จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    ยังสอนอยู่หรือเปล่าคะ?
    ****************************************

    บุญทรงพระเครื่อง

    สวัสดีครับ อาซือเจ๊ ต้อย เมื่อวาน ผมได้รับเงิน เข้าบัญชีผมแล้วครับ ๕,๒๑๒บาท ไม่ทราบว่า คืออย่างนี้ ในส่วนเงิน ๒ พันบาท ผมจะนำไว้ หล่อพระ ๒ องค์คือสมเด็จองค์ปฐม กับ องค์ปัจจุบัน ร่วมองค์ละพันบาท และร่วม ที่ผม เป็นเจ้าภาพเลี้ยง ไอศครีม ๑ ถัง ๑๕ โล ราคา ๑,๕๐๐ บาทในงานกฐิน วัดบ้านกล้วย เลี้ยงพระ และ ชาวบ้าน และชาวไทยกระเหรี่ยง ๕๐๐ กับเพิ่ม กฐินอีก ๕๐๐ เป็นอีก ๑,๐๐๐ บาท รวมเป็น ๓ พันบาท เหลืออีก ๒,๒๑๒ บาท ผมจะ นำไปทอดกฐิน ตามวัด ต่างๆ อีกหลายวัด เพื่อเอาอานิสงฆ์กฐิน แล้วผมจะเห็นสมควร ไม่ทราบว่า อาซือเจ๊ เห็นสมควรด้วยหรือไม่ โปรดแจ้ง ทางพีเอ็มด้วยครับ ขออนุโมทนาสาธุ บุญทุกๆบุญ ของอาซือเจ๊ด้วยครับ


    ขอ พระบารมี คุณ พระรัตตรัย มีสมเด็นองค์ปฐม พระพุทะเจ้าทุกพระองค์ ถึง องค์พระปัจจุบัน พระปัจเจกะพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ในอดีด ถึงปัจจุบัน พรหม เทวดา พระโพธิสัตวืเจ้าทั้งหลาย หลวงปู่ หลวงพ่อทุกๆพระ องค์ จงดลบรรดาล ให้ คณะ อาซือเจ๊ และท่านที่ โมทนาสาธุ ทุกๆท่าน จงมีความสุข ทั้งทางโลกและทางธรรม สมควรแก่ ธรรม และจงพ้น ทุกข์ ทุกๆท่านเทอญ สาธุ ครับ
    ***********************************

    อนุโมทนาบุญกันนะคะ รวมทั้งสังฆทานด้วยค่ะ คุณน้อง บุญทรงพระเครื่อง จัดให้ที่วัดท่าซุงด้วยค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ตุลาคม 2015
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    ข่าวร้าย-ข่าวดี ไม่มีใครที่นี่ใส่รองเท้าเลย
    ข่าวร้าย-ข่าวดี ไม่มีใครที่นี่ใส่รองเท้าเลยนิทานเรื่องสั้นสอนใจ ที่ให้คุณได้เห็นมุมมองในเรื่องของความคิดของคน ที่แตกต่างกันซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เราจะรับรู้อย่างไร ชีวิตมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ในทุกๆเรื่อง

    มีบริษัทผลิตรองเท้าบริษัทหนึ่ง ประสบความสำเร็จมาก วันหนึ่งฝ่ายบริหารประชุมกันและพิจารณาที่จะเปิดตลาดในทวีปแอฟริกา จึงส่งพนักงานขายอันดับ 1ไปยังแอฟริกาเพื่อทำการศึกษาศักยภาพของตลาด เมื่อไปถึงแอฟริกา เซลล์แมนสังเกตว่าชาวแอฟริกัน ส่วนมากเดินด้วยเท้าเปล่า เขาก้อเลยส่งข่าวกลับไปด้วยข้อความที่ว่า “ข่าวร้าย ที่นี่ไม่มีใครสวมรองเท้าเลย” และก็ส่งรายงานตามไปอีกว่า ไม่มีตลาดรองเท้าในทวีปแอฟริกานี้

    ฝ่ายบริหารก็พิจารณาว่า ควรจะหาข้อมูลเป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้แน่ใจ จึงตัดสินใจที่จะส่งเซลล์แมนอีกคนหนึ่งไปเพื่อประเมินตลาดแห่งนี้ พนักงานขายคนที่ 2 เมื่อไปถึงแอฟริกาก็มีความตื่นเต้นมาก และส่งข่าวกลับมาทันทีด้วยข้อความว่า “ข่าวดี ไม่มีใครที่นี่ใส่รองเท้าเลย” เขารีบเดินทางกลับและรายงานแก่ฝ่ายบริหารว่า “สุภาพบุรุษทั้งหลาย เรากำลังจะรวย เพราะมีตลาดใหญ่มากในแอฟริกา และสิ่งสำคัญที่เราต้องทำคือ ให้การศึกษาแก่ชาวแอฟริกันว่าประโยชน์และความสำคัญของการใส่รองเท้าคืออะไร”

    ชีวิต ก็คือ เราจะรับรู้อย่างไร มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ในทุกๆเรื่องทุกๆเหตุการณ์ท่านสามารถที่จะมองว่า “แก้วใบหนึ่งเต็มอยู่ครึ่งหนึ่ง หรือ ว่างเปล่าอีกครึ่งหนึ่ง” ท่านสามารถที่จะมองเห็น รูโดนัท หรือตัวโดนัทเอง ทางเลือกอยู่ที่ตัวท่านเอง หรือท่านเพียงผู้เดียวที่จะตัดสินใจได้ แต่จำไว้ว่า ทางเลือกที่ท่านเลือกจะเป็นตัวกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของท่านเอง


    ขอบคุณที่มา http://www.tumsrivichai.com/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%88/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%A2
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    [​IMG]
    ศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน (ว.วชิรเมธี)
    ที่อยู่ : ศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน ต.ห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย
    เว็บไซต์ : http://www.dhammatoday.com/
    Email : dhammatoday@gmail.com



    ติดต่อ:

    ศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน (ว.วชิรเมธี)
    เว็บไซต์ : http://www.dhammatoday.com/
    Email : dhammatoday@gmail.com
    สถานที่ตั้ง:

    ศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน ต.ห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย
    See more at: (ข้อมูล) ศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน (ว.วชิรเมธี) ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว | สะดุดตาดอทคอม เว็�
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    #อานิสงส์การเจริญพระกรรมฐาน โดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง)

    ผู้ถาม:- "คำว่า สมถกรรมฐาน กับ วิปัสสนากรรมฐาน มีความหมายแตกต่างกันอย่างไรครับ?"

    หลวงพ่อ:- "สมถะนี่เป็นจุดเริ่มต้นทำจิตให้เป็นสมาธิ ท่านมีความหมายว่าทำจิตให้สงบจากนิวรณ์ ๕ สำหรับวิปัสสนาเป็นการใช้ปัญญา พิจารณาร่างกาย เพื่อตัดกิเลส มันต่างกันตรงนี้

    การทำจิตให้เป็นสมาธิ ก็เพื่อไม่ให้จิตวุ่นวาย เมื่อจิตไม่วุ่นวายแล้ว ก็ใช้ปัญญาพิจารณา คือยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง เกิดมาแล้วมันก็ต้องแก่ เมื่อทรงชีวิตอยู่มันก็ป่วยไข้ไม่สบาย มีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เมื่อมีชีวิตอยู่ต้องมีการนินทาสรรเสริญ กระทบกระทั่ง และในที่สุดเราก็ตาย นี่เป็นของธรรมดา ถ้าอาการอย่างนี้มันเกิดขึ้นกับเรา เราจะไม่หวั่นไหวในอารมณ์ ถือว่ามันเป็นธรรมดาของการเกิด"

    ผู้ถาม:- "สมถะนี่ตัดกิเลสได้ไหมครับ…?"

    หลวงพ่อ:- "ยังตัดกิเลสไม่ได้ แต่ว่าระงับได้"

    ผู้ถาม:- "มันแตกต่างกันอย่างไรครับ…?"

    หลวงพ่อ:- "คำว่า ระงับ ก็เปรียบเหมือนกับเรามีสัตว์ร้ายอยู่ตัวหนึ่ง ถ้ามันจะกัดเรา วิธีระงับ ก็คือจับมันมัดหรือกดมันไว้ไม่ให้ทำร้าย ส่วนคำว่า ตัด หรือวิปัสสนาญาณนั้น ก็หมายถึงฆ่าสัตว์ร้ายนั้นไม่ให้มีฤทธิ์ต่อไป เข้าใจไหม…?"

    ผู้ถาม:- "ครับ ทีนี้กระผมได้ยินมาจากคุยกันกับพวกนักปฏิบัติ นักสมถะบอกว่า สมถะก็ตัดกิเลสได้ ปัญญาไม่เกี่ยว ส่วนพวกเจริญวิปัสสนาญาณนั้นบอกว่า วิปัสสนาญาณเป็นส่วนที่ตัดกิเลสได้ สมถะไม่เกี่ยว ไม่จำเป็นจะต้องเจริญสมถะก็ได้ เลยไม่รู้ว่าความเห็นของฝ่ายไหนที่ถูก"

    หลวงพ่อ:- "ก็เป็นไปตามความเห็นของเขา อาตมาเคยคุยมาหลายราย มีอยู่รายหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รถไฟ ท่านบอกว่า สมัยก่อนผมเจริญสมถะจนกระทั่งมีจิตสงบมาก แต่มาตอนหลัง เห็นว่าไม่เป็นการตัดกิเลสได้ เลยเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว
    ก็เลยบอกกับท่านว่า ถึงแม้จะเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว ก็ต้องมีสมถะร่วมด้วย คือ อันดับแรก จะต้องมีจิตเรียบร้อยในด้านศีล และประการที่สอง เวลาที่ใชัปัญญาพิจารณาเพื่อการตัดกิเลสนี่นะ เวลานั้นอารมณ์อื่นไม่เข้ามารบกวน ไอ้ตัวที่อารมณ์ไม่เข้ามารบกวน หรือไอ้ตัวที่สงบจากอารมณ์อื่น มันเป็นสมถะหรือท่านเรียกว่าสมาธิ ซึ่งมันมีอยู่ในตัวอยู่แล้ว ท่านจึงเข้าใจ"

    ผู้ถาม:- "ก็เป็นอันว่า ทั้งสองอย่าง จะต้องร่วมกันแยกกันไม่ได้ใช่ไหมครับ…?"

