ความเสื่อมแห่งพระธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 10 มิถุนายน 2009.

  1. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    ขอบคุณค่ะ คุณวิมุตติ อนุโมทนาค่ะ
     
  2. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155

    ท่านนานาฯที่รักครับ มันต่างกันตรงวาระเท่านั้นครับ
    การทำสมาธิเป็นการฝึกฝนอบรมจิต ให้เข้าสมาธิอย่างคล่องแล้วชำนาญ
    เป็นการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ในกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นภายใน
    ต้องฝึกฝนบ่อยๆเนืองๆ

    ส่วนการมีสมาธิแล้วนั้น เมื่อคล่องแคล่วชำนาญดีแล้ว
    ถึงคราวพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ในกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นภายนอกบ้าง
    เมื่อชำนาญยิ่งๆขึ้น ย่อมพิจารณาทั้งภายในและภายนอกบ้าง
    <o>:p</o>
    แน่นอนครับท่าน ผู้ที่มีสมาธิดีแล้วนั้น
    ย่อมไม่ทำอะไรโดยใช้อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเป็นเครื่องตัดสิน
    เรื่องราวต่างๆหรือสภาวะใดๆที่เกิดขึ้น

    เมื่อจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงครับ

    ;aa24<o>:p</o>:p
    [/quote]หากจะพูดถึงเรื่องสมาธิ นานา
    ก็แค่ยกหลักธรรมมาประกอบเฉยๆ ค่ะ แต่ต้องการทราบยังไม่ได้รับคำตอบเลย
    เลยต้องออกปากถาม อยากทราบว่า เวทนาในเวทนา นี่คืออะไร?
    ไม่ได้ถามเพื่ออวดดี แต่ถามเพื่ออยากรู้ คำนี้ติดมานานแล้ว
    แต่ ติดก็รู้ว่าติดนะ ท่านธรรมภูตตัวน้อย ๆ ถ้าท่านตอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
    ให้ งงก็รู้ว่า งง ก็พอนะ ท่านภูต ตัวน้อย ๆ
     
  3. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    บรรลุเหมือนพี่สามใช่ไหมครับ จึงอธิบายได้เป็นฉอดๆๆๆ
     
  4. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    จะพาไปไหนเหรอ....
     
  5. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    พี่วิมุตติ ถามหน่อยว่า

    กรรม คือ การกระทำที่มีเจตนา ใช่ไหม

    หากมี เจตนา ก็แปลว่า กำลังทำกรรมใช่ไหม (กรรมดำ กรรมขาว ละไว้)

    ดังนั้น ภพที่มีเจตนา ก็เรียกว่า กรรมภพ ใช่ไหม

    ถามว่า หากยังใช้กรรมภพอยู่ อยู่ในกรรมภพ จะเอาอะไรไปเห็นสภาวะ
    เหตุของการเกิดกรรม ย่อมต้องเป็นกรรมอีกชนิดหนึ่งใช่ไหม

    ทีนี้ พระพุทธองค์ก็ตรัวว่า ภพที่อยู่นอกกรรมภพมีอยู่ แต่ต้องอบรมจิต
    ให้รู้จักสภาวะพ้นกรรมภพนั้น ฝึกระลึกรู้โดยใช้สติฐานทั้ง4

    เมื่อทำได้ก็จะเห็นสภาวะที่พ้นเจตนา พ้นกรรม .....

    ที่นี้ถ้าพี่วิมุตติทำสมาธิได้มีความชำนาญ ก็อย่ามัวแต่ยึดมั่นใน
    ผลที่ได้ แต่ให้เห็น ณ ปัจจุบันนั้น ตอนที่จิตมันเปลี่ยนองค์ธรรม

    มันจะมีจังหวะที่พ้นเจตนา เมื่อพ้นเจตนาสมถะจึงเริ่ม

    เคยได้ยินไหม สมถะเริ่ม เมื่อหมดเจตนา

    วิปัสสนาเริ่มเมื่อหยุดคิด

    หยุดคิด ก็คือ หยุดเจตนา ซึ่งก็คือ มีสมถะเป็นบาทในตัว

    ดังนั้น ใครก็ตามที่โพล่งออกมาว่า พวกวิปัสสนาไม่ได้ทำสมาธิให้ดี
    ก็ให้รู้ไปเลยว่า คนๆนั้น ยังทำวิปัสสนาไม่เป็น
     
