ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    เมื่อวันที่25ได้โอนเงินจำนวน6000บาท เข้าบัญชีทุนนิธิฯโดยมีรายชื่อผู้ทำบุญดังนี้
    คุณสุนารี คุณอนันต์ ตั้งธาราวิวัฒน์ 1000 บาท
    คุณปิยะวัฒน์ วรัทเศรษฐ์ 1000 บาท
    คุณสงวนชัย อัครวิทยาภูมิ 1000บาท
    คุณวิศัลย์ ณ ระนอง 1000 บาท
    คุณนาลดา อมรพัชระ และบุตร 400บาท
    คุณชมพู ดิษฐ์ประเสริฐ 200 บาท
    โสระ นายสติ narongwate 1400 บาท

    โมทนาทุกๆท่านครับ
     
  2. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ช่วงนี้ก็ขอนำภาพทำบุญทุนนิธิวันที่ 26 เมษายน 2552 ครับ

    ซึ่งร้านสวัสดิการ รพ. สงฆ์ ก็ย้ายทำการในมุมใหม่ด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SDC11095 2.JPG
      SDC11095 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      112.7 KB
      เปิดดู:
      69
    • SDC11096 2.JPG
      SDC11096 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      118.1 KB
      เปิดดู:
      67
    • SDC11099 2.JPG
      SDC11099 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      115.4 KB
      เปิดดู:
      71
    • SDC11100 2.JPG
      SDC11100 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      112.4 KB
      เปิดดู:
      74
  3. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    นอกจากวันเททองหล่อพระปิยบารมีจะมีเมฆดดำเจ้าประจำทำให้ร่มเย็นอย่างประหลาดแล้ว ยังเกิดเรื่องแปลกกับผมอีกอย่างคือ ผมไปถ่ายภาพพระปิยบารมีองค์ต้นแบบที่ทำจากเนื้อเงินล้วน ที่นำมาไว้บนดอกบัวเก้าดอกในพานพิธี ปรากฏว่าไม่สามารถกดชัตเตอร์กล้องได้หลายหน จนคิดว่ากล้องเสีย ภายหลังจึงทราบจากพี่ใหญ่ว่าองค์สมเด็จพระพุทธเจ้ากกุสันโธ เสด็จประทับบนดอกบัวอยู่จนเสร็จพิธีหล่อพระนั้นเอง


    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER></CENTER> สองภาพนี้ถ่ายได้หลังจากนั้นครับ
     
  4. nu_wa

    nu_wa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    2,740
    ค่าพลัง:
    +10,698
    กราบนมัสการองค์สมเด็จพระพุทธเจ้ากกุสันโธ

    (ใจเต้น..ตึกๆๆๆๆ.)

    ขอบารมีองค์สมเด็จพระพุทธเจ้ากกุสันโธ คุ้มครองครับ

     
  5. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    มาต่อกันสักนิดครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SDC11103 2.JPG
      SDC11103 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      109.8 KB
      เปิดดู:
      76
    • SDC11106 2.JPG
      SDC11106 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      114.6 KB
      เปิดดู:
      82
    • SDC11107 2.JPG
      SDC11107 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      113.7 KB
      เปิดดู:
      77
    • SDC11110 2.JPG
      SDC11110 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      123.8 KB
      เปิดดู:
      70
  6. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ช่วงต่อมา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SDC11111 2.JPG
      SDC11111 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      117.1 KB
      เปิดดู:
      66
    • SDC11113 2.JPG
      SDC11113 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      111.7 KB
      เปิดดู:
      64
    • SDC11114 2.JPG
      SDC11114 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      115.1 KB
      เปิดดู:
      70
    • SDC11116 2.JPG
      SDC11116 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      117.7 KB
      เปิดดู:
      65
  7. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    และช่วงสุดท้ายครับ

    หลังจากนั้นผมก็ไปเรียนครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SDC11117 2.JPG
      SDC11117 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      112.7 KB
      เปิดดู:
      60
    • SDC11118 2.JPG
      SDC11118 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      103.7 KB
      เปิดดู:
      62
    • SDC11120 2.JPG
      SDC11120 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      119 KB
      เปิดดู:
      61
    • SDC11123 2.JPG
      SDC11123 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      124.7 KB
      เปิดดู:
      65
    • SDC11124 2.JPG
      SDC11124 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      111.3 KB
      เปิดดู:
      62
  8. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    มาชมภาพเมฆวันทำน้ำมนต์สำหรับแช่พระปิยบารมีเพื่อให้ครบตามพิธีกรรมที่กำหนดไว้



    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    เมฆดำเจ้าประจำมาทำหน้าที่เคลื่อนมาบังพระอาทิตย์ให้ร่มเย็นเหนือบ้านพี่ใหญ่ในขณะทำพิธีขอบารมีอธิษฐานน้ำมนต์ ถ้ามองจากภาพจะเห็นพระอาทิตย์มีรัศมีทรงกรดด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 เมษายน 2009
  9. คีตา

    คีตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    665
    ค่าพลัง:
    +4,309
    วันนี้ 27/04/09 เวลา 12:38 ได้โอนเงินเข้าทุนนิธิฯ จำนวน 500 บาท ครับ

    ขอผลบุญนี้ ส่งผลให้คุณพ่อ วรากร และ คุณแม่ รัตนา มีสุขภาพแข็งแรง บรรเทาอาการ เวทนา ด้วยเทอญ
     
  10. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    ขอพี่อาจารย์ปุ๊ช่วยขยายความการทำบุญวันที่ 26 เมษายน 2552 ที่ผ่านมาครับ

    เนื่องจากกว่าจะลงรูปทำอะไรก็ติดๆ ขัดๆ ครับ

    และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ

    สาธุครับ
     
  11. natta_pea

    natta_pea เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,515
    วันนี้เวลา 09.53 น. ผมได้โอนเงิน 200.- บาท
    ร่วมทำบุญฯ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ของมีอยู่เหมือนไม่มี โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    <!-- Main -->[​IMG]

    อันของมีอยู่เหมือนไม่มีนี้ ท่านว่าไว้มี ๔ อย่าง คือ มีโคนม ๑ มีโคถึก ๑ ไปฝากไว้ให้เขาเลี้ยง
    มีภรรยาเอาไปฝากในตระกูลพ่อปู่ ๑ มีเงินให้เขายืม ๑ ของ ๔ อย่างนี้นั้นมีเหมือนกับไม่มี นั่นเป็นของภายนอก
    ตั้งหลักสูตรไว้ ให้เรานำมาคิดเทียบเข้ามาในตัวเรานี้ ตัวของเราที่ว่าเป็นเรา เป็นของของเรานั้น เป็นจริงหรือไม่
    จะเหมือนกับของ ๔ อย่างที่ว่ามีเหมือนไม่มีอย่างไร

    คนเราเกิดมาเป็นหญิงเป็นชายแล้ว ก็ถือว่านั่นเป็นเรา เป็นของของเรา แท้จริงเป็นของสูญเปล่า
    สมกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น‘อนัตตา’ทั้งนั้น
    ที่ว่านั่นเป็นหญิง นั่นเป็นชาย หรืออะไรต่ออะไรนั้น
    เป็นเพียงชื่อสมมติใน วงที่รู้กันแคบๆ เท่านั้น เช่นคำที่เรียกกันว่าคนก็ดี ว่าหญิง ว่าชายก็ดี
    จะรู้กันได้ก็แต่เหล่ามนุษยชาติเรานี้เท่านั้น สัตว์เหล่าอื่นเขาหาได้รับรู้ด้วยพวกเราไม่
    เขาจะเห็นพวกเราเป็นอะไรก็ไม่ทราบ
    เหตุนั้น โดยมากเขาจึงพากันกลัวพวกเรา ดังพวกเราที่กลัวสัตว์บางจำพวกที่ไม่เคยเห็นฉะนั้น

    ดังเคยได้อธิบายมาให้ฟังแล้วว่า ตัวคนเรานี้ เมื่อสิ่ง ๔ อย่าง คือ ธาตุทั้งสี่ ประกอบควบคุมกันเข้า
    แล้วก็เป็นรูปเป็นตัวขึ้นมา สิ่งทั้งสี่สลายตัวออกจากกันแล้วรูปตัวก็ไม่มี เป็นธาตุ ๔ ตามเดิม
    แต่ถึงกระนั้น เมื่อได้รูปตัวอันนี้มาแล้วก็เข้ารับเลี้ยงดูปกปักรักษา ทะนุถนอมด้วยความเอาใจใส่เป็นพิเศษ
    เพราะความหลงไม่รู้เท่าเข้าใจตามเป็นจริง เป็นเหตุให้มีอุปาทานเข้าไปถือมั่นว่า นั่นเป็นเรา นั่นเป็นของของเรา
    แต่รูปตัวอันนั้นก็หาได้ รับรู้กับเราไม่ว่าเราหลงยึดถือเอามันเป็นของตัว

    เรื่องรูปตัวเองที่ว่าเป็นอนัตตานี้ ถ้าเราวางจิตของเราให้เป็นกลาง อย่าได้นึกคิดว่ารูปตัวอันนี้เป็นของเรา
    หรือเป็นของใครอะไรทั้งหมดแล้ว มาตั้งสติพิจารณาให้เป็น ธรรม จะเห็นได้ง่ายอย่างชัดเจนทีเดียว
    คือพิจารณาตาม อาการที่มันเป็นอยู่ทุกๆอย่าง เช่น เราเลี้ยงถนอมหอมรักมันอย่างดีที่สุดก็ดี
    หรือเราเห็นโทษเกลียดชังมัน อย่างขนาดหนักก็ดี นี่เรื่องของเราที่มีต่อมัน

    คราวนี้เรื่องของรูปกายที่มีต่อเรา ใครจะทำอย่างไร ว่าอะไรก็ตามที มันไม่รับรู้ด้วยเราทั้งนั้น หน้าที่ของมันจะต้อง
    แก่ก็แก่เรื่อยไป ไม่มีเวลาพักผ่อนให้โอกาสแก่ใครเลยตลอดเวลา ตั้งแต่นาทีแรกปฏิสนธิจนตาย

    ความเจ็บก็เช่นเดียวกัน เราจะพยายามรักษาสุขภาพ อนามัยให้ดีที่สุด ก็รักษาได้เพียงเปลี่ยนหน้าความเจ็บเท่านั้น
    เช่น เจ็บในเวลานั่งเราจะต้องนอน เจ็บเวลานอน เราจะต้องลุกเดิน เจ็บในขณะเดินเราจะต้องยืนหรือนั่ง
    เปลี่ยนเจ็บอยู่อย่างนี้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง หรือตลอดวันตาย (หมายความถึงป่วยในอิริยาบถ ๔)
    หากเจ็บไข้ด้วยโรคอื่น มีเป็นไข้ เจ็บหัว ปวดท้อง เป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน แต่นั่นเป็นอาการเจ็บจรมาเป็นครั้งคราว
    เจ็บดังกล่าวมา เบื้องต้นเป็นการเจ็บประจำ ซึ่งใครจะแก้ไขไม่ได้

