ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    [​IMG]

    ส่องกล้องมองคำว่า"ทุกข์"
    [SIZE=-1]
    [/SIZE]
    "ความทุกข์ทั้งหลายที่เป็นความทุกข์ทางใจนี้ เป็นเพราะว่าเรามองดูปรากฏการณ์ในชีวิตด้วยความไม่ชัดเจน"

    "ยังไม่สนใจธรรมะ เพราะชีวิตยังไม่มีทุกข์"

    คนจำนวนมากคิดเช่นนี้ เพราะคำว่า "ทุกข์" นั้นฟังดูเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสในชีวิต ทั้งที่ความจริงแล้ว ความหมายของคำนี้ในธรรมะของพุทธศาสนามีความละเอียดอ่อนยิ่งนัก หากศึกษาจริงๆ แล้วจะรู้สึกทึ่งและอัศจรรย์ใจในอัจฉริยภาพของตัวผู้ค้นพบยิ่งนัก

    จะรู้สึกอย่างไรหากบอกว่าในทุกๆ จังหวะและท่วงทำนองของการดำเนินชีวิตมีทุกข์แฝงอยู่ทุกขณะ

    ไม่รู้จัก-อย่ารีบบอกว่าไม่มี

    อย่าเพิ่งเถียงถ้ายังไม่ได้คำอธิบายในเรื่องนี้ของ ดร.ระวี ภาวิไล ที่ส่องกล้องมองดูคำว่าทุกข์ได้ละเอียดไม่แพ้การส่องกล้องดูดาวบนท้องฟ้าเลย

    "คำว่าปัญหากับความทุกข์ในทางพระพุทธศาสนาใช้แทนกันได้ คำว่าปัญหาเป็นคำสมัยใหม่ เราจะพิจารณาได้ว่าสิ่งที่เราเรียกว่าปัญหานี้คือ ความทุกข์นั่นเอง แต่เวลาพูดความทุกข์จะดูเหมือนหนัก พูดคำว่าปัญหาเป็นเรื่องทันสมัย แล้วเราจะพบว่าสิ่งที่เราต้องแก้ก็คือ ความไม่สะดวกสบายที่ทนได้ยากนั่นเอง

    "ตามที่บอกว่าชีวิตเป็นความทุกข์เป็นปัญหานั้น ไม่ใช่ว่าการกล่าวเช่นนั้นเป็นการมองโลกในแง่ร้าย แต่เป็นการกล่าวถึงสภาวะที่เป็นจริงในชีวิตของเรา"

    ไม่เชื่อลองฟังต่อไปได้

    "นับตั้งแต่เรารู้สึกตัวลืมตาขึ้นวันหนึ่งๆ จะพบปัญหาที่ต้องแก้ถัดกันไป แก้ปัญหานั้นปัญหาใหม่ก็เข้ามาเรื่อย ถ้าจะสังเกตตั้งแต่เช้า ปัญหาทำอย่างไรเราจะมาถึงที่ทำงานได้โดยเรียบร้อย แม้เมื่อถึงที่ทำงานเราจะพบปัญหารออยู่บนโต๊ะ จะต้องแก้อันนั้นอันนี้เรื่อยไป ชีวิตก็จะเป็นอย่างนี้

    "ปัญหาหรือความทุกข์ทางกายนี้เป็นส่วนหนึ่ง แต่ส่งที่น่าจะสังเกตได้ก็คือว่า ส่วนใจมันพลอยไปกับกายมากน้อยแค่ไหน ทั้งที่ส่วนใจก็มีความทุกข์ทางใจอยู่แล้ว คือความเศร้าโศก ความคับแค้นใจ ซึ่งส่วนของจิตใจนี้อาจจะเกิดขึ้นเพราะความทุกข์ทางกายทำให้เกิด หรืออาจเกิดแม้ความทุกข์ทางกายไม่มีก็ได้

    "นับเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนในสาเหตุ และสาเหตุเหล่านี้ทางพฤติกรรมสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดขึ้นมาอย่างไร แล้วก็รู้หนทางที่จะบรรเทามันลงไป"

    ในบรรดาความทุกข์ที่แบ่งออกเป็นทางกายและทางใจนั้น อ.ระวีบอกว่า

    "ความทุกข์ทางใจเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น แล้วเราจะพบว่ามนุษย์ได้สร้างกลไกขึ้นทั้งในตัวเองและสังคม ทำให้เกิดความกดดันและความทุกข์ทางใจขึ้น โดยคนส่วนใหญ่อาจจะมองข้ามไป หรืออาจจะมองไม่เห็น มันก็กลายเป็นปัญหาหรือเป็นทุกข์ ความทุกข์ทางใจเหล่านี้เป็นสิ่งที่การอบรมและการฝึกฝนใจสามารถทำให้มันระงับ ไปได้"

    ความทุกข์ทางใจเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น-เป็นประเด็นที่ควรให้ความสนใจเป็นอย่าง มาก เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นวันหนึ่งๆ คนเราทุกข์ทางใจไปโดยสิ้นเปลืองไม่ใช่น้อย

    บอกแค่นี้คงไม่ทำให้คิ้วที่ขมวดอยู่คลายออกไปได้ ต้องรับรู้การแจกแจงปฏิบัติการของสิ่งที่เรียกว่าทุกข์เสียก่อน

    ทุกข์กาย-ทุกข์ใจแน่

    กายไม่ทุกข์-ใจทุกข์ไปล่วงหน้า

    "ตัวอย่างความพัวพันระหว่างทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจที่อาจจะได้พบกันใน ชีวิตประจำวัน สมมุติว่าเราเป็นเด็กไม่สบายแล้วไปหาหมอ หมอบอกว่าเราเป็นไข้หวัด ต้องฉีดยา ถ้าเด็กคนนั้นเคยฉีดยามาหนหนึ่งแล้ว พอบอกต้องฉีดยาอีกมันเกิดทุกข์ขึ้นมาทันที ความทุกข์ที่ได้รับฟังว่าต้องเอาเข็มมาแทงลงไปในเนื้อ ในขณะนั้นทุกข์ทางกายยังไม่ได้เกิด แต่ทุกข์ทางใจเกิดขึ้นแล้ว อาจจะเริ่มมีอาการเป็นทุกข์ เริ่มน้ำตาคลอ พอหมอเอาเข็มฉีดยาดูดยาออกมาจากหลอดก็เริ่มจะมีความทุกข์ทางกายบ้าง แต่ไม่เจ็บ น้ำตาไหลได้

