พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรียน ท่านสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า , คณะพระวังหน้า และคณะกองทุนหาพระถวายวัดทุกๆท่าน

    ผมได้ส่งเรื่อง....ไปให้ทุกๆท่านทาง Email แล้วนะครับ รบกวนตอบกลับมาด้วยครับ

    ขอบคุณครับ


    .
     
  3. เอ๋เชียงใหม่

    เอ๋เชียงใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +1,791
    ถ้ำระฆังทอง เอือมระอาศรัทธาธรรม มีวัดชื่อนี้ด้วยหรือครับ ความรู้ใหม่
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  5. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    สวัสดีตอนเที่ยงครับchantasakuldecha, sithiphong คุณพี่และอาหนุ่ม อาหนุ่มสมชื่อจริงๆหุหุหุ ว่าแต่ทานข้าวเที่ยงกันยังครับ ช่วงนี้ทานเจเบาท้องดีจริงๆเลยครับ ยิ่งทานน้ำอุ่นตอนเช้าๆด้วยสบายตัวดีจริงๆเลยครับ
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ่า ยังไม่แก่น๊ะเนี่ย

    .
     
  7. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    งั้นคงต้องเรียกใหม่แล้วละครับ คุณพี่หนุ่มถูกใจไหมครับหุหุหุ
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  9. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    สวัสดีครับ ทานเจแล้วดีครับ แต่ว่าท่านได้แค่ 10วันครับ นอกจากนี้แล้วยังไม่ถึงขั้นครับ
     
  10. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    เหมือนกันครับสำหรับผมถือว่าได้ช่วยล้างท้องใน1ปีที่เราได้แต่ทานเนื้อสัตว์ครับ
     
  11. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    psombat+ สวัสดีครับพี่ตอนค่ำ
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    หมอเตือนผู้สูงอายุ,ป่วยเรื้อรังต้องรู้จักกินให้ถูกวิธี


    เพลินกินเจน้ำหนักพุ่ง หมอเตือนผู้สูงอายุ,ป่วยเรื้อรังต้องรู้จักกินให้ถูกวิธี (ไทยโพสต์)

    เครือข่ายคนไทยไร้พุงชี้กินเจดีมีประโยชน์ นอกจากลดการเบียดเบียนสัตว์แล้ว ยังช่วยล้างพิษในร่างกาย แต่หากกินผิดวิธีจะส่งผลเสียทำให้น้ำหนักพุ่ง โรคร้ายตามมา โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง

    นพ.ฆนัท ครุธกูล กรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลกินเจ 9 วันนี้ เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนละเว้นกินเนื้อสัตว์แล้วหันมากินผักแทน จากการสำรวจผู้ป่วยที่มารักษาที่ รพ.รามาธิบดี ช่วงหลังเทศกาลกินเจของปีที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีแนวโน้มน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 2-3 กิโลกรัม สาเหตุจากการกินอาหารไม่ถูกสัดส่วน กินแป้งมากเกินไป ส่งผลให้เจ็บป่วยโรคอื่นตามมาได้

    "ผู้ป่วยที่ควรระวังคือ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเพิ่งฟื้นไข้ ผู้ป่วยขาดสารอาหาร ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องเลือกรับประทานผักสดประเภทถั่ว ผลไม้ มากกว่าอาหารประเภทผัด ทอด เพราะจะทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน"

    นพ.ฆนัทกล่าวว่า การกินอาหารเจมีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยล้างพิษในร่างกาย และหากกินให้ถูกวิธีจะช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย การกินอาหารเจที่ถูกวิธีต้องบริโภคในสัดส่วนที่เหมาะสม คือกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพราะหากบริโภคไม่ถูกสัดส่วนอาจส่งผลให้น้ำหนักขึ้น หรืออาจทำให้ขาดสารอาหารได้ โดยเฉพาะอาหารกลุ่มโปรตีน

