พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมเคยเห็นแบบกรีดท้องเอาดี ตอนงูเห่าเป็นๆ แถมถลกหนังตอนเป็นๆอีกครับ

    ไม่ไหว ทรมาณมาก แถมเชื้อโรคเพียบ

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  3. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ศาสนาพุทธ ห้ามฆ่า แต่ยังกินเนื้อ / ทำมัย
    http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vikings&month=04-2008&date=16&group=26&gblog=21

    ถาม - ศาสนาพุทธห้ามฆ่าแล้วทำไม ชาวพุทธ และ พระสงฆ์ ถึงไม่กินเจ แล้วอย่างนี้ การฆ่าจะหมดไปได้อย่างไร เขาหมายความว่า การกระทำมันผิดกับหลักคำสอน ถ้าเป็นเพื่อน ๆ จะอธิบายอย่างไรกันบ้าง เอาง่าย ๆ

    พุทธองค์ ทรงกล่าวไว้ ดังนี้

    ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย
    ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภความเพียร

    โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า วัตถุ ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส ความไม่สั่งสม การปรารภ ความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า
    ขอประทานพระวโรกาส

    1. ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ
    2. ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ
    3. ภิกษุทั้งหลายพึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้นพึงต้องโทษ
    4. ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้องโทษ
    5. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษ

    พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งว่า อย่าเลย เทวทัต

    1. ภิกษุใดปรารถนา ภิกษุนั้น จง ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
    รูปใดปรารถนา จง อยู่ในบ้าน

    2. รูปใดปรารถนา จง ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
    รูปใดปรารถนา จง ยินดีกิจนิมนต์

    3. รูปใดปรารถนา จง ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    รูปใดปรารถนา จง ยินดีคหบดีจีวร

    4. เราอนุญาตโคนไม้เป็น เสนาสนะ ๘ เดือน

    5. เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ โดยส่วน สามส่วน คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่รังเกียจ

    ++++++++++++++++++

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อยากให้ลูก ๆ ของท่านเป็นคนเลี้ยงง่าย
    ยกเว้น เนื้อ 10 อย่างที่ทรงห้ามไว้ ได้แก่

    1. เนื้อมนุษย์
    2. เนื้อช้าง
    3. เนื้อม้า
    4. เนื้อสุนัข
    5. เนื้องู
    6. เนื้อราชสีห์
    7. เนื้อเสือโคร่ง
    8. เนื้อเสือเหลือง
    9. เนื้อหมี
    10. เนื้อเสือดาว

    +++++++++++++

    บางความเห็น

    " จะฉันเนื้อสัตว์ได้ ต้อง
    ไม่ได้รู้ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้สงสัย ว่าเขาฆ่ามาเพื่อตน "

    +++++++++++++
    บาง ความเห็น

    ดูตัวอย่างแร้ง แร้งเป็นสัตว์กินเนื้อก็จริง แต่แร้งไม่เคยฆ่า
    แร้งไม่ล่าสัตว์ อื่น เพื่อนำมาเป็นอาหาร แต่อาศัยกินซากสัตว์ที่ตายแล้ว
    เห็นไหมครับ แร้งกินเนื้อ โดยที่ไม่ได้ฆ่า เพราะฉะนั้น
    การกินเนื้อกับการฆ่า ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกัน นี่เป็นเหตุผลว่า
    ทำไมพระพุทธศาสนาจึงสอนไม่ให้ฆ่า แต่ไม่ได้สอนว่าไม่ให้กินเนื้อ
    เพราะถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว การฆ่ากับการกินเนื้อมันไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกันนั่นเอง

    สมมุติว่าเสือฆ่ากวางเพื่อกินเนื้อพอกินอิ่มก็ทิ้งไว้อย่างนั้น พอนกแร้งเห็นเข้าก็มากินซากศพนั้น

    ถามว่า นกแร้งมีความผิดหรือที่มากินซากศพนั้น

    ถามว่า ใครเป็นผู้ฆ่ากวาง

    ถามว่า บาปจะตกอยู่ที่ นกแร้ง หรือเสือ

    ถามว่า แม้นนกแร้งจะไม่มากินซากศพนั้น กวางจะถูกฆ่าหรือไม่

    ถามว่า คนที่กินเนื้อสัตว์แต่ไม่ได้ฆ่าสัตว์ผิดศีลข้อไหน

    ++++++++++++++

    ศึกษาเพิ่มเติม

    อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต จูฬวรรค อามคันธสูตร

    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=315
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต จูฬวรรค

