จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ขอโทษด้วยค่ะคลิกผิดจ้ะ ไม่ได้เข้ามาแค่สองวันหูตาไม่ค่อยดีเลย

    ธรรมะธรรมทานที่ท่านกล่าวมานั้นถูกหมด คนอนุโมทนาซิผิด ผิดตรงที่เผลอ

    ขอโทษอีกครั้งค่ะ ต่อไปจะไม่ประมาทแล้ว สาธุอนุโมทนาค่ะ สาธุ สาธุ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2013
  2. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976

    สาธุค่ะพี่มาลินี คลิกผิดชิดีพี่ จะได้เห็นภาพนี้บ่อยๆ เพื่อจะได้เตือนสติ คือมรณานุสติงั้ยพี่ เพราะเราจะไม่ได้ประมาทในการมีขันธ์ เพราะถ้ามีแต่เห็นภายนอก มีผิวหนังห่อหุ้มอยู่ก็สามารถปรุงแต่งไปได้...แต่ถ้าเห็นซากศพอยู่เป็นนิจ จิตจะได้ปล่อยวาง...สาธุค่ะ
     
  3. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    พระพุทธเจ้า และ สาวกอรหันต์ ทรงบรรลุสอุปาทิเสสนิพพานแล้วย่อมสังหาร

    อวิชชาให้ดับไปด้วยมรรคญาณ แต่ขันธ์ทั้งห้ามิได้ถูกสังหารไปด้วย พระองค์และสาวก

    ทรงยึดเอาขันธ์ที่ยังทรงตัวอยู่ประกาศศาสนา เที่ยวแนะนำและสั่งสอนเวไนยสัตว์ผู้ควร

    แนะนำ เต็มภูมิของพระพุทธศาสนาและภูมิของพระสาวก จนกว่าจะถึงกาลอันควรของ

    ศาสดาและสาวกจะก้าวเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน อันสิ้นสุดของสมมุติเพียงแต่นั้น.

    ...หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน.๓ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘.

    ...น้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเก้ลาเจ้าค่ะ...
     
  4. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ภิกษุเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า?

    ภิกษัทั้งหลาย" ภิกษุในกรณีนี้-

    (๑) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีราคะ ว่า "จิตมีราคะ"

    (๒) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากราคะ ว่า "จิตปราศจากราคะ"

    (๓) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโทสะ ว่า "จิตมีโทสะ"

    (๔) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากโทสะ ว่า "จิตปราศจากโทสะ"

    (๕) รู้ชัดซึ่งจิตอันมีโมหะ ว่า "จิตมีโมหะ"

    (๖) รู้ชัดซึ่งจิตอันปราศจากโมหะ ว่า "จิตปราศจากโมหะ"

    (๗) รู้ชัดซึ่งจิตอันหดหู่ ว่า "จิตหดหู่"

    (๘) รู้ชัดซึ่งจิตอันฟุ้งซ่าน ว่า "จิตฟุ้งซ่าน"

    (๙) รู้ชัดซึ่งจิตอันถึงความเป็นจิตใหญ่ ว่า "จิตถึงแล้วซึ่งความเป็นจิตใหญ่"

    (๑๐) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่ถึงความเป็นจิตใหญ่ ว่า "จิตไม่ถึงแล้วซึ่งความเป็นจิตใหญ่

    (๑๑) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า ว่า "จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า"

    (๑๒) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ว่า "จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า"

    (๑๓) รู้ชัดซึ่งจิตอันยังตั้งมั่น ว่า "จิตตั้งมั่น"

    (๑๔) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่ตั้งมั่น ว่า "จิตไม่ตั้งมั่น"

    (๑๕) รู้ชัดซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้ว ว่า "จิตหลุดพ้นแล้ว"

    (๑๖) รู้ชัดซึ่งจิตอันไม่หลุดพ้น ว่า "จิตยังไม่หลุดพ้น"

    ...คัดจากหนังสือพุทธวจน อินทรีสังวร กราบขอบพระคุณ คณะผู้จัดทำหนังสือ และ

    -กราบนมัสการ ขอบพระคุณท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าค่ะกราบๆๆ.
     
  5. จิตบุญ ๑๐๗

    จิตบุญ ๑๐๗ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +65
    คนเราเข้าใจผิดว่าสมาธิทำจิตว่างไม่ได้

    [​IMG]
    คนเราเข้าใจผิดว่าสมาธิทำจิตว่างไม่ได้

    นะโมตัสสะ ภควะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ

    จะกล่าวถึง ใจว่าง ใจว่าง หรือสมาธิทำจิตว่าง บางคนพูดว่า จิตว่างนั้นไม่มี เป็นไปไม่ได้ คนเรา จะมีจิตว่างได้อย่างไร แม้พระอรหันต์ ก็ไม่อาจจะมีจิตว่างได้ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย คงจะสงสัย อาจเชื่อว่า คนเราจิตว่างไม่ได้ จิตว่างไม่ได้ ก็หมายความว่า ต้องรู้อะไรต่ออะไร อยู่เสมอ ต้องคิดอะไรอยู่เสมอ จิตแปลว่าผู้รู้ ก็จะต้องรู้อารมณ์อยู่เสมอ หรือรู้อะไรอยู่เสมอ ก็เมื่อเขาเห็นว่าจิตว่างไม่ได้ แล้วก็พูดว่า จิตว่างเป็นไปไม่ได้ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ผู้ที่พูดว่า จิตว่างไม่ได้หรือ เป็นไปไม่ได้ หรือไม่มี อันนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คัดค้านคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้า ท่านสอนให้ทำจิตว่าง คือสอนให้ทำจิตบริสุทธิ์ จิตว่างเป็นจิตที่บริสุทธิ์ หรือจิตที่สงบ จิตที่บริสุทธิ์ จิตที่สงบ คือเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า สอนให้รู้จัก ความสงบ ให้ถึงความสงบ เมื่อจะสงบ มันก็คือจิตว่าง ก็เพราะฉะนั้น จิตว่างจึงเป็นสิ่งที่ ทำได้ ตามหลักของพระพุทธศาสนา หรือตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้า ท่านเปรียบจิตของเรา เป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ เป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์แต่เดิม คือเป็นของเดิมบริสุทธิ์ ไม่มีใครสร้างขึ้น คือไม่มีใครสร้าง และก็ไม่ใช่เป็นของใคร จิตเดิมเป็นจิตที่ผ่องใส ท่านตรัสว่า ปภัสจิตตังภิขเว ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นธรรมชาติ ผ่องใส มีความผุดผ่อง มีความสว่างอยู่ในตัว คือมีแสงสว่างอยู่ในตัว การที่เศร้าหมองไป ก็เพราะ อุปกิเลส ที่จรมา อุปกิเลส ที่จรเข้ามา คือ โทสะ โมหะ เป็นต้น พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า จิตเดิมผ่องใส จิตเดิมบริสุทธิ์ จิตเดิมก็คือจิตว่างนั่นเอง แต่เพราะว่าเวียนว่ายตายเกิด มาจนนับชาติไม่ถ้วน จึงสะสมเอากิเลส คือเอาความยึดมั่น ถือมั่น เป็นต้น เข้ามาถือไว้ ว่าเป็นของๆตัว หรือเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา เข้ามาถือเอาครองธาตุ ทั้ง 4 คือ ธาตุ ดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ว่าเป็นตัวตนของเรา ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ความถือมั่น มันไม่ยอมปล่อยวาง มันไม่มีปัญญาที่จะรู้ได้ มันก็เลยเกิดชาติแล้ว ชาติเล่า

