ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    UPDATE: งานวิจัยชี้ ‘งานซ้ำซาก’ เสี่ยงทำสมองเสื่อมเร็ว ส่วนคนทำงานที่ต้องใช้สมองคิดวิเคราะห์ เสี่ยงเสื่อมน้อยกว่า
    .
    งานวิจัยใหม่ล่าสุดพบว่าการทำงานที่ต้องใช้ความคิดอย่างหนัก ไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณก้าวหน้าในอาชีพเท่านั้น แต่ยังอาจช่วยปกป้องความสามารถในการคิด และลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้นได้อีกด้วย
    .
    จากการศึกษาข้อมูลสุขภาพและอาชีพของชาวนอร์เวย์กว่า 7,000 คน ตั้งแต่ช่วงอายุ 30 ปี จนถึงวัยเกษียณในช่วง 60 ปี พบว่าผู้ที่มีงานประจำที่ไม่ต้องใช้ความคิดมากนัก หรืองานรูทีน มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย (Mild Cognitive Impairment) สูงขึ้นถึง 66% และมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia) สูงขึ้น 37% เมื่อเทียบกับผู้ที่มีงานที่ต้องใช้ความคิดและทักษะการสื่อสารในระดับสูง
    .
    Trine Edwin นักวิจัยจาก Oslo University Hospital ในนอร์เวย์ และหัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า “ผลการศึกษาของเราแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการมีอาชีพที่ต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อน เพื่อรักษาความจำและความคิดในวัยชรา”
    .
    อย่างไรก็ตาม การศึกษาพบว่า การศึกษาในระดับสูงช่วยลดผลกระทบจากงานที่ไม่ต้องใช้ความคิดมากนักได้ แต่ไม่สามารถขจัดความเสี่ยงได้ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น การเข้าเรียนในระดับวิทยาลัยลดผลกระทบได้ประมาณ 60%
    .
    Richard Isaacson ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Institute for Neurodegenerative Diseases ในฟลอริดา ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษานี้ กล่าวว่า “การมีส่วนร่วมในชีวิตอย่างแข็งขัน การรักษาความรู้สึกมีเป้าหมาย การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างสม่ำเสมอ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเสื่อมถอยของความรู้ความเข้าใจเมื่อเราอายุมากขึ้น”
    .
    นอกจากนี้ เขายังเสริมว่า “การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อนในที่ทำงานก็มีประโยชน์อย่างมากในการต่อสู้กับภาวะสมองเสื่อม เช่นเดียวกับที่เราสามารถใช้การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างและรักษากล้ามเนื้อ การออกกำลังกายสมองผ่านงานที่ท้าทาย และการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานอย่างต่อเนื่องก็ดูเหมือนจะช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้เช่นกัน”
    .
    ในการวิเคราะห์ ทีมวิจัยได้แบ่งประเภทความต้องการทางสติปัญญาของ 305 อาชีพในนอร์เวย์ โดยงานที่ไม่ต้องใช้ความคิดมากนักมักเกี่ยวข้องกับงานที่ทำซ้ำๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น งานโรงงาน และงานบัญชี
    .
    ขณะที่งานที่ต้องใช้ความคิดมากกว่าจะไม่ใช่งานที่ทำซ้ำๆ แม้ว่าบางครั้งอาจต้องมีการทำซ้ำบ้างก็ตาม งานประเภทนี้มักจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา และการอธิบายความคิดและข้อมูลให้ผู้อื่นฟัง รวมถึงทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การฝึกสอนหรือการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่น
    .
    อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษานี้ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องเปลี่ยนไปทำงานที่ต้องใช้ความคิดหนักเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม แต่เป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการกระตุ้นสมอง และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ท้าทายทางสติปัญญาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในและนอกที่ทำงาน
    .
    นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพโดยรวม เช่น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และการจัดการความเครียด ก็มีส่วนสำคัญในการรักษาสุขภาพสมอง และป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้เช่นกัน
    .
    อ้างอิง:
    https://edition.cnn.com/2024/04/17/health/brain-job-dementia-wellness/index.html
    .
    #TheStandardWealth
    https://www.facebook.com/share/p/eEbpNvoufu3xJFAg/?mibextid=oFDknk
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    UPDATE: เปิดเอกสารฉบับ ‘CPF’ แจงอนุ กมธ. ปมปัญหาปลาหมอคางดำ ลูกปลามีชีวิตแค่ 2 สัปดาห์ ยังไม่ได้เริ่มการวิจัย ทำตามเงื่อนไขกรมประมง
    .
    วันนี้ (25 กรกฎาคม) เปรมศักดิ์ วนัชสุนทร ผู้บริหารสูงสุดด้านการวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ยื่นหนังสือให้ข้อมูลคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แจงละเอียดทุกขั้นตอนการนำเข้าลูกปลาหมอคางดำ 2,000 ตัว จากประเทศกานาว่า ตามที่คณะกรรมาธิการฯ เชิญบริษัทเข้าร่วมการประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทยนั้น
    .
    บริษัทขอชี้แจงว่า CPF นำเข้าลูกปลาหมอคางดำในชื่อสามัญ ‘Blackchin Tilapia’ และชื่อวิทยาศาสตร์ ‘Sarotherodon Melanotheron’ ขนาด 1 กรัม จำนวน 2,000 ตัว จากประเทศกานา เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2553 ใช้เวลาเดินทาง 35 ชั่วโมง เมื่อมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิได้เปิดกล่องโฟมบรรจุลูกปลาพร้อมกับเจ้าหน้าที่กรมประมงที่ประจำ ณ ด่านกักกัน พบว่ามีลูกปลาตายจำนวนมาก และเมื่อรับลูกปลามาถึงฟาร์มได้ตรวจคัดแยก พบว่าลูกปลามีชีวิตเหลืออยู่เพียง 600 ตัว ในสภาพที่ไม่แข็งแรง จึงนำลูกปลาที่ยังมีชีวิตลงในบ่อเลี้ยงซีเมนต์ เนื่องจากปลามีสุขภาพไม่แข็งแรง ลูกปลาทยอยตายต่อเนื่องทุกวัน
    .
    เนื่องจากสภาพลูกปลาที่เหลือไม่แข็งแรงและจำนวนไม่เพียงพอต่อการวิจัย จึงโทรปรึกษาเจ้าหน้าที่กรมประมง (นักวิชาการประมง 4 ตำแหน่งในขณะนั้น) กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพสัตว์น้ำจืด ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบที่มีชื่อระบุอยู่ในหนังสืออนุมัตินำเข้า โดยเจ้าหน้าที่แจ้งว่า ให้เก็บตัวอย่างใส่ขวดโหลแช่ฟอร์มาลีน และให้นำมาส่งที่กรมประมง ดังนั้น ในสัปดาห์ที่ 2 ของการรับปลาเข้ามา จึงเก็บตัวอย่างจำนวน 50 ตัว ดองฟอร์มาลีนเข้มข้นเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
    .
    จากนั้น วันที่ 6 มกราคม 2554 (สัปดาห์ที่ 3) ปลาทยอยตายจนเหลือเพียง 50 ตัว บริษัทจึงตัดสินใจไม่เริ่มดำเนินโครงการและยุติการวิจัยทั้งหมด และทำลายลูกปลาทั้งหมดโดยใช้คลอรีนใส่ลงน้ำในบ่อเลี้ยงซีเมนต์ เพื่อฆ่าเชื้อและทำลายลูกปลาที่เหลือ
    .
    หลังจากนั้นเก็บลูกปลาทั้งหมดแช่ฟอร์มาลีนเข้มข้น 24 ชั่วโมง แล้วนำมาฝังกลบพร้อมโรยปูนขาวในวันที่ 7 มกราคม 2554 รวมระยะเวลาที่ลูกปลาชุดนี้มีชีวิตอยู่ในประเทศไทยเพียง 16 วันเท่านั้น และบริษัทแจ้งต่อกรมประมงถึงการตายของลูกปลา รวมถึงทำลายซากลูกปลาตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่กรมประมงท่านดังกล่าว และส่งตัวอย่างลูกปลาดองทั้งตัวในฟอร์มาลีนทั้งหมด 50 ตัว จำนวน 2 ขวด ขวดละ 25 ตัว ให้กับ ศิริวรรณ ที่กรมประมง
    .
    นอกจากนี้ ในวันที่ 6 มกราคม 2554 บริษัทเดินทางมาที่กรมประมง และโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ท่านเดิมเรื่องการส่งมอบตัวอย่างลูกปลาดองทั้ง 2 ขวด ซึ่งเจ้าหน้าที่มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อีกท่านหนึ่งลงมารับตัวอย่างแทน ที่ชั้น 1 อาคารจุฬาภรณ์ กรมประมง โดยเจ้าหน้าที่ไม่ได้ขอให้ตัวแทนบริษัทกรอกแบบฟอร์มใดๆ ทำให้เข้าใจว่าการส่งมอบสมบูรณ์แล้ว
    .
    ถัดมาอีก 7 ปี ในปี 2560 มีข้อมูลจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนว่า พบปลาหมอคางดำระบาดในพื้นที่สมุทรสงคราม กรมประมงจึงเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์มยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ซึ่งเจ้าหน้าที่จากกรมประมงตรวจสอบไม่พบปลาหมอคางดำในบ่อเลี้ยง จึงขอสุ่มในบ่อพักน้ำที่เชื่อมต่อกับแหล่งน้ำธรรมชาติแทน ซึ่งบ่อพักน้ำ R2 ของฟาร์มไม่ได้เป็นส่วนของบ่อเลี้ยง แต่เป็นส่วนที่เชื่อมกับแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อรอการกรองและฆ่าเชื้อทำความสะอาดก่อนนำน้ำเข้ามาใช้ในฟาร์ม
    .
    ทั้งนี้ เนื่องจากบ่อพักน้ำเป็นส่วนที่เชื่อมกับแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ปลาที่อยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติย่อมมีอยู่ในบ่อพักน้ำ เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำเดียวกัน และยังไม่เข้าสู่ระบบการเลี้ยง ดังนั้น การสุ่มในบ่อพักน้ำจึงไม่แปลกที่ปลาจะเป็นชนิดเดียวกันกับปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ การนำมาเปรียบเทียบว่าเป็นปลาชนิดเดียวกันหรือไม่ จึงเป็นการตั้งสมมติฐานที่ทราบคำตอบตั้งแต่ต้นว่าเป็นปลาชนิดเดียวกัน เพราะมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเดียวกัน
    .
    เปรมศักดิ์กล่าวย้ำว่า บริษัทไม่มีการวิจัยหรือเลี้ยงปลาหมอคางดำอีกเลย นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงแม้ว่าบริษัทมั่นใจว่าไม่ได้เป็นต้นเหตุของการแพร่ระบาด แต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และพร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน จึงนำศักยภาพองค์กรขับเคลื่อน 5 โครงการสำคัญ ประกอบด้วย
    .
    ◾️ 1. ร่วมกับกรมประมงรับซื้อปลาหมอคางดำจากทุกจังหวัดทั่วประเทศที่มีการระบาด จำนวน 2 ล้านกิโลกรัม ในราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม
    .
    ◾️ 2. สนับสนุนปล่อยปลาผู้ล่าลงสู่แหล่งน้ำ 2 แสนตัว ตามแนวทางของกรมประมง
    .
    ◾️ 3. สนับสนุนกิจกรรมจับปลา โดยสนับสนุนอุปกรณ์จับปลาและกำลังคนในทุกพื้นที่ที่ประสบปัญหา
    .
    ◾️ 4. ร่วมกับสถาบันการศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาหมอคางดำ
    .
    ◾️ 5. ร่วมทำวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หาแนวทางควบคุมประชากรปลาหมอคางดำในระยะยาว
    .
    #ปลาหมอคางดำ #CPF
    #TheStandardNews

