ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Sayan Rujiramora
    7sw63skKMLr0BtmrDLD9nAX5vncOH-hBugSiTEyL3bR5to4gGyCAr_jDm_ZZCzJENnsvk8qQ&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.jpg

    YouTube .. USA Watchdog - Greg Hunter : Catherine Austin Fitts
    Federal Government Running Secret Open Bailout.
    Jan 12, 2019

    3:05..Greg ...เราได้ยินเรื่องของการรีเซ็ทมาระยะหนึ่งแล้ว ..Jim Sinclaire ก็พูดถึงเรื่องที่รัสเซียดั๊มพ์ดอลล่าร์จำนวนมาก

    Catherine....ใช่ รัสเซียมีการใช้ระบบสภาพคล่องทางเลือก (alternative liquidity system) และกำลังถอยออกห่างจากดอลล่าร์มานานแล้ว ตอนนี้ก็เพียงแค่การเร่งให้เร็วขึ้น ....ตั้งแต่ประมาณสิบปีมาแล้วที่ดิฉันได้เข้าร่วมประชุม gold conference ปี 2005 ร่วมกับรัสเซีย ..เรามีการทำ due diligence ร่วมกันถึงเรื่องการเคลื่อนย้ายสถานะส่วนใหญ่ของเงินทุนสำรอง ..นี่ทำให้เรารู้ว่ารัสเซียคิดเปลี่ยนทุนสำรองมานานแล้ว ...ส่วนจีนก็คิดเปลี่ยนทุนสำรองของตนหลังจากนั้น ทั้งหมดนี้ก็คือการ re-balance เพื่อให้พ้นจากการต้องเข้าไปช่วย bailout ให้สหรัฐ

    3:55...Greg... สหรัฐจะต้องมีดอลล่าร์แบบใหม่หรือไม่ ปธน.อาจจะออกมาบอกว่าไม่ต้องใช้หนี้พวกนั้นแล้ว เรารีเซ็ทแล้ว หรือเปล่า

    Catherine.....มันไม่มีเหตุผลที่รัฐบาลสหรัฐจะต้องมาชักดาบหนี้ที่มีอยู่ เพราะมันสามารถพิมพ์เงินหรือเพิ่มเงินออกมาได้ไม่จำกัด ...ปัญหาเดียวคือสิ่งที่เพิ่มมานั้นน่ะ มันมีค่าพอที่จะถือไว้เป็น store of value ได้หรือเปล่า ..คิดว่าเหตุผลที่ตอนนี้ Fed มีการ reengineer โครงสร้างธุรกรรมทางการเงินดังที่เราๆเห็นอยู่น่ะ ก็เพราะว่าพวกเขาต้องการควบคุมสิ่งที่ทำอยู่ให้หนักมือขึ้นเท่านั้นเอง นั่นหมายรวมไปถึงพยายามที่จะทำให้เงินยังคงเสื่อมค่าต่อไป...

    ที่จริงแล้วนี่ก็คือการรีเซ็ทนั่นแหละโดยการทำให้เงินเสื่อมค่าไปเรื่อยๆ เป็นการรีเซ็ทมายี่สิบปีแล้ว ....มันเป็นการยึดอำนาจทางการเงิน (financial coup) ยึดอำนาจแบบถูกกฏหมายซะด้วย ..ตอนนี้ก็ต้องคอยจับตามองถึงโครงสร้างของรัฐบาล เรื่องสำคัญไม่ใช่อยู่ที่พวกเขาทำอะไร แต่อยู่ที่ใครเป็นผู้ควบคุมอยู่ ใครตัดสินใจ ...เพราะตอนนี้ทั้งการดำเนินงานและการวางนโยบายเป็นเรื่องลับไปหมดลับหลังประธานาธิบดี ...ยังมีเรื่องของเงินลึกลับจำนวนมากที่ถูกใช้ไปกับกองทัพเอกชนส่วนตัวลึกลับที่ไม่มีใครเข้าใจ ....สักวันหนึ่ง Blackwater (บริษัททหารรับจ้างเอกชน) ก็คงประกาศเปิดเผยตัวตนได้เลย ..สิ่งที่จะเกิดต่อไปคือ เงินลึกลับจะออกมาจากหลังบ้านของกระทรวงการคลัง บริษัททหารรับจ้างเอกชนอีกหลายแห่งจะมีทุนดำเนินการก่อสงครามเพื่อสร้างผลกำไรให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้ควบคุมอีกต่อหนึ่ง

    เงินจำนวน $21 ล้านล้านที่หายไปจากกระทรวงกลาโหม และกระทรวงการเคหะที่ถูกเปิดเผยตั้งแต่ปี 2017 แต่รัฐบาลกลางไม่เคยพูดถึงหรือตอบเลย หรือแม้กระทั่งการตรวจบัญชีของกระทรวงกลาโหมครั้งแรกก็ล้มเหลว ..นี่คือการ bailout ....ด้วยโครงสร้างแบบนี้ คุณสามารถยักย้ายเอาสมบัติของชาติไปเป็นของส่วนตัวได้เลย มันถูกย้ายเข้าธนาคารเอกชนหรือบริษัทเอกชนได้โดยไม่มีใครรู้และไม่มีใครหยุดได้ด้วย ...รัฐบาลเป็นได้แค่ tax collector

    พวกเขาเข้าควบคุมรัฐบาล และเปลี่ยนโมเดลรัฐบาลเสียใหม่เป็นรัฐบาลฟาสซิสต์โดยใช้นโยบายทางบัญชี ..ตามกฏหมายบอกว่าสามารถจะถูกตรวจสอบจากฝ่ายตรวจสอบเงินแผ่นดินได้.. แต่ปฏิเสธมานับถึงยี่สิบปี พอมีการร้องเรียน ก็เปลี่ยนกฏหมายการบัญชีซะเลย ให้มีการใช้บัญชีลับได้ทุกหน่วยงานของรัฐบาลประมาณ 150 แห่ง ..บัญชีที่นำมาใช้แสดงให้เห็นได้ มันไม่มีความหมายอะไรเลย

    คนอเมริกันไม่อาจนั่งเฉยโดยหวังพึ่งแต่ประธานาธิบดีเพียงคนเดียวได้ เพราะเขาก็แก้ไขไม่ได้ ประชาชนต้องทำกันเอง นี่คือ ..Main Street vs Wall Street.. แต่ก่อนอื่นประชาชนควรตื่นรู้ถึงความจริงทั้งหมดเสียก่อน.....

    -Catherine Austin Fitts เป็นอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีการเคหะ เมื่อ 1989-1990-

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    hz65iUNhmQ4UMGmCKlPvecFt0yBxK9pWzLQ14i70VRpSbEQsu1nBrTxFnN4DQGzpUNjtab1g&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.png
    (Jan 14) กต.ฟิลิปปินส์ไม่ต่อสัญญาเอาต์ซอร์ส บริษัทเอาข้อมูลออกไป, ทางการต้องพิสูจน์เจ้าของหนังสือเดินทางใหม่หมด : กระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ไม่ต่อสัญญาจ้างบริษัทเอาต์ซอร์สที่ดูแลระบบหนังสือเดินทางให้ และหลังจากไม่ต่อสัญญาบริษัทก็ "นำข้อมูลออกไป" ทั้งหมด ทำให้ทางกระทรวงต่างประเทศไม่มีข้อมูลใช้งาน

    ตอนนี้กระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ต้องใช้ใบเกิดเพื่อออกหนังสือเดินทางใหม่ทั้งหมด เพื่อสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาใหม่
    ขณะที่คณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคลฟิลิปปินส์ (National Privacy Commission - NPC) กำลังเรียกทั้งบริษัทเอาต์ซอร์สและผู้เกี่ยวข้องมาให้ปากคำเพราะกรณีนี้เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก

    Source: Blognone.com
    https://www.blognone.com/node/107535

    - Philippines to Probe Foreign Secretary's Claim Data Was Stolen: https://www.bloombergquint.com/onweb/philippines-to-probe-foreign-secretary-s-claim-data-was-stolen#gs.1ktJsxTj
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    YoSdPyJ2aI5DhpIFs_b1ulPG9iNmc0cN172jnY9U1DfLgqpOxZaB5Fs-MuoTSAyJw1GT0ltQ&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.png

    (Jan 14) ธปท.ไร้กังวลเศรษฐกิจโลกชะลอมั่นใจ'จีดีพี'ไทยปีนี้โต 4% : ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ประเมินภาพเศรษฐกิจโลกแม้มีแนวโน้มชะลอตัว แต่ไม่น่าห่วง เนื่องจากเป็นการชะลอตัว จากการเติบโตในระดับสูง ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องในระดับ 4% แต่ยอมรับความเสี่ยงด้านต่ำมีมากขึ้น ยืนยันพร้อมใช้เครื่องมือดูแลหากเศรษฐกิจไม่เติบโตตามที่คาดการณ์เอาไว้

    วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่ง ประเทศไทย(ธปท.) ตอบคำถามในการประชุมนักวิเคราะห์เพื่อสรุปแนวโน้มเศรษฐกิจและ นโยบายการเงินรายไตรมาสวานนี้(10ม.ค.) โดยมีผู้ตั้งคำถามว่าเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและการทำ นโยบายการเงินในระยะข้างหน้าหรือไม่.. ซึ่ง "วิรไท" ระบุว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ถือเป็นการชะลอตัวลงจากจุดที่สูง ไม่ใช่จุดที่เศรษฐกิจแย่ จึงไม่ใช่เรื่องน่ากังวล

    เขาระบุว่า ถ้าดูเศรษฐกิจสหรัฐ จะเห็นว่าอัตราการว่างงานต่ำสุดรอบหลายสิบปี การจ้างงานปรับขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจยุโรปก็เริ่มเห็นการกระจายตัวมากขึ้น และแม้จะมีสัญญาณว่า ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) อาจชะลอการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แต่ไม่ได้หมายความว่า เฟด จะหยุดขึ้นดอกเบี้ยเลย เพียงแต่อาจขึ้นได้น้อยกว่าที่เคยประเมินกันไว้

    ดังนั้นเชื่อว่าการขึ้นดอกเบี้ยของไทย ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ไปที่ระดับ 1.75% ก็ไม่ได้เป็นจุดที่น่าตกใจ เพราะไม่ได้ขึ้นจากจุดที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง แต่ขึ้นมาจากระดับที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมาก และต่ำมานาน ดังนั้นธปท.ยังเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้ก็ยังขยายตัวอยู่ในคาดการณ์ที่ประเมินไว้ที่ระดับ 4 % ได้

    อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่า เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงด้านต่ำมากขึ้น ดังนั้นเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งธปท.ก็ต้องมีเครื่องมือ ที่พร้อมใช้ หากคิดว่าเกิดผลกระทบในระยะข้างหน้า ดังนั้นหลักการสำคัญที่กนง.ใช้พิจารณาคือ Data Dependent

    "เรายังเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวสอดคล้องกับศักยภาพ แต่ความเสี่ยงด้าน ต่ำมากขึ้น เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ และ ด้วยเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจขนาดเล็กแบบเปิด อาจมีปัจจัยภายนอก หลายๆ รูปแบบ เข้ามากระทบที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นเราเชื่อว่าเรามีเครื่องมือหลากหลายที่พร้อมดูแลเศรษฐกิจได้หากไม่เป็นไปตามเบสไลน์ที่คาดไว้" นายวิรไทกล่าว

    ส่วนการมีขีดความสามารถ(Policy space) ในการทำนโยบายการเงิน กรณีนี้ ต้องย้ำว่า ไม่ได้ตั้งเป้าว่า Policy Space ที่ เหมาะสม หรือควรเป็นเท่าไหร่ เพราะ Policy Space ไม่ใช้เป้าหมายหลัก ในการพิจารณาของกนง.ในช่วงที่ผ่านมา แต่หากถึงจุดที่คิดว่าเป็นโอกาส ก็สามารถสะสม Policy Space ได้ แต่การใช้นโยบาย การเงินที่ผ่อนคลายยังเป็นสิ่งที่กนง. มองว่ายังจำเป็นในภาวะปัจจุบัน

    นอกจากนี้ ด้านเสถียรภาพการเงิน ยังเป็น ประเด็นที่ต้องติดตาม แม้ปัจจุบันเสถียรภาพระบบการเงินจะยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ต้องติดตามความเสี่ยงบางจุดที่ยังไม่ปรับตัวดีขึ้น ชัดเจน จากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมานาน ซึ่งทำให้เกิดพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น จนประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร เช่นการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง จากการก่อหนี้ของประชาชนที่มีการก่อหนี้มากขึ้น เพื่อการบริโภค

    ทั้งนี้จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมานาน จึงไม่จูงใจในการออม ทำให้เห็นการเข้าไปลงทุนในธนาคารเงา หรือสหกรณ์ออมทรัพย์ มากขึ้น ซึ่งวันนี้พบว่า เงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์ปรับขึ้นต่อเนื่อง คิดเป็นราว 10 % หากเทียบเงินฝากในระบบการเงินไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ยังทำให้เกิดพฤติกรรมการออกพันธบัตรที่ไม่มีการจัดอันดับที่มีปัญหาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

    หรือเกิดพฤติกรรมการปล่อยสินเชื่อ ให้กับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันกันสูง ผ่านการให้สินเชื่อ ระยะสั้น(บิดดิ้งโลน) และไประดมทุนผ่านตราสารหนี้ เหล่านี้ถือเป็นความเสี่ยงมากขึ้น

    ส่วน กรณีที่ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ของไทยในปัจจุบันแข็งค่าขึ้น หากเทียบกับคู่ค้าคู่แข่ง และดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่องนั้น เชื่อว่าหากการลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งการลงทุนของ ภาครัฐ เอกชน อาจทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในระยะข้างหน้าปรับลดลงได้ ซึ่งเป็นไปตามประมาณการธปท. ที่คาดว่าดุลบัญชี เดินสะพัดปีนี้น่าจะเกินดุลน้อยลง หาก เทียบกับปี 2561 ดังนั้นเหล่านี้น่าจะลดแรงกดดันของค่าเงินบาทที่แข็งค่าลงได้ในระยะข้างหน้า

    ขณะเดียวกันที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำสุดหากเทียบกับอาเซียน ปัญหาหลักๆ มาจากเชิงโครงสร้าง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขด้วยการ กระตุ้น แต่ต้องไปแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่อาจทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจไทย ปรับตัวดีขึ้นตามศักยภาพ

    หากดูด้านเงินเฟ้อ ที่มีทิศทางชะลอตัวลง เชื่อว่าธนาคารกลางทั่วโลกเห็นทิศทาง ดังกล่าว จึงเห็นการปรับเงินเฟ้อของธนาคารกลางในประเทศต่างๆ ไปสู่กรอบ เป้าหมายเงินเฟ้อที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ใน หลายมิติ ทั้งการหันมาใช้กรอบเงินเฟ้อ มากขึ้น มากกว่าการระบุเงินเฟ้อแบบ เจาะจง รวมถึงมีการปรับกรอบเงินเฟ้อ แบบมีระยะเวลาการเข้ากรอบนานขึ้น และหันไปใช้กรอบปานกลางมากขึ้น เช่นเดียวกันไทย ที่ปัจจุบันมีการใช้กรอบเงินเฟ้อเป็น กรอบ ที่เป็นทั้งปีปฏิทินและกรอบเงินเฟ้อระยะปานกลาง

