ความแตกต่างของสัมมาสมาธิกับฌานสมาบัติ ๘

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 13 เมษายน 2015.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    หมานเอ๋ย

    นี่ล่ะน๊าที่เข้าเรียกว่าพวกอักตัญญูไม่รู้คุณ โง่เขลาเบาปัญญา

    พระพุทธพจน์ชัดๆ ยังจะดันทุรังไปให้ได้จริงๆ

    เอาอีกที่ "ดูกรมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว"

    ชัดเจนโดยไม่ต้องตีความใดๆเลย
    "ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่านี้ แม้สักอย่างเดียว"


    หมานไม่รู้จริงๆ แกล้งโง่ หรือโง่จริงๆ อย่าทำตัวให้โง่ลงไปกว่านี้อีกเลย
    นิโรธ "ดับสนิท" อะไรดับสนิท? ขันธ์๕ดับสนิทใช่หรือไม่?

    แล้วมันต่างกับ"สัมมาสมาธิฌานที่๔"ตรงไหน? ตรงระยะเวลาใช่หรือไม่?
    ส่วนพวกที่พยายาม แยกฌานที่เป็นสัมมา
    ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จากนิโรธสมาบัติ

    เป็นเพราะไม่เคยเข้าถึงสัมมาสมาธิฌานที่๔ แม้สักครั้งเลย
    ไม่เคยได้ลิ้มรส แต่ก็ยังพยายามที่จะอธิบายถึงความอร่อยว่าแตกต่างกัน
    เพราะไม่เคยได้รู้จักความอร่อยที่ว่ามานั้น
    ว่ามันรสเดียวกัน รอยเดียวกัน แตกต่างกันตรงระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น

    จึงได้พยายามด้นเดามันไปเรื่อยเฉื่อย หรือพยายามตีความเอาจากตำรา
    พระพุทธพจน์ชัดๆว่า "ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่านี้" ยังจะด้นเดาดันทุรังไปอีก

    เป็นธรรมดาของพวกคนชั้นต่ำ มักแอบอ้างว่ากินแต่ของสูง
    ส่วนธรรมภูต"กินอาหารก้นบาตรเป็นประจำ" เรียกว่ากินต่ำสุดก็ได้เช่นกัน

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    ไปหาอ่านเอาเองนะ

    การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

    จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
    ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเกิดมีได้อย่างไร ฯ


    ตกลงจะให้เชื่อ สาวกบัญญัติ หรือพุทธบัญญัติดี

    ถ้ายังไม่เข้าใจจริงๆ เลี่ยงได้ก็เลี่ยงซะ จะได้ไม่เป็นกรรม โดยไม่รู้ตัว

    พระพุทธพจน์ ได้เปรียบเทียบไว้อย่างชัดเจน ไม่ต้องด้นเดาเอา

    เพียงแต่เป็นนัยยะที่ต้องพิสูจน์ได้จากการปฏิบัติธรรมกรรมฐานเท่านั้น

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ---------------------------------------------------------------

    อยากขอถามท่านสักหน่อย ฌาน๔ ที่ท่านว่ามา กับ วิมุติสุข

    ท่านคิดว่า เป็นอย่างเดียวกันหรือไม่? หรือว่าเป็นคนละอย่าง

    หรือว่า ผู้ที่ติดในฌานนั้นไม่มี เหมือนอสิตดาบส ผู้นี้ เสพฌาน หรือ ว่า เสวยวิมุติสุข

    ที่ถามเพราะปรารถนาจะรู้เพื่อเทียบเคียง หากท่านรู้รสนั้นจริงๆเช่นเรา
    หรือว่า มีรสอื่น รสใครรสมัน?
     
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ใครเขียนกันหนอ

    ฌานของ อาฬารดาบสและอุทกดาบส ไม่ใช่ฌานในพระพุทธศาสนา

    รูปฌาน ๔ คือ ๑.ปฐมฌาน ๒.ทุติยฌาน ๓.ตติยฌาน ๔.จตุตถฌาน
    อรูปฌาน ๔ คือ ๕.อากาสานัญจายตนะ ๖.วิญญาณัญจายตนะ
    ๗.อากิญจัญญายตนะ ๘.เนวสัญญานาสัญญายตนะ

    ที่ยกมากล่าวให้ทราบ ก็ว่ากันไปตามตำรา ที่ทราบกันอยู่แล้วว่า
    อาฬารดาบสตั้งแต่ ๑ ถึง ๗ อุทกดาบสตั้งแต่ ๑ ถึง ๘

    แต่เมื่อว่ากันถึงความเห็นตามรูปเรื่องที่วางไว้นั้นไม่น่าจะเชื่อถือ
    เพราะเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าของเราเสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบส ตรัสถามถึงทางปฏิบัติ
    อาฬารดาบสแสดงเฉพาะอากิญจัญญายตนะในเลขที่ ๗ นั้นเท่านั้น
    พระองค์ทรงศึกษาอากิญจัญญายตนะฌานแล้ว ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางตรัสรู้

    จึงเสด็จเข้าไปหาอุทกดาบสอีก ตรัสถามถึงทางปฏิบัติ
    อุทกดาบสก็แสดงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในเลขที่ ๘ นั้นเท่านั้น
    พระองค์ทรงศึกษาแล้ว ไม่ทรงเห็นว่าเป็นทางตรัสรู้อีก

    จึงเสด็จหลีกเลี่ยงออกไปเสียจากสำนัก ๒ ดาบสนั้น ปรากฏในบาลีเป็นอย่างนี้เท่านั้น

    ผู้ศึกษา คงเข้าใจว่า ๒ ดาบสนั้น ต้องดำเนินมาตั้งแต่ รูปฌาน อรูปฌาน
    คืออาฬารดาบส ตั้งแต่ ๑ ถึง ๗ อุทกดาบสตั้งแต่ ๑ ถึง ๘

    แต่จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ก็ไม่มีหลักฐาน เข้าใจว่าเดาสวดผิดมากกว่าถูก
    ๒ ดาบสนั้น อาจได้ฌานคนละอย่างเท่าที่ว่าไว้นั้นก็อาจเป็นได้
    ถ้าท่านทั้ง ๒ มีฌานคนละอย่างเท่าที่ว่านั้นจริง ๆแล้ว
    ฌานอีก ๖ ชั้นก็คงเอาไปเพิ่มเติมให้ ๒ ท่านนั้น เมื่อภายหลัง

    ตั้งแต่ ปฐมฌาน ถึง จตุตถฌาน คือ ๑ ถึง ๔ นั้น
    เข้าใจว่าเป็นของพระพุทธศาสนา อันมีอยู่ในมรรคอริยสัจจ์
    ซึ่งมิได้ทรงจัด ว่าเป็นรูปฌานหรืออรูปฌาน

    พวกนักพูดทั้งหลายอันปราศจากพินิจพิจารณ์
    ตั้งแต่ ๑ ถึง ๔ เหตุใดเขาจึงเรียกว่า รูปฌาน
    อธิบายว่าเพราะบริกรรมรูปกสิณหรือดวงกสิณต่างๆ
    แล้วยึดอุคคหนิมิตที่เกิดแต่การบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์
    เพ่งจนเกิดปฏิภาคนิมิตอีกต่อหนึ่ง ขยายส่วนให้ใหญ่เล็กได้ตามชอบใจ
    จนบรรลุถึงฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ได้
    เพราะฉะนั้นตั้งแต่ ๑ ถึง ๔ เขาจึงเรียกว่ารูปฌาน เพราะเพ่งรูปเป็นอารมณ์

    ความมุ่งหมายอธิบายเช่นนี้ ผิดหลักธรรม
    ฌานซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยนิมิตทั้ง ๒ นั้นเรียกว่า รูปฌานไม่ได้
    บริกรรมนิมิตซึ่งเป็นรูปธรรมกลายเป็นสัญญาไปแล้ว ยังจะเรียกว่า รูปธรรมอีกหรือ

    อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิตทั้ง ๒ นั้นเป็นสัญญา
    สัญญาเป็นนามธรรม หาใช่รูปธรรมไม่

    ถ้าหากว่าอุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิตเป็นรูปธรรมแล้ว
    อารมณ์ทุกประเภทของจิตก็เป็นรูปธรรมสิ้น จะหาอารมณ์ที่เป็นนามธรรมไม่ได้เลย

    เข้าใจว่า นิมิต ๒ นั้น ไม่ได้ออกจากพระโอษฐ์ของพระองค์
    คงเป็นความเห็นของผู้อื่นนอกมรรคอริยสัจจ์

    รูปธรรมนั้นเป็นของแบ่งสรรปันกันได้แลเป็นสิ่งที่ดักได้ด้วย
    แต่นามธรรมจะทำอย่างนั้นหาได้ไม่

    อุคคหนิมิตแลปฏิภาคนิมิต ๒ นั้น ยกให้แก่กันไม่ได้ แลดักไม่ได้มิใช่หรือ
    เมื่อดักไม่ได้ก็ต้องเป็นนามธรรมซิ ตั้งแต่ ๑ ถึง ๔
    แล้วเรียกว่ารูปฌานหมด ถือว่าเพราะเพ่งรูปธรรมมาก่อน

    ก็เอาละ คราวนี้ เขายึดเมตตา ซึ่งเป็นอรูปแท้ๆ เป็นอารมณ์บริกรรมภาวนา
    ผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่ในเมตตา อัปปมัญญา อกุศลวิตก หรือนิวรณ์ ๕ ก็ระงับดับสิ้นหมด
    แล้วเขาผู้นั้นได้บรรลุฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ เพราะยึดเมตตาขึ้นเป็นอารมณ์
    ฌานเช่นนี้ จะเรียกว่า รูปฌาน หรือ อรูปฌานเล่า งงแล้วซิ (!!!)

    ตั้งแต่ ๕ ถึง ๘ ซึ่งเรียกว่า อรูปฌานนั้น เป็นฌานที่ระบุชื่ออารมณ์
    ยึดอารมณ์ชนิดไหนก็เรียกตามอารมณ์ชนิดนั้น เช่น อากาสานัญจายตนฌาน เป็นต้นนี้
    เห็นได้ว่าเป็นของภายนอกพระพุทธศาสนา

    ส่วน ปฐมฌาน จนถึง จตุตถฌาน คือ ๑ ถึง ๔ นั้น
    ปรากฏอยู่ในสัมมาสมาธิแห่งมรรคอริยสัจจ์
    ไม่ระบุชื่ออารมณ์ให้รู้ว่าเป็นฌานชนิดไหน
    เรียงตามปูรณะสังขยาว่าที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นี้เป็นของพระพุทธศาสนาแท้ๆ
    ซึ่งหมายความว่าจิตเปลื้องปลดจากอารมณ์ที่เป็นสังขตธรรม
    สงบประณีตเข้าไป เป็นลำดับ เป็นชั้นๆ จนถึงขีดที่สุดเช่นนี้

    เอามาประสมกันยุ่ง เลอะเทอะ
    เอาฌานในมรรคอริยสัจจ์ซึ่งเป็นของสูง อันตัวนับถือยิ่ง
    ไปไว้เป็นชั้นต่ำที่สุดด้วยอำนาจโมหะ

    ความเสื่อมเสียยังมีต่อไปอีก เมื่อจัดฌานไว้ด้วยความเข้าใจเช่นนั้นแล้ว
    จะรู้สึกว่า ๒ ดาบสนั้นมีฌานสูงเกินสมเด็จพระพุทธเจ้า
    และพระองค์ตรัสรู้ด้วยฌาน๔ข้างต้นนั้นเท่านั้น และตรัสไว้ในมรรคอริยสัจจ์ ก็เท่านั้นเอง
    จะเห็นว่าพระพุทธศาสนาด้อยไปกระมัง ด้วยสมเด็จพระพุทธเจ้ามีฌานต่ำ
    จึงเกิดจัดฌานสูงสุด คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ ขึ้นเป็นฌานชั้นที่ ๙ สูงกว่า ๒ ดาบสนั้นอีก

    สัญญาเวทยิตนิโรธ แปลว่า ดับสัญญากับเวทนา
    ถือว่าเป็นของสมเด็จพระพุทธเจ้า, ๒ ดาบสนั้นไม่ถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ

    เวลาพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
    ตำราเรียนกล่าวไว้ว่า พระองค์ทรงเข้าฌานก่อนเบื้องต้นแห่งมรณกาล
    ตั้งแต่ฌานที่ ๑ ตลอดถึงที่ ๙ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ
    แล้วทรงถอยกลับลงมาจนกระทั่งปฐมฌาน คือ ฌานที่ ๑
    แล้วทรงกลับขึ้นไปอีกจนฌานที่ ๔
    เสด็จดับขันธปรินิพพานในระหว่างฌานชั้นที่ ๔ กับที่ ๕
    คือ ในระหว่างหัวต่อแห่งรูปฌานกับอรูปฌาน

    รูปเรื่องเช่นว่ามานี้ เอาประโยชน์อะไร เป็นที่น่าสงสัยมากทีเดียว เป็นเรื่องคนอื่นพูด
    สมเด็จพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้วทรงเข้าออกอยู่เช่นนั้นด้วยเหตุใด
    ทำไมจึงต้องนิพพานในระหว่างฌานที่ ๔ กับฌานที่ ๕

    ถ้าฌาน ๔ ข้างต้นบรรลุถึงพระนิพพานสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
    และพระอรหันต์พุทธสาวกได้แล้ว
    ฌาน ๕ ข้างบนนั้นมีไว้เป็นประโยชน์อะไร

    ถ้าหากฌาน ๔ ข้างต้นไม่สำเร็จประโยชน์ได้ ต้องอาศัยฌานข้างบนอีก ๕ เล่า
    ถ้าอย่างนั้นในประวัติตรัสรู้ที่ว่าพระองค์สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยฌาน๔ นั้นผิด
    และที่ตรัสฌาน ๔ข้างต้นไว้ในสัมมาสมาธิแห่งมรรคอริยสัจจ์นั้นก็ผิด
    เพราะยังมีฌานตกค้างอยู่อีกตั้งครึ่ง

    และข้อว่าพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานในระหว่างฌานที่ ๔ กับที่ ๕ นั้น
    พูดละเมอเพ้อไป เป็นอาการของคนปราศจากสติ เชื่อถือไม่ได้
    เมื่อซักถามเข้าว่าทำไมจึงต้องนิพพานในระหว่างฌานทั้ง ๒ นั้น
    ก็ต้องตอบว่าเพื่อไม่ติดรูปไม่ติดนาม
    ( ด้วยฌานที่ ๔ เขาเข้าใจว่าเป็นรูปธรรมเสียแล้ว ฌานที่ ๕ เขาเข้าใจว่าเป็นนามธรรม )
    กลัวจะติดรูปติดนามเท่านั้น

    พระพุทธเจ้าของเรา เป็นผู้หลุดพ้นมาตั้งแต่วันตรัสรู้แล้ว
    เวลาใกล้จะตายยังจะกลัวติดอีกหรือ

    ครั้นซักต่อไปอีกว่า ผู้ติดนั้นเป็นรูปหรือเป็นนามเล่า
    คราวนี้ชักงง ควรตอบว่าผู้ติดไม่ใช่รูปไม่ใช่นามซิ ...แต่จะตอบอย่างนั้นก็ไม่ได้
    เพราะคำว่าไม่ใช่รูปไม่ใช่นามนั้น ไม่มีใครรู้จัก ผู้ตอบเอง ก็จะไม่รู้จักเหมือนกัน
    ถ้าจะว่าไม่มีผู้ติดเล่า ก็ไม่ได้อีกเพราะ ถ้าไม่มีผู้ติดแล้ว
    จะกล่าวไว้ทำอะไรว่าพระองค์นิพพานในระหว่างฌานที่ ๔ กับที่ ๕ (งงอีกแล้วซิ!!!)