    มันก็ไม่รู้สึก ก็เมื่อไม่รู้แจ้ง จิตใจมันก็ผันผวน ก็จึงทำให้ต้องเวียนว่าย ตายเกิดอยู่เสมอ จิตก็กลายเป็นจิตที่เศร้าหมอง คือมีกิเลสเป็นเครื่องเดินไปในสังสารวัฏ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ผู้ใดมาสดับคำของอริยะเจ้า สดับฟัง ว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ แต่เดิม ละกิเลสจรเข้ามา ทำให้สงบผ่องใสได้ ทำให้บริสุทธิ์ได้ เหมือนผ้าขาว ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็ในเมื่อเป็นเช่นนี้ การทำให้บริสุทธิ์ได้ก็ต้องทำได้ ปฏิบัติจริงๆ จิตก็จะบริสุทธิ์ได้ และก็จะว่างได้ จิตใจก็จะว่างได้ ก็เหมือนกับผ้าขาวดังว่า ถ้าไม่ซักมัน มันก็ไม่มีโอกาส ที่จะสะอาดขึ้นมาได้ ก็ต้องซักมัน สักกี่ครั้งหมั่นซัก เช่นเราซักผ้า เราซักผ้าน้ำหนึ่ง มันก็คงยังไม่สะอาดพอ เพราะว่ามันเศร้าหมองมามาก ซักครั้งเดียวมันไม่สะอาดพอ อย่างผ้าที่เราใช้แล้ว ธรรมดาๆ นี้แหละ ใช้มา 3 วัน 5 วัน 7 วัน แล้วก็มาซักมันไม่ใช่มีแต่ฝุ่น มันก็ติดเหงื่อ ติดไคล อะไรๆต่ออะไรต่างๆ น้ำหนึ่งคือว่าเททิ้ง ก็ยังไม่สะอาดดี ก็เมื่อยังไม่สะอาดดี ก็ต้องซัก อีก จนครั้งที่ สอง หรือน้ำสอง น้ำสองก็ยังไม่สะอาดดี เห็นว่าควรจะใช้สบู่ ก็หาสบู่ หรือผงซักฟอก ฟอกเข้าไปใหม่ จนเป็นน้ำสาม น้ำสี่ไป สุดท้ายก็เห็นว่าน้ำมันใสดีแล้ว พอซักไปๆน้ำมันใสดีแล้ว น้ำมันไม่ขุ่น ก็ทราบว่า สะอาด หรือผ้านี้สะอาดแล้ว ฉันใดก็ดีจิตใจของคนเรานี้ มันก็ทำให้ สะอาด สงบได้ บริสุทธิ์ได้ ว่างได้เป็นสมาธิได้ ก็หมายความว่า คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ทำจิตให้ว่างได้ จิตนี้ทำให้ว่างได้ ทำให้สงบได้ ทำให้บริสุทธิ์ได้ การทำจิตให้ว่าง เรียกว่า สุญตะสมาธิ สุญญตะสมาธิ แปลว่าทำจิตว่าง หรือมีจิตว่าง อนิมิตะ สมาธิแปลว่า สมาธิ ไม่มีนิมิตอะไรทั้งนั้น อุปติจิตตะสมาธิ สมาธิ ไม่มีที่ตั้ง คือจิตไม่มีที่ตั้งใดๆ ทั้งนั้นคือ ไม่ตั้งลงใน อารมณ์ใดๆทั้งนั้น ไม่ตั้งลงไป ในอดีต ในอนาคต แล้วในปัจจุบัน สมาธิ ๓ อย่างนี้ คือสุญญตะสมาธิ สมาธิจิตว่าง อนิมิตะสมาธิ สมาธิไม่มีนิมิต คือไม่มีอะไร เป็นที่หมาย อุปติจิตตะสมาธิ สมาธิไม่มีที่ตั้ง คือไม่ต้องรู้อารมณ์ทั้งนั้น ท่านผู้ฟังทั้งหลาย เนื้อความมันก็อย่างเดียวกัน คือรวมอยู่ที่จิตว่าง เมื่อจิตว่าง มันก็เป็นสุญญตะสมาธิ อนิมิตตะสมาธิ และอุปนิมิตตะสมาธิ ก็เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงตรัสสอน ภิกษุทั้งหลาย ตรัสที่ในปราสาทของนางวิสาขา ว่าให้ภิกษุทั้งหลาย ศึกษาปฏิบัติ ทำสมาธิอยู่ด้วย สมาธิอันมีความว่าง แม้สมณะพราหม์ ทั้งหลาย แม้ในอดีตก็ดี ปัจจุบันก็ดี แม้ในอนาคตก็ดี ก็ยังอยู่ด้วยความว่าง มีความว่างเป็นที่อยู่แห่งจิต คือไม่ได้อยู่ด้วยอะไรทั้งนั้น คือไม่ได้ตั้งอยู่ที่นั้น ไม่ได้ตั้งอยู่ที่นี้ ไม่มีความคิดอะไรทั้งนั้น คือไม่มีอารมณ์ คือว่างจากอารมณ์ ฉะนั้นจึงเรียกง่ายๆ หรือเรียกรวมคำเดียวว่าจิตว่าง การที่จะทำจิตว่าง หรือว่างได้มันก็มีเครื่องพิสูจน์ได้ เราพิสูจน์ ได้ด้วยตัวของเราเอง คือพิสูจน์ อย่างง่ายๆ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ก่อนนี้เราก็มาเกิดไม่มีอะไรกับเรามาได้เลย ตอนที่เรามาเกิด เราก็ไม่ได้แบก สมบัติ พัฎสถาน หรือกำเงินกำทองอะไรมาได้เลย เราไม่ได้มาเอาสมบัติ หรือกำเงินกำทองอะไรมาเลย แล้วเราก็มาริมาหา มารวบรวม ประกอบอาชีพ จนมีอันนั้น ขึ้นมา มีอันนี้ขึ้นมา มีที่ดิน มีบ้านเรือน แล้วก็มีข้าวของ เงินทอง เครื่องมือ เครื่องไม้ใช้สอย อุปกรณ์ เต็มบ้าน เต็มเรือน จนมีบริวาร จนมีครอบครัว ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ก็สิ่งเหล่านี้ ก็มีมาทีหลัง เป็นสิ่งที่มาทีหลัง ก็สิ่งที่มาทีหลังนี่ มันก็มารวมอยู่ที่ใจ ว่า เป็นของเราๆ ก็มารวมอยู่ที่ใจว่า อันนั้นก็เป็นของเรา อันนี้ก็เป็นของเรา ใครเอาไปไม่ได้ ต้องเราให้หรือเราสละ ถ้าเราไม่ให้ เราไม่เสียสละ ก็ต้องถือว่าเป็นขโมย หรือเป็นโจร หรือประพฤติผิดศิลธรรม ท่านผู้ฟังทั้งหลาย เรื่องเหล่านี้ ทรัพย์สิน เงินทอง บ้าน ช่อง ที่ไร่ ที่นา กับทั้งสมบัติภัสสถานต่างๆ เมื่อรวบรวมไว้ เข้ามาถือว่าอันนั้นเป็นของเรา อันนี้เป็นของเรา จะต้องมา ขบมาคิด มากังวลเศร้าหมองมายึดถือ ต้องนึกต้องคิด นึกถึงค่ำนึกถึงเช้าอยู่เสมอ เรียกว่าเอามาไว้ในใจ เรียกภาษาธรรมว่า อุปทาน คือความเข้าไปยึดถือ นี่ก็เป็นเพียงสมบัติภายนอก แต่สมบัติมันก็มีหลายระดับ สิ่งที่เข้าไปยึดไปถือ โดยที่สุด ละเอียดเข้าไป มันก็ไปถือแม้แต่ สะรีระร่างกาย คือ สะรีระร่างกาย อันเป็นสิ่งที่มีธาตุทั้ง 4 คือดิน น้ำลม ไฟ มันก็เป็นสิ่งที่ บังเกิดขึ้นทีหลังเหมือนกันกับ ดิน น้ำ ลม ไฟ มันก็มาก่อตัวขึ้นทีหลัง
    ต่อใน(อาศรมไผ่มรกต.com)
     