    ทุกธนาคารกลางตระหนักดีว่า พัฒนา การเงินเฟ้อในโลกเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างไปมาก ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วน กระทบ ทำให้เงินเฟ้อมีทิศทางลดลง แต่ เทคโนโลยียังมีผลต่อทุกอุตสาหกรรม และ เปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมต่างๆ ไป ค่อนข้างมากทั้งภาคเกษตร ราคาพลังงานต่างๆ ดังนั้นเรื่องพัฒนาการเงินเฟ้อ จึงต้อง ทำความเข้าใจมากขึ้น

    ทั้งนี้ จากเงินเฟ้อที่มีทิศทางต่ำลง เชื่อว่าไม่มีผลที่ทำให้คนมีพฤติกรรมเปลี่ยน หรือทำให้เกิดการชะลอการจับจ่ายใช้สอย จนมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เพราะเงินเฟ้อที่ระดับต่ำ มาจากราคาพลังงานเป็น ส่วนใหญ่ ดังนั้น เมื่อเงินเฟ้ออยู่ใกล้กรอบล่างของกรอบเงินเฟ้อ จึงเชื่อว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่สิ่งที่กังวล คือหากเงินเฟ้อขึ้นไปติดเพดานของกรอบเงินเฟ้อขั้นสูง เหล่านี้อาจส่งผลต่อศักยภาพเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าได้

    นอกจากนี้ "วิรไท" ยังตอบคำถาม ถึงกรณีที่มีการสอบถามเหตุใด จึงไม่มีการเปิดเผยรายชื่อ กนง. ที่ลงคะแนนเรื่องดอกเบี้ยว่าใครโหวตอย่างไรบ้างว่า.. ประเด็นนี้ เคยหยิบยกขึ้นหารือในที่ประชุม กนง. เช่นกัน ซึ่งต้องยอมรับว่าบริบทของสังคมไทยเหมาะที่จะเปิดเผยรายละเอียดต่างๆผ่านในรูปแบบคณะกรรมการ มากกว่า การแสดงความเห็นจากแต่ละบุคคล เนื่องจากคณะกรรมการสามารถถกเถียงประเด็นต่างๆ ได้อิสระ และไม่มีแรงกดดันในการพิจารณาเรื่องต่างๆ

    หากเปิดเผยรายชื่อความเห็นของคณะกรรมการ อาจสร้างแรงกดดันต่อคณะกรรมการได้ และแรงกดดันใน การดำเนินนโยบายการเงินอาจตกไปอยู่ที่คณะกรรมกนง.แต่ละท่านได้

    Source: กรุงเทพธุรกิจ
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    %2F2019%2F01%2F%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90-860x571.jpg
    (Jan 13) ความขัดแย้ง จีนกับสหรัฐอเมริกา อาเซียนจะต้องเลือกข้างหรือไม่? สถาบัน ISEAS ของสิงคโปร์ เปิดเผยรายงานชื่อ State of Southeast Asia: 2019 ที่สำรวจความเห็นของคนในวงการต่างๆในอาเซียนกว่า 1 พันคน ในเรื่องสถานการณ์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่จีนเริ่มมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากสุดในภูมิภาคนี้ และคาดว่าจะช่วงชิงการเป็นประเทศผู้นำทางการเมืองในภูมิภาค ขณะที่สหรัฐอเมริกาแสดงท่าทีเฉยเมย และไม่สนใจมากขึ้น ต่อภูมิภาคนี้

    จากการสำรวจความเห็น มีคนจำนวนไม่มากในอาเซียน ที่มองจีนว่าเป็นมหาอำนาจ ที่มีความเป็นธรรม และเอื้ออาทร ส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในระดับต่ำ ที่ว่าจีนจะทำในสิ่งถูกต้อง เพื่อสันติภาพโลก ความมั่นคง และความรุ่งเรือง จำนวน 3 ใน 4 ของคนที่ถูกสำรวจ มองว่า จีนจะขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น เพราะสหรัฐฯมีท่าทีไม่สนใจใยดี และถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้

    ดร. ตัน เซียว มุน (Tang Siew Mun) หัวหน้าศูนย์อาเซียนศึกษา ของ ISEAS กล่าวว่า ผลการสำรวจความเห็นแสดงให้เห็นถึง ภาวะที่อาเซียนกำลังเผชิญปัญหาที่ยากลำบาก ในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์กับ 2 มหาอำนาจ โดยที่อาเซียนเองก็ไม่ได้มีความเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ “ความเชื่อมั่นที่ติดลบของอาเซียนต่อจีน มาจากการถูกแรงกดดันที่จะต้องสร้างสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ที่กำลังมีอิทธิพลมากขึ้น และมีท่าทีชัดเจนมากขึ้น ในสิ่งที่ตัวเองความต้องการ”

    ตัน เซียว มุนกล่าวว่า จีนไม่ได้เป็นอย่างที่ประกาศไว้ว่า “ทุกฝ่ายได้ประโยชน์” (win-win) แม้จีนจะทำให้การค้าแบบทวิภาคกับประเทศสมาชิกอาเซียนเติบโตแบบก้าวกระโดด แต่ก็ไม่สนใจกับการได้เปรียบดุลการค้าโดยรวมกับอาเซียน ที่พุ่งขึ้นเกือบ 70 พันล้านดอลลาร์ การดำเนินการของจีนในทะเลจีนใต้ ก็สร้างความวิตกแก่ภูมิภาคนี้ว่า จีนอาจใช้อำนาจทางการเมืองและทางทหารมากขึ้น โดยประเทศเพื่อนบ้านกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องมองจีนอย่างเป็นธรรม เมื่อเทียบกับมหาอำนาจเก่า ที่มีบทบาทระดับโลกมายาวนาน

    ลมหายใจของมังกร

    จากการสำรวจความเห็นของสถาบัน ISEAS หลายคนแสดงความวิตกเรื่องที่ ภูมิภาคนี้จะกลายเป็นสนามแข่งขันระหว่างสหรัฐฯกับจีน เพราะสิ่งนี้จะเป็นเหตุให้การเมืองของภูมิภาค เกิดความขัดแย้ง และแบ่งขั้วเป็นฝักเป็นฝ่ายขึ้นมา รายงานการสำรวจจึงเสนอว่า “ประเทศสมาชิกอาเซียนจำเป็นที่จะต้องระดมทักษะการจัดการปัญหา เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นเบี้ยในเกมอำนาจระหว่างจีนกับสหรัฐฯ”

    รายงานของ ISEAS ได้สอบถามว่า มีความเห็นอย่างไรต่อคำถาม 3 ข้อ คือ (1) ฐานะและอิทธิพลของสหรัฐฯที่เป็นมหาอำนาจโลก เมื่อเทียบกับหนึ่งปีที่ผ่านมา (2) บทบาทของรัฐบาลทรัมป์ต่อภูมิภาคนี้ และ (3) ความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ และการเป็นประเทศ ที่สร้างความมั่นคงของภูมิภาค จากผลของการสอบถาม ความเห็นทั่วไป มีทัศนะในด้านลบ

    ต่อคำถามในเรื่องที่จีนจะก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจ และผลกระทบที่จะมีต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 45.4% ของผู้ที่ตอบคำถามเห็นว่า “จีนจะเป็นประเทศมหาอำนาจ ที่ต้องการแก้ไขแบบแผนที่เป็นอยู่ (revisionist power) โดยประสงค์ที่จะเปลี่ยนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็นเขตอิทธิพล” ความเห็นดังกล่าวมาจากฟิลิปปินส์ 66.4% เวียดนาม 60.7% สิงคโปร์ 57% กัมพูชา 50% ไทย 45.1% และอินโดนีเซีย 37.7%

    ส่วนความเห็นที่มีลำดับรองลงไป 35.3% คิดว่า “เมื่อสหรัฐฯถอนตัวออกไป จีนจะเป็นทางเลือกการเป็นผู้นำให้กับภูมิภาค” ทัศนะดังกล่าวมีสูงในบรูไน คือ 61.4% รองลงไปคือ มาเลเซีย 44.8% และเมียนมาร์ 32.1%

    ความเห็นต่อ “การริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative – BRI)โครงการที่เป็นธงนำของจีน การสำรวจได้ทัศนะที่ปรากฎออกมาไม่ชัดเชน คือ มีทั้งทัศนะที่มองด้านดีและด้านเสีย 47% เห็นว่าโครงการ BRI “จะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียน มีวงโคจรเข้าใกล้จีนมากขึ้น” ความวิตกเรื่องสมาชิกอาเซียนกลายเป็นวงโคจรของจีน มีสูงในสิงคโปร์ คือ 60.2% เวียดนาม 58.7% บรูไน 52.3% มาเลเซีย 51.8% ไทย 51.3% อินโดนีเซีย 44.4% และฟิลิปปินส์ 38.7%

    แต่ในอีกด้านหนึ่ง ความเห็น 35% ยอมรับว่า เงินกู้จากจีนเป็นแหล่งที่สนองเงินลงทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของประเทศในภูมิภาคนี้ ความเห็นอีก 30.7% มองว่าเรื่องการขาดความโปร่งใส และคิดว่าเป็นเรื่องเร็วเกินไป ที่จะวิเคราะห์ผลกระทบของ BRI เนื่องจากข้อมูลยังไม่เพียงพอ

    ความเห็นของผู้ตอบการสอบถาม จากประเทศที่มีโครงการ BRI หรือกำลังเจรจาในเรื่องนี้ ถึงบทเรียนสำหรับประเทศตัวเองจากโครงการ BRI ในอดีต เช่น กรณีท่าเรือ Hambantota ในศรีลังกา และโครงการรถไฟ East Coast Rail Link ของมาเลเซีย คำตอบส่วนใหญ่ คือ 70% เห็นว่า รัฐบาลประเทศตัวเอง ควรระมัดระวังในการเจรจาโครงการ BRI เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสภาพหนี้สินที่มีปัญหากับจีน

    ผู้ตอบการสอบถามของ ISEAS จำนวน 73.3% เห็นว่า จีนมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจต่ออาเซียนมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับความสัมพันธ์ทางการค้าที่เป็นอยู่ นับจากปี 2009 จีนเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่สุดของอาเซียน และปี 2017 มีมูลค่าการค้าเกิน 500 พันล้านดอลลาร์ ส่วนที่มองว่าสหรัฐฯมีอิทธิพลมากสุด 7.9% ญี่ปุ่น 6.2% สหภาพยุโรป 1.7% และรัสเซีย 0.1% แต่ที่ผลการสำรวจสร้างที่ความประหลาดใจมากสุดคือ ความเห็น 10.7% มองว่าอาเซียนเองมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นอันดับสองของภูมิภาคนี้

    การเผชิญหน้า จีนกับสหรัฐฯ

    เนื่องจากจีนมีเป้าหมายที่จะฟื้นฟูฐานะของตัวเองในเวทีโลก และภูมิภาคเอเชียอาคเนย์จะเป็นพื้นที่ทดสอบในเรื่องนี้ของจีน ขณะเดียวกัน สหรัฐฯก็ไม่ยินดีที่จะละทิ้งฐานะมหาอำนาจนำ โดยไม่ต่อสู้ในเรื่องนี้ กับคำถามที่ว่า จีนกับสหรัฐฯจะเผชิญหน้ากันในภูมิภาคนี้หรือไม่ 68.4% ของผู้ตอบคำถาม คิดว่าจะเกิดสถานการณ์ดังกล่าว เพราะ 2 ประเทศนี้ ต่างก็มองอีกฝ่ายหนึ่งว่า เป็นคู่แข่งทางยุทธศาสตร์
    ในทัศนะที่ต่างไปอีกขั้วหนึ่ง ผู้ตอบคำถาม 22.5% เห็นว่า จีนกับสหรัฐฯจะสามารถแก้ปัญหาที่แตกต่างกันได้ โดยสามารถตกลงกันได้ ในเรื่องความสัมพันธ์ที่จะดำเนินไปอย่างประสบความสำเร็จ และสองฝ่ายพึงพอใจ แต่ 62% ก็มีความวิตกกังวล ที่อาเซียน “จะกลายเป็นพื้นที่การแข่งขันของมหาอำนาจสำคัญ” และการเมืองของภูมิภาคจะเกิดการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย

    ความเห็นที่มีต่อยุทธศาสตร์ “อินโด-แปซิฟิก” ของสหรัฐฯ ที่จะตอบโต้การได้เปรียบของจีนในภูมิภาคนี้ ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่ 61.3% คิดว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวไม่ชัดเจน ต้องการรายละเอียดมากขึ้น ความเห็น 25.4% มองว่า แนวคิดนี้ต้องการปิดล้อมจีน และ 17.3% เห็นว่า เป็นแนวคิดที่จะทำให้ฐานะของอาเซียน ที่เกี่ยงข้องกับภูมิภาคนี้ อ่อนแอลงไป

    ยุทธศาสตร์ “อินโด-แปซิฟิก” ได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่นและออสเตรเลีย เดือนเมษายน 2017 ญี่ปุ่นเผยแพร่ยุทธศาสตร์ “อินโด-แปซิฟิก ที่เสรีและเปิดกว้าง” (Free and Open Indo-Pacific) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น ที่ต้องการให้เกิดสันติภาพ เดือนพฤศจิกายน 2017 ออสเตรเลียก็ประกาศแนวทางนโยบายต่างประเทศ ที่หัวใจสำคัญคือการปกป้อง “ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ที่เปิดกว้าง ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และเจริญรุ่งเรือง”

    บทความของ John Lee เรื่อง ASEAN Must Choose: America or China? พิมพ์ใน nationalinterest.org เมื่อวันที่ 18 ธันวาคมนี้ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ดังกล่าว ปัจจุบันเรียกว่า “วิสัยทัศน์อินโด-แปซิฟิก ที่เสรีและเปิดกว้าง” หรือ FOIP แต่อาเซียนยังลังเลที่จะให้การสนับสนุน เพราะเป็นแนวคิดที่ขยายภูมิยุทธศาสตร์ให้กว้างออกไป ซึ่งจะทำให้ฐานะการเป็นศูนย์กลางทางการทูตของอาเซียนลดลง การริเริ่มที่ไม่ได้มาจากอาเซียน ก็แสดงให้เห็นว่า แนวคิดนี้ได้ก้าวข้ามอาเซียนไป

    อาเซียนไว้วางใจใครมากสุด

    รายงานสำรวจความเห็นของ ISEAS ตั้งคำถามว่า บรรดาประเทศมหาอำนาจต่างๆ เช่น จีน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ มีความเชื่อมั่นในประเทศไหนว่า จะทำเรื่องที่ถูกต้อง ในการรักษาสันติภาพโลก ความมั่นคง ความรุ่งเรือง และธรรมาภิบาล 51.% มีความเชื่อมั่นน้อยหรือไม่มีเลย ที่จีนจะมีบทบาทดังกล่าว ผู้ตอบคำถามที่มีทัศนะด้านลบต่อจีนมากสุด มาจากเวียดนาม 73.4% ฟิลิปปินส์ 66.6% อินโดนีเซีย 60.9% และกัมพูชา 58.3% แม้จะเป็นประเทศที่ถูกเรียกว่าเอนเอียงไปทางจีน

    ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ผู้คนในอาเซียน มีทัศนะที่นิยมชมชอบมากที่สุด 65.9% ของผู้ที่ถูกสอบถาม กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าญี่ปุ่นจะทำสิ่งที่ถูกต้องในเรื่องกิจการของโลก ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศสำคัญๆ ที่ได้รับความเชื่อมั่นมากสุด โดยมาจากกัมพูชา 87.5% ฟิลิปปินส์ 82.7% และเมียนมาร์ 71.9%

    ทัศนะของคนในอาเซียนต่อสหรัฐฯ เป็นแบบสิ้นหวัง 50.6% ไม่มีความเชื่อมั่นต่อสหรัฐฯ ที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องในกิจการของโลก การถอนตัวจากข้อตกลงปารีสเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การวิจารณ์โจมตีการค้าเสรี และท่าทีที่รังเกียจต่อระบบพหุภาคี คงจะมีส่วนทำให้เกิดทัศนะด้านลบต่อสหรัฐฯ ทัศนะมองสหรัฐฯในด้านลบ มาจากบรูไน 64.4% มาเลเซีย 63.9% และไทย 60.5% แต่ในฟิลิปปินส์และเวียดนาม จำนวน 45.4% และ 45.2% ยังเชื่อมั่นต่อสหรัฐฯ

    รายงานของ ISEAS สรุปอันดับความไว้วางใจ ของคนในอาเซียนต่อมหาประเทศ ไว้ดังนี้ ญี่ปุ่น 65.9% สหภาพยุโรป 41.3% สหรัฐฯ 27.3% อินเดีย 21.7% และจีน 19.6% ส่วนความไม่ไว้วางใจต่อมหาประเทศ มีลำดับดังนี้ จีน 51.5% สหรัฐฯ 50.6% อินเดีย 45.6% สหภาพยุโรป 35.2% และญี่ปุ่น 17%

    โดย ปรีดี บุญซื่อ

    Source: ThaiPublica
    https://thaipublica.org/2019/01/pridi127/
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    7rJPmZnJCRoz9Pc1kWUbdQM0cqLUlcA5GZE4qyH2zSFBQYiBrx6GAEIbow97Y6pBDVzVG2UA&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.jpg

    (Jan 13) อนาคตธุรกิจแอ๊ปเปิ้ลในจีน : เมื่อวันที่ 2 ม.ค. แอ๊ปเปิ้ล อิงค์ บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำสัญชาติสหรัฐ ประกาศปรับลดตัวเลขคาดการณ์รายได้ โดยอ้างว่า มียอดขายซบเซาในตลาดจีน แต่หากพิจารณา กันจริงๆ แล้ว บริษัทอเมริกันรายนี้ ยังมีแนวโน้มดีกว่าซัมซุง คู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันสัญชาติเกาหลี โดยผลสำรวจล่าสุด แบรนด์แอ๊ปเปิ้ล ยังครองใจกลุ่มลูกค้าชาวจีน ที่มีฐานะร่ำรวยมากขึ้นบางส่วนแถมยังรักษา ส่วนแบ่งตลาดของตัวเองได้อย่างเหนียวแน่น ประกอบกับการที่บริษัทยังผลิตไอโฟนในจีน เท่ากับว่าช่วยสร้างงานในจีนได้จำนวนมาก

    เคาน์เตอร์พอยท์ รีเสิร์ช บริษัทวิจัยด้าน การตลาด เผยว่า ยอดขายในจีนของแอ๊ปเปิ้ล แซงหน้าซัมซุงเมื่อปี 2558 คิดเป็นสัดส่วน 14% ของยอดขายมือถือในประเทศ แต่หลังจากนั้น แอ๊ปเปิ้ลก็ประสบภาวะขาลงเนื่องจากหัวเว่ย เทคโนโลยีส์ และผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเจ้าถิ่น เข้ามาชิงส่วนแบ่ง ด้วยการเสนอสมาร์ทโฟนรูปลักษณ์และฟีเจอร์คล้ายกันแต่ถูกกว่า

    ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟน ให้ความเห็นว่า ภาวะขาลงของแอ๊ปเปิ้ลในจีน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไอโฟนใช้ระบบปฏิบัติการไอโอเอสที่พัฒนาโดยแอ๊ปเปิ้ล การที่เจ้าของมือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการอื่นอยู่แล้วจะเปลี่ยนมาใช้แบรนด์ของแอ๊ปเปิ้ลจึงเป็นเรื่องยุ่งยาก

    คอลัมน์ China Data:
    Source: กรุงเทพธุรกิจ
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    3A%2F%2Ffortunedotcom.files.wordpress.com%2F2019%2F01%2Fjaguar-land-rover-layoffs-e1547144417231.jpg
    (Jan 13) เอกชนโลกแห่หั่นคนหลังซบ - "ฟอร์ด-จากัวร์" ประกาศลดตำแหน่งงานหลายพันอัตรา หวังเร่งรัดเข็มขัดฟื้นกำไร รับมือความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกขยายตัวชะลอ

    บลูมเบิร์ก รายงานว่า เอกชนทั่วโลกประกาศลดคนและปรับแผนธุรกิจ เพื่อหวังลดต้นทุนการดำเนินงานรับมือเศรษฐกิจโลกโตชะลอจากผลกระทบเรื่องสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ เศรษฐกิจจีนขยายตัวอ่อนแรง และความไม่แน่นอนเรื่องเบร็กซิต

    บริษัทฟอร์ด มอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐ ประกาศปรับลดพนักงานหลายพันอัตราในยุโรป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปรับโครงสร้างธุรกิจหลังกำไรในยุโรปร่วงหนัก

    นายสตีเฟน อาร์มสตรอง รองประธานบริษัทฝ่ายยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เปิดเผยว่า การดำเนินการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายฟื้นธุรกิจ แต่ยังไม่เปิดเผยชัดเจนว่าจะลดพนักงานลงทั้งหมดกี่อัตรา

    นอกจากนี้ ฟอร์ดยังมีแผนปรับการดำเนินงานส่วนอื่นๆ ของบริษัท โดยจะเตรียมออกจากตลาดรถตู้ ระงับการปรับระบบโรงงานเป็นแบบอัตโนมัติในฝรั่งเศส และทบทวนแผนตั้งกิจการร่วมค้าในรัสเซีย

    รายงานระบุว่า ฟอร์ด ยุโรป ซึ่งมีพนักงานทั้งหมด 5.3 หมื่นคน ยังไม่สามารถทำกำไรได้ โดยกำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีของฟอร์ดลดลง 245 ล้านยูโร (ราว 9,016 ล้านบาท) คิดเป็น 3.3% เมื่อไตรมาส 3 ปีที่แล้ว ขณะที่เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมาฟอร์ดประกาศแผนปรับโครงสร้างไปแล้วหลังขาดทุนทั้งในเอเชียและยุโรป

    ก่อนหน้านี้ ฟอร์ด เปิดเผยว่า ต้องการลดต้นทุนลง 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 7.97 แสนล้านบาท) ภายในปี 2565 หลังบริษัทหยุดผลิตรถยนต์บางรุ่นเพื่อลดรายจ่ายลง 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 3.51 แสนล้านบาท) ในสหรัฐ

    ด้าน จากัวร์ แลนด์ โรเวอร์ บริษัทรถยนต์รายใหญ่สุดของอังกฤษประกาศปรับลดพนักงานทั่วโลกลง 4,500 อัตรา คิดเป็นราว 10% ของพนักงานทั้งหมด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนลดรายจ่าย 2,500 ล้านปอนด์ (ราว 1 แสนล้านบาท) จนถึงปี 2563

    บลูมเบิร์กและบีบีซี รายงานว่า ประเด็นเบร็กซิตมีผลต่อการตัดสินใจล่าสุด โดยยอดขายของจากัวร์ลดลง 4.6% เมื่อปีที่แล้ว ขณะที่ยอดขายรถทั้งหมดในอังกฤษลดลง 6.8% เมื่อปี 2561 ต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงวิกฤตการเงินในช่วง 10 ปีก่อน

    ก่อนหน้านี้ จากัวร์ เปิดเผยว่า กรณีที่อังกฤษไม่สามารถทำข้อตกลงกับสหภาพยุโรป (อียู) ได้ กำไรของบริษัทเสี่ยงลดลงถึง 1,200 ล้านปอนด์ (ราว 4.8 หมื่นล้านบาท) ต่อปี

    ขณะเดียวกัน บลูมเบิร์กรายงานอ้างเอกสารภายในว่า แบล็กร็อก บริษัทบริหารจัดการหลักทรัพย์รายใหญ่ที่สุดในโลกจากสหรัฐ เตรียมจะลดพนักงานทั่วโลกลง 3% คิดเป็น 500 อัตรา ในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นการลดพนักงานครั้งใหญ่สุดนับตั้งแต่ปี 2559

    นายร็อบ คาปิโต ประธานบริษัท แบล็กร็อก ระบุในเอกสารดังกล่าวว่า ความผันผวนในตลาดหุ้นและนักลงทุนที่หันไปลงทุนกองทุนที่เก็บค่าธรรมเนียมต่ำ สร้างแรงกดดันมากขึ้นต่อบริษัทบริหารจัดการหลักทรัพย์

    ก่อนหน้านี้ บลูมเบิร์กรายงานว่า บริษัท โนมูระ เตรียมปรับลดพนักงานในยุโรป แต่ยังไม่เปิดเผยจำนวนชัดเจน หลังตลาดเงินและตลาดทุนทั่วโลกปั่นป่วนหนักจนฉุดรายได้บริษัท ด้าน มอร์แกน สแตนเลย์ ประกาศลดพนักงานบางส่วนในฝ่ายขายและฝ่ายเทรดดิ้ง

    Source: Posttoday

    - aguar Land Rover Plans to Cut 4,500 Jobs Worldwide:
    http://fortune.com/2019/01/10/jagua...VuVschzL95r3N4_KQ99BFAgzG-grQfpeGwJNx3Sbctn1M
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    nCDgAQlqMqTz9xcoAchdd_Q-NlMppTxd_8-E47ksr4TPtpp69C9_6dJFhT8Cdf-rWcwmRvpg&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.png

    (Jan 13) คอลัมน์ บางขุนพรหมชวนคิด: มหากาพย์'เบร็กซิต'จะจบอย่างไร? ประเด็นร้อนแรงบนหน้าหนังสือพิมพ์ต่างประเทศในขณะนี้คงหนีไม่พ้น "เบร็กซิต (Brexit)" ซึ่งเป็นคำสนธิระหว่าง "Britain" และ "Exit" สำหรับเรียก "การออกจากสหภาพยุโรป (EU) ของสหราชอาณาจักร (UK)" โดยอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าคือ วันที่ 29 มี.ค. 2562 นี้จะเป็นวันครบกำหนดที่ UK จะต้องออกจากการเป็นสมาชิกของ EU อย่างเป็นทางการ (Brexit Date) หลังจากที่ UK ออกเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 29 มี.ค.2560 ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นที่จะต่อรองกับ EU ให้ได้ "ข้อตกลงการแยกตัว" ภายในระยะเวลา 2 ปี คอลัมน์... "บางขุนพรหมชวนคิด" วันนี้จะชวนท่านผู้อ่านย้อนรอยประวัติศาสตร์เบร็กซิตตั้งแต่เริ่มวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน และทำนายอนาคตว่าจะลงเอยอย่างไร

    ที่มาของเบร็กซิต เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2559 ประชาชนชาว UK ประมาณ 15.6 ล้านคน (จากผู้มาลงคะแนนทั้งหมด 30 ล้านคน) ลงมติให้ UK แยกตัวออกจาก EU แต่เป็นการชนะอย่างฉิวเฉียดคิดเป็นร้อยละ 51.9 ต่อ 48.1 และเมื่อวิเคราะห์เป็นรายพื้นที่พบว่า เสียงส่วนใหญ่ที่ลงคะแนนให้แยกตัวคือ อังกฤษและเวลส์ขณะที่สกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือต้องการให้ UK ยังคงอยู่ใน EU ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าชาว UK โดยเฉพาะคนรุ่นเก่าไม่ต้องการเห็นการเคลื่อนย้ายแรงงาน โดยเสรีและไม่เห็นด้วยกับนโยบายการรับผู้อพยพของ EU เพราะทำให้เกิดภาระต่อ UK จากชาวต่างชาติจำนวนมากที่เข้ามาอยู่อาศัยและแย่งงานชาว UK รวมทั้งทำให้อัตราการเกิดอาชญากรรมสูงขึ้นขณะที่กลุ่มคนที่อยากให้ UK ยังเป็นสมาชิก EU โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เห็นประโยชน์จากการไม่มีกำแพงภาษีการค้าระหว่างกันและการที่ UK เป็นศูนย์กลางทางการเงินของ EU

    แยกตัวแบบไหน?