    หลวงพ่อ:- "ใช่ ถ้าจะเจริญวิปัสสนาญาณอย่างเดียว แต่ขาดสมถะก็ไปไม่รอด ท่านเปรียบไว้แบบนี้นะว่า สมถะนี่ก็เหมือนกับคนที่เพาะกำลังกายให้แข็งแรง ส่วนวิปัสสนาญาณก็เหมือนกับอาวุธที่คมกล้า ถ้าคนไม่มีแรงหยิบอาวุธ จะฆ่าข้าศึกได้ไหม…?"

    ผู้ถาม:- "ไม่ได้แน่ๆ ครับ"

    หลวงพ่อ:- "เพราะฉะนั้น ทั้งสมถะและวิปัสสนา ๒ อย่างนี้จะต้องคู่กัน นี่เป็นแบบของพระพุทธเจ้านะ"

    ผู้ถาม:- "การเจริญสมถะก็ดี เจริญวิปัสสนาญาณก็ดี จะต้องปฏิบัติในเรื่องศีลไหมครับ…?"

    หลวงพ่อ:- "คือ การทำสมถะหรือสมาธิก็ดี วิปัสสนาก็ดี ทั้งหมดนี้จะต้องประกอบด้วยเหตุ ๓ ประการร่วมกัน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ จิตก็ไม่เป็นสมาธิ ถ้าศีลบริสุทธิ์แล้ว จิตจึงเกิดสมาธิ เมื่อจิตสงบจากอารมณ์ต่าง ๆ ปัญญามันจึงจะเกิด มันต้องร่วมกัน ๓ อย่าง"

    ผู้ถาม:- "หลวงพ่อครับ การนั่งวิปัสสนากรรมฐาน บางคนก็ว่า พุทโธ บางคนก็ สัมมาอรหัง บางคนก็ว่า เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ฯลฯ จะเอา อย่างไหนเป็นที่แน่นอนครับ… ?"

    หลวงพ่อ:- "แน่นอนทุกอันน่ะโยม ใช้ได้หมด ไม่ผิดหรอก ยังมีมากกว่านี้ สุดแล้วแต่เขาจะใช้เพื่อความเหมาะสม"

    ผู้ถาม:- "บางคนก็บอกว่า ภาวนาแบบนี้ถูก แบบนั้นไม่ถูก"

    หลวงพ่อ:- "การศึกษาพระกรรมฐาน ถ้าศึกษาไม่ครบ ๔๐ อย่าง พอเขาทำไม่เหมือนกับตัว ก็หาว่าเขาผิด มันก็ใช้อะไรไม่ได้เลย จะต้องศึกษา ถ้าอย่างเป็นลูกศิษย์ก็ไม่เป็นไร ทีนี้อย่างพวกครูซิ ถ้าครูศึกษาไม่ครบ ๔๐ อย่าง ก็นั่งเถียงกันอยู่นั่นแหละ ถ้าศึกษาครบ ๔๐ อย่าง ก็ไม่มีอะไรจะเถียงกัน
    คำภาวนานี่มันไม่แน่นอน เอาอะไรก็ได้ มันสำคัญที่อารมณ์ตั้งใจ จะใช้อะไรก็ได้

    อย่างพุทธานุสสติ มีคำภาวนาตั้งเยอะแยะ อิติปิโส บทต้นทั้งหมดนั่นแหละ ว่าไป ไม่ใช่ใช้คำว่าพุทโธอย่างเดียว อะไรที่ปรารภพระพุทธเจ้าใช้ได้เลย

    อย่างธัมมานุสสติ ไม่ใช่ภาวนาธัมโมอย่างเดียว อะไรที่ปรารภพระธรรมก็ใช้ได้
    และอย่างสังฆานุสสติ ก็ไม่ใช่ภาวนาว่าสังโฆอย่างเดียว

    นี่มันต้องเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจ แกภาวนาไม่เหมือนข้า ของแกสู้ข้าไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปไหนกันละ มันเป็นมานะ มานะตัวเลวเสียด้วย ไอ้มานะกิเลสตัวเลวนี่ มันดึง ไปไหนไม่ได้เลย

    ในอุทุมพริกสูตร คนที่เจริญพระกรรมฐาน ทำจิตเพื่อละกิเลส พระพุทธเจ้าให้ทำจิตเบื้องต้นอย่างไร? จิตเบื้องต้น ท่านวางกฎไว้ประมาณ ๖๐ ข้อ ถ้าเราพิจารณากันจริง ๆ ก็มีอยู่ ๒ จุด

    ๑.จงอย่าสนใจในจริยาของคนอื่น เขาจะดีเขาจะเลวเป็นเรื่องของเขา ดูว่าเราทำถูกไหม
    ๒.อย่าทำเพื่ออวดเขา

    เท่านี้เอง สรุปได้แล้ว ๒ อย่าง แต่ท่านเรียงไว้ประมาณ ๖๐ กว่า ถ้าเราทำอารมณ์ได้เพียง ๒ อย่างเท่านี้ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า มันเป็นสะเก็ดความดี ของที่ท่านสอนเท่านั้นเอง

    ทีนี้ถ้ายังนึกว่า เขาสู้เราไม่ได้ เราสู้เขาไม่ได้ ก็เลยไม่ถึงสะเก็ด อันนี้เป็นเรื่องจริง ๆ ท่านวางไว้ตามเกณฑ์ เราอย่าคิดว่าไอ้วัดนั้นสู้เราไม่ได้ วัดเราสู้วัดเขาไม่ได้ เอาอะไรไปเป็นเครื่องวัด ถ้าอารมณ์ยังมีอย่างนี้อยู่ แสดงว่าจิตเลวมาก ถ้าจิตมันเลว จะดีอย่างไร

    การปฏิบัติ อย่าชูงวงเข้าบ้าน คือ อย่าโอ้อวดเขา อย่านั่งให้เขาเห็น การทำสมาธิเพื่ออวดคน นั่งปั๊ปตรงนี้ คนเดินผ่านไปผ่านมามันจะได้เห็น นี่เป็นอุปกิเลส ไม่ได้อะไรเลย แทนที่จะได้นั่งไล่กิเลสได้ กลับนั่งดึงกิเลสเข้ามา ไอ้ตัวอวดน่ะมันเป็นกิเลส นี่อันนี้ท่านห้าม

    ถ้าหากรักษาความดีขนาดนี้ ถือว่าสะเก็ดความดี ที่ท่านสอน

    ส่วนเปลือก ท่านตรัสไว้ในยาม ๔
    ๑.ท่านเทียบกับ ศีล ๕ คือ
    -เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
    -ไม่ยุยงบุคคลอื่นให้ทำลายศีล
    -ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว
    ๒.เราจะต้องเป็นผู้ไม่ตกเป็นทาสของนิวรณ์ ๕ คือ
    -ไม่หลงรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ
    -ไม่มีอารมณ์ความโกรธ ความพยาบาท ในขณะปฏิบัติ
    -ไม่ยอมให้จิตฟุ้งซ่านและรำคาญเสียงภายนอก
    -ไม่ง่วงเหงาหาวนอนในขณะปฏิบัติ
    -จะไม่สงสัยในผลการปฏิบัติ
    ๓.จิตจะต้องแผ่เมตตา คือ มีความรักไปในจักรวาลทั้งปวง
    -ถือว่าคนก็ดี สัตว์ก็ดี ทั้งโลก ไม่มีใครเป็นศัตรูกับเรา เขาจะประกาศเป็นศัตรูน่ะเรื่องของเขา แต่เราจะไม่เป็นศัตรูกับเขา
    -เราจะไม่อิจฉาริษยาใคร เห็นคนอื่นได้ดี พลอยยินดีกับเขาด้วย ทำดีตามเขา
    -ถ้าเหตุใดมันเกิดขึ้นกับเรา ถ้าเหตุเกินวิสัยที่เราจะช่วยได้ กับเราก็ดี กับบุคคลอื่นก็ดี เราจะวางเฉย ไม่ทำให้จิตขึ้นลง

    ถ้าทำได้ครบถ้วนแบบนี้ แสดงว่า เราเข้าถึงเปลือกความดี ที่ท่านสอน

    แค่นี้ก็เป็นการทรงฌาณอย่างเต็มที่แล้ว คือว่าละนิวรณ์ ๕ นิวรณ์ ๕ นี่เป็นศัตรูกับปฐมฌาณ แล้วก็ตัวท้าย ก็คือ พรหมวิหาร ๔ ตัวนี้เป็นตัวเลี้ยงทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา เลยนะ มีความสำคัญมาก อารมณ์ตอนนี้ก็เป็นอารมณ์ทรงฌาณปกติ ถ้าทำได้แบบนี้นะ

    ต่อไปถ้าทำอย่างนี้แล้ว สามารถทำปุพเพนิวาสานุสสติญาณให้เกิดขึ้น คือระลึกชาติได้ ตอนนี้ละเข้าถึงกระพี้ความดี ที่ท่านสอน

    และหลังจากนั้น สามารถทำทิพพจักขุญาณ คือ จุตูปปาตญาณให้เกิดขึ้น พอเห็นหน้าคนปั๊ป ก็รู้ทันทีว่าคนนี้ก่อนเกิดมาจากไหน ได้ยินชื่อคนตายปั๊บ เรารู้ได้ทันทีว่าตายแล้วไปไหน อันนี้ เข้าถึงแก่นความดี ที่พระพุทธเจ้าต้องการ

    ถ้าทำได้ถึงขนาดนี้ จนจิตคล่องดีแล้ว ถ้าฝึกวิปัสสนาญาณ ถ้าบารมีแก่กล้า คือ มีกำลังเข้มข้น ก็จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ วัน ถ้ามีกำลังจิตปานกลาง จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ เดือน ถ้าขี้เกียจที่สุด เป็นอรหันต์ภายใน ๗ ปี"

    ผู้ถาม:- "ที่เขาว่า สวรรค์ในอก นรกในใจ เล่าครับ?"