  6. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เธอทั้งหลายฯ

    จงมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ หรือเป็นที่พึ่งสูงสุดทางจิตใจ ตราบจนเข้าสู่พระนิพพานกันด้วยเถิด

    สภาวะธรรม ก็คือตามสภาวะแห่งจิตของคนเรานี้ฯ
    มีเกิดและดับเป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติแห่งจิตกันอยู่แล้ว
    ถ้าพวกเธอทั้งหลาย ไม่พยายามทำจิตให้เป็นสมาธิอยู่เนืองๆ
    ตามพระตถาคตเจ้าก้ได้ตรัสกับพวกเธอทั้งหลายไว้แล้วนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นความจริงทุกประการ
    พระตถาคต มิเคยตรัสสิ่งใดที่มิใช่เป็นธรรมเลย ล้วนเป็นธรรมอันบริสุทธิ์ยิ่ง
    พวกเธอทั้งหลาย จงใช้สติปัญญาของตนที่เจริญกันมาดีแล้วนั้น จงพิจารณาธรรมของพระตถาคตด้วยเถิด

    กงจักรของสังขารขันธ์และวิญญาณขันธ์นั้น แทบจะตัวเดียวกัน เหมือนแผ่นเนื้อกับหนังซึ่งติดกันแบบนั้น
    กิเลสตนก็เหมือนเนื้อเหล็กกับสนิม เมื่อนานวันเข้าจากเนื้อเหล็กที่เคยแข็งแกร่งต้องกลายเป็นสนิม ความแข็งแกร่งก็จางหายไป
    เหมือนหยดน้ำทำลายหิน เมื่อหยดลงหิน หินนั้นยังสึกกร่อนได้เลย นับประสาอะไรกับจิตคน โดนกิเลสลากพาจูงลงต่ำทุกๆวัน
    หรือเกิดมานับชาติไม่ถ้วน กิเลสกับเรา(จิต)เสมือนเป็นตัวเดียวกัน ซึ่งถึงเวลาจะจับแยกออกจากกันจึงเป็นไปด้วยความลำบากยากเย็นยิ่งนัก

