จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    [​IMG]
    โอวาทธรรมหลวงปู่แบน ธนากโร
    วัดดอยธรรมเจดีย์ สกลนคร

    "..นานมาแล้ว เคยได้ยินเจ้าคุณท่านหนึ่งท่านเทศน์ว่า
    สี่คนหาม สามคนแห่ คนหนึ่งนั่งแคร่ สองคนพาไป

    สี่คนหาม ท่านหมายถึงธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่มารวมตัวกันเป็นร่างกายนี้

    สามคนแห่ ก็หมายถึงความแก่ ความเจ็บ ความตาย ที่มันห้อมล้อมเข้ามา
    ...
    แล้วคนหนึ่งนั่งแคร่ ก็หมายถึงว่าเมื่อธาตุทั้ง ๔ มันแตกตายสลายไป

    ก็จะยังคงเหลือแต่ใจอันเดียว ส่วนสองคนพาไป อันนี้ก็คือ กุศลกับอกุศลหรือบุญกับบาป หรือกรรมดีกับกรรมชั่ว อันนั้นจะเป็นผู้พาไป

    พาไปจำแนกให้เป็นอะไรๆ ตามอำนาจของบุญของกุศล
    หรือให้เป็นไปตามกรรมที่ได้ทำเอาไว้ในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น"

    หลวงปู่แบน ธนากโร


    (ขอบคุณท่านAprinค่ะ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    สร้างบุญให้ตนเอง - หลวงพ่อชา สุภัทโท
    [​IMG]

    1:00 พวกเราเป็นผู้มีบุญวาสนามาก
    4:00 กบเฒ่านั่งเฝ้ากอบัว - อยู่ใกล้วัดใกล้ธรรมก็ไม่เห็นธรรม
    8:30 ตรัสรู้ธรรมะ เป็นเรื่องของเราก็ได้ - เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี ก็ได้
    15:00 ให้พากันทำทาน - หมาหวงชามข้าว - มนุษย์หวงสมบัติ
    16:45 ให้พากันรักษาศีล - ศีลทำให้เป็นสุข มีโภคสมบัติ มีปัญญาพ้นจากความทุกข์
    21:03 ให้พากันเจริญภาวนา - สมถะ วิปัสสนา - เมตตาภาวนา
    32:10 ศีลธรรม ทำให้เราเบาสบายเป็นสุข
    35:28 ให้พากันมีปัญญา - รู้ตามความเป็นจริง - ละกิเลส โลภ โกรธ หลง
    44:30 บารมี - ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
    48:00 บุญ คือการสร้างความดีให้ตนเอง - ทาน ศีล ภาวนา - ปัญญา


    โอวาทธรรมหลวงปู่ชา สุภทฺโท
    วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


    อย่างสกลร่างกายนี้ ตาก็ดี จมูกก็ดี หูก็ดี ลิ้นก็ดี กายก็ดีทั้งหลายเหล่านี้แหละ ก็แล้วแต่มันจะเปลี่ยนไป แปรไป ไม่เห็นมันขออนุญาตเราสักที เช่นเมื่อปวดหัว ปวดท้อง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น มันไม่เคยขออนุญาตจากเราเลย เวลามันจะเป็น มันก็เป็นของมันเลยเป็นไปตามสภาวะของมัน อันนี้ก็แสดงว่ามันไม่ยอมให้เราเป็นเจ้าของมัน

    สมเด็จพระบรมศาสดา จึงทรงสอนว่า “สุญโญสัพโพ… มันเป็นของว่าง มันไม่ได้เป็นของผู้ใด” เราทั้งหลายไม่เข้าใจธรรมะในสภาวะอันนี้ ไม่เข้าใจในสังขารอันนี้ จึงคิดว่า “ของเรา ของเขา” เกิดอุปทานขึ้นมา เมื่อเกิดอุปทานก็เข้าไปยึดภพ เกิดภพ เกิดชาติ ชรา พยาธิ มรณะต่อไป มันเป็นทุกข์เช่นนี้ ที่ท่านเรียก “อิทัปปัจจยตา” นั่นแหละ อวิชชาเกิดสังขาร สังขารเกิดวิญญาณ วิญญาณเกิดนามรูป…เป็นเช่นนี้นั่นแหละ


    หลวงพ่อชา สุภัทโท
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    วิธีทรงอารมณ์ฌานให้ได้เร็วๆ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Sadhu ka.jpg
      Sadhu ka.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.6 KB
      เปิดดู:
      98
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    สำเร็จด้วยใจ (มโนมยา)


    มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา
    มนสา เจ ปทุฏเฐน ภาสติ วา กโรติ วา
    ตโต นัง ทุกขมเนวติ จักกังว วหโต ปทัง.


    ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
    ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี
    ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น ดุจล้อซึ่งหมุนไปตามรอยเท้าโค
    ตัวเทียมแอกไปฉะนั้น.

