ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <CENTER>แนะนำหนังสือเก่าหายาก (16) ... สาสนคุณ หนังสือสอนพระพุทธสาสนาแก่เด็ก ปี 2472

    </CENTER>



    แนะนำหนังสือเก่าหายาก (16)




    สาสนคุณ หนังสือสอนพระพุทธสาสนาแก่เด็ก พุทธศักราช 2472




    [​IMG]








    หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เป็นหนังสือเล่มเล็ก ที่พิมพ์พระราชทานในงาน

    พระราชพิธีวิสาขบูชาเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 โดยมีกระแสพระบรมราชโองการ

    เรื่องพระราชทานรางวัลในการประกวดแต่งหนังสือสอนพุทธสาสนาแก่เด็ก และได้พิมพ์

    พระราชทานต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี จวบจนปัจจุบันนี้ นับเป็นหนังสือมีค่ายิ่งเล่มหนึ่ง




    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานคำนำในหนังสือสาสนคุณ

    หนังสือสอนพระพุทธสาสนาแก่เด็ก พุทธศักราช 2472










    คำนำ




    ในงานวิสาขบูชาเมื่อศกก่อนนี้ ข้าพเจ้าได้ให้พิมพ์หนังสือพุทธมามกะ เพื่อแจกใน

    งานนั้น และได้เขียนคำนำแสดงปรารภไว้ด้วย ว่าเราควรจะพยายามขวนขวายสั่งสอนเด็กให้

    รู้จักพระพุทธสาสนา.

    ข้าพเจ้าได้ทราบว่ามีผู้ที่มีความเห็นพ้องด้วยกับข้าพเจ้าเป็นอันมาก ทั้งพระภิกษุ

    สงฆ์และคฤหัสถ์ ทำให้ข้าพเจ้ามีความปีติเป็นอันมาก ข้าพเจ้าจึงได้ให้ราชบัณฑิตยสภา

    ออกประกาศการประกวดแต่งหนังสือแสดงพระพุทธสาสนาสำหรับสอนเด็ก เพื่อจะได้มีหนังสือ

    แจกได้ทุก ๆ ปี และเพื่อให้มีผู้เอาใจใส่ในกิจอันนี้มากขึ้น.

    ผลของการประกวดนี้ มีสิ่งที่น่าพอใจอยู่อย่างหนึ่ง ที่มีผู้ส่งหนังสือเข้าประกวดถึง

    24 ราย ผู้ที่เข้าประกวดมีทั้งหญิงและชายและพระภิกษุ ที่อยู่ในจังหวัดพระนครก็มี และที่อยู่

    ต่างจังหวัดไกล ๆ ก็มี นับว่าประกาศการประกวดหนังสือแสดงพระพุทธสาสนานี้ทราบกัน

    แพร่หลายและมีผู้เอาใจใส่มาก. ข้าพเจ้ามีความเสียใจอยู่บ้างที่ได้ทราบว่าสำนวนต่าง ๆ ที่ส่ง

    มานั้น มีที่ถูกต้องตามเกณฑ์แต่ฉะบับเดียว ทั้งนี้ก็ไม่สู้น่าปลาดใจอะไรนัก เพราะคราวนี้เป็น

    คราวแรก ผู้ที่แต่งหนังสือย่อมยังไม่เข้าใจได้ชัดเจน ว่าต้องการหนังสือชะนิดไรแน่ ข้าพเจ้า

    เชื่อว่า ในคราวหน้าคงจะมีหนังสือที่ถูกต้องตามเกณฑ์หลายสำนวน จะทำให้กรรมการเลือกคัด

    เลือกสำนวนที่ควรได้รางวัลได้มากกว่าคราวนี้. ข้าพเจ้าได้อ่านสำนวนอีก 3 สำนวน ที่กรรมการ

    ได้เลือกขึ้นพิจารณาด้วยในคราวนี้ รู้สึกว่าแต่งดี และแม้จะพิมพ์แจกก็คงจะได้ประโยชน์มาก

    เหมือนกัน และถ้าผู้แต่งได้แก้สำนวนเสียบ้าง ก็อาจได้รับรางวัลในการประกวดคราวหน้า

    ข้าพเจ้าได้ให้พิมพ์ลายพระหัตถ์นายกราชบัณฑิตยสภาไว้ในหนังสือนี้ด้วย เพื่อจะได้ทราบวิธี

    คัดเลือกที่ราชบัณฑิตยสภาได้วางไว้และได้ใช้ในคราวนี้.

    ข้าพเจ้าอยากจะใคร่อธิบายลักษณหนังสือที่ต้องการและวิธีใช้หนังสืออย่างนี้ไว้เสีย

    ในที่นี้ด้วย. หนังสือที่ต้องการนั้นปรากฏในข้อบังคับการประกวดว่า “ต้องให้เด็กขนาดอายุ 10 ขวบ

    อ่านเข้าใจได้.” หมายความว่า ต้องให้เด็กอ่านเข้าใจได้เองโดยตลอด ไม่ต้องถามผู้ใหญ่เลย.

    แต่วิธีที่จะใช้หนังสือให้เป็นประโยชน์นั้น ไม่ใช่เอาส่งให้เด็กเอาไปอ่านแล้วไม่เอาธุระต่อไป.

    ถ้าทำดังนั้นเด็กก็คงไม่อ่านหรืออ่านก็คงไม่ตั้งใจจำข้อความ. เมื่อให้เด็กอ่านแล้ว ผู้ใหญ่ต้อง

    ซักถามสอบทวนความเข้าใจและความจำอีกทีหนึ่งจึงจะได้ประโยชน์.

    เช่นยกเอาหนังสือที่แจกคราวนี้เป็นตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าหนังสือนี้แบ่งเป็นบทสั้น ๆ

    เมื่อจบบทหนึ่งมีคำถาม เพื่อสอบความจำและความเข้าใจไว้ด้วย. บิดามารดาของเด็กที่ได้รับ

    หนังสือแจกนี้ควรให้เด็กอ่านบทต่างๆ เหล่านั้นคราวละบทในวันที่ว่าง เช่นวันอาทิตย์หรือ

    วันพระก็ได้ เมื่อเด็กอ่านแล้วควรใช้คำถามท้ายบทนั้นซักถามเด็กดูเพื่อสอบความจำและความ

    เข้าใจ และอธิบายเพิ่มเติมบ้างตามสมควร. ถ้าทำดังนี้ก็จะได้ประโยชน์สมกับความมุ่งหมาย

    ของผู้แต่ง และของข้าพเจ้าผู้แจกหนังสือนี้.

    ข้าพเจ้าใคร่จะออกความเห็นไว้ในที่นี้ด้วย ถึงวิธีที่เราจะดำเนิรการสั่งสอนสาสนาแก่

    เด็กได้ด้วยวิธีอย่างไร จึงจะได้ผลดีที่สุด. การที่จะสอนพระพุทธสาสนาแก่เด็กนั้นเป็นของยาก

    เพราะมีธรรมที่สูงเกินสมองของเด็กเสียโดยมาก จึงต้องใช้วิจารณญาณอย่างสุขุม เพื่อหยิบยก

    ข้อความที่สมควรมาสอนให้เข้าใจได้ และให้ได้ผลจริง.

    ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวไว้แล้ว ว่าชาติอื่นที่นับถือสาสนาฆฤสตังหรืออิสลัมเป็นต้น เขาเริ่ม

    สั่งสอนเด็กในทางสาสนาตั้งแต่ยังเล็กมากทีเดียว เกือบจะว่าพอพูดได้ก็สอนทีเดียวก็ว่าได้

    สำหรับพระพุทธสาสนาเราก็ควรทำเช่นนั้นเหมือนกัน สำหรับสาสนาฆฤตังและอิสลัม ข้อต้นที่

    เขายกขึ้นสอนก็คือหลักสำคัญของสาสนาของเขา ที่ว่าพระเป็นเจ้าหรือพระยะโฮวาทรงสร้าง

    โลกนี้ และสิ่งทั้งปวงที่มีอยู่ในโลกย่อมเป็นไปตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า โดยที่ทรง

    บันดาลให้เป็นไปดังนั้นข้อความเหล่านี้เขาสอนให้เด็ก เชื่อมั่น ทีเดียว สำหรับพระพุทธสาสนา

    ข้าพเจ้าก็เห็นว่ามีสิ่งที่เราควรจะสอนให้เข้าใจและให้เชื่อมั่น เสียตั้งแต่ต้นทีเดียวเหมือนกัน.

    สิ่งที่เป็นหลักสำคัญของพระพุทธสาสนานั้นคือ วัฏฏะสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด และกรรม

    ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว “วัฏฏะสงสาร” และ “กรรม” นี้ แป็นความเชื่อที่เก่ากว่าพระพุทธสาสนา

    และเป็นของพราหมณ์ก็จริง แต่ก็เป็นหลักสำคัญของพระพุทธสาสนา เพราะหนทางปฏิบัติ

    ของพระพุทธสาสนาก็เพื่อให้พ้นจากวัฏฏะสงสารอันเป็นความทุกข์ แต่สิ่งที่ดีประเสริฐยิ่งนั้น

    คือความเชื่อใน “กรรม” แต่จะสอนแต่เรื่องกรรมอย่างเดียว ไม่สอนเรื่องวัฏฏะสงสารด้วยก็ไม่

    บริบูรณ์ ความเชื่อในกรรม ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นของประเสริฐยื่ง, ควรเพาะให้มีขึ้นในใจของคน

    ทุกคน และถ้าคนทั้งโลกเชื่อมั่นใน “กรรม” แล้ว ข้าพเจ้าเชี่อว่า มนุสส์ในโลกจะได้รับความ

    สุขใจขึ้นมาก. ความเชื่อในกรรมนี้ไม่ใช่ความเชื่ออย่าง “Fatalist” และไม่ควรจะเป็นอย่างที่

    เรียกกันว่า “แล้วแต่บุญแต่กรรม” เลย ตรงกันข้าม ควรเป็นสิ่งที่จะทำให้คนขวยขวายทำแต่

    กรรมที่ดีโดยหวังผลที่ดี เรื่องวัฏฏะสงสาร และ กรรม นี้เป็นของต้อง “มีความเชื่อ” (faith)

    เพราะเป็นสิ่งที่ยังพิศูจน์ไม่ได้แน่ชัดว่าเป็นของที่จริง แต่ก็เป็นของที่น่าเชื่อกว่า “ความเชื่อ”

    (faith) อื่นหลายอย่าง

    ตามธรรมดาคนเราเมื่อได้รับความไม่พอใจหรือความทุกข์ ที่มักจะพยายามหาที่

    ซัด เช่นซัดผู้ใหญ่, ซัดผู้บังคับบัญชา, ซัดรัฐบาล, ซํดพวกเศรษฐี, หรือซัดขนบธรรมเนียม

    อะไรต่าง ๆ แล้วแต่จะเลือกซัด. ถ้าซัดสิ่งที่ว่ามาแล้วไม่ได้ ก็ซัดผีสางเทวดาหรือพระเป็นเจ้า

    อะไรต่อไป. อย่างไรก็ดีการซัดต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้เกิดความไม่สบายใจทั้งนั้น และจะทำ

    ให้เกลียดหรือเบื่อหน่ายสิ่งที่ตัวซัดนั้น ถ้าอย่างดีสักหน่อยก็คือพวกที่เชื่อเทวดาหรือพระเจ้า

    มีความเชื่อจริงและเกรงกลัวจริง ถือเสียว่าความทุกข์ที่ได้รับนั้นคือพระเจ้าหรือเทวดาลงโทษ

    ตนที่ทำความผิดมา แต่บางครั้งก็เชื่อยาก และอาจสงสัยความอยุตติธรรมของเทวดาบ้างก็มี.

    ส่วนความเชื่อในกรรมนั้น เราจะซัดใครไม่ได้นอกจากตัวเราเอง. เราอาจเห็นได้ง่าย ๆ

    ว่า ความผิดของเรานั้นได้รับผลทันที, อย่างที่เรียกว่า “กรรมตามทัน” นั้นมีเป็นอันมาก. ถ้าหาก

    ว่าเราได้รับความทุกข์ที่เราแปลไม่ออกว่าเป็นผลไม่ดีของอกุศลกรรมอะไรที่เราได้ทำ. เราก็

    ต้องเชื่อว่า เป็นผลของกรรมใน ชาติก่อน และพึงทำกรรมที่ดีเพื่อให้ได้รับความสุขใน ชาติหน้า

    ต่อไป (กรรมและวัฏฏสงสารต้องสอนไปด้วยกันเพราะเหตุนี้). ข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่า ถ้าคนเราเชื่อ

    กรรมจริง ๆ แล้ว จะได้ความ สุขใจ ใช่น้อย โดยที่ไม่ทำให้รู้สึกท้อถอยอย่างไร เพราะไม่ควร

    จะนั่งหาเรื่องซัดใคร ๆ หรืออะไรต่าง ๆ จนไม่เป็นเรื่อง.

    โดยเหตุต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างบนนี้ ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าเราควรพยายามสอนเด็ก

    ให้เข้าใจและให้เชื่อมั่น ในกรรมเสียแต่ต้นทีเดียว ยิ่งให้เชื่อได้เท่าไรยิ่งดี ควรให้ฝังเป็นนิสสัย

    ที่เดียว. นอกจากนี้ควรสอนให้เด็กเคารพต่อ พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์, แม้จะไม่เข้าใจหรือ

    ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร ก็ต้องให้เคารพกราบไหว้เป็นนิจ พอเด็กรู้ความมากขึ้นก็อาจสั่งสอนตาม

    ลักษณของหนังสือที่แจกคราวนี้ได้ต่อไป.

    ข้าพเจ้าใคร่จะชมความสามารถและความพยายามของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ที่ได้

    แต่งหนังสือนี้เข้าประกวด ได้รับรางวัลเป็นครั้งแรก ข้าพเจ้าขออนุโมทนาในกุศลกรรมของเธอ.

    ข้าพเจ้าหวังว่าผู้ที่ได้รับหนังสือนี้คงจะมีความพอใจ และจะใช้หนังสือนี้ได้เป็น

    ประโยชน์จริงตามความมุ่งหมาย.

    ด้วยอำนาจพระรัตนตรัย ขอผู้ที่ได้อ่านหนังสือนี้จงมีความสุขเจริญทั้งกายและใจ

    ทุก ๆ คน เทอญ







    ประชาธิปก. ปร.



    วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2472


    หากลองเข้าไปดูสารบัญแล้วน่าสนใจจริงๆ

    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=171810
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center>การไต่สวนของพญายมราชและหน้าที่ของพญายม

    </TD><TD style="FONT-SIZE: smaller" vAlign=bottom align=right height=20></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1>
    [​IMG]


    .
    การไต่สวนของพญายมราชและหน้าที่ของพญายม


    คตินิยมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในไตรถูมิพระร่วง และตามเรื่องราวของพระมาลัยเถระนั้น กล่าวเอาไว้อย่างชัดเจนว่าองค์พญายมราชนี้เป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรมและมีจิตใจเมตตาเป็นอย่างยิ่ง มิได้เป็นภูตผีปีศาจแต่อย่างใด หากแต่พระองค์ทรงรับหน้าที่ในการปกครองดินแดนนรก ดินแดนแห่งการลงทัณฑ์มีหน้าที่ไต่สวนดวงวิญญาณต่างๆ ที่จำบุญบาปของตนไม่ได้

    สำหรับการไต่สวนดวงจิตวิญญาณเพื่อตัดสินความนั้น พญายมจะตั้งคำถาม 5 ข้อ ให้ดวงวิญญาณตอบโดยมีราบละเอียดดังนี้
    ข้อที่ ๑.พญายมราชจำทำการไต่ถามถึงปัญหาข้อที่ว่า “ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านเคยเห็นเด็กแดงๆ ยังอ่อนนอนแบเบาะ นอนเปื้อนมูตรคูถของตนบ้างไหม เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็น แต่ไม่มีความรู้สึกอย่างไร พญายมราชก็จะบอกให้ทราบว่าเจ้าเป็นผู้มีความประมาท ไม่กระทำความดีทางกาย วาจา ใจ ไม่เคยคิดเลยว่าการเกิดมานั้นเป็นทุกข์ ดังที่เห็นอยู่เมื่อท่านประมาทเช่นนี้นายนิรยะบาลจะทำการลงโทษท่าน แล้วพญายมราชก็ปลอบใจผู้กระทำบาปเหล่านี้ โดยถามเป็นปัญหาที่สองเพื่อว่าดวงวิญญาณนั้นๆ อาจคิดถึงบุญได้ยามเมื่อฟังปัญหาต่อไป

    ข้อที่ ๒.เมื่อพญายมราชได้ปลอบโยนเอาอกเอาใจแล้วก็ได้ถามปัญหาข้อที่๒ว่า”ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านเคยเห็นคนแก่อายุ ๘0,๗0,๑00 ปี หลังโก่ง คดงอ ถือไม้เท้า เดินงกเงิ่น ผมหงอก หนังเหี่ยว ตกกระ ในหมู่มนุษย์บ้างไหม เห็นแล้วท่านรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็นแต่ไม่มีความรู้สึกอย่างไร พญายมราชก็กล่าวชี้แจงให้ทราบว่าท่านเป็นผู้ประมาท ไม่พิจารณาเห็นโทษของความแก่ ไม่ขวนขวายในการทำบุญทำกุศล ตั้งอยู่ในความประมาทนายนิรยบาลจะลงโทษท่านต่อจากนั้นพญายมราชก็จะพูดปลอบใจ และถามปัญหาต่อไป

    ข้อที่ ๓.พญายมราชจะถามว่า “ท่านเคยเห็นคนป่วยไข้ที่กำลังได้รับความทุกข์เวทนาบ้างหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็น แต่ไม่รู้สึกอย่างไร พญายมก็จะชี้แจงให้ทราบถึงเหตุผลว่าการเจ็บป่วยนั้นเป็นทุกข์ที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ จะต้องขวนขวายในการกระทำความดียิ่งๆขึ้น เพื่อให้พ้นจากสิ่งเหล้านี้ ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้ประมาทนายนิรยบาลจะลงโทษท่าน พญายมราชจะพูดปลอบอกปลอบใจและถามปัญหาข้อที่ ๔ ต่อไป

    ข้อที่ ๔.พญายมราชได้ภามปัญหาด้วยจิตเมตตาต่อไปว่า “ท่านเคยเห็นคนที่ถูกจองจำ เช่น โจร ผู้ร้าย ผู้กระทำผิด ซึ่งถูกลงโทษด้วยวิธีต่างๆ เช่น การโบยด้วยแส้ โบยด้วยหวาย ตีด้วยกระบอง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดหูตัดจมูกบ้าง ตลอดจนยิงเป้า แขวนคอ นั่งเก้าอี้ไฟฟ้า หรือการฉีดยาพิษเข้าสู้ร่างกายเพื่อให้เสียชีวิตบ้างหรือไม่ เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร?” ถ้าตอบว่าเห็น แต่ไม่รู้สึกอย่างไร พญายมราชจะชี้แจงให้ทราบว่าท่านเป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท ไม่ขวนขวายในการทำบุญทำกุศล เพื่อให้พ้นจากวัฏสงสารเหล่านี้ นายนิรยบาลจะลงโทษท่านพญายมก็พูดปลอบโยนเอาอกเอาใจและถามปัญหาในข้อต่อไป

    ข้อที่ ๕.พญายามราชก็จะถามปัญหาว่า “ท่านเคยเห็นคนตายบ้างหรือไม่ เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร” ถ้ายังตอบเหมือนเดิมอีก คือเห็นแล้วไม่มีความรู้สึกอย่างไร และไม่ได้ขวนขวายในการที่จะกระทำคุณงามความดียิ่งๆขึ้น ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท ซึ่งไม่ใช่ความผิดของบิดามารดา ญาติพี่น้อง มิตรสหายหรือเทวดาดลใจแต่เห็นความผิดของท่านเอง นายนิรยบาลจะลงโทษท่าน เมื่อพญายมราชได้พูดปลอบใจแล้ว นายนิรยบาลก็จะจับผู้ประมาทนั้นมาจองจำ๕ ประการด้วยกัน คือ นำมือข้างที่ ๑ มาตรึงด้วยตะปูด้วยเหล็กแดง นำมือข้างที่ ๒ มาตรึงด้วยตะปูเหล็กแดง น้ำเท้าข้างที่ ๑ มาตรึงด้วยตะปูเหล็กแดง นำเท้าข้างที่ ๒ มาตรึงด้วยตะปูเหล็กแดง และตรึงตะปูที่ทรวงอกตรงกลางสัตว์เหล่านั้นย่อมเสวยทุกขเวทนาอย่างแรงกล้าอยู่ในนรก แต่ก็ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่หมดสิ้น

    ในการถามปัญหา ๕ ข้อนี้ ท่านจะคอยถามว่า ยามเมื่อมีชีวิตอยู่นั้นได้ทำบุญทำบาปอะไรไว้บ้าง นอกจากนี้ยังถามว่าเคยเห็นเด็กทารกที่นอนจมกองอาจมหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วเคยรู้สึกสังเวชในการเกิดการเป็นการอยู่ เคยตรึงตรองถึงธรรมการเกิดขึ้นของมนุษย์หรือไม่ ต่อจากนั้นพญายมราชก็จะซักถามต่อไปอีกว่า เคยเห็นคนเจ็บป่วยไม่สบายหรือไม่เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร สังเวชในธรรมของการเป็นการอยู่ของมนุษย์เราหรือไม่ เป็นคติเตือนใจเราเองได้หรือไม่ แล้วถามอีกว่าเคยเห็นคนแก่ชราหรือไม่ เมื่อเห็นแล้วเคยน้อยกลับมาดูตัวเองหรือไม่ว่าเราเองต้องแก่เหมือนกัน และไม่อาจหลีกเลี่ยงไปได้ เคยได้ตรึกตรองในสัจธรรมความจริงข้อนี้หรือไม่ สุดท้ายก็ถามย้ำอีกว่า แล้วเคยเห็นคนตายไหม เคยคิดหรือไม่ว่าตัวเราเองหรือไม่ว่าตัวเองต้องแก่ชราเช่นนั้นเหมือนกันไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่งเคยนึกได้เช่นนี้บ้างไหม

    การที่ท่านถามนี้ก็เพื่อว่าบุคคลใดก็ตามที่เคยเห็นแล้วพิจารณานึกได้ เกิดความสังเวชในชีวิตบ้าง นับว่าบุคคลนั้นยังมีจิตใจเป็นบุญกุศลยังมีจิตใจเป็นบุญเป็นกุศล เพราะจิตเคยเข้าสู่การพิจารณาสังเวชในธรรมเป็นไปตามที่พระองค์ท่านให้พิจารณา จิตที่พิจารณาถึงธรรมสังเวชเห็นความเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ นับว่าบุคคลผู้นั้นมีปัญญาและมีจิตระเอียดอ่อน การที่จิตตกอยู่ในธรรมสังเวชนั้นแล จะเป็นบุญแก่จิตรของบุคคลผู้นั้นและนับเป็นบุญมหาสารได้ หากขณะที่องค์พญายมราชไต่สวนเราหมดแล้ว ยังไม่อาจระลึกในสิ่งที่เป็นบุญกุศลได้เลย แน่นอนว่าย่อมมีทุคติภูมิหรือนรกเป็นที่ไป

    ก่อนที่พญายมราชจะส่งดวงวิญญาณทั้งหลายไปลงนรกนั้น พระองค์จะไต่สวนให้เที่ยงธรรมเสียก่อนว่า ดวงวิญญาณทั้งหลายนั้นเคยทำบุญกุศลอะไรบ้างหรือไม่ หากเคยทำบุญกุศลบ้างพระองค์จะได้ไปส่งไปยังสุคติ แต่หากดวงวิญญาณทั้งหลายเหล่านั้นไม่สามารถระลึกถึงกุศลได้เลย ก็แน่นอนว่าย่อมถูกส่งไปยังนรกชั้นต่างๆตามโทษทัณฑ์ที่ดวงวิญญาณนั้นจะได้รับอย่างสาสม

    หากผู้ใดได้ประกอบกุศลกรรมอยู่เป็นนิจ ในดวงจิตก็จะมีความสำนึกในกุศลกรรมนั้น เมื่อถึงวันที่ต้องอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพญายมราช ยามที่ได้ยินคำถามของท่านก็จะสามารถระลึกถึงจิตอันเป็นกุศลของตนได้และยอมได้ไปสู่สุคติภพในที่สุด

    .
    ที่มา http://board.agalico.com/showthread.php?t=28161
     
  3. daradora

    daradora เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +496
    เรียนถามนิดนึงนะคะ
    คือตอนนี้ก็ยังสามารถโอนเงินช่วยเหลือทางรพ.สงฆ์ได้อยู่ใช่ไหมคะ
    จะได้ทำการโอนเงินไปค่ะ
     
  4. nathaphat

    nathaphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +750
    ขออนุญาติตอบนะครับ

    ทำบุญได้ตลอดครับ
     
  5. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099

    ทำได้ครับ

    ปัจจุบันยังคงมีการทำบุญ ณ โรงพยาบาลสงฆ์อยู่ทุกเดือนครับ
    และรวมถึงโรงพยาบาลในต่างจังหวัดด้วยครับ

    ขออนูดมทนาสาธุครับ
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
  7. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    <TABLE class=IBTABLE id=ctl00_ContentPlaceHolder1_tbConfirm cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR class=IBTR><TD class=boldleft colSpan=2>รับคำสั่งเรียบร้อยแล้ว
    ธนาคารได้ดำเนินการตามคำสั่งโอนเงินของท่านเรียบร้อยแล้ว</TD></TR><TR><TD class=tdGroupSpacing colSpan=2> </TD></TR><TR><TD class=tdGroupSpacing colSpan=2> </TD></TR><TR class=IBTR><TD colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR class=IBTR id=ctl00_ContentPlaceHolder1_trConfTOptionSelected><TD class=IBTD>บริการโอนเงิน</TD><TD class=left>[​IMG] </TD></TR><TR class=IBTR><TD class=IBTD width="30%">หมายเลขอ้างอิงธนาคาร</TD><TD class=IBTD width="33%">x119365</TD><TD class=left vAlign=center rowSpan=18></TD></TR><TR class=IBTR id=ctl00_ContentPlaceHolder1_trConfImmediateDate><TD class=IBTD>วันที่</TD><TD class=IBTD>01 พ.ค. 2552</TD></TR><TR class=IBTR id=ctl00_ContentPlaceHolder1_trConfImmediateTime><TD class=IBTD>เวลา</TD><TD class=IBTD colSpan=2>10:55:31 Bangkok, Thailand (GMT +7:00)</TD></TR><TR><TD class=tdGroupSpacing colSpan=2> </TD></TR><TR class=IBTR><TD class=IBTD colSpan=2>โอนเงินจาก:</TD></TR><TR class=IBTR><TD class=IBTD>บัญชีผู้โอน</TD><TD class=IBTD>xxx-0-396xxx</TD></TR><TR class=IBTR id=ctl00_ContentPlaceHolder1_trConfDateDeductFund><TD class=IBTR>วันที่หักบัญชี</TD><TD class=IBTR>01 พ.ค. 2552</TD></TR><TR><TD class=tdGroupSpacing colSpan=2> </TD></TR><TR class=IBTR><TD class=IBTD colSpan=2>โอนเงินไป:</TD></TR><TR class=IBTR><TD class=IBTD>บัญชีผู้รับโอน</TD><TD class=IBTD>สงฆ์อาพาธ </TD></TR><TR class=IBTR id=ctl00_ContentPlaceHolder1_trConfAccountName><TD class=IBTD>ชื่อบัญชี</TD><TD class=IBTD>PRATOM F.</TD></TR><TR class=IBTR id=ctl00_ContentPlaceHolder1_trConfBank><TD class=IBTD>ธนาคาร</TD><TD class=IBTD>BAY</TD></TR><TR class=IBTR id=ctl00_ContentPlaceHolder1_trConfDate2ReceiveFund><TD class=IBTD>วันที่เงินเข้าบัญชี</TD><TD class=IBTD>01 พ.ค. 2552</TD></TR><TR><TD class=tdGroupSpacing colSpan=2> </TD></TR><TR class=IBTR><TD class=IBTD>จำนวนเงิน</TD><TD class=IBTD>1,000.00</TD></TR><TR class=IBTR id=ctl00_ContentPlaceHolder1_trConfFee><TD class=IBTD>ค่าธรรมเนียม</TD><TD class=IBTD>25.00</TD></TR><TR><TD class=tdGroupSpacing colSpan=3> </TD></TR><TR class=IBTR><TD class=IBTD>บันทึกช่วยจำ</TD><TD class=IBTD colSpan=2></TD></TR><TR class=IBTR id=ctl00_ContentPlaceHolder1_tr6><TD colSpan=3><TABLE class=IBTABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR class=IBTR><TD class=tdGroupSpacing colSpan=2> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่า ไม่รู้ ไม่มี ไม่สำเร็จ จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด


    ~~~~~~~~:::::<<>>:::::~~~~~~~~

    หลังจากที่ได้ทำทาน รักษาศีล ๕ (ครบ ๑ วัน) เจริญภาวนา นั่งสมาธิกรรมฐาน
    เราควรจะอธิษฐาน ๕ อย่างนอกเหนือจากกรวดน้ำและแผ่เมตตาจิต โดยมีใจความดังนี้
    ๑.ขอให้เกิดมาในประเทศที่สมควร
    ๒.ขอให้เกิดมาแล้วเจอพระพุทธศาสนา
    ๓.ขอให้เกิดมาแล้วขอให้ตั้งอยู่ในศีลในธรรมได้
    ๔.ขอให้เกิดมาแล้วได้เป็นผู้ทำบุญมาก
    ๕.ขอให้เกิดมาแล้วได้สดับตับฟังธรรมมาก


    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ลักษณะคนสงบ 16 อย่าง

    <!-- Main -->ลักษณะคนสงบ 16 อย่าง
    1. เป็นผู้ไม่ฉุนเฉียว
    2. เป็นผู้ไม่หวาดหวั่น
    3. เป็นผู้ไม่โอ้อวด
    4. เป็นผู้ไม่ก่อความรำคาญ

    5. เป็นผู้พูดด้วยปัญญา
    6. เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
    7. เป็นมุนีมีวาจาอันสำรวมแล้ว
    8. เป็นผู้วางตัวเป็นกลาง
    9. เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ

    10. เป็นผู้ไม่ถือตัวว่าเสมอกับเขา
    11. เป็นผู้ไม่ถือตัวว่าวิเศษกว่าเขา
    12. เป็นผู้ไม่ถือตัวว่าต่ำกว่าเขา

    13. เป็นผู้ไม่มีโทษอันทำให้มืดมัว ดุจฝ้า
    14. เป็นผุ้ไม่ยึดถือสิ่งไร ๆ ในโลกว่าเป็นของตน
    15. เป็นผู้ไม่เศร้าโศกเพราะสัตว์และสังขารที่เสื่อมไป
    16. เป็นผู้ไม่ถึงอคติในธรรมทั้งหลาย



    ขอขอบคุณ

    http://www.geocities.com/skychicus/p...konsangob.html

     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <CENTER>
    [​IMG]
    </CENTER>

    <CENTER>ปลาขอฝน</CENTER>


    ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ทรงปรารภการบันดาลให้ฝนตกทั่วเมือง เรื่องมีอยู่ว่า ...