    พระตถาคต เคยสอนพวกเธอไปทั้งหมดแล้ว แต่นำไปสอนตนเองกันหรือไม่
    พวกเธอจงพิจารณาด้วยสติปัญญาแล้วก็จะรู้เองว่า..คำสอนพระตถาคต หรือธรรมทุกธรรมนั้น พระตถาคตยังอยู่จริง
    พวกเธอไม่ต้องตามหาพระตถาคต ขอให้พวกเธอจงตามหาธรรมทุกธรรมหรือคำสอนทุกคำนั้นคือ พระตถาคต
    ถ้าพวกเธอทั้งหลายพอจะสัมผัสธรรม หรือรู้รสพระธรรมที่พระตถาคตพร่ำสอนสั่งนั้น นั่นแสดงว่า พวกเธอทั้งหลายมิได้อยู่ไกลจากพระตถาคตเลย
    พวกเธอทั้งหลาย จงพากันออกจากทุกข์ จงพากันออกจากภัยวัฎฎะของตนตามพระตถาคตด้วยเถิด
    เพราะพระตถาคตทบทวนจิตด้วยสมาธิเป็นเวลายาวนานติดต่อกัน มิได้ขาดสายนั้นคือธรรม คือความจริง คือสัทจริงทุกประการ
    ตามที่ได้หมุนวงล้อกงจักรธรรมนั้นให้พวกเธอทั้งหลายดูกันไปหมดแล้ว ว่าแต่ว่า พวกเธอทั้งหลายจะสนใจกันตอนไหน
    แต่ถ้าสนใจเมื่อไหร่ พวกเธอก็จะรู้ได้ในวันนั้น และวันนั้นนั่นเอง พระตถาคตก็จะมาเยี่ยมพวกเธอหรือผู้ปฎิบัติถึงควรแล้วเอง
    ทุกวันนี้ พวกเธอโดนกิเลสของตนเองพาจิตหมุน จนพวกเธอหาทางออกจากสิ่งสมมุติกันไม่ได้
    เมื่อธรรมมิได้อยู่ภายในจิตใจของพวกเธอ หรือกิเลสบดบังจิตจนพระตถาคตไปหาพวกเธอมิได้
    พวกเธอพยายามนึกถึงพระตถาคตกันบ่อย เดี๋ยวธรรมะก็จะเกิดขึ้นภายในจิตเราเอง
    นั่นแสดงว่า พระตถาคตกำลังมาเยี่ยมหรือมาให้กำลังใจพวกเธอทั้งหลาย ที่กำลังพากันปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้นจริงๆ
    พระตถาคต สอนพวกเธอให้มีปัญญา ปล่อยวางก็ด้วยปัญญา ปัญญาจะนำพาไปหาธรรมภายในจิตในจิตของตน
    และธรรมที่ผุดขึ้นมาภายในจิตของตนนั้นจะหวนกลับมาสอนตนเอง เพราะคำว่ามนุษย์นั้น ไม่มีผู้ใดสอนกันได้ นอกจากธรรมภายในจิตของตน
    ธรรมในจิตนั้นแล คือตนเป็นที่พึ่งแห่งตนโดยแท้จริง พระตถาคตปฎิบัติตนเป็นตัวอย่างให้พวกเธอทั้งหลายดูกันไปหมดแล้ว

    พวกเธออย่าไปอาลัย อาวรณ์กับสิ่งสมมุติใด เช่น ขันธ์๕ของตน เป็นต้น
    รีบพากันปฎิบัติจะได้พบกับความจริงแห่งชีวิตตน พวกเธอพบธรรมก็เหมือนรู้ความจริงของตนทั้งหมดทั้งมวล
    เพราะการปฎิบัติธรรมก็เพื่อตนเอง เพื่อค้นหาจิตตนเอง เพื่อค้นหาความจริงภายในตนเอง มิใช่หาความจริงจากที่อื่น
    เมื่อพวกเธอปฎิบัติกันได้อย่างนี้ คือเมื่อไหร่ค้นพบธรรมหรือความจริงภายในจิตตนเองแล้วย่อมพบธรรมหรือความจริงกับสิ่งภายนอกจิตของตนด้วย

    อย่าเที่ยวตามหาพระตถาคตภายนอกจิตของตนเลย เพราะความจริงพวกเธอก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระตถาคตดับขันธปรินิพพานไปนานแล้ว
    แต่จิตพระตถาคตยังมีอยู่จริง คืออยู่ทุกอณู ทุกอตอม ทุกลมหายใจของพวกเธอ พวกเธอลองนึกถึงพระตถาคตกันดูอยู่บ่อยๆ เดี๋ยวก็รู้เอง
    พวกเธอทั้งหลายพากันปฎิบัติจริงจัง ก็มีโอกาสพบพระตถาคตกันจริงๆ พากันทำจิตให้ว่างจริงๆยิ่งเห็นพระตถาคตชัดเจนกันเมื่อนั้น

    เมื่อจิตเป็นสมาธิดีแล้ว พวกเธอทั้งหหลายก็จะรู้ได้เองว่า..มีอะไรบ้างเป็นเรา เป็นของเรา
    ไม่มีเลยใช่ไหม แล้วพวกเธอพากันเผลอสติ ละเลยจิตตนเองกันทำไม เพราะนั่นเรากำลังยินดีกิเลสตน เห็นกิเลสเป็นของดี
    หรือเรากำลังจะกลายเป็นกิเลสซะเอง ปล่อยเขาถ้าผู้ใดคิดอย่างนั้น เพราะอีกไม่นานนักคนเหล่านี้มักพบแต่ความทุกข์หรือสุขจอมปลอม
    เผื่อจะรู้ความจริง กายก็โทรม จิตก็ไม่ผ่องใส เหมือนดอกบัวขึ้นที่ไม่ดีมีแต่คราบน้ำมัน แล้วจะมีผู้ใดสนใจพวกเธอ
    ดูตัวอย่างเหล่าพระสงฆ์สาวกที่ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบตามพระตถาคต ที่พวกเธอกำลังวิ่งตามหรือตามหาผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบเหล่านั้น
    พวกเธอมัวหลงไปวิ่งตามทำไม ทำไมไม่คิดให้ผู้อื่นวิ่งตามเราบ้าง พระสงห์สาวกเหล่านั้นก็พากันปฎิบัติดี ปฎิบัติตามพระตถาคตกันทั้งนั้น
    พระสงฆ์สาวกมีกายหยาบ มีจิตละเอียด เหมือนกับพวกเธอทั้งหลายทุกอย่าง ต่างกันตรงภายในกาย นั่นก็คือ จิต เท่านั้นเอง

    เพราะฉะนั้น พวกเธอทั้งหลายจงนำพากันปฎิบัติตามมรรคมีองค์๘ นี้กันด้วยเถิด
    เพราะมีหนทางเดียวจะพาจิตตนประเสริฐหรืออริยะเหมือนดั่งบรรดาเหล่าพระสงฆ์หรือสาวกของพระตถาคต
    จงพากันปฎิบัติเพื่อความหลุดเพียงถ่ายเดียว อย่างอื่นมิให้ใหลหลง พระตถาคตสอนแต่เฉพาะการปล่อยวาง
    มิใช่วางแต่ของหยาบแล้วไปยึดของละเอียดกัน

    เพราะฉะนั้น ความทุกข์จะเฉพาะผู้ที่ชอบเผลอสติ(ทุกขั่วคราว) ละเลยจิตตนเอง(ทุกข์ถาวร)

    พระตถาคต กำลังประทานน้ำทิพย์อันบริสุทธิ์ ทำไมพวกเธอทั้งหลาย..ไม่รีบดื่มกิน
    เหมือนดั่งเราได้ดื่มกินรสพระธรรมอันแสนประเสริฐของพระตถาคต
    เพราะผู้ใดได้มีโอกาสดื่มกินแล้ว ย่อมพบแต่ความผาสุกยั่งยืนตราบชั่วนิรันดร์

    พวกเธอเห็นธรรมพระตถาคตกันไหม ต่อไปนี้อย่าสนใจสิ่งใดเลย นอกจากสติกับจิตตน
    เพราะผู้ที่จะเห็นธรรมพระตถาคตได้นั้นต้องอาศัยสติพร้อมปัญญาของตนเท่านั้น
    เห็นธรรมแทนกันไม่ได้ ดับทุกข์แทนกันก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น พวกเธอต้องเห็นธรรมเอง จึงจะพ้นทุกข์เอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 ตุลาคม 2013
  7. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    [​IMG]

    ชีวิตในสังสารวัฏ เป็นชีวิตที่เสี่ยงภัยมาก!