    อีกแห่งหนึ่งคล้ายๆกัน

    มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา
    มนสา เจ ปสันเนน ภาสติ วา กโรติ วา
    ตโต นัง สุขมเนวติ ฉายาว อนุปายินี.

    ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
    ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี
    ความสุขย่อมไปตามเขา เพราะสุจริต ๓ อย่างนั้น เหมือนดังเงาตามตัวไปฉะนั้น.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    กรณียเมตตสูตร บทสวด บาลี
    [​IMG]

    กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
    สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
    สันตุสสะโก จะสุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะสัลละหุกะวุตติ
    สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
    นะจะขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
    สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภุวันตุ สุขิตัตตา
    เยเกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสาวา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
    ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
    ทิฏฐา วาเย จะอะทิฏฐา เยจะ ทูเรวะสันติ อะวิทูเร
    ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

    นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติ มัญเญะกะ กัตถะจิ นังกิญจิ
    พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะ มัญญัสสะ ทุขะมิจเฉยยะ
    มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
    เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
    เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
    อุทธัง อะโธ จะติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
    ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
    เอตัง สะติง อะทิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
    ทิฏฐิญจะ อะนุปคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    มักกะลีผลบทที่ 91-96 นิยายธรรมะ หลวงพ่อจรัญ(หลวงปู่สดเลิกดวงแก้ว นาฑีที่ 29.30)
    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/nqjx4hlE1Lo" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LpChodokYansit.jpg
      LpChodokYansit.jpg
      ขนาดไฟล์:
      210.7 KB
      เปิดดู:
      99
    • LpSod1.jpg
      LpSod1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89.8 KB
      เปิดดู:
      60
    • LpJarun 80.jpg
      LpJarun 80.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.7 KB
      เปิดดู:
      126
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    [​IMG]
    กําหนดใจลงในความไม่มีของปัญจขันธ์
    พระมหาโมคคัลลาน์สั่งว่าให้กําหนดใจลงในความไม่มีของ"ปัญจขันธ์"
    "ปัญจขันธ์"ก็ได้แก่ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่มี มันมีก็เหมือนว่ามันไม่มี คือมันไม่มีการทรงตัว หาอะไรทรงตัวไม่ได้
    มีแล้วเดี๋ยวก็พัง
    มีความเกิดในเบื้องต้น
    มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง
    แล้วก็มีความสลายตัวไปในที่สุด
    รูปมันก็ปรากฎขึ้นเดี๋ยวเดียว ท่านบอกว่า
    ชีวิตเหมือนความฝัน
    รูปโฉมโนมพรรณเหมือนดอกไม้
    ชีวิตของเราที่ทรงอยู่นี้มันก็เหมือนความฝัน
    มันมีอยู่แล้วไม่ช้ามันก็สลายตัวไป
    รูปโฉมโนมพรรณเหมือนดอกไม้ ดอกไม้เมื่อแรกยังตูม ต่อมามันก็แย้มทีละน้อยๆ ในที่สุดก็พังไป
    สภาวะของรูปมันก็เป็นเช่นเดียวกัน
    เสียง กลิ่น รส และสัมผัสมันก็เหมือนกัน ท่านบอกว่าทุกสิ่งทั้งหมดนี้จงรักษาอารมณ์ให้เป็น "เอกัคคตารมณ์"
    ว่ามันไม่มี คําว่า "ไม่มี" ความจริงมันมีแล้วมันก็ไม่มี
    เพราะต่อไปมันจะพัง รูปมันทรงอยู่ได้ไม่นานมันก็พัง
    เสียงที่เรามีความพอใจฟังแล้วก็หายไป
    กลิ่นที่สัมผัสจมูกมันกระทบแล้วก็หายไป
    การสัมผัสที่พึงพอใจ สัมผัสแล้วเลิกสัมผัสก็หายไป
    รสที่สร้างความซาบซ่านจากปลายลิ้น กลางลิ้น โคนลิ้นแล้วรสก็หายไป อย่าไปสนใจมันผ่านไปแล้วก็หมดไป
    ไม่ช้าร่างกายมันก็สลายตัว ท่านบอกว่าจงรักษาอารมณ์ให้เป็น"เอกัคคตารมณ์"
    มีความรู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่มี
    อันนี้ก็เห็นจะได้แก่"อากาสานัญจายตนะ" ก็เห็นจะได้ถ้าเทียบกัน
    อารมณ์พระนิพพาน นี่เป็นอารมณ์พระอรหันต์ ตัดกิเลส
    "อากาสานัญจายตนะ" ที่ท่านเจริญกัน ให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันต้องสลายหายไปเหมือนกับอากาศ หรือว่า
    "อากิญจัญญายตนะ" ถึอว่าทุกสิ่งทุกอย่างนี่มันไม่มีอะไรเหลือหมด มันไม่มี ไปลงกันตรงนั้น
    มันเข้าไป"เนวสัญญายตนะ"
    อารมณ์นี้ มาใช้มันมีก็ทําความรู้สึกว่า เหมือนว่าไม่มี ตอนนี้ถ้าหากว่าท่านสนใจอรูปฌาน จะรู้สึกว่าง่าย เห็นทรงตัวได้ชัด