    "เราเป็นผู้ใหญ่รู้สึกแต่คงไม่ถึงกับน้ำตาไหล เห็นหมอทำอย่างนั้นเราก็เริ่มรู้สึก หมอเอาเข็มฉีดยามาบีบยาให้ยามันไล่ แล้วก็เอามาจรดลง แล้วลองนึกทบทวนดูว่าเรารู้สึกอย่างไร จะรู้สึกไม่สบายใจ หมอเริ่มกดเข็ม บางครั้งเราก็มอง บางครั้งเราก็ไม่อยากมอง ลองมองดูและลองพิจารณาดูตอนที่เข็มมันจรด ความทุกข์ทางกายยังไม่เกิดขึ้น แต่เรามีความไม่สบายใจ พอหมอกดเข็มเข้าไปในเนื้อเรา นึกว่าเราเจ็บ แต่ที่จริงถ้าเราเพ่งใจลงไปในขณะเข็มกดลงไปในเนื้อ จะพบว่ามันยังไม่เจ็บ ความทุกข์ทางกายยังไม่มี แต่เมื่อเข็มมันลงไปลึกพอประมาณแล้ว และเมื่อหมอเริ่มกดยาเข้าไป ความเจ็บมันจะมี

    "ถ้ามีสติอยู่กับปัจจุบัน เจ็บที่แล้วไปอย่าไปนึกถึงมันอีก เจ็บที่กำลังเจ็บดูมัน เจ็บที่ยังไม่มา อย่าเพิ่งไปเจ็บก่อน เราจะพบว่าความเจ็บได้เป็นทุกข์ก้อนใหญ่ที่เราจะต้องแบกไว้ แต่ความเจ็บนั้นมันเป็นชั่วขณะๆ พอหมอถอนเข็มออกแล้วขยี้ตอนนั้นเราจะเจ็บมากชั่วขณะ แล้วก็จะชา แต่ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นจะรู้สึกว่าความเจ็บจริงๆ กับความที่ใจเราเป็นทุกข์มันปนเปกันไปหมด ไม่รู้ส่วนไหนเป็นทุกข์ทางกาย ส่วนไหนเป็นทุกข์ทางใจ

    "ถ้าเป็นเด็ก เด็กจะร้องก่อนเข็มจะถูก เมื่อถูกเข็มแทงก็ร้องลั่น พอหมอถอนเข็มออกก็ยังร้องอยู่ เพราะโกรธหมอ นี่คือตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นกลไกของสิ่งที่เรียกว่าความทุกข์"

    "ความทุกข์ทั้งหลายที่เป็นความทุกข์ทางใจนี้ เป็นเพราะว่าเรามองดูปรากฏการณ์ในชีวิตด้วยความไม่ชัดเจน ทำอย่างไรจะเห็นสภาวะชัดเจน ทำอย่างไรจะรู้ทัน"

    โจทย์นี้หาคำตอบได้ไม่ยาก!


    **********
    [SIZE=-1]คอลัมน์ ร้อยเหลี่ยมพันมุม

    โดย วีณา โดมพนานคร
    [/SIZE]
    [SIZE=-1]มติชนรายวัน วันอาทิตย์ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10487[/SIZE]
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <table style="width: 507px; height: 1561px;" class="contentpaneopen"><tbody><tr><td style="vertical-align: top;">
    </td></tr><tr><td align="center"> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" valign="top">

    - เทคนิคมองโลกในแง่ดี -

    คนไทยสมัยนี้เครียดกันง่ายจัง วันๆ หนึ่งต้องพบกับความทุกข์ใจ ไม่สบายใจ กังวลใจ กันหลายๆ ครั้ง ไม่ เหมือนกับคนไทยสมัยโบราณที่กว่าจะเกิดความเครียดขึ้นมาได้ โน่น..ต้องมีเสือบุกเข้ามากินวัว โจรบุกเข้ามาปล้น ถึงจะเกิดความเครียดกันทีหนึ่ง เรียกว่าวันๆ หนึ่งแทบจะไม่รู้จักความเครียดกันเลย ใบหน้าคนไทยสมัยก่อนจึงมีแต่รอยยิ้ม พวกฝรั่งซึ่งเป็นคนมาจากวัฒนธรรมอื่นมาเห็นเข้าพากันแปลกใจว่าทำไมคนไทย อารมณ์ดีกันจัง ก็เลยตั้งชื่อว่าให้ว่า "สยามเมืองยิ้ม"
    นอก จากนี้คนไทยยังมีวิธีคิดที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ให้รู้จักคิดปล่อยวาง คิดให้สบายใจ ในยามที่ต้องพบกับปัญหาหนักๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือร่องรอยวิธีคิดเหล่านี้อยู่ในนิสัยคนไทยทั่วๆ ไปบ้าง แต่บางคนก็ลืมไปแล้ว หรือคนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จัก วันนี้เครือข่ายฯจึงขอนำวิธีคิดเหล่านี้นำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความเป็นพุทธ และ ให้มีความทันสมัย เหมาะกับคนยุคปัจจุบันมากขึ้น นำเสนอเป็นเทคนิควิธีคิดมองโลกในแง่ดีสำหรับคนยุคไอที ดังต่อไปนี้

    ยามพบอุปสรรคในการทำงาน

    ไม่ เป็นไร..เอาใหม่ : คำพูดนี้สำคัญมากครับ เอาไว้ใช้อุทาน เวลาท่านต้องประสบกับปัญหาความล้มเหลวในการทำงานหรือ เจอข้อผิดพลาดอะไรขึ้นมาอย่างไม่คาดฝัน หรือ เวลาเพื่อนร่วมงานทำงานผิดพลาด คำพูดนี้จะเป็นเครื่องปลอบใจและให้กำลังใจได้เป็นอย่างดี คำว่า "ไม่เป็นไร" เป็นคำที่ทำให้จิตใจปล่อยวางจากปัญหา ไม่ถูกบีบคั้นจากปัญหา คำว่า "เอาใหม่" เป็น คำพูดที่ปลุกคุณธรรมข้อ "วิริยะ" แปลว่า เพียรสู้งาน ปลุกใจให้เราคิดสู้ปัญหา ไม่ท้อถอย

