บทความ...กระดานเล่าสู่กันฟัง

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 ตุลาคม 2014.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ต่อไปนี้จะเป็นนิทานเรื่องเล่าสนุกๆ นะ สำหรับสนุกหรือเปล่าไม่รู้ซิ
    แต่สำหรับเราสนุกดี พิมพ์ไปหัวเราะไป 55555

    ก็เมื่อสองปีก่อน ได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดพระธาตุห้าดวง ลำพูนค่ะ เค้ามีการสอนมโนมยิทธิ เราก็ไปเรียนไปฝึกกับเค้า เวลาบ่ายในพระอุโบสถ.....................

    ข้ามไปหลายๆ ตอนเลยนะ...ครูฝึกบอกให้ไปดูวิมานของตัวเองค่ะ ก็ได้ไปปรากฏกายที่หน้าวิมานหลังหนึ่งลอยอยู่กลางอากาศ มีลักษณะเหมือนบ้านคนจีนโบราณหลังใหญ่สีขาว มีทางเดินรอบบ้านและมีรั้วเตี้ยๆ โดยรอบ ปลูกอยู่กลางสระบัว มีสะพานทอดยาวลงไปที่สระบัว ภายในวิมานมีบริวารที่ชะโงกหน้าออกมามองเรา

    ในสระบัวมีควันสีขาวๆ ลอยต่ำๆ เรามองไม่เห็นน้ำในสระ เห็นแต่ใบบัวเต็มสระและมีดอกบัวสีชมพูสด ที่โตจนโผล่พ้นน้ำชูก้านสูงถึงระดับของรั้วสะพานสามดอก สองดอกนั้นยังตูมอยู่และมีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ส่วนอีกหนึ่งดอกสูงที่สุดกำลังแย้มกลีบบานออก
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    หลังจากที่ออกจากมโนมยิทธิแล้ว พี่คนที่นั่งอยู่ข้างๆ เรา พี่คนนี้ได้มโนมยิทธิแบบเต็มกำลังแล้ว พี่เค้าจะคอยเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกค่ะ เค้าบอกว่าได้เห็นวิมานของเราเหมือนกัน ได้เห็นสระบัวมีน้ำใส มีปลาแหวกว่ายอยู่ในน้ำและมีดอกบัวสีชมพูสดด้วย สิ่งที่เราได้เห็นนั้นเป็นของจริง ก็เป็นการรับรองของรุ่นพี่ที่ร่วมฝึกด้วยกัน
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    แต่เราก็ไม่รู้อีกว่าเป็นสวรรค์ชั้นไหน 555 ไม่ได้ถามอ่ะ ลืม

    แต่ได้รู้เพิ่มเติมมาว่า......
    ที่นั่นคือเมืองของพระโพธิสัตว์ สระที่เห็นคือสระวชิรประทิม เป็นสระของเหล่านาคานาคี
    ดอกบัวทั้งสามดอกนั้น แสดงให้เห็นว่าสัจธรรม คือ อะไร?
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เล่าสู่กันฟัง เช้าๆ ของวันหวยออก...ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    เมื่อคืนฝันเห็นผู้หญิงหลายคนเลย มีผู้หญิงคนหนึ่งหน้าตาแปลกๆ ไม่รู้จักอ่ะ มานั่งคุยด้วย แล้วก็พูดถึงหวย เธอจะซื้อหวยก็เลยเขียนเลข เป็นเลขเดียวกันเต็มหน้ากระดาษเลย แบบเขียนซ้ำๆ คือเลข 230

    แล้วเราก็พูดว่าถ้าเธอเป็นคนที่ชอบทำความดี ย่อมมีเทวดารักและคอยตามรักษาพร้อมทั้งให้โชคลาภ พอพูดถึงเทวดาเราก็เห็นนิมิตที่บ้านเธอ มีเสาตกน้ำมันหนึ่งต้น ฮั่นแน่!! เธอมีเทวดาบอกหวยจริงๆ ด้วย ถึงว่าซิไปเอาเลขมาจากไหนเขียนอยู่แค่ตัวเดียว

    จากนั้นเราก็พูดเรื่องโลภะ..............จำไม่ได้แระ ตื่นๆๆๆๆ
     
  5. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    นิทานสักเรื่อง

    ว่าถึงเรื่องนิพพาน อ่านตำราก็ยังไม่เข้าใจ

    มโนยิทธิไป เห็นวิมานสวยงามมากมาย

    เดินจิตไป เห็นเป็นที่เวิ้งว้างไม่มีประมาณ

    มาถึงตอนนี้ก็ยังไม่เข้าใจ ตายไปอาจจะเข้าใจ

    แต่อารมณ์จิตตอนอยู่ที่นั้น สบาย ว่างเปล่า
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สาธุ ยินดีด้วยค่ะคุณhastin:cool:
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    "พระธรรมทุกข้อตกอยู่ในกลุ่มอริยสัจ ๔"

