จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ตัวรู้ก็คือวิญาณขันธ์ที่เกิดจากตัณหาอุปทานทำให้เกิดอุปทานคือความจำได้หมายรู้แต่ถ้าเมื่อใดที่เรารู้ว่าสัญญาคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัญญาไม่เที่ยง สัญญาไม่ใช่ตัวตน เราก็จะรู้ว่าสัญญา อนัตตา และสิ่งต่างๆที่ผ่านมาแล้ว และที่จะเข้ามาเราก็จะละจิตเราก็จะอยู่กับปัจจุบัน สิ่งที่รู้วิญญานขันธ์ก็ไม่ได้หนีไปไหนเพราะเรายังมีกายหยาบอยู่แต่เราจะมีสติตามทันอารมณ์ที่คิด ตอนนี้สติจะดักจิตทันที ถามว่าแล้วไงงะ คิดแล้วได้ไรละ นี่แหละมั้งกำลังดับตัวรู้


    ขอทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
    อนุโมทนาสาธุค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55 KB
      เปิดดู:
      120
  2. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    สวัสดีจ้ะ.นำการปฏิบัติมาเล่าสู่กันฟัง ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา
    ณ.ที่นี้ด้วยนะค่ะ ตามทิ้งตัวรู้ด้วยการบอกตัวเองว่าใครเขาจะเป็นอย่างไรก็ช่างเขาเธอกลับมารู้ตัวเองให้แน่ชัดก่อนนะแต่ตัวรู้ก็พุดมามากมายแต่มีธรรมะมาสอนในจิตว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิณญาณ ไม่ใช่ตัวตน ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเขา จิตเลยวิปัสสนาว่าอ้าว กาย ก็ไม่ใช่ของเรา คือ ธรรมารมณ์และสิ่งพวกนี้ก็ไม่ใช่ของเรา เราก็รู้ว่าทุกอย่างมันไม่เที่ยง และทุกสิ่งที่เราคิดนี้ย่อมไม่เที่ยงเช่นกัน งั้นก็วางคืนทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นแค่สิ่งสมมุติให้อยู่บนโลกสมมุติไม่มีอะไรแล้วที่ต้องยึดมั่น ถือมั่นอีกต่อไปดูทุกอย่างอยู่เฉยๆ มันมีของมันอยู่อย่างงั้นเป็นอยู่อย่างนั้นคือรู้เฉยๆอยู่ด้วยใจเป็นกลางไม่เข้าไปยุ่งมองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ให้เป็นของว่างเปล่า เมื่อนั้นจิตก็จะว่างวางจิตให้ว่างเหมือนอากาศซึ่งไม่มีอะไรเกาะติดอยู่ได้เลยกิเลส ตัณหา อุปทาน ก็มีอยู่อย่างนั้นแต่ทำอะไรเราไม่ได้อีกต่อไปนะค่ะ เพราะท่านพ่อ พระพุทธองค์ หลวงพ่อฤษี ที่ท่าน ทรงพระมหาเมตตาเพราะบารมีที่ทุกพระองค์มีต่อพวกเราท่านทั้งหลาย จิตวิปัสนาว่าเรามาคนเดียวเราก็ต้องไปคนเดียว
    เราไม่ได้อยู่เพื่อใคร และใครก็ไม่ได้อยู่เพื่อเรา จิตวิปัสนาว่า แต่ถ้าอยู่แล้วมีประโยชย์ได้ช่วยสืบทอดพระศาสนา และช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากวัฏสังสารให้พวกเขาพ้นทุกข์ได้นั้น ยินดีอย่างหาที่สุดหาประมาณมิได้ทุกวันมั่นเพียรปฏิบัติเพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นเพื่อจะไปช่วยให้ผู้อื่นได้หลุดพ้นเช่นเดียวกับเราอยู่เพื่อยังประโยชย์ของตนเองและของผู้อื่นให้ถึงพร้อมนะค่ะบุญคุณของทุกพระองค์ที่คุ้มครองสรรพสัตว์มีมากเหลือคณานับไม่มีอะไรมาเปรียบได้เลยค่ะแล้วเราละจะไม่ตอบแทนบุญคุณของทุกๆพระองค์เชียวหรือ
    ..ขอทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป

    อนุโมทนาสาธุค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.8 KB
      เปิดดู:
      65
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,377
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    [​IMG]

    คัดลอกบางตอนจาก


    ขันธ์ห้าเป็นภาระอันหนัก พระธรรมเทศนาหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
    ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก

    นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห

    ภารหาโร จ ปุคฺคโล ภารนิกฺเขปนํ สุขํ

    อญฺญํ ภารํ อนาทิย นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ.


    เรา จำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ 5 นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ 5 น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ ... แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยขันธ์เป็นภาระอันหนัก ตามวาระพระบาลีและคลี่ความเป็นสยามภาษา

    เพราะว่าเราท่านทั้งหลายเกิดมาหญิงชายทุกถ้วนหน้า ล้วนแต่แบกภาระขันธ์ 5 ด้วยกันทั้งนั้น ขันธ์ 5 เป็นของหนัก ไม่ใช่ของเบา
    หนักอย่างไร
    หนักตั้งแต่อุบัติตั้งแต่อยู่ในท้อง ตั้งแต่เกิดในท้องมารดา หนักเรื่อยมา นั่นบังคับให้มารดาผู้ทรงครรภ์นั้นหนักแล้ว ตัวเองก็หนักไปไหนไม่ค่อยไหว ติดอยู่ในอู่มดลูกนั่นเอง
    เจริญวัยวัฒนา เป็นลำดับๆ ไป เมื่อคลอดก็หนักถึงกับตายได้
    ถ้าว่าขันธ์ที่เกิดนั้นไม่ตาย ขันธ์ของมารดาที่ให้เกิดนั้นถึงกับตายลำบากยากแค้นนัก หนักด้วย ลำบากด้วย ฝืดเคืองด้วย คับแค้นด้วย คับแคบด้วย ลำบากทั้งนั้น
    ขันธ์ 5 เป็นของหนักจริงๆ ไม่ใช่ของเบา ไปไหนก็ไปเร็วไม่ได้ อุ้ยอ้าย
    เมื่อเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับแล้วก็ไปได้ด้วยตนของตนเอง แต่ว่าเป็นกายหนัก เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ ไปเร็วไม่ได้ ต้องไปตามกาลสมัยตามกาลของขันธ์นั้น ไม่ใช่หนัก พอดีพอร้าย หนักกาย ต้องบริหารมากมาย


    ผู้เกิดมานั้นต้องบริหารขันธ์ 5 นั้นด้วย ต้องดูแลรักษา ครั้นเจริญวัยวัฒนาตัวของตัว
    เมื่อหลุดจากมารดาบิดาบริหารรักษาแล้ว ตัวของตัวต้องรักษาตัวเองอีก ตัวของตัวเองรักษาตัวเองก็ไม่ค่อยไหว
    บางคนถึงกับให้คนอื่นเขารักษาให้ ต้องให้เขาใช้สอยไปต่างๆ นานา รักษาขันธ์ 5 ของตัวไม่ได้ ต้องบากบั่นตรากตรำมากมาย

    ในการเล่าเรียนศึกษา กว่าจะรักษาขันธ์ 5 ของตนเองได้ จนกระทั่งรักษาขันธ์ 5 ของตนได้ พอรักษาขันธ์ของตัวได้ ขันธ์ 5 ก็เก่าคร่ำคร่า หนักเข้าขันธ์ 5 ของตัวเองก็พยุงตัวเองไม่ไหว พยุงตัวไม่ไหวต้องอยู่กับที่ ขยับได้บ้าง ไปโน่นมานี่ได้บ้าง แต่หนักเข้าก็ลุกไม่ขึ้น หนักเข้าก็หมดลมอัสสาสะปัสสาสะเข้าโลงไป 4 คนนั่นแหละต้องหาม 4 คนก็เต็มอึดเชียวหนา มันหนักขนาดนี้ หนักอย่างโลกๆ ไม่ใช่หนักอย่างธรรมๆ
    หนักอย่างทางธรรมน่ะนั่นลึกซึ้ง

    แบกขันธ์ทั้ง 5 นำขันธ์ทั้ง 5 ไปมากมายนัก ในมนุษย์โลกนี้แบกขันธ์ทั้ง 5 ไปมากมายนัก ภาระคือ ขันธ์ 5 นี้หนัก ไม่ใช่หนักแต่ในมนุษย์โลกนี้ ไปเกิดเป็นเทวดาก็หนักอีก ไปเกิดเป็นพรหมก็หนักอีก ไปเกิดเป็นอรูปพรหมก็หนักอีก หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เบา

    ถ้าไปเกิดเป็นสัตว์นรก หนักขึ้นไปกว่านั้นอีก ในสัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาตะ โรรุวนะ มหาโรรุวนะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจี หนักขึ้นไปกว่านั้น หรือไปเกิดในบริวารนรก รวมนรก 456 ขุม ขุมใดขุมหนึ่ง หรือไปเกิดเป็นเปรตก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดเป็นอสุรกายก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็หนักอีกเหมือนกัน เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย ก็หนักทั้งนั้น ขันธ์ 5 นี่เป็นของหนัก
    ท่านจึงได้ยืนยันตามพระบาลีว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา
    ขันธ์ทั้ง 5 เป็นของหนัก

