-> ตีแผ่ --> สมเด็จวังหน้า + สมเด็จวัดพระแก้ว + สมเด็จพระธาตุพนม

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย pmorn3339, 29 กันยายน 2011.

  1. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    i

    พอดี ที่ปรึกษาใหญ่. อีโก้สูง. ร่ำรวย
    ไปเช่าพระวัดวังหน้ามา 20,000 กว่าองค์ เป็นเงินมากกว่า 1,000,000 กว่าบาท
    หมดเงินไปมาก เลยแถ...และ มโน....มาเถียงเพื่อให้ผมหมดความน่าเชื่อถือ
    เพื่อให้พระของตัวเองที่เช่ามาเป็นพระแท้
    คงเสียดายเงิน

    ขอบคุณอาจารย์เด็กโก-ลก ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2015
  2. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    เรื่องเลขอารบิค
    เกิดเรื่องเพราะ ท่านมโน เอาพระกริ่งที่ฐานประทับเลข 2411 ไว้. มาโชว์
    ผมบอกว่า ช่วงปี 2411 สยามเรายังไม่ใช้เลขอารบิค พระจึงน่าจะปลอม
    ท่าน มโน เลยลมออกหู พยายามจะดิตเครดิตผม เรื่องเลขอารบิค

    ผมอธิบายชัดเจนว่า
    สยามรู้จักเลขอารบิคมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไม่ได้นำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน ระบบราชการ และในหมู่ชาวบ้านทั่วไป
    ในปี 2411 ก็ยังไม่ได้นำมาใช้ โดยเฉพาะทางด้านพุทธศาสนา

    แต่ท่านมโน ตีขลุม เพื่อดิสเครดิตผม เพื่อให้พระตัวเองเป็นพระแท้

    เรื่องมีแค่นี้
    ขอบคุณอาจารย์ศนิวาร ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2015
  3. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804
    ศึกษาเรื่องกฏระเบียบข้อบังคับ ของพวกธนบัตร และ แสตมป์ สากล (ระหว่างประเทศ) ก่อนไหมครับ เรื่องตัวเลข ตัวหนังสือ ที่จะระบุในนั้นครับ ไม่ใช่กล่าวอ้างมั่วไปมั่วมา
     
  4. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    จริงๆ เรื่องธนบัตร ผมเคยนำมาลงไว้ตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว
    เพียงแต่ผมยังไม่เคยวิจารณ์เรื่องตัวเลขในธนบัตร
    เพราะจริงๆ แล้ว เงินกระดาษ ที่ถือได้ว่า เป็นธนบัตร สยามนำออกมาใช้หลังปี 2411

    ก่อนปี 2415 สยามยังไม่มีธนบัตรใช้ ผมจึงไม่ได้ให้ความสนใจกับตัวเลขในธนบัตร

    -----------------------------

    ตั้งแต่สมัยสุโขทัยประเทศไทยใช้หอยเบี้ยและเงินพดด้วงเป็นสื่อกลางในระบบเงินตรา จนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดภาวะขาดแคลนเงินพดด้วงและมีผู้ทำเงินพดด้วงปลอมออกใช้จนเป็นที่เดือดร้อนของประชาชน
    จึงโปรดให้จัดทำ “หมาย” ขึ้นใช้ควบคู่กับเงินตราชนิดอื่น ๆ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดการขาดแคลนเงินปลีกที่ทำจากทองแดงและดีบุก จึงโปรดให้จัดทำ “อัฐกระดาษ” ขึ้นใช้แทนชั่วคราว จากแนวพระราชดำริของทั้งสองพระองค์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำงินกระดาษเข้ามาใช้ในระบบเงินตราของไทย โดยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ

    -----------------------------------------

    วิวัฒนาการธนบัตรไทย

    ก่อนที่จะมีการนำธนบัตรเข้ามาใช้ร่วมกับเงินตราชนิดอื่น ๆ ในระบบการเงินของประเทศ ชนชาติไทยได้ใช้หอยเบี้ย ประกับ (ดินเผาที่มีตราประทับ) เงินพดด้วง ปี้กระเบื้อง และเหรียญกษาปณ์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

