ฌาน 4 แล้วจากนั้นฝึก อะไรต่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย GunzEarn, 23 พฤษภาคม 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646

    สอบอารมณ์ดูนะครับ.......ว่าเป็นดั่งที่หลวงพ่อว่าไว้ไม.......หรือมันมีสถาวะอย่างไร.......ไอ่ถ้ายังมีความคิดอยู่...สั่งกาย..ยกขึ้น...ยกลงได้.....อันนี้...ยังไม่ถึงครับ......ยังอีกยาวไกล....

    แนะนำให้ศึกษาเพิ่มเติม......หนังสือ วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำครับ.......แล้วจะมีความเข้าใจ....ตั่งแต่ต้น...จนพลิกเป็นวิปัสสนา....ตามลิงค์นี้ครับ...
     
  2. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    GunzEarn<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_2126147", true); </SCRIPT>
    ไปศึกษา...เรื่องสติ..สัมปัชญญะ
    อะไรคือ..สติ อะไร..สัมปัชญญะ
    แล้วจะเข้าใจ...เหตุที่จิตสั่งอวัยยวะภายในกายได้...

    เมื่อคุณทำจิตภาวนา...
    เพิ่งถอนจิตจากการภาวนา
    อำนาจจากสมาธิ..ทำให้จิตละเอียดขึ้น..
    ทำให้สติ..และสัมปัชญญะ...ดีเป็นลำดับ
    จึงเห็นการเปลี่ยนแปลงจากการปฏิบัติจิตภาวนา
    เห็นจิตสั่งกาย..กำหนดให้เคลื่อนไหวได้...
    ศึกษาไปเรื่อยๆ...แล้วจะเข้าใจแจ่มแจ้ง..
    อย่าเพิ่งปักใจเชื่อ..ดูไปเรื่อยๆ...
    สำคัญที่สุด..อย่าทิ้งความเพียร
    อนุโมทนาด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2009
  3. GunzEarn

    GunzEarn Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +34
    ขอบคุณครับ
     
  4. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    เป็นกำลังใจให้ครับ...
    เช่นกันครับ..ขออนุโมทนาด้วย
    และขอให้คุณจงประสบแต่ความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติจิตภาวนา
    จงถึงซึ่งที่สุดแห่งทุกข์..โดยเร็วพลัน.สาธุ
     
  5. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,011
    มาอ่านอันนี้เเล้วกันครับ จขกท เป็นคําสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดําครับ มีทุกอย่างอยู่ในนั้นหมดเเล้ว จะได้ฝึกอย่างถูกขั้นตอนได้ครับ อนุโมทนาครับท่าน
    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน

     
  6. cookieberry

    cookieberry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2009
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +4,607
    เราเองก็เคยคิดเหมือนกันนะว่าได้ฌาน 4 เเล้วจะปฏิบัติอะไรต่อดี

    ถ้าเราเข้าใจไม่ผิดฌาน 4 เป็นสมถกรรมฐานยังไม่เป็นไปเพื่อการหลุดพ้น ได้เเต่ความเงียบซึ่งเป็นองค์ฌานเฉยๆ

    เจ้าของกระทู้ลองฝึกวิปัสสนากรรมฐานดูสิคะ พิจารณา อสุภกรรมฐาน มรณานุสสติกรรมฐาน พุทธานุสสติกรรมฐาน

    ต้องปฏิบัติทั้งสมถกรรมฐานเเละวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กันไปเพื่อการหลุดพ้น

    เรารู้เเต่ทฤษฎีค่ะ ปฏิบัติปฐมฌานได้เเล้วหรือยังเรายังไม่รู้เลย

    เเต่เจ้าของกระทู้พึงระวังความหลงให้ดีๆนะคะ เพราะมีหลายคนที่เข้าใจว่าตัวเองได้ฌาน ๔ เเล้วทั้งๆที่ยังปฏิบัติได้ระดับ อุปจารสมาธิเท่านั้น พระอาจารย์เราสอนว่าสมาธิเป็นเรื่องละเอียดควรพึงระวังความหลงไว้ให้มาก
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    กรรมฐานที่ท่านกล่าวมา....เป็นหมวดสมถะทั้งหมดครับ.......