    (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๑๑๕-๑๑๖)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • KingLpRuesri.jpg
      KingLpRuesri.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.8 KB
      เปิดดู:
      768
    • Sadhu.jpg
      Sadhu.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      82
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    [​IMG]
    .." กายคตาสติกรรมฐาน " เป็นกรรมฐานที่มีอานิสงส์มาก เพราะสามารถทำให้ละ " สักกายทิฐิ " อันเป็นสังโยชน์ข้อต้นๆได้โดยง่าย และเป็นกรรมฐานที่เกี่ยวกับการพิจารณาร่างกายให้เห็นสภาพตามความเป็นจริง

    ซึ่งมักพิจารณาร่วมกับอสุภกรรมฐาน มรณัสสติกรรมฐาน ซึ่งพระอริยะเจ้าทุกๆพระองค์ที่จะบรรลุพระอรหัตน์ผลได้จะต้องผ่านการพิจารณา กรรมฐานทั้งสามกองนี้เสมอ มิฉะนั้นแล้วจะเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนามิได้

    ทั้งนี้เพราะบรรดาสรรพกิเลสทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความโลภ ความหลง และความโกรธ ต่างก็เกิดขึ้นที่กายนี้ เพราะว่าความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน จึงได้เกิดกิเลสดังกล่าวขึ้น

    การพิจารณาละกิเลสก็จะต้องพิจารณาละที่กายนี้เอง มรรค ผล และนิพพาน ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนเลย แต่มีอยู่พร้อม ให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ที่ร่างกายอันกว้างศอกยาววาและหนาคืบนี่เอง..

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    [​IMG]

    โอวาทธรรมหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    การปฏิบัติธรรมมรรคผลนิพพานอยู่กับผู้ปฏิบัติ ไม่ได้อยู่กับดินฟ้าอากาศ ไม่ได้อยู่กับมืดกับแจ้ง อยู่กับการปฏิบัติของเรา ถ้าเรามีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อยู่ที่ไหนก็เป็นการตามเสด็จพระพุทธเจ้าทุกๆ ฝีก้าว ถ้าปราศจากสติเป็นเรื่องควบคุมความเพียรให้ห่างไกลไปแล้วนั้น เรียกว่าห่างเหินจากพระพุทธเจ้าไปแล้ว ผู้ที่มีสติติดแนบอยู่กับความพากเพียร เป็นผู้ตามเสด็จพระพุทธเจ้าทุกอิริยาบถ ให้พากันจำเอาไว้

    หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    "จับสติไว้ให้ดี"
    ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    [​IMG]
    โอวาทธรรมหลวงปู่ลี กุสลธโร
    วัดป่าภูผาแดง จ.อุดรธานี


    "พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ทำอย่างนั้นท่านตรัสรู้ได้ก็เพราะเจริญอานาปานสติ ดูลมหายใจเข้าออกเท่านั้น ท่านไม่ให้ออก ให้ดูอยู่นั่น เข้าก็รู้ออกก็รู้อยู่นั่น ศาสนามันเกิดอย่างนั้น ไม่ได้เกิดเพราะความปรุงความแต่งอะไร นี่ไม่ดูตนเอง ดูแต่ผู้อื่น ให้มันถููกใจเข้าของเอง ใครทำอะไรก็ให้ถูกใจเจ้าของเอง นี่แหละเรื่องกิเลสตัณหา ดูเข้าไปมันจะเห็นเองหรอก

    ธรรมของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ภาวนาเอาพุทโธก็จะคิดไปเรื่อยเปื่อย ตามโลกตามสงสาร ถ้าจิตมันเป็นไปแล้วจ้างให้มันไปมันก้ไม่ไปล่ะทีนี้ ภาวนามยปัญญา นานาจิตตัง จิตใจของแต่ละคน มันไม่เหมือนกัน ให้ทำเอานะ ใครจะทำให้กันได้ มีแต่บอกทางเท่านั้น พระพุทธเจ้าท่านมีแต่บอกแนวทางเท่านั้นเอง ความพากความเพียร มีแต่พวกเราเท่านั้นที่ต้องทำเอาเองหมด"

    หลวงปู่ลี กุสลธโร
    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2016
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    [​IMG]
    พระโอวาทธรรมสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
    วัดบวรนิเวศวรวิหาร จ.กรุงเทพมหานคร

    อารมณ์ของ วิปัสสนานั้น แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ เพราะว่าสมาธินั้นมุ่งแต่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์ เดียวโดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกคิดอะไร ๆ

    แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ " ขันธ์ ๕ " ซึ่งนิยมเรียกกันว่า " รูป - นาม " โดย รูป มี ๑ ส่วน นาม นั้นมี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

    ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็น พระไตรลักษณ์ คือ เป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา..