    ยามพบกับเหตุการณ์ร้ายที่ไม่พึงปรารถนา

    โชคดีนะเนี่ย : ไม่ว่าคุณเจอะเจอกับความทุกข์กายทุกข์ใจอะไรในชีวิตประจำวัน ให้คิดเสียว่าสิ่งเลวร้ายที่เราต้องประสบทุกๆ ครั้ง มันไม่ได้ร้ายกาจจนถึงที่สุดแม้สักอย่างเดียว มันเป็นความ"โชคดี"ของเราจริงๆ ที่ไม่เจอหนักกว่านี้
    ยกตัวอย่าง
    เดินหัวชนเสาหัวปูด อุทานว่า "อูย ! ..โชคดีนะเรา หัวยังไม่แตก"
    โดนตัดเงินเดือน พูดกับตัวเองว่า "เขาไม่ไล่เราออก ก็บุญแล้ว ถือว่ายังโชคดีนะเนี่ย"
    ทำกาแฟร้อนๆ หกรดขากางเกง พูดกับตัวเองว่า "เหอ..ๆ โชคดี ที่มันไม่หกรดเป้ากางเกงเรา"


    ยามมีปัญหากับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

    เขา ยังดีนะ : เวลาคุณมีปัญหากับเพื่อนมนุษย์ เช่นเพื่อนร่วมงาน คนข้างบ้าน ฯลฯ เช่น บางคนอาจจะทำงานไม่ถูกใจ บางคนอาจจะทำอะไรผิดใจคุณ หรือ บางคนอาจจะมีเจตนาไม่ดีกับคุณ ให้คิดเช่นเดียวกันว่าสิ่งที่เขาทำนั้นมันก็ยัง ไม่ได้ร้ายกาจถึงที่สุดกับคุณแต่อย่างใด มันยังมีแง่ดีๆ ให้เราคิดถึงเขาอยู่เสมอ
    ยกตัวอย่าง
    คนข้างบ้านนินทาเรา เราก็บอกกับตัวเองว่า โอ้... นี่เขายังดีนะที่ไม่ถึงกับมาดักทำร้ายเรา
    มีคนมาขโมยปากกาที่โต๊ะทำงานเราไป เราก็คิดว่า เจ้าขโมยนี่ยังดี ที่ไม่ยกเครื่องคอมพ์เราไป
    สาวหักอก เราก็คิดว่า เธอยังดีนะเนี่ย ที่ไม่ควงคู่แข่งมาเย้ยเราให้เจ็บใจหนักไปกว่านี้
    เพื่อนร่วมงานเอาเปรียบ เราก็คิดว่า เขาก็ยังดีที่ไม่ใส่ร้ายป้ายสีเราข้างหลัง


    เทคนิคคิดเมื่อเจอปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

    เอ๊ะ...! ตรงนี้เราได้อะไร : เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้จิตตั้งแง่คิดเพื่อมุ่งหาความรู้ทันทีที่ได้พบกับ ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น นาย ก. เดินตกท่อ ขาแข้งถลอก นาย ก. ทั้งๆ ที่เจ็บปวด กลับตั้งคำถามขึ้นมาในใจว่า เราเดินตกท่อตรงนี้ เราได้อะไร ! เท่านั้นเองคำตอบต่างๆ ก็พรั่งพรูออกมามากมาย อาทิเช่น
    . เราได้ดูแลรักษาตัวเองอีกแล้วดีจัง ไม่ได้ดูแลตัวเองมานาน
    . เราได้บทเรียนซาบซึ้งกับคำว่า "อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง"
    (เคยเดินมาดีๆ ทุกวัน วันนี้ใครกันดันมาเปิดฝาท่อ)

    . มันทำให้เราได้ไอเดียเกี่ยวการทาแถบสีสะท้อนแสงตรงขอบท่อ เพื่อคนจะได้สังเกตเห็นได้แต่ไกลๆ
    วิธี คิดเช่นนี้จะทำให้เรารู้สึกเลยว่า ชีวิตนี้มีแต่ได้ ไม่มีเสีย คือ แม้ว่าเราจะพบกับสิ่งที่ไม่น่าพึงปรารถนาก็ตาม แต่ถ้าหากว่าเรารู้จักตั้งคำถามเช่นนี้เป็นนิสัย เราก็จะได้สิ่งที่ดีๆ มากมายจนบางครั้งเราอาจจะต้องนึกขอบคุณที่ได้เจอกับปัญหาบ่อยๆ เลยทีเดียว
    ยัง มีวิธีคิดมองโลกในแง่ดีอีกมากมายหลายวิธี ซึ่งเครือข่ายชาวพุทธกำลังค้นคว้าหาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เพื่อประยุกต์เป็นวิธีคิดนำมาเสนอท่านโอกาสต่อไป อย่าลืมติดตามตอนที่ ๒ เร็วๆ นี้นะครับ สวัสดี

    .......................................................
    :: �ҹ����ѡ� :: :: ��ҹ - ෤�Ԥ�ͧ�š���� (�͹��� �)
    </td></tr></tbody></table>
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    วันนี้แนะนำพระเครื่องของวัดหนังรุ่นนึง ที่คุณอำพล เจน เคยเขียนในหนังสือ "ศักดิ์สิทธิ์" นานมาแล้ว โดยกล่าวว่า พอหลวงปู่โต๊ะปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นนี้เสร็จ ถึงกับบอกให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดหาเก็บไว้กับตัว ด้วยอำมตะวาจาว่า "วัตถุมงคลรุ่นนี้ เจ้าของเดิมเขาลงมาทำให้" เจ้าของเดิมคือใคร? ก็คงหนีไม่พ้นท่านในเหรียญนี้นั่นเอง คราวนี้เลยแนะนำของตกค้างให้บูชากันครับ ไปเหอะ ไปช่วยท่านทำกุศลกัน แล้วรับของดีไปด้วยครับ