    กลุ่มทุกขสัจ

    กลุ่มทุกขสัจ ได้แก่กลุ่มที่เป็นปริญญาตัพพธรรม คือธรรมที่ต้องศึกษาให้รู้ เพื่อกำหนดให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร เป็นธรรมกลุ่มที่เป็นผลมาจากกิเลส จำต้องศึกษาให้รู้ไว้ในด้านประเภทฐานะ ภาวะ ลักษณะของธรรมเหล่านั้น แต่ไม่อาจที่จะแก้ไขอะไรได้ ธรรมกลุ่มนี้ เช่น

    ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปทาน นามรูปได้แก่ รูป ๑ นาม ๔ คือ

    รูปขันธ์ กองรูปได้แก่รูป ๒๘ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น ส่วนนาม ๔ ได้แก่

    เวทนาขันธ์ คือกองเวทนา ได้แก่ เวทนาเจตสิก สัญญาขันธ์ คือสัญญาเจตสิก สังขารขันธ์ กองสังขาร ได้แก่ จิต ๘๙ ดวง

    อาหาร ๔ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กลืนกินเข้าไปทางปากผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ วิญญาณาหาร อาหารคือ วิญญาณ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือ มโนสัญเจตนา

    อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    โลกธรรม ๘ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญสุข
    ทุกข์

    อายตนะ ๘ คือ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส โผฏฐัพพะกับกาย ใจกับอารมณ์ (โผฎฐัพพะ มีความหมายถึง อารมณ์ที่จะพึงพูกต้องด้วยกาย , สิ่งที่ถูกต้องกายเช่น เย็น ร้อน อ่น แข็ง เป็นต้น)

    วิญญาณฐิติ ๗ คือที่ตั้งแห่งวิญญาณอันเกิดขึ้นด้วยการถือปฎิสนธิในกำเนิด ๔ ได้แก่
    ๑. สัตว์ที่มีร่างกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น มนุษย์ เทวดาบากพวก วินิบาตบางพวก (วินิบาต มีความหมายถึงสัตว์ในนรกหรืออสุรกาย)
    ๒.สัตว์ที่มีกายต่างกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ เทพผู้เกิดในชั้นพรหม ด้วยอำนาจปฐมฌาน และสัตว์ที่เกิดในอบายภูมิ ๔
    ๓. สัตว์ ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พรหมชั้นอาสัสรา (พรหมโลกชั้นที่ ๖ จากที่อยู่ของพรหมซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)
    ๔. สัตว์ที่มีกายเหมือนกัน มีสัญญาเหมือนกัน ได้แก่ พรหมชั้น สุภกิณหะ (พรหมโลกชั้นที่ ๙ จากที่อยู่ของรูปพรหม ซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๖ ชั้น)
    ประเภทที่ ๕ ที่ ๖ และ ๗ ได้แก่ ท่านที่เกิดในอรูปภูมิด้วยกำลังแห่งอรูปฌาน และมีชื่อตามฌานข้อนั้น ๆ

    แม้ประเภทแห่งทุกข์ที่ทรงแสดงในอริยสัจ ๔ คือ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น ก็อยู่ในกลุ่มของรูปที่จะต้องกำหนดรู้ กล่าวโดยสรุป ธรรมในกลุ่มนี้คือพวกที่เป็น "ธรรมชาติอันเป็นไปตามอำนาจแห่งธรรมดา" ทั้งหลายนั้นเอง
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    กลุ่มสมุทัยสัจ

    กลุ่มสมุทัยสัจ ที่เรียกว่า ปหาตัพพธรรม คือธรรมที่เรียนให้รู้แล้วควรละ อันได้แก่พวกกิเลสทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกตามอาการของกิเสส เหล่านั้น เช่น

    อัสสมิมานะ ความยึดถือขันธ์ ๕ ว่า เป็นตัวตน หรือมีตัวตน เป็นต้น

    อวิชชา ๘ คือ ความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สมุทัย ไม่รู้นิโรธ ไม่รู้มรรค ความไม่รู้อดีต ความไม่รู้อนาคต ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต และไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท (การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา)

    ตัณหา ๓ คือ "กามตัณหา" ความทะเยอทะยานอยากได้ในวัตถุกามด้วยอำนาจของกิเลสกาม "ภวตัณหา" ความอยากมีอยากเป็นต่าง ๆ ด้วยอำนาจสัสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง คือ ความเห็นว่าอัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป) "วิภวตัณหา" ความทะเยอทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็นจนถึงอยากขาดสูญไปเลยด้วยอำนาจของอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้แล้วขาดสูญ) และตัณหาในอายตนะภายนอก ๖ คือ ตัณหาทั้ง ๓ ประการที่เกิดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ (อารมณ์ทางใจ , สิ่งที่ใจนึกคิด)