    และอีกอย่าง....คืออยากให้ปลับความเข้าใจที่ถูกต้องหน่อย.........สมถะเป็นพื้นฐาน....ให้เกิดวิปัสสนา........ทั้งสองอันจะแยกจากกันไม่ได้........พระพุทธเจ้าไม่ทรงแยกจากกัน........

    การเชื่อว่า........ฝึกแต่วิปัสสนา....ไม่ฝึกสมถะ...........สมถะไม่มีส่วนช่วยให้หลุดพ้น.........คำพวกนี้คือความเห็นผิดครับ.....มิจฉาทิฏฐิ.....ครับ
     
  8. cookieberry

    cookieberry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2009
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +4,607
    ขอบคุณค่ะที่เเนะนำ คิดอยู่ตลอดว่าไม่เหมือนกัน
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    มาพิจารณากันครับว่า สิ่งที่คุณเห็นให้อะไรบ้าง

    สังเกตไหมว่า มันไม่มีอะไรมากไปกว่า การรู้อาการ

    อาการที่รู้นั้น ก็เป็นอาการรู้ว่าจิตมันสั่งกายได้ แบบใช้ความจงใจไม่มาก เหมือน
    พ้นเจตนา แต่ก็ไม่เชิง จะต้องมีการน้อมนึกนิดหน่อย ถึงจะปรากฏอาการตามที่
    คุณเห็น

    อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อใจคุณสงบมาก และสังเกตให้ดีว่าจริงๆสิ่ง
    รายรอบก็ปรากฏมากกว่านั้น กายที่ขยับก็มีมากกว่าส่วนที่เราน้อมนึกสั่ง คือมัน
    ไม่ได้ขยับแค่ส่วนเดียว แต่มีอีกหลายส่วนที่ขยับ ส่วนที่ขยับได้ด้วยการน้อม
    นึกตามที่คุณรู้สึกมันก็แค่ส่วนหนึ่ง จากหลายๆส่วนที่ขยับอยู่ และในอีกหลายๆ
    ส่วนที่ขยับอยู่ก็พ้นไปจากการสั่งของจิต คือ คุณไม่ไดยุ่งเกี่ยวอะไรกับกายส่วน
    อื่นที่ขยับเลย

    แต่เรามักจะไม่เห็นส่วนอื่นที่มันขยับของมันเอง เราไม่สนใจมัน ไม่ให้ความสำคัญ
    กับส่วนนั้น เพราะใจมันสงบ และสนใจลงมาที่จุดเดียว ตรงนี้จึงเรียกว่า จิตมันรวม
    ลงมารู้อยู่ที่จุดเดียว แนบไปที่จุดที่สนใจ ซึ่งเรียกว่า สงบ หรือ สมถะ

    เมื่อทบทวนดูอีกครั้ง จะเห็น สมถะ ก็มีอยู่แค่นั้น และไม่ให้ไปมากกว่าการรู้อาการ
    อยู่แค่นั้น แถมยังไม่รู้อีกว่า จะต้องทำอะไรต่อ

    อาการที่ปรากฏให้เห็นประจักษ์อยู่ว่า ไม่รู้เหนือรู้ใต้ ไม่รู้ทางไปต่อ อันนี้แหละครับ
    ที่เรียกว่า สมถะ มันให้แต่ความสงบ แต่ไม่ให้ปัญญา(รู้ทางไปต่อ)

    หลายคนทีเดียวที่ยึดเอาการเห็นจากสมถะเหล่านี้เป็น ตัวปัญญา แล้วอวดอ้างว่า สมถะ
    นี้ให้ปัญญาอยู่แล้ว สมถะไม่แยกจากวิปัสสนา คนที่กำลังชักชวนให้คุณยึดการเห็นอัน
    หาทางเดินต่อไปไม่ได้(เห็นอยู่ว่าหาทางต่อไม่ได้) ให้ติดตายอยู่กับการยึดการเห็นอัน
    นี้พอใจแค่อาการที่ปรากฏเรื่อยๆใน สมถะ ใดๆ เป็นปัญญาคือพวก มิจฉาทิฏฐิ หรือพวก
    ฤาษีชีไพร
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คราวนี้ลองมาดูกันต่อว่า คุณจะเอาสิ่งที่คุณเห็นไปต่อให้เห็นทาง หรือทำให้เกิดปัญญา
    ได้อย่างไรกัน ......