    ในสมัยนั้น ทั่วทั้งแคว้นโกศลเกิดภัยแล้งฝนไม่ตกหลายเดือน ข้าวกล้าเหี่ยวแห้ง สระน้ำแห้งขอดเหลือแต่โคลนตม ปลาตายเกลื่อนกลาด ฝูงนก ฝูงกาบินว่อน ชาวเมืองสาวัตถีและฝูงสัตว์เกิดเดือดร้อนกันไปทั่ว แม้น้ำในสระวัดเชตวันก็เหือดแห้งเช่นกัน ปลากระเสือกระสนหนีตายเข้าไปในเปลือกตม

    รุ่งเช้า พระพุทธองค์ ได้ทรงตรวจดูสรรพสัตว์ ทรงเห็นความเดือดร้อนนั้นแล้ว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อสรรพสัตว์ หลังจากเสด็จกลับมาจากบิณฑบาตแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ที่บันไดสระในวัดเชตวัน ตรัสเรียกพระอานนท์ให้นำผ้าอาบน้ำมาถวายพระองค์ ด้วยมีพระประสงค์จะสรงน้ำในสระ แม้พระอานนท์จะทูลว่าน้ำในสระมีแต่ตม ไม่มีน้ำมิใช้หรือ ก็ทรงตรัสว่า " อานนท์ ธรรมดากำลังของพระพุทธเจ้าใหญ่หลวงนัก เธอจงนำเอาผ้าอาบน้ำมาเถิด " พระเถระได้นำผ้ามาถวายแล้ว พระพุทธองค์ทรงนุ่งผ้าด้วยชายข้างหนึ่ง ทรงคลุมพระสรีระด้วยชายข้างหนึ่ง ประทับยืนที่บันไดตั้งพระทัยว่า เราจักสรงน้ำในสระ

    ทันใดนั้นเอง แท่นศิลาอาสน์ของท้าวสักกะก็แสดงอาการร้อน ท้าวเธอทราบเรื่องนั้นแล้วจึงบัญชาให้วลาหกเทวราชเจ้าแห่งฝน บันดาลฝนให้ตกทั่วแคว้นโกศลโดยไม่ขาดสายครู่เดียวเท่านั้น น้ำก็เต็มสระ ท้วมถึงบันไดสระ พระพุทธองค์ทรงลงสรงน้ำในสระแล้ว ทรงครองผ้าสองชั้นสีแดง คาดรัดประคต ทรงครองสุคตจีวร เฉวียงพระอังสะ เสด็จประทับในพระคันธกุฎี

    ในเวลาเย็น พวกภิกษุประชุมกันในธรรมสภายกเรื่องพระพุทธองค์ทรงบันดาลให้ฝนตก ด้วยพระกรุณาในชาวเมืองและสรรพสัตว์ขึ้นมาสนทนากัน พระพุทธองค์จึงได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกดังนี้ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ที่ห้วยแห่งหนึ่ง มีเถาวัลย์รกรุงรัง พระโพธิสัตว์เกิดเป็นปลาช่อนตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในห้วยนั้น สมัยนั้น เกิดภัยแล้งฝนไม่ตกเช่นเดียวกัน ฝูงปลาต่างดิ้นรนเอาชีวิตรอดด้วยเปลือกตม ฝูงนกการุมจิกกินหมู่ปลา ปลาช่อนนั้นเห็นความพินาศของหมู่ญาติ จึงทำสัจกิริยาให้ฝนตกด้วยการแหวกออกจากเปลือกตม มองดูอากาศแล้วบันลือเสียงแก่เทวราชปัชชุนนะว่า
    " หมู่ปลาเดือดร้อนมาก ข้าพเจ้ารักษาศีลไม่เคยกินปลาด้วยกันตลอดชีวิต ด้วยความสัตย์นี้ขอท่านจงให้ฝนตกลงมาเถิด "

    แล้วกล่าวคาถาว่า
    " ปัชชุนนเทพ ท่านจงคำรณคำรามให้ฝนตกมา
    ทำลายขุมทรัพย์ของฝูงกา ทำฝูงกาให้ได้รับความเศร้าโศก
    และช่วยปลดเปลื้องข้าพเจ้าและหมู่ญาติ ให้พ้นจากความเศร้าโศกเถิด "

    ฝนห่าใหญ่จึงตกลงมาช่วยชีวิตสัตว์ให้รอดพ้นจากความตายได้



    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า :
    คุณของศีลสามารถช่วยเหลือชีวิตของผู้อื่นให้รอดพ้นจากความตายได้

    ที่มา:
    http://iceicy.freeforums.org/topic-t1853.html
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108


    <IMG onclick="if(this.width>=700) window.open('http://www.sarakadee.com/feature/2000/07/images/pret_02.jpg');" src="http://www.sarakadee.com/feature/2000/07/images/pret_02.jpg" onload="if(this.width>'700')this.width='700';if(this.height>'1000')this.height='1000';" border=0>

    เปรตปากเน่า

    <!-- Main -->กาลเมื่อ พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ ทรงปรารภถึงเปรตปูติมุขเปรต (เปรตปากเน่า) ให้เป็นต้นเหตุ แล้วจึงทรงตรัสเทศนาว่า

    กาลเมื่อพระศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีกุลบุตร ๒ คน ได้มีศรัทธาออกบวชในพระศาสนา เป็นผู้มีความประพฤติเคร่งครัด มีอาจารมรรยาทดี เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ได้พำนักอาศัยอยู่ในอาวาสที่สร้างอยู่ ณ ชนบทแห่งหนึ่ง

    กาลต่อมา มีภิกษุรูปหนึ่ง ได้เดินทางมาจากหัวเมืองที่ห่างไกล ได้มาขออาศัยอยู่ด้วยกับภิกษุผู้ทรงศีลทั้งสองรูปในอาวาสนั้น

    พระเถระเจ้าทั้งสอง ก็มีจิตกรุณา อนุญาตให้ภิกษุรูปนั้นได้อยู่อีกทั้งยังทำการดูแลต้อนรับเป็นอย่างดี

    กาลต่อมาภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะนั้น ได้คิดขึ้นมาว่า อาวาสแห่งนี้ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม มีหมู่ไม้ใหญ่อันให้ร่มเงา อุดมไปด้วยน้ำท่า อยู่แล้วร่มเย็นสบาย อีกทั้งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน ชาวบ้านก็มีจิตศรัทธาบริจาคทานสมบูรณ์มิได้ขาด ถ้าเราจักอยู่ต่อไปในอาวาสนี้ คงมิได้รับความยากลำบากใดๆ แต่ก็คงจะมีเหตุให้ไม่สบายใจอยู่ดี เป็นเพราะภิกษุเก่าทั้งสองรูปนั้น ยังคงอยู่ที่นี้ด้วย

    ผู้คนชนทั้งหลาย ก็อาจจะคิดได้ว่า เราเป็นศิษย์ของพระเก่าทั้งสอง ลาภสักการะอันเลิศพึงจะมีแก่เราผู้เดียว ก็ต้องแยกแตกแบ่งให้แก่ภิกษุเก่าทั้งสองนั้น กว่าจะมาถึงเราลาภนั้นๆ ก็คงจะเป็นชนิดเลวแล้ว เห็นทีเราจะต้องหาวิธียุแหย่ ให้ภิกษุเก่าทั้งสองแตกแยกทะเลาะวิวาทกัน จะได้ต่างคนต่างไปเสียจากอาวาสนี้

    อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุเก่าผู้เป็นพระเถระสูงสุด ก็ให้โอวาทแก่ภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่าตามธรรมเนียม เสร็จแล้วก็กลับไปยังกุฏีของตน

    ภิกษุอาคันตุกะนั้น ก็เข้าไปหา แล้วกล่าวว่า “ข้าแต่พระอาจารย์ผู้เจริญ พระเถระอีกองค์ที่เป็นสหธรรมิกของท่าน มีวิสัยเสแสร้ง แกล้งทำตนเป็นมิตรที่ดีต่อหน้าท่าเท่านั้น เวลาลับหลังก็ติเตียน นินทา พูดจาด่าว่าดุจดังเป็นศัตรูกับท่าน”

    พระเถระเจ้าพอได้ฟัง คำพูดของภิกษุอาคันตุกะ จึงกล่าวถามว่า “เขาว่าอย่างไร”

    ภิกษุอาคันตุกะ จึงตอบว่า “พระเถระผู้เป็นเพื่อนอาจารย์กล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า ท่านเป็นคนชอบโอ้อวด วางอำนาจ ชอบเสแสร้ง มากมายาลวงโลก หาเลี้ยงชีพด้วยวิธีประจบคฤหัสถ์”

    พระเถระผู้มีอายุ ครั้งได้ฟังจึงยิ้ม แล้วกล่าวว่า “อย่าเลย ขอท่านอย่ากล่าวเช่นนี้ เรารู้ดีว่า เพื่อสหธรรมิกของเรา จะไม่กล่าวเช่นนั้นเป็นแน่ เรารู้จักเขามาตั้งแต่ยังเป็นฆราวาสแล้ว เขาเป็นผู้มีอัธยาศัยดี มีน้ำใจ เป็นผู้เคร่งครัดในศีล ขอท่านอย่าได้พูดเช่นนี้อีกเลย”

    ภิกษุอาคันตุกะ พอได้ฟังจึงกล่าวว่า “ถ้าท่านอาจารย์คิดอย่างนี้ก็ดีแล้ว เป็นการสมควร เพราะคุ้นเคยอยู่ร่วมกันมานาน แต่สิ่งที่ข้าพเจ้านำมาพูด ก็ด้วยความเคารพรักต่อท่านอาจารย์ ถ้ามิเช่นนั้นจะมาพูดทำไม ข้าพเจ้าก็มิเคยผิดใจกับพระเถระเพื่อนท่าน สักวัน แล้วท่านอาจารย์จะรู้ความจริงเอง”

    กล่าวดังนั้นแล้ว ภิกษุอาคันตุกะ ก็เข้าไปหาพระเถระผู้เป็นเพื่อนของอาจารย์ แล้วก็กล่าวยุยงขึ้นว่า “ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้ยินท่านอาจารย์ผู้เป็นสหธรรมมิตรกับท่าน กล่าวตำหนิติว่า ท่านเป็นบุคคลที่มักมาก จิตใจคับแคบ มีมารยาสาไถย ต่อหน้าว่าอย่างลับหลังทำอีกอย่าง ด้วยความรักเคารพในท่าน ข้าพเจ้าทนฟังเขาตำหนิท่านอยู่ไม่ได้ จึงนำความมาบอกแก่ท่าน จะได้ระวังตน เพราะท่านกำลังจะไว้ใจศัตรู”

    ข้างพระเถระ พอได้ฟังภิกษุอาคันตุกะ มากล่าวดังนั้น จึงพูดว่า “อย่าเลย ท่านอย่ามากล่าวดังนี้เลย เรารู้จักเพื่อนสหธรรมิกรูปนี้ดีมาตั้งแต่เป็นฆราวาสแล้ว เขาเป็นผู้มีกิริยาวาจาเรียบร้อยงดงาม สำรวมระวังอยู่ในศีล เรามิเคยเห็นแม้สักครั้งที่เขาจะประพฤติทุจริต”

    ภิกษุอาคันตุกะจึงกล่าวขึ้นว่า “ไม่เป็นไร ท่านมิเชื่อข้าพเจ้าก็ไม่เป็นไร สักวันหนึ่งความจริงก็จะต้องปรากฏ ที่ข้าพเจ้ามาพูดมาเตือนเพราะหวังดี ถ้าท่านไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร” กล่าวเช่นนั้นแล้ว ภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะ ก็กลับไปยังที่พักของตน

    วันต่อมา ภิกษุอาคันตุกะนั้น ก็แวะเวียนเข้าไปหาพระเถระทั้งสอง แล้วก็พูดจายุแยงใส่ไคร้ให้ทั้งสองผิดใจกัน ทำอยู่เช่นนี้บ่อยครั้ง จนในที่สุด พระเถระทั้งสองต่างฝ่ายต่างคิดว่า ดูท่าเรื่องเหล่านี้คงจะเป็นจริง ต่างฝ่ายต่างก็ไม่พูดจาซึ่งกัน และไม่ร่วมทำกิจวัตร ไม่สมาคมต่อกัน แม้ที่สุดก็ไม่เคารพนับถือต่อกัน

    เหตุการณ์ดำเนินไปเช่นนี้ ไม่นานพระเถระทั้งสองก็เก็บบาตรและบริขารออกเดินทางจากวัดไปคนละทาง

    ภิกษุอาคันตุกะ ครั้นเห็นว่าแผนการยุแหย่ของตนมีผลสำเร็จ เป้นเหตุให้พระเถระทั้งสองผิดใจกัน จนต่างฝ่ายต่างพากันทิ้งวัดหนีไปเสีย ภิกษุผู้มีความปรารถนาชั่วช้าก็รื่นเริงยินดี พอถึงเวลาเช้าก็เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงกล่าวถามภิกษุนั้นว่า “พระเถระทั้งสองไปไหน”

    ภิกษุนั้นจึงตอบว่า “พระเถระทั้ง ๒ ทะเลาะกันทั้งคืนยันรุ่ง แม้เราจะห้ามปรามก็ไม่เชื่อฟัง พอรุ่งเช้าต่างก็เก็บข้าวของหนีออกจากวัดไม่รู้ว่าไปทางไหน”

    ชาวบ้านจึงกล่าวว่า “ถึงพระเถระทั้งสองจะหนีไปแล้ว แต่ขอท่านจงอยู่ในวัดนี้เพื่อที่จะอนุเคราะห์พวกข้าพเจ้าให้ได้ทำบุญ ฟังธรรม”

    ภิกษุผู้คิดชั่วนั้นจึงรับว่า “ได้ซิโยม อาตมาจะพำนักอยู่ในอาวาสนี้ เพื่อที่จะได้ดูแลรักษาอาวาสของพวกท่านต่อไป”

    จำเนียรกาลเนิ่นนานมา ภิกษุนั้นเมื่อได้เป็นใหญ่ในอาวาส อีกทั้งต้องอยู่แต่ลำพังผู้เดียว ก็รู้สึกโดดเดี่ยว หงอยเหงา เศร้าซึม เหตุเพราะวันๆ ก็ไม่มีผู้ใดจะมาพูดคุยด้วย จะเจอหน้าผู้คนก็ตอนไปบิณฑบาต แต่ก็มิได้พูดได้คุย กลับมาวัดฉันอาหารก็ต้องอยู่คนเดียว สถานการณ์เช่นนี้ ถ้าเป็นภิกษุผู้ทรงศีลเจริญธรรมก็ต้องถือว่าเป็นสถานการณ์ที่เป็นลาภอย่างยิ่ง เพราะจะได้มีโอกาสเจริญภาวนากัมมัฏฐาน แต่ภิกษุรูปนี้หาได้มีความสำรวมในศีลไม่ อีกทั้งยังมิได้เคยเจริญภาวนาใดๆ เลย จิตก็กำเริบกระสับกระส่าย ไม่สามารถหาความสุขจากความสงบได้ คุ้นเคยแต่จะระคนปนอยู่กับหมู่คณะ ครั้นเมื่อขาดหมู่คณะไป ใจก็เศร้าหมอง ทั้งยังรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจว่า ทำไมนะตอนพระเถระทั้งสองรูปอยู่อาศัยภายในวัด จึงมีผู้คนไปมาหาสู่ท่านทั้งสองอยู่เนืองนิจ พร้อมทั้งนำลาภสักการะมาถวายให้ท่านทั้งสองอยู่เนืองๆ แต่เวลานี้ ที่นี่ไม่มีพระเถระทั้งสองแล้ว หมู่ชนผู้คนต่างก็พากันหดหาย ไม่มาให้เห็นหน้า ลาภที่เกิดจากหมู่ชนเหล่านั้น ที่เราหวังจะได้เลยพลอยหดหายไปด้วย เรานี่มันซวยจริงๆ นี่ถ้าเราไม่ไปยุแหย่ท่านผู้ทรงศีลทั้งสองให้แตกร้าวกัน แล้วต่างพากันหนีไป ป่านนี้ลาภเหล่านั้นคงจะมากมีแก่เราไปด้วย เราได้ทำผิดเสียแล้ว ดันไปยุแหย่ให้ผู้ทรงศีลทั้งสองแตกกัน แล้วเอกลาภที่หวังจะได้ก็มิได้เกิดแก่เรา ประโยชน์อันใดเราจะอยู่เฝ้าวัดเก่าๆ กุฏิผุๆ

    ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามกชั่วช้านั้น เฝ้าครุ่นคิดอยู่เช่นนั้นจนถึงกับเกิดอาการเศร้าซึมล้มป่วยลง อีกทั้งมิมีผู้ใดคอยดูแล ก็ยิ่งคิดเสียใจว่า เมื่อครั้งที่พระเถระทั้งสองยังอยู่ เราป่วยไข้ไม่สบาย ท่านทั้งสองยังจะคอยช่วยปรนนิบัติ ดูแลช่วยเหลือ บัดนี้เราต้องมานอนป่วยอยู่แต่ผู้เดียว โดยมิมีใครช่วยเหลือเอาใจใส่

    ยิ่งคิดก็ยิ่งเสียใจ จนบังเกิดลมกำเริบขึ้นภายใน ดันหัวใจให้หยุดเต้น ตายลงในที่สุด

    ภิกษุนั้นเมื่อตายลงแล้ว ด้วยอำนาจผลกรรมชั่วที่ตนทำ ส่งให้ไปบังเกิดเป็นสัตว์นรกอเวจี หมกไหม้เวียนเกิดเวียนตายอยู่ในนรกขุมนั้นเป็นเวลานานแสนนาน

    กล่าวฝ่ายพระเถระทั้งสอง ต่างองค์ต่างออกเดินทางรอนแรมไปทั่วครามนิคมชนบท ในที่สุดก็มาพบกัน ณ อาวาสแห่งหนึ่ง และก็พากันทักทายปราศรัย เล่าเหตุทั้งหลาย ที่ได้ฟังมาจากปากของภิกษุ อาคันตุกะผู้ปรารถนาชั่วนั้น ทั้งสองรูป

    ครั้นพระเถระทั้งสองได้ทราบความจริงของกันและกันแล้ว ก็ชักชวนกันกลับไปยังอาวาสเดิมของตน