    นิวรณ์ คือสิ่งที่กั้นจิตคนไว้มิให้บรรลุความดี ท่านเรียกว่านิวรณ์มี ๕ ประเภทคือ
    ๑. กามฉันทะ คือความรักใคร่ชอบใจในวัตถุกามทั้งหลายมีรูปเป็นต้น
    ๒. พยาบาท คือ ความอาฆาตพยาบาท มุ่งจองล้างจองผลาญต่อคน สัตว์ที่ตนไม่ชอบ
    ๓. ถีนมิทธะ คือการเคลิบเคลิ้ม ง่วงนอน หงอยเหงา คร้านกายคร้านใจ
    ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านซัดส่ายของใจจนเกิดความรำคาญ
    ๕. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยไม่มั่นใจ ตัดสินใจในเรื่องอะไรไม่ได้

    โอฆะ กิเลสที่เป็นดุจห้วงน้ำ ห้วงน้ำคือกาม ห้วงน้ำคือภพ ห้วงน้ำคือความเห็นผิด และห้วงน้ำคืออวิชชา บางคราวเรียกว่า คันถะเพราะทำหน้าที่ร้อยรัดจิตเรียกว่า อาสวะ เพราะหมักหมมอยู่ภายในจิต

    อนุสัย คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ภายในจิต คือกามราคะ (ความกำหนัดในกาม) ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ ความที่จิตหวุดหวิดด้วยอำนาจโสทะ) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) มานะ (ความถือตัวถือตน) ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ)และอวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)

    มิจฉัตตะ ๘ คือความเห็นผิด ความดำริผิด การพูดผิด การทำงานงานผิด การเลี้ยงชีวิตผิด ความพยายามผิด การตั้งสติผิด ความตั้งใจมั่นผิด

    กิเลสทั้งหลายที่ปรากฏแก่จิต ซึ่งเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ได้แก่อกุศลมูล ๓ ประการคือโลภ โกรธ หลง โดยมีรากใหญ่ของกิเลสอยู่ที่อวิชชากับตัณหา
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    กลุ่มของนิโรธสัจ

    กลุ่มของนิโรธสัจ ที่เรียกว่า สัจฉิกาตัพพธรรม คือ ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ สมาธิปัญญา เช่น

    เจโตวิมุติ คือการหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสด้วยการบำเพ็ญเพียรทางจิตจน บรรลุฌานแล้วเจริญวิปัสสนาต่อ และปัญญาวิมุตติคือ จิตที่หลุดพ้นด้วยการเจริญวิปัสสนอย่างเดียว จนบรรลุอรหัต

    วิมุตติ ๕ คือ ความหลุดพ้นจากอำนาจของกิเสส ๕ ระดับคือ
    ๑. ตทังควิมุตติ คือ หลุดพ้นด้วยองค์นั้น ๆ เช่น เกิดโกรธขึ้นมาห้ามความโกรธไว้ได้
    ๒. วิกขัมภนวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยกำลังแห่งฌานที่ได้บรรลุ
    ๓. สมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสอย่างเด็ดขาดโดยกิเลสไม่กำเริบอีกต่อไป
    ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสอย่างสงบราบคาบ
    ๕. นิสสรณวิมุตติ คือ จิตที่หลุดพ้นจากอำนาจกิเลสด้วยการออกไปคือ นิพพาน

    สามัญญผล คือ ผลแห่งการบวชหรือจากความเป็นสมณะ ๔ ได้แก่โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล

    ธรรมขันธ์ ๕ คือ การทำให้แจ้งในกองแห่งศีล สมาธิ ปัญญา และ วิมุตติ ในกรณีที่เป็นผล

    อภิญญา ๖ คือว่ารู้ยิ่งหรือความรู้พิเศษ อันเกิดจากเหตุมีความสงบจากกิเลส เป็นต้น ได้แก่
    ๑. อิทธิวิธี การแสดงฤทธิ์ ได้ คือความสำเร็จที่เกิดจากจิตสงบบ้างกรรมบ้าง วิชาบ้าง
    ๒.ทิพพโสต หูทิพย์ คือสามารถฟังเสียงเบา หนัก ไกลใกล้ได้ตามความต้องการ
    ๓.เจโตปริยญาณ รู้ความคิด สภาพจิตของคนอื่นได้ว่า ขณะนั้น เขามีความคิดต้องการอะไรเป็นต้น
    ๔.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติต่าง ๆ ย้อนหลังไปในอดีตได้
    ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์ คือสามารถมองเห็นภาพที่ปรากฏในที่ต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
    ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำอาสวะให้หมดสิ้นไป

    อนุบุพพวิหาร ๙ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ (การดับสัญญาและเวทนา เป็นสมาบัติคือ ภาวะสงบ ประณีตซึ่งพึงเข้าถึง)