    [​IMG]

    จนกระทั่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติและเปิดเสรีทางการค้า ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น จนไม่สามารถผลิตเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราหลักในขณะนั้นได้ทันต่อความต้องการ ทั้งยังมีผู้ทำเงินพดด้วงปลอมออกใช้ปะปนในท้องตลาด จนเป็นปัญหาเดือดร้อนกันทั่วไป ในพุทธศักราช ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้จัดทำ เงินกระดาษชนิดแรก ขึ้นใช้ในระบบเงินตราของประเทศ เรียกว่า หมาย

    หมายมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ชนิดแรกเป็นหมายขนาดใหญ่มี 4 ราคา คือ 3 ตำลึง , 4 ตำลึง , 6 ตำลึง และ 10 ตำลึง ทำด้วยกระดาษปอนด์สีขาว ขนาด 10 คูณ 14 ซม. ด้านหน้ามีกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองชั้น ฉบับ 6 ตำลึงมีข้อความว่า

    “ใช้หกตำลึง ให้แก่ ผู้ออกหมายนี้ มาให้
    เก็บหมาย นี้ไว้ ทรัพย์จักไม่ สูญเลย”

    ตรงกลางประทับตราชาดสองดวง คือ ตราจักรและตรามหาพิชัยมงกุฎ ด้านหลังเป็นลายเครือเถาเต็มทั้งด้าน มีตราชาดสี่เหลี่ยมประทับอยู่ตรงกลาง

    [​IMG] [​IMG]

    หมายชนิด 2 และ ชนิด 3
    หมายชนิดที่ 2 ทำด้วยกระดาษปอนด์สีขาว ขนาด 5 คูณ8.7 ซม. มีราคา 1 บาท , 3 สลึง, 2 สลึง ,สลึงเฟื้อง , หนึ่งสลึง และหนึ่งเฟื้อง หมายเหล่านี้แสดงราคาไว้ถึง 11 ภาษา คือ ไทย จีน ละติน อังกฤษ มาลายู เขมร พม่า ลาว สันกฤต และบาลี
    ด้านหน้ามีกรอบรูป ภายในกรอบมีข้อความว่า “เงิน+๑ ใช้หมายนี้แสดงแทนเถิด เข้าพระคลังจักใช้เงินเท่านั้น ให้แก่ผู้เอามหายนี้มาส่ง ในเวลาแต่เที่ยงไปจนบ่ายสามโมงทุกวัน ณ โรงทหารพระบรมมหาราชวังฯ”
    หมายชนิดที่ 3 เป็นหมายราคาสูง ขนาด 6.2คูณ 8.7 ซม. มี 2 ราคา เท่านั้นคือ ราคา 20 บาท และ 80 บาท ด้านหน้ามีข้อความว่า “หมายสำคัญนี้ ใช้แทน 320 ซีกฤา 640 เสี้ยว ฤา 1280 อัฐ ฤา 2560 โสฬส คือ เป็นเงินยี่สิบบาท ฤาห้าตำลึง ฤา 12 เหรียญนก ฤา 28 รูเปีย ได้ให้ไปเปลี่ยนที่พระคลังจะได้ จงเชื่อเถิด”

    [​IMG]

    ต่อมาระหว่างพุทธศักราช ๒๔๑๕ - ๒๔๑๖ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดปัญหาเหรียญกษาปณ์ชนิดราคาต่ำซึ่งเป็นเงินปลีกที่ทำจากดีบุกและทองแดงขาดแคลน ประกอบกับมีการนำ ปี้ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนเงินในบ่อนการพนันมาใช้แทนเงินตรา ในพุทธศักราช ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้จัดทำ เงินกระดาษ ชนิดราคาต่ำเรียกว่า อัฐกระดาษ ให้ราษฎรได้ใช้จ่ายแทนเงินเหรียญที่ขาดแคลน
    แต่อัฐกระดาษก็ไม่เป็นที่นิยมใช้เช่นเดียวกับหมาย
    (เขายังไม่เรียกว่า ธนบัตร นะครับ)

    [​IMG]

