บารมี อจละวิทยราช

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 21 ธันวาคม 2019.

  1. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    ฝากเตือนไว้ สำหรับเรื่อง” ของ”ไอ้แมวกินปลา “ บุคคลที่ต้องห้ามในการบวช ที่ปัจจุบันได้หมดวาสนาต่อพระพุทธศาสน์ จากการกระทำด้วย กาย วาจา และใจในอดีตและปัจจุบันจนถึงการกระทำในอนาคตต่อไป จะเป็นบุคคลที่ทำให้พุทธศาสนาถูกดูหมิ่นและเกลียดชังเป็นที่ตลกขบขัน และถูกเหยียดหยามแก่ศาสนิกชนเหล่าอื่น กับการกล่าวถ้อยคำเบียดเบียนอันเป็นที่ลำบากใจในการอยู่อาศัยของสมณะสงฆ์ในทั่วสังฆมณฑล

    รับบทเป็นขุยไผ่ที่จะฆ่าต้นไผ่ กึ่งพุทธกาล! และจะไม่เป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา แม้จะอวดว่าได้สร้างมหาเปรียญฯได้นับร้อย ขึ้นชื่อว่า อหังการ แต่ผลที่แท้จริงบุคคลอัน สัทธรรมปฎิรูปเข้าถึง ไม่ใช่ฐานะที่จะนำพาพระสัทธรรมอันแท้จริงสู่ผู้อื่นได้

    และจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญล่าสุด

    อันเป็นบุคคลที่ชอบอวดอ้างต้นเป็นกูรู สอนสิ่งที่เป็นอสัทธรรม บิดเบือนพระสัทธรรม ว่าด้วยเหตุผลแห่งการตาย ไม่ได้เป็นเพราะเวรกรรม หรือ ผลของอดีตกรรม คัดค้านทั้งมหาจัตตารีสกสูตร บิดเบือน “มหา” มรณะ4 สูตรที่ขึ้นชื่อว่าด้วยเหตุแห่งความตาย ออกเผยแพร่ แก่พุทธศาสนิกชน

    และแม้ในอนาคต ผลของการปฎิบัติด้วย กาย วาจาและใจของ บุคคลอันวิปลาสผู้นี้ จะทำลายธรณีสงฆ์อีกมากมาย

    รูปธรรมะสมบัติในพระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งเดียว และได้ผลอันเป็นรสเดียว ไม่มีคำว่า จะสามารถถ่ายทอดมาได้ด้วยคุณสมบัติอื่นและนั่นย่อมเป็นรสอื่นได้

    เมื่อผู้ทำการถ่ายทอดด้วยกิเลสและตัณหา ย่อมเป็น ธรรมปลอม เป็นวลีปลอม สัตว์ที่เนื่องด้วยเห็นชอบตามอสัทธรรมอันเป็นปฏิรูปนั้นก็มีผลแห่งเศษกรรมนั่นด้วย

    ขออนุโมทนาฯ
    จงพึงระวัง!

    5 ปี ที่ยังผ่านไปไม่หมด ยังไม่ถึง 15 ปีผ่านไปหลังกึ่งพุทธกาล ยังโกลาหลเช่นนี้

    นี่พึ่งปีพุทธศักราช “2505” เองนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2022
  2. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    DCFA58F9-DA7C-4491-A450-C5389A446364.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2023
  3. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
  4. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
  5. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    55D42CA0-27A4-45A6-B1A1-3BBA71D3F0C0.jpeg ถ้ายังไม่ตายก่อน ก็อีกไม่นาน!


    อัพเดทข้อมูลไว้พิจารณา ไปพบการให้ข้อมูลสภาวะ รู้แจ้ง อสัทธรรม หรือ อวิชชา นี้ เป็นคุณสมบัติหนึ่ง ของปฎิสัมภิทาญานเช่นเดียวกัน

    ฟุโดเมียวโอ (不動明王)
    .
    ฟุโดเมียวโอของญี่ปุ่นในยุคแรกๆเป็นผู้รับใช้พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ เป็นยักษ์ที่มีลักษณะป่าเถื่อน ใช้แต่พละกำลัง คล้ายๆกับอจละเลย แต่ในตอนหลังทางญี่ปุ่นได้มีการเปลี่ยนบทบาทให้ฟุโดเมียวโอใหม่ เป็นผู้ปราบมารและมีแต่ความเมตตา รูปลักษณ์ก็ดูเป็นมนุษย์มากขึ้น

    นอกจากนี้ความแตกต่างของฟุโดเมียวโอกับอจละคือ ฟุโดเมียวโอจะมีส่วนผสมของขั้วทั้งสองอย่างอยู่ในตัวครับ เช่น รูปลักษณ์ที่ดูดุร้าย มีเขี้ยว มีดวงตาที่น่ากลัว พร้อมรัศมีเปลวเพลิง แสดงออกให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง ความกระด้าง หมายถึงอวิชชา แต่ในทางตรงกันข้ามนั้นฟุโดเมียวโอก็มีร่างกายที่เป็นแบบมนุษย์ และมีความอ่อนโยนมีเมตตา หมายถึงการรู้แจ้ง ซึ่งอวิชชาและการรู้แจ้งนั้นเป็นขั้วตรงกันข้ามเลยในความเชื่อศาสนาพุทธ



    . 41CF262A-8666-40F7-BCD8-A56C2DA7DD5B.png

    FBB0E213-8063-4749-9A49-7AA0439FF168.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2023
  6. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    บัดนี้ พึงทราบว่ามี ๓ มีวินัยเป็นต้น เพราะรวมเข้ากับปิฎกศัพท์นั้น พึงทราบว่ามี ๓ มีวินัยเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้ว่า เพราะทำสมาสกับปิฎกศัพท์ ซึ่งมีเนื้อความ ๒ อย่างนั้น อย่างนี้คือวินัยด้วย วินัยนั้นเป็นปิฎกด้วย เพราะเป็นปริยัติ และเพราะเป็นภาชนะแห่งเนื้อความนั้นๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อวินัยปิฎก. โดยนัยตามที่กล่าวแล้ว พระสูตรด้วย พระสูตรนั้นเป็นปิฎกด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสุตตันตปิฎก. อภิธรรมด้วย อภิธรรมนั้นเป็นปิฎกด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอภิธรรมปิฎก.
    ก็ครั้งทราบอย่างนี้แล้ว เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในประการต่างๆ ในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านั้นอีกครั้ง
    พึงแสดงประเภทของเทศนา ประเภทของศาสนา
    ประเภทของกถาและสิกขาปหานะ คัมภีรภาพตาม
    สมควรในปิฎกเหล่านั้น ภิกษุย่อมถึงซึ่งประเภท
    แห่งการเล่าเรียนใด ซึ่งสมบัติใด แม้ซึ่งวิบัติใด
    ในปิฎกใด ด้วยอาการใด พึงแสดงซึ่งประเภทแห่ง
    การเล่าเรียนทั้งหมดแม้นั้นด้วยอาการนั้น.
    ในคาถาเหล่านั้นมีคำอธิบายอย่างแจ่มแจ้งและชัดเจน ดังต่อไปนี้
    จริงอยู่ ปิฎก ๓ เหล่านั้น ท่านเรียกตามลำดับว่า อาณาเทศนา โวหารเทศนา ปรมัตถเทศนา ยถาปราธศาสนา ยถานุโลมศาสนา ยถาธรรมศาสนา และสังวราสังวรกถา ทิฏฐิวินิเวฐนกถา นามรูปปริจเฉทกถา.
    ก็ในปิฎก ๓ นี้ วินัยปิฎก ท่านเรียกว่า อาณาเทศนา การเทศนาโดยอำนาจบังคับบัญชา เพราะเป็นปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรออกคำสั่ง ทรงแสดงแล้วโดยความเป็นเทศนาที่มากไปด้วยคำสั่ง. สุตตันตปิฎก ท่านเรียกว่า โวหารเทศนา การเทศนาโดยบัญญัติ เพราะเป็นปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงฉลาดในเชิงสอน ทรงแสดงแล้วโดยความเป็นเทศนาที่มากไปด้วยคำสอน. อภิธรรมปิฎก ท่านเรียกว่า ปรมัตถเทศนา การเทศนาโดยปรมัตถ์ เพราะเป็นปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฉลาดในปรมัตถ์ ทรงแสดงแล้วโดยความเป็นเทศนาที่มากไปด้วยปรมัตถ์.
    อนึ่ง ปิฎกที่ ๑ (วินัยปิฎก) ท่านเรียกว่า ยถาปราธศาสนา การสั่งสอนตามความผิด เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความผิดมากมายเหล่านั้นใด สัตว์เหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งตามความผิดในปิฎกนี้. ปิฎกที่ ๒ (สุตตันตปิฎก) ที่ท่านเรียกว่า ยถานุโลมศาสนา การสั่งสอนอนุโลมตามอัธยาศัย เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยอนุสัยและจริยาวิมุตติมิใช่น้อย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนแล้วในปิฎกนี้ตามอนุโลม. ปิฎกที่ ๓ (อภิธรรมปิฎก) ท่านเรียกว่า ยถาธรรมศาสนา การสั่งสอนตามปรมัตถธรรม เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความสำคัญในสภาวะสักว่ากองแห่งปรมัตถธรรมว่า นี่เรา นั่นของเรา ดังนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนแล้ว ตามปรมัตถธรรมในปิฎกนี้.
    อนึ่ง ปิฎกที่ ๑ ท่านเรียกว่า สังวราสังวรกถา ด้วยอรรถว่าสังวราสังวระอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการฝ่าฝืน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในปิฎกนี้.
    บทว่า สํวราสํวโร ได้แก่ สังวรเล็กและสังวรใหญ่เหมือนกัมมากัมมะ การงานน้อยและการงานใหญ่ และเหมือนผลาผละ ผลไม้น้อยและผลไม้ใหญ่.
    ปิฎกที่ ๒ ท่านเรียกว่า ทิฏฐิวินิเวฐนกถา คำบรรยายคลายทิฏฐิ ด้วยอรรถว่า การคลายทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิ ๖๒ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในปิฎกนี้. ปิฎกที่ ๓ ท่านเรียกว่า นามรูปปริจเฉทกถา คำบรรยายการกำหนดนามและรูป ด้วยอรรถว่าการกำหนดนามและรูปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสมีราคะเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในปิฎกนี้.
    อนึ่ง พึงทราบสิกขา ๓ ปหานะ ๓ และคัมภีรภาวะ ๔ อย่างในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านี้ ดังต่อไปนี้. จริงอย่างนั้น อธิสีลสิกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยเฉพาะในวินัยปิฎก อธิจิตตสิกขา ตรัสไว้โดยเฉพาะในสุตตันตปิฎก อธิปัญญาสิกขา ตรัสไว้โดยเฉพาะในอภิธรรมปิฎก.
    อนึ่ง การละกิเลสอย่างหยาบ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวินัยปิฎก เพราะศีลเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสอย่างหยาบ. การละกิเลสอย่างกลางตรัสไว้ในสุตตันตปิฎก เพราะสมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสอย่างกลาง. การละกิเลสอย่างละเอียด ตรัสไว้ในอภิธรรมปิฎก เพราะปัญญาเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสอย่างละเอียด. อนึ่ง การละกิเลสชั่วคราว ตรัสไว้ในปิฎกที่ ๑ การละกิเลสด้วยข่มไว้ และการละกิเลสเด็ดขาด ตรัสไว้ในปิฎกทั้ง ๒ นอกนี้. การละสังกิเลสคือทุจริต ตรัสไว้ในปิฎกที่ ๑ การละสังกิเลสคือตัณหาและทิฏฐิ ตรัสไว้ในปิฎกทั้ง ๒ นอกนี้.
    ในปิฎก ๓ นี้ พึงทราบว่าแต่ละปิฎกมีคัมภีรภาวะทั้ง ๔ คือความลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนาและโดยปฏิเวธ.
    ในคัมภีรภาวะทั้ง ๔ นั้น ธรรมได้แก่บาลี อรรถได้แก่เนื้อความของบาลีนั้นแหละ เทศนาได้แก่การแสดงซึ่งบาลีนั้นอันกำหนดไว้อย่างดีด้วยใจ ปฏิเวธได้แก่ความหยั่งรู้บาลี และเนื้อความของบาลีตามความเป็นจริง.
    ก็เพราะธรรม อรรถ เทศนาและปฏิเวธเหล่านี้ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ ผู้มีปัญญาน้อยทั้งหลายหยั่งรู้ได้ยาก และเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนมหาสมุทร สัตว์เล็กทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้น พึ่งไม่ได้ฉะนั้น จึงเป็นของลึกซึ้ง.


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5064.jpeg
      IMG_5064.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      298.8 KB
      เปิดดู:
      43
  7. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    จับตาดูให้ดีๆ. หว่านแหลงอวนตาถี่กวาดทั้งสังฆมณฑล
    โจทด้วยคำไม่จริงไม่เดือดร้อน! ผู้โจทกลับต้องเดือดร้อนเอง

    ด้วยอานุภาพแห่งการร่ำเรียนพระธรรม ทำให้บุคคลเปลี่ยนแปลงเป็นเช่นนี้ได้ ช่างน่าอัศจรรย์ใจจริงๆ /ป่านนี้ เหล่า อชีวกะ เดียร์ถีย์ ปริพาชก คงหัวเราะร่า



    กาฝากก็มีอยู่จริง แต่เป็นแม่กาเผือก! จบนะ








    อุพพาหสูตร

    ****อสัตบุรุษไม่มีความสามารถในข้อนี้เพราะเหตุไร? ก็เพราะเป็นผู้ชื่นชอบการสร้างเหตุแห่งอธิกรณ์**** ไม่ใช่ผู้มีความสามารถดับอธิกรณ์

    อธิกรณ์ ในคำวัดใช้หมายถึงสาเหตุ คดีเรื่องราว ปัญหา ความยุ่งยาก กิจกรรมที่เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์
    ๑. วิวาทาธิกรณ์ คือวิวาท ได้แก่การเถียงกันปรารภพระธรรมวินัยนี้ จะต้องได้รับชี้ขาดว่าถูกว่าผิด หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการถกเถียงกันด้วยเรื่องพระธรรมวินัย
    ๒. อนุวาทาธิกรณ์ คือ ความโจทกล่าวหากันด้วยปรารภพระธรรมวินัยนี้จะต้องได้รับชี้ขาดว่าถูกว่าผิดหรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการถกเถียงกันด้วยเรื่องอาบัติ
    ๓. อาปัตตาธิกรณ์ คือ กิริยาที่ต้องอาบัติหรือถูกปรับอาบัตินี้จะต้องทำคืน คือทำให้พ้นโทษ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการถกเถียงกันด้วยเรื่องการปรับอาบัติและวิธีการออกหรือพ้นจากอาบัติ
    ๔. กิจจาธิกรณ์ คือกิจธุระที่สงฆ์จะพึงสามัคคีร่วมกันทำ เรียกว่า สังฆกรรม เช่นให้อุปสมบทนี้จะต้องทำให้สำเร็จ

    อุพพาหสูตร
    อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอแลสงฆ์พึงสมมติเพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ ฯ
    พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการแล สงฆ์พึงสมมติเพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑
    เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้สดับมาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ปาติโมกข์ทั้ง ๒ เป็นอุเทศอันภิกษุนั้นจำดีแล้ว จำแนกดีแล้ว กล่าวดีแล้ว โดยพิสดาร วินิจฉัยดีแล้วโดยสูตรโดยอนุพยัญชนะ ๑ อนึ่ง ภิกษุนั้นเป็นผู้เคร่งครัดในวินัยไม่ง่อนแง่น ๑ เป็นผู้สามารถเพื่ออันยังคู่ความทั้ง ๒ ฝ่ายให้ยินยอม ให้ตรวจดู ให้เห็นเหตุผล ให้เลื่อมใสได้ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้นให้ระงับ ๑ รู้อธิกรณ์ ๑ รู้เหตุเป็นที่เกิดขึ้นแห่งอธิกรณ์ ๑ รู้ความดับแห่งอธิกรณ์ ๑รู้ทางปฏิบัติเป็นเครื่องถึงความดับอธิกรณ์ ๑ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม๑๐ ประการนี้แล สงฆ์พึงสมมติเพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5068.jpeg
      IMG_5068.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      175.8 KB
      เปิดดู:
      44
    • IMG_5051.jpeg
      IMG_5051.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      54 KB
      เปิดดู:
      39
    • IMG_5048.jpeg
      IMG_5048.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      173.8 KB
      เปิดดู:
      45
    • IMG_5049.jpeg
      IMG_5049.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      110.7 KB
      เปิดดู:
      44
    • IMG_5050.jpeg
      IMG_5050.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      97.6 KB
      เปิดดู:
      43
    • IMG_5074.jpeg
      IMG_5074.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      121.9 KB
      เปิดดู:
      38
    • IMG_4943.jpeg
      IMG_4943.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      70.6 KB
      เปิดดู:
      42
  8. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    #ความเดือดร้อนไม่มีในผู้มีจิตใจสงบสำรวมระวัง! แต่ผู้โจทผิดย่อมเดือดร้อนทั้งปัจจุบันและสัมปรายภพหน้า

    อวชฺเช วชฺชมติโน
    วชฺเช อวชฺชทสฺสิโน
    มิจฺฉาทิฏฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคตึ ฯ

    วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา
    อวชฺชญฺจ อวชฺชโต
    สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา
    สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ ฯ

    สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หาโทษมิได้
    มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ”

    สัตว์ทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมมีโทษ
    รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้
    เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ
    ย่อมไปสู่สุคติ.