    อเสกขธรรม คือ ธรรมที่เป็นของพระอเสขะ ๑๐ ประการ (อเสขะมีความหมายถึง ผู้ไม่ต้องศึกษาเพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์) คือ มรรคมีองค์ ๘ ประการ กับสัมมาญาณ (รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ) และสัมมาวิมุตติ (พ้นชอบ ได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ) ที่เป็นผลถาวรอยู่ภายในใจของพระอรหันต์ทั้งหลาย

    ธรรมกลุ่มที่เป็นสักฉิกาตัพธรรมนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุปได้แก่ผลในชั้นต่าง ๆที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามหลักธรรมที่ทรงแสดงไว้ แม้องค์ธรรมจะชื่อเหมือนกัน แต่ในกลุ่มนี้ท่านหมายเอาตัวผลเช่นตัวความรู้ที่เกิดจากการเรียน ซึ่งเป็นผลถาวรที่ติดอยู่ในใจคน
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    กลุ่มทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    กลุ่มทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสงบระงับแห่งทุกข์ ท่านเรียกกลุ่มนี้ว่า ภาเวตัพพธรรม คือ ธรรมที่ต้องลงมือกระทำบำเพ็ญให้บังเกิดขึ้น เช่น

    วิสุทธิหรือปาริสุทธิ ๙ ประการ ได้แก่
    ๑. สีลวิสุทธิ คือความบริสุทธิ์ หมดจดแห่งศีล ตามสมควรแก่ฐานะของบุคคล
    ๒. จิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งจิต คือจิตที่สงบจากนิวรณธรรม (สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม) ทั้ง ๕ ประการเป็นต้น
    ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์หมดจดแห่งความเห็นคือ เกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริง
    ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความลังเลสงสัย
    ๕. มัคคามัคคญาณทัสสวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งญาณที่ช่วยให้รู้ว่าอะไรเป็นทางหรือไม่ใช่ทาง
    ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นซึ่งปฏิทาในการปฏิบัติ
    ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความหมดจดแห่งความรู้ความเห็นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัติ
    ๘. ปัญญาวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์แห่งปัญญาเครื่องรู้
    ๙. วิมุตติวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์แห่งความหลุดพ้นจากเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2015
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ

    ๑. สัมาทิฏทิ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่ เห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    ๒. สัมมาสังกัปปะ คือความดำริชอบได้แก่ ดำริในการออกจากกามดำริในการไม่พยาบาท และดำริในการไม่เบียดเบียน ๒ ข้อนี้จัดเป็นปัญญาสิกขา
    ๓. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ คือเว้นจาการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบและเพ้อเจ้อ
    ๔. สัมมากัมมันตะ คือ การทำงานชอบคือการเว้นจาการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
    ๕. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ คือการละมิจฉาชีพดำรงชีวิตอยู่ด้วยสัมมาชีพอันถูกต้องตามกฎหมาย ศีลธรรม หน้าที่ฐานะและภาวะของแต่ละบุคคล ๓ ข้อนี้ จัดเป็นสีลสิกขา
    ๖. สัมมาวายาม คือ ความพยายามชอบ ได้แก่ พยามสำรวมระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน พยายามละบาปที่เกิดขึ้นแล้วพยายามทำกุศลให้เกิดขึ้นในสันดาน พยายามรักษากุศลที่เกิดขั้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป
    ๗. สัมมาสติ คือความระลึกชอบ ได้แก่ การระลึกถึงกาย เวทนา จิต ธรรม อันนำไปสู่ความสงบจิต จนเกิดปัญญาเห็นประจักษ์ชัดว่า กายเวทนา จิต ธรรม นี้ก็สักแต่ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา ก็เรียก กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน
    ๘. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ ความสงบจิตอันเกิดจาก ผลแห่งสมถกรรมฐานจนบรรลุฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติฌาน ตติฌาน จตุตถฌาน

    เมื่อบุคคลปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการให้บริบูรณ์แล้วจะเกิดฌานคือความรู้ขึ้น เรียกว่า สัมมาญาณ อันเป็นองค์อริยมรรคที่แท้จริง จิตของท่านผู้นั้นก็เข้าถึงสัมมาวิมุตติ คือ หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสและทุกข์โดยชอบ อันเป็นหลักการสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาพระธรรมที่มีชื่ออย่างอื่นอันทรงแสดงไว้โดยพิศดารที่กล่าวกันว่ามีถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น เมื่อจัดเป็นกลุ่มธรรมแล้ว จะสงเคราะห์เข้าในกลุ่มธรรมทั้ง ๔ ประเภทนี้ได้ทั้งหมด ซึ่งผู้ศึกษาจนเข้าใจแล้วสามารถสงเคราะห์ได้ด้วยตนเอง


    http://www.dhammathai.org/buddha/g63.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2015
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ...ว่าจะไม่เล่า...แต่ก็นะ สักหน่อยนุง