    ภารหาโร จ ปุคฺคโล
    บุคคลผู้นำขันธ์ 5 ที่หนักนั้นไป
    ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก
    การถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง 5 นั้นหนัก เป็นทุกข์ในโลก
    ภารนิกฺเขปนํ สุขํ
    สละขันธ์ 5 ปล่อยขันธ์ 5 วางขันธ์ 5 ทิ้งขันธ์ 5 เสียได้เป็นสุข
    นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ
    การทิ้งภาระที่หนักอันนั้นเสียได้แล้ว
    อญฺญํ ภารํ อนาทิย
    ไม่ถือเอาของหนักอื่นอีกต่อไป
    สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห
    ชื่อว่าเป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้
    นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต
    หมดกระหาย ไปนิพพานได้ หมดกระหาย หมดร้อน หมดกระวนกระวาย ไปนิพพานได้ ให้ทิ้งขันธ์ 5 เสีย ทิ้งขันธ์ 5 เสียได้แล้ว ได้ชื่อว่าถอนตัณหาทั้งรากได้ นี้เป็นตัวสำคัญ ให้รู้จักดังนี้

    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ 5 นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ 5 น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ หมดทั้งสากลโลก ขันธ์ 5 ของตัวเอาไปไม่ได้ ขันธ์ 5 ของสามีภรรยากันล่ะ เอาไปไม่ได้ แต่ของตัวเอาไปไม่ได้แล้ว นี่จะเอาของคนอื่นไปอย่างไรล่ะ เอาของลูกไปบ้างไม่ได้หรือ ไม่ได้ แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด

    เมื่อรู้ชัดดังนี้ วิธีจะละขันธ์ 5 ถอดขันธ์ 5 ทิ้ง วิธีจะถอดสละขันธ์ 5 วางขันธ์ 5 นั้น ต้อง เป็นผู้ตั้งอยู่ในสังวรกถา ที่จะตั้งอยู่ในสังวรกถาได้ ต้องอาศัยมีความรู้ความเห็นแยบคาย เห็นแยบคายอย่างไร ? รู้เห็นแยบคาย ความยินดีในรูปในอารมณ์นั้นๆ ต้องปล่อยวาง ต้องละต้องทิ้งความยินดีในอารมณ์นั้นๆ ถ้ายังยึดความยินดีในอารมณ์อยู่ ปล่อยขันธ์ 5 ไม่ได้ การยึดอารมณ์ยินดีในอารมณ์ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้เป็นเนติแบบแผน เป็นภาษามคธว่า
    สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ

    กุสีตํ หีนวีริยํ วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุํ ตํ เว ปสหตี มาโร

    แปลเป็นสยามภาษาว่า สุภานุปสฺสึ ผู้ ที่เห็นอารมณ์งาม รูปารมณ์ก็ดี สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ผู้เห็นอารมณ์งาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั่นแหละเรียกว่า สุภานุปสฺสึ ผู้เห็นอารมณ์งามอยู่ ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเกียจคร้าน กุสีตํ จมอยู่ในอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด หีนวิริยํ มีความเพียรเลวทราม ตํ เว ปสหตี มาโร มาร ย่อมประหารบุคคลผู้นั้นได้ วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ เหมือนลมประหารต้นไม้ อันมีกำลังทุพพลภาพได้ฉันนั้น นี้พระคาถาต้น คาถาสองรองลงไป
    อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ
    โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุํ สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
    วาโต เสลํ ว ปพฺพตํ
    ตํ เว นปฺปสหตี มาโร

    ผู้ ที่เห็นอารมณ์อันไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารหรือโภชนาหาร มีความเชื่อ ปรารภความเพียรอยู่ มารย่อมประหารบุคคลผู้นั้นไม่ได้ เหมือนอย่างลมประหารภูเขาอันล้วนแล้วด้วยศิลาเขยื้อนไม่ได้ ฉันนั้น

    จกฺขุนา สํวโร สาธุ สาธุ โสเตน สํวโร
    ฆาเนน สํวโร สาธุ สาธุ ชิวฺหาย สํวโร
    กาเยน สํวโร สาธุ สาธุ วาจาย สํวโร
    มนสา สํวโร สาธุ สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
    สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ

    แปล เนื้อความว่า สำรวมตาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมจมูกได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมกายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมวาจาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมใจได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมในที่ทั้งหมดปรากฏว่า ยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ผู้ศึกษาธรรมวินัยเป็นผู้สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายในอินทรีย์ทั้งสิ้น เมื่อสำรวมได้เช่นนี้ตัดสินว่า สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปด้วยประการดังนี้ นี่สังวรกถา แสดงการสำรวม
    แต่ว่าที่กล่าวมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ถ้าจะอรรถาธิบายขยายความในการที่ปล่อยขันธ์ 5 เป็นลำดับไป ขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราแบ่งเป็นภาระหนักอยู่ในบัดนี้ แล้วอวดดีด้วยนะ ภาระของตัวหนักพออยู่แล้ว ยังอวดดีไปแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าอีกด้วย เอากันละตรงนี้

    อวดดีแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าด้วย ไม่ใช่แบกน้อยด้วย
    บางคนแบกหลายๆ ขันธ์ แอบไปแบกเข้า 5 ขันธ์อีกแล้ว หญิงก็ดีชายก็ดีแอบไปแบกเข้าอีก 5 ขันธ์ แล้วรวมของตัวเข้าเป็น 10 ขันธ์ แล้วหนักเข้า ก็หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์ เป็น 15 ขันธ์ แล้วแบกเอาไป แบกเข้าไปเฮอะ เอ้าหนักเข้าๆ หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์แล้ว เป็น 20 ขันธ์แล้ว นานๆ หลายๆ ปีเข้า หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์ แล้วเป็น 25 ขันธ์ นานๆ หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์แล้ว เอ้าเป็น 30 ขันธ์ ดังนี้แหละ
    บางคนแบก ถึง 40-50-60-70-80-90 บางคนถึง 100 ขันธ์ สมภารแบกตั้ง 1,000 ขันธ์เชียวนา ไม่ใช่น้อยๆ นั่นอวดดีล่ะ ถ้าอวดดีอย่างนี้ต้องหนักมาก เขาจึงได้ชื่อว่าสมภาร สัมภาระ แปลว่าหนักพร้อม หนักรอบตัว พ่อบ้านแม่บ้าน พ่อครัวแม่ครัว ก็เหมือนกัน หนักใหญ่อีกเหมือนกัน หนักรอบอีกเหมือนกัน เพราะแบกขันธ์ทั้งนั้น ที่ทุกข์ยากลำบากกันหนักหนา ทีเดียว เพราะแบกขันธ์เหล่านี้แหละต้องปลูกบ้านเป็นหย่อมๆ เป็นหลังเป็นพืดไป นั่นเพราะอะไร บริหารขันธ์แบกขันธ์ทั้งนั้น แบกภาระที่หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เล็กน้อย ไม่ใช่พอดีพอร้าย เพราะเหตุดังนั้น การแบกภาระของหนักนี่แหละ ถ้าปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ละก้อ เป็นทุกข์หนักทีเดียว บุคคลผู้แบกของหนักไป
    บุคคล ผู้แบกขันธ์ 5 ที่หนักไป ถ้าว่าปล่อยวางขันธ์ 5 ไม่ได้ ก็เป็นทุกข์แท้ๆ ถ้าปล่อยวางขันธ์ 5 เสียได้ก็เป็นสุขแท้ๆ เหมือนกัน ตรงกันข้ามอย่างนี้


    แต่ว่า วิธีปล่อยขันธ์ 5 ไม่ใช่ของเล็กน้อย ไม่ใช่เป็นของปล่อยง่าย
    ถ้าปล่อยไม่ได้ ก็เป็นทุกข์ ปล่อยได้ก็เป็นสุขแต่ขันธ์ 5 จริงๆ เราก็ไม่รู้จักมันเสียแล้วนะ ปล่อยมันอย่างไร

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณน่ะ เอาเถอะ แก่เฒ่าอยู่วัดอยู่วาไปตามกัน บวชแล้วก็ตาม ไม่บวชก็ตาม ถามจริงๆ เถอะว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จริงๆ น่ะคืออะไร เอาละอึกอักกันทีเดียว ไม่เข้าใจตัวของตัวแท้แท้ไม่เข้าใจรูปน่ะคือร่างกาย ประกอบ ด้วยธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกันอยู่นี้ ถ้าว่าแยกออกไปก็เป็น 28 มหาภูตรูป 4 อุปาทายรูป 24 เป็นรูป 28 ประการดังนี้ นี่แหละมีรูปเท่านี้ เป็นเบญจขันธ์นี้ รูป 28

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นามขันธ์ 4 โดยย่อ
    สังขาร 3 วิญญาณ 6 เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำ สังขาร ความคิด วิญญาณ ความรู้ เป็นดวงสีต่างๆ กัน
    ส่วนเวทนาก็เป็นดวง ถ้าสุขเวทนาก็ใส ถ้าทุกขเวทนาก็ขุ่น ดังนี้ เป็นดวงๆ ดังนี้