    หมู่คนชนชาวบ้านทั้งหลาย เมื่อได้เห็นพระเถระทั้งสองกลับมาสู่อาวาส ก็พากันยินดี ออกจากบ้านนำเอาเครื่องใช้ น้ำฉัน มาถวายแด่พระเถระที่ตนเคารพเลื่อมใส แล้วก็กล่าวว่า บัดนี้ภิกษุผู้เป็นอาคันตุกะนั้นได้ป่วยตายเสียแล้ว

    พระเถระทั้งสอง พอได้สดับข่าวอวมงคลเช่นนั้น ก็บังเกิดธรรมสังเวช เมื่อชาวบ้านพากันกลับไปยังเรือนของตนหมดแล้ว พระเถระทั้งสองก็ชักชวนกันเจริญสติทำสมาธิภาวนา ยังญาณปัญญาให้เกิดเห็นธรรมชาติแท้ของชีวิตและสรรพสิ่งว่า ทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป ไม่มีใคร สิ่งใดดำรงอยู่ได้ตลอดกาลตลอดสมัย จิตก็คลายจากความยึดมั่นถือมั่น บรรลุอรหันตผลพร้อมปฏิสัมภิทาญาณ

    ข้างฝ่ายภิกษุผู้ปรารถนาชั่วช้านั้น เมื่อตายแล้วไปตกอยู่ในอเวจีมหานรกสิ้นเวลาไปตลอด ๑ พุทธันดร จึงได้พ้นจากขุมนรกนั้น แล้วมาบังเกิดเป็นเปรต

    ผู้มีรูปกายสีทองเหลืองอร่าม แต่มีปากอันเน่า มีหมู่หนอนชอนไชกัดกินลิ้นและปากร่วงหล่นออกมาจากปากอยู่ตลอดเวลา ทำให้ปากนั้นมีกลิ่นเน่าเหม็นตลบอบอวนไปทั่วกายของเปรตนั้น

    ขณะนั้นพระนารทะเถระเจ้า เดินลงมาจากยอดเขาคิชฌกูฏถิ่นที่พำนัก ระหว่างทางได้มาพบเปรตผู้มีกายเรืองรองดุจทอง เดินวนเวียนไปมา มีหมู่หนอนชอนไชล่วงหล่นลงมาจากปากดุจดังลำธารที่ไหลจากหินผา มีกลิ่นดังเนื้อเน่า พระเถระเจ้าจึงกล่าวถามว่า “ดูก่อนผู้จมทุกข์ เหตุไฉนรูปกายและปากเจ้าจึงมีสภาพดังนี้”

    เปรตภิกษุอาคันตุกะนั่น จึงกล่าวตอบว่า “อดีตสมัยพระศาสนาของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนามว่าพระกัสสปะ ข้าพเจ้ามีจิตศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา ออกบวชปฏิบัติในพระธรรมคำสอนพระบรมศาสดา เหตุนี้จึงทำให้กายของข้าพเจ้ามีสีเรืองรองดังทอง ครั้นต่อมาเกิดความประมาทมัวเมา หลงอยู่ในลาภสักการะและเกียรติภูมิ จึงได้กระทำกรรมชั่วด้วยการกล่าววาจายุแหย่ พระเถระผู้ทรงศีล ทรงธรรม ๒ รูป ผู้เป็นสหายกัน ให้แตกแยก แล้วหนีออกจากอาวาสที่ข้าพเจ้าต้องการจะครอบครอง ด้วยเห็นแก่ลาภที่จะบังเกิดแก่ข้าพเจ้าคนเดียว

    เมื่อพรเถระทั้งสองไปแล้ว ลาภมิได้เกิดดังปรารถนา เป็นเหตุให้ข้าพเจ้าเสียใจจนล้มป่วยแล้วตายลงในที่สุด

    กรรมอันนั้น นำพาข้าพเจ้าไปตกนรกหมกไหม้อยู่ในอเวจีสิ้นเวลา ๑ พุทธันดร ครั้นพ้นจากนรกขุมนั้นแล้ว เศษกรรมอันนั้นยังส่งผลให้ข้าพเจ้าเป็นเปรตผู้มีรูปกายและปากดังที่ท่านผู้เจริญได้เห็นในเวลานี้นี่แหล่ะ

    เปรตนั้นจึงกล่าววาจาสุภาษิตแก่พระมหาเถระนารทะ ต่อไปว่าท่านผู้เจริญได้รู้เห็นรูปกายและปากของข้าพเจ้าดังนี้แล้ว โปรดจงจำนำเอาไปอบรมสั่งสอน มหาชนคนทั้งหลายว่าอย่าทำกรรมชั่วด้วยปาก อย่างใช้ปากเป็นเหตุให้พาตนไปบังเกิดในนรก อย่างสร้างความทุกข์ทรมานด้วยปากของตนเลย มิเช่นนั้นจะมีสภาพเดียวกันกับข้าพเจ้า

    พระนารทะเถระเจ้า พอได้ฟังคำของเปรตปากเน่าดังนั้นแล้ว จึงเดินทางไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมสุคตเจ้า แล้วเล่าเรื่องทั้งปวงที่ตนได้เห็นได้ฟัง ถวายแด่พระพุทธองค์ให้ทรงทราบ

    พระพุทธองค์ จึงทรงยกเรื่องเปรตปากเน่านั้นให้เป็นเหตุ แล้วทรงโปรดแสดงธรรมสั่งสอนพระภิกษุและประชุมชนทั้งปวงให้ละวจีทุจริต ตั้งมั่นอยู่ในวจีสุจริต คือ งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ งดเว้นจากการพูดคำหยาบ แล้วปฏิบัติวจีสุจริตจะได้รับผลเป็นสุข ไม่ต้องตกนรกเพราะคำพูดของตน


    ขอขอบคุณ

    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=phumani&month=19-04-2009&group=10&gblog=5
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    วิธีทำสมาธิในห้องเรียน (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)


    <!-- Main -->ขณะนี้นักเรียนทั้งหลายกำลังเรียน ปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่ว่าทำอย่างไรเราจึงจะได้พลังของ สมาธิ พลังของสติ
    เพื่อสนับสนุนการศึกษา หลวงตาจะสอนวิธีทำสมาธิในห้องเรียน
    สมมติว่าขณะนี้หลวงตาเป็นครูสอนพวกเธอทั้งหลาย ให้พวกเธอทั้งหลายเพ่งสายตามาที่หลวงตา
    ส่งมาที่หลวงตา แล้วสังเกตดูให้ดีว่าหลวงตาทำอะไรบ้าง หลวงตายกมือ หนูก็รู้ เขียนหนังสือให้ หนูรู้ พูดอะไรให้หนูตั้งใจฟัง
    ถ้าสังเกตจนกระทั่งกระพริบหู กระพริบตาได้ยิ่งดี เวลาเข้าห้องเรียน ให้เพ่งสายตาไปที่ตัวครู ส่งใจไปที่ตัวครู อย่าเอาใจไปอื่น
    พยายามฝึกให้คล่องตัวชำนิชำนาญ เพราะในขณะที่อาจารย์สอนเรา ท่านรวมกำลังจิตและวิชาความรู้ที่จะถ่ายทอดให้เรา
    เมื่อเราเอาจิตจดจ่ออยู่ที่ตัวอาจารย์ เราก็ได้รับพลังจิตและวิชาความรู้จากอาจารย์ เพียงแค่นี้วิธีทำสมาธิในห้องเรียน
    ถ้าพวกหนูๆ จำเอาไปปฏิบัติตาม จะได้สมาธิตั้งแต่เป็นเด็กนักเรียนเล็กๆ ชั้นอนุบาล ในตอนแรกนี่
    การควบคุมสายตาและจิตใจไปไว้ในที่ตัวครูอาจจะลำบากหน ่อย แต่ต้องพยายามฝึก ฝึกจนคล่องตัวชำนิชำนาญ ภายหลังแม้เราไม่ตั้งใจ
    พอเห็นใครเดินผ่านหน้ามันจะจ้องเอาๆ พอเข้าในห้องเรียนแล้ว พอครูเดินเข้ามาในห้อง สายตามันจะจ้องปั๊บ ใจมันก็จะจดจ่ออยู่กับตรงนั้น
    หนูลองคิดดูสิว่าการที่มองครูและเอาใจใส่ตัวครูนี่เร าเรียนหนังสือเราจะเข้าใจดีไหม ลองคิดดู

    ในระยะแรก ให้สังเกตดูว่าถ้าจิตของเราไปจ้องอยู่ที่ตัวอาจารย์ สายตาจ้องอยู่ที่ตัวอย่างไม่ลดละ นั่นแสดงว่าเราเริ่มมีสมาธิขึ้นมาแล้ว
    แล้วสังเกตดูความเข้าใจ ความจดจำของเราจะดีขึ้น ในตอนแรกๆ นี้ ความรู้สึกของเราจะไปอยู่ที่ตัวอาจารย์หมด
    ทีนี้เมื่อฝึกไปนานๆ เข้าจนคล่องชำนิชำนาญ จิตของเรามีกำลังแกร่งกล้าขึ้น มีความมั่นคงมากขึ้น มีสติดีขึ้น ความรู้สึกมันย้อนจาก
    ตัวอาจารย์มาอยู่ที่ตัวเอง ทุกขณะจิตเรามีความรู้สึกอยู่ที่จิตของเราเท่านั้น ภายหลังมา อาจารย์ท่านพูดอะไร สอนอะไร สติสัมปชัญญะจะรู้พร้อมอยู่หมด
    เพียงกำหนดจิตรู้อยู่ที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น นอกจากนั้น อะไรผ่านเข้ามาก็สามารถรู้ทันหมด บางทีพออาจารย์พูดประโยคจบปั๊บ ใจของเรารู้
    ล่วงหน้าแล้วว่าต่อไปท่านจะพูดอะไร เมื่อก่อนหน้าจะสอบจิตจะบอกว่าให้ดูหนังสือเล่มนั้น จากหน้านั้นไปถึงหน้านั้น
    แล้วเวลาสอบมันก็ออกมาจริงๆ เวลาไปสอบ พออ่านคำถามจบแต่ละข้อๆ จิตมันจะสงบลงไปนิดหน่อย ใจของเราจะวูบวาบ แล้วคำตอบมันก็ผุดขึ้นมา
    เขียนเอาๆ หลักและวิธีอันนี้เป็นสูตรที่หลวงตาทำได้ผลมาแล้วตั้ งแต่เป็นสามเณร เรียนหนังสือ หลวงตาถือหนังสือเดินท่องไป ท่องมาแบบเดินจงกรม
    อาจารย์สุวรรณ สุจิณโณ ลูกศิษย์ต้นของหลวงปู่มั่น ท่านเห็นก็ทักว่า "เณร ถ้าจะเรียนก็ตั้งใจเรียน จะปฏิบัติก็ตั้งใจปฏิบัติ จับปลาสองมือมันไม่สำเร็จหรอก"
    ทีนี้เราก็อุตริขึ้นมาว่า
    "เอ๊… หลักของการเพ่งกสิณนี่ ปฐวีกสิณ เพ่งดิน อาโป เพ่งน้ำ วาโย เพ่งลม เตโช เพ่งไฟ เพ่งอากาศ วิญญาณ เพ่งวิญญาณ
    เราเอาตัวครูเป็นเป้าหมายของจิตของอารมณ์ เอาตัวครูเป็อารมณ์ของจิต เป็นที่ตั้งของสติ เอามันที่ตรงนี้แหละ เวลาสอบสามารถรู้ข้อสอบล่วงหน้าได้ทุกวิชา
    วิชาที่หลวงตาสอบมันมี ๔ วิชา วิชาแปลภาษาบาลี สัมพันธ์คำพูด หลักภาษาและเขียนตามคำบอกรู้ล่วงหน้าหมดทุกวิชาเลย

    ตัวอย่างผู้ปฏิบัติได้ผลจริง

    ขอยกตัวอย่างบุคคลที่สามารถทำได้แล้ว และทำสมาธิเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาจริงๆซึ่ง พร้อมๆกันนั้นเขาก็สามารถรู้ธรรมเห็นธรรมตาม
    หลักคำสอนที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ด้วยคน ๆ นั้นเป็นนักเรียนระดับมหาวิทยาลัย เป็นนักเรียนในทุนที่หลวงพ่อส่งไปเรียนเอง
    ตอนแรกเขาไม่อยากไปเรียนเพราะเขาคิดว่ามันสมองของเขา ไม่สามารถจะเรียนระดับมหาวิทยาลัยได้ หลวงพ่อก็เคี่ยวเข็ญให้เขาไป
    ในเมื่อเขารับปากว่าจะไปเรียน หลวงพ่อก็บอกว่า"หนูไปเรียนมหาวิทยาลัยต้องฝึกสมาธิด้วย" เขาก็เถียงว่า
    "จะให้ไปเรียนมหาวิทยาลัยแล้วให้ทำสมาธิเอาเวลาที่ไหนไปเรียน" นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นกับ
    นักศึกษาคนนั้น หลวงพ่อก็ให้คำแนะนำว่า การฝึกสมาธิแบบนี้ไม่ขัดต่อการศึกษา หลวงพ่อก็ให้คำแนะนำเบื้องต้นว่า
    "เมื่อเวลาหนูเข้าไปอยู่ในห้องเรียน ให้กำหนดจิต มีสติรู้อยู่ที่จิตคือระลึกรู้อยู่ที่จิตของตัวเอง ถ้าหากมีจุดใดจุดหนึ่งที่จะต้องเพ่งมอง
    ก็เพ่งมองไปที่จุดนั้น เช่น กระดานดำ เป็นต้น เมื่ออาจารย์เดินเข้ามาในห้องเรียน ให้เอาความรู้สึกและสายตาทั้งหมดไปรวมอยู่ที่ตัวอาจารย์
    ให้มีสติรู้อยู่ที่ตัวอาจารย์เพียงอย่างเดียว อย่าส่งใจไปอื่น แล้วคอยสังเกตจับตาดูความเคลื่อนไหวไปมาของอาจารย์ที ่แสดงออกทุกขณะจิตของเรา
    เมื่ออาจารย์ท่านพูดอะไรก็ให้เราฟัง เรากำหนดหมายเอาเสียงที่ได้ยินเป็นอารมณ์จิต ให้มีสติรู้อยู่กับเสียงที่อาจารย์พูดออกมาแต่ละคำ
    เมื่ออาจารย์เขียนอะไรให้ดู ให้เอาสติและสายตาจดจ่อดูอยู่ที่สิ่งที่อาจารย์ทำให้ดู ให้ฝึกหัดทำอย่างนี้"
    เขาก็พยายามไปทำ ทำในระยะแรกๆ ก็รู้สึกว่าลำบากหน่อย
    เมื่อก่อนนี้เขาคิดว่าสมองหรือกำลังใจในการศึกษาของเขานี่ ไม่สามารถจะรับรู้ในระดับมหาวิทยาลัยได้
    เขาไม่อยากไปเรียนในหลักสูตรที่เขาเรียนใช้เวลาเพียง ๔ ปีก็จบแล้ว ทีแรกเขาคิดว่าเขาอาจจะเรียนถึง ๖ ปีกว่าจะจบได้ แต่มันก็ผิดคาด
    ทุกสิ่งทุกอย่างมันเปลี่ยนหมด ความรู้สึกว่ามันสมองไม่ดีมันเปลี่ยนเป็นดีขึ้นมาหมด
    ก็เป็นอันว่าเขาสามารถฝึกสมาธิให้จิตมีสมาธิ มีสติสัมปชัญญะเพื่อเป็นการสนับสนุนการศึกษาที่เขาเรียนอยู่ในปัจจุบันได้

    นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาที่เรียนสำเร็จปริญญาโทแล้ว เขาเริ่มฝึกสมาธิแบบนี้ตั้งแต่เริ่มเรียนปริญญาตรี เมื่อเขาปฏิบัติต่อเนื่องกันจนกระทั่งจบปริญญาโท
    ครั้งสุดท้ายตอนสอบวิทยานิพนธ์ ก่อนวันที่เขาจะสอบสัมภาษณ์ เขามานั่งนึกว่าวันนี้จะถูกสัมภาษณ์เรื่องอะไรพอคิดขึ้นมาเท่านั้น คำถามมันก็ผุดขึ้นมา
    คำตอบก็โผล่ขึ้นมา ตอบรู้ล่วงหน้าหมด ทุกข้อที่กรรมการเขาถาม พอมาถึงสนามสอบ พอถามปั๊บตอบปุ๊บๆ จนกระทั่งกรรมการสอบเขาแปลกใจ
    เขาบอกว่าเราก็สอบคนมามากต่อมากแล้ว ทำไมไม่เหมือนเด็กคนนี้สักคน เจ้าคนนี้ถามแล้วเหมือนกับว่าไม่ต้องคิด พอถามจบตอบปั๊บ
    เขาเลยถามดูว่าทำไมหนูถึงได้เก่งนัก หนูบอกว่า "หนูฝึกสมาธิ" เพราะฉะนั้น หลักการนี้นักเรียนทุกคนขอได้โปรดจำเอาไปปฏิบัติไปทุกวันๆ
    ในที่สุดเราจะได้กำลังสมาธิสนับสนุนการเรียนการศึกษา เป็นอย่างดี ถ้าหากเรามีเวลาที่จะมานั่งสมาธิ พอเริ่มลงไป
    ไม่ต้องบริกรรมภาวนาหรือไปท่องมนต์อะไรทั้งสิ้น ให้เอาบทเรียนที่เราเรียนมาในแต่ละวันๆ มาคิดทบทวนดูว่าเราจะจำได้กี่มากน้อย
    ถ้ามีหนังสือมาวางข้างๆ ยิ่งดี พอคิดเรื่องนี้ คิดไปๆ มันติดตรงไหนเราคิดไม่ออก เปิดหนังสือมาแล้วเอาดินสอขีดเส้นใต้เอาไว้
    พอเลิกนั่งสมาธิแล้วมานั่งท่องเอาแต่ตรงที่เราจำไม่ได้ ให้ปฏิบัติอย่างนี้ สำหรับครูอาจารย์ก่อนที่จะเริ่มทำการสอน
    ถ้าหากว่าไม่ถือว่าเป็นวิธีที่แปลกใหม่เกินไป จะกล่าวเตือนนักเรียนในห้องเรียนทุกคนว่าให้มองจ้องมาที่ตัวข้าพเจ้า ส่งจิตมารวมไว้ที่ตัวข้าพเจ้า
    ข้าพเจ้าจะถ่ายทอดพลังจิตและวิชาความรู้จากข้าพเจ้าอ ย่างตรงไปตรงมา อย่าบิดพลิ้ว มีอะไรก็สอนไปๆและเตือนเป็นระยะ ๆ ในทำนองนี้
    ปฏิบัติต่อเนื่องกันทุกวัน ทุกชั่วโมง เราจะได้สมาธิในการเรียน ในห้องเรียน อันนี้คือวิธีปฏิบัติสมาธิให้สัมพันธ์กับการเรียนการศึกษา
    นอกจากที่เราจะทำสติในขณะที่เรียน ถ้านักเรียนนักศึกษาพยายามฝึกสมาธิแบบนี้ สิ่งที่จะบังเกิดขึ้นในจิตในใจเราอีกอย่างหนึ่ง คือ
    เราจะรู้สึกสำนึกในพระคุณของบิดา มารดา ครู อาจารย์ ความเคารพ ความเอาใจใส่ ความกตัญญูกตเวที
    ความรู้สึกซึ้งในพระคุณของครูบาอาจารย์มันจะฝังลึกลง สู่จิตใจ เราจะกลายเป็นคนกตัญญูกตเวที ไม่อาจลบหลู่ดูหมิ่นครูบาอาจารย์ได้
    เราจะมีพลังจิตในการเรียนหนังสืออย่างเข้มแข็ง เมื่อครูบาอาจารย์ว่ากล่าวตักเตือนอย่างไร เราจะเป็นผู้เชื่อฟังเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย
    และผลประโยชน์มันก็จะเกิดขึ้นกับเราเองอันนี้ขอให้นักเรียนจงจำเอาไปปฏิบัติจริงๆ เมื่อเราปฏิบัติได้คล่องตัวชำนิชำนาญ
    ประโยชน์มันไม่เฉพาะแต่อยู่ในห้องเรียนนะ เมื่อเราเรียนจบไปแล้วเรายังจะนำสมาธิดังกล่าวไปใช้ประโยชน์อันเป็นเรื่องชีวิตประจำวันของเรา"



    ขอขอบคุณ

    http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=phumani&group=7
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <TABLE cellSpacing=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top><!--Last Update : 19 เมษายน 2552 16:13:57 น.-->
    [​IMG]

    แหวนเพรชวงนั้นที่พวงกุญแจ
    <!-- Main -->"พี่ครับกุญแจรถครับ"
    เด็กล้างรถส่งคืนพวงกุญแจให้ผม
    ด้วยความที่ผมเป็นคนทำอะไรไม่ระวัง
    ผมจึงมักถอดแหวนเพรชใส่ไว้ที่กุญแจรถ
    และมันเป็นสิ่งที่แม้แต่ทำตกทุกคนก็มองข้ามไป

    "ฮืมม แหวนวงนี้สวยนะ แพงนะเนี่ย"
    แม่ผมทักแล้ว ผมก็หันมายิ้ม
    แน่นอน ผมใส่มันเฉพาะเวลาที่ออกงาน
    ทั้งๆที่มันก็ติดตัวผมเสมอๆ

    แหวนวงเดิม ต่างที่กัน
    คุณค่าของมันไม่ได้เปลี่ยนไปเลย
    ต่างแต่คนมองเท่านั้น
    เพราะมันต่างที่อยู่กัน

    และแน่นอนหากแหวนวงนั้นยังติดที่พวงกุญแจ
    ผู้ไม่มองเนื้อแท้ย่อมตีราคาของมันตามที่ๆมันอยู่
    และเมื่อวันผ่านไป.... คุณค่าของมันก็ลดลง
    ด้วยการสึกหรอจากที่ๆอยู่นั้นๆ

    และแน่นอน หากเราเจอแหวนวงนั้น
    ก็คงต้องยอมปล่อยมันไว้เช่นนั้น
    เพราะนั่นไม่ใช่สิทธิของเรา
    เป็นเรื่องของเจ้าของกับมัน



    ขอขอบคุณ
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=itoursab&month=19-04-2009&group=4&gblog=23

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    หลังจากเสนอบทความและข้อคิดในวันนี้แล้วคงต้องขอตัวสัก 3-4 วันที่ไม่ได้เข้ามาในกระทู้ ขอไปชาร์จแบตให้จิตใจผ่องใส สบายๆ แบบไม่ทำความชั่ว รักษาความดี ทำจิตใจให้สบายครับ ด้วยศีล 8 ก่อนวันวิสาขะครับ ขออนุโมทนาและสาธุบุญให้เฮียปอด้วยเช่นกัน ...สาธุ



    อริยสัจ ประเสริฐจริง สิ่งสำคัญ
    ศรัทธามั่น มีปัญญา รักษาศีล
    ฝึกสมาธิ ภาวนา เป็นอาจินต์
    ตัณหาสิ้น ได้ลุถิ่น พระนิพพาน
    [​IMG]
     
  14. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    เห็นกระทู้ตกไปอยู่หน้า 4 เลยต้องรีัีบตามเก็บขึ้นมา เพิ่งออกจากวัดมาเมื่อวานนี้ หลังจากไปขัดเกลา ฝึกจิตใจ ลดทิฐิมานะ กวาดลานวัด เช็ดเท้าครูอาจารย์ ฝึกต่อสู้กับความกลัวในกุฏิหลังน้อยกลางป่า ยามดึกตีสองตีสามเหงาดี ทั้งยุง ทั้งแมลงทั้งร้อน ทั้งมดง่ามมะตะนอย บนหลัีงคาก็ยังมีตุ๊กแกขนาดใหญ่เฝ้าหน้ากุฏิและร้องตั๊บแกๆ ยามนั่งสมาธิ หรือเดินจงกรม จิตรวมลงลึกดีแท้ ขนาดเลิกทำสมาธิแล้วเผลอนำแหวนที่พี่ใหญ่ขอบารมี "ท่าน" ทำให้ที่สวมติดตัวไว้เผื่อมีปัญหาในการทำงานมาลูบ อู๊ย..สะใจแท้ พอกำลังสมาธิถึงฐานแล้ว วิบเดียวจริงๆ ถึงว่าพระกรรมฐานสายท่านหลวงปู่มั่น ฝึกกันทุกวันๆ เดินจงกรมเป็นชั่วโมงๆ ทุกวัน จิตท่านถึงได้แกร่งแรงจริงๆ ไปอยู่วัดคราวนี้ได้ประโยชน์เยอะมากๆ ถึงมากที่สุด ใครไม่เคยทดลองน่าจะลองดูบ้างอย่างน้อยๆ เป็นบุญ เป็นกุศล และเป็นนิสัยแ่ก่ตนเองสืบไปมิเสียทีที่เกิดมาในพุทธศาสนา ลืมบอกไป ไปคราวนี้ผมไปฝึกกับท่าน อ.ณรงค์แห่งวัดบ้านเพ จ.ระยอง ท่านเป็นศิษย์องค์ต้นของหลวงพ่อชาวัดหนองป่าพง ท่าน อ.ณรงค์นี้ ปีนี้ท่านอายุ 69 ปี ท่านได้มีโอกาสฝึกกรรมฐานอยู่กับหลวงปู่เทสก์ ที่หนองคาย หลวงปู่หลุย ที่ จ.เลย ท่านธุดงค์ไปทั่วแถวอีสาน พ่อแม่ครูอาจารย์ขั้นสูงท่านรู้จักหมด ท่านจะเล่าเรื่องหลวงปู่มั่นหรือเรื่องการปฏิบัติของพระกรรมฐานให้ฟังทุกคืน ติดขัดสมาธิอะไร ถามกันตรงนั้น ด่ากันตรงนั้น แก้กันตรงนั้น สอนกันตรงนั้น วันรุ่งขึ้นมารายงานผล คำเทศน์บางคืนจับใจมาก น้ำตาซึมเพราะเกิดสงสาร หรือเกิดปิติ บางคืนแอบเห็นแม่ชีร้องไห้เมื่อฟังท่านเทศน์ถึงอานิสงส์การปรนนิบัติพ่อแม่ หรืออย่างที่ท่านบอกการที่เรามาอยู่ป่า หรือเป็นฆราวาสใส่บาตรพระนั้น เป็นเส้นทางอริยะประเพณีทั้งนั้น พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้นับอสงไขยไม่ถ้วนก็ทำอย่างนี้ทั้งนั้น ไม่มีใครได้มาโดยง่าย ต้องฝึกต้องสร้างบารมีกันสั่งสมมาทั้งนั้น ผมเองก็เหมือนกันที่ไปในคราวนี้ก็ไม่ใช่ว่าจู่ๆ ต้องไป แต่เพราะถุกพี่ใหญ่ไล่เข้าป่าให้ไปสร้างบารมีเพิ่ม ไปให้รู้เพิ่ม ไปเพื่อฝึกเพิ่ม ไปให้พระผู้ใหญ่ขัดเกลาจิตด้วยธรรมโอวาท จะได้ไม่ประมาทพลั้งเผลอ เพราะทำงานใหญ่ต้องมีกำลังใจ กำลังบารมีสูง จะได้ไม่ย่อท้อในงานที่ทำ และเพื่อให้ผู้ที่คอยโมทนาบุญจากเราได้รับบุญเพิ่มอย่างน้อยก็ตุ๊กแกตัวที่อยู่ในกุฏิเรา พอรายงานผลการฝึกให้ทราบแกบอกหล่อเลยน๊ะเอ็งคราวนี้ ก็จะไม่หล่อไ้ด้งัยโดนเหลายังกะดินสอ แต่พี่ใหญ่บอกที่เอ็งโดน เอ็งลำบากน๊ะ น้อยกว่าพี่เยอะ ก็ขอเล่าให้ฟังก่อนแค่นี้ครับ ส่วนในวันนี้ส่งเข้าไปเริ่มต้นอีก 2 คน คือคุณหมอจากศิริราช 2 สามีและภรรยา ที่เพิ่งเริ่มหัดปฏิบัติธรรม แต่ส่งไปที่ไม่โหดกว่านี้ กะเลี้ยงเอาไว้ก่อน เอาแค่ไปเริ่มต้นนั่งกรรมฐานที่วัดลูกศิษย์ของท่าน คือที่วัดมาบจันทร์ จ.ระยอง ที่มี ท่าน อ.อนันต์ ที่คุ้นเคยกับผม ให้ท่านช่วยอบรมให้

    สำหรับงานบุญในเดือนนี้อาจจะเป็นวันที่ 24 หรือ 31 ครับ เดี๋ยวคงต้องรอประชุมกันในสัปดาห์นี้ก่อนครับ แล้วจะค่อยแจ้งให้ทราบ


    สำหรับสำเนาใบอนุโมทนาบุญตาม รพ.ต่างๆ ทีส่งมาให้ ผมได้ส่งให้นายสติทยอยสแกนลงในกระทู้แล้วเดี๋ยวคงลงมาให้ดูกันครับ

    พันวฤทธิ์
    5/5/52
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2009
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    วันนี้ขอนำบทกลอนในกระทู้ของโรงเรียนที่ผมดูแลมาให้อ่านดู พร้่อมกับบทความอื่นๆ ครับ ลองอ่านดูกัน สะใจดีแท้
    http://it.irpct.ac.th/bss/index.php?option=com_content&task=view&id=132&Itemid=67
    กลอนเตือนสติลูก
    สวัสดีครับ....
    ครู Dad อยากให้นักเรียนไออาร์พีซีอ่านซักนิด
    เพื่อเตือนสติในการใช้ชีวิตในวันข้างหน้า


    <table style="margin-left: auto; margin-right: auto; text-align: left; height: 24px; width: 11px;" border="0" width="11" height="24"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table>


    พ่อทำงาน...อาบแดด...ถูกแผดเผา
    ลูกดื่มเหล้า..ฟังเพลง...ครื้นเครงเหลือ

    แม่ขายผัก...กินข้าว...เคล้ากับเกลือ
    ลูกเอื้อเฟื้อ...พาสาวเที่ยว...เลี้ยวโฮเตล

    พ่อหาเงิน...ส่งลูกเรียน...เพียรอุตส่าห์
    ลูกติดยา...คบเพื่อนชั่ว...มั่วให้เห็น

    แม่กระหาย...ดื่มน้ำคลอง...ตอนกลองเพล
    ลูกทะเล้น...จิบวายแดง...แพงจับใจ

    พ่ออดอยาก...ไม่เคยบ่น...ทนลำบาก
    ลูกมักมาก...เพศสัมพันธุ์...มันส์เหลือหลาย

    แม่ทอผ้า...ปลูกหม่อน...หารายได้
    ลูกหญิงชาย...เที่ยวสนุก....โรคติดตัว

    พ่อสูบน้ำ...เข้าแปลงนา...ปลูกข้าวกล้า
    ลูกมัวเมา...การพนัน...หมั่นหาผัว

    แม่หาบน้ำ...เลี้ยงเป็ดไก่...ทำสวนครัว
    ลูกใจชั่ว...ใช้เงินเพลิน...เดินหลงทาง

    พ่อขายวัว...ส่งควายเรียน...เวียนศรีษะ
    ลูกตะกละ...กินฟาสฟู๊ด...พูดกว้างขวาง

    แม่ปวดเมื่อย...สู้งานหนัก...ไม่ละวาง
    ลูกสำอาง...ใช้ของแพง...แข่งสังคม

    พ่อผอมแห้ง...เรื่ยวแรงน้อย...ด้อยอาหาร
    ลูกประพฤติ...อันธพาล...ล่าเสพสม

    แม่เป็นดอก...ทบต้น...หมดอารมณ์
    ลูกเขี้ยวคม...ฆ่าพ่อแม่...ก่อนแก่ตาย


     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <table class="contentpaneopen"><tbody><tr><td class="contentheading" width="100%">การฝึกใจ-จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าจมกับอดีต </td> <td class="buttonheading" align="right" width="100%"> PDF </td> </tr> </tbody></table> [​IMG]

    การฝึกใจ - จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าจมอยู่กับอดีต
    สวัสดีครับ
    วันนี้เป็นวันพระ ครู Dad สัญญาว่าทุกๆวันพระจะนำเอาธรรมะมาฝากนักเรียนทุกคน เพื่อเป็นการเตือนสติให้พวกเราไม่ประมาท มัวเมาในการใช้ชีวิต เพราะชีวิตของคนเราสั้นมาก ดังนั้นการฝึกใดๆในโลกนี้ไม่ดีเท่าการฝึกใจของตนเองให้รู้เท่าทันการเกิด ขึ้น ตั้งอยู่และดับไปของสิ่งต่างๆที่เข้ามากระทบเราในทุกปัจจุบันขณะ
    สำหรับวันนี้ ครู Dad นำธรรมของ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) มาฝากนักเรียนและผู้อ่านทุกทานครับ
    [​IMG]
    [​IMG]