    ก่อนอื่น มารู้จักปริยัติกัน เผื่อเอาไว้ ในกรณีที่คุณสามารถไปศึกษาค้นคว้าต่อด้วยตัวเอง
    เพราะปลอดภัยอยู่ หากคุณยังไม่โดนหลอกทำให้หลงในผลอันหาสาระยังไม่ได้ (จะหาสาระ
    ได้ภายหลังหากเอาไปต่อยอดเป็น )

    อาการที่ปรากฏ เรียกว่า เห็น กายในกาย ก็คือ การเห็นว่าหายเฉพาะส่วนเท่านั้นที่เราสั่งได้

    และกายอีกหลายส่วนนั้น มีอะไรอย่างอื่นสั่งแทนจิต(ที่โดดเด่นเป็นคุณ) จริงๆแล้วกายอีกหลาย
    ส่วนก็สั่งด้วยจิตเหมือนกันหมด จะมีบางส่วนเท่านั้นที่สั่งจากส่วนไขสันหลัง(สัญชาติญาณดิบ)

    จะเห็นว่า ทันทีที่เห็น กายในกาย คุณก็สามารถเห็น จิตในจิต ด้วย

    อาการโดดเด่นของจิต ที่สามารถเห็นกายในกาย หรือ เห็นจิตในจิต(แล้วแต่ความไว และจริต
    ในการเห็นว่าจะเป็น สมถยานิก หรือ วิปัสสนายานิก ) เรียกว่า ธรรมเอก เอโกธิภาวะ

    ดังนั้น สภาวะที่ปรากฏเอโกธิภาวะ นั้นคือ อุปปจารสมาธิ หรือ ฌาณ2 ซึ่ง ฌาณ2 โดยธรรม
    ชาติจะยังไม่ให้ปัญญาในการเห็นทางหลุดพ้น หรือการเห็นทางเดินต่อ หากทำสมาธิต่อไปก็
    จะอาจจะได้ฌาณ 3 หรือ 4 และอาจจะถึง ปฐมฌาณ แต่กระนั้นก็จะยังไม่ให้อะไร ไม่สามารถ
    ให้การเห็นทางเดินต่อสู่การหลุดพ้นได้ ได้แต่เห็นอาการต่างๆ เห็นนิมิตต่างๆ ซึ่งเป็นผลทาง
    สมถะเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2009
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ท่านนิวรณ์....ผมถามท่านนะครับ.......สมถะที่ท่านกล่าวนั้นเป็นอย่างไร.....สมถะเข้าไม่ได้ใช้ให้ตั่งแช่นะครับ......พระพุทธองค์ทรงบอกไว้ชัดเลย.....อย่ากล่าวเกินพระพุทธเจ้าสิครับท่าน.....จะให้ผมยกพระไตรไม.....หรือว่าท่านจะเก่งกว่าพระพุทธเจ้า......

    ถ้าท่านมั่งคงในการปฏิบัติวิปัสสนา.......ท่านบอกผมได้ไมว่า....การฝิกวิปัสสนาอย่างไรที่ทำได้โดยไม่มีสมถะอยู่เลย......แม่แต่น้อย......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2009
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ข้อสังเกตุ : ในทางปฏิบัตินั้น เราจะเคยได้ยินเสมอว่า มีคำว่า สมถะยานิก และ วิปัสสนายานิก

    จะเห็นว่า กลุ่มนักปฏิบัตินั้นได้ถูกแยกออกเป็นสองกลุ่มแน่นอน ดังนั้น คำว่า สมถะ และ
    วิปัสสนานั้น จะต้องมีอะไรบางอย่างที่จะแนกแยกออกจากกันได้

    คำกล่าวที่ว่า สมถะ และ วิปัสสนา ไม่สามารถแยกจากกันได้ จึงต้องใคร่ครวญไตร่ตรอง
    ให้มาก ก่อนที่จะเชื่อตามกลุ่มใดๆที่กล่าวว่า สมถะนั้นมีวิปัสสนาในตัว

    ตรงนี้ หาก จขกท ตั้งประเด็นไว้ เพื่อสืบหา เพื่อค้นหา เพื่อค้นคว้า หากยังทำด้วยการ
    ปฏิบัติจนรู้เองเข้าใจเองไม่ได้ ก็ต้องอาศัยการหมั่นสดับจากกัลยาณมิตร(ปริยัติ) เมื่อ
    ฟังแล้วก็ให้ตั้งประเด็ยในการทำให้แจ้งเอาไว้