    วัตถุมงคล ที่วัดหนังยังมีให้บูชา ที่ "ศาลาบูชาวัตถุมงคล" ของวัด น่ะครับ

    วัตถุมงคลสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2515 และ ปีพ.ศ.2539 ครับ


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    <table class="ipbtable" cellspacing="0"><tbody><tr align="left"><td class="row2" valign="middle" width="99%">
    </td> </tr> <tr> <td class="post1" align="left" valign="top">
    </td> <td class="post1" id="post-main-7019" align="left" valign="top" width="100%"> <!-- THE POST 7019 --> [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    </td></tr></tbody></table>
    นำมาจาก

    �ǹ��ѧ�ͷ���
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2009
  4. jirautes

    jirautes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +575
    สวัสดีครับพี่โสระผมขอแจ้งที่อยู่ครับ
    นายจิรายุส สุดใจ 159/2 ซอย11 ถ.สุรนารายณ์ ต.ในเมือง
    อ.เมือง จ.นครราชสีมา (30000)
     
  5. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    ท่านใดได้รับpmที่ผมส่งไปขอที่อยู่เพื่อจัดส่งพระปิยบารมี กรุณาแจ้งกลับมาก่อนสิ้นสัปดาห์หน้าครับ หลังจากนั้นถือว่าสละสิทธิ์ โดยจะรวบรวมจัดส่งทั้งพระและซีดีประวัติพระปิยบารมีทั้งหมดพร้อมกันให้ได้ก่อนสิ้นเดือนนี้ โดยจะจัดส่งให้ฟรีไม่เสียค่าส่งครับ

    โมทนาครับ
     
  6. chatmongkon

    chatmongkon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +839
    วันนี้ (16 พค. 2552) เวลาประมาณ 14.00 น.
    ฉัตรมงคล หวายสุด - วิริยา วชิรานุวัฒน์ และครอบครัว
    ขอร่วมบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ
    จำนวน 1,000 บาท โดยการโอนผ่าน ATM ครับ

    อนุโมทนากับทุกๆท่านด้วยนะครับ
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    [​IMG]


    หากต้องการภาพขนาดใหญ่ เพื่อทำ Wallpaper
    Download Wallpaper Link...

    (กดปุ่มเมาส์ด้านขวา เลือก Save Target As)
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    [​IMG]


    หากต้องการภาพขนาดใหญ่ เพื่อทำ Wallpaper
    Download Wallpaper Link...

    (กดปุ่มเมาส์ด้านขวา เลือก Save Target As)
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    [​IMG]


    หากต้องการภาพขนาดใหญ่ เพื่อทำ Wallpaper
    Download Wallpaper Link...

    (กดปุ่มเมาส์ด้านขวา เลือก Save Target As)
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    [​IMG]

    อ นุ โ ม ท น า
    ท่านพุทธทาสภิกขุ
    สวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล) จ.สุราษฎร์ธานี

    คนเราในทุกวันนี้
    แม้ว่าจะทำความดีความงามอะไร
    เพื่อเป็นการเพิ่มพูนหรือไถ่ถอนอะไร
    แก่สิ่งที่ได้ทำไว้แต่กาลก่อนก็ตาม

    ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนาอยู่นั่นเอง
    และบางทีอาจะเป็นที่น่าอนุโมทนาเพิ่มขึ้นเป็น ๒ เท่าก็ยังได้


    ในเมื่อการทำเช่นนั้น
    ได้กระทำไปด้วยความไม่ประมาทแท้จริง
    แล้วมิหนำผลที่เกิดจากการกระทำนั้นๆ
    ยังแผ่ไพศาลไปเป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์จำนวนมากมายอีกด้วย


    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาเป็นพิเศษในกรณีนี้
    เพราะเหตุดังกล่าวนั้นนั่นเอง


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    (คัดลอกบางตอนมาจาก คำนำ เรื่อง “พุทธศาสนาคืออะไร
    : มารู้จักพระพุทธศาสนาให้ยิ่งกว่าที่แล้วมา”

    โดย พุทธทาสภิกขุ; ธรรมสภา จัดพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๕๒)
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ชื่อนี้ไม่คุ้นเลยจริงๆ มาถึงยิงโป้งเดียวเลย ยังงี้เฮียปอเจอคู่แข่ง พวกศรัทธาแข็งอย่างนี้ จับสอนกสิณซะให้เข็ด ไม่เห็นนิมิตติดตาไม่เลิกนั่ง ขอบคุณด้วยครับ

    งั้นมาลองฝึกกสิณภาพกัน (นำมาจากเวบพลังจิตนี่ล่ะ)
    สามท่อนหมุนไปมาค่ะ ได้ไง?


    [​IMG]

    วิธีแก้ก็คือ ทำจิตให้นิ่งสบายๆ ใสปิ๊งพอสงบแล้วมันจะหยุดหมุนเอง ลองกันทั้ง 2 คนน๊ะ...
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    [​IMG]

    หลวงพ่อ เพ่งกสิณ ณ ลุมพินีวัน ประเทศอินเดีย


    พระดาบส พรตเคร่ง เพ่งกสิณ
    ยินดีถิ่น พฤกพนา อยู่อาศัย
    บำเพ็ญเพียร อบรมบ่ม จิตใจ
    อยู่ห่างไกล นิวรณ์ห้า อุปาทาน

    ปฏิจจ สมุปบาท ก็ขาดช่วง
    จักได้ดวง ญาณปัญญา อันกล้าหาญ
    อวิชชา ราคะ ย่อมแหลกลาญ
    จักพบพาน ถึงวิโมกข์ คลายโศกตรม

    เพื่อนบัณฑิต คิดตรอง ส่องทางมัคค
    ผลก็จัก ตั้งอยู่ ในอาศรม
    ใครทำได้ ละวาง ทางอารมณ์
    เราขอชม ผู้นั้น บัณฑิตจริง ฯลฯ
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    พรุ่งนี้วันอาทิตย์หากอากาศดีๆ อย่าลืมตื่นเช้าๆ มาใส่บาตรกันเน้อ...หากคิดจะทำบุญทำกุศลให้แก่สงฆ์อาพาธกับ รพ.ที่มีหน่วยงานดูแลสงฆ์อาพาธ ก็ฝากผ่านทุนนิธิฯ นี้ด้วยก็แล้วกัน ขอฝากด้วย


    [​IMG]
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    [​IMG]


    หากต้องการภาพขนาดใหญ่ เพื่อทำ Wallpaper
    Download Wallpaper Link...