    อามคันธสูตร
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=315

    อรรถกถาอามคันธสูตร

    อามคันธสูตร มีคำเริ่มต้นว่า สามากจิงฺคูลกจีนกานิ จ เป็นต้น

    ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร?
    ตอบว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ :-
    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น พราหมณ์ชื่อว่า อามคันธะ บรรพชาเป็นดาบสพร้อมกับมาณพ ๕๐๐ คน ให้สร้างอาศรมอยู่ในระหว่างภูเขา (หุบเขา) มีเผือกมันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่ที่หุบเขาแห่งนั้น ดาบสไม่บริโภคปลาและเนื้อเลย.
    ครั้งนั้น โรคผอมเหลืองก็เกิดขึ้นแก่ดาบสเหล่านั้นผู้ไม่บริโภคของเค็ม ของเปรี้ยวเป็นต้น. ต่อแต่นั้น ดาบสเหล่านั้นก็พูดกันว่า เราจะไปยังถิ่นมนุษย์เพื่อเสพของเค็มและของเปรี้ยวดังนี้แล้ว จึงได้เดินทางไปถึงปัจจันตคาม.
    ในปัจจันตคามนั้นมนุษย์ทั้งหลายเห็นดาบสเหล่านั้นแล้ว ก็เลื่อมใสในดาบสเหล่านั้น นิมนต์ให้ฉันอาหาร มนุษย์ทั้งหลายได้น้อมเตียง ตั่ง ภาชนะสำหรับบริโภคและน้ำมันทาเท้าเป็นต้นแก่ดาบสเหล่านั้น ผู้ทำภัตกิจเสร็จแล้ว แสดงที่เป็นที่อยู่ด้วยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงอยู่ในที่นี้ ขอพวกท่านอย่าได้กระสันต์ ดังนี้แล้วก็พากันหลีกไป แม้ในวันที่สอง พวกมนุษย์ได้ถวายทานแก่ดาบสเหล่านั้น แล้วได้ถวายทานวันละ ๑ บ้านตามลำดับเรือนอีก.
    ดาบสทั้งหลายอยู่ในที่นั้นสิ้น ๔ เดือนมีร่างกายแข็งแรงขึ้น เพราะได้เสพรสเค็มและรสเปรี้ยว จึงได้บอกแก่มนุษย์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย (อาวุโสทั้งหลาย) พวกเราจะไปละ.
    มนุษย์ทั้งหลายได้ถวายน้ำมันและข้าวสารเป็นต้นแก่ดาบสเหล่านั้น. ดาบสเหล่านั้นถือเอาน้ำมันและข้าวสารเป็นต้นเหล่านั้น ได้ไปยังอาศรมของตนนั้นเอง (ตามเดิม) ก็ดาบสเหล่านั้นได้มาสู่บ้านนั้นทุกๆ ปีเหมือนอย่างเคยปฏิบัติมา แม้พวกมนุษย์ทราบว่าดาบสเหล่านั้นพากันมา จึงได้ตระเตรียมข้าวสารเป็นต้น ต้องการเพื่อจะถวายทาน และได้ถวายทานแก่ดาบสเหล่านั้นผู้มาแล้ว เหมือนเช่นทุกครั้ง.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงแสดงธรรมจักรอันบวรแล้ว เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีโดยลำดับ ประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถีนั้น ทรงเห็นอุปนิสสัยสมบัติของดาบสเหล่านั้น เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีนั้น มีหมู่ภิกษุแวดล้อมเสด็จจาริกไปอยู่ เสด็จถึงบ้านนั้นตามลำดับ. มนุษย์ทั้งหลายเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ถวายมหาทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่มนุษย์เหล่านั้นด้วยพระธรรมเทศนานั้น มนุษย์เหล่านั้นบางพวกสำเร็จเป็นพระโสดาบัน บางพวกสำเร็จเป็นพระสกทาคามี และพระอนาคามี บางพวกบรรพชาแล้วบรรลุพระอรหัต.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จกลับมายังกรุงสาวัตถีเช่นเดิมอีก.
    ครั้งนั้น ดาบสเหล่านั้นได้มาสู่บ้านนั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นพวกดาบสแล้วก็ไม่ได้ทำการโกลาหลเช่นกับในคราวก่อน ดาบสทั้งหลายถามพวกมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย เพราะเหตุไรมนุษย์เหล่านี้จึงไม่เป็นเช่นกับคราวก่อน หมู่บ้านแห่งนี้ถูกลงราชอาชญาหรือหนอแล หรือว่าถูกประทุษร้ายด้วยทุพภิกขภัย หรือว่ามีบรรพชิตบางรูปซึ่งสมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้นมากกว่าพวกเรา ได้มาถึงหมู่บ้านแห่งนี้.
    มนุษย์เหล่านั้นเรียนว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บ้านนี้จะถูกลงราชอาชญาก็หาไม่ ทั้งจะถูกประทุษร้ายด้วยทุพภิกขภัยก็หาไม่ ก็แต่ว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก ได้เสด็จมา ณ หมู่บ้านแห่งนี้.
    อามคันธดาบสฟังคำนั้นแล้วจึงพูดว่า คหบดีทั้งหลาย พวกท่านพูดว่า พุทฺโธ ดังนี้หรือ?
    มนุษย์ทั้งหลายกล่าวขึ้นสิ้น ๓ ครั้งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าย่อมกล่าวว่า พุทฺโธ ดังนี้. อามคันธดาบสยินดีแล้วเปล่งวาจาแสดงความยินดีว่า แม้เสียงว่า พุทฺโธ นี้แลเป็นเสียงที่หาได้ยากในโลกดังนี้ จึงได้ถามว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเสวยกลิ่นดิบหรือหนอแล หรือว่าไม่เสวยกลิ่นดิบ.
    พวกมนุษย์ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อะไรคือกลิ่นดิบ.
    อามคันธดาบสกล่าวว่า ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ปลาและเนื้อชื่อว่ากลิ่นดิบ.
    มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยปลาและเนื้อ.
    ดาบสฟังคำนั้นแล้วก็เกิดวิปฏิสาร (เดือดร้อนใจ) ว่า บุคคลผู้นั้นจะพึงเป็นพระพุทธเจ้าหรือ หรือว่าไม่พึงเป็นพระพุทธเจ้า. ดาบสนั้นคิดอีกว่า ชื่อว่าการปรากฏขึ้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย บุคคลได้โดยยาก เราไปเฝ้าพระองค์แล้วถามจักทราบได้.
    ต่อจากนั้น ดาบสนั้นจึงได้ไปยังที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ถามหนทางนั้นกะมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รีบร้อนประดุจแม่โคที่หวงลูก ได้ไปถึงกรุงสาวัตถีโดยการพักคืนหนึ่งในที่ทุกแห่ง เข้าไปยังพระเชตวันนั้นแล พร้อมกับบริษัทของตน.
    แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับนั่งบนอาสนะเพื่อแสดงธรรมในสมัยนั้น ดาบสทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้นิ่งไม่ถวายบังคม ได้นั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปราศรัยแสดงความชื่นชมกับดาบสเหล่านั้น โดยนัยว่า ท่านฤาษีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพออดทนได้ละหรือ ดังนี้เป็นต้น. แม้ดาบสเหล่านั้นก็ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายพออดทนได้ ดังนี้เป็นต้น.
    ลำดับนั้น อามคันธฤาษีได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์เสวยกลิ่นดิบหรือไม่เสวย.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า พราหมณ์ ชื่อว่ากลิ่นดิบนั้นคืออะไร?
    ดาบสนั้นทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ปลาและเนื้อชื่อว่ากลิ่นดิบ.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ปลาและเนื้อไม่ใช่กลิ่นดิบ ก็แลกิเลสทั้งปวงที่เป็นบาป เป็นอกุศลธรรม ชื่อว่ากลิ่นดิบ แล้วตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ตัวท่านเองได้ถามถึงกลิ่นดิบในกาลบัดนี้ก็หามิได้ แม้ในอดีต พราหมณ์ชื่อว่าติสสะก็ได้ถามถึงกลิ่นดิบกะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะแล้ว ก็ติสสพราหมณ์ได้ทูลถามแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์แล้วอย่างนี้ดังนี้ แล้วได้ทรงนำมาซึ่งพระคาถาที่ติสสพราหมณ์ และพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะตรัสแล้วนั้นแล
    เมื่อจะให้อามคันธพราหมณ์ทราบด้วยคาถาเหล่านี้ จึงตรัสว่า สามากจิงฺคูลกจีนกานิ จ ดังนี้เป็นต้น.
    นี่คือเหตุเกิดขึ้นแห่งพระสูตรนี้ ในที่นี้เพียงเท่านี้ก่อน แต่ในอดีตกาลมีเหตุเกิดขึ้นดังต่อไปนี้
    ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์พระนามว่ากัสสปะ บำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขยกับแสนกัป ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณีชื่อว่า ธนวดี ปชาบดีของพรหมทัตตพราหมณ์ในเมืองพาราณสี แม้อัครสาวกก็เคลื่อนจากเทวโลกในวันนั้นเหมือนกัน อุบัติในครรภ์ของปชาบดีของพราหมณ์ผู้เป็นอนุปุโรหิต การถือปฏิสนธิและการคลอดจากครรภ์ของพระโพธิสัตว์ และอัครสาวกทั้งสองนั้นได้มีแล้วในวันเดียวกันนั่นเองด้วยประการฉะนี้.
    ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อบุตรของพราหมณ์คนหนึ่งว่ากัสสปะ บุตรของพราหมณ์คนหนึ่งว่าติสสะ ในวันเดียวกันนั้นเอง. เด็กทั้งสองเหล่านั้นเป็นสหายเล่นฝุ่นกันมา ได้ถึงความเจริญวัยโดยลำดับ. บิดาของติสสะได้สั่งลูกชายว่า ดูก่อนพ่อ สหายกัสสปะนี้ออกบวชแล้วจะเป็นพระพุทธเจ้า แม้เจ้าเองบวชในสำนักของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะนั้นแล้ว ก็จะพึงทำการสลัดออกจากภพเสียได้.
    ติสสะนั้นรับว่า ดีละ แล้วก็ไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนสหาย แม้เราทั้งสองจักบรรพชาด้วยกัน.
    พระโพธิสัตว์รับว่า ดีละ.
    ต่อจากนั้น ในกาลที่สหายทั้งสองเจริญวัยโดยลำดับ ติสสะพูดกับพระโพธิสัตว์ว่า สหาย มาเถิดเราจะบรรพชาด้วยกัน. พระโพธิสัตว์มิได้ออกบรรพชา. ติสสะคิดว่า ญาณของสหายนั้นยังไม่ถึงกาลแก่รอบก่อนดังนี้แล้ว ตนเองจึงได้ออกบวชเป็นฤาษี ให้สร้างอาศรมอยู่ที่เชิงภูเขาในป่า.
    ในสมัยต่อมา แม้พระโพธิสัตว์ทั้งๆ ที่ดำรงอยู่ในเรือนนั้นเอง ก็กำหนดอานาปานสติ ทำฌาน ๔ และอภิญญาให้บังเกิดขึ้นแล้ว เสด็จไปที่ใกล้โคนต้นโพธิด้วยปราสาท (ด้วยฤทธิ์) แล้วอธิษฐานอีกว่า ขอปราสาทจงดำรงอยู่ในที่ตามเดิมนั้นแล. ปราสาทนั้นก็ไปประดิษฐานอยู่ในที่ของตนตามเดิม.
    ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์ที่มิใช่บรรพชิต ไม่อาจจะเข้าถึงโคนต้นโพธิได้ เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์บรรพชาแล้วจึงไปถึงโคนต้นโพธิ นั่งทำความเพียรอยู่ ๗ วัน ทำให้แจ้งแล้วซึ่งสัมโพธิญาณโดยใช้เวลา ๗ วัน.
    ณ กาลครั้งนั้น ที่ป่าอิสิปตนะมีบรรพชิตอยู่ถึง ๒ หมื่นรูป ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ตรัสเรียกบรรพชิตเหล่านั้นมาแล้ว ทรงแสดงธรรมจักร ในเวลาจบพระสูตรนั้นเอง บรรพชิตทุกรูปก็เป็นพระอรหันต์.
    ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีภิกษุ ๒ หมื่นรูปเป็นบริวาร ประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนะนั้นนั่นเอง และพระเจ้ากาสีพระนามว่า กิกี ทรงอุปัฏฐากพระองค์ด้วยปัจจัย ๔.
    ต่อมาวันหนึ่ง บุรุษชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งแสวงหาวัตถุทั้งหลายมีแก่นจันทน์เป็นต้นที่ภูเขา ลุถึงอาศรมของติสสดาบส อภิวาทดาบสนั้นแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ข้างหนึ่ง. ดาบสเห็นบุรุษนั้นแล้วถามว่า ท่านมาจากที่ไหน. บุรุษนั้นตอบว่า ผมมาจากเมืองพาราณสี ขอรับ. ดาบสถามว่า ความเป็นไปที่เมืองพาราณสีนั้นเป็นอย่างไรบ้าง. บุรุษนั้นตอบว่า ท่านผู้เจริญ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ บังเกิดขึ้นแล้วที่เมืองพาราณสีนั้น. ดาบสได้สดับคำที่ฟังได้โดยยากก็เกิดปีติโสมนัส แล้วถามว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเสวยกลิ่นดิบหรือไม่เสวย. บุรุษนั้นถามว่า กลิ่นดิบคืออะไร ขอรับ.
    ดาบสตอบว่า กลิ่นดิบคือปลาและเนื้อสิคุณ.
    บุรุษนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยปลาและเนื้อ. ดาบสฟังคำนั้นแล้วก็เกิดวิปฏิสาร ดำริอีกว่า เราจะไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ถ้าหากว่าพระองค์จักตรัสว่า เราบริโภคกลิ่นดิบ ต่อแต่นั้น เราก็จะห้ามพระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นไม่เหมาะสมแก่ชาติและสกุลของพระองค์ ดังนี้แล้วคิดว่า เราบวชในสำนักของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จักกระทำการสลัดออกจากภพได้ ดังนี้แล้ว จึงได้ถือเอาอุปกรณ์ (บริขาร) ที่เบาๆ ไปถึงเมืองพาราณสีในเวลาเย็น โดยการพักราตรีเดียวในที่ทั้งปวง เข้าไปแล้วสู่ป่าอิสิปตนะนั้นเอง.
    แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะเพื่อแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ในสมัยนั้นนั่นเอง.
    ดาบสเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไม่ถวายบังคม เป็นผู้นิ่งได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นดาบสนั้นแล้ว ตรัสปฏิสันถารโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล.
    แม้ดาบสนั้นกล่าวคำทั้งหลายเป็นต้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะผู้เจริญ พระองค์ทรงพออดทนได้อยู่หรือ. ดังนี้เป็นต้นแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระกัสสปะผู้เจริญ พระองค์เสวยกลิ่นดิบหรือไม่.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ เราหาได้เสวยกลิ่นดิบไม่.
    ดาบสทูลว่า ข้าแต่พระกัสสปะผู้เจริญ สาธุ สาธุ พระองค์เมื่อไม่เสวยซากศพของสัตว์อื่น ได้ทรงกระทำกรรมดีแล้ว ข้อนั้นสมควรแล้วแก่ชาติ สกุลและโคตรของพระกัสสปะผู้เจริญ.
    ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงดำริว่า เราพูดว่า เราไม่บริโภคกลิ่นดิบดังนี้ หมายถึง (กลิ่นดิบ) คือกิเลสทั้งหลาย พราหมณ์เจาะจงเอาปลาและเนื้อ ทำอย่างไรหนอ เราจะไม่เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตพรุ่งนี้ จะพึงบริโภคบิณฑบาตที่เขานำมาจากวังของพระเจ้ากิกิ คาถาปรารภกลิ่นดิบจักเป็นไปอย่างนี้ ต่อแต่นั้นเราจะให้พราหมณ์เข้าใจได้ ด้วยพระธรรมเทศนาดังนี้แล้ว ทรงทำบริกรรมสรีระแต่เช้าตรู่ในวันที่สอง เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฎี.
    ภิกษุทั้งหลายเห็นพระคันธกุฏีปิดจึงรู้ได้ว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ประสงค์จะเสด็จเข้าไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย จึงได้กระทำปทักษิณพระคันธกุฎี แล้วเข้าไปเพื่อบิณฑบาต.
    แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากพระคันธกุฎี แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ฝ่ายดาบสแลต้มกิ่งใบไม้ แล้วเคี้ยวกินแล้วนั่งอยู่ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    พระเจ้ากาสิกราชพระนามว่า กิกิ เห็นภิกษุทั้งหลายเที่ยวบิณฑบาตจึงตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปไหน และได้ทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในวิหาร มหาบพิตร. แล้วจึงได้ทรงสั่งโภชนะที่ถึงพร้อมด้วยกับและรสต่างๆ สมบูรณ์ด้วยชนิดของเนื้อแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