    ----------------------------------

    เอาเรื่อง ธนบัตร ไว้แค่นี้ เพราะปี พ.ศ. ล่วงเวลาที่ สมเด็จโต ท่านมรณภาพ แล้ว
    สรุปคือ ปี 2411 สยามยังไม่ได้นำเลขอารบิค มาใช้ในระบบราชการ หรือ ในหมู่ประชาชนทั่วไป

    ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่ ในปี 2411 เวลาสร้างพระเครื่อง จะนำเลขอารบิค ไปประทับไว้ที่องค์พระ
    เหมือนที่ประทับไว้บนพระที่ ท่านมโน เอาออกมาโชว์ ด้วยความภาคภูมิใจย่างเหลือเกิน


    แล้ว ท่านมโน เอาเรื่องราวมาปนเปกันไปทั่ว เพื่อชัยชนะให้พระเครื่องตัวเองเป็นพระแท้ให้ได้
    โดยไปเอา ธนบัตร หลังปี พ.ศ.2415 มาโต้แย้งปนกันเพื่อสร้างความสับสน

    ----------------------------------

    ขอบคุณ อาจารย์หมอ ครับ

    ---------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2015
  5. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,632
    เอกสารโบราณภาพแรก เป็นภาพริ้วขบวนเสด็จพยุหยาตราสถลมารค
    ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพโปรดให้จำลองไว้ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐
    หากนิยมใช้ หรือใช้เลขอาราบิกสะดวกทำไมถึงไม่ใช้ ทั้ง ๆ ที่บอกว่ามีใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๑๑ เอาง่าย เอาสะดวกเข้าว่า

    เอกสารฉบับที่ ๒ คือ แบบเรียน ประถมมาลา เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓
    เก่ากว่าภาพขบวนเสด็จ ทำไมถึงไม่ใช้ ทั้ง ๆ ที่ บอกว่ามีมาตั้งแต่อยุธยา

    เอกสารฉบับที่ ๓ เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ การคำนวณพื้นที่การก่อสร้างอาคาร ทำไมถึงไม่ใช้เลขอาราบิก ทั้ง ๆ ที่ บอกว่าเขียนง่าย ใช้สะดวก และเป็นที่นิยมในสมัยนั้น

    เอกสารบางฉบับเป็นของทางราชการเขียนขึ้น
    บางฉบับเป็นของสามัญชนทั่วไปที่เขียนขึ้นในสมัยนั้น มั่ว ตรงไหน
    มั่ว ตรงที่ใช้เลขไทยไม่ใช้เลขอาราบิกตามที่มีคนบอกว่านิยมใช้หรือกระไร
     
  6. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804

    เข้าใจผิดอะไรหรือเปล่าครับ

    ผมบอกคุณ peet ให้ไปศึกษาเรื่อง ธนบัตร กับ แสตมป์ ก่อนที่จะมั่วไปมั่วมา (เรื่องเหตุผล) ว่า เลขอาราบิกทำไมมีใช้ก่อนที่จอมพลป. ประกาศใช้เป็นภาษาราชการนะครับ
     
  7. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,632
    คงเป็นผมที่เข้าใจผิดไปเอง
    นื่องเพราะเห็นข้อความขึ้นต่อเนื่องกัน
    เลยนึกว่าคุยพาดพิงถึง ต้องขออภัยด้วย
     
  8. 9บัวรอบาน9

    9บัวรอบาน9 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +57

    ขออนุญาตพี่ๆร่วมวงสนทนาด้วยคนนะครับ
    ก่อนอื่นผมขอออกตัวก่อนว่า ไม่ได้เป็นฝ่ายใครทั้งนั้นนะครับ
    แต่การสนทนาของผมจะเป็นเชิงตั้งข้อสังเกตและคำถามนะครับ
    ผิดถูกประการใด ผมขอคำแนะนำจากพี่ๆด้วยครับ

    1. เรื่องตัวเลขอารบิค เท่าที่ค้นๆสืบเสาะผมพบว่าในสมัยต้นรัชกาล ยามเมื่อเขียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้เลขอารบิค แต่ยามเขียนหนังสือภาษาไทยก็จะใช้เลขไทยครับ อันนี้เป็นสิ่งที่ทุกท่านสืบค้นได้ง่ายๆด้วยตนเองนะครับ