    ความตายก็เหมือนกัน ไม่ว่าหนุ่มแก่เด็กเล็กแดง แม้แต่อยู่ในครรภ์ของมารดา
    ซึ่งพ่อแม่ยังไม่ได้เห็นหน้าเลยก็ตายได้ ใครจะร่ำไห้บ่นทุกข์อย่างไร ความตายมันไม่รับรู้ทั้งนั้น


    นี่ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งไม่มีเรื่องปิดบังอำพรางแล้วว่า
    รูปกายอันนี้เป็นของที่ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจของใครทั้งนั้น

    ตาที่มองเห็นรูปสวยๆ น่ารัก ตามันรักสวยยินดีพอใจด้วยหรือ ถ้าหากตารู้จักรักรูปสวยงามและพอใจแล้ว
    คนตาบอดก็คงจะหมดความชอบรูปสวยงามได้แล้ว หูฟังเสียงก็เช่นเดียวกัน
    อายตนะทั้ง ๖ เมื่อพิจารณาโดยนัยนี้ทั้งหมดแล้ว เขาจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรจากการสัมผัสอายตนะภายนอกเลย
    ที่เห็นรูปและฟังเสียงได้เป็นต้นนั้น เป็นเพียงแสงสะท้อนคลื่นของเสียงกระทบ เป็นต้นเท่านั้น
    ส่วนตาและหูเป็นเพียงแต่แว่นขยายหรือลำโพงเท่านั้น หาได้มีส่วนอะไรกับเขาไม่ ตาหูเป็นต้นก็มิใช่ของเรา
    และก็มิใช่ของมันอีกด้วย เพราะมันเองก็ไม่มีสิทธิ์เสรีแก่ตัวเอง เพียงแต่เป็นเครื่องมือของคนอื่นเท่านั้น

    ถ้าเช่นนั้น ก็ใครเล่าเป็นผู้เห็นรูปฟังเสียงเป็นต้น ‘วิญญาณ’ต่างหากเป็นผู้เห็นรูปฟังเสียงเป็นต้นเหล่านั้น
    แต่วิญญาณก็ไม่ได้อะไรจากการเห็นและการได้ฟังเสียงนั้นๆ
    วิญญาณทำหน้าที่เพียงเป็นผู้รู้ในการเห็นรูป ฟังเสียง ฯลฯ และหน้าที่อื่นๆอีก แล้วก็หมดหน้าที่ของวิญญาณไป
    เหมือนกับลมมาปะทะต้นไม้ให้ปรากฏว่ามีลมเท่านั้น แต่ลมก็มิได้ติดอยู่ที่ต้นไม้นั้น

    แล้วใครเล่าที่ว่ารูปสวยงามน่ารักน่าใคร่พอใจ เสียงไพเราะน่าเพลิดเพลินสนุกจริง
    ‘สัญญา’‘สังขาร’กับ‘เวทนา’ ๓ อย่างนี้เป็นผู้รับหน้าที่ต่อ แล้วทั้งสามนั้นได้อะไร ก็ไม่ได้อะไร
    สัญญาเป็นเพียงประมูลได้ สังขารเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เวทนาเป็นเพียงผู้รับค่าจ้างเท่านั้น ก็ไม่มีใครได้อะไร

    ถ้าอย่างนั้น ค่าแรงงานใครเป็นผู้ใช้จ่าย ก็ ‘จิต’ นั้นแหละเป็นผู้ใช้จ่าย
    เมื่อจิตได้รับค่าแรงงานอันเวทนาหยิบยื่นให้แล้ว จิตก็จะใช้จ่ายไปดูรูปฟังเสียงอีก ยิ่งใช้จ่ายมากเท่าไรก็จะได้ค่า
    แรงงานมากเท่านั้น ค่าแรงงาน ที่จิตได้นั้นเป็นค่าแรงงานลม เพราะจิตก็ไม่มีวัตถุ เป็นตัวลมเหมือนกัน
    ลมได้ลมมาเป็นสมบัติก็ไม่มีวันอิ่มวันเต็มได้ ตกลงลมได้ลม ลมยึดลม ลมเกิดขึ้นแล้วลมก็ดับไปเอง
    ไม่มีใครเป็นคนได้คนเสีย เป็นอันจบกันที

    เรื่องของมีอยู่เหมือนกับไม่มี มันเป็นอย่างนี้ ว่าไม่มี ก็ปรากฏอยู่ ว่ามีก็ไม่เห็นได้อะไร

    เมื่อไม่ได้ ไม่เห็นผลแล้ว ทำอย่างไร ตามธรรมดาก็ต้องล้มเลิกกัน แต่เรื่องของ ‘อนัตตา’ แล้ว
    ไม่รู้จักล้มเลิกเป็น ยิ่งทำไม่เห็นก็ยิ่งขยัน จนเรียกว่าหลงว่าเมา จนควันหลงควันเมาเข้าตาก็ไม่เห็นเอาเสียเลย

    มีปัญหาต่อไปว่า เมื่ออะไรๆ ก็เป็นอนัตตา และไม่มีใครได้ใครเสียแล้ว ก็อะไรจะมาเมามาหลงอยู่อีกเล่า
    ความหลงความเมาอนัตตานั่นแหละยังเหลืออยู่ ถ้าหากรู้อนัตตาเสียแล้ว ความหลงความเมาก็หายไป
    อัตตาและอนัตตาก็ไม่มี คราวนี้ของไม่มีกลับเป็นของมีขึ้น คือตาเห็นรูป หูฟังเสียง เป็นต้น
    ดังได้อธิบายมานั้น ต่างก็ไม่มีของใครและไม่มีผู้ได้ผู้เสีย เป็นแต่ของเหล่านั้นสืบเนื่องเป็นปัจจัยแก่กันและกัน
    แล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นมา เป็นไปในรูปต่างๆ ทำให้จิตหลงเข้าใจผิด
    เข้าไปยึดถือเอาด้วยอาการต่างๆ ที่เรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ เลยกลายเป็นกิเลส

    อุบายแยกอัตตา ถือว่ามีตนมีตัวด้วยความเข้าใจผิด เป็นเส้นชีวิตของสัตว์ทั้งหลายแต่ตั้งโลกมา
    โลกอันนี้จะตั้งเป็นโลกอยู่ได้ก็เพราะความถือนั้น ศาสนาในโลกทั้งหมดก็ต้องมีมติอย่างนั้น
    พระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้นเป็นผู้ทรงรู้เห็นอุบายนี้ก่อนคนอื่นๆ

    ฉะนั้นเป็นโชคดีแล้วที่พวกเราพากันได้พระศาสดาที่มีหูตาสว่างกว่าศาสดาอื่นๆ และพวกเราก็ได้มาเลื่อมใส
    ตั้งใจปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ยังเหลืออย่างเดียวว่า ทำไฉนพวกเราจะเข้าถึงธรรมของพระองค์
    เห็นรูปกายอันนี้เป็นอนัตตาดังที่พระองค์ท่านแสดงไว้ ถ้าพวกเราพากันหยิบยกเอารูปกายตัวตนอันนี้ขึ้นมาพิจารณา
    ตามนัยที่ได้แสดงมาแล้วข้างต้น ก็คงไม่เป็นของเหลือวิสัย อย่างน้อยอาจมองเห็นทางแห่งอนัตตา
    เพราะอุบายนี้เป็นทางตรงเข้าถึงความเป็นจริงทุกประการ

    แสดงธรรม ณ วัดเจริญสมณกิจ จ.ภูเก็ต วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๖
    โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย


    ขอขอบคุณ


    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=anotherside&month=23-04-2009&group=1&gblog=158
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    กรรมที่ทำให้อดอยาก
    <!-- Main -->[​IMG]

    กฎแห่งกรรมเป็นสิ่งที่ยุติธรรมสำหรับทุกคน ใครทำกรรมใดไว้ ก็ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
    ไม่เว้นแม้แต่พระสงฆ์ผู้บรรลุอรหันต์แล้ว กฎแห่งกรรมก็ยังตามให้ผลอยู่นั่นเอง ดังเรื่องราวครั้งอดีตต่อไปนี้

    มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อว่าโลสกะ เป็นบุตรของชาวประมงที่อาศัยอยู่ในแคว้นโกศล
    อดีตท่านเป็นคนที่ทำให้ตระกูลมีแต่ความอดอยากยากจน ในวันที่ท่านเกิดนั้น
    ชาวประมงทั้งพันครอบครัวที่พากันออกหาปลาในแม่น้ำลำคลอง ต่างก็ไม่มีใครได้ปลาเลยสักคนเดียว
    แม้แต่ปลาเล็กๆ สักตัวก็ไม่ได้ และนับแต่วันนั้นเป็นต้นมา พวกเขาก็ไม่เคยหาปลาได้เลย

    นอกจากนั้น ช่วงที่ท่านอยู่ในท้องของมารดา บ้านของชาวประมงเหล่านั้นก็ถูกไฟไหม้ถึง ๗ ครั้ง และถูกพระราชา
    ปรับสินไหม ๗ ครั้ง เหตุนี้เองพวกชาวประมงจึงได้รับความลำบากเดือดร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาจึงสงสัยกันว่า
    ในหมู่บ้านคงต้องมีตัวกาลกิณี คิดกันดังนั้นแล้ว ต่างก็แยกหมู่บ้านออกเป็นสองหมู่ หมู่ละ ๕๐๐ ครอบครัว
    เมื่อมารดาของพระโลสกะ ไปอยู่ในหมู่บ้านใด หมู่บ้านนั้นก็จะเจอแต่เรื่องเดือดร้อนไม่รู้จักจบจักสิ้น
    ชาวบ้านจึงแยกหมู่บ้านออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเหลือครอบครัวของเขาอยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง ชาวบ้านจึงรู้ว่า
    พวกเขาเป็นกาลกิณี พากันรุมโบยตี ทำให้มารดาของพระโลสกะต้องอุ้มท้องท่านไว้ด้วยความยากลำบาก
    จนกระทั่งคลอดออกมา และเลี้ยงดูจนท่านโตพอที่จะวิ่งไปไหนมาไหนได้แล้ว
    มารดาจึงเอาภาชนะดินเผาใบหนึ่งใส่มือให้และไล่ออกจากบ้านไป
    เด็กน้อยก็จำต้องหากินตามลำพังด้วยความอดๆ อยากๆ เก็บเมล็ดข้าวกินทีละเมล็ด นอนไม่เป็นที่เป็นทาง
    น้ำไม่ได้อาบ จนร่างกายคล้ายปีศาจ และมีความเป็นอยู่เช่นนี้จนอายุครบ ๗ ขวบ