    ซึ่งจะได้แนกออกว่า ตอนไหนกำลังทำสมถะ ผลที่ได้นั้นเป็นส่วนของการเห็นในแบบ
    สมถะ และตอนไหนคือการเห็นแบบวิปัสสนา ผลที่ได้นั้นเป็นส่วนการเห็นในแบบวิปัสสนา

    หากสามารถจำแนกได้ และคุณรู้ชัดว่า ส่วนที่คุณปฏิบัติได้เป็นผลนั้นอยู่ในส่วนวิปัสสนา
    รับรองได้เลยว่า จะไม่มีทางมาตั้งคำถามว่า แล้วผมต้องทำอะไรต่อ ต้องทำกรรมฐานไหน
    ต่อ เพราะ วิปัสสนากรรมฐานนั้นจะให้คำตอบหรือทางเดินต่อในตัวเสมอ เว้นแต่ผลทาง
    สมถะที่มักจะต้องหามาทำเพิ่ม ผลของสมถะกรรมฐานแต่ละตัวจะให้ความรู้แยกจากกัน
    ไม่มีความต่อเนื่องกัน แต่ความชำนาญบางอย่างใช้ประกอบกันได้ เรียกว่า มีความคล่อง
    ในการทำ ให้ปัญญาในแบบมีความคล่องตัว แต่ไม่ใช่เรื่องปัญญาในการหลุดพ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2009
  13. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ท่านมีความรู้ทางพระอภิธรรม......ส่วนใหญ่ใช้พระอภิธรรมตอบ.......พระอภิธรรมไม่บอกลำดับของสมาธิไว้เหรอครับ........ลำดับ....อารมณ์.....ลักษณะยังบอกได้ไม่ถูกเลยท่าน........

    ท่านทำได้แล้วหรือยังครับ.....หรืออนุมานเอา....
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646

    ท่านยกมาให้ผมหน่อยสิครับ...........ประโยคนี้พระพุทธเจ้าทรงกล่าวไว้ที่ใหนในพระไตรปิฏก.............ผมไม่เคยเจอ........

    ถ้าท่านจะเห็นผิด....อย่าทำให้คนอี่นเห็นผิด......

    ท่านอย่าหลีกเลื่ยงที่จะตอบคำถามผม.........
     
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]
    [๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

    เขาชื่อว่า กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ละธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    เจริญธรรมที่ควรเจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

    ;k03

     
  16. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คราวนี้ผมก็มาวกเรื่อง หากคุณเห็นอย่างนั้นแล้ว ได้ผลจากการทำสมถะที่ยอดเยี่ยมเช่น
    นั้นแล้ว จะเอามาทำวิปัสสนา เพื่อหาทางเดินต่อได้เองได้อย่างไรกัน

    มีสองวิธีครับ ที่จะสามารถปรับเข้าทางวิปัสสนา

    1. เมื่อเกิดการเห็น จิตสามารถสั่งกายให้ขยับเองได้แล้ว ให้ลองปล่อย
    อย่าทรงการรู้นั้นไว้ อย่าเล่นต่อเนื่อง อย่าจมอยู่ ให้ถอนออกมา แต่ให้
    กายที่จิตสั่งให้เคลื่อนนั้นยังขยับต่อ โดยไม่มีเราเป็นผู้จงใจน้อมอีก

    แล้วสังเกตถึง.....

    1.1 มันหยุดขยับ หากปรากฏ ต้องสังเกตว่า ทำไม

    1.2 มันไม่หยุดและยังขยับได้ โดยพ้นอำนาจการสั่งจากเราแน่นอน ก็สังเกตว่าทำไม

    ตรงนี้ เมื่อฝึกเห็น มันหยุดขยับ และ มันขยับต่อได้เอง แล้ว ให้สังเกตว่า ความเด่น
    ดวงของจิตตอนนี้เป็นอย่างไร ใช่จิตตัวที่สั่งการอะไรไหม หรือ เป็นจิตที่ไม่ได้ทำอะไร
    นอกจากจะเป็น ผู้รู้ ผู้ดู มีความเป็น ธรรมเอก บริสุทธิอยู่ ไม่เคลื่อนออกไปรวมตัวกับ
    จิตที่มันสั่งกายให้ขยับได้