    ความจริงผู้ติดผู้พ้นนั้นมีแท้ และเป็นนามธรรม คือ อสังขตนามธรรม
    ที่ว่าพ้นจากรูปธรรมนามธรรมนั้น
    หมายเอาพ้นจากรูปนามส่วนที่เป็นสังขตธรรม อย่างนัยแห่งคำอันเป็นพุทธภาษิตนี้ว่า

    "ยทา จ อตฺตนา เวทิ มุนี โมเนน พฺราหฺมโณ อถ รูปา อรูปา จ สุขทุกฺขา ปมุจฺจติ"
    ดั่งนี้ ความว่า

    เมื่อใดพราหมณ์ผู้มุนีมารู้จักตนด้วยปัญญาชื่อโมนะ เกิดจากความสงบ
    เมื่อนั้นพราหมณ์นั้นย่อมพ้นจากรูปและอรูปจากสุขและทุกข์ ดั่งนี้

    รูป อรูป สุข ทุกข์ ในพระพุทธภาษิตนี้
    หมายเอาส่วนที่เป็นสังขตธรรมสิ้น พ้นด้วยการละตัณหา ๓
    ผู้ติดผู้พ้นย่อมมีดั่งว่ามานั้น

    แต่ที่ว่าพระองค์เสด็จขันธปรินิพพานในระหว่างฌานที่ ๔ กับที่ ๕ นั้นหาจริงไม่
    ไม่ควรเชื่อถือ
    พระองค์ทรงเห็นอมตธรรม ในที่สุดแห่งฌานที่ ๔
    สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในฌานที่ ๔
    ก็เสด็จดับขันธปรินิพพานในฌานที่ ๔ นั้นเอง

    ในฌานที่ ๔ ไม่ใช่รูปนามที่เป็นสังขตะ
    ในฌานที่๔ พ้นแล้วจากนามรูป เป็นวิสังขารไปแล้ว

    ถ้าในฌานที่๔ ยังเป็นสังขตธรรมอยู่
    ประวัติตรัสรู้ที่ว่าพระองค์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในฌานที่ ๔ นั้นผิด
    ใช้ไม่ได้ฟังไม่ขึ้น

    ความจริงเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน
    มิได้ทรงเข้าฌานเลยเถิดขึ้นไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธนั้นเลย
    ทรงปรินิพพานสิ้นสังขตธรรมใน ฌานที่ ๔ นั้นเอง

    ฌานที่ ๔ เป็นสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่แล้ว

    ดังพระบาลีที่ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตร แสดงไว้
    เวลาพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน

    "นาหุ อสฺสาสปสฺสาโส ฐิตจิตฺตสฺส ตาทิโน
    อเนญฺโช สนฺติมารพฺภ ยํ กาลมกรี มุนิ"
    ดั่งนี้ แปลว่า

    พระมหามุนีสิ้นลมอัสสาสะปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออกแล้ว
    จิตของพระองค์ตั้งมั่นคงที่ไม่หวั่นไหว สถิตเป็นสันติสงบอยู่
    เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ดังนี้

    รูปเรื่องที่แสดงไว้นี้ ทางสันนิษฐานเห็นว่า
    พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานในฌานที่ ๔ ที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเอง
    ในฌานที่ ๔ จิตสงบถึงขีดสุดไม่มีกิริยาอาการจิตที่เนื่องกับอารมณ์อย่างใด ๆ
    ตรงคำว่า อปฺปวตฺตํ อนารมฺมณํ เอเสวนฺโตุ ทุกฺขสฺส
    ไม่มีประวัตติกาล ไม่มีอารมณ์ นี่เป็นที่สุดแห่งทุกข์
    ( นอกโลก อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ )

    ดังว่ามานี้ ไม่ควรเชื่อถือตำราเลอะเทอะที่แสดงไว้นั้น.


    คัดลอกจากหนังสือธรรมประทีป ธรรมะภาคปฏิบัติ โดยเปมงฺกโร ภิกขุ

    ฌานเจ้า ฌานข้าล่ะทีนี้

    มึนกับฌาน ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร? มิน่าเขาจึงให้ปฎิบัติปฎิเวธแทนปริยัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2015
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ลีลาในการปรินิพพาน

    ครั้นแล้วทรงเข้าฌานที่ ๑ ออกจากฌานที่ ๑ เข้าสู่ฌานที่ ๒ เป็นลำดับไปจนครบรูปฌาน ( ฌานมีรูปเป็นอารมณ์ ) ๔ อรูปฌาน ( ฌานมีสิ่งมิใช่รูปเป็นอารมณ์ ) ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ( สมาบัติที่ดับสัญญาความกำหนดหมาย และเวทนา ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข ) ๕. ต่อจากนั้นทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ ย้อนกลับเข้าสู่อรูปฌานที่ ๔ ( คล้ายกับออกจากตึกชั้นที่ ๙ ย้อนลงสู่ชั้นที่ ๘ ) โดยนัยนี้ ทรงย้อนกลับไปถึงฌานที่ ๑ ออกจากฌานที่ ๑ เข้าสู่ฌานที่ ๒ เรื่อยไปจนถึงฌานที่ ๔ เมื่อออกจากฌานที่ ๔ แล้วก็ปรินิพพาน ( เป็นการไม่ติดในรูปฌานหรือในอรูปฌาน เพราะนิพพานในระหว่างแห่งรูปฌานและอรูปฌาน ) .

    เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ก็เกิดแผ่นดินไหว และมีหลายท่านกล่าวภาษิตในทางธรรม เหตุการณ์นี้ยังความโศกสลดให้เกิดแก่ภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากราคะ และยังธรรมสังเวชให้เกิดแก่ภิกษุผู้ปราศจากราคะแล้ว.
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หลากหลายความคิดพิจารณา
    พระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน เข้าฌานแบบนี้ ทิ้งปริศนาธรรม ข้อใหนครับ ....
    กระทู้คำถาม


    (๑) ผม ขอยังไม่สนทนา (ตอบ) ตามประเด็น เพราะ เหตุ พระสูตรนี้ "เป็นคำของพระอนุรุทธเถระผู้เป็นเลิศในทางทิพย์จักขุญาณ" หรือ จุตูปปาตะญาณ ๑ใน วิชชา ๓ ของพระอรหันต์ในธรรมวินัยนี้

    [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

    (๑)
    จุตูปปาตะญาณ (วิชชา ๓) ------------ คือ สัมมาญาณะ (สัมมัตตะ ๑๐) เกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาทสาย สมุทัย -- อวิชชา ชาติ จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้

    เกิดแบบนี้ พระพุทธเจ้าทรง สิ้นหมดแล้ว ตามที่ตรัสว่า --- ชาติ สิ้นแล้ว

    (๒)
    พระสูตรนี้ ก็ทรง (น่าจะ) ไม่ มีด้วย คือ

    ฯลฯ
    เมื่อจุตูปปาตะ ไม่มี (แบบ จูฬสุญญตสูตร คือ เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิต สิ้นอาสวะแล้ว ฯ) อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง (ความเป็นเช่นนี้ คือ) นั่นแหละ ที่สุดแห่งทุกข์ ละ

    (๓)
    ดังนั้น " ทำไม ต้อง ตั้งจิต " แบบ ที่พระอนุรุทธ ท่านกล่าว (ตามที่มีผู้ถามว่า ปรินิพพานยัง เพราะ ทรงนิ่งฯ)
    แบบที่ตรัสพระสูตรหนึ่งว่า

    อัคคิเวสนะ เรานั้นหรือ จำเดิมแต่เริ่มแสดง (ธรรม) กระทั้งคำสุดท้ายแห่งการกล่าวเรื่องนั้น

    ย่อม ตั้งไว้ ซึ่งจิต ใน สมาธินิมิต (ไม่ใช่ เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิต ตามจูฬสุญญตสูตร) อันเป็นภายใน โดยแท้
    (เพื่อ) ให้จิต (แบบนี้ ต่างกับแบบโน้น) ดำรงอยู่ (แบบนี้ คือ) ให้จิตตั้งมั่นอยู่ (ในนิมิต นั้น?)
    กระทำให้มีความเป็นจิตเอก (หนึ่ง เดี่ยว ไม่มีเพื่อนคือ ตัณหามั๊ง)
    ดังเช่นที่คนทั้งหลาย (สมัยนั้น) เคยได้ยินว่า เรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้

    (๔)
    ถ้าอ้าง -- ทรงมี สติบริบูรณ์ ในอนุปุพพวิหาร ๙ ไง

    แปลว่า ปรกติ ทรงไม่มีสติบริบูรณ์ หรือ
    ตามที่ตรัสว่า
    ถูกแล้วอานนท์ เราโดยมากอยู่ด้วย สุญญตาวิหาร (ขั้น ปรมานุตตรสุญญตา ตามจูฬสุญญตสูตร / ดูเหมือน ทรงสรรเสริญพระสารีบุตร เกี่ยวกับ วิหารธรรมนี้ (จากความจำ)

    (๕)
    รวมความว่า เรื่องนี้ พระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน เข้าฌานแบบนี้ ทิ้งปริศนาธรรม ข้อใหนครับ

    ซึ่งตามตำรา เป็นคำของพระอนุรุทธ พระอรหันต์ผู้เลิศใน วิชชานี้ (จุตูปปาตะญาณ) --- เป็น วิสัยสาวก
    ส่วนที่ ผมตั้งข้อ พิจารณา เป็นวิสัยพระศาสดา

    (๖)
    ผม พิจารณาแบบ สอบทานกับพระสูตรนานา -- กาลามสูตร ฯ
    กล่าวคือ

    เจโตสมาธิไม่มีนิมิตชนิดนี้ (จูฬสุญญตสูตร) ที่ พระสาวกผู้เจริญแบบนี้ สามารถรู้ชัดว่า "ชนิดนี้ ยังปรุงแต่งจูง มโน" ได้ เมื่อ รู้เช่นนี้ (อตัมมยตาด้วยมั๊ง) จึงรู้ว่า หลุดพ้นจากอาสวะ ฯ

    แล้ว
    อนุปุพพวิหาร ๙ โดยเฉพาะ "สัญญาเวทยิตนิโรธ" ใช่ เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิต อีกชนิด หรือไม่ ?
    (เพราะ ตามหลักฐาฯ พระพุทธวจน ไม่มี อื่นจาก สัญญาเวทยิตนิโรธ ที่น่าจะ = เจโตสมาธิไม่มีนิมิต

    เพราะ รูปฌาน ๔ แห่งอริยสัมมาสมาธิก็ ยังเป็น เจโตสมาธิที่มีนิมิต (ตามที่ตรัสว่า มีขันธ์ทั้ง ๕ ฯ)
    เพราะ อรูปฌาน ๔ แห่งอริยสัมมาสมาธิก็ ยังเป็น เจโตสมาธิที่มีนิมิต (ตามที่ตรัสว่า มีขันธ์ทั้ง ๔ ฯ)

    (๗)
    อีกทั้ง
    พระอรหันต์นิพพานธาตุ ๒ ย่อมเนื่องกับ
    ---- เมื่อจุตูปปาตะ ไม่มี (แบบ จูฬสุญญตสูตร คือ เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิต สิ้นอาสวะแล้ว ฯ หรือ อนุปุพพวิหาร ๙ โดยเฉพาะ สัญญาเวทยิตนิโรธ) อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง (ความเป็นเช่นนี้ คือ)

    นั่นแหละ ที่สุดแห่งทุกข์ ละ

    (๘)
    45 พรรษา ----"ทรงปรินิพพาน คือ นิพพานธาตุ ๑ บริบูรณ์สมบูรณ์อย่างอนุตตระคืออย่างยอดยิ่งยวดแล้ว"
    ซึ่งนั่น คือ "ตทายตนัง"

    ตทายตนัง คือ นั่นแหละ ที่สุดแห่งทุกข์ ละ
    (๑) ใหม่ๆ (หลังตรัสรู้ปั๊ป) คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ อย่างในทิฏฐธรรม
    (๒) จากนั้น อุปปัชชะ หรือว่า อปรปริยายะ ซึ่ง อนุปาทิเสสนิำำานธาตุ
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หลากหลายความเข้าใจ

    ปรกติวิสัยของพระอรหันต์หลังจากบรรลุธรรมแล้วเป็นผู้มีจิตไม่ยึดมั่นในขันธ์ห้าแล้ว
    จะพักจิตไว้ที่วิหารธรรมก็มีรูปฌานและอรูปฌานแต่บางท่านไม่มีฌานเป็นวิหารธรรม
    ก็จะพักใจสำราญที่พรหมวิหารสี่ก็มีเรื่องวิหารธรรมของพระอรหันนั้นจะเป็นแบบใดมักจะได้มาก่อนบรรลุธรรมครับ
    ถ้าจะตั้งข้อสังเเกตุว่าทำไมพุทธองค์จึงละสังขารที่ฌานสี่ผมมีข้อสังเกตุเดียวคือการสอนจิตตานุปัสสนาครั้งสุดท้าย
    เพราะปรกติผู้เข้าถึงฌานสี่ได้คือผู้ปล่อยวางอารมย์ทั้งหลาที่จรเข้ามาได้แล้วอย่าลืมตอนนั้นพุทธองค์ทรงอยู่ท่ามกลาง
    พระสาวกที่คุ้นเคยกันมายาวนานหลายปีพระสาวกหลายองค์ที่ยังไม่บรรลุธรรมรวมทั้งเหล่าเทพเทวาทั้งหลายกำลังโศกเศร้า
    การออกที่ฌานสี่จึงเป็นการแสดงธรรมโปรดครั้งสุดท้ายด้วยการสอนว่าอย่ายึดมั่นในอารมย์ทั้งหลาย เลย
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปัจฉิมพุทธพจน์
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม
    ไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวง ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด"
    ครั้นทรงตรัสอย่างนี้ ก็ทรงไม่ตรัสอีกต่อไป แต่ทรงกระทำปรินิพพานบริกรรมดังนี้
    -ทรงเสด็จเข้าปฐมฌาน -ทุติยฌาน -ตติยฌาน -จตุตถฌาน -อากาสานัญจายตนฌาน
    -วิญญาณัญจายตนฌาน -อากิญจัญญยตนฌาน -เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    -สัญญาเวทยิตนิโรธ
    กาลนั้น พระอานนท์เถระมีวาจาถามพระอนุรุทธเถรเ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพาน
    แล้วหรือ พระอนุรุทธเถระผู้ซึ่งได้เข้าฌานสมาบัติ ตามไปพร้อมสมเด็จองค์พระศาสดา
    ทราบว่า เวลานี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จเข้านิโรธสมาบัติ การปรินิพพาน
    ย่อมไม่มีภายในนิโรธสมาบัติอย่างแน่นอน จึงตอบว่า สมเด็จพระบรมครูยังไม่เสด็จ
    เข้าปรินิพพาน ยังเสด็จอยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธ
    ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ เสด็จเข้า
    -เนวสัญญานาสัญญายตนฌาณ -อากิญจัญญายตนฌาณ -อากาสานัญจายตนฌาน
    -จตุตถฌาน -ตติยฌาน -ทุติยฌาน -ปฐมฌาน -ทุติยฌาน -ตติยฌาน -จตุตถฌาน
    ครั้นทรงเสด็จออกจากจตุตถฌานแล้ว ทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานในกาลนั้น ซึ่ง
    ทรงเป็นวิธีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด

    เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๓

    ลวดลายของศาสดาตอนปรินิพพาน

    (ผู้ฟังเทศน์ประมาณ ๑,๐๐๐ คน)

    เป็นหวัดมาได้ ๕ วันแล้ว วันนี้เป็นวันที่เริ่มกำเริบใหญ่ พอตื่นเช้ามากำเริบแล้ว น้ำมูกไหลตลอด

    เมื่อวานนี้วันที่ ๑๙ ทองคำได้ ๔๒ บาท ๗ สตางค์ ดอลลาร์ได้๒,๔๗๖ ดอลล์ ทองคำเข้าคลังหลวงแล้วเวลานี้ ๒,๐๖๒ กิโลครึ่ง ได้เพิ่มอีก ๔๙ กิโล ๕ บาท ๘๒ สตางค์ รวมทองคำทั้งหมดได้ ๒,๑๑๑ กิโลครึ่ง ทองคำทั้งหมดนะทั้งที่หลอมแล้วและยังไม่หลอม ยังขาดอีก ๑,๘๘๘ กิโลครึ่งจะครบจำนวน ๔,๐๐๐ กิโล

    เมื่อวานนี้ผ้าป่าที่วัดศรีชมภูองค์ตื้อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ได้ทองคำ ๑๗ บาท ๓๒ สตางค์ ดอลลาร์ได้ ๑,๑๐๔ ดอลล์ เงินสดได้ ๗๗๐,๖๖๕ บาท

    เดี๋ยวนี้กระจายทั่วไปหมดเลยนะที่เราเทศน์ ดูว่าออกทั่วโลก มันก็ออกมานานแล้ว แต่ทีนี้ออกอันนี้อีกมันรวดเร็วกว้างขวาง ที่เขากระจายออกไปทางอินเตอร์เนท เราก็เทศน์เต็มกำลังความสามารถของเราแล้ว ใครจะยึดได้อะไร ๆ ก็ เราพูดตรง ๆ เลย เรียกว่ากรรมของสัตว์เท่านั้นเอง คือเราไม่มีอะไรเหลือ สงเคราะห์เต็มกำลังความสามารถของเรา เราไม่มีอะไรเสียดาย มีแต่ความเมตตาล้วน ๆ ครอบโลกธาตุ แสดงออกด้วยความเมตตาทั้งนั้น ๆ ใครจะเห็นว่าธรรมเหล่านี้เป็นของสำคัญแล้วก็ยึดเอา ถ้าเห็นว่าสู้กิเลสไม่ได้ ก็กิเลสเอาไปถลุงเอาซิ ก็มีเท่านั้น เมื่อสรุปความลงแล้วก็เรียกว่า กรรมของสัตว์ พอ

    ดังพระพุทธเจ้าท่านแสดงไว้เวลาท่านจะปรินิพพาน ตอนนั้นมีแต่พระนะตอนพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน ไม่ปรากฏว่ามีฆราวาสอยู่นะ หากจะมีก็อยู่ห่าง ๆ ที่เข้าใกล้ชิดพระพุทธเจ้าก็มีแต่พระสงฆ์สาวกเท่านั้น เท่าที่ดูในตำราบอกอย่างนั้น ท่านสอนสอนเต็มเหนี่ยวแล้ว เห็นไหมล่ะอาชาไนยของพวกเรา เวลาปลงพระชนมายุ เดือน ๓ เพ็ญ ทรงปลงพระชนมายุ คือ ลั่นพระวาจาว่า จากนี้ไปอีก ๓ เดือนเราจะตาย ความหมายว่างั้น ลั่นพระวาจาในเดือน ๓ เพ็ญ ว่าจากนี้ต่อไปอีก ๓ เดือนเราจะตาย ลั่นพระวาจาก็คือว่าทรงปลงพระชนมายุ ปลงลงแล้ว มีขอบเขตแล้ว ว่าจากนี้ไปอีก ๓ เดือนเราตาย ในตำราเป็นเรื่องใหญ่โตมากก่อนที่จะปลงพระชนม์นี่ก็ดี ทรงแสดงนิมิตไว้ตั้ง ๑๕-๑๖ แห่ง เป็นอุบายไว้ให้พระอานนท์พิจารณาก็ไม่สำเร็จประโยชน์ นี่ก็กรรมของสัตว์ ดูซิ

    จนกระทั่งได้ปลงพระชนม์สะเทือนไปหมดแล้ว พระอานนท์ถึงรู้ตัวแล้ววิ่งเข้าไปขออาราธนาพระองค์ให้อยู่ ให้ทรงพระชนมายุอยู่ยืนนาน ภาษาเราเรียกว่าทรงดุพระอานนท์ อานนท์ จะมาหวังอะไรกับเราอีก นั่นฟังซิ พูดง่าย ๆ ก็ว่า มีแต่ร่างของเราเท่านั้นเอง ธรรมวินัยที่เป็นองค์ศาสดานั้น เราแสดงเรามอบไว้หมดแล้ว นี้มีแต่พระสรีระของพระองค์ที่จะปล่อยตามเวลา ส่วนอรรถส่วนธรรมที่เป็นประโยชน์แก่โลกก็ได้มอบไว้กับโลกหมดแล้ว เพราะฉะนั้นจึงได้ดุพระอานนท์ที่ว่า อานนท์ มาหวังอะไรกับเราอีก อะไร ๆ เราก็สอนไว้หมดแล้ว มาหวังอะไรกับเราอีก

    ต่อจากนั้นก็แยกออกมาว่า พระธรรมและพระวินัยนั้นแล จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายแทนเราตถาคตเมื่อเราตายไปแล้ว ส่วนธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระพุทธเจ้าเรา เพราะฉะนั้นจึงว่ามาหวังอะไรกับเราอีก ศาสดาเราก็มอบให้แล้ว คือ พระธรรมวินัย ก็หมายความว่าอย่างนั้น จากนั้นก็ทรงปลอบพระอานนท์ ทีแรกก็ดุก่อน แล้วก็ลดลงมา อันดับที่สามก็ว่า อานนท์ เมื่อมีผู้ตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลัก สวากขาตธรรม ที่เราตรัสไว้ชอบแล้วนี้มีอยู่ พระอรหันต์ไม่สูญจากโลกนะอานนท์ เป็นเครื่องรับรอง คือสวากขาตธรรมก็ตรัสไว้ชอบ ชอบก็ชอบเพื่อมรรคผลนิพพาน จะไปไหน

    พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วหรือไม่ปรินิพพาน คำสอนนี้ก็ตรงแน่วแล้ว เรียกว่า แปลนที่ถูกต้องแม่นยำ สายทางนี้ตรงต่อมรรคผลนิพพานอยู่แล้ว หมายความว่าอย่างนั้น ถ้ายังมีผู้ปฏิบัติตามหลักสวากขาตธรรม ที่เราตรัสไว้ชอบแล้วนี้อยู่แล้ว พระอรหันต์ไม่สูญจากโลกนะอานนท์ นี่ก็เป็นวาระหนึ่ง วาระที่สอง ตอนนั้นดูเหมือนไม่ค่อยมีประชาชน ไปที่สวนมัลลกษัตริย์ก็บอกว่าพระองค์จะมาตายที่นี่ ความหมายว่างั้น เห็นไหม องอาจไหม กล้าหาญไหม จริงไหม พระญาณหยั่งทราบไว้เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันเดือน ๓ เพ็ญ พอถึงวันเดือน ๖ เพ็ญเสด็จออกเลย พูดง่าย ๆ วันนี้เองเป็นวันที่เราจะไปตายตามกำหนดที่ได้ตั้งไว้แล้ว ทรงเสด็จไปกรุงกุสินารา สวนมัลลกษัตริย์ พอทางโน้นทราบก็สั่งจัดที่ปรินิพพานทันที

    ตอนนั้นพระสงฆ์มีจำนวนมาก แต่ไม่ปรากฏว่ามีประชาชน คงจะอยู่ห่าง ๆ เพราะพระสงฆ์ก็เป็นเวลาสำคัญของท่านด้วย เป็นผู้ใกล้ชิดติดพันกับพระพุทธเจ้าตลอดมา ส่วนประชาชนก็เป็นผู้สนับสนุน เพราะฉะนั้นจึงอาจจะอยู่ห่าง ๆ สักหน่อย อยู่วงนอก พระสงฆ์อยู่วงใน เพราะรับสั่งอะไรมีแต่รับสั่งเกี่ยวกับพระสงฆ์ทั้งนั้น ๆ วันนั้นก็ไม่ได้รับสั่งอะไรมากมายนัก เพราะธรรมได้ตรัสไว้ชอบแล้ว มอบไว้หมดแล้ว ก็มีปลีกย่อยให้เป็นที่ระลึกในวาระสุดท้ายของพระองค์เท่านั้น

    เวลาเสด็จไปนั้นแล้วก็มีพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อสุภัททะ นี่เห็นไหมกิเลสมันกีดมันขวางอย่างนั้นละ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ทีแรกก็ทราบว่าตรัสรู้ เป็นศาสดาก็ทราบว่าเป็นศาสดา แต่ความเป็นศาสดาของพระพุทธเจ้าไม่ใหญ่ยิ่งกว่าทิฐิมานะ ที่สำคัญตนว่าเป็นวงศ์อริยะเหมือนกัน เรียกว่ามีศักดิ์สูงเสมอกัน แต่ที่สูงกว่าคือมีอายุมากกว่า เอาตรงนั้นนะ พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นลูก ๆ หลาน ๆ เราเป็นปู่ใหญ่ ว่าอย่างนั้นเถอะนะ กิเลสเป็นปู่ใหญ่ ปู่ใหญ่กว่าธรรมของศาสดา ยังไม่ไปถาม ถือทิฐิมานะอยู่นั้น ถือว่าตัวเป็นใหญ่กว่า ๆ เห็นไหมกิเลสมันขวาง ๆ

    ทีนี้อำนาจแห่งบารมีที่สั่งสมมาก็สมบูรณ์เข้ามาหนุนเข้ามา ๆ จนกระทั่งวันนั้นเป็นวันที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จเข้าสู่ที่ปรินิพพาน ก็สะดุดใจขึ้นมา นี่ที่เราถือว่าเราเป็นใหญ่กว่าก็ไม่เห็นเกิดประโยชน์อะไร เสียเวล่ำเวลามาจนกระทั่งบัดนี้ วันนี้เป็นวันที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาปรินิพพานที่นี่ แล้วคำรับสั่งพระพุทธเจ้าก็ไม่เคยเคลื่อนคลาดเลย จะต้องเป็นวันนี้แน่นอนจึงได้เสด็จมาที่นี่ เรายังจะมัวถือทิฐิมานะว่าเราเป็นชาติอริยะเหมือนกัน เพียงเท่านี้ก็ไม่เห็นจะมีอะไรเกิดประโยชน์ ยังไงเราจะต้องไปในวันนี้ ไม่ไปไม่ได้ เป็นวาระสุดท้ายแล้ว ที่นี่พังกำแพงทิฐิมานะออกแล้วนะ อำนาจบารมีพังกำแพงออกแล้ว วันนี้จะต้องไป พุ่งเลย

    มาก็ถูกพระอานนท์ห้ามไว้ เพราะพระองค์กำลังประชวรหนัก เริ่มแล้ว ก็ท่านทรงจ่ออยู่แล้วนี่ รับสั่งให้เข้ามาทันทีเลย เรามาที่นี่เราก็มาเพื่อพราหมณ์คนนี้แหละ นั่นเห็นไหมล่ะ นี่จุดหนึ่ง มาเพื่อพราหมณ์คนนี้เอง ให้เข้ามา เวลาเข้ามาแล้วก็มาถามถึงเรื่องศาสนา มีมากอยู่นะศาสนาแต่ก่อนของเล่นเมื่อไร ของปลอมต้องมีมากกว่าของจริงอยู่โดยดีแหละ ศาสนามีมากต่อมากในครั้งนั้น แล้วพราหมณ์ก็มาพูดถึงเรื่องความลังเลในศาสนา ไม่ทราบว่าศาสนาใดดี ศาสนาใดจริง ศาสนาใดก็บอกว่าดีว่าเลิศทั้งนั้น ๆ ไม่ทราบว่าจะยึดศาสนาไหน

    พระองค์ไม่ทรงตำหนิศาสนาใดนะ ฟังซิทางเดินของศาสดากระทบกระเทือนใครที่ไหน ไม่ได้กระเทือนนะ ไม่บอกว่าศาสนานั้นดีไม่ดี ไม่ได้ว่า ก็ทรงรับสั่งในจุดสำคัญเลยว่า ถ้าศาสนาใดมีมรรค ๘ มีอริยสัจ ๔ มรรค ๘ ก็อยู่ในอริยสัจ ๔ นั่นเอง ท่านก็ตั้ง สัมมาทิฏฐิ ขึ้นเป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นที่สุด นี่เรียกว่า มรรค ทางเดินเพื่อมรรคผลนิพพาน บอกว่าถ้าศาสนาใดมีมรรค ๘ มีอริยสัจ ๔ ศาสนานั้นแลเป็นศาสนาที่ทรงมรรคทรงผล จากนั้นก็แสดงมรรค ๘ ให้ย่อ ๆ เพื่อให้เหมาะกับจริตนิสัยที่จะตรัสรู้หรือบรรลุธรรมในคืนวันนั้น

    บอกว่า อย่าถามเราไปมากเวลาเรามีน้อย เวลาของท่านกำหนดไว้เรียบร้อยแล้วที่จะพุ่ง ว่างั้นเถอะน่ะ เวลาเรามีน้อย จะแสดงให้ฟังย่อ ๆ ก็แสดงถึง มรรค ๘ อริยสัจ ๔ ถ้าอริยสัจ ๔ มรรค ๘ มีในศาสนาใด ศาสนานั้นแลเป็นศาสนาที่ทรงมรรคผลนิพพาน และศาสนานั้นจะเป็นที่ทรงสมณะ ๔ อย่าง ๔ ประเภท สมณะที่หนึ่งคือพระโสดา สมณะที่สองคือพระสกิทา สมณะที่สามคือพระอนาคา สมณะที่สี่คือพระอรหันต์ ศาสนาจะทรงธรรมประเภทเหล่านี้ไว้ได้ คนประเภทนี้ได้ สอนเท่านั้นย่อ ๆ แล้วรับสั่งให้พระอานนท์บวชให้ทันทีทันใดเลย

    บวชแต่ก่อนไม่ได้บวชยาก พระพุทธเจ้าบวชเอง รับสั่งให้บวชเองก็ไม่ยากอะไรเหมือนทุกวันนี้ เราไม่พรรณนาไปละบวชทุกวันนี้ โฮ้ มีทุกอย่าง เครื่องประโคมดนตรีเรื่องของกิเลสเสริม มาแทรกธรรมมีเต็มไปหมดเลย ไม่เอา พูดย่อๆ พอบวชแล้วก็ เธออย่ายุ่งกับการเป็นการตายของเรานะ ให้ตั้งหน้าตั้งตาพิจารณาภาวนาให้บรรลุธรรมในคืนวันนี้ ให้เป็นปัจฉิมสาวกของเราให้ได้ในคืนวันนี้ อย่ามายุ่งกับการเป็นการตายของเรา ให้ออกไปบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ข้างนอก จากนั้นแล้วพระพุทธเจ้าก็สั่งสอนพระไม่มากนะ อามนฺตยามิ โว ภิกฺขเว, ปฏิเวทยามิ โว ภิกฺขเว, ขยวยธมฺมา สงฺขารา, อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราเตือนเธอทั้งหลาย สังขารธรรมนั้นเป็นของที่เกิดขึ้น เจริญขึ้นแล้วเสื่อมและดับไป ให้มีสติปัญญาพิจารณาเหล่านี้ด้วยความไม่ประมาทเถิด เท่านั้น