    อำมาตย์ทั้งหลายไปสู่วิหาร กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายน้ำทักษิโณทก เมื่อจะอังคาสก็ได้ถวายข้าวยาคู อันถึงพร้อมด้วยเนื้อนานาชนิดเป็นครั้งแรก.
    ดาบสเห็นแล้วจึงได้ยืนคิดอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสวยหรือไม่หนอ.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อดาบสนั้นดูอยู่นั้นแล จึงทรงดื่มข้าวยาคู ทรงใส่ชิ้นเนื้อเข้าไปในพระโอษฐ์. ดาบสเห็นแล้วก็โกรธ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดื่มข้าวยาคูเสร็จแล้ว อำมาตย์ทั้งหลายก็ได้ถวายโภชนะอันประกอบด้วยกับข้าวอันมีรสต่างๆ อีก ดาบสเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโภชนะแม้นั้นเสวยอยู่ ก็โกรธยิ่งขึ้น กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ฉันปลาและเนื้อ.
    ครั้งนั้น ดาบสได้เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงล้างมือและเท้าประทับนั่งอยู่ ทูลว่า ข้าแต่ท่านกัสสปะผู้เจริญ ท่านตรัสคำเท็จ ข้อนั้นไม่ใช่กิจของบัณฑิต ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายทรงติเตียนมุสาวาทไว้แล้ว แม้พวกฤาษีเหล่านั้นเหล่าใดยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยมูลผลาผลในป่า อยู่ ณ เชิงเขา ฤาษีแม้เหล่านั้นก็ไม่ยอมพูดเท็จ เมื่อจะพรรณนาคุณทั้งหลายของฤาษีทั้งหลายด้วยพระคาถา จึงกล่าวว่า สามากจิงฺคูลกจีนกานิ จ เป็นต้น.
    ติญชาติและธัญชาติที่เข้าถึงซึ่งความเป็นสิ่งอันบุคคลขจัด (เปลือกออกเสียแล้ว) หรือว่าเลือกเอาแต่รวงทั้งหลายแล้วถือเอา ชื่อว่าข้าวฟ่าง ในคาถานั้น.
    อนึ่ง ลูกเดือย (จิงฺคูลกา) มีรวงซึ่งมีสัณฐานเหมือนดอกกณวีระ.
    ถั่วเขียว (จีนกานิ) ซึ่งเขาปลูกแล้ว เกิดขึ้นที่เชิงเขาในดง ชื่อว่า จีนกานิ.
    ใบไม้ (สีเขียว) อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปตฺตปฺผลํ.
    เผือกมันอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มูลปฺผลํ.
    ผลไม้และผลเถาวัลย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ควิปฺผลํ.
    อีกประการหนึ่ง เผือกมัน ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า มูล.
    ผลไม้และผลแห่งเถาวัลย์ ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า ผล.
    ผลแห่งกระจับและแห้วเป็นต้นซึ่งเกิดในน้ำ ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า ควิปฺผล.
    สองบทว่า ธมฺเมน ลทฺธํ ความว่า ละมิจฉาชีพ มีการเป็นทูตรับใช้และการไปสื่อข่าว แล้วได้มาด้วยการท่องเที่ยวขอเขาเลี้ยงชีพ.
    พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้สงบ ชื่อว่า สตํ.
    บทว่า อสมานา ได้แก่ บริโภคอยู่.
    ด้วยบาทพระคาถาว่า น กามกามา อลิกํ ภณนฺติ ฤาษีย่อมแสดงถึงการติเตียนต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการสรรเสริญฤาษีทั้งหลายว่า ฤาษีทั้งหลายเหล่านั้นไม่ยึดถือของของตน บริโภคอยู่ซึ่งข้าวฟ่างเป็นต้นเหล่านี้อยู่อย่างนี้ ย่อมไม่พูดคำเหลาะแหละเพราะปรารถนากาม คือว่าปรารถนากามอยู่ ก็ไม่พูดคำเท็จอย่างที่พระองค์ปรารถนากามทั้งหลายอันมีรสอร่อยเป็นต้น เสวยกลิ่นดิบอยู่นั้นแล ก็ยังตรัสว่า พราหมณ์ เราหาบริโภคกลิ่นดิบไม่ ชื่อว่าตรัสคำไม่จริง (เหลาะแหละ) ดังนี้.
    พราหมณ์ ครั้นติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการอ้างคำสรรเสริญฤาษีทั้งหลายอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงเรื่องการติเตียนตามที่ตนประสงค์ จะติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยนิปปริยาย จึงได้กล่าวว่า ยทสมาโน เป็นต้น.
    อักษรในคาถานั้นเป็นการเชื่อมบท แต่เนื้อความมีดังต่อไปนี้ :-
    เนื้อนกมูลไถหรือเนื้อนกกระทาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระทำดีแล้วด้วยการบริกรรมในเบื้องต้น มีการล้างและการหั่นเป็นต้น สำเร็จดีแล้วด้วยการบริกรรมในภายหลัง มีการปรุงและการย่างเป็นต้น อันชนเหล่าอื่นผู้ใคร่ธรรมซึ่งสำคัญอยู่ว่า ท่านผู้นี้ไม่ใช่มารดา ไม่ใช่บิดา (ของเรา) แต่อีกอย่างหนึ่งแล ท่านผู้นี้เป็นทักขิเณยยบุคคล ดังนี้ได้ถวายไป ชื่อว่า ตกแต่งดีแล้วในการกระทำสักการะ.
    ชื่อว่า ประณีต คือตกแต่งเรียบร้อย คือว่าประณีต เพราะเป็นโภชนะมีรสเลิศ เพราะเป็นโภชนะมีโอชะ เพราะเป็นโภชนะที่สามารถจะนำมาซึ่งกำลังและไขมัน พระองค์เสวยอยู่ คือให้นำมาอยู่ คือว่าพระองค์เสวยเนื้ออย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียวก็หามิได้ โดยที่แท้แล พระองค์เสวยข้าวสาลีแม้นี้ ได้แก่ ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีซึ่งได้เลือกกากออกแล้ว.
    ดาบสเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอ้างพระโคตรว่า ข้าแต่ท่านกัสสปะ พระองค์นั้นเสวยกลิ่นดิบ. พระองค์เสวยอยู่ซึ่งเนื้อชนิดใดชนิดหนึ่ง และเสวยอยู่ซึ่งข้าวสาลีนี้ ข้าแต่ท่านกัสสปะ พระองค์ชื่อว่าเสวยกลิ่นดิบ ดังนี้.
    ดาบสครั้นติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะอาหารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะยกเรื่องมุสาวาทขึ้นติเตียน จึงกล่าวว่า น อามคนฺโธ ฯเปฯ สุสงฺขเตหิ
    เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า
    ดาบสเมื่อกล่าวบริภาษอยู่ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม ผู้เว้นจากคุณของพราหมณ์ ข้าแต่ท่านผู้เป็นพราหมณ์ผู้สมมติแต่เพียงชาติ พระองค์เป็นผู้ที่ข้าพระองค์ทูลถามในกาลก่อนแล้ว พระองค์ก็ตรัสอย่างนี้ว่า คือว่าพระองค์ตรัสโดยส่วนเดียวอย่างนี้ว่า กลิ่นดิบไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า ดังนี้.
    บทว่า สาลีนมนฺนํ ได้แก่ ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี.
    บทว่า ปริภุญฺชมาโน ได้แก่ บริโภคอยู่.
    บาทคาถาว่า สกุนฺตมํเสหิ สุสงฺขเตหิ ความว่า ดาบสกล่าวถึงเนื้อนกซึ่งพระราชานำมาถวายแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าในครั้งนั้น
    ก็ดาบสเมื่อจะกล่าวอย่างนี้นั้นเอง จึงได้แหงนมองดูพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในเบื้องล่างตั้งแต่ฝ่าพระบาทจนถึงปลายพระเกศาในเบื้องบน จึงได้เห็นความสมบูรณ์แห่งพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการและอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ รวมทั้งได้เห็นการแวดล้อมแห่งพระรัศมีที่ขยายออกไปวาหนึ่ง
    จึงคิดว่า
    ผู้ที่มีกายประดับด้วยมหาปุริสลักษณะเป็นต้นเห็นปานนี้ ไม่ควรที่จะพูดเท็จ
    ก็พระอุณาโลมนี้ ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างคิ้ว สีขาวอ่อนนุ่มคล้ายนุ่น และขนที่ขุมขนทั้งหลายเป็นอเนกเกิดขึ้นแก่ท่านผู้นี้ เพราะผลอันไหลออกแห่งสัจวาจา แม้ในระหว่างภพนั้นเอง
    ก็บุคคลเช่นนี้นั้นจะพูดเท็จในบัดนี้ได้อย่างไร กลิ่นดิบของพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้องเป็นอย่างอื่นแน่แท้ พระองค์ตรัสคำนี้หมายถึงกลิ่นอันใดว่า พราหมณ์เราหาได้บริโภคกลิ่นดิบไม่ ดังนี้ ไฉนหนอเราจะพึงถามถึงกลิ่นนั้น เป็นผู้มีมานะมากบังเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจะเจรจาด้วยอำนาจโคตรนั้นเอง
    จึงกล่าวคาถาที่เหลือนี้ว่า :-
    ข้าแต่ท่านกัสสปะ ข้าพระองค์ขอถามเนื้อความนี้กะพระองค์ว่า กลิ่นดิบของพระองค์มีประการเป็นอย่างไร ดังนี้.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแก้ถึงกลิ่นดิบแก่พราหมณ์นั้น จึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า ปาณาติปาโต ดังนี้.
    การฆ่าสัตว์ชื่อว่า ปาณาติบาต ในคาถานั้น.
    ในคำว่า วธจฺเฉทพนฺธนํ นี้ มีอธิบายว่า การทุบตีทำร้ายสัตว์ทั้งหลายด้วยท่อนไม้เป็นต้น ชื่อว่า วธะ การทุบตี การตัดมือและเท้าเป็นต้น. ชื่อว่า เฉทะ การตัด การจองจำด้วยเชือกเป็นต้น. ชื่อว่า พันธนะ การจองจำ.
    การลักและการพูดเท็จ ชื่อว่า เถยยะและมุสาวาท.
    การให้ความหวังเกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักให้ เราจักกระทำแล้วก็ทำให้หมดหวังเสีย ชื่อว่า นิกติ การกระทำให้มีความหวัง.
    การให้ผู้อื่นถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่ทองว่าเป็นทองเป็นต้น ชื่อว่า วัญจนา การหลอกลวง.
    การเล่าเรียนคัมภีร์เป็นอเนกที่ไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า อัชเฌนกุตติ การเรียนคัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์.
    ความประพฤติผิดในภรรยาที่ผู้อื่นหวงแหน ชื่อว่า ปรทารเสวนา การคบหาภรรยาผู้อื่น.
    บาทพระคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า ความประพฤติด้วยอำนาจอกุศลธรรม มีปาณาติบาตเป็นต้นนี้ ชื่อว่า อามคันธะ กลิ่นดิบ คือเป็นกลิ่นที่มีพิษ เป็นกลิ่นดุจซากศพ.
    ถามว่า เพราะเหตุไร?
    ตอบว่า เพราะไม่เป็นที่พอใจ เพราะคลุกเคล้าด้วยของไม่สะอาดคือกิเลส เพราะเป็นของที่สัปบุรุษทั้งหลายเกลียด และเพราะนำมาซึ่งความเป็นกลิ่นที่เหม็นอย่างยิ่ง.
    สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดซึ่งมีกิเลสอันบังเกิดขึ้นแล้ว ด้วยกลิ่นดิบทั้งหลายเหล่าใด สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่งกว่ากลิ่นดิบทั้งหลายเหล่านั้น แม้ร่างที่ตายแล้วของคนที่หมดกิเลสทั้งหลาย ก็ยังไม่จัดว่ามีกลิ่นเหม็น เพราะฉะนั้น กลิ่นนี้ (คือการฆ่าสัตว์เป็นต้น) จึงเป็นกลิ่นดิบ.
    ส่วนเนื้อและโภชนะที่ผู้บริโภคไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้รังเกียจ (คือไม่สงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อตน) จัดเป็นสิ่งหาโทษมิได้ เพราะฉะนั้น เนื้อและโภชนะจึงไม่ใช่กลิ่นดิบเลย.
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงวิสัชนากลิ่นดิบโดยนัยหนึ่งด้วยเทศนาที่เป็นธรรมาธิษฐานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้นๆ ประกอบด้วยกลิ่นดิบทั้งหลายเหล่านั้นๆ สัตว์ผู้หนึ่งเท่านั้นจะประกอบด้วยกลิ่นดิบทุกอย่างก็หามิได้ และกลิ่นดิบทุกอย่างจะประกอบกับสัตว์ผู้เดียวเท่านั้นก็หามิได้ ฉะนั้น เมื่อจะทรงประกาศกลิ่นดิบเหล่านั้นๆ แก่สัตว์เหล่านั้น เมื่อจะทรงวิสัชนากลิ่นดิบด้วยเทศนาที่เป็นบุคลาธิษฐานก่อนโดยนัยว่า ชนทั้งหลายเหล่าใดในโลกนี้ไม่สำรวมแล้วในกามทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น จึงได้ทรงภาษิตพระคาถา ๒ พระคาถา.
    ในบาทพระคาถานั้น คาถาว่า เย อิธ กาเมสุ อสญฺญตา ชนา ความว่า ปุถุชนจำพวกใดจำพวกหนึ่งในโลกนี้ไม่สำรวม เพราะทำลายความสำรวมเสียแล้วในกามทั้งหลาย กล่าวคือการเสพกามโดยการเว้นเขตแดนในชนทั้งหลายมีมารดาและน้าสาวเป็นต้น.
    สองบทว่า รเสสุ คิทฺธา ความว่า เกิดแล้ว คือเยื่อใยแล้ว สยบแล้ว คือได้ประสบแล้ว ในรสทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยชิวหาวิญญาณเป็นผู้มีปกติเห็นว่าไม่มีโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภครสทั้งหลายอยู่.
    บทว่า อสุจีกมิสฺสิตา ความว่า คลุกเคล้าด้วยของไม่สะอาด กล่าวคือมิจฉาทิฏฐิมีประการต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่การได้รส เพราะความติดในรสนั้น.
    บทว่า นตฺถีกทิฏฺฐิ ความว่า ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ อย่าง เช่น มิจฉาทิฏฐิข้อที่ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผลเป็นต้น.
    บทว่า วิสมา ความว่า ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้นที่ไม่สม่ำเสมอ.
    บทว่า ทุรนฺนยา ความว่า เป็นผู้อันบุคคลอื่นแนะนำได้โดยยาก ได้แก่ ผู้ที่ประกอบด้วยการไม่สละคืน การยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิที่ผิดๆ.
    บทว่า เอสามคนฺโธ ความว่า พึงทราบกลิ่นดิบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงเฉพาะในบุคคลด้วยคาถานี้ว่ามี ๖ ชนิด ด้วยอรรถที่พระองค์ตรัสไว้ในตอนต้น แม้อื่นอีกว่า ความไม่สำรวมในกาม ๑ การติดในรส ๑ อาชีววิบัติ ๑ นัตถิกทิฏฐิ ๑ ความเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอในทุจริตมีกายทุจริตเป็นต้น ๑ ความเป็นผู้แนะนำได้ยาก ๑.
    คำว่า น หิ มํสโภชนํ ความว่า ก็เนื้อและโภชนะหาใช่กลิ่นดิบไม่ ด้วยอรรถตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้นั้นแล.
    พึงทราบวินิจฉัยแม้ในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้.
    สองบทว่า เย ลูขสา ความว่า ชนเหล่าใดเศร้าหมอง ไม่มีรส. อธิบายว่า ประกอบตนไว้ในอัตตกิลมถานุโยค.
    บทว่า ทารุณา ได้แก่ หยาบช้า กักขละ คือประกอบด้วยความเป็นผู้ว่ายาก.
    บทว่า (ปร) ปิฏฺฐิมํสิกา ความว่า ต่อหน้าก็พูดไพเราะ แล้วก็พูดติเตียนในที่ลับหลัง. จริงอยู่ ชนทั้งหลายเหล่านี้ไม่อาจจะแลดูซึ่งหน้าได้เป็นราวกะว่าแทะเนื้อหลังของชนทั้งหลายลับหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า หน้าไหว้หลังหลอก.
    บทว่า มิตฺตทุพฺภิโน คือ ผู้ประทุษร้ายมิตร. มีคำอธิบายว่า ปฏิบัติผิดต่อมิตรทั้งหลายผู้ให้ความคุ้นเคย ในเรื่องภรรยา ทรัพย์และชีวิตในที่นั้นๆ.
    บทว่า นิกฺกรุณา ความว่า ปราศจากความเอ็นดู คือต้องการให้สัตว์ทั้งหลายพินาศ.
    บทว่า อติมาโน ได้แก่ ประกอบด้วยการถือตัวจัด ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑- คนบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นผู้อื่นด้วยกระทบถึงชาติกำเนิด ฯลฯ หรือด้วยอ้างถึงวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ความถือตัวเห็นปานนี้ใด ฯลฯ ความเป็นผู้มีจิตเหมือนกับธง.
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต จูฬวรรค