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2016
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    โอวาทธรรมหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    "อย่าพากันรื่นเริง บันเทิงจนเกินไป ให้มองดูสกลกาย ความแก่ ความเฒ่า ความชรา ความจะแตก ความจะทำลายนั้นจะไม่ทำลายที่ไหน นอกจากจะแตกทำลายในตัวของเรา จะตายในตัวของเรา รีบเร่งหาคุณงามความดี เวลานี้ตะวันยังไม่อัสดง คือตัวของเรายังไม่ตาย ให้รีบเดินตามพระตถาคตเจ้าไปเดี๋ยวนี้ พวกท่านทั้งหลายจะปลอดภัย ไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ จะไม่กลุ้มรุมเผาลนท่านทั้งหลายอีกต่อไป เช่นอย่างเราตถาคตนี้ เราตถาคตนี้เกิดสุดท้ายในครั้งเดียวเท่านั้น เราได้ตัดขาดจากมิตรจากสหาย คือความเกิด ความแก่ ความตาย ความกังวลทั้งหลายแล้ว จะไม่ต้องมาสู่โลกซึ่งเป็นโลกหมุนตัวเป็นเกลียวอีกต่อไป นี้เป็นธรรมที่ประกาศให้เราพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้ทราบและตื่นตัวไม่ให้มัว เมาประมาท"

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน


    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LpBuaNippan.jpg
      LpBuaNippan.jpg
      ขนาดไฟล์:
      179.3 KB
      เปิดดู:
      108
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2016
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    แก้อารมณ์ฟุ้งซ่าน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง
    [​IMG]
    Published on Jan 12, 2015

    แก้อารมณ์ฟุ้งซ่าน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง
    (ฟังเพิ่ม) ทิ้งนิวรณ์ https://www.youtube.com/edit?o=U&vide...
    (ฟังเพิ่ม) คุมจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน https://www.youtube.com/watch?v=ViU1l...
    อารมณ์ฟุ้งซ่าน
    1. ฟุ้งเพราะใจลอย ขาดสติ
    2. ฟุ้งเพราะบังคับจิตมากเกินไป ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านทางจิต ทำให้จิตไม่ยอมสงบนิ่ง
    3. ฟุ้งเพราะผู้ปฏิบัติหันมาดูจิตและเริ่มรู้­จักจิตของตนเอง คือรู้ว่าจิตนั้นคิดอยู่เสมอ
    4. ฟุ้งเพราะเกิดปิติ และมีความยินดี ติดอยู่ในอารมณ์ที่รู้ที่เห็น ไม่ยอมละอารมณ์นั้น เรียกว่ายึดติดอารมณ์
    หากผู้ปฏิบัติไม่รู้เท่าทันความฟุ้งบางอย่­าง ก็ถึงกับทำให้ผู้ปฏิบัติเลิกปฏิบัติ และอารมณ์ฟุ้งบางอย่างก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติ­หลงผิดไปจนวันตาย ดังนั้นผู้ปฏิบัติที่รู้ว่าตนเองฟุ้งซ่าน ก็ควรสังเกตว่า ตนเองนั้นฟุ้งเพราะเหตุใร ฟุ้งลักษณะใด
    อารมณ์ฟุ้งเพราะใจลอย ขาดสติ มี 2 ลักษณะ คือ
    1. ปรุงแต่งอารมณ์ภายใน เรียกว่า ธรรมารมณ์
    2. ปรุงแต่อารมณ์ภายนอก เรียกว่า จิตวิ่งไปรับอารมณ์ที่มากระทบ
    ผู้ ปฏิบัติจะมีลักษณะชอบคิดถึงคนนั้นคนนี้ อยากเที่ยวที่นั่นที่นี่ อยากรู้อยากเห็น สร้างวิมานในอากาศ บางครั้งคิดถึงสิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังมา อารมณ์ฟุ้งซ่านเหล่านี้เป็นเพราะผู้ปฏิบัต­ิขาดสติ ถ้าหากผู้ปฏิบัติคิดปรุ่งแต่งเรื่องธรรม ก็ไม่เป็นไร ดีกว่าง่วงนอนเพราะทำให้เกิดปัญญา แต่ถ้ามากเกินไปก็จะทำให้เสียผลในการปฏิบั­ติ เพราะถึงแม้ฟุ้งในธรรมจะทำให้เกิดปัญญาก็ต­าม แต่ก็เป็นปัญญาภายนอก ไม่ใช่ปัญญาดับทุกข์ ส่วนฟุ้งเรื่องที่ไม่ใช่ธรรม หรือสร้างวิมานในอากาศ หรือคิดสร้างนั่นสร้างนี่ ผู้ปฏิบัติมักจะไม่รู้ตัวว่าตนกำลังฟุ้งซ่­าน เพราะขาดสติอย่างมาก บางรายถึงกับเพลินกับอารมณ์ที่เห็นที่ได้ย­ิน ทำให้เสียเวลาปฏิบัติมาก ดังนั้นถ้าผู้ปฏิบัติเมื่อรู้ว่า กำลังคิดสิ่งต่าง ๆ อยู่ จัดว่ากำลังฟุ้งเพราะขาดสติอยู่
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    ทางพ้นทุกข์ - หลวงพ่อชา สุภัทโท
    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/JFb1UjvKtdQ" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    [​IMG]
    นิพพิทาญาณ