    2. ดังนั้นผมจึงขอตั้งคำถามว่าการสร้างพระโดยราชวงศ์ชั้นสูงนั้น จะใช้เลขอารบิคจารึกลงไปหรือไม่ ถ้านึกถึงความเป็นไทยของเรา เขียนหนังสือไทยยังใช้เลขไทย แล้วสร้างพระในขนบแบบไทย เราจะใช้เลขแบบใด?
    แต่เดี๋ยวก่อนครับ!!! ในสมัยนั้นเป็นยุคล่าอาณานิคมที่รุนแรงเสียเหลือเกิน เป็นไปได้หรือไม่ที่ครั้งนั้นจะมีการสร้างพระ โดยจารึกเลคอารบิคเพื่อให้ฝรั่งได้เห็นว่าถึงเราจะมีความเชื่อในแบบไทย แต่ก็พัฒนาแล้วพอที่จะรับอารยธรรมบางอย่างมาผสมผสานกับขนบไทยๆของเรา อย่าลืมนะครับในยุคสมัยนั้นฝรั่งกดดันเรามากเรื่องความล้าหลัง อันนี้อยากได้การอภิปรายจากพี่ๆครับ

    3. หากมีการจารึกเลขกับการสร้างพระจริงๆ ในยุคสมัยนั้นก็ควรมีตัวอย่างของพระในรูปแบบที่ใช้เลขบ้าง ไม่ว่าจะเลขไทยหรือเลขอารบิค ยกตัวอย่างครับ คือผมมีพระสมเด็จองค์หนึ่งจารึกเลขไทย ปี พ.ศ. 2482 (น่าจะนะครับ)
    ไม่ได้มีรูปแบบหรือพิมพ์ฟอร์มเหมือนพระสมเด็จ ที่สร้างโดยท่านเจ้าประคุณ
    แต่เนื้อหาก็ดูเก่าทีเดียว ถือโอกาสถามพี่ๆเลยละกัน ว่าเป็นพระท่านผู้ใดสร้าง อิอิ

    ทั้งหมดนี้เป็นการตั้งข้อสังเกตของผมครับ ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ดูหมิ่นผู้ใด
    แต่อยากให้ถกเถียงกันเพื่อให้เกิดองค์ความรู้จริงๆนะครับ อยากให้พี่ๆทั้งสองฝ่ายช่วยกันอภิปรายด้วยครับ

    ด้วยความเคารพครับ:cool:
     
  9. pmorn3339

    pmorn3339 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,342
    ค่าพลัง:
    +2,467
    เดี๋ยวมาตอบข้อที่ 2 ครับ
    วันนี้ขอตัวก่อน

    ส่วนข้อ 3 ต้องอาศัย พสมช ผู้รู้ท่านอื่นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2015
  10. thachapol

    thachapol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,138
    ค่าพลัง:
    +1,903
    รูปหล่อลอยองค์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯประทับเลข 2411 ที่อีตามะโนโอ้อวดซวดลวดหน้าด้านเอามาโชว์ มันของเก๊สุดซอย ยังไม่มีการสร้างรูปหล่อลอยองค์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯอย่างแน่นอน ที่ท่าพระจันทร์เด็กๆเอามากองขายอันล่ะไม่กี่บาท ไปดูสิครับจะเอากี่เข่ง ลายตอกดอกจันทร์ที่จีวรพระกริ่งปวเรศและรูปหล่อลอยองค์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เก๊กากๆ ผมนึกถึงลายดอกจันทร์ที่ช่างตอกแต่งพระชินราชอินโดจีน ๘๕ เท่านั้น
     
  11. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,632
    ประวัติการใช้แสตมป์และเลขอาราบิกในแสตมป์ของสยาม