    เทคนิคการกินอาหารเจไม่ให้อ้วนคือ 1.กินข้าวหรือแป้งไม่ขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ลูกเดือย ธัญพืช มีปริมาณน้ำตาลน้อย ร่างกายจะใช้พลังงานในการย่อยอาหารจำพวกนี้ออกมาเป็นแป้งที่พร้อมดูดซึมเข้า ร่างกาย 2.กินผักประเภทใบมากกว่าประเภทหัว เพราะมีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่า ทำให้ได้พลังงาน และปริมาณแป้งน้อยกว่า 3.อาหารประเภทนึ่ง ต้ม ตุ๋น ดีกว่าอาหารประเภททอดและผัดที่มีน้ำมัน ไขมันสูง 4.ลดอาหารที่มีรสหวาน 5.กินผัก ผลไม้สด เพราะย่อยง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น และมีไฟเบอร์หรือกากใย ช่วยให้การดูดซึมของเสียในลำไส้ได้ดีขึ้น ช่วยขับถ่ายได้ดีขึ้น ท้องไม่อืด

    นพ.ฆนัทกล่าวว่า หลักการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพง่าย ๆ คือ

    1.เน้นอาหารประเภทโปรตีนเป็นหลัก มีมากในเต้าหู้และถั่วเหลือง อาหารจำพวกถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง เมล็ดอัลมอลด์ เป็นต้น แต่ควรกินปริมาณพอดี เพราะมีส่วนประกอบของแป้งและน้ำมัน และควรกินอะมิโนที่จำเป็นควบคู่กันให้เป็นโปรตีนคุณภาพสูง เช่น เห็ด มีไฟเบอร์และไฟโตเอสโตรเจน ช่วยขับสารพิษตกค้าง ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้

    2.กินผักหลายสี ทั้งดำ แดง เขียว ขาว เหลือง เพื่อได้วิตามินและแร่ธาตุหลากหลาย

    3.ผลไม้อุดมด้วยวิตามิน เกลือแร่ และไฟเบอร์ แต่มีพลังงานมากกว่าผัก แต่ต้องเลือกผลไม้ที่มีรสหวานน้อย

    4.กินอาหารประเภทข้าว-แป้งแต่พอเหมาะ เช่น ผัดหมี่ วุ้นเส้น เผือก มัน ข้าวโพด เป็นต้น

    บริโภคประมาณ 1-2 ทัพพีต่อมื้อ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทผัดที่มีน้ำมันมากเกินไป ซึ่งอาหารเจปัจจุบันใช้แป้งปั้นเป็นรูปคล้ายอาหารปกติ จึงต้องระวังการได้รับแป้งมากเกินพอดีด้วย





    ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์
    [​IMG]

    อาหารเจ หมอเตือน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ต้องรู้จักกิน อาหารเจ ให้ถูกวิธี



     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 20 คน ( เป็นสมาชิก 7 คน และ บุคคลทั่วไป 13 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> sithiphong, chantasakuldecha+, geninc, guawn+, sittiporn.s+, ปฐม</td></tr></tbody></table>

    สวัสดีทุกท่านครับ

    อ๊ะ น้องรัก ก็มาด้วยเนี่ย


    .
     
  14. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    สวัสดีครับพี่ๆทุกท่านรวมถึงพี่หนุ่มด้วยครับหุหุหุ
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    แนะผู้หญิงชนะหนี้ รู้เท่าทัน-ศึกษากฎหมาย



    <table align="left" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"><tbody><tr bgcolor="#400040"><td>[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>ใน งานสัมมนา "ผู้หญิงชนะหนี้" ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ จัดโดย ดร.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กรุงเทพมหานคร คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ภิกษุณีธัมมนันทา เจ้าอาวาสวัดทรงธรรมกัลยาณี และ มณฑานี ตันติสุข ดีเจ. หญิง เจ้าของหนังสือ "เงินทองของเรา ข้อคิดเรื่องการบริหารเงินและจัดการหนี้สิน" มีคำแนะนำให้กับเหล่าสตรีในยุคนี้

    ภิกษุณีธัมมนันทา กล่าวว่า หากเราซื้อหมดทุกอย่างที่การตลาดบอกเรา โดยที่ไม่ฉุกคิดเลยว่าจำเป็นหรือเปล่า อยากได้ของแถม แต่ซื้อมาไม่ได้ใช้ ก็ตกเป็นเหยื่อของการตลาดเช่นกัน กิเลสของเราพอกพูนขึ้น เห็นอะไรก็น่าซื้อ ได้ของแถมซึ่งเป็นจุดขาย ในความอยากได้ของเรา จึงต้องมาฉุกคิดว่าเราต้องไม่ฉาบฉวย ถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ต้องซื้อ