    ชีวิตในสังสารวัฏ เป็นชีวิตที่เสี่ยงภัยมาก เพราะเมื่อเราเกิดมาแล้ว หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างความดี เราอาจจะพลาดพลั้งไปทำบาปอกุศล เพราะขาดกัลยาณมิตรคอยชี้แนะ หนทางแห่งการสร้างความดี เมื่อละโลกไป แรงกรรมที่เรากระทำไว้ย่อมจะส่งผลให้เรามีโอกาสไปเกิดในอบายได้มาก

    อบายภูมิ เป็นสถานที่สิงสถิตของชีวิตหลังความตายของปรโลกฝ่ายทุคติ เป็นดินแดนที่ปราศจาก ความสุข และเต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน ทั้งจากความร้อนของไฟนรก และจากการทรมานของ นายนิรยบาล ที่มีวิธีการลงโทษหลากหลายไม่ซ้ำรูปแบบ ทำให้สัตว์นรกได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานสุดจะบรรยาย ชาวโลกทั้งหลายเมื่อมีชีวิตอยู่ ไม่ประกอบกุศลกรรม ทำแต่อกุศลกรรมเป็นประจำ ครั้นเมื่อใกล้จะละโลก ภาพไม่ดีที่ตนได้กระทำไว้มาปรากฏให้เห็น ทำให้จิตของเขาเศร้าหมอง เมื่อละจากอัตภาพมนุษย์ ย่อมไปเกิดในอบาย ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน พาลบัณฑิตสูตร ว่า

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั่นแล ประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อแตกกาย ทำลายขันธ์ ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก"

    จากพุทธภาษิตนี้ แสดงให้เห็นถึงการกระทำความชั่วของมนุษย์ ทั้งทางกาย วาจา ใจ มีผลต่อการไปสู่อบาย นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์ที่น่าสนใจอยู่ 4 คำ กล่าวคือ อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งจะขอนำคำศัพท์เหล่านี้มาขยายความให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้นดังนี้

    คำว่า อบายภูมิ หมายถึง สถานที่ที่สัตว์เกิดแล้วไม่มีโอกาสกระทำกุศลกรรม เพราะเป็นแดนที่ปราศจากความเจริญ เป็นแดนบาปที่ความสุขไม่สามารถเจริญงอกงามได้แม้เพียงนิดเดียว มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ ทำให้ไม่สามารถสร้างกุศลได้

    คำว่า ทุคติ คือ สถานที่ที่ต้องเสวยทุกข์อย่างเดียว และเป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นมาเพราะกรรมชั่วร้ายของตนเองที่ทำไว้ครั้งเป็น มนุษย์ ที่มีโทษมาก

    คำว่า วินิบาต เป็นภูมิของพวกสัตว์ผู้ทำชั่ว เมื่อตกไปที่ภูมินี้ จะเป็นผู้ไร้อำนาจวาสนา หรือหมายถึงเป็นสถานที่ที่พวกสัตว์ผู้กำลังพินาศ มีอวัยวะน้อยใหญ่แตกกระจัดกระจายน่ากลัวมาก

    ส่วนคำว่า นิรยะ หรือ นรก เป็นสถานที่ที่ไม่มีความเจริญ เป็นดินแดนที่ไร้ความยินดี มีแต่ความน่าหวาดเสียว น่าสะพรึงกลัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อตกลงไปในนรกแล้ว ไม่มีสัตว์นรกตัวไหนอยากอยู่ในมหานรกนั้น

    จากความหมายของศัพท์ที่กล่าวมาพอจะสรุปได้ว่า ศัพท์ทั้งหมดนั้นมีความหมายในลักษณะที่คล้ายคลึงกันคือ มุ่งไปในทางที่เสื่อม เป็นความทุกข์ทรมาน ไม่มีความเจริญ แต่ต่างกันในรายละเอียด ตามสภาพการเสวยสุข ทุกข์ เช่น สัตว์เดียรัจฉาน จัดอยู่ในอบายภูมิ 4 แต่มีสัตว์เดียรัจฉานบางประเภท เช่น ครุฑ นาค ไม่จัดเป็นทุคติภูมิ ไม่จัดเป็นวินิบาต เพราะไม่มีการถูกทำลายเหมือนเช่นสัตว์นรก และบางกลุ่มยังเสวยผลบุญอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา แต่ก็จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เดียรัจฉานเพราะไม่มีความเจริญ ไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้

    สรุปว่า อบายภูมินี้ เป็นสถานที่ชดใช้กรรมของมนุษย์ ที่ได้กระทำความชั่วไว้เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ซึ่งไม่มีใครเลยที่จะหลีกเลี่ยงจากกฎแห่งกรรมนี้ไปได้ ไม่ว่าเขาคนนั้นจะมีเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม
    นมหานรกนี้เลย

    อบายภูมิ มี 4ภูมิ จัดอยู่ในกามภพ
    จัดแบ่งตามลักษณะของการกระทำฝ่ายอกุศล

    1. นิรยภูมิ ตั้งอยู่ใต้เขาตรีกูฏมี 8ขุมใหญ่ (มหานรก)ในแต่ละขุมใหญ่จะมีขุมบริวาร (อุสสทนรก) อยู่โดยรอบทั้ง4 ทิศ
    ทิศละ 4ขุม รวมมี นรกขุมบริวาร 128ขุม ถัดจากอุสสทนรกออกไปจะเป็นนรกขุมย่อย (ยมโลก) อยู่โดยรอบทิศทั้ง 4
    ของมหานรก ทิศละ 10 ขุม รวมมีนรกขุมย่อย 320 ขุม