    อามคันธสูตร
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=315


    ๑- อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๘๘๓

    บทว่า อทานสีลา คือ มีปกติไม่ให้ ได้แก่มีจิตใจน้อมไปเพื่อไม่ให้. อธิบายว่า ไม่ยินดีในการจ่ายแจก.
    หลายบทว่า น จ เทนฺตํ กสฺสจิ ความว่า ก็เพราะเหตุที่มีปกติไม่ให้นั้น แม้จะเป็นผู้ถูกขอก็ไม่ยอมให้อะไรแก่ใครๆ คือว่าเป็นเช่นกับด้วยมนุษย์ในสกุลอทินนปุพพกะพราหมณ์ ย่อมจะเกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรตในสัมปรายภพ.
    แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาทานสีลา ดังนี้ก็มี ความว่า เป็นผู้มีปกติรับอย่างเดียว แต่ก็ไม่ยอมให้อะไรๆ แก่ใครๆ
    บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า ผู้ศึกษาพึงทราบว่า กลิ่นดิบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเจาะจงบุคคลทั้งหลายด้วยคาถานี้มี ๘ ชนิด ด้วยอรรถตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในตอนต้นอื่นอีก คือ ความเป็นผู้มีรสที่เศร้าหมอง ๑ ความทารุณ ๑ หน้าไหว้หลังหลอก ๑ ความเป็นผู้คบมิตรชั่ว ๑ การไร้ความเอ็นดู ๑ การถือตัวจัด ๑ การมีปกติไม่ให้ ๑ และการไม่สละ ๑.
    เนื้อและโภชนะไม่ใช่กลิ่นดิบเลย.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัส ๒ พระคาถาด้วยเทศนาเป็นบุคลาธิษฐานอย่างนี้แล้ว ก็ได้ทรงทราบถึงการอนุวัตรตามอัธยาศัยของดาบสนั้นอีก จึงได้ตรัสพระคาถา ๑ (คาถา) ด้วยเทศนาที่เป็นธรรมาธิษฐาน.
    ความโกรธในพระคาถานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในอุรคสูตร ความมัวเมาแห่งจิตมีประเภทดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวิภังค์โดยนัยว่า๒- ความเมาในคติ ความเมาในโคตร ความเมาในความไม่มีโรคเป็นต้น ชื่อว่า มโท ความเมา.
    ____________________________
    ๒- อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๘๔๙

    ความเป็นผู้แข็งกระด้าง ชื่อว่า ถมฺโภ ความเป็นคนหัวดื้อ.
    การตั้งตนไว้ในทางที่ผิด ได้แก่การตั้งตนไว้ผิดจากพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยอันชอบธรรม ชื่อว่า ปจฺจุปฏฺฐาปนา การตั้งตนไว้ผิด.
    การปกปิดบาปที่ตนกระทำไว้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าจำแนกไว้ในคัมภีร์วิภังค์ โดยนัยเป็นต้นว่า๓- คนบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต ชื่อว่า มายา หลอกลวง.
    ____________________________
    ๓- อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๙๑๑

    การริษยาในลาภสักการะของบุคคลอื่นเป็นต้นชื่อว่า อุสฺสุยา ริษยา.
    คำที่บุคคลยกขึ้น มีการอธิบายว่า การยกตนขึ้น ชื่อว่า ภสฺสสมุสฺโสโย การยกตน.
    ความถือตัวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า๔-
    คนบางคนในโลกนี้ถือตัวว่าเสมอกับผู้อื่นในกาลก่อน ด้วยชาติกำเนิดเป็นต้น ฯลฯ หรือด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มาภายหลังยกตนว่าเสมอ ไม่ยอมรับว่าตนเองเลวกว่าคนอื่น มานะเห็นปานนี้ใด ฯลฯ ความเป็นผู้มีจิตดุจธง ชื่อว่า มานาติมาโน การถือตัว.
    ____________________________
    ๔- อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๘๘๓