    "อยาก บอกพ่อแม่ด้วยว่าอย่าปิดบังความจนให้ลูกรู้ อย่าอาย ให้บอกลูกตามตรงลูกจะได้จับตัวเองได้ว่าควรทำอะไรหรือไม่ควรทำอะไร ลูกต้องช่วยแชร์ความคิดพ่อแม่ ดังนั้นต้องใช้ชีวิตชาวบ้านธรรมดา อย่าอายที่จะจน แต่ต้องอายที่สกปรก ต้องไม่อายในสภาพที่เป็นอยู่ อย่างเสื้อผ้า เราพอใจที่จะใส่ซ้ำ เราก็จะไม่เป็นหนี้ ต้องพอใจกับวิถีชีวิตตัวเอง ไม่ฟุ่มเฟือย"<table align="right" border="0" cellpadding="1" cellspacing="5" width="20%"><tbody><tr bgcolor="#400040"><td>[​IMG]
    1.ภิกษุณีธัมมนันทา

    2.ในงานสัมมนา "ผู้หญิงชนะหนี้"

    3.มณฑานี ตันติสุข

    4.ดร.รัชดา ธนาดิเรก

    </td></tr></tbody></table>

    มณฑา นี ตันติสุข ผู้ที่ชีวิตเคยประสบมรสุมหนี้ กล่าวว่า การบริหารเงินส่วนตัวที่ควรรู้ มี 4 ด้านคือ รายได้ รายจ่าย เงินออม และลงทุน ความรู้อันนี้เป็นส่วนสัมพันธ์กับนิสัยการใช้เงิน ปัญหาหนี้สินแก้ไขได้ทุกขั้นตอน อย่าไปเชื่อว่า สถาบันการเงินหรือบริษัททวงหนี้จะต่อรองไม่ได้ หรือโดนขู่ว่าจะฟ้องศาล ขอให้รู้ไว้ว่าการขึ้นศาลจะมีการไกล่เกลี่ยก่อน ต่อให้ไต่สวนศาลพิพากษาแล้วก็จะมีการปรับโครงสร้างหนี้ เมื่อไม่ได้และเกิดกรณียึดทรัพย์ คดีไปถึงกรมบังคับคดีแล้วก็ตาม จะมีการไกล่เกลี่ยก่อน แต่ลูกหนี้มักขาดความรู้ เวลาต่อรองเจ้าหนี้ มีแต่การตัดพ้อ หรือด่า แต่ไม่เอาเครื่องคิดเลขมากดและทำ การบ้าน ว่าดอกที่คุณคิดผิดหรือเปล่า

    มณฑานี กล่าวว่า หนี้สิน แบ่งได้เป็น "หนี้ดี" แปลว่ามีหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ และที่ก่อให้ทรัพย์สินมีมูลค่า เช่น กู้เงินมาเพื่อค้าขาย เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ ผ่านการคำนวณแล้ว หรือซื้อบ้านที่ดิน ทำบ้าน เป็นทรัพย์สินที่เพิ่มค่าตามกาลเวลาได้ แต่ "หนี้เลว" คือ หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อย่างกดเงินบัตรเครดิตไปซื้อของเป็นการเพิ่มดอก ส่วน "หนี้ที่มีหลักประกัน" คือ หนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่น หนี้บ้าน ดอกเบี้ยจะถูก และหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน คือ หนี้นอกระบบ หนี้บัตรเครดิต ดอกเบี้ยจะแพง เพราะไม่มีทรัพย์ให้ยึด ดอกเบี้ยจึงสูง ขอให้จำไว้ว่า หากถูกทวงหนี้ควรชำระหนี้ที่มีหลักทรัพย์ก่อนเสมอ