    โจทนาสูตร
    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการไว้ภายในก่อนแล้วจึงโจทผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ธรรมว่า เราจักกล่าวโดย
    กาลควร จักไม่กล่าวโดยกาลไม่ควร ๑
    จักกล่าวด้วยเรื่องจริง จักไม่กล่าวด้วยเรื่องไม่จริง ๑
    จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ ๑
    จักกล่าวด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
    จักเป็นผู้มีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เป็นผู้เพ่งโทษกล่าว ๑
    ดูกรอาวุโสภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ภายในก่อนแล้วจึง
    โจทผู้อื่น ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ถูกผู้อื่นโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องไม่จริง
    ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วย
    เมตตาจิต ก็โกรธ ฯ

    ดูกรอาวุโส ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ
    ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาล
    ควร ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลควร ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่าน
    จึงควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำอ่อนหวาน ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่โจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรเดือดร้อน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน

    ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะว่า ภิกษุแม้รูปอื่นไม่พึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องไม่จริง ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ถูกโจทโดยกาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ก็โกรธ

    ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ก็โกรธ ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบก็โกรธ

    ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยเพ่งโทษก็โกรธ ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ คือ

    ท่านถูกโจทโดยกาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ท่านถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบ
    ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจท
    ด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรเดือดร้อน

    ดูกรอาวุโสทั้งหลายความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ นี้ ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทโดยเป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ

    ท่านโจทโดยกาลควร ไม่โจทโดยกาลไม่ควรท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่โจทด้วยคำหยาบ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน

    ท่านโจทด้วยเมตตาจิต ไม่โจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อนภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะว่าภิกษุแม้รูปอื่นพึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องจริง ฯ
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย อันบุคคลผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือความจริง และความไม่โกรธ ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย (ถ้า) ผู้อื่นพึงโจท (เรา) ด้วยธรรม ๕ ประการ
    คือ พึงโจทโดยกาลควรหรือโดยกาลไม่ควร ๑
    ด้วยเรื่องจริงหรือด้วยเรื่องไม่จริง ๑
    ด้วยคำอ่อนหวานหรือด้วยคำหยาบ ๑
    ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือ
    ด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
    ด้วยเมตตาจิตหรือด้วยเพ่งโทษ ๑
    แม้เราก็พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริงและความไม่โกรธ ถ้าเราพึงทราบว่าธรรมนั้นมีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่า มีอยู่ ว่าธรรมนั้นมีอยู่พร้อมในเรา ถ้าเราพึงทราบว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่า
    ไม่มีอยู่ ว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่พร้อมในเรา ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เรื่องก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แต่ว่า

    โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับโดยเคารพ ฯ

    สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มิใช่ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด
    มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่งเหลาะแหละ ปากกล้า พูดพล่าม ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เพ่งถึงความเป็นสมณะ

    ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิดทอดธุระในวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีสติเลอะเลือน ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มีจิตมั่นคง มีจิตฟุ้งซ่าน มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย คนเหล่านั้น
    เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่รับโดยเคารพ

    ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่เหลาะแหละ
    ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
    รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร เพ่งถึงความเป็นสมณะ

    มีความเคารพกล้าในสิกขา ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน
    ทอดธุระในการล่วงละเมิดเป็นหัวหน้าในวิเวก
    ปรารภความเพียร อบรมตน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะมีจิตมั่นคง มีจิตเป็นหนึ่ง มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย กุลบุตรเหล่านั้นเมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ย่อมรับโดยเคารพ ฯ

    พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย จงยกไว้ (ยกเว้น) ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย

    ดูกรสารีบุตร เธอพึงว่ากล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจรรย์ จงพร่ำสอนเพื่อนพรหมจรรย์ ด้วยหวังว่าเราจักยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรมเธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล สารีบุตร ฯ
    จบสูตรที่ ๗

    พระอัครสาวกพาภิกษุ ๕๐๐ กลับ
    สมัยนั้น พระเทวทัตอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม แล้วนั่งแสดงธรรมอยู่ เธอได้เห็นพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ มาแต่ไกล จึงเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เห็นไหม ธรรมเรากล่าวดีแล้ว พระสารีบุตรโมคคัลลานะอัครสาวกของพระสมณโคดม พากันมาสู่สำนักเรา ต้องชอบใจธรรม
    ของเรา เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ ได้กล่าวกะพระเทวทัตว่า ท่านเทวทัต ท่านอย่าไว้วางใจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เพราะเธอทั้งสองมีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแก่ความปรารถนาลามก พระเทวทัตกล่าวว่าอย่าเลย คุณ ท่านทั้งสองมาดี เพราะชอบใจธรรมของเรา

    ลำดับนั้น ท่านพระเทวทัตนิมนต์ท่านพระสารีบุตรด้วยอาสนะกึ่งหนึ่งว่ามาเถิด ท่านสารีบุตร นิมนต์นั่งบนอาสนะนี้ ท่านพระสารีบุตรห้ามว่า อย่าเลยท่าน
    แล้วถืออาสนะแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ถืออาสนะแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พระเทวทัตแสดงธรรมกถาให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง หลายราตรี แล้วเชื้อเชิญท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งกะท่าน เราเมื่อยหลังจักเอน ท่านพระสารีบุตรรับคำพระเทวทัตแล้ว ลำดับนั้น พระเทวทัตปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วจำวัตรโดยข้างเบื้องขวาเธอเหน็ดเหนื่อยหมดสติสัมปชัญญะ ครู่เดียวเท่านั้น ก็หลับไป ฯ

    ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอน พร่ำสอนภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอน พร่ำสอน ภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถาอันเป็นอนุศาสนีเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ขณะเมื่อภิกษุเหล่านั้นอันท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ด้วยอนุศาสนีเจือด้วยอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอันท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ ด้วยอนุศาสนีเจือด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ ดวงตาเห็นธรรมที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ท่านทั้งหลาย เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้ใดชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ผู้นั้นจงมา

    ครั้งนั้น พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ พาภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นเข้าไปทางพระเวฬุวัน
    ครั้งนั้น พระโกกาลิกะปลุกพระเทวทัตให้ลุกขึ้นด้วยคำว่าท่านเทวทัต ลุกขึ้นเถิด พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะพาภิกษุเหล่านั้นไปแล้ว เราบอกท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าไว้วางใจพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ เพราะเธอทั้งสองมีความปรารถนาลามก ถึงอำนาจความปรารถนาลามกครั้งนั้น โลหิตร้อนได้พุ่งออกจากปากพระเทวทัต ในที่นั้นเอง ฯ

    ครั้งนั้น พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลาย พึงอุปสมบทใหม่

    พ. อย่าเลย สารีบุตร เธออย่าพอใจการอุปสมบทใหม่ของพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายเลย ดูกรสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายแสดงอาบัติถุลลัจจัย ก็เทวทัตปฏิบัติแก่เธออย่างไร
    ส. พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วได้รับสั่งกะข้าพระพุทธเจ้าว่า ดูกรสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะแล้ว ธรรมีกถาของภิกษุทั้งหลายจงแจ่มแจ้งแก่เธอ เราเมื่อยหลัง ดังนี้ ฉันใด พระเทวทัต ก็ได้ปฏิบัติฉันนั้นเหมือนกัน พระพุทธเจ้าข้า ฯ

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่อยู่ในราวป่า ช้างทั้งหลายอาศัยสระนั้นอยู่และพวกมันพากันลงสระนั้น เอางวงถอนเหง้าและรากบัวล้างให้สะอาดจนไม่มีตมแล้วเคี้ยวกลืนกินเหง้าและรากบัวนั้น เหง้าและรากบัวนั้น ย่อมบำรุงวรรณะและกำลังของช้างเหล่านั้น และช้างเหล่านั้นก็ไม่เข้าถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตายมีข้อนั้นเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนลูกช้างตัวเล็กๆ เอาอย่างช้างใหญ่เหล่านั้นและพากันลงสระนั้น เอางวงถอนเหง้าและรากบัวแล้วไม่ล้างให้สะอาดเคี้ยวกลืนกินทั้งที่มีตม เหง้าและรากบัวนั้น ย่อมไม่บำรุงวรรณะและกำลังของลูกช้างเหล่านั้นและพวกมันย่อมเข้าถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทัตเลียนแบบเราจักตายอย่างคนกำพร้า อย่างนั้นเหมือนกัน ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประพันธคาถา ว่าดังนี้
    เมื่อช้างใหญ่คุมฝูง ขุดดิน กินเหง้าบัวอยู่ในสระใหญ่ ลูกช้างกินเหง้าบัวทั้งที่มีตมแล้วตาย ฉันใด เทวทัตเลียนแบบเราแล้ว จักตายอย่างคนกำพร้า ฉันนั้น ฯ

    IMG_5024.jpeg
     
  9. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    รีรันเพื่อความอุ่นใจ ระดับปฎิเวธ



    กำลังสมาธิเห็นแค่นี้! อยู่ในระดับใดครับ ของ ฌาน อภิญญาฯหรือเป็นแค่พวกขี้อวดโอ้มีแต่ราคาคุย <น้ำจิ้ม 3 เรื่อง3 เคส /จับเป้า/ชี้ทิศทาง/การณ์ล่วงหน้า> ยังไม่รวมวิฯ ,บินเดี่ยว ปะทะ 1/3,เรื่องอดีตทำนายอายุขัย ทักใคร เตือนใครตายเรียบนับ10ฯลฯ

    #พึงอยากแสดงให้เห็นว่า ผลของการปฎิบัติธรรม คุณวิเศษนั้นมีอยู่จริง ให้รีบเร่งบำเพ็ญเพียร สั่งสมบุญบารมี

    สามัญผลมีแน่นอน!

    ปล.ถ้าของปลอม เละ!

    IMG_5093.jpeg IMG_5094.jpeg IMG_5095.jpeg IMG_5096.jpeg IMG_5097.jpeg IMG_5101.jpeg IMG_5100.jpeg IMG_5099.jpeg IMG_5098.jpeg IMG_5102.jpeg

    ยังมีอีกหลายเคส !

    แต่ละเคสเป็นผู้มีส่วนร่วมและช่วยชีวิตและกู้ร่างผู้ประสบภัย

    เคส ชคต.แจ้งล่วงหน้า 1 อาทิตย์ ระบุจุด สุดท้าย ไม่รอด!

    เตือนแล้วว่า กระสุนตกผิดปกติ ลักษณะหว่าน!โดน ล่อซื้อ วิ่งไปช่วยแทบไม่ทัน! เลือดท่วมตัวเวลาหามออกมา
    ต้องคุ้มกัน คนนับ 10 คนเดียว เวลาระเบิดต่อหน้า








    IMG_5105.jpeg IMG_5104.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2024
  10. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    ก่อนทำสมาธิทุกครั้ง ให้ละวิตก ๓ อย่างให้ได้ก่อน!

    หากทำสมาธิร่วมกันในหมู่มาก ควรแยกห้อง ระดับการนั่งยาวนานและสั้นออกจากกัน อย่านั่งรวมกัน อย่ารีบเร่ง ในการวางแผนนั่ง และต้องทำกิจกรรมอื่นๆต่อเนื่อง เพราะอาจรบกวนสภาวะของผู้เข้าถึงที่เดินทางข้ามกาลเวลาในสุญญตาธรรมได้ นี่กล่าวไว้เฉพาะสำหรับผู้สามารถเข้าถึงเพียงเท่านั้น!

    ไม่อย่างนั้นจะเป็นมิจฉาสมาธิ มิจฉาวิมุตติ

    ด้วยเหตุนี้เหล่าอนาคาริกผู้ไร้บ้านจึงได้ประโยชน์มากกว่า!

    แม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นยังเป็นพระมหาโพธิสัตว์อยู่ก็ทรงบัญญัติ วิตก ๓ ประการที่ควรละ ก่อนการทำสมาธิ ในการตรัสรู้ธรรม

    เจริญเมตตา เจริญสติความระลึกในคุณพระรัตนตรัย ฯลฯ

    ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับ อินทรีย์ธาตุและบุญบารมีธรรมที่สั่งสมมาแต่ละบุคคล

    จิตบริสุทธิ์ต่อพระสัทธรรมจึงสามารถบรรลุได้

    จิตไม่บริสุทธิ์ต่อพระสัทธรรมไม่มีทางบรรลุ

    ได้ครูบาอาจารย์ที่ไม่มีคุณสมบัติ คนตาม สากัจฉสูตร ๕ ไม่ได้เป็นพระอเสขะเจ้า ไม่ได้เป็นเหล่าปฎิสัมภิทา ไม่มีวันได้บรรลุ ตามปุคละบัญญัติ ๗ แน่นอน!

    ปริยัติงูพิษอบายภูมิเป็นที่ไปทางเดียว!

    ขอท่านทั้งหลายจงมีความเพียรเร่งสั่งสมบุญบารมีมุ่งเข้าสู่ทิพยภูมิ

    เหตุแห่งอภินิหาร (เหตุให้ได้บรรลุเป็นพระอริยสาวก)
    **************
    ...และแก่พระโพธิสัตว์ผู้เป็นสาวกผู้ตั้งปณิธานไว้ด้วยสามารถแห่งความปรารถนาอันประกอบแล้วด้วยองค์ ๒ คือ อธิการ ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑ ก็ฉันนั้น

    เพราะเหตุใด ? เพราะญาณยังไม่สุกเต็มที่.

    อธิบายว่า ปัญญาบารมีที่ส่งเสริมเพิ่มเติมด้วยบารมีทั้งหลายมีทานบารมีเป็นต้น ของพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายแม้เหล่านี้ ย่อมตั้งท้อง ถึงความสุกงอม ยังพระพุทธญาณให้บริบูรณ์โดยลำดับฉันใด ปัญญาบารมีที่ส่งเสริมเพิ่มเติมด้วยบารมีทั้งหลายมีทานบารมีเป็นต้น (ของพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตั้งท้อง ถึงความสุกงอม ยังพระปัจเจกโพธิญาณและสาวกโพธิญาณให้บริบูรณ์ตามสมควรโดยลำดับ.

    แท้จริง โดยการสั่งสมทานไว้ ท่านเหล่านี้จึงเป็นผู้มีใจไม่ข้องอยู่ในกิเลสทั้งปวง เป็นผู้มีจิตไม่เพ่งเล็ง เพราะมีอัธยาศัยไม่ละโมบในภพนั้นๆ โดยการสั่งสมศีลไว้ จึงเป็นผู้มีกายวาจาและการงานบริสุทธิ์ด้วยดี เพราะมีกายวาจาสำรวมดีแล้ว มีอาชีพบริสุทธิ์ มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ย่อมตั้งจิตมั่นด้วยชาคริยานุโยค การประกอบความเพียรของท่านเหล่านั้น

    นี้พึงทราบด้วยสามารถแห่งปัจจาคติกวัตรที่ทำไว้แล้ว.

    ก็สมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ อภิญญา ๖ และบุพภาควิปัสสนาอันเป็นอธิษฐานธรรม ย่อมอยู่ในเงื้อมมือ ของท่านผู้ปฏิบัติอยู่เช่นนี้ได้โดยไม่ยากทีเดียว ส่วนคุณธรรมมีความเพียรเป็นต้น ก็หยั่งลงสู่ภายในแห่งบุพภาควิปัสสนานั้นทีเดียว.

