ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,795
    ค่าพลัง:
    +16,108

    รับพระทุนนิธิฯ แล้วเก็บไว้ให้ดีน๊ะ หาไม่มีอีกแล้ว ขอผลบุญที่ได้ถวายทานแก่สงฆ์อาพาธครั้งนี้ ด้วยความยินดี ประณีต และสมบูรณ์แล้วในการถวายทานนี้ จงขอให้น้องและครอบครัวพบพานแต่สิ่งที่ดีจนกว่าชีวิตจะหาไม่ด้วยเทอญ.


    [​IMG]


     
  2. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    เห็นภาพพระปิยบารมีก็นึกถึงเรื่องเพื่อนผม ที่ทำบุญกับทุนนิธิฯมาตลอด ได้รับพระปิยบารมีนี้ไปก็นำมาเลี่ยมติดตัวไว้ เพื่อนคนนี้ทำงานวิ่งภาคใต้ตลอดทุกเดือน อยู่มาวันหนึ่งเพื่อนคนนี้โทรมาหาผมว่า ระหว่างขับรถตามปิคอัพบรรทุกของหนักอยู่ ถนนเป็นเลนสวนกัน ไหล่ทางก็สูงชัน ฝนก็ตกพร่ำๆ ในใจเพื่อนได้นีกถึงพระปิยบารมีที่คล้องอยู่ที่คอว่า มารอบนี้ขายของไม่ดีเลย ท่านไม่ช่วยให้ขายของได้เลย ขณะนั้น รถปิคอัพคันหน้าได้ขับสวนกับปิคอัพอีกคันที่บรรทุกของหนักเช่นกัน รถทั้งสองคันได้เสียการทรงตัวและเฉี่ยวชนกันหมุนอยู่บนถนนขวางเต็มถนน เพื่อนผมบอกว่าได้หักหลบรถปิคอัพคันแรกได้แต่ปิคอัพอีกคันขวางอยู่ในใจคิดว่าไม่รอดแล้ว แต่สามารถควบคุมรถผ่านคันที่สองได้อย่างฝุ่น ควัน เศษกระจก ยังปลิวอยู่บนอากาศ ผ่านไปได้อย่างกระจกข้างเฉียดผ่านไปแบบชิดเลย และรถเพื่อนก็ไปหยุดอยู่ด้านหน้าไม่ตกถนน ภาพปิคอัพสองคันไม่ต้องพูดถึงครับ

    เพื่อนได้โทรมาเล่าให้ผมฟังว่าเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นกับเค้าแล้วครั้งหนึ่งแต่ครั้งนั้นไม่รอดรถชนกับปิคอัพคันสองเสียหายมาก แต่ครั้งนี้รอดได้แบบไม่มีแม้นรอยสีถลอก ผมเลยตอบเพื่อนไปว่า ถ้าท่านบอกได้คงว่า ไม่ตายก็ดีแล้วยังจะขายของอีกหรือ?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 มิถุนายน 2009
  3. ชิน9

    ชิน9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +247
    สวัสดีครับทุกท่าน ผมได้โอนเงินบริจาคจำนวน 2,000.-บาท

    08/06/2552 15.34.01น 1702 3612a

    เพื่อเป็นพระบารมี พระปัจจัย น้อมนำบุญกุศลและอนุโมทนาบุญกุศล แก่ คุณพระศรีรัตนตรัย


    ด้วยบุญอุทิศนี้ให้อาม่า,ป๋า,แม่,อาโกว,ชิน9,น้องๆ,หลานๆ,เพื่อนๆ,บริวาร,ผู้มีพระคุณ,ครู,อาจารย์,คนไทยทุกคน,ลูกค้าทุกคน,

    สัมพเวสี ภูติผี เปรต ปีศาจต่างๆนาๆ ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้







    ขอเชิญเพื่อนๆมาร่วมอนุโมทนาบุญด้วยกันนะครับ<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  4. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    อัธยาศัยพระโพธิสัตว์ ๖ ประการ

    [​IMG]

    ยังมีพระมหาเถรเจ้าพระองค์หนึ่งผู้เป็นพระอรหัตสาวกวิเศษ ผู้ทรงพระปฏิสัมภิทาและพระอภิญญา ทรงไว้ซึ่งพระอรหัตฤทธิ์สูงสุด ได้มีโอกาสขึ้นไปยังดุสิตสวรรค์ ทรงมีโอกาสสนทนากับเทพบุตรสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์ พระมหาเถรเจ้าได้ทรงถามว่า
    “ขอถวายพระพร พระองค์ทรงกระทำประการใด…
    เพื่อยังพระอัธยาศัยที่จะให้พระโพธิญาณแก่กล้า”
    สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งมีพระพุทธบารมีเปี่ยมล้นรอเวลามาอุบัติตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ได้ตรัสตอบว่า
    “ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ โยมนี้เป็นพระโพธิสัตว์ตั้งอยู่ในอัธยาศัย ๖ ประการ คือ

    ๑. พอใจที่จะบวช หรือ เนกขัมมัชฌาสัย คือ พอใจที่จะบวช รักเพศบรรพชิตยิ่งนัก

    ๒. พอใจความเงียบสงบ หรือ วิเวกัชฌาสัย คือ พอใจในความวิเวกเงียบสงบยิ่งนัก

    ๓. พอใจบริจาคทาน หรือ อโลภัชฌาสัย คือ พอใจในการบริจาคทาน สละความโลภตระหนี่

    ๔. พอใจในความไม่โกรธ หรือ อโทสัชฌาสัย คือ พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตาในสัตว์ทั้งปวงอยู่เนืองนิตย์

    ๕. พอใจในความไม่ลุ่มหลง หรือ อโมหัชฌาสัย คือ พอใจในการที่จะพิจารณาสิ่งที่เป็นคุณและเป็นโทษ ไม่ลุ่มหลงในอบาย เสพสมาคมกับบัณฑิตคนมีสติปัญญายิ่งนัก

    ๖. พอใจที่จะยกตนออกจากภพ หรือ นิสสรณัชฌาสัย ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารในภพน้อยภพใหญ่ มีความประสงค์ในพระนิพพานยิ่งนัก

    พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! นี่แหล่ะเป็นอัธยาศัย ๖ ประการที่ติดอยู่ในขันธสันดานของโยมอยู่เนืองนิตย์ พระโพธิญาณของโยมจึงแก่กล้ายิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ จนถึงกาลบัดนี้”


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    พุทธะดอทคอม | ความจน เป็นทุกข์ในโลก


    ปล. เฮียเว้ง ร่วมบริจาคเงินให้ทางทุนนิธิฯ 2000 บาท
    คุณตี๋น้องเฮียเว้ง ร่วมบริจาคเงินให้ทางทุนนิธิฯ 1000 บาท
    ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญกับทั้งสองท่านและทุกท่านที่ได้ช่วยกันบริจาคเงินให้กับทางทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม มาโดยตลอดด้วยครับ

    โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ
     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,795
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ล้มทั้งยืน ...ดีกว่าล้มไม่เป็น



    [​IMG]

    [​IMG] "อย่าคิดว่าสูญเสียแล้วชีวิตจะต้องเป็นศูนย์ เรานับหนึ่งใหม่ได้เสมอ หากเราคิดจะนับซะอย่าง"

    ถ้าสิ่งที่เราคาดหวัง...ไม่เป็นดั่งหวัง ถ้าสิ่งที่เราพยายามทุ่มเททำสุดแรงกายแรงใจไม่ประสบผลสำเร็จ
    ถ้าสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นมันก็เกิดขึ้น และได้สร้างความบอบช้ำ จนทำให้เราต้องจมอยู่กับ
    ความทุกข์

    เรากำลังก้าวสู่ "ชีวิตที่เป็นจริง" แล้วหล่ะ เพราะความเป็นจริงของชีวิต จะสอนให้เรารู้จักยอมรับความพ่ายแพ้สอนให้เรารู้จักสูญเสียน้ตา เพื่อที่จะได้รอยยิ้มคืน กลับมาเป็นรางวัลตอบแทน แต่มันก็ไม่เคยทำให้ใครหมดสิ้นความหวัง หมดสิ้นพลังและกำลังใจไปกับความพ่ายแพ้ เพียงแค่ความเป็นจริงสอนให้พวกเราทุกคนรู้ว่า

    [​IMG] ...........อย่าเพียรสร้างความหวัง

    [​IMG] แต่ให้เชื่อมั่นในความหวัง............

    เพราะความเชื่อมั่นจะนำพาเราไปพบกับ "หนทางสู่ความสำเร็จ" แม้ว่าจะต้องฝ่าฟันอะไรอีกมากมายกว่าจะถึงวันนั้น แม้ว่าจะต้องล้มลงอีกสักกี่ครั้ง แม้ว่าจะต้องผิดหวังอย่างแรงอีกสักกี่หนก็ตาม ปล่อยให้ชีวิตผิดพลาดเสียบ้าง ปล่อยให้ความคาดหวังได้เจอกับความผิดหวัง ปล่อยให้ความฝันกลายเป็นฝันค้างลอยกลางอากาศ ปล่อยให้อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด แม้ว่าเกิดขึ้นแล้วจะเลวร้ายกับชีวิตก็ตามที เพราะทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้น จะช่วยสอนและช่วยเป็นบทเรียนอันล้ำค่าให้แก่ชีวิต ที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วบนโลกใบนี้

    คุณ บอย โกสิยพงศ์ เคยให้สัมภาษณ์กับนิตยสารเล่มหนึ่ง เขาพูดให้แง่คิดที่ดีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมันอาจจะสร้างบาดแผลให้กับใครหลายๆ คนมาบ่อยครั้ง คุณบอยพูดไว้ว่า...ไม่มีอะไรที่อยู่กับเราตลอดชีวิต ทุกอย่างมันก็รอเวลาจากเราไปทั้งนั้น

    เชื่อว่าถ้าชีวิตคนเรา ไม่ยึดติด ไม่ต้องแขวนชีวิตไว้กับความคาดหวัง เวลาที่เราสูญเสีย หรือเวลาที่เราต้องเจอกับความล้มเหลว เราคงมีภูมิต้านทานมากพอที่จะเอาไว้ต่อสู้กับความท้อแท้ อย่าคิดว่าสูญเสียแล้วชีวิตจะต้องเป็นศูนย์ เพราะว่าเรานับหนึ่งใหม่ได้เสมอหากเราคิดที่จะนับซะอย่าง ไม่มีอะไรบนโลกที่น่ากลัว และไม่จำเป็นต้องกลัวกับความเป็นจริงของชีวิต

    [​IMG] "มีพบก็ต้องมีจาก มีได้ก็ต้องมีเสีย

    [​IMG] และมีสุขก็ต้องมีทุกข์เป็นสัจธรรม"

    เมือ่ไรที่เราได้รู้จัก สัมผัส และได้เรียนรู้กับชีวิตทั้งสองด้าน เมื่อนั้นเราจะไม่รู้สึกเสียดาย หากเราได้มีโอกาสล้มทั้งยืน แต่เราจะเสียใจไปตลอดชีวิตหากเราไม่สามารถก้าวข้ามความล้มเหลวที่ผ่านเข้ามา ได้

    มีคนเคยบอกเอาไว้ว่า... การตั้งความหวัง คือการเสี่ยงกับความเจ็บปวด การพยายาม คือการเสี่ยงกับความล้มเหลว แต่ยังไงก็ต้องเสี่ยง เพราะในสิ่งที่อันตรายที่สุดในชีวิตก็คือ การไม่เสี่ยงอะไรเลย