    นิพพิทา หมายถึง ความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง จึงมีความเบื่อหน่ายในกองทุกข์, ความหน่ายจากการไปรู้เห็นความจริงในการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ หรือความเบื่อหน่ายในการเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์ ที่ไม่รู้วันจบ,ไม่รู้วันสิ้น จึงเป็นความหน่ายที่ประกอบด้วยปัญญา จึงย่อมแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับความเบื่อหน่ายโดยทั่วๆไปหรือในทางโลกหรืออย่างโลกิยะ ที่ย่อมประกอบด้วยตัณหา

    ดังในพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่านพระเดชพระคุณเจ้า พระพรหมคุณาภรณ์ (พระธรรมปิฎก) ได้แสดงถึงความเบื่อหน่ายในทางโลกหรือโลกิยะไว้ดังนี้ว่า "ถ้าหญิงชายอยู่กินกันเกิดหน่ายกัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน หรือหน่ายในมรรยาทของกันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา"

    ดังนั้น ความเบื่อหน่ายในทางโลก จึงมีความหมายถึง ความเบื่อหน่ายหรือหน่ายกัน เหตุ
    พราะมีกิเลสตัณหามาพัวพัน อย่างเช่น หญิงชายเกิดหน่ายกันดังข้างต้น ก็เกิดมาแต่มีกิเลสตัณหาอื่นๆเข้ามาแทรกนั่นเอง ไม่ได้เกิดแต่ปัญญาไปเห็นความจริง ดังเช่น เกิดการหน่ายขึ้นเพราะไปมีคนรักใหม่ หรือมีตัณหาหรือกิเลสใดๆขึ้น เช่น ไม่ชอบไม่อยากให้คู่หรือคนรักของตนเป็นอย่างนั้น,เป็นอย่างนี้ หรืออยากให้เป็นดังนั้น,เป็นดังนี้ เมื่อไม่เป็นไปตามปรารถนา(ตัณหา)ก็เกิดความเบื่อความหน่ายกันขึ้น, หรือดังได้รถใหม่ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นในภายหลัง เนื่องจากมันเก่ามันเสียมันรวนอยู่เสมอๆจึงเกิดกิเลสความขุ่นมัว จึงเกิดตัณหาอยากได้คันใหม่ จึงเบื่อหน่ายในรถคันเดิม, หรืออาจเกิดจากตัณหาอยากได้รุ่นใหม่ที่ดีกว่า สวยกว่า จึงเบื่อหน่ายในรถคันเก่า, หรือความเบื่อหน่ายเพราะไม่อยากรอคอย ฯลฯ. อย่างนี้เป็นต้น ล้วนเป็นความเบื่อหน่ายในทางโลกๆ ที่มีพื้นฐานหรือเชื้อไฟอันมาแต่กิเลสตัณหา จึงย่อมไม่ใช่นิพพิทา ความหน่ายอันเกิดจากปัญญาไปเห็นความจริงอย่างปรมัตถ์

    นิพพิทาญาณ ญาณ แปลว่า ความรู้ ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง, นิพพิทาญาณ จึงหมายถึง ความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งที่ทำให้เบื่อหน่ายในสังสารวัฏหรือกองทุกข์, ความปรีชาหยั่งเห็นสังขารตามความจริง จึงเกิดความหน่ายในสังขารทั้งปวงว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่ทุกข์และโทษมากมาย แต่ไม่ใช่การทำลายตนเองเพราะเบื่อสังขารด้วยตัณหา, นิพพิทาญาณจัดเป็นหนึ่งในญาณ ๑๖ หรือโสฬสญาณ

    ส่วน นิพพิทานุปัสสนาญาณ เป็นการจำแนกแบบวิปัสสนาญาณ ๙ หมายถึง ความปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย หรือก็คือนิพพิทาญาณดังกล่าวข้างต้นนั่นเองเพียงแต่จำแนกแตกธรรมในแบบญาณ ๑๖ หรือโสฬสญาณเท่านั้นเอง

    อนึ่งพึงระลึกรู้ด้วยว่า การปฏิบัติทุกรูปแบบ ในที่สุดเมื่อเกิดความรู้ความเข้าใจใดๆ หรือธรรมสามัคคีใดๆอันย่อมเบิกบานเป็นผู้รู้ผู้ตื่น แต่ในที่สุดแล้วต้องประกอบด้วยนิพพิทาในธรรมหรือสิ่งต่างๆ