    หลวงพ่อ:- "อันนี้เป็นคำพังเพย นรกจริงๆ มี สวรรค์ในอก นรกในใจ ใช้ได้ แต่ว่ามันยังไกลเกินไปนะ พูดแบบนั้นก็พูดแบบคนไม่เคยเห็นสวรรค์ ไม่เห็นนรก ก็ว่ากันไป แต่ว่าหลักสูตรในพระพุทธศาสนาเขามีนี่คุณ พระพุทธเจ้าทรงวางหลักสูตรไว้ให้หมดนะ เราจะไปสวรรค์ไปนรกได้ เราจะต้องปฏิบัติตัวแบบไหน เราจะไปนิพพาน เราจะปฏิบัติตัวแบบไหน อันนี้ในพระพุทธศาสนามีหลักสูตรสอนไว้โดยเฉพาะเลยคุณ ฉะนั้นจึงถือว่าเป็นหลักสูตรพิเศษ"

    ผู้ถาม:- "หลักสูตรที่หลวงพ่อว่า มีอะไรบ้างครับ?"

    หลวงพ่อ:- "หลักสูตรในพระพุทธศาสนามี ๔ อย่าง คือ
    ๑.สุกขวิปัสสโก
    ๒.เตวิชโช
    ๓.ฉฬภิญโญ
    ๔.ปฏิสัมภิทัปปัตโต

    ทีนี้โดยมากที่พวกคุณฟังกันมานี่ พวกนี้เขาไม่ได้ปฏิบัติ แม้ถึงขั้นสุกขวิปัสสโก คนที่เขียนตำราก็เขียนส่งเดช สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ อันนี้ตีความหมายว่า ถ้าใจเป็นสุขก็เป็นสวรรค์ ถ้าใจเป็นทุกข์ก็เป็นนรก อันนี้มันก็ได้หรอก แต่มันไม่ถูกกับความเป็นจริงนะ"

    ผู้ถาม:- "สำหรับประเภท สุกขวิปัสสโก กับ เตวิชโช แตกต่างกันอย่างไรครับ?"

    หลวงพ่อ:- "ประเภท สุกขวิปัสสโก นี่ ไม่รู้อะไรหรอกคุณ ได้แต่สมาธิเฉย ๆ มีจิตเป็นสุข จิตมีกำลังตัดกิเลสได้

    สำหรับ วิชชาสามหรือเตวิชโช สามารถรู้ได้ เพราะว่าการปฏิบัติขั้นวิชชาสาม มี ญาณ ๘ อย่าง คือ
    ๑.ทิพพจักขุญาณ สามารถเห็นผี เห็นนรก เห็นสวรรค์ได้
    ๒.จุตูปปาตญาณ เราจะรู้ว่า คนที่เกิดมานี่ ก่อนจะเกิดนั้นมาจากไหน และเวลาตายแล้วไปไหน
    ๓.เจโตปริยญาณ สามารถจะเห็นจิตของคนได้ คนไหนจิตดี คนไหนจิตเลว
    ๔.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เราสามารถจะระลึกชาติได้ โดยไม่จำกัด
    ๕.อตีตังสญาณ เราจะรู้เรื่องราวในอดีตได้
    ๖.อนาคตังสญาณ รู้เรื่องราวในอนาคตได้
    ๗.ปัจจุปปันนังสญาณ ปัจจุบันนี้ใครทำอะไรที่ไหนเรารู้ได้
    ๘.ยถากรรมมุตาญาณ คนที่เขามีความสุขความทุกข์ เขาอาศัยกรรมอะไรเป็นปัจจัย

    นี่ในด้านวิชชาสาม รู้ได้ ๘ อย่างเท่านี้

    ฉฬภิญโญ(อภิญญาหก) แสดงอิทธิฤทธิ์ได้ มีหูเป็นทิพย์ มีตาเป็นทิพย์ ฯลฯ

    สำหรับ ปฏิสัมภิทัปปัตโต มีความสามารถคลุมวิชชาสามและอภิญญาหก มีความฉลาดกว่า

    หมวดที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ไม่เหมือนกัน แต่วิธีปฏิบัติคล้ายคลึงกัน เอาในกรรมฐาน ๔๐ มาแยกปฏิบัติเป็นหมวดหมู่ ทีนี้สำหรับการปฏิบัติ ถ้าจะถามว่า อย่างไหนเข้าถึงมรรคผลง่ายกว่ากัน ก็ต้องเป็นไปตามอัธยาศัยของคน

    สำหรับ สุกขวิปัสสโก พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับผู้ที่ต้องการเรียบ ๆ ไม่ต้องการฤทธิ์เดช ทำแบบสบาย ๆ จิตใจไม่ชอบจุกจิก

    สำหรับ เตวิชโช นั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับคนที่อยากรู้อยากเห็น ถ้ามีสิ่งปิดบังลี้ลับอยู่ ทนไม่ไหว ต้องหาให้พบ ค้นให้เห็น

    สำหรับ ฉฬภิญโญ นั้น สำหรับคนที่ต้องการมีฤทธิ์เดช พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนไว้

    สำหรับ ปฏิสัมภิทาญาณ หรือ ปฏิสัมภิทัปปัตโต ท่านมีทั้งฤทธิ์ด้วย มีทั้งความเป็นทิพย์ของจิตด้วย มีความฉลาดด้วย สอนไว้เพื่อคนที่ต้องการรอบรู้ทุกอย่าง

    ฉะนั้น การที่พระพุทธเจ้าทรงสอน จึงเป็นไปตามอัธยาศัยของคน"

    ผู้ถาม:- "กระผมอยากทราบว่า พระโสดาบันกับพระอรหันต์นั้น เขาใช้เครื่องวัดอย่างไรครับ?"

    หลวงพ่อ:- "เขาใช้หลักกิโลเมตรเป็นเครื่องวัด"

    ผู้ถาม:- (หัวเราะ)

    หลวงพ่อ:- "อ้าว…จริง ๆ คือว่า การปฏิบัติให้เป็นพระอริยะ คือ ตั้งแต่พระโสดาบัน มันยาว ๓ กิโลเมตร ถ้าถึงพระอรหันต์ ก็ยาว ๑๐ กิโลเมตร เอ๊ะ...แย่ไหม คุณถามเครื่องวัดนี่ แต่ว่าเครื่องวัดในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า จะเอาเชือกไปวัด หรือว่าเอาอะไรเข้าไปวัด ต้องวัดด้วยคุณธรรมที่ละ

    เครื่องวัดมีอย่างนี้ คือว่า
    พระโสดาบัน กับ พระสกิทาคามี จะต้องละความชั่ว ๓ อย่าง คือ
    สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

    -สำหรับ สักกายทิฏฐิ พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี จะมีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า เราเกิดมาเพื่อตาย จะไม่มีความประมาทในชีวิต จะคิดทำความดีอยู่เสมอ
    -วิจิกิจฉา ไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยใช้ปัญญาพิจารณา
    -และประการที่ ๓ มีศีล ๕ บริสุทธิ์
    นี่เขาเรียกว่า พระโสดาบัน และ พระสกิทาคามี

    สำหรับ พระอนาคามี ต้องละกิเลส ๕ ข้อ คือต่อไปอีก ๒ ข้อ ได้แก่
    -ละกามราคะ คือ ไม่ยินดีในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ
    -ละปฏิฆะ คือไม่มีความโกรธ ไม่มีความพยาบาท

    สำหรับ พระอรหันต์ ต้องละกิเลส ๑๐ ข้อ คือต่อไปอีก ๕ ข้อ ได้แก่
    -ละรูปราคะ ไม่ติดอยู่ในรูปฌาณ
    -ละอรูปราคะ ไม่ติดอยู่ในอรูปฌาณ
    -ละมานะ ไม่ถือตัวถือตน
    -ละอุทธัจจะ ไม่มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
    -ละอวิชชา ตัดความโง่ทิ้งไปให้หมด

    รวมเป็น ๑๐ อย่าง ถ้าตัดได้ทั้ง ๑๐ อย่างนี้ เป็นพระอรหันต์ นี่เป็นเครื่องวัด"

    ผู้ถาม:- "อาจารย์บางคนเขาว่า นิพพานสูญ หมายถึงไม่มี แม้แต่สวรรค์ก็ไม่มี นรกก็ไม่มี"

    หลวงพ่อ:- "ไอ้นั่นของเขาว่า เราไปตามทางของพระพุทธเจ้าดีกว่า เขาจะเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า เขาจะเป็นจานเป็นกะละมังก็ช่างเขาเถอะ ใช่ไหม ในพระไตรปิฎกก็ไม่มีคำว่า นิพพานสูญ บทพิสูจน์มีก็ไม่เรียนกันนี่