    วันหนึ่งขณะที่พระธรรมเสนาบดีกำลังเดินบิณฑบาตอยู่ในเมืองสาวัตถี ได้มองเห็นเขาก็รู้สึกสงสาร
    จึงเรียกมาสอบถามว่าบ้านอยู่ที่ไหน พ่อแม่เป็นใคร เด็กบอกว่าตนไม่มีที่พึ่ง พ่อแม่บอกว่าตนทำให้พวกเขาลำบาก
    จึงทิ้งไป พระเถระจึงถามเด็กน้อยว่า อยากบวชไหม จะบวชให้ เด็กชายตอบตกลงด้วยความดีใจเป็นอย่างมาก

    พระเถระได้แบ่งอาหารให้เขากินแล้วพาไปที่วัด จัดแจงบวชให้เป็นที่เรียบร้อย
    เด็กน้อยครองเพศบรรพชิตจนกระทั่งอายุพรรษามาก ท่านได้ชื่อว่า โลสกติสสเถระ แต่ก็เป็นพระที่ไม่มีลาภ
    แม้ในคราวที่คนมาทำบุญที่วัดมากๆ ท่านก็ได้ฉันเพียงนิดหน่อยเท่าที่จะมีชีวิตอยู่ต่อเท่านั้น
    ไม่เคยได้ฉันอาหารเต็มอิ่มเลย หากมีใครใส่บาตรท่านเพียงข้าวต้มทัพพีเดียว ก็เหมือนกับมีข้าวเต็มบาตร
    คนที่มาทำบุญจึงคิดว่า บาตรของท่านเต็มแล้ว เลยถวายองค์ถัดไป

    ต่อมาท่านได้เจริญวิปัสสนาจนกระทั่งบรรลุอรหันต์ แต่ท่านก็ยังมีลาภน้อยอยู่นั่นเอง
    จนกระทั่งถึงวันที่ท่านจะปรินิพพาน พระธรรมเสนาบดีอยากจะให้ท่านได้ฉันอาหารเต็มอิ่มสักมื้อ
    จึงพาท่านไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี แต่ไม่มีใครใส่บาตรเลยแม้แต่คนเดียว

    พระเถระจึงบอกให้พระโลสกติสสไปนั่งรอที่วัด แล้วตนเองไปบิณฑบาตคนเดียว
    ชาวบ้านก็พากันออกมาใส่บาตรจำนวนมากและนิมนต์ให้ฉันด้วย
    พระเถระจึงใช้ให้คนเอาอาหารไปถวายพระโลสกติสสที่วัด แต่ไม่ว่าใครเอาอาหารไป ก็ลืมท่านทุกที
    พากันกินเสียเองจนหมด

    ครั้นพระเถระกลับถึงวัด จึงถามพระโลสกติสสว่าได้ฉันหรือยัง ก็ได้รับคำตอบว่ายัง พระเถระจึงเกิดความสลดใจ
    บอกให้พระโลสกติสนั่งอยู่ที่เดิม ส่วนตัวท่านเข้าไปที่พระราชวังของพระเจ้าโกศล
    พระราชาได้ถวายของหวานจนเต็มบาตร เมื่อพระเถระกลับมาที่วัด จึงเรียกพระโลสกติสสมาฉัน
    โดยท่านถือบาตรไว้ให้พระโลสกติสสนั่งฉัน เพราะถ้าปล่อยบาตรจากมือ บาตรก็จะว่างเปล่า คราวนี้ท่านฉันได้
    เพราะด้วยอำนาจฤทธิ์ของพระเถระ หลังจากที่ฉันจนเต็มอิ่มแล้วท่านก็ปรินิพพาน
    พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งให้กระทำการปลงสรีระ เก็บเอาธาตุ ทั้งหลายก่อพระเจดีย์บรรจุไว้

    ในเวลานั้น พวกภิกษุทั้งหลายก็สนทนากันว่า น่าอัศจรรย์จริงๆ พระโลสกติสสเถระมีบุญน้อย มีลาภน้อย
    ทำไมจึงบรรลุอริยธรรมได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงเล่าให้ฟังว่า เหตุที่โลสกติสสะเถระมีลาภน้อย แต่ได้บรรลุธรรมขั้นสูง
    ก็เพราะว่า ในอดีตท่านกระทำอันตรายลาภของผู้อื่นจึงเป็นผู้มีลาภน้อย
    แต่บรรลุอริยธรรมได้ก็เพราะผลที่ท่านได้บำเพ็ญวิปัสสนา คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    นั่นเอง
    หลังจากนั้นพระองค์จึงทรงเล่าอดีตกรรมของพระโลสกติสสะให้ฟังว่า

    ครั้งที่พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้เรียบร้อย มีศีล หมั่นบำเพ็ญวิปัสสนา
    ท่านมีเศรษฐีที่อยู่ใกล้วัดคนหนึ่งคอยอุปถัมภ์บำรุง ครั้งนั้นมีพระขีณาสพรูปหนึ่งอยู่ในป่าหิมพานต์
    ได้เดินทางมาที่บ้านของเศรษฐี พอเศรษฐีเห็นท่านก็เลื่อมใส จึงนิมนต์ไปฉันภัตตาหารที่บ้าน
    และนิมนต์ให้พักที่วัดซึ่งไม่ไกลจากหมู่บ้าน

    พระอาคันตุกะเข้าไปที่วัดและไปกราบเจ้าอาวาส ซึ่งถามท่านว่า ฉันอาหารมาหรือยัง ท่านก็บอกว่าฉันมาแล้ว
    ที่บ้านของเศรษฐีที่อยู่ข้างวัด หลังจากนั้นต่างก็แยกย้ายกันไปปฏิบัติธรรม

    ตกเย็นเศรษฐีก็แวะเข้ามาเยี่ยมท่านที่วัด เขาถามเจ้าอาวาสว่าพระอาคันตุกะพักอยู่ที่ไหน
    เมื่อเจ้าอาวาสชี้ทางให้แล้ว เศรษฐีจึงเข้าไปหาท่าน นั่งฟังธรรมและนิมนต์ไปฉันที่บ้านในวันรุ่งขึ้น
    เจ้าอาวาสคิดว่า “สงสัยเศรษฐีจะถูกพระอาคันตุกะยุยงให้แตกแยกกับเรา ถ้าพระรูปนี้ยังอยู่ในวัดนี้ต่อไป
    เศรษฐีคงจะไม่นับถือเราเป็นแน่”

    คิดแล้วเจ้าอาวาสจึงหาวิธีกำจัดไม่ให้พระอาคันตุกะพักในวัดอีกต่อไป โดยไม่พูดกับท่าน ตอนเช้าเวลาจะไปฉันข้าว
    เจ้าอาวาสก็ตีระฆังด้วยหลังเล็บ เคาะประตูด้วยเล็บ แล้วตนเองก็เข้าไปบ้านของเศรษฐีเพียงลำพัง
    เศรษฐีเห็นเจ้าอาวาสมารูปเดียวจึงถามหาพระอาคันตุกะ เจ้าอาวาสก็บอกไม่รู้ เพราะตีระฆังแล้ว เคาะประตูแล้ว
    ก็ไม่เห็นท่านตื่น เมื่อวานท่านฉันอาหารจนอิ่มแล้ว สงสัยคงจะนอนยังไม่ตื่น

    ฝ่ายพระเถระผู้เป็นอาคันตุกะ พอถึงเวลาเช้าท่านก็ถือบาตรและจีวรเหาะไปจากที่นั่น ไปอยู่ที่อื่น
    ส่วนเศรษฐีหลังจากได้ถวายภัตตาหารเจ้าอาวาสแล้ว ก็ฝากอาหารไปถวายพระเถระที่วัดด้วย
    เจ้าอาวาสก็รับที่จะนำไปให้ ขณะที่เดินกลับวัดก็คิดว่า หากพระรูปนี้ได้ฉันข้าว
    ถึงเราจะไล่ให้ออกจากวัดยังไงก็คงจะไม่ยอมไป ถ้าเราเอาอาหารนี้ให้ชาวบ้าน ก็กลัวความลับจะแตก
    หรือจะเททิ้งในน้ำ เนยใสก็จะเป็นเหมือนน้ำ แต่ถ้าทิ้งบนดิน ฝูงกาก็จะมารุมกิน ความลับก็จะแตกอีก
    เราจะเอาไปทิ้งที่ไหนดีหนอ ขณะนั้นเอง ก็เหลือบไปเห็นนาที่ไฟกำลังไหม้อยู่ จึงคุ้ยถ่านขึ้น เทอาหารลงไปและ
    กลบด้วยก้อนถ่าน แล้วจึงกลับวัด เมื่อไปถึงวัดไม่เห็นพระอาคันตุกะ ก็คิดว่าท่านคงหนีไปอยู่ที่อื่นแล้ว
    จึงเกิดสำนึกผิดว่า เพราะท้องเป็นเหตุแท้ๆ ที่ทำให้เราทำกรรมชั่ว เจ้าอาวาสรู้สึกเสียใจต่อการกระทำของตนมาก
    ต่อมาไม่นานท่านก็มรณภาพและไปเกิดในนรก

    ท่านตกนรกหมกไหม้อยู่หลายแสนปี และเศษของผลกรรมยังทำให้เกิดเป็นยักษ์ถึง ๕๐๐ ชาติ!
    ไม่เคยได้กินอาหารเต็มท้องสักวันเดียว จนถึงวันจะตายค่อยได้กินอิ่ม ตายจากยักษ์ก็ไปเกิดเป็นหมาอีก ๕๐๐ ชาติ
    หิวโหยไม่ได้ กินอิ่มเช่นเดียวกัน ตายจากหมาจึงมาเกิดในตระกูลของคนยากจน และตั้งแต่วันที่เขาเกิด
    ตระกูลก็ยิ่งจนหนักลงเรื่อยๆกว่าเดิม แม้แต่น้ำก็ไม่ได้กินอิ่มอย่างคนอื่นเขาต้องถูกไล่ออกจากบ้าน จนได้มาบวช
    และบรรลุอรหันต์ ซึ่งเป็นกรรมดีที่ท่านได้เคยทำไว้นั่นเอง

    ชีวิตของเราแต่ละคนเป็นไปตามกรรมที่เราเป็นผู้กระทำเอง
    เราจะประสบความสุขหรือความทุกข์ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราเอง หากเรากลัวทุกข์ก็จงหมั่นขัดเกลา
    จิตของตนให้ปราศจากกิเลส จะได้ไม่หลงใหลไปทำกรรมชั่วตามอำนาจของกิเลส
    เพราะสิ่งนั้นจะนำมาซึ่งความทุกข์ยากลำบากแก่ชีวิตเราอย่างแสนสาหัส ทั้งในชีวิตนี้และชีวิตหน้า

    จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 101 โดย มาลาวชิโร

    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=anotherside&group=1




     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    แก่นสารพระพุทธศาสนา โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    <!-- Main -->[​IMG]

    “แท้ที่จริงนั้น แก่นสารของพระพุทธศาสนาต้องการปฏิบัติกาย วาจา ใจ ของตนให้บริสุทธิ์”
    “พระพุทธศาสนามิได้สอนให้ถือ แต่สอนให้ปฏิบัติ”

    วัดที่ตัวเรา
    ผู้นับถือพุทธศาสนา ไม่มีโอกาสไปวัดไปวา เราอยู่ที่บ้านจงให้พากันมีวัดภายใน
    คือ ที่ตัวของเรา ที่บ้านของเราทุกๆ คน วัด คือ สถานที่ที่เราจะต้องบำเพ็ญคุณงามความดี

    พุทธศาสนาสอนกาย วาจา แลใจ
    พุทธศาสนาสอนกาย วาจา แลใจนี้อย่างเดียว ไม่ได้สอนสิ่งอื่นนอกจากสามสิ่งนี้
    สามสิ่งนี้เป็นหลัก จะสอนศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่พ้นจากหลักทั้งสามอย่างนี้

    ทำไมเราจึงละทุกข์ไม่ได้
    คำสอนของพระพุทธองค์ตรัสว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ แต่ทำไมเราจึงละทุกข์ไม่ได้ ก็เพราะปัญญาของเราไม่พอ

    พุทธศาสนามีที่จบ
    เราเชื่อมั่นว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสัจธรรมของจริงแท้แน่นอน เป็นนิยยานิกธรรม
    นำผู้ปฏิบัติตามให้พ้นจากทุกข์ได้จริง อาตมาจึงว่าการศึกษาพุทธศาสนามีที่จบ

    พระพุทธรูป
    พระพุทธรูปนี้ คือ รูปของพระพุทธเจ้า หรือรูปนี้เป็นรูปของครูบาอาจารย์ของเรา
    เราเคารพนับถือคุณงามความดีของท่าน แล้วเราทำดีอยู่ตลอดเวลา เห็นรูปนั้น นึกถึงคุณของท่าน
    เพราะท่านทำดีอย่างนี้ๆ ท่านจึงได้เป็นอย่างนี้ จึงได้เป็นรูปอย่างนี้
    แล้วเราก็ทำความดี ไม่กล้าทำความชั่ว เมื่อเราทำความชั่ว เรานึกถึงรูป
    นึกถึงคุณของท่านแล้วเราก็จะละอายใจ ละความชั่วอันนั้นเสีย การนับถือเช่นนั้น ไม่มีเสื่อมคลายตลอดเวลาเลย
    เราจะทำความดีตลอดเวลา แต่จะให้อยู่ยงคงกระพันนั้นไม่ใช่ ให้เข้าใจโดยนัยที่อธิบายมาให้ฟังนี้

    ความรู้เรื่องจิตใจเรียกว่า “วิชชา”
    พระพุทธศาสนาสอนให้น้อมเข้ามาพิจารณาในตัวของเรานี้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็อยู่ในตัวของเรา
    สอนออกไปนอกนั้น นั่นไม่ใช่พุทธศาสนา มันเป็นโลก เห็นอย่างไรเรียกว่าเห็นธรรม
    เห็นภายนอกด้วยตาว่าเราเป็นก้อนทุกข์ ทั้งเห็นภายในคือ เห็นชัดด้วยใจด้วยเห็นเป็นธรรมทั้งหมด
    เราต้องพิจารณาให้ถึงสภาวะตามเป็นจริงของสังขาร ให้เห็นชัดอย่างนั้นว่ามันเป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ
    เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป มันไม่ใช่ตัวตนของเรา เรามัวเมามันก็หลงนะซิ หลงสมมติว่าเป็นตัวเป็นตน
    จิตธรรมชาติเป็นของผ่องใส อาคันตุกะกิเลสมันพาให้เศร้าหมอง
    ที่มาหัดทำสมาธิภาวนานี้ ก็เพื่อขัดเกลาให้กิเลสหมดสิ้นไป เพื่อให้มันใสสะอาดคืนตามสภาพเดิม
    ให้เห็นจิตเห็นใจของตน จิตเป็นอย่างไร ใจเป็นอย่างไร
    ความรู้เรื่องของจิตของใจนี้แหละเรียกว่า “วิชชา” เกิดขึ้นแล้วเป็นปัญญาเกิดขึ้นแล้ว

    พระพุทธศาสนามีที่สุด
    พระพุทธศาสนานี้ สอนมีจุดที่รวมได้ มีที่สุด หมดสิ้นสงสัย หมดเรื่อง ไม่เหมือนวิชาชีพอื่น เขาสอนไม่มีที่สิ้นสุด
    จึงว่าพุทธศาสนาสอนถึงที่สุด แต่บุคคลผู้ทำตามนั้น ทำไม่ถึงที่สุด
    จึงจำเป็นต้องทำสมาธิบ่อย ๆ จนกว่ามันจะถึงที่สุด

    ศีล สมาธิ ปัญญา
    ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นของอันเดียว มีความดีเกี่ยวพันกันตลอดหมด

    ตรงไปตรงมา แต่คนไม่ชอบ
    พระพุทธเจ้าท่านสอนนั้น ตรงไปตรงมา แต่คนไม่ชอบ บังไว้ ปกปิดไว้ มันจึงไม่เห็นของจริง
    พระองค์สอนตรงไปตรงมาเลย ท่านบอกว่าร่างกายเหมือนกับซากอสุภะ
    ท่านว่าอย่างนั้น เป็นของปฏิกูลโสโครก มีคนใดมาพูดว่าเราสกปรกนี่ โกรธใหญ่ ไม่ชอบใจเลย

    ฉลาดขึ้นมาบ้าง
    คนใดเข้าใจว่าตนโง่ คนนั้นฉลาดขึ้นมาบ้าง

    แก่นสารพระพุทธศาสนา
    แท้ที่จริงนั้น แก่นสารพระพุทธศาสนา คือการปฏิบัติกาย วาจา ใจ ของตนให้บริสุทธิ์ ตามคำสอนของพระพุทธองค์

    พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อกรรม
    พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ผู้ใดทำกรรมดี
    ย่อมได้รับผลของกรรมดี ผู้ใดทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลของกรรมชั่ว คนอื่นจะรับแทนไม่ได้

    ทำดีด้วยตนเอง
    พระพุทธเจ้าทรงสอน แต่ให้ทำดีด้วยตนเอง ย่อมได้ผลดีด้วยตนเอง (คือสิ่งที่เป็นมงคล)
    ไม่ได้สอนให้คนอื่นทำให้ หรือทำให้คนอื่น

    ปฏิบัติธรรมเพื่อรู้ถึงความเป็นจริง
    ผู้มาศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือมาปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์
    ก็หวังเพื่อให้รู้ถึงของจริงตามความเป็นจริง จะได้หายจากความหลงในสิ่งนั้นๆ

    พระพุทธองค์สอนของจริง
    ที่จริง คำสอนของพระพุทธองค์สอนของจริง ให้เห็นตามเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่าง
    พระพุทธเจ้าสอนให้เข้าใจตามเป็นจริงว่า สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น จะด้วยกรรมวิธีใดๆก็ตาม เกิดขึ้นแล้ว มันไม่เที่ยง
    แปรปรวนไป เป็นทุกข์ เมื่อผู้มาพิจารณาตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เห็นจริงดังนี้แล้ว ย่อมไม่ยึดมั่น ถือมั่น
    เบื่อหน่าย ปล่อยวางในสิ่งเหล่านั้นได้แล้ว ย่อมมองเข้ามาเห็นจิตของตนผ่องใส คราวนี้เห็นจิตของตนแล้ว
    เมื่อเห็นจิตแล้ว มองดูเฉพาะจิตนั้น ไม่มองดูทุกข์ จิตนั้นก็เป็นอันหนึ่ง ทุกข์กลายเป็นอันหนึ่งของมันต่างหาก
    เมื่อมองลึกเข้าไปก็เห็นแต่ใจ คือมีอารมณ์อันหนึ่งของมันต่างหาก จะไม่เกี่ยวข้องด้วยอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น

    กายกับใจ
    พุทธศาสนาทั้งหมด ไม่ได้สอนที่อื่นนอกจาก “กายกับใจ”

    ร่างกายเป็นก้อนทุกข์
    พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนว่า ร่างกายของคนเรานี้เป็นก้อนทุกข์ มีชาติเป็นต้น และมีมรณะเป็นที่สุด
    เป็นของน่าเกลียด ควรเบื่อหน่าย ควรปล่อยวาง ไม่ควรยึดถือว่าเป็นของตน เพราะมันไม่เป็นไปในอำนาจของตน


    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=anotherside&month=04-2009&date=17&group=1&gblog=153
     
  15. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    มหกรรมการเทศน์มหาเวสสันดรนานาชาติ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
    วันที่ ๒-๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ณ โรงพิธีท้องสนามหลวง
    http://palungjit.org/threads/๒-�...��.183946/
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <table width="499" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="330"><tbody><tr bgcolor="#aab5df"><td width="499" height="41">
    การพัฒนาจิตใจ
    </td> </tr> <tr bgcolor="#dfe8f9"> <td width="499" height="137">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr bgcolor="#cfd8ef"> <td width="499" height="21">
    พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน
    </td> </tr> <tr> <td width="499" height="94"> การพัฒนาจิตใจ เพื่อกำจัดสิ่งรังควาน หรือทำลายจิตใจและอารมณ์ ให้จิตใจได้รับความสงบเยือกเย็น และสิ่งที่จะนำมาแก้ไข หรือซักฟอกได้นอกจากธรรมแล้วไม่มี บางทีได้ยินจากครูอาจารย์แล้ว ส่วนมากก็จะไม่เข้าถึงจิตใจ หรือ เข้าถึงได้ไม่พอที่จะให้เกิดประโยชน์ คือ ฟังแล้วมันหลุดมันตกไปเรื่อยเพราะความไม่ค่อยสนใจ เพราะฉะนั้น เราควรพยายามเก็บเข้ามาอยู่ในจิตใจ แล้วเมื่อได้ยินได้ฟังจากอาจารย์ หรืออ่านตามหนังสือธรรมะ ก็ให้นำไปพินิจพิจารณาดัดแปลงแก้ไขจิตใจของตนให้คิดไปในทางที่ไม่เป็นข้าศึกต่อตน

    การแสดงออกแต่ละอย่างล้วนออกไปจากใจ ถ้าใจไม่ได้รับการอบรมแล้ว การแสดงออกทางด้านการประพฤติจะไม่น่าดูเลย ซึ่งจะกระทบกระเทือนกับทั้งตนเองและผู้อื่น การแสดงออกไปเพื่อตนเองในทางผิดธรรมย่อมทำความชั่วที่ว่า เมื่อตัวเองมันมาทำลายตนเองเข้าไปอีก โลกกับธรรม เรากับธรรม จึงขัดแย้งกัน