    นิพพิทา จึงมีความหมายว่า ความหน่ายที่เกิดขึ้นมาจากการมีปัญญาไปรู้ไปเข้าใจตามความเป็นจริงในสิ่งต่างๆ(ธรรม)ตามความจริงอย่างปรมัตถ์ เช่น เกิดนิพพิทาจาก

    ปัญญาหรือปรีชาไปเห็นเข้าใจในการเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์หรือสังสารวัฏ ในปฏิจจสมุปบาทธรรม จึงเกิดความหน่าย จึงเกิดการวางใจเป็นกลาง(อุเบกขา)ต่อสังขารปรุงแต่ง หรือ

    ปัญญาไปเห็นเข้าใจในอนิจจัง ความไม่เที่ยง ของสังขารทั้งหลายทั้งปวง จึงเกิดความหน่าย จนเกิดการวางใจเป็นกลาง(อุเบกขา)ต่อสังขารปรุงแต่งทั้งปวง หรือ

    ปัญญาไปเห็นเข้าใจในทุกขัง ความคงทนอยู่ไม่ได้ จึงต้องดับไปของสังขารทั้งหลายทั้งปวง จึงเกิดความหน่าย จนเกิดการวางใจเป็นกลาง(อุเบกขา)ต่อสังขารทั้งปวง หรือ

    ปัญญาไปเห็นเข้าใจในอนัตตา ว่าล้วนไม่มีตัวตนเป็นแก่นสาร ของสังขารทั้งหลายทั้งปวง จึงเกิดความหน่าย จนเกิดการวางใจเป็นกลาง(อุเบกขา)ต่อสังขาร หรือ

    ปัญญาการไปเห็นเข้าใจในสังขารสิ่งปรุงแต่ง ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย จึงล้วนอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเกิดความหน่าย จนเกิดการวางใจเป็นกลาง(อุเบกขา)ต่อสังขาร หรือ

    ปัญญาไปเห็นเข้าใจในทุกขอริยสัจ ว่าล้วนหนีไม่พ้น ช่างล้วนเป็นทุกข์ จนเกิดความหน่าย จึงเกิดการวางใจเป็นกลาง(อุเบกขา)ต่อสังขาร ฯลฯ.

    เมื่อเห็นเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในธรรมต่างๆเหล่าใดเหล่านั้น อันเป็นธรรมใดก็ได้ ตามจริต สติ สมาธิ ปัญญา ตลอดจนแนวทางของการศึกษาปฏิบัติ อันเมื่อถูกต้อง ย่อมล้วนทำให้เกิดความหน่าย เมื่อหน่าย จึงย่อมคลายความอยากหรือความกำหนัดในสิ่งต่างๆหรือสังขารทั้งปวงลงไป เป็นของคู่กัน เป็นปฏิจจสมุปบันธรรม หรือเพื่อให้เกิดนิพพิทาในเรื่องนั้นๆตามจริตของนักปฏิบัติเองเป็นสำคัญก็ได้ ดังเช่น

    อสุภกรรมฐาน ก็เป็นการเอาอสุภมาเป็นกสิณ(อสุภ นิมิต) ในการพิจารณาร่างกายว่าล้วนแต่เป็นอสุภ เน่าเสีย หรือปฏิกูลเหมือนกันล้วนสิ้น ก็เพื่อจุดประสงค์ให้เห็นในความจริงของร่างกายตัวตนว่า ล้วนเป็นเช่นนี้เอง ที่สวยงาม ที่ถูกใจนั้น ล้วนไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ และเป็นอนัตตา จึงย่อมเกิดอุปาทานทุกข์ขึ้น ถ้าไปอยากด้วยตัณหาหรือไปยึดด้วยอุปาทานว่าเป็นของตัวของตน ก็เพื่อให้เกิดปัญญาเข้าใจยิ่งในสังขารร่างกายตามความเป็นจริงอย่างลึกซึ้ง อย่างจดจำ จนเกิดนิพพิทาความหน่ายในสังขารร่างกายอันเน่าเฟะที่เพียรเพ่งหรือนิมิตขึ้น จึงย่อมคลายความอยาก คลายตัณหาความกำหนัดในสังขารร่างกายอันสวยงามต่างๆลงไปทั้งในของตนเองและบุคคลอื่นลงไป หรือคลายราคะจริตในเรื่องเพศลงไปโดยตรงๆนั่นเอง