    ลูกหนี้มีสิทธิ์ คัดค้านและมีสิทธิ์ที่จะไม่เซ็นเอกสาร อยากฝากว่าต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์กติกาดอกเบี้ยของหนี้สินทั้งหมด ไม่ว่าจะกู้เงินหรือปรับโครงสร้างหนี้ การที่ธนาคารเอาสัญญาเป็นหนี้มาให้เซ็น มันผิด หรือการที่ธนาคารคิดดอกเบี้ยที่สูง เราก็ต่อรองได้ หรือยันกลับไปว่าไม่เซ็น ยึดไม่ได้ด้วย ต้องมีสติปัญญา และกำลังใจ ลูกหนี้ไม่ใช่เหยื่อ ทางที่ดีถ้าไม่จำเป็นอย่าก่อหนี้ และชีวิตคนเราทุกคนต้องสะสมทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน เสมอ ถ้ามีเงินเอาเงินไปซื้อทอง เพชร กองทุนดีกว่า

    สำหรับเรื่องการขอปรับ โครงสร้างหนี้ด้วยว่า ต้องระวัง ต้องให้เจ้าหนี้แยกเงินต้นกับดอกเบี้ยออกอย่างชัดเจน เพราะหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยห้ามเอาดอกเบี้ยไปทบต้นแล้วคิดดอกซ้ำ แต่สถาบันการเงิน หรือสถาบันเจ้าหนี้ มักจะหมกเม็ดด้วยการเอาดอกไปรวมต้น กลายเป็นหนี้ใหม่ ซึ่งสัญญาปรับโครงสร้างถูกต้อง คือ แยกต้นกับดอกอย่างชัดเจน ดอกเบี้ยจะงอกดอกเบี้ยไม่ได้ ถ้าเจ้าหนี้เอาดอกไปรวมเงินต้น สัญญานั้นถือเป็นโมฆะทันที ต่อให้เซ็นไปแล้วก็ตาม และดูว่าเงินต้นนั้นถูกต้องไหม จึงจำเป็นต้องมีสเตต เมนต์ของตนเองเสมอ

    ด้าน ดร.รัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กรุงเทพ มหานคร กล่าวว่า คนเป็นหนี้ไม่ใช่เป็นคนไม่ดี แต่จะทำอย่างไรไม่ให้เป็นหนี้ ปัญหาหนี้ของประชาชนเป็นสิ่งที่ต้องให้ความรู้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง เนื่องจากผู้หญิงมีการใช้จ่ายเงินด้วยอารมณ์ ผู้หญิงช็อปปิ้งเพื่ออยากให้มีอารมณ์ดีขึ้น แสดงว่าเป็นข้อเสียของผู้หญิง ที่ใช้อารมณ์ความรู้สึกตัดสินใจ

    "เราต้องยอมรับความจริง ยอมรับความจนได้ แต่ต้องไม่จำนนกับความจน เริ่มต้นด้วยการประหยัดในเรื่องง่ายๆ กลับไปบอกลูกหลานให้เก็บออมเงินเพื่อไปเรียนในมหาวิทยาลัยได้ด้วยการเลิก ดื่มน้ำขวด จะประหยัดเงินส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัยรัฐได้แล้ว เรื่องประหยัดการออม อย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว เริ่มต้นได้ด้วยตัวเอง อย่ารอให้มีอัศวินม้าขาวมาช่วย เราต้องช่วยตนเองให้มากที่สุด"



    �м��˭ԧ���˹�� �����ҷѹ-�֡�ҡ����� : ����ʴ�͹�Ź�

    .


    http://www.khaosod.co.th/view_news....nid=TURNeE5BPT0=&day=TWpBeE1DMHhNQzB4TVE9PQ==
    .



    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วินัย (1) เรื่องใหญ่กว่าที่คิด

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)



    เป็น ที่ทราบกันดีว่า ความขาดวินัยเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ขณะนี้เราต้องการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย และวินัยก็เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของประชาธิปไตย ถ้าเราไม่สามารถสร้างวินัยให้แก่คนในชาติได้ การพัฒนาประชาธิปไตยก็หวังผลสำเร็จได้น้อย เพราะว่า ในประเทศประชาธิปไตยนั้น สังคมอยู่ได้ด้วยกฎเกณฑ์ และกติกา คนต้องเคารพหลักการ กฎเกณฑ์ และกติกา และความเคารพกฎเกณฑ์และกติกาของสังคมนั้น ก็คือความหมายอย่างหนึ่งของความมีวินัย