    เมื่อคืนฝันว่าไปที่ไหนไม่รู้ (ไม่รู้ทุกที) เหมือนเดินอยู่ในวัด แต่เห็นตัวเองเดินไปเดินมาท่ามกลางผู้คน เดินสวนกันไปมา มีผู้หญิงคนหนึ่งมาทักบอกว่า...รู้ตัวมั้ยว่าทรงศีลแปดเป็นปกติอยู่นะ นานแล้วด้วย

    พอได้ยินเค้าทักอย่างนั้นก็งงซิ เพราะทุกวันนี้เราก็ไม่สมาทานศีลแปดเลย เพียงสมาทานศีลห้าแต่เปลี่ยนศีลข้อกาเมฯ เป็นอพรัหมจริยาฯ ก่อนนอนทุกคืนแค่นั้นเอง

    ก็เลยก้มลงมองดูตัวเอง เพิ่งได้เห็นว่าตัวเองว่าใส่ชุดขาว แล้วผมก็สั้นแค่ต้นคอด้วย อ้าว...ใส่ชุดขาวตั้งแต่เมื่อไหร่เนี่ย จำได้ว่าตอนนอนใส่เสื้อยืดสีขาวกับกางเกงขายาวสีชมพูนี่....

    ......ก็เป็นฝันที่แปลกดีค่ะ.......
     
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ความฝันของน้องสาวค่ะ...

    น้องฝันแปลกกว่าค่ะเจ้ ฝันว่าองค์แม่มาบอกท่านแบ่งกายออกเป็น 3 ส่วนค่ะ พูดแบบนี้
    แล้วบอกว่าเจ้บำเพ็ญบารมีสมบูรณ์แล้ว ท่านจึงไม่ต้องอยู่รักษาอีกแล้ว มะคืนเจ้ใส่เสื้อลายเสือสีขาวดำ
    เห็นองค์พ่อพระศิวะมีดอกบัวชมพูบานที่ตาที่สามท่านแล้วมีดวงไฟสีเหลืองมีแสงสีส้มส่องออกมาจากบัวคือไรคะ?

    :'( :'( :'( เล่าก็เล่าไม่จบแล้วยังมาทิ้งคำถามๆ เราอีก

    ดวงตาที่สามคือปัญญาแห่งธรรม ดอกบัวสีชมพูเป็นสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ ดวงไฟสีเหลืองแสงสีส้มคือพุทธคุณค่ะ
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เมื่อวานไปหาเรื่องผู้ที่ทรงศีลแปดเป็นปกติค่ะ ก็เลยไปเจอเรื่องนี้
    อ่านไปแล้วหลายรอบอยู่เหมือนกัน ตอนแรกว่าจะไม่นำมาลง ก็ลังเลใจอยู่นานเลย
    เดี๋ยวจะลง เดี๋ยวจะไม่ลง หลายรอบค่ะ แต่พอมองเห็นว่า...
    เอาน่า...ต้องมีประโยชน์แก่ผู้อ่านแน่นอนค่ะ:cool: (จัดให้เลยค่ะ)

    อรหัตตผล (โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง)

    โอกาสนี้บรรดาท่านสาธุชนพุทธบริษัท และพระโยคาวจรทั้งหลาย ได้พากันสมาทานศีล พากันสมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อแต่นี้ไปขอท่านทั้งหลาย ได้พากันสมาทานศีล พากันสมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อแต่นี้ไปขอท่านทั้งหลายโปรดตั้งใจสดับคำ การศึกษาซึ่งจะแนะนำในด้าน อรหัตตผล สำหรับภาคนี้เป็นภาคของพระอรหัตผล ท่านทั้งหลายคงจะยังไม่ลืมว่า ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า สำหรับพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีเป็นผู้ทรง อธิศีล คือมีสมาธิเล็กน้อย มีปัญญาเล็กน้อย แต่ทว่าเป็นผู้มีความมั่นคงในศีล สำหรับพระอนาคามีเป็นผู้ทรงอธิจิต นี่หมายความว่าศีลของท่านบริสุทธิ์ถึงศีล 8 และก็มีจิตทรงสมาธิมั่นคงถึงฌาน 4 อย่าลืมว่าจริยา คือ อาการของพระอนาคามี ท่านผู้ทรงความเป็นพระอนาคามีนั้น จะมีศีล 8 เป็นปกติ จะสมาทานหรือไม่สมาทานไม่มีความสำคัญ ผู้มีศีลไม่ได้ถือว่าจะต้องนั่งสมาทานกันทั้งวันทั้งคืน ศีลนี่มีจริง ๆ อยู่ที่ตัวเว้น เราไม่สมาทานเลย แต่เราเว้น ที่เขาเรียกว่า วิรัช คำว่าวิรัชแปลว่า เว้น เว้นจากความชั่ว 5 ประการ ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล 5 เว้นจากความชั่ว 8 ประการ ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล 8
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ฉะนั้นท่านที่ทรงความเป็นพระอนาคามี จะมีศีล 8 เป็นปกติ เพราะว่าเป็นศีลพรหมจรรย์ จะเห็นว่าพระอนาคามีหมดกามฉันทะ หมดความโกรธ พยาบาท และปฏิฆะ คือ อารมณ์ ไม่พอใจ อารมณ์ที่สะดุดใจให้ไม่สบายเกิดขึ้น เป็นความขัดข้องไม่มีในพระอนาคามี