    คำว่าสังขารมีอยู่ ๒ ประเภท ส่วนที่ท่านเทศน์พระสงฆ์ในเวลานั้นจะไม่เอาสังขารภายนอกไปเกี่ยวนะ ต้องพิจารณาเอาหลักความจริงเข้าไปซิ เพราะพระสงฆ์เหล่านี้เป็นพระอรหันต์ก็มีเต็ม พวกโสดา สกิทา อนาคา มีเต็มอยู่ในนั้น ที่ควรจะวางธรรมะขั้นสูงลงทั้งนั้น ธรรมะขั้นต่ำไม่เหมาะสม เรียกว่า แกงหม้อเล็ก แกงหม้อจิ๋ว เท่านั้น แกงหม้อใหญ่ไม่เอาเข้ามายุ่งเวลานั้น ให้พิจารณาสังขาร มันเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปของมัน ด้วยความมีสติไม่ประมาท คำว่าสังขารคือสังขารภายนอก เช่น ต้นไม้ ภูเขา บุรุษหญิงชาย สัตว์ประเภทต่าง ๆ เรียกสังขาร คือมันปรุงขึ้นด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ปรุงขึ้นด้วยปัจจัยเครื่องหนุนมัน นี่เป็นสังขารประเภทหนึ่ง

    สังขารที่พระพุทธเจ้าทรงสอนในระยะนั้น ทรงสอนให้พิจารณาสังขารตัวคิดปรุงออกมาจากอวิชชา ตัวนี้ตัวเป็นเชื้อภพเชื้อชาติให้เกิดแก่เจ็บตายมาตลอดเวลา เวลานี้ผู้ที่ควรจะจับกันได้แล้วก็มีอยู่นั้นเต็มไปหมด สอนเข้าไปตรงนี้เลย ให้พิจารณาสังขารตัวนี้ ตัวนี้มันคิดมันปรุงว่าดีว่าชั่ว เกิดแล้วดับ ๆ มีเท่านั้น ๆ ให้พิจารณาสังขารนี้ด้วยความไม่ประมาท ด้วยมีสติ จากนั้นก็ปิดพระโอษฐ์ สังขารนี่สังขารภายใน คือสังขารธรรมที่เป็นตัวสมุทัย สังขารตัวนี้คิดออก สมุทัยหนุนให้คิดให้ปรุงต่าง ๆ ไม่มีสิ้นสุดยุติ ให้พิจารณาสังขารเหล่านี้ ประมวลลงมาเพื่อดับเชื้อของสังขารตัวนี้คืออวิชชา นั่นมีเท่านั้น ที่ทรงสอนให้ภิกษุพิจารณาสังขาร จึงแน่ใจว่าสอนสังขารประเภทนี้ เรื่องใหญ่ ๆ แกงหม้อใหญ่ไม่เอามายุ่งในวงพระสงฆ์เวลานั้นเลย

    สังขารมี ๒ ประเภท ท่านไม่ได้บอกว่าสังขารโน้นสังขารนี้แหละ ท่านบอกสังขารเป็นกลาง ๆ แล้วให้พิจารณาสังขารที่เกิดขึ้นแล้วดับไป นี่ความคิดความปรุง เกิดแล้วดับ ๆ ด้วยความไม่ประมาท พิจารณาด้วยสติปัญญาให้ดี คือสังขารอันนี้แหละ เพื่อจะดับซากของมันอยู่ตรงนี้ จึงเรียกว่าสังขารใน ที่สอนกับพระสงฆ์เวลานั้นเหมาะกันมาก ยิ่งกว่าจะไปสอนสังขารแกงหม้อใหญ่ ต้นไม้ ภูเขา เกิดแล้วก็ดับ อะไรก็ดับ มันดับเหมือนกันแต่มันกว้าง ไม่เอา เอาตรงนี้ตรงมันเป็นข้าศึกต่อเราอยู่นี้ สังขารเหล่านั้นเขาไม่เป็นข้าศึก อะไร ๆ เกิดเขาก็ดับของเขาไป แต่สังขารตัวนี้เกิดดับ ๆ กวนเจ้าของตลอดเวลา นี่เอาพิจารณาตรงนี้ เพราะสังขารตัวนี้เป็นสมุทัยเป็นกิเลส สังขารเหล่านั้นเขาไม่เป็นกิเลส กิเลสก็กิเลสของเขาต่างหากไม่ใช่กิเลสของเราที่ทำลายเรา ให้พิจารณาสังขารตัวมันทำลายเรานี้ พิจารณาตัวนี้

    จากนั้นก็ปิดพระโอษฐ์เลย ทรงทำหน้าที่ปรินิพพาน เรียกว่า ได้เวลาแล้วจะไปแล้ว นั่นเห็นไหม ไปตามสัตย์ตามจริง พระพุทธเจ้าปลงพระชนม์ เดือน ๓ เพ็ญ พอถึงเดือน ๖ เพ็ญ ก็เสด็จไปเลย จะมาตายที่นี่ พอได้เวลาแล้วก็ไปเลยดีดผึงเลย แต่เวลาศาสดาจะปรินิพพานต้องวางลวดลายให้เต็มภูมิของศาสดา ธรรมเหล่านี้ก็เป็นธรรมจำเป็นกับนิสัยวาสนาตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมาถึงสาวก องค์ใดที่มีความจำเป็นต่อนิสัยวาสนาอย่างไร ก็ดำเนินไปตามนิสัยวาสนาของตน ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางนั้นก็ไปตามอัธยาศัยของตนเหมือนกัน

    เช่นพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกของโลก จะต้องวางลวดลายให้โลกได้เห็นทุกแง่ทุกมุมไป เพราะฉะนั้นจึงเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ฌาน ๔ อย่าง เป็น ๔ ประเภท เรียกว่า รูปฌาน จากนั้นก็ก้าวเข้าสู่อรูปฌาน ได้แก่ พวกนามธรรมล้วน ๆ อากาสานัญจายตนะ จิตใจของเรานี้มันว่างมันโปร่งไปหมด วิญญาณัญจายตนะ มีแต่วิญญาณครองตัวอยู่นี้ อากิญจัญญายตนะ ยิบแย็บ ๆ ด้วยความจดความจำนิดหน่อย เนวสัญญานาสัญญายตนะ ความจดความจำมีไม่มีก็เป็นอยู่ในชาตินี้ พิจารณานี่ พอออกจากนี้แล้ว ออกจากสมาบัติ ๘ เข้าสู่ สัญญาเวทยิตนิโรธ ทรงระงับสมมุติทั้งหลายเวลานั้น ไม่แสดง สมมุติทั้งมวลในอาการของจิตไม่แสดงเลย เงียบ

    พระอานนท์ก็สงสัย นี่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วเหรอ พระอนุรุทธะตอบทันทีเลย เพราะตามพระจิตตลอดเวลา พระจิตเข้าฌานไหน ๆ พระจิตนี่เป็นพระจิตที่บริสุทธิ์ เป็นวิมุตติแล้ว วิมุตติจิต อันนี้เป็นสมมุติ ปฐมฌาน ทุติยฌาน เหล่านี้เป็นสมมุติทั้งนั้น จิตวิมุตติเดินผ่านสมมุติทั้งหลายนี้ไปเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ นั้นก็เป็นสมมุติประเภทหนึ่ง ไประงับพระองค์อยู่นั้น พระอานนท์เกิดความสงสัยถาม นี้ไม่ใช่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วเหรอ พระอนุรุทธะตอบทันที ยัง เวลานี้ทรงระงับพระองค์อยู่ที่สัญญาเวทยิตนิโรธ แปลว่า ดับสัญญาและเวทนา แปลออกแล้วว่างั้น พอจากนั้นก็เคลื่อนออกมาละที่นี่

    นี่พระจิตที่บริสุทธิ์ ฟังให้ดีนะ ความบริสุทธิ์นี้สูญไหม ถ้าสูญ อะไรไปเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ขึ้นไปจนกระทั่ง สัญญาเวทยิตนิโรธ ถ้าจิตสูญแล้วเอาอะไรไปเข้าฌาน ๔ นี้แล้วไปถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ทีนี้พอถอยออกมา จิตบริสุทธิ์ถอยออกมา ถอยออกมาจนถึงพระจิตบริสุทธิ์ธรรมดา มาตั้งแต่สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วก็ถอยออกมา อรูปฌาน ๔ ถอยออกมารูปฌาน ๔ ถอยออกมาเป็นจิตธรรมดา จากนี้เข้าอีก ท่านทรงย้อนหน้าย้อนหลังเต็มภูมิของศาสดา พอเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน พอผ่านจากฌานนี้แล้ว รูปฌานก็ไม่อยู่ อรูปฌานข้างหน้าก็ไม่ไป ผ่านออกตรงกลางนี้เลย

    พระอนุรุทธะก็บอกว่า ทีนี้ปรินิพพานแล้ว หมด พระจิตที่บริสุทธิ์นี้ไม่ผ่านสมมุติใดแล้ว ปรินิพพานแล้ว ทีนี้พูดไม่ได้เลย สูญไหมล่ะ อันพูดไม่ได้นี้สูญไหมล่ะ แต่ก่อนพูดได้อยู่ ว่าไปฌานนั้น ๆ พอออกจากฌานนี้แล้ว ทีนี้ปรินิพพานแล้ว นี่ละธรรมชาตินั้นละ พ้นสมมุติโดยประการทั้งปวงแล้ว เพราะรูปฌาน อรูปฌาน เหล่านี้เป็นสมมุติทั้งหมด พอออกจากนี้แล้วก็ไปเลย นี่ที่พระอนุรุทธะว่า ทีนี้ปรินิพพานแล้ว ใครจะตามได้ ตามไม่ได้ พระจิตอันนี้สูญไหมล่ะฟังซิ

    ท่านสอนถึงสังขารภายนอกภายใน สอนเตือนพระสงฆ์ในเวลานั้น ทรงสอนสังขารภายใน เราพิจารณาของเราเอง เราไม่สงสัยนะที่พูดเดี๋ยวนี้น่ะ สงสัยหาอะไรของอันเดียวกัน แต่นำมาพูดให้ฟังเฉย ๆ เวลาท่านเข้า คือจิตที่บริสุทธิ์นี้ผ่านสมมุติ รูปฌาน อรูปฌาน ผ่านไปสมมุติ อันนี้จิตเป็นจิตวิมุตติ ความบริสุทธิ์นี้ผ่าน จิตที่บริสุทธิ์นี้ผ่านฌานนี้ไป แล้วก็ย้อนออกมานี้ไปจิตธรรมดา แล้วก็ย้อนขึ้นมาปั๊บออกเลย ทีนี้ไม่ผ่านสมมุติใดแหละ ฌานใดไม่ผ่าน นิพพานแล้ว นั่นละพระพุทธเจ้าของเราเอกขนาดนั้น

    วันนี้พูดแต่เรื่องชานเรื่องบันได ไม่ได้พูดเรือน เรือนไม่บอกให้ไปหาเอง คือพูดเรื่องชานที่จะเข้าบ้าน ส่วนในบ้านไม่บอก ไม่บอกเพราะอะไร เพราะเสื่อหมอนมันอยู่ในบ้านนั้นแล้ว มันมีอยู่ในนั้นครบแล้วไม่ต้องถามหาเสื่อหมอน มันอยู่ในบ้านนั้นแล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องบอกกัน เอาละจบ ทีนี้จะให้พรนะ

    อันนี้ที่เทียบนี้จะว่าส่วนละเอียดก็ถูกนะ เราจะเทียบอย่างหยาบ ๆ ให้เห็นชัดเจนก็คือ เทียบอย่างหยาบ ๆ ให้เห็นทั่วหน้ากันไม่สงสัยก็คือ พระอรหันต์ท่านครองร่างอยู่นั้น พระอรหันต์ท่านยังไม่ตายท่านครองร่างอยู่ เทียบให้เห็นอย่างชัด ๆ ก็คือ ร่างกายทั้งหมดของพระอรหันต์นั้นเป็นสมมุติ จิตของท่านเป็นจิตวิมุตติเป็นจิตที่บริสุทธิ์ เรียกว่าธรรมธาตุล้วน ๆ แล้ว ครองอยู่ในร่างกายนั้น

    ร่างกายนี่เคลื่อนไปไหน ๆ ธรรมธาตุก็อยู่ในนั้น ๆ พาอยู่ก็อยู่ พากินก็กิน พานอนก็นอน พาหลับพาขับพาถ่าย พาตดพาขี้ท่านก็ตดก็ขี้ธรรมดา แต่ธรรมธาตุไม่ได้เป็นอย่างนี้ อันนี้เป็นสมมุติเป็นต่างหาก เวลาเป็นก็อันนี้ละเป็นอยู่ สืบต่อกันอยู่ พออันนี้หมดความสืบต่อเรียกว่าตาย นั่นละจิตท่านออกละที่นี่ เหลือแต่ร่าง ทีนี้ไม่ผ่านละ ไม่อยู่ด้วยกับธาตุขันธ์อันนี้

    พระพุทธเจ้าเสด็จไปไหน ๆ พระธรรมธาตุก็ไปด้วยกัน พระอรหันต์ไปที่ไหนพระธรรมธาตุของท่านก็ไปด้วยกัน ๆ อยู่ในร่างนั้นแหละ นี่เรียกว่าจิตวิมุตติคือหลุดพ้นแล้ว อาศัยสมมุติอยู่ เราเทียบออกมาให้เห็นชัดเจนอย่างนี้ละ ทีนี้พออันนี้หมดสภาพอันนั้นก็ดีดออก ไม่อาศัยขันธ์อีกแล้ว ไม่เดินตามขันธ์ ไม่อยู่ตามขันธ์อีกแล้ว ไปเลย เทียบกันอย่างนี้ละ
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    นี่ของธรรมกาย
    ประวัติพระพุทธเจ้า ตอน เสด็จปรินิพพาน
    หลังจากนี้พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย ทรงสงบนิ่งทำปรินิพพานบริกรรมด้วยอนุบุพพวิหารหรือสมาบัติทั้ง 9 โดยอนุโลมและปฏิโลมตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว เข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ

    เมื่อประทานปัจฉิมโอวาทเสร็จสิ้นแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน
    ในเวลาใกล้รุ่งของคืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 6 เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ตรงตามเวลาที่ทรงปลงอายุสังขารไว้
    โดยทรงปรินิพพานอย่างสง่างามด้วยการทำสมาธฺเข้าฌานสมาบัติมีพระอนุรุทธะ ผู้เป็นเลิศทางด้านตาทิพย์เป็นพยานรู้เห็นการปรินิพพานของพระองค์ทุกขั้นตอน
    หลังจากปรินิพาน 7 วัน มีการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เรียกวันนี้ว่า “วันอัฐมีบูชา”


    พระอานนท์ผู้นั่งเฝ้าดูอาการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดเวลา จึงถามถึงการปรินิพพานกับพระอนุรุทธะซึ่งนั่งอยู่ใกล้ๆ พระอนุรุทธะผู้มีตาทิพย์มองเห็นการปรินิพพานของพระพุทธองค์ตลอดมา ตอบว่า ยังไม่ได้ปรินิพพาน เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว เข้า เนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้ว เข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติแล้ว เข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว เข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว เข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว เข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว ก็เสด็จปรินิพพาน

    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ สั่นสะเทือนเลื่อนลั่นสนั่นหวั่นไหว มหาสมุทรปั่นป่วนหวั่นไหว เกิดคลื่นเคลื่อนไปไม่มีหยุด พายุพัดกรรโชกกระหน่ำเกิดความขนพองสยองเกล้าน่าสะพรึงกลัวยิ่ง ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือขึ้น
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ฌาน คือ สัมมาสมาธิ มีลำดับต่างๆ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน


    ฌานสมาบัติ คือ การทำจิตให้อยู่ในฌานต่อเนื่อง คือทรงฌาน (ปัจจุบันมักเรียกว่า เข้าฌาน)

    ถามว่า "เมื่อทำได้แล้ว อารมณ์เป็นอย่างไร?"