    (กดปุ่มเมาส์ด้านขวา เลือก Save Target As)
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    โฮ่ง ๆ ๆ ของหลวงพ่อชา


    [​IMG]


    อาตมา เคยเห็นหมาตัวหนึ่ง เอาข้าวให้มันกิน มันกินแล้วกินไม่หมด มันก็นอนเฝ้าอยู่ตรงนั้น อิ่มจนกินไม่ได้แล้ว ก็ยังนอนเฝ้าอยู่ตรงนั้นแหละ นอนซึม ประเดี๋ยวก็ชำเลืองตาดูอาหารที่เหลือ ถ้าหมาตัวอื่นจะมากินไม่ว่าตัวเล็กตัวใหญ่ก็ขู่ โอ้!...ไก่จะมากินก็โฮ่ง ๆ ๆ ท้องจะแตกอยู่แล้ว จะให้เขากินก็ไม่ได้ หวงไว้

    มาดูคนเหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักธัมมะธัมโม ก็ไม่รู้จักผู้น้อยผู้ใหญ่ ถูกกิเลสคือ โลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงำจิตใจ แม้จะมีสมบัติมากมายก็หวงไว้ ไม่รู้จักเฉลี่ยเจือจาน แม้แต่จะให้ทานแก่เด็กยากจนหรือคนชราที่ไม่มีจะกินก็ยาก อาตมามาคิดดูว่า มันเหมือนสัตว์จริงหนอ คนพวกนี้ไม่มีคุณสมบัติของมนุษย์เลย พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า มนุษย์เดรัจฉาโน มนุษย์เหมือนสัตว์เดรัจฉาน เป็นอย่างนั้น เพราะขาดความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา


    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=22250
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ปริศนาธรรมของหลวงปู่ขาว

    [​IMG]
    หลวงปู่จันทา ถาวโร


    ปริศนาธรรมหลวงปู่ขาว อนาลโย
    แก้โดยหลวงปู่จันทา ถาวโร


    ผม (หลวงปู่จันทา ถาวโร) อยู่กับครูบาอาจารย์ คือ หลวงปู่ขาว อนาลโย

    ๑. ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น ใฝ่เย็นจะเข็ญร้อน ภายหลังจะดิ้นตาย
    ท่านสอนบ่อยนะ นั่นแหละก็พิจารณาปัญหานี้ว่า

    - ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น โอ๋ …หมายความว่า ให้รีบประพฤติปฏิบัติ ทำคุณงามความดี อดนอนผ่อนอาหาร เผากิเลสให้เร่าร้อน ทั้งวันคืน ไม่หวั่นไหวต่อร้อนหนาวและหิวกระหาย ทีนี้เมื่อจิตสงบลงไปได้ขณิกะ ก็ดี อุปจาระก็ดีนะ หรือเจ็บไข้ได้ป่วยอะไรก็ดี ก็นอนเย็นสบาย หิวกระหายก็ไม่มีก็นอนเย็นสบายดี

    นี่แหละ จะนอนเย็น เมื่อความตายมาถึงก็นอนเย็น เย็นใจ แม้กามันจะร้อนก็เรื่องของกาย แต่ใจนั้นมันเย็น ใจเย็นอยู่กับพุทโธ ธัมโม สังโฆ อยู่กับคุณงามความดี ที่ได้ทำไว้นั่นแหละ จึงเรียกว่า จิตเต อะสังกิลิฎเฐ สุคะติ ปาฎิกังขา เมื่อจิตฝึกฝนอบรมได้ดีแล้ว สุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้า โดยไม่ต้องสงสัย

    - ใฝ่เย็นจะเข็ญร้อน ภายหลังจะดิ้นตาย เป็นผู้ประมาทอยู่นะ ประมาทไม่เร่งทำความเพียรนั่นแหละ ผลัดวันปันเวลาอยู่เสมอ ฉะนั้น เมื่อไฟร้อนมาถึงภายหลังจะดิ้นตายคือว่า ความเจ็บไข้ได้ป่วยมาถึงจะดิ้นตาย หรือเหตุเภทร้ายเกิดขึ้นเผชิญหน้า มีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นก็จะดิ้นตาย ไม่มีสติปัญญาแก้ตนออกจากของชั่วช้าลามกได้ นั่นแหละจะดิ้นตาย ฟังธรรมะบทบาทนี้แล้วก็พอใจ ตั้งใจทำความเพียรอยู่เป็นนิจ นี่เป็นธรรมที่หลวงปู่ขาว ท่านสอนอยู่เป็นนิจ

    [​IMG]
    รูปหล่อหลวงปู่จันทา ถาวโร


    ๒. รีบพายเรือ ตะวันจะสาย ตลาดจะวาย สายบัวจะเน่า
    รีบ ภายเรือแม่ รีบพายเรือพ่อ ตะวันจะสาย ตลาดจะวาย สายบัวจะเน่า รีบพายเรือ ท่านพูดเพียงแค่นั้น ท่านก็ไม่แปลให้ฟัง ทีนี้ ก็มาทำความเพียร เมื่อจิตรวมลงไปนั้น ถึงอุปจารธรรมแล้ว ตั้งมั่น ก็กำหนดถามผู้รู้คือใจ นั่นแหละ รีบพายเรือ ได้แก่อะไร, ตะวันจะสาย ได้แก่อะไร, ตลาดจะวาย สายบัวจะเน่า ได้แก่อะไร