    ล้ม ลงสักกี่ครั้ง ผิดหวังมาสักกี่หน ลุกขึ้นยืนให้ได้ แล้วสักวันเราจะเจอความสุข เพราะความสุขไม่ได้หนีจากเราไปไหนหรอก มันอยู่ใกล้เราแค่เพียงเอื้อมมือจริงๆ ถ้าหากเราไม่ได้ไปตัดสินว่า โลกมันควรเป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น และไม่ได้ตั้งกฎเกณฑ์ให้กับตัวเองมากจนเกินไป เวลาคิดหรือทำอะไรสักอย่างแล้วมีข้อบังคับ มีกรอบ และสร้างมโนภาพความสำเร็จไว้ล่วงหน้า เมื่ออะไรๆ ไม่เป็นไปตามกฎของเรา เราก็ทุกข์ เราก็เสียใจ และเราก็ใจเสียเอาได้ง่ายๆ

    มีคนเคยบอกไว้ว่า...สิ่ง ที่เกิดขึ้นกับคุณ ไม่ใช่สิ่งที่จะกำหนดความสุขของคุณ แต่มันเป็นความคิดของคุณเองต่างหาก ความคิดที่มีต่อสิ่งที่ได้เกิดขึ้นกับคุณนั่นเอง จะสุขหรือจะทุกข์ก็ขึ้นอยู่ที่เราทั้งนั้นเป็นคนกำหนด ล้มทั้งยืนเสียบ้างก็คงไม่เสียหายอะไร แต่ล้มไม่เป็นเลยนี่สิ...ลำบาก

    [​IMG] ลองคิดดูเล่นๆ ซิว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตต่อไป...หลังจากนี้


    ขอขอบคุณ

     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,795
    ค่าพลัง:
    +16,108
    <center>[​IMG]

    </center> [​IMG] <script language="javascript1.1"> page="ปอปลาตาโต";</script> <script language="javascript1.1" src="http://hits.truehits.in.th/data/o0026428.js"></script><script src="http://lvs.truehits.in.th/func/th_donate_1.8.js"></script><script src="http://lvs.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></script>ธรรมะจากสวนหลังบ้าน
    <!-- Main -->เมื่อไม่สามารถมีกุหลาบ

    ยายบอกว่า“ปลูกดาวกระจายไปก่อน”
    และเพราะไม่มีกุหลาบมีแต่ดาวกระจายอยู่ในสวนนี่แหละ ดาวกระจายจึงงดงามนัก
    เมื่อไม่มีเสื้อตัวใหม่ ยายบอกว่า“ตัวเก่าก็ยังไม่ขาดนี่ลูก”
    และเพราะไม่มีเสื้อตัวใหม่นี่แหละเสื้อตัวเก่าจึงยังได้ใช้ประโยชน์
    ก็ไม่เห็นใครบ่นว่าบ้านนี้ไม่มีดอกกุหลาบ ได้ยินแต่คนพูดว่า“ดาวกระจายต้นใหญ่ดีจัง”
    ก็ไม่เห็นใครบ่นว่าเสื้อที่ใส่นั้นเก่ามีแต่ตัวเราที่ระแวงระวังไปเอง
    เมื่อ มาย้อนคิดถึงเรื่องราวเหล่านี้ก็พบว่าได้รอยยิ้มเป็นรางวัล บางทีการถูกปั้นมาให้รู้จัก‘พออยู่พอเจียม’ก็นับเป็นภูมิคุ้มกันอย่างดี ทำให้ไม่ค่อยร้อนรนต่อ‘สิ่งที่ยังไม่มี’ได้ดียิ่งนัก

    ไม่มีก็หา...อยากได้มาก็จงลงมือ
    เมื่อต้องการมีเงิน ยายบอกให้ทำงาน
    ยายมิได้เพียงบอกท่านทำให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วย
    ยาย ไปถกเถามันเทศมาจากบ้านเพื่อน หลังครัวของเรามีที่ทางว่างเปล่าพอจะยกเป็นแปลงได้หลายแปลงอยู่ ก่อนจะจิ้มเถามันเทศลงไป ไม่นานเราก็มีแปลงมันเทศอยู่หลังบ้าน
    จากเถาก็กลายเป็นหัวจากแรงก็กลายเป็นความสุข
    นั่งดูมันเทศค่อยๆ เติบโตแล้วแอบขุดดูบ่อยๆ ว่ามันมีหัวหรือยัง
    ยาย ผ่านโลกมาก่อน รู้จักที่จะอดทนรอคอย ท่านเพียงแต่นับวันรอถึงเวลาก็ไปขุดมันเทศให้เราดู มันมีหัวขนาดใหญ่ ต้มกินเองก็ได้ ไม่เสียเงินซื้อ ต้มขายได้แล้วเงินก็งอกขึ้นในกระเป๋าของเรา

    วัฏจักรแห่ง...ดาวกระจาย
    เห็นดาวกระจายบ้านเพื่อนสีสวย บ้านเรามีแต่สีเหลืองอ่อนกับสีเหลืองเข้ม บ้านเพื่อนมีสีขาวกับสีชมพูด้วย
    ยายบอกว่า“ลองขอเขาสิลูก เอาแต่เม็ดแห้งๆ ไม่กี่เม็ด เขาคงปันให้ได้”
    น้ำใจทำให้เกิดการถ่ายเท...
    เพื่อนบอกว่า“เก็บเอาตามสบายส่วนใหญ่ก็ปล่อยให้มันร่วงแล้วงอกใหม่อยู่แถวนั้นแหละ”
    เก็บมาสีละหนึ่งขยุ้มมือ...บรรจงห่อกระดาษอย่างดี กลับบ้านกับยายพร้อมด้วยรอยยิ้ม แอบฝันถึงดาวกระจายสี่สีในสวนเล็กๆ
    โปรดเชื่อเถอะว่าถ้าเรารักในอะไรสักอย่าง เราจะถนอม ระวังและมีความเพียรเพียงพอที่จะฟูมฟักให้มันงอกงามขึ้น
    ไม่ กี่วันหลังจากนั้นเม็ดดาวกระจายก็ถูกหว่านลงไปในแปลงดอกไม้หลังครัว ยกร่องก่อนโปรย โปรยแล้วกลบดิน รดน้ำอย่างดี รอเวลาที่จะเห็นดาวกระจายงอกเป็นต้น
    แล้วมันก็งอกจริงๆ...หน้าตาไม่ได้ต่างไปจากดาวกระจายที่เราเคยมี สิ่งเดียวที่เราต้องทำคือ รอ...
    แล้ว มันก็โตเป็นต้น ถอนแยกจากแปลงเพาะ ขุดหลุมแล้วปลูกทีละต้นๆเว้นระยะให้ห่างพอดี คะเนว่าเมื่อมันโตกว่านี้ พุ่มของมันจะสะพรั่งมาชนกันพอดีแล้วพร้อมใจกันออกดอก
    แล้วมันก็ออกดอกตูม ใจเต้นตุ้มๆ ต่อมๆ
    แล้วมันก็ออกดอกบาน...ยิ้มหวานให้กับเรา
    รักมันมาแรมเดือนรอมันมาหลายสัปดาห์ รางวัลแห่งการลงมือและรอคอยคือดอกไม้น้อยๆที่อยู่ตรงหน้า
    ยายสอน“พอดอกมันโรยมันก็จะกลายเป็นเม็ด ลูกก็เก็บเม็ดเอาไปปลูกต่อๆ ไปได้ไม่รู้จบ”
    ไม่ใช่แค่ปลูกดอกไม้ยายสอนให้รู้จักฟูมฟักชีวิต...

    นกน้อยแห่ง...กรุณา
    ลูกนกเอี้ยงตกลงมาจากรังบนต้นมะพร้าว พ่อกับแม่ของมันร้องระงม
    มดแดงเข้ากลุ้มรุมจะกัดกินเจ้าลูกนกน้อย
    สุดปัญญาที่จะปีนป่ายไปคืนพ่อแม่ของมันบนรังสูง
    “เราช่วยมันเลี้ยงก็แล้วกัน”ยายบอก
    จาก วันนั้นกล้วยสุกและข้าวสุกของคนถูกแบ่งเป็นกล้วยนกและข้าวนก ไม่ใช่เฉพาะตัวลูก แต่แบ่งไปถึงพ่อนกแม่นกที่บินฉวัดเฉวียนพากเพียรมาดูลูกของมัน
    ความกรุณา...ทำให้เรารู้จักแบ่งปัน
    เจ้า ลูกนกหายตกใจในวันถัดๆมา มันเรียนรู้ว่าพ่อแม่หน้าตาประหลาดๆที่คอยป้อนข้าวป้อนกล้วย-ไม่มีพิษมีภัย เสียงร้องอย่างตกใจกลัวค่อยๆจางไป เหลือแต่เสียงร้องในยามโหยหิว
    จากวันเป็นเดือนนกน้อยกลายเป็นนกไม่น้อย มันค่อยๆ โตขึ้นจนจิกข้าวและกล้วยกินได้เอง
    พ่อแม่ของมันผละจากมันไป ตั้งแต่สอนให้ลูกๆ บนรังหัดบินแล้วยกครัวหายหน้า
    เอี้ยงน้อยของเราโตเอง บินเองและส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้วตอบแทนพวกเรา
    วัน หนึ่งมักน็ไม่ต้องขอข้าวหรือกล้วยจากพวกเราอีก มันออกหากินเอง ยังคงบินวนเวียนอยู่ใกล้ๆบ้าน แล้วหลังจากนั้นไม่นานมันก็ไปกับฝูงนกเอี้ยง
    ยายยิ้ม...พวกเราร้องไห้
    “ไม่วันใดวันหนึ่งมันก็ต้องจากไป”ยายบอก

    หิ้ง...แห่งความอ่อนน้อม
    หน้าที่จัดดอกไม้ถวายข้าวพระถูกกำหนดขึ้น
    เรา ต้องสับเปลี่ยนเวียนกัน แม้ทุกๆ เช้าเราจะร่วมกันใส่บาตรพระจริงๆที่ออกโปรดสัตว์เป็นประจำสม่ำเสมออยู่แล้ว แต่ทุกๆ วันพระ เราบูชาพระพุทธ พร้อมถวายข้าวใส่ถ้วยเล็กๆตั้งบูชาที่บนหิ้งรวมทั้งแจกันดอกไม้
    “ดอกดาวกระจายได้หรือเปล่า”
    “ดอกอะไรก็ได้ลูกจัดให้สวยๆ ก็แล้วกัน”ยายตอบ
    “พระแก้วมรกตองค์แข็งทื่อจะฉันข้าวได้หรือ”ถามอีก
    ยายยิ้มแล้วยีหัวเล่น“ท่านไม่ได้ฉันเหมือนพวกเรานี่ลูก”
    ถึงจะไม่เข้าใจ แต่วัตรปฏิบัติง่ายๆก็ก่อระเบียบชีวิตแก่หลานตัวเล็ก
    มือน้อยๆ ที่เคยต่อยเพื่อน ขุดดินปีนต้นไม้ รู้จักกระพุ่มไหว้พระพุทธรูป
    “ไหว้สวยๆสิลูก”ยายสอนเสมอตั้งแต่ตัวยังเล็ก
    เจอพระจริงๆ ไหว้แบบหนึ่งกราบแบบหนึ่ง พระบนหิ้งไหว้อีกแบบหนึ่งกราบอีกแบบหนึ่ง
    บูชา ข้าวพระต้องทำจิตใจให้ผ่องแผ้วแล้วค่อยถวาย ลาข้าวพระต้องมีใจเคารพสวดคาถา แล้วลาข้าวลงมาส่งต่อไปเป็นอาหารของแมวที่เดินคลอเคลียเคล้าขา
    มองพระบนหิ้งทุกวัน ฟังเสียงสวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน
    วิชาอ่อนน้อมถูกปลูกฝัง...โดยไม่ทันรู้ตัว