    ถ้าเห็นแก่ธรรม การเห็นแก่ตัวก็ค่อยเบาบางและกระจายตัวออกไป ความเห็นแก่ธรรมคือความถูกต้องดีงามจะเข้าแทนที่อะไร สมควรหรือไม่ จิตจะคิดอ่านไตร่ตรอง และพิจารณาดู ว่า เมื่อเห็นไม่สมควรแล้ว แม้อยากคิด อยากพูด อยากทำ ก็ระงับได้ ไม่เหนือสติธรรม ปัญญาธรรมไปได้ เพราะจิตเป็นผู้บงการที่มีธรรมประจำตัว ทุกสิ่งทุกอย่างจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพราะแสดงออกไป ตั้งแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม จากจิตใจที่บงการด้วยธรรม ที่เรียกว่า การพัฒนาจิตใจ

    ที่มา: โลกทิพย์ ฉบับที่ ๑๔๗ ปีที่ ๘ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๒
    </td></tr></tbody></table>
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    หลักธรรมความเป็นชาวพุทธ

    [​IMG]ถ้า หากปรารถนาจะเป็นชาวพุทธ ก็ไม่ต้องเข้าพิธีถือศีลจุ่ม ( Baptism ) แต่สำหรับในกรณีที่จะบวชเป็นพระภิกษุ คือ เป็นสมาชิกของคณะสงฆ์นั้น ผู้บวชจะต้องผ่านกระบวนการฝึกหัดศึกษาทางด้านวินัยอยู่นาน ถ้าผู้ใดเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้ามีความเชื่อมั่นว่า คำสอนของพระองค์เป็นหนทางที่ถูกต้องแล้ว พยายามปฏิบัติตามคำสอนนั้น เพียงเท่านี้ ผู้นั้นก็เป็นชาวพุทธได้แล้ว แต่ตามประเพณีที่ทำสืบต่อกันมาไม่ขาดสายในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา บุคคลจะถือว่าเป็นชาวพุทธได้ก็ต่อเมื่อได้เข้าถึง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า พระรัตนตรัย ว่าเป็นที่พึ่งแล้วสมาทานศีล 5 (ปัญจศีล) อันเป็นข้อพึงงดเว้นทางศีลธรรม ขั้นตอนของคฤหัสถ์ชาวพุทธ คือ

    1. เว้นจากการฆ่าสัตว์
    2. เว้นจากการลักทรัพย์
    3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    4. เว้นจากการพูดเท็จ
    5. เว้นจากการดื่มเครื่องดองของเมา
    [​IMG]โดยกล่าว คำสมาทานศีลเหล่านี้ตามที่มีอยู่ในคัมภีร์โบราณในพิธีทางศาสนาในโอกาสต่าง ๆ ชาวพุทธจะมาประชุมกัน แล้วกล่าวคำสมาทานศีล 5 นี้ ตามพระภิกษุ
    [​IMG]ไม่ มีพิธีกรรมภายนอกใด ๆ ที่ชาวพุทธจะต้องกระทำ พุทธศาสนาเป็นวิถีชีวิต สิ่งสำคัญก็คือ ต้องปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 จริงอยู่ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาทุกประเทศ มีพิธีกรรมง่าย ๆ สวยงามในวันสำคัญทางศาสนา มีหิ้งพระพุทธรูป มีสถูป หรือพระธาตุ และต้นโพธิ์ในวัดต่าง ๆ ที่ซึ่งชาวพุทธไปทำการสักการบูชา ถวายสักการะด้วยดอกไม้ ตามประทีปและจุดธูป แต่ข้อนี้ไม่ควรนำไปเปรียบเทียบกับผู้สวดมนต์อ้อนวอนในศาสนาประเภทเทวนิยม มันเป็นเพียงพิธีถวายความเคารพด้วยความรำลึกถึงพระบรมศาสดาผู้ทรงชี้แนะแนว ทางให้เท่านั้น การปฏิบัติตามประเพณีเหล่านี้ แม้ว่าจะไม่ใช่แก่นสารของศาสนา แต่ก็มีคุณค่าในทางสนองอารมณ์และความต้องการทางด้านศาสนาของผู้ที่มีความ ก้าวหน้าทางด้านสติปัญญาและด้านจิตใจน้อย และทั้งเป็นการช่วยให้เขาดำเนินไปตามอริยมรรคไปทีละน้อย ๆ
    [​IMG]พวก ที่คิดว่า พระพุทธศาสนาสนใจเฉพาะอุดมการณ์ที่ลุ่มลึก เน้นความคิดทางศีลธรรมและทางปรัชญาที่สูงส่งเท่านั้น ไม่สนใจในสวัสดิภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของประชาชน เป็นพวกที่คิดผิดพระพุทธองค์ทรงสนพระทัยในความสุขของมนุษย์ สำหรับพระองค์แล้ว ความสุขจะมีไม่ได้หากไม่ดำเนินชีวิตที่บริสุทธิ์ อันมีหลักศีลธรรมและจิตใจเป็นพื้นฐาน แต่พระองค์ทรงทราบว่า การดำเนินชีวิตเช่นนั้นเป็นเรื่องกระทำได้ยาก เมื่อสภาวะทางด้านวัตถุและสังคมไม่เอื้ออำนวย
    [​IMG]พระ พุทธศาสนา ไม่ได้ถือว่าความสะดวกสบายทางด้านวัตถุเป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง มันเป็นแต่เพียงมรรคาที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่สูงส่งและประเสริฐกว่า แต่ก็เป็นมรรคาที่จำเป็นคือจำเป็นในแง่ที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมายที่สูงส่ง ยิ่งกว่าเพื่อความสุขของมนุษย์ ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงยอมรับถึงความจำเป็นของปัจจัยทางด้านวัตถุขั้นมูลฐานในระดับ หนึ่งว่า จะเอื้ออำนวยต่อความสำเร็จทางด้านจิตใจ แม้กระทั่งต่อความสำเร็จของพระภิกษุผู้ปฏิบัติกรรมฐานในสถานวิเวกบางแห่ง
    [​IMG]พระ พุทธเจ้าไม่ได้ทรงแยกชีวิตออกจากแวดวงของภูมิหลังด้านสังคมและเศรษฐกิจ ทรงพิจารณาสิ่งแวดล้อมของชีวิตทุกอย่างทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง คำสอนของพระองค์ที่เกี่ยวกับปัญหาทางด้านจริยธรรม ทางด้านจิต และทางด้านปรัชญาล้วนเป็นที่รู้จักกันดีทั่วไปแต่ที่รู้จักกันน้อยโดยเฉพาะ ในประเทศตะวันตก คือ คำสอนที่เกี่ยวกับด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง อย่างไรก็ดีมีพระสูตรหลายแห่งที่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ กระจายอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาดั้งเดิม ดังที่จะยกมาเป็นตัวอย่างสัก 2-3 พระสูตร
    [​IMG]จักกวัตติสีหนาทสูตร ในทีฆนิกาย (สูตรที่ 26) กล่าวไว้อย่างแจ้งชัดว่า ความยากจน (ทาลิททิย) เป็นสาเหตุของการไร้ศีลธรรมและอาชญากรรม เช่น โจรกรรม การพูดปด การเบียดเบียน ความโกรธ ความโหดร้าย ฯลฯ บรรดา พระราชาในสมัยโบราณก็เช่นเดียวกับรัฐบาลทั้งหลายในยุคปัจจุบัน ต่างพยายามปราบปรามอาชญากรรมด้วยการลงโทษในกูฏทันตสูตรในนิกายเดียวกันนี้ ได้อธิบายให้เห็นถึงการไร้ผลของการปราบปรามอาชญากรรมด้วยวิธีการลงโทษนี้ พระสูตรนี้บอกว่า วิธีนี้ไม่มีทางสัมฤทธิ์ผลได้ แต่พระองค์ได้ทรงแนะนำว่า การที่จะกำจัดอาชญากรรมได้นั้น จะต้องมีการปรับปรุงสภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน พืชพันธุ์และเครื่องอำนวยความสะดวกอื่น ๆ รัฐบาลจะต้องจัดหาให้แก่ชาวไร่ชาวนาเงินทุนจะต้องจัดหาให้แก่บรรดาพ่อค้า และผู้ประกอบการธุรกิจค่าจ้างแรงงานต้องดำเนินการจัดหาให้แก่บรรดาลูกจ้าง อย่างพร้อมเพรียง เมื่อประชาชนได้รับความช่วยเหลือให้ได้มีโอกาสหารายได้อย่างพอเพียงเช่นนั้น พวกเขาก็จะพากันพึงพอใจ ไม่มีความกลัวหรือความกระวนกระวายใจและผลที่ตามมาก็คือ ประเทศชาติก็จะมีแต่ความสงบสุข ปราศจากอาชญากรรม
    [​IMG]ด้วย เหตุนี้เอง พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงตรัสบอกแก่คฤหัสถ์ทั้งหลายถึงความสำคัญของการปรับปรุง สภาวะทางเศรษฐกิจของตนแต่ทั้งนี้ไม่ได้ หมายความว่า พระองค์ทรงเห็นด้วยกับการการสะสมทรัพย์สมบัติไว้ด้วยความอยากและความติดยึด ซึ่งขัดกับหลักคำสอนขั้นพื้นฐานของพระองค์ ทั้งพระองค์ก็ไม่ทรงเห็นด้วยกับวิธีการเลี้ยงชีพของบุคคลในบางอาชีพ มีการประกอบการค้าบางอย่าง เช่น การผลิตและค้าอาวุธ พระองค์ทรงประณามว่าเป็นการดำเนินชีวิตในทางที่ผิด ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น



    http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/core_6.htm
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <table width="100%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td colspan="2" width="100%"> บทความนี้น่าสนใจ ถึงแม้จะยาวหน่อย ก็บันทึกไว้อ่านในภายหลังก็ได้ครับ เป็นความรู้ด้านศาสนาอย่างหนึ่งที่ดีเดียวครับ


    พุทธศาสนาแปลว่าอะไร


    </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]พุทธศาสนา แปลว่า ศาสนาของผู้รู้