  6. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ดังนั้น คนที่เขาวิปัสสนาเป็น เขาจะรู้ลึกๆว่า เขาทำสมถะอยู่ด้วย

    แต่ทำไมนักวิปัสสนา ดูเหมือนจะไม่พูดถึง สมถะ สมาธิ คล้ายๆ
    ไม่ให้ความสำคัญ

    ก็ต้องวกกลับไปที่ นิยามเดิม คือ สมถะเริ่มเมื่อหมดเจตนา

    ทุกอย่างต้องเห็นขณะพ้นกรรมภพ ดังนั้น เวลาพวกที่วิปัสสนา
    ไม่เป็นมาทวงถามนักวิปัสสนา นักวิปัสสนาก็จะแบล็งก์ๆ เหมือน
    ไม่ยอมพูดถึง เพราะถ้าพูดถึงก็เท่ากับว่ามันมีเจตนาจะทำ ซึ่ง
    จะเท่ากับสอนวิปัสสนาผิดหลักการ

    ก็เพราะ คนที่วิปัสสนาเขาไม่ได้รู้สึกว่าเขาเจตนาจะทำสมถะ
    ดังนั้น การพูดของเขาเลยพูดข้ามเรื่อง สมถะ ที่เขาเองจริงๆทำ
    อยู่ มีอยู่ไปแบบไม่ให้ความสำคัญ มันเป็นธรรมชาติของคน
    ที่วิปัสสนาเป็น ถ้าจะพูดให้ควาสำคัญ พระ หรือ คนทั้งหลาย
    ที่วิปัสสนาเป็นแล้วก็จะพูดว่า "สมาธิมันเกิดได้เองเป็นพื้น" "สมาธิ
    มันแน่นขึ้น" ก็เรียกว่าตามปริยัติว่า "ปัญญาอบรมสมาธิ"

    ดังนั้น เวลาไปเห็นพระนิพพาน จึงเป็นการเห็นแบบหมดเจตนาจริงๆ

    เป็นการเห็นที่พ้นจากกรรมภพทั้งปวง เป็นสภาวะที่สิ้นตัณหาทั้งปวง
    จึงพึงเห็นได้

    เมื่อเห็นนิพพานแล้ว มีคนมาถามอีกว่า เธอทำอย่างไร นักวิปัสสนา
    ก็บอกว่าไม่ได้ทำอะไร หากบอกว่าทำอะไรก็แปลว่า เจตนาจะไปเห็น
    ก็จะสอนผิดอีกแน่นอน

    ดังนั้น เขาจึงพูดแค่ว่า ให้ขยันทำเหตุ เมื่อเหตุเหมาะสม ก็สมควร
    แก่การเห็นธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2009
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ตอบไปแล้ว ยกมาให้ดูอีกที
    <TABLE class=tborder id=post2178151 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] วันนี้, 11:38 AM </TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #233 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175><!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->k.kwan<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2178151", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Nov 2007
    ข้อความ: 5,840
    Groans: 25
    Groaned at 55 Times in 51 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 45,911
    ได้รับอนุโมทนา 14,409 ครั้ง ใน 4,283 โพส
    พลังการให้คะแนน: 900 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_2178151 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid">"ขวัญ ไหนลองอธิบายหน่อยซิ ว่า พระปราโมทย์ บอกว่าสติไม่ได้เกิดจากการกำหนด

    แต่พระศาสดาบอกว่า ให้กำหนดรู้ มันเหมือนกันตรงไหน"

    เข้าใจตามพระอาจารย์ปราโมช ว่า สติ ซึ่งพระอาจารย์หมายถึง สัมมาสติ เท่านั้น
    กำหนดให้เกิดเองไม่ได้ เพราะ สตินี้ไม่ใช่ของเรา ไม่ได้มีอยู่ในตัวเรา ก็เลยกำหนดเอา
    ไม่ได้ การที่เรากำหนดสติให้เกิดขึ้นมาได้ เราบังคับให้เกิดได้ เป็นเพียง สติธรรมดา
    ไม่ใช่สัมมาสติ ไม่ใช่1ในมรรคองค์8 มันเป็นสติคนละฐาน ที่ตั้งของสติไม่เหมือนกัน
    วิธีที่สร้างมาไม่เหมือนกัน ก็ได้ต่างกัน