    ถ้าไม่มีวินัย ไม่มีความเคารพกฎเกณฑ์กติกาของสังคม ประชาธิปไตยก็ขาดรากฐานที่สำคัญ จะเป็นไปด้วยดีไม่ได้ จึงเป็นเรื่องที่ควรเอาใจใส่ โดยเฉพาะในทางการศึกษา จะต้องหาทางสร้างสรรค์ปลูกฝังพัฒนาประชาธิปไตยให้สำเร็จบนพื้นฐานของความมี วินัย

    ที่มาและความหมายของวินัย

    ก่อนที่จะพูดถึงวิธีการสร้างวินัย ควรจะเข้าใจความหมายของวินัยสักเล็กน้อย

    คำว่า วินัย เป็นคำใหญ่มาก มีความหมายกว้างกว่าที่เราใช้กันทั่วไปมาก และเป็นคำศัพท์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา มักใช้ควบคู่กับคำว่า ธรรม ดังที่มีคำเรียกพระพุทธศาสนาว่า "ธรรมวินัย" และคำทั้งสองนี้มีความหมายสัมพันธ์กัน พระพุทธศาสนาถือว่า ความจริงของสิ่งทั้งหลายเป็นเรื่องธรรมดามีอยู่แล้วในธรรมชาติ ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิด มันก็เป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดา ธรรมชาติและธรรมดานี่แหละ คือ ธรรม

    พระพุทธเจ้าทรงค้นพบธรรมคือความจริงนั้นแล้ว ก็ทรงนำมาประกาศเผยแพร่ สั่งสอนชี้แจงแสดงให้เข้าใจง่าย หน้าที่ของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับธรรมก็เพียงทรงค้นพบ แล้วนำมาประกาศและสั่งสอน เพราะธรรมเป็นความจริงที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ

    การที่จะให้ความจริงของธรรมชาติมีผลในทางปฏิบัติ เป็นประโยชน์แก่หมู่มนุษย์ในสังคม ก็ต้องนำหลักความจริงคือธรรมนั้นมาจัดตั้ง วางเป็นระบบระเบียบ โดยนำเอาหลักความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นเรื่องของกฎแห่งเหตุปัจจัย หรือความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นโดยเป็นเหตุเป็นผล แก่กันนั้น พูดสั้นๆ ว่า เอาหลักเกณฑ์ในกฎธรรมชาตินั้น มาวางรูปเป็นกฎในหมู่มนุษย์ จากกฎในธรรมชาติก็มาเป็นกฎในหมู่มนุษย์ การจัดตั้งวางระบบระเบียบในหมู่มนุษย์นี้แหละเรียกว่า "วินัย"

    กฎของธรรมชาติ เรียกว่า "ธรรม"

    กฎของมนุษย์ เรียกว่า "วินัย"


    กฎ 2 อย่างนั้นมีความสัมพันธ์กัน คือ

    ประการ ที่ 1 โดยหลักการสำคัญ วินัย ต้องตั้งอยู่บนฐานของธรรม คือ ต้องมีความจริงในธรรมชาติเป็นฐานอยู่ ถ้าไม่มีความจริงในธรรมชาติเป็นฐาน วินัยก็ไม่มีความหมาย

    ประการที่ 2 การที่เราจัดวางกฎเกณฑ์ที่เป็นเหตุเป็นผลขึ้นในหมู่มนุษย์ ก็เพื่อจะให้ได้ผลตามธรรม และมีความมุ่งหมายเพื่อธรรมนั่นเอง คือเพื่อจะให้การทำตามธรรมนั้นเกิดผลเป็นจริงในหมู่มนุษย์ เราจึงได้วางกฎเกณฑ์ของมนุษย์ขึ้นมา

    พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามนุษย์จะปฏิบัติตามและได้ประโยชน์จากกฎธรรมชาติ หรือใช้กฎธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ได้ดีที่สุด เราจึงวางกฎมนุษย์ขึ้นมา

    กฎธรรมชาติมีอยู่เป็นธรรมดา ส่วนกฎมนุษย์นั้นเป็นกฎสมมติ

    "สมมติ" คือ การตกลงร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน

    "สมมติ" มาจาก "สัง" + "มติ" มติ แปลว่า การยอมรับ หรือการตกลง "สัง" แปลว่า ร่วมกัน "สมมติ" จึงมีความหมายว่า ข้อตกลงร่วมกัน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า convention