    2. ติรัจฉานภูมิ อยู่ภพเดียวกับมนุษย์

    3. เปตติวิสยภูมิ อยู่ในซอกเขาตรีกูฏก็มี อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ก็มี

    4. อสุรกายภูมิ อยู่ในซอกเขาตรีกูฏก็มี อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ก็มี

    1. นิรยภูมิ หรือ นรก จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่ 1 เป็นดินแดนที่ปราศจากความสุขสบาย สัตว์ที่ตกลงไปสู่นรก เพราะบาปกรรมชั่วที่ตนกระทำไว้เป็นอาจิณกรรม เมื่อตกลงไปแล้วจะต้องได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสไม่มีเวลาว่างเว้น จากการลงทัณฑ์ทรมาน นรกมีที่ตั้งอยู่ใต้เขาตรีกูฏ มีทั้งหมด 8 ขุมใหญ่ ที่เรียกว่า มหานรก และยังมีขุมบริวาร เรียกว่า อุสสทนรกอีก 128 ขุม มีนรกขุมย่อย ที่เรียกว่ายมโลกอีก 320 ขุม สัตว์ที่ใช้กรรมในมหานรกหมดแล้ว จะต้องมารับกรรมในอุสสทนรก และยมโลกต่อไป จนกว่าจะหมดกรรมที่ตนได้กระทำไว้

    2. เปตติวิสยภูมิ หรือ ภูมิเปรต จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่ 2 เป็นดินแดนที่มีแต่ความเดือดร้อน อดอยาก หิวกระหาย เปรตแบ่งออกเป็นหลายประเภท แต่ที่นิยมแบ่งกันมาก คือ เปรต 12 ตระกูล ที่อยู่ของเปรตนั้นมีอยู่ที่ซอกเขาตรีกูฏ และมีปะปนอยู่กับมนุษยโลกด้วย แต่เป็นภพที่ละเอียดกว่า เหตุที่ทำให้มาเป็นเปรตเพราะทำอกุศลกรรมประเภทตระหนี่ หวงแหนทรัพย์เป็นหลัก การเกิดเป็นเปรตนั้นมี 2 ลักษณะ คือ ผ่านมาจากมหานรก อุสสทนรก และยมโลก กับจากมนุษย์ผู้กระทำอกุศลกรรม ละโลกแล้วไปเกิดเป็นเปรต

    3. อสุรกายภูมิ จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่ 3 เป็นดินแดนที่ปราศจากความร่าเริง อสุรกายมีลักษณะคล้ายกับเปรตมาก แยกแยะได้ลำบาก และอยู่ในภพภูมิเดียวกันกับเปรต คือ ซอกเขาตรีกูฏ มีรูปร่างที่ประหลาด เช่น หัวเป็นหมูตัวเป็นคน มีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากเช่นเดียวกับเปรต คือ อยู่ด้วยความหิวกระหาย แต่หนักไปทางกระหายน้ำมากกว่าอาหาร ที่ต้องเกิดมาเป็นอสุรกายเพราะความโลภอยากได้ของผู้อื่นในทางมิชอบ

    4. ติรัจฉานภูมิ จัดอยู่ในอบายภูมิอันดับที่ 4 เป็นอบายภูมิอันดับสุดท้าย ที่มีความทุกข์ทรมานน้อยกว่าสัตว์ที่เกิดในนรก เปรต และอสุรกาย ที่ชื่อเดียรัจฉาน เพราะมีลำตัวไปทางขวาง อกขนานกับพื้น และจิตใจก็ขวางจากหนทางพระนิพพานด้วย ที่อยู่ของสัตว์เดียรัจฉานนี้ อยู่ปะปนกับมนุษย์ทั่วไปที่เราเห็น สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามจำนวนเท้าของสัตว์ ตั้งแต่ สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์มี 2 เท้า สัตว์มี 4 เท้า และสัตว์มีเท้ามากกว่า 4 ขึ้นไป
    ที่มา fb
     
  8. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอน

    ผู้ไม่ปฏิบัติธรรมให้เกิดผล ยิ่งเรียนยิ่งถูกกิเลสจูงไปข้างหน้า
    ไม่มีโอกาสย้อนดูผลความจริงข้างหลัง

    การปฏิบัติธรรมต้องทำเอง ทำแทนกันไม่ได้ เหมือนทำ ทำนบกั้นน้ำพระธรรม
    ไว้ดับไฟโลภ โกรธ หลง

    อย่าลืม ธรรมของตถาคตเป็นสัจธรรม ไม่มีเก่าไม่ล้าสมัย เป็นอริยสัจ
    คือความจริงที่อยู่กับโลกทุกกาลสมัย

    นักปฏิบัติต้องวางสมมุติทางโลก ให้หมดจากใจจึงจะวิมุติ

    ชนะตนเองไม่กระเทือนผู้อื่น
    ชนะโลก ชนะผู้อื่นกระเทือนแน่




    ปกิณกะธรรม เล่มที่ ๑๒
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  9. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ความระมัดระวังสำรวมอินทรีย์ นั่นแหละเป็นศีล

    -จิตตั้งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง

    ...เรียกว่า สมาธิ ตัวรู้สภาวธรรม

    ...หรือการกำหนดอารมณ์นั้นเป็นตัววิปัสสนาปัญญา...

    ...เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน...

    ...จึงจะกำจัดความยุ้งเหยิง วุ่นวายในหัวใจของเราได้...

    ...พระธรรมคำสั่งสอนของหลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ. เชียงใหม่...

    ...กราบนมัสการหลวงปู่ทองเจ้าค่ะ กราบ กราบ กราบ...
     
  10. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    กฏของกรรมเป็นของเที่ยง

    กฏของกรรมเป็นของเที่ยง กรรมใครกรรมมัน ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีอุปสรรค
    เข้ามาทดสอบกำลังใจอยู่เสมอ เช่น สัทธรรม ๕ ,โลกธรรม ๘ ปัญหาครอบครัว-เศรษฐกิจ
    ละวางได้แค่ไหน คือของจริงเป็นครูวัดผลของการปฏิบัติ
    ให้มีสติกำหนดรู้ อย่าท้อถอยกับครู หรือเหตุการณ์ที่เข้ามาทดสอบ


    พระราชพรหมยานมหาเถระ
    หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี


    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙ หน้า ๖๖
    รวบรวมโดย : พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  11. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ถาม-ตอบ ที่ญาติโยมได้ถามองค์หลวงตาไว้...ค่ะ
    ถาม :ทําอย่างไรจึงจะทําสมาธิได้ดี ในชีวิตประจําวันมีธุระต้องไปไหนก็ต้องงดไปกระนั้นหรือจึงจะปฏิบัติให้สมํ่าเสมอ?