    เมื่อหน่าย ย่อมเป็นไปตามปฏิจจสมุปบันธรรมกล่าวคือย่อมคลายความอยากหรือความกำหนัดอันคือดับตัณหาเสียนั่นเอง...จึงย่อมคลายความยึดมั่นในกิเลสหรือในความพึงพอใจของตัวตนอันเป็นอุปาทานตามมาโดยธรรม กล่าวคือ นิพพิทาเป็นปฏิปักษ์หรือธรรมคู่ปรับกันโดยธรรมหรือธรรมชาติกับตัณหาโดยตรงนั่นเอง, จึงย่อมดำเนินและเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายดับทุกข์หรือฝ่ายนิโรธวาร กล่าวคือ เมื่อตัณหาดับ อุปาทานดับ ภพดับ ชาติดับ ชรา-มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ล้วนย่อมดับไปตามธรรมคือสภาวธรรม จึงเป็นการดับไปของกองทุกข์

    ความหน่ายหรือความเบื่อหน่ายที่เกิดแต่นิพพิทาญาณนี้ จึงมีความแตกต่างกันอย่างยิ่งกับความหน่าย ความเบื่อ หรือความเบื่อหน่ายอันเกิดแต่กิเลสหรือตัณหาหรือวิภวตัณหาก็ตามที ความหน่ายจากการรู้ความจริงหรือนิพพิทาจึงคลายกำหนัดหรือตัณหานั้นเป็นความหน่าย ที่เบาโล่งสบาย เพราะขาดด้วยกิเลสตัณหาอันเร่าร้อนนั่นเอง ส่วนความเบื่อหน่ายโดยทั่วไปหรือทางโลกนั้นเป็นความเบื่อหน่ายที่เร่าร้อนเผาลนกระวนกระวาย จึงไร้สุขหรือยังความหดหู่มาให้ก็เนื่องจากกิเลสหรือตัณหาต่างๆที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆนั่นเอง กล่าวคือเกิดภวตัณหาหรือวิภวตัณหาเข้าแทรกแซงปรุงแต่งนั่นเอง เมื่อไม่ได้ตามตัณหาก็เกิดเป็นอุปาทานทุกข์ เป็นการดำเนินและเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาร หรือฝ่ายเป็นทุกข์นั่นเอง

    นิพพิทาญาณ จัดเป็นเครื่องวัดในการปฏิบัติได้เป็นอย่างดีว่า ดำเนินมาอย่างถูกต้องหรือไม่? กล่าวคือ ถ้าปฏิบัติแล้วเกิดนิพพิทาหรือนิพพิทาญาณก็เป็นเครื่องชี้นำได้อย่างดีว่าได้ปฏิบัติมาอย่างถูกต้องแนวทางดีแล้ว แต่ถ้าปฎิบัติแล้วมีความรู้สึกอวดดี อวดเก่ง อวดรู้ อวดกล้า มีฤทธิ์มีเดช มีอำนาจ ถือดี วางตัวเป็นผู้รู้ เยี่ยงนี้แล้วให้โยนิโสมนสิการในข้อปฏิบัติของตนให้ดีว่า ได้ปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดผิดพลาดไปเสียแล้วอย่างแน่นอนเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นวิปัสสนูปกิเลสอันเกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติเป็นธรรมดา จึงเนื่องด้วยวิปัสสนูปกิเลสแบบใดเป็นสำคัญเท่านั้นเอง แล้วแก้ไขเสีย กล่าวคือ วางฌานสมาธิลงเสีย แล้วเจริญแต่วิปัสสนาเป็นสำคัญ

    ด้วยเหตุดังกล่าวเหล่านี้ นิพพิทาญาณ จึงจัดเป็น หนึ่งในญาณหรือความรู้ยิ่งในการปฏิบัติวิปัสสนา คือ นิพพิทานุปัสสนาญาณ ในวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นญาณอันสำคัญยิ่งที่ต้องเจริญหรือภาวนาให้เกิดขึ้น(ภาวนาปธาน)ให้ได้ในที่สุด มิฉนั้นก็กล่าวได้ว่าการปฏิบัติที่ผ่านมานั้นยังเป็นไปอย่างไม่ถูกต้องแนวทาง เพราะเป็นญาณหรือความปรีชาที่เป็นปฏิปักษ์โดยตรงต่อตัณหา อันเป็นสมุทัยหรือเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งถ้ากล่าวอย่างปรมัตถ์แล้ว สมุทัยก็คือเหตุแห่งอุปาทานทุกข์นั่นเอง