    นิพพานนี่ไม่สูญ แต่คนที่จะไปนิพพานได้ กิเลสต้องสูญ เขาไม่ได้บอกนิพพานสูญ เขาแปลไม่หมดทุกตัว คำว่าสูญเขาแปลว่าว่าง นิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง หมายความว่า คนที่จิตว่างจากความชั่วทั้งหมด จึงจะเห็นนิพพานได้ ในเวลานั้นนะ แต่คนที่จะไปอยู่นิพพานได้ ต้องไม่มีความชั่วอยู่ในจิตเลย ที่เขาเรียกว่ากิเลสนั่นแหละ กิเลสคือความชั่ว มันตัวเดียวกัน"
    กราบอนุโมทนาสาธุเจ้าค่ะ
    หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๑ หน้า ๔๘-๕๙ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      50.1 KB
      เปิดดู:
      53
  5. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ความพลัดพลากจากสิ่งที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์ ขันธ์ทั้ง5เป็นตัวทุกข์ แต่ถ้าเมื่อใดที่เรามีสติตามทัน คือรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเราครอบครองได้ชั่วคราว ทุกอย่างที่เราเป็นอยู่ทางโลกนี้เป็นสิ่งสมมุติ ไม่มีอะไรแน่นอนและเที่ยงแท้ แม้แต่จิตที่ปรุงแต่งความรู้สึกนึกคิดก็ไม่มีตัวตนเห็นมีแต่เกิดดับถ้าเราเข้าใจกฏไตรลักษณ์แล้วเราจะเข้าใจว่าทำไมเราถึงทุกข์กับเรื่องที่ไม่มีสาระเลยนะเรื่องแต่ละเรื่องที่เราเจอมาทุกข์มาก็ไม่มีอยู่จริงเห็นมีแต่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปถ้าเราฝึกสติให้เป็นสัมปชัญญะเหมือนตะขอเหนี่ยวรั้งจิตไว้ตามจิตทันจิตของตนก็จะไม่ส่งออกนอกมากเห็นอะไรอยู่ในเหตุการอะไรเราก็จะวิปัสนาได้เลยในขณะนั้น. ขอทุกท่านสุขกายสบายใจเจริญยิ่งขึ้นไปในพระธรรมคำสอนของพระพุทธศาสดาเอกของโลก
    อนุโมทนาสาธุค่ะhttps://www.facebook.com/pattranit.chance.3/posts/599444443529965
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    [​IMG]

    ลักษณะของพระอนาคามีเป็นอย่างไร?

    โดย กลุ่มดอยเวียงเกี๋ยง » พุธ 27 ก.ค. 2011 9:53 am
    พึงกระทำการสังเกต และ พิจารณาตามเรื่องราวดังต่อไปนี้เถิด

    ว่าด้วยทรงสรรเสริญฆฏิการะ

    มีอยู่ มหาบพิตร นิคมชื่อเวภฬิคะ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ อยู่ในนิคมนั้น เขาเป็นอุปัฏฐากของอาตมภาพ นับเป็นอุปัฏฐากชั้นเลิศ
    พระองค์แลทรงเสียพระทัยมีความโทมนัสว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงรับการอยู่จำพรรษาในเมืองพาราณสีของเราเสียแล้ว ความเสียใจและความโทมนัสนี้นั้น ย่อมไม่มี และ จักไม่มีในช่างหม้อฆฏิการะ

    ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะแล ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

    ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะเจ้าใคร่
    ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นผู้หมดสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บริโภคภัตมื้อเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ปล่อยวางแก้วมณี และทองคำ ปราศจากการใช้ทองและเงิน

    ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะแล ไม่ขุดแผ่นดินด้วยสากและด้วยมือของตน นำมาแต่ดินตลิ่งพัง หรือขุยหนูซึ่งมีอยู่ด้วยหาบ ทำเป็นภาชนะแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ในภาชนะนี้ ผู้ใดต้องการ ผู้นั้นจงวางถุงใส่ข้าวสาร ถุงใส่ถั่วเขียว หรือถุงใส่ถั่วดำไว้ แล้วนำภาชนะที่ต้องการนั้นไปเถิด

    ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะ เลี้ยงมารดาบิดา ผู้ชรา ตาบอด ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นอุปปาติกะ(ผุดเกิดขึ้น)
    จะปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ห้าประการหมดสิ้นไป (บรรลุอนาคามี)

    ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมชื่อเวภฬิคะนั้นเอง เวลาเช้า อาตมภาพนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปหามารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหนเสียเล่า

    มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าวนี้เอาแกงจากหม้อแกงนี้เสวยเถิด

    ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น อาตมภาพได้เอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป
    ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมาเอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกง บริโภคแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป

    มารดาบิดาบอกว่า ดูก่อนพ่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงเสวยแล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา

    ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดกึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดา ตลอดเจ็ดวัน ดูก่อนมหาบพิตร
    ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่เวภฬิคนิคมนั้นเอง ครั้นนั้นในเวลาเช้า อาตมภาพนุ่งแล้ว ถือบาตร และ จีวร เข้าไปหามารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหนเสียเล่ามารดาบิดาของ ฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาขนมสดจากกระเช้านี้ เอาแกงจากหม้อแกงเสวยเถิด

    ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น อาตมภาพได้เอาขนมสดจากกระเช้า เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ลำดับนั้น
    ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมาเอาขนมสดจากกระเช้า เอาแกงจากหม้อแกงบริโภคแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป
    มารดาบิดาบอกว่า ดูก่อนพ่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเอาขนมสดจากกระเช้า เอาแกงจากหม้อแกงเสวยแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป

    ครั้งนั้น ฆฎิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงคุ้นเคยอย่างยิ่ง เช่นนี้แก่เรา ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดกึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน

    ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่เวภฬิคนิคมนั้นเอง ก็สมัยนั้น กุฏิรั่ว อาตมภาพจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพากันไปดูหญ้าที่นิเวศน์ของฆฏิการะช่างหม้อ เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว
    ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกะอาตมภาพว่า

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หญ้าที่นิเวศน์ของฆฏิการะช่างหม้อไม่มี มีแต่หญ้าที่มุงหลังคาเรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่เท่านั้น
    อาตมภาพได้สั่งภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพากัน ไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่มาเถิด

    ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้นภิกษุเหล่านั้นได้ไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่มาแล้ว ลำดับนั้น
    มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ใครมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือนเล่า

    ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ดูก่อนนาง กุฎีของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารั่ว
    มารดาบิดาฆฏิการะช่างหม้อได้กล่าวว่า เอาไปเถิดเจ้าข้าเอาไปตามสะดวกเถิดท่านผู้เจริญ

    ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือนเสียเล่า.
    มารดาบิดาตอบว่า ดูก่อนพ่อ ภิกษุทั้งหลายบอกว่า กุฎีของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารั่ว

    ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้นฆฏิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดกึ่งเดือนไม่ละมารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน และครั้งนั้น เรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่ทั้งหลังนั้นมีอากาศเป็นหลังคาอยู่ตลอดสามเดือน ถึงฝนตกก็ไม่รั่วดูก่อนมหาบพิตร ฆฏิการะช่างหม้อมีคุณเห็นปานนี้

    พระเจ้ากิกิกาสิราช : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของฆฏิการะช่างหม้อแล้ว ฆฏิการะช่างหม้อได้ดีแล้วที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เขา

    ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชได้ส่งเกวียนบรรทุกข้าวสารข้าวปัณฑุมุฑิกสาลีประมาณห้าร้อยเล่มและเครื่องแกงอันสมควรแก่ข้าวสารนั้น ไปพระราชทานแก่ฆฏิการะช่างหม้อ ครั้งนั้น ราชบุรุษทั้งหลายเข้าไปหาฆฏิการะช่างหม้อ แล้วได้กล่าวว่า

    ดูก่อนท่านผู้เจริญ นี้ข้าวสารข้าวปัณฑุมุฑิกสาลีบรรทุกเกวียนประมาณห้าร้อยเล่ม และเครื่องแกงอันสมควรแก่ข้าวสารนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชส่งมาพระราชทานแก่ท่านแล้ว จงรับของพระราชทานเหล่านั้นไว้เถิด
    ฆฏิการะช่างหม้อได้ตอบว่า
    พระราชามีพระราชกิจมาก มีราชกรณียะมาก ของที่พระราชทานมานี้ อย่าเป็นของข้าพเจ้าเลย จงเป็นของหลวงเถิด

    ดูก่อนอานนท์ เธอจะพึงมีความคิดเห็นว่า สมัยนั้น คนอื่นได้เป็นโชติปาลมาณพแน่นอน แต่ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นอย่างนั้น
    สมัยนั้นเราได้เป็นโชติปาลมาณพ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดีชื่นชม
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.

    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม 21 หน้าที่ 10

    www.tard4.com]www.tard4.com • แสดงกระทู้ - ลักษณะของพระอนาคามีเป็นอย่างไร? • แสดงกระทู้ - ลักษณะของพระอนาคามีเป็นอย่างไร?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    จิตดวงนี้เมื่อเข้าสู่จุดรวมแล้ว จะรู้เจ้าของไปโดยลำดับลำดาความเคลื่อนไหวมากน้อยเพียงไร สติปัญญาไม่ต้องบอก เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่กับจิต ด้วยการสั่งสม ด้วยการบำรุงตลอดเวลาอยู่แล้ว จนกลายเป็นหลักธรรมชาติ คืออัตโนมัติแห่งความเพียรของสติปัญญาขั้นนี้ทำงาน จะเป็นไปโดยลำดับ

    เมื่อถึงขั้นนี้แล้วเราจะได้เห็นความอัศจรรย์ของธรรมไปโดยลำดับลำดา ในขณะเดียวกันจะเห็นความทุกข์ที่เคยเป็นมาโดยลำดับลำดา จนกระทั่งว่าทุกข์ที่กิเลสสร้างขึ้นมาในจิตใจนี้ ยังเหลืออยู่มากน้อยเพียงไร ก็ยิ่งจะเห็นเป็นพิษเป็นภัยประจำจิตอยู่ตลอดเวลา แล้วไม่ละเว้นที่จะสังหารมันจนได้นั้นแหละ นั่นละท่านเรียกสติปัญญาอัตโนมัติ มันเห็นโทษเห็นภัยกันอย่างไม่จืดจาง อย่างขยับตัวเข้าไปเรื่อย ๆ มัดเข้าไปเรื่อย ๆ มัดกิเลสมัดเข้าไปเรื่อย ๆ มัดเข้าไปเรื่อย ๆ เหมือนกับกิเลสมัดเราแต่ก่อน กระดิกออกไปแง่ใดมุมใดของอาการของจิต มีแต่เรื่องของกิเลสทำงานเพื่อมัดเราให้อยู่ในกองทุกข์ อยู่ในเงื้อมมือมันเท่านั้น