    UK สามารถแยกตัวออกจาก EU ได้ โดยมี 2 ทางเลือก ได้แก่
    1) แยกตัวแบบมีข้อตกลง (ดีลเบร็กซิต) หรือ
    2) แยกตัวแบบไร้ข้อตกลง (โนดีลเบร็กซิต)

    โดยทั้งสองกรณีต่างส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจ UK โดยตรง เพราะจะเสียประโยชน์จากการเป็นสมาชิก EU เดิม แต่สำหรับกรณีหลังจะส่งผลลบรุนแรงกว่า โดยธนาคารกลางอังกฤษประเมินว่าจะทำให้เศรษฐกิจ UK หดตัวจากแนวโน้มเดิมก่อนการลงประชามติปี 2559 ถึงประมาณร้อยละ 7-10 เพราะ UK จะเสียข้อตกลงการค้ากับประเทศอื่นๆ ที่เคยมีจากการเป็นสมาชิก EU ทำให้เกิดภาษีนำเข้านำมาสู่ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบทางลบต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจ EU ในที่สุด ดังนั้น ทั้งฝ่าย UK และ EU ต่างพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดกรณีโนดีลเบร็กซิต (ยกเว้น สส. UK ส่วนน้อยที่เป็นหัวรุนแรงต้องการให้แยกตัวแบบไร้ข้อตกลง)

    อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเกิดกรณีใดก็ตาม ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยน่าจะมีจำกัด เนื่องจากสัดส่วนการส่งออกนำเข้าของไทยกับ UK มีน้อย (ร้อยละ 1.6 และ 1.2 ตามลำดับ) และสัดส่วนนักท่องเที่ยวชาว UK ที่เข้ามาในไทยมีไม่มากนัก (ร้อยละ 2.5 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด) แม้ว่าเศรษฐกิจไทยอาจได้รับผล กระทบทางอ้อมจากเศรษฐกิจ EU ซึ่งได้รับผลกระทบจากการหดตัวของเศรษฐกิจ UK ด้วยบ้าง อย่างไรก็ตาม ตลาดการเงินไทยน่าจะได้รับผลกระทบตามความผันผวนในตลาดการเงินโลกที่สูงขึ้น

    ทำไมรัฐสภา UK ยังเถียงกันอยู่อีก? รู้ทั้งรู้ว่าการเกิดโนดีลเบร็กซิตจะมีผล กระทบต่อเศรษฐกิจ UK อย่างรุนแรง แต่ สส.ทั้งพรรคฝ่ายค้านและแม้แต่พรรครัฐบาลหลายคนยังคงไม่พอใจในร่างข้อตกลงที่นายกรัฐมนตรี UK เทเรซา เมย์ ทำการเจรจากับ EU มาเป็นแรมปี ซึ่งประกอบด้วย

    1) ร่างข้อตกลงการแยกตัว ซึ่งกำหนดเงื่อนไขการออกจาก EU และมี ผลบังคับทางกฎหมาย เช่น การระบุค่าใช้จ่ายที่ UK ต้องเสียให้ EU ประมาณ 39 พันล้านปอนด์ ในการแยกตัว และมาตรการเพื่อหลีกเลี่ยงการกั้นเขตแดนที่ชัดเจน (Backstop) ระหว่างไอร์แลนด์ (อยู่ใน EU) และไอร์แลนด์เหนือ (อยู่ใน UK)

    2) ร่างปฏิญญาความสัมพันธ์ในอนาคตระหว่าง UK และ EU ซึ่งเป็นกรอบสำหรับการเจรจาระหว่างสองฝ่ายในช่วงการเปลี่ยนผ่าน (ระหว่างวันที่ 30 มี.ค. 2562-31 ธ.ค. 2563) ทั้งด้านการค้าและความมั่นคง

    ร่างข้อตกลงและปฏิญญาดังกล่าวจำเป็นต้องผ่านการลงมติจากรัฐสภา

    UK โดยล่าสุดเมย์ ประกาศเลื่อนการลงมติจากวันที่ 13 ธ.ค. 2561 มาเป็นช่วงสัปดาห์หน้า (วันที่ 15 ม.ค. 2562 นี้) เนื่องจาก สส. UK ไม่เห็นด้วยกับประเด็น Backstop ทำให้เมย์จำเป็นต้องแสวงหาคำยืนยันจาก EU ว่า Backstop จะมีระยะเวลาสิ้นสุด เพื่อพยายามให้ได้เสียงสนับสนุนมากขึ้นและหวังว่าจะผ่านการลงมติและนำไปสู่การแยกตัวออกจาก EU แบบมีข้อตกลงได้

    คาดว่าผลการลงมติจะเป็นอย่างไร?เสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภา UK อาจลงมติไม่เห็นชอบกับร่างข้อตกลงของเมย์ และต้องกลับไปเจรจาเพิ่มเติม แต่ EU ยืนกรานว่าจะไม่มีการเจรจาใดๆ อีก จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดกรณีโนดีล เบร็กซิต อย่างไรก็ดี เริ่มมี สส. UK มากขึ้นที่เสนอให้มีการลงประชามติอีกครั้งว่ายังคงต้องการออกจาก EU อีกหรือไม่ หลังจากเริ่มเข้าใจถึงผลกระทบเบร็กซิตมากขึ้น และเพื่อให้ผู้ที่ไม่มาลงคะแนน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 30 ของผู้มีสิทธิลงประชามติครั้งก่อนได้มีโอกาสแสดงความเห็น จึงเป็นไปได้เช่นกันว่าอาจเกิดกรณีการยกเลิกเบร็กซิต หากเสียงส่วนใหญ่ต้องการให้ยังคงอยู่ใน EU ซึ่งจะยับยั้งผลทางลบต่อเศรษฐกิจ UK ได้ แต่กรณีนี้จำเป็นต้องขยายเวลา Brexit Date ออกไป โดยการขยายเวลาต้องผ่านความเห็นชอบจาก EU ทั้ง 27 ประเทศ

    ไม่เบร็กซิตก็ได้หรือ?

    ศาลสูงสุดของ EU ตัดสินให้ UK สามารถยกเลิกการออกจาก EU ได้ทุกเมื่อ กล่าวคือ สามารถตัดสินใจที่จะยกเลิกกระบวนการเบร็กซิตได้โดยไม่ต้อง ได้รับอนุญาตจาก EU อย่างไรก็ดี เมย์ยังคงยืนกรานให้เคารพเสียงการลงประชามติเมื่อ 3 ปีก่อน ดังนั้น ประเด็นเบร็กซิตจึงยังคงเข้มข้นว่าจะออกหัวหรือก้อย และต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไปครับ

    โดย สุพริศร์ สุวรรณิก เศรษฐกรอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคธนาคารแห่งประเทศไทย

    บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัด

    Source: Posttoday
    — กับ Suparit Suwanik
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    safe_image.php?d=AQBvEDNlCMLkNxge&w=540&h=282&url=https%3A%2F%2Fs2.reutersmedia.jpg
    (Jan 13) ผู้จัดจำหน่าย iPhone ในจีนหลายราย ลดราคาสินค้าลง หวังกระตุ้นยอดขาย : มีรายงานว่าแอปเปิลได้แจ้งไปยังตัวแทนจำหน่ายสินค้าในจีน ว่าจะมีการปรับลดราคา iPhone ลง เพื่อกระตุ้นยอดขายให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามตัวแทนจำหน่ายหลายราย รวมทั้งแอปเปิลในจีน ได้ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว

    อย่างไรก็ตามมีผู้พบว่าใน JD.com อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน ได้ประกาศลดราคา iPhone 8 ลดลงถึง 600 หยวน หรือประมาณ 2,800 บาท ส่วนรุ่น 8 Plus ลดราคาลง 800 หยวน โดยไม่ได้เป็นการขายแฟลชเซลล์แบบจำกัดเวลา แต่เป็นการลดราคาต้อนรับเทศกาลตรุษจีน ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเป็นการลดราคาลงตลอดไปหรือไม่

    นอกจากนี้ในบางเว็บไซต์ก็มีการลดราคารุ่น XR ด้วย
    ทั้งนี้ในหน้าเว็บ Apple Online Store ของจีน สินค้ายังไม่ได้ลดราคาลงแต่อย่างใด และน่าสนใจว่าการลดราคาครั้งนี้ เป็นการลดโดยไม่ได้มีเงื่อนไขเพิ่มเติมเข้ามาด้วย

    Source: Blognone.com
    https://www.blognone.com/node/107527

    - China retailers slash iPhone prices after Apple sales warning :
    https://www.reuters.com/article/us-...RE5RhBzqSwfYEWEsOO31W2t5OLA-GiBTaYHlDzwi9-sC4
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    -5htNSH80iCF2_SrFljVDxACSeEXyjERazt-c0-lhpR5OYD7Lk0nMnXaulyTpiUy5yDq-8YQ&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.png
    (Jan 13) เศรษฐกิจปีหมู เข้าสู่ปลายวัฏจักรขาขึ้น : เปิดศักราชใหม่ปี 2562 เพียง2 สัปดาห์ หลายหน่วยงานด้านเศรษฐกิจก็ออกมาอัพเดตสถานการณ์เศรษฐกิจ (GDP) ไทย พร้อมสแกนส่วนใดบ้างที่รุ่งหรือร่วง และบางค่ายก็ปรับเป้า GDP ของปีนี้กันหัวปีเลย

    โดยล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดงานประชุมนักวิเคราะห์ เพื่อให้ข้อมูลแนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการเงินรายไตรมาส ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เปิดให้สื่อมวลชนเข้าร่วม โดยมีผู้ว่าการ ธปท. "ดร.วิรไท สันติประภพ" เป็นประธานงานนี้

    ดร.วิรไทแจกแจงว่า ธปท.คาดการณ์ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้จะอยู่ประมาณ 4% ซึ่งแม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอลง แต่ก็เป็นการขยายตัวที่สอดคล้องกับศักยภาพ ขณะที่ยังต้องติดตามความเสี่ยงด้านต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น เช่น มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐที่อาจเกิดผลกระทบมากกว่าที่คิด ทำให้มีความจำเป็นต้องพร้อมใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อดูแลระบบเศรษฐกิจได้เหมาะสม

    แม้ว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ สะท้อนว่าเสถียรภาพระบบการเงินยังอยู่ระดับที่ดี แต่ก็ไม่ควรไว้วางใจ เพราะยังมีพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสวงหาผลตอบแทนสูงเกิดขึ้นอยู่ เช่น พฤติกรรมการปล่อยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่เสี่ยงเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพิ่มขึ้น

    ธปท.ไม่วางใจความเสี่ยงเพียบ

    ดังนั้น การดูแลเสถียรภาพระบบการเงินต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ร่วมกัน ทั้งมาตรการ microprudential ที่เป็นเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงินแต่ละแห่ง และมาตรการ macroprudential นอกจากนี้ นโยบายการเงินในภาพใหญ่ต้องสอดคล้องกันด้วย

    "ปฏิเสธไม่ได้ที่ไทยมีภาพที่เป็นธนาคารเงา (shadow banking) มากพอสมควร ถ้าเราสร้างฝายบางจุดด้วย macroprudential แต่ตัวก๊อกใหญ่ทำให้ปริมาณเงินเข้าสู่ระบบที่มากเกินไป ก็จะเป็นปัญหาในระยะต่อไปได้" ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว

    ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่ำใกล้เคียง กรอบล่างนั้น คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ไม่ได้กังวลมากนัก เพราะยังเห็นเศรษฐกิจขยายตัวได้สอดคล้องกับศักยภาพ และการบริโภค การลงทุน รวมทั้งการจ้างงานยังขยายตัวได้ สาเหตุเงินเฟ้อต่ำเป็นผลมาจากราคาพลังงานที่อยู่นอกเหนือการควบคุมและมีความผันผวนที่สูง

    "เรื่องกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ ธนาคารกลางจะให้ความกังวลกับเพดานบนมากกว่า เมื่อไหร่ที่เงินเฟ้อสูงกว่าเพดานจะมีผลกระทบกับการขยายตัวเศรษฐกิจระยะยาว เพราะจะเกิดผลข้างเคียงหลายด้าน ทั้งศักยภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และปัญหาเรื่องสังคมต่าง ๆ ตามมา" ดร.วิรไทกล่าว

    ด้าน "ทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส" ผู้ช่วย ผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวถึง รายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือน ธ.ค. 61 และการปรับประมาณการใหม่ทิ้งทวนเมื่อปลายปีที่แล้วว่า ประเมินเศรษฐกิจไทยปี'62 สามารถขยายตัวต่อเนื่อง จากปี'61 ที่คาดจะโต 4.2% ซึ่งสอดคล้องกับศักยภาพตามแรงส่งด้านอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่โตต่อเนื่องตามรายได้นอกภาคเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น และกระจายตัวมากขึ้น การลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัว และโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวอีกด้วย

    นายทิตนันทิ์กล่าวถึงเสถียรภาพระบบการเงิน ก็ยังต้องติดตามความเสี่ยงบางจุด ที่ยังไม่ดีขึ้น เช่น การแข่งขันในตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น และหนี้ ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

    ศก.โลกผ่านจุดสูงสุดแล้ว

    มุมของนักเศรษฐศาสตร์ต่าง ๆ เริ่มที่ "ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ" ผู้อำนวยการ ฝ่ายอาวุโส ธนาคารกรุงไทย กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อต้นปีนี้เพิ่งปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ โดยคาดเติบโตชะลอลงจากปี'61 ที่คาดโต 4.3% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่ จุดสูงสุดไปแล้ว ด้านเศรษฐกิจจีนก็สะดุดจากสงครามการค้าสหรัฐ ซึ่งคงต้องจับตาการเจรจารอบสำคัญในช่วงสิ้นเดือน ม.ค. หรือต้นเดือน ก.พ.นี้ ล้วนกระทบต่อการส่งออกไทยโตชะลอลง

    อย่างไรก็ตาม มาตรการรัฐที่สนับสนุนโครงการบัตรสวัสดิการ ยังเป็นแรงหนุนให้การบริโภคภาคเอกชนเติบโตได้ดี ด้านการลงทุนของภาครัฐและเอกชนจะได้จากความชัดเจนของโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่ทยอยประมูลโครงการต่าง ๆ

    "เรามองว่าไทม์ไลน์ที่จำกัดของรัฐบาลปัจจุบัน จะพยายามเร่งรัด โครงการแฟลกชิป หากสามารถทำได้จะทำให้ภาคเอกชนมีความชัดเจน และกล้าลงทุนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้" นายพชรพจน์กล่าว

    ศก.เข้าสู่ปลายวัฏจักรขาขึ้น

    อีกค่ายที่เพิ่งปรับประมาณการเศรษฐกิจไทย "ยรรยง ไทยเจริญ"รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด ศูนย์วิจัยและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ ขยายตัวเหลือ 3.8% จากเดิมคาดโต 4% เพราะเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ช่วงปลายของวัฏจักรเศรษฐกิจขาขึ้น ตามภาวะการค้าโลกที่ชะลอตัวลง และยังมีประเด็นสำคัญอย่างสงครามการค้า ที่จะส่งผลให้ปริมาณการส่งออกของไทยชะลอลง หลังปีที่แล้วอาจโตแตะ 7% ด้านนักท่องเที่ยวจีนน่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกในช่วงไตรมาส 2

    "พระเอก" ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจขยายตัวได้ จะเป็นการลงทุนของภาครัฐและเอกชน ซึ่งคาดการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ของรัฐขยายตัวราว 9%

    "เรามองว่าทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ ควรให้ความสำคัญกับการบริหาร ความเสี่ยง การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้น"

    ในส่วนภาวะการเงิน "ยรรยง" คาดว่า กนง.จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกราว 1 ครั้งในปีนี้ จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.75% ซึ่งจังหวะการขึ้นดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมา

    ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจ 4% ยังถือว่าอยู่ใน "เกณฑ์ดี" เทียบกับช่วง 5 ปีก่อนหน้าที่โตเฉลี่ยไม่ถึง 3% ต่อปี

    เสียวลงทุนรัฐเลื่อน

    "อมรเทพ จาวะลา" ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี'62 คาดโต 3.7% ลดลงจากปี'61 ที่คาดโตได้ 4% เนื่องจากขาดแรงส่งสำคัญ คือ การ ส่งออกที่ชะลอตัวลง ด้านการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้ คาดขยายตัวลดลงจากปีที่แล้วที่น่าจะโต 4.4% ซึ่งเป็นผลจากปีที่แล้วยอดซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้น 20% หลังโครงการรถคันแรกมีอายุ 5 ปี จึงทำการเปลี่ยนรถกันไปแล้ว ทำให้ปีนี้ยอดขายน่าจะลดลง แต่การบริโภคภาครัฐจะโตดีกว่าปีที่แล้วเพราะมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายกลุ่มผู้มีรายได้น้อย แต่คงไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ใน ระยะยาว