    บทนำ

    ชีวิต คนในสมัยของท่านอาจารย์มั่นและท่านอาจารย์เสาร์ นั้นสบายกว่าในสมัยนี้มาก ไม่มีความวุ่นวายมากเหมือนอย่างทุกวันนี้ สมัยโน้นพระไม่ต้องมายุ่งเกี่ยวกับพิธีรีตรองต่างๆเห มือนอย่างเดี๋ยวนี้ ท่านอาศัยอยู่ตามป่า ไม่ได้อยู่เป็นที่หรอก ธุดงค์ไปโน่น ธุดงค์ไปนี่เรื่อยไป ท่านใช้เวลาของท่านปฏิบัติภาวนาอย่างเต็มที่
    สมัย โน้นพระท่านไม่ได้มีข้าวของฟุ่มเฟือยมากมายอย่าง ที่มีกันทุกวันนี้หรอก เพราะมันยังไม่มีอะไรมากอย่างเดี๋ยวนี้ กระบอกน้ำก็ทำเอา กระโถนก็ทำเอา ทำเอาจากไม้ไผ่นั่นแหละ

    ความสันโดษของพระป่า
    ชาว บ้านก็นานๆ จึงจะมาหาสักที ความจริงพระท่านก็ไม่ได้ต้องการอะไร ท่านสันโดษกับสิ่งที่ท่านมี ท่านอยู่ไป ปฏิบัติภาวนาไป หายใจเป็นกรรมฐานอยู่นั่นแหละ
    พระท่านก็ได้รับความลำบากมากอยู่เหมือน กัน ในการที่อยู่ตามป่าตามเขาอย่างนั้น ถ้าองค์ใดเป็นไข้ป่า ไข้มาลาเรีย ไปถามหาขอยา อาจารย์ก็จะบอกว่า “ไม่ต้องฉันยาหรอก เร่งปฏิบัติภาวนาเข้าเถอะ”
    ความจริงสมัยนั้นก็ไม่มีหยูกยามากอย่าง สมัยนี้ มีแต่สมุนไพรรากไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่า พระต้องอยู่อย่างอดอย่างทนเหลือหลาย ในสมัยนั้นเจ็บไข้เล็กๆน้อยๆ ท่านก็ปล่อยมันไป เดี๋ยวนี้สิเจ็บป่วยอะไรนิดหน่อยก็วิ่งไปโรงพยาบาลกั นแล้ว
    บางทีต้องเดินบิณฑบาตตั้งห้ากิโล พอฟ้าสางก็ต้องรีบออกจากวัดแล้ว กว่าจะกลับก็โน่นสิบโมงสิบเอ็ดโมงโน่น แล้วก็ไม่ใช่บิณฑบาตได้อะไรมากมาย บางทีก็ได้ข่าวเหนียวสักก้อน เกลือสักหน่อย พริกสักนิด เท่านั้นเอง ได้อะไรมาฉันกับข้าวหรือไม่ก็ช่าง ท่านไม่คิด เพราะมันเป็นอย่างนั้นเอง ไม่มีองค์ใดกล้าบ่นหิวหรือเพลีย ท่านไม่บ่น เฝ้าแต่ระมัดระวังตน
    ท่านปฏิบัติอยู่ในป่าอย่างอดทน อันตรายก็มีรอบด้าน สัตว์ดุร้ายก็มีอยู่หลายในป่านั้น แต่ท่านก็มีความอดความทนเป็นเลิศ เพราะสิ่งแวดล้อมสมัยนั้นบังคับให้เป็นอย่างนั้น

    การภาวนาของท่านนักปฏิบัติสมัยนี้
    มาสมัย นี้สิ่งแวดล้อมบังคับเราไปในทางตรงข้ามกับสมัย โน้น ไปไหนเราก็เดินไป ต่อมานั่งเกวียนแล้วก็นั่งรถยนต์ แต่ความทะยานอยากมันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้ถ้าไม่ใช่รถปรับอากาศ ก็จะไม่ยอมนั่ง ดูจะไปเอาไม่ได้เทียวแหละ ถ้ารถนั้นไม่ปรับกอากาศ คุณธรรมในเรื่องความอดทนมันค่อยอ่อนลงๆ การปฎิบัติภาวนาก็ย่อหย่อนลงไปมาก เดี๋ยวนี้เราจึงเห็นนักปฎิบัติภาวนาชอบทำตามความเห็น ความต้องการของตัวเอง
    เมื่อ ผู้เฒ่าผู้แก่พูดถึงเรื่องเก่าๆแต่ครั้งก่อน คนเดี๋ยวนี้ฟังเหมือนว่าเป็นนิทานนิยาย ฟังไปเฉยๆแต่ไม่เข้าใจเลยแหละ เพราะมันเข้าไม่ถึง พระภิกษุที่บวชในสมัยก่อนนั้นจะต้องอยู่กับพระอุปัชฌ าย์อย่างน้อยห้าปี นี่เป็นระเบียบที่ถือกันมา และต้องพยายามหลีกเลี่ยงการพูดคุย อย่าปล่อยตัวเที่ยวพูดคุยมากเกินไป อย่าอ่านหนังสือ แต่ให้อ่านใจของตัวเอง

    พิจารณาอ่านใจและดูใจตัวเอง
    ดู วัดหนองป่าพงเป็นตัวอย่าง ทุกวันนี้มีพวกจบจากมหาวิทยาลัยมาบวชกันมาก ต้องคอยห้ามไม่ให้เอาเวลาไปอ่านหนังสือธรรมะ เพราะคนพวกนี้ชอบอ่านหนังสือ แล้วก็ได้อ่านหนังสือมามากแล้ว แต่โอกาสที่จะอ่านใจของตัวเองน่ะหายากมาก ฉะนั้นระหว่างที่มาบวชสามเดือนนี้ ก็ต้องขอให้ปิดหนังสือ ปิดตำรับตำราต่างๆให้หมดในระหว่างที่บวชนี้น่ะ เป็นโอกาสวิเศษแล้วที่จะได้อ่านใจของตัวเอง
    การตามดูใจของตัวเองนี้ น่าสนใจมาก ใจที่ยังไม่ได้ฝึก มันก็คอยวิ่งไปตามนิสัยเคยชินที่ยังไม่ได้ฝึก ไม่ได้อบรม มันเต้นคึกคักไปตามเรื่องตามราว ตามความคะนอง เพราะมันยังไม่เคยถูกฝึก ดังนั้นจงฝึกใจของตัวเอง การปฏิบัติภาวนาในทางพุทธศาสนาก็คือการปฏิบัติเรื่อง ใจ ฝึกจิตฝึกใจของตัว ฝึกอบรมจิตของตัวเองนี่แหละ เรื่องนี้สำคัญมาก การฝึกใจเป็นหลักสำคัญ พุทธศาสนาเป็นศาสนาของใจ มันมีเท่านี้ ผู้ที่ฝึกปฏิบัติทางจิต คือผู้ปฏิบัติธรรมในทางพุทธศาสนา

    การฝึกใจ
    ใจ ของเรานี่มันอยู่ในกรง ยิ่งกว่านั้นมันยังมีเสือที่กำลังอาละวาดอยู่ในกรงนั ้นด้วย ใจที่มันเอาแต่ใจของเรานี้ ถ้าหากมันไม่ได้อะไรตามที่มันต้องการแล้ว มันก็อาละวาด เราจะต้องอบรมใจด้วยการปฏิบัติภาวนา ด้วยสมาธิ นี้แหละที่เราเรียกว่า “การฝึกใจ”

    พื้นฐานของการปฏิบัติธรรม
    ใน เบื้องต้นของการฝึกปฏิบัติธรรม จะต้องมีศีลเป็นพื้นฐานหรือรากฐาน ศีลนี้เป็นสิ่งอบรมกาย วาจา ซึ่งบางทีก็จะเกิดการวุ่นวายขึ้นในใจเหมือนกัน เมื่อเราพยายามจะบังคับใจไม่ให้ทำตามความอยาก
    กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย นิสัยความเคยชินอย่างโลกๆ ลดมันลง อย่ายอมตามความอยาก อย่ายอมตามความคิดของตน หยุดเป็นทาสมันเสีย พยายามต่อสู้เอาชนะอวิชชาให้ได้ด้วยการบังคับตัวเองเ สมอ นี้เรียกว่าศีล
    เมื่อ พยายามบังคับจิตของตัวเองนั้น จิตมันก็จะดิ้นรนต่อสู้ มันจะรู้สึกถูกจำกัด ถูกข่มขี่ เมื่อมันไม่ได้ทำตามที่มันอยาก มันก็จะกระวนกระวายดิ้นรน ทีนี้เห็นทุกข์ชัดละ

    เห็นทุกข์ทำให้เกิดปัญญา
    “ทุกข์” เป็นข้อแรกของอริยสัจจ์ คนทั้งหลายพากันเกลียดกลัวทุกข์ อยากหนีทุกข์ ไม่อยากให้มีทุกข์เลย ความจริง ทุกข์ที่แหละจะทำให้เราฉลาดขึ้นล่ะ ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เรารู้จักพิจารณาทุกข์ สุขนั่นสิมันจะปิดหูปิดตาเรา มันจะทำให้ไม่รู้จักอด ไม่รู้จักทน ความสุขสบายทั้งหลายจะทำให้เราประมาท
    กิ เสลสองตัวนี้ทุกข์เห็นได้ง่าย ดังนั้นเราจึงต้องเอาทุกข์นี่แหละมาพิจารณา แล้วพยายามทำความดับทุกข์ให้ได้ แต่ก่อนจะปฏิบัติภาวนาก็ต้องรู้จักเสียก่อน ว่าทุกข์คืออะไร
    ตอนแรก เราจะต้องฝึกใจของเราอย่างนี้ เราอาจยังไม่เข้าใจว่ามันเป็นอย่างไร ทำไป ทำไปก่อน ฉะนั้นเมื่อครูอาจารย์บอกให้ทำอย่างใดก็ทำตามไปก่อน แล้วก็จะค่อยมีความอดทนอดกลั้นขึ้นเอง ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรให้อดทนอดกลั้นไว้ก่อน เพราะมันเป็นอย่างนั้นเอง อย่างเช่นเมื่อเริ่มฝึกนั่งสมาธิ เราก็ต้องการความสงบทีเดีวแต่ก็จะไม่ได้ความสงบ เพราะมันไม่เคยทำสมาธิมาก่อน ใจก็บอกว่า “จะนั่งอย่างนี้แหละจนกว่าจะได้ความสงบ”

    อย่าทอดทิ้งจิต
    แต่ พอความสงบไม่เกิดก็เป็นทุกข์ ก็เลยลุกขึ้น วิ่งหนีเลย การปฏิบัติอย่างนี้ไม่เป็น “การพัฒนาจิต” แต่มันเป็นการ “ทอดทิ้งจิต” ไม่ควรปล่อยใจไปตามอารมณ์ ควรที่จะฝึกฝนอบรมตนเองตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ขี้เกียจก็ช่าง ขยันก็ช่าง ให้ปฏิบัติมันไปเรื่อยๆ ลองคิดดูซิ ทำอย่างนี้จะไม่ดีกว่าหรือ การปล่อยใจตามอารมณ์นั้นจะไม่มีวันถึงธรรมของพระพุทธ เจ้า
    เมื่อเรา ปฏิบัติธรรม ไม่ว่าอารมณ์ใดจะเกิดขึ้นก็ช่างมัน แต่ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ปฏิบัติให้สม่ำเสมอ การตามใจตัวเองไม่ใช่แนวทางของพระพุทธเจ้า ถ้าเราปฏิบัติธรรมตามความคิดความเห็นของเรา เราจะไม่มีวันรู้แจ้งว่าอันใดผิด อันใดถูก จะไม่มีวันรู้จักใจของตัวเราเอง และไม่มีวันรู้จักตัวเอง ดังนั้นถ้าปฏิบัติธรรมตามแนวทางของตนเองแล้วย่อมเป็น การเสียเวลามากที่สุด แต่การปฎิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้าแล้วย่อมเป็นหน ทางตรงที่สุด

    การพัฒนาจิต
    ขอ ให้จำไว้ว่า ถึงจะขี้เกียจก็ให้พยายามปฏิบัติไป ขยันก็ให้ปฏิบัติไป ทุกเวลาและทุกหนทุกแห่ง นี่จึงจะเรียกว่า “การพัฒนาจิต” ถ้าหากปฏิบัติตามความคิดความเห็นของตนเองแล้ว ก็จะเกิดความคิดความสงสัยไปมากมาย มันจะให้คิดไปว่า “เราไม่มีบุญ เราไม่มีวาสนา ปฏิบัติธรรมก็นานหนักหนาแล้ว ยังไม่รู้ เรายังไม่เห็นธรรมเลยสักที” การปฏิบัติธรรมอย่างนี้ไม่เรียกว่าเป็น “การพัฒนาจิต” แต่เป็น “การพัฒนาความหายนะของจิต”
    ถ้าเมื่อใดที่ ปฏิบัติธรรมไปแล้ว มีความรู้สึกอย่างนี้ว่ายังไม่รู้อะไร ยังไม่เห็นอะไร ยังไม่มีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นบ้างเลย นี่ก็เพราะที่ปฏิบัติมามันผิด ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

    สิ้นสงสัยด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้อง
    พระ พุทธเจ้าทรงสอนว่า “อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก แล้วจะสิ้นสงสัย” ความสงสัยไม่มีวันสิ้นไปได้ ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี ด้วยการคาดคะเน หรือด้วยการถกเถียงกัน หรือจะอยู่เฉยๆไม่ปฏิบัติภาวนาเลย ความสงสัยก็หายไปไม่ได้อีกเหมือนกัน กิเลสจะหายสิ้นไปได้ก็ด้วยการพัฒนาทางจิต ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น
    การปฏิบัติทางจิต ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น ตรงกันข้ามกับหนทางของโลกอย่างสิ้นเชิง คำสั่งสอนของพระองค์มาจากพระทัยอันบริสุทธิ์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสอาสวะทั้งหลาย นี่คือแนวทางของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระองค์
    เมื่อเราปฏิบัติธรรม เราต้องทำใจของเราให้เป็นธรรม ไม่ใช่เอาธรรมะมาตามใจเรา ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ ทุกข์ก็จะเกิดขึ้น แต่ไม่มีใครสักคนหรอกที่จะพ้นทุกข์ไปได้ พอเริ่มปฏิบัติ ทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแล้ว หน้าที่ของผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติ สำรวม และสันโดษ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราหยุด คือเลิกนิสัยความเคยชินที่เคยทำมาแต่เก่าก่อน ทำไมถึงต้องทำอย่างนี้ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ไม่ฝึกฝนอบรมใจตนเองแล้ว มันก็จะคึกคะนอง วุ่นวายไปตามธรรมชาติของมัน

    ธรรมชาติของจิตฝึกได้เสมอ
    ธรรมชาติ ของใจนี้มันฝึกกันได้ เอามาใช้ประโยชน์ได้ เปรียบได้กับต้นไม้ในป่า ถ้าปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติของมัน เราก็จะเอามันมาสร้างบ้านไม่ได้ จะเอามาทำแผ่นกระดานก็ไม่ได้ หรือทำอะไรอย่างอื่นที่จะใช้สร้างบ้านก็ไม่ได้ แต่ถ้าช่างไม้ผ่านมาต้องการไม้ไปสร้างบ้าน เขาก็จะมองหาต้นไม้ในป่านี้ และตัดต้นในป่านี้เอาไปใช้ประโยชน์ ไม่ช้าเขาก็สร้างบ้านเสร็จเรียบร้อย
    การ ปฏิบัติภาวนาและการพัฒนาจิตก็คล้ายกันอย่างนี้ ก็ต้องเอาใจที่ยังไม่ได้ฝึกเหมือนไม้ในป่านี่แหละ มาฝึกมัน จนมันละเอียดประณีตขึ้น รู้ขึ้น และว่องไวขึ้น ทุกอย่างมันเป็นไปตามภาวะธรรมชาติของมัน เมื่อเรารู้จักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ เราก็เปลี่ยนมันได้ ทิ้งมันก็ได้ ปล่อยมันไปก็ได้ แล้วเราก็จะไม่ทุกข์อีกต่อไป

    จิตยึดมั่นมันก็สับสนวุ่นวาย
    ธรรมชาติ ของใจเรามันก็อย่างนั้น เมื่อใดที่เกาะเกี่ยวผูกพันยึดมั่นถือมั่นก็จะเกิดคว ามวุ่นวายสับสน เดี๋ยวมันก็จะวิ่งวุ่นไปโน่นไปนี่ พอมันวุ่นวายสับสนมากๆเข้า เราก็คิดว่าคงจะฝึกอบรมมันไม่ได้แล้ว แล้วก็เป็นทุกข์ นี่ก็เพราะไม่เข้าใจว่ามันต้องเป็นของมันอย่างนั้นเอ ง ความคิด ความรู้สึก มันจะวิ่งไปวิ่งมาอยู่อย่างนี้ แม้เราจะพยายามฝึกปฏิบัติ พยายามให้มันสงบ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เมื่อเราติดตามพิจารณาดูธรรมชาติของใจอยู่บ่อยๆ ก็จะค่อยๆเข้าใจว่าธรรมชาติของใจมันเป็นของมันอยู่อย ่างนั้น มันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