    สัญญา ความจำก็เป็นดวงเหมือนกัน เป็นดวงต่างกัน ดีชั่วหยาบละเอียดเลวประณีต สังขาร ความคิดดีคิดชั่ว คิดไม่ดีไม่ชั่ว นี่ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน

    วิญญาณ ความรู้ ความรู้ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน ต้องรู้จักพวกนี้ ให้เห็น พวกนี้เสียก่อน ให้เห็นขันธ์ทั้ง 5 เสียก่อน ให้เป็นปฏิบัติ

    ที่แสดงแล้วนั่นเป็นปริยัติ ถ้าปฏิบัติ ต้องเห็น
    เห็นขันธ์ทั้ง 5 นั่น รูปเป็นดังนั้นโตเล็ก เท่านั้น สัณฐานอย่างนั้น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 แล้ว ก็ดูความจริงของมัน ขันธ์ 5 เหล่านี้น่ะ ถ้าแม้ว่า ขืนไปยึดถือมันเข้าไว้ละก้อ เป็นทุกข์ ท่านถึงได้วางตำราเอาไว้ว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ยึดถือมั่นในเบญจขันธ์ 5 นั่นเป็นทุกข์ ถ้าหากว่าปล่อยเบญจขันธ์ 5 เสียได้ก็เป็นสุข แต่ว่าปล่อยไม่ใช่ได้ง่าย ปล่อยไม่ได้ง่ายเหมือนอะไร ปล่อยไม่เป็น ถ้าปล่อยเป็นปล่อยได้ง่าย ปล่อยไม่เป็นปล่อยได้ยาก ปล่อยไม่เป็นเหมือนอะไร เหมือนเด็กๆ กำไฟเข้าไว้ ยิ่งร้อนหนักเข้า ยิ่งกำหนักแน่นหนักเข้า ร้องใจหายใจคว่ำก็ร้องไป ปล่อยไม่เป็น คลาย มือไม่เป็น ถ่านก้อนที่กำเข้าไว้น่ะ เมื่อเด็กกำเอาเข้าไว้แล้ว กำเสียดับเลยทีเดียว กำเสียมิดทีเดียว มือก็ไหม้ เข้าไปรูหนึ่งแล้ว
    นั่นเพราะอะไร

    เด็กมันปล่อยถ่านไฟไม่เป็น ปล่อยไม่เป็นหรือมันไม่ปล่อย ปล่อยไม่เป็นจริงๆ ถ้าปล่อยเป็นมันก็ปล่อยเหมือนกัน
    เหมือนพวกเรานี่แหละยึดมั่นเอาเบญจขันธ์ทั้ง 5 เข้าไว้ ปล่อยไม่เป็น ไม่รู้จะปล่อยท่าไหน วางท่าไหนก็ไม่รู้ วางไม่ออก ปล่อยไม่ออก
    ปล่อยไม่เป็น วางไม่เป็น หรือปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้

    ไอ้ที่ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ อีกพวกหนึ่ง
    ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง


    ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้น่ะ รู้แล้วว่าปล่อยเท่านั้นวางเท่านั้น ไม่ยอมปล่อย ไม่อยากปล่อย เพราะอะไร เสียดายมัน นั่นอีกพวกหนึ่ง ไม่อยากปล่อยขันธ์ 5 อยากจะได้ขันธ์ 5 ให้มากขึ้น นั่นพวกหนึ่ง
    ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง ไม่ได้เล่าเรียนศึกษา ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระพุทธเจ้า ไอ้พวกนั้นปล่อยไม่เป็น

    ไอ้พวกที่ได้ฟังแล้วจะปล่อยก็เป็น แต่ว่าเสียดาย...ไม่ยอมปล่อย...
    อีกพวกหนึ่งตั้งใจปล่อยจริงๆ แต่ปล่อยไม่ได้


    ไอ้ที่ไม่อยากปล่อยน่ะ เหมือนอะไรล่ะ

    เหมือนพรานวางเบ็ด เมื่อปลาติดเบ็ดแล้ว ถ้าปลาตัวเล็กๆ พอจะปลดปล่อยได้ ถ้าปลาถึงขนาดเข้าปล่อยไม่ได้ เสียดาย ต้องใส่เรือของตัวไป ไอ้อยากปล่อยแต่ปล่อยไม่ได้น่ะเหมือนอะไร เหมือนนกติดแร้ว อยากปล่อย แต่เครื่องติดมันมี มันมีเหมือนอะไรล่ะ นี่แหละเหมือนอย่างเราครองเรือน อย่างนี้แหละ อยากจะปล่อยมัน แต่ว่าเครื่องติดมันมีเลยปล่อยไม่ได้ เสียดาย มันปล่อยไม่ได้ มันติดอยู่ดังนั้นแหละ ปล่อยไม่ถนัด เพราะเหตุฉะนี้แหละเบญจขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ต้องถอดกัน ไม่ถอด ปล่อยไม่ได้


    วิธีถอดเบญจขันธ์เบื้องต้นต้องสำรวม ที่จะสำรวมน่ะ ต้องพิจารณาเบญจขันธ์ทั้ง 5 เสียก่อนว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม เป็นของไม่ดีไม่งามนะ เป็นของหนักจริงๆ นะ รู้ว่าเป็นของหนักแล้ว เริ่มต้นทีเดียว เมื่อเห็นว่าหนักละก็เริ่มต้นสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลยทีเดียว สำรวม ระวังไว้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มากระทบ คอยระวังไว้สำรวมไว้ให้ดี เมื่อระวังให้ดีแล้วสละความยินดียินร้ายไม่ให้มากระทบ ไม่ให้ความชอบความไม่ชอบซึ่งเป็นกิเลสหยาบเข้ามากระทบได้ สละเสีย