    ที่นี่เมื่อธรรมมีอำนาจก็เป็นเช่นนั้น ไม่ได้ผิดกันอะไรเลย ผู้ปฏิบัติจะทราบด้วยตัวเองด้วยกันทั้งนั้น เมื่อถึงธรรมขั้นที่เป็นอัตโนมัติแล้ว นั่นละเป็นขั้นที่จะมัดกิเลสให้อยู่ในเงื้อมมือในวันใดวันหนึ่ง เวลาใดเวลาหนึ่ง อย่างรีบอย่างร้อน อย่างสด ๆ ร้อน ๆ อยู่ภายในความเพียรนั่นแล

    เพราะฉะนั้นผู้มีความเพียรประเภทนี้จึงหาเวลาว่างไม่ได้ ไม่มีเวลาว่าง ตาเห็นก็ดีไม่เห็นก็ดี จิตไม่ว่างจากการขวนขวาย จากการขุดค้นเพื่อฆ่ากิเลสโดยลำดับไป ตา หู จมูก ลิ้น กายจะสัมผัสสัมพันธ์หรือไม่สัมผัสสัมพันธ์ไม่สำคัญ แต่จิตกับกิเลสนั้นจะสัมผัสกันอยู่ตลอดเวลาด้วยสติด้วยปัญญาเพื่อฆ่ากิเลสโดยลำดับไป

    นี่ละถึงขั้นนี้แล้วเราจะได้เห็นคุณค่าของจิต เห็นคุณค่าของธรรม เห็นความหวังของตน ว่าสร้างขึ้นมาใกล้เข้าไปทุกทีกับความหลุดพ้นหรือพระนิพพาน หรือความบริสุทธิ์ของใจสิ้นเสร็จไปจากกิเลสประเภทต่าง ๆ จะเห็นเป็นสด ๆ ร้อน ๆ ตลอดไปเลย เพราะฉะนั้นความเพียรของผู้บำเพ็ญในขั้นนี้ จึงนับวันที่จะก้าวหน้าโดยลำดับลำดา ไม่มีคำว่ายืนว่าเดินว่านั่งว่านอนนี้ที่ความเพียรจะไม่ดำเนิน. ขอทุกท่านจงมีความสุขกายสบายใจคล่องตัวทั้งทางโลกและเจริญยิ่งขึ้นไปในทางธรรม อนุโมทนาสาธุค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpeg
      image.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      36.8 KB
      เปิดดู:
      63
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    อานิสงส์ของการสวดมนต์ มีอะไรบ้าง

    อานิสงส์ของการสวดมนต์ ถ้าพูดกันจริงๆแล้ว ประโยชน์อานิสงส์ของการสวดมนต์ มีมากมายซึ่งที่เห็นชัดสุดคือ ทางด้านร่างกาย จิตใจ และวาจาคำพูดต่างๆ เพราะว่าในระหว่างที่เราสวดมนต์นั้น จิตจะเกิดสมาธิ เพราะจดจ่อกับคำสวดเกิดความสำรวมขึ้น เป็นการฝืนความเกียจคร้าน เบื่อหน่าย และถ้าเป็นการสวดมนต์โดยรู้คำแปล ซึ่งบทสวดมนต์ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นกล่าวถึงคุณงามความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ว่าพระองค์ทรงมีคุณวิเศษอย่างไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์พระอริยะเจ้านั้นมีคุณเช่นไร เป็นการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย

    ประโยชน์ของการสวดมนต์ เทวดา พรหม มาอนุโมทนา ล้อมรอบผู้สวดมนต์เป็นประจำ ผู้สวดมนต์ จะมีระเบียบวินัยมากขึ้น อาการโกรธง่าย อารมณ์ร้อนจะหมดไป เพราะระหว่างที่สวดมนต์ ความโลภ โกรธ หลง ไม่ได้เกิดขึ้นในจิตตนในขณะนั้น : บทสวดมนต์ที่สำคัญ สำหรับชาวพุทธ

    อานิสงส์ของการสวดมนต์
    - บำบัดทุกข์โศกโรคภัย รวมทั้งความรุ่มร้อนใจ
    - ขจัดภัยอันตราย สิ่งชั่วร้ายที่จะพึงมี
    - ปัดเป่าอุบาทว์ เสนียดจัญไร สิ่งอวมงคล
    - ป้องกันภัยต่างๆ มีโจรภัย อัคคีภัย อสรพิษสัตว์ร้ายทั้งปวง
    - ส่งเสริมให้เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ
    - ให้แคล้วคลาดภัย ประสบความสวัสดี มีชัยเจริญงอกงามในชีวิต

    http://www.tumsrivichai.com/

    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ(อาจลงไปแล้วขออภัย)
     
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    [​IMG]
    .ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    [​IMG]
    วิปัสสนากรรมฐานคือการเรียนไตรลักษณ์

    หลวงพ่อปราโมทย์ : รู้ว่าอะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทาง คนที่ได้ “มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ” คือคนที่พ้นจากวิปัสนูฯแล้ว ถัดจากนั้นนะ เจริญวิปัสสนาได้เต็มที่แล้ว เรียกว่า “ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ” เราจะมีจิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูนะ หลวงพ่อย่อมาง่ายๆ “ให้มีสติ รู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง” ตามความเป็นจริงก็คือไม่แทรกแซง “มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง”

    ถ้าเรารู้กายรู้ใจอย่างที่เขาเป็น คือมันเป็นไตรลักษณ์ แต่รู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลาง ไม่อินไป ไม่หลงเข้าไปเพ่ง ไม่หลงเผลอไปคิด เป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูสบายๆ ตั้งมั่นอยู่ไม่ไหลไป เป็นกลางด้วย สภาวะอะไรเกิดขึ้นก็เป็นกลาง สุขทุกข์ดีชั่วทั้งหลายเสมอกันหมดเลย เพราะสุขทุกข์ดีชั่วแสดงไตรลักษณ์เท่าๆกัน เราจะเรียนไตรลักษณ์นะ

    เพราะฉะนั้นวิปัสสนากรรมฐานนี่น่ะ มุ่งเรียนให้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปธรรมนามธรรม ไม่ใช่เรียนเอาดีเอาสุขเอาสงบ ถ้าเรียนเอาดีเอาสุขเอาสงบ นั่นคือสมถกรรมฐาน จิตไม่ดีทำให้ดี จิตไม่สุขทำให้สุข จิตไม่สงบทำให้สงบ นั่นคือสมถะ

    ส่วนวิปัสสนานั้น ดีก็ได้ เลวก็ได้ สุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้ เสมอกัน เพราะเราจะเรียนไตรลักษณ์ สุขก็ไม่เที่ยง ทุกข์ก็ไม่เที่ยง ดีก็ไม่เที่ยง ชั่วก็ไม่เที่ยง มันเสมอกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์

    เราเป็นแค่คนดู เราเรียนจนกระทั่งวันหนึ่งเราเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎขึ้นมานั้น เสมอกันด้วยความเป็นไตรลักษณ์ ใจจะหมดความดิ้นรนนะ เพราะเห็นทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน ดีกับชั่วเท่ากัน จิตจะไม่ปรุงต่อ รู้แล้วจบลงที่รู้ รู้สักว่ารู้สักว่าเห็น

    พวกเราชอบพูดคำว่าสักว่ารู้ว่าเห็น พวกเราไม่มีจริงหรอก กว่าจะสักว่ารู้ว่าเห็นนะ เกือบจะเกิดอริยมรรคแล้ว ตอนที่เตาะแตะอยู่อย่างนี้ ยังไม่ใช่สักว่ารู้ว่าเห็นหรอก เจอสุขก็ชอบ เจอทุกข์ก็เกลียดนะ วันนี้ไม่มีสติเลย ท้อแท้ใจ วันนี้สติเกิดบ่อย ซู่ซ่าๆเลยใช่มั้ย ดีใจ

    เพราะฉะนั้นกว่าจะเป็นกลางได้นะ ปัญญาต้องอย่างยิ่งเลย เห็นเลย เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าทุกอย่างนั้นมันชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว ดีก็ชั่วคราว ชั่วก็ชั่วคราว ถ้าเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเสมอกันไปหมดนะ จิตจะไม่ดิ้นรนต่อ เห็นด้วยปัญญาอันยิ่ง ตัวนี้เรียกว่า “สังขารุเบกขาญาณ” นะ เป็นวิปัสสนาญาณตัวที่๙

    http://www.dhammada....13/05/21/21620/

    เจริญธรรมทุกๆท่านค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    . .