    สมมติ ไม่ใช่สิ่งเหลวไหล แต่เป็นสิ่งที่เกิดจากความรู้เข้าใจในหลักความจริงที่เป็นเหตุเป็นผล แล้วนำความรู้นั้นมาจัดวางเป็นข้อกำหนดเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ เช่น เมื่อเราจ้างคนขุดดิน ก็จะมีการวางกฎเกณฑ์แห่งเหตุและผลขึ้นมา กฎที่เราวางขึ้นนั้น เป็นกฎของมนุษย์ คือเป็นกฎสมมติ แต่เราวางกฎสมมตินั้นขึ้น โดยอาศัยความรู้ในความเป็นเหตุเป็นผลที่มีจริงเป็นจริงอยู่ในกฎธรรมชาติ

    เพราะฉะนั้น จึงมีกฎ 2 กฎซ้อนกันอยู่ คือ กฎธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้ กับกฎมนุษย์ที่เป็นสมมติ





    .
    http://www.khaosod.co.th/view_news....nid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1DMHhNQzB4TVE9PQ==


    .



    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค กม.เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคหรือเครื่องมือทวงหนี้ใหม่ของนายทุน (?)

    นางสาวเรวดี ขวัญทองยิ้ม นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการพิเศษ

    <style>p { margin: 0px; }</style> พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551กฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคหรือคเรื่องมือทวงหนี้ใหม่ของนายทุน (?)

    นางสาวเรวดี ขวัญทองยิ้ม นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการพิเศษ

    นับตั้งแต่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับจนถึงปัจจุบัน ก็ได้มีเสียงสะท้อนจากสังคมเกี่ยวกับผลของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้โดย เฉพาะประเด็นที่ว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้ "เอื้อ" ต่อนายทุนโดยเฉพาะธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank) ที่ประกอบธุรกิจการให้กู้ยืมเงินในรูปแบบของการออกบัตรเครดิต ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้มีหลักการสำคัญคือ ต้องการให้คดีผู้บริโภคสามารถฟ้องได้โดยสะดวก รวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายน้อย จึงเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้ธนาคารหรือผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตซึ่งอยู่ใน ฐานะ "นายทุน" ใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อฟ้องคดีกับผู้ใช้คดีบัตรเครดิตที่เป็นประชาชนทั่วไป และอยู่ในฐานะ "ผู้บริโภค" ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้น

    ผู้เขียนในฐานะของฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ในฐานะเป็นผู้ร่วมพิจารณาร่างกฎหมายนี้มาตั้งแต่ต้น ขอยืนยันการกระทำดังกล่าวผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ที่มุ่งคุ้มครอง ประโยชน์ของผู้บริภคเป็นสำคัญ

    เมื่อพิจารณาจากสถิติคดีของสำนักงานศาลยุติธรรม พบว่า ในขณะนี้ในมีการฟ้องคดีผู้บริโภคเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมทั่วประเทศ เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นว่าคดีแพ่งที่เคยฟ้องเข้าสู่ศาล เป็นคดีแพ่งสามัญ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก คดีมโนสาเร่ มีจำนวนลดน้อยลงกว่า 80 เปอร์เซนต์ แต่มีคดีผู้บริโภคเข้ามาแทนที่ ( เรียกว่าคดี "ผบ" หมายถึงคดีผู้บริโภค สำนวนใช้ปกสีฟ้าเข้ม สำนวนใช้กระดาษขนาด A4) และในปริมาณคดีผู้บริโภคที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลเป็นจำนวนมากนั้นเมื่อ พิจารณาในรายละเอียดแล้วจะพบว่า "โจทก์" ส่วนใหญ่ก็คือ ธนาคารหรือผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตฟ้อง (Non Bank) และ "จำเลย" คือประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้บริโภคนั่นเอง จนเกิดคำกล่าวว่าพระรชบัญญัติฉบับนี้ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของนายทุน และทำให้ศาลทำหน้าที่เสมือนเป็น "เจ้าพนักงานบังคับคดี" หรือ "เจ้าพนักงานเร่งรัดหนี้สิน" ให้แก่นายทุนเลยทีเดียว