    </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]พุทธศาสนา จึงเป็นศาสนาที่อาศัยสติปัญญา หรือ อาศัยวิชาความรู้ที่ถูกต้องเพื่อทำลายความทุกข์ และต้นเหตุของความทุกข์เหล่านั้น</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]การ ทำพิธีรีตอง เพื่อบูชาบวงสรวง อ้อนวอนบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ไม่ใช่พุทธศาสนา พระพุทธเจ้าไม่รับเข้ามาไว้ในศาสนาของพระองค์เลย เพราะเป็นสิ่งที่น่าขบขัน น่าหัวเราะ และถือเอาเป็นที่พึ่งอันแท้จริงไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธการกระทำเช่นนั้นโดยสิ้นเชิง</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]มี คำกล่าวในพระพุทธศาสนา "ความรู้ ความฉลาด และความสามารถ ที่จะทำให้สำเร็จประโยชน์นั่นแหละ เป็นตัวฤกษ์ที่ดี อยู่ในตัวมันเองแล้ว ดวงดาวในท้องฟ้าจะทำอะไรได้ ประโยชน์ที่ควรจะได้ก็ผ่านพ้นคนโง่ๆ ที่มัวนั่งคำนวณดวงดาวในท้องฟ้าไปเสียสิ้น" ดังนี้ และว่า "ถ้าน้ำศักดิ์สิทธ์ในแม่น้ำคงคา ฯลฯ จะทำให้คนหมดบาปหมดทุกข์ได้แล้ว พวกเต่า ปู ปลา หรือหอยที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์นั้น ก็จะหมดบาปหมดทุกข์ไปด้วยน้ำนั้นเหมือนกัน" หรือ "ถ้าหากว่าคนจะพ้นทุกข์ได้ด้วยการบวงสรวง บูชาอ้อนวอนเอาๆ แล้ว ในโลกนี้ก็จะไม่มีใครมีความทุกข์เลย เพราะว่า ใครๆต่างก็บูชาอ้อนวอนเป็น"
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]โดย เหตุที่ ยังมีคนที่มีความทุกข์ทั้งที่ได้กราบไหว้บูชาหรือทำพิธีรีตองต่างๆอยู่ จึงถือว่าไม่เป็นหนทางที่จะเอาตัวรอดได้ ฉะนั้น เราจะต้องพิจารณาโดยละเอียดลอให้รู้ ให้เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร แล้วปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆให้ถูกต้อง</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]พุทธศาสนาไม่ประสงค์คาดคะเน หรือทำอย่างที่เรียกว่าเผื่อจะเป็นอย่างนั้น เผื่อจะเป็นอย่างนี้ เราจะทำไปตรงๆตามที่มองเห็นด้วยปัญญาของตัวเอง โดยไม่ต้องเชื่อคนอื่นๆ แม้จะมีคนอื่นๆมาบอกให้ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเชื่อเขาทันที เราจะต้องฟังและพิจารณาจนเห็นจริงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แล้วจึงจะเชื่อ และพยายามทำให้ปรากฏผลด้วยตนเอง</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]ศาสนาเหมือนกับของหลายเหลี่ยม ดูเหมือนหนึ่งมันก็เป็นไปอย่างหนึ่ง ดูอีกเหลี่ยมหนึ่งมันก็เป็นไปอีกอย่างหนึ่ง แล้วแต่ว่าบุคคลนั้นจะถือหลักการคิดในแนวไหนก็จะเห็นศาสนาเดียวกันในลักษณะ ที่แตกต่างกันได้ แม้พุทธศาสนาก็ตกอยู่ในลักษณะเช่นนี้</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]คนเราย่อมเชื่อความคิดเห็นของตัวเอง เพราะฉะนั้น ความจริง หรือสัจจะสำหรับคนหนึ่งๆนั้น มันอยู่ตรงที่ว่าเขาเข้าใจ และมองเห็นเท่าไรเท่านั้นเเอง สิ่งที่เรียกว่า "ความจริง" ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนเราเข้าถึงปัญหาหนึ่งๆ ได้ตื้นลึกกว่ากัน หรือ ด้วยลักษณะที่ต่างกัน และด้วยสติปัญญาที่ต่างกัน สิ่งใดที่อยู่เหนือสติปัญญาความรู้ความเข้าใจของตน หรือตนยังไม่เข้าใจ คนนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นความจริงของเขา ไม่เป็นความแท้ความจริงของเขาเลย</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]ความจริงของคนหนึ่งๆนั้น จะเดินคืบหน้าได้เสมอ ตามสติปัญญา ความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นทุกๆวัน จนกว่าจะถึงความจริงขั้นสุดท้าย คนเรามีการศึกษามาต่างกัน และมีหลักพิจารณาสำหรับจะเชื่อต่างๆกัน ฉะนั้น ถ้าจะ เอาสติปัญญาที่ต่างกันมาดูพุทธศาสนา ก็จะเกิดความคิดเห็นต่างกันไป ทั้งนี้เพราะว่าพุทธศาสนาก็มีอะไรๆครบทุกอย่างที่จะให้คนดู</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว พุทธศาสนาคือวิธีปฏิบัติ เพื่อเอาตัวรอดจากความทุกข์ โดยการทำให้รู้ความจริงว่า อะไรเป็นอะไร ตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงทำได้ก่อน และได้ทรงสอนไว้ แต่คัมภีร์ทางศาสนานั้นย่อมมีอะไรๆ เพิ่มขึ้นได้ ทุกโอกาศที่คนชั้นหลังเขาจะเพิ่มเติมลงไป พระไตรปิฏกของเราก็ตกอยู่ในฐานะอย่างเดียวกัน คนชั้นหลังๆเพิ่มเติมข้อความเข้าไปตามที่เห็นว่าจำเป็นสำหรับยุคนั้นๆ เพื่อจะช่วยให้คนมีศรัทธามากขึ้นๆ หรือกลัวบาป รักบุญมากขึ้น ซึ่งอาจจะมากเกินขอบเขตจนกระทั่งเกิดการเมาบุญกันใหญ่ </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]เรา ควรยึดกายวาจาบริสุทธิ์ให้เป็นที่ตั้งของจิตบริสุทธิ์ เพื่อให้เกิดปัญญารู้ว่าอะไรถูก แล้วประพฤติปฏิบัติไปตามนั้น อย่าได้ถือว่าถ้าเขาว่าเป็นพุทธศาสนาแล้ว ก็เป็นพุทธศาสนา เนื้องอกนั้นได้งอกมาแล้วนับตั้งแต่วันหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน และยังงอกเรื่อยๆมา กระจายไปทุกทิศทุกทางจนกระทั่งบัดนี้ เลยมีเนื้องอกก้อนโตๆอย่างมากมาย (พุทธศาสนาเนื้องอก เช่นพิธีรีตองต่างๆที่เพิ่งเกิดขึ้นและเกียวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเพียง เล็กๆน้อยๆ ก็พลอยถูกนับเข้าเป็นพุทธศาสนาไปด้วยอย่างน่าสมเพช เช่น การจัดสำรับคาวหวาน ผลหมากรากไม้ เพื่อเซ่นวิญญาณของพระพุทธเจ้าอย่างที่เรียกว่าถวายข้าวพระ เป็นต้น มันเป็นสิ่งที่มีไม่ได้ตามหลักของพุทธศาสนา แต่พุทธบริษัทบางพวกเข้าใจว่านี่เป็นพุทธศาสนา และได้สอนกันถือกัน อย่างเคร่งครัด การบวชนาคก็เกิดมีพิธีทำขวัญนาค เชื้อเชิญแขกมาเลี้ยงดูกันอย่างเมามายเอิกเกริก ทำพิธีทั้งที่วัดและที่บ้าน บวชไม่กี่วันก็สึกออกมา แล้วกลายเป็นคนเกลียดวัดยิ่งไปกว่าเดิมก็มี นี่ขอให้คิดดูเถิดว่า สิ่งไม่เคยมีในครั้งพุทธกาลก็ได้มีขึ้น เราหลงเรียกการทำขวัญนาค และการทำพิธีต่างๆตลอดถึงการฉลองอะไรๆเหล่านั้น ว่าเป็นพุทธศาสนาแล้วก็นิยมทำกันอย่างยิ่ง จนหมดเปลืองทรัพย์ของตนหรือของคนอื่นเท่าไรก็ไม่ว่า พุทธศาสนาใหม่ๆอย่างนี้เกิดมีมากมายแทบจะทั่วไปทุกแห่ง ธรรมะหรือของจริงที่เคยมีมาแต่ก่อนนั้น ถูกหุ้มห่อโดยพิธีรีตองจนมิด เกิดมุ่งหมายผิดเป็นอย่างอื่นไป </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]พวก เราเองจะไปอ้างเอา "พุทธศาสนาเนื้องอก" มาถือว่าเป็นพุทธศาสนาไม่ได้ หรือ คนในศาสนาอื่นจะมาชี้ก้อนเนื้องอกเหล่านี้ ซึ่งมีอยู่อย่างน่าบัดสีอย่างน่าละอายว่าเป็นพุทธศาสนา ก็ไม่ถูกเหมือนกัน คือไม่เป็นการยุติธรรมเพราะสิ่งนี้ไม่ใช้พุทธศาสนา แต่เป็น "เนื้องอก" พวกเราที่จะช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาเพื่อให้เป็นที่พึ่งแก่คนทั้งหลาย หรือเพื่อประโยชน์แก่ตัวเราเองก็ตาม จะต้องรู้จักฉวยให้ถูกตัวแท้ของพุทธศาสนา ไม่ไปถูกชิ้นเนื้อร้ายเนื้องอกดังที่กล่าวมาแล้ว</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]แม้พุทธศาสนาตัวแท้ก็ยังมีหลายแง่หลายมุม ที่จะทำให้เกิดการจับฉวยเอาไม่ถูกความหมายที่แท้ของพระพุทธศาสนาก็ได้</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]ถ้ามองด้วนสายตานักศิลธรรม ก็จะเห็นว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งศิลธรรม (Moral) เพราะมีกล่าวถึงบุญบาป ความซื่อตรง ดีชั่ว ความกตัญญุกตเวที ความสามัคคี ความเป็นเป็นคนที่เปิดเผยตัวเอง และอะไรต่างๆ อีกมากมาย ล้วนแต่มีอยู่ในพระไตรปิฏกทั้งนั้น แม้ชาวต่างประเทศก็มองดูในส่วนนี้อยู่มากหรือว่าชอบพุทธศาสนาเพราะเหตุนี้ก็ มีอยู่มาก</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]พุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่ง สูงขึ้นไปเป็นสัจธรรม (Truth) คือ กล่าวถึงความจริงที่ลึกซึ้งเร้นลับนอกเหนือไปกว่าที่คนธรรมดาสามัญจะเห็นได้ ส่วนนี้ได้แก่ความรู้เรื่องความว่างเปล่าของสรรพสิ่งทั้งปวง (สุญญตา) เรื่องความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความเป็นทุกข์ (ทุกขัง) ความไม่ใช้ตัวตน (อนัตตา) หรือเรื่องการเปิดเผยว่าทุกข์เป็นอย่างไร เหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างไร ความดับสนิทของทุกข์เป็นอย่างไร และวิธีปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์เป็นอย่างไร ในฐานะเป็นความจริงอันเด็ดขาดที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ (อริยสัจจ์) ซึ่งทุกคนควรจะต้องรู้ นี้เรียกว่าพุทธศาสนาในฐานะเป็นสัจธรรม</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนา (Religion) คือส่วนที่เป็นตัวระเบียบปฎิบัติ ซึ่งได้แก่ ศิล สมาธิ ปัญญา กระทั่งผลที่เกิดขึ้นคือความหลุดพ้น และปัญญาที่รู้เห็นความหลุดพ้น ว่าเมื่อใครปฎิบัติแล้วจะหลุดพ้นไปจากทุกข์ได้จริง นี้เรียกว่า พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนา</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]เรายังมี พุทธศาสนาในเหลี่ยมที่เป็นจิตวิทยา (Psychology) เช่น คัมภีร์พระไตรปิฏกภาคสุดท้าย กล่าวบรรยายถึงลักษณะจิตไว้กว้างขวางอย่างน่าอัศจรรย์ที่สุด เป็นที่งงงันและสนใจแก่นักศึกษาทางจิตแม้แห่งยุคปัจจุบัน เป็นความรู้ทางจิตวิทยาที่จะอวดได้ว่าแยบคาย หรือลึกลับกว่าความรู้ทางจิตวิทยาของโลกปัจจุบันไปเสียอีก</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]พุทธศาสนายังมีเหลี่ยมความรู้ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปรัชญา (Philosophy) คือสิ่งที่ทดลองไม่ได้ ยังต้องอาศัยการคำนึงคำนวณไปตามหลักแห่งการใช้เหตุผลแห่งการคำนึงคำนวณระบอบ หนึ่ง แต่ถ้าเห็นแจ้งประจักษ์ได้ด้วยตา หรือด้วยการพิสูจน์ ทดลองตามทางวัตถุ หรือแม้เห็นชัดด้วย "ตาใน" คือญาณจักษุก็ตาม เรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ (Science) ได้ ความรู้อันลึกซึ้ง เช่นเรื่องสุญญตาย่อมเป็นปรัชญาสำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมไปพลางก่อน แต่จะกลายเป็นวิทยาศาสตร์ทันทีสำหรับผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว เช่น พระอรหันต์ เพราะท่านได้เห็นได้ประจักษ์ แล้วด้วยจิตใจของท่านเองไม่ต้องคำนึงคำนวณตามเหตุผล</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]หลักพระพุทธศาสนาบางประเภท ก็เป็นวิทยาศาสตร์ (Science) โดยส่วนเดียว เพราะพิสูจน์ได้ชัดแจ้งด้วยความรู้สึกภายในใจของผู้มีสติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอริยสัจจ์เป็นต้น ถ้าผู้ใดมีสติปัญญาสนใจศึกษา ค้นคว้าแล้วจะมีเหตุผลแสดงอยู่ในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่มืดมัวเป็นปรัชญาเหมือนอย่างบางเรื่อง</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    [​IMG]" ถ้าหากว่าจะมีศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ซึ่งเข้ากันได้ดีกับแนวคิด หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ (The Modern Scientific mind) แล้วศาสนานั้นก็คือ พระพุทธศาสนา นั่นเอง"
    [​IMG]" ศาสนาในอนาคตจะต้องเป็นศาสนาแห่งสากล ซึ่งล่วงพ้นจากความเชื่อในเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า หรือสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย โดยมีหลักการที่จะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของความศรัทธาที่เกิดจากความสะสมประ สบการร์ในทุกๆด้าน ทั้งในด้านธรรมชาติ และด้านจิตวิญญาณอย่างมีเหตุผล พุทธศาสนาเป็นคำตอบสำหรับหลักการนี้"