    อำลาในสวนหลังบ้าน
    ลูกแมวน้อยถูกหมากัดเสียชีวิต...
    ความที่มันเป็นแมวตัวสนิท หลานๆจึงร้องไห้
    “ฝังมันที่สวนหลังบ้านนะลูก”ยายบอก
    ความโศกเศร้าถูกเปลี่ยนเป็นความรัก หลานๆบรรจงขุดหลุมลึกพอประมาณเพื่อการกลบฝังซากร่างลูกแมวเหมียว
    วางร่างของมันเบาๆตั้งจิตอธิษฐานขอให้มันไปดี
    “สัพเพสัตตาสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์...”ยายสอนให้แผ่เมตตา
    เราจึงรู้...ความรักไม่ใช่แค่การกอดรัด แต่แผ่ความรู้สึกที่ดีให้กันได้อีกด้วย

    พระที่อยู่ในบ้าน...
    เขาบอกว่าพ่อแม่คือพรหมของลูก หลายคนโตมากับพรหม แต่ถึงเวลาเป็นพ่อเป็นแม่ กลับลืมที่จะเป็นพรหม
    พ่อแม่สมัยใหม่ สมัครใจจะเป็น‘พรม’เสียมากกว่า...
    เป็นทาสรับใช้ตามใจจนลูกไม่รู้จักอุปสรรค และรักแต่เพียงตัวเอง
    รักลูกให้ถูกทาง เขาบอกว่าต้องสอนให้ลูกรู้จักความลำบาก ไม่ใช่ฟูมฟักให้ลูกสุขสบายจนเข้าใจว่าชีวิตที่แท้เป็นเช่นนั้น
    พรหมมีหน้าที่สร้างโลก แปลว่าต้องชักนำหรือทำให้ลูกรู้จักโลก
    ข้าวที่เรากินมีคนหุงให้นะลูก หุงยังไงต้องชวนลูกไปหุง
    เสื้อผ้าที่ใส่ มีคนซักให้รีดให้แต่ไม่ได้แปลว่าลูกจะไม่นำพาวิธีซักรีด
    บ้านช่องห้องหับสะอาดสะอ้านเพราะช่วยกันกวาดถู ลูกก็หนึ่งในคนของบ้านช่วยกันทำเลอะ ก็ช่วยกันทำให้สะอาดได้นะ
    คน...จะรู้จักรับผิดชอบเพราะเคยผ่านการรับผิดชอบ
    คน...จะรู้จักใส่ใจไม่ใช่เพราะเอาแต่ใจ แต่เพราะเคยรับ เคยให้ เคยร่วมทุกข์ร่วมสุข
    วิชา เหนื่อยยาก วิชาลำบากวิชาอุปสรรค ไม่มีโรงเรียนไหนสอน พ่อแม่ต้องเป็นครูของลูก คิดเสียว่าให้วัคซีน เพื่อที่วันหนึ่งลูกจะไม่ตกใจเมื่อชีวิตตกต่ำ
    ยายสอนพับว่าวกระบอกแล้วปล่อยโต้ลมหลังบ้าน
    “ขึ้นได้ก็ตกได้”ยายปลอบใจเมื่อหลานหอบว่าวตัวน้อยมาร้องไห้ด้วย
    ยายสอน...“พี่เขาคุมว่าวเป็นว่าวก็ไม่ตก เรายังต้องเรียนรู้อีกนะลูก”


    ธรรมะในสวนหลังบ้าน
    เมื่อไม่มีกุหลาบปลูกดาวกระจายก็ได้นี่
    ‘มีอะไรก็สุขใจกับสิ่งที่มี...’คือดอกไม้ที่ยายปลูกให้
    และมันเบ่งบานอยู่ในหัวใจมาทั้งชีวิต!


    ขอขอบคุณบทความดีๆ กับบล๊อกสวยๆ ตามนี้ครับ

    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=mypage&month=07-06-2009&group=2&gblog=1
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,795
    ค่าพลัง:
    +16,108
    คืนวันศุกร์ต่อวันเสารในเวลาดึกๆ จะมีพระเครื่องดีมาให้ตามล่ากันอีกวันนี้ก็มีอีก 1 รุ่น

    พระกริ่งภูริทัตโตพระดีที่ขอบันทึก

    [​IMG][​IMG]
    <!--coloro:#A0522D--><!--/coloro-->พระกริ่งภูริทัตโต เป็นอีกหนึ่งพระกริ่งที่น่าสะสม
    ด้วยว่าครบเจตนาดีทั้ง 3 คือ เจตนาดี มวลสารดี พิธีดี
    เจตนาดี เพราะเอาปัจจัยไปสร้างพระประธาน วัดใหม่บ้านตาล ของหลวงพ่อคำบ่อ ฐิตปัญโญ ต้องขอบอกว่าหลวงพ่อคำบ่อนี้เป็นก้นกุฏิหลวงปู่แหวน ในสายกรรมฐานให้ความเคารพและยำเกรงท่านมาก และงานนี้เรียกได้ว่าเป็นงานของท่านดังนั้น งานนี้พระกรรมฐานเต็มใจทุกองค์แน่
    มวลสารดี ยี่ห้อหลวงพ่อคำบ่อ ก็ไม่ต้องห่วงอีกท่านเน้นเรื่องนี้มาก คิดูเองแล้วกันพระหลวงปู่แหวนปักกลด ที่ปัจจุปันเล่นหากันเกือบหมื่นมวลสารแน่นแค่ไหน นั่นและครับหลวงพ่อคำบ่อสร้าง แต่อย่างไรก็ต้องลงชนวนที่ท่านใช้เทพระ
    ชนวนพระกริ่งชัยวัฒน์ นวหรคุณทุกรุ่น วัดราชนัดดา
    ชนวนพระกริ่งนเรศวร พิษณุโลก
    ชนวนพระกริ่งพุทธสิหิงค์ ชลบุรี
    ชนวนพระกริ่งหลวงพ่อเพชร พิจิตร
    ชนวนพระกริ่งยุทธหัตถี สุพรรณบุรี
    ชนวนพระกริ่งรอดภยันตราย เชียงใหม่
    ชนวนพระกริ่งเอกาทศรถ เชียงใหม่
    ชนวนพระกริ่งพุทธชินราช พิษณุโลก
    ชนวนพระกริ่งรูปเหมือนธรรมวิตโก วัดเทพศิรินทราวาส
    ชนวนพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ตากสินมหาราช สระบุรี

    และสำหรับพิธีก็ต้องบอกดีเยี่ยมตั้งแต่เททองเพราะเป็นการเทชนวนและพระบางส่วนโดย
    สมเด็จพระญาณสังวรณ์เป็นองค์ประธานในพิธีเททองที่วัดบวรนิเวศวิหาร

    งานพิธีมหาพุทธาภิเศก

    สมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย
    พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโมเป็นองค์ประธานดับเทียนชัย
    ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ วันที่ 26-28 พฤศจิกายน 2520

    รายนามพระเกจิที่เข้าร่วมพิธี

    วันที่ 26 พฤศจิกายน 2520

    1.สมเด็จพระญาณสังวรณ์ วัดบวรนิเวศ กทม.
    2.พระราชธรรมวิจารณ์(หลวงพ่อธูป) วัดสุนทรธรรมทาน กทม.
    3.พระราชญาณดิลก(หลวงพ่อชิต) วัดเขาเต่า ประจวบคีรีขันธ์
    4.พระวิมลกิจจารักษ์(หลวงพ่อศิริ) วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
    5.พระสังวรวิมล(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    6.พระรักขิตวันมุนี(หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    7.พระโมราณณิตศร(หลวงพ่อใหญ่) วัดสะแก อยุธยา
    8.พระโพธิวรคุณ(หลวงพ่อไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต กรุงเทพฯ
    9.พระศิลวุฒาจารย์(หลวงพ่อบาง) วัดหนองพลับ สระบุรี
    10.พระพิทักษ์วิหารการ(หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    11.พระครูอนุกูลพิทยา(หลวงพ่อเส็ง) วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพฯ
    12.พระครูจันทสโรภาส(หลวงพ่อเที่ยง) วัดม่วงชุม กาญจนบุรี
    13.พระครูวรพรตศิลขันธ์(หลวงพ่อแฟ้ม) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
    14.พระครูฏโสภณกัลยานุวัตร(หลวงพ่อเส็ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
    15.พระครูสังฆรักษ์(หลวงพ่อหิน) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
    16.พระครูสุจิตตนุรักษ์(หลวงพ่อจวน) วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี
    17.พระครูวราโภคาพินิต(หลวงพ่อนนท์) วัดเหนือวน ราชบุรี
    18.พระครูสุรชัยบุญญาคม(หลวงพ่อเชื้อ) วัดบำเพ็ญบุญ ชัยนาท
    19.พระอาจารย์พันเทพ ฐานวโณ วัดศรีบุญเรือง เชียงใหม่
    20.พระครูอุดมสิทธาจารย์(หลวงพ่ออุตมะ) วัดวังวิเวกทาราม กาญจนบุรี
    21.พระครูนิรภัยวิเทศ(หลวงพ่อทองอยู่) วัดเกยชัยเหนือ นครสวรรค์
    22.พระโสภณวิสุทธิเถระ วัดศิลขันธาราม อ่างทอง
    23.พระครูประสิทธิ์วิทยาคม วัดพียรบาตร ศรีสะเกษ

    วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๒๐
    1.พระครูศรพรหมโสภิต(หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    2.พระคัมภีรญาณเถร วัดชัยภูมิวนาราม ชัยภูมิ
    3.พระครูเกษมธรรมมานนท์(หลวงพ่อแช่ม) วัดดอนยายหอม นครปฐม
    4.พระครูประดิษฐนวการ(หลวงพ่อบุญ) วัดวังมะนาว ราชบุรี
    5.พระครูสิลาวุฒาจารย์(หลวงพ่อผิว) วัดสง่างาม ปราจีนบุรี
    6.พระครูสุตาธิการี(หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพองค์ สมุทรสาคร
    7.พระครูสมุรธรรมสุนทร(หลวงพ่อสุด) วัดกาหลง สมุทรสาคร
    8.พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย นนทบุรี
    9.หลวงพ่อพุฒ สารสุข วัดวงษ์ภาสน์ อ่างทอง
    10.พระครูสุนทรธรรมมานุศาสตร์(หลวงพ่อรวย) วัดท่าเรือแกลง ระยอง
    11.หลวงปู่คำมี พุทธธาโร วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
    12.หลวงพ่อคง สุวรรณโณ วัดวังสรรพรส จันทบุรี
    13.พระครูสารกิจประยุค วัดกุญชรนาราม มหาสารคาม
    14.พระครูประสาทวรคุณ(หลวงพ่อพริ้ง) วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
    15.หลวงพ่อคร่ำ ยะโสธโร วัดวังหว้า ระยอง
    16.พระครูผนวกกิจโสภณ(หลวงพ่อทองสุข) วัดสะพานสูง นนทบุรี
    17.ครูบาธรรมชัย วัดน้ำทุ่งหลวง เชียงใหม่
    18.หลวงพ่อสด วัดหางน้ำสาคร ชัยนาท
    19.พระครูพิพิธพัชรศาสน์ วัดเขาพระบาทลูกช้าง เพ็ชรบุรี
    20.พระครูบวรชิมรัตน์ วัดนางพญา พิษณุโลก
    21.พระครูสุวรรณศิลาจารย์ วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2520