    พระธรรมพูดขึ้นที่หัวใจว่า รีบพายเรือ คือ รีบเดินจงกรม เดินภาวนา ยืนภาวนา นั่งภาวนา อดนอนผ่อนอาหารพิจารณาธาตุขันธ์ น้อมลงสู่ไตรลักษณ์เห็นแจ้งประจักษ์ทุกเมื่อ จิตจะรวมลงสู่ภวังคภพอันแน่นแฟ้นแล้วเห็นของจริง อะไรบ้าง อยู่ในตลาดนี้

    ร่าง กายนี้ เปรียบเหมือนตลาดนั่นแหละ มีทุกอย่างทุกประการ รีบขายของ รีบรื้อถอน ของออกจากใจ คือกิเลส เมื่อเก็บเอาได้แล้วนั่นแหละ เป็นผู้ชายของขาด ถึงไม่หมดก็แปลว่าขาดนั่นแหละ รีบพายเรือ ตะวันจะสาย คือมันจะแก่ นั่นแหละ รีบทำคุณงามความดี ร่างกายนี้มันจะแก่

    ตลาด จะวาย สายบัวจะเน่า ก็คือ ตาย ร่างกายเปรียบเสมือนสายบัว วายคือตาย สายบัวมันก็เน่า เปื่อยเน่าเท่านั้น เมื่อถึงสภาพเปื่อยเน่า แล้วก็ไม่มีอะไรเป็นของๆ เราแท้

    นี่แหละปัญหาธรรมของจริง ที่นักปราชญ์ท่านสอน คือ หลวงปู่ขาวนั่นแหละ ผมจำได้แล้วก็เร่งทำความดีอย่างนั้นไม่ลดละ ก็สบายนั่นแหละ

    [​IMG]
    หลวงปู่ขาว อนาลโย


    ๓. บ้านใกล้ครั่ง ย้อมครั่งไม่แดง นอนตะแคง ผิงแดดไม่อุ่น สวดจุ้มกุ้มมืองุ่มไม่ถึง
    นี่ท่านก็พูดบ่อย

    “แปลว่าอะไรหลวงปู่ ?”

    “ไปภาวนาแปลเอา แปลให้รู้แล้วมันขี้เกียจขี้คร้าน ทำความเพียร มันไม่สิ้นสงสัย”

    ผม (หลวงปู่จันทา) ก็เร่งความเพียรอย่างนั้น นั่นแหละอดนอนผ่อนอาหาร จิตรวมสู่ขณิกสมาธิได้ เย็นกาย เย็นจิต จิตลหุตา จิตเบา กายลหุตา กายเบา นั่นแหละ อันนี้เป็นผลรายได้จากการเจริญความเพียร

    โอ๋...การเจริญธรรมผู้ประกอบให้ทุกข์เกิดขึ้น นี่จะเป็นผู้เห็นธรรมได้ ผู้ใดทำความเพียร ติดสุข ไม่เห็นธรรมนะ

    ผู้ ใดทำความเพียร เอาทุกข์เป็นอารมณ์ของสติ เป็นอารมณ์ของใจ เผากิเลสให้ใจเร่าร้อน อย่างนั้น จะเห็นความเป็นไปในธรรมทั้งหลายนั้น ก็เลยกำหนดถามผู้รู้คือใจนี่แหละ

    บ้านใกล้ครั่ง ย้อมครั่งไม่แดง ได้แก่อะไร ?

    ได้แก่ เราเป็นชาวพุทธ ถือศาสนาพุทธนั่นแหละ แต่ไม่ประพฤติปฏิบัติตามพุทธ ถือเฉยๆ แต่ไม่ยอมประพฤติปฏิบัติตาม ก็เลยไม่รู้ธรรมเห็นธรรม ไม่เป็นไป จิตก็ไม่ได้บรรลุธรรม ไม่ได้ดื่มรสของความสงบ พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามีผล พระอนาคามีผล พระอรหันต์ ไม่มี ไม่เกิดขึ้น นั่นแหละ มีแต่กิเลส เผาใจให้เร่าร้อน อันนี้เรียกว่า ย้อมครั่งไม่แดง

    นอน ตะแคง ผิงแดดไม่อุ่น นี่ได้แก่ ผู้ขี้เกียจขี้คร้าน สะสม คุณงามความดีใส่ตนไว้ ไม่เจริญธรรม เมื่อความเจ็บไข้ได้ป่วยมาถึง ความตายมาถึงแล้ว หาความสุขอะไรไม่มี มีแต่ความเร่าร้อนเกิดขึ้น เผากายเผาจิตให้เร่าร้อนทังวันคืน นั่นแหละ ได้ชื่อว่านอนตะแคงผิงแดดไม่อุ่น จะไปนอนผิงแดด มันก็ไม่อุ่น มีข้าวของเงินทองมากมาย ก่ายกองจุเมฆ มันก็ไม่มาช่วยเหลือให้อบอุ่นได้ มีแต่เร่าร้อนกระวนกระวาย หิวกระหายอย่างนั้น

    สวดจุ้มกุ้ม มืองุ่มไม่ถึง ได้แก่ ลาภยศสรรเสริญสุข ฝ่ายโลก เขาได้เป็นนายร้อย นายพัน นายพล ข้าหลวง นายอำเภอ ตลอดจนนายกรัฐมนตรี ผู้นำของชาติ ประมุขของชาติ นั่นแหละเขาได้กัน เราก็ไม่ได้ เพราะบุญน้อยวาสนาน้อย พลอยรำคาญ เล่าเรียนแล้วก็ไม่ได้