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    20 ข้อปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเบิกบาน
    พศิน อินทรวงค์

    1. เห็นข้อดีของเขาตามความเป็นจริง
    แล้วกล่าวชื่นชมตามโอกาส
    2. เห็นข้อเสียของเขาตามความเป็นจริง
    แล้วเฝ้าระวังอย่าประมาท
    3. อย่าพูดถึงเขาในทางเสื่อม เมื่อเขาไม่อยู่
    4. อย่าสอนในสิ่งไม่รู้ แนะนำเมื่อเขาต้องการ ไม่ใช่เมื่อเราอยากพูด
    5. อย่าก้าวล้ำเรื่องส่วนตัว ช่วยเหลือตามกาลสมควร
    ก่อนรับปากจงคิด ก่อนปฏิเสธจงคิด
    รู้จักพึ่งพาตนเอง อย่าหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่น
    6. อย่าชมมากเกิน อย่าติติงมากเกิน
    พูดจาไม่ดี นิ่งไว้ดีกว่า
    7. ทำใจเป็นกลาง อย่าลำพองเมื่อถูกชม อย่าตรมเมื่อถูกด่า
    8. รับฟังอย่างเปิดใจ รู้จักสำรวมท่าทีแสดงออก
    9. เคารพในอาวุโส เคารพในคุณวุฒิ เคารพในความดี
    เคารพในสิ่งที่เขานับถือ เคารพในผู้มีพระคุณของเขา
    10. เป็นตัวของตัวเอง ไม่คล้อยตามจนไร้จุดยืน
    ไม่พิพากษาตัดสิน ไม่หมิ่นความคิดเห็น
    11. เมื่อผิดจงขอโทษ เมื่อโกรธจงนิ่ง
    มีควรยิ้มจงยิ้ม เมื่อควรให้จงให้ เมื่อควรถอยจงห่าง
    12. ทำดีกับเขา แต่อย่าหวังผลตอบแทน อย่าทวงบุญคุณ
    อย่าอ้างความเป็นญาติมิตร อย่าอ้างชาติ ศาสนา
    และอย่าอ้างพระผู้เป็นเจ้า
    13. เอาใจเขามาใส่ใจเรา เมตตา อภัย
    ทุกคนผิดพลาดได้ ไม่มีใครอยากเป็นคนเลว
    14. ไม่ไว้ใจเกินไป ไม่กังวลเกินเหตุ
    ไม่ยกโทษเกินสามครั้ง ไม่แทงข้างหลัง ไม่อยู่ใกล้คนเลว
    15. ประโยชน์เขา คือประโยชน์เรา ต้องรู้รักษาสมดุลย์
    16. ให้ก่อนแล้วจึงรับ อย่าเป็นผู้รับแต่ฝ่ายเดียว
    17. เรียนรู้จากเขา แต่อย่าเอาอย่างเขา
    ไม้ใหญ่ไม่อยู่ใต้ร่มเงาใคร
    ทุกคนยิ่งใหญ่ได้ในแบบของตนเอง
    18. เมื่อไปเยี่ยมจงมีของฝาก เมื่อกล่าวคำลาจงอย่าเบียดเบียน
    19. ลับคมปัญญาให้ทัดเทียม เพื่อความรื่นรมณ์ในการสนทนา
    20. ทุกคนคือเพื่อนร่วมวัฏฏะ
    ทำดีต่อเขาด้วยจิตว่าง ถือเป็นการฝึกฝนใจตนเอง

    ขอแสงสว่างแห่งพระทำจงบังเกิดขึ้นกับทุกดวงจิตด้วยเทอญ สาธุค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      35.1 KB
      เปิดดู:
      57
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    . .
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. โมทนาman

