบริกรรมออกให้เหลือเพียงความตั้งใจอันมีสติกับผู้รู้ กำหนดสูดลมหายใจปล่อยลมหายใจเข้าออกเท่านั้นเพื่อจะได้สงบลงสู่ความละเอียดต่อไป และความตั้งใจก็จะเข้มแข็งไปตามๆ กัน
     
  16. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    หลวงพ่อปราโมทย์ : ถ้าใจเราตั้งมั่น เราจะเห็นร่างกายของตัวเองได้ ถ้าใจเราตั้งมั่น เราจะเห็นจิตใจของตนเองได้ ถ้าใจไม่ตั้งมั่น ใจไหลไปทางตา เราจะไปเห็นรูปภายนอก ถ้าใจไหลไปทางหู เราจะไปได้ยินเสียง ถ้าใจไหลไปทางจมูก เราจะไปได้กลิ่น ถ้าใจไหลไปที่ลิ้น เราจะได้รส ถ้าใจไหลไปตามผิวกาย เราจะรู้สึกสัมผัสภายนอก เย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหวอะไรข้างนอกได้ ข้างในก็รู้สึกได้ แต่จิตมันเคลื่อนทั้งสิ้นเลย เช่น รู้สึกท้อง ที่กระเพื่อมไปกระเพื่อมมา จิตเคลื่อนไปที่ท้องนั่นเอง

    เพราะนั้น ถ้าจิตเคลื่อนไปนะ มันจะรู้ออกนอก และถ้าจิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดูเนี่ย มันจะย้อนเข้ามา ดูกายดูใจของตนเอง โดยที่จิตนั้น”เป็นผู้รู้ ผู้ดู” ตัวนี้แหล่ะ ตัวแตกหัก ถ้าเราสามารถพัฒนาจิตที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดูได้ เรียกว่าเราได้ “ลักขณูปนิชฌาน”

    ลักขณูปนิชฌานเนี่ย เป็นสมาธิที่สำคัญที่สุดเลย แต่อาภัพ คนไม่รู้จัก คนรู้จักแต่”อารัมมณูปนิชฌาน” สมาธิมี ๒ ชนิดนะ สมาธิชนิดที่ ๑ ชื่อ “อารัมมณูปนิชฌาน” จิตไปเพ่งอยู่กับอารมณ์อันเดียว เช่น ไปเพ่งอยู่ที่พุทโธ ไปเพ่งอยู่ที่ลมหายใจ ไปเพ่งอยู่ที่ท้องพองยุบ ไปเพ่งอยู่ที่มือที่เท้า อันนั้นจิตออกนอก “ลักขณูปนิชฌาน” จิตจะตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ดูขึ้นมา แล้วมันจะเห็นเลย ร่างกายมันแสดงไตรลักษณ์ได้ จิตใจแสดงไตรลักษณ์ได้

    งั้นถ้าจิตไม่ตั้งมั่น จิตไม่ถึงฐาน จิตออกนอกเนี่ย หลายสำนวนนะ อันเดียวกันนั่นแหล่ะ คือจิตมันส่งไปข้างนอก ทางตาหูจมูกลิ้นกาย หรือส่งไปคิดไปนึก มันจะไม่สามารถรู้กายรู้ใจได้ เราต้องมาฝึกนะ ตัวนี้เป็นตัวแตกหักเลย ว่าชาตินี้เราจะได้มรรคผลหรือไม่ ถ้าเราไม่มี”ลักขณูปนิชฌาน” ไม่มีจิตที่ตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ละก็ เรายังไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้

    อารัมณูปนิชฌานคือ สมาธิเพ่งอารมณ์นี้ ใช้ทำสมถะกรรมฐาน แล้วก็ใช้สำหรับมีชีวิตอยู่กับโลก อย่างเป็นต้นว่า เราจะเขียนซอฟท์แวร์อะไรเนี่ยนะ ซักอันนึงนะ สมาธิเราต้องออกนอก ไปอยู่ที่ความคิดใช่ไหม เราถึงจะเขียนซอฟท์แวร์ได้ อันนี้เรียกว่า “อารัมณูปนิชฌาน” นั่งเพ่งไฟ นั่งเพ่งลมหายใจ นั่งเพ่งท้อง อันนี้เรียกว่าอารัมณูปนิชฌาน ไปเพ่งตัวอารมณ์

    ส่วน“ลักขณูปนิชฌาน”เนี่ย ใช้ตอนไหนบ้าง ลักขณูปนิชฌานใช้ในขณะแห่งวิปัสสนากรรมฐาน ใช้ในขณะที่เกิดอริยมรรค ใช้ในขณะที่เกิดอริยผล ใช้ในขณะที่พระอริยเจ้าเข้าผลสมาบัติ ผลสมาบัติก็คือ เกิดผลจิต จิตในขณะที่บรรลุโสดาฯ สกทาคาฯนั่นแหล่ะ จะเกิดผลอย่างนั้นซ้ำขึ้นมา แต่ว่าไม่ล้างกิเลส เพราะมีแต่ผล ไม่มีมรรค งั้นเป็นสมาธิ แต่เป็นสมาธิที่ใช้ลักขณูปนิชฌาน จิตตั้งมั่นถึงฐานเลย
     
  17. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..จริงๆ รักษาศีลไม่ดีบกพร่อง ยากที่จะภาวนาให้สงบได้ รักษาศีลดีบุญกุศลของการรักษาศีลจะบันดาลให้ภาวนาสงบ เจอหาอุบายที่เหมาะสมกับเรา..
     
  18. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    คุณปลาแมวครับ ลองหาหนังสือคู่มือปฏิบัติกรรมฐาน ของหลวงพ่อพระราชพรหมยานวัดท่าซุงมาอ่านดูสิครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...