    https://www.facebook.com/share/p/vcuYKymZRA8vaop5/?mibextid=oFDknk
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‘พ่อแม่เลิกกัน’ เราจะบอกเด็กอย่างไร นี่คือโปรเจกต์เพื่อแก้โจทย์นี้
    .
    ‘ครอบครัวน้องเกี๊ยวไม่เหมือนเดิม’ เป็นนิทานสำหรับพ่อแม่เพื่อช่วยสื่อสารเรื่องการหย่าร้างให้ลูกเข้าใจ และสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
    การหย่าร้างไม่ใช่เรื่องใหม่ของสังคมไทยอีกต่อไป แต่การสร้างความเข้าใจเรื่องการหย่าร้างกับเด็กยังคงเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับทุกคน เพราะสังคมไทยมีความเชื่อที่ชัดเจนในการกีดกันเด็กออกจากการหย่าร้างของพ่อแม่ด้วยประโยคที่ว่า ‘นี่ไม่ใช่เรื่องของเด็ก’ แต่จริงๆ แล้วเราไม่สามารถพูดได้เลยว่านี่ไม่ใช่เรื่องของพวกเขา เพราะพวกเขานี่แหละที่ต้องเติบโตและได้รับผลกระทบโดยตรงจากเรื่องราวการหย่าร้างของพ่อแม่
    .
    การหย่าร้างไม่ใช่แค่เรื่องยากของพ่อแม่ แต่เป็นเรื่องยากของลูกเช่นกัน พวกเขาอาจจะโกรธ งุนงง สงสัย รู้สึกแปลกแยก หรือรู้สึกว่าตัวเองนี่แหละที่เป็นคนผิดจากการหย่าร้างของพ่อแม่ และนั่นอาจจะเป็นบาดแผลใจที่อยู่ติดตัวพวกเขาไปจนโต แม้ว่าพ่อแม่ยุคใหม่จะเริ่มมีความรู้เท่าทันในประเด็นนี้ แต่การสื่อสารให้เด็กเข้าใจก็ยังคงเป็นเรื่องยากอยู่ดี
    ACE by Cariber และ Deadline Always Exists ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญอย่าง นีท-เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ นักจิตวิทยาพัฒนาการ และ คุณหมอโอ๋-ผศ. พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร เจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน ร่วมมือกันสร้างโปรเจกต์ ‘ครอบครัวน้องเกี๊ยวไม่เหมือนเดิม’ นิทานที่จะเป็นสื่อกลางให้ผู้ปกครองสร้างความเข้าใจให้ลูกเกี่ยวกับการหย่าร้างผ่านตัวละครสมมติอย่างน้องเกี๊ยว
    .
    ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ https://thehearttale.com และร่วมแบ่งปันประเด็นเรื่องของเด็กและการหย่าร้างได้ผ่านแฮชแท็ก #ครอบครัวน้องเกี๊ยวไม่เหมือนเดิม
    .
    เพราะเด็กบางคนอาจจะเป็นน้องเกี๊ยวในชีวิตจริง และพวกเราหวังว่าพวกเขาจะโชคดีพอที่จะไม่ถูกกีดกันออกไปจากการเปลี่ยนแปลง และมีผู้ใหญ่ที่อ่านนิทานเรื่องนี้ให้เขาฟัง
    .
    สามารถเข้าถึง Design Element ของแคมเปญได้ที่:
    https://drive.google.com/drive/folders/1X53ksX4I6D7gxElrRXEF4e4uBTD7DmX6?usp=sharing
    .
    #TheStandardNews