    ก็ความอดทนอย่างยิ่ง ในการบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น เพื่อปัจเจกโพธิญาณ หรือสาวกโพธิญาณ นี้ชื่อว่าวิริยะ. ความอดทนต่อความโกรธนั้นใด นี้ชื่อว่าขันติ. การให้ทาน การสมาทานศีลเป็นต้น และการไม่กล่าวให้คลาดเคลื่อน (จากความเป็นจริง) อันใด นี้ชื่อว่าสัจจะ. การอธิษฐานใจที่ไม่หวั่นไหวแน่วแน่ อันให้สำเร็จประโยชน์ในที่ทั่วไปนั่นแหละ ชื่อว่าอธิษฐาน. การมุ่งประโยชน์ในหมู่สัตว์ อันเป็นพื้นฐานของความเป็นไปแห่งทานและศีลเป็นต้น นี้ชื่อว่าเมตตา. การวางเฉยในประการที่ไม่เหมาะสมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว ชื่อว่าอุเบกขา.

    ดังนั้น เมื่อทาน ศีล ภาวนา และศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ บารมีทั้งหลายมีวิริยบารมีเป็นต้น ย่อมชื่อว่าสำเร็จแล้วทีเดียว ด้วยอาการอย่างนี้.

    ปฏิปทามีทานเป็นต้นเพื่อประโยชน์แก่ปัจเจกโพธิญาณก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สาวกโพธิญาณก็ดี นั้นแหละชื่อว่าภาวนา เพราะอบรมคือบ่มสันดานของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น.

    ปฏิปทาอันเนื่องด้วยสมถะและวิปัสสนา ที่เป็นไปแล้วในสันดานอันทานและศีลปรุงแต่งดีแล้วโดยพิเศษ เป็นเหตุให้พระโพธิสัตว์เหล่านั้นสมบูรณ์ด้วยธรรมเป็นที่ประชุมแห่งการบำเพ็ญเพียรในเบื้องต้น.

    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

    ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้ย่อมมี
    ในการบำเพ็ญเพียรเบื้องต้น ๕ ประการคืออะไรบ้าง?
    ดูก่อนอานนท์ คือผู้บำเพียรเบื้องต้นในพระธรรมวินัย
    นี้ ย่อมชื่นชมพระอรหัตผลในปัจจุบันนี้แหละ พลันที
    เดียว ๑ ถ้ายังไม่ได้ชื่นชมอรหัตผลในทิฏฐธรรม โดย
    พลัน ต่อมาในมรณสมัย จะได้ชื่นชมพระอรหัตผล ๑
    ต่อไปเป็นเทพบุตร จะได้ชื่นชมพระอรหัตผล ๑ ต่อไป
    จะได้เป็นผู้ตรัสรู้โดยฉับพลัน ในที่เฉพาะพระพักตร์
    พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑ ดังนี้

    ด้วยประการดังพรรณนามานี้ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีอัตภาพอันอบรมแล้ว ด้วยการอบรมธรรมเป็นเครื่องถึงซึ่งฝั่ง อันเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น ด้วยสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา และด้วยมรรคภาวนา กล่าวคือการตรัสรู้อันเป็นนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมได้ชื่อว่ามีตนอันอบรมแล้ว.
    ในวิเศษบุคคลเหล่านั้น สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านประสงค์เอาในที่นี้.
    ............
    ข้อความบางตอนใน นิทานกถาวรรณนา อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา เอกกนิบาต http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26.0&i=137&p=2
    IMG_5106.jpeg IMG_5107.jpeg IMG_5108.jpeg
     
  11. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    #อ้างเนื้อความ ปาสาธิกสูตร / ปฎิสัมภิทามรรค

    “ผู้ที่สามารถเข้าถึงอรรถและพยัญชนะ อันเป็นโลกุตระธรรม!

    มีเพียง 4

    1.พระสัมมาสัมพุทธเจ้า -พระปัจเจกพุทธเจ้า

    2.พระอริยะสาวก ผู้มีบทอันเห็นแล้ว พระโสดาบันขึ้นไปฯ

    3.ผู้บรรลุปฎิสัมภิทาญาน1-16

    4.พระโพธิสัตว์-พระมหาโพธิสัตว์

    นี่คือความรู้ความเข้าใจของเหล่าปฎิสัมภิทาผู้มีหน้าที่ปกป้องรักษาพระไตรปิฎก

    คำถาม :ด้วย ฌาน อภิญญา สมาธิ ตามแบบพระพุทธเจ้าที่ท่านมีอยู่ และจะพึงมี ท่านจะเอาความรู้ความสามารถใด ไปชี้ความผิดถูกของอรรถและพยัญชนะในพระไตรปิฎกได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือบริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี
    ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ
    แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึงอนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว
    ไม่สอบสวนไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถาม
    แนะนำไม่ดื้อด้านเป็นไฉน
    ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ
    ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ ฯ

    ตตฺร ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเป ญาณํ ความว่า ความรู้แตกฉานในคำพูด คำกล่าว คำที่เปล่งถึงสภาวนิรุตติอันเป็นโวหารที่ไม่ผิดเพี้ยนทั้งในอรรถและในธรรมนั้น, ในคำพูดอันเป็นสภาวนิรุตติของพระอริยบุคคลผู้ทำสภาวนิรุตติศัพท์ที่เขาพูดแล้ว กล่าวแล้ว เปล่งออกแล้ว ให้เป็นอารมณ์แล้ว พิจารณาอยู่, ในมาคธีมูลภาษาของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นสภาวนิรุตติ เพราะสภาวนิรุตตินั้น บัณฑิตรับรองว่าเป็นธรรมนิรุตติอย่างนี้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา.
    ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่ามีสัททะคือเสียงเป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร? เพราะพระอริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูดว่า ผสฺโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.
    แม้ในสภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
    ถามว่า ก็พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานี้จะรู้หรือไม่ รู้คำอื่นคือเสียงแห่งพยัญชนะอันกล่าวถึงนาม, อาขยาต, อุปสัค, และนิบาต.
    ตอบว่า พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานั้น ครั้นได้ยินเสียงแล้วก็รู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ด้วยเหตุสำคัญอันใด, ก็จักรู้คำนั้นด้วยเหตุสำคัญอันนั้น.

    เพราะเหตุดังนี้นั่นแหละ จุนทะ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นใด อัน
    เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง บริษัททั้งหมดเทียว พึงพร้อมเพรียงกันประชุมรวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ ในธรรมเหล่านั้นโดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงเป็นไปตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนานพรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรจุนทะ ก็ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น อันเราแสดงแล้วด้วยความรู้ยิ่งเป็นไฉน ที่บริษัททั้งหมดเทียว พึงพร้อมเพรียงกันประชุมรวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ โดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงตั้งอยู่ตลอดกาลยืดยาวตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไป
    เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    คืออะไรบ้าง คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ดูกรจุนทะ ธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล อันเราแสดงแล้วด้วยความรู้ยิ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่บริษัททั้งหมดเทียว พึงพร้อมเพรียงกันประชุม
    รวบรวมตรวจตราอรรถด้วยอรรถ พยัญชนะด้วยพยัญชนะ โดยวิธีที่พรหมจรรย์นี้จะพึงตั้งอยู่ตลอดกาลยืดยาว ตั้งมั่นอยู่สิ้นกาลนาน พรหมจรรย์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่
    ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ

    ดูกรจุนทะ ก็บริษัทเหล่านั้นแล พึงพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานกันไม่วิวาทกัน ศึกษาเถิด สพรหมจารีสงฆ์ผู้ใดผู้หนึ่งพึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า อาวุโส ท่านผู้มีอายุนี้แล ถือเอาอรรถนั่นแหละผิด และยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายผิด ดังนี้ เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะเหล่านี้หรือพยัญชนะเหล่านั้นของอรรถนี้เหล่าไหนจะสมควรกว่ากัน อรรถนี้หรืออรรถนั่นของพยัญชนะเหล่านี้ อย่างไหน
    จะสมควรกว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะเหล่านี้แหละของอรรถนี้สมควรกว่า และอรรถนี้แหละของพยัญชนะเหล่านี้สมควรกว่า สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอไม่พึงยินดี ไม่พึงรุกราน ครั้นแล้วสพรหมจารี
    นั้นแหละ อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดี เพื่อไตร่ตรองอรรถนั้นและพยัญชนะเหล่านั้น ฯ

    ดูกรจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า ท่านผู้มีอายุนี้แลถือเอาอรรถเท่านั้นผิด ยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายชอบ ดังนี้ เธอทั้งหลายไม่พึง
    ยินดี ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส อรรถนี้หรืออรรถนั่นของพยัญชนะเหล่านี้อย่างไหนจะสมควรกว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส อรรถนี้แหละของ
    พยัญชนะเหล่านี้สมควรกว่า สพรหมจารีนั้น อันพวกเธอไม่พึงยกย่อง ไม่พึงรุกราน ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นแหละ อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดี เพื่อไตร่ตรองอรรถนั้น ฯ

    ดูกรจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า ท่านผู้มีอายุนี้แลถือเอาอรรถเท่านั้นชอบ ยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายผิด ดังนี้ พวกเธอทั้งหลาย
    ไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านต่อสพรหมจารีนั้น สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส พยัญชนะเหล่านี้เทียว หรือว่าพยัญชนะเหล่านั้นของอรรถนี้เหล่าไหนจะสมควรกว่ากัน หากว่าสพรหมจารีนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พยัญชนะ
    เหล่านี้แหละ ของอรรถนี้แล สมควรกว่า สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอไม่พึงยกย่อง ไม่พึงรุกราน ครั้นแล้วสพรหมจารีนั้นแหละ อันพวกเธอพึงให้รู้ด้วยดีเพื่อไตร่ตรองพยัญชนะเหล่านั้นนั่นเทียว ฯ

    ดูกรจุนทะ ถ้าสพรหมจารีสงฆ์แม้อื่นอีก พึงกล่าวธรรม หากว่าในภาษิตของสพรหมจารีนั้น คำอย่างนี้พึงมีแก่เธอทั้งหลายว่า ท่านผู้มีอายุนี้แลถือเอาอรรถนั่นแหละชอบ ยกขึ้นซึ่งพยัญชนะทั้งหลายก็ชอบ ดังนี้ เธอทั้งหลาย
    พึงชื่นชม พึงอนุโมทนาภาษิตของสพรหมจารีนั้นว่า ดีแล้ว สพรหมจารีนั้นอันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส เป็นลาภของเราทั้งหลาย อาวุโส พวกเราได้ดีแล้วที่จักระลึกถึงท่านผู้มีอายุ ผู้เป็นสพรหมจารีเช่นท่าน ผู้เข้าถึงอรรถ ผู้เข้า
    ถึงพยัญชนะอย่างนี้ ดังนี้ ฯ

    IMG_5295.jpeg
     
  12. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    #พุทธวจนะที่แท้จริงมาจากปฎิสัมภิทาญานเท่านั้น

    “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก
    รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลง สู่ความตรึก
    ละเอียดเป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง
    ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้
    เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
    เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้ ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เราจะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”

    {O} ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต {O}
    ๑) มังสจักษุ ๑) ทิพยจักษุ ๒) ปัญญาจักษุ ๔) พุทธจักษุ ๕) สมันตจักษุ

    จักษุมี ๒ อย่าง คือ มังสจักษุ ๑ ปัญญาจักษุ ๑.

    ฝ่ายมังสจักษุ มี ๒ อย่าง คือ สสัมภารจักษุ ๑, ปสาทจักษุ ๑.
    ก้อนเนื้ออันใดตั้งอยู่ที่เบ้าตา พร้อมด้วยหนังหุ้มลูกตาภายนอกทั้ง ๒ ข้าง เบื้องต่ำกำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา เบื้องบนกำหนดด้วยกระดูกคิ้ว ผูกด้วยเส้นเอ็นอันออกจากท่ามกลางเบ้าตาโยงติดไปถึงสมองศีรษะ วิจิตรด้วยมณฑลแห่งตาดำล้อมรอบด้วยตาขาว ก้อนเนื้อนี้ชื่อว่าสสัมภารจักษุ.

    ส่วนความใสอันใดเกี่ยวในสสัมภารจักษุนี้ เนื่องในสสัมภารจักษุนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ มีอยู่, ความใสนี้ ชื่อว่าปสาทจักษุ.

    ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาปสาทจักษุ นี้. ปสาทจักษุนี้นั้น โดยประมาณก็สักเท่าศีรษะเล็นอาศัยธาตุทั้ง ๔ อาบเยื่อตาทั้ง ๗ ชั้น ดุจน้ำมันที่ราดลงที่ปุยนุ่น ๗ ชั้น อาบปุยนุ่นทุกชั้นอยู่ฉะนั้น ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตในวิถีมีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้น ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง เป็นที่เกิดขึ้นแห่งสรีรสัณฐาน ที่อยู่ตรงหน้าในท่ามกลางแววตาดำที่แวดล้อมด้วยมณฑลตาขาว แห่งสสัมภารจักษุนั้น.

    ในจักษุทั้ง ๒ นั้น ปัญญาจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ๑, สมันตจักษุ ๑, ญาณจักษุ ๑, ทิพยจักษุ ๑, ธรรมจักษุ ๑.
    คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดูสัตวโลก ได้เห็นแล้วแลด้วยพุทธจักษุ๑- ดังนี้ ชื่อว่าพุทธจักษุ.

    คำนี้ว่า สัพพัญญุตญาณ เรียกว่าสมันตจักษุ๒- ดังนี้ ชื่อว่าสมันตจักษุ.

    คำนี้ว่า ดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว๓- ดังนี้ ชื่อว่าญาณจักษุ.

    คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ เราได้เห็นแล้วแล ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ๔- ดังนี้ ชื่อว่าทิพยจักษุ.

    มรรคญาณเบื้องต่ำ ๓ นี้มาในคำว่า ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ไม่มีมลทิน เกิดขึ้นแล้ว๕- ดังนี้ ชื่อว่าธรรมจักษุ.

    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"

    " พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม "

    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา, ให้ สำเร็จผลวิเศษในการปฏิบัติ, ห้ามอกุศลอันเป็นปฏิปักษ์, เป็นรตนากร บ่อเกิดแห่งญาณอันประเสริฐของพระโยคาวจร, เป็นเหตุอันวิเศษในการเยื้องกรายธรรมกถาของพระธรรมกถึกทั้งหลาย, เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ของผู้กลัวภัยในสังสารวัฏ, มีประโยชน์ในการยังความชุ่มชื่นให้เกิดเพราะเห็นอุบายในการออกจากทุกข์นั้น, และมีประโยชน์ในการทำลายอกุศลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อนิสสรณธรรม๔ นั้น

    และมีประโยชน์ให้เกิดความยินดีในหทัยแก่กัลยาณชน โดยการเปิดเผยอรรถแห่งบทพระสูตรมีเนื้อความอันลึกซึ้งมิใช่น้อย อันท่านพระสารีบุตรผู้ธรรมเสนาบดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ธรรมราชาภาษิตแล้ว เมื่อประทีปดวงใหญ่กล่าวคือพระสัทธรรม รุ่งเรืองแล้วด้วยแสงประทีปดวงใหญ่คือพระสัพพัญญุตญาณที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วโดยไม่ขัดข้อง ส่องสว่างกระจ่างไปทั่วทุกสถาน มีพระทัยสนิทเสน่หา ประกอบไปด้วยพระมหากรุณาแผ่กว้างไปในปวงชน เพื่อกำจัดความมืดมนอนธการกล่าวคือกิเลส ด้วยพระมหากรุณาในเวไนยชน ด้วยการยกพระสัทธรรมนั้นขึ้นอธิบายให้กระจ่างแจ้งแก่ปวงชน ด้วยความเสน่หา ปรารถนาความรุ่งเรืองแห่งพระสัทธรรมไปตราบเท่า ๕,๐๐๐ พระพรรษา ผู้มีเจตจำนงค้ำจุนโลกตามเยี่ยงอย่างพระศาสดา อันท่านพระอานันทเถระสดับภาษิตนั้นแล้วยกขึ้นรวบรวมไว้ในคราวทำปฐมมหาสังคีติ ตามที่ได้สดับมาแล้วนั่นแล.