    1.พระเทพบัณฑิต วัดศรีเมือง หนองคาย
    2.พระอาจารย์จวน กุลเชโฐ วัดเจติยาราม หนองคาย
    3.พระอาจารย์คำพันธ์ วัดอรุณรังษี หนองคาย
    4.พระพิศาลศาสนกิจ วัดจันทาราม หนองคาย
    5.พระครูสุนทรนวกิจ วัดจันทาราม หนองคาย
    6.พระศิลขันฑ์สังวรณ์(อ่อนสี) วัดพระงามศรีมงคล หนองคาย
    7.พระครูสมุทร์ญาณประยูติ วัดบึงปังพลาราม หนองคาย
    8.พระครูญาณปรีชา(เหรียญ) วัดอรัญบรรพต หนองคาย
    9.พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิตย์ หนองคาย
    10.พระครูศิริธรรมมานุวัตร(ทองพูล) วัดสามัคคีอุปถัมภ์ หนองคาย
    11. พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม วัดศิริสาละวัน อุดรธานี
    12.พระครูทัศน์ปรีชาญาณ(หลวงปู่ชม) วัดป่าบ้านวัวฆ่อง อุดรธานี
    13.พระอาจารย์บุญเพ็ง วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
    14.พระครูศรีธรรมมาคุนาธาร วัดป่า อุดรธานี
    15.พระอาจารย์เพียร วัดป่าบ้านหนองกอง อุดรธานี
    16.พระอาจารย์บุญเลิศ วัดโนนสง่า อุดรธานี
    17.พระอาจารย์พระครูสันติวรญาณ(สิม) วัดป่าสันติสังฆาราม สกลนคร
    18.พระอาจารย์แว่น ธนปาโล วัดสุทธาวาส สกลนคร
    19.พระอาจารย์บุญ ชินวังโส วัดศรีสว่างแดนดิน สกลนคร
    20.พระอาจารย์วัน อุตโม วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร
    21.พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก สกลนคร
    22.พระอาจารย์อ่อนสี ฐานวโร วัดธรรมิการาม สกลนคร
    23.พระอาจารย์ผาง ปริปุณโณ วัดประสาทธรรม สกลนคร
    24.พระอาจารย์สุภาพ ธัมปัญโญ วัดทุ่งสว่าง สกลนคร
    25.พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่ สกลนคร
    26.พระอาจารย์สนั่น รักขิตสีโล วัดป่าบ้านหนองไผ่ สกลนคร
    27.พระอาจารย์สุพรรณ จันทวังโส วัดประชานิมิตร สกลนคร
    28.พระอาจารย์จันดี เขมะปัญโญ วัดศรีสอาด สกลนคร
    29.พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    30.พระญาณสิทธาจารย์(เมตตาหลวง) วัดเทพพิทักษ์ปุณนาราม นครราชสีมา
    31.พระชินวงศา(พุธ) วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
    32.พระสมุทร์ธรรมทาน(พวง) วัดศรีธรรมมาราม ยโสธร
    33.พระราชธรรมมานุวัตร์ วัดประชานิยม กาฬสินธุ
    34.พระอาจารย์หนูอินทร์ กิตติสาโร วัดพุทธคายา กาฬสินธุ
    35.พระอาจารย์หนู สุจิตโต วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    36.พระครูการุณธรรมนิวาส(หลวงพ่อหลวง) วัดป่าสำราญนิวาส
    37.พระอาจารย์ไพทูลย์ สุมังคโล วัดป่ารัตนวนาราม พเยาว์
    38.พระเทพวลาลังการ(หลวงศรีจันทร์) วัดสุทธาวาส เลย
    39.พระอาจารย์ผั่น ปาเรสโก วัดถ้ำเอราวัณ เลย
    40พระอาจารย์ซามา อจตโต วัดป่าอัมพวัน เลย
    41.พระอาจารย์พระครูญาณธาราภิรัต(ท่อน) วัดศรีอภัยวัน เลย
    42.พระอาจารย์สีทน วัดถ้ำผาปู่ เลย
    43.พระพุทธิสารธโสภณ วัดศรีโพนแท่น เลย
    44.พระอาจารย์บุญเย็น ฐานธัมโม สำนักสงฆ์เจ้าพรหมมหาราช เชียงใหม่
    45.หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    [​IMG]
    สมกับเป็นหลวงพ่อคำบ่อ เฉพาะพระสายกรรมฐานที่มาร่วมงานปัจจุบันท่านได้สิ้นไปแล้วเป็นจำนวนมากและมีหลายองค์
    ที่อัฐิกลายเป็นพระธาตุ ได้แก่
    พระอาจารย์จวน กุลเชโฐ วัดเจติยาราม หนองคาย
    พระศิลขันฑ์สังวรณ์(อ่อนสี) วัดพระงามศรีมงคล หนองคาย
    พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม วัดศิริสาละวัน อุดรธานี
    พระอาจารย์พระครูสันติวรญาณ(สิม) วัดป่าสันติสังฆาราม สกลนคร
    พระอาจารย์แว่น ธนปาโล วัดสุทธาวาส สกลนคร
    พระอาจารย์บุญ ชินวังโส วัดศรีสว่างแดนดิน สกลนคร
    พระอาจารย์วัน อุตโม วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร
    พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก สกลนคร
    พระอาจารย์อ่อนสี ฐานวโร วัดธรรมิการาม สกลนคร
    พระอาจารย์ผาง ปริปุรโณ วัดประสาทธรรม สกลนคร
    พระอาจารย์สุภาพ ธัมปัญโญ วัดทุ่งสว่าง สกลนคร
    พระอาจารย์สนั่น รักขิตสีโล วัดป่าบ้านหนองไผ่ สกลนคร
    พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณนาราม นครราชสีมา
    พระชินวงศา วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
    พระอาจารย์หนู สุจิตโต วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    พระครูการุณธรรมนิวาส(หลวงพ่อหลวง) วัดป่าสำราญนิวาส
    พระอาจารย์ผั่น ปาเรสโก วัดถ้ำเอราวัณ เลย
    พระอาจารย์สีทน วัดถ้ำผาปู่ เลย
    นี้ เอาเฉพาะพระกรรมฐานนะครับยังไม่พูดถึงองค์อื่นๆ เช่นหลวงปู่โต๊ะ (ที่จริงต้องนับท่านเป็นสายกรรมฐานด้วยเพราะท่านเคยศึกษาธรรมกับหลวงปู่ มั่น)

    ในพิธีนอกจากพระกริ่งแล้วยังมีรูปหล่อ หลวงปู่มั่น หลวงปู่แหวน และหลวงปู่ฝั้น ซึ่งหลังพิธีได้นำวัตถุมงคลทั้งหมดไปถวายหลวงปู่แหวนและหลวงปู่ขาวอธิฐานอีก


    ใครอยากได้พระรุ่นนี้ต้องหาในกูเกิ้ลเอา แต่ระวังมีของที่ไม่ได้เสก (เก๊) ออกมาอาละวาดด้วย หากใครได้ของแท้ ก็คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหาพระเครื่องในสายพระปฏิบัติมาแขวนอีก เพราะดูรายชื่อ เอาเฉพาะที่อัฐิกลายเป็นพระธาตุไปแล้วก็เหลือกินครับ


    ขอขอบคุณ

     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,795
    ค่าพลัง:
    +16,108

    ขอโมทะนา พร้อมสาธุบุญ พร้อมทั้งขอให้ผู้ให้มีความสุขสำราญ เบิกบานหัวใจ ไม่เจ็บไม่ไข้ ร่ำรวยๆ ด้วยครับ ขอบคุณเถ้าแก่มั่กๆ

    [​IMG]
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,795
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ก่อนปิดกระทู้คืนนี้อย่าลืมพรุ่งนี้และวันมะรืนน๊ะครับ...อยากเป็นชาวฟ้า ชาวสวรรค์ ก็ต้องไหว้สวย กราบสวย แล้วก็...



    [​IMG]




    อานิสงส์ข้าวประดับดิน (ใส่บาตร)


    ......ทุคคตะคนเข็ญใจไร้ทรัพย์ ความว่า สมัยหนึ่งมีบุรุษเข็ญใจไร้ญาติพี่น้องได้
    อาศัยพวกชาวบ้านเลี้ยงชีพไปวันหนึ่ง ๆ แต่ว่ามีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนา ปรารถนาใคร่จะ
    ถวายทานอยู่เนืองนิตย์แต่ไม่มีวัตถุทานอันประณีตพอจะทำถวายทานได้อยู่มาวันหนึ่งเป็นวันที่ชาวบ้าน
    ได้ทำบุญข้าวประดับดินหมู่ชนทั้งหลายก็เตรียมอาหารบิณฑบาต นำไปสู่อารามอย่างล้นหลามด้วยหน้า
    ตาผ่องใสรื่นเริงด้วยกันทุกคน ฝ่ายบุรุษเข็ญใจคนนั้นออกจากกระท่อมน้อยก็แลดูประชาชนเขาทำบุญ
    กันรื่นเริงแจ่มใส น้ำตาก็ไหลรินลงอาบหน้าโดยไม่รู้ตัว ในเมื่อความโศกเศร้าน้อยใจอยู่นั้นก็พอดี
    เหลือบไปเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวโคจรบิณฑบาตมาหยุดตรงหน้าของทุคคตะนั้นก็เกิดศรัทธาแรง
    กล้านึกถึงข้าวก้อนหนึ่งประมาณเท่าผลมะตูมที่ตนหามาได้ ก็รีบไปเอามาใส่บาตรแก่ภิกษุรูปนั้นด้วย
    ความปีติยินดี ความเสียใจน้อยก็หายไปแล้วอุทิศส่วนกุศลที่ทำแล้วนั้นไปถึงสัตว์ทั้งหลายมีบิดามารดา
    เป็นต้น


    ท่านกล่าวว่ามีเปรตชนซึ่งเป็นญาติของทุคคตะนั้น ยมพบาลได้ปล่อยไปเที่ยวแสวงหาอาหาร
    พอดีกับการทำบุญ ของทุคคตะผู้เป็นญาติอุทิศไปถึงพากันอนุโมทนา แล้วก็อวยพรให้ทุคคตะผู้เป็น
    ญาตินั้นประสบด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกทิพาราตรีกาล ฝ่ายพระยายมราช เมื่อทราบว่าสัตว์
    นรกเปรตวิสัยนี้มีส่วนบุญ อันได้กระทำไว้ เพราะการรับอนุโมทนาทานที่ญาติได้อุทิศไปถึงตนจึง
    ปล่อยให้พ้นจากกรรมในนรกแล้วก็ถือปฏิสนธิในเทวสถานด้วยอำนาจวาสนาบารมีของทุคคตะส่งไป
    ถึงนั้น ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาทุคคตะได้แสวงหาเลี้ยงชีพก็คล่องแคล่วไม่ขัดสน นำตนให้ประสบความ
    รุ่งเรืองเป็นลำดับมา ถึงกับมีทรัพย์ทำการค้าขายได้โดยสะดวก ก็ได้ทำบุญกุศลทวีขึ้นเป็นลำดับ มีการ
    ให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา เป็นต้น ครั้นถึงเวลาอายุขัยก็ทำกาลกิริยาตายไป ก็บังเกิดใน
    สวรรค์เป็นเทพบุตร มีนางเทพอัปสรแวดล้อมเป็นยศบริวารเมื่อหมู่ญาติที่เป็นเทพธิดา ทราบข่าวก็พา
    กันไปถือเครื่องสักการบูชาคุณแก่เทพบุตรนั้น





     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2009
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,795
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ทำอย่างไรดีหนอ ....(หลวงพ่อจรัญ ฐิตตฺโม)


    [​IMG]


    หากต้องการภาพขนาดใหญ่ เพื่อทำ Wallpaper
    Download Wallpaper Link...

    (กดปุ่มเมาส์ด้านขวา เลือก Save Target As)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2009
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,795
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ไม่เรียน ไม่รู้...(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

    [​IMG]


    หากต้องการภาพขนาดใหญ่ เพื่อทำ Wallpaper
    Download Wallpaper Link...

    (กดปุ่มเมาส์ด้านขวา เลือก Save Target As)
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,795
    ค่าพลัง:
    +16,108
    การเจริญสติต้องทำโดยต่อเนื่องทุกเวลา...(หลวงพ่อจรัญฯ)


    [​IMG]


    หากต้องการภาพขนาดใหญ่ เพื่อทำ Wallpaper
    Download Wallpaper Link...