    ในตอนต้นสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) คือ ใน พ.ศ. ๒๔๑๘ สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงออกหนังสือพิมพ์รายวันขึ้น ชื่อ "ข่าวราชการ" หรือ "Court" หนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกของไทย ทรงให้มีบุรุษเดินหนังสือข่าวราชการ ส่งแก่สมาชิกเรียกว่า "โปสต์แมน" (postman) มีการจัดพิมพ์ตั๋วแสตมป์เป็นค่าบริการ ตั๋วแสตมป์นี้เป็นพระรูปเหมือนของ สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ มีอยู่ ๒ รุ่น รุ่นแรกด้านล่างมีภาษาอังกฤษว่า "RISING P" ซึ่งมีความหมายตรงกับภาษาไทยว่า ภาณุรังษี รุ่นที่ ๒ มีอักษรที่มุมทั้งสี่ว่า ป ม ภ ส ย่อมา จาก โปสต์มาสเตอร์ ภาณุรังษีสว่างวงศ์ และมีคำด้านล่างว่า "ค่าหนังสือฝาก"

    ถ้าส่งหนังสือถึงผู้รับที่อยู่ในคูพระนครชั้นในให้ ปิดแสตมป์ ๑ ดวง ราคา ๑ อัฐ ถ้าผู้รับอยู่นอกคูพระนครชั้นใน ให้ปิดแสตมป์ ๒ ดวง รวมเป็นราคา ๒ อัฐ

    ต่อมาโปรดให้สั่งพิมพ์แสตมป์มาจากประเทศ อังกฤษ มีกรอบลวดลาย และภายในกรอบมีภาพ พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ ๕ และภาพพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง บนดวงแสตมป์ไม่มีตัวอักษร หรือตัวเลขบอกราคาไว้เลย แต่สันนิษฐานว่า แต่ละดวง มีราคาเท่ากัน คือ ดวงละ ๑ อัฐ

    เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ได้ทรงเลิกการออกหนังสือราชการ เนื่องจากแต่ละพระองค์ทรงมีภาระในหน้าที่ราชการ ก็มิได้ทรงคิดจะจัดการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทยแต่อย่างใด จนเวลาล่วงเลยมาถึงกลาง พ.ศ. ๒๔๒๓ มีหลักฐานปรากฏในจดหมายเหตุหอหลวงว่า เจ้าหมื่นเสมอใจราช ได้มีหนังสือกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้ทรงจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย โดยในหนังสือนั้นได้ กราบบังคมทูลถึงความจำเป็นว่า การพาณิชย์ค้าขาย และบ้านเมืองเจริญขึ้นกว่าแต่ก่อน สมควรที่จะได้จัดการไปรษณีย์ขึ้น เจ้าหมื่นเสมอใจราชได้ทูลถึง หลักการทั่วไปในการดำเนินงานไปรษณีย์ที่สำคัญคือ จะต้องจัดทำบัญชีเลขที่บ้านก่อน ทั้งยังประมาณการ ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ ใน การนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง สนับสนุนเป็นอย่างดี ได้มีการจัดทำเลขบ้าน และ ขณะเดียวกันก็สั่งพิมพ์ตราไปรษณียากรจากบริษัท วอเทอร์โลว์แอนด์ ซันส์ จำกัด (Waterlow and Sons Limited) ประเทศอังกฤษ มาใช้งาน ๖ ชนิด ๖ ราคา คือ โสฬศ อัฐ เสี้ยว ซีก เฟื้อง และสลึง (สำหรับชนิด ราคา ๑ เฟื้องนั้น เมื่อเปิดการไปรษณีย์ขึ้นแล้ว บริษัทผู้พิมพ์ส่งมาไม่ทัน และเนื่องจากทางการได้ ยกเลิกหน่วยเงินเฟื้องไปก่อนจึงไม่ได้นำออกใช้) เริ่ม นำออกใช้ในวันประกาศเปิดการไปรษณีย์ขึ้นใน กรุงเทพฯ ในวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ เป็น ต้นมา นับเป็นแสตมป์ชุดแรกในรัชกาลนี้

    ต่อมาในวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ ไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพสากลไปรษณีย์ แต่เนื่องจากแสตมป์ชุดแรกของไทย ไม่มีอักษรภาษาอังกฤษบ่งบอกชื่อประเทศ และไม่มีตัวเลขอาระบิค บ่งบอกราคาแสตมป์ จึงต้องสั่งแสตมป์ชุดใหม่มาใช้ ให้มีชื่อประเทศว่า "SIAM" มีตัวเลขอาระบิคบอก ราคาและมีหน่วยเงินเป็นอัฐ "ATT"