    เทสนาประเภทต่างๆ ย่อมให้เกิดประเภทแห่งปฏิสัมภิทาญาณ แก่พระอริยบุคคลทั้งหลายผู้สดับฟัง และเป็นปัจจัยแก่การแตกฉานในปฏิสัมภิทาญาณแก่ปุถุชนต่อไปในอนาคต

    คุณสมบัติ ๕ พระโพธิสัตว์พระอริยะบุคคลขั้นพื้นฐานตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป มีปรากฎทุกท่าน

    สากัจฉสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทาได้ ๑
    ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯ
    จบสูตรที่ ๕

    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
    อุ. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล
    พระพุทธเจ้าข้า?
    พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้ประกอบด้วยกองศีล ของพระอเสขะ
    ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยกองสมาธิ ของพระอเสขะ
    ๓. เป็นผู้ประกอบด้วยกองปัญญา ของพระอเสขะ
    ๔. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติ ของพระอเสขะ
    ๕. เป็นผู้ประกอบด้วยกองวิมุตติญาณทัสสนะ ของพระอเสขะ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

    องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาอีกนัยหนึ่ง

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์แม้อื่นอีก ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:
    ๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง?คือ:
    ๑. เป็นผู้บรรลุอรรถปฏิสัมภิทา
    ๒. เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา
    ๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา
    ๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ๕. พิจารณาจิตตามที่วิมุติ

    ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.
    ภิกขุนีโอวาทวรรค ที่ ๘ จบ

    นิรุตฺติปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในภาษา คือ บัญญัติแห่งอัตถปฏิสัมภิทา และธัมมปฏิสัมภิทา ย่อมมีด้วยนิรุตติใด ความรู้แตกฉานในอันกล่าวนิรุตตินั้น ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ หมายความว่า รู้จักใช้ถ้อยคำในภาษานั้น ๆ อันเป็นบัญญัติที่เรียกกันว่า โวหาร ในการอธิบายขยายความแห่งอัตถปฏิสัมภิทา และธัมมปฏิสัมภิทา ให้ผู้สดับตรับฟังรู้และเข้าใจได้แจ่มแจ้งลึกซึ้งโดยถ้วนถี่เช่นนี้ เป็นต้น

    อรรถกถา เจือด้วย วิมุตติญานทัสสนะจากนิรุตติญานทัสสนะของพระอรหันตสาวกที่เพ่งวิมุตติ และ เจือด้วย วิมุตติญานทัสสนะ พระอริยะสาวกจนถึงพระอรหันตสาวกผู้ทรงปฎิสัมภิทาญาน นี่เป็นภูมิที่พระเสขะต้องรู้ว่า ปัญญาธรรมนี้ ไม่สามารถจะแสดงได้เทียบเท่าผู้ต้องวิมุตติญานทัสสนะของพระอริยะและพระอเสขะได้เลย

    ไล่ตั้งแต่ เสกขปฎิสัมภิทา จนถึง อเสกขปฎิสัมภิทา

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานขั้นสูงสุด รู้แม้คำสอนของศาสนาอื่น ทั้งคติที่ไป จนทรงบัญญัติ ทิฏฐิ ๖๒ ในพรหมชาลสูตร พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมของศาสนาพุทธ ส่วนองค์คุณประโยชน์ของ พิชัยสงครามนี้ มีแต่บัณฑิตที่พึงรู้ ท่านใดปรารถนาจะทราบ พึงพิจารณาลำดับญานที่ทรงบรรลุตรัสรู้พร้อม ปฎิสัมภิทาญาน องค์กำเนิดพระสัทธรรม เป็นหนึ่งในนั้น ด้วยเหตุนี้ การทำสังคายนาจึงต้องพึ่งพระผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานเป็นหลัก

    ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?
    นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดจำนนโดยพยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี
    นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนักพูด ๔ จำพวกนี้แล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔
    พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ
    นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
    จบวาทีสูตรที่ ๑๐
    จบปุคคลวรรคที่ ๔

    ฉนั้นผู้ได้บรรลุปฎิสัมภิทาญานจึงเป็นเลิศสุดในการ ปุจฉาและวิสัชนากถาต่างๆทั้งแนวนอกและแนวใน ไม่ว่าจะเป็น ว่าโดยเรื่อง พระสัทธรรม หรือ อสัทธรรม ก็ตาม

    ด้วยเหตุนี้จึงทรงได้รับการขนานพระนามว่าเป็น"ศาสดาเอกของโลก"

    ปฏิจฉันนสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ มาตุคาม ปิดบังเอาไว้จึงจะงดงาม เปิดเผยไม่งดงาม ๑ มนต์ของพราหมณ์ ปิดบังเข้าไว้จึงรุ่งเรือง เปิดเผยไม่รุ่งเรือง ๑มิจฉาทิฐิ ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่าง
    นี้แล ปิดบังไว้จึงเจริญ เปิดเผยไม่เจริญ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ดวงจันทร์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑ ดวงอาทิตย์ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๓ อย่างนี้แล เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง ฯ

    สัญญาสูตร
    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
    ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่า
    เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
    ประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ
    โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั้นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

    ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสนัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
    มีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
    สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

    ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น
    อารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้ การที่ภิกษุ
    ได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ
    โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    สา. ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญา
    อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวงความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

    ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผมเหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของ
    พระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๗

    สัญญาสูตร นี่เป็นปฎิสัมภิทามรรค อันทำให้เห็นและรู้ว่า บทธรรมพระสาวกผู้บรรลุปฎิสัมภิทาเสมอกันกับพระพุทธเจ้าทรงแสดงหรือไม่ทรงแสดงก็ตาม มีอยู่ แต่ถึงอย่างไร การแจกแจงขยายธรรมของพระพุทธเจ้าท่านก็ทรงละเอียดกว่า ถึง๒ ระดับ

    หากจะให้ทรงแสดง มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงเสมอกันได้

    ผู้ปฎิสัมภิทามี ๑๖ ระดับความสามารถ

    บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา ๑๖ ประการนี้ เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทา บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ คือ ผู้หนึ่งถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน
    ผู้หนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒คือ ผู้หนึ่งเป็นพหูสูต ผู้หนึ่งไม่เป็นพหูสูต ผู้เป็นพหูสูตเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่งวิเศษกว่าผู้ไม่เป็นพหูสูต และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ แม้ผู้เป็นพหูสูตก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมากด้วยเทศนา ผู้หนึ่งไม่มากด้วยเทศนา ผู้มากด้วยเทศนา เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มากด้วยเทศนา และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทาผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ และผู้มากด้วยเทศนาก็
    มี ๒ คือ ผู้หนึ่งอาศัยครู ผู้หนึ่งไม่อาศัยครู ผู้อาศัยครูเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่งวิเศษกว่าผู้ไม่อาศัยครู และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูต
    มี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ และผู้อาศัยครูก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมีวิหารธรรมมากผู้หนึ่งไม่มีวิหารธรรมมาก ผู้มีวิหารธรรมมากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีวิหารธรรมมาก และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ และผู้มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมีความพิจารณามาก ผู้หนึ่งไม่มีความพิจารณามาก ผู้มีความพิจารณามากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีความพิจารณามาก และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลบรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ และผู้มีความพิจารณามากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งเป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้หนึ่งเป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้เป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งไม่บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้บรรลุถึงสาวกบารมีเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่บรรลุถึงสาวกบารมี และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้บรรลุถึงสาวกบารมีและมีญาณแตกฉาน เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลก พร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้

    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงได้ปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุถึงเวสารัชชญาณ ทรงพละ ๑๐ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ฯลฯ บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฐิด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วพากันเข้ามาหาพระตถาคต ถามปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคตรัสบอกและทรงแก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค ความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ฉะนี้แล ฯ
    จบมหาปัญญากถา

    เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ

    ๑. ได้ฟังธรรม และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีได้แสดงธรรมไว้

    ๒. ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมา และเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมที่ตนแสดง

    ๓. ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมา และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมที่ตนสาธยาย

    ๔. ได้ตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ตรึกตรองใคร่ครวญ

    ๕. ได้เล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา และเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งที่เล่าเรียนมา

    (๑) วิมุตตายตนะ (แดนแห่งวิมุตติ)

    เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการเป็นไฉน

    พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่เธอ

    เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๑

    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อมแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร

    เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้นที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒

    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร

    เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิด
    ปราโมทย์... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓

    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูปก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ

    เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมย่อมเกิดปราโมทย์... เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔

    อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูปไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา

    เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕

    ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล

    (๒) สัญญาอบรมวิมุตติ ๕ อย่าง

    ๑. อนิจจสัญญา (สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง)

    ๒. อนิจเจทุกขสัญญา (สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง)

    ๓. ทุกเขอนัตตสัญญา (สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตนในสิ่งที่เป็นทุกข์)

    ๔. ปหานสัญญา (สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นว่าควรละเสีย)

    ๕. วิราคสัญญา (สัญญาที่เกิดขึ้นในญาณเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความคลายเสียซึ่งความกำหนัด)

    #ศึกษาธรรมในพระพุทธศาสนา แต่ไม่เอาวิมุตติ ๕ ไม่ค้นหาทางได้มาแห่งวิมุตติ แอบอ้างว่าบรรลุ แต่ก็ไม่รู้วิมุตติ ไม่รู้นิรุตติกถาญานทัสสนะที่เข้าถึง และไม่สามารถนำมาแสดงได้ว่าถึงบทธรรมใด อุทานธรรมใด ที่ใด เวลาใด ทำอะไร อิริยาบถใด และจะไม่มีทางลืมตลอดชีวิต ซึ่งเหตุการณ์นั้น ฯ ล(พระพุทธเจ้าแสดงแก่พระอุบาลี)การตรวจอุตริมนุษยธรรม! (เข้าฌานไปตรวจสอบกันได้) ก็ชื่อว่า ไม่ใช่แนวทางการปฏิบัติและศึกษา ซึ่ง พระสัทธรรม ๓

    อันมี พระปริยัติสัทธรรม พระปฎิบัติสัทธรรม พระปฎิเวธสัทธรรม

    เป็นความหลงผิดเพียง มิจฉาวิมุตติเท่านั้น ย่อมไม่ใช่ พระเสขะ หรือ พระอเสขะ หรือ พุทธบริษัท ๔ ในพระพุทธศาสนานี้
    IMG_5302.jpeg
     
  13. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    ขออนุญาตถามท่านผู้เจริญด้วย ฌาน อภิญญา สมาธิตามแบบพระพุทธเจ้า

    หากจะมีเหล่ามีโมฆะบุรุษอลัชชีเหล่าหนึ่งเหล่าใดและผู้ที่ส่งเสริมเห็นดีเห็นงามในการตัด ญาน ๗๓ และ ปฎิสัมภิทาออกจากพระไตรปิฎก สร้างสัทธรรมปฎิรูปขึ้นมาใหม่โดยไม่รู้คุณของปฎิสัมภิทาญาน ญานอันเป็นคุณสมบัติที่สมบูรณ์บริสุทธิคุณในการสังคายนาพระไตรปิฎก

    #ในเบื้องต้นนี้

    ท่านเห็นดีเห็นงามด้วยหรือไม่๑
    ท่านหวังว่าชนเหล่านั้นจะสามารถกลับตัวกลับใจได้หรือไม่๑
    ท่านเป็นห่วงสหธรรมกัลยาณมิตรสหชาติในชาตินี้หรือไม่๑
    ท่านเป็นห่วงสหธรรมกัลยาณมิตรผู้มาแห่งหนหลังหรือไม่๑
    ท่านพอที่จะเข้าใจในผลแห่งอกุศลกรรมนี้หรือไม่๑

    #หากว่าท่านสามารถ ท่านจงเมตตากล่าวเพื่อยกเขาออกจาก สัทธรรมปฎิรูป และ อสัทธรรม

    พลานิสงส์ผลบุญอันมากจะเป็นเหตุเป็นพลวปัจจัยในการหนุนนำบุญบารมีของท่านในการปกป้องรักษาพระธรรมและวินัยในพระพุทธศาสนานี้ให้ยั่งยืนต่อไปจวบจนสิ้นกำลังแห่งพระวัสสา

    ข้าพเจ้าขออนุโมทนาในมหาผลบุญที่ท่านได้ประกอบดีแล้วด้วยกายวาจาใจ

    สาธุฯ

    #เหล่าปฎิสัมภิทารู้ชัดในพระสัทธรรมเจ้า/รู้ชัดในสัทธรรมปฎิรูป/รู้ชัดในอสัทธรรมทัังหลายฯ

    #หากตัดผู้รู้ชัดออกทำลายผู้รู้ชัดย่อมไม่มีสิ่งใดหลงเหลือ

    #เพราะปฎิสัมภิทาคือองค์คุณแห่งการตรัสรู้สัจจะทั้งมวลฯ

    #โปรดจงรักษาปฎิสัมภิทา

    อรรถกถา เจือด้วย วิมุตติญานทัสสนะของพระอรหันตสาวกที่เพ่งวิมุตติ และ เจือด้วย วิมุตติญานทัสสนะ พระอริยะสาวกจนถึงพระอรหันตสาวกผู้ทรงปฎิสัมภิทาญาน นี่เป็นภูมิที่พระเสขะต้องรู้ว่า ปัญญาธรรมนี้ ไม่สามารถจะแสดงได้เทียบเท่าผู้ต้องวิมุตติญานทัสสนะของพระอริยะและพระอเสขะได้เลย

    ไล่ตั้งแต่ เสกขปฎิสัมภิทา จนถึง อเสกขปฎิสัมภิทา

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเป็นผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานขั้นสูงสุด รู้แม้คำสอนของศาสนาอื่น ทั้งคติที่ไป จนทรงบัญญัติ ทิฏฐิ ๖๒ ในพรหมชาลสูตร พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมของศาสนาพุทธ ส่วนองค์คุณประโยชน์ของ พิชัยสงครามนี้ มีแต่บัณฑิตที่พึงรู้ ท่านใดปรารถนาจะทราบ พึงพิจารณาลำดับญานที่ทรงบรรลุตรัสรู้พร้อม ปฎิสัมภิทาญาน องค์กำเนิดพระสัทธรรม เป็นหนึ่งในนั้น ด้วยเหตุนี้ การทำสังคายนาจึงต้องพึ่งพระผู้ทรงปฎิสัมภิทาญานเป็นหลัก

    ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?
    นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดจำนนโดยพยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี
    นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนักพูด ๔ จำพวกนี้แล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔
    พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ
    นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
    จบวาทีสูตรที่ ๑๐
    จบปุคคลวรรคที่ ๔

    ฉนั้นผู้ได้บรรลุปฎิสัมภิทาญานจึงเป็นเลิศสุดในการ ปุจฉาและวิสัชนากถาต่างๆทั้งแนวนอกและแนวใน ไม่ว่าจะเป็น ว่าโดยเรื่อง พระสัทธรรม หรือ อสัทธรรม ก็ตาม

    ด้วยเหตุนี้จึงทรงได้รับการขนานพระนามว่าเป็น"ศาสดาเอกของโลก"