    โมทนาman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    5,665
    ค่าพลัง:
    +6,165
    ราชวรรค
    ๑. ฆฏิการสูตร
    [๔๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่.
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จแวะออกจากทาง แล้วได้ทรงแย้มพระสรวลในประเทศแห่งหนึ่ง.
    ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดว่า เหตุอะไรหนอ ปัจจัยอะไร ที่พระผู้มีพระภาคทรง
    แย้มพระสรวล พระตถาคตทั้งหลายจะทรงแย้มพระสรวลโดยหาเหตุมิได้นั้นไม่มี ดังนี้. ท่าน
    พระอานนท์จึงทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้
    ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุอะไรหนอ ปัจจัยอะไร ที่พระผู้มีพระภาค
    ทรงแย้มพระสรวล พระตถาคตทั้งหลายจะทรงแย้มพระสรวลโดยหาเหตุมิได้นั้นไม่มี?
    [๔๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ที่ประเทศนี้ได้มีนิคม
    ชื่อเวภฬิคะ เป็นนิคมมั่งคั่งและเจริญ มีคนมาก มีมนุษย์หนาแน่น. พระผู้มีพระภาค
    ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยเวภฬิคนิคมอยู่. ดูกรอานนท์
    ได้ยินว่า ที่นี่เป็นพระอารามของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
    *สัมพุทธเจ้า. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ประทับนั่งตรัสสอนภิกษุสงฆ์ที่นี่.
    เรื่องช่างหม้อชื่อฆฏิการะ
    [๔๐๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ปูผ้าสังฆาฏิสี่ชั้นถวาย แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาค
    ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นขอพระผู้มีพระภาคประทับนั่งเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้
    ภูมิประเทศนี้จักได้เป็นส่วนที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ทรงบริโภค. พระผู้มี-
    *พระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูถวายแล้ว. จึงตรัสกะพระอานนท์ว่า
    ดูกรอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในประเทศนี้มีนิคมชื่อเวภฬิคะ เป็นนิคมมั่งคั่งและเจริญ
    มีคนมาก มีมนุษย์หนาแน่น. ดูกรอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็น
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยเวภฬิคนิคมอยู่ ได้ยินว่า ที่นี่เป็นพระอารามของพระผู้มี-
    *พระภาค ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค
    ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาพุทธเจ้า ประทับนั่งตรัสสอนภิกษุสงฆ์ที่นี่. และ
    ในเวภฬิคนิคม มีช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป
    ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ. มีมาณพชื่อโชติปาละเป็นสหายของ
    ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ เป็นสหายที่รัก. ครั้งนั้นฆฏิการะช่างหม้อเรียกโชติปาลมาณพมาว่า มาเถิด
    เพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
    *สัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติ
    กันว่าเป็นความดี.
    [๔๐๖] ดูกรอานนท์ เมื่อฆฏิการะช่างหม้อกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติปาลมาณพได้กล่าวว่า
    อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า? ดูกร
    อานนท์ แม้ครั้งที่สอง ฆฏิการะช่างหม้อก็ได้กล่าวกะโชติปาลมาณพว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ
    เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่า
    การที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี.
    แม้ครั้งที่สอง โชติปาลมาณพก็ได้กล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วย
    พระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า? แม้ครั้งที่สาม ฆฏิการะช่างหม้อก็ได้กล่าวว่า มาเถิด
    เพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
    *สัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
    สมมติกันว่าเป็นความดี. ดูกรอานนท์ แม้ครั้งที่สาม โชติปาลมาณพก็กล่าวว่า อย่าเลยเพื่อน
    ฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า?
    ฆ. เพื่อนโชติปาละ ถ้าอย่างนั้น เรามาถือเอาเครื่องสำหรับสีตัวเมื่อเวลาอาบน้ำไป
    แม่น้ำเพื่ออาบน้ำกันเถิด โชติปาลมาณพรับคำฆฏิการะช่างหม้อแล้ว.
    [๔๐๗] ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพได้ถือเอาเครื่อง
    สำหรับสีตัวเมื่อเวลาอาบน้ำไปยังแม่น้ำเพื่ออาบน้ำ. ครั้งนั้นแล ฆฏิการะช่างหม้อได้เรียก
    โชติปาลมาณพมากล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ นี้ก็ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มีพระภาคทรงพระนาม
    ว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
    *พระภาคทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็น
    พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี.
    [๔๐๘] ดูกรอานนท์ เมื่อฆฏิการะช่างหม้อกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติปาลมาณพได้กล่าวกะ
    ฆฏิการะช่างหม้อว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้น
    ที่เราเห็นแล้วเล่า? แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สาม ฆฏิการะช่างหม้อก็ได้เรียกโชติปาลมาณพมา
    กล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ นี้ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็น
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคทรงพระนาม
    ว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้เป็น
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สมมติกันว่าเป็นความดี. แม้ครั้งที่สามโชติปาลมาณพก็ได้กล่าวกะ
    ฆฏิการะช่างหม้อว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้น
    ที่เราเห็นแล้วเล่า?
    [๔๐๙] ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อได้จับโชติปาลมาณพที่ชายพกแล้ว
    กล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ นี้ก็ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็น
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคทรงพระนาม
    ว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้เป็น
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี. ลำดับนั้น โชติปาลมาณพให้ฆฏิการะ
    ช่างหม้อปล่อยชายพกแล้วกล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะ
    ศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า?
    ดูกรอานนท์ ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อจับโชติปาละผู้อาบน้ำดำเกล้าที่ผมแล้วกล่าวว่า
    เพื่อนโชติปาละ นี้ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระมีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป
    ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี. ครั้งนั้น โชติปาลมาณพมีความคิดว่า น่าอัศจรรย์
    หนอท่าน ไม่เคยมีมาหนอท่าน ที่ฆฏิการะช่างหม้อผู้มีชาติต่ำมาจับที่ผมของเราผู้อาบน้ำดำเกล้าแล้ว
    การที่เราจะไปนี้ เห็นจะไม่เป็นการไปเล็กน้อยหนอ ดังนี้แล้ว ได้กล่าวกะฆฏิการะช่างหม้อว่า
    เพื่อนฆฏิการะ การที่เพื่อนทำความพยายามตั้งแต่ชักชวนด้วยวาจา จับที่ชายพกจนล่วงเลยถึงจับ
    ที่ผมนั้น ก็เพื่อจะชวนให้กันไปในสำนักพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เท่านั้นเองหรือ?
    ฆ. เท่านั้นเองเพื่อนโชติปาละ จริงเช่นนั้นเพื่อน ก็การที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาค
    ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นความดี.
    โช. เพื่อนฆฏิการะ ถ้าอย่างนั้น จงปล่อยเถิด เราจักไป.
    [๔๑๐] ดูกรอานนท์ ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพได้เข้าไปเฝ้า
    พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ แล้วฆฏิการะ
    ช่างหม้อถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ส่วนโชติปาลมาณพได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคทรงพระนาม
    ว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
    นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฆฏิการะช่างหม้อนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    นี่โชติปาลมาณพ เป็นสหายที่รักของข้าพระพุทธเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรม
    แก่โชติปาลมาณพนี้เถิด.
    [๔๑๑] ดูกรอานนท์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยังฆฏิการะช่างหม้อ และโชติปาลมาณพให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
    ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อ และโชติปาลมาณพ
    อันพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เห็นแจ้ง ให้
    สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา เพลิดเพลินชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
    ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท
    พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำประทักษิณแล้ว
    หลีกไป.
    [๔๑๒] ดูกรอานนท์ ครั้งนั้น โชติปาลมาณพได้ถามฆฏิการะช่างหม้อว่า เพื่อนฆฏิการะ
    เมื่อท่านฟังธรรมนี้อยู่ และเมื่อเช่นนั้นท่านจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตหรือหนอ?
    ฆ. เพื่อนโชติปาละ ท่านก็รู้อยู่ว่า เราต้องเลี้ยงมารดาบิดา ซึ่งเป็นคนตาบอดผู้ชราแล้ว
    มิใช่หรือ?
    โช. เพื่อนฆฏิการะ ถ้าเช่นนั้น เราจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
    [๔๑๓] ดูกรอานนท์ ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
    *พระภาคทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควร
    ส่วนข้างหนึ่ง. ฆฏิการะช่างหม้อได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี่โชติปาลมาณพเป็น
    สหายที่รักของข้าพระพุทธเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคทรงให้โชติปาลมาณพนี้บวชเถิด ดังนี้
    โชติปาลมาณพได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็น
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ครั้นเมื่อโชติปาลมาณพอุปสมบทแล้วไม่นานประมาณกึ่งเดือน
    พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ในเวภฬิค-
    *นิคมตามควรแก่พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จหลีกจาริกไปทางพระนครพาราณสี เสด็จจาริกไป
    โดยลำดับ ถึงพระนครพาราณสีแล้ว.
    เรื่องพระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกิ
    [๔๑๔] ดูกรอานนท์ ได้ยินว่า ในคราวนั้นพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป
    ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี.
    ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีทรงพระนามว่ากิกิได้ทรงสดับว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า
    กัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จถึงพระนครพาราณสี ประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตน-
    *มิคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชรับสั่งให้เทียบราชยานที่ดีๆ แล้ว
    ทรงราชยานอย่างดีเสด็จออกจากพระนครพาราณสีด้วยราชยานอย่างดี ด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่
    เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จไป
    โดยเท่าที่ยานจะไปได้แล้ว เสด็จลงจากราชยาน เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้า
    พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม
    แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
    [๔๑๕] ดูกรอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันต์สัมมา
    สัมพุทธเจ้า ทรงยังพระเจ้ากิกิกาสิราชให้ทรงเห็นแจ้ง ให้ทรงสมาทาน ให้ทรงอาจหาญ ให้ทรง
    ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา. ลำดับนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชอันพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป
    ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ทรงเห็นแจ้ง ให้ทรงสมาทาน ให้ทรงอาจหาญ ให้ทรง
    ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย
    ภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตตาหารของหม่อมฉันในวันพรุ่งนี้. พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป
    ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับด้วยอาการดุษณีภาพ. พระเจ้ากิกิกาสิราชทรงทราบว่า
    พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับนิมนต์แล้ว
    เสด็จลุกจากอาสนะ ถวายบังคม ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป. พอล่วงราตรีนั้นไป
    พระเจ้ากิกิกาสิราชรับสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียะอันประณีต ล้วนแต่เป็นข้าวสาลีอันขาวและ
    อ่อน มีสิ่งดำเก็บออกหมดแล้ว มีแกงและกับเป็นอเนก ในพระราชนิเวศน์ของท้าวเธอ แล้ว
    รับสั่งให้ราชบุรุษไปกราบทูลภัตกาลว่า ได้เวลาแล้ว พระเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว.
    [๔๑๖] ดูกรอานนท์ ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็น
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์
    ของพระเจ้ากิกิกาสิราช ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. ลำดับนั้น
    พระเจ้ากิกิกาสิราช ทรงอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำเพียงพอด้วย
    ของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยพระหัตถ์ของท้าวเธอ ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยเสร็จ วางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว พระเจ้ากิกิกาสิราช ทรงถือ
    อาสนะต่ำอันหนึ่ง ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับการอยู่จำพรรษา ณ เมืองพาราณสีของหม่อมฉันเถิด หม่อมฉันจักได้บำรุง
    พระสงฆ์เห็นปานนี้.
    พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า อย่าเลย มหาบพิตร
    อาตมภาพรับการอยู่จำพรรษาเสียแล้ว. แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สาม พระเจ้ากิกิกาสิราชได้กราบ
    ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับการอยู่จำพรรษา ณ เมืองพาราณสีของ
    หม่อมฉันเถิด หม่อมฉันจักได้บำรุงพระสงฆ์เห็นปานนี้.
    แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสว่า
    อย่าเลย มหาบพิตร อาตมภาพรับการอยู่จำพรรษาเสียแล้ว. ครั้งนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชทรงเสีย
    พระทัย ทรงโทมนัสว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรง
    รับการอยู่จำพรรษา ณ เมืองพาราณสีของเราเสียแล้ว ดังนี้ แล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    มีใครอื่นที่เป็นอุปัฏฐากยิ่งกว่าหม่อมฉันหรือ?
    พระกัสสปพุทธเจ้าสรรเสริญช่างหม้อชื่อฆฏิการะ
    [๔๑๗] มีอยู่ มหาบพิตร นิคมชื่อเวภฬิคะ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ อยู่ในนิคมนั้น
    เขาเป็นอุปัฏฐากของอาตมภาพ นับเป็นอุปัฏฐากชั้นเลิศ พระองค์แลทรงเสียพระทัยมีความโทมนัส
    ว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงรับการอยู่จำพรรษา
    ในเมืองพาราณสีของเราเสียแล้ว ความเสียใจและความโทมนัสนี้นั้น ย่อมไม่มี และจักไม่มีใน
    ช่างหม้อฆฏิการะ ดูกรมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะแล ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
    เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
    เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูกร
    มหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
    ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่ ดูกรมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะ
    เป็นผู้หมดสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บริโภคภัต
    มื้อเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ปล่อยวางแก้วมณีและทองคำ ปราศจาก
    การใช้ทองและเงิน ดูกรมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะแล ไม่ขุดแผ่นดินด้วยสากและด้วยมือ
    ของตน นำมาแต่ดินตลิ่งพังหรือขุยหนูซึ่งมีอยู่ด้วยหาบ ทำเป็นภาชนะแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
    ในภาชนะนี้ ผู้ใดต้องการ ผู้นั้นจงวางถุงใส่ข้าวสาร ถุงใส่ถั่วเขียว หรือถุงใส่ถั่วดำไว้ แล้วนำ
    ภาชนะที่ต้องการนั้นไปเถิด ดูกรมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะ เลี้ยงมารดาบิดา ผู้ชรา ตาบอด
    ช่างหม้อฆฏิการะ เป็นอุปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
    เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าประการหมดสิ้นไป.
    [๔๑๘] ดูกรมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมชื่อเวภฬิคะนั้นเอง. เวลาเช้า
    อาตมภาพนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปหามารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า
    ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหนเสียเล่า? มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าวนี้ เอาแกงจากหม้อ
    แกงนี้เสวยเถิด. ดูกรมหาบพิตร ครั้งนั้น อาตมภาพได้เอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจาก
    หม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป. ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่
    แล้วได้ถามว่า ใครมาเอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงบริโภคแล้วลุกจากอาสนะ
    หลีกไป. มารดาบิดาบอกว่า ดูกรพ่อ พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทรงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงเสวยแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. ครั้งนั้น
    ฆฏิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาค
    ทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา. ดูกรมหาบพิตร
    ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดกึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน.
    [๔๑๙] ดูกรมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่เวภฬิคนิคมนั้นเอง. ครั้งนั้นเวลาเช้า
    อาตมภาพนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปหามารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า
    ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหนเสียเล่า? มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาขนมสดจากกระเช้านี้ เอาแกงจากหม้อแกง
    นี้เสวยเถิด. ดูกรมหาบพิตร ครั้งนั้น อาตมภาพได้เอาขนมสดจากกระเช้า เอาแกงจากหม้อแกง
    ฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป. ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้
    ถามว่า ใครมาเอาขนมสดจากกระเช้า เอาแกงจากหม้อแกงบริโภค แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.
    มารดาบิดาบอกว่า ดูกรพ่อ พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรง
    เอาขนมสดจากกระเช้า เอาแกงจากหม้อแกงเสวยแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. ครั้งนั้น
    ฆฏิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาค
    ทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา. ดูกรมหาบพิตร
    ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดกึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน.
    [๔๒๐] ดูกรมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่เวภฬิคนิคมนั้นเอง. ก็สมัยนั้น กุฏิรั่ว.
    อาตมภาพจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพากันไปดูหญ้าที่นิเวศน์
    ของฆฏิการะช่างหม้อ. เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกะอาตมภาพว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หญ้าที่นิเวศน์ของฆฏิการะช่างหม้อไม่มี มีแต่หญ้าที่มุงหลังคาเรือนที่ฆฏิการะ
    ช่างหม้ออยู่เท่านั้น. อาตมภาพได้สั่งภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพากันไป
    รื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือน ที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่มาเถิด. ดูกรมหาบพิตร ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น
    ได้ไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือนที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่มาแล้ว. ลำดับนั้น มารดาบิดาของฆฏิการะ
    ช่างหม้อได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ใครมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือนเล่า. ภิกษุทั้งหลายตอบว่า ดูกร
    น้องหญิง กุฎีของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า รั่ว มารดาบิดา
    ฆฏิการะช่างหม้อได้กล่าวว่า เอาไปเถิดเจ้าข้า เอาไปตามสะดวกเถิด ท่านผู้เจริญ. ครั้งนั้น
    ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือนเสียเล่า?
    มารดาบิดาตอบว่า ดูกรพ่อ ภิกษุทั้งหลายบอกว่า กุฎีของพระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า รั่ว. ดูกรมหาบพิตร ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า
    เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมา-
    *สัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา. ดูกรมหาบพิตร ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะ
    ช่างหม้อตลอดกึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน. และครั้งนั้น เรือนที่ฆฏิการะช่างหม้อ
    อยู่ทั้งหลังนั้น มีอากาศเป็นหลังคาอยู่ตลอดสามเดือน ถึงฝนตกก็ไม่รั่ว ดูกรมหาบพิตร ฆฏิการะ
    ช่างหม้อมีคุณเห็นปานนี้.
    กิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของฆฏิการะช่างหม้อแล้ว ฆฏิการะช่างหม้อได้ดีแล้ว
    ที่พระผู้มีพระภาคทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เขา.
    [๔๒๑] ดูกรอานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชได้ส่งเกวียนบรรทุกข้าวสารข้าวปัณฑุมุ-
    *ฑิกสาลีประมาณ ๕๐๐ เล่ม และเครื่องแกงอันสมควรแก่ข้าวสารนั้น ไปพระราชทานแก่ฆฏิการะ
    ช่างหม้อ. ครั้งนั้น ราชบุรุษทั้งหลายเข้าไปหาฆฏิการะช่างหม้อแล้วได้กล่าวว่า ดูกรท่านผู้เจริญ
    นี่ข้าวสารข้าวปัณฑุมุฑิกสาลีบรรทุกเกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม และเครื่องแกงอันสมควรแก่
    ข้าวสารนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชส่งมาพระราชทานแก่ท่านแล้ว จงรับของพระราชทานเหล่านั้น
    ไว้เถิด.
    ฆฏิการะช่างหม้อได้ตอบว่า พระราชามีพระราชกิจมาก มีราชกรณียะมาก ของที่พระ-
    *ราชทานมานี้ อย่าเป็นของข้าพเจ้าเลย จงเป็นของหลวงเถิด.
    [๔๒๒] ดูกรอานนท์ เธอจะพึงมีความคิดเห็นว่า สมัยนั้น คนอื่นได้เป็นโชติปาล-
    *มาณพแน่นอน แต่ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นอย่างนั้น สมัยนั้นเราได้เป็นโชติปาลมาณพ.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ ยินดีชื่นชมพระภาษิตของ
    พระผู้มีพระภาคแล้ว ดังนี้แล.