    สำหรับพระอรหันต์เป็นผู้ทรง อธิปัญญา รวมความว่าพระอรหันต์นี่ทรงครบศีลก็บริสุทธิ์ สมาธิก็ทรงตัวตั้งมั่น ปัญญาก็รอบรู้จริง ๆ สำหรับการปฏิบัติ เท่าที่ผมอธิบายมารู้สึกว่ามันเยิ่นเย้อเกินไป แต่ว่านั่นเป็นแนวทางแห่งคำสอน วิธีปฏิบัติจริง ๆ นี่ไม่มีใครมามุ่งพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี ก็ขั้นต้นกันจริง ๆ ก็มุ่งอรหัตตผลกันเลย เพราะว่าการมุ่งอรหัตตผลนี้ เขาถือว่าอย่างเลวที่สุดจิตจะจับไว้เฉพาะพระโสดาบันก่อนเป็นอันดับแรก เพราะว่าเป็นของง่าย

    ความจริงการทรงพระโสดาบันไม่มีอะไรจะยาก เพียงทรงศีลบริสุทธิ์ ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์เราก็เป็นมนุษย์ไม่ได้อยู่แล้ว ถ้าร่างกายเป็นมนุษย์ เขาก็ถือว่า มนุสสเปโต คือ ร่างกายเป็นมนุษย์แต่ใจเป็นเปรต มนุสสติรัจฉาโน ร่างกายเป็นมนุษย์ทว่าจิตใจเป็นสัตว์เดรัจฉาน มนุสสนิรโย ร่างกายเป็นมนุษย์ แต่จิตใจเป็นสัตว์นรก ตายแล้วก็ไปตามนั้น คำว่า มนุษย์แปลว่าผู้มีใจสูง หมายความหรือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ทรงศีล 5 หรือว่าทรงกรรมบท 10 โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านถือว่า ผู้ใดทรงกรรมบถ 10 ผู้นั้นมีความเป็นมนุษย์สมบูรณ์ เพราะว่ากรรมบถ 10 เป็นธรรมให้บุคคลไปเกิดเป็นมนุษย์
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เป็นอันว่าตอนนี้เรามาพูดกันถึงอรหัตตผล ก็ขอย้อนต้นไปถึงปลาย อันดับแรกการที่จะเข้ามาเจริญพระกรรมฐาน ก็ต้องใช้อารมณ์อย่างหนึ่ง ที่เราทิ้งไม่ได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา เป็นพระพุทธเจ้าท่านยังไม่ละ พระอรหันต์ทุกองค์ที่ทรงความเป็นอรหันต์แล้วไม่ละ นั่นก็คือสมถภาวนา 3 ประการ ได้แก่

    1. อานาปานุสสติกรรมฐาน การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เพื่อความอยู่เป็นสุขของเรา เพราะเป็นการระงับทุกขเวทนา
    2. กายคตานุสสติ สำหรับสมถะพิจารณาเห็นว่า ร่างกายมันเป็นของสกปรกโสโครกไม่ทรงตัว
    3. ขอแถมนิด พระอรหันต์ก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดี ไม่ลืมความตาย

    ตามที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา ตรัสกับพระอานนท์ว่า อานันทะ ดูกรอานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์ทูลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ข้าพระพุทธเจ้านึกถึงความตายวันหนึ่งประมาณ 7 ครั้ง พระพุทธเจ้าตรัสว่า อานันทะ ดูกรอานนท์ เธอนึกถึงความตายห่างเกินไป สำหรับตถาคตนี้นึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก

    ตอนนี้จะกันได้แล้วหรือยังว่า พื้นฐานที่จะทรงให้เราเป็นพระอริยเจ้าได้ ต้องทรงสมถะเป็นประจำ นั่นก็คือ