    **********************
    ขอบพระคุณท่าน หลับอยู่ ค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LpSod1.jpg
      LpSod1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89.8 KB
      เปิดดู:
      514
    • LpSodNippan.jpg
      LpSodNippan.jpg
      ขนาดไฟล์:
      171.3 KB
      เปิดดู:
      73
    • Sadhu.jpg
      Sadhu.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      51
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2015
  4. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    นำการปฏิบัติของตนเองมาเล่าสู่กันฟังหวังว่าอาจจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้างนะจ้ะถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมาณ. ที่นี้ด้วยนะจ้ะ. พยายามมีสติดูกายดูจิตตนเองให้มากๆนะจ้ะบางทีเรามีความรู้สึกว่ามันหนักมากแต่สุดท้ายแล้วมันก็ไม่พ้นกฏของไตรลักษณ์หลอกจ้ะพยายามเดินสติให้ต่อเนื่องสนใจจิตเราอย่างเดียวมันฟุ้งก็ให้รู้ว่ามันฟุ้งมันเกิดก็ให้รู้ว่ามันเกิดมันดับก็ให้รู้ว่ามันดับอย่ารีบไปตัดอารมณ์กระทบไม่ว่าจะเป็นสมาธิ โกรธ หงุดหงิด เบื่อหน่ายเซ็งให้มีสติตามดูมันตั้งแต่เกิดจนดับไปเองเมื่ออารมณ์ดับแล้วให้ใช้ปัญญาสรุปจบด้วยว่าทุกอย่าง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่ากี่ครั้งก็เห็นเป็นเพียงอารมณ์ เกิดดับอยู่อย่างนั้นไม่เคยมีตัวมีตนสักครั้งเดียวเพราะฉนั้นเราจึงไม่ควรยึดว่าอารมณ์เป็นของเรา เหมือนที่เรารู้ว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย
    ร่างกายไม่มีในเราเมื่อเราคิดได้ดังนี้เราก็จะไม่ยึดมั่นต่อสิ่งใดๆอีกต่อไปนะจ้ะอย่าไปอยาก อย่าไปสงสัยเพราะจะเป็นการเข้าไปขัดขวางการทำงานของจิตกายก็ดีจิตก็ดีก็ยังไม่เที่ยงล้วนแต่บังคับไม่ได้ใช้สติตามดูตามรู้สภาวธรรมที่เกิดดับไปเรื่อยๆเมื่อจิตวางความอยาก ความสงสัยจิตจะมีความว่างพอที่จะเข้าไปเรียนรู้ธรรมชาติในจิตความคิด ความฟุ้ง ความอยาก ความสงสัย ล้วนแต่เป็นการงานอันหนักเหนื่อยของจิตทั้งสิ้น เมื่อวางอยากจึงว่าง เมื่อวางสงสัยจึงรู้ วางใจเป็นกลางนะจ้ะ ถ้าจิตเครียดให้ไปดูหนังฟังเพลงก่อนนะจ้ะการปฏิบัติธรรมต้องให้จิตสบายๆๆนะจ้ะแล้วจิตเขาจะมีพลังปล่อยว่างทุกสิ่งทุกอย่างด้วยปัญญานะจ้ะ ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป สาธุค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.4 KB
      เปิดดู:
      47
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2015
  5. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ‪#‎ที่อยู่ของจิต‬
    มิใช่ ‪#‎ร่างกายนี้‬
    แต่ ที่อยู่ของจิตที่แท้จริงนั้น ก็คือ ‪#‎พระนิพพาน‬ ปู๊น..
    สำหรับนักภาวนา ที่มีความเห็นว่า การเกิดเป็นทุกข์ ..
    เข้าใจว่า การมีร่างกายนี้คือ ตัวทุกข์ เห็นมีแต่ ทุกข์ จริงๆ
    เมื่อจิตตนเห็นขันธมารนี้ เห็นโทษการเกิด เห็นภัยกายหยาบนี้
    จิตก็เห็นธรรมได้ คือเห็นตามความเป็นจริงเหมือนดั่งพระอริยเจ้ากันได้
    เมื่อจิตถูกฝึกไม่เอาขันธ์๕หรือร่างกายเรานี้ จิตตนก็จะค่อยเห็นอนัตตา
    และในที่สุด จิตก็คืออนัตตา อนัตตาก็คือจิตตนเอง สาธุ
    หากไม่ดีจริง พระพุทธเจ้า เมื่อดับขันธ์นี้ไปแล้ว
    พระองค์คงไม่ไปอยู่ที่ดินแดนพระนิพพานเป็นแน่แท้
    พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า นรก สวรรค์ พรหมและพระนิพพาน มีจริง
    เพียงแต่อยู่กันคนละมิติเท่านั้นเอง
    มิติที่พวกเราอยู่นี้ก็คือ มิติของโลกมนุษย์ คือ โลกของรูป โลกของกายหยาบ
    นอกจาก มิติหรือโลกมนุษย์แล้ว แต่ก็ยังมีภพภูมิอื่น คือ โลกทิพย์
    ภพภูมิหรือมิติที่ดวงจิตที่ไม่ดีอาศัยอยู่ หรือเรียกว่า ปรโลก(นรก)
    แต่สำหรับภพภูมิหรือมิติที่มีดวงจิตดีอาศัยอยู่ เรียกว่า เทวโลก พรหมโลก
    แต่ยังมีอีกมิตินึง ที่จิตดีกว่าอาศัยอยู่ เป็นที่อยู่ของจิตหลุดพ้นทั้งหลาย ทั้งปวง
    นั่นก็คือ โ ล ก พ ร ะ นิ พ พ า น
    ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ อย่าเพิ่งเชื่อคนนำเสนอ
    แต่ขอให้เชื่อและก็ศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า มากๆ
    แต่ถ้าพวกเราไม่เชื่อ ก็ไม่รู้ว่าจะมานับถือศาสนาพุทธกัน ทำไม
    พระพุทธเจ้า จะไปโกหกพวกเราทำไม
    แค่เราเป็นนักปฎิบัติ เราคือนักปฎิบัติธรรม เรายังให้ความสำคัญเรื่องศีลของตนเลย
    ใหม่ๆ คือผู้มาใหม่ คือผู้ปฎิบัติธรรมใหม่ๆ เราต้องรักษาศีลของตนก่อน
    แต่ถ้าเราปฎิบัติได้แล้ว นั่นหมายถึง เรามีสติ มีสมาธิและก็มีปัญญาหรือมีธรรมในจิตบ้างแล้ว
    คำว่า ศีล ก็จะมารักษาผู้ปฎิบัติธรรมเอง สาธุๆๆ
    ใหม่ๆเราต้องรักษาศีลก่อน พอเราจะรักษาศีลไปได้สักพักนึง
    หรือปฎิบัติจนมีตาในมองเห็นธรรม ส่วนเรื่องศีล เราก็ไม่ต้องกังวลอีกแล้ว
    เพราะเราสามารถรักษาจิตให้เป็นปกติได้แล้วนั่นเอง สาธุ
    ถามว่า ใครเป็นคนที่รักษาศีลของตน ถ้าไม่ใช่..จิตตน
    ฉะนั้น หากเรารักษาจิตตนให้เป็นกลางได้แล้ว ซึ่งประกอบไปด้วยสติ สมาธิและปัญญา
    ศีลและธรรมเหล่านี้ จะมารักษาผู้ปฎิบัติธรรม ส่วนธรรมในจิตตนนั้น ก็จะมาสอนสั่งตนเอง
    เมื่อผู้ปฎิบัติมีทั้งสติ มีทั้งสมาธิ มีทั้งปัญญาแล้ว
    อีกไม่นานนัก จิตปัญญาก็จะกลายเป็นจิตธรรม หรือกลายเป็นธรรม
    หรือ จิตเป็นธรรม ธรรมเป็นจิต หรือ จิตคือธรรม ธรรมก็คือจิต คือ เป็นตัวเดียวกัน
    เสมือน อนึ่ง เมื่อจิตตนมีองค์ธรรมครบ คือจิตเข้าถึงคำว่า อริยมรรค หรือ มรรคมีองค์๘
    ฉะนั้น การสำรวมจิตหรือสำรวมใจ ก็จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเอง
    ๐๐ สรุป กำหนดจิต กำหนดการไปจิตตนให้ดี บางทีเรียกว่า จุติ
    สุคติ หรือ ทุคติ เราต้องเลือก ต้องกำหนด ตอนนี้กำหนดได้ ก็กำหนดไป
    แต่ถ้าไม่กำหนด กรรมของตนเอง นี่แหละ จะเป็นผู้เลือกให้ สาธุ
    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม มีธรรมนำทางชีวิต นำทางจิต สาธุ
    ภู ท ย า น ฌ า น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.2 KB
      เปิดดู:
      72
  6. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    นักปฏิบัติถ้าเขาฉลาดละก็เรื่องสมาธิไม่เป็นของยาก โดยเฉพาะอานาปานุสสตินี่ก็ต้องใช้เวลาพูดหลายคืนหน่อย เพราะว่าเวลาพูดแต่ละคืนมีจำกัด ถ้าอารมณ์จิตซ่านจริงๆ ก็มีวิธีปฏิบัติอยู่ 2 อย่าง

    ถ้าซ่านจริงๆ บังคับไม่ไหวจริงๆ ให้เลิกเสียอย่างหนึ่ง อย่าฝืนทำต่อไปจิตมันจะดิ้นรน
    ถ้าจิตมันซ่านเราบังคับไม่ได้มันจะกลุ้ม ความกลุ้มเกิด ความกระวนกระวายปรากฏ ความทุกข์กายไม่สบายใจปรากฏ

    ดีไม่ดี ถ้าคิดมากไปก็เลยกลายเป็นโรคเส้นประสาท ไอ้ที่ทำกรรมฐานแล้วคลั่งขาดสติสัมปชัญญะ เพราะไม่รู้จักการประมาณตัวเป็นสำคัญนี่ วิธีหนึ่งถ้ามันซ่านจริงๆ พระพุทธเจ้าให้เลิกเสีย

    แล้วมีอีกวิธีหนึ่งพระพุทธเจ้าแนะนำให้ใช้การยืดหยุ่น การยืดหยุ่นเป็นของสำคัญ อันนี้เคยปฏิบัติมาแล้วทั้ง 2 อย่าง มันมีผลจริงๆ แต่ว่าวิธีที่ 2 นี้เป็นวิธีที่อาตมาชอบที่สุด แต่ว่าทั้ง 2 อย่างนี้เป็นวิธีของพระพุทธเจ้าที่จะต้องการอย่างไหนก็ได้
    วิธีที่ 2 พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ว่าถ้าบังคับไม่หยุดจริงๆ มันอยากจะคิดอยากจะซ่าน เราอย่าคิดว่าเราจะชนะมันได้ เวลามันซ่านจริงๆ บังคับไม่อยู่แน่ๆ เว้นไว้แต่เพียงว่าถ้าเราเป็นพระอริยะแล้วขึ้นไปถึงอรหัตผลหรือว่าเป็นผู้ทรงฌานได้จริงๆ ก็บังคับได้ ชั่วระยะเวลา ยามว่างเข้าเวลาปกติก็ดิ้นรนตึงตังๆ ถ้าเป็นพระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันไปมันยังไม่หมดได้ แต่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของกุศล อกุศลไม่มี ถ้าถึงพระอรหันต์แล้วสบายมาก วันทั้งวันสบาย น้อมอยู่ในกุศลตลอดเวลา มีแต่ความเยือกเย็นของจิต

    หวนกลับมาวิธีที่ 2 ถ้ามันซ่านจริงๆ พระพุทธเจ้าบอกให้ปล่อยให้มันคิดไปส่งเดชเลยเพราะบังคับไม่อยู่ มันอยากจะคิดอะไรก็เชิญคิดตามอัธยาศัยอย่าขัดคอมัน แต่ตั้งใจไว้ว่ามันเลิกคิดเมื่อไรจะเริ่มต้นกันใหม่

    วิธีนี้เป็นวิธีที่สำคัญมาก เหมือนคนที่บังคับม้าพยศ ถ้าม้ามันพยศมันยังมีกำลังอยู่ไม่สามารถจะบังคับให้มันเข้าทางได้ ท่านบอกให้กอดคอถือแส้เข้าไว้มันจะไปไหนให้มันวิ่ง ปล่อยให้มันวิ่งให้มันหมดฤทธิ์ ในเมื่อมันหมดฤทธิ์ที่มันจะวิ่งไปได้แล้ว กำลังมันก็น้อยเราจะบังคับให้มันวิ่งไปสบาย ไปขวาไปหน้าไปหลังก็ได้ เพราะหมดแรงพยศ

    ข้อนี้อุปมาฉันใด จิตของเราก็เหมือนกัน ถ้ามันจะฟุ้งบังคับไม่อยู่ก็เชิญมันคิดตามอัธยาศัย