    (กดปุ่มเมาส์ด้านขวา เลือก Save Target As)
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,795
    ค่าพลัง:
    +16,108
    ทำอะไรทำจริง...งานเสร็จด้วยสัจจะ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

    [​IMG]


    หากต้องการภาพขนาดใหญ่ เพื่อทำ Wallpaper
    Download Wallpaper Link...

    (กดปุ่มเมาส์ด้านขวา เลือก Save Target As)



    ทั้งบทความและภาพสวยๆ นี้ สำเร็จโดยคุณลูกโป่ง จากเวบ
    หน้าหลัก
     
  14. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ :

    [​IMG]


    กุญแจสู่มรรคผลและนิพพาน

    ปัญหา อะไรเป็นเครื่องมืออันสำคัญ ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้ปุพเพนิวาสนุสสติญาณระลึกชาติก่อนได้ จุตูปปาตญาณ รู้จุติและอุบัติของสัตว์ ทั้งหลาย อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้หมดสิ้นไป?

    พุทธดำรัสตอบ “ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ภิกษุนั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก.... ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย..... ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ.... ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางปฏิบัติเพื่อความดับอาสวะ....
    “เมื่อภิกษุรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวสาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าพ้นแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีฯ ”

    จูฬหัตถิปโทปมาสูตร มู. ม. (๓๓๖)
    ตบ. ๑๒ : ๓๔๖-๓๔๘ ตท.๑๒ : ๒๘๖-๒๘๘
    ตอ. MLS. I : ๒๒๘-๒๓๐​



    สมาธิเกื้อหนุนปัญญา

    ปัญหา สมาธิเป็นปัจจัยเกื้อหนุนแก่ปัญญาอย่างไร ?

    พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง รู้อะไรตามความเป็นจริง ? ย่อมรู้ตามความเป็นจริง มีทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางปฏิบัติเพื่อไปสู่ความดับทุกข์...”


    สมาธิสูตร มหา. สํ. (๑๖๕๔ )
    ตบ. ๑๙ : ๕๒๐ ตท. ๑๙ : ๔๗๐
    ตอ. K.S. ๕ : ๓๕๒


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.84000.org
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2009
  15. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    ธรรมะจากหลวงปู่ทิม


    [​IMG]



    <TABLE height=2750 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center bgColor=#ffffe7 border=0 cool gridx="16" gridy="16" showgridx showgridy><TBODY><TR height=390><TD vAlign=top align=left width=421 colSpan=3 height=390 xpos="78"><TABLE cellSpacing=10 cellPadding=0 width=346 align=center bgColor=#ffffce border=0><TBODY><TR><TD>
    สรุปหัวข้อบารมี ๑๐






    ๑.ทานบารมี พอใจในการให้ทานอยู่เสมอ เป็นการตัดโลภะ ความโลภ




    ๒.ศีลบารมี พยายามรักษาศีลให้ครบถ้วน เป็นการป้องกันอบายภูมิ




    ๓.เนกขัมมะบารมีพยายามระงับนิวรณ์ในเบื้องต้นตัดสังโยชน์ไปเสีย




    เป็นเรื่องสุดท้าย ป้องกันความวุ่นวายของชีวิต




    ๔.ปัญญาบารมี ทรงปัญญาไว้ให้ดี ยอมรับนับถือกฎของความจริง




    คือการตัดอารมณ์กลุ้ม




    ๕.วิริยะบารมี มีความพากเพียรต่อสู้กับกิเลสและอารมณ์ของความชั่ว




    เป็นการค่อยๆ ทำลายความชั่วให้พินาศไป




    ๖.ขันติบารมี ต้องมีความอดทนใจ เพราะกำลังใจของเราคบกับกิเลส




    มานาน ถ้าจะห่ำหั่นมันก็ต้องมีการต่อสู้ ต้องอดทน




    ๗.สัจจะบารมี ความตั้งใจจริง เราตั้งใจว่าจะทำอะไรก็ทำอย่างนั้น




    อย่าท้อถอย ไม่ยอมละ




    ๘.อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ดีว่า มนุษยโลก เทวโลกและพรหมโลก




    เป็นทุกข์ ตั้งใจไว้เฉพาะว่าจะไปนิพพาน




    ๙.เมตตาบารมี ทำจิตใจของเราให้ดี มีความแช่มชื่นเห็นคนและสัตว์




    ทั้งโลกเป็นที่รักของเราทั้งหมด เราไม่มีเวร ไม่มีภัยกับใครแล้ว




    ๑๐.อุเบกขาบารมี อดทนต่อความอดกลั้นทั้งหลายต่ออุปสรรคทั้งหมด




    วางเฉย ไม่ต่อสู้ ไม่รุกราน ไม่หวั่นไหว สร้างกำลังใจไว้โดยเฉพาะใน




    เรื่องร่างกาย ร่างจะเป็นทุกข์ขนาดไหนถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของมัน




    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE cellSpacing=10 cellPadding=0 width=346 bgColor=#ffffce border=0><TBODY><TR><TD>
    สรุปหัวข้อสังโยชน์ ๑๐ ต้องตัดให้หมด





    ๑.สังกายทิฐิ มีความรู้สึกว่ากายนี้ต้องไม่ตาย และร่างกาย




    นี้เป็นเรา เป็นของเรา




    ตัด สังกายทิฐิ ให้คิดว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีร่างกายนี้




    ร่างกายนี้ไม่มีในเรา




    ๒.วิจิกิจฉา สงสัยคำสอนของพระพุทธเจ้า พระธรรม




    พระอริยสงฆ์




    ตัด วิจิกิจฉา เชื่อตามคำสอนของพระพุทธเจ้า




    พระธรรม พระอริยสงฆ์




    ๓.สีลัพพตปรามาส ลูบคลำศีล ไม่รักษาศีลจริงจัง




    ตัด สีลัพพตปรามาส รักษาศีลอย่างจริงจัง




    ๔.กามฉันทะ พอใจในกามคุณ




    ตัด กามฉันทะ ตัดความพอใจในกามคุณ




    ๕.ปฏิฆะ มีอารมณ์กระทบใจ จิตมีความโกรธ




    ตัด ปฏิฆะ ตัดอารมณ์ที่มากระทบใจ จิตมีเมตตาปราณี




    ๖.รูปราคะ หลงในรูปฌาน




    ตัด รูปราคะ ไม่หลงในรูปฌาน




    ๗.อรูปราคะ หลงในอรูปฌาน




    ตัด อรูปราคะ ไม่หลงในอรูปฌาน




    ๘.มานะ มีการถือตัวถือตน




    ตัด มานะ ไม่ถือตัวว่าดีกว่าคนอื่น วิเศษกว่าคนอื่น




    ๙.อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน




    ตัด อุทธัจจะ ตัดอารมณ์ฟุ้งซ่าน




    ๑๐.อวิชชา ไม่รู้ตามความเป็นจริงเรื่องนิพพาน



    ตัด อวิชชา เข้าใจตามความเป็นจริงเรื่องพระนิพพาน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    อิทธิบาท ๔



    ๑.ฉันทะ คือความพอใจในกิจที่จะพึงทำ
    ๒.วิริยะ คือ ความเพียรในการต่อต้านอุปสรรค
    ๓.จิตตะ คือ เอาจิตใจจดจ่ออยู่เสมอในกิจที่เราจะพึงทำไม่ละเลย
    ไม่เอาจิตให้ห่างเหิน ไม่เผลอ ให้จดจ่ออยู่แต่สิ่งที่เราจะทำให้ได้
    ๔.วิมังสา คือ ก่อนที่จะทำอะไรทั้งหมด ให้พิจารณาใช้
    ปัญญาใคร่ครวญดูให้ดีเสียก่อนว่าในสิ่งที่เราจะพึงทำนี้ว่าจะมี
    ผลดี ผลเสียอย่างไร เลือกเอาในส่วนเฉพาะที่มีผลดี ไม่เลือกเอา
    ในส่วนที่มีผลชั่ว



    ถ้ามีอิทธิบาท ๔ ครบถ้วนแล้ว จรณะ ๑๕ ก็จะมีครบถ้วน
    ด้วย และสามารถจะควบคุมบารมีทั้ง ๑๐ ประการให้คงตัว
    อาการทั้ง ๓ อย่างนี้จงทรงอารมณ์ให้ครบ อย่าให้ขาด ถ้าอารมณ์
    ๓ อย่างบกพร่อง ความสำเร็จที่ต้องการจะไม่เป็นผลเลย ต้อง
    พยายามควบคุมอารมณ์ให้ทรงตัว



    <TABLE cellSpacing=10 cellPadding=0 width=346 bgColor=#ffffce border=0><TBODY><TR><TD>
    พรหมวิหาร ๔





    ๑.มีความรัก รักในคนในสัตว์ เสมอด้วยตัวเรา
    ๒.สงสารเห็นใจคนและสัตว์ มีความสงสาร เสมอด้วยตัว
    เราเอง
    ๓.มีจิตใจอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยาใคร เห็นใครได้ดีพลอยดีใจ
    ยินดีด้วย และปฏิบัติดีตามเขา ดูเหตุของความดีว่าทำไมเขาจึงดี
    เราทำตามนั้นบ้าง มันก็ดี ไม่ใช่แข่งขันกับเขา
    ๔.อุเบกขา การวางเฉย เห็นใครเพลี่ยงพล้ำ จิตพร้อม
    จะช่วยอยู่เสมอถ้ามีโอกาส



    นี่คือ ลักษณะของพรหมวิหาร มี ๔ อย่างแบบนี้ ได้บอกไว้แล้ว
    คนที่จะให้ทานต้องมี พรหมวิหาร ๔ เมื่อพรหมวิการ ๔มีแล้ว ศีลก็มีได้
    เมตตาความรักก็มี กรุณาความสงสารก็มี จิตใจ อ่อนโยนก็มี อุเบกขา
    การเฉยก็มี เฉยเพราะอย่างสัตว์พอที่จะฆ่าได้เราก็ไม่ฆ่า ปล่อยไป จัดเป็น
    อภัยทาน เห็นของพอที่จะขโมยได้ เราก็ไม่ขโมย อุเบกขาก็เฉย เห็นคนที่
    น่ารักพอที่จะยื้อแย่งความรักเข้าได้เราก็ไม่ทำ คนพอที่จะโกหกได้
    เราก็ไม่โกหก เฉยหรือว่า ดื่มสุราเมรัย มันล่ออยู่ข้างหน้า เราก็ไม่ดื่ม เฉย
    อย่างนี้ก็ได้ หรือมีความรักเสียอย่างหนึ่ง โกรธเขาไม่ได้ ทรมานเขาไม่
    ได้ มีความรักเสียอย่างหนึ่ง คดโกงไม่ได้ ขโมยเขาไม่ได้ มันทำไม่ได้
    มีความรักเสียอย่างหนึ่ง แย่งความรักเขาไม่ได้ โกหกมดเท็จ ก็ไม่ได้
    คนรักกันจะโกหกอย่างไร นี้คือลักษณะของคนที่มีพรหมวิหาร ๔ ดีอย่างนี้



    ฉะนั้นการรักษาศีลก็เป็นการรักษาไม่ยาก ถ้ามีพรหมวิหาร ๔
    ศีลไม่ยาก อยู่กับตัวแน่นอน หากขาดพรหมวิหาร ๔ ประการนี้แล้ว ก็เป็น
    ว่า ท่านหาความดีอะไรไม่ได้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าความชั่วมันจะ
    หลั่งไหลเข้ามาสู่ใจ เป็นปัจจัยให้เกิดความทุกข์ทั้งปัจจุบันและ สัมปรายภพ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <TABLE height=2750 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 align=center bgColor=#ffffe7 border=0 cool gridx="16" gridy="16" showgridx showgridy><TBODY><TR height=497><TD vAlign=top align=left width=421 colSpan=3 height=497 xpos="78">