    1. อานาปานุสสติกรรมฐาน การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นปกติ
    2. กายคตานุสสติ เห็นว่าร่างกายนี้ไม่ทรงตัว แบ่งเป็นอาการ 32 ควบกับอสุภกรรมฐานมีความสกปรกเป็นปกติ
    3. นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ มีความรู้สึกว่าเราจะต้องตายเดี๋ยวนี้อยู่เสมอ ความประมาทมันก็ไม่มี
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เป็นอันว่าถ้าบรรดาท่านทั้งหลายทรงอารมณ์ทั้ง 3 ประการนี้ทรงตัว คำว่า ทรงตัวท่านเรียกว่าเป็นฌาน คำว่าฌานผมถือว่าคืออารมณ์ชิน อารมณ์นี้ทรงอยู่เป็นปกติในใจของเรา ถ้าทรงอารมณ์ทั้ง 3 ประการนี้ได้เป็นปกติ ถ้าท่านจะเป็นพระโสดาบัน ท่านก็เป็นได้ภายใน 7 วัน ถ้ามุ่งจะเป็นพระสกิทาคามีผมว่าไม่เกิน 15 วัน ถ้ามุ่งจะเป็นพระอนาคามีผมว่าไม่เกิน 1 เดือน ถ้ามุ่งจะเป็นพระอรหันต์ ผมว่าไม่เกิน 7 เดือน เป็นอย่างมาก เพราะอะไรก็ลองคิดดูว่า คนเราถ้าลองคิดว่า เราจะต้องตาย แล้วก็มานั่งพิจารณาในด้านวิปัสสนาญาณ ว่าการทรงชีวิตอยู่นี่มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ใช้ปัญญา อย่าใช้แต่สมถะนั่งหลับหูหลับตากันวันยังค่ำคืนยันรุ่งโดยไม่ได้ใช้ปัญญา ไม่ใช้อาการสัมผัส ไม่ใช้ตาสัมผัส ไม่ใช้หูสัมผัส ไม่ใช้กายสัมผัส ไปนั่งเงียบอยู่ในเขาลำเนาป่า อยู่แต่ในห้อง โดยเฉพาะถ้าคิดว่าจิตของตนบริสุทธิ์ เพราะว่าไม่กระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่เป็นอนิฏฐารมณ์ ไม่ต่อสู้กับความจริง ในที่สุดก็จะเป็นแบบท่านพระที่ถูกควายเขาอ่อนขวิด เมื่อเข้ามากระทบกับอารมณ์จริง ๆแล้วมันก็จะทนไม่ไหว

    ฉะนั้นการปฏิบัติจะด้านสมถะก็ดี วิปัสสนาก็ดี หวังเป็นผู้ทรงฌานโลกีย์ก็ดี ฌานโลกุตตระก็ดี เขาต้องสู้กับความจริงไม่ใช่หนีความจริง ฉะนั้นเราจะต้องมีอารมณ์สัมผัสอยู่เสมอ จะต้องไม่ประมาทในชีวิตคิดว่าเราดี ความเป็นอรหันต์มีอยู่ตรงไหน
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อันดับแรกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณา สักกายทิฎฐิ พิจารณาร่างกายคือ ขันธ์ 5 ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเรา ที่ว่าขันธ์ 5 ไม่มีในเรา ไปลงกับสมถะคำที่ว่า ตาย

    สมถะเห็นว่ากายตาย

    วิปัสสนาเห็นว่ากายพัง

    เราไม่มีอำนาจควบคุมกายให้ทรงตัว กายมันจะแก่เราห้ามแก่ไม่ได้ กายมันจะป่วยเราห้ามป่วยไม่ได้ กายมันจะตายเราห้ามตายไม่ได้ เขาทำกันยังไง วิธีเขาทำเขาใช้ปัญญา นั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ นอนอยู่ ทำกิจการงานอยู่ มีความรู้สึกอยู่เสมอว่า คนที่มีอิริยาบถอย่างเรา ๆ ที่ท่านตายไปแล้วนับไม่ถ้วน ในสถานที่ที่เรานั่งอยู่ เรายืนอยู่ เราเดินอยู่หรือเราอาศัยอยู่ ในสถานที่ที่ตรงนี้เคยมีคนตายแล้ว สัตว์ตายแล้วนับไม่ถ้วน
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ถ้าหากว่าเราตายแล้วเกิดจะมีผลอะไร ดูผลของการเกิด เกิดอยู่ในท้องแม่ก็ทุกข์ ออกมาจากท้องแม่เป็นเด็กช่วยตัวเองไม่ได้ก็ทุกข์ เป็นเด็กโตขึ้นไปหน่อยทุกสิ่งทุกอย่างต้องอาศัยแม่ อาการที่เราอาศัยท่าน ท่านมีเมตตาก็จริงแหล่ แต่ทว่าสิ่งที่ปรารถนามันไม่ค่อยจะสมหวัง เราก็เป็นทุกข์ โตขึ้นมาแล้วพ้นจากอกพ่ออกแม่ ก็ต้องประกอบกิจการงานหนัก งานทุกอย่างเป็นปัจจัยของความทุกข์ แล้วมีคู่ครอง ไม่ใช่ว่าเราจะเปลื้องความทุกข์ เราก็ไปดึงความทุกข์เข้ามา มีลูกมีหลานมากเท่าไหร่ทุกข์มากเท่านั้น เราก็แก่ลงทุกวัน ถ้าหากว่าเรายังดิ้นรนเพื่อการเกาะ มันก็ต้องเกิด เกิดเมื่อไรทุกข์เมื่อนั้น เกิดเป็นคนเป็นมนุษย์ยังดีกว่าเกิดในอบายภูมิ ถ้าเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็ทุกข์ยิ่งกว่าความเป็นคน ถ้าเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมก็พักทุกข์ชั่วคราว หมดบุญวาสนาบารมีก็ต้องกลับมาทุกข์ใหม่