    ฝ่ายทางธรรม เขาได้เป็นเจ้าฟ้าเจ้าคุณตลอดจนสังฆราช ประมุขของศาสนา อยากได้แล้วก็ไม่ได้ ทีนี้ทางฝ่ายธรรมเข้าไปอีก พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามีผล พระอนาคามีผล พระอรหัตตผล ก็ไม่ได้ไม่ถึง นั่นเพราะเหตุใด ? เพราะความขี้เกียจขี้คร้าน ไม่สะสมบุญกุศลใส่ตนไว้ ไม่รีบเร่งบำเพ็ญอินทรีย์ธรรมให้แก่ ไม่บำเพ็ญบารมีธรรมให้เกิดมีขึ้นในตน เป็นผู้ติดสุขลืมตน ประมาทท่องเที่ยวเกิดดับภพน้อยภพใหญ่ โอ๊ย…เขาผู้หมั่นขยันนั้น เขาได้ กันสนั่นหวั่นไหว เราก็ไม่ได้ เพราะเราเป็นคนขี้เกียจขี้คร้าน ขี้เซาเหงานอน ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำพร่ำสอนอย่างไร ก็ไม่ยอมทำ ทำได้แต่ความชั่ว นั่นแหละความชั่วทำได้ แต่ความดีทำไม่ได้ ผลสุดท้ายก็อับอายขายหน้าเอาแต่ความชั่วอวดเขาทั้งนั้น ไม่ดี
    ท่านสอนอย่างไรก็ประพฤติอย่างนั้น ท่านว่าบาปก็บาปจริง จงละ ท่านว่าบุญก็บุญจริง ก็ประพฤติปฏิบัติ ท่านสอนให้ไม่ให้ห่วงอาลัยในชีวิตสังขาร อย่าเพิ่งยึดถือมากเกินไปนะ จะเป็นเครื่องผูกมัดให้หลงในภพชาติสังขาร ยึดถือเพียงแต่ว่าเป็นปัจจัย เครื่องอาศัยชั่วคราว ร่างกายนี้เป็นโรงงานใหญ่ เราคือใจเป็นเจ้าของ สำหรับที่จะทำงานหาผลรายได้ คือบุญกุศล มรรคผล ธรรมอันวิเศษ เกิดขึ้นจากโรงงานใหญ่นี้ทั้งนั้น

    [​IMG]
    พระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต และพระอาจารย์จันทา ถาวโร
    กำลังเฝ้าปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่ขาว อนาลโย




    .............................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    หนังสือ 80 ปี หลวงปู่จันทา ถาวโร

    <!-- m -->Home Main Page
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ทีฆนขสูตรพระสารีบุตรนั่งฟังบรรลุอรหัตเพราะสูตรนี้ ใครอยากรู้เป็นยังไงก็ไปอ่านเองตามนี้ครับ

    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=22176




    [​IMG]
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,791
    ค่าพลัง:
    +16,108
    “รักษาใจ” หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    บันทึกโดย :พระธรรมวิสุทธิมงคล
    (พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน)

    ------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    [​IMG]

    พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน


    พอ รถไฟถึงกรุงเทพฯ เข้าพักวัดบรมนิวาสตามคำสั่งทางโทรเลขของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(ติสโส อ้วน) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร ที่บอกไปว่าให้ท่าน( ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ) ไปพักวัดบรมฯ ก่อนเดินทางไปอุดรฯ ในระยะที่พักอยู่ที่นั้นปรากฏว่ามีคนมาถามปัญหากับท่านมาก มีปัญหาของบางรายที่แปลกกว่าปัญหาทั้งหลายจึงได้นำมาลง มีใจความว่า

    ได้ทราบว่า ท่านรักษาศีลองค์เดียว มิได้รักษาถึง ๒๒๗ องค์เหมือนพระทั้งหลาย ที่รักษากันใช่ไหม

    ท่านตอบว่า ใช่ อาตมารักษาเพียงอันเดียว


    เขาถามว่า ที่ท่านรักษาเพียงอันเดียวนั้น คือ อะไร
    ท่านตอบว่า คือ ใจ


    เขาถามว่า ส่วน ๒๒๗ นั้นท่านไม่ได้รักษาหรือ

    ท่าน ตอบว่า อาตมา รักษาใจไม่ให้คิด พูด ทำ ในทางผิด อันเป็นการล่วงเกินข้อห้ามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ จะเป็น ๒๒๗ หรือมากกว่านั้นก็ตาม บรรดาที่เป็นข้อทรงบัญญัติห้าม

    อาตมาก็เย็นใจว่า ตนมิได้ทำผิดต่อพุทธบัญญัติ
    ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล ๒๒๗ หรือไม่นั้น สุดแต่ผู้นั้นจะคิด จะพูดเอาตามความคิดของตน
    เฉพาะอาตมา ได้รักษาใจอันเป็นประธานของ กาย วาจา อย่างเข้มงวดกวดขันตลอดมา นับแต่เริ่มอุปสมบท

    ถามว่า การรักษาศีลต้องรักษาใจด้วยหรือ
    ท่านตอบว่า ถ้าไม่รักษาใจ จะรักษาอะไรถึงจะเป็นศีลเป็นธรรมที่ดีงามได้
    นอกจากคนที่ตายแล้วเท่านั้นจะไม่ต้องรักษา แม้กายวาจาก็ไม่จำต้องรักษา
    แต่ความเป็นเช่นนั้นของคนตาย นักปราชญ์ท่านไม่ได้เรียกว่าเขามีศีล
    เพราะไม่ได้มีเจตนาเป็นเครื่องส่อแสดงออก ถ้าเป็นศีลได้ควรเรียกได้เพียงว่าศีลคนตาย
    ซึ่งไม่สำเร็จประโยชน์ตามคำเรียกแต่อย่างใด
    ส่วนอาตมามิใช่คนตายจะรักษาศีลแบบคนตายนั้นไม่ได้ ต้องรักษาใจให้เป็นศีลเป็นธรรม สมกับใจเป็นผู้ทรงไว้ทั้งบุญทั้งบาปอย่างตายตัว

    เขาถามว่า ได้ยินในตำราว่าไว้ว่า รักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อยเรียกว่า ศีล
    จึงเข้าใจว่าการรักษาศีลไม่จำเป็นต้องรักษาใจก็ได้ จึงได้เรียนถามอย่างนั้น

    ท่าน ตอบว่า ที่ ว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อยเป็นศีลนั้นก็ถูก แต่ก่อนกาย วาจาจะเรียบร้อยเป็นศีลได้นั้น ต้นเหตุเป็นมาจากอะไร ถ้าไม่เป็นมาจากใจผู้เป็นนายคอยบังคับกาย วาจาให้เป็นไปในทางที่ถูก