    ลองดูนะ อาตมาลองดูแล้ว ลองดูหลายครั้งเพราะว่าตอนระยะแรกๆ คุมมันไม่อยู่เหมือนกัน ก็เลยปล่อยให้มันคิดไปตามที่ท่านแนะนำ มันก็ไม่เกิน 15 นาทีถึง 20นาที มันเลิกคิดปล่อยไปตามอัธยาศัยจะเข้าบ้านเข้าช่องใครก็ช่างหัวมัน พอมันเลิกคิดก็กลับมาจับอารมณ์ใหม่ คราวนี้มาจับอารมณ์เพียงวินาทีหรือ 2 วินาที อารมณ์มันจะหยุดซ่านทันที เพราะมันเหนื่อย อารมณ์จะดิ่งเป็นฌานนานแสนนานบางทีชั่วโมงหรือครึ่งชั่วโมงยังไม่ถอน อารมณ์จะเงียบจริงๆ จะทรงเป็นสมาธิจริงๆ
    วิธีทั้ง 2 ประการขอบรรดาพุทธบริษัททั้งหลายชายหญิงและพระภิกษุสามเณร จงพยายามกำหนดเอาชนะจิตด้วยวิธีนี้
    คือว่าสู้มันไม่ไหวจริงๆ ปล่อยมันคิด ถ้ามันเลิกคิดแล้วดึงมันกลับเข้ามาสู่ลมหายใจเข้าออก ภาวนาก็ได้ อันนี้จิตจะแนบสนิทเป็นฌานได้อย่างดีมาก

    อันนี้คำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องพยายามประพฤติปฏิบัติตลอดเวลา เพราะเป็นวิธีเดียวกับที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติมาแล้วก็มีผล ตลอดจนท่านอริยชนทั้หมดคือพระอริยเจ้าที่บรรลุมาแล้วก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน ตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระพิชิตมารก็มีผลเช่นเดียวกัน ไม่ควรจะทอดทิ้งเสีย ควรจะยึดถือเอาไว้ปฏิบัติ เพราะอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นตัวคุมอารมณ์จิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ตัวนี้เป็นกรรมฐานสำคัญมาก

    ที่มา หนังสือธรมมปฏิบัติ เล่มที่ 7 หน้าที่75-77 โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง. ขอทุกท่านเจริญทางธรรมยิ่งๆขึ้นไปเทอญ.

    อนุโมทนาสาธุค่ะ
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,377
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    [​IMG]. .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,377
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    . .
    [​IMG]

    (deejai);37;aa44
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,377
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    . .
    นักการเมือง
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    การปฏิบัติธรรมเกิดจากการตั้งกำลังใจที่จะทำให้แน่วแน่และมั่นคง
    สาธุค่ะ



    ฉันไม่ใช่โยคี ไม่ใช่ผู้เสริมสร้างพลังชีวิต หรือครูสอนโยคะใดๆทั้งสิ้น อันที่จริงไม่ใกล้เคียงกับสิ่งที่คุณเรียกว่าโยคีเลยล่ะ ที่ผ่านมาฉันล้มเหลวมาเยอะ เช่น สอบตก ไม่ใช่แค่ครั้งเดียวนะ เคยเข้าไปอยู่ในสถานบำบัดยาเสพติด แถมยังเคยถูกจับอีกต่างหาก แต่ในที่สุดฉันก็กลับใจจนได้มาเป็นทนายความและใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า ฉันก็อยากให้คนอื่นมีโอกาสที่ดีแบบนี้บ้างเชื่อไหมว่าการนั่งสมาธินำพาสิ่งดีๆเข้ามาในชีวิตของเราทุกคนได้ ไม่นานมานี้ฉันเริ่มเรียนรู้ถึงประโยชน์ของการนั่งสมาธิ แม้ที่ผ่านมาฉันไม่เคยนั่งสมาธิได้นานกว่า 5-10 นาทีเลย แต่มาวันนี้ฉันได้ตัดสินใจ


    ลองนั่งสมาธิวันละ 20 นาทีติดต่อกันนานหนึ่งสัปดาห์เพื่อดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น

    การทดลองนี้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม ปี 2015 จากสัปดาห์แรกเป็นเดือน จากเดือนเป็นสามเดือน มารู้ตัวอีกทีก็ครบ 100 วันแล้ว ฉันนั่งสมาธิทุกวันในตอนเช้าโดยไม่มีวันหยุดเลย ตอนแรกที่นั่งสมาธิฉันนั่งอยู่นิ่งๆไม่ได้เลยทั้งปวดหลังและเมื่อยขาสุดๆ ฉันรู้สึกเหมือนกำลังพยายามปรับวิธีการนั่งมากกว่าที่จะทำสมาธิกับการกำหนดลมหายใจเข้าออก ที่สำคัญฉันต้องฝืนตัวเองไม่ให้ลืมตา แต่ในที่สุดฉันก็ชินกับการกำหนดลมหายใจเข้าออก และร่างกายของฉันก็เริ่มปรับท่าทางให้เป็นไปตามธรรมชาติ ยิ่งนั่งสมาธินานเท่าไร ฉันก็ยิ่งค้นพบวิธีนั่งสมาธิให้สบายมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่นานนักการนั่งสมาธิก็กลายเป็นกิจวัตรในยามเช้าที่ขาดไม่ได้และสิ่งดีๆก็เริ่มทยอยเข้ามาในชีวิตของฉัน

    นี่คือ 8 สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ฉันนั่งสมาธิทุกวันจนครบ 100 วัน

    1. ชีวิตมีความเป็นระเบียบ
    ยิ่งหัวสมองปลอดโปร่งก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ มีการจัดระเบียบความคิด มีสมาธิกับการทำงานและพร้อมที่จะก้าวสู่งานชิ้นต่อไปได้ง่ายขึ้น ฉันจะตั้งใจทำงานที่อยู่ตรงหน้าให้ดีที่สุดแล้วค่อยทำงานอื่นต่อไป

    2. เริ่มรู้จักคิดก่อนพูด
    เดิมทีฉันปากไวหรือพูดทันทีที่ความคิดนั้นปรากฏขึ้นมาในหัว แต่ตอนนี้ฉันต้องหยุดคิดก่อนว่าจะพูดอะไรแล้วค่อยตอบกลับไปอย่างระมัดระวัง การหยุดคิดจะช่วยให้ฉันเรียบเรียงคำพูดได้ชัดเจน และเมื่อพูดออกไปแล้วฉันจะทบทวนว่าสิ่งที่พูดไปนั้นดีพอหรือยัง หรือคราวหน้ายังสามารถทำได้ดีกว่านี้อีกไหม ซึ่งปกติฉันไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน

    3. สุภาพและรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
    ฉันกลายเป็นคนขี้รำคาญน้อยลง อดทนมากขึ้น ไม่เบื่อกับการต้องเข้าคิวนานๆ ฉันเริ่มมองสถานการณ์ต่างๆในมุมมองของคนอื่น ด้วยวิธีนี้เองทำให้ฉันสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่กระทำต่อคนอื่นได้อย่างสิ้นเชิง

    4. มีพลัง
    ฉันสามารถนอนหลับได้สนิทกว่าเดิมและตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่นมีพลังพร้อมเริ่มวันใหม่ ขนาดหลังเลิกงานฉันก็ยังมีพลังเหลือเฟือที่จะออกไปวิ่งหรือออกไปเที่ยวกับเพื่อนๆต่อได้เลย

    5. รู้จักเลือกรับประทานอาหารได้ดีขึ้น
    ฉันตัดสินใจได้ดีขึ้นเมื่ออยู่ในซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านอาหาร ฉันมักจะถามตัวเองก่อนเสมอว่าอาหารนี้มีประโยชน์ต่อร่างกายของฉันมากน้อยแค่ไหน

    6. ดูโทรทัศน์น้อยลง
    ความปรารถนาในการดูโทรทัศน์ของฉันลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ฉันกลับมีสมาธิกับสิ่งที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น เช่น การอ่านหนังสือ การออกกำลังกาย การออกไปพบปะเพื่อนฝูง หรือการทำงานบนเว็บไซต์ของตัวเอง

    7. ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น
    ฉันเริ่มรู้จักหยุดสังเกตและชื่นชมกับความสวยงามของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้หรือพระอาทิตย์ตกดิน นี่คือปรากฏการณ์มหัศจรรย์ชัดๆ ฉันจะพยายามดื่มด่ำกับช่วงเวลาเหล่านี้ให้มากที่สุด

    8. ดีขึ้นทุกอย่าง
    นี่อาจเป็นคุณประโยชน์ที่ดีที่สุดอีกอย่างหนึ่งของการนั่งสมาธิ ฉันรู้ว่าตัวเองเป็นใครและสามารถทำอะไรได้บ้าง ฉันกล้าเปิดเผยความรู้สึกของตัวเองมากขึ้น ฉันมีกำลังใจที่จะเป็นตัวของตัวเองและกล้าเสี่ยงเพื่อที่จะเติบโตต่อไปในวันข้างหน้า ฉันรู้ว่าอะไรคือสิ่งสำคัญและสามารถประสบความสำเร็จในสิ่งที่ต้องการได้