    ปรากฎในพระไตรปิฎกดังนี้...

    ครั้นอาตมภาพบริโภคอาหารหยาบมีกำลังขึ้นแล้ว ก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.

    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขผู้ได้ฌานเกิดแต่สมาธิอยู่. มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป

    บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ตติยฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข.

    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

    ฌานวิสัย นั้นเป็น อจิณไตย...จะกล่าว จะพูดให้ชัดเจน นั้นอยู่ที่ผู้ปฏิบัติต้องตรวจสอบจากพระไตรปิฎก เพราะส่วนใหญ่กล่าว เล่าจะประกอบด้วยทิฏฐิ
    มานะ ของตนเองเสียส่วนใหญ่

    ******

    ถามว่า " ถ้าทำได้แล้วควบคุมอย่างไร?"

    ถ้าทำได้ ไม่ต้องควบคุม เพราะฌาน(จิต)นั้น เป็นกุศลมาก ทำให้มากไว้ เป็นกุศลเอกอุ



    [๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เจริญทุติยฌานแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้ว มือ ... เจริญตติยฌาน ... เจริญจตุตถฌาน ... เจริญเมตตาเจโตวิมุติ ... เจริญ กรุณาเจโตวิมุติ ... เจริญมุทิตาเจโตวิมุติ ... เจริญอุเบกขาเจโตวิมุติ ... พิจารณากายในกายอยู่ พึงเป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก ... พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ... พิจารณาจิตในจิต อยู่ ... พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ... ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ... ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ... ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ ความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ... ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความ ตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฝือ เพื่อความมีมาก เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ บริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิ ปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิ บาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสา สมาธิปธานสังขาร ... เจริญสัทธินทรีย์ ... เจริญวิริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... เจริญสัทธาพละ ... เจริญวิริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ ... เจริญสติสัมโพชฌงค์ ... เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... เจริญปีติสัมโพชฌงค์ เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ... เจริญสัมมาทิฏฐิ ... เจริญสัมมาสังกัปปะ ... เจริญสัมมาวาจา ... เจริญ สัมมากัมมันตะ ... เจริญสัมมาอาชีวะ ... เจริญสัมมาวายามะ ... เจริญสัมมาสติ ...
    ถ้าภิกษุเจริญสัมมาสมาธิแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่ เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาต ของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งสัมมาสมาธิเล่า ฯ

    [๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบธรรมที่เป็นไปในส่วน แห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กาย- *คตาสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วน แห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ

    (อยู่ในพระไตรปิฎก สุตตันตปิฎก 21
     
  12. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    จ่ายักษ์ ยกมาได้ถูกกาล #148

    ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในลำดับเหตุการณ์แห่งการดับขันธปรินิพพาน
    ของพระพุทธองค์ คือ ท่านพระอนุรุทธเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ โดยนัย "มหาปรินิพพานสูตร"

    สรุปแล้ว คุณธรรมภูต ก็ยังมีเค้าความเชื่อในอาจารย์ของตน ตามโพส 144 ที่จ่ายักษ์ยกมา

    ตกลงจะเชื่อในท่านพระอนุรุธเถระ หรือจะเชื่อใคร

    ก็แล้วแต่เถอะ ปฏิบัติพิสูจน์ ให้รู้กันไปโลด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 พฤษภาคม 2015
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ยังมีอีกหลายสำนัก ฯ

    ฌาน สมาบัติ วิมุติ ไฉนไปคนละทางสองทาง


    ตำราเล่มเดียวกันหรือคนละเล่มกันแน่ แล้วไหนว่าถูกหมด ไฉนจึงไปคนละแกแลคซี่


    ต้องยอมรับชะตากรรมจริงๆเรื่องนี้
     
  14. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    เออ..จ่า เพลาๆมือลงหน่อย แต่การยกธรรมะ นำมาลงเพื่อศึกษา ก็เห็นได้ว่า จ่ามีความรู้ดี

    ก็ยังดูดีกว่า ผู้พันหมานพุงพุ้ย ไก่ทอดผิดซอง นั่นอีก เข้าใจผิดไปซะนี่ เมื่อเช้า

    [​IMG]
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ท่านร่วมทำสังคายนา ถ้าท่านแจ้งบันทึกเรื่องนี้ไว้ด้วยตนเอง เราย่อมเชื่อท่าน


    1-พระอนุรุทธเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ

    พระอนุรุทธะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ผู้เป็นพระเจ้าอาของพระบรม
    ศาสดา มีพระเชษฐา (พี่ชาย) พระนามว่า เจ้าชายมหานามะ มีพระกนิษฐภคินี (น้องสาว) พระ
    นามว่า พระนางโรหิณี รวมเป็น ๓ พระองค์ด้วยกัน เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้วเสร็จมาโปรด
    พระประยูรญาติศากยวงศ์ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ได้มีศากยกุมารผู้มีชื่อเสียงออกบวชติดตามพระบรม
    ศาสดาหลายพระองค์
    พี่ชายชวนบวช
    ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ เสด็จจาริกไปสู่มหาชนบท ประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน แขวง
    เมืองพาราณสี ครั้งนั้น เข้าศากยพระนามว่าเจ้าชายมหานามะ ผู้เป็นพระเชษฐา ได้ปรึกษากับเจ้า
    ชายอนุรุทธะพระอนุชาว่า:-
    “ในตระกูลของเรานี้ ยังไม่มีผู้ใดออกบวชตามเสด็จพระบรมศาสดาเลย เราสองคนพี่
    น้องนี้ ควรที่คนใดคนหนึ่งน่าจะออกบวช น้องจะบวชเองหรือจะให้พี่บวช ขอให้น้องเป็นผู้เลือก
    ตามความสมัครใจ ถ้าไม่มีใครบวชเลย ก็ดูเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง”
    เนื่องจากอนุรุทธกุมารนั้น เป็นพระโอรสองค์เล็ก พระเจ้าอมิโตทนะ พระบิดาและพระ
    มารดามีความรักทะนุถนอมเป็นอย่างมาก เป็นกษัตริย์สุขุมมาลชาติ มีบุญมาก หมู่พระประยูร
    ญาติทั้งหลายต่างก็โปรดปรานเอาอกเอาใจตั้งแต่แรกประสูติจนเจริญวัยสู่วัยหนุ่ม เมื่อได้ฟังเจ้าพี่
    มหานามะตรัสถึงเรื่องการบรรพชาอย่างนั้น จึงกราบทูลถามว่า
    “เสด็จพี่ ที่เรียกว่าบรรพชานั้น คืออะไร”
    “ที่เรียกบรรพชาก็คือการปลงพระเกศาและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสต์ บรรทมเหนือ
    พื้นดิน และบิณฑบาตเลี้ยงชีพตามกิจของสมณะ”
    “เสด็จพี่ หม่อมฉันไม่เคยทุกข์ยากลำบากอย่างนั้น ขอให้เสร็จพี่บวชเองเถิด”
    “อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เจ้าก็ต้องศึกษาเรื่องการงาน และการครองเรือนให้เข้าใจเป็น
    อย่างดี”

    ไม่รู้จักคำว่า “ไม่มี”
    แท้ที่จริง เจ้าชายอนุรุทธะ ได้รับการเอาอกเอาใจจากพระประยูรญาติดังกล่าว จน
    กระทั่งไม่ทราบเรื่องการงาน และการดำเนินชีวิตของฆราวาสเลย ยิ่งไปกว่านั้นแม้แต่คำว่า “ไม่
    มี” ก็ไม่เคยได้ยินนับตั้งแต่ประสูติมา ดังมีเรื่องเล่าว่า.....
    ครั้งหนึ่ง เจ้าชายอนุรุทธะ พร้อมด้วยพระสหายชวนกันไปเล่นตีคลี โดยมีการตกลงกัน
    ว่า “ถ้าใครเล่นแพ้ต้องนำขนมมาเลี้ยงเพื่อน” ในการเล่นนั้นเจ้าชายอนุรุทธะ แพ้ถึง ๓ ครั้ง ใน
    แต่ละครั้งให้คนรับใช้ไปนำขนมจากเสด็จแม่มาเลี้ยงเพื่อนตามที่ตกลงกัน ในครั้งที่ ๔
    เจ้าชายอนุรุทธะ ก็เล่นแพ้อีก และก็ใช้ให้คนไปนำขนมมาจากพระมารดาอีก พระมารดาตรัสสั่ง
    คนรับใช้มาบอกว่า “ขนมไม่มี” เจ้าชายอนุรุทธะ ไม่รู้ความหมายของคำว่า “ไม่มี” เข้าใจไปว่า
    คำนั้นเป็นชื่อของขนมชนิดหนึ่ง จึงส่งคนรับใช้ให้ไปกราบทูลแก่เสด็จแม่ว่า “ขนมไม่มีก็เอามา
    เถอะ”
    พระมารดา เข้าพระทัยทันทีว่า พระโอรสของพระองค์นั้นไม่เคยได้ยินค่ำว่า “ไม่มี” ดัง
    นั้น จึงดำริที่จะให้โอรสของตนทราบความหมายของคำว่า “ไม่มี” นั้นว่าเป็นอย่างไร จึงนำถาด
    เปล่ามาทำความสะอาดแล้วปิดฝาด้วยถาดอีกใบหนึ่ง ส่งให้คนรับใช้นำไปให้พระโอรส ใน
    ระหว่างทางที่คนรับใช้ถือถาดเปล่าเดินไปนั้น เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูคิดว่า
    “เจ้าชายอนุรุทธะ นี้ ได้สร้างบุญบารมีมาแต่ชาติปางก่อน ครั้งที่เกิดเป็นอันนภารบุรุษ ได้ถวาย
    อาหารที่ตนกำลังจะบริโภคแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าอริฏฐะ แล้วได้ตั้งความปรารถนา
    ว่า “ถ้าได้เกิดใหม่ ขออย่าให้ได้ยินคำว่า “ไม่มี” กับทั้งสถานที่เกิดของอาหาร ก็ขออย่าได้พานพบ
    เลย” ดังนั้น ถ้าเจ้าชายอนุรุทธะได้รู้จักคำว่า ไม่มี แล้วเราต้องถูกเทพยาดาผู้มีอำนาจเหนือกว่าลง
    โทษแน่” จึงเนรมิตขนมทิพย์จนเต็มถาด เจ้าอนุรุทธะและพระสหายได้เสวยขนมทิพย์มีรสโอชา
    ยิ่งนัก ซึ่งพวกไม่เคยได้เสวยมาก่อน จึงกลับไปต่อว่าพระมารดาว่า:-
    “ข้าแต่เสด็จแม่ ทำไมเสด็จแม่เพิ่งจะมารักลูกวันนี้เอง วันอื่น ๆ ไม่เห็นเสด็จแม่ทำขนม
    ไม่มีให้ลูกเสวยเลย ตั้งแต่นี้ไป ลูกขอเสวยแต่ขนมไม่มีเพียงอย่างเดียว ขนมชนิดอื่นไม่ต้องทำให้
    อีก”
    นับแต่บัดนั้นเมื่อเจ้าชายอนุรุทธะ ขอเสวยขนม พระมารดาก็จะนำถาดมาทำความ
    สะอาดแล้วปิดฝาด้วยถาดอีกใบหนึ่งส่งไปให้ทุกครั้ง ด้วยเหตุนี้ เมื่อเจ้าพี่มหานามะ บอกให้ศึกษา
    เรื่องการงานการครองเรือน เจ้าชายอนุรุทธะ จึงทูลถามเจ้าพี่ว่า:-
    “การงานที่ว่านั้น คืออะไร ?"

    เรียนเรื่องการทำนา
    เจ้าชายมหานามะ ได้สดับคำถามของพระอนุชาดังนั้น จึงได้ยกเอาเรื่องการทำนาขึ้นมา
    สอน เริ่มด้วยการไถ การหว่าน การดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยว การนวด และการนำเข้า
    เก็บในยุ้งฉาง อย่างนี้แหละ เรียกว่า “การงาน”
    “เสด็จพี่ การงานนี้จะสิ้นสุดเมื่อไร ?”
    “ไม่มีวันสิ้นสุด เมื่อถึงฤดูกาลก็ต้องทำอย่างนี้ตลอดไป วนเวียนหาที่สุดมิได้
    เจ้าชายอนุรุทธะ นั้นจะรู้เรื่องการทำนาได้อย่างไร ในเมื่อครั้งหนึ่งเคยนั่งสนทนากับพระ
    สหายและตั้งปัญหาถามกันว่า:-
    “ภัตตาหารที่เราเสวยกันทุกวันนี้ เกิดที่ไหน ?”
    “เกิดในฉาง” เจ้าชายกิมพิละตอบ เพราะเคยเห็นคนนำข้าวออกจากฉาง
    “เกิดในหม้อ” เจ้าชายภัททิยะตอบ เพราะเคยเห็นคดข้าวออกจากหม้อ
    “เกิดในชาม” เจ้าชายอนุรุทธะตอบ เพราะทุกครั้งจะเสวยภัตตาหาร ก็จะเห็นข้าวอยู่ใน
    ชามเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงเข้าใจอย่างนั้น
    เมื่อใดฟังเจ้าพี่มหานามะ สอนถึงเรื่องการงาน ดังนี้แล้ว จึงเกิดการท้อแท้ขึ้นมา และ
    การงานนั้นก็ไม่มีที่สิ้นสุด จึงกราบทูลเจ้าพี่มหานามะว่า “ถ้าเช่นนั้นขอให้เสด็จพี่อยู่ครองเรือน
    เถิด หม่อมฉันจักบวชเอง ถึงแม้การบวชจะลำบากกว่าการเป็นอยู่ในฆราวาสนี้ ก็ยังมีภาระที่
    น้อยกว่า และมีวันสิ้นสุด”