    ตอบ:ถ้าจิตทราบความเจริญและเสื่อมของตนเองมันก็ยกจิตขึ้นเอง ถ้าไม่เข้าใจจิตก็หลงตัวเรา การพิจารณาขึ้นอยู่กับจิต โอกาสถ้ามีการงานมาก ภาวนาลงไป ก็ไปลดตัวจากผลที่ควรได้ จิตจึงเสื่อม ที่จริงจิตไม่ได้เสื่อม อาการเล่านี้แสดงเจริญหรือเสื่อมเป็นเพียงอาการของจิต แต่ตัวจิตไม่ได้เสื่อม...สาธุค่ะ
    ที่มาหนังสือ ๑๐๐ ปีชาตกาล หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้าค่ะ
     
  12. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]
     
  13. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    สติชอบ ปัญญาชอบ

    [​IMG]

    เมื่อครู่ขณะกำลังรดน้ำต้นไม้ รดไปก็เจริญสติไป คือระลึกตามในอิริยาบถตลอดเวลา และมีความรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกๆขณะ รวมทั้งมีปัญญาชอบคือ มีความรู้ทั่วถึงว่ากระบวนธรรมทั้งหมดนี้เป็นเพียง...ก ร ะ แ ส ธ ร ร ม ช า ติ ขณะที่รดน้ำต้นไม้จึงสงบเย็นมีสมาธิอ่อนๆหล่อเลี้ยงตลอดเวลา ทำให้นึกถึงนักปฏิบัติหลายๆคนที่สามารถเจริญสติแบบนี้ได้ คือระลึกในทุกๆอิริยาบถ ขนาดกระพริบตายังรู้ แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงความไร้สภาพได้ นั่นคงเป็นเพราะขณะที่เจริญสติ ไม่ได้ให้ความสำคัญว่ากระบวนการที่ดำเนินอยู่นี้ เป็นเพียงกระแสธรรมชาติ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่ใช่ตัวตนคนสัตว์สิ่งของ ตรงนี้นี่แหละที่นักเจริญสติมองข้ามไป ไม่ให้ความสำคัญ การเจริญสติจึงไม่สมบูรณ์ เจริญสติไม่ได้เป็นไปเพื่อสร้างปัญญา เทคนิคนิดเดียวที่ลืมกระทำ ดังนั้นหากใครต้องการมีสติชอบปัญญาชอบ คือระลึกรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งปวงจงอย่าละเลยการสร้างปัญญาที่ว่า"กระบวนธรรมทั้งปวงนี้ ตั้งแต่สติ สัมปชัญญะ และปัญญา ล้วนเป็นกระแสธรรมชาตินะ ไม่มีตัวตนคนสัตว์สิ่งของเลยนะ" ต้องระลึกไว้ในใจเช่นนี้ไม่ว่าจะทำอะไร เป็นการฝึกการสร้างปัญญาชอบ ทำถูกต้อง จะรู้สึกว่างเบาอิ่มเย็น มีสมาธิอ่อนๆหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เป็นสมาธิที่เพียงพอต่อการงาน พระพุทธเจ้ายังตรัสไว้เลยว่า การบรรลุธรรมมีได้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่ายืนเดินนอนนั่ง ขอเพียงเรามีสติชอบปัญญาชอบในขณะนั้น

    เจริญธรรม
    สมสุโขภิกขุ

    ที่มา FaceBook : ธรรมะติดดิน วัดป่าเขาปูน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2013
  14. iamprateep

    iamprateep เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    448
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,685
    ---------------------------------------------------------------

    สาธุ สาธุ สาธุ ... "นี่ล่ะที่ต้องการ" ขอบพระคุณมากๆๆๆๆๆๆๆครับ ...


    ... ^_^ ...
    ... _/\_ ...
     
  15. therd2499

    therd2499 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    388
    ค่าพลัง:
    +3,209
    จัดมาครับแบบหนักๆ

    ไม่ตามอ่านแล้วครับเรียนเลยเดี๋ยวว่างๆตามอ่านย้อนหลังเอาครับเยอะจัด555

    มีเทคนิคฝึกให้ภาพพระเป็นประกายพฤกษ์บ้างครับ

    รับผมเป็นศิษย์ด้วยครับพื้นฐานมีนิดหน่อย

    ของเก่ามีหรือเปล่าไม่รู้จำไม่ได้5555

    ไม่มีครูสอนฝึกเองแบบงงๆมันก็งงๆอยู่อย่างนั้นไม่ไปไหนสักที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2013
  16. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    "ใจเป็นใหญ่"

    การมาวัดของพวกเรา มาฟังเทศน์ฟังธรรม มาทำบุญให้ทาน มาปฏิบัติธรรม

    ก็มาเพราะใจเราเท่านั้น ไม่ได้มาเพื่อสิ่งอื่นใด เพราะไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับใจ ทุกสิ่ง

    ทุกอย่างเกิดชึ้นจากใจทั้งนั้น ไม่ว่าในทางโลกหรือในทางธรรม มีใจเป็นประธาน ใจเป็น

    ใหญ่...ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้ เช่น รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน จรวด มีใจเป็นผู้

    สร้าง...เป็นผู้ริเริ่มเป็นผู้คิดค้น แล้วก็สั่งไปทางกายและวาจา ให้ทำสิ่งต่างๆขึ้นมา พระ

    พุทธเจ้า พระอรหันต์ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ก็มีใจเป็นผู้ทำให้ปรากฏขึ้นมา อยู่ตรงที่ว่า

    อะไรเป็นผู้ผลักดันใจ...ถ้าอวิชชากิเลสตัณหาเป็นผู้ผลักดัน ก็จะออกมาทางโลก มาสร้าง

    สิ่งต่างๆ เช่นจรวดดาวเทียม เพราะว่ากิเลสอยากจะไปโลกอื่น ไปโลกพระจันทร์ ไปดาว

    อังคาร ก็คิดค้นสร้างจรวด สถานีอวกาศยานอวกาศ...ถ้าธรรมเป็นผู้ผลักดัน ก็จะออกมา

    ทางธรรม ปรากฏเป็นพระพุทธเจ้าพระอรหันตสาวกขึ้นมา...อย่างพวกเราวันนี้มาวัดกัน ก็

    มีธรรมเป็นผู้ผลักดันมา...เราจึงมาปฏิบัติธรรม มาฟังเทศน์ฟังธรรม มาทำบุญให้ทานกัน

    ถ้ามีอวิชชากิเลสตัณหาผลักดัน ก็คงไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ไปบ่อนการพนัน