    * * * *

    2. เมื่อเกิดการเห็น จิตสามารถสั่งกายให้ขยับเองได้แล้ว ให้ย้อนมองจิตที่สั่งกายให้ขยับ
    ได้นั้น แล้วสังเกตุ

    2.1 จิตนั้นมันยังสั่งให้กายขยับอยู่ไม่หยุด สังเกตว่า ทำมันเราสั่งจิตให้หยุดไม่ได้

    2.2 จิตนั้นมันหยุดสั่งให้กายขยับเอาดื้อๆ สังเกตว่า ทำไมเราย้อนดูจิตที่สั่งแล้วมันกลับ
    หยุดสั่งดื้อๆ

    ตรงนี้จะฝึกการเห็น จิตที่มันสั่งงานได้นั้นแท้จริงเราก็ควบคุมมันไม่ได้ มันสั่งกายขยับ
    เองก็ได้ เราไม่สั่งมันก็สั่งของมันเองได้ เราอยากให้มันสั่งมันก็หยุดสั่งไม่ทำตามเรา
    นี่ก็จะพบว่า จิตที่มันสั่งให้กายคุณขยับนั้น คือ ขันธ์5 นั่นเอง ไม่ใช่จิต ไม่ใช่อีกจิต
    ที่กำลังเป็นผู้รู้ ผู้ดู

    * * **

    ผลจากการน้อมเห็นทั้งสองวิธี จะเรียกว่า การยกวิปัสสนาญาณ จะทำให้เห็นว่า กายไม่ใช่
    เรา และ จิตก็ไม่ใช่เรา

    ซึ่งจะเห็นว่า เมื่อจิตเด่นดวงดีแล้ว มีธรรมเอกแล้ว เราต้องฉลาดที่จะเอามาใช้งานทาง
    วิปัสสนา หากเอาไปใช้ทางสมถะ เราก็จะรู้อะไรไปได้เรื่อยๆ และอาจจะติดในรู้นั้นหลง
    เห็นว่าเป็นของเที่ยง สั่งได้ และไม่เกิดการละวาง และไม่ให้ภาพของการเห็นทางพ้นทุกข์

    แต่ถ้าเราเอา จิตที่เด่นดวงดีแล้วย้อนมองลงในจิตตน หรือ ย้อนมองลงในกายตน จะทำให้
    เห็นความไม่เที่ยง บังคับบัญชาไม่ได้ ทันที และให้ผลการเห็นตรงตามความเป็นจริง และ
    ให้ความรู้สึกว่า นี่แหละทางที่เป็นไปเพื่อการละวาง เพื่อการพ้นทุกข์ จากอุปทานการยึด
    ฉวยว่า กายคือตน จิตคือตน

    ลองเอาไปทำดูนะครับ ไม่ยาก และใช้เวลาไม่นานในการน้อมใจมองย้อนลงในกาย ในจิต
    ตน อย่าส่งจิตออกนอกไปในนิมิตทางกาย ทางใจ ซึ่งคุณแค่เจียกเวลามองย้อนเพียงเสี้ยว
    ขณะจิตเท่านั้น ไม่ได้รบกวนคุณธรรมที่คุณมีดีอยู่แล้วอะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2009
  17. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]

    พระอรหันต์เจ้า...อานนท์...

    ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

    พระอานนท์ตอบ ว่า
    “....ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
    (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป....
    มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

    ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
    ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
    ตอ. G.S. II : ๑๖๒
    จาก http://www.84000.org/true/220.html


    ท่านแบ่งแยก สมถะกับวิปัสสนา เป็น 2 คำ....เพื่อความเข้าใจเท่านั้น..

     
  18. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ท่านยังไม่ได้ตอบคำถามที่ผมถามไว้เลยเมื่อกี้............

    ตกลงว่ามันเป็นอย่างไร.......

    ป่วยการที่จะพูดกับท่าน.......กัลยาณมิตรหลายท่านก็บอกแล้วเตือนแล้ว......สอนเกินพระพุทธเจ้า......ก็ยังไม่ปลับแก้ไข......ข้างๆคูๆ.....ถูๆไถๆ......

    พระพุทธเจ้าทรงตรัษ บัวมี 4 เหล่า.......แล้วแต่ท่านเถอะ....

    ลูกผู้ชายพูดสิ่งใดควรรับผิดชอบนะ.........บอกว่าเห็นผิดก็จบ.....