    และนี่คือการเปลี่ยนแปลงของฉันหลังจากที่เริ่มนั่งสมาธิ แม้ว่าสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่เกิดขึ้นภายในวันเดียวหรือ 100 วัน แต่ฉันรู้ว่าทุกวันนี้ฉันไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไปแล้ว ฉันมีความสุขมากขึ้นเพราะฉันได้เป็นตัวของตัวเองจริงๆ ถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากที่นั่งสมาธิผ่านไปเพียง 100 วัน ฉันก็อยากเห็นว่าอีก 200 วันหรือแม้แต่ 1,000 วันจะเป็นอย่างไร ลองนั่งสมาธิวันละ 20 นาทีติดต่อกันสัก 100 วันดูสิ ฉันมั่นใจว่าคุณจะกลายเป็นคนใหม่อย่างแน่นอน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      158.9 KB
      เปิดดู:
      74
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,377
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    . .
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,377
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    [​IMG]
    ความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจ
    https://www.youtube.com/watch?v=lvATETJz5Hc
    นี่คือหน้าที่ของเรา ต้องคิดมั้ย หลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระ...ถ้ารักความชั่วก็­นิมนต์สนใจกับเรื่องของชา­วบ้านให้มาก เรื่องส่วนตัวไม่ต้องสนใจถ้ารักความดีละก็­ตัดความสนใจกับเรื่องของช­าวบ้านเขาเสีย เขาจะดีจะชั่วช่างเรื่องของเขา เรื่องของเรามาชำระกระแสจิตตามกระแสพระพุท­­ธดำรัสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก­็­แล้วกัน นี่ที่กล่าวมานี้เป็นอาการของท่านสุกขวิปั­­สสโกนะขอรับ ศึกษากันใน มหาสติปัฏฐานสูตร ธรรมดาๆ
    แต่ถ้าหากว่าพระคุณเจ้าหรือบรรดาญาติโยมพุ­­ทธบริษัทที่รัก เจริญ มหาสติปัฏฐานสูตร ใน อานาปานุสสติกรรมฐาน แล้วแล้วก็ทรงวิชชาสามหรือได้ ทิพจักขุญาณ ตอนนี้เห็นจะไม่ต้องนั่งไล่แบบล่ะขอรับ สบาย เรามานั่งดูกระแสของจิตกันดีกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วน
    เบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็น
    ธรรมดา

    เธออย่าได้กล่าวคำหยาบต่อใคร ๆ คนที่ถูกเธอว่ากล่าวจะกล่าวโต้ต­อบเธอ เพราะว่าถ้อยคำที่โต้เถียงกัน ก่อให้เกิดทุกข์ และการทำร้ายโต้ตอบกันจะมาถึงเธ­อ ถ้าเธอทำตนให้นิ่งเงียบได้ เหมือนกังสดาลที่ตัดขอบปากออกแล­้ว เธอก็จะบรรลุนิพพานได้ การโต้เถียงกันก็จะไม่มีแก่เธอ


    เจริญธรรมทุกๆท่านค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,377
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    . .
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LPMun1.jpg
      LPMun1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.2 KB
      เปิดดู:
      53
    • LpMunPrayPower.jpg
      LpMunPrayPower.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48.9 KB
      เปิดดู:
      750
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,377
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    เศรษฐีหาศรีสะใภ้
    ท่านเศรษฐี มีทรัพย์มหาศาล มีลูกชายอยู่คนหนึ่งต้องการจะได้ลูกสะใภ้ที่ดี ที่ฉลาด และมีคุณธรรม ครั้นจะปล่อยให้ลูกชายหาเอาเอง ก็เกรงจะไปได้เอาคนไม่ดีเข้า จะมาพล่าผลาญทรัพย์สมบัติเสียหมด จึงจัดการเลือกหาให้เสียเอง วิธีเลือกหาหญิงดีมาเป็นศรีสะใภ้ ท่านใช้การผูกปริศนาคำทาย ส่งไปให้บรรดาสาวนาง ทั้งหลายตอบ

    ปริศนา มีว่า “มีปลาอยู่ตัวหนึ่ง จะทำอะไรกิน จึงจะกินได้อิ่มและทนนานที่สุด ?” ถ้านางใดตอบได้ถูกต้อง มีเหตุมีผล ท่านเศรษฐีจะยกขึ้นเป็นสะใภ้ โดยจัดการตบแต่งให้กับบุตรชายของท่าน

    ปรากฏ มีสตรีสาว ๆ ในละแวกนั้นส่งคำตอบมามากราย บ้างก็ว่าใส่เกลือทำปลาเค็ม บ้างก็ว่าทำเป็นปลาย่าง บางนางก็ว่าทำปลาร้า ฯลฯ แต่ท่านเศรษฐีไม่ชอบใจ

    มี อยู่รายหนึ่งตอบมาว่า “จะต้มจะแกงอย่างไรก็ได้เจ้าค่ะ แต่ทำแล้วอย่ากินคนเดียว ควรตักแบ่งให้เพื่อนบ้าน พี่บ้านเหนือ น้องบ้านใต้ได้กินบ้าง วิธีนี้ปลาตัวนั้น จะกินได้อิ่มและทนนานที่สุด” รายนี้ท่านเศรษฐีชอบใจ รับเป็นศรีสะใภ้ จัดการแต่งงานให้กับบุตรชาย ฝ่ายเจ้าลูกชายยังโง่อยู่เลย ค้านพ่อของตนว่า

    “ราย ที่ตอบว่าทำปลาเค็มปลาย่างน่าจะถูกกว่านะพ่อ เพราะปลาเค็ม ปลาย่างมันอยู่ได้นานกว่าเอาไปแกงแล้วแจกชาวบ้าน เพราะเที่ยวเอาไปแจกชาวบ้านมันยิ่งจะทำให้หมดเร็วเข้าไปเสียอีก ผมไม่เห็นด้วยเลย” ฝ่ายพ่อย้อนว่า

    “เจ้า ลูกโง่ ที่เอาไปทำปลาเค็มปลาแห้งนั้นนะ มันเก็บได้นานต่างหากปัญหาของข้าให้ตอบว่า กินได้นาน ไม่ใช่เก็บได้นาน เก็บกับกินนั้นมันต่างกัน การเก็บไว้เฉยๆ มันช่วยให้เอ็งอิ่มได้หรือ ?” พ่อขมวดถาม เจ้าลูกชายก็ยังไม่ยอม ย้อนแย้งว่า

    “ถึงกระนั้นก็เถอะครับพ่อ ต้มแกงแล้วเอาไปเที่ยวแจกชาวบ้านน่ะ ผมก็ว่าไม่เห็นจะกินได้นานตรงไหน กลับจะหมดเร็วเข้านะซิ”

    พ่อบอกว่า

    “เอง มันคิดสั้น ข้าจะอธิบายให้ฟัง ปลาในถ้วยแกงที่เอ็งตักแบ่งให้เพื่อนน่ะ แม้จะหมดไปเร็วไว แต่วันหลังเจ้าปลาในถ้วยที่แจกไปน่ะ มันจะว่ายกลับมาให้เอ็งกินอีก อาจจะกลับมามากกว่าเก่าดีกว่าเดิมก็ได้ เช่น กลับมาเป็นไก่เป็นหมู เพราะเพื่อนบ้านที่เขารับของเราไปกินน่ะ ไม่มีใครใจจืดใจดำหรอก คนมีหัวใจโว้ย…ย่อมจะรู้สึกคุณเพื่อนบ้าน ชาติคนมีน้ำใจน่ะเอ็งเอ๋ย ไม่ยอมกินของของใครข้างเดียวหรอก พวกเรามันมีวัฒนธรรม มีอะไรก็เฉลี่ยแบ่งกัน พริกเรือน เหนือ เกลือเรือนใต้ หมูไปไก่มา ไม่ใช่หมูมาหมาไปโว้ย เหตุนี้แหละข้าจึงรับแม่หนูคนนี้มาเป็นเมียเอ็ง เพราะได้คนที่มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มาเป็นเลือดเนื้อเชื้อสาย มันจะช่วยให้มีความอบอุ่นมั่นคง เป็นที่รักใคร่นับถือของเพื่อนบ้าน”

    ข้อคิดสอนใจ…นิทานเรื่องนี้ เป็น ทั้งตัวอย่าง และเป็นปริศนาทำให้เห็นคุณค่าและอานิสงส์ของความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ได้ ชัดเจน และอยากจะล้อมรั้วบ้านด้วยไมตรีขึ้นมาเอง…! อย่าลืมประเพณีไทย “พริกเรือนเหนือ เกลือเรือนใต้ หมูไปไก่มา” คอยสอดคอยส่องคอยมองคอยเมียง บ้านใกล้เรือนเคียงคอยเรียกขาน ไต่ถามยามทุกข์ข้าวสุกข้าวสาร ขาดเหลือเจือจานกันไปตามมี

    เนกาสี ลภเต สุขํ (เนกาสี ละภะเต สุขัง)

    กินคนเดียวความสุขไม่มี ถึงจะอ้วนพีก็ไม่กี่วัน…


    ขอบคุณที่มา :: หนังสือ “สุขทุกฤดู หน้า ๔๖-๔๗” ส่งเสริมคุณธรรม พัฒนาชีวิต นึกถึงธรรมะ คิดถึงหนังสือธรรมะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2015
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,377
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    . .
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,377
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    . .
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,377
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    [​IMG]
    ใกล้ตาย จึงนึกถึงพระ
    มีทุกข์มาถึง จึงนึกถึงพระศาสนา