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    UPDATE: วาโย ก้าวไกล แจงไทม์ไลน์ปลาหมอคางดำ ชี้ ปลาที่เอกชนนำเข้า-เลิกวิจัย จนพบระบาดครั้งแรกสอดคล้องกัน
    .
    วานนี้ (25 กรกฎาคม) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วาโย อัศวรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นผู้อภิปรายปิดญัตติ ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแนวทางการแก้ปัญหาเร่งด่วนการระบาดของปลาหมอคางดำใน 17 จังหวัด เพื่อเสนอความเห็นต่อรัฐบาลให้แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
    .
    วาโยอภิปรายว่า โดยสรุปของเหตุการณ์นี้ เรากล่าวได้ว่าในประเทศไทยไม่เคยมีปลาสายพันธุ์นี้เข้ามาก่อน มีครั้งแรกเมื่อบริษัทเอกชนขอนำเข้ามาวิจัยในปี 2549 ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (BIC) โดยมีเงื่อนไข ก่อนที่จะเข้ามาในแผ่นดินไทยครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2553 ต่อมาไม่นานเมื่อเดือนมกราคม 2554 เอกชนผู้ทำวิจัยประกาศเลิกทำวิจัย แต่หลังจากนั้นภายในปีเดียวกัน จากรายงานกรมประมง ในปลายปี 2554 มีประชาชนพบปลาหมอคางดำแถวคลองรอบศูนย์วิจัย หลังจากนั้นก็เริ่มแพร่ระบาดในจังหวัดใกล้เคียง
    .
    ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า สรุปแล้วปลาที่ระบาดอยู่นี้หลุดมาจากการวิจัยหรือไม่ เมื่อตนสืบค้นต่อไปก็พบงานวิจัยที่เคยทำและตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2565 ไว้แล้ว เป็นการเก็บตัวอย่างจากปลาหมอคางดำตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา โดยเปรียบเทียบพันธุกรรมปลาที่เก็บได้ในบ่อพักของห้องแล็บเอกชนในปี 2560 ด้วย พบผลสรุปการศึกษาว่าระยะห่างทางพันธุศาสตร์หรือความใกล้ชิดของดีเอ็นเอมีต่ำมาก แสดงให้เห็นว่าแต่ละประชากรย่อยของปลาไม่มีความแตกต่างทางพันธุกรรม เป็นการยืนยันที่มาของการแพร่ระบาด โดยข้อมูลระยะห่างทางพันธุศาสตร์และการจัดลำดับความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่าประชากรปลาหมอคางดำในประเทศไทยมีแหล่งที่มาร่วมกัน
    .
    วาโยอภิปรายต่อไปว่า จากการศึกษาโดยกรมประมงที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2565 มีข้อเสนอแนะออกมาว่าการระบุแหล่งต้นกำเนิดยังทำไม่ได้ เพราะไม่มีตัวอย่างดีเอ็นเอตอนต้นมาเปรียบเทียบ จึงแนะนำว่าควรเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอของสัตว์น้ำที่นำเข้ามา เพื่อเป็นตัวอย่างอ้างอิงในทุกครั้ง สำหรับสัตว์น้ำที่มีความเสี่ยง
    .
    ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปสืบค้นอีกจะพบว่ามติคณะกรรมการ BIC ครั้งที่ 2/2553 ที่อนุญาตให้เอกชนนำเข้าปลาหมอคางดำอย่างมีเงื่อนไขนั้น ปรากฏเงื่อนไขทั้งหมด 4 ข้อ กล่าวคือ
    .
    ◾️ 1. ให้กรมประมงเก็บตัวอย่างครีบโดยไม่ทำให้ปลาตาย 3 ตัว ซึ่งเป็นการเก็บดีเอ็นเอโดยเฉพาะ
    ◾️ 2. เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ให้ผู้ขอนำเข้าแจ้งผลการทดลองแก่กรมประมง
    ◾️ 3. ต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้สัตว์ทดลองหลุดรอดไปในธรรมชาติ
    ◾️ 4. กรณีผลทดลองได้ผลไม่ดี ผู้นำเข้าไม่ประสงค์ใช้ปลาต่อไป ขอให้ผู้นำเข้าทำลายและเก็บซากเอาไว้ให้กรมประมงตรวจสอบ
    .
    แม้จากข่าวสารที่ปรากฏ บริษัทเอกชนจะระบุว่ามีเพียง 2 เงื่อนไขที่ได้รับจากกรมประมง คือ การให้เก็บตัวอย่างครีบ และเรื่องของการทำลาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทเอกชน แต่แม้แต่ 2 เงื่อนไขจาก 4 ข้อที่ว่ามานี้ ตนและคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้า ปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย ได้พยายามหาข้อมูลตัวอย่างครีบที่มีดีเอ็นเอ เพื่อตอบโจทย์เชื่อมโยงว่าปลานี้มาจากไหนกันแน่ ตนและคณะอนุกรรมาธิการฯ กลับไม่ได้รับคำตอบใดจากทั้งกรมประมงและบริษัทเอกชน
    .
    จึงเป็นที่มาของวันที่ 25 กรกฎาคม เมื่อฝ่ายนิติบัญญัติไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรแล้ว จึงต้องฝากไปถึงรัฐมนตรีว่าจะตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างไร ที่ต้องให้ความสำคัญกับครีบปลาก็เพราะกฎหมายกำหนดว่าห้ามนำเข้าปลาโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่การอนุญาตนี้เป็นการอนุญาตแบบมีเงื่อนไข หากผู้ได้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตาม ก็ย่อมเท่ากับไม่ได้รับอนุญาต ทั้งการให้ตัดครีบปลาและให้ทำลายซากปลา เมื่อบริษัทเอกชนไม่ได้ทำทั้งคู่ แบบนี้เท่ากับได้รับอนุญาตหรือไม่
    .
    วาโยอภิปรายต่อว่า จากกฎหมายที่มีอยู่ในขณะนี้ แม้ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. 2490 และ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 จะยังคลุมเครือว่าจะนำมาใช้ได้หรือไม่ และยังมีการกำหนดโทษที่ต่ำเกินไป เมื่อเทียบกับผลกระทบในปัจจุบันที่ไม่ใช่แค่เรื่องการระบาด แต่ยังเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และอนาคตของลูกหลานไทย แต่ก็ยังมี พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ที่กำหนดให้ผู้ก่อความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไป
    .
    “ตอนนี้ทุกมาตรการที่รัฐมนตรีและหน่วยงานต่างๆ ออกมา ไม่ว่าจะเป็นความพยายามรับซื้อ หรือการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการอื่นๆ ล้วนใช้เงินภาษีของพวกเราและประชาชนทั้งนั้น ถ้ามันมีผู้ที่ควรจะต้องรับผิดชอบ เขาควรจะต้องเป็นคนจ่ายเงินนี้แทนพวกเราทั้งหมด” วาโยกล่าว
    .
    วาโยกล่าวต่อว่า ผู้ที่มีอำนาจรักษาการตาม พ.ร.บ. นี้คือนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่เห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ พูดถึงเรื่องนี้แม้แต่ครั้งเดียว และแม้เราไม่สามารถหาหลักฐานครีบของปลาตั้งแต่ต้นได้ แต่ถ้าลองย้อนเส้นเวลากลับไปตั้งแต่ประเทศไทยไม่เคยมีปลาหมอคางดำเข้ามาก่อน จนมาถึงปลายปี 2553 เอกชนนำเข้ามาเหยียบแผ่นดินไทยที่ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มาถึงต้นปี 2554 เลิกทำวิจัย และในปลายปี 2554 เจอปลาหมอคางดำครั้งแรกในแหล่งน้ำที่ตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่เดียวกัน
    .
    บวกกับการที่งานวิจัยบ่งบอกว่าปลาหมอคางดำที่ระบาดอยู่ในขณะนี้มีแหล่งที่มาเดียวกัน และเจอครั้งแรกที่ตำบลยี่สาร คนเอาเข้ามาครั้งแรกก็ที่ตำบลยี่สาร ย่อมมีเหตุอันควรเชื่อได้อย่างยิ่ง ถ้าเป็นคดีอาญา ประชาชนฟ้องเอง ศาลไต่สวนอย่างไร ก็ย่อมว่ามีมูล แต่ตอนนี้ยังไม่มีเจ้าภาพแม้แต่คนเดียวที่จะออกมาต่อสู้เพื่อเงินภาษี สิ่งแวดล้อม และอนาคตลูกหลานของเรา
    .
    ภาพ: ฐานิส สุดโต
    .
    #ปลาหมอคางดำ
    #TheStandardNews

    https://www.facebook.com/share/p/nrUaBetYZuQSUBhp/?mibextid=oFDknk
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    UPDATE: ณัฐชาแย้ง โฆษกรัฐบาลปกป้องปลาหมอคางดำ วอนออกมาฟังปัญหาประชาชนบ้าง
    .
    วันนี้ (21 กรกฎาคม) ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส. กรุงเทพฯ เขต 27 พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่ ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สื่อสารผ่านแอปพลิเคชัน X ว่า การเรียกปลาหมอคางดำเป็นปลาปีศาจคือวาทกรรม ฟังแล้วให้ภาพเกินจริง เพราะปลาชนิดนี้สามารถกินได้ ไม่มีพิษมีภัยอะไร และที่ว่าหลุดเข้าไปกินลูกกุ้งในบ่อเพาะเลี้ยงนั้น ปลาอะไรก็ชอบกินลูกกุ้ง ไม่เฉพาะแต่ปลาหมอคางดำเท่านั้น ถ้าไม่ป้องกันให้ดีตั้งแต่ต้น ปล่อยให้มีปลาหลุดเข้าไปในบ่อเพาะเลี้ยงก็เสียหายได้ทั้งนั้น
    .
    ณัฐชากล่าวว่า ทันทีที่ตนเห็นทัศนะแบบนี้ของโฆษกรัฐบาล ก็รู้สึกสงสารพี่น้องประชาชนผู้เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง และประมงน้ำจืดต่างๆ ที่ได้รับความเสียหายกันมาเป็นสิบปี โดยเฉพาะบริเวณตำบลยี่สารและแม่น้ำลำคลองต่างๆ ในจังหวัดสมุทรสงคราม หลายคนหมดเนื้อหมดตัวจนต้องเปลี่ยนอาชีพไป การหายไปของผู้ทำประมงรายย่อยยังน่ากังวลว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการผูกขาดอาหารในอนาคต ส่วนที่เหลือรอดก็คงไม่พ้นเอกชนเจ้าใหญ่ที่นำเข้าปลาหมอคางดำมาเมื่อสิบปีก่อน จนตอนนี้ปัญหาลุกลามบานปลายไปทั่วประเทศ ทั้งยังส่อเค้าว่าปัญหาจะขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย ทัศนะเช่นนี้ของโฆษกรัฐบาลคือการดูเบาปัญหา ไม่ตระหนักถึงระบบนิเวศที่พังทลายไป และยังกล่าวโทษเกษตรกรอย่างไม่เข้าอกเข้าใจความเดือดร้อนของพวกเขาเลย
    .
    “ปัญหาอาจไม่ได้เริ่มในยุคท่านก็จริง แต่วันนี้มันวิกฤตขนาดนี้ยังไม่รู้ตัว พูดออกมาได้ว่าไม่มีพิษมีภัย เคยไปคุย ไปสัมผัส ไปซับน้ำตา คนที่เขาประสบปัญหาจริงๆ บ้างไหมว่าเขาเจออะไรมาบ้าง ลูกกุ้งลูกปลาในบ่อมีปลาอื่นๆ คุกคามบ้างก็จริง แต่เขารับมือได้ เขารู้วิธีเลี้ยง วิธีกำจัด และจำกัดความเสียหายได้ แต่ไม่ใช่สำหรับปลาหมอคางดำที่หลุดลงบ่อ มันรู้จักมุด ซ่อนตัว หนี และแพร่พันธุ์ไวมาก เพียงแป๊บเดียวหมดบ่อ เข้าใจคำนี้ไหม หมดบ่อ อย่าลอยตัวอยู่ในห้องแอร์ ไปเจอปัญหาของจริงก่อน และที่พูดมานี้ผมสงสัยจริงๆ ว่าพูดในฐานะโฆษกรัฐบาลหรือโฆษกเอกชน ท่านจะปกป้องปลาหมอคางดำอะไรขนาดนั้น” ณัฐชากล่าว
    .
    ณัฐชากล่าวต่อไปว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือการเลิกดูเบาปัญหาและยอมรับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้เร่งหามาตรการแก้ปัญหาให้สมกับระดับที่เป็นวาระแห่งชาติ ไม่ใช่แค่มองว่ากินได้แล้วจบ เพราะการจัดการกับเอเลี่ยนสปีชีส์ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ต้องบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างรอบคอบและรัดกุม
    .
    นอกจากนี้ จากกรณีที่รัฐบาลออกมาตรการแก้ปัญหาด้วยการรับซื้อปลาหมอคางดำที่กิโลกรัมละ 15 บาท ณัฐชากล่าวว่า มาตรการนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อปี 2561 ซึ่งรับซื้อที่กิโลกรัมละ 20 บาทด้วยซ้ำ แต่กลับทำให้ปลาหมอคางดำเพิ่มจำนวนและระบาดหนักกว่าเดิม ไม่ได้ช่วยขจัดต้นตอของปัญหาแต่อย่างใด จึงขอให้รัฐบาลรับฟังเสียงท้วงติงบ้าง และกลับมาทบทวนหามาตรการเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพกว่านี้
    .
    “ฝ่ายค้านเราเตือนดีๆ ด้วยความห่วงใย ปี 2561 เคยมีมาตรการรับซื้อที่กิโลกรัมละ 20 บาทมาแล้ว แต่กลับระบาดหนักกว่าเดิม ฟังกันหน่อยครับ เราพูดจากบทเรียนที่เกิดขึ้นจริง อย่าประมาท ปี 2561 ทำไปแล้วผลเป็นอย่างไร กลับไปถอดบทเรียนก่อนดีไหม แทนที่จะดื้อดึงไม่ฟังใคร มาช่วยกันคิดดีกว่าว่าแผนการแก้ปัญหาขั้นต่อไปควรจะเป็นอย่างไร รับปากประชาชนได้ไหมว่าจัดการได้แน่นอน และสุดท้ายเรื่องที่ประชาชนอยากรู้มากๆ เวลานี้คือ สรุปแล้วใครเพาะพันธุ์ ใครทำหลุด รัฐบาลช่วยตอบคำถามประชาชนในเรื่องนี้ด้วยครับ” ณัฐชากล่าว
    .
    ภาพ: ณาฌารัฐ ภักดีอาสา
    .
    #TheStandardPhoto #TheStandardNews
    #ณาฌารัฐภักดีอาสา