    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    มาติกา
    ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ [ญาณอันสำเร็จมาแต่การฟัง] ๑
    ปัญญาในการฟังธรรมแล้ว สังวรไว้ เป็นสีลมยญาณ [ญาณ
    อันสำเร็จมาแต่ศีล] ๑
    ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็นภาวนามยญาณ
    [ญาณอันสำเร็จมาแต่การเจริญสมาธิ] ๑
    ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม] ๑
    ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนอดีตส่วนอนาคตและส่วนปัจจุบันแล้วกำหนดไว้ เป็นสัมมสนญาณ [ญาณในการ
    พิจารณา] ๑
    ปัญญาในการพิจารณาเห็นความแปรปรวนแห่งธรรมส่วนปัจจุบันเป็นอุทยัพพยานุปัสนาญาณ [ญาณในการพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม]๑
    ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ[ญาณในความเห็นแจ้ง] ๑
    ปัญญาในการปรากฏโดยความเป็นภัย เป็นอาทีนวญาณ
    [ญาณในการเห็นโทษ] ๑
    ปัญญาในความปรารถนาจะพ้นไปทั้งพิจารณาและวางเฉย
    อยู่ เป็นสังขารุเบกขาญาณ ๑
    ปัญญาในการออกและหลีกไปจากสังขารนิมิตภายนอก เป็นโคตรภูญาณ ๑
    ปัญญาในการออกและหลีกไปจากกิเลส ขันธ์และสังขารนิมิตภายนอกทั้งสอง เป็นมรรคญาณ ๑
    ปัญญาในการระงับประโยคเป็นผลญาณ ๑
    ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ
    ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ๑
    ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ๑
    ปัญญาในการกำหนดธรรมภายใน เป็นวัตถุนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งวัตถุ] ๑
    ปัญญาในการกำหนดธรรมภายนอก เป็นโคจรนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งโคจร] ๑
    ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งจริยา] ๑
    ปัญญาในการกำหนดธรรม ๔ เป็นภูมินานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งภูมิ] ๑
    ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ เป็นธรรมนานัตตญาณ [ญาณในความต่างแห่งธรรม]๑
    ปัญญาที่รู้ยิ่ง เป็นญาตัฏฐญาณ [ญาณในความว่ารู้] ๑ ปัญญาเครื่องกำหนดรู้เป็นตีรณัฏฐญาณ [ญาณในความว่าพิจารณา] ๑
    ปัญญาในการละ เป็นปริจจาคัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสละ] ๑
    ปัญญาเครื่องเจริญ เป็นเอกรสัฏฐญาณ[ญาณในความว่ามีกิจเป็นอันเดียว] ๑
    ปัญญาเครื่องทำให้แจ้ง เป็นผัสสนัฏฐญาณ[ญาณในความว่าถูกต้อง] ๑
    ปัญญาในความต่างแห่งอรรถ เป็นอัตถปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งธรรม เป็นธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งนิรุติ เป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑ ปัญญาในความต่างแห่งปฏิภาณ เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑
    ปัญญาในความต่างแห่งวิหารธรรม เป็นวิหารัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องอยู่] ๑
    ปัญญาในความต่างแห่งสมาบัติเป็นสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าสมาบัติ] ๑
    ปัญญาในความต่างแห่งวิหารสมาบัติ เป็นวิหารสมาปัตตัฏฐญาณ [ญาณในความว่าวิหารสมาบัติ] ๑
    ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ให้ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ [ญาณในสมาธิอันมีในลำดับ] ๑
    ทัสนาธิปไตย ทัสนะมีความเป็นอธิบดี วิหาราธิคม คุณเครื่องบรรลุ คือวิหารธรรมอันสงบ และปัญญาในความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ[ญาณในวิหารธรรมอันไม่มีกิเลสเป็นข้าศึก] ๑
    ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความระงับสังขาร ๓ ด้วยญาณจริยา ๑๖และด้วยสมาธิจริยา ๙ เป็นนิโรธสมาปัตติญาณ [ญาณในนิโรธสมาบัติ] ๑
    ปัญญาในความสิ้นไปแห่งความเป็นไปแห่งกิเลสและขันธ์ของบุคคลผู้รู้สึกตัว เป็นปรินิพพานญาณ ๑
    ปัญญาในความไม่ปรากฏแห่งธรรมทั้งปวง ในการตัดขาด
    โดยชอบและในนิโรธ เป็นสมสีสัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมอันสงบและธรรมอันเป็นประธาน] ๑
    ปัญญาในความสิ้นไปแห่งกิเลสอันหนา สภาพต่างๆ และเดช
    เป็นสัลเลขัฏฐญาณ [ญาณในความว่าธรรมเครื่องขัดเกลา] ๑ ปัญญาในความประคองไว้ซึ่งจิตอันไม่หดหู่และจิตที่ส่งไป เป็นวิริยารัมภญาณ ๑
    ปัญญาในการประกาศธรรมต่างๆ เป็นอรรถสันทัสนญาณ [ญาณในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม] ๑
    ปัญญาในการสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกันในการแทงตลอดธรรมต่างกันและธรรมเป็นอันเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ ๑
    ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น เป็นขันติญาณ ๑
    ปัญญาในความถูกต้องธรรมเป็นปริโยคาหนญาณ [ญาณในความย่างเข้าไป] ๑
    ปัญญาในการรวมธรรมเป็นปเทสวิหารญาณ [ญาณในวิหารธรรมส่วนหนึ่ง] ๑
    ปัญญาในความมีกุศลธรรมเป็นอธิบดีเป็นสัญญาวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยปัญญาที่รู้ดี] ๑
    ปัญญาในธรรมเป็นเหตุละความเป็นต่างๆ เป็นเจโตวิวัฏฏญาณ [ญาณในการหลีกออกจากนิวรณ์ด้วยใจ] ๑
    ปัญญาในการอธิษฐาน เป็นจิตตวิวัฏฏญาณ [ญาณในความ
    หลีกไปแห่งจิต] ๑
    ปัญญาในธรรมอันว่างเปล่า เป็นญาณวิวัฏฏญาณ [ญาณใน
    ความหลีกไปด้วยญาณ] ๑
    ปัญญาในความสลัดออก เป็นวิโมกขวิวัฏฏญาณ[ญาณในความหลีกไปแห่งจิตด้วยวิโมกข์] ๑
    ปัญญาในความว่าธรรมจริงเป็นสัจจวิวัฏฏญาณ [ญาณในความหลีกไปด้วยสัจจะ] ๑
    ปัญญาในความสำเร็จด้วยการกำหนดกาย [รูปกายของตน] และจิต [จิตมีฌานเป็นบาท]เข้าด้วยกัน และด้วยสามารถแห่งความตั้งไว้ซึ่งสุขสัญญา [สัญญาประกอบด้วยอุเบกขาในจตุตถฌานเป็นสุขละเอียด] และลหุสัญญา [สัญญาเบาเพราะพ้นจากนิวรณ์และปฏิปักขธรรม] เป็นอิทธิวิธญาณ [ญาณในการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ]๑
    ปัญญาในการกำหนดเสียงเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียวด้วยสามารถการแผ่วิตกไป เป็นโสตธาตุวิสุทธิญาณ [ญาณอันหมดจดแห่งโสตธาตุ] ๑
    ปัญญาในการกำหนดจริยาคือ วิญญาณหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยความแผ่ไปแห่งจิต๓ ประเภท และด้วยสามารถแห่งความผ่องใสแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เป็น
    เจโตปริยญาณ [ญาณในความกำหนดรู้จิตผู้อื่นด้วยจิตของตน] ๑
    ปัญญาในการกำหนดธรรมทั้งหลายอันเป็นไปตามปัจจัย ด้วยสามารถความแผ่ไปแห่งกรรมหลายอย่างหรืออย่างเดียว เป็นบุพเพนิวาสานุสสติญาณ [ญาณเป็นเครื่อง
    ระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้] ๑
    ปัญญาในความเห็นรูปเป็นนิมิตหลายอย่างหรืออย่างเดียว ด้วยสามารถแสงสว่าง เป็นทิพจักขุญาณ ๑
    ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ เป็นอาสวักขยญาณ[ญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย] ๑
    ปัญญาในความกำหนดรู้ เป็นทุกขญาณ ๑
    ปัญญาในความละ เป็นสมุทยญาณ ๑
    ปัญญาในความทำให้แจ้ง เป็นนิโรธญาณ ๑
    ปัญญาในความเจริญ เป็นมรรคญาณ ๑
    ทุกขญาณ [ญาณในทุกข์] ๑
    ทุกขสมุทยญาณ [ญาณในเหตุให้เกิดทุกข์] ๑
    ทุกขนิโรธญาณ[ญาณในความดับทุกข์] ๑
    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ [ญาณในข้อปฏิบัติ
    เครื่องให้ถึงความดับทุกข์] ๑
    อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ๑
    ธรรมปฏิสัมภิทาญาณ ๑
    นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑
    ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ๑
    อินทริยปโรปริยัติญาณ[ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย] ๑
    อาสยานุสยญาณ[ญาณในฉันทะเป็นที่มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย] ๑
    ยมกปาฏิหิรญาณ [ญาณในยมกปาฏิหาริย์] ๑
    มหากรุณาสมาปัตติญาณ ๑
    สัพพัญญุตญาณ ๑
    อนาวรณญาณ ๑
    ญาณเหล่านี้รวมเป็น ๗๓ ญาณ ในญาณทั้ง ๗๓ นี้ ญาณ ๖๗[ข้างต้น] ทั่วไปแก่พระสาวก ญาณ ๖ [ในที่สุด] ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวกเป็นญาณเฉพาะพระตถาคตเท่านั้น ฉะนี้แล ฯ
    จบมาติกา

    ผู้ปฎิสัมภิทามี ๑๖ ระดับความสามารถ

    บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา ๑๖ ประการนี้ เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทา บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ คือ ผู้หนึ่งถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน
    ผู้หนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒คือ ผู้หนึ่งเป็นพหูสูต ผู้หนึ่งไม่เป็นพหูสูต ผู้เป็นพหูสูตเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่งวิเศษกว่าผู้ไม่เป็นพหูสูต และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ แม้ผู้เป็นพหูสูตก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมากด้วยเทศนา ผู้หนึ่งไม่มากด้วยเทศนา ผู้มากด้วยเทศนา เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มากด้วยเทศนา และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทาผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ และผู้มากด้วยเทศนาก็
    มี ๒ คือ ผู้หนึ่งอาศัยครู ผู้หนึ่งไม่อาศัยครู ผู้อาศัยครูเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่งวิเศษกว่าผู้ไม่อาศัยครู และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูต
    มี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ และผู้อาศัยครูก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมีวิหารธรรมมากผู้หนึ่งไม่มีวิหารธรรมมาก ผู้มีวิหารธรรมมากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีวิหารธรรมมาก และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ และผู้มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมีความพิจารณามาก ผู้หนึ่งไม่มีความพิจารณามาก ผู้มีความพิจารณามากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีความพิจารณามาก และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลบรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ และผู้มีความพิจารณามากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งเป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้หนึ่งเป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้เป็นพระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งไม่บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้บรรลุถึงสาวกบารมีเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่บรรลุถึงสาวกบารมี และมีญาณแตกฉาน

    บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้บรรลุถึงสาวกบารมีและมีญาณแตกฉาน เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลก พร้อมทั้งเทวโลก ดังนี้

    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงได้ปฏิสัมภิทา ทรงบรรลุถึงเวสารัชชญาณ ทรงพละ ๑๐ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ฯลฯ บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฐิด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วพากันเข้ามาหาพระตถาคต ถามปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคตรัสบอกและทรงแก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค ความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ฉะนี้แล ฯ
    จบมหาปัญญากถา
    IMG_5329.jpeg
     
  14. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    “สร้างเหตุและปัจจัย”

    คำถาม ฌาน อภิญญา สมาธิระดับสุญญตธรรม

    ข้าพเจ้าขออนุญาตถาม! ซึ่งเป็นคำถามที่เหล่าปฎิสัมภิทาเข้าใจอยู่แล้ว!

    แต่ข้าพเจ้าจักถาม ว่า บทธรรม เหล่าใดก็ตาม ที่ปรากฎแก่เหล่าเทพนิกายใดนิกายหนึ่งนั้น! บทธรรมเหล่านั้น ทำไมจึงต้องติดตามเทพนิกายเหล่านั้นๆไป

    เทพนิกายเหล่านั้นบรรลุธรรมอันใด? จึงได้เข้าถึงพระสัทธรรม?

    โสตานุคตสูตร ว่าด้วยอานิสงส์การฟังธรรม ๔ ประการ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคล พึงหวังได้ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็น ธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อการทำกาละ ย่อมเขาถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยทิฏฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกาย หมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ใน ภพนั้นเลย แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล ฟังได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลอง หรือไม่ใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๒แห่งธรรมทั้งหลาย ที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคล พึงหวังได้

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... บทแห่งธรรม ทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อม แสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติ พรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่า สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาด ต่อเสียงสังข์เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิอันบุคคลพึงหวังได้

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... บทแห่ง ธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุ ผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตร ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิด ทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ใน กาลก่อน เธอกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ๆ สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สหายของคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่งสหาย คนหนึ่ง พึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราละลึกได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลันดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการ นี้ แห่งธรรมทั้งหลายที่ ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิอันบุคคล พึงหวังได้

    จบ โสตานุคตสูตรที่ ๑
    IMG_5303.jpeg
     
  15. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    ด้วยความสามารถใน ฌาน อภิญญา สมาธิ ตามแบบพระพุทธเจ้า ที่ท่านพึงมีในปัจจุบันและในอนาคตโดยสามารถ

    ท่านใด?สามารถกล่าวกถาธรรมในเรื่อง อักษรและพยัญชนะอันแท้จริงของพระสัทธรรมเจ้าในที่นี้ได้บ้างครับ?

    “ท่านบรรลุธรรมได้อย่างไร? โดยไม่ได้ทิพยจักษุ ธรรมจักษุ ญานจักษุ

    แล้วท่านจะเห็นธรรมได้อย่างไร? ธรรมที่ระดับพระโพธิสัตว์พระอริยะบุคคลเห็นแจ้งแล้ว ระบุตายตัวคือ ได้ดวงตาเห็นธรรม อันใครไม่สามารถหลอกให้หลงได้อีกซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนซึ่งพระปริยัติสัทธรรมในพระพุทธศาสนา

    1.ใครเคยเห็นอักษร“ พระมหาปกรณ์” โดยสกานิรุตติบ้างครับ!

    2. วิสัชนาขึ้นไปอีก อรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ใครเคยเห็นบ้างครับ!

    3.วิสัชนาขึ้นไปอีก อรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา ใครเคยเห็นบ้างครับ!

    4.วิสัชนาขึ้นไปอีก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงยกพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นไว้ในภาษามาคธีเท่านั้น. (สุทธิมาคธี)ยกเว้นไว้ในกาลอื่นที่ทรงไปโปรด ยังเหล่าเวไนยสัตว์ ในสถานะภาพ ภาษาอื่นๆ ในสหโลกธาตุต่างๆ

    5.วิสัชนายิ่งขึ้นไปอีก การจะได้พบกับพระมหาปกรณ์ อุปมาก็ยากเหมือนในยุคปัจจุบันที่จะทำความเข้าใจในพระมหาปุริลักษณะ 32 และอนุพยัญชนะทั้ง 80 ว่าทรงมีพระวรกายพระพักตร์จริงๆอย่างไร?นั่นล่ะครับ

    ถ้าเห็นจริงๆ ช่วยกรุณาอธิบายให้ทราบด้วยครับ!

    ถือว่าเล่าเรื่อง! นิทานให้กันฟัง!

    หรืออยากจะอธิบาย ผิดถูกไม่ว่ากันนะครับ!

    ถือว่า ธรรมสากัจฉาแลกเปลี่ยนความรู้กันนะครับ

    ยิ่งได้ท่านที่เรียนภาษาบาลี ไวยากรณ์ แปลพระไตรปิฎกได้เองมายิ่งดีครับ!