    ปล่อยวางได้จิตใจก็สงบ
    ถ้า เราเห็นอันนี้ชัด เราก็จะทิ้งความคิดความรู้สึกอย่างนั้นได้ ทีนี้ก็ไม่ต้องคิดนั่นคิดนี่อีก คอยแต่บอกตัวเองไว้อย่างเดียวว่า “มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง” พอเข้าใจได้ชัด เห็นแจ้งอย่างนี้แล้ว ทีนี้ก็จะปล่อยอะไรๆได้ทั้งหมด ก็ไม่ใช่ว่าความคิดความรู้สึกมันจะหายไป มันก็ยังอยู่นั่นแหละ แต่มันหมดอำนาจเสียแล้ว<!--more-->
    เปรียบก็ เหมือนกับเด็กที่ชอบซน เล่นสนุก ทำให้รำคาญ จนเราต้องดุเอา ตีเอา แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของเด็กก็เป็นอย่างนั้ นเอง พอรู้อย่างนี้ เราก็ปล่อยให้เด็กเล่นไปตามเรื่องของเขา ความเดือดร้อนรำคาญของเราก็หมดไป มันไปได้อย่างไร ก็เพราะเรายอมรับธรรมชาติของเด็ก ความรู้สึกของเราเปลี่ยน และเรายอมรับธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย เราปล่อยวาง จิตของเราก็มีความสงบเยือกเย็น นี่เรามีความเข้าใจถูกต้องแล้ว เป็นสัมมาทิฎฐิ
    ถ้ายังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ยังเป็นมิจฉาทิฎฐิอยู่ แม้จะไปอยู่ในถ้ำลึกมืดสักเท่าใด ใจมันก็ยังยุ่งเหยิงอยู่ ใจจะสงบได้ก็ด้วยความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฎฐิเท่านั้น ทีนี้ก็หมดปัญหาจะต้องแก้ เพราะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น นี่มันเป็นอย่างนี้ เราไม่ชอบมัน เราปล่อยวางมัน เมื่อใดที่มีความรู้สึกเกาะเกี่ยวยึดมั่นถือมั่นเกิด ขึ้น เราปล่อยวางทันที เพราะรู้แล้วว่าความรู้สึกอย่างนั้นมันไม่ได้เกิดขึ้ นมาเพื่อจะกวนเรา แม้บางทีเราอาจจะคิดอย่างนั้น แต่ความเป็นจริงความรู้สึกนั้นเป็นของมันอย่างนั้นเอ ง
    ถ้าเราปล่อย วางมันเสีย รูปก็เป็นสักแต่ว่ารูป เสียก็สักแต่ว่าเสียง กลิ่นก็สักแต่ว่ากลิ่น รสก็สักแต่ว่ารส โผฎฐัพพะก็สักแต่ว่าโผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ก็สักแต่ว่าธรรมารมณ์ เปรียบเหมือนน้ำมันกับน้ำท่า ถ้าเราเอาทั้งสองอย่างนี้เทใส่ขวดเดียวกัน มันก็ไม่ปนกัน เพราะธรรมชาติมันต่างกัน เหมือนกับคนที่ฉลาดก็ต่างกับคนโง่ พระพุทธเจ้าก็ทรงอยู่กับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ แต่พระองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ พระองค์จึงทรงเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่ง “สักว่า” เท่านั้น

    ใจก็สักว่าใจ ความคิดก็สักว่าความคิด
    พระองค์ ทรงปล่อยวางมันไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ทรงเข้าพระทัยแล้วว่า ใจก็สักว่าใจ ความคิดก็สักว่าความคิด พระองค์ไม่ทรงเอามาปนกัน ใจก็สักว่าใจ ความคิดความรู้สึกก็สักว่าความคิดความรู้สึก ปล่อยให้มันเป็นเพียงสิ่ง “สักว่า” รูปก็สักว่ารูป เสียงก็สักว่าเสียง ความคิดก็สักว่าความคิด จะต้องไปยึดมั่นถือมั่นทำไม ถ้าคิดได้รู้สึกได้อย่างนี้เราก็จะแยกกันได้ ความคิดความรู้สึก (อารมณ์) อยู่ทางหนึ่ง ใจก็อยู่ทางหนึ่ง เหมือนกับน้ำมันกับน้ำท่า อยู่ในขวดเดียวกัน แต่มันแยกกันอยู่
    พระ พุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกของพระองค์ ก็อยู่ร่วมกับปุถุชนคนธรรมดาที่ไม่ได้รู้ธรรม ท่านไม่ได้เพียงอยู่ร่วมเท่านั้น แต่ท่านยังสอนคนเหล่านั้น ทั้งคนฉลาด คนโง่ ให้รู้จักวิธีที่จะศึกษาธรรมปฏิบัติและรู้แจ้งในธรรม ท่านสอนได้เพราะท่านได้ปฏิบัติมาเอง ท่านรู้ว่ามันเป็นเรื่องของใจเท่านั้น เหมือนอย่างที่ได้พูดมานี้แหละ
    ดังนั้นการปฏิบัติภาวนานี้อย่าไปสงสัย มันเลย เราหนีจากบ้านมาบวช ไม่ใช่เพื่อหนีมาอยู่กับความหลงหรืออยู่กับความขลาดค วามกลัว แต่หนีมาเพื่อฝึกอบรมตัวเอง เพื่อเป็นนายตัวเอง ชนะตัวเอง ถ้าเราเข้าใจได้อย่างนี้ เราก็จะปฏิบัติธรรมได้ ธรรมะจะแจ่มชัดขึ้นในใจของเรา

    ธรรมะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
    ผู้ ที่เข้าใจธรรมะก็เข้าใจตัวเอง ใครเข้าใจตัวเองก็เข้าใจธรรมะ ทุกวันนี้ก็เหลือแต่เปลือกของธรรมะเท่านั้น ความเป็นจริงแล้วธรรมะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่จำเป็นที่จะต้องหนีไปไหน ถ้าจะหนีก็ให้หนีด้วยความฉลาด ด้วยปัญญา หนีด้วยความชำนิชำนาญ อย่าหนีด้วยความโง่ ถ้าเราต้องการความสงบก็ให้สงบด้วยฉลาด ด้วยปัญญาเท่านั้นพอ
    เมื่อใดที่เราเห็นธรรมะ นั่นก็เป็นสัมมาปฏิปทาแล้ว กิเลสก็สักแต่ว่ากิเลส ใจก็สักแต่ว่าใจ เมื่อใดที่เราทิ้งได้ ปล่อยวางได้แยกได้ เมื่อนั้นมันก็เป็นเพียงสักว่า เป็นเพียงอย่างนี้อย่างนั้นสำหรับเราเท่านั้นเอง เมื่อเราเห็นถูกแล้ว ก็จะมีแต่ความปลอดโปร่ง ความเป็นอิสระตลอดเวลา
    พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายท่านอย่ายึดมั่นในธรรม” ธรรมะคืออะไร คือทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรมะ ความรักความเกลียดก็เป็นธรรมะ ความสุขความทุกข์ก็เป็นธรรมะ ความชอบความไม่ชอบก็เป็นธรรมะ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อยแค่ไหนก็เป็นธรรมะ

    ปฏิบัติเพื่อละ อย่าปฏิบัติเพื่อสะสม
    เมื่อ เราปฏิบัติธรรมเราเข้าใจอันนี้ เราก็ปล่อยวางได้ ดังนั้นก็ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในใจเรา ในจิตเรา ในร่างกายของเรา มีแต่ความแปรเปลี่ยนไปทั้งนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น พระองค์ทรงสอนพระสาวกของพระองค์ให้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อถอนไม่ให้ปฏิบัติเพื่อสะสม
    ถ้าเราทำตามคำสอนของพระองค์ เราก็ถูกเท่านั้นแหละ เราอยู่ในทางที่ถูกแล้ว แต่บางทีก็ยังมีความวุ่นวายเหมือนกัน ไม่ใช่คำสอนของพระองค์ทำให้วุ่นวาย กิเลสของเรานั้นแหละที่มันทำให้วุ่นวาย มันมาบังคับความเข้าใจอันถูกต้องเสีย ก็เลยทำให้เราวุ่นวาย
    ความจริง การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีอะไรลำบาก ไม่มีอะไรยุ่งยาก การปฏิบัติตามทางของพระองค์ไม่มีทุกข์เพราะทางของพระ องค์คือ “ปล่อยวาง” ให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง
    จุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติภาวนานั้น ท่านทรงสอนให้ “ปล่อยวาง” อย่าแบกถืออะไรให้มันหนัก ทิ้งมันเสีย ความดีก็ทิ้งความถูกต้องก็ทิ้ง คำว่าทิ้งหรือปล่อยวางไม่ใช่ไม่ต้องปฏิบัติ แต่หมายความว่าให้ปฏิบัติ “การละ” “การปล่อยวาง” นั่นแหละ

    จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าจมอยู่กับอดีต
    พระองค์ ทรงสอนให้พิจารณาธรรมทั้งหลาย ที่กายที่ใจของเรา ธรรมะไม่ได้อยู่ไกลที่ไหน อยู่ที่ตรงนี้ อยู่ที่กายที่ใจของเรานี่แหละ ดังนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง เอาจริงเอาจังให้ใจมันผ่องใสขึ้น สว่างขึ้น ให้มันเป็นใจอิสระ ทำความดีอะไรแล้วก็ปล่อยมันไป อย่าไปยึดไว้ หรืองดเว้นการทำชั่วได้แล้ว ก็ปล่อยมันไป พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่กับปัจจุบันนี้ ที่นี้และเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่อยู่กับอดีตหรือนาคต
    คำสอนที่เข้าใจผิดกันมาก แล้วก็ถกเถียงกันมากที่สุด ตามความคิดเห็นของตนก็คือเรื่อง “การปล่อยวาง” หรือ “การทำงานด้วยจิตว่าง” นี่แหละ การพูดอย่างนี้เรียกว่าพูด “ภาษาธรรม” เมื่อเอามาคิดเป็นภาษาโลกมันก็เลยยุ่ง แล้วก็ตีความหมายว่าอย่างนั้น ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบละซิ
    ความจริงมันมีความหมายอย่างนี้ อุปมาเหมือนว่าเราแบกก้อนหินหนักอยู่ก้อนหนึ่ง แบกไปก็รู้สึกหนัก แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมันก็ได้ แต่แบกอยู่อย่างนั้นแหละ พอมีใครบอกว่า ให้โยนมันทิ้งเสียซี ก็มาคิดอีกแหละว่า “เอ…ถ้าเราโยนทิ้งไปแล้ว เราก็ไม่มีอะไรเหลือน่ะซิ” ก็เลยแบกอยู่นั่นแหละ ไม่ยอมทิ้ง

    ประโยชน์ของการปล่อยวาง
    ถ้า จะมีใครบอกว่า โยนทิ้งเถอะ แล้วจะดีอย่างนั้น เป็นประโยชน์อย่างนี้ เราก็ยังไม่ยอมโยนทิ้งอยู่นั่นแหละ เพราะกลัวแต่ว่าจะไม่มีอะไรเหลือ ก็เลยแบกก้อนหินหนักไว้ จนเหนื่อยอ่อนเพลียเต็มที จนแบกไม่ไหวแล้วก็เลยปล่อยมันตกลง ตอนที่ปล่อยให้มันตกลงนี้แหละก็จะเกิดความรู้เรื่องก ารปล่อยวางขึ้นมาเลย เราจะรู้สึกเบาสบาย แล้วก็รู้ได้ด้วยตนเองว่า การแบกก้อนหินนั้นมันหนักเพียงใด แต่ตอนที่เราแบกอยู่นั้นเราไม่รู้หรอก ว่าการปล่อยวางมีประโยชน์เพียงใด
    ดังนั้นถ้ามีใครมาบอกให้ปล่อยวาง คนที่ยังมืดอยู่ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจหรอก ก็จะหลับหูหลับตาแบกก้อนหินก้อนนั้นยังไม่ยอมปล่อย จนกระทั่งมันหนักจนเหลือที่จะทนนั่นแหละ ถึงจะยอมปล่อยแล้วก็จะรู้สึกได้ด้วยตนเอง ว่ามันเบามันสบายแค่ไหนที่ปล่อยมันไปได้ ต่อมาเราอาจจะไปแบกอะไรอีกก็ได้ แต่ตอนนี้เราพอรู้แล้วว่า ผลของการแบกนั้นเป็นอย่างไร เราก็ปล่อยมันได้โดยง่ายขึ้น ความเข้าใจในความไร้ประโยชน์ของการแบกหาม และความเบาสบายของการปล่อยวางนี่แหละ คือตัวอย่างที่แสดงถึงการรู้จักตัวเอง
    ความ ยึดมั่นถือมั่นในตัวของเราก็เหมือนก้อนหินหนักก้ อนนั้น พอคิดว่าจะปล่อย “ตัวเรา” ก็เกิดความกลัวว่าปล่อยไปแล้วก็จะไม่มีอะไรเหลือ เหมือนกับที่ไม่ยอมปล่อยก้อนหินนั้น แต่ในที่สุดเมื่อปล่อยมันไปได้ เราก็จะรู้สึกเองถึงความเบาสบายในการที่ไม่ได้ยึดมั่ นถือมั่น

    การฝึกใจต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น
    ใน การฝึกใจนี้ เราต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น ทั้งสรรเสริญ ทั้งนินทา ความต้องการแต่สรรเสริญ และไม่ต้องการนินทางนั้น เป็นวิถีทางของโลก แต่แนวทางของพระพุทธเจ้าให้รับสรรเสริญตามเหตุตามปัจ จัยของมัน และก็ให้รับนินทาตามเหตุตามปัจจัยของมันเหมือนกัน เหมือนอย่างกับการเลี้ยงเด็ก บางทีถ้าเราไม่ดุเด้กตลอดเวลา มันก็ดีเหมือนกัน ผู้ใหญ่บางคนดุมากเกินไป ผู้ใหญ่ที่ฉลาดย่อมรู้จักว่าเมื่อใดควรดุ เมื่อใดควรชม<!--more-->
    ใจ ของเราก็เหมือนกัน ใช้ปัญญาเรียนรู้จักใจ ใช้ความฉลาดรักษาใจไว้ แล้วเราก็จะเป็นคนฉลาดที่รู้จักฝึกใจ เมื่อฝึกบ่อยๆมันก็จะสามารถกำจัดทุกข์ได้ ความทุกข์เกิดขึ้นที่ใจนี่เอง มันทำให้ใจสับสน มืดมัว มันเกิดขึ้นที่นี่ มันก็ตายที่นี่

    ถ้ายึดมั่นเข้าเราก็ถูกกัด
    เรื่อง ของใจมันเป็นอย่างนี้ บางทีก็คิดดี บางทีก็คิดชั่ว ใจมันหลอกลวง เป็นมายา จงอย่าไว้ใจมัน แต่จงมองเข้าไปที่ใจ มองให้เห็นความเป็นอยู่อย่างนั้นของมัน ยอมรับมันทั้งนั้น ทั้งใจดีใจชั่ว เพราะมันเป็นของมันอย่างนั้น ถ้าเราไม่ไปยึดถือมัน มันก็เป็นของมันอยู่แค่นั้น แต่ถ้าเราไปยึดมันเข้า เราก็จะถูกมันกัดเอา แล้วเราก็เป็นทุกข์ ถ้าใจเราเป็นสัมมาทิฎฐิแล้วก็จะมีแต่ความสงบ จะเป็นสมาธิ จะมีความฉลาด ไม่ว่าจะนั่งหรือจะนอน ก็จะมีแต่ความสงบ ไม่ว่าจะไปไหน ทำอะไรก็จะมีแต่ความสงบ
    วันนี้ท่าน (ภิกษุชาวตะวันตก) ได้พาลูกศิษย์มาฟังธรรม ท่านอาจจะเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ผมได้พูดเรื่องการปฏิบัติเพื่อให้ท่านอาจจะเข้าใจได้ ง่าย ท่านจะคิดว่าถูกหรือไม่ก็ตาม ก็ขอให้ท่านลองนำไปพิจารณาดู ผมในฐานะอาจารย์องค์หนึ่ง ก็อยู่ในฐานะคล้ายๆกัน ผมเองก็อยากฟังธรรมเหมือนกัน เพราะไม่ว่าผมจะไปที่ไหน ก็ต้องไปแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟัง แต่ตัวเองไม่มีโอกาสฟังเลย คราวนี้ก็ดูท่านพอใจในการฟังธรรมอยู่ เวลาผ่านไปเร็ว เมื่อท่านนั่งฟังอย่างเงียบๆ เพราะท่านกำลังกระหายธรรมะ ท่านจึงต้องการฟัง
    เมื่อ ก่อนนี้ การแสดงธรรมก็เป็นความเพลิดเพลินอย่างหนึ่ง แต่ต่อมาความเพลิดเพลินก็ค่อยหายไป รู้สึกเหนื่อยและเบื่อ ก็กลับอยากเป็นผู้ฟังบ้าง เพราะเมื่อฟังธรรมจากครูอาจารย์นั้น มันเข้าใจง่ายและมีกำลังใจ แต่เมื่อเราแก่ขึ้น มีความหิวกระหายในธรรมะ รสชาติของมันก็ยิ่งเอร็ดอร่อยมากขึ้น
    การเป็นครูอาจารย์ของผู้อื่น นั้น จะต้องเป็นตัวอย่างให้แก่พระภิกษุอื่นๆ เป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ เป็นตัวอย่างแก่ทุกคน ฉะนั้นอย่าลืมตนเองแล้วอย่าคิดถึงตนเอง ถ้าความคิดอย่างนั้นเกิดขึ้น รีบกำจัดมันเสีย ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะเป็นผู้ที่รู้จักตนเอง