    https://www.facebook.com/share/p/DH1e7BqBiW85SeQj/?mibextid=oFDknk
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‘ห้างภูธร’ ยังไหว? ทุนใหญ่บุกเมืองรองหนัก ไม่ทันยุค โบราณ ต้องปรับตัว
    .
    ห้างภูธรไหวมั้ยใน พ.ศ. นี้? หลังบิ๊กเนมบุกเมืองรองหนัก ผู้เชี่ยวชาญชี้ ทุนใหญ่ไม่ใช่ตัวการทำค้าปลีกท้องถิ่นเจ๊ง มองรูปแบบเดิมตกยุคไปแล้ว บางแห่งเป็นตึกแถว-ไม่มีที่จอดรถ ไม่สอดคล้องไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ชี้ ยิ่งแข่งขันยิ่งมีการปรับตัว
    .
    ขณะที่ทุนใหญ่ผู้เปลี่ยนแลนด์สเคปห้างสรรพสินค้า สู่นิยาม “ศูนย์การค้า” รายแรกของไทย ขมีขมันลุยทำตลาดลงทุนหลักแสนล้านต่อเนื่อง ฟากฝั่งห้างท้องถิ่นเองก็ต้องปรับเกมอย่างแข็งขันเช่นกัน แม้ห้างท้องถิ่นเหล่านี้จะมีจุดแข็งเรื่อง “Localization” รู้ความต้องการเชิงลึกของคนในพื้นที่เป็นอย่างดี แต่จุดอ่อนเรื่องเงินทุน และความว่องไวในการวิ่งตามยุคสมัยก็เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้ค้าปลีกภูธรล้มหายตายจากไปไม่น้อย
    .
    สำหรับกรณีการปิดตัวของ “ห้างแฟรี่แลนด์” “ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์” รองนายกสมาคมค้าปลีก และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องค้าปลีก มองว่า สาเหตุหลักไม่ได้มาจากการถูกทุนใหญ่ยึดแย่งพื้นที่ หากแต่เป็นความเก่าตกยุค-ไม่ทันสมัย เนื่องจากแฟรี่แลนด์มีลักษณะเป็นตึกแถว ข้อเสียของทำเลแบบนี้ คือไม่มีที่จอดรถ รวมถึงภาพรวมของห้างเองก็ดูจะคร่ำครึตกยุคไปแล้วด้วย
    .
    ส่วนความเคลื่อนไหวของทุนใหญ่ที่รุกเจาะพื้นที่เมืองรองมากขึ้น มองว่า เป็นผลพวงจากทำเลการค้าที่ไม่ได้กระจุกตัวอยู่แต่ในเมืองเหมือนอดีต สมัยก่อนเขตเยาวราชหรือเขตสีลมเนื้อหอมมาก แต่ตอนนี้ทำเลการค้าเปลี่ยนไป ห้างร้านแห่ไปอยู่นอกเมืองกันหมด ตัวเมืองก็เริ่มเงียบเหงาลง เนื่องจากทำเลการค้าปรับตัวไปตามไลฟ์สไตล์-ความเป็นอยู่ของคนเมือง เขตกรุงเทพฯ ชั้นในจะคึกคักเฉพาะวันทำงานเท่านั้น โดยเฉพาะโซนออฟฟิศทาวเวอร์ที่ไม่ได้คราคร่ำไปด้วยหมู่บ้านจัดสรร
    .
    อาจารย์ฉัตรชัยยกตัวอย่างกรณีของ “ตั้งงี่สุ่น” ค้าปลีกภูธรจากอุดรธานีที่ตัดสินใจขยายสาขาไปยังอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ปรากฏว่า กระแสตอบรับดีมาก ยอดขายดีกว่าที่คาดไว้ เป็นการตอกย้ำว่า ความเชื่อเรื่องนอกเมืองไม่มีกำลังซื้อนั้นไม่เป็นความจริง คนเข้าเมืองเพื่อทำงาน แต่การใช้ชีวิตถูกขยายไปชานเมืองเกือบหมดแล้ว
    .
    “ถ้าเราลองมองดูกรณีอื่นๆ อย่าง “ตั้งงี่สุ่น” เขาก็อยู่ในเมือง แต่ออกไปตั้งนอกเมืองที่อำเภอนาดีแล้วขายดีมาก หลักๆ ตอนนี้ทุกอย่างออกไปนอกเมืองเกือบหมด ชุมชนที่อยู่อาศัยออกไปอยู่นอกเมืองเหมือนกับกรุงเทพฯ เลย เช้ามาเราอยู่นอกเมืองแล้วก็วิ่งเข้าเมืองไปทำงาน เสร็จแล้วตอนเย็นก็วิ่งออกนอกเมืองเพื่อกลับบ้าน เสาร์อาทิตย์ในเมืองก็จะเงียบๆ สาทรยังเงียบ อย่างสาทรส่วนใหญ่เป็นตึกออฟฟิศ วันหยุดก็จะไม่ค่อยมีคน ลักษณะมันเป็นแบบนี้”
    .
    ประเด็นเรื่องเงินทุนในการปรับปรุงห้างให้ตอบโจทย์ยุคสมัย อาจารย์ฉัตรชัยระบุว่า ศูนย์การค้าไม่ได้ใช้เงินทุนเยอะเหมือนอดีต ช่องทางการหาแหล่งเงินทุนก็มีหลายรูปแบบ ราว 30 ถึง 40 ปีก่อน การเปิดห้างหนึ่งแห่งต้องใช้เวลาคืนทุนกว่า 5 ปี ขณะที่ปัจจุบันสามารถใช้วิธีเข้าตลาดระดมทุน หรือการเข้าไปทำกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือ “กองทุน REITs” แล้วนำเงินมาลงทุนต่อได้ ประเด็นเงินทุนตอนนี้จึงไม่ใช่สาระสำคัญ
    .
    ข้อจำกัดของธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่น คือการบริหารจัดการกันเองภายในครอบครัว หลายแห่งยังเป็นทายาทลูกหลานทำกันเอง ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าลูกหลานไม่ดีไปเสียหมด อย่าง “กลุ่มเซ็นทรัล” ก็เป็นธุรกิจครอบครัวส่งต่อสู่ทายาท แต่ในขณะเดียวกันก็มีผู้บริหารมืออาชีพมาช่วยดูด้วย
    .
    เพราะธุรกิจค้าปลีกไม่เคยอยู่นิ่งๆ หากผ่าก้อนเค้กมูลค่าหลายล้านล้านบาทดูจะพบว่า มีทั้งร้านค้า คนทำงาน การจ้างงาน หอพักโดยรอบ ฯลฯ โดยรวมแล้วทำให้เมืองเจริญเติบโต บรรดาโมเดิร์นเทรดที่เข้าไปชิงพื้นที่จึงไม่ได้เป็นการเข้าไปทุบตลาด อาจารย์ฉัตรชัยเล่าถึงกรณีของ “เสี่ยกบ-มิลินทร์ วีระรัตนโรจน์” ทายาทรุ่นที่ 3 “ตั้งงี่สุ่น ซูเปอร์สโตร์” ผู้ไม่เคยหวาดกลัวทุนใหญ่ มองว่า การมาถึงของห้างระดับบิ๊กเนมจะยิ่งช่วยให้ค้าปลีกภูธรเติบโต ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
    .
    ข้อดีของห้างท้องถิ่นประการหนึ่ง คือความคล่องตัว ค้าปลีกทุนใหญ่แม้จะมีกระแสเงินสดมากกว่า ทั้งยังมีรูปแบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน แต่ข้อจำกัดคือทุกอย่างต้องมารวมศูนย์ตรงกลาง ห้างสาขาจึงมีความยืดหยุ่นน้อย ขณะที่ห้างภูธรยืดหยุ่นได้ดี นี่คือหัวใจสำคัญที่ไม่ว่าอย่างไร “ห้างภูธร” ก็จะมีชีวิตรอดไปได้ ท่ามกลางการเข้ามาของ “ปลาใหญ่” ในถิ่น “ปลาเล็กสู้น้ำ”
    .
    อ่านต่อ: https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1137497?anm=
    .
    .
    #กรุงเทพธุรกิจBusiness #กรุงเทพธุรกิจ