    สรุปโดยย่อ แสตมป์ที่ใช้เลขอาราบิกกำกับบนแสตมป์เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘

    ที่มา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๒ ตอนที่ ๑๐ ตราไปรษณียากรไทย
     
  12. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,632
    การพิมพ์ธนบัตร

    ในปี พ.ศ.๒๔๐๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้จัดทำ "หมาย" ขึ้นมีราคาต่างๆ กัน ตั้งแต่ ๑ บาท เป็นลำดับลงมาจนใบละเฟื้อง โดยพิมพ์ลงบนแผ่นกระดาษ และประทับตราพระราชลัญจกร ๓ ดวง และยังทรงให้สร้างใบ "พระราชทานเงินตรา" อีกแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายเช็คในปัจจุบัน นับได้ว่า มีการใช้เงินตราทำด้วยกระดาษขึ้นในเมืองไทยเป็นครั้งแรก อันเป็นต้นตอของธนบัตร

    ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๓๕ ได้มีการออกอัฐกระดาษขึ้น แต่ไม่เป็นที่นิยมจึงได้เลิกไป จนปี พ.ศ.๒๔๔๕ จึงได้ออกธนบัตรชนิดละ ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๑,๐๐๐ บาท การจัดพิมพ์ธนบัตรได้จ้างพิมพ์มาจากต่างประเทศทั้งสิ้น คือ จ้างบริษัทโทมัส เดอ ลา รู (Thomas de la Rue) จากประเทศอังกฤษ จนถึงสงครามโลกครั้งที่ ๒ การคมนาคมติดขัด ประกอบกับประเทศไทยประกาศสงครามกับประเทศอังกฤษด้วย ทำให้ไม่สามารถจ้างพิมพ์ธนบัตรที่เดิมได้ จึงได้จ้างพิมพ์จากแหล่งอื่นๆ เช่น ประเทศญี่ปุ่น และพิมพ์ขึ้นเองในประเทศไทย ธนบัตรที่พิมพ์ขึ้นเองในยุคนั้น พิมพ์ที่โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก แต่พิมพ์ได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้งาน จึงต้องจ้างพิมพ์ในโรงพิมพ์อื่นๆ ทั้งของส่วนราชการ และของเอกชนในประเทศด้วย

    เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลงแล้ว มีการกลับไปจ้างพิมพ์ธนบัตรจากต่างประเทศอีก และได้มีการเปลี่ยนแหล่งจ้างพิมพ์ การพิมพ์ธนบัตรนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงของบ้านเมือง รัฐบาลจึงได้มอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ดำเนินการศึกษา และจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตร เพื่อพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองในเมืองไทย คือ ได้มีการสร้างโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้น ในสังกัดธนาคารแห่งประเทศไทย และทำพิธีเปิดดำเนินการในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๒ โดยเริ่มพิมพ์ธนบัตรฉบับละ ๕ บาทออกมาก่อน และทยอยพิมพ์ฉบับที่มีมูลค่าสูงๆ ขึ้นไปออกมาตามลำดับ และได้พิมพ์ธนบัตรฉบับ ๕๐๐ บาทออกใช้ด้วย ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ได้มีการจัดพิมพ์บัตรธนาคารออกมาเป็นพิเศษ มีมูลค่าฉบับละ ๖๐ บาท เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ

    ที่มา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ ๑๘ เรื่องที่ ๕ ตอน การพิมพ์ธนบัตร
     
  13. สุเขฐ

    สุเขฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2013
    โพสต์:
    2,189
    ค่าพลัง:
    +12,013
    ตั้งข้อสังเกตุนะครับ ผมไปให้ผู้ใหญ่ดูมา ท่านบอกว่า

    1. พระทำจากทอง แล้ว เจือกเอาทอง ไปปิดที่จีวรอีกทำไม ให้เสียของ

    2. เอ็งบอก.. ฝีมือ ขั้นเทพบรมครู แต่ โค้ดตัวเลข ตอกก็เอียง แถมตัว

    เลข เล็กใหญ่ไม่เท่ากัน แถม กระเเดะใช้ เลขอารบิค ซะด้วย !!