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) (นักฟิสิกซ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20) (ค.ศ. 1879-1955)
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]" ผมตกตะลึง และรู้สึกกระอักกระอ่วนใจที่พบว่า งานวิจัยของผมกลับกลายมาวางอยู่บนพื้นฐานทางความคิดที่ดูจะไม่เป็นวิทยา ศาสตร์เอาเสียเลย เมื่อมันถูกนำไปเชื่อมสัมพันธ์กับพุทธรรรมคำสอนในศาสนาพุทธ"

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]จอฟฟรีย์ ชิว (Geoffrey Chew) (นักฟิสิกซ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 21) </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]" มนุษย์ได้ฝึกฝนความเฉลียวฉลาดรอบรู้ของตนเพื่อเอาชนะธรรมชาติภายนอกด้วย วิทยาศาสตร์ และประยุกต์วิทยา (Science and Technology) บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่มนุษย์ควรแสวงหาแสงสว่าง หรือสติปัญญาที่สูงลึกซึ้งยิ่งกว่านั้นอีก พระพุทธศาสนาเท่านั้นที่จะช่วยให้มนุษย์ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายดังกล่าว นี้ได้

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]ฟรานซิส สตอรี่ (Francis Story) (นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงชาวอังกฤษ) [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]สำหรับบุคคลผู้บูชาวัฒนธรรม ก็จะพบว่ามีคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาหลายข้อที่ตรงกับหลักวัฒนธรรมสากล และมีคำสอนอีกมากที่เป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธโดยฌฉพาะ ซึ่งดีกว่าสูงกว่าวัฒนธรรมสากลอย่างมากมาย </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2" height="37">[​IMG]แม้ พุทธศาสนาส่วนที่เป็นตรรกวิทยา (Logic) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่โยกโคลงที่สุด ก็มีมากด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะในพวกพระอภิธรรมบางคัมภีร์ เช่นคัมภีร์กถาวัตถุเป็นต้นฯ</td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]แต่อย่างไรก็ตามอยากจะขอยืนยันว่า พุทธศาสนาเหลี่ยมซึ่งชาวพุทธจะต้องสนใจที่สุด นั้นคือ เหลี่ยมที่เป็นศาสนา ซึ่งหมายถึงวิธีปฏิบัติโดยรวบรัด เพื่อให้รู้ความจริงว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไร จนถอนความยึดถือหลงใหลต่างๆออกมาเสียจากสิ่งทั้งปวงได้ การกระทำเช่นนี้เรียกว่า เราเข้าถึงตัวพระพุทธศาสนา ในฐานะเป็นพุทธศาสนา มีผลดียิ่งกว่าไปกว่าที่จะถือเป็นเพียงศิลธรรมขั้นพื้นฐาน และสัจธรรมอันเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งอย่างเดียวโดยไม่ปฏิบัติอะไร และเป็นผลดีกว่าที่จะถือเป็นปรัชญา ที่มีไว้คิดไว้นึกไว้เถียงกันอย่างสนุกๆ แล้วไม่ละกิเลสอะไรได้ หรือดีกว่าที่จะถือเป็นเพียงวัฒนธรรมสำหรับการประพฤติที่ดีงามน่าเลื่อมใสใน ด้านสังคมแต่อย่างเดียว</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]อย่างน้อยที่สุด เราทั้งหลายควรถือ พุทธศาสนาในฐานะเป็นศิลปะ (Art) ซึ่งในที่นี้หมายถึงศิลปะแห่งการครองชีวิต คือเป็นการกระทำที่แยบคายสุขุม ในการที่จะมีชีวิตอยู่เป็นมนุษย์ให้น่าดูชมน่าเลื่อมใส น่าบูชาเป็นที่จับอกจับใจแก่คนทั้งหลาย จนคนอื่นพอใจทำตามเราด้วยความสมัครใจไม่ต้องแค่นเข็นกัน เราจะมี ความงดงามในเบื้องต้น ด้วยศิลบริสุทธิ์ มีความงดงามในท่ามกลาง ด้วยการมีจิตใจสงบเย็น เหมาะสมที่จะทำงานในด้านจิต มี ความงดงามในเบื้องปลาย ด้วยความสมบูรณ์แห่งปัญญา คือรู้แจ้งสิ่งทั้งปวงว่าอะไรเป็นอะไร จนไม่มีความทุกข์ เกิดขึ้นเพราะสิ่งทั้งปวงนั้น</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]เมื่อ ใครมีชีวิตอยู่ด้วยความงาม 3 ประการ เช่นนี้แล้ว ถือว่าเป็นผู้มีศิลปะแห่งการดำรงชีวิตอย่างสูงสุด ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนา ในฐานะเป็นศิลปะแห่งชีวิตโดยนัยนี้เป็นอันมาก และกล่าวขวัญกันมากกว่าแง่อื่นๆ</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]การที่เราเข้าถึงตัวแท้ของพระพุทธศาสนา จนถึงกับนำมาใช้เป็นแบบแห่งการครองชีวิตนั้น มันทำให้เกิด ความบันเทิงรื่นเริงตามทางธรรมะ ไม่เหงาหงอยไม่น่าเบื่อหน่าย หรือหวาดกลัวดังที่เกรงกันอยู่ว่า ถ้าละกิเลสเสียแล้วชีวิตนี้จะแห้งแล้งไม่มีรสชาติอะไรเลย หรือถ้าปราศจากตัณหาต่างๆ โดยสิ้นเชิงแล้วคนเราจะทำอะไรไม่ได้ หรือไม่คิดทำอะไรอย่างนี้เป็นต้น แต่โดยที่แท้จริงแล้ว ผู้ดำรงชีวิตอยู่อย่างถูกต้อง ตามศิลปะแห่งการครองชีวิตของพระพุทธเจ้านั้น คือผู้มีชัยชนะอยู่เหนือสิ่งทั้งปวงที่เข้ามาแวดล้อมตน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์บุคคลสิ่งของ หรืออะไรก็ตาม ย่อมจะเข้ามาในฐานะผู้แพ้ ไม่อาจจะทำให้เกิดความมืดมัว สกปรก เร่าร้อนให้แก่ผู้นั้นได้ อากัปกิริยาที่เป็นฝ่ายชนะอารมณ์ทั้งปวงนี้ ย่อมเป็นที่บันเทิงเริงรื่นอย่างแท้จริง และนี่คือข้อที่ควรถือเป็นศิลปะในพุทธศาสนา</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]ธรรมะ ในพระพุทธศาสนา จะให้ความเพลิดเพลินแก่จิตใจที่ต้องการธรรมะ นับได้ว่าเป็นอาหารจำเป็นอย่างหนึ่งเหมือนกัน คนที่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสยังต้องการอาหารทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แสวงหากันไปตามวิสัยปุถูชนนั้นก็ถูกแล้ว แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งซึ่งอยู่ลึก และไม่ต้องการอาหารอย่างนั้น สิ่งนี้คือวิญญาณซึ่งเป็นอิสระหรือบริสุทธิ์ ต้องการความบันเทิงเริงรื่น คืออาหารทางธรรมะ นับตั้งแต่ความยินดีปรีดาที่รู้สึกว่าตนได้ทำอะไรอย่างถูกต้อง เป็นที่พอใจของผู้รู้ทั้งหลาย มีความสงบระงับในใจชนิดดที่กิเลสมารบกวนไม่ได้ มีความเห็นแจ่มแจ้งรู้เท่าทันสิ่งทั่งปวงว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ทะเยอทะยานในสิ่งใด มีอาการเหมือนกับนั่งลงได้ ไม่ต้องวิ่งงไปวิ่งมาเหมือนคนทั้งหลาย ชนิดที่ท่านให้คำเปรียบไว้ว่า "กลางคืนอัดควัน กลางวันเป็นไฟ"