    "การลงทุนภาคเอกชนในปีนี้ยังพอคาดหวังได้บ้าง จากสัญญาณการลงทุนที่ชัดเจนขึ้นกว่าในอดีต เช่น การนำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักร อาจทดแทนแรงงานขาดแคลน หรือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ ส่วนการลงทุนภาครัฐมีความผันผวนมาก โดยเฉพาะการก่อสร้างภาครัฐที่ล่าช้า หากโครงการสำคัญถูกเลื่อนออกไป อาจกระทบต่อความเชื่อมั่น ภาคเอกชนปีนี้" นายอมรเทพกล่าว

    Source: ประชาชาติธุรกิจ
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    QSEm8aEJbHg671hUaI7Bez6OGBUXsb9mPsCRskrg45CrE3FWy7mmJmkxOfcMn8iFk3y5nzPA&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.png

    (Jan 13) ส่องรายได้การจ้างงาน จากข้อมูลการชำระเงิน : ในยุคดิจิทัล ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและคาดการณ์ ได้ยากขึ้น ผู้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการเงิน จึงต้องแสวงหาแหล่งข้อมูลใหม่ๆ ที่ช่วยให้ ประเมินภาพเศรษฐกิจได้อย่างทันกาล ควบคู่ไปกับการติดตามภาวะเศรษฐกิจ จากแหล่งข้อมูลแบบดั้งเดิมที่มีอยู่ ข้อมูล ธุรกรรมการชำระเงินก็เป็นหนึ่งในข้อมูล ระดับจุลภาคและเป็นข้อมูลเร็วที่ได้รับความ สนใจในการศึกษาพัฒนาเครื่องชี้สำหรับ ติดตามและประเมินภาพเศรษฐกิจ

    ข้อมูลการชำระเงินที่นำมาศึกษาครั้งนี้ คือ ข้อมูลธุรกรรมการโอนเงินรายย่อย ครั้งละหลายรายการ (Bulk Payment) จากลูกค้าของสถาบันการเงินหนึ่งโอนไปยัง ลูกค้าของอีกสถาบันการเงินหนึ่ง (เช่น การโอนเงินเดือน เงินปันผลฯ) หรือการเรียก เก็บเงินของลูกค้าสถาบันการเงินหนึ่งจาก ลูกค้าของอีกสถาบันการเงินหนึ่งที่ได้ยินยอม ให้หักบัญชีแล้ว (เช่น การหักค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าฯ) ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รับข้อมูลชุดนี้จาก บริษัท เนชั่นแนล ไอที เอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (NITMX) มีความถี่เป็นรายวัน และได้รับทุกวันต่อเนื่องมาเกือบ 10 ปี โดยข้อมูลที่ใช้ศึกษามีการปกปิดตัวตนทั้งหมด ทั้งหมายเลขบัญชีและชื่อธนาคารที่ให้บริการ ข้อมูลชุดนี้มีการจำแนกวัตถุประสงค์ การโอนเงินไว้ถึง 10 หมวด ที่สำคัญ ได้แก่ การชำระค่าสินค้าและบริการ การจ่ายเงินเดือน การจ่ายสวัสดิการภาครัฐ การจ่ายเงินปันผล เป็นต้น วัตถุประสงค์ที่สนใจนำมาศึกษา เพื่อติดตามภาวะรายได้ของภาคแรงงาน คือ การโอนจ่ายเงินเดือน ซึ่งเป็นบริการ การโอนเงินที่นายจ้างนิยมใช้เพื่อจ่ายเงินเดือน ให้แก่ลูกจ้างบริษัทตนเอง เนื่องจากสามารถ กำหนดวัน เวลา และจำนวนเงินที่จะโอน ล่วงหน้าได้ โดยมีจำนวนธุรกรรมการโอนเงิน ในหมวดนี้มากกว่า 5 แสนรายการต่อเดือน

    แม้จะยังมีข้อจำกัดที่มีเพียงข้อมูล การโอนเงินเดือนระหว่างธนาคาร ซึ่งมีสัดส่วน เพียง 6.5% ของมูลค่าการโอนเงินเดือนผ่าน Bulk Payment ทั้งหมด (รวมการโอนเงิน ทั้งภายในธนาคารเดียวกันและระหว่างธนาคาร) แต่ผลการศึกษาก็พบข้อเท็จจริงหลายประการ ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลนี้สามารถสะท้อน รายได้แรงงานในระบบของบริษัทต่างชาติ และบริษัทไทยขนาดใหญ่ได้ อาทิ ข้อมูล บัญชีผู้โอนเงิน (หรือ "บัญชีนายจ้าง") และ บัญชีผู้รับโอน (หรือ "บัญชีลูกจ้าง") กระจุกตัว ในเขตกรุงเทพฯ เขตอุตสาหกรรมตะวันออก และตามจังหวัดหัวเมือง ซึ่งสอดคล้องกับ การกระจุกตัวของสถานที่ตั้งบริษัทหรือโรงงาน ขนาดใหญ่ของไทย จำนวนบัญชีลูกจ้าง กว่า 84% รับโอนเงินเดือนจากบัญชีนายจ้าง รายใหญ่ (บัญชีนายจ้างที่มีการโอนให้บัญชี ลูกจ้างเกิน 200 ราย) จำนวนบัญชีลูกจ้าง ที่รับโอนจากบัญชีนายจ้างที่อยู่กับธนาคาร ต่างชาติมีสัดส่วน 30-50%

    จากข้อเท็จจริงที่พบ จึงได้นำข้อมูล การโอนเงินเดือนมาจัดทำเครื่องชี้สะท้อน รายได้การจ้างงาน หรือ Employment Revenue Index (ERI) ซึ่งประยุกต์วิธีการ คำนวณจากงานศึกษาของธนาคารกลาง ประเทศอินเดีย และปรับให้เข้ากับบริบท ของไทย โดยกำหนดให้จำนวนผู้รับโอน เงินเดือนแทนจำนวนแรงงาน และค่า มัธยฐานของมูลค่าการโอนแทนเงินเดือน ที่ได้รับ พบว่าสามารถนำมาใช้ติดตามภาวะ รายได้จากการจ้างงานได้ โดยบ่งชี้ถึงจำนวน แรงงานและรายได้ของแรงงานเหล่านั้น ในช่วงเวลาหนึ่งเทียบกับช่วง 12 เดือน ที่ผ่านมา

    การเคลื่อนไหวของดัชนี ERI รายเดือน จะผันผวนตามฤดูกาลการจ่ายโบนัส โดยดัชนี ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงเดือนธ.ค.ของทุกปี และปรับตัวเมื่อมีปัจจัยภายนอกมากระทบ ต่อการปรับเงินเดือน เช่น ในช่วงปี 2555 ที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้มีการปรับฐาน เงินเดือนวุฒิปริญญาตรีขั้นต่ำเป็น 15,000 บาท ทำให้ดัชนีเพิ่มขึ้นมากในช่วง เวลาดังกล่าว

    นอกจากนี้ ดัชนี ERI ยังช่วยสะท้อน ให้เห็นถึงพลวัตการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ตลาดแรงงานที่เปลี่ยนจากการจ้างงาน ในกลุ่มผู้สูงวัยที่มีเงินเดือนสูง ไปสู่การจ้างงาน ในกลุ่มวัยเริ่มทำงานที่มีเงินเดือนต่ำกว่าได้โดยบัญชีกลุ่มผู้เริ่มทำงานที่ยังมีเงินเดือนต่ำ จะเข้ามาแทนที่บัญชีของกลุ่มรายได้สูง ที่ถูกขจัดออกไปเมื่อเกษียณอายุและไม่ได้ รับเงินเดือนแล้ว การศึกษาต่อยอดไปถึงการทดลองนำ ดัชนี ERI ไปใช้คาดการณ์การอุปโภค บริโภคภาคเอกชน (Real Private Consumption Expenditure: RPCE) เนื่องจากเชื่อว่า เมื่อแรงงานมีรายได้ เพิ่มขึ้น ก็น่าจะนำไปจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ผลการทดสอบทางสถิติ ชี้ให้เห็นว่า ดัชนี ERI สามารถชี้นำการบริโภคได้ 6 เดือนหรือ 2 ไตรมาส โดยการนำไปใช้งาน ยังอยู่ระหว่างการติดตามผล

    อย่างไรก็ดี นอกจากปัจจัยด้าน รายได้แล้ว การบริโภคภาคเอกชน ยังขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัย เช่น รายได้ จากแหล่งอื่น (เงินปันผล ดอกเบี้ย เงินช่วยเหลือจากภาครัฐฯ) การเข้าถึง สินเชื่อ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เป็นต้น

    โดยสรุป ข้อมูลการโอนเงินเดือน สามารถนำไปใช้ติดตามภาวะรายได้ แรงงานได้ แต่ยังคงมีข้อจำกัดเรื่อง ความครอบคลุมที่มีเฉพาะธุรกรรมการ โอนเงินระหว่างธนาคาร อย่างไรก็ดี ดัชนี ERI น่าจะเป็นประโยชน์ในแง่ของ การเป็นเครื่องชี้ทางเลือกเพื่อประกอบ การวิเคราะห์

    ทั้งนี้ หากในอนาคตสามารถขยาย ขอบเขตความครอบคลุมข้อมูลถึง การโอนเงินภายในธนาคารเดียวกันได้ ก็จะทำให้การศึกษามีความครบถ้วนสมบูรณ์ และใช้ติดตามภาวะภาคแรงงานได้แม่นยำ ยิ่งขึ้น

    ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้ เป็นความเห็นของผู้วิจัย ซึ่งไม่จำเป็น ต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

    คอลัมน์ แจงสี่เบี้ย: โดย นายเกียรติคุณ สัมฤทธิ์เปี่ยม และ น.ส.จารุพรรณ วานิชธนันกูล สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

    Source: กรุงเทพธุรกิจ
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    h=282&url=https%3A%2F%2Fpositioningmag.com%2Fwp-content%2Fuploads%2F2019%2F01%2Fopen_bangkokfood.jpg
    (Jan 12) กรุงเทพฯ อันดับ 3 เมืองปลายทางยอดฮิต อาหาร-เครื่องดื่ม ปี 61 : มาสเตอร์การ์ด เผยผลสำรวจสุดยอดเมืองจุดหมายปลายทางโลกของด้านการใช้จ่ายทางด้านอาหารและการช้อปปิ้ง (GDCI: Indulgences) ของนักท่องเที่ยวในเมืองต่างๆ ทั่วโลก พบว่ากรุงเทพฯ ติดอันดับที่ 3 ของเมืองที่มีการใช้จ่ายด้านอาหารมากที่สุด รองจากเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมืองปัลมา แห่งเกาะมายอร์กา ในประเทศสเปน และติดอันดับที่ 6 ของเมืองที่มีการใช้จ่ายด้านการช้อปปิ้งมากที่สุดอีกด้วย

    ผลสำรวจ GDCI: Indulgences นี้เป็นส่วนหนึ่งของผลสำรวจเมืองสุดยอดเมืองสุดยอดจุดหมายปลายทางของโลกของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Global Destination Cities Index–GDCI) เพื่อจัดอันดับเมืองที่นักท่องเที่ยวเข้ามาพักแรม และจับจ่ายใช้สอยในระยะหนึ่งปีที่ผ่านมาโดยผลสำรวจในปี 2561 ระบุว่า กรุงเทพฯคือเมืองสุดยอดจุดหมายปลายทางอันดับ 1 ของโลกต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 3 โดยมีภูเก็ตและพัทยา ติดอยู่ใน 20 อันดับแรกคืออันดับที่ 12 และ 18 ตามลำดับ ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มีเมืองติดอันดับสูงสุด 20 อันดับแรกถึง 3 เมือง

    ผลสำรวจนี้ ไม่ได้เผยแค่ตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยเท่านั้น แต่ยังชี้ให้เห็นถึงนัยสำคัญทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายดังกล่าวอีกด้วย

    สุดยอดเมืองจุดหมายปลายทางของโลกอาหารและเครื่องดื่ม
    กรุงเทพฯ เมืองที่ขึ้นชื่อด้านอาหารและวัฒนธรรมติดอยู่ในอันดับที่ 3 ของเมืองที่มีการใช้จ่ายด้านอาหารมากที่สุด โดยนักท่องเที่ยวจับจ่ายไปราว 108,000 ล้านบาท (3,380 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือคิดเป็น 20.6 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

    เมืองปัลมา แห่งเกาะมายอร์กา ในประเทศสเปน ครองอันดับที่ 2 ด้วยจำนวนเงิน 121,000 ล้านบาท (3,780ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามหลังอันดับหนึ่งอย่าง ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่มีการใช้จ่ายราว 190,000 ล้านบาท (5,940ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

    สิงคโปร์และลอนดอน ก็ติดอยู่ใน 10 อันดับแรกในด้านการใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มเช่นเดียวกัน แต่ไม่ถือว่าโดดเด่นเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ของการใช้จ่ายทั้งหมดคือ 12.9% และ 17.6% ตามลำดับ

    จากข้อมูลข้างต้น 8 ใน 10 อันดับแรกของเมืองที่ขึ้นชื่อด้านอาหารและ 7 จาก 10อันดับแรกของเมืองที่ขึ้นชื่อด้านชอปปิ้งนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของ Mastercard Priceless Cities ที่นักท่องเที่ยวจาก 90 ประเทศสามารถสัมผัสประสบการณ์อันเป็นเอกลักษณ์และน่าจดจำในเมืองกว่า40เมืองทั่วโลก.