    #ข้าพเจ้าขอเริ่มก่อนเลยโดยพิศดารดังนี้ ในทัสสนะของข้าพเจ้า พิจารณาดูให้ดีๆ อ่านให้เข้าใจนะครับ ค่อยๆพิจารณา ไม่ใช่อัตโนมัตินะขอรับ {อันตราย}

    ในเรื่องนี้ ต่อให้เป็นนักวิชาการระดับสูงของโลกในด้านพระพุทธศาสนา แต่ไม่ได้ไม่มีในปฎิสัมภิทาจะไม่มีทางได้เข้าใจ

    ถ้าหากว่ามีใครสัก กล่าวว่า ภาษาบาลีไม่ใช่ภาษา

    มี "พระมหาปกรณ์" อยู่ครับ แต่ ต้องพิจารณาขอบเขต ๒๕๐+ ๓๐๐=๙๐๐ โยชน์ มัชฌิมประเทศที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายมาจุติ และภาษาอื่นที่ทรงเสด็จไปทรงโปรดด้วย จึงจำเป็นต้องถ่ายทอดลงมาเป็นสุทธมาคธี-มาคธี พระมหาปกรณ์นั้น ถ้าเห็นสภาพการเปลี่ยนแปลงก็จะเข้าใจครับ และในกาลอื่นๆที่ทรงเสด็จไปโปรด ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะก็ทรงถ่ายทอดลงมาเป็นภาษาอื่นๆเมื่อทรงเสด็จไปโปรดสัตว์ในโลกธาตุที่มีภาษาอื่นอีกด้วยครับ ถ้าเขากล่าวว่า" ไม่ใช่ภาษา" แล้วเขาไม่รู้จัก "ปฎิสัมภิทา มัคโค" วิศิษฐปาฐะ หรือการเปลี่ยนแปลงของพยัญชนะปฎิรูป คือการเปลี่ยนแปลงของภาษาธรรม ที่แม้แต่จะถามด้วยใจก็สามารถตอบด้วยวาจา ถามด้วยความรู้สึกเช่นนั้นเป็นภาษาใด

    ขอให้สหายบัณฑิตผู้เจริญของข้าพเจ้าพิจารณาดูให้ดีนะครับ สิ่งที่ผมกล่าวเป็นทั้ง ปริยัติ ปฎิบัติและปฎิเวธ ของ ผู้เสขะภูมิอยู่ ฉนั้นเมื่อเขาไม่รู้จักการเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่รู้จักปฎิสัมภิทาญาน หากเขาใช้คำพูดแบบนั้น เขากล่าวไม่ถูกต้องครับ และถ้าเขารู้จัก พระมหาปกรณ์อันละเอียด ที่มีอัตลักษณ์ ที่ไม่หยั่งลงสู่ความตรึกนี้ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นภาษาที่เราท่านสามารถเข้าใจทั้ง รูป พยัญชนะ สำเนียง ของอรรถ ในทันที ที่แม้จะไม่เคยได้รู้ได้เรียนมาก่อนเลย โดยในนามปฎิสัมภิทา เขาถือทิฏฐินั้นได้ ฉนั้นการที่จะเอา ภาษาบาลีหรือพยัญชนะเหล่าใดก็ตาม มาตรวจสอบกับแท่นพิมพ์ ถ้าแท่นพิมพ์หรือแม่แบบ นั้นแปลงสภาพให้ เป็น อักษรนั้นๆ ก็เห็นควรอยู่ ที่จะเป็นหรือเรียกว่า บาลี แต่ถ้าแม่แบบไม่เปลี่ยนให้ หรือเปลี่ยนเป็นภาษาอื่นๆ ท่านก็จะคิดจะรู้ทันทีว่า เห็นที่จะไม่ใช่ ภาษานี้โดยตรง เพราะฉนั้น การที่จะเอา ภาษาใดๆก็ตามมาตรวจสอบกับแท่นพิมพ์ว่า เป็นภาษาที่ตรงกันหรือไม่ ไม่ใช่ฐานะที่จะกระทำได้หรือระบุได้ตายตัว

    ผมจึงใช้คำว่า ไม่ใช่ พระพุทธวจนะตรงๆจาก พระสัทธรรม แต่เป็นภาษาที่ทรงโปรดนำมาแสดงไว้ ตามความเหมาะสมของเชื้อชาติประเทศราชและท้องถิ่นนั้นๆครับ ก็เพื่อจะให้ชนส่วนใหญ่ได้ล่วงรู้โดยง่าย ถ้านำลงมาแสดงไว้ด้วยภาษาอื่นๆก็จะต้องตีความแล้วตีความเล่า เพราะยิ่งด้วยผู้มีปฎิสัมภิทาแล้ว เห็นประโยคเดียว ออกเป็นร้อยนัยพันนัยเลยที่เดียวตามกระแสสกานิรุตติ และเพ่งจิตด้วยวิมุตติญานทัสสนะตามธรรมที่เสวยวิมุตติสุขนั้นๆ ภาษาใจ ภาษาธรรมชาติ ที่เป็น "สัจธรรมมหาปกรณ์" ผมไม่สามารถจะทำให้ท่านได้รูเห็นได้ ท่านต้องเห็นเอง ขอให้เจริญในปฎิสัมภิทาเถิดครับ ด้วยสติปัญญาของบัณฑิต ผู้สั่งสมสุตตะอย่างท่านทั้งหลาย โดยเฉพาะท่านที่ได้อ่านในตอนนี้เมื่อใดที่ท่านได้เข้าสู่ทิพย์ภูมิของพระอริยะ ในปฎิสัมภิทา

    ท่านจะทราบเลยว่า ขนาดที่มีธรรมละเอียดที่จะทรงสามารถแสดงได้ขนาดนี้เพื่อให้สัตว์โลกได้เข้าใจถึงสภาวะธรรม แต่กลมลสันดานของสัตว์โลกที่ไม่ได้สั่งสมสุตตะมาก่อนไม่เหมาะที่จะตรัสรู้และเข้าใจธรรมอันประเสริฐนี้ จนทรงท้อพระทัยที่จะทรงตรัสสอน จึงแสดงเพื่อเป็นพลวปัจจัยเป็นอันมาก จึงทรงกล่าวธรรมแม้บทเดียวโดยที่เขาเข้าใจก็เป็นสุขแก่สัมปราภพของสัตว์นั้นอย่างยาวนานจวบจนพระนิพพาน และโดยเฉพาะฐานะที่ท่านทำอยู่ในการปกป้องรักษาพระไตรปิฏกด้วยความบริสุทธิ์ใจเหล่าใดก็ตามในกาลนี้ก็ตามกาลอดีตที่แล้วมาจนถึงกาลอนาคตก็ตาม พวกท่านทั้งหลายเหล่านั้นฯ ย่อมได้บรรลุสู่ ปฎิสัมภิทาญาน อย่างแน่นอนครับ พระอรหันต์๔หมวด มีคุณความสามารถที่แตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ วันนั้นเมื่อท่านได้เห็น พระมหาปกรณ์ จาก พระสัทธรรม พระธรรมราชา แล้ว ท่านจะเข้าใจ อรรถพยัญชนะที่ข้าพเจ้าแสดงไว้แล้วนี้ สาธุธรรมครับ

    #อ้างอิง

    นานาสาระเกี่ยวกับพุทธศาสนา
    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวเถรวาท
    ทำไมเถรวาทยึดถือภาษาบาลีเป็นภาษาคัมภีร์
    ภาษาบาลีซึ่งพุทธศาสนานิกายเถรวาท ใช้รองรับพุทธพจน์อยู่นั้น มติของนักปราชญ์ทั้งตะวันตก ตะวันออก เห็นขัดแย้งกันไปหมดบ้างว่า เป็นภาษาของชาวโกศลพูด เพราะพระผู้มีพระภาคเป็นชาวแคว้นโกศล ในธรรมเจติยสูตร พระเจ้าปเสนทิกราบทูลพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล เพราะฉะนั้นพระองค์จะต้องใช้ภาษาชาติภูมิของพระองค์ ในการประกาศพระศาสนา 1 แต่บางท่านก็เห็นว่า ภาษาบาลีเป็นภาษาอวันตีแต่โบราณ เพราะพระมหินทร์เป็นชาวเวทิสาคีรีในอวันตี นำเอาภาษาบาลีไปลังกา 2. บางมติก็ว่า เป็นภาษาอินเดียภาคใต้ 3. แต่มติส่วนใหญ่ยืนยันว่า เป็นภาษามคธโบราณที่เรียกว่า “มคธี” จัดอยู่ในสกุลภาษาปรากฤต เมื่อสรุปมติต่างๆ เหล่านี้ เราได้สาระที่น่าเชื่อถืออยู่ข้อหนึ่งคือ ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นเป็นภาษามคธอย่างแน่แท้ คำว่า “บาลี” นอกจากจะหมายถึงภาษาอันมีระเบียบแบบแผน คำนี้ยังเลือนมาจากคำว่า “ปาฏลิ” ซึ่งหมายถึงเมืองปาฏลีบุตรนั่นเอง เพราะฉะนั้นภาษาบาลีก็คือ ภาษาปาฏลีบุตร อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธต่อจากกรุงราชคฤห์ แต่เหตุไร ภาษาบาลีจึงสูญไปจากอินเดีย นั่นก็เพราะแคว้นมคธเสื่อมอำนาจลง ภาษาอื่นได้ไหลเขามาแทนที่ ภาษาดั้งเดิมค่อยๆสลายตัวเอง โดยราษฎรหันไปนิยมพูดภาษาผู้มาปกครอง ความจริงพระศาสดามิได้ผูกขาดภาษาใดภาษาหนึ่งในการแสดงธรรม พระองค์ทรงตรัสภาษาท้องถิ่นต่างๆของอินเดียได้ ทรงแสดงธรรมด้วยหลายภาษาทรงอนุญาตให้เรียนพุทธพจน์ด้วยภาษาท้องถิ่นได้ ครั้งหนึ่งมีภิกษุพี่น้องสกุลพราหมณ์ ทูลขอพุทธานุญาต ยกพุทธพจน์ขึ้นสู่ภาษาเดียวเช่นกับภาษาในพระเวท ทรงติเตียน แต่เหตุไฉนปฐมสังคายนาจึงใช้แต่ภาษาบาลีภาษาเดียวขึ้นสู่สังคีติเล่า เหตุผลมีดังนี้คือ
    1. การประชุมสังคายนา ต้องการความสามัคคี ความเป็นระเบียบ ถ้าปล่อยให้ผู้ประชุม ต่างรูปต่างใช้ภาษาท้องถิ่นของตนๆ ที่ประชุมก็ไม่เป็นอันประชุม ไม่เป็นระเบียบ
    2. ภาษาบาลีเป็นภาษาชาวมคธ การประชุมก็ทำกันในมคธ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองต้องเลือกภาษานี้
    3. พระอรหันต์ผู้เข้าประชุม เข้าใจว่าส่วนใหญ่เป็นชาวมคธ หรือชาวเมืองอื่นที่ขึ้นอยู่กับมคธ
    4. มคธในครั้งนั้น เป็นมหาอำนาจชั้นหนึ่งในอินเดีย มีเมืองขึ้นเช่น โกศล วัชชี กาสี จัมปา ภาษามคธจึงเป็นภาษาที่มีอิทธิพล
    อย่างไรก็ตามคณะสงฆ์อื่นๆ ที่ใช้ภาษาท้องถิ่น ไม่ใช้ภาษามคธรองรับพุทธพจน์มีมากกว่ามาก

    ภาษาบาลี โดยคำว่า "บาลี" มาจากคำว่า "ปาลี" ซึ่งวิเคราะห์มาจาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจัยๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มีรูปวิเคราะห์ว่า พุทธวจนํ ปาเลตีติ ปาลี แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใดย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดยอรรถว่า "ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ"

    ชื่อเรียกภาษานี้ คือ ปาลิ (อักษรโรมัน : Pāli) นั้น ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงเรื่อยมาโดยไม่มีข้อสรุป สำหรับชาวพุทธโดยทั่วไปเชื่อว่า ภาษาบาลีมีกำเนิดจากแคว้นมคธ ในชมพูทวีป และเรียกว่าภาษามคธ หรือภาษามาคธี หรือมาคธิกโวหาร ซึ่ง "มาคธิกโวหาร" พระพุทธโฆสาจารย์พระอรรถกถาจารย์นามอุโฆษมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 10 อธิบายว่าเป็น "สกานิรุตติ" คือภาษาที่พระพุทธเจ้าตรัส
    นักภาษาศาสตร์บางท่านมีความเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย นักวิชาการชาวเยอรมันสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นนักสันสกฤตคือศาสตราจารย์ไมเคิล วิตเซลแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ถือว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย และเป็นคนละภาษากับภาษาจารึกของ พระเจ้าอโศกมหาราช
    ภาษาบาลีมีพัฒนาการที่ยาวนาน มีการใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (เถรวาท) เป็นจำนวนมาก วิลเฮล์ม ไกเกอร์ (Wilhem Geiger) นักปราชญ์บาลีชาวเยอรมัน ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ Pali Literatur und Sprache โดยวางทฤษฎีที่คนไทยรู้จักกันดีว่าภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นสามารถแบ่งวิวัฒนาการการแต่งได้ 4 ยุค ตามรูปลักษณะของภาษาที่ใช้ดังนี้:
    ยุคคาถา หรือยุคร้อยกรอง มีลักษณะการใช้คำที่ยังเกี่ยวพันกับภาษาไวทิกะซึ่งใช้บันทึกคัมภีร์พระเวทอยู่มาก
    ยุคร้อยแก้ว มีรูปแบบที่เป็นภาษาอินโดอารยันสมัยกลาง แตกต่างจากสันสกฤตแบบพระเวทอย่างเด่นชัด ภาษาในพระไตรปิฎกเขียนในยุคนี้
    ยุคร้อยกรองระยะหลัง เป็นช่วงเวลาหลังพระไตรปิฎก ปรากฏในคัมภีร์ย่อย เช่น มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค เป็นต้น

    ยุคร้อยกรองประดิษฐ์ เป็นการผสมผสาน ระหว่างภาษายุคเก่า และแบบใหม่ กล่าวคือคนแต่งสร้างคำบาลีใหม่ ๆ ขึ้นใช้เพราะให้ดูสวยงาม
    บางทีก็เป็นคำสมาสยาว ๆ ซึ่งไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแต่งขึ้นหลังจากที่มีการเขียนคัมภีร์แพร่หลายแล้ว
    ปัจจุบันมีการศึกษาภาษาบาลีอย่างกว้างขวางในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และอินเดีย แม้กระทั่งในอังกฤษ ก็มีผู้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาได้พากันจัดตั้ง สมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ขึ้นในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2424 เพื่อศึกษาภาษาบาลีและวรรณคดีภาษาบาลี รวมถึงการแปลและเผยแพร่ ปัจจุบันนั้น สมาคมบาลีปกรณ์ดังกล่าวนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตำบลเฮดดิงตัน ในเมืองอ๊อกซฟอร์ดของสหราชอาณาจักร คำว่า"บาลี" เองนั้นแปลว่าเส้นหรือหนังสือ และชื่อของภาษานี้น่ามาจากคำว่า ปาฬี (Pāḷi) อย่างไรก็ตาม ชื่อภาษานี้มีความขัดแย้งกันในการเรียก ไม่ว่าจะเป็นสระอะหรือสระอา และเสียง “ล” หรือ “ฬ” ภาษาบาลีเป็นภาษาเขียนของกลุ่มภาษาปรากฤต ซึ่งเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในศรีลังกาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 5 ภาษาบาลีจัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลาง แตกต่างจากภาษาสันสกฤตไม่มากนัก ภาษาบาลีไม่ได้สืบทอดโดยตรงจากภาษาสันสกฤตพระเวทในฤคเวท แต่อาจะพัฒนามาจากภาษาลูกหลานภาษาใดภาษาหนึ่ง

    คาดว่าภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้ในสมัยพุทธกาลเช่นเดียวกับภาษามคธโบราณหรืออาจจะสืบทอดมาจากภาษานี้ เอกสารในศาสนาพุทธเถรวาทเรียกภาษาบาลีว่าภาษามคธ ซึ่งอาจจะเป็นความพยายามของชาวพุทธที่จะโยงตนเองให้ใกล้ชิดกับราชวงศ์เมาริยะ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาสั่งสอนที่มคธ แต่ก็มีสังเวชนียสถาน 4 แห่งที่อยู่นอกมคธ จึงเป็นไปได้ที่จะใช้ภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางหลายสำเนียงในการสอน ซึ่งอาจจะเป็นภาษาที่เข้าใจกันได้ ไม่มีภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางใดๆมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาบาลี แต่มีลักษณะบางประการที่ใกล้เคียงกับจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชที่คิร์นาร์ทางตะวันตกของอินเดีย และหถิคุมผะทางตะวันออก
    นักวิชาการเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาลูกผสม ซึ่งแสดงลักษณะของภาษาปรากฤตหลายสำเนียง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 2 และได้ผ่านกระบวนการทำให้เป็นภาษาสันสกฤต พระธรรมคำสอนทั้งหมดของพระพุทธศาสนาถูกแปลเป็นภาษาบาลีเพื่อเก็บรักษาไว้ และในศรีลังกายังมีการแปลเป็นภาษาสิงหลเพื่อเก็บรักษาในรูปภาษาท้องถิ่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีได้เกิดขึ้นที่อินเดียในฐานะภาษาทางการเขียนและศาสนา ภาษาบาลีได้แพร่ไปถึงศรีลังกาในพุทธศตวรรษที่ 9-10 และยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน

    อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังค์
    วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ บัดนี้ พึงทราบปฏิสัมภิทาวิภังค์ในลำดับแห่งสิกขาบทวิภังค์นั้นต่อไป.
    คำว่า ๔ เป็นคำกำหนดจำนวน.
    คำว่า ปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ปัญญาอันแตกฉาน.
    อธิบายว่า ก็เพราะข้างหน้านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นต้น แปลว่า ญาณ (ปัญญา) ในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่เป็นการแตกฉานของใครๆ เลย นอกจากเป็นการแตกฉานของญาณ (ปัญญา) เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงสงเคราะห์เนื้อความนี้ว่า การแตกฉานของญาณ ๔ นี้ลงในบทว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ดังนี้.
    ปฏิสัมภิทาในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา. อธิบายว่า ญาณ (ปัญญา) อันถึงความรู้แตกฉานในอรรถ เพื่อสามารถทำการวิเคราะห์ (แยกแยะ) อรรถชนิดต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้.
    จริงอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรม เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ธรรมชาติต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในการกล่าวซึ่งนิรุตติธรรม เพื่อสามารถกระทำวิเคราะห์นิรุตติ (คือภาษาชนิดต่างๆ) ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในปฏิภาณ (คือไหวพริบในการโต้ตอบได้ฉับพลันทันที) เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ปฏิภาณชนิดต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา.
    บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงปฏิสัมภิทาทั้งหลายตามที่ทรงตั้งไว้ จึงตรัสคำว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นอาทิ (แปลว่า ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา).
    อธิบายคำว่าอัตถะ บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อตฺถ เมื่อว่าโดยสังเขป ได้แก่ ผลของเหตุ (ผลอันเกิดแต่เหตุ).
    จริงอยู่ ผลของเหตุนั้น พึงเป็นของสงบ (คือปราศจากกิเลส) พึงถึงพึงบรรลุได้ด้วยสามารถแห่งเหตุฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อัตถะ.
    เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้คือ
    ๑. สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
    ๒. พระนิพพาน
    ๓. อรรถแห่งภาษิต
    ๔. วิบาก
    ๕. กิริยา.
    เมื่อพิจารณาอรรถนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในอรรถนั้นๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา.
    อธิบายคำว่าธัมมะ คำว่า ธมฺม เมื่อว่าโดยสังเขปแล้ว ได้แก่ ปัจจัย.
    จริงอยู่ เพราะปัจจัยนั้นย่อมจัดแจง ย่อมให้ธรรมนั้นๆ เป็นไปด้วย ให้ถึงด้วย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ธัมมะ แต่เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว
    บัณฑิตพึงทราบว่า ได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ
    ๑. เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันยังผลให้เกิดขึ้น
    ๒. อริยมรรค
    ๓. ภาษิต (วาจาที่กล่าวแล้ว)
    ๔. กุศล
    ๕. อกุศล.
    เมื่อพิจารณาธรรมนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรมนั้น ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา.
    อธิบายคำว่าธัมมนิรุตติ (ภาษาของสภาวะ) พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า ญาณในการกล่าวซึ่งธัมมนิรุตติ ดังนี้.
    สภาวนิรุตติ (ภาษาอันเป็นสภาวะ) อันใด ย่อมเป็นไปในอรรถด้วย ในธรรมด้วย เมื่อพิจารณากระทำศัพท์ (เสียง) อันเป็นสภาวนิรุตตินั้นในเพราะการกล่าวอันนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในคำพูดอันเป็นสภาวนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา.
    นิรุตติปฏิสัมภิทานี้เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่ามีเสียงเป็นอารมณ์ หาชื่อว่ามีบัญญัติเป็นอารมณ์ไม่.
    ถามว่า เพราะเหตุไร?
    ตอบว่า เพราะฟังเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่.
    จริงอยู่ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เมื่อมีผู้กล่าวว่า ผสฺโส ดังนี้ ย่อมทราบว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ หรือว่าเมื่อผู้อื่นกล่าวว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ดังนี้ ก็ย่อมรู้ว่า นี้ไม่ใช่สภาวนิรุตติ ดังนี้.
    แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้นั่นแหละ.
    ถามว่า ก็ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมรู้ หรือย่อมไม่รู้ซึ่งเสียงแห่งพยัญชนะที่เป็นนาม อาขยาตและอุปสรรคอื่นๆ
    ตอบว่า ในกาลใดฟังเสียงเฉพาะหน้า ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่ ในกาลนั้นจักรู้ได้แม้ซึ่งคำนั้นแต่ต้น ดังนี้. แต่ว่า ข้อนี้มีผู้คัดค้านว่า นี้ไม่ใช่กิจของปฏิสัมภิทา ดังนี้แล้วได้ยกเอาเรื่องพระเถระมากล่าวว่า
    ได้ยินว่า พระเถระชื่อว่าติสสทัตตะ ถือเอาสลากอันเป็นวิการแห่งทองที่โพธิมณฑลแล้วปวารณา (คือหมายความว่าเปิดโอกาส หรืออนุญาตให้ภิกษุขอฟังภาษาต่างๆ ตามที่ต้องการ) แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยคำว่า ในบรรดาภาษา ๑๘ อย่าง ข้าพเจ้าจักกล่าวด้วยภาษาไหน ดังนี้ ก็คำปวารณานั้น พระเถระท่านตั้งอยู่ในการศึกษาจึงได้ปวารณา มิใช่ตั้งอยู่ในปฏิสัมภิทาแล้วกล่าวปวารณา.
    ด้วยว่า พระเถระนั้น ท่านให้บุคคลบอกแล้วๆ ท่านก็เรียนเอาภาษานั้นๆ เพราะความที่ท่านมีปัญญามาก ถัดจากนั้นมาท่านจึงปวารณาอย่างนี้ เพราะตั้งอยู่แล้วในการศึกษาเล่าเรียน.
    ภาษามคธเป็นภาษาทั่วไปของสัตวโลก ก็แลครั้นท่านกล่าวแล้ว จึงกล่าวคำในที่นี้ต่อไปอีกว่า ธรรมดาว่า สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมเรียนภาษา ดังนี้. จริงอยู่ มารดาและบิดาให้ลูกน้อยนอนที่เตียงหรือที่ตั้งในเวลาที่ลูกยังเป็นทารก แล้วพูดซึ่งกิจนั้นๆ เด็กทั้งหลายย่อมกำหนดภาษาของมารดาหรือของบิดาว่า คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว เมื่อกาลผ่านไปๆ พวกเด็กย่อมรู้ภาษาแม้ทั้งหมด. มารดาเป็นชาวทมิฬ บิดาเป็นชาวอันธกะ เด็กที่เกิดแต่ชนทั้งสองนั้น ถ้าเขาฟังถ้อยคำของมารดาก่อน เขาจักพูดภาษาทมิฬก่อน ถ้าฟังถ้อยคำของบิดาก่อน เขาจักพูดภาษาชาวอันธกะก่อน. แต่เมื่อไม่ได้ฟังถ้อยคำของชนแม้ทั้งสอง ก็จักกล่าว (พูด) ภาษาของชนชาวมคธ. ทารกแม้ใดเกิดในป่าใหญ่ไม่มีบ้าน คนอื่นชื่อว่ากล่าวอยู่ไม่มีในป่าใหญ่นั้น ทารกแม้นั้น เมื่อจะยังวาจาให้ตั้งขึ้นตามธรรมดาของตน ก็จักกล่าวภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.
    ภาษาของชนชาวมคธเท่านั้นหนาแน่นแล้ว (มากมาย) ในที่ทั้งปวง คือ
    ๑. ในนิรยะ (นรก)
    ๒. ในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน
    ๓. ในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต)
    ๔. ในมนุษยโลก
    ๕. ในเทวโลก
    ในภาษาของสัตว์ทั้งหลาย ภาษา ๑๘ อย่างนอกจากภาษาของชนชาวมคธ มีภาษาของคนป่า ของชาวอันธกะ ของชาวโยนก ของทมิฬตามที่กล่าวแล้วเป็นต้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ภาษาของชนชาวมคธกล่าวคือเป็นโวหารของพรหม เป็นโวหารของพระอริยะตามความเป็นจริง ภาษานี้ภาษาเดียวเท่านั้นไม่เปลี่ยนแปลง. แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรงยกพระไตรปิฎก คือพระพุทธพจน์ขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นด้วยภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.
    ถามว่า เพราะเหตุไร?
    ตอบว่า ก็เพราะเพื่อจะนำมาซึ่งอรรถ (ประโยชน์) ได้โดยง่าย.
    จริงอยู่ การเข้าถึงคลองกระแสแห่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผน ด้วยภาษาแห่งชนชาวมคธย่อมเป็นการมาอย่างพิสดารแก่ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. คือว่า เมื่อกระแสแห่งพระพุทธพจน์นั้นสักว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสืบต่อแล้วนั่นแหละ อรรถย่อมมาปรากฏนับโดยร้อยนัยพันนัย. ก็การที่บุคคลท่องแล้วๆ เรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่นมีอยู่ แต่ชื่อว่าการบรรลุปฏิสัมภิทาของปุถุชน เพราะเรียนเอาพุทธพจน์นั้นแม้มาก ย่อมไม่มี. พระอริยสาวกผู้ไม่บรรลุปฏิสัมภิทาหามีไม่.
    คำว่า ญาเณสุ ญาณํ (แปลว่า ความรู้ในญาณทั้งหลาย) ได้แก่ เมื่อเธอพิจารณากระทำญาณในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้ว ญาณอันถึงความรู้แตกฉาน ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา ดังนี้.
    อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ เหล่านี้ ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ (ภูมิ) ๒ อย่าง และย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ อย่าง.
    ถามว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ ๒ เป็นไฉน?
    ตอบว่า ในฐานะ ๒ คือ เสกขภูมิและอเสกขภูมิ.
    ในฐานะ ๒ นั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระแม้ทั้ง ๘๐ รูปถึงประเภทอเสกขภูมิ คือ ได้แก่ปฏิสัมภิทาของพระสารีบุตรเถระ ของพระมหาโมคคัลลานเถระ ของพระมหากัสสปเถระ ของพระมหากัจจายนเถระ ของพระมหาโกฏฐิตเถระเป็นต้น. ปฏิสัมภิทาของผู้ถึงเสกขภูมิ คือของพระอานันทเถระ ของจิตตคหบดี ของธัมมิกอุบาสก ของอุบาลีคหบดี ของนางขุชชุตตราอุบาสิกาเป็นต้น ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมถึงการแยกออกในภูมิทั้งสองเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
    ถามว่า ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ เป็นไฉน?
    ตอบว่า ด้วยอธิคมะ ด้วยปริยัติ ด้วยสวนะ ด้วยปริปุจฉา ด้วยปุพพโยคะ.
    ในเหตุ ๕ เหล่านั้น พระอรหัต ชื่อว่าอธิคมะ.
    จริงอยู่ เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    พระพุทธพจน์ ชื่อว่าปริยัติ.
    จริงอยู่ เมื่อเรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์อยู่ ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    การฟังพระธรรม ชื่อว่าสวนะ.
    จริงอยู่ เมื่อฟังธรรมอยู่โดยเคารพ ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    อรรถกถา ชื่อว่าปริปุจฉา.
    จริงอยู่ เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งอรรถแห่งพระบาลีอันตนเรียนมาแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    ความเป็นพระโยคาวจรในกาลก่อนคือ ความที่กรรมฐานอันตนบริหารแล้วโดยนัยแห่งการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับมา (หรณปัจจาหรณวัตร) ในอดีตภพ ชื่อว่าปุพพโยคะ.
    จริงอยู่ เมื่อหยั่งลงสู่ความเพียรมาแล้วในกาลก่อน ปฏิสัมภิทาทั้งหลายก็ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
    บรรดาเหตุ ๕ เหล่านั้น พึงทราบปฏิสัมภิทาทั้งหลายของพระติสสเถระผู้เป็นบุตรแห่งกุฎุมภี ชื่อปุนัพพสุได้เป็นธรรมบริสุทธิ์แล้วด้วยการบรรลุพระอรหัต ดังนี้.
    ได้ยินว่า พระติสสเถระนั้นเรียนพระพุทธพจน์ในตัมพปัณณิทวีป (คือในเกาะของชนผู้มีฝ่ามือแดง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลังกาทวีป) แล้วไปสู่ฝั่งอื่นเรียนเอาพระพุทธพจน์ในสำนักของพระธัมมรักขิตเถระ ชาวโยนก เสร็จจากการเรียนก็เดินทางมาถึงท่าเป็นที่ขึ้นเรือ เกิดความสงสัยในพระพุทธพจน์บทหนึ่ง จึงเดินทางกลับมาสู่ทางเดิมอีกประมาณ ๑๐๐ โยชน์ เมื่อไปสู่สำนักของอาจารย์ในระหว่างทางได้แก้ปัญหาแก่กุฎุมภีคนหนึ่ง กุฎุมภีผู้นั้นมีความเลื่อมใสได้ถวายผ้ากัมพลมีค่าแสนหนึ่ง พระติสสเถระนั้นนำผ้ามาถวายอาจารย์ อาจารย์ของพระเถระนั้นทำลายผ้าซึ่งมีราคาถึงแสนหนึ่งนั้นด้วยมีด แล้วให้ทำเป็นของใช้ในที่เป็นที่สำหรับนั่ง.
    ถามว่า การที่อาจารย์ทำอย่างนั้น เพื่อประโยชน์อะไร?
    ตอบว่า เพื่ออนุเคราะห์แก่ชนผู้เกิดมาในภายหลัง.
    ได้ยินว่า อาจารย์นั้นมีปริวิตกว่า ในอนาคตกาล เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายจักสำคัญถึงการปฏิบัติอันตนให้บริบูรณ์แล้ว โดยการพิจารณาถึงมรรคอันพวกเราบรรลุแล้ว (หาใช่มีความกังวลอย่างอื่นไม่). แม้พระติสสเถระก็ตัดความสงสัยได้ในสำนักของอาจารย์ แล้วจึงไป ท่านก้าวลงที่ท่าแห่งเมืองชื่อ ชัมพุโกล ถึงวิหารชื่อว่าวาลิกะในเวลาเป็นที่ปัดกวาดลานพระเจดีย์ ท่านก็ปัดกวาดลานพระเจดีย์. พระเถระทั้งหลายเห็นที่เป็นที่อันพระติสสเถระนั้นปัดกวาดแล้ว จึงคิดว่า ที่นี้เป็นที่ปัดกวาดอันภิกษุผู้มีราคะไปปราศแล้วทำการปัดกวาด แต่เพื่อต้องการทดลอง จึงถามปัญหาต่างๆ พระติสสเถระนั้นก็กล่าวแก้ปัญหาอันภิกษุเหล่านั้นถามแล้วทุกข้อ เพราะความที่ตนเป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลายดังนี้.
    ปฏิสัมภิทาของพระติสสทัตตเถระและของพระนาคเสนเถระ ได้บริสุทธิ์แล้วด้วยปริยัติ. ปฏิสัมภิทาของสามเณร ชื่อสุธรรม ได้บริสุทธิ์แล้วด้วยการฟังธรรมโดยเคารพ.
    ได้ยินว่า สามเณรนั้นเป็นหลานของพระธัมมทินนเถระผู้อยู่ในตฬังครวาสี ในขณะที่ปลงผมเสร็จก็บรรลุพระอรหัต เมื่อท่านกำลังนั่งฟังธรรมในโรงวินิจฉัยธรรมของพระเถระผู้เป็นลุงนั่นแหละ ได้เป็นผู้ชำนาญพระไตรปิฎกแล้ว.
    ปฏิสัมภิทาของพระติสสทัตตเถระผู้กล่าวอรรถ (ปริปุจฉา) ด้วยพระบาลีอันตนเรียนมา ได้เป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว. อนึ่ง พระโยคาวจรในปางก่อนบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร (วัตรคือการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับมา) แล้วขวนขวายกรรมฐานอันเหมาะสม มีปฏิสัมภิทาอันถึงความบริสุทธิ์แล้ว มิได้สิ้นสุด (มีมากมาย).
    ก็บรรดาเหตุ ๕ เหล่านั้น เหตุ ๓ เหล่านี้ คือ ปริยัติ สวนะ ปริปุจฉา เป็นเหตุ (เครื่องกระทำ) ที่มีกำลัง แก่ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน. ปุพพโยคะ เป็นพลวปัจจัย (ปัจจัยที่มีกำลัง) แก่อธิคม (การบรรลุพระอรหัต).
    ถามว่า ปุพพโยคะเป็นปัจจัยที่มีกำลังแก่ปัญญาเป็นเครื่องแตกฉาน หรือไม่?
    ตอบว่า เป็น แต่มิได้เป็นเช่นนั้น เพราะปริยัติคือพระพุทธพจน์ สวนะคือการฟังธรรม ปริปุจฉาคือการสอบถามอรรถธรรมในกาลก่อน จะมีหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อว่าโดยปุพพโยคะแล้ว เว้นจากการพิจารณาสังขารทั้งหลายในกาลก่อนด้วย ในกาลปัจจุบันด้วย ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ชื่อว่าหามีได้ไม่.
    อนึ่ง ปุพพโยคะในกาลก่อน และในกาลปัจจุบันนี้ เมื่อรวมกันเข้ามาสนับสนุนแล้ว ย่อมทำปฏิสัมภิทาให้บริสุทธิ์. วรรณนาสังคหวาระ จบ.๑- ____________________________
    ๑- สังคหวาระ หมายถึงวาระที่กล่าวรวมกัน.