    ทีนี้ กำหนดสติ กับ กำหนดรู้ นี่เราเข้าใจว่าไม่เหมือนกัน นะ

    ถ้าเข้าใจว่าเหมือนกัน ก็คงอย่างที่ท่านขันธ์ เข้าใจ ท่านก็เข้าใจไม่เหมือนเ

    อย่างที่เราเข้าใจ เราจะอธิบายของเราดังนี้

    กำหนดสติ แปลว่า สตินั้น เราตั้งใจ เราจงใจ บังคับให้เกิดได้ สตินั้นก็เกิดที่เรา
    สตินั้น คือโลกียะฌาณ แต่คนละเรื่อง กับ กำหนดรู้ (ปัญญาญาณ)

    กำหนดรู้(ในคำสอนพระศาสดาเรื่องสติปัฐาน4) แปลว่า
    เมื่อมีรู้(ไม่ได้บอกว่าใครสร้างตัวรู้) ให้เอารู้นั้นไปกำหนดรู้ที่ 4 ฐานเท่านั้น
    คือ กาย เวทนา จิต ธรรม คือ รู้สภาวะธรรมของตัวเอง รู้ตัวเอง

    ถ้าจะบอกว่า กำหนดรู้ คือกำหนดสติขึ้นมารู้ คือสิ่งเดียวกัน ก็เข้าใจต่างกันแล้ว

    ไม่ได้หมายความว่า เราเข้าใจคำว่า กำหนดรู้ ถูกแล้วนะ เพราะ เราไม่อาจเอื้อมไปคิด
    ว่าเราข้าใจคำสอนถูกต้องอยู่ฝ่ายเดียว เพราะเราไม่เข้าใจ เราจึงต้องไปฟังพระอาจารย์
    ปราโมชอีกที เพื่อสร้างความรู้จากผู้ที่เราศรัทธาว่ารู้แจ้ง มาเข้าใจคำสอนพระศาสดาอีกที
    แต่ก็ยังไม่คิดว่าที่เราเข้าใจจะตรงกับอาจารย์หรือ พระศาสดาแล้ว เพราะสิ่งที่จะบอกได้
    คือเมื่อทำตามความเข้าใจ แล้วได้ผลออกมาถูก เกิดสัมมาทิฏฐิ เกิดปัญญาญาณ
    มีปัญญารู้ธรรม ถึงจะเรียกว่าเข้าใจถูกจริง<!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ก่อนอื่นอยากจะขอร้องเรื่องการใช้บัญญัติให้ถูกต้องสักหน่อย
    คำว่า "สติปัฏฐาน" ไม่ใช่ "สติฐาน" คำนี้จินนี่ก็ใช่ผิดเป็นประจำ
    ที่เอ่ยเรื่องนี้เพราะต้องการรักษาปริยัติเอาไว้ให้ถูกต้องต่อไป

    เรื่องคิด กับเจตนา ก็เห็นด้วยส่วนหนึ่ง แต่ผมจะไม่แยกว่า ไม่เจตนา คือหยุด แล้วเป็นไปเอง หรือทำได้เองอะไรทำนองนี้

    ในการพิจารณาองค์ธรรม ไม่ว่าจะเป็นวิปัสสนาภูมิใดๆก็ตาม ต้องมีกุศลเจตนาเป็นที่ตั้ง มิเช่นนั้นก็จะไม่เกิดแอคชั่นอะไร ตรงนี้ผมขอมองว่า เจตนาคือ วิริยะ จะเป็นวิริยะในอิทธิบาท อินทรีย์ หรือโพชฌงค์ก็ตาม
    ในส่วนของการพิจารณา ก็ไม่ใช่คิด ให้มองว่าเป็น ธัมมวิจัยยะสัมโพชฌงค์ ซึ่งเป็นองค์ธรรมสำคัญที่ต้องเจริญให้มาก ทำให้มาก