    <TABLE cellSpacing=10 cellPadding=0 width=346 bgColor=#ffffce border=0><TBODY><TR><TD>
    ทาน



    การบริจาค เป็นการกำจัด โลภะ ความโลภของจิต แล้วคนที่จะ
    ให้ทานได้ ก็ต้องประกอบไปด้วยความเมตตากรุณา ตกอยู่ในอำนาจของ
    พรหมวิหาร ๔ ถ้าคนใด จิตจับอยู่ในอำนาจของพรหมวิหาร ๔ วันหนึ่ง
    สักชั่วขณะจิตเดียว พระพุทธเจ้ากล่าวว่า "หน้าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ที่ไม่วาง
    จากฌาน"แล้วคนใดที่มีเมตตาจิตอยู่แล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้ว
    กล่าวว่า เขาผู้นั้นเป็นผู้มีอภัยทาน มีอานิสงส์มาก ตกนรกไม่เป็น



    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    "สูงสุดคือวิหารทาน"





    ทำทานกับคนไม่มีศีล ๑๐๐ ครั้ง


    มีอานิสงส์ไม่เท่ากับทำทานกับคนมีศีล ๑ ครั้ง



    ทำทานกับคนมีศีล ๑๐๐ ครั้ง



    มีอานิสงส์ไม่เท่ากับถวายทานแด่พระมีศีล ๑ ครั้ง



    การถวายทานแด่พระมีศีล ๑๐๐ ครั้ง



    มีอานิสงส์ไม่เท่ากับการถวายทานแด่พระอรหันต์ ๑ ครั้ง



    การถวายทานแด่พระอรหันต์ ๑๐๐ ครั้ง



    มีอานิสงส์ไม่เท่ากับการถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ ครั้ง



    การถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง



    ก็มีอานิสงส์ไม่เท่ากับการถวายทาน แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ ครั้ง



    การถวายทาน แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง



    ก็มีอานิสงส์ไม่เท่ากับการถวายสังฆทาน ๑ ครั้ง



    มีอานิสงส์มาก



    เป็นอันว่า วัตถุทานจริงๆ ที่มีอานิสงฆ์ คือการถวายสังฆทาน แต่



    วัตถุทานอีกอย่างหนึ่งก็คือ



    ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับการถวายวิหารทาน ๑



    ครั้ง ก็รวมความว่า วัตถุทานอันดับ ๒ คือสังฆทาน วิหารทาน



    เป็นอันดับ ๑








    ขอขอบคุณข้อมูลจาก











    [​IMG]
    </TD><TD width=1 height=497><SPACER type="block" width="1" height="497"></TD></TR><TR height=187><TD vAlign=top align=left width=421 colSpan=3 height=187 xpos="78"></TD></TR></TBODY></TABLE>






    </TD><TD width=1 height=390><SPACER type="block" width="1" height="390"></TD></TR><TR height=476><TD vAlign=top align=left width=421 colSpan=3 height=476 xpos="78"></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2009
  16. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    ข้อความของหลวงปู่หล้า เขมปัตฺโต
    ที่เขียนถึงฝ่าเท้าของหลวงปู่มั่น

    [​IMG]




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    ข้อความของหลวงปู่หล้า เขมปัตฺโต ที่เขียนถึงฝ่าเท้าของหลวงปู่มั่น



    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    จากรูปด้านบน 3 รูป
    ข้อความของหลวงปู่หล้า เขมปัตฺโต ที่เขียนถึงฝ่าเท้าของหลวงปู่มั่น

    เรื่องที่ลืมเขียนมานานคือ ....
    ( ฝ่าเท้าหลวงปู่มั่นทั้งสองข้าง เป็นตาหมากรุกหมดเต็มทั้งสองฝ่า )
    เวลาสรงน้ำท่านปรารภว่า(ฝ่าเท้าของเราไม่เหมือนหมู่เพียงเท่านี้)
    พูดค่อยๆแบบเย็นๆ (ในยุคหนองผือ สี่ปีที่ข้าพเจ้าอยู่กับองค์ท่านนั้น)
    พระเณรผู้น้อยที่ถวายข้อวัตรสรงน้ำถวายองค์ท่านนั้น ผู้สงวนฟังจึง -
    จะได้ยิน (เพราะองค์ท่านก็ปรารภค่อยแบบประหยัดไม่แกมอวด)
    ส่วนข้าพเจ้าไม่ได้__อาจเอื้อมถูข้างบน(ระหว่างฝ่าเท้าเสมอๆ)
    จำพวกที่ถูหลัง ตัว แขน ขา ฝ่าเท้านั้น มักจะเป็นพระ ๔-๓-๒-
    พรรษาเท่านั้นได้ถู พระผู้ใหญ่เหนือ ๕-๖-๗-๘-๙- ไปแล้วไม่ค่อย
    จะได้ถู ตัว แขน ขา เพราะองค์หลวงปู่เทสน์ว่า สรงน้ำนี้เว้นให้ผู้น้อย
    เขาสรงเสีย ถ้าพระผู้ใหญ่มาทำขวางผู้น้อย ผู้น้อยเขาระอายเก้อเขิน
    เพราะเขาไม่มีทางเอื้อมมือเข้า และเขาก็กระดากระอายดังนี้
    ส่วนข้าพเจ้าพรรษาอ่อน แต่อายุสามสิบกว่าในสมัยนั้น
    และการที่องค์ท่านปรารภว่า ฝ่าเท้าของเราไม่เหมือนหมู่ นั้นองค์ท่าน
    (ปรากฎว่า ปรารภครั้งเดียวเบาๆเท่านั้นไม่ได้ซ้ำๆซากๆอีก) ส่วนข้าพเจ้า
    ผู้สงวนถูฝ่าเท้าก็เห็นเป็นตาหมากรุกเต็มฝ่าเท้าทั้งสองทางจริง ข้อนี้
    ในชีวะประวัติขององค์ท่านเล่มใดๆก็ไม่ปรากฎเห็น และยุคที่องค์ท่านทรงพระ
    ชีวาอยู่ ก็บรรดาลดลใจไม่มีใครสนใจปรารภ (น่าแปลกมาก) ข้าพเจ้าก็บรรดาล
    ลืมอีกด้วย เรียกได้ว่าข้าพเจ้าไม่มีพยานก็ว่าได้ (แต่เอาตาหูตนเองเป็นพยาน)
    ยุคก่อนๆก็ไม่มีท่านผู้ใดเล่าให้ฟัง (ชะรอยจะว่าดีชั่วไม่อยู่กับฝ่าเท้าอยู่กับใจกับธรรม)
    o เรื่องฝ่าเท้าขององค์หลวงปู่มั่นเป็นตาหมากรุกนี้ เป็นของ
    ทรงพระลักษณะสำคัญมาก แต่ก็น่าสนใจมากว่า ไฉน
    จึงบรรดาลไม่ให้พระจำพวกผู้ใหญ่สนใจเอาลงในชีวะ
    ประวัติ(กลายเป็นของไม่สำคัญไป)ชะรอยพระผู้น้อยที่
    เห็นในเวลาสรงน้ำถวายแล้ว ไม่เล่าถวายให้พระผู้ใหญ่
    ฟัง แต่ข้าพเจ้าเองก็บรรดาลลืม ไม่ค่อยสนใจเล่าเลย
    แต่พอมาถึงยุคภูจ้อก้อตอนแก่กว่เจ็ดสิบปีกว่าๆแล้ว
    จึงระลึกเห็น เป็นของน่าแปลกมากแท้ๆที่ลืมพากันลืม
    เขียนลง แต่คราวองค์ท่านทรงพระชีวาอยู่ก็ดี หรือ
    ทรงพระมรณะกาเลก็ดี ไม่มีท่านผู้ใดสงวนปรารภ ก็เป็น
    ของคล้ายกับว่าอุตตริขึ้นมาภายหลัง แต่ก็ต้องอาศรัย
    หลักของความจริง ไม่หนีจากความจริงเฉพาะตอนนี้
    เป็นพยาน จริงก็ต้องเอาจริงเป็นพยาน เท็จก็ตรงกันข้าม
    o ชีวะประวัติยุคภูจ้อก้อเป็นยุคสุดท้ายภายแก่ชะราพาธ ถ้าไม่มรณะกา
    เลไปเสียแล้ว ชีวะประวัติก็จะไม่จบได้ แต่จะอย่างไรก็ตามทีเถิด
    ต่างจะได้พิจารณาว่า เจตนาปฏิบัติพระพุทธศาสนาแพื่อประสงค์อะ
    ไรบ้าง และจิตใจจะอยู่ระดับใดบ้าง เหล่านี้เป็นต้น แต่บรรยาย
    พอสังเขปก็เอาละ จะบรรยายไปมากก็จะเป็นหลายวรรคหลายตอน
    และก็ความพอดีพองามในโลกนี้ไม่รู้ว่าจะอยู่ระดับใดแน่ ถ้ามาก
    เกินไปเล่มก็ใหญ่ลงทุนก็มาก ท่านผู้อ่านก็จะระอาอีก น่าพิจารณา
    และก็คล้ายๆกับว่าตนเป็นผู้ประเสริฐเลิศล้ำ ระฆังไม่ดังก็ตีจนระฆัง
    แตก แต่จะอย่างไรก็อาศรัยเจตนาเป็นเกณฑ์ ก็แล้วกันกระมัง
    หล้า​


    [​IMG]

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.84000.org
     
  17. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    พุทธคุณ พาหุง มหากา

    จากคำสอนหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

    หลวงพ่อจรัญ " พระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า บางคนเขาไปหาหมอดูเคราะห์ร้ายก็ต้องสะเดาะเคราะห์
    อาตมาก็มาดูเหตุการณ์โชคลางไม่ดีก็เป็นความจริงของหมอดู อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติ
    บอกว่าโยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุให้เกินกว่า ๑ ให้ได้ เพื่อให้สติดี แล้วสวด "พาหุงมหากา" หายเลย
    สติก็ดีขึ้นเท่าที่ใช้ได้ผลสวดตั้งแต่ นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากา
    จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้น เอาพุทธคุณห้องเดียว ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ อายุ ๔๐ สวด ๔๑ ก็ได้ผล "
    <HR>
    <<เริ่มสวด>>
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ๑. พุทธคุณ
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

    ๒. ธรรมคุณ
    สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

    ๓. สังฆคุณ
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ๔. พุทธชัยมงคลคาถา (ถวายพรพระ)
    ๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
    เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    ๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
    * ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

    ๕. มหาการุณิโก
    มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
    ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
    นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
    อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
    พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
    สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
    จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
    มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    * ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)
    กราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วสวดเฉพาะพุทธคุณ ดังต่อไปนี้
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จาระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
    ให้สวดพุทธคุณเกินอายุ ๑ จบ เช่น อายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ
    เมื่อสวดพุทธคุณครบตามจำนวนจบที่ต้องการแล้ว จึงตั้งจิตแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลดังนี้

    คาถาแผ่เมตตาตนเอง
    อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
    อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
    อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
    อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
    ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด

    แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
    สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
    สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ

    บทกรวดน้ำ (อุทิศส่วนกุศล)
    อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
    อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
    อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลายจงมีความสุข
    อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
    <<จบบทสวด>>
    <HR>คำแปล "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" มีอยู่ ๘ บท และมีความมุ่งหมายแตกต่างกันทั้งแปดบท กล่าวคือ

    บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
    บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์
    บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้
    บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร
    บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ
    บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ
    บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
    บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน
    เราจะเห็นได้ว่า ของดีวิเศษอยู่ในนี้ และถ้าพูดถึงการที่จะเอาชนะหรือการแสวงหาความมีชัย ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร
    นอกเหนือไปจาก ๘ ประการที่กล่าวข้างต้น
    ก่อนที่จะนำเอาตัวคาถาบทสวดมนต์และคำแปลมาไว้ให้จำจะต้องทำความเข้าใจคำอธิบายบทต่างๆ
    ไว้พอสมควรก่อน เพราะความในคาถาเองเข้าใจยาก ถึงจะแปลออกมาก็ยังเข้าใจยากอยู่นั่นเอง เมื่อเราไม่เข้าใจ
    เราอาจจะไม่เกิดความเลื่อมใส จึงควรจะหาทางทำความเข้าใจกันให้แจ่มแจ้งไว้ก่อน
    ในบทที่ ๑. เป็นเรื่องผจญมาร ซึ่งมีเรื่องว่าพระยามารยกพลใหญ่หลวงมา พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถเอาชนะได้
    จึงถือเป็นบทสำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
    คำแปล- พระยามารผู้นิรมิตแขนได้ตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างชื่อ ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องมา
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะมารได้ ด้วยทานบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๒. เรื่องเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่ง ชื่ออาฬะวกะ เป็นผู้มีจิตกระด้างและมีกำลังยิ่งกว่าพระยามาร
    พยายามมาใช้กำลังทำร้ายพระองค์อยู่จนตลอดรุ่ง ก็ทรงทรมานยักษ์ตนนี้ให้พ่ายแพ้ไปได้
    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะปฏิปักษ์หรือคู่ต่อสู้
    คำแปล- อาฬะวกะยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความยับยั้ง มีฤทธิ์ใหญ่ยิ่งกว่าพระยามาร
    เข้ามาประทุษร้ายอยู่ตลอดรุ่ง องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยขันติบารมี ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๓. มีเรื่องว่าเมื่อพระเทวทัตทรยศต่อพระพุทธเจ้า ได้จัดการให้คนปล่อยช้างสาร ที่กำลังตกมันชื่อนาฬาคีรี
    เพื่อมาทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่เมื่อช้างมาถึงก็ไม่ทำร้าย จึงถือเป็นบทที่เอาชนะสัตว์ร้าย
    คำแปล- ช้างตัวประเสริฐ ชื่อนาฬาคีรี เป็นช้างเมามัน โหดร้ายเหมือนไฟไหม้ป่า มีกำลังเหมือนจักราวุธ และสายฟ้า
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยพระเมตตาบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๔. เป็นเรื่องขององคุลีมาล ซึ่งเรารู้กันแพร่หลาย คือ องคุลีมาลนั้นอาจารย์บอกไว้ว่า
    ถ้าฆ่าคนและตัดนิ้วมือมาร้อยเป็นสร้อยคอ ให้ได้ครบพัน ก็จะมีฤทธิ์เดชยิ่งใหญ่
    องคุลีมาลฆ่าคนและตัดนิ้วมือได้ ๙๙๙ เหลืออีกนิ้วเดียวจะครบพัน ก็มาพบพระพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้าทรงสามารถเอาชนะถึงกับองคุลีมาลเลิกเป็นโจรและยอมเข้ามาบวช กลายเป็นสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่ง
    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะโจรผู้ร้าย
    คำแปล- โจร ชื่อ องคุลีมาล มีฝีมือเก่งกล้า ถือดาบเงื้อวิ่งไล่พระองค์ไปตลอดทาง ๓ โยชน์
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยการกระทำปาฏิหาริย์ ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๕. หญิงคนหนึ่งมีนามว่า จิญจมาณวิกา ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า โดยเอาไม้กลมๆ
    ใส่เข้าที่ท้องแล้วก็ไปเที่ยวป่าวข่าวให้เล่าลือว่าตั้งครรภ์กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ให้ความจริงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษพระองค์โดยแท้
    จึงถือเป็นบทที่เอาชนะคดีความหรือการกล่าวร้ายใส่โทษ
    คำแปล- นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบ ระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๖. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะสัจจะกะนิครนถ์ ซึ่งเป็นคนเจ้าโวหาร เข้ามาโต้ตอบกับพระพุทธเจ้า
    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะในการโต้ตอบ
    คำแปล- สัจจะกะนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์ใฝ่ใจจะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูงประหนึ่งว่ายกธงเป็นผู้มืดมัวเมา
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยรู้นิสัยแล้วตรัสเทศนาด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๗. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ให้พระโมคคัลลาน์ อัครมหาสาวกไปต่อสู้เอาชนะพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ
    ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้มากหลาย จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
    คำแปล- องค์พระจอมมุนี ได้โปรดให้พระโมคคัลลาน์เถระ นิรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพระยานาคชื่อ
    นันโทปนันทะ ผู้มีฤทธิ์มากให้พ่ายแพ้ด้วยวิธีอันเป็นอุปเท่ห์แห่งฤทธิ์ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
    ในบทที่ ๘. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าสำคัญว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถทำให้ผกาพรหมยอมละทิ้งทิฏฐิมานะ และยอมว่าพระพุทธเจ้าสูงกว่า
    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะทิฏฐิมานะของตน
    คำแปล- พรหม ผู้มีนามว่า ท้าวผกา มีฤทธิ์และสำคัญตน ว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์
    มีทิฏฐิที่ถือผิดรัดรึงอยู่อย่างแน่นแฟ้น องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีเทศนาญาณ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา


    คำแปล มหาการุณิโก

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

    ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ




    ใจท่องแต่ไม่ได้ออกปาก มีอานิสงส์กว่า ปากท่องไม่ได้ออกจากใจ

    ใจต้องอยู่กับบทสวด ไม่ใช่ปากท่องขึ้นใจ
    แต่ใจไปคิดเรื่องต่างๆ


    ตั้งสติพิจารณาอักษร หรือคำ หรือความหมาย
    หรือตั้งสติรู้ที่ ลมหายใจ หรือ ปาก
    ที่กำลังสวด

    สวดมนต์ควรจะรู้คำแปล เพื่อจะได้ปัญญา


    แม้ยังแปลไม่ออก ใจควรเลื่อมใส ศรัทธา นำ
    น้อมจิตใจ สวดบูชา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    สวดรู้คำแปลได้ปัญญา
    สวดไม่รู้คำแปลได้ศรัทธา


    อานิสงส์จากการสวดมีจริง
     
  18. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>ทางเดินจงกรม ใกล้ๆบริเวณกุฏิ ณ วัดป่าภูริทัตตถิราวาส
    ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



    [​IMG]






    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    รูป ทางเดินจงกรม ใกล้ๆบริเวณกุฏิ ณ วัดป่าภูริทัตตถิราวาส ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต







    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    [​IMG]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    [​IMG]
    ภาพถ่ายหลวงปู่มั่น ถ่ายจากวัดป่ามัชฌิมวาส (วัดหลวงพ่อเมือง) คลิ๊กที่รูปเพื่อดาวโหลด รปูขนาดใหญ่ได้
    รูปถ่ายนี้ ผมได้ถ่ายมาจากรูปถ่ายในวัดป่ามัชฌิมวาส (วัดหลวงพ่อเมือง พลวฑโฒ) ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ จากการสอบถามพระในวัด พ่อแม่ครูอาจารย์ในรูป (จากซ้ายไปขวา) คือ 1.หลวงปู่มั่น 2.หลวงปู่ขาว 3.หลวงปู่หลุย 4.หลวงตามหาบัว หากผิดพลาดประการใด กระผมขอขมาในความไม่รู้ของกระผมด้วยครับ
    [​IMG]
    กุฎิหลวงปู่มั่นที่วัดป่านาคนิมิตต์

    [​IMG]
    กุฎิหลวงปู่มั่นที่วัดป่าภูริทัตตถิราวาส

    [​IMG]
    ถ้ำที่วัดภูหล่น ที่ๆหลวงปู่มั่นเคยมาภาวนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2009
  19. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    919
    ค่าพลัง:
    +4,294
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    คติธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตคัด
    จากหนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ






    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="89%" bgColor=#000000 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>
    คติธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    คัดจากหนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ


    * ผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม คือผู้สนใจหาความรู้ความฉลาดเพื่อคุณงามความดีทั้งหลาย ที่โลกเขาปรารถนากันเพราะคนเราจะอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้องกันตัวย่อมไม่ปลอดภัย ต่ออันตรายทั้งภายนอกภายใน เครื่องป้องกันตัวคือหลักธรรมมีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ จะเป็นเครื่องมั่นคงไม่สะทกสะท้านมีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอิริยาบท
    จะคิด-พูด-ทำอะไรไม่มีการยกเว้น มีสติปัญญาสอดแทรกอยู่ด้วยทั้งภายในและภายนอก มีความเข้มแข็งอดทน มีความเพียรที่จะประกอบคุณงามความดี คนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่นวุ่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ และเกียจคร้านในกิจการที่จะยกตัวให้พ้นภัย
    * การตำหนิติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย
    ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน
    การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง ​

    * ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่น ว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์ ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็สั่งสอนแล้วควรจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน
    * เมื่อเกิดมาอาภัพชาติ แล้วอย่าให้ใจอาภัพอีก
    ผู้เกิดมาชาตินี้อาภัพแล้ว อย่าให้ใจอาภัพ คิดแต่ผลิตโทษทำบาปอกุศลเผาผลาญตนให้ได้ทุกข์ เป็นบาปกรรมอีกเลย​

    * คนชั่ว ทำชั่วได้ง่าย และติดใจไม่ยอมลดละแก้ไขให้ดี
    คนดี ทำดีได้ง่าย และติดใจกลายเป็นคนรักธรรมตลอดไป​

    * เราต้องการของดี คนดี ก็จำต้องฝึก ฝึกจนดี จะพ้นการฝึกไปไม่ได้ งานอะไรก็ต้องฝึกทั้งนั้น ฝึกงาน ฝึกคน ฝึกสัตว์ ฝึกตน ฝึกใจ นอกจากตายแล้วจึงหมดการฝึก คำว่า ดี จะเป็นสมบัติของผู้ฝึกดีแล้วแน่นอน
    * ศีล นั้นอยู่ที่ไหนมีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนาคือจิตใจ คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่างๆ มีโทษต่างๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงหา หลงขอ คนที่หา คนที่ขอต้องเป็นทุกข์ ขอเท่าไหร่ยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยากยากเข็ญ
    กายกับจิตเราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้มาจากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์ จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เราแล้ว รักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล
    ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีลย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์ไม่อด ไม่ยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลให้สมบูรณ์ จิตดวงเดียวเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา
    ผู้มีศีลแท้เป็นผู้หมดเวรหมดภัย
    * คุณธรรม ยังมีผู้เข้าถึงให้เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องเลื่องระบือ มีความฉลาด กว้างขวางในอุบายวิธี ไม่มีคับแค้นจนมุม
    * การปฏิบัติธรรม เป็นการทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอนเรื่องกาย วาจา จิต มิได้สอนเรื่องอื่น ทรงสอนให้ปฎิบัติฝึกหัดจิตใจ ให้เอาจิตพิจารณากาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หัดสติให้มากในการค้นคว้า เรียกว่า ธัมมวิจยะ พิจารณาให้พอทีเดียว เมื่อพิจารณาพอจนเป็นสติสัมโพชฌงค์ จิตจึงจะเป็นสมาธิรวมลงเอง
    การประกอบความพากเพียรทำจิตให้ยิ่ง เป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า​


    • ความไม่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และแน่นอน
    • ความยิ่งใหญ่ คือความไม่ยั่งยืน
    • ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ คือชีวิตที่อยู่ด้วยทาน ศีล เมตตา และกตัญญู
    • ชีวิตที่มีความดี อาจมิใช่ความยิ่งใหญ่ แต่ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ต้องอาศัยคุณธรรมความดีเท่านั้น



    • * วาสนา นั้นเป็นไปตามอัธยาศัย
      คนที่มีวาสนาในทางที่ดีมาแล้ว แต่คบคนพาล วาสนาก็อาจเป็นคนพาลได้ บางคนวาสนายังอ่อน เมื่อคบบัณฑิต วาสนาก็เลื่อนขึ้นเป็นบัณฑิต​