    ลงให้ครบ จะได้ไม่งง อิอิ

    แถม
    เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์เสด็จออกทรงผนวช ฆฏิการมหาพรหมผู้เป็นสหายกับพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นโชติปาลมาณพในศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า ได้นำบริขารแปดจากพรหมโลกมาถวายพระโพธิสัตว์ และรับพระภูษาคฤหัสถ์ทั้งคู่ขึ้นไปบรรจุไว้ในทุสสเจดีย์ บนพรหมโลกชั้นอกนิฏฐา ซึ่งเป็นภูมิสุทธาวาสชั้นห้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 ตุลาคม 2015
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    ***********************
    ขอบพระคุณท่าน อ แซมค่ะ ดีจัง หายงงจริงๆ มาบ่อยๆนะคะ หายสะอึกเลย สาธุๆๆๆ:cool::cool::cool:
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    [​IMG]

    พระคาถาอัญเชิญ บรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์ประจำองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า)

    ตั้ง นะโม ๓ จบ

    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)

    บทสวด

    โอม นะโม ชีวะโก สิระสา อะหัง กะรุณิโก สัพพะสัตตานัง โอสะถะ ทิพพะมันตัง ปะภาโส สุริยาจันทัง กุมาระภัจโจ (กุมาระวัตโต) ปะกาเสสิ วันทามิ ปัณฑิโต สุเมธะโส อะโรคา สุมะนา โหมิ

    ผู้ใดกล่าวสรรเสริญคุณแห่งพระถาคาบทนี้ ผู้ใดเจริญพระคาถาบทนี้ จะบังเกิดมีอานุภาพ ป้องกันสรรพโรคภัยเจ็บ ทั้งหลายทั้งปวง จะเป็นผู้ไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ หาได้ยาก และหากยิ่งได้ช่วยเผยแพร่ออกไป จะมีอานิสสงส์แห่งบุญ ทำให้ปราศจากโรคร้าย ภัยเวรต่างๆ

    บทอธิษฐาน

    ขอบารมีแห่งบรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ จงคุ้มครองให้ข้าพเจ้า ( เอ่ยชื่อและนามสกุลของตัวเอง ) พ้นจากโรคร้ายภัยเวร โรคเวรโรคกรรม ขอให้มีอายุมั่นขวัญยืน มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี ขอให้อานิสสงส์แห่งแรงอธิษฐานนี้ คุ้มครองข้าพเจ้า นับตั้งแต่บัดนี้ล่วงไปเมื่อหน้าเทอญ

    ธรรมะออนไลน์ เว็บธรรมะ วิทยุธรรมะออนไลน์ 24 ชั่วโมง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

    "ร่างกายที่เห็นอยู่ในปัจจุบันอย่าไปคิดว่ามันจักทรงตัวอยู่อย่างนี้ตลอดไป ให้คิดพิจารณายอมรับนับถือตามความเป็นจริงว่า ร่างกายมันเสื่อมลงไปทุกวัน หาความจีรังยั่งยืนอะไรไม่ได้ แล้วให้สังเกตอารมณ์ของจิต มักจักฝืนความจริงอยู่เสมอ จิตมันถูกกิเลสหลอกว่า ร่างกายจักดีอยู่เสมอ และแม้ว่าขณะป่วยๆอยู่นี่แหละกิเลสมันยังจักหลอกว่า พรุ่งนี้ มะรืนนี้ ทนเอาหน่อย ประเดี๋ยวก็หายป่วย จิตมันไม่เคยคิดว่า วันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ ร่างกายมันอาจจักตายก็ได้ หรือบางขณะคิด แต่จิตก็หาน้อมยอมรับนับถือ ตามที่คิดก็หาไม่ มันคิดว่าหายามากิน แล้วก็เป็นผลดีหายป่วยแน่ ๆ นี่แหละสอบอารมณ์จิตไว้ให้ดีๆ จิตมันหลอกเก่งมาก การเตรียมพร้อมที่จักไปพระนิพพาน จักต้องเห็นร่างกายพังได้อยู่ตลอดเวลา ร่างกายของตนเอง ของบุคคลอื่น สัตว์ วัตถุธาตุพังหมดไม่มีเหลือจิตจักต้องมีอารมณ์ คลายจากการเกาะยึดสิ่งเหล่านี้ ปลดจากอารมณ์ยึดมั่นถือมั่นว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความทรงตัว นั่นแหละจึงจักไปพระนิพพานได้ จงอย่าท้อใจ และจงอย่าละความเพียร ในเมื่อต้องการจักไปพระนิพพาน ก็ต้องจักทำให้ได้ตามนี้"
    กราบอนุโมทนาสาธุ
    จากหนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๓ รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน คัดลอกโดย ด.ญ. ปุณยนุช ขจรนิธิพร (ลูกหลาน หลวงพ่อพระราชพรหมยานสนับสนุนเครื่องคอมฯในการโพสต์ธรรมทานนี้ค่ะ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpeg
      image.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      180 KB
      เปิดดู:
      56
  18. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    การเดินจงกรม
    ธรรมโอวาทหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    การเดินปฏิบัติ ท่านเรียกว่า เดินจงกรม
    คือ เดินควบคุมสติ ให้รู้ว่าก้าวไปหรือ
    ถอยกลับ ใหม่ ๆ ท่านให้ฝึกนับก้าว
    ว่าเดินไปได้กี่ก้าวจึงถึงที่หมาย
    ต่อมาให้กำหนดรู้ว่า เราเดินด้วยเท้าซ้าย
    หรือเท้าขวา ให้กำหนดรู้ไว้เพื่อรักษาสมาธิ
    ต่อไปก็เดินกำหนดอารมณ์กรรมฐาน
    ถ้าเป็นกรรมฐานที่มีรูป ก็กำหนดรูปกรรมฐาน
    ไปพร้อมกัน กรรมฐานกองใดได้สมาธิในขณะเดิน
    กรรมฐานกองนั้นสมาธิไม่มีเสื่อม

    วิธีเดิน ตอนแรกๆ ควรเดินช้าๆ เพราะจิตยังไม่ชิน
    ต่อเมื่อจิตชินแล้ว ให้เดินตามปกติ แล้วกำหนดรู้
    ไปด้วย เมื่อใดถ้าเดินเป็นปกติ รู้การก้าวไปและ
    ถอยกลับได้ จิตไม่เคลื่อนและรักษาอารมณ์สมาธิ
    หรือนิมิตกรรมฐานได้เป็นปกติ ทั้งเดินในที่ฝึก
    หรือเดินตามปกติแล้ว ก็ชื่อว่าท่านเป็นนักปฏิบัติ
    ที่เข้าระดับแล้ว พอจะเอาตัวรอด ขอทุกท่านสุขกายสบายใจ และเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป อนุโมทนาสาธุค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpeg
      image.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      40 KB
      เปิดดู:
      57
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    วันปิยะมหาราช
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี
    เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ
    พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕

    พระปิยมหาราช...ผู้ปราดเปรื่อง
    โลกปลดเปลื้องทุกข์ทน พ้นระส่ำ
    ธ โอบอุ้มผองชนเฉกฝนพรำ
    เป็นกอบกำ ทำกิน บนถิ่นไทย
    เอกราชธำรงอยู่ คู่เอกลักษณ์
    อาณาจักรศักดิ์ศรีจึงมีได้
    ความโอนอ่อนผ่อนปรนชาติพ้นภัย
    รวมดวงใจสักการะพระเกียรติคุณ ฯลฯ

    พระสยามมินโธ วะโรอิติ พุทธสังมิ อิติอรหัง สะหัสสะกายัง วะรังพุทโธ นะโม พุทธายะ
    ข้าพระพุทธเจ้าน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาจุฬาลงกรณ์
    พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่๕
    ที่พระองค์มีต่อปวงชนชาวไทย
    อันหาที่สุดมิได้ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpeg
      image.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      51.9 KB
      เปิดดู:
      76

แชร์หน้านี้

Loading...