    ดังนั้น ผู้เขียนในฐานะที่มีส่วนร่วมในการยกร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มาตั้งแต่ต้น จึงใคร่จะชี้แจง ที่มา แนวคิด หลักการ และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อชี้ให้เห็นว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นมาบนพื้นฐานของความมุ่งมั่นและความปรารถนาดีอย่างจริง ใจของทุกๆ ฝ่าย ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อต้องการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคซึ่งถือเป็นผู้ที่อยู่ในสถานะที่เป็น ฝ่ายเสียเปรียบกว่าผู้ประกอบธุรกิจทั้งในทางเทคนิคทางธุรกิจและสถานะทาง เศรษฐกิจเพื่อให้กฎหมายฉบับนี้ยังคงเป็นกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมดังเจตนารมณ์ของผู้ยกร่างกฎหมายตลอดไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    1.ที่มาของร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.....

    ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.....ได้ริเริ่มโดยสำนักงานศาลยุติธรรม อันเนื่องมาจากในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสินค้าและ บริการมากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องของคุณภาพสินค้าหรือบริการ ตลอดจนเทคนิคการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งยังขาดอำนาจต่อรองในการเข้าทำสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการทำ ให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ

    นอกจากนี้ เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น กระบวนการในการเรียกร้องค่าเสียหายต้องใช้เวลานานและสร้างความยุ่งยากให้แก่ ผู้บริโภคที่จะต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งไม่อยู่ในความรู้เห็นของตนเอง อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีสูง ผู้บริโภคจึงตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบจนบางครั้งนำไปสู่การใช้วิธีการที่ รุนแรงและก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับกลุ่มผู้บริโภค ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมอันส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศสมควร ให้มีระบบวิธีพิจารณาคดีที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายได้รับการแก้ไขเยียวยาด้วยความรวด เร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพ อันเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ขณะเดียวกัน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจหันมาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของ สินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น

    โดยในการเขียนบทความฉบับนี้ ผู้เขียนในฐานะที่เป็นผู้ที่มีส่วนได้รับรู้และเห็นพัฒนาการของร่างกฎหมาย ฉบับนี้มาตั้งแต่ต้น จึงได้มีโอกาสรับรู้ว่าในกระบวนการยกร่างกฎหมายฉบับนี้จนสำเร็จย่อมต้องได้ รับความร่วมมือด้วยดีจากบุคคลคนหลายฝ่ายแต่ผู้เขียนอยากจะใช้โอกาสนี้บันทึก และกล่าวสดุดีถึงผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการยกร่างกฎหมายฉบับนี้ที่ได้ทุ่มเท ทั้งแรงกายและแรงใจเพื่อผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับโดยไม่หวังผล ใดๆ ตอบแทน นั่นคือ นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการยกร่างกฎหมายฉบับนี้มาตั้งแต่ในชั้นคณะกรรมการยกร่าง กฎหมายของสำนักงานศาลยุติธรรม

    เนื่องจากผู้เขียนได้เห็นถึงความทุ่มเทของท่านด้วยตัวของผู้เขียนเอง ที่ได้กระทำในทุกวิถีทางเพื่อผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้จนมีผลใช้บังคับใน ปัจจุบัน กล่าวคือ เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ถูกเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสภาฯ ในยุคของ สนช.ดังนั้น การดำเนินการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ตั้งแต่ในชั้นสำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกาและสภาฯ ก็ต้องดำเนินการด้วยความเร่งด่วน ซึ่งในชั้นการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ของคณะกรรมาธิการฯ นายชาญณรงค์ฯ ได้ประสบอุบัติเหตุกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทจนไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ

    แต่ด้วยความรับผิดชอบในหน้าที่และความทุ่มเทเพื่อผลักดันร่างกฎหมาย ฉบับนี้ ทำให้ท่านต้องขออนุญาตแพทย์ที่ทำการรักษา ออกมาจากโรงพยาบาลเพื่อมาทำหน้าที่ผู้ชี้แจงรายละเอียดของร่างกฎหมายฉบับนี้ ต่อคณะกรรมาธิการฯ แล้วจึงเข้ารับการรักษาต่อ ณ โรงพยาบาล ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว อาจไม่มีใครรับรู้มากนัก แต่ผู้เขียนอยากบันทึกไว้เป็นเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ในความเป็นมาของร่างกฎหมายฉบับนี้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของบุคคลที่มีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายที่ ความมุ่งมั่นและมีเจตนาที่ดีเพื่อต้องการกฎหมายฉบับนี้ออกมามีผลใช้บังคับ โดยเร็วเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม




    .