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]" กลางคืนอัดควัน" นั่น หมายถึงการนอนไม่หลับกระสับกระส่ายมือก่ายหน้าผาก คิดจะแสวงหาอย่างนั้นอย่างนี้คิดจะกระทำเพื่อให้ได้เงิน ได้ลาภหรือสิ่งต่างๆที่ตนปราถนา อันเป็นควันกลุ้มอยู่ในใจ เพราะมันยังมือค่ำ ลุกไปไหนไม่สะดวก ต้องทนอดนอนอัดควันอยู่ ครั้นถึงวันรุ่งขึ้น ก็ออกวิ่งไปตามความต้องการของ "ควัน" ที่อัดไว้เมื่อคืน นี่เรียกว่า "กลางวันเป็นไฟ" เป็นอาการของจิตใจที่ไม่ได้รับความสงบ ไม่ได้รับอาหารทางธรรมเป็นความกระหาย ไปตามอำนาจของกิเลส และตัณหา "กลางคืนอัดควัน" ร้อนรุ่มอยู่แล้วตลอดคืน "กลางวันยังเป็นไฟ" คือทั้งร้อนทั้งไหม้อะไรไปในตัวเสร็จตลอดทั้งวันแล้วจะหาความสงบเยือกเย็น อย่างไรได้ ถ้าคนเราต้อง "กลางวันอัดควัน กลางวันเป็นไฟ" ไปจนตลอดชีวิต ถึงตายแล้ว จะเป็นอย่างไรบ้าง ขอให้ลองคิดดู เขาเกิดมาทนทุกข์ทรมานจนตลอดชีวิต คือนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเน่าเข้าโลกไปทีเดียว โดยไม่มีสติปัญญาที่จะระงับดับไฟ ดับควันนั้นเสียเลย บุคคลชนิดนี้จะต้องอาศัยสติปัญญาของบุคคลประเภทพระพุทธเจ้า สำหรับช่วยแก้ไขให้เบาบางลงตามส่วน เมื่อเขาได้เข้าใจสิ่งทั้งหลายทั้งปวงถูกต้องตามความเป็นจริงมากขึ้นเท่าไร ควันหรือไฟก็จะลดน้อยลงเท่านั้น</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]ทั้งหมดนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าพุทธศาสนานั้นมีลักษณะหลายเหลี่ยมหลายมุม เหมือนกับภูเขาลูกเดียวมองจากทิศต่างๆกัน ก็เห็นรูปต่างๆกัน ได้ประโยขน์ต่างๆกัน แล้วแต่ใครจะมองอย่างไร แม้พระพุทธศาสนา จะมีมูลมาจากความกลัว ก็ไม่ใช้ความกลัวที่โง่เขลา ของคนป่าเถื่อน จนถึงกับนั่งไหว้รูปเคารพหรือไหว้สิ่งที่มีปรากฏแปลกๆ แต่ เป็นความกลัวชนิดที่สูงด้วยสติปัญญา คือกลัวว่าจะไม่ได้รอดพ้นไปจากการบีบคั้นของความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือความทุกข์ทั้งหลายที่เรามองเห็นๆ กันอยู่ </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]พุทธศาสนาตัวแท้ ไม่ใช่หนังสือ ไม่ใช่คัมภีร์ ไม่ใช่เสียงบอก เล่าตามพระไตรปิฎก หรือตัวพิธีรีตองต่างๆ ซึ่งไม่ใช้ตัวแท้ของพระพุทธศาสนา ตัวแท้ต้องเป็น ตัวการปฎิบัติด้วยกายวาจาใจ ชนิดที่จะทำลายกิเลสให้ร่อยหรอ หรือหมดสิ้นไปในที่สุด ไม่จำเป็นต้องเนื่องด้วยหนังสือ ด้วยตำรา ไม่ต้องอาศัยพิธีรีตอง หรือสิ่งภายนอก เช่นผีสางเทวดา แต่ต้องเนื่องด้วยกาย วาจา ใจ โดยตรง คือจะต้องบากบั่นกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป จนเกิดความรู้แจ่มแจ้ง สามารถทำอะไรให้ถูกต้องได้ด้วยตนเอง ไม่มีความทุกข์เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนอวสาน นี่แหละคือตัวแท้ของพระพุทธศาสนา ในส่วนที่เราจะต้องเข้าถึงให้จงได้ อย่าได้ไปหลงยึดเอาเนื้องอกที่หุ้มห่อพระพุทธศาสนามาถือว่าเป็นตัวพระพุทธ ศาสนากันเลย</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]พุทธศาสนิก แปลว่า ผู้ปฏิบัติตามศาสนาของผู้รู้ ที่ว่ารู้นั้น หมายถึงรู้อะไร? ก็คือรู้สิ่งทั้งปวงที่เป็นจริงนั่นเอง จึงกล่าวได้ว่าพุทธศาสนาก็คือ ศาสนาที่ทำให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เป็นศาสนาเกี่ยวกับความรู้จริง เราจึงต้องปฏิบัติจรเรารู้ได้เอง เมื่อรู้ถึงที่สุด แล้วไม่ต้องกลัว กิเลสตัณหาต่างๆ จะถูกความรู้นั้นทำลายให้สิ้นไป ความไม่รู้ (อวิชชา) ก็จะดับไปทันที ในเมื่อความรู้ได้เกิดขึ้นมาก ฉะนั้นข้อปฏิบัติต่างๆจึงมีไว้เพื่อให้วิชชาเกิด
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]สรุปความว่า พุทธศาสนา คือวิชาและระเบียบปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร เมื่อเรารู้ว่า อะไรเป็นอะไรถูกต้องจริงๆแล้วไม่ต้องมีใครมาสอนเรา หรือมาแนะนำเรา เราก็ปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆถูกต้องได้ด้วยตนเอง แล้วกิเลสก็จะหมดไปเอก เราเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งขึ้นมาทันที หรือที่ชอบเรียกกันว่า มรรคผลนิพพาน นี้ได้ด้วยตนเอง เพระาการที่เรามีความรู้อะไรเป็นอะไรโดยถูกต้องถึงที่สุดอย่างแท้จริงเท่า นั้น</td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">[​IMG]รัตนตรัย หมายถึง สิ่งล้ำค่า 3 ประการ หลักที่เคารพบูชาสูงสุดของพุทธศานิกชน 3 อย่าง

    1. พระพุทธเจ้า หมายถึง พระผู้ตรัสรู้เองและสอนผู้อื่นให้รู้ตาม
    2. พระธรรม หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลักความประพฤติ
    3. พระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/core_0.htm

    </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2009
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ละความชั่ว บำเพ็ญความดี ชำระจิตใจให้สะอาด
    ในการปฏิบัติ เราก็ไม่ค่อยปฏิบัติตัวเอง

    ท่านให้ "ละความชั่ว บำเพ็ญความดี ชำระจิตใจให้สะอาด"

    แต่พอเรามาปฏิบัติ เราก็จะเอาแต่ "ดี"

    ปฏิบัติเดี๋ยวนี้ เราก็ต้องการ "ดี" เดี๋ยวนี้

    สิ่งที่เราต้องการ อะไรๆ ก็แล้วแต่ เราก็ต้องการ "เอาเดี๋ยวนี้แหละ"

    เราก็ข้ามเรื่องการ "ละความชั่ว" ไปเสีย


    เราก็เลยเหมือนคนมักได้

    พอตั้งใจปฏิบัติ ก็จะเอาแต่ของดีเดี๋ยวนี้

    เราไม่ได้นึกถึง "เรื่องการละความชั่ว" หรือ "ทำความสะอาด"

    เราไม่ได้นึกถึงว่า ของสกปรกที่มีเกินควร เราต้องชำระออกจากกาย

    ออกจากวาจา ออกจากใจของตัวเองเสียก่อน คือการละความชั่ว


    เราต้องสำรวจดูว่ามีอะไรที่ไม่น่าดู ไม่สะอาด

    ทางกาย ทางวาจา ทางจิตใจของเรา มีบ้างหรือเปล่า

    ที่ทำไปแล้วตัวเองก็ไม่สบายใจ คนอื่นเห็นแล้วเขาก็ไม่ชอบ

    เรามีปิยวาจารึเปล่า ฯลฯ


    อันนี้เราไม่ค่อยจะได้พิจารณา ไม่ได้ระลึกถึง

    นั่งสมาธิเดินจงกรมปุ๊บ ก็จะเอาสมาธิเดี๋ยวนี้

    มาวัดปุ๊บ ตั้งใจปฏิบัติ นั่งสมาธิ เดินจงกรม หาของดี เดี๋ยวนี้

    อันนี้ก็ผิดหลักพุทธศาสนา

    เราต้องนึก ต้องพิจารณาให้ดี




    สนับสนุนข้อคิดนานาสาระโดย:
    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
    วัดป่าสุนันทวนาราม
     
  20. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    เรื่องเล่าจากเรื่องจริง

    พี่ในที่ทำงานท่านหนึ่งเหลือเวลาอีก 2 ปีก็จะเกษียณแล้วครับ

    ได้คุยกันว่า เพื่อนของเขาที่ทำงานการบินแห่ง เกษียณออกมาก่อน

    ได้สตางค์ไป 12 ล้านบาท



    ตัวของเขาเองก็ตัดพ้อว่า ทำงานมาจนใกล้เกษียณป่านนี้

    เงินที่ได้ก็คงไม่ถึงล้าน มันช่างห่างไกลกันเสียเหลือเกิน

    แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่ภูมิใจ คือ นอกจากส่งลูกเรียนจบปริญญา

    ก็ส่งหลานเรียน 2 คน



    ผมเองก็นึกคิดแฮะ ว่าสิ่งที่เราทำความดีมาอะไรหนอ

    ไปมา มาไป ก็อ่อ เรามาทำบุญทุนนิธิทุกเดือนนี่เอง

    การกระทำของเราในทางดี เป็นประจำ ทำให้เรามีใจในทางทีดี

    คิดแล้วก็ปลาบปลื้มครับ



    เราก็ทำดีกับเขาเหมือนกันครับ

    ท่านละลองนึกๆ ดูครับ

    สิ่งสุขใจที่ได้ทำดี คืออะไร

    คิดแล้วก็สุขใจครับ

    นี่แหละ .... บุญ

    สาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...