    ตายดีกว่าถ้าไม่ได้บวช
    เมื่อตกลงกันเช่นนี้แล้ว เจ้าชายอนุรุทธะจึงเข้าไปเฝ้าพระมารดา กราบทูลให้ทรงทราบ
    เรื่องที่ตกลงกับเจ้าพี่มหามานะ แล้ว กราบทูลขอลาบวชตามเสด็จพระบรมศาสดา พระมารดาได้
    ฟังก็ตกพระทัยตรัสห้ามไว้ถึง ๓ ครั้ง แต่พระโอรสก็ยืนยันจะบวชให้ได้ ถ้าไม่ทรงอนุญาต
    ก็จะขออดอาหารจนตาย และก็เริ่มไม่เสวยอาหารตั้งแต่บัดนั้น ในที่สุดพระมารดาเห็นว่าการ
    บวชยังมีโอกาสได้เห็นโอรสดีกว่าปล่อยให้ตาย อนึ่ง อนุรุทธะนั้น เมื่อบวชแล้วได้รับความ
    ลำบากก็คงอยู่ได้ไม่นานก็จะสึกออกมาเอง
    พระมารดาจึงตกลงอนุญาตให้บวช แต่มีข้อแม้ว่า ถ้าเจ้าชายภัททิยะพระสหายออกบวช
    ด้วยจึงจะให้บวช เจ้าชายอนุรุทธะดีใจรีบไปชวนเจ้าชายภัททิยะให้บวชด้วยกันโดยกล่าวว่า
    “การบวชของเราเนื่องด้วยท่าน ถ้าท่านบวชเราจึงจะได้บวช” อ้อนวอนอยู่ถึง ๗ วัน
    เจ้าชายภัททิยะจึงยอมบวชด้วย
    ในครั้งนั้น เจ้าชายศากยะ ๕ พระองค์ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายอานนท์
    เจ้าชายภัคคุ และ เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายฝ่ายโกลิยะ ๑ พระองค์ คือ เจ้าชายเทวทัต พร้อม
    ด้วยอำมาตย์ช่างกัลบกอีก ๑ คน ชื่อ อุบาลี รวมเป็น ๗ เสด็จออกเดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่
    อนุปิยอัมพวัน เมืองพาราณสี ในระหว่างทางเจ้าชายทั้ง ๖ ได้เปลื้องเครื่องประดับอันมีค่าส่ง
    มอบให้อุบาลีช่างกัลบกที่ติดตามไปด้วย พร้อมทั้งตรัสสั่งว่า:-
    “ท่านจงนำเครื่องประดับเหล่านี้ไปจำหน่ายขายเลี้ยงชีพเถิด”
    อุบาลี รับเครื่องประดับเหล่านั้นแล้วแยกทางกลับสู่พระนครกบิลพัสดุ์ พลางคิดขึ้นมา
    ว่า “ธรรมดาเจ้าศากยะทั้งหลายนั้นดุร้ายนักถ้าเห็นเรานำเครื่องประดับกลับไปก็จะพากันเข้าใจว่า
    เราทำอันตรายพระราชกุมารแล้ว นำเครื่องประดับมาก็จะลงอาญาเราจนถึงชีวิต อนึ่งเล่า เจ้าชาย
    ศากยกุมารเหล่านี้ ยังละเสียซึ่งสมบัติอันมีค่าออกบวชโดยมิมีเยื่อใย ตัวเรามีอะไรนักหนาจึงจะ
    มารับเอาสิ่งของที่เขาทิ้งดุจก้อนเขฬะนำไปดำรงชีพได้”
    เมื่อคิดดังนั้นแล้ว จึงแก้ห่อนำเครื่องประดับทั้งหลายเหล่านั้นแขวนไว้กับต้นไม้แล้ว
    กล่าวว่า “ผู้ใดปรารถนาก็จงถือเอาตามความประสงค์เถิด เราอนุญาตให้แล้ว” จากนั้นก็ออกเดิน
    ทางติดตามเจ้าชายทั้ง ๖ พระองค์ ไปทันที่อนุปิยอัมพวัน กราบทูลแจ้งความประสงค์ขอบวชด้วย

    ให้อุบาลีกัลบกบวชก่อน
    เจ้าชายอนุรุทธะ เมื่อทราบความประสงค์ของอุบาลีเช่นนั้น จึงกราบทูลพระบรมศาสดา
    ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เป็นกษัตริย์ มีขัตติยมานะแรงกล้า ขอพระองค์ประทาน
    การบรรพชาแก่อุบาลี ผู้เป็นอำมาตย์รับใช้ปวงข้าพระองค์ก่อนเถิด เพื่อข้าพระองค์ทั้งหลายจะ
    ได้แสดงคารวะกราบไหว้ อุบาลี ตามประเพณีนิยมของพระพุทธสาวก จะได้ปลดเปลื้อง
    ขัตติยมานะให้หมดสิ้นไปจากสันดาน”
    พระพุทธองค์ตรัสอนุโมทนา แล้วประทานการบรรพชาแก่อุบาลีก่อนตามประสงค์
    แล้วประทานการบรรพชาแก่กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ภายหลัง เมื่อบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    ในพระพุทธศาสนาแล้ว
    พระภัททิยะ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พร้อมไตรวิชาภายในพรรษานั้น
    พระอนุรุทธะ ได้สำเร็จทิพยจักษุญาณก่อนแล้วภายหลังได้ฟังพระธรรมเทศนา
    มหาปุริสวิตกสูตร ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
    พระอานนท์ ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน
    พระภัคคุ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
    พระกิมพิละ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
    พระเทวทัต ได้บรรลุธรรมชั้นฤทธิ์ปุถุชนอันเป็นโลกิยะ
    พระอุบาลี ศึกษาพุทธพจน์แล้ว เจริญวิปัสสนากรรมฐาน
    ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ภายในพรรษานั้น

    พระอนุรุทธะ เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้เรียนกรรมฐานจากพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแล้ว
    เข้าไปสู่ป่าปาจีนวังสมฤคทายวัน ขณะเจริญสมณธรรมอยู่นั้นได้ตรึกถึงมหาปุริสวิตก ๗ ประการ
    คือ:-
    ๑ ธรรมนี้ของผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความปรารถนาใหญ่
    ๒ ธรรมนี้ของผู้สันโดษ ยินดีด้วยของที่มีอยู่ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ
    ๓ ธรรมนี้ของผู้สงัดแล้ว ไม่ใช่ของผู้ยินดีในหมู่
    ๔ ธรรมนี้ของผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน
    ๕ ธรรมนี้ของผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ของผู้มีสติหลง
    ๖ ธรรมนี้ของผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่ตั้งมั่น
    ๗ ธรรมนี้ของผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้มีปัญญาทราม
    เมื่อพระเถระตรึกอยู่อย่างนี้ พระบรมศาสดาเสด็จไปยังที่อยู่ของพระเถระ ทราบว่าเธอ
    กำลังตรึกอยู่อย่างนั้น ทรงอนุโมทนาว่า ดีล่ะ ดีล่ะ แล้วทรงแนะให้ตรึกในข้อที่ ๘ ว่า
    ๘ ธรรมนี้ของผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมที่เนิ่นช้า

    ได้รับยกย่องผู้มีทิพยจักษุญาณ
    ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ตรัสสอนพระเถระแล้ว ได้เสด็จกลับสู่ที่ประทับ ส่วน
    พระอนุรุทธะ ได้บำเพ็ญสมณธรรมต่อไป ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ตั้งแต่นั้นมา ท่านได้ตรวจดู
    สัตว์โลกด้วยทิพยจักษุญาณเสมอ ยกเว้นขณะกำลังฉันภัตตาหารเท่านั้น
    ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา ได้ตรัสยกย่องชมเชยท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่า
    ภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้มีทิพยจักษุญาณ
    ปฐมเหตุประเพณีการทอดผ้าบังสุกุล-ผ้าป่า
    สมัยหนึ่งท่านพระอนุรุทธเถระ จำพรรษาอยู่ที่เวฬุวันเมืองราชคฤห์ จีวรที่ท่านใช้อยู่นั้น
    เก่ามาก ท่านจึงแสวงหาผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) ตามกองขยะ กองหยากเยื่อเพื่อนำมาทำจีวร
    ครั้งนั้น อดีตภรรยาเก่าของท่านชื่อ ชาลินี ซึ่งจุติได้เกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เห็น
    พระเถระแสวงหาผ้าอยู่เช่นนั้นก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงนำผ้าทิพย์มาจากสวรรค์ลงมายังโลก
    มนุษย์ และคิดว่า “ถ้าเราจะนำเข้าไปถวายโดยตรง พระเถระก็คงไม่รับแน่” จึงหาอุบายซุกผ้าผืน
    นั้นในกองขยะกองหยากเยื่อ มีชายผ้าโผล่ออกมาเพื่อให้พระเถระได้เห็น ในทางที่พระเถระ
    กำลังเดินมุ่งหน้าไปทางนั้น พระเถระเห็นชายผ้าผืนนั้นแล้วถึงออกมาพิจารณาเป็นผ้าบังสุกุลและ
    คิดว่า “ผ้าผืนนี้เป็นผ้าบังสุกุลที่มีคุณค่ายิ่งนัก” แล้วนำกลับไปสู่อาราม เพื่อจัดการทำจีวร

    พระพุทธองค์ช่วยเย็บจีวร
    ในการทำจีวรของท่านนั้นเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระบรมศาสดาทรงพา
    พระมหาสาวกเป็นจำนวนมากมาร่วมทำจีวร โดยพระองค์เองทรงร้อยเข็ม พระมหากัสสปะนั่ง
    อยู่ช่วงต้น พระสารีบุตรนั่งอยู่ตรงกลาง พระอานนท์นั่งอยู่ช่วงปลายสุด ทั้ง ๓ ท่านนี้ช่วยกันเย็บ
    จีวร ส่วนพระภิกษุสงฆ์ที่เหลือก็ช่วยกันกรอด้าย พระมหาโมคคัลลานะ กับนางเทพธิดาชาลินี
    ช่วยกันไปชักชวนอุบาสกอุบาสิกาในหมู่บ้าน ให้นำภัตตาหารมาถวายพระบรมศาสดาและพระ
    ภิกษุสงฆ์ประมาณ ๕๐๐ รูป การเย็บจีวรของพระอนุรุทธะสำเร็จลงด้วยดีภายในวันเดียวเท่านั้น
    อนึ่ง กิริยาที่นางเทพธิดาชาลินี นำผ้าไปวางซุกไว้ในกองขยะกองหยากเยื่อ ในลักษณะ
    ทอดผ้าบังสุกุลนั้น พุทธบริษัทได้ถือเป็นแบบอย่างในการทอดผ้าบังสุกุล และทอดผ้าป่าใน
    ปัจจุบันนี้
    พระอนุรุทธเถระ ดำรงชนมายุมาถึงหลังพุทธปรินิพพาน ในวันที่พระบรมศาสดา
    นิพพานนั้น ท่านก็ร่วมอยู่เฝ้าแวดล้อม ณ สาลวโนทยานนั้นด้วย และท่านยังได้ร่วมทำกิจพระ
    ศาสนาครั้งสำคัญ ในการทำปฐมสังคายนากัลป์คณะสงฆ์โดยมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน
    พระอุบาลีเถระวิสัชนาพระวินัย และพระอานนท์เถระวิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม
    ท่านพระอนุรุทธเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธ์ เข้าสู่
    นิพพาน ณ ภายใต้ร่มกอไผ่ ในหมู่บ้านเวฬุวะ แคว้นวัชชี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2015
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ประวัติย่อ การสังคายนาพระไตรปิฎก

    ปฐมเหตุความคิดที่จะให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยนั้น ได้มีมาแล้วตั้งแต่ครั้งพุทธกาล
    โดยพระพุทธองค์ได้ประทานพระพุทธโอวาทแนะนำไว้ กล่าวคือ

    เมื่อนิครนถนาฏบุตร ผู้เป็นอาจารย์เจ้าลัทธิเชนสิ้นชีพ พวกสาวกของเจ้าลัทธินี้ได้เกิดแตกสามัคคีกัน
    ครั้งนั้น พระจุนทเถระผู้เป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระได้ทราบเรื่องนั้นแล้ว
    มีความห่วงใยในพระพุทธศาสนา เกรงเหตุการณ์เช่นนั้นจะเกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนา
    จึงไปพบพระอานนท์เถระเล่าความนั้นให้ฟัง

    พระอานนท์เถระจึงได้ชวนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระจุนทเถระกราบทูลเล่าเรื่องนั้นถวายให้ทรงทราบ
    พระพุทธองค์ได้ประทานพระพุทธโอวาทเป็นอันมากแก่พระจุนทเถระ
    ที่สำคัญข้อหนึ่งก็คือ พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า
    ที่สาวกของนิครนถนาฏบุตรแตกสามัคคีกันนั้น เพราะคำสอนของเจ้าลัทธินั้นไม่สมบูรณ์และมีความสับสน
    ทั้งพวกสาวกก็ไม่ปฏิบัติตามคำสอน
    แล้วทรงแนะนำให้รวบรวมพระพุทธวจนะ ให้ทำการสังคายนาไว้เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป

    พระสารีบุตรเถระก็ได้แนะนำพระภิกษุสงฆ์ให้ช่วยกันรวบรวมพระพุทธวจนะ หรือทำการสังคายนาพระธรรมวินัยไว้เช่นเดียวกัน
    กล่าวคือ เมื่อนิครนถนาฏบุตรสิ้นชีพ และพวกสาวกเกิดแตกความสามัคคีกันดังกล่าวแล้วนั้น
    ตอนค่ำวันหนึ่ง พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุสงฆ์ที่เข้าเฝ้า
    จบแล้วทรงเห็นว่าภิกษุสงฆ์ยังประสงค์จะฟังธรรมต่อไปอีก จึงทรงมอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมแทน
    ครั้งนั้น พระสารีบุตรเถระได้แสดงธรรมแก่ภิกษุสงฆ์ ได้แนะนำให้ช่วยกันรวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัยไว้

    โดยแสดงตัวอย่างการจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นหมวดๆ
    ตั้งแต่หมวด ๑ ถึงหมวด ๑๐ ว่าธรรมะอะไรบ้างอยู่ในหมวดนั้นๆ
    หัวข้อเรื่องที่พระสารีบุตรเถระแสดงในครั้งนั้น เรียกว่า สังคิติสูตร อันแปลว่า สูตรว่าด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัย
    ซึ่งแนวคิดและข้อแนะนำรับรองว่าถูกต้อง

    ตามที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า การจัดสังคายนาพระธรรมวินัย หรือการสังคายนาพระไตรปิฎกนั้น
    เป็นเรื่องสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา
    พระสงฆ์ผู้เป็นพุทธสาวกที่สำคัญรูปหนึ่ง คือพระจุนทเถระ มีความห่วงใยต่ออนาคตแห่งพระพุทธศาสนา
    พระเถระรูปนี้หวั่นเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อพระพุทธศาสนาในอนาคต
    จึงได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ และกราบทูลเรื่องราวที่เกิดขึ้นในลัทธิเชน
    เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันขึ้นในพระพุทธศาสนา ดังกล่าวแล้ว

    ด้วยเหตุดังกล่าวมา พระสงฆ์พุทธสาวกผู้เป็นศาสนทายาท
    เมื่อปรารภเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา
    ก็ได้พร้อมกันปกป้องพระพุทธศาสนาไว้ แก้ไขให้พ้นภัยตลอดมา
    วิธีการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาที่สำคัญวิธีหนึ่งก็คือ
    การสังคายนาพระธรรมวินัย หรือการสังคายนาพระไตรปิฎก
    ซึ่งได้ถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาโดยลำดับตามควรแก่เหตุการณ์และกาลเวลา