    Source: positioningmag
    https://positioningmag.com/1207571
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    s%2Fdefault%2Ffiles%2Fstyles%2Fx_large%2Fpublic%2Farticles%2F2019%2F01%2F12%2Fyq-huawei-12012019.jpg

    (Jan 12) หัวเว่ยไล่ผู้อำนวยการฝ่ายขายในโปแลนด์ออก หลังถูกจับข้อหาสายลับ: หัวเว่ยไล่ Weijing W. หรือ Stanislaw Wang ผู้อำนวยการฝ่ายขายของหัวเว่ยโปแลนด์ออกจากความเป็นพนักงานของบริษัท พร้อมส่งแถลงการณ์ไปยังสื่อว่าข้อหาที่ Wang ถูกกล่าวหานั้นไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท หลังจาก Wang ถูกทางการโปแลนด์จับกุมเพียงหนึ่งวัน

    แถลงการณ์ยังระบุว่าการยุติสภาพพนักงานเป็นไปตามสัญญาจ้างของบริษัท เพราะคดีความส่วนตัวของพนักงานสร้างความเสียหายให้ความน่าเชื่อถือของบริษัทเอง
    ขณะที่สถานทูตจีนแสดงความกังวลต่อคดีนี้ และกำลังดำเนินการเพื่อขอเข้าเยี่ยม Wang

    Source: Blognone
    https://www.blognone.com/node/107526
    *********************
    จีนเกาะติดคดีลูกจ้างหัวเว่ยถูกจับในโปแลนด์: กระทรวงการต่างประเทศจีน แถลงว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการติดตามคดีนายหวัง เหว่ยจิง ลูกจ้างของบริษัทหัวเว่ย ถูกจับกุมในโปแลนด์ โดยทางสถานทูตจีนในกรุงวอร์ซอว์ ได้ติดต่อกับกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์เพื่อขอรายละเอียด และต้องการให้เจ้าหน้าที่กงสุลจีนได้พบกับนายหวัง โดยเร็วที่สุด

    ถ้อยแถลงยังระบุว่าทางการโปแลนด์ จะต้องดูแลคดีนี้อย่างเหมาะสม ตามแนวทางของกฎหมาย ตลอดจนปฏิบัติต่อนายหวังอย่างมีมนุษยธรรม รวมทั้งดูแลสิทธิประโยชน์และรับรองความปลอดภัยของนายหวัง สำหรับนายหวังและชายชาวโปแลนด์ ซึ่งเป็นอดีตสายลับอาวุโสถูกเจ้าหน้าที่หน่วยต่อต้านข่าวกรองโปแลนด์จับกุมในกรุงวอร์ซอว์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ฐานต้องสงสัยว่าทำการจารกรรมข้อมูล

    Source: สำนักข่าวไทย

    เพิ่มเติม
    - China's Huawei 'fires' employee arrested in Poland:
    https://www.straitstimes.com/asia/e...nc0vVVjSg4RhDY-MnL64WySm9DstWLOWEpbZ7U5ClGLoI
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    rces%2Fimg%2Feditorial%2F2018%2F12%2F05%2F105608810-1543968591650gettyimages-871560408.1910x1000.jpg
    (Jan 12) อีกนานกว่าจีน-สหรัฐได้ข้อตกลงสำคัญ แม้เจรจาคืบหน้าและจีนจะซื้อสินค้าสหรัฐจำนวนมาก - สหรัฐแถลงอย่างเป็นทางการแล้วว่า จีนสัญญาจะซื้อสินค้าสหรัฐเป็นจำนวนมาก ขณะที่จีนสรุปสั้น ๆ เพียงว่า การเจรจารอบนี้ได้ขยายเวลาออกไปและเป็นพื้นฐานสำหรับการหารือในอนาคต ทั้งสองฝ่ายจะติดต่อกันอย่างใกล้ชิดต่อไป นักวิเคราะห์ ชี้ แม้การเจรจามีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง แต่ยังอีกนานกว่าที่จะได้ข้อตกลงที่มีความหมาย

    เมื่อวันพุธ ผู้แทนการค้าของสหรัฐได้ออกแถลงการณ์ว่ามีปัญหาสำคัญเป็นจำนวนมากในความสัมพันธ์ของจีนและสหรัฐ เช่น การบีบบังคับให้ถ่ายโอนเทคโนโลยี การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา การตั้งอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี การรุกล้ำทางไซเบอร์และการขโมยความลับทางการค้าทางไซเบอร์เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการค้า การบริการและการเกษตร อย่างไรก็ดี แถลงการณ์อย่างเป็นทางการของสหรัฐ ยอมรับเช่นกันว่า จีนได้สัญญาว่าจะซื้อสินค้าเกษตร พลังงาน และสินค้าในภาคผลิต และบริการและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เป็นจำนวนมากจากสหรัฐ

    ด้านกระทรวงพาณิชย์จีนก็ได้ออกแถลงการณ์เมื่อเช้าวันพฤหัสบดี โดยสรุปเพียงว่า การเจรจาการค้ากับสหรัฐรอบนี้ได้ขยายเวลาออกไปและเป็นพื้นฐานสำหรับการหารือในอนาคต โดยทั้งสองฝ่ายได้หารืออย่างพิถีพิถันลงลึกเกี่ยวกับการสังเกตการณ์ร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาโครงสร้างและปัญหาการค้า การวางรากฐานในการแก้ไขในเรื่องที่มีความกังวลร่วมกัน และทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะติดต่อกันอย่างใกล้ชิดต่อไป

    นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งกล่าวว่า ภาษาที่ใช้ในแถลงการณ์ชี้ว่าความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐอ่อนลงมาก โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากยูเรเซีย กรุ๊ป ตั้งข้อสังเกตว่า มีสัญญาณความคืบหน้าพอประมาณจากการเจรจาในระดับกลางครั้งนี้ โดยอย่างแรก คือ การเจรจาขยายเวลาออกไปจากกำหนดเดิมหนึ่งวัน ซึ่งชี้ว่ามีการหารือที่มีสาระสำคัญเพียงพอที่จะทำให้เจ้าหน้าที่เจรจาต่อไป และมีรายงานว่าการเจรจาวันที่สามเน้นไปที่ปัญหาโครงสร้างที่สหรัฐยกขึ้นมาเรียกร้องต่อรัฐบาลปักกิ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561

    ความคืบหน้าข้อที่สอง คือ แถลงการณ์ของผู้แทนการค้าสหรัฐตั้งข้อสังเกตว่าจีนได้สัญญาว่าจะซื้อสินค้าส่งออกของสหรัฐเป็นจำนวนมากตามที่คาด และรัฐบาลปักกิ่งกำลังดำเนินกลยุทธ์ในการซื้อสินค้าสหรัฐอย่างรุนแรง โดยหวังว่าจะลดแรงกดดันต่อจีนที่จะดำเนินมาตรการเชิงโครงสร้างซึ่งมีความยุ่งยากมากกว่า

    แม้แต่ก่อนที่จะมีการขยายเวลาในการเจรจาเป็นวันที่สาม นักวิเคราะห์ได้มองเห็นสัญญาณบวกอยู่แล้วเมื่อมีรายงานว่า หลิว เหอ ผู้เจรจาการค้าสูงสุดของสหรัฐ เดินทางไปยังห้องเจรจาเมื่อวันจันทร์ และเนื่องจากเป็นการเจรจาระดับรัฐมนตรีช่วย จึงมีการตีความว่า นี่เป็นสัญญาณว่ารัฐบาลปักกิ่งกำลังเจรจาอย่างจริงจัง

    เกรก อัลเลน ประธานสภาธุรกิจจีน-สหรัฐกล่าวภายหลังสหรัฐออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการเจรจาว่า สภาฯ พอใจที่สองรัฐบาลได้หารือสำคัญในช่วงสามวันที่ผ่านมา แต่ยังคงตั้งข้อสังเกตว่าประชาคมธุรกิจมีความกังวลมากกว่าแค่ดุลการค้าโดยรวมระหว่างสองมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่อย่างน้อยปัญหาดุลการค้าก็ได้รับการแก้ไขส่วนหนึ่งด้วยการที่จีนให้สัญญาว่าจะซื้อสินค้าและบริการของสหรัฐมากขึ้น

    อัลเลนเรียกร้องให้ทั้งสองรัฐบาลใช้เวลาที่เหลืออยู่ในช่วงเจรจา 90 วันสร้างความคืบหน้าที่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหาสำคัญที่เป็นแกนหลักของการพิพาทในขณะนี้ ซึ่งคือปัญหาในการปฏิบัติต่อบริษัทต่างชาติในจีนอย่างเท่าเทียม และนโยบายโอนเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาของจีน

    อีริก โรเบิร์ตเซน หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์มหภาคทั่วโลกของสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ กล่าวว่า ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งในความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐคือภาษีที่ทั้งสองฝ่ายจะเก็บเพิ่มซึ่งกันและกัน โดยกล่าวว่าในขณะนี้การค้าเป็นเพียงหนึ่งในปัญหานั้น และไม่คิดว่าจะมีการแก้ไขในระยะสั้นต่อปัญหาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา หรือการบีบให้แบ่งปันเทคโนโลยีที่เป็นภาพกว้างกว่านั้น

    ตลาดเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นในวันพฤหัสบดี หลังจากที่การเจรจาของจีนและสหรัฐสิ้นสุดลง และตลาดหุ้นทั่วโลกดีดตัวในช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีมุมมองบวกว่าทั้งสองประเทศกำลังมีความคืบหน้าทางการค้า

    อเล็กซ์ หว่อง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสินทรัพย์ของบริษัทแอมเพิล แคปิตอล กล่าวว่า ตลาดค่อนข้างมีมุมมองบวกเกี่ยวกับการเจรจาครั้งนี้ ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงมีการทำกำไรหลังจากที่หุ้นดีดตัว แต่ผลการประชุมค่อนข้างเป็นไปตามที่คาดมาก ดังนั้นจึงไม่มีความตื่นเต้นมากเกินไปและตลาดน่าจะรอการประชุมอีกครั้ง

    Source: ข่าวหุ้น
    -
    https://www.cnbc.com/2019/01/10/ana...RvICjSAwwn6gTo1m-1CvLSTN2FI6ssXoOJ1h3rZHttqGw
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    YqzAL3EYDnH7lW6eLbIEg4yoE47vMh1W-taBBr49-MGKd3S4cUGeIxEb8CWFn9BMyWZTV8mw&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.png

    (Jan 12) อาเซียน 2019 'RCEP-เลือกตั้ง' โจทย์ใหญ่ : เมื่อปี 2018 ที่ผ่านมา อาจสรุปได้ว่ากลุ่มประเทศอาเซียนต่างผ่านพ้นปีแห่งสงครามการค้ามาได้อย่างบัวยังไม่ค่อยช้ำ น้ำยังไม่ค่อยขุ่นมากนัก

    ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลกระทบ เริ่มมาเห็นชัดเอาในช่วงปลายปี ซึ่งอาเซียนเองทำผลงานตุนในช่วงครึ่งปีแรกไว้ดีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และสงครามการค้าในอีกด้านหนึ่งยังทำให้เกิดผลบวกคือ ภาคการผลิตหันมาเพิ่มการผลิตในอาเซียนทดแทนจีนและสหรัฐ ที่เป็นสมรภูมิหลักของศึกค้าโลก เช่น ในเวียดนามและไทย จึงทำให้อาเซียนพอจะประคองสถานการณ์ ไปได้

    ส่วนปัญหาเรื่องเงินทุนไหลออกซึ่งเป็นที่หวาดกลัวกันก่อนหน้านี้ ก็อยู่ในระดับที่กระจัดกระจายไปตามปัจจัย พื้นฐานของแต่ละประเทศ หลักๆ และสถานการณ์ก็เริ่มทรงตัวในช่วงปลายปี หลังจากที่แบงก์ชาติหลายแห่งทยอยขึ้นดอกเบี้ยสู้ และโฟกัสของตลาดเปลี่ยนไปอยู่ที่ตลาดสหรัฐกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แทน

    หากจะมีที่น่าผิดหวังไปจากคาดก็อาจจะมีอยู่ไม่กี่เรื่อง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการที่ไม่สามารถบรรลุ "ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค" (RCEP) ได้ ทั้งที่มีการเจรจากันในระดับเจ้าหน้าที่ระดับสูงไปแล้ว 24 ครั้ง และระดับรัฐมนตรี 13 ครั้ง ตลอดการเจรจากว่า 5 ปีที่ผ่านมา

    ทว่า ในปี 2019 นี้ อาเซียนมี แนวโน้มจะเผชิญความเสี่ยงมากขึ้นทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการเมือง เมื่อ "สงครามการค้า" ที่ยังไม่รู้ว่าจะออกหัวหรือก้อย จะดีเลย์มาเห็น ผลกระทบชัดเจนขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะผลกระทบจากประเทศคู่ค้าหลักของเราอย่าง "จีน" ที่น่าจะออกอาการหนักมากกว่าปีก่อน และปีนี้ยังเต็มไปด้วย "การเลือกตั้ง" ทั้งสนามใหญ่และสนามมิดเทอม ไปจนถึงการเลือกตั้งนอกอาเซียน แต่จะมีผลกระทบสำคัญมาถึงความตกลง RCEP ว่าจะล้มหรือรอดในยุคที่ไทยเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ด้วย

    นักเศรษฐศาสตร์แทบจะทุกสำนักฟันธงเหมือนกันอย่างหนึ่งว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนในปี 2019 จะขยายตัวได้น้อยกว่าในปี 2018 ที่ผ่านมาอย่างแน่นอน และบางสำนักยังปรับลดคาดการณ์จีดีพีของปีนี้กันไปเรียบร้อยแล้ว อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ลดคาดการณ์จีดีพีของกลุ่มอาเซียน 5 ลงเหลือ 5.2% จากคาดการณ์เดิม 5.3% ส่วนธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ลดของทั้งกลุ่มมาอยู่ที่ 5.1% จากคาดการณ์เดิมที่ 5.2%

    นอกจากนี้ ก็เป็นการลดเป็นรายประเทศกันลงมา โดยปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ทยอยลดคาดการณ์จีดีพีของ มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ กันไปเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ 2 ประเทศแรกที่จะเจอแรงกดดันของสงครามการค้าหนักขึ้น

    แบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ (BofAML) ลดคาดการณ์จีดีพีของเอเชีย-แปซิฟิกลง 0.3% อยู่ที่ 5.4% โดยลดของมาเลเซียและสิงคโปร์รายละ 0.2% อยู่ที่ 4.5% และ 2.8% ตามลำดับ เพราะ 2 ชาตินี้เป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก และอยู่ในห่วงโซ่ซัพพลายเชนสำคัญของจีน แต่หากเศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้แย่อย่างที่คาดและช่วยลดผลกระทบลงได้บ้าง มาเลเซียกับสิงคโปร์ก็ยังต้องเจ็บจากตลาดจีนอยู่ดี เพราะพึ่งพาอุปสงค์ขั้นสุดท้าย (Final Demand) จาก จีนเยอะ

    กรณีของมาเลเซียนั้นยังน่าห่วงกว่าตรงที่ว่าหลังจากได้รัฐบาลใหม่เอี่ยมในรอบกว่า 60 ปี ไปเมื่อช่วงกลางปีที่แล้ว รัฐบาลนายกรัฐมนตรี มหาเธร์ โมฮัมหมัด จะเดินหน้าลดการขาดดุลงบประมาณลงอย่างต่อเนื่องอีกในปีหน้าเพื่อควบคุมปัญหาหนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบไปถึงดีมานด์การลงทุนและการบริโภคภายในประเทศตาม มาด้วย

    ส่วนอินโดนีเซียที่เจอทุนไหลออกหนักมาในปีที่แล้วจนค่าเงินอ่อนค่าต่ำสุดในอาเซียน จะกลายเป็นประเด็นที่น่าจับตาในหมวดการเมืองมากกว่า เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่จะมีการเลือกตั้งใหญ่ตามมาหลังจากคิวของมาเลเซียและกัมพูชาเมื่อปีที่แล้ว การเลือกตั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ ทั้งสองประเทศนี้ไม่ถูกลดคาดการณ์ จีดีพี เพราะนักวิเคราะห์เชื่อว่าการเลือกตั้งทำให้เกิดการการทุ่มนโยบายประชานิยมซึ่งกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เช่น กรณีของอินโดนีเซีย ที่รัฐบาลประธานาธิบดี โจโก วิโดโด เสนอร่างงบประมาณปี 2019 ขอเพิ่มงบโครงการช่วยเหลือครอบครัวยากจน จาก 18 ล้านล้านรูเปียห์ (ราว 4.01 หมื่นล้านบาท) ในปี 2018 เป็น 34 ล้านล้านรูเปียห์ (ราว 7.58 หมื่นล้านบาท) ในปี 2019 พร้อมขยายจำนวนครัวเรือนที่ได้รับสิทธิจาก 10 ล้านครัวเรือน เป็น 15.6 ล้านครัวเรือน ในปี 2020

    อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งที่เป็นบวกต่อเศรษฐกิจในประเทศก็อาจกลายเป็นความเสี่ยงต่อทั้งตลาดทุนและการลงทุนในเวลาเดียวกันหากต้องมีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปอีกเรื่อยๆ เช่นกรณีของไทย ส่วนอินโดนีเซียนั้นแม้ว่าโจโกวีจะมีคะแนนนำอยู่ในโพลเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่ก็ยังไม่ใช่การทิ้งขาดและยังต้องจับตาว่าคู่แข่งอย่างนายพลปราโบโว ซูเบียนโต จะปลุกกระแสศาสนาและชาตินิยมขึ้นมาได้สำเร็จก่อนเข้าคูหาวันที่ 17 เม.ย. หรือไม่

    ส่วนฟิลิปปินส์ที่จะมีการเลือกตั้งมิดเทอม สส. และ สว.นั้น คาดว่าจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก เมื่อเทียบกับสิงคโปร์ เนื่องจากนายกรัฐมนตรี ลีเซียนลูง ส่งสัญญาณออกมาว่าอาจเลือกตั้งเร็วขึ้น 1-2 ปี จากกำหนดเดิมในปี 2021 และมีการเปิดตัวทายาทการเมืองคนใหม่ที่ไม่ได้มาจากตระกูลลีแล้ว ซึ่งก็คือ เฮงสวีเกียต รัฐมนตรีคลังคนปัจจุบัน ขณะที่มาเลเซียนั้นก็เป็นที่จับตาไม่น้อยเช่นกัน เพราะอยู่ในกรอบ 1-2 ปีแรกที่ มหาเธร์ให้คำมั่นว่าจะถ่ายโอนอำนาจไปให้ว่าที่นายกฯ ตัวจริงอย่าง อันวาร์ อิบราฮิม ต่อไป ท่ามกลางมหากาพย์คดีทุจริตแห่งชาติในกองทุน 1MDB ที่จะยิ่งเข้มข้นขึ้นในปีนี้

    ทว่า นอกเหนือจากการเลือกตั้งในอาเซียนเองแล้ว เราอาจยังต้องจับตาไปที่การเลือกตั้งนอกกลุ่มอย่าง "อินเดีย" ด้วย เพราะเป็นตัวแปรสำคัญต่อการบรรลุความตกลง RCEP โดยสื่อท้องถิ่นอินเดียระบุว่า การแพ้เลือกตั้งซ่อมในหลายรัฐเมื่อปีที่แล้วเป็น

    หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ให้อินเดียยัง ไม่สามารถบรรลุ RCEP ในปีที่แล้วได้ เพราะฝ่ายชาตินิยมกลัวว่าจะเป็นการเปิดบ้านให้จีนเข้ามาตีตลาดจนขาดดุลการค้าหนักขึ้น ทำให้นายกรัฐมนตรี นเรนทร โมที สั่งให้ 3 หน่วยงานไปประเมินผลดี-ผลเสียของ RCEP ใหม่ และต้องรอหลังการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศในเดือน เม.ย.-พ.ค. ที่จะ ถึงนี้ก่อน

    อย่างไรก็ดี สื่อท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังคงคาดว่า พรรคภารติยะ ชนตะ ของนายกรัฐมนตรี นเรนทร โมที จะยังคงชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ และอาจทำให้สามารถนำไปสู่การบรรลุ RCEP ในปีนี้ได้ เพราะเป็นการสอดรับกับนโยบาย Look East ของรัฐบาลโดยตรง และเป็นเสมือนเอฟทีเอระหว่างอินเดีย-จีน ที่จะมีมูลค่าการค้าการลงทุนตามมา

    ขณะที่นิกเกอิระบุว่า จะมีการประชุม RCEP นัดใหม่ขึ้นที่ไทยอย่างเร็วที่สุดในช่วงต้นเดือน ก.พ. เพื่อเร่งหารือและเตรียมการให้เสร็จภายใน ฤดูร้อน (ไตรมาส 3) หรือก่อนถึงเส้นตายการประชุมสุดยอดผู้นำ RCEP ที่ไทย ภายในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งปัจจุบันยังมีการบรรลุความตกลงเสร็จไปได้ไม่ถึงครึ่ง แต่นอกจากไทยที่เป็นเจ้าภาพแล้ว อีกหลายประเทศต่างก็พร้อมจะหนุนให้บรรลุ RCEP ได้โดยเร็ว เช่น ญี่ปุ่นและจีน ที่สามารถบรรลุเรื่องภาษีกันไปได้แล้ว 90% เพื่อให้ความตกลงการค้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เป็น รูปธรรมที่สุดแห่งหนึ่ง ได้คลอดออกมาเสียทีในวันที่ระเบียบโลกกำลังรวนเร และสงครามการค้ายังไม่มีแนวโน้มจะจบลงได้อย่างแท้จริง

    โดย นันทิยา วรเพชรายุทธ

    Source: Posttoday
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    EqDqwlaSFnzsuI5xkhYoEnd9Tt6D9jyrZYusYFePmsDjgNACwHbxunDodrrxAfc49vlvinkQ&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.png

    (Jan 12) ธปท.เกาะ'ดีมานด์จีน' ทิ้งดาวน์ป่วนอสังหาฯ : "แบงก์ชาติ" จับตาดีมานด์ซื้อคอนโด จากต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวจีน ห่วงเศรษฐกิจโลกชะลอกระทบนักลงทุนทิ้งดาวน์ สะเทือนตลาดอสังหาฯ ด้าน นายกสมาคมอสังหาฯ ห่วงตลาดคอนโดอืด เหตุนักลงทุนจีนแตะเบรกซื้อ ขณะ "คอลลิเออร์ส" หวั่นชาวจีนทิ้งโอนคอนโดในช่วง 1-2 ปีจากนี้ หลังเศรษฐกิจเริ่มชะลอ

    ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เริ่มเห็นความเสี่ยง ที่มากขึ้นในภาคอสังหาริมทรัพย์ไทย จากความต้องการซื้อของผู้ลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะจาก นักลงทุนชาวจีนที่มีความต้องการซื้ออาคารชุด หรือ คอนโดมิเนียม เพิ่มมากขึ้น ทำให้ ธปท. ต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิด

    นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ธปท.กำลังติดตามดูภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีความกังวลว่า หากเศรษฐกิจโลกชะลอ อาจกระทบต่อการผ่อนชำระ และอาจทำให้นักลงทุนจากประเทศต่างๆตัดสินใจทิ้งดาวน์คอนโด และนำไปสู่การเกิดภาวะอุปทานล้นโดยเฉพาะในส่วนของคอนโดมิเนียมได้

    ทั้งนี้ หากดูยอดการโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดของต่างชาติ พบว่ามีการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุด ณ ไตรมาส 3 ปี 2561 พบว่า การโอนกรรมสิทธิ์คอนโด ต่างชาติเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 31% หรือราว 6.8 หมื่นล้านบาท หากเทียบกับยอดการโอนอาคารชุดทั้งหมด ซึ่งพบว่าทั้งสัดส่วนและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดของต่างชาติปรับเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยหากดูปี 2559 ที่ผ่านมาพบว่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดอยู่เพียง 21% และปี 2560 อยู่ที่ 27% เท่านั้น

    "อุปทานที่เข้ามาจากต่างประเทศส่วนใหญ่มาจาก จีน ฮ่องกง ดังนั้นเป็นเรื่องที่ต้องจับตาดู ว่าดีมานด์ หรือการผ่อนชำระต่อ หรือต่างชาติเหล่านี้จะมีการทิ้งดาวน์การผ่อนชำระคอนโดหรือไม่ หากเศรษฐกิจในประเทศเขาเกิดปัญหา หรืออาจจะไม่ทิ้งก็ได้ เพราะหากดูอสังหาฯในไทยพบว่ายังถูกกว่าอาเซียน แต่เราก็เห็นแนวโน้มการซื้ออสังหาของต่างชาติเยอะขึ้น ซึ่งเราคิดว่ามีความเสี่ยง แต่มากน้อยแค่ไหนอันนี้ยังไม่รู้ ส่วนใหญ่เขาไม่ได้กู้เงินจากไทย แต่หากเกิดปัญหาเขาอาจตัดสินใจทิ้งดาวน์จนทำให้ซัพพลายเหลือมากขึ้น"นายเมธีกล่าว

    หุ้นไทยซบเซาฉุดอสังหาฯ

    นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวถึงสถานการณ์อสังหาฯปีนี้ มีความท้าทายจากหลายปัจจัยลบรุมเร้า โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลก

    "เวลานี้เศรษฐกิจโลกไม่ดีมากๆ ยุโรป สหรัฐสามวันดีสี่วันไข้ ตลาดหลักทรัพย์ ของไทยก็แกว่ง ส่วนตลาดหุ้นวอลล์สตรีทอยู่ในอาการย่ำแย่มาก สุดท้ายกระทบ ตลาดหุ้นไทย"

    สถานการณ์ดังกล่าว ประเมินว่าจะ กระเทือนเศรษฐีหุ้น เซียนหุ้นระดับ VVIP เมื่อรวยหุ้นน้อยลง ทำให้ไม่มีเงินมาซื้อ อสังหาฯ บ้างต้องตุนเงินไว้ก่อน ส่วนจะหวังนักลงทุนจีนมาซื้อ ต้องเจอการแตะเบรกของรัฐบาลในการนำเงินออกนอกประเทศ

    "พอเซียนหุ้นตายหมด ไม่มีเงินมาซื้อ อสังหาฯโดยเฉพาะลงทุนในตลาดคอนโดมิเนียมระดับพรีเมียม"ขณะที่มาตรการคุมเข้มสินเชื่อของธปท. ทั้งเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อต่อมูลค่า หลักประกัน(แอลทีวี)ในสัญญาหลังที่ 2-3 ที่อยู่อาศัยระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป มีผล 1 เม.ย.2562 ผู้ประกอบการรู้ว่ามีผลต่อตลาดอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่คอนโดจะเป็นหมวดที่ได้รับผลกระทบ เพราะเป็นการซื้อเพื่อลงทุนจำนวนไม่น้อย ส่วนโครงการแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์กระเทือนน้อย

    แนะเร่งเจาะอสังหาฯ"อีอีซี"

    นายพรนริศ ยังมองว่า แม้ตลาดจะเผชิญปัจจัยลบ แต่ะยังมีโอกาสอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโครงการเจาะจังหวัดระเบียงเศรษฐกิจ พิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เช่น ชลบุรี เพราะความต้องการตลาด (ดีมานด์) ยังมีอยู่ ส่วนฉะเชิงเทรา อีอีซีทำให้ทำเลบูม

    นอกจากนี้ ยังมีโครงการบ้านล้านหลัง ซึ่งจะเห็นชัดว่าตลาดมีความต้องการสูงมาก

    ยังมีดีมานด์บ้านต่ำกว่า3ล้าน

    "โครงการบ้านล้านหลังยังสะท้อนดีมานด์บ้านระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท มีอยู่จำนวนมหาศาล แต่ดีเวลลอปเปอร์ที่พัฒนาระดับราคานี้ค่อนข้างเหนื่อยเพราะต้นทุนสูง เสี่ยงโอนไม่ได้ เพราะลูกค้ากลุ่มนี้อายุยังน้อย รายได้ต่ำ มีหนี้สินบัตรเครดิตจำนวนมาก"

    สำหรับการพัฒนาอสังหาฯในกรุงเทพฯ โครงการแนวราบ ยังมีโอกาสขยายตัวได้ ส่วนตลาดคอนโดมิเนียมอาจลดสปีด และการเติบโต "เฉื่อย" ลงมาก การพัฒนาโครงการยังเป็นโอกาสของรายใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หากมีกระแสเงินสดในมือ ถือเป็นนาทีทองเก็บที่ดินทำเลทอง (ไพรม์แอเรีย)ไว้ในมือ ส่วนรายเล็กยังเผชิญวิบากกรรมขอสินเชื่อพัฒนาโครงการยาก หากสถานการณ์ไม่ดีอาจแตะเบรกลงทุน และงัดที่ดินสะสมรวบรวมขายให้รายใหญ่เพื่อตุนเงินสดได้

    3ไตรมาสต่างชาติโอนแล้ว6.9หมื่นล.

    นายภัทรชัย ทวีวงศ์ ผู้จัดการอาวุโสแผนกวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า มูลค่าเงินโอนเพื่อซื้ออาคารชุด(คอนโดมิเนียม)ของชาวต่างชาติที่จัดทำโดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ และธปท.พบว่า ชาวต่างชาติต้องการอาคารชุดของไทยเร่งขึ้นมาก

    โดยตั้งแต่ต้นปี 2561 ถึงไตรมาส 3 ปี 2561 มีมูลค่ากว่า 69,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับยอดโอนกรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติทั้งปี 2560 ที่มีมูลค่า 70,450 ล้านบาท ในจำนวนนี้ สัดส่วนกว่า 70% เป็นลูกค้าชาวจีน ฮ่องกง ไต้หวัน

    สะท้อนความต้องการซื้อคอนโด ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในหัวเมืองท่องเที่ยว ภูเก็ต พัทยา ส่วนในกรุงเทพฯและปริมณฑล ชาวจีนนิยมซื้อคอนโด ย่านพระราม 9 ถนนรัชดาภิเษก สุขุมวิทชั้นใน ซอยอ่อนนุช ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

    คาดจีนแตะเบรกซื้อคอนโด

    อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และหน่วยงานภาครัฐ กังวลคือ การโอนกรรมสิทธิ์คอนโดของลูกค้าต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนในช่วง อีก 1-2 ปีจากนี้ หรือปลายปี 2562 เป็นต้นไปว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ได้มากน้อยเพียงใด หลังเศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอตัว และรัฐบาลจีนเริ่มเข้มงวดในการนำเงินออกนอกประเทศ

    "ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา พบว่าชาวต่างชาติมาจองซื้อคอนโดพรีเซลส์กันมาก ซึ่งโครงการเหล่านี้จะทยอยโอนในช่วง 1-2 ปีจากนี้ ซึ่ง 80% เป็นลูกค้าชาวจีน"

    เขายังประเมินว่า ในปีนี้ชาวต่างชาติ รวมถึงจีนจะแตะเบรกการซื้อคอนโดในกรุงเทพฯและปริมณฑลลง โดยเฉพาะ จีนจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ในพื้นที่ภูเก็ตและพัทยา พบว่ากำลังซื้อต่างชาติ ยังดีต่อเนื่อง เพราะยังเห็นการซื้อเหมาอาคาร และมีการเช่าซื้อสัญญาเช่า 30 ปีขยายได้อีก 30 ปี