    การสมาคมกับอสัปบุรุษทั้งหลาย ชื่อว่า อสพฺภิสนฺถโว การสมาคมกับอสัตบุรุษ.
    บาทพระคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า อกุศลราศี ๙ อย่างมีความโกรธเป็นต้นนี้ พึงทราบว่าเป็นกลิ่นดิบ โดยอรรถตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในตอนต้นนั้นแล
    เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงกลิ่นดิบ ๙ อย่าง ด้วยเทศนาที่เป็นธรรมาธิษฐานอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงวิสัชนากลิ่นดิบด้วยเทศนาที่เป็นบุคลาธิษฐานมีนัยตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแลแม้อีก จึงได้ทรงภาษิต ๓ พระคาถา.
    บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เย ปาปสีลา ความว่า ชนเหล่าใดปรากฏในโลกว่ามีปกติประพฤติชั่ว เพราะเป็นผู้มีความประพฤติชั่ว.
    การยืมหนี้แล้วฆ่าเจ้าหนี้เสียเพราะไม่ใช้หนี้นั้น และการพูดเสียดแทง เพราะคำส่อเสียดตามนัยที่กล่าวไว้ในวสลสูตร ชื่อว่า อิณฆาตสูจกา ผู้ฆ่าเจ้าหนี้และพูดเสียดแทงเจ้าหนี้.
    บาทคาถาว่า โวหารกูฏา อิธ ปาฏิรูปิกา ความว่า ชนทั้งหลายดำรงอยู่แล้ว ในฐานะที่ตั้งอยู่ในธรรม (เป็นผู้ตัดสินความ) รับค่าจ้างแล้ว ทำเจ้าของให้พ่ายแพ้ ชื่อว่าผู้พูดโกง เพราะประกอบด้วยโวหารที่โกง. ชื่อว่า ปาฏิรูปิกา คนผู้หลอกลวง เพราะเอาเปรียบผู้ตั้งอยู่ในธรรม.
    อีกประการหนึ่ง บทว่า อิธ ได้แก่ ในศาสนา.
    บทว่า ปาฏิรูปิกา ได้แก่ พวกคนทุศีล.
    จริงอยู่ เพราะเหตุที่คนทุศีลเหล่านั้น มีการสำรวมอิริยาบถให้งดงามเรียบร้อยเป็นต้น ซึ่งจะเปรียบได้กับท่านผู้มีศีล ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นคนผู้หลอกลวง.
    บาทคาถาว่า นราธมา เยธ กโรนฺติ กิพฺพิสํ ความว่า ชนเหล่าใดเป็นคนต่ำทรามในโลกนี้ ย่อมกระทำกรรมหยาบช้า กล่าวคือการปฏิบัติผิดในมารดาและบิดาทั้งหลาย และในพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น.
    บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มํสโภชนํ ความว่า กลิ่นชนิดนี้ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยคาถานี้ อันตั้งอยู่แล้วในบุคคลเป็นบุคลาธิษฐาน ผู้ศึกษาพึงทราบกลิ่นแม้อื่นอีก ๖ ชนิดโดยอรรถที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในกาลก่อนว่า ความเป็นผู้มีปกติประพฤติชั่ว ๑ การกู้หนี้มาแล้วไม่ใช้ ๑ การพูดเสียดสี ๑ การเป็นผู้พิพากษาโกง ๑ การเป็นคนหลอกลวง ๑ การกระทำที่หยาบช้า ๑ เนื้อและโภชนะไม่ใช่กลิ่นดิบเลย ดังนี้.
    บาทคาถาว่า เย อิธ ปาเณสุ อสํยตา ชนา ความว่า ชนเหล่าใดในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง เพราะประพฤติตามความอยาก ชื่อว่าไม่สำรวมแล้ว เพราะไม่กระทำแม้สักว่าความเอ็นดูในสัตว์.
    บาทคาถาว่า ปเร สมาทาย วิเหสมุยฺยุตา ความว่า ถือเอาทรัพย์หรือชีวิตอันเป็นของที่มีอยู่ของบุคคลอื่น ต่อแต่นั้นก็ประกอบการเบียดเบียน โดยการใช้ฝ่ามือ ก้อนดิน และท่อนไม้ต่อชนทั้งหลายผู้อ้อนวอน หรือห้ามอยู่ว่า
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  8. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    เรียน ท่านchannarong_wo
    พอดีผมจะไปบริจาคโลหิตวันเสาร์ที่จะถึงนี้ที่สภากาชาดไทย แต่
    เป็นเลือดกรุ๊ปโอ ครับ ผมจะลองถามน้องที่ทำงานที่เขาบริจาคโลหิตเป็น
    ประจำว่ามีกรุ๊ปAB หรือไม่ ครับ แล้วจะแจ้งให้ท่านทราบ ครับ
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    5 วิธีที่นิยมใช้ป้องกันตัวเอง จากฟิชชิ่ง และข้อความอี-เมลหลอกลวง
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe01291051&sectionid=0147&day=2008-10-29


    [​IMG]
    ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ประกาศแจ้งเตือนอี-เมลหลอกลวงให้หลงเชื่อว่าไมโครซอฟท์จะมอบเงินแก่ผู้ที่ส่งอี-เมลจากไมโครซอฟท์ต่อให้เพื่อน เนื้อหาว่า "บริษัท ไมโครซอฟท์ ทำการสำรวจการตลาดผู้ที่ใช้ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตของไมโครซอฟท์ โดยแจกเงินให้กับผู้ส่งอี-เมลต่อไปให้เพื่อน" อย่างแพร่หลายต่อๆ กันไป ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ได้รับอี-เมล ซึ่งไมโครซอฟต์ไม่มีนโยบายในการสำรวจข้อมูลหรือมอบเงินในลักษณะดังกล่าว แก่ผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โซลูชั่นหรือโปรแกรมใดๆ หากผู้ใดได้รับอี-เมลนี้อย่าหลงเชื่อ หรือส่งต่อให้เพื่อนโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงหรือเสี่ยงต่อระบบรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ คำเตือนในการระมัดระวังฟิชชิ่ง และข้อความอี-เมลหลอกลวงพึงปฏิบัติเบื้องต้น

    - ควรระมัดระวังอี-เมลที่ถามข้อมูลส่วนบุคคลของเรา ที่ถามชื่อ วันเกิด หมายเลขประกันสังคม ชื่อผู้ใช้-รหัสผ่านอี-เมล หรือข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอื่นใดๆ ให้ถือเป็นการหลอกลวงเกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าอี-เมลนั้นจะส่งมาจากผู้ใดก็ตาม

    หากมีเหตุผลใดๆ ที่เชื่อได้ว่าอี-เมลดังกล่าวอาจถูกต้องตามกฎหมาย โปรดอย่าตอบกลับอี-เมลนั้น หรือคลิกไฮเปอร์ลิงค์ใดๆ แต่ให้ใช้การคัดลอกและวาง URL ของเว็บหรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของบริษัทเพื่อสอบถามข้อมูลแทน โดยเราควรติดต่อผ่านช่องทางการสนับสนุนของบริษัทเพื่อยืนยันความถูกต้องตามกฎหมาย

    - ควรอ่านอี-เมลที่น่าสงสัยอย่างละเอียด อี-เมลที่ใช้คำไม่ถูกต้อง มีการพิมพ์ผิด หรือมีประโยค เช่น "นี่ไม่ใช่เรื่องตลก" หรือ "โปรดส่งต่อข้อความนี้ไปให้เพื่อนของคุณ" โดยทั่วไปจะถือว่าเป็นอี-เมลหลอกลวง บางครั้งชื่อบริษัทหรือแบรนด์อาจสะกดผิดหรือไม่ถูกต้อง เช่น ใช้คำว่า Windows Hotmail (แทนการใช้ Windows Live Hotmail)

    - ควรเก็บรักษารหัสอี-เมลให้ดี กำหนดรหัสผ่านที่ไม่สามารถเดาได้ ใช้อักขระมากกว่า 7 ตัว และมีการใช้อักขระตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข และอักขระพิเศษ เช่น สัญลักษณ์ @ หรือ # ผสมกัน และควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ

    หากได้รับการแจ้งเตือนจากฝ่ายบริการลูกค้า Microsoft ซึ่งขอยืนยันคำขอของคุณในการเปลี่ยนรหัสผ่าน ดังที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และคุณยังไม่ได้เปลี่ยนรหัสผ่านของคุณ แสดงว่ามีผู้กำลังพยายามเข้าใช้บัญชี Hotmail ควรเปลี่ยนรหัสผ่านทันที โดยเข้าไปที่ http://account.live.com หรือใน Hotmail คลิกตัวเลือก และคลิกดูและแก้ไข ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ คุณจะได้รับพร้อมท์ให้ลงชื่อเข้าสู่ระบบอีกครั้ง เมื่อคุณดำเนินการ ให้มองหา "ข้อมูลการตั้งค่ารหัสผ่านใหม่" ใต้ชื่อของคุณที่ด้านบน เปลี่ยนทั้งรหัสผ่านและคำถามเฉพาะ/คำตอบเฉพาะของคุณ เนื่องจากข้อมูลทั้งสองอาจถูกเปิดเผย

    - ดำเนินการหากคิดว่ามีผู้เข้าอี-เมล และหน้าลงชื่อ ID ดูไม่น่าไว้ใจ หรือได้รับอี-เมลน่าสงสัยซึ่งพยายามจะขอยืนยันการเปลี่ยนรหัสผ่านที่คุณไม่ได้อนุญาต ให้เปลี่ยนรหัสผ่านตัวเองทันที

    อีกทั้งให้ความร่วมมือในการแจ้งการหลอกลวงใหม่ หากใช้ Hotmail ก็สามารถเลือกรายการแบบหล่นลงที่อยู่ข้างๆ "อีเมลขยะ" แล้วเลือก "รายงานการหลอกลวงฟิชชิ่ง" อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญโปรดอย่าตอบกลับผู้ส่ง
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ทำไม? สังคมไทยจึงไม่สนใจประวัติศาสตร์
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act02291051&sectionid=0130&day=2008-10-29

    โดย ณัฏฐพงษ์ สกุลเลี่ยว คณะมนุษยศาสตร์ สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่