    ส่วนเรื่องคิดนั้น ทิ้งไปได้เลย ใครๆที่เจริญวิปัสสนาเป็นอยู่บ้าง ย่อมทราบดีว่า คิด ไม่ใช่วิปัสสนา แต่เป็น วิปัสสนึก ปฏิเวธเกิดไม่ได้แน่นอน ที่สำคัญยังนำไปสู่ความฟุ้งซ่าน และวิปปลาสในที่สุด

    ที่นี้มาดูคำว่า พิจารณา ผมมองว่า คิด กับ พิจารณา นั้นต่างกัน ความต่างอธิบายได้ค่อนข้างลำบากถ้าไม่รู้จักวิปัสสนา
    จุดต่างที่สำคัญคือ คิดมักจะหลุดไปเป็นไม่อดีตก็อนาคต อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ส่วนพิจารณา นั้นเป็นปัจจุบัน ทำได้โดยอาศัยสมาธิเป็นฐาน ผมจะไม่แยกว่า สมถะ กับ สมาธิ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
    ผมให้น้ำหนักกับการที่จิตตั้งมั่นดีพร้อมในการเดินวิปัสสนาเป็นสำคัญ

    ในคำสอนของหลวงพ่อปราโมทย์ มีการเน้นย้ำอยู่เสมอว่า ในการดูจิต เป็นการวิปัสสนา ซึ่งก็จะเป็นสมาธิไปในตัว อย่างที่พี่สามเรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ
    ในการปฏิบัติเชิงลึกจริงๆแล้ว ผมยังไม่สนใจในส่วนนั้นนักว่าจะผิดจะถูกอย่างไร
    เพราะผมจะเดินตามครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นเสียมากกว่า คือ สมาธิอบรมปัญญา
    แต่พอปฏิบัติไปแล้วก็พบว่า มันอบรมซึ่งกันและกันไปในตัว จนไม่รู้สึกอยากจะไปแยกอะไรกับมันอีก อย่างที่มักกล่าวๆกันว่า ศีล สมาธิ ปัญญา คือตัวเดียวกัน ซึ่งประเด็นนี้ชัดเจนอยู่แล้ว

    การที่พี่สามมาบอกให้หยุด แล้วพ้นกรรมอะไรนั่น ผมไม่เห็นด้วยเท่าไหร่นัก หากเราพิจารณาตามโอวาทะปาติโมก จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า มีส่วนที่บอกให้เจริญกุศลให้ถึงพร้อม นี่คือส่วนที่พี่สามกำลังบอกให้หยุด ตามที่หลวงพ่อปราโมทย์สอนไว้ ซึ่งดูเหมือนจะขัดกับพุทธพจน์ยังไงไม่รู้

    เอาเป็นว่า อยากให้พิจารณาในสิ่งที่ผมเคยกล่าวไว้เมื่อกลางวันว่า ให้ดูที่ปฏิเวธธรรมเป็นสำคัญ ถ้าปฏิบัติแล้วมันไม่เกิดวิปัสสนาญาณใดๆ หรือ หยุดอยู่แค่นี้ ก็น่าจะหันมาพิจารณาทางเดินกันใหม่อีกสักรอบ...
     
  9. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    สรุปให้ทำ หรือไม่ให้ทำกันล่ะ
     
  10. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ปัญญาไม่แจ้ง อธิบายไม่ขาด ยังดูวกวน

    หรือว่า เราโง่เองก็ไม่รู้นะ ผู้อ่านก็ดูเอาเองแล้วกัน

    แต่ก็นับถือนะ ที่แถไปได้จนดูเหมือนจะคล้อยไปตามพุทธพจน์...
     