      ฉะนั้น บุคคลควรพยายามคบแต่บัณฑิต เพื่อเลื่อนภูมิวาสนาของตนให้สูงขึ้น

    • ผู้มีปัญญา ไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงแล้วตามมา ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
    • ผู้มีปัญญา ได้เห็นในธรรมซึ่งเป็นปัจจุบัน ควรเจริญความเห็นนั้นไว้เนืองๆ ควรรีบทำเสีย
    • ผู้มีปัญญา ซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรแยกกิเลสให้หมดไป จะไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน


    * จิต เป็นสมบัติสำคัญมากในตัวเราที่ควรได้รับการเหลียวแล ด้วยวิธีเก็บรักษาให้ดี ควรสนใจรับผิดชอบต่อจิต อันเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งของตน วิธีที่ควรกับจิตโดยเฉพาะก็คือภาวนา ฝึกหัดภาวนาในโอกาสอันควร ตรวจดูจิตว่า มีอะไรบกพร่องและเสียไป จะได้ซ่อมสุขภาพจิต

    นั่งพินิจพิจารณาดูสังขารภายใน คือ ความคิดปรุงแต่งของจิตว่า คิดอะไรบ้าง มีสาระประโยชน์ไหม คิดแส่หาเรื่อง หาโทษ ขนทุกข์มาเผาตนอยู่นั้น พอรู้ผิด-ถูกของตัวบ้างไหม
    พิจารณาสังขารภายนอกว่า มีความเจริญขึ้นหรือเจริญลง สังขารมีอะไรใหม่หรือมีความเก่าแก่ชราหลุดไป พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอจะทำได้ ตายแล้วจะเสียการให้ท่องในใจอยู่เสมอว่า เรามีความแก่-เจ็บ-ตาย อยู่ประจำตัวทั่วหน้ากัน
    * ทาน-ศีล- ภาวนา ธรรมทั้ง 3 นี้ เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์ และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ ต้องเป็นผู้เคยสั่งสมธรรมเหล่านี้มาอยู่ในนิสัย ของผู้จะมาสวมร่างเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษย์อย่างแท้จริง​



    -------------------------------------------------------------------​



    คนหิว อยู่เป็นปกติสุขไม่ได้

    จึงวิ่งหาโน่นหานี่
    เจออะไรก็คว้าติดมือมาโดยไม่สำนึกว่าผิดหรือถูก
    ครั้นแล้วสิ่งที่คว้ามาก็เผาตัวเองให้ร้อนยิ่งกว่าไฟ​





    คนที่หลงจึงต้องแสวงหา

    ถ้าไม่หลงก็ไม่ต้องหา
    จะหาไปให้ลำบากทำไม
    อะไรๆ ก็มีอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว
    จะตื่นเงา ตะครุบเงาไปทำไม
    เพราะรู้แล้วว่า เงาไม่ใช่ตัวจริง
    ตัวจริง คือ สัจจะทั้งสี่ที่มีอยู่ในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว​





    -------------------------------------------------------------------​



    อานิสงส์ของศีล 5 เมื่อรักษาได้

    1. ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
    2. ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวี เบียดเบียนทำลาย
    3. ระหว่าง ลูก หลาน สามี ภริยา อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ไม่มีผู้คอยล่วงล้ำ กล่ำกราย ต่างครองกันอยู่ด้วยความผาสุข
    4. พูดอะไรมีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจไพเราะ ด้วยสัตย์ ด้วยศีล
    5. เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้าหลงหลัง จับโน่นชนนี่ เหมือนคนบ้าคนบอหาสติไม่ได้ ผู้มีศีล เป็นผู้ปลูกและส่งเสริมสุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลก ให้มีแต่ความอบอุ่นใจ ไม่เป็นที่ระแวงสงสัย ผู้ไม่มีศีลเป็นผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์ ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า​





    -------------------------------------------------------------------​



    เราเกิดมาเป็นมนุษย์

    มีความสูงศักดิ์มาก
    อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ
    มนุษย์เราจะต่ำลงกว่าสัตว์
    และจะเลวกว่าสัตว์อีกมากมาย
    อย่าพากันทำ
    ให้พากันละบาป บำเพ็ญบุญ
    ทำแต่คุณความดี
    อย่าให้เสียชีวิตเปล่าที่มีวาสนาเกิดมาเป็นมนุษย์​





    -------------------------------------------------------------------​



    กรรม จำแนกสัตว์ให้ทราม และประณีตต่างกัน​



    ผู้สงสัยกรรม หรือไม่เชื่อกรรมว่ามีผล

    คือ ลืมตนจนกลายเป็นผู้มืดบอดอย่างช่วยไม่ได้
    แม้เขาจะเกิดและได้รับการเลี้ยงดู
    จากพ่อ-แม่มาเป็นอย่างดีเหมือนโลกทั้งหลายก็ตาม
    เขาก็มองไม่เห็นคุณของพ่อ-แม่
    ว่าได้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูตนมาอย่างไรบ้าง
    แต่เขาจะมองเห็นเฉพาะร่างกายเขา
    ที่เป็นคนหนึ่งกำลังรกโลกอยู่โดยเจ้าตัวไม่รู้เท่านั้น​





    -------------------------------------------------------------------​



    คนฉลาดปกครองตนให้มีความสุขและปลอดภัย

    ไม่จำเป็นต้องเที่ยวแสวงหาทรัพย์มากมาย
    หรือเที่ยวกอบโกยเงินเป็นล้านๆ มาเป็นเครื่องบำรุง
    จึงมีความสุข
    ผู้มีสมบัติพอประมาณในทางที่ชอบ
    มีความสุขมากกว่าผู้ได้มาในทางมิชอบเสียอีก
    เพราะนั่นไม่ใช่สมบัติของตนอย่างแท้จริง
    ทั้งๆ ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์
    แต่กฏความจริง คือกรรมสาปแช่งไม่เห็นด้วย
    และให้ผลเป็นทุกข์ไม่สิ้นสุด
    นักปราชญ์ ท่านจึงกลัวกันหนักหนา
    แต่คนโง่อย่างพวกเรา
    ผู้ชอบสุกเอาเผากิน และชอบเห็นแก่ตัว
    ไม่มีวันอิ่มพอ ไม่ประสบผล คือ ความสุขดังใจหมาย​





    -------------------------------------------------------------------​



    อะไรๆ ที่เป็นสมบัติของโลก

    มิใช่สมบัติอันแท้จริงของเรา
    ตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล​





    สมบัติในโลกเราแสวงหามา

    หามาทุจริตก็เป็นไฟเผา
    เผาตัวทำให้ฉิบหายได้จริงๆ​





    -------------------------------------------------------------------​



    หาคนดีมีศีลธรรมในใจ

    หายากยิ่งกว่าเพรชนิลจินดา​





    ได้คนเป็นคนดีเพียงคนเดียว

    ย่อมมีคุณค่ามากกว่าเงินเป็นล้านๆ
    เพราะเงินเป็นล้านๆ
    ไม่สามารถทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้อย่างถึงใจ
    เหมือนได้คนดีทำประโยชน์​





    -------------------------------------------------------------------​



    ธรรม เป็นเครื่องปกครองสมบัติและปกครองใจ

    ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว
    ความอยากของใจจะพยายามหาทรัพย์
    ได้กองเท่าภูเขาก็ยังหาความสุขไม่เจอ
    ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียว
    จะอยู่ในโลกใด กองสมบัติใด ก็เป็นเพียงโลก
    เศษเดนและกองสมบัติเดนเท่านั้น
    ไม่มีประโยชน์อะไรแก่จิตใจแม้แต่นิด
    ความทุกข์ทรมาน ความอดทน
    ทนทาน ต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่างๆ
    ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ
    ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง
    ใจจะกลายเป็นของประเสริฐ
    ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที​





    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก






    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,795
    ค่าพลัง:
    +16,108

    รู้เอง เห็นเอง...(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)


    [​IMG]

    นี่ละเรื่องการปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติจริงๆ มันก็รู้จริงๆ เห็นจริงๆ
    เพราะธรรมของพระพุทธเจ้า
    คือ ตลาดแห่งมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่เป็นธรรมโมฆะ

    ขอให้มีผู้ปฏิบัติตาม ท่านเรียกว่า สวากขาตธรรม ตรัสไว้ชอบแล้ว
    ชอบตั้งแต่พื้นๆ ขึ้นไปถึงวิมุตติพระนิพพาน ไม่มีผิดมีพลาด
    ขอให้ปฏิบัติตามนั้นเถิด
    ผลจะได้เป็นที่พอใจโดยลำดับ จนกระทั่งทะลุถึงนิพพานเลย

    ศาสนาของพระพุทธเจ้า คือ พุทธศาสนา

    เป็นศาสนาที่แม่นยำมากที่สุดในโลก
    อันนี้มีกี่ศาสนา เป็นศาสนาของผู้มีกิเลส
    เจ้าของศาสนาเป็นคลังกิเลส สอนออกมา
    ก็ไม่พ้นที่จะนำกิเลสออกมากระจายให้สกปรกโสมม
    ผู้ฟังทั้งหลายก็จะเห็นผิดเห็นพลาดไปตามๆ กัน
    แต่พุทธศาสนาคือศาสนาของท่านผู้บริสุทธิ์
    ออกมาด้วยใจที่บริสุทธิ์ถูกต้องแม่นยำ
    ผู้ฟังถึงใจๆ สุดท้ายก็ถึงมรรคผลนิพพานด้วยกัน

    นี่ละธรรมของพระพุทธเจ้า ให้พิสูจน์กันทางภาคปฏิบัติ

    เพียงอ่านตำรับตำราเฉยๆ ไม่หายสงสัย
    ถ้าลงได้เข้าภาคปฏิบัติแล้ว เปิดออกๆ รู้ตรงไหนหายสงสัยๆ
    ไม่ต้องหาใครมาเป็นสักขีพยาน สันทิฏฐิโก รู้เอง เห็นเอง
    ประกาศก้องขึ้นมา ดังพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา
    ท่านไปหาใครมาเป็นสักขีพยาน ไม่มี

    สาวกทั้งหลายตรัสรู้ธรรมอยู่ที่ไหน

    ถึงธรรมที่ไหนเรียกว่า สันทิฏฐิโกขั้นสุดยอดๆ ประกาศป้างๆ หายสงสัย
    ไม่ต้องไปทูลถามพระพุทธเจ้า เพราะ

    สันทิฏฐิโก เป็นพระโอวาทที่ทรงประทานไว้แล้วอย่างเฉียบขาด
    สันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติจะรู้ผลงานของตนไปโดยลำดับจนกระทั่งถึงสุดท้าย
    สันทิฏฐิโก ขั้นสุดท้ายได้แก่เป็นพระอรหันต์ เป็นอย่างนั้นละ ให้พากันจำเอา

    อย่าพากันขี้เกียจขี้คร้าน
    การทำบุญให้ทาน เป็นทางก้าวเดินเพื่อความพ้นทุกข์
    การรักษาศีล การภาวนา ให้พากันอบรมจิตใจ
    ถ้าจะปล่อยให้แต่กิเลสตัณหามันขยี้ขยำนี้
    ก็ไม่มีวันดีคืนไหนแหละที่จะพ้นทุกข์ไปได้
    ให้มีศีลมีธรรมเข้าไปเปิดไปชะไปล้าง แล้วจะค่อยบริสุทธิ์ขึ้นไป
    และมีทางที่จะผ่านพ้นจนกระทั่งถึงนิพพานได้
    เข้าใจเหรอ เอ้า วันนี้พูดเพียงเท่านี้แหละ


    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    คัดลอกจาก...
    <!-- m -->http://www.watthummuangna.com/board/arc ... -2114.html<!-- m -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...