    3. คุยกันเรื่อง ตัวเลข อารบิค ที่ตอกโค้ด แต่ เจือกไป ตอบเรื่อง พ.ศ.???

    4. พอแล้ว..!! ..ึงอะบ้า (หมายถึงผม) ไปนั่งเถียง กับคนบ้าอยู่ได้ !!

    "ของเก๊ในตลาดผัก ยังสวยกว่าของไอ้บ้านี่ซะอีก..ไร้สาระ"

    ผมนี่...อึ้ง รับประทานเลยครับ 5555555
     
  14. สุเขฐ

    สุเขฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2013
    โพสต์:
    2,189
    ค่าพลัง:
    +12,013
    เยี่ยมครับ ท่าน 9บัวรอบาน9 :cool:

    ถาม เพราะเกิดจากความสงสัย แต่ไม่ได้ แถ แบบอ่านแล้ว รู้ทันที ว่าคิดอะไร..

    ขอรบกวน ช่วยลงรูป พระของท่าน ให้ชมเพื่อการศึกษาด้วยครับ

    ดูกันที่ วัตถุ ครับ จะได้จบกันเป็นเรื่องไป !!

    อีกประเด็นหนึ่ง ??

    ถ้าพระในมือที่มี ตอกโค้ด ..ดังนั้น เมื่อในระดับทางวัง

    สร้าง แล้วมีรุ่นอื่นในสารบบ ที่มีหลักฐาณบันทึกไว้ มีบ้างไหมครับ

    ผมเองก็อยากจะรู้ เพราะ....

    ยังไงซะพวกโจร มันก็ไม่มีทางปล้นไปหมดทุกองค์ ต้องมีเหลือ

    ร่องรอยไว้บ้าง... เหมือนเมื่อคราว กรุวัดราชบูรณะ
     
  15. thachapol

    thachapol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,138
    ค่าพลัง:
    +1,903
    ขอบพระคุณมากครับท่านศนิวาร..
     
  16. thachapol

    thachapol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,138
    ค่าพลัง:
    +1,903
    นี่ครับชื่อแรก
     
  17. นํ้าข้าว

    นํ้าข้าว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,435
    ค่าพลัง:
    +10,351
    ขนาดพระที.ฝีมือระด้บพระกาฬ..ทำมายิง 10-20องค์ พอว่าหน่อยว่าเดายาก...แต่ไอ้ที่ว่าเห็น..ขายตามตลาดพระ..หรือท่าพระจันทร์อะเป็นเข่งๆ...ไม่ต้องไปส่องให้เมื่อยตุ้มหรอกคนับพี่น้องว่าแท้อะมันเก้เห็นๆ..ตามหลักเหตุและผล...


    สุดแล้วแต่ละครับพี่น้องว่า..คิดกันได้มั่ย.เงินก็เงินท่าน.สองก็สมองท่าน.ขนาดคนอื่นยอมโดนต่อว่าเพื่อไม่ให้โดนหลอก..ก็ยังไปเช่าอีกก็จนปัญญา..นิรันกุล.ละครับพี่น้อง...แว๊ปปปปปปป
     
  18. คนกลางสวน

    คนกลางสวน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2014
    โพสต์:
    554
    ค่าพลัง:
    +1,072
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2015
  19. คนกลางสวน

    คนกลางสวน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2014
    โพสต์:
    554
    ค่าพลัง:
    +1,072
    แต่พระชัยหลวงปู่บุญไม่ได้ตอกตัวเลขนะครับ เป็นเลขไทยหล่อในพิมพ์ และเท่าที่เคยเห็นพระยุคเก่าๆไม่เคยเห็นที่มีการตอกโค้ตนะครับ
     
  20. hemicuda

    hemicuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +2,246
    รู้สึกจะมีคนหน้าใหม่เข้ามาเรื่อยๆ นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...