    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

    บรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อไม่มีทุกข์มาถึงตัว มักไม่เห็นคุณพระศาสนา
    มัวเมาประมาท ปล่อยกายปล่อยใจ ให้ประพฤติทุจริตผิดศีลธรรมอยู่เป็นประจำนิสัย
    เห็นผิดเป็นถูก เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ต่อเมื่อได้รับทุกข์เข้า ที่พึ่งอื่นไม่มีนั่นแหละ
    จึงได้คิดถึงพระ คิดถึงศาสนา แต่ก็เป็นเวลาที่สายไปแล้ว

    ทำความดีให้เป็นที่อยู่ของจิต

    ความดีนั้นเราต้องทำอยู่เสมอให้เป็นที่อยู่ของจิต เป็นอารมณ์ของจิต ให้เป็นมรรค
    คือ ทางดำเนินไปของจิต มันจึงจะเห็นผลของความดี
    ไม่ใช่เวลาใกล้จะตาย จึงนิมนต์พระไปให้ศีล ให้ไปบอกพุทโธ หรือตายไปแล้วให้ไปรับศีล
    เช่นนี้เป็นการกระทำที่ผิดทั้งหมด
    เหตุว่าคนเจ็บ จิตมัวติดอยู่กับเวทนา ไฉนจะมาสนใจไยดีกับศีลได้
    เว้นไว้แต่ผู้ที่รักษาศีลมาเป็นปกติเท่านั้น จึงจะระลึกได้
    เพราะตนเองเคยทำมาจนเป็นอารมณ์ของจิตแล้ว แต่ส่วนมากใกล้ตายแล้วจึงเตือนให้รักษาศีล
    ส่วนคนตายแล้วไม่ต้องพูดถึง เพราะคนตายนั้นร่างกายจิตใจจะไม่รับรู้ใดๆ แล้ว
    แต่ก็ดีไปอย่างเหมือนพระเทวทัต ทำกรรมจนถูกแผ่นดินสูบ
    เมื่อลงไปถึงคางจึงระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ขอถวายคางเป็นพุทธบูชา
    พระเทวทัตยังมีสติระลึกถึงได้ จึงมีผลดีในภายภาคหน้า

    ความดีเราทำเองดีกว่า

    แม้เปรตตนนั้นก็เหมือนกัน ตายไปแล้วจึงมาขอส่วนบุญ
    เมื่อยังมีชีวิตอยู่ทำอันตรายแม้พระพุทธรูป แผ่เมตตาให้ไปได้รับหรือไม่ก็ไม่รู้
    สู้เราทำเองไม่ได้ เราทำของเรา ได้มากน้อยเท่าไรก็มีความปิติ อิ่มเอิบใจเท่านั้น
    ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ กายก็เป็นเหตุอันหนึ่ง วาจาก็เป็นเหตุอันหนึ่ง
    ใจก็เป็นเหตุอันหนึ่ง ทางของบุญหรือบาปเหล่านี้มีอยู่ในตัวของเราเอง ไม่ได้อยู่ที่ไหน
    เราทำเอง สร้างเอง อย่ามัวมั่วอดีต เป็นอนาคต มีแต่ปัจจุบันเท่านั้นที่เป็น "ธรรมดา"

    ความดีต้องทำในปัจจุบัน

    สิ่งใดที่มันล่วงมาแล้ว เลยมาแล้ว เราไม่สามารถไปตัด ไปปลงมันได้อีกแล้ว
    สิ่งที่เราทำไปนั้น ถ้ามันดีมัน ก็ดีไปแล้ว ผ่านไปแล้ว พ้นไปแล้ว
    ถ้ามันชั่วมันก็ชั่วไปแล้ว ผ่านไปแล้ว เช่นกัน
    อนาคตยังมาไม่ถึง สิ่งที่ยังไม่มาถึง เราก็ยังไม่รู้เห็นว่ามันจะเป็นอย่างไร
    อย่างมากก็เป็นแต่เพียงการคาดคะเนเอาเอง ว่าควรเป็นยังงั้น เป็นยังงี้
    ซึ่งมันอาจจะเป็น ไม่เป็นไปอย่างที่เราคาดคะเนก็ได้
    ปัจจุบัน คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เราได้เห็นจริง ได้สัมผัสจริง
    เพราะฉะนั้นความดีต้องทำในปัจจุบัน ทานก็ดี ศีลก็ดี ภาวนาก็ดี
    ต้องทำเสียในปัจจุบันที่เรายังมีชีวิตอยู่

    เราต้องการความดี ก็ต้องทำให้เป็นความดีในปัจจุบันนี้
    ต้องการความสุข ต้องการความเจริญ ก็ต้องทำให้เป็นไปในปัจจุบันนี้.....

    ที่มา...ธรรมจักร
    คัดลอกจาก... Home Main Page
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • BudhaandJewel.jpg
      BudhaandJewel.jpg
      ขนาดไฟล์:
      181.2 KB
      เปิดดู:
      730
    • LpVan.jpg
      LpVan.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.9 KB
      เปิดดู:
      51
  18. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ‪#‎พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก‬ ตอนที่ 29
    พบพระอาจารย์ฤาษี นามว่า อ า ฬ า ร ด า บ ส
    หลังจากตอนที่ 28 ออกจากวัง เสด็จออกผนวชฯ
    ๐๐ ขออนุญาตคัดต่อจากที่อื่นนำมาให้อ่านกัน
    (อย่างน้อยที่สุด ก็ทำให้พวกเราได้ระลึกนึกถึงพระพุทธองค์)
    หลังจากทรงผนวชแล้ว จึงทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ
    เพื่อค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร
    เมื่อเรียนจบทั้งสองสำนัก (บรรลุฌาณ๘)
    ก็ทรงเห็นว่า ไม่ใช่ ทางพ้นทุกข์ ตามที่มุ่งหวังไว้
    ๐ จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันนี้สถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ) เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร หลังจากทดลองมา 6 ปี ก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาบำรุงพระวรกายโดยปกติตามพระราชดำริว่า "เหมือนสายพิณควรจะขึงพอดีจึงจะได้เสียงที่ไพเราะ" ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่า เป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้
    ๐ ระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ (โกญฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ) มาคอยปรนนิบัติพระองค์โดยหวังว่าจะทรงบรรลุธรรมวิเศษ เมื่อพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์จึงหมดศรัทธา พากันไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี (ต.สารนาถ)
    ๐ ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส(หุงด้วยนม) ใต้ต้นไทร เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า ...
    “ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ” ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป ๑ เส้น แล้วก็จมลงตรงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า โดยหาความสงสัยมิได้
    ๐ ในเวลาเย็นโสตถิยะให้ถวายหญ้าคา 8 กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (ปัจจุบันคือ ต.พุทธคยา ประเทศอินเดีย)
    - ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
    - ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้วใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง คือ
    1.) เวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้
    2.) เวลามัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ(ทิพยจักษุญาณ)คือรู้เรื่องเกิด-ตายของสัตว์ทั้งหลายว่า เป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้
    3.) เวลาปัจฉิมยาม ทรงได้ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ4
    - อาสวักขยญาณ ที่ทรงได้ทำให้ทรงพิจารณาถึงขันธ์ 5 และใช่แห่งความเป็นเหตุที่ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นต้นทางให้เขาถึงอริยสัจ 4
    - เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแล้ว จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก ตอนที่ 29
    ออกอากาศเมื่อ 13 มิถุนายน 2558
    youtube.com
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,377
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    [​IMG]
    "การขุดเพชรในพระไตรปิฎก"

    "การขุดเพชรในพระไตรปิฎก" นั้นมีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนาส่วนที่
    ยังเป็นหมันอยู่ในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะกาลามสูตร, หรือส่วนที่
    ยังไม่ได้กระเทาะเปลือก; และเป็นวิธีการที่เตรียมเสมอพระพุทธศาสนา
    ในลักษณะที่มนุษย์แห่งยุคอวกาศ หรือยุคปรมาณูจะยอมรับไหว"

    "สวรรค์ที่มีได้ในทุกอิริยาบถ เป็นสิ่งที่มองข้ามกันไปเสีย
    หรือถึงกับยังไม่มีใครมองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีได้จริง ยิ่งกว่าจริง!
    ที่นี่และเดี๋ยวนี้ก่อนการตายเป็นไหนๆ และไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มเติม
    มากไปกว่าที่กำลังลงทุน หรือกระทำกันอยู่แล้ว,
    แต่ไม่รู้จักทำมันให้เป็นสวรรค์ขึ้นมา เพราะขาดสติสัมปชัญญะ และ
    ความรู้อันแท้จริงว่าหน้าที่การงานทุกอย่างนั้นแหละคือธรรมะ
    หรือพระเจ้าที่จะช่วยให้รอดได้อย่างแท้จริง"

    ปรับความเข้าใจ ที่ผิดๆ เกี่ยวกับพุทธศาสนา
    เช่น ผู้ปฏิบัติธรรม คือผู้ที่ทิ้งบ้านเรือนหนึเข้าป่า,
    พุทธศาสนามีไว้สำหรับคนเบื่อโลก,
    หลักกรรม ทำดี-ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    ทำบุญไปสวรรค์ ทำบาปไปนรก
    เป็นหลักของพุทธศาสนา .. เป็นต้น

    พุทธศาสนามุ่งหมายอะไร ความมุ่งหมายของพุทธศาสนานั้น
    มักถูกคนส่วนใหญ่เข้าใจไปเสียว่า มุ่งหมายจะนำคนไปเมืองสวรรค์
    คนทั้งหลายมุ่งกันแต่จะเอาสวรรค์
    ซึ่งเป็นแดนที่ตนจะได้เสพย์กามารมณ์ตามปรารถนา
    นี่เป็นอุปสรรคอันสำคัญ ที่ทำให้คนเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพุทธศาสนาไม่ได้
    เพราะไปมุ่งเอาตัณหาอุปาทาน กันเสียหมด.