    บัดนี้ เพื่อจำแนกปฏิสัมภิทาทั้งหลายโดยนัยแห่งการแสดงประเภทแห่งการสงเคราะห์ อรรถและธรรมทั้ง ๕ วาระเหล่าใดเหล่าหนึ่งในสังคหวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มปเภทวาระ (คือวาระที่มีชนิดต่างกัน) โดยนัยเป็นต้นว่า จตสฺโส (แปลว่า ปฏิสัมภิทา ๔) ดังนี้อีก. วาระนั้นมี ๕ อย่างด้วยสามารถแห่งสัจจวาระ เหตุวาระ ธัมมวาระ ปัจจยาการวาระ ปริยัตติวาระ.
    ในวาระเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัจจวาระไว้ก็เพื่อแสดงถึงความที่พระนิพพานเป็นธรรมที่บรรลุได้ด้วยปัจจัยแห่งทุกข์ซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น ว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงถึงความที่อริยมรรคอันนำมาซึ่งพระนิพพานอันเป็นเหตุ อันยังผลให้เกิดขึ้นว่าเป็นธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา).
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเหตุวาระ๒- ไว้ก็เพื่อแสดงถึงความที่เหตุทั้งหลายอันยังผลให้เกิดอันใดอันหนึ่งว่าเป็นธัมมะ (ธัมมปฏิสัมภิทา) และเพื่อแสดงถึงความที่ผลของเหตุว่าเป็นอัตถะ (อัตถปฏิสัมภิทา). ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกธัมมปฏิสัมภิทาขึ้นชี้แจงก่อน โดยไม่เป็นไปตามระเบียบอันว่าด้วยลำดับแห่งเหตุและผลที่ทรงตั้งไว้.
    ____________________________
    ๒- เหตุวาระ ปฏิสัมภิทา ๔ คือ อัตถ ...ธัมม ... นิรุตติ ... ปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระผู้มีพระภาคเจ้าอธิบายธัมมะ (เหตุ) ก่อนอัตถะ.
    IMG_5292.png
     
  16. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    ความเห็นผิด ไม่รู้สมาธิ ไม่รู้ปฎิสัมภิทา ไม่รู้พระสัทธรรม

    ค่อยมาลง!

    “สร้างเหตุและปัจจัย”

    #อวสานแผ่นพับบัญญัติ10ประการของมั่วเศษ /ไม่ใช่ของ(โมเสส)

    #ต้นกำเนิดสัทธรรมปฎิรูป

    #หายนะของผู้ไม่รู้จักพระสัทธรรม
    ขอท่านผู้เจริญ ฌาน อภิญญา สมาธิฯร่วมพิจารณา

    ข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนไตร่ตรองเห็นชัด! รออัพเดท!

    สมาธินิมิตคืออะไร?

    เกี่ยวข้องอะไรกับ สุญญตสมาธิ?
    เกี่ยวข้องอะไรกับธรรมเอก?
    เกี่ยวข้องอะไรกับสัญญาสูตร?
    เกี่ยวข้องอะไรกับปฎิสัมภิทา?
    เกรียวข้องอะไรกับการพิจารณาตามจิตที่วิมุตติ?
    เกี่ยวข้องอะไรกับพระสัทธรรมเจ้า?

    ท่านผู้เจริญข้อนี้ผิดตรงไหน?

    #เหล่าปฎิสัมภิทาย่อมรู้ชัด

    #สำคัญ{ สูตรใดที่ปรากฏบ้าง๑ สังคีตอันเป็นทิพย์ที่ปรากฎ๑ ทำนองที่ปรากฎ๑ควบคุมได้กี่ร่าง๑ เวลาที่เข้าถึงเวลาที่ออก๑ }

    คำตอบนี้เฉพาะเหล่าปฎิสัมภิทา!รู้ชัด!เจนดีเยี่ยม!

    #สุญญตธรรม

    ดูกรสารีบุตร คติ ๕ ประการ
    เหล่านี้แล ดูกรสารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี #พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก
    ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง

    ดูกรสารีบุตรผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะตกนรกดังนำมาฝังไว้ ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว แม้ฉันใด เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้.

    ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก
    ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันถึงแล้ว มีธรรมอันทราบแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความ
    เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทางหรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.
    จบ ทีฆนขสูตร ที่ ๔.

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงมีพระสัทธรรมเป็นที่เคารพพึ่งพิงเป็นพระปริยัติ ไม่ใช่นั่งสมาธินึกคิดประมวลผลเอาเองอย่างสุนักขัตตะกล่าว
    ถาม: พระสัทธรรมเจ้า ผู้อกาลิโก
    มีอยู่หรือไม่มี! ถ้าก้าวล่วงถือดีแอบอ้าง!
    ชนเหล่านั้นจักเป็นเช่นไรในสัมปรายภพ

    #เธอทรงจำมาดีแล้วหรือ?

    ปฎิสัมภิทา, สมาบัติภายใน, ธรรมเอก, สุญญตวิหารธรรม

    ๒ พระสูตรนี้ จะเกี่ยวข้องกับ สัญญาสูตร อรรถพยัญชนะ ที่ตรงกันของพระศาสดา

    จุฬสุญญตสูตร การแสดง สุญญตวิหารธรรม ของพระพุทธเจ้า แก่พระอานนท์ เธอทรงจำไว้ดีหรือไม่อานนท์ เรื่องก็ประมาณนี้ กล่าวถึง สัญญาสูตร

    ทั้ง ๒ พระสูตรนี้มีนัยยะเดียวที่บ่งชี้ชัดคือ สถานะ ของการมีอยู่และ การเข้าถึง พระสัทธรรม

    ไม่ต้องสงสัยเลยว่า สุญญตธรรม ที่นอบน้อมยกลงมาแสดง ก็มีอยู่ในพระสูตรหลักของสุญญตธรรมนี้ ซึ่งจะแตกต่างจากความเห็นของที่อื่น คือ การยืนยันสถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม การเคารพพึ่งพิงพระสัทธรรม

    ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ
    ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ

    ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้วยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้

    ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ
    ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร

    ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    (๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
    (๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ
    (๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข อยู่ ฯ
    (๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ

    ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ

    ดูกรอานนท์ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ

    พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด

    ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น
    เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้

    ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้นย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ จูฬสุญญตสูตร ที่ ๑

    พยสนสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายกล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑ เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑ สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑ เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ไม่
    ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑ ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ
    จบสูตรที่ ๘


    สุญญตสมาธิ หมายถึง สมาธิ หรือ เอกัคคตาเจตสิก ที่เป็นความตั้งมั่น ที่เกิดกับปัญญา ขั้นวิปัสสนา หรือ ขั้นมรรคจิต ที่เห็นโดยความไม่ใช่ สัตว์ บุคคล คือ สุญญตะที่ว่างเปล่า จากความเป็น สัตว์ บุคคล เพราะฉะนั้น จะต้องเป็นสมาธิ ที่เกิดพร้อมกับปัญญาขั้นวิปัสสนาญาณหรือมรรคจิต ที่เห็นตามความเป็นจริงว่าไม่มี สัตว์ บุคคล มีแต่ธรรม จึงเป็น สุญญตสมาธิ ที่สามารถละราคะได้จริงๆ

    และอีกนัยหนึ่ง มรรคจิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับสมาธิ เป็นสุญญตะ ว่างเปล่าจากราคะ ในขณะนั้น

    อนิมิตตสมาธิ อนิมิตตะ หมายถึง สภาพธรรม ที่ไม่มีนิมิต คือ ไม่มีนิมิตที่เที่ยง เพราะฉะนั้น จึงเป็นสมาธิที่เกิดพร้อมกับปัญญา ที่เห็นว่าไม่เที่ยงเพราะอนิมิต เว้นจากนิมิตว่าเที่ยงนั่นเองครับ จึงเป็นปัญญาที่เกิดกับวิปัสสนาญาณและมรรคจิตที่มีสมาธิ คือเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วย อันมีปัญญาเห็นความไม่เที่ยงในขณะนั้น ทำให้เว้นจากนิมิตว่าเที่ยงในขณะนั้น ครับ

    อัปปณิหิตสมาธิ ปัญญา ขั้นวิปัสสนาญาณและมรรคจิตที่เกิดพร้อมกับสมาธิ อันเห็นตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เป็นทุกข์ หาที่ตั้งไม่ได้ ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาธิ

    สุญญตสมาธิ

    IMG_5348.jpeg IMG_5347.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2024
  17. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    “สร้างเหตุและปัจจัย”

    #อวสานแผ่นพับบัญญัติ10ประการของมั่วเศษ /ไม่ใช่ของ(โมเสส)

    #ต้นกำเนิดสัทธรรมปฎิรูป

    #หายนะของผู้ไม่รู้จักพระสัทธรรม
    ขอท่านผู้เจริญ ฌาน อภิญญา สมาธิฯร่วมพิจารณา

    ข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนไตร่ตรองเห็นชัด! รออัพเดท!

    สมาธินิมิตคืออะไร?

    เกี่ยวข้องอะไรกับ สุญญตสมาธิ?
    เกี่ยวข้องอะไรกับธรรมเอก?
    เกี่ยวข้องอะไรกับสัญญาสูตร?
    เกี่ยวข้องอะไรกับปฎิสัมภิทา?
    เกรียวข้องอะไรกับการพิจารณาตามจิตที่วิมุตติ?
    เกี่ยวข้องอะไรกับพระสัทธรรมเจ้า?

    ท่านผู้เจริญข้อนี้ผิดตรงไหน?

    #เหล่าปฎิสัมภิทาย่อมรู้ชัด

    #สำคัญ{ สูตรใดที่ปรากฏบ้าง๑ สังคีตอันเป็นทิพย์ที่ปรากฎ๑ ทำนองที่ปรากฎ๑ควบคุมได้กี่ร่าง๑ เวลาที่เข้าถึงเวลาที่ออก๑ }

    คำตอบนี้เฉพาะเหล่าปฎิสัมภิทา!รู้ชัด!เจนดีเยี่ยม!

    #สุญญตธรรม/สุญญตาธรรมฯ“การปล่อยวางความรู้อันสูงสุด เกิดจากความรู้ความเข้าใจ

    #อารมณ์เดียวกันแต่วิเศษกว่าละเอียดกว่าเป็นระดับเสวยวิมุตติสุข

    #อ๋อ!เข้าใจแล้วแบบทางโลกียะธรรม! กับ อุทานธรรมบทเป็นของโลกุตตระธรรม

    (เข้าใจมากขึ้นแล้วนะ สำหรับท่านผู้เจริญผู้พิจารณาตาม)

    สุญญตสมาธิ หมายถึง สมาธิ หรือ เอกัคคตาเจตสิก ที่เป็นความตั้งมั่น ที่เกิดกับปัญญา ขั้นวิปัสสนา หรือ ขั้นมรรคจิต ที่เห็นโดยความไม่ใช่ สัตว์ บุคคล คือ สุญญตะที่ว่างเปล่า จากความเป็น สัตว์ บุคคล เพราะฉะนั้น จะต้องเป็นสมาธิ ที่เกิดพร้อมกับปัญญาขั้นวิปัสสนาญาณหรือมรรคจิต ที่เห็นตามความเป็นจริงว่าไม่มี สัตว์ บุคคล มีแต่ธรรม จึงเป็น สุญญตสมาธิ ที่สามารถละราคะได้จริงๆ

    และอีกนัยหนึ่ง มรรคจิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับสมาธิ เป็นสุญญตะ ว่างเปล่าจากราคะ ในขณะนั้น

    อนิมิตตสมาธิ อนิมิตตะ หมายถึง สภาพธรรม ที่ไม่มีนิมิต คือ ไม่มีนิมิตที่เที่ยง เพราะฉะนั้น จึงเป็นสมาธิที่เกิดพร้อมกับปัญญา ที่เห็นว่าไม่เที่ยงเพราะอนิมิต เว้นจากนิมิตว่าเที่ยงนั่นเองครับ จึงเป็นปัญญาที่เกิดกับวิปัสสนาญาณและมรรคจิตที่มีสมาธิ คือเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วย อันมีปัญญาเห็นความไม่เที่ยงในขณะนั้น ทำให้เว้นจากนิมิตว่าเที่ยงในขณะนั้น ครับ

    อัปปณิหิตสมาธิ ปัญญา ขั้นวิปัสสนาญาณและมรรคจิตที่เกิดพร้อมกับสมาธิ อันเห็นตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เป็นทุกข์ หาที่ตั้งไม่ได้ ชื่อว่า อัปปณิหิตสมาธิ

    ดูกรสารีบุตร คติ ๕ ประการ
    เหล่านี้แล ดูกรสารีบุตร ผู้ใดแลพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษพอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดมไม่มี #พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก
    ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง

    ดูกรสารีบุตรผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะตกนรกดังนำมาฝังไว้ ดูกรสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว แม้ฉันใด เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะตกนรกดังถูกนำมาฝังไว้.

    ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก
    ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันถึงแล้ว มีธรรมอันทราบแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความ
    เป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทางหรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.
    จบ ทีฆนขสูตร ที่ ๔.

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงมีพระสัทธรรมเป็นที่เคารพพึ่งพิงเป็นพระปริยัติ ไม่ใช่นั่งสมาธินึกคิดประมวลผลเอาเองอย่างสุนักขัตตะกล่าว
    ถาม: พระสัทธรรมเจ้า ผู้อกาลิโก
    มีอยู่หรือไม่มี! ถ้าก้าวล่วงถือดีแอบอ้าง!
    ชนเหล่านั้นจักเป็นเช่นไรในสัมปรายภพ

    #เธอทรงจำมาดีแล้วหรือ?

    ปฎิสัมภิทา, สมาบัติภายใน, ธรรมเอก, สุญญตวิหารธรรม

    ๒ พระสูตรนี้ จะเกี่ยวข้องกับ สัญญาสูตร อรรถพยัญชนะ ที่ตรงกันของพระศาสดา

    จุฬสุญญตสูตร การแสดง สุญญตวิหารธรรม ของพระพุทธเจ้า แก่พระอานนท์ เธอทรงจำไว้ดีหรือไม่อานนท์ เรื่องก็ประมาณนี้ กล่าวถึง สัญญาสูตร

    ทั้ง ๒ พระสูตรนี้มีนัยยะเดียวที่บ่งชี้ชัดคือ สถานะ ของการมีอยู่และ การเข้าถึง พระสัทธรรม

    ไม่ต้องสงสัยเลยว่า สุญญตธรรม ที่นอบน้อมยกลงมาแสดง ก็มีอยู่ในพระสูตรหลักของสุญญตธรรมนี้ ซึ่งจะแตกต่างจากความเห็นของที่อื่น คือ การยืนยันสถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม การเคารพพึ่งพิงพระสัทธรรม

    ดูกรอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้นๆ นี้แล คือ
    ตถาคตบรรลุสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ดูกรอานนท์ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้นๆ

    ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้วยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น ในบริษัทนั้นๆ โดยแท้

    ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า จะบรรลุสุญญตสมาบัติภายในอยู่เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นตั้งจิตภายในให้มั่นเถิด ฯ
    ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร

    ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    (๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจารมีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯ
    (๒) เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯ
    (๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุข อยู่ ฯ
    (๔) เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ

    ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น ฯ

    ดูกรอานนท์ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ

    พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด

    ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น
    เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้

    ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้นย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ จูฬสุญญตสูตร ที่ ๑

    พยสนสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายกล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑ เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑ สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑ เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ไม่
    ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑ ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ
    จบสูตรที่ ๘
    IMG_5347.jpeg
     

แชร์หน้านี้

Loading...