    [​IMG]

    ในฐานะที่เคยเป็นนักศึกษาประวัติศาสตร์ผู้เขียนจึงรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจมาโดยตลอดว่า ทำไม "ศาสตร์" ที่ผู้เขียนเรียนนั้นตกอยู่ในฐานะ "ศาสตร์ชั้นสอง" (หรือมากกว่านั้น) เมื่อเทียบกับสาขาวิชาต่างๆ ที่มีสอนอยู่ในประเทศไทย

    ทั้งที่จริงแล้วไม่ควรจะมีการดูถูกหรือมี "ชนชั้น" อยู่ในระบบการศึกษามากนัก เพราะในความจริงสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้ที่หลากหลายเป็นอย่างยิ่งในการที่จะพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า และผู้เขียนคิดว่าในการที่จะแก้ปัญหาและหาทางออกนี้ได้จะต้องกลับมาพิจารณาวิธีการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

    การสอนวิชาประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะในชั้นประถม มัธยม หรือในรั้วมหาวิทยาลัยทั่วไป มักจะสอนแต่เรื่องราวที่อยู่ในกรอบของ "ประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม" แถบทั้งสิ้น

    แม้ว่าในระยะหลังมานี้จะมีการกำหนดให้มีการสอนประวัติศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น แต่เรื่องราวของท้องถิ่นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาส่วนมากก็จะเป็นเรื่องราวที่จะนำไปสอดแทรกกับประวัติศาสตร์แบบชาตินิยมได้เป็นอย่างดีเท่านั้น

    ซึ่งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบนี้จะไม่ได้ช่วยให้ผู้เรียน (รวมทั้งครูด้วย) เกิดความเข้าใจความเป็นมาของชุมชนของตนเองได้ดีขึ้นแต่อย่างไร
    [​IMG]



    เมื่อไม่สามารถนำมาอธิบายเหตุการณ์หรือประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ วิชาประวัติศาสตร์จึงยังเป็น "ศาสตร์" ที่อยู่ในตำรา

    ด้านดีของมันมีเพียงแค่เอาไว้รับใชัเราในยามที่จะต้องสอบไล่เท่านั้น เมื่อสอบเสร็จแล้วจำได้ก็ดี จำไม่ได้ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร

    ด้านเสียอีกอย่างหนึ่งของการสอนประวัติศาสตร์แบบเดิมก็คือ การเน้นให้นักเรียนจดจำบทบาทของ "วีรบุรุษ" และวันเวลาที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ มากเกินไป การวัดว่าใครมีความรู้ทางประวัติศาสตร์ดีที่สุดก็มักจะวัดกันตรงที่ใครจดจำว่าอะไรเกิดขึ้นตอนไหนได้มากที่สุด

    เมื่อมาประกอบกับการเน้นบทบาทของวีรบุรุษประหนึ่งว่าความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้น ล้วนขึ้นอยู่กับการกระทำหรือไม่กระทำของวีรบุรุษในยุคสมัยนั้นๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้วิชาประวัติศาสตร์กลายเป็นวิชาที่สอนให้ "จำ" เป็นหลัก แต่ขาดการสอนให้นักเรียนรู้จักเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมหาศาลและนำมาร้อยเรียงให้เกิดเป็นคำอธิบายเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีพลัง
    [​IMG]



    อยากจะเดาว่าที่ไม่อยากสอนให้นักเรียนนักศึกษาสร้างคำอธิบายใหม่ๆ ที่มีพลังก็เนื่องจากกลัวว่าคำอธิบายใหม่ๆ นั้นจะเป็นสิ่งที่เข้ามาท้าทายคำอธิบายแบบเดิม ซึ่งมีส่วนช่วยจรรโลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมของสังคมไทยไว้อยู่

    เมื่อประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่คนทั่วไปคิดว่าไม่มีความสามารถในการอธิบายหรือตอบปัญหาแก่ชีวิตและสังคมของตน วิชาประวัติศาสตร์จึงย่อมจะถูกละเลยและถูกลดคุณค่าอยู่เรื่อยๆ

    ทางด้านแนวทางในการแก้ปัญหาผู้เขียนคิดว่าควรที่จะต้อง "ปฏิวัติ" วิธีการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ใหม่ทั้งหมด โดยเน้นไปที่การสอนกระบวนการแสวงหาข้อมูลหรือเหตุปัจจัยที่แวดล้อมเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ต่างๆ อยู่ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาเชื่อมโยงกันให้เกิดเป็นคำอธิบายที่สลับซับซ้อนมากขึ้น

    โดยที่ผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญกับทักษะในการค้นหาเชื่อมโยงข้อมูลมากกว่าทักษะด้านความจำ เพราะเป็นทักษะที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ที่ผู้คนจะถูกแวดล้อมไปด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล

    ทักษะในด้านการจัดการข้อมูลตรงนี้จะช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ได้อย่าง "รู้เท่าทัน" และรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวันได้ดียิ่งขึ้น

    นอกจากนั้นการสอนวิชาประวัติศาสตร์จะต้องหันมาให้ความสำคัญการประวัติศาสตร์ชุมชนมากยิ่งขึ้น โดยจะต้องเน้นที่วิถีชีวิตความเป็นมาของชุมชน ชุมชนนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างไร ระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนด้วยกันเอง และระหว่างชุมชนอื่นเป็นอย่างไร เป็นต้น เพราะการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนแนวนี้จะทำให้เกิดความเข้าใจใน "ปัจจุบัน" ของชุมชนหรือสังคมมากขึ้น

    เมื่อไหร่ที่วิชาประวัติศาสตร์ไม่ใช่วิชาที่มีไว้ท่องจำไปใช้ในยามสอบเท่านั้น แต่ทักษะของวิชาประวัติศาสตร์จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจปัจจุบันและคาดการณ์อนาคตได้อย่างมีเหตุผล (ด้วยพื้นฐานทางประวัติศาสตร์) และเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ศึกษาดำรงอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดีขึ้น เมื่อนั้นสังคมก็ให้ความสำคัญกับวิชาประวัติศาสตร์มากยิ่งขึ้น

    --------------------------------------------------

    เรียนรู้ประวัติศาสตร์อย่างมีวิจารณญาณ
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act03291051&sectionid=0130&day=2008-10-29
    โดย สายพิน แก้วงามประเสริฐ



    กระแสความคิดที่จะรื้อฟื้น และให้ความสำคัญกับวิชาประวัติศาสตร์กำลังอยู่ในความสนใจของสังคมอยู่ไม่น้อย อีกทั้งเป็นนโยบายแรกๆ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ที่จะให้ความสำเร็จกับการสอนวิชาประวัติศาสตร์ แม้ไม่ได้บอกชัดเจนว่าจะทำเป็นรูปธรรมอย่างไร

    นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา วุฒิสภา ได้จัดเสวนาเรื่องวิชาประวัติศาสตร์กับการศึกษา ซึ่งผู้ร่วมเสวนาได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนประวัติศาสตร์ไว้หลากหลาย ทั้งเห็นว่าวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญทำให้รู้จักตนเองเพื่อจะได้อยู่กับปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีความสุข และเห็นว่าการเรียนประวัติศาสตร์ไม่สามารถเรียนเนื้อหาที่มีอยู่ทั้งหมด เพราะไม่อาจยกเลิกวิชาอื่นแล้วขยายเวลาเรียนวิชาประวัติศาสตร์ได้ ดังนั้นควรเน้นแค่การฉายหนังตัวอย่าง และควรสอนวิธีเรียนเพื่อให้เด็กได้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม

    ที่ประชุมเสวนายังเสนอว่า วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ต้องเรียนเพื่อให้เด็กเป็นคนดี รักชาติบ้านเมืองและท้องถิ่น จะได้เป็นพลเมืองดี

    จากแนวคิดของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ด้วยการสอนประวัติศาสตร์ เพียงแค่ฉายหนังตัวอย่าง และให้เด็กค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองนั้น อาจทำให้เด็กไม่เข้าใจ ไม่เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ได้จริงๆ หากเรียนแล้วเด็กไม่เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์ ที่อาจเป็นบทเรียน แง่คิดที่จะทำให้เกิดความระมัดระวังป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ที่เป็นความผิดพลาดในอดีตเกิดได้อีกนั้น เพื่อให้สามารถอยู่กับปัจจุบันได้อย่างมีความสุข และเพื่ออนาคตที่มั่นคง ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ หากปราศจากการเรียนประวัติศาสตร์ด้วยการฝึกให้เด็กรู้จักการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

    การเรียนด้วยการฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือการเรียนเพื่อให้เด็กรู้จักคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ แยกแยะข้อเท็จจริง ความคิดเห็นออกจากกันได้ สามารถตั้งสมมติฐานเพื่อหาหนทางแก้ไข และสรุปประเด็นสำคัญโดยใช้เหตุผล เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจอย่างรอบคอบและรอบด้านมากขึ้น

    ดังนั้น หากนำวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเน้นการรวบรวมหลักฐานอย่างหลากหลายและรอบด้าน พร้อมทั้งวิพากษ์ความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แล้วจึงอธิบายเรื่องราวเหตุการณ์โดยไม่พยายามนำทัศนคติ อคติ และความเชื่อส่วนตัวมาปะปนกับคำอธิบายนั้นซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและอธิบายปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นได้ว่า เพราะเหตุใดเหตุการณ์นี้จึงเกิดขึ้น

    นอกจากนี้ หากนำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาประกอบกับการสอนโดยเน้นการฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้กับเด็กแล้ว การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ในโรงเรียนน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าเพียงเรียนเพื่อให้รู้ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างเท่านั้น แต่หารู้ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นๆ เป็นบทเรียนที่ควรค่าแก่การจดจำ ทบทวน นำไปสู่การแก้ไขปัจจุบัน ให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ไม่ใช่แค่ในสังคมเดียวกันเท่านั้น แต่ยังจำเป็นต้องเรียนเพื่อให้อยู่ร่วมกับสังคมโลกได้อย่างเป็นสุขอีกด้วย

    ดังนั้น หากเรียนประวัติศาสตร์เพียงเพื่อให้เกิดความรักชาติ รักท้องถิ่นมากเกินไป จนกลายเป็นความคลั่งชาติ แล้วทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลก หรือสังคมท้องถิ่นอื่นได้ การเรียนประวัติศาสตร์ย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใด

    อีกทั้งการเรียนประวัติศาสตร์อาจไม่เกิดประโยชน์เลยหากเพียงเรียนเพื่อให้เข้าใจตนเอง กลับไม่เคยเข้าใจคนอื่น ไม่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การเรียนนั้นย่อมไม่เกิดประโยชน์สักเท่าไร แต่หากได้นำทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณมาใช้ประกอบการเรียนประวัติศาสตร์ ย่อมทำให้รู้จักการใช้หลักฐานใช้เหตุผลอย่างรอบคอบด้วยการฝึกคิดไตร่ตรองอยู่เสมอแล้ว วิชาประวัติศาสตร์ก็น่าจะเป็นวิชาที่มีชีวิตจิตใจ สอนให้รู้จักการให้อภัย รู้จักทบทวนตัวเองอยู่เสมอ ย่อมเป็นวิชาที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

    รวมทั้งยังเป็นการฝึกให้ผู้เรียนมีใจคอกว้างขวาง ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากตนได้ ความแตกแยกในสังคมที่แบ่งเป็นฝักฝ่าย หากใครคิดไม่เหมือนตนเองย่อมไม่ใช่คนดีเช่นตัวเรา สมควรขับไล่ไสส่งให้ไปยืนอีกมุมหนึ่งในสังคมสภาพเช่นนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น

    หากการเรียนการสอนในโรงเรียนสามารถใช้ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลอมเข้ากับการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ จัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดีแล้ว ย่อมทำให้การรื้อฟื้นวิชาประวัติศาสตร์ในโรงเรียนมีความหมาย มากกว่าสักแต่ได้ชื่อว่าบรรจุวิชาประวัติศาสตร์ไว้ในโรงเรียนเท่านั้นเอง
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อาการของโรคทุนนิยม สิ่งที่เหมือนกันของ วิกฤตการเงิน ภาวะโลกร้อน และสารเมลามีน
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act01291051&sectionid=0130&day=2008-10-29

    คอลัมน์ ดุลยภาพ ดุลยพินิจ

    โดย นวลน้อย ตรีรัตน์



    นอกจากข่าวสารทางการเมืองที่ยังครองเนื้อที่ในสื่อทุกสื่อแล้ว สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกและของประเทศก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน และคงไม่ใช่ประเด็นว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองจะส่งผลอย่างไรต่อภาวะทางเศรษฐกิจ แต่เป็นประเด็นที่ว่าวิกฤตทางการเมือง ทำให้การตั้งรับและการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของไทยเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่นเต็มทน แม้ว่าจะยังคงเป็นคำถามว่า แม้มีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ จะสามารถรับมือกับวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้โดยง่ายหรือไม่

    ปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือที่จะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจ ในขณะนี้วนเวียนอยู่ ใน 3 เรื่องด้วยกันคือ

    1.วิกฤตการณ์ทางการเงิน

    วิกฤตการณ์ทางการเงินในขณะนี้ ถูกประเมินว่าร้ายแรงพอๆ กับการตกต่ำทางเศรษฐกิจในทศวรรษ 1930 ทีเดียว ผลของวิกฤตในครั้งนั้นทำให้อัตราการว่างงานในอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 25 หรือว่าง่ายๆ มีการว่างงานของผู้ใหญ่ในวัยทำงาน 1 คน ใน 4 คน และผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติที่แท้จริงของอเมริกาลดลง ร้อยละ 44 ในช่วง 5 ปี ผลกระทบนี้ใช้เวลายาวนานถึง 10 ปี ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติที่แท้จริงในปี 1939 จึงจะมีมูลค่าเท่ากับปี 1929 ขณะเดียวกันอัตราการว่างงานในปี 1939 ดีขึ้นบ้าง แต่ยังอยู่ในระดับที่สูงถึงร้อยละ 17 มีการสรุปบทเรียนมากมาย และนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากก็เชื่อว่า สหรัฐอเมริกาจะไม่ต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงเหมือนในอดีตอีกแล้ว

    วิกฤตการเงินครั้งนี้เกิดจากอะไร คงไม่ใช่คำตอบง่ายๆ ว่ามาจากปัญหาซับไพรม์ หรือสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพเพียงอย่างเดียว เพราะถ้าลำพังเป็นปัญหาของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ ขนาดของปัญหาคงไม่บานปลายกลายเป็นความปั่นป่วนกันทั่วโลก ทำไมมันมีขนาดใหญ่ขนาดที่ทำให้สถาบันการเงินใหญ่ทั่วโลกไม่เฉพาะในอเมริกาเท่านั้นที่มีแนวโน้มจะเจ๊ง จนรัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องออกมาค้ำประกันเงินฝาก และหาเงินมาช่วยสถาบันการเงินในประเทศของตนจำนวนมหาศาล ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะได้มีการแปลงสัญญาเงินกู้เหล่านี้ เป็นตราสารหนี้ออกไปขายอีกทอดหนึ่ง และเพราะว่าหนี้เหล่านี้มีความเสี่ยงสูง จึงมีการให้ผลตอบแทนในระดับสูงกับผู้ถือ และขณะเดียวกันได้มีการสร้างหลักประกันโดยการซื้อประกันความเสี่ยงเอาไว้ด้วย ประเด็นก็คงจะอยู่ตรงนี้ว่า ถ้าทุกอย่างจำกัดอยู่เฉพาะสินเชื่อจากอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ ปัญหาก็ไม่น่าลุกลาม แต่ผลตอบแทนที่สูง ทำให้บริษัทต่างๆ ที่เข้ามาลงทุนได้กำไรกันอย่างมากมาย ก่อให้เกิดการขยายตัวของการออกตราสารหนี้หรือหุ้นกู้เหล่านี้ออกไปมากมายพร้อมๆ กับตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงเหล่านี้ และมากยิ่งกว่านั้นก็คือ ตราสารอนุพันธ์ความเสี่ยงหรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า CDS (credit default swaps) มีการขยายตัวออกไปมากกว่าตราสารหนี้ ทั้งนี้เพราะว่านักลงทุนสามารถซื้อ CDS ได้โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของตราสารหนี้ก็ได้ โดยเป็นการซื้อเหมือนแทงพนันว่า ตราสารหนี้เหล่านี้จะมีการผิดนัดชำระเงินหรือไม่ และที่สำคัญก็คือไม่มีการควบคุมทางด้านผู้ขายเลยว่า เมื่อขายไปแล้วจะต้องมีการกันเงินสำรองเงินเอาไว้เป็นหลักประกัน จึงทำให้ CDS ขยายตัวไปอย่างมากมาย เพราะเป็นแหล่งทำกำไรที่ดีของบริษัท

    ตลาด CDS มีการขยายตัวอย่างมากมายในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา จากแรงขับเคลื่อนของผลกำไรมหาศาล โดยปลายปี 2005 มูลค่าของ CDS อยู่ที่ประมาณ 13.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แต่ประมาณการว่า กลางปี 2008 มูลค่าของ CDS อยู่ที่ประมาณ 58 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติรวมกันทั้งโลกในปี 2007 และเมื่อเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว การผิดนัดชำระหนี้ต่างๆ ขยายตัวอย่างกว้างขวาง ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลง ปัญหาต่างๆ ขยายตัวทั้งระบบ เราจึงเห็นสภาพการณ์ของการล้มลงของสถาบันการเงินต่างๆ อย่างเป็นโดมิโน ปัญหาเหล่านี้เพิ่งเริ่มต้น เพราะวัฏจักรในรอบต่อไปกำลังเวียนมาแล้ว เมื่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงได้รับผลกระทบเพิ่มมากขึ้น จากการชะลอตัวของกำลังซื้อ ซึ่งจะส่งผลต่อไปถึงการปิดกิจการ การตกงาน ต่างๆ

    CDC ซึ่งเป็นอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงจึงกลายสภาพเป็นผู้ร้ายก่อที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจโลก จากการแสวงหาผลประโยชน์อย่างไม่มีขอบเขต

    2 ปัญหาภาวะโลกร้อน

    ประชากรโลกจำนวนมากยังคงคิดว่าปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่ไกลตัว แต่ในข้อเท็จจริงไม่ใช่ สภาวะอากาศที่ผันผวนค่อนข้างมาก จนก่อให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ เตือนให้รู้ว่า มันคงไม่ใช่ปัญหาไกลตัวอีกแล้ว และปัญหาก็อาจจะรุนแรงจนถึงขั้นทำลายล้างมนุษย์บนโลกนี้ได้ ถ้าไม่เร่งรีบที่จะช่วยกันแก้ไข หลายคนคงมีคำถามว่ามันเกิดกันขึ้นได้อย่างไร สาเหตุของการเกิดคงมีหลายปัจจัยด้วยกัน แต่สิ่งที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้เลยก็คือการขยายการผลิต และการบริโภคอย่างมากมาย (แย่งกันรวย และแย่งกันบริโภค) จนก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศอย่างขนานใหญ่ พร้อมๆ กับการสร้างมลพิษต่างๆ รวมทั้งการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งส่งผลให้เกิดสภาวะเรือนกระจก และอุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายมากขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น การปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การลดการบริโภค หรือมีการใช้อย่างประหยัดมีความจำเป็นเพิ่มมากขึ้น การสร้างกลไกเพื่อลดภาวะเรือนกระจกซึ่งก็คือการฟื้นฟูระบบนิเวศกลับคืนมาเป็นเรื่องเร่งด่วน และนี่ไม่ใช่วิถีทางที่กลไกทุนนิยมจะทำได้ด้วยตนเอง เพราะปัญหาภาวะโลกร้อนเกิดจากแรงขับเคลื่อนของกลไกทุนนิยม ซึ่งถึงที่สุดแล้ว ความเห็นแก่ตัว เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ตนเอง ไม่สามารถผลักดันให้เกิดการเพิ่มขึ้นของชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมโลกโดยรวม แต่ก่อให้เกิดการพังทลายและเสื่อมสูญของสินค้าสาธารณะที่ประชากรโลกใช้ร่วมกัน