    https://www.facebook.com/share/p/jxECPjhjhW9vxXbP/?mibextid=oFDknk
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สรุปรวบตึง “ดิจิทัลวอลเล็ต” รับเงิน 10,000 บาท ต้องทำอย่างไร ลงทะเบียนวันไหน ใครแป๊กไม่ได้รับสิทธิ สินค้าอะไรซื้อได้–ไม่ได้ และวิธีลงทะเบียนผ่านแอปฯ ทางรัฐ ที่ถูกต้อง เช็กเลย!!
    .
    ในที่สุดรัฐบาลก็ได้แจกแจงไปแล้วสำหรับรายละเอียดโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งหัวเรือใหญ่อย่างกระทรวงการคลังก็ได้ชี้แจงรายละเอียดความคืบหน้าโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต โดยย้ำคอนเซ็ปต์เดิมว่าโครงการจะเป็นเสมือนพายุหมุนลูกใหญ่กระตุ้นการใช้จ่าย มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจช่วงโค้งสุดท้ายปลายปีนี้
    .
    พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตเป็นการแจกเงิน เพื่อแก้วิกฤตทางเศรษฐกิจ และต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ หากถามว่าทำไมโครงการดังกล่าวถึงดำเนินการล่าช้า ก็เพราะว่าต้องการให้เงินที่แจกถึงมือประชาชน เพราะฉะนั้นต้องมีการรวบรวมข้อมูล และการประมาณการณ์ผู้ใช้สิทธิ์ ให้ข้อมูลนิ่งเสียก่อน จึงสามารถดำเนินโครงการได้ โดยคาดว่าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในรูปแบบที่เราเรียกว่า ‘พายุหมุนทางเศรษฐกิจ’ ทั้งพายุหมุนระหว่างประชาชนกับร้านค้าขนาดเล็ก, พายุหมุนระหว่างร้านค้าขนาดเล็กกับร้านค้าขนาดใหญ่, พายุหมุนระหว่างร้านค้าขนาดใหญ่กับร้านค้าขนาดใหญ่ ภายใต้การดำเนินงานที่โปร่งใส การซื้อขายที่โปร่งใส กระตุ้นเศรษฐกิจทั่วประเทศ
    .
    <คลังยันไม่มีปัญหาแหล่งเงินทุนงบประมาณ>
    จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตใช้วงเงินทั้งสิ้น 450,000 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณจากงบประมาณงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2567 และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 และย้ำว่าไม่มีปัญหาในการจัดหาแหล่งเงินงบประมาณโครงการตามที่หลายฝ่ายเป็นกังวลแน่นอน
    .
    โดยรัฐบาลจะดีเดย์เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเงินดิจิทัลเพื่อเข้าร่วมโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต หรือ เงินดิจิทัล 10000 บาท ในวันที่ 1 สิงหาคม ไปจนถึง 15 กันยายน 2567 และมีกำหนดการที่จะให้เริ่มใช้จ่ายในโครงการฯฯ ภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567
    .
    ส่วนประชาชนกลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน จะเปิดลงทะเบียนในวันที่ 16 กันยายน – 15 ตุลาคม 2567 และร้านค้าเปิดลงทะเบียนวันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป
    .
    <ใครมีสิทธิ์จะได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาทบ้าง >
    – เป็นประชากรที่มีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
    – มีสัญชาติไทย
    – มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน (15 กันยายน 2567)
    .
    <ใครที่จะไม่มีสิทธิ์รับเงินหมื่น>
    – ผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566
    – มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันเกิน 500,000 บาท
    โดยตรวจสอบข้อมูลเงินฝาก 6 ประเภท ได้แก่ (1) เงินฝากกระแสรายวัน (2) เงินฝากออมทรัพย์ (3) เงินฝากประจำ (4) บัตรเงินฝาก (5) ใบรับเงินฝาก และ (6) ผลิตภัณฑ์เงินฝากในชื่อเรียกอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกับข้อ (1) – (5) ทั้งนี้ เงินฝากดังกล่าวให้หมายความถึงเฉพาะเงินฝากที่อยู่ในรูปสกุลเงินบาทเท่านั้น และไม่รวมถึงเงินฝากในบัญชีร่วม และเป็นเงินฝาก ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567
    – ผู้ที่อยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกในเรือนจำ
    – ผู้ที่ถูกระงับสิทธิหรือถูกเรียกเงินคืนในมาตรการ/โครงการอื่นๆ ของรัฐ
    – ผู้ฝ่าฝืนเงื่อนไขของมาตรการ/โครงการอื่นๆ ของรัฐ
    .
    <เช็กไทม์ไลน์อีกครั้ง เปิดลงทะเบียนวันไหน>
    – ประชาชนทั่วไป (มีสมาร์ทโฟน)
    เปิดลงทะเบียนระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 15 กันยายน 2567 จะดำเนินการผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” บนสมาร์ทโฟน โดยไม่มีการจำกัดจำนวนประชาชนที่จะเข้าร่วมใช้สิทธิ์ในโครงการฯ ดังนั้นประชาชนทุกคนที่มาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและมีคุณสมบัติครบถ้วน ก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ซึ่งรัฐบาลได้ประมาณการไว้จำนวน 45–50 ล้านคน
    .
    – ประชาชนกลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน
    สำหรับกลุ่มนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างเตรียมการให้เข้าร่วมโครงการฯ ได้ในระยะต่อไป โดยจะให้มีการลงทะเบียนและยืนยันตัวตนผ่านช่องทางที่กำหนด (ระหว่างวันที่ 16 กันยายน – 15 ตุลาคม 2567) ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติ สถานะบุคคล และที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน เช่นเดียวกับกลุ่มผู้มีสมาร์ทโฟน
    .
    ส่วนของการใช้จ่ายนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ใช้สิทธิผ่านบัตรประจำตัวประชาชน แต่การใช้สิทธิซื้อสินค้าจากร้านค้าจะทำได้ในวงแคบกว่าการใช้สิทธิของประชาชนกลุ่มที่มีสมาร์ทโฟน ดังนั้นการลงทะเบียนผ่านสมาร์ทโฟนจะสามารถใช้งานได้สะดวกกว่า จึงแนะนำให้พยายามลงทะเบียนผ่านทางสมาร์ทโฟนก่อนเป็นอันดับแรก
    .
    การลงทะเบียนร้านค้า ในเบื้องต้นกำหนดไว้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ซึ่งจะมีการแถลงข่าวเพิ่มเติมเพื่อแจ้งเกี่ยวกับคุณสมบัติของร้านค้า ช่องทางและวิธีการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ และเงื่อนไขอื่นๆ ให้ทราบต่อไป
    .
    <ใช้เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10000 บาท ซื้อสินค้าได้เมื่อไร?>
    – เริ่มใช้จ่ายได้ภายในไตรมาส 4 ของปี 2567
    .
    <ซื้อสินค้าได้ที่ไหนบ้าง?>
    ประชาชนจะสามารถใช้จ่ายได้กับร้านค้าขนาดเล็ก รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก แต่จะไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก–ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น และในการซื้อสินค้า
    .
    โดยจะต้องใช้จ่ายในพื้นที่ ที่ระบุตามทะเบียนบ้านในอำเภอใด ก็ต้องซื้อสินค้าจากร้านค้าในอำเภอเดียวกันเท่านั้น และต้องซื้อขายแบบพบหน้า (Face to Face) ซึ่งคำว่าซื้อขายแบบพบหน้านี้ จะมีการตรวจสอบ
    (1) ที่อยู่ของร้านค้าตามที่ลงทะเบียนโครงการฯ
    (2) ที่อยู่ของประชาชนตามทะเบียนบ้านในขณะที่ลงทะเบียนโครงการฯ
    (3) พิกัดที่อยู่ของประชาชนในขณะที่ใช้จ่ายกับร้านค้าต้องอยู่ในเขตอำเภอเดียวกัน การชำระเงินจึงจะสมบูรณ์
    .
    ขณะที่การใช้จ่าย “ร้านค้า” กับ “ร้านค้า” กำหนดไว้ว่าร้านค้าทุกประเภทสามารถซื้อขายสินค้าระหว่างกันได้ และไม่มีการกำหนดเงื่อนไขว่าต้องเป็นการซื้อขายแบบพบหน้า (Face to Face) จึงซื้อขายสินค้าระหว่างกันได้ แม้จะอยู่ต่างพื้นที่
    .
    <ซื้ออะไรได้บ้าง?>
    สามารถซื้อสินค้าได้ทุกประเภทสามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้
    *ยกเว้น! สินค้า Negative List ที่เงินดิจิทัล 10000 ไม่สามารถซื้อได้ นั่นก็คือ
    – สลากกินแบ่งรัฐบาล
    – เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    – ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
    – กัญชา
    – กระท่อม
    – พืชกระท่อม
    – ผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อม
    – บัตรกำนัล
    – บัตรเงินสด
    – ทองคำ
    – เพชร
    – พลอย
    – อัญมณี
    – น้ำมันเชื้อเพลิง
    – ก๊าซธรรมชาติ
    – เครื่องใช้ไฟฟ้า
    – อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือสื่อสาร
    .
    อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์อาจพิจารณาแก้ไขปรับปรุงรายการสินค้า Negative List เพิ่มเติมได้ ทั้งนี้การใช้จ่ายภายใต้โครงการฯ จะไม่รวมถึงบริการต่างๆ
    .
    <ขั้นตอนการลงทะเบียน>
    การลงทะเบียนและยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
    – รูปแบบที่ 1 การยืนยันตัวตนและลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 15 กันยายน 2567
    – รูปแบบที่ 2 มีการยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” มาก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2567 แล้ว จึงค่อยมาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านแอปฯ ทางรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 15 กันยายน 2567 ซึ่งจะทำให้คงเหลือขั้นตอนลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม เป็นต้นไป ที่ง่ายและรวดเร็วกว่า
    .
    ดังนั้น ประชาชนควรเตรียมการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” และทำการยืนยันตัวตนล่วงหน้าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ได้โดยตรงจาก App Store สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS และ Google Play สำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์บนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน
    .
    ทั้งนี้ หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามผ่านศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (Call Center) สายด่วนโทร 1111 ซึ่งพร้อมให้บริการแล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
    .
    หรือสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ดิจิทัลวอลเล็ต 10000 บาท ได้ที่เว็บไซต์ www.digitalwallet.go.th หรือพิมพ์เป็นภาษาไทย www.กระเป๋าเงินดิจิทัล.รัฐบาล.ไทย
    .
    อ่านเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/3WCzu37
    .
    Facebook: https://web.facebook.com/btimesch3
    YouTube: https://www.youtube.com/c/MisterBan
    X: https://twitter.com/BTimes_ch3
    Threads: https://www.threads.net/@btimes.ch3
    Website: https://btimes.biz
    Podcast : https://btimes.podbean.com/
    TikTok : https://www.tiktok.com/@btimes_ch3
    .
    #เงินดิจิทัล #แจกเงินดิจิทัล #ดิจิทัลวอลเล็ต #แจกเงินหมื่น #เพื่อไทย #เศรษฐกิจ #เศรษฐา #คนรวย #รายได้ #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/h2DD2YJRLDefwbmy/?mibextid=oFDknk
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    PSX_20240727_191707.jpg