  11. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ก็ขยันทำเหตุไง เหตุของอะไร เหตุของการเกิดสติ(ผล)ไง

    เราจึงเพียรอยู่ที่ การทำสติให้มันเกิดบ่อยๆ นี่เป็นขั้นต้น

    เมื่อสติเกิดบ่อยๆ มันจะไปเป็นเหตุให้เกิด สัมมาสมาธิ

    เมื่อเกิดสัมมาสมาธิบ่อยๆ มันก็จะไปเห็นเหตุให้เกิดปัญญา


    จะเห็นว่า เราเพียงแต่ขยันทำเหตุที่ขั้นตอนที่ 1 เท่านั้น
    บรรทัดที่หนึ่งเท่านั้น นอกนั้นมันเป็นห่วงโซ่ของเหตุปัจจัย


    หลวงปู่มั่นจึงสรุปว่า ความเพียร คือ การเจริญสติ หน้าที่
    เรามีแค่นั้น นอกนั้นเป็นเรื่องของ เหตุปัจจัยที่พ้นภาวะปรุงแต่ง(เจตนา -- กรรมภพ )

    หน้าที่เราจึงอยู่ที่การรู้ทุกข์ อะไรหละที่เอามารู้ ก็อะไรก็ได้
    ที่ปรากฏให้รู้ จะกาย เวทนา จิต ธรรม ก็ล้วนเอามาระลึกรู้ใน
    ฐานะทุกข์ได้หมด เราเอามาระลึกจนกว่า สติมันจะจดจำได้ระลึก
    เองของมันได้ ก็จะเกิดความปราณีตไปเรื่อยๆ ตามสภาพธรรม
    ที่ปรากฏให้รู้ ซึ่งมันจะละเอียดไปเรื่อยๆ ตามภูมิของสัมมาสมาธิ
    ที่พาไปเห็น และญาณทัศนะที่พาไปรู้

    ทุกข์เท่านั้นที่เกิด ทุกขเท่านั้นที่ดับไป เรามีหน้าที่อยู่ที่รู้ทุกข์

    ก็จะแจ้งในทุกขสัจจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2009
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ตัวเรานั้นปัญญายังไม่แจ้ง ยังไม่มีปสัมมาทิฏฐิ ยังไม่บรรลุธรรม
    เรารู้ตัวเสมอ และเตือนตัวเองอยู่เสมอ
    เราก็อธิบายตามที่รู้มาจากการอ่านและฟัง แล้วทำความเข้าใจเอา
    ไม่เคยหลงตัวเองว่ารู้ธรรมด้วยปัญญา ก็บอกแล้วว่ารู้ธรรมด้วยความคิด
    ธรรมที่เรารู้ด้วยปัญญาตนเองก็มีเพียง รู้ยินดี รู้ยินร้าย รู้ชอบใจ รู้ไม่ชอบใจ
    มีแค่นี้

    เราฝึกรู้สภาวะของตนเอง รู้ตนเอง เนืองๆ รู้อยู่เป็นปุถุชนผู้เคยสดับ เท่านั้น
    นะ...ท่านผู้มีธรรม
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จิตใจคน เห็นได้ในคำพูดที่โพสท์ออกมา เสมอ
    ถ้าไม่เคยรู้สึกตัวในคำพูดของตน ก็ประจานตนเองอยู่เนืองๆ โดยไม่รู้ตัว
    มีแต่คนอื่นเขารู้สึก แต่ตัวเองไม่เคยเห็นตนเอง ซักที
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ตอบ ท่านขันธ์ ท่านวิมุตติ ...อิอิ
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ตอบไปแล้วนะ ขอโทษที พอดีไปทำธุระมา
     
  16. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    คุณขวัญไม่ต้องน้อยใจ ไม่ต้องโกรธผม

    ก่อนจะเกิดสัมมาทิฏฐิ อย่าเพิ่งปักใจเชื่ออะไรเหนียวแน่นจนเกิดควร

    วิษณุ ทำเป็นเท่ห์เหมือนเดิม...
     
  17. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ไม่ได้โกรธ แต่เตือนให้คุณระวังความคิดของตนเอง
    ส่วนเราก็ระวังเป็นปกติ เท่าที่ทำได้ ดูตนเองด้วยความกลาง
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สำหรับเรานั้น มิจฉาทิฏฐิ อยู่ 100%

    รู้ตัวเองดีอยู่เสมอ
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เหนือกว่าเขา
    เท่ากับเขา
    ด้อยกว่าเขา

    เรียกว่ามานะทั้งหมด ทั้งสามอย่างผ่านมาดูให้ทัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...