    ผมบอกท่านนะผมไม่ได้เหมือนกัลยาณมิตร...ท่านอื่น....ที่จะมาอ้อมค้อม...ผมเอาของผมตรงๆนี่หละ.....ผิดคือผิด...ถูกคือถูก...ขวานผ่าซาก..รับได้ก็รับรับไม่ได้ช่วยไม่ได้......ทุกคำที่ผมเอามาผมเอามาจากพระไตรและครูบาอาจารย์...ไม่เคยหวังให้ใครมานับถือ...ไม่เคยหวังให้ใครมาเห็นด้วย...อีกอย่างผมไม่ใช่พระอรหันต์...ในด้านธรรมไม่ถูกแล้วไม่เคยอ่อนให้ใคร.......

    ขอขมากรรมแก่กัลยาณมิตร.....ที่เข้ามาศึกษาธรรม....หากเกิดทำให้ท่านสดุจใจ......ขอขมากรรมครับ......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2009
  19. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646

    ท่านกล่าวขึ้นต้นว่าปลับเข้าสู่วิปัสสนา......ท่านกล่าวต่อมาว่ายกขึ้นสู่วิปัสสนา......ตอบไปตอบมาขี้หมากองเดียวกัน......อ่าว.....

    มันก็คือยกจากสมถะ.........ถ้าไม่ยกจากสมถะมันจะยกจากอะไร...มันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะยกจากนิวรณ์ 5...

    ต่อให้เป็นขนิกสมาธิก็คือสมถะ...........บอกชัดเลย........ก็คือท่านตอบคำถามท่านเอง.....


    ไม่ใหว...ไม่ใหว....ท่านตอบธรรมข้างตนบอกอย่าง...ต่อมาก็ว่าอีกอย่าง.....อันนี้ครูบาอาจารย์ท่านว่าไม่รู้จริง..อนุมานเอา...อีกอย่างท่านเรียก ถูๆ ไถๆ ให้พ้นตัว.....ทำให้งง...ตอบอย่างนี้ตัวหลงอย่างดีเลย...เวียนหัว..ไม่ตอบเสียดีกว่าตอบ..ของจริงตอบ 10 ครั้งก็เหมือนกัน 10 ครับ ไม่มีเปลื่ยน....ไม่มีพลาด....ตรวจสอบได้.....เอาท่านว่าเถอะ..........ผมงดตอบหละ......หน้าเวียนหัว....

    ของดตอบกระทู้นี้ในส่วนของ นิวรณ์ หรือ เอกวีร์ (ชื่อท่านยังใช้หลายชื่อ..แม้ชื่อก็ไม่แน่นอน)เพียงเท่านี้.......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2009
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เป็นอะไรไปครับพี่

    ก็ถูกแล้วไง งานที่ต้องศึกษาปฏิบัติมี สองอย่าง คือ สมถะ และ วิปัสสนา

    เมื่อทำอย่างหนึ่งแล้ว ก็ต้องมาทำอีกอย่างหนึ่ง คนละขณะกัน พระอานนท์
    ท่านจึงกล่าวว่า มีสมถะเป็นเบื้องหน้า แล้วตามด้วยวิปัสสนาเป็นเบื้องหลัง
    ทำบ่อยๆ ก็หมายถึงตอนที่ จขกท เห็นจิตสั่งกาย(สมถะ) ก็ลองปล่อยแล้ว
    ย้อนดูจิต(วิปัสสนา) ปล่อยรู้แล้วก็กลับไปสั่งกายขยับใหม่ แล้วปล่อยรู้
    ทำแบบนี้สลับไปสลับมา ในช่วงไม่กี่ขณะจิต หรืออาจจะทั้งวันก็แล้วแต่
    ความเด่นดวงของเอโกธิภาวะ

    จขกท เขาถามว่าให้ทำอะไรต่อ เราก็สอนลงไปเพิ่มอีก 1 เสต๊ปเอง ยังมี
    อีกเยอะในการเห็นความจริง

    แล้วดูสิตอนนี้ คุณเองก็ยังเข้าใจว่า มี สมถะ และ วิปัสสนา แยกจากกัน
    ใช่หรือไม่ใช่

    ผมก็ชี้ไปถูกต้องแล้ว แล้วคุณเองก็เข้าใจด้วย ไม่เห็นจะมีอะไรขัดกันเลย

    กลับไปนั่งยิ้มใหม่หลายๆรอบดูนะ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...