    3.การปนเปื้อนสารเมลามีน

    ข่าวการปนเปื้อนของสารเมลามีนในผลิตภัณฑ์นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม รวมถึงการเจ็บป่วยของทารกและเด็กในประเทศจีนหลายหมื่นคน ก่อให้เกิดช็อคเล็กๆ กับคนโดยทั่วไป และเป็นภาพสะท้อนที่น่าอนาถ เมื่อการปนเปื้อน นั้นไม่ใช่การปนเปื้อน แต่เป็นความตั้งใจในการผสมสารเมลามีน ใส่เข้าไปในผลิตภัณฑ์นม เพื่อให้ของคุณภาพต่ำ กลายเป็นของมีคุณภาพและโภชนาการ จนก่อให้เกิดปัญหาที่บานปลายออกไปมากมาย เมื่อมีการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไปผลิตผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ต่อเนื่องออกไป ผลกระทบคงไม่ได้อยู่เฉพาะทารกที่ป่วย แต่คงมีคนจำนวนมากรับสารเหล่านี้เข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายแล้ว และรอเวลาที่ร่างกายจะรับไม่ไหว ปัญหาสารเมลามีน ก็คงเช่นเดียวกับการปนเปื้อนของสารพิษต่างๆ ที่อยู่ในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ และอื่นๆ การเร่งรีบผลิต โดยพยายามให้ต้นทุนต่ำ เพื่อให้ขายได้มากๆ กำไรมากๆ กลายเป็นกลไกของทุนนิยมที่สามารถสืบทอดต่อกันได้ในทุกชนชาติ ขณะที่ผู้ผลิตที่ขายของคุณภาพ จะอยู่ยาก เพราะราคาแพง ต้องปิดกิจการออกไป กลไกของทุนนิยมจึงกลายกลไกที่น้ำเสียไล่น้ำดีออกจากระบบ ทั้งนี้ก็เนื่องจากผู้บริโภคมีข้อมูลที่น้อยกว่าผู้ผลิต และไม่รู้ว่าการที่ของราคาถูกนั้นเป็นเพราะผู้ผลิตมีประสิทธิภาพ หรือหลอกเอาของห่วยๆ มาขาย

    ตัวอย่างข้างต้นทั้ง 3 เรื่อง สะท้อนถึงสิ่งที่เหมือนกันก็คือ กลไกการขยายตัวของทุนนิยมนั้น ขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์หรือผลกำไรเฉพาะหน้าเท่านั้น จนทำให้เกิดน้ำเสียไล่น้ำดี และกลายเป็นงูที่กินหางตัวเอง หรือทำลายตัวเอง การกล่าวว่ามนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลและสายตายาวไกล คงจะไม่จริงนัก เพราะมนุษย์ถูกจำกัดด้วยความไม่รู้ สายตาสั้น และความโลภ เหมือนสุภาษิตที่ว่า สิบเบี้ยใกล้มือ

    ครั้งนี้คงเป็นบทเรียนสำคัญ ที่น่าจะก่อให้เกิดความร่วมมือกันในการสรุปบทเรียนเพื่อนำไปสู่การปรับของโครงสร้างเศรษฐกิจของโลกอย่างจริงจังเสียที ไม่เช่นนั้นอาจจะไม่มีใครรอดจากวิกฤตเหล่านี้ไปได้เลย
     
  12. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    เรียน ท่านchannarong_wo
    ผมถามน้องที่ทำงานที่เขาบริจาคโลหิตเป็นประจำ แล้วเป็นเลือดกรุ๊ปโอ
    เหมือนกัน ซึ่งน้องเค้าจะบริจาควันนี้โดยมีรถของสภากาชาดไทย มารับ
    บริจาคที่บริษัท ครับ
     
  13. channarong_wo

    channarong_wo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    408
    ค่าพลัง:
    +1,510
    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ channarong_wo [​IMG]
    มีเรื่องบุญนำมาฝากครับ
    เมื่อวานมีโอกาสได้คุยกับเพื่อนสมัยมัธยมต้น ตั้งแต่จบมาก็เพิ่งได้คุยกันทางโทรศัพท์
    เพื่อนคนนี้มีเรื่องเดือดร้อน คือลูกของเพื่อนเลือดออกในสมองต้องผ่าตัดสมองด่วน ทำให้ต้องการเกล็ดเลือดกรุ๊ป AB อย่างมาก
    ท่านใดมีเลือดกรุ๊ปนี้ ขอความเมตตาด้วยนะครับ เห็นว่าอยู่ที่ รพ.สระบุรี หากพี่น้องอยู่แถวนั้น(ไกลก็ได้นะ)และเลือดกรุ๊ปตรงตามต้องการ
    ก็อย่าลืมทำบูญใหญ่นะครับ รายละเอียดผมอาจคงต้องถามเพื่อนอีกที หากมีผู้แจ้งความประสงค์...รบกวนช่วยPMบอกผมที
    ...โมทนาบุญด้วยนะครับ....ชาญ

    เลือดกรุ๊ป AB ค่ะ บริจาคเลือดครั้งสุดท้าย 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ใช้ได้ไหมคะ
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ newcomer [​IMG]
    เรียน ท่านchannarong_wo
    พอดีผมจะไปบริจาคโลหิตวันเสาร์ที่จะถึงนี้ที่สภากาชาดไทย แต่
    เป็นเลือดกรุ๊ปโอ ครับ ผมจะลองถามน้องที่ทำงานที่เขาบริจาคโลหิตเป็น
    ประจำว่ามีกรุ๊ปAB หรือไม่ ครับ แล้วจะแจ้งให้ท่านทราบ ครับ
    เรียน ท่านchannarong_wo
    ผมถามน้องที่ทำงานที่เขาบริจาคโลหิตเป็นประจำ แล้วเป็นเลือดกรุ๊ปโอ
    เหมือนกัน ซึ่งน้องเค้าจะบริจาควันนี้โดยมีรถของสภากาชาดไทย มารับ
    บริจาคที่บริษัท ครับ__________________

    ขอบคุณกับทุกๆท่านนะครับ ที่เมตตาน้องเค้า หากผมกรุ๊ปAB ผมก็คงไปบริจาคด้วยเช่นกัน ผมก็กรุ๊ป O ครับ ก็เลยไม่รู้จะช่วยอย่างไร ก็เพียงปล่าวประกาศเท่านั้นที่ช่วยได้ ขอบคุณ ขอบคุณจริงๆครับ ขอโมทนาบุญด้วยนะครับ ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่าน
    อ้อ..ขอบคุณคุณหมอเอกด้วยนะครับ เผอิญหาอ้างอิงไม่เจอ
     
  14. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    โอย...ไม่ได้เข้ากระทู้ตั้งแต่เมื่อวานเย็น กลับมาอีกที โพสเพียบ แถมท่านปาทานนำธรรมหนักๆมาโพสทั้งนั้น อ่านแล้วถึงกับมึนครับ
    ขอบคุณคุณเพชรที่บอกที่มาของบทความครับ ผมจะได้กลับไปแก้ชื่อไฟล์ครับ ตอนนี้เซฟไว้ชื่อ "บทความคุณเพชร" ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2008
  15. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405
    ว่าแต่ว่า แปลว่าผมขับรถช้าจริงๆเหรอครับนี่ ปกติต่างจังหวัดผมขับอยู่ 140km/hr นะครับ เพิ่งรู้ตัวว่าขับช้า เดี๋ยวต้องบอกแฟนก่อน ชอบบ่นผม หุหุ
     
  16. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    555555ความเร็วระดับนั้น เขาขับกันในเมืองครับ อุ๊บ....ก้ากๆๆๆๆๆ หุ หุ
     
  17. ake7440

    ake7440 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,528
    ค่าพลัง:
    +405

    เหอๆ งั้นผมยอมขับช้าล่ะครับ ไม่ไหวครับแค่นี้ก็หวิดชนมาหลายทีละครับ

    แต่ผมว่าน่าจะเปลี่ยนใหม่นะครับ

    ผม ขับช้า
    ท่านปาทานขับเร็ว
    คุณ nongnooo ขับเร็วมาก
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ประวัติศาสตร์ ย้อนร้อยเสมอ เพียงแต่ว่าเมื่อไหร่เท่านั้นเอง

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ยังมีเรื่องอีกมากมาย ที่คนหรือมนุษย์ทั้งหลายไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น สิ่งที่ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ใช่ว่าไม่มี เพียงแต่ว่า มีวาสนาบารมีและมีปัญญาที่จะสามารถเรียนรู้ได้หรือไม่ สมองมีไว้ใส่ปัญญา ไม่ใช่มีไว้ใส่ขยะ

    แข่งเรือ แข่งพาย แข่งได้
    แต่แข่งบุญ แข่งวาสนาบารมี ไม่มีใครแข่งกันได้ ต้องมีเองด้วยการทำ(บุญและความดี)เอง

    พระวังหน้า ,พระวังหลวง มีอยู่มากมาย ซึ่งมีทั้งของจริง และของไม่จริง ต้องศึกษาและเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เรียนรู้จากท่านผู้รู้จริงๆ ทำและทดลองปฏิบัติอย่างจริงๆ มีการตรวจสอบทั้ง "รูป" และ "นาม" ควบคู่ประกอบกันไปเสมอ

    ท่านผู้อ่าน จึงพึงสังวรไว้ว่า หากไม่รู้จริง อย่าไปปรามาส กรรมนั้นมีจริง ผมเองเคยท้ากันมาแล้ว มาพบกันได้ ผมจะได้เตรียมพระวังหน้าไปให้หัก แต่ไม่ยักมีใครกล้าสักคนเดียว คนก็คือคน คนกันให้ยุ่งอีลุงตุงนังไปหมด

    มือผีป่าวครับ

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระบรมสารีริกธาตุ
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระนาม สมณโคดม

    [​IMG]

    พระเสโธธาตุ(เหงื่อ)

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    บริเวณหน้าอก ,ปอด ,หัวใจ

    [​IMG]

    (ผิวหนัง ด้านหลัง)

    [​IMG]
    พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระนาม สมณโคดม
    และพระธาตุพระอรหันต์

    --------------------------------------------

    พระบรมสารีริกธาตุ
    องค์พระปัจเจกพุทธเจ้า

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระธาตุ พระอรหันต์

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]



    [​IMG]

    1.พระโคธิกะเถระเจ้า
    2.พระปุณณะเถระเจ้า
    3.พระอุตตะรายีเถรีเจ้า
    4.พระเวณุหาสะเถระเจ้า
    5.พระโมฬียะวาทะเถระเจ้า
    6.พระวังคิสะเถระเจ้า
    7.พระอนุรุทธะเถระเจ้า
    8.พระพิมพาเถรีเจ้า
    9.พระมหากปินะเถระเจ้า
    10.พระเวยยากัปปะเถระเจ้า
    11.พระกังขาเรววัตตะเถระเจ้า
    12.พระภัทธะคูเถระเจ้า
    13.พระวิมะละเถระเจ้า
    14.พระจุลลินะเถระเจ้า
    15.พระกุณฑะติสสะเถระเจ้า
    16.พระกิมิละเถระเจ้า
    17.พระศิริมานันทะเถระเจ้า
    18.พระจุลนาคะเถระเจ้า
    19.พระองคุลิมาละเถระเจ้า
    20.พระอุคคาเรวะเถระเจ้า

    กราบ กราบ กราบ กราบ กราบ
    sithiphong
    คณะพระวังหน้า ,ชมรมพระวังหน้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...