    เมื่อ เป็นมาจากใจ ใจควรปฏิบัติอย่างไรต่อตัวเองบ้าง จึงจะควรเป็นผู้ควบคุมกาย วาจาให้เป็นศีลเป็นธรรมที่น่าอบอุ่นแก่ตนเอง และน่าเลื่อมใสแก่ผู้อื่นได้

    ไม่ เพียงแต่ศีลธรรมที่จำต้องอาศัยใจเป็นผู้คอยควบคุมรักษาเลย แม้กิจการอื่น ๆ จำต้องอาศัยใจเป็นผู้ควบคุมดูแลอยู่โดยดี การงานนั้น ๆ จึงจะเป็นที่เรียบร้อยไม่ผิดพลาด และทรงคุณภาพโดยสมบูรณ์ตามชนิดของมัน

    การรักษาโรคเขายังค้นหาสมุฏฐานของมัน จะควรรักษาอย่างไรจึงจะหายได้เท่าที่ควร ไม่เป็นโรคเรื้อรังต่อไป

    การ รักษาศีลธรรมไม่มีใจเป็นตัวประธานพาให้เป็นไป ผลก็คือความเป็นผู้มีศีลด่างพร้อย ศีลขาด ศีลทะลุ ความเป็นผู้มีธรรมเป็นที่น่าสลดสังเวช ธรรมพาอยู่ธรรมพาไปอย่างไม่มีจุดหมาย ธรรมบอ ธรรมบ้า ธรรมแตก
    ซึ่งล้วน เป็นจุดที่ศาสนาจะพลอยได้รับเคราะห์กรรมไปด้วยอย่างแยกไม่ออก ไม่เป็นศีลธรรมอันน่าอบอุ่นแก่ผู้รักษา และไม่น่าเลื่อมใสแก่ผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องบ้างเลย
    อาตมาไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก บวชแล้วอาจารย์พาเที่ยวและอยู่ตามป่าตามเขา
    เรียนธรรมก็เรียนไปกับต้นไม้ใบหญ้า แม่น้ำ ลำธาร หินผาหน้าถ้ำ
    เรียนไปกับเสียงนกเสียงกา เสียงสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ตามทัศนียภาพที่มีอยู่ตามธรรมชาติของมันอย่างนั้นเอง
    ไม่ค่อยได้เรียนในคัมภีร์ใบลาน พอจะมีความรู้แตกฉานทางศีลธรรม
    การตอบปัญหาจึงเป็นไปตามนิสัยของผู้ศึกษาธรรมเถื่อน ๆ
    รู้สึกจนปัญญาที่ไม่สามารถค้นหาธรรม ที่ไพเราะเหมาะสมมาอธิบายให้ท่านผู้สนใจฟังอย่างภูมิใจได้

    เขาถามท่านว่า คำว่าศีลได้แก่สภาพเช่นไร และอะไรเป็นศีลอย่างแท้จริง


    ท่าน ตอบว่า ความ คิดในแง่ต่าง ๆ อันเป็นไปด้วยความมีสติ รู้สิ่งที่ควรคิดหรือไม่ ควรระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม คอยบังคับกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในขอบเขตของศีลที่เป็นสภาพปกติ

    ศีลที่เกิดจากการรักษาในลักษณะดังกล่าวมาแล้วชื่อว่ามีสภาพปกติไม่คะนองทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นกิริยาที่น่าเกลียด

    นอก จากความปกติดีงามทางกาย วาจา ใจ ของผู้มีศีลว่าเป็นศีลเป็นธรรมแล้ว ก็ยากจะเรียกให้ถูกได้ว่าอะไรเป็นศีลเป็นธรรมที่แท้จริง เพราะศีลกับผู้รักษาศีลแยกกันได้ยาก

    ไม่ เหมือนตัวบ้านเรือนกับเจ้าของบ้านเรือนซึ่งเป็นคนละอย่าง ที่พอจะแยกกันออกได้ไม่ยากนัก ว่านั้นคือตัวบ้านเรือน และนั่นคือเจ้าของบ้าน

    ส่วนศีลกับคนจะแยกจากกันอย่างนั้นเป็นการลำบาก
    เฉพาะอาตมาแล้วแยกไม่ได้ แม้แต่ผลคือความเย็นใจที่เกิดจากการรักษาศีลก็แยกกันไม่ออก

    ถ้าแยกออกได้ ศีลก็อาจกลายเป็นสินค้ามีเกลื่อนตลาดไปนานแล้ว และอาจจะมีโจรมาแอบขโมยศีลธรรมไปขายจนหมดเกลี้ยงจากตัวไปหลายรายแล้ว
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ศีลธรรมก็จะกลายเป็นสาเหตุก่อความเดือดร้อนแก่เจ้าของเช่นเดียวกับสมบัติอื่น ๆ
    ทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความเอือมระอา ที่จะแสวงหาศีลธรรมกัน เพราะได้มาแล้วก็ไม่ปลอดภัย

    ดังนั้นความไม่รู้ว่า “อะไรเป็นศีลอย่างแท้จริง” จึงเป็นอุบายวิธีหลีกภัยอันอาจเกิดเกิดแก่ศีล และผู้มีศีลได้ทางหนึ่งอย่างแยบยลและเย็นใจ
    อาตมาจึงไม่คิดอยากแยกศีลออกจากตัวแม้แยกได้ เพราะระวังภัยมาก แยกไม่ได้อย่างนี้รู้สึกอยู่สบายไปไหนมาไหนและอยู่ที่ใด
    ไม่ต้องเป็นห่วงว่าศีลจะหาย ตัวจะตายจากศีลแล้วกลับมาเป็นผีเฝ้ากองศีล
    เช่นเดียวกับคนเป็นห่วงสมบัติ ตายแล้วกลับมาเป็นผีเฝ้าทรัพย์ ไม่มีวันไปผุดไปเกิดได้ฉะนั้น


    คัดลอกจาก หนังสือรอยธรรม พระวิหารหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    จัดพิมพ์เนื่องในพิธียกช่อฟ้าและฉลองพระวิหาร หลวงปู่มั่นภูริทัตโต
    ณ. วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
    วันศุกร์ที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๖

    ขอขอบคุณ
    <!-- m -->010642 - >
     

แชร์หน้านี้

Loading...