    อนึ่งพึงพิจารณาโดยแยบคายด้วยว่า นิพพิทาญาณเป็นวิปัสสนาญาณที่เป็นไปทางปัญญา เพื่อการหลุดพ้นจากกิเลสอย่างถาวร ส่วนฌานสมาธิที่เมื่อปฏิบัติแต่ฝ่ายเดียวไม่เน้นการวิปัสสนาอย่างจริงจังนั้น แม้จะยังให้เกิดความสุข,สงบ,สบาย ที่แลดูหรือรู้สึกราวกับว่าเป็นสุขกว่านิพพิทานั้น แต่ตามความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม ฌานสมาธิแม้จะเกิดความสุขความสงบความสบายอันเกิดแต่การระงับไปของกิเลสในนิวรณ์ทั้ง ๕ แต่ก็จะเกิดมานะทิฏฐิสูง มีความอวดเก่ง ความอวดกล้าจนบางครั้งก้าวร้าวอยู่ในจิตเป็นเครื่องแทรกอยู่เสมอๆ และยังเป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่สุดในการเกิดวิปัสนูปกิเลส จากการติดเพลินหรือเพลิดเพลินในองค์ฌานหรือสมาธิโดยไม่รู้ตัวที่เรียกทั่วไปว่าติดสุข ซึ่งมีอาการของจิตส่งในเป็นเครื่องเคียงหรือเครื่องร่วมเสมอๆ อันจักยังให้โทษทั้งต่อธาตุขันธ์และจิตขันธ์ในที่สุด และยังไม่เป็นการดับทุกข์ไปอย่างถาวร พระองค์ท่านจัดเป็นความสุขอันเกิดแต่ฌานหรือสมาธิว่าเป็นแบบโลกิยวิมุตติหรือวิกขัมภนวิมุตติที่ยังไม่เที่ยง สามารถกลับกลายหายสูญได้ ดังนั้นเมื่อปฏิบัติฌานสมาธิแล้วต้องดำเนินการเจริญวิปัสสนากำกับด้วยทุกครั้งทุกทีไป กล่าวคือนำความสุขสงบสบายอันเป็นเครื่องอยู่เป็นกำลังสำคัญของจิตไปเป็นเครื่องหนุนการเจริญวิปัสสนาเสียนั่นเอง เพื่อให้เกิดปัญญาวิมุตติจึงทำให้ไม่กลับกลายหายสูญ

    ส่วนนิพพิทา ความหน่ายที่ฟังจากชื่อแล้ว ชวนทำให้เข้าใจผิดไปว่า เมื่อเป็นความหน่ายจึงเป็นความทุกข์นั้น แต่ตามความจริงกลับยังให้เกิดความสุขอันยิ่งตามมา เพราะเป็นเพียงการหน่ายในอารมณ์ที่ผัสสะเนื่องจากปัญญาหรือปรีชารู้ความจริง ดังนั้นเมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัดหรือความอยากหรือตัณหานั่นเอง และเมื่อคลายกำหนัดจึงไม่เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานขึ้นนั่นเอง อันเป็นการดำเนินไปตามปฏิจจสมุปบันธรรมตามวงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวารหรือฝ่ายดับทุกข์นั่นเอง เมื่อไม่เร่าร้อนเผาลนกระวนกระวาย จึงเป็นสุขอันยิ่ง และเป็นสุข ชนิด สะอาด สงบ และบริสุทธ์ อย่างแท้จริง

    นิพพิทาจึงเป็นของดี ไม่ใช่เป็นไปเพื่อทุกข์ แต่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์

    นิพพิทา จึงเป็นไปเพื่อดับตัณหา เป็นไปเพื่อการตัดทำลายวงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาร

    นิพพิทา จึงไม่เป็นไปเพื่อทุกข์ แต่เป็นไปเพื่อโลกุตตรสุข อันเป็นสุขยิ่ง

    ...............

    http://www.nkgen.com/781.htm]�Ծ�Է�
    ..................................
    นิพพิทาสูตร
    พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๒

    [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

    ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท

    เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่า ไม่งามในกาย ๑ (เช่น ปฏิกูลมนสิการ, นวสีวถิกา, อสุภกรรมฐาน)

    มีความสำคัญว่า เป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑ (เช่น ปฏิกูลมนสิการ, อาหาเรปฏิกูลสัญญา)

    มีความสำคัญว่า ไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑ (เช่น โลกธรรม ๘)

    พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ (เช่น พระไตรลักษณ์)

    ย่อมเข้าไป ตั้งมรณสัญญาไว้ใน ภายใน ๑ (เช่น มรณสติ, พระไตรลักษณ์)

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว

    ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ

    จบสูตรที่ ๙
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • recliningbuddha.jpg
      recliningbuddha.jpg
      ขนาดไฟล์:
      151.1 KB
      เปิดดู:
      449
    • Sadhu.jpg
      Sadhu.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      64
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2016
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    อ่านก่อนถึงวันสิ้นโลก
    <iframe width="420" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/JL3o6M_aAyo" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    เตรียมกาย เตรียมใจ รับภัยพิบัติ
    <iframe width="420" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/rIqyiVNe_Zo" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    เตรียมใจรับภัยพิบัติ ครั้งที่1
    <iframe width="420" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_IqsFJNGEBA" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    เตรียมใจรับภัยพิบัติ ครั้งที่2
    <iframe width="420" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/ogSisN7z58Q" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    เทปบันทึกลงหนังสืออ่านเล่น 08 เหตุที่เกิดแผ่นดินไหว ต่อ, โพรงใต้ดินในเมืองไทย@23 ธันวาคม 2531
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...