    ไปตามสถานที่เริงรมย์ เพราะมีอวิชชาพาไป คือมิจฉาทิฐิความเห็นผิดเป็นชอบ ส่วนธรรม

    เป็นความเห็นที่ถูกต้อง...เรียกว่าสัมมาทิฐิ ใจเป็นเหมือนรถยนต์ มีผู้ขับคือทิฐิ ๒ ชนิด

    สัมมาทิฐิความเห็นชอบกับมิจฉาทิฐิความเห็นผิดเป็นชอบ..ถ้าความเห็นผิดเป็นชอบพาไป

    ก็จะพาให้เวียนว่ายตายเกิดในภพน้อยภพใหญ่...ตามความโลภความอยากที่ไม่ได้ให้

    ความอิ่มความพอ มีความรุนแรงมากขึ้นไปเรื่อยๆ ผลักดันให้ใจเดินทางไปสู่ภพหน้าชาติ

    หน้า เมื่อร่างกายแตกสลายดับไปแล้ว.

    ...คัดจากหนังสือกำลังใจ ๓๐ โดยพระจุลนายก (สุชาติ อภิชาโต)

    ...กราบนมัสการ และขอบพระคุณในธรรมะธรรมทานเจ้าค่ะสาธุ...

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2013
  17. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    พระพุทธพจน์... แม้คำสองคำ

    -ถ้านำไปปฏิบัติก็ถือว่าได้ทรงพระไตรปิฏก

    .หากเราเรียนมามาก ศึกษามามาก แต่ไม่ได้ปฏิบัติ

    ...ก็ได้ชื่อว่าเป็นใบลานเปล่าๆ

    -ฉนั้น ขอให้ฟังธรรมแล้วก็นำไปปฏิบัติ

    -จะมีประโยชน์ และชีวิตจะมีคุณค่ามากขึ้น...

    ...พระธรรมคำสั่งสอนของหลวงปู่ทอง" พระธรรมมังคลาจารย์ วิ."

    ...วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ. เชียงใหม่ น้อมกราบหลวงปู่เจ้าค่ะกราบๆๆ
     
  18. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุกับธรรมาทานของคุณNatcha@ukด้วยครับ
    ธรรมอันนี้แลฯ..ของจริงเชียว

    โมทนาสาธุกับธรรมาทานของคุณด้วยครับ
    ธรรมอันนี้แลฯ..ของจริงเชียว

    (ขอขยายธรรมะหลวงปู่สักนิดนึง)
    คนทางโลกไม่เข้าใจธรรม แต่คนทางธรรมนั้นย่อมเข้าใจทางโลกเสมอ
    ทางโลกหาที่จบมิได้ ไม่มีวันสงบสุขจริงๆสักทีนึง แต่ทางธรรมนั้นจบที่ตนเอง
    ตนเตือนตนดีที่สุด ดีกว่าคนอื่นเตือน เพราะจะไม่เชื่อ เพราะถือตนมีปัญญาเหมือนกัน
    ธรรมจริงๆนั้นก็อยู่ภายในของตน เพราะฉะนั้นต้องวกกลับมาหาความจริงก็คือ จิตตนเอง
    (ตามธรรมะของหลวงปู่ที่กล่าวมานั้นเป็นจริงทุกประการ)

    ลูกขอน้อมจิตก้มกราบแทบเท้าหลวงปู่ดู่ ด้วยเศียรเกล้า สาธุๆๆ
     
  19. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุกับธรรมาทานของคุณPugsleyด้วยครับ

    ผู้รับธรรมาทานย่อมสุขใจ ส่วนผู้ให้ก็ยิ่งกว่าสุขใจกว่า
     
  20. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุกับคุณtherd2499ด้วยครับ
    ให้มันจริงสักรายเห่อน่ะ
    จะมาตามหาแค่ของเก่าตนเท่านั้นหรือ
    หรือปฎิบัติเพื่อความหลุดพ้น
    เอ๊า ปฎิบัติไปก่อนเห่อ เดี๋ยวก็รู้เอง
    จะเอาแค่ของเก่าเดิมๆ หรือจะเลยไปคว้าเอาความหลุดพ้น ก็ตามแต่กำลังใจตนเถิด

    เอ๊า..ครูเกษรีบมารับเอาไปเลย เห็นบ่นๆอยากได้นัก
    วันนั้นเห็นครูเกษอยากสอนในเวลาเดียวกัน สักห้าคน ถ้าจำไม่ผิด
    ตอนนี้ครูเกษเพิ่งจะลงภาคสนามตนเอง แหม็บๆ ไม่รุ๊กำลังใจจะไหวหรือเปล่านะ

    จิตคนเรานี่ก็ไม่ต่างจากไฮโล มีสูงมีต่ำ นานๆจะสิบเอ็ดไฮโลสักทีนึง(เป็นกลาง)
    การปฎิบัติธรรม ก็เพื่อฝึกจิตตนเอง โดยการนำจิตมาเดินมรรคเท่านั้นเอง ไม่มีไรยาก
    แต่ถึงเวลาเดินกันจริงๆเห่อ คอยดูนะ
    เลี้ยวข้างมั่ง เดินอ้อมไปอ้อมมามั่ง เดินชมนกชมสวนมั่ง คราวนี้แหล่ะ พวกเธอมีหวังโดนครูเอาไม้หน้าสามขนามก้นแน่ๆ
    ครูเกษดุนะ จะบอกหั่ย แต่ถ้าปฎิบัติจริงๆ ครูก็ไม่รู้จะดุไปทำไม
    เหตุที่ดุก็เพราะว่า อยากให้พวกเธอได้ดี จบไวๆ
    ตอนนี้ให้เธอลองเลืกภาพพระมาหนึ่งรูป ดูด้วยตาเปล่า ดูจนจดจำในจิตให้ได้ ปฎิบัติแค่เนียไปก่อนเลยนะ

    เดี๋ยวครูเกษขึ้นเขาลงห้วยหรือออกจากถ้ำหรืออกจากทางโลก ก็ไม่รู้นะ
    เดี๋ยวท่านจะมารับเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...