    Source: กรุงเทพธุรกิจ
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    m%2Fsites%2Fdefault%2Ffiles%2Fstyles%2Fx_large%2Fpublic%2Farticles%2F2019%2F01%2F10%2Fak_md_1001.jpg
    (Jan 12) จำคุกโจรไซเบอร์ปล้นแบงก์ชาติบังกลาเทศ :ศาลในกรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์มีคำพิพากษาเมื่อ วันพฤหัสบดี ลงโทษไมอา เดกีโต อดีตนายธนาคารชาวฟิลิปปินส์ ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดในคดีโจรกรรมธนาคารผ่าน ทางไซเบอร์ด้วยการขโมยเงินจากบัญชีของธนาคารกลางบัง กลาเทศในสหรัฐ เป็นเงิน 81 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2559 แล้วโอนเข้าบัญชีของธนาคารรีซัลพาณิชย์ (อาร์ซีบีซี) ของฟิลิปปินส์ ก่อนที่เงินนี้จะถูกถอนออกมาทันที โดยศาลตัดสินว่าอดีตผู้จัดการสาขาของอาร์ซีบีซีรายนี้มีความผิด 8 ข้อหาฐานฟอกเงิน ซึ่งมีโทษต่ำสุดจำคุก 4 ปี และยังสั่งปรับเงินเขาอีก 109 ล้านดอลลาร์ เอเอฟพีกล่าวว่า จำเลยจะยื่นอุทธรณ์และได้รับการประกันตัวระหว่างรอต่อสู้คดีถึงที่สุด

    Source: Thaipost
    - Manila ex-banker gets jail, $147 million fine over Bangladesh cyber heist
    https://www.straitstimes.com/asia/s...-QzFCexTP_TIriWhkNryJFOC77TgA_tzhfTfW9A2NxxrQ

    เรื่องเดิม
    - แบงก์ชาติบังกลาเทศโดนโจรไซเบอร์โจมตี พยายามฉกเงินกว่า3.6หมื่นล้าน
    https://www.matichon.co.th/foreign/news_66247

    - ผู้ว่าการธนาคารกลางบังกลาเทศ “ถูกบีบลาออก” หลังทุนสำรองเงินตราต่างประเทศกว่าร้อยล้านดอลลาร์ โดนแฮกเกอร์แดนมังกรเจาะออกไปสำเร็จ
    https://mgronline.com/around/detail/9590000027282
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    mB4EQ44I7dJTc5Hp4wOl-k3sNclHgaXUklBVXy3lexiNgp4KqeIyWXMAv3ooo8eYoX_4jd5w&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.png

    (Jan 12) ธปท.เร่งวางเกณฑ์กำกับ'สหกรณ์' : ธปท.คาดออกเกณฑ์กำกับสหกรณ์ได้เร็วกว่ากำหนด แม้ตามพ.ร.บ.สหกรณ์ฉบับใหม่จะให้ เวลาออกประกาศ และกฎเกณฑ์ต่างๆ ภายใน 2 ปี เพราะต้องเร่งเข้าไปกำกับ หากปล่อยไว้จะเป็นความเสี่ยงต่อระบบ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เริ่มดำเนินการแล้ว เผยเกณฑ์เบื้องต้นมีหลายส่วน ทั้ง การบริหารสภาพคล่อง คุณสมบัติกรรมการ และผู้บริหาร รวมถึงเอ็นพีแอล

    นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สหกรณ์ พ.ศ.2561 ได้ผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว รอประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ซึ่งตามกฎหมายฉบับนี้ กำหนดให้มี การออกประกาศ กฎเกณฑ์ในการ กำกับดูแลสหกรณ์ภายใน 2 ปี แต่ การออกประกาศต่างๆ น่าจะทำได้เร็วกว่านั้น เนื่องจากก่อนหน้านี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เริ่มดำเนินการไปก่อนหน้า นี้แล้ว

    สำหรับเกณฑ์การกำกับดูแลกลุ่มสหกรณ์ในเบื้องต้นมีหลายส่วน เช่น เกณฑ์การบริหารสภาพคล่อง คุณสมบัติของคณะกรรมการ ผู้บริหารสหกรณ์ วิธีการจัดการ และบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสหกรณ์ เป็นต้น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหลักๆ ของ สหกรณ์ออมทรัพย์และแก้ไขปัญหาของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ในระยะถัดไปด้วย ประกอบกับต้องยกระดับ การกำกับ ดูแลของผู้ตรวจสอบ ให้เข้าใจถึงความเสี่ยงว่า มีด้านใดบ้าง เช่นความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยใดบ้าง

    "นับเป็นเรื่องดีที่พ.ร.บ.สหรกรณ์ ได้ผ่านสนช.แล้ว โดยการเข้าไปกำกับดูแลสหกรณ์ ถือเป็นสิ่งที่ 4 หน่วยงานต้องทำงานร่วมกัน ประกาศออกโดยกรม ส่งเสริมสหกรณ์ แต่ผ่านการหารือธปท. ซึ่งจะมีคณะกรรมการซึ่งมีปลัดกระทรวง การคลังเป็นประธาน และมีผมนั่งเป็น กรรมการด้วย กรรมการชุดนี้จะบอกว่า มีเกณฑ์อะไรบ้าง ซึ่งเมื่อพ.ร.บ.มีการ ประกาศใช้ จะมีการระบุชัดเจนว่าอะไรบ้าง ที่มีความสำคัญ ซึ่งความท้าทายที่สำคัญ คือ ต้องรีบออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ภายใต้ กฎหมายโดยเร็ว กฎหมายให้เวลา 2 ปี แต่คิดว่าช้าเกินไป และหลายอย่างเริ่มทำมาก่อนหน้านี้แล้ว" นายวิรไท กล่าว

    ด้านนายทิตนันท์ มัลลิกามาส เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ที่กนง.และ คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) แสดงความเป็นห่วงกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์นั้น เนื่องจากคณะกรรมการเห็นความเสี่ยงหลายด้านของสหกรณ์ ที่อาจนำไปสู่ความเปราะบางได้ในอนาคต ซึ่งความเสี่ยงบางด้านมีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่น พฤติกรรมการออกไปแสวงหาผลตอบแทน หรือ search for yield ของสหกรณ์ บางแห่ง ที่พบว่ามีความเสี่ยงเกินไป จากการเอาเงินฝากลูกค้าสหกรณ์ไปลงทุน ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น รวมถึงมีการ นำเงินฝากดังกล่าวไปใช้ปล่อยกู้สหกรณ์กันเอง หรือชุมนุมสหกรณ์ต่างๆ ซึ่งเหล่านี้ เริ่มเห็นความเสี่ยงมากขึ้น

    ดังนั้นหากไม่รีบเข้าไปดูแล ก็อาจส่งผลต่อความเปราะบางของสหกรณ์ใน ระยะข้างหน้าได้ เพราะกลุ่มสหกรณ์ มีความเชื่อมโยงกันสูง จากการปล่อยกู้ กันไปมา ทำให้เกิดความเชื่อมโยงกัน ดังนั้น หากเกิดความเสี่ยง หรือมีปัญหาเกิดกับ บางสหกรณ์ ก็อาจนำไปสู่ความเสี่ยงสู่ระบบสหกรณ์ได้

    "เป็นความห่วงใยของกนง. และ กนส. ในด้านความเสี่ยง เพราะแม้จะมีบางด้าน ที่ดีขึ้น แต่ก็ยังมีบางด้านที่เป็นจุดเสี่ยง โดยเฉพาะการปล่อยกู้ของสหกรณ์ ที่วันนี้ พบว่า มีการนำเงินผู้ฝากไปปล่อยกู้ที่ หลากหลาย เช่น การไปปล่อยกู้ให้กับ ชุมนุมสหกรณ์ ซึ่งวันนี้ชุมนุมเหล่านี้ มีเยอะ ที่มีการปล่อยกู้ระหว่างกัน ดังนั้น จึงเห็นบางจุดที่เป็นความเสี่ยงมากขึ้น เพราะทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกันหมด ส่วนบางรายที่กู้เงินไปลงทุนในหุ้นต่างๆ นั้น ก็ไม่ใช่ทุกรายที่ทำ แต่เราก็เห็นแล้วว่า พฤติกรรมแบบนี้ หากมีจุดที่เปราะบาง มากขึ้น ก็อาจทำให้เกิดแรงกระเพื่อมต่อคนที่อยู่ในระบบสหกรณ์ได้"

    Source: กรุงเทพธุรกิจ
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    John Traczyk
    A9vX-UyJLth0V4MDYyT9o4Fk07ojB4xst0PFET8Y1UufZpkoTuOao4_9aJhackpeJj8MGF7Q&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.jpg
    40522469_2179482982267712_7066086053714591744_n.jpg 40537106_2179483018934375_2801411050384130048_n.jpg
    14 มกราคม 2562 นี่สำหรับ วันที่ 10 รูปแบบได้เกิดขึ้น คลื่นพลังงานที่รุนแรงพุ่งชนโลกกำลังคึกคักระหว่าง 07:07 น และ 08:11 น. ไทย มันกำลังพุ่งในหน้าต่าง 64 นาที เส้นแม่เหล็กจะยุ่งเหยิงทุกครั้ง วันนี้ความเร็วลมสุริยะ ถึง 1366 km / s เวลา 07:35:05 น. ไทย เมื่อ 14 มกราคม 2562

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สุลต่านรัฐปะหังพระองค์ใหม่ จะทรงขึ้นเป็นกษัตริย์มาเลเซีย
    fb_154735694768.jpg

    เอเอฟพี รายงานวันที่ 12 ม.ค. ว่าจากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ระดับสูง มาเลเซียจะมีกษัตริย์พระองค์ใหม่จากรัฐปะหัง พระนามว่า เต็งกู อับดุลเลาะห์ ชาห์ พระชนมายุ 59 พรรษา เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในแวดวงกีฬา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสมาคมฮอกกี้แห่งเอเชีย และทรงเป็นสมาชิกสภา สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า

    ทรงเพิ่งขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านต่อจากพระราชบิดา เพื่อจะทรงได้รับเลือกเป็นกษัตริย์ในการประชุมสภาแห่งผู้ปกครองรัฐ วันที่ 24 ม.ค.นี้

    มาเลเซียมีระบอบปกครองกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ และทรงเป็นสัญลักษณ์ประมุขทางศาสนา และประมุขทางทหารในนาม โดยเปลี่ยนประมุขทุกๆ 5 ปี เวียนกันในหมู่ผู้ปกครอง 9 รัฐ

    icon_154735695535.jpg

    แต่สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านมูฮัมเหม็ดที่ 5 สละราชสมบัติอย่างไม่มีใครคาดคิด หลังปกครองได้เพียง 2 ปี หลังมีรายงานว่าพระองค์ทรงเสกสมรสกับอดีตนางงามสาวรัสเซีย ที่ประเทศรัสเซีย ในเดือนมิ.ย.2561 ระหว่างช่วงลาป่วยสองเดือน นับเป็นการสละราชสมบัติถือเป็นครั้งแรกของประเทศ

    คุณอาจกำลังสนใจสิ่งนี้อยู่

    สื่อนอกลือสนั่น!! อดีตนางงามรัสเซีย ชายาอดีตกษัตริย์มาเลเซีย กำลังตั้งครรภ์ หลังมีข่าวอดีตกษัตริย์มาเลเซีย ทรงประกาศสละราชบัลลังก์

    กษัตริย์มาเลย์ สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 เปิดพระราชประวัติ ก่อนสละราชบัลลังก์เคยอภิเษกสาวไทย

    กษัตริย์มาเลย์อภิเษก นางงามรัสเซีย อ่อนกว่า 24 ปี หลังแยกทางชายาชาวไทย

    http://hot.muslimthaipost.com/news/...17X9lS95FQzsSHUuwDlKYByKawDp5Aj0gweC8fblRd8qQ
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,253
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สาวซาอุฯถึงแคนาดา ยิ้มกว้างสดใส พ้นสถานการณ์อันตรายแล้ว
    วันที่ 13 มกราคม 2562 - 03:56 น.

    rahaf11-696x395.jpg
    สาวซาอุฯถึงแคนาดา ยิ้มกว้างสดใส พ้นสถานการณ์อันตรายแล้ว
    สาวซาอุฯถึงแคนาดา – เมื่อวันที่ 12 ม.ค. บีบีซี และ เอพี รายงานจากเมืองโทรอนโต ประเทศแคนาดา ว่า น.ส.ราฮัฟ อัล-คูนุน สาวซาอุดีอาระเบีย วัย 18 ปี ผู้หนีจากครอบครัว เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปถึงประเทศแคนาดาที่รับลี้ภัยแล้ว บีบีซีเผยคลิปหญิงสาวสวมแจ๊กเก็ตมีฮู้ด ปักชื่อแคนาดา คลุมชุดกระโปรงที่ใส่จากเมืองไทย พร้อมสวมหมวก ใบหน้ายิ้มสดใส ส่วนทวิตเตอร์ของนักข่าว ซีบีซี ซูซาน ออร์มิสตัน ลงคลิปนาทีที่ราฮัฟก้าวเดินออกจากทางออกภายในสนามบิน

    KxfihRhWRDjdIBwA?format=jpg&name=small.jpg

    รัฐมนตรีต่างประเทศแคนาดา ครีสเทีย ฟรีแลนด์ กล่าวว่า สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอชซีอาร์ แจ้งมาว่าหญิงสาวตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย ทำให้แคนาดาเร่งกระบวนการรับหญิงสาวเป็นผู้ลี้ภัย

    รัฐมนตรีฟรีแลนด์กล่าวว่า ราฮัฟเดินทางมาไกล และอยากจะเข้าพักให้เรียบร้อยก่อนจะพูดคุยกับสื่อมวลชน นอกจากนี้รัฐมนตรีหญิงแคนาดายังปล่อยมุขว่า หญิงสาวไม่ได้ให้ความเห็นถึงเรื่องอากาศหนาวเย็น แต่กลับว่าที่นี่อบอุ่นกว่า

    [​IMG]
    “เธอเป็นหญิงสาวที่กล้าหาญมาก ผ่านเรื่องราวมาเยอะ และตอนนี้เธอจะได้บ้านใหม่แล้ว” รัฐมนตรีหญิงกล่าว

    AP19011274496239-696x522.jpg
    Rahaf Mohammed Alqunun, right, walks with an unidentified companion in Bangkok, Thailand, Friday, Jan. 11, 2019. (AP Photo/Sakchai Lalit)
    ด้าน นายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา กล่าวก่อนหน้านี้ว่า ประเทศแคนาดาได้รับคำขอจากยูเอ็นเอชซีอาร์ ให้สิทธิลี้ภัยแก่หญิงสาว และแคนาดาไม่ขัดข้อง เรายืนหยัดเพื่อสิทธิมนุษยชนเสมอ และเคารพสิทธิสตรีทั่วโลก”

    น.ส.ราฮัฟผ่านพ้นช่วงเวลาระทึกที่เป็นดราม่าไปทั่วโลก นับจากหญิงสาวเผยแพร่วิดีโอภาพตนเองที่สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 6 ม.ค. จากนั้นขังตัวเองอยู่ในโรงแรมที่สุวรรณภูมิ และแจ้งว่า ตนเองหนีจากครอบครัวมาขณะครอบครัวอยู่คูเวต โดยมาไทยเพื่อจะไปลี้ภัยที่ออสเตรเลีย ไม่ต้องการถูกเนรเทศกลับไปอีก

    https://www.khaosod.co.th/around-th...yKjXi4C8QWsFCgZzY5sg6JYKGzzRFs8rZT-544eT4e6t4
     

แชร์หน้านี้

Loading...