    การสังคายนา ครั้งที่ ๑

    มูลเหตุ :
    เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานได้ ๗ วัน พระมหากัสสปเถระอยู่ที่เมืองปาวา
    ยังไม่ทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน จึงพาพระสงฆ์จำนวน ๕๐๐ รูป
    เดินทางออกจากเมืองปาวาด้วยประสงค์จะไปเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองกุสินารา
    ในระหว่างเดินทางนั้นเอง ก็ได้ทราบข่าวการเสด็จปรินิพพานของพระพุทธองค์จากอาชีวก(นักบวชนิกายหนึ่ง) คนหนึ่ง
    ซึ่งเดินทางมาจากเมืองกุสินารา
    พระสงฆ์ทั้งมวลซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นหัวหน้า
    เมื่อได้ทราบข่าวนั้นแล้ว ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ต่างก็มีความสลดใจ ผู้ที่เป็นปุถุชนอยู่ก็เศร้าโศกเสียใจ
    ร้องไห้คร่ำครวญ รำพึงรำพันกันไปต่างๆนานา แต่พระภิกษุสุภัททะมิได้เป็นเช่นนั้น
    และได้ห้ามพระภิกษุเหล่านั้นมิให้เสียใจ มิให้ร้องไห้
    โดยกล่าวชี้นำว่า ที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จปรินิพพานนั้นเป็นการดีแล้ว
    ต่อนี้ไปจะทำอะไรได้ตามใจ ไม่มีใครคอยมาชี้ว่าผิดนี่ ถูกนี่ ควรนี่ ไม่ควรนี่ ต่อไปอีก

    พระมหากัสสปเถระได้ฟังคำกล่าวจ้วงจาบเช่นนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ
    ภายหลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสร็จสิ้นแล้ว
    ได้มีการประชุมสงฆ์ พระมหากัสสปเถระซึ่งเป็นผู้มีอายุพรรษามากกว่าพระสงฆ์ทุกรูป
    ได้รับเลือกให้เป็นประธานสงฆ์ มีฐานะเป็นสังฆปริณายก (ผู้นำคณะสงฆ์)
    บริหารการคณะสงฆ์ตามพระธรรมวินัย

    ท่านจึงได้นำเรื่องที่ภิกษุสุภัททะกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัยนั้นเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์
    ชวนให้ทำการสังคายนาพระธรรมวินัย และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม

    ต่อจากนั้นมา ๓ เดือน ก็ได้มีการประชุมทำสังคายนาครั้งที่ ๑

    สถานที่ :
    ถ้ำสัตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ชมพูทวีป

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าอชาตศัตรู

    การจัดการ :
    พระมหากัสสปเถระได้รับเลือกเป็นประธาน และเป็นผู้ซักถามพระธรรมวินัย
    พระอุบาลีเถระเป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระวินัย พระอานนท์เถระเป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระธรรม
    มีพระอรหันต์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์
    (สงฆ์ผู้เป็นคณะกรรมการทำสังคายนา) จำนวน ๕๐๐ รูป

    ระยะเวลา : ๗ เดือน จึงสำเร็จ


    การสังคายนา ครั้งที่ ๒

    ในพ.ศ.๑๐๐

    มูลเหตุ :
    พระยสะกากัณฑกบุตรได้ปรารภถึงข้อปฏิบัติย่อหย่อน ๑๐ ประการ
    ของพวกภิกษุวัชชีบุตร เช่นถือว่าเก็บเกลือไว้ในเขนง (เขาสัตว์)
    เพื่อเอาไว้ฉันได้ ตะวันชายเกินเที่ยงไปแล้ว ๒ นิ้วฉันอาหารได้ รับเงินทองไว้ใช้ได้ เป็นต้น
    พระยสะกากัณฑกบุตรเห็นว่า ข้อปฏิบัติย่อหย่อนดังกล่าวนี้ขัดกับพระวินัยพุทธบัญญัติ
    จึงได้ชักชวนพระเถระผู้ใหญ่ประชุมพิจารณาวินิจฉัย
    ทำการสังคายนาพระธรรมวินัยเพื่อความมั่นคงพระพุทธศาสนาสืบไป

    สถานที่ : วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ชมพูทวีป

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้ากาลาโศกราช

    การจัดการ :
    พระมหาเถระชื่อยสะกากัณฑกบุตรเป็นประธาน พระเรวตเถระเป็นผู้ซักถามพระธรรมวินัย
    พระสัพพกามีเถระเป็นผู้ตอบข้อซักถาม มีพระอรหันต์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์จำนวน 700 รูป

    ระยะเวลา : ๘ เดือน จึงสำเร็จ

    การสังคายนา ครั้งที่ ๓

    ในพ.ศ.๒๓๕

    มูลเหตุ :
    พวกเดียรถีย์หรือพวกนักบวชในศาสนาอื่นมาปลอมบวชในพระพุทธศาสนา ด้วยเห็นแก่ลาภสักการะ
    และเพื่อบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา ได้แสดงลัทธิและความเห็นของตนว่า "เป็นพระพุทธศาสนา
    เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า"

    พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชให้มีการสอบสวน
    สะสาง กำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชประมาณ ๖๐,๐๐๐ รูป
    แล้วให้สละสมณเพศออกจากพระพุทธศาสนาได้สำเร็จ

    สถานที่ : อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ชมพูทวีป

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าอโศกมหาราช

    การจัดการ :
    พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน พระอรหันต์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์จำนวน ๑,๐๐๐ รูป

    ระยะเวลา : ๙ เดือน จึงสำเร็จ

    การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งนี้ คงมีการซักถามพระธรรมวินัยและตอบข้อซักถามเช่นเดียวกับการสังคายนาครั้งก่อน
    แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดว่า พระเถระรูปใดทำหน้าที่ซักถาม รูปใดทำหน้าที่ตอบข้อซักถาม
    แต่ปรากฏว่า พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้เสนอคำถาม ๕๐๐ ข้อเพิ่มเข้าในคัมภีร์กถาวัตถุ
    ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมปิฎก เป็นการขยายความคัมภีร์นั้นให้พิสดารออกไปอีก
    ที่ประชุมสงฆ์ได้รับรองเป็นคำอธิบายที่ถูกต้องตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
    ผลการสังคายนาครั้งนี้ นอกจากจะได้กำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวช
    ให้ออกจากพระพุทธศาสนาแล้ว ยังได้สอบทานพระธรรมวินัยให้ถูกต้อง
    และได้ตอบคำถาม ๕๐๐ ข้อ คำตอบ ๕๐๐ ข้อ เพิ่มเข้าในคัมภีร์กถาวัตถุด้วย

    เมื่อเสร็จการสังคายนาแล้วได้มีการส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ
    ทั้งในและต่างประเทศรวม ๙ สายด้วยกัน และส่งไปสายละ ๕ รูป
    เพื่อจะได้ให้การอุปสมบทแก่ผู้เลื่อมใสได้ถูกต้องตามพระวินัย

    สายที่ ๑ พระมัชฌันติกเถระ พร้อมด้วยคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นกัศมีระและแคว้นคันธาระ

    สายที่ ๒ พระมหาเทวเถระ พร้อมด้วยคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหิสมณฑล และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี

    สายที่ ๓ พระรักขิตเถระ พร้อมด้วยคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาลีประเทศ

    สายที่ ๔ พระธรรมรักขิตเถระ หรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ
    (ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นฝรั่งคนแรกในชาติกรีกที่ได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนา)
    พร้อมด้วยคณะ ได้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบท

    สายที่ ๕ พระมหาธรรมรักขิตเถระ พร้อมด้วยคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหาราษฎร์

    สายที่ ๖ พระมหารักขิตเถระ พร้อมด้วยคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ โยนกประเทศ

    สายที่ ๗ พระมัชฌิมเถระ พร้อมด้วยคณะ คือพระกัสสปโคตรเถระ พระมูลกเทวเถระ พระทุนทภิสสระเถระ และพระเทวเถระ
    ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย

    สายที่ ๘ พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ พร้อมด้วยคณะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ

    สายที่ ๙ พระมหินทเถระ (โอรสพระเจ้าอโศกมหาราช) พร้อมด้วยคณะ คือพระอริฏฐเถระ พระอุทริยเถระ
    พระสัมพลเถระ และพระหัททสารเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป
    ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป


    การสังคายนา ครั้งที่ ๔

    ในพ.ศ.๒๓๘ หลังจากพระมหินทเถระและคณะออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในลังกาทวีปประมาณ ๓ ปี

    มูลเหตุ :
    พระมหินทเถระประสงค์จะให้พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากมั่นคงในลังกาทวีป
    เป็นการวางรากฐานให้พระสงฆ์ชาวลังกาท่องจำพระพุทธวจนะตามระบบการศึกษาพระปริยัติธรรมในเวลานั้น

    สถานที่ : ถูปาราม เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป

    การจัดการ :
    พระมหินทเถระเป็นประธาน พระอริฏฐเถระเป็นผู้สวดทบทวนหรือตอบข้อซักถามด้านพระวินัย
    มีพระเถระรูปอื่นๆสวดทบทวนพระธรรม มีพระอรหันต์เข้าประชุมเป็นจำนวน ๓๘ รูป
    พระเถระผู้จดจำพระไตรปิฎกอีกจำนวน ๙๖๒ รูป

    ระยะเวลา : ๑๐ เดือน จึงสำเร็จ


    การสังคายนา ครั้งที่ ๕

    ในพ.ศ.๔๓๓

    มูลเหตุ :
    ทางการคณะสงฆ์ชาวลังกาและทางราชการบ้านเมืองเห็นว่า พระธรรมวินัยหรือพระพุทธวจนะที่ได้สังคายนาไว้นั้น
    มีความสำคัญมาก นับเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา หากจะพิทักษ์รักษาธรรมวินัยให้ดำรงอยู่สืบไป
    ด้วยวิธีการท่องจำดังที่เคยถือปฏิบัติกันมา ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย
    เพราะความจำของผู้บวชเรียนเสื่อมถอยลง
    ในการสังคายนาครั้งนี้ จึงได้ตกลงจารึกพระธรรมวินัยหรือพระพุทธวจนะ เป็นภาษามคธอักษรบาลีลงในใบลาน
    พร้อมทั้งคำอธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา ซึ่งเดิมเป็นภาษามคธอักษรบาลี
    นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจารึกพระธรรมวินัยเป็นภาษามคธอักษรบาลีเป็นหลักฐาน
    ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร พระไตรปิฎกลายลักษณ์อักษร จึงมีขึ้นเป็นฉบับแรกในพระพุทธศาสนา
    นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๒ ในลังกาทวีป

    สถานที่ : อาโลกเลนสถาน ณ มตเลชนบท ในลังกาทวีป

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย

    การจัดการ :
    พระรักขิตมหาเถระเป็นประธานและเป็นผู้ซักถามพระธรรมวินัย พระติสสเถระเป็นผู้ตอบข้อซักถาม
    มีพระสงฆ์ผู้เป็นองค์พระอรหันต์ และพระสงฆ์ปุถุชนเข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์ จำนวนกว่า ๑,๐๐๐ รูป

    ระยะเวลา : ๑ ปี จึงสำเร็จ


    การสังคายนา ครั้งที่ ๖

    ในพ.ศ.๙๕๖
    ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย โดยการแปลและเรียบเรียงอรรถกถา (คัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎก)

    มูลเหตุ :
    พระพุทธโฆสเถระ (หรือที่ไทยเรานิยมเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์)
    ซึ่งเป็นพระมหาเถระชาวชมพูทวีป ผู้เปรื่องปราดมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก
    และนับเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาและภาษาบาลี เห็นว่าคัมภีร์อรรถกถาแห่งพระไตรปิฎกนั้นมีสมบูรณ์ บริบูรณ์
    เป็นภาษาสิงหล อยู่ในลังกาทวีป
    ท่านจึงเดินทางไปลังกาทวีป ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้ามหานามเพื่อแปลและเรียบเรียงคัมภีร์อรรถกถา
    จากภาษาสิงหลเป็นภาษามคธ เพื่อจะได้เป็นตันติภาษา (ภาษาที่มีแบบแผน) สอดคล้องกับคัมภีร์พระไตรปิฎก
    และจะได้เป็นประโยชน์กว้างขวางต่อไป นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๓ ในลังกาทวีป

    สถานที่ : โลหปราสาท เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้ามหานาม

    การจัดการ :
    พระพุทธโฆสเถระเป็นประธาน มีการแปลและเรียบเรียงคัมภีร์อรรถกถาจากภาษาสิงหล เป็นภาษามคธอักษรบาลี

    ระยะเวลา : ๑ ปี จึงสำเร็จ


    การสังคายนา ครั้งที่ ๗

    ในพ.ศ.๑๕๘๗

    มูลเหตุ :
    ทางการคณะสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน และทางราชการบ้านเมืองอันมีพระเจ้าปรักกมพาหุเป็นประมุข
    เห็นว่าคัมภีร์พระไตรปิฎก ซึ่งเรียกว่าปาลินั้น เป็นภาษามคธอักษรบาลี คัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎกซึ่งเรียกว่าอรรถกถา
    ก็ได้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษามคธ อันเป็นตันติภาษาสอดคล้องกับคัมภีร์พระไตรปิฎกแล้ว

    ส่วนคัมภีร์อธิบายอรรถกถาซึ่งเรียกว่า ฎีกา และคัมภีร์อธิบายฎีกาซึ่งเรียกว่า อนุฎีกา
    ยังมิได้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษามคธ ยังเป็นภาษาสิงหลบ้าง เป็นภาษาสิงหลปะปนกับภาษามคธบ้าง
    ควรจะได้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษามคธให้หมดสิ้น จึงได้ดำเนินการแปล
    และเรียบเรียงคัมภีร์ดังกล่าวเป็นภาษามคธ เป็นตันติภาษา (ภาษาที่มีแบบแผน)
    เช่นเดียวกับคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๔ ในลังกาทวีป

    สถานที่ : ลังกาทวีป (เข้าใจว่าที่โลหปราสาท เมืองอนุราธปุระ)

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าปรักกมพาหุ

    การจัดการ :
    พระมหากัสสปเถระเป็นประธาน พร้อมด้วยการกสงฆ์ (กรรมการเฉพาะกิจสงฆ์) จำนวนกว่า ๑,๐๐๐ รูป

    ระยะเวลา : ๑ ปี จึงสำเร็จ

    กล่าวกันว่า หลังจากที่ได้มีการสังคายนาครั้งนี้แล้วไม่นาน พระเจ้าอนุรุทมหาราช
    กษัตริย์กรุงอริมัททนปุระ (พุกาม) แห่งประเทศพม่า ได้เสด็จไปลังกาทวีป
    และทรงจำลองคัมภีร์พระไตรปิฎก พร้อมทั้งคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา
    นำมาประดิษฐานไว้ศึกษาเล่าเรียนในประเทศพม่า ต่อแต่นั้นมา
    บรรดาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น ไทย เขมร
    ก็ได้ส่งพระสงฆ์และราชบัณฑิตไปจำลองคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา
    นำมาประดิษฐานไว้ศึกษาเล่าเรียนในประเทศของตนบ้าง


    การสังคายนา ครั้งที่ ๘

    ในพ.ศ.๒๐๒๐

    มูลเหตุ :
    พระธรรมทินมหาเถระผู้เปรื่องปราดแตกฉานในพระไตรปิฎก
    ได้พิจารณาเห็นว่าคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา
    ซึ่งมีอยู่ในเวลานั้นมีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่มาก
    ด้วยการจำลองหรือคัดลอกกันต่อๆมาเป็นเวลาช้านาน
    จึงเข้าเฝ้าถวายพระพรขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าติโลกราช
    เมื่อได้รับการอุปถัมภ์แล้ว พระธรรมทินมหาเถระก็ได้เลือกพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกประชุมกันทำสังคายนา
    โดยการตรวจชำระพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา
    จารึกไว้ในใบลาน ด้วยอักษรธรรมของล้านนา
    นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๑
    ในอาณาจักรล้านนาหรือประเทศไทยในปัจจุบัน