    หลังจากเห็นคนลาวแห่กันออกเอาทองคำมาขาย เอาเงินบาทไปแลกเป็นกีบกับธนาคาร เพราะเห็นธนาคารกลางของลาวออกมาปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินกีบแบบพายุถล่ม 6 รอบต่อวัน

    แอดมินหายสงสัยแล้ว ว่าทำไมรัฐบาลคอมมิวนิสต์ลาวถึงไม่ยอมให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทางด้านการศึกษา

    https://www.facebook.com/share/p/VVRb7DCStj5ZK5R3/?mibextid=oFDknk
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หลังจากที่เงินบาทไทยขาลงเมื่อเทียบกับเงินกีบลาวที่มันกำหนดค่าเงินกันเอง

    2 หนุ่มลาว ทำคลิปเชิญชวนแรงงานลาวที่อยู่ไทยกลับบ้าน อ้างว่าทำงานอยู่ไทยไม่มีเวลาแม้จะถอดกางเกงขี้



    https://www.facebook.com/share/p/xcXR19S9LzZha4dH/?mibextid=oFDknk

    PSX_20240727_192009.jpg
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เวลาที่ 4.46 ในคลิปบอกว่า ปรับเรทเงินบาทลง คนลาวหลายๆ คนเอาเงินบาทมาขายที่ธนาคาร แต่พอคนลาวอยากจะแลกเป็นเงินบาท ธนาคารกลับไม่ให้แลก

    PSX_20240727_192626.jpg

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แต่คงไม่ใช่ ค่าเงินปรับภายใน 1 วัน 3-5 ครั้ง คงไม่มีจะไปเชื่อเธอหรอก

    -----

    ว่าที่ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติลาวคนใหม่

    “ ไม่ใช่อย่างที่เราคิดกันเด้อ ( หมายถึงรัฐบาลปรับเรทเงินเอง ) สาเหตุที่เงินลาวเริ่มแข็งค่า เพราะ อเมริกาปรับดอกเบี้ยเงินดอลลาร์ลง เงินบาทเริ่มอ่อนค่า จีนหยุดซื้อทองคำ

    สาเหตุนี้ทำให้ราคาลด เงินดอลลาร์อ่อนตัว เงินบาทอ่อนตัว นักลงทุนเทขาย ดอลลาร์ ทองคำ ในตลาดหุ้นใหญ่ นาทีต่อนาที ”

    https://www.facebook.com/share/p/uS22btuAgD7kXdM1/?mibextid=oFDknk

    FB_IMG_1722083434770.jpg
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เอาบาทแลกกีบได้ แต่พอจะขอแลกเป็นบาทธนาคารลาวยอมให้แลกหรือ

    ------

    ตอนนี้คนลาวที่มีเงินบาท หรือมีทองติดตัวอยู่พร้อมใจกันแห่เอามาขาย จนตอนนี้ร้านรับแลกเปลี่ยนถึงกับต้องปิดรับแลกเงินบาท แต่ฝูงแม่งเมาทั้งหลายก็ยังไม่วายดิ้นรนเอาเงินบาทไปแลกที่ธนาคารกันอีกนะ..

    วิธีดึงเงินตราต่างประเทศออกจากกระเป๋าประชาชนของรัฐบาลบ้านเค้าทำไมมันง่ายจัง

    ตอนนี้รัฐบาลลาวคงคิดว่าถ้ากูรู้ว่าง่ายแบบนี้ ปี2022ตอนขาดเงินซืัอน้ำมัน กูไม่ออกพันธบัตรเงินกีบให้เสียดอกเบี้ย20%แม่งซะก็ดีแล้ว...แค่ปล่อยข่าวว่าทอง+เงินบาทกำลังราคาลง แค่นี้คนลาวก็แห่กันเอาเงินบาทเอาทองมาขายกันแล้ว
    PSX_20240727_193559.jpg
    https://www.facebook.com/share/v/CQkA2rkRUx9BhhQt/?mibextid=oFDknk
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    จะไปลาวระวังหน่อย

    ----

    คนขับรถตู้ประเทศลาวประกาศกร้าว ให้นักท่องเที่ยวไทยเข้ามาลาวให้กูปล้นหน่อย ไอ้พวกหมูสยาม ตอนนี้รถตู้อย่างพวกกูกำลังหิวเงินบาท พวกกูรอปล้นหมูสยามอยู่ที่ด่าน



    https://www.facebook.com/share/p/focGNZCyY94wYESa/?mibextid=oFDknk

    PSX_20240727_194055.jpg
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นักเคมีสิ่งแวดล้อม ไม่เห็นด้วยปมใช้ "ไซยาไนด์" กำจัดปลาหมอคางดำ ห่วงวิธีนี้อาจสร้างปัญหาอื่น

    ศาสตราจารย์ ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โพสต์ไม่เห็นด้วยหลังมีอาจารย์รายหนึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ หนุนใช้ "ไซยาไนด์" กำจัดปลาหมอคางดำ ห่วงวิธีดังกล่าวอาจสร้างปัญหาในระบบนิเวศ รวมทั้งมนุษย์ที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งน้ำนั้นด้วย

    จากกรณี รศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ว่าให้นำ "ไซยาไนด์" กำจัดปลาหมอคางดำ เนื่องจากขยายพันธุ์แพร่ระบาดขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับมาตรการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหลายส่วน

    ต่อมา เมื่อวันที่ 26 ก.ค. เฟซบุ๊ก "Siwatt Pongpiachan" หรือ ศาสตราจารย์ ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้โพสต์ถึงประเด็นที่เกิดขึ้นระบุว่า "มีข่าวการนำเสนอแนวคิดเอาไซยาไนด์ (Cyanide) ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูงมาใช้จัดการกับปลาหมอคางดำ (Blackchin Tilapia) แม้จะเน้นย้ำว่าเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายเพื่อควบคุมไม่ให้ปลาเอเลี่ยนสปีชีส์นี้แพร่กระจายออกในวงกว้าง แต่ส่วนตัวในฐานะนักเคมีสิ่งแวดล้อมก็ยังไม่เห็นด้วยกับวิธีการนี้เพราะเกรงว่าจะเป็นการสร้างปัญหาอื่นที่หนักกว่ามาแทนที่