    เราก็พิจารณาไปว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา โดยนำเอาสักกายทิฏฐิ กายคตานุสสติ และอสุภกรรมฐานมาควบหาความจริง ว่าร่างกายไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่เป็นแท่งทึบ ร่างกายนี้แบ่งเป็นอาการ 32 เต็มไปด้วยความสกปรกโสมม เป็นสิ่งโสโครก ถ้าใจเราปรารถนา การครองคู่มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เราอยู่ตัวคนเดียวเราก็เป็นทุกข์ ถ้าเรามีคู่ครองเราก็เพิ่มทุกข์ และใครบ้างที่จะเป็นที่พึ่งของเราไม่มี ถ้าขืนไปดึงเอากิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาก็มุ่งเอากิเลสใหญ่ หันเข้าไปดูราคะความรักในระหว่างเพศ จุดไหนบ้างเป็นของสวย ระหว่างเพื่อนในเพื่อนระหว่างเพศ ไม่มี และมีใครทรงตัวในความเป็นหนุ่มเป็นสาวบ้าง ไม่มี คนแก่เราอยากจะแต่งงานด้วยไหม อายุสัก 80 หนังก็ย่น หน้าก็ตกกระ ผมหงอก ฟันหัก ตาขาวโหล หลังโก่ง ทำอะไรไม่ไหว อยากจะแต่งงานด้วยไหม ถ้าเราไม่พอใจคนที่มีสภาพอย่างนี้ ก็จงนึกว่าเราดี คนที่เราคิดว่าจะแต่งงานด้วยก็ดี ถ้ามีอายุถึงปานนั้นแล้ว เราจะหลีกเลี่ยงได้หรือเปล่า ใช้ปัญญาพิจารณาดูให้ดี ตอนนี้เป็นตัวปัญญา
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    แล้วก็มาตอนโลภะความโลภอย่าลืมนะ คนถ้าเป็นพระอริยเจ้าหรือว่าท่านทั้งหลายปฏิบัติ ตั้งแต่ฌานโลกีย์ขึ้นมา ถ้าอารมณ์จิตเริ่มทรงฌานหรือก้าวเข้าเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ทุกระดับนี้ ฌานโลกีย์ถ้าทรงตัวลาภจะมาก ถ้ายิ่งเป็นพระอริยเจ้าก็มีลาภมากขึ้น พระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีจะรวยขึ้นตามลำดับ ถ้าถึงอรหันต์ก็รวยใหญ่ รวยตรงไหน รวยที่มันตัดโลภะความโลภ ทรงฌานโลกีย์จิตระงับความโลภ เป็นพระโสดาบันจิตเริ่มตัดความโลภ ไม่ใช่ระงับเฉย ๆ เริ่มตัด ถึงสกิทาคามีตัดความโลภมากขึ้น ถึงอนาคามีตัดความโลภเกือบหมด ถึงอรหันต์ความโลภไม่มีเหลืออยู่ในใจ เมื่อความโลภมันหมดไปลาภมันก็เกิด

    พระอริยเจ้าอยู่ที่ไหน อยู่ในป่าในดงมันก็เป็นวัด และก็คงจะไม่ใช่วัดที่โกรงเกรง จะเป็นวัดที่เต็มไปด้วยความแจ่มใส ดูตัวอย่างหลวงปู่บุญมี ที่ดอยโมคคัลลาน์ ที่นั่นคนเข้าไปหาก็แสนยาก หากขึ้นไปอยู่ใหม่ ๆ 7-8 วันจะมีคนเอาข้าวไปให้กินสักครั้งหนึ่ง คนเต็มไปด้วยความคับแคบของใจแต่ในระยะต้น ระยะหลังนี่กลับมาใหม่ เมื่อจิตดีแล้วเพียงแค่ 2 ปี วัดมีราคาเป็นล้าน คนนั้นก็อยากไปสร้างให้ คนนี้ก็อยากไปสร้างให้ ว่าท่านจะเป็นพระอริยเจ้าหรือไม่นี่ผมไม่ทราบ แต่เวลาคุยกับท่าน ท่านก็จะคุยอยู่ข้อเดียวคือ ตัดสักกายทิฏฐิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...