    ให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา
    วิธี ปฏิบัติธรรมมีมากมายเป็นล้านๆ วิธี พูดเรื่องการภาวนาไม่มีที่จบ สิ่งที่จะทำให้เกิดความสงสัยมีมากมายหลายอย่าง แต่ให้กวาดมันออกไปเรื่อยๆ แล้วจะไม่เหลือความสงสัย เมื่อเรามีความเข้าใจถูกต้องเช่นนี้ ไม่ว่าจะนั่งหรือจะเดิน ก็มีแต่ควาสงบ ความสบาย ไม่ว่าจะปฏิบัติภาวนาที่ไหน ให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อย่าถือว่าจะปฏิบัติภาวนาแต่เฉพาะขณะนั่งหรือเดินเท่ านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างทุกหนทุกแห่งเป็นการปฏิบัติได้ทั้งนั ้น
    ให้รู้สึกตัว ทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา ให้มีสติอยู่ ให้เห็นการเกิดดับของกายและใจ แต่อย่าให้มันมาทำใจให้วุ่นวาย ให้ปล่อยวางมันไป ความรักเกิดขึ้นก็ปล่อยมันไป มันมาจากไหนก็ให้มันกลับไปที่นั่น ความโลภเกิดขึ้นก็ปล่อยมันไป ตามมันไป ตามดูว่ามันอยู่ที่ไหน แล้วตามไปส่งมันให้ถึงที่ อย่าเก็บมันไว้สักอย่าง
    ฝึกใจได้ใจจักปราศจากกิเลส
    ถ้า ท่านปฏิบัติได้อย่างนี้ ท่านก็จะเหมือนกับบ้านว่าง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ นี่คือใจว่าง เป็นใจที่ว่างและอิสระจากกิเลส ความชั่วทั้งหลาย เราเรียกว่าใจว่าง แต่ไม่ใช่ว่างเหมือนว่าไม่มีอะไร มันว่างจากกิเลส แต่เต็มไปด้วยความฉลาด ด้วยปัญญา ฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไร ก็ทำด้วยปัญญา คิดด้วยปัญญา จะมีแต่ปัญญาเท่านั้น
    นี่เป็นคำสอนของ หลวงพ่อชา ที่ผมขอมอบให้ในวันนี้ ถ้าการฟังธรรมทำให้ใจท่านสงบ ก็ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องจดจำอะไร บางท่านอาจจะไม่เชื่อ ถ้าเราทำใจให้สงบ ฟังแล้วก็ไม่ให้ผ่านไป แต่นำพิจารณาอยู่เรื่อยๆอย่างนี้ เราก็เหมือนเครื่องบันทึกเสียง เมื่อเรา “เปิด” มัน มันก็อยู่ตรงนั้น อย่ากลัวว่าจะไม่มีอะไร เมื่อใดที่ท่านเปิดเครื่องบันทึกเสียงของท่าน ทุกอย่างก็อยู่ในนั้น
    ขอมอบธรรมะนี้ต่อนักเรียนไออาร์พีซีและ ต่อผู้อ่านที่รักในธรรมทุกคน บางท่านอาจจะมีความรู้ทางโลกมามากมาย แต่ก้หาความสุขใจไม่ได้ ลองเรียนความรู้ทางธรรมดู บางทีอาจทำให้ท่านเข้าใจชีวิตมากขึ้นก็ได้ ชีวิตที่เกิดมาปฎิบัติได้เท่านี้ก็ดีเพียงพอแล้ว
    ธรรมสวัสดี
    จาก ครู Dad
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <table class="contentpaneopen"><tbody><tr><td class="contentheading" width="100%">ข้อคิดจากถังน้ำสองใบ </td> <td class="buttonheading" align="right" width="100%"> PDF </td> </tr> </tbody></table> [​IMG]
    ข้อคิดจากถังน้ำสองใบ

    สวัสดีครับ...

    ครู Dad มีบทความที่ให้แง่คิดกับชีวิตมาฝาก เพราะการที่เราได้คิดอะรที่เป็นสิ่งที่ดี เราก็จะประพฤติปฎิบัติตนของเราไปในทางที่ดี เรื่องข้อคิดจากถังน้ำสองใบ จึงยังมีความเป็นอุดมคติสูง แต่อย่างไรก็ตามมันก็เป็นพิมพ์เขียวให้กับนักคิดรุ่นต่อๆไป ใครคิดได้ดังชายคนนั้นก็นับว่าน่ายินดี เพราะในสังคมที่เร่งรีบ และเห็นแก่ตัวเช่นนี้ เราจึงต้องอ่านบทความดีๆเพื่อชีวิตที่ดีของเราเองครับ




    ชายจีนคนหนึ่งแบกถังน้ำสองใบไว้บนบ่าเพื่อไปตักน้ำที่ริมลำธาร
    ถังน้ำใบหนึ่งมีรอยแตก ในขณะที่อีกใบหนึ่งไร้รอยตำหนิ
    และสามารถบรรจุน้ำกลับมาได้เต็มถัง...แต่ด้วยระยะทางอันยาวไกล
    จากลำธารกลับสู่บ้าน....จึงทำให้น้ำที่อยู่ในถังใบที่มีรอยแตกเหลืออยู่เพียงครึ่งเดียว

    เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ดำเนินมาเป็นเวลา 2 ปีเต็มที่คนตักน้ำสามารถตักน้ำ
    กลับมาบ้านได้หนึ่งถังครึ่ง....ซึ่งแน่นอนว่าถังน้ำใบที่ไม่มีตำหนิจะรู้สึกภาคภูมิใจ
    ในผลงานเป็นอย่างยิ่ง ...ขณะเดียวกันถังน้ำที่มีรอยแตกก็รู้สึก อับอายต่อความบกพร่องของตัวเอง
    มันรู้สึกโศกเศร้ากับการที่มันสามารถทำหน้าที่ได้เพียงครึ่งเดียวของจุดประสงค์ ที่มันถูกสร้างขึ้นมา

    หลังจากเวลา 2 ปี… ที่ถังน้ำที่มีรอยแตกมองว่าเป็นความล้มเหลวอันขมขื่น
    วันหนึ่งที่ข้างลำธาร มันได้พูดกับคนตักน้ำว่า "ข้ารู้สึกอับอายตัวเองเป็นเพราะ
    รอยแตกที่ด้านข้างของตัวข้าที่ทำให้น้ำที่อยู่ข้างในไหลออกมาตลอดเส้นทาง ที่กลับไปยังบ้านของท่าน"

    คนตักน้ำตอบว่า "เจ้าเคยสังเกตหรือไม่ว่ามีดอกไม้เบ่งบานอยู่ตลอดเส้นทางในด้านของเจ้า...
    แต่กลับไม่มีดอกไม้อยู่เลยในอีกด้านหนึ่งเพราะข้ารู้ว่าเจ้ามีรอยแตกอยู่....

    ข้าจึงได้หว่านเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ลงข้างทางเดินด้านของเจ้าและทุกวันที่เราเดินกลับ...
    เจ้าก็เป็นผู้รดน้ำให้กับเล็ดพันธุ์เหล่านั้น
    เป็นเวลา 2 ปี ที่ข้าสามารถที่จะเก็บดอกไม้สวย ๆ เหล่านั้นกลับมาแต่งโต๊ะกินข้าว
    ถ้าหากปราศจากเจ้าที่เป็นเจ้าแบบนี้แล้ว..เราก็คงไม่อาจได้รับความสวยงามแบบนี้ได้"

    คนเราแต่ละคนย่อมมีข้อบกพร่องที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง...
    แต่รอยตำหนิและข้อบกพร่องที่เราแต่ละคนมีนั้น
    อาจช่วยทำให้การอยู่ร่วมกันของเราน่าสนใจ และกลายเป็นบำเหน็จรางวัลของชีวิตได้....
    สิ่งที่ต้องทำก็เพียงแค่ยอมรับคนแต่ละคนในแบบที่เขาเป็น..
    และมองหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวของพวกเขาเหล่านั้นเท่านั้นเอง
    มองโลกหลาย ๆ ด้าน คนเราไม่ได้มีแต่ข้อเสียเท่านั้น


     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    [​IMG]

    พระกริ่ง8รอบญสส. มงคล"สมเด็จพระสังฆราช"

    สมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชครบ 20 ปี ในวันที่ 21 เมษายน 2552 และจะทรงเจริญพระชนมายุ 96 พรรษา (8 รอบ) ในวันที่ 3 ตุลาคม 2552 เป็นอุดมมงคลสูงสุด

    สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้ขอประทานอนุญาตสร้างวัตถุมงคล "พระกริ่ง 8 รอบ" จุดประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระ เกียรติแด่พระองค์ท่าน และเพื่อเป็นที่ระลึกในวโรกาสอันเป็นอุดมมงคลสูงสุดนั้น

    สมเด็จ พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานอนุญาตตามที่กราบทูลขอ และประทานโลหะอันเป็นชนวนที่ได้จากการสร้างวัตถุมงคลของวัดบวรนิเวศวิหาร เช่น ชนวนพระกริ่งไพรีพินาศ พระกริ่งคชวัตร เป็นต้น เพื่อผสมพระกริ่งที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้

    [​IMG]

    นอก จากนี้ ยังได้ผสมชนวนโลหะ ซึ่งได้จากแผ่นโลหะทอง นาก เงิน ที่จารอักขระโดยพระเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศจำนวน 108 องค์ ซึ่งรวบรวมไว้ในคราวงานฉลองพระชนมายุครบ 90 พรรษา ของสมเด็จพระสังฆราช แล้วหลอมรวมกัน ผสมหล่อพระกริ่งในครั้งนี้ ที่ใต้ฐานของพระกริ่งปิดด้วยแผ่นตราสัญลักษณ์งานฉลองพระชนมายุ 96 พรรษา (8 รอบ) พุทธลักษณะของพระกริ่งเป็นศิลปะสุโขทัย ซึ่งมีความหมายถึง รุ่งอรุณแห่งความสุข ศิลปะสุโขทัยนับได้ว่าเป็นสุดยอดแห่งความงดงามของพุทธศิลป์ และการออกแบบพระกริ่งในครั้งนี้จึงนับได้ว่าเป็นพระกริ่งแบบศิลปะไทยแท้
    สูตร ของการจัดสร้างพระกริ่ง ใช้สูตรของวัดบวรนิเวศวิหาร ที่สืบทอดมาแต่โบราณ ซึ่งผิวขององค์พระกริ่งจะกลับผิว ทำให้องค์พระกริ่งมีความงดงามยิ่งนัก พระกริ่ง 8 รอบ ญสส. จัดสร้างเพียง 3 เนื้อ ได้แก่ เนื้อทองคำ (น้ำหนัก 28 กรัม), เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองทิพย์

    พระกริ่ง 8 รอบ ฉลองพระชนมายุ 96 พรรษา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณา ยก ได้ประกอบพิธีเททองไปแล้ว เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2552 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และได้กำหนดพิธีพุทธาภิเษก ในวันที่ 20 มิถุนายน 2552 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม เป็นผู้แทนพระ องค์สมเด็จพระสังฆราช

    พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา 10 รูป ได้แก่ พระสาสนโสภณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, พระพรหมเมธี วัดเทพศิรินทราวาส, พระพรหมเวที วัดไตรมิตรวิทยาราม, พระพรหมเมธาจารย์ วัดบุรณศิริมาตยาราม, พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม, พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ, พระธรรมกิตติมุนี วัดเฉลิมพระเกียรติ จ.นนทบุรี, พระธรรมกิตติเมธี วัดสัมพันธวงศาราม, พระธรรมวรเมธี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และพระจันทนิภากร (ถวิล จันท สโร) วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ จ.เชียงราย สนใจสั่งจองบูชา สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช โทร.0-2281-2831-3<!--colorc-->
    <!--/colorc-->
    <!--sizeo:4--><!--/sizeo-->
    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->ข่าวสด
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    [​IMG]

    ในยุคกึ่งพุทธกาลหรือช่วงพ.ศ.2500หากกล่าวถึงวัดที่อยู่ปากน้ำ
    คนจำนวนมากจะนึกถึงวัดปากน้ำของหลวงพ่อสด
    แต่ก็จะมีคนจำนวนไม่น้อยกว่ากันนึกถึงปากน้ำสมุทปราการ
    หรือวัดอโศการามของท่านพ่อลี
    มีคนเคยบอกผมว่าถ้าท่านพ่อลีไม่สิ้นเร็ว(ท่านสิ้นตอนอายุ54ปีเมื่อพ.ศ.2504)
    แค่มีอายุถึง70ปี รับรองท่านดังไม่แพ้หลวงพ่อสดแน่
    เมื่อผมได้ฟังก็คล้อยตามทันทีเพราะเป็นที่รู้ในวงกรรมฐานมานานแล้ว
    ว่า ท่านพ่อลีมีฤทธิ์มากและบารมีมาก
    ทุกวันนี้สรีระท่านยังดึงดูดโภคทรัพย์มาที่วัดอยู่

    [​IMG]

    หลวงปู่ฟัก เคยบอก

    อยากรวยไหม
    ถ้าอยากรวยให้สวดคาถาท่านพ่อลี


    หากใครไปวัดท่าน(หลวงปู่ฟัก)ที่จันทบุรีก็จะคิดเหมือนผมว่า
    วัดนี้เจ้าอาวาสมีบารมีมาก

    หากใครไปกราบหลวงปู่ฟัก
    หลวงปู่มักให้ประคำมา1เส้นพร้อมกำชับให้ไปสวดคาถาท่านพ่อลี
    ผมเองเมื่อคราวติดขัดเรื่องเงินทองก็อาศัยสวดคาถาท่านพ่อลีนี้หละครับ
    จึงพอมีลู่ทางรอดตัวมาได้(หลายครั้ง)

    หลวงปู่เจี๊ยะเองก็มักจะเปรียบเทียบท่านพ่อลีเป็นทองคำเสมอ
    หรือแม้แต่หลวงตาบัวก็มักยกย่องอำนาจจิตของท่านพ่อลีและหลวงปู่ฝั้น
    ทุกวันนี้เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่ฝั้นที่สวยๆคงต้องมีเงินล้านถึงมีโอกาศครอบครอง
    ส่วนท่านพ่อลีพระส่วนใหญ่ยังไม่แพงแถมมีแตกกรุที่วัดอโศการามเสียด้วย
    ที่แพงจริงๆคงเป็นพระเนื้อช๊อกโกแลตที่สร้างยุคแรกๆที่วัดคลองกุ้ง
    ที่ีแพงจนเป็นแสน นั้นทำให้จะว่าพระท่านพ่อลีถูกก็ไม่ได้
    จริงๆพระทำเป็นล้าน(ช่วง25ศตวรรษ) จำนวนใกล้เคียงกับ25สตวรรษที่ทางรัฐบาลทำ
    แต่พระท่านพ่อหายากกว่าเยอะ แถมราคาก็ไม่ถูกกว่ากัน

    ผมเคยสังเกตุคนที่ขับรถหรูๆคันละหลายล้านที่ไปกราบหลวงปู่ฟักทุกคนใส่พระท่านพ่อลีครับ

    สำหรับคาถาท่านพ่อลีคือ

    <!--/sizeo-->อรหังพุทโธ อิติปิโสภควา นมามิหัง<!--sizec--><!--sizeo:4--><!--/sizec-->

    สวดทุกครั้งที่ระลึกได้รับรองดีแน่ครับ

    นำมาจาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...