    ไกวัลยธรรม (ฉบับย่อ) ซึ่งท่านภิกขุ ฉ.ช. วิมมุตตยานันทะ
    ใช้เวลานานถึง ๒๘ เดือน ย่อความธรรมบรรยาย ทั้ง ๑๓ ตอน
    ของท่านพุทธทาส เพื่อให้เราท่านอ่านได้รวดเร็วขึ้น

    จุดมุ่งหมายของการบรรยายเรื่อง "ไกวัลยธรรม"
    ...เป็นการทำความเข้าใจ และสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้เกิดขึ้น ในระหว่างชาติ
    และศาสนา โดยความหมายที่ทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน ยิ่งกว่านั้นยังทำให้
    มองไกลไปถึงกับว่า สัตว์ พืช และ สิ่งที่ไม่มีชีวิต ก็เป็นธรรมชาติอย่างเดียวกัน
    จะเป็นการทำให้รักสิ่งที่มีชีวิต หรือรักสิ่งทั้งปวงเหมือนกันหมด ...

    ชาตินี้ ชาติหน้า ในแง่มุมที่ท่านยังไม่รู้จัก
    ชาติหน้า ที่ท่านไปถึงได้ โดยไม่ต้องตายเข้าโลง ไปเสียก่อน
    เรื่องสำคัญที่สุด ที่ท่านจะต้องรู้จักเพื่อหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

    พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ และมีกฏธรรมชาติเป็นพระเจ้า อย่างมิใช่บุคคล
    เป็นกฏที่สามารถแทรกซึม อยู่ในทุกๆ ปรมาณู ของทุกสิ่งที่ประกอบกันขึ้น
    เป็นจักรวาล และบังคับสิ่งนั้นๆ ให้เป็นไปตามกฏ.

    ก ข ก กา ของพุทธศาสนาที่แท้จริง มิได้ตั้งต้นที่พระรัตนตรัย
    แต่ตั้งต้นการศึกษาที่ การกระทบ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ว่าได้ก่อให้เกิด วิญญาณ - ผัสสะ - เวทนา อย่างไร
    จนกระทั่ง เกิดตัณหา อุปาทาน แล้วเกิดทุกข์ ควบคุมการเกิดเหล่านี้ได้แล้ว
    ก็จะมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขึ้นมาเอง

    นรก-สวรรค์ ตามหลักของพระพุทธเจ้า เป็นสันทิฏฐิโก ที่สัมผัสกันได้ที่นี่ เดี๋ยวนี้
    ซึ่งดีกว่า จริงกว่า ชนิดที่คิดว่า จะมีกันต่อเมื่อตายแล้ว
    ขอให้รู้จักกันไว้ให้ดี จะได้เป็นพุทธบริษัทสมชื่อ.

    การใช้ หลักกาลามสูตร ๑๐ หรือ หลักความเชื่อ ๑๐ ให้ถูกต้องครบถ้วน
    เป็นหลักการและวิธีการอันแน่นอน ในการที่จะรักษาพุทธศาสนาเอาไว้ได้
    และในลักษณะที่จะเป็นที่พึ่งได้ อย่างแท้จริง
    และเป็นการสืบอายุพุทธศาสนา ที่ตรงตามพุทธประสงค์

    ระบบการใช้ ภาษาคน-ภาษาธรรม เป็นสิ่งจำเป็นต้องมีอย่างแน่นอน
    เพื่อใช้ในการศึกษา และสั่งสอนพุทธศาสนา เพราะธรรมะทั้งหมด
    มีที่ตรัสไว้ ทั้งโดยภาษาธรรมของคนธรรมดา (ปุคคลาธิษฐาน) และ
    ภาษาธรรมของคนที่เห็นธรรมะแล้ว (ธรรมาธิษฐาน)
    ดังนั้น จึงต้องสังเกตให้ดีๆ ทั้งในการศึกษา การสั่งสอน การสนทนา
    มิฉะนั้น จะเกิดอาการเวียนหัว

    การเห็นแก่ตัว คือ จุดศูนย์กลาง ของความไม่มีศีลธรรม และปรมัตถธรรม
    จึงทำบาป อกุศลได้อย่างมั่นใจ ว่าถูกต้อง และเป็นธรรม ทุกประการแล้ว,
    ดังนั้น ศาสนาทุกศาสนา จึงมุ่งหมายสอน การทำลายความเห็นแก่ตัวก่อน
    ถ้ามิฉะนั้น ก็มิใช่ศาสนา.

    มรดกที่ ๑๔๑ ขอให้ตั้งต้นการศึกษาธรรมะด้วยการรู้จัก นิวรณ์
    และภาวะที่ไม่มีนิวรณ์ อันเป็นสิ่งที่มีอยู่ ในชีวิตประจำวัน ด้วยกันทุกวัน และทุกคน
    นี้จะเป็นการง่ายเข้า ในการที่จะรู้จัก กิเลส อย่างชัดเจน
    และปรารถนา ชีวิตที่ไม่มีกิเลส หรือคุณค่าของพระนิพพาน ได้ง่ายเข้า



    สารบาญ หลักธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    หลวงปู่มั่น..แนะนำศิษย์ที่เป็นไข้ป่าในการพิจารณาทุกขเวทนา








    แนะนำศิษย์ที่เป็นไข้ป่าในการพิจารณาทุกขเวทนา


    กลางวันวันหนึ่ง มีพระเป็นไข้มาลาเรียในวัดนั้น
    วันนั้นปรากฏว่าไข้เริ่มหนักแต่เช้า เจ้าตัวก็ไม่ไปบิณฑบาตและไม่ฉันจังหันด้วย
    พระที่ป่วยต่อสู้กับทุกขเวทนาด้วยการพิจารณาแต่เช้าจนบ่าย ๓ โมงไข้จึงสร่าง
    ตอนกลางวันที่ท่านกำลังพิจารณาอยู่ ปรากฏว่ากำลังเรี่ยวแรงอ่อนเพลียมาก
    ท่านเลยเพ่งจิตให้อยู่กับจุดใดจุดหนึ่งของทุกขเวทนาที่กำลังกำเริบหนัก
    โดยไม่คิดทดสอบแยกแยะเวทนาด้วยปัญญาแต่อย่างใด
    พอดีเวลานั้นเป็นเวลาที่ท่านอาจารย์ท่านพิจารณาดูพระองค์นั้น
    กำลังปฏิบัติอยู่อย่างชัดเจน แล้วย้อนจิตกลับมาตามเดิม

    พอบ่าย ๔ โมง ท่านที่ป่วยมาหาท่านอาจารย์พอดี
    ท่านก็ตั้งปัญหาถามขึ้นทันที โดยพระนั้นไม่ทราบสาเหตุบ้างเลยว่า


    ทำไมท่านจึงพิจารณาอย่างนั้นเล่า?
    การเพ่งจิตจ้องอยู่ไม่ใช้ปัญญาพิจารณาแยกแยะ กาย เวทนา จิต ให้รู้เรื่องของกันและกัน
    ท่านจะทราบความจริงของกาย ของเวทนา ของจิตได้อย่างไร
    แบบท่านเพ่งจ้องอยู่นั้นมันเป็นแบบฤๅษี แบบหมากัดกัน
    ไม่ใช่แบบพระผู้ต้องการทราบความจริงในธรรมทั้งหลาย มีเวทนาเป็นต้น ต่อไปอย่าทำอย่างนั้น
    มันผิดทางที่จะให้รู้ให้เห็นความจริงทั้งหลายที่มีอยู่ในกาย ในเวทนา ในจิต

    ตอนกลางวันผมได้พิจารณาดูท่านแล้วว่า ท่านจะปฏิบัติอย่างไรบ้าง
    กับทุกขเวทนาที่กำลังแสดงอยู่ในเวลาเป็นไข้
    พอดีไปเห็นท่านกำลังเพ่งจิตจ่ออยู่กับเวทนาเฉย ๆ ไม่ใช้สติปัญญาคลี่คลายดูกาย ดูเวทนา ดูจิตบ้างเลย
    พอเป็นทางให้สงบและถอดถอนทุกขเวทนาในเวลานั้น เพื่อไข้จะได้สงบลงดังนี้


    ประวัติ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ตอนที่ ๑๐
    โดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    แห่งวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.6 KB
      เปิดดู:
      70

แชร์หน้านี้

Loading...