    สถานที่ : วัดโพธาราม ณ เมืองนพิสิกร คือ เมืองเชียงใหม่ ประเทศไทย

    องค์อุปถัมภ์ : พระเจ้าติโลกราช หรือพระเจ้าศิริธรรมจักรวรรดิดิลกราช

    การจัดการ : พระธรรมทินมหาเถระเป็นประธาน พร้อมด้วยการกสงฆ์

    ระยะเวลา : ๑ ปี จึงสำเร็จ


    การสังคายนา ครั้งที่ ๙

    ในพ.ศ.๒๓๓๑

    มูลเหตุ :
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท
    ทรงมีพระราชศรัทธาปรารถนาจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป
    ได้ทรงทราบจากพระสงฆ์อันมีสมเด็จพระสังฆราชฯเป็นประธานว่า
    เวลานั้นพระไตรปิฎกมีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนมาก
    แม้พระสงฆ์จะมีความประสงค์จะทำนุบำรุงให้สมบูรณ์ก็ไม่มีกำลังพอจะทำได้

    พระองค์จึงได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระสังฆราชพร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้งปวงให้รับภาระในเรื่องนี้
    ดังนั้น พระสงฆ์อันมีสมเด็จพระสังฆราชฯเป็นประธาน จึงได้เริ่มทำการสังคายนาพระธรรมวินัย
    ตรวจชำระพระไตรปิฎกพร้อมทั้งคัมภีร์ลัททาวิเสส (คัมภีร์ไวยากรณ์บาลี)
    และได้จารึกไว้ในใบลานด้วยอักษรขอม
    ซึ่งนับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๒ ในประเทศไทย

    สถานที่ : วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

    องค์อุปถัมภ์ : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

    การจัดการ :
    สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน มีพระสงฆ์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์จำนวน ๒๑๘ รูป
    และมีราชบัณฑิตเป็นผู้ช่วยเหลือจำนวน ๓๒ คน

    ระยะเวลา : ๕ เดือน จึงสำเร็จ


    การสังคายนา ครั้งที่ ๑๐

    ในพ.ศ.๒๔๓๑

    มูลเหตุ :
    ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ได้ ๒๕ ปี
    ทรงปรารภจะบำเพ็ญพระมหากุศล
    ทรงเห็นว่าพระไตรปิฎกที่เขียนไว้ในใบลานไม่มั่นคง ทั้งจำนวนก็มากยากที่จะรักษา
    และเป็นตัวขอม ผู้ไม่รู้อ่านไม่เข้าใจ จึงมีพระราชศรัทธาให้พิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มแบบฝรั่งขึ้นใหม่
    โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส และพระเถรานุเถระทั้งหลายช่วยกันชำระ

    โดยคัดลอกตัวขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย แล้วชำระแก้ไขและพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ รวม ๓๙ เล่ม
    เริ่มชำระและพิมพ์ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๓๑ สำเร็จเมื่อพ.ศ.๒๔๓๖ จำนวน ๑,๐๐๐ ชุด
    นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยอักษรไทย
    นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๓ ที่ทำในประเทศไทย

    สถานที่ : พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

    องค์อุปถัมภ์ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    การจัดการ :
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส
    และสมเด็จพระสังฆราช (สาปุสฺสกาว) ครั้งยังเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นประธาน
    มีพระสงฆ์เข้าประชุมเป็นสังคีติการกสงฆ์ จำนวน ๑๑๐ รูป

    ระยะเวลา : ๖ ปี จึงสำเร็จ


    การสังคายนา ครั้งที่ ๑๑

    ในพ.ศ.๒๕๓๐

    มูลเหตุ :
    ในปีพ.ศ.๒๕๓๐ เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบปีนักษัตร
    สมเด็จพระสังฆราชทรงดำริเห็นว่าพระไตรปิฎกอันเป็นคัมภีร์สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนานั้น
    มีข้อวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่ อันเกิดจากความประมาทพลาดพลั้งในการคัดลอกและตีพิมพ์กันต่อๆมา
    เห็นควรทำการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจสอบชำระให้บริสุทธิ์บริบูรณ์
    และตีพิมพ์ขึ้นเป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ปีพ.ศ.๒๕๓๐
    จึงได้เจริญพรขอความอุปถัมภ์ไปยังรัฐบาลและถวายพระพรให้การสังคายนาครั้งนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
    เมื่อได้รับงบประมาณและพระบรมราชูปถัมภ์แล้ว จึงได้ดำเนินการสังคายนา
    เริ่มแต่ปีพ.ศ.๒๕๓๘ และเสร็จสิ้นลงเมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๐
    นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๔ ที่ทำในประเทศไทย

    สถานที่ : พระตำหนักสมเด็จวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

    องค์อุปถัมภ์ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นองค์อุปถัมภ์
    พร้อมด้วยรัฐบาล อันมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

    การจัดการ : สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (วาสนมหาเถระ) เป็นประธาน

    ระยะเวลา : ๒ ปี จึงสำเร็จ


    การสังคายนาพระไตรปิฎกในประเทศไทย

    ที่กล่าวมาแล้วเกี่ยวกับการสังคายนาพระธรรมวินัยนั้น เป็นการสังคายนาครั้งสำคัญๆในพระพุทธศาสนา
    ซึ่งกระทำกันในประเทศที่พระพุทธศาสนาหยั่งรากมั่นคง คือ ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และไทย
    แท้ที่จริงนั้น การสังคายนาชำระพระไตรปิฎก
    การจารึกและการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทยได้กระทำกันหลายครั้งหลายหน
    ในหลายรัชกาล ต่อเนื่องกันตามวาระอันเป็นมงคลอย่างไม่ขาดตอน
    ซึ่งเรียงลำดับให้เห็นได้ดังต่อไปนี้

    ครั้งที่ ๑ : เมื่อพ.ศ.๒๐๒๐ ในสมัยพระเจ้าติโลกราช แห่งอาณาจักรล้านนาไทย
    ซึ่งนับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๘ ในพระพุทธศาสนาที่กล่าวมาแล้ว ในครั้งนั้น เมื่อทำการฉลองสมโภชแล้ว
    ก็โปรดให้สร้างมณเฑียรในวัดโพธาราม เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก

    ครั้งที่ ๒ : เมื่อพ.ศ.๒๓๓๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    ซึ่งนับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๙ ในพระพุทธศาสนาที่ได้กล่าวมาแล้ว
    ในครั้งนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วโปรดให้ปิดทองแท่งทับทั้งปกหน้าหลังและกรอบทั้งสิ้น
    เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับทอง

    ครั้งที่ ๓ : เมื่อพ.ศ.๒๔๓๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    เป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระองค์ท่านเสวยสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๑๐
    ในพระพุทธศาสนา ซึ่งได้กล่าวในตอนต้นแล้ว

    ครั้งที่ ๔ : เมื่อพ.ศ.๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
    โปรดเกล้าฯให้ชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เพราะพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ขึ้นในรัชกาลที่ ๕ นั้น
    ชุดหนึ่งมีเพียง ๓๙ เล่มเท่านั้น มีบางคัมภีร์ที่ยังไม่ได้พิมพ์ และบางคัมภีร์พิมพ์แล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์
    ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้โปรดเกล้าฯให้กราบทูลอาราธนา
    พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    ทรงเป็นประธานในการตรวจสอบทานชำระต้นฉบับที่ขาดหายไปเพิ่มอีก
    จากที่มีอยู่ ๓๙ เล่ม ให้ครบ ๔๕ เล่ม การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้

    นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับอักษรไทยจนจบบริบูรณ์
    และได้ขนานนามพระไตรปิฎกชุดนี้ว่า พระไตรปิฎกสยามรัฐ มีตราช้างเป็นเครื่องหมาย
    พิมพ์จำนวน ๑,๕๐๐ ชุด จัดทำตั้งแต่พ.ศ.๒๔๖๘ ถึงพ.ศ.๒๔๗๓ จึงสำเร็จ

    เมื่อจัดพิมพ์เสร็จแล้ว ได้พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ ชุด
    พระราชทานนานาประเทศ ๔๕๐ ชุด
    เหลืออีก ๘๕๐ ชุด พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก

    ครั้งที่ ๕ : เมื่อพ.ศ.๒๔๘๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 ต่อกัน
    ได้มีการตรวจชำระและแปลพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยขึ้นเป็นฉบับภาษาไทยที่สมบูรณ์เป็นครั้งแรก
    เพราะพระไตรปิฎกฉบับก่อนที่ได้ทรงโปรดให้จัดสร้างขึ้นในรัชกาลก่อนๆนั้น เป็นภาษาขอมบ้าง
    เป็นภาษาบาลีอักษรไทยบ้าง
    ทั้งนี้ก็โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวเถร) วัดสุทัศนเทพวราราม
    ได้ทรงปรารภว่า ประเทศไทยเราควรจะมีพระไตรปิฎกที่แปลเป็นภาษาไทยจนครบถ้วนบริบูรณ์สมกับเมืองพระพุทธศาสนา

    กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) และรัฐบาลในสมัยนั้นเห็นชอบด้วย
    จึงนำความกราบบังคมทูล และได้โปรดให้งานนี้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธาน
    โดยมอบให้กรมธรรมการ
    (ปัจจุบันคือกรมการศาสนา) เป็นผู้อำนวยการฝ่ายคฤหัสถ์ จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเพื่อเผยแผ่ต่อไป

    เริ่มดำเนินงานตั้งแต่พ.ศ.๒๔๘๓ ถึงพ.ศ.๒๕๐๐ และได้ขนานนามว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย
    จัดพิมพ์จำนวน ๒,๕๐๐ ชุด ชุดละ ๘๐ เล่ม จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้เป็นอนุสรณ์เนื่องในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ

    ครั้งที่ ๖ : เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๔ เนื่องในงานอันเป็นมงคลสมัยสำคัญ
    ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชผู้ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก
    พระไตรปิฎกภาษาไทยมาแต่งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษนั้น
    ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาบรรจบครบ ๒๕ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๔ พอดี
    ทางราชการได้จัดพระราชพิธีรัชดาภิเษกถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ
    คณะกรรมการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเห็นสมควรทูลเกล้าฯ
    ถวายการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยครั้งนี้ในปีรัชดาภิเษกนี้ด้วย
    จึงตกลงเรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ใหม่ว่า พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง
    พิมพ์ในปีฉลองรัชดาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พุทธศักราช ๒๕๑๔

    โดยจัดพิมพ์ขึ้นจำนวน ๒,๐๐๐ ชุด ชุดละ ๔๕ เล่ม เท่ากับจำนวนฉบับภาษาบาลีที่มีปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้

    ครั้งที่ ๗ : ต่อมา กรมการศาสนาได้ทำโครงการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง
    เสนอกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐ และกรรมการมหาเถรสมาคม
    ได้พิจารณาเห็นชอบและมีมติให้ดำเนินการได้
    กรมการศาสนาได้เริ่มดำเนินการจัดพิมพ์ตั้งแต่พ.ศ.๒๕๒๑ เสร็จสมบูรณ์ต้นปีพ.ศ.๒๕๒๒
    และได้จัดพิมพ์จำนวน ๒,๐๐๐ ชุด ชุดละ ๔๕ เล่ม
    และเรียกชื่อว่า พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เหมือนเดิม

    ครั้งที่ ๘ : โดยที่กรุงรัตนโกสินทร์ได้ดำรงมั่นคงมาครบ ๒๐๐ ปี ในปีพ.ศ.๒๕๒๕
    ทางคณะสงฆ์เห็นว่า พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์สำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนา และได้เป็นมรดกตกทอดมาถึงบัดนี้
    ก็โดยอาศัยพระบรมราชูปถัมภ์แห่งพระบรมมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ตลอดมา
    กรมการศาสนาจึงได้นำเรื่องเสนอกรรมการมหาเถรสมาคม
    เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๔ ที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคมลงมติเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินการจัดพิมพ์ได้
    ในการพิมพ์ครั้งนี้ได้จัดพิมพ์จำนวน ๓,๐๐๐ ชุด ชุดละ ๔๕ เล่ม

    ครั้งที่ ๙ : เมื่อพ.ศ.๒๕๓๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
    เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ
    ซึ่งนับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๑๑ ในพระพุทธศาสนาที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไม่มีเลย ไม่รู้จึง ต้องศึกษา ช่วยกัน ทำไมฌานเขามีคนละแบบเลยงง

    และที่สัมผัสเองนี่ พี้ยารึ! วิมุติ นี่ พี้ยารึ! รึว่ารู้สึกไปเอง ตั้งใจเมคสร้างขึ้นมาเอง ออกแบบได้ งง อยากรู้ว่ารูปแบบฉบับจริงๆ ของฌานน่ะ มันจะต้องมีความรู้สึกอย่างไร? มีอะไรเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ทางประสาทการรับรู้ ทางธรรมมารมณ์ ถึงเรียก ถึงรู้สึกว่า ระบุได้ว่า สิ่งนั้นเป็น ฌาน

    เราว่าเราเคยเห็นผ่านตาเมื่อหลายปีมาแล้วนะ ที่มีการอธิบาย สภาพฌาน นี้ไว้ หาไม่เจอ ไม่รู้อ่านตำราบทไหน ตอนนั้นพระมหาบุรุษตรัสเองเลย


    ออ รึว่า!!! อาจจะใช่?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2015
  18. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    แต่ผมข้อให้ฉุกคิดนะ ด้วยพุทธวิสัย

    พุทธลีลาแห่งการดับขันธปรินิพพานของพระศาสดา

    ขอเดาว่า ต้องเป็นอะไรที่ต่างจากพุทธสาวก ซึ่งก็เป็นไปได้ที่พุทธสาวกธรรมดา ยากที่จะเข้าถึง

    ซึ่งก็อย่างที่ คุณธรรมภูต เข้าใจได้ว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ จบลงที่ฌาน4 คือ สัมมาสมาธิ

    แต่ทว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้นของใคร ระดับไหน ?

    แม้ปัญญาของบุรุษ 8 คู่ ก็ยังต่างกัน ที่ความละเอียด ความรู้ความเห็น ในการละกิเลส

    หากจะกล่าวว่า ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา

    กับการสังคายนาพระไตรปิฏก ซึ่งอาจจะมีการเพิ่มเติมเสริมแต่ง หรือตัดทอน ตรงนี้ไม่รู้

    แล้วใครในปัจจุบัน จะเป็นผู้ชำระพระไตรปิฏก ได้ถูกต้องตรงความล่ะ
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สุดท้ายที่น่ากลัวที่สุด ผู้จะนิพพานตามนี่ต้องเข้า ฌานให้เป็นก่อนหรือเปล่า จึงจะนิพพานได้ หรือ ว่า หมดลมหายใจ ตายแล้ว ปิ๊ง!!! ถึงพระนิพพาน

    ถ้าต้องเข้าให้เป็นก่อนถึงจะนิพพานได้ล่ะก็ สนุกกันล่ะสหายธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0.jpg
      0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16.2 KB
      เปิดดู:
      79
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปาฎิหาริย์ ๓ อันอุดมด้วย ปฎิสัมภิทา ๔ จึงจำเป็นมาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...