    จริงอยู่ที่โครงสร้างทางเคมีของ ไซยาไนด์ ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอนที่มีพันธะสาม (Triple Bond) กับอะตอมไนโตรเจน (C≡N) มองดูเผิน ๆ ธาตุคาร์บอนกับไนโตรเจนก็เป็นธาตุที่เราคุ้นเคยกันดีในชีวิตประจำวันและไซยาไนด์เองก็ถูกสร้างขึ้นได้ตามธรรมชาติเช่นในเมล็ดของแอพพริคอท (Apricot) และเชอรรี่ดำ (Black cherry) แต่ด้วยความเข้มข้นที่ต่ำมาก เลยช่วยคลายความกังวลในประเด็นผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพ ทีนี้พอจะนำเจ้า ไซยาไนด์ มาใช้ในการควบคุมประชากรปลาหมอคางดำ แนวคิดนี้มีความสุ่มเสี่ยงสูงที่จะก่อผลกระทบเชิงลบต่อประเทศในหลายมิติ เช่น

    1. ไซยาไนด์ ไม่ได้ฆ่าแต่ ปลาหมอคางดำ หากรวมไปถึงปลาท้องถิ่นรวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในระบบนิเวศรวมทั้งมนุษย์ที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งน้ำนั้นด้วย นี้คือหายนะของสายใยอาหาร (Food Web) หรือห่วงโซ่อาหารที่มีความซับซ้อนหลากหลายชุด (Complex Food Chain)

    2. ไซยาไนด์ สามารถสร้างสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างโลหะหนักกับตัวมันเองได้ (Cyano-Metal Complexes) ด้วยเหตุผลดังกล่าว ไซยาไนด์จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เช่นการนำ ไซยาไนด์มาจับกับทองคำที่ปนเปื้อนอยู่ในโคลนเลนตามธรรมชาติ ด้วยสมบัติที่สามารถจับกับโลหะหนักที่มีความเป็นพิษสูงนี้เองที่ทำให้ตัว ไซยาไนด์ มีความน่ากลัวมากขึ้น เพราะโลหะหนักหลายชนิดสามารถสะสมเข้าไปในร่างกายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศผ่านกระบวนการสะสมทางชีวภาพ (Bioaccumulation) และการขยายทางชีวภาพ (Biomagnification) ตัวอย่างของสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างโลหะหนักกับไซยาไนด์เช่น Potassium Dicyanoaurate (K[Au(CN)₂]), Mercury(II) Cyanide (Hg(CN)₂), และ Arsenic(V) Cyanide Complex ([As(CN)₆]⁻³) เป็นต้น

    3. การสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสังคมในวงกว้างคงเป็นที่ทราบกันดีว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไซยาไนด์ ถูกนำมาใช้ในการก่อเหตุอาชญกรรมที่เป็นข่าวโด่งดังเช่น คดีแอมไซยาไนด์ และ คดีฆาตกรรมชาวเวียดนาม 6 ศพในโรงแรมหรูในกลางเมือง การสนับสนุนวิธีการควบคุมปลาหมอคางดำด้วยการใช้ไซยาไนด์ย่อมเท่ากับเป็นการช่วยให้ประชาชนทั่วไปมีมุมมองต่อสารพิษร้ายแรงประเภทนี้ไม่ต่างอะไรกับ ยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าหญ้า เท่ากับเป็นการช่วยลดทอนความตระหนักของสาธารณะ (Public Perception) ถึงภัยอันตรายของสารพิษชนิดนี้ในทางอ้อม แล้วควรจะแก้ปัญหาวิธีนี้อย่างไร?

    1. การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Instruments) ส่วนตัวแล้วการควบคุมประชากรปลาหมอคางดำโดยใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ขับเคลื่อน เช่นการเพิ่มราคารับซื้อโดยภาครัฐอาจสนับสนุนมาตรการลดหย่อนภาษีให้กับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ ยังคงเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดและภาครัฐควรส่งเสริม

    2. การใช้นักล่าตามธรรมชาติ (Natural Predators) อย่างเช่น นาก (Lutra lutra) ซึ่งเป็นเป็นสัตว์บกที่สามารถว่ายน้ำและหากินในน้ำได้อย่างคล่องแคล่วมาก มาช่วยในการควบคุมประชากรปลาหมอคางดำ แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวังคำนวณจำนวน นักล่า ที่เหมาะสมไม่ให้กระทบกับโครงสร้างในภาพรวมของสายใยอาหาร

    3. การสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ (New Business Model) เช่นการจัดแข่งขันตกปลาหมอคางดำ ชิงถ้วยรางวัลนายกรัฐมนตรี การจัดประกวดนวัตกรรมการประดิษฐ์เครื่องมือจับปลาหมอคางดำที่มีประสิทธิภาพสูง โดยมุ่งเน้นไปที่นักเรียนระดับมัธยม เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้คนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยรัฐเป็นผู้มอบเงินรางวัลให้กับนักเรียน หรือทีมผู้เข้าแข่งขัน

    4. หากจำเป็นต้องใช้ยาแรงจริงๆ การควบคุมโดยใช้หลักฟิสิกส์อย่างเช่นใช้กระแสไฟฟ้าช็อตภายใต้การควบคุมของนักวิชาการของกรมประมง ก็ยังคงเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าการใช้ ไซยาไนด์

    เข้าใจว่าทุกท่านต่างมีความหวังดีต่อประเทศด้วยกันทั้งสิ้น แต่การคิดอย่างรอบคอบโดยคำนึงถึงผลกระทบข้างเคียงอื่นซึ่งอาจสร้างปัญหาที่หนักยิ่งกว่าในอนาคตก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน"
    https://www.facebook.com/share/p/PPyxJkpAbiv3tkQJ/?mibextid=oFDknk
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นักเคมีสิ่งแวดล้อม ไม่เห็นด้วยปมใช้ "ไซยาไนด์" กำจัดปลาหมอคางดำ ห่วงวิธีนี้อาจสร้างปัญหาอื่น

    ศาสตราจารย์ ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โพสต์ไม่เห็นด้วยหลังมีอาจารย์รายหนึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ หนุนใช้ "ไซยาไนด์" กำจัดปลาหมอคางดำ ห่วงวิธีดังกล่าวอาจสร้างปัญหาในระบบนิเวศ รวมทั้งมนุษย์ที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งน้ำนั้นด้วย

    จากกรณี รศ.ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ อาจารย์คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ว่าให้นำ "ไซยาไนด์" กำจัดปลาหมอคางดำ เนื่องจากขยายพันธุ์แพร่ระบาดขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับมาตรการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหลายส่วน

    ต่อมา เมื่อวันที่ 26 ก.ค. เฟซบุ๊ก "Siwatt Pongpiachan" หรือ ศาสตราจารย์ ดร. ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้โพสต์ถึงประเด็นที่เกิดขึ้นระบุว่า "มีข่าวการนำเสนอแนวคิดเอาไซยาไนด์ (Cyanide) ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูงมาใช้จัดการกับปลาหมอคางดำ (Blackchin Tilapia) แม้จะเน้นย้ำว่าเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายเพื่อควบคุมไม่ให้ปลาเอเลี่ยนสปีชีส์นี้แพร่กระจายออกในวงกว้าง แต่ส่วนตัวในฐานะนักเคมีสิ่งแวดล้อมก็ยังไม่เห็นด้วยกับวิธีการนี้เพราะเกรงว่าจะเป็นการสร้างปัญหาอื่นที่หนักกว่ามาแทนที่

    จริงอยู่ที่โครงสร้างทางเคมีของ ไซยาไนด์ ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอนที่มีพันธะสาม (Triple Bond) กับอะตอมไนโตรเจน (C≡N) มองดูเผิน ๆ ธาตุคาร์บอนกับไนโตรเจนก็เป็นธาตุที่เราคุ้นเคยกันดีในชีวิตประจำวันและไซยาไนด์เองก็ถูกสร้างขึ้นได้ตามธรรมชาติเช่นในเมล็ดของแอพพริคอท (Apricot) และเชอรรี่ดำ (Black cherry) แต่ด้วยความเข้มข้นที่ต่ำมาก เลยช่วยคลายความกังวลในประเด็นผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพ ทีนี้พอจะนำเจ้า ไซยาไนด์ มาใช้ในการควบคุมประชากรปลาหมอคางดำ แนวคิดนี้มีความสุ่มเสี่ยงสูงที่จะก่อผลกระทบเชิงลบต่อประเทศในหลายมิติ เช่น

    1. ไซยาไนด์ ไม่ได้ฆ่าแต่ ปลาหมอคางดำ หากรวมไปถึงปลาท้องถิ่นรวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในระบบนิเวศรวมทั้งมนุษย์ที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งน้ำนั้นด้วย นี้คือหายนะของสายใยอาหาร (Food Web) หรือห่วงโซ่อาหารที่มีความซับซ้อนหลากหลายชุด (Complex Food Chain)

    2. ไซยาไนด์ สามารถสร้างสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างโลหะหนักกับตัวมันเองได้ (Cyano-Metal Complexes) ด้วยเหตุผลดังกล่าว ไซยาไนด์จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เช่นการนำ ไซยาไนด์มาจับกับทองคำที่ปนเปื้อนอยู่ในโคลนเลนตามธรรมชาติ ด้วยสมบัติที่สามารถจับกับโลหะหนักที่มีความเป็นพิษสูงนี้เองที่ทำให้ตัว ไซยาไนด์ มีความน่ากลัวมากขึ้น เพราะโลหะหนักหลายชนิดสามารถสะสมเข้าไปในร่างกายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศผ่านกระบวนการสะสมทางชีวภาพ (Bioaccumulation) และการขยายทางชีวภาพ (Biomagnification) ตัวอย่างของสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างโลหะหนักกับไซยาไนด์เช่น Potassium Dicyanoaurate (K[Au(CN)₂]), Mercury(II) Cyanide (Hg(CN)₂), และ Arsenic(V) Cyanide Complex ([As(CN)₆]⁻³) เป็นต้น

    3. การสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสังคมในวงกว้างคงเป็นที่ทราบกันดีว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไซยาไนด์ ถูกนำมาใช้ในการก่อเหตุอาชญกรรมที่เป็นข่าวโด่งดังเช่น คดีแอมไซยาไนด์ และ คดีฆาตกรรมชาวเวียดนาม 6 ศพในโรงแรมหรูในกลางเมือง การสนับสนุนวิธีการควบคุมปลาหมอคางดำด้วยการใช้ไซยาไนด์ย่อมเท่ากับเป็นการช่วยให้ประชาชนทั่วไปมีมุมมองต่อสารพิษร้ายแรงประเภทนี้ไม่ต่างอะไรกับ ยาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าหญ้า เท่ากับเป็นการช่วยลดทอนความตระหนักของสาธารณะ (Public Perception) ถึงภัยอันตรายของสารพิษชนิดนี้ในทางอ้อม แล้วควรจะแก้ปัญหาวิธีนี้อย่างไร?

    1. การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Instruments) ส่วนตัวแล้วการควบคุมประชากรปลาหมอคางดำโดยใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ขับเคลื่อน เช่นการเพิ่มราคารับซื้อโดยภาครัฐอาจสนับสนุนมาตรการลดหย่อนภาษีให้กับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ ยังคงเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดและภาครัฐควรส่งเสริม

    2. การใช้นักล่าตามธรรมชาติ (Natural Predators) อย่างเช่น นาก (Lutra lutra) ซึ่งเป็นเป็นสัตว์บกที่สามารถว่ายน้ำและหากินในน้ำได้อย่างคล่องแคล่วมาก มาช่วยในการควบคุมประชากรปลาหมอคางดำ แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวังคำนวณจำนวน นักล่า ที่เหมาะสมไม่ให้กระทบกับโครงสร้างในภาพรวมของสายใยอาหาร

    3. การสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ (New Business Model) เช่นการจัดแข่งขันตกปลาหมอคางดำ ชิงถ้วยรางวัลนายกรัฐมนตรี การจัดประกวดนวัตกรรมการประดิษฐ์เครื่องมือจับปลาหมอคางดำที่มีประสิทธิภาพสูง โดยมุ่งเน้นไปที่นักเรียนระดับมัธยม เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้คนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยรัฐเป็นผู้มอบเงินรางวัลให้กับนักเรียน หรือทีมผู้เข้าแข่งขัน

    4. หากจำเป็นต้องใช้ยาแรงจริงๆ การควบคุมโดยใช้หลักฟิสิกส์อย่างเช่นใช้กระแสไฟฟ้าช็อตภายใต้การควบคุมของนักวิชาการของกรมประมง ก็ยังคงเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าการใช้ ไซยาไนด์

    เข้าใจว่าทุกท่านต่างมีความหวังดีต่อประเทศด้วยกันทั้งสิ้น แต่การคิดอย่างรอบคอบโดยคำนึงถึงผลกระทบข้างเคียงอื่นซึ่งอาจสร้างปัญหาที่หนักยิ่งกว่าในอนาคตก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน"
    https://www.facebook.com/share/p/PPyxJkpAbiv3tkQJ/?mibextid=oFDknk
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ลาวไฟเขียวสร้างทางด่วน "หลวงพระบาง-บ่อเต็น" หลังจีนเร่งรัด
    .
    .
    MGR Online - รัฐบาลลาวเปิดไฟเขียวเริ่มต้นก่อสร้างทางด่วนลาว-จีน ช่วงที่ 4 "หลวงพระบาง-บ่อเต็น" ระยะทาง 63 กิโลเมตร หลังทูตจีนเข้าพบ รมว.โยธาธิการและขนส่งเพื่อเร่งรัด
    .
    เมื่อวันที่ 24 ก.ค. The Laotian Times รายงานว่า รัฐบาลลาวได้อนุมัติการก่อสร้างทางด่วนลาว-จีน ช่วงที่ 4 จากแขวงอุดมไซไปยังหน้าด่านชายแดนบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา ระยะทาง 63 กิโลเมตรแล้ว ภายหลังจากนางฟาง หง เอกอัครราชทูตจีน ประจำ สปป.ลาว ได้เข้าพบและหารือกับนายงามปะสง เมืองมะนี รัฐมนตรีกระทรวงโยธาธิการและขนส่งของลาว เมื่อไม่นานมานี้
    .
    การพบกันครั้งนั้น เอกอัครราชทูตจีนได้หารือหลายประเด็นเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของลาว จากนั้นจึงได้เห็นพ้องกันว่าต้องเร่งการก่อสร้างทางด่วนลาว-จีน ให้เสร็จสมบูรณ์โดยเร็ว เพื่อผลประโยชน์ร่วมของทั้ง 2 ประเทศ
    .
    อย่างไรก็ตาม ในเนื้อข่าวไม่ได้ให้รายละเอียดว่าการก่อสร้างจะเริ่มต้นได้เมื่อใด และต้องใช้เวลาก่อสร้างเท่าไรจึงจะแล้วเสร็จ
    .
    ทางด่วนลาว-จีน มีระยะทางรวมประมาณ 423 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างเป็น 4 ช่วง ช่วงแรกระยะทาง 109 กิโลเมตร จากนครหลวงเวียงจันทน์ถึงเมืองวังเวียง แขวงเวียงจันทน์ สร้างเสร็จและเปิดใช้งานแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 จนถึงปัจจุบันมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก
    .
    ช่วงที่ 2 จากวังเวียงถึงเมืองหลวงพระบาง ระยะทาง 137 กิโลเมตร และช่วงที่ 3 จากเมืองหลวงพระบางถึงแขวงอุดมไซ ระยะทาง 114 กิโลเมตร อยู่ในช่วงของการทบทวนสัญญาก่อสร้าง
    .
    รัฐบาลลาวได้ให้สัมปทานแก่กลุ่มบริษัทก่อสร้างและการลงทุนยูนนาน(Yunnan Construction and Investment Holding Group : YCIH) เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างและบริหารทางด่วนลาว-จีน โดย YCIH ถือหุ้นในโครงการนี้ 95% หุ้นที่เหลืออีก 5% ถือโดยรัฐบาลลาว สัมปทานเป็นแบบ Build-Operate-Transfer (BOT) มีอายุ 50 ปี.

    https://www.facebook.com/share/p/3NJAZ53bsgsM4tLW/?mibextid=oFDknk
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คลิปนี้ฟังแล้ว ต้อง ระวัง จะไปเที่ยวลาวต้องแลกกีบแต่พอดี เพราะถ้าเหลือกีบก่อนออดจากประเทศลาว าจจะหาแลกเงินบาทจากธนาคารลาวกลับมาไม่ได้ ดูเหมือนเขาจะไม่ให้แลก ความเห็นส่วนตัวของผมเอง ประเทศ นี้อาจจะใช้เงินสกุลต่างประเทศไปทำเงินกีบให้แข็งค่าขึ้น จนไม่มีเงินสกุลต่างประเทศหมุนเวียนให้นักท่องเที่ยวแลกเปลี่ยน ทำแบบนี้ จะใช่การส่งเสริมการท่องเที่ยวลาวหรือ

    PSX_20240727_212609.jpg



     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    การแทรกแซงถ้าทำได้ไม่ดี มีสิทธิล่มจม

    PSX_20240727_223546.jpg

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    การแทรกแซงค่าเงินก็มีราคาที่ต้องจ่าย คือทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของประเทศนั้นๆ

    PSX_20240728_075121.jpg

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,697
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ดูคลิปประกอบ ในคลิปบอกแทรกแซง 3 ครั้ง อัตรา แลกเปลี่ยน เงินกีบกับบาท เปลี่ยน แต่กับดอลล่าห์สหรัฐคงเดิม เงินกีบ่าจะแข็งค่าขึ้นเฉพาะกับเงินบาทไทย วันนร้ลองไปถามแลกเงินกีบในร้านแลกเปลี่ยนเงินแถวบ้าน เห็นร้านที่ไปถามบอกว่า ไม่รับแลกกลีบ แต่เห็นในเว็บไซต์เจามีลงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ ดูเมื่อหลายวัรก่อร

    Screenshot_25670728_181159.jpg Screenshot_25670728_181237.jpg

     

แชร์หน้านี้

Loading...