    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1286796415&grpid=no&catid=02

    .



    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    2.สาระสำคัญเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของพระราชบัญญัติวิธี พิจารณาคดีผู้บริโภคพ.ศ. 2551

    พระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดระบบวิธีพิจารณาคดีที่ เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายได้รับการแก้ไขเยียวยาด้วยความสะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในการที่จะใช้สิทธิทาง ศาล อันเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ขณะเดียวกันเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจหันมาให้ความสำคัญต่อการพัฒนา คุณภาพของสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้นอันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชนอีกทางหนึ่ง

    3.ปัญหาที่เกิดจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติ

    จากที่ได้กล่าวถึงความเป็นมาและสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้มาแล้ว ในส่วนนี้ผู้เขียนขอสรุปปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราช บัญญัติดังกล่าวโดยมุ่งถึงประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในขณะนี้ คือ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้ "เอื้อ" ต่อนายทุน โดยเฉพาะธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank) ที่ประกอบธุรกิจการให้กู้ยืมเงินในรูปแบบของการออกบัตรเครดิต ให้คดีผู้บริโภคสามารถฟ้องได้โดยสะดวก รวดเร็วและเสียค่าใช้จายน้อย เป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจาก การวิพากษ์วิจารณ์ในทำนองดังกล่าวนั้น สร้างความกระทบกระเทือนต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้เป็นอย่างมาก

    แม้ว่าบทบัญญัติโดยทั่วไปของพระราชบัญญัติฉบับนี้จะได้กำหนดกระบวน พิจารณาคดีที่ให้การดำเนินคดีผู้บริโภคเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็วและประหยัดความสะดวก รวดเร็ว อันเป็นประโยชน์แก่ "คู่ความทั้งสองฝ่าย" แต่ละได้กำหนดบทบัญญัติหลายประการอันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อการใช้สิทธิของ ผู้บริโภคในกรณีที่ "ผู้บริโภค" ฟ้องผู้ประกอบธุรกิจมากกว่ากรณีของผู้ประกอบธุรกิจในการฟ้องผู้บริโภค เช่น การกำหนดให้ผู้บริโภคสามารถฟ้องบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้โดยไม่ต้อง มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือแม้ในกรณีที่สัญญามิได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด (มาตรา 10 และมาตรา 11)
    การกำหนดให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์เกี่ยวกับอายุความในการฟ้องร้อง ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพหรืออนามัยโดยผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างกาย หรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาในการแสองอาการ (มาตรา 13)
    ผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมศาล (มาตรา 18)

    ผู้บริโภคสามารถฟ้องคดีผู้บริโภคโดยผ่านผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ บริโภคได้ (มาตรา 19) ผู้บริโภคไม่ต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการผลิต การประกอบการออกแบบ การให้บริการหรือการดำเนินการใดๆ ที่ข้อเท็จจริงอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรา 29)

    ผู้บริโภค (ในคดีใหม่) ได้รับประโยชน์จากผลของคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลในคดีก่อน หากมีการฟ้องผู้ประกอบธุรกิจรายเดียวกันเป็นคดีผู้บริโภคอีกและข้อเท็จจริง ที่พิพาท (ในคดีใหม่นั้น) เป็นอย่างเดียวกับคดีก่อนซึ่งศาลได้วินิจฉัยไว้แล้ว (มาตรา 30) ในคดีที่ผู้บริโภคเป็นโจทก์ ศาลมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าเสียหายที่เรียกร้องให้ถูกต้องหรือกำหนดวิธีการ บังคับให้เหมาะสมได้ แม้จะเกินกว่าคำขอบังคับก็ตาม (มาตรา 39) เป็นต้น

    แต่การกำหนดนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภค" หมายความว่า คดีแพ่งระหว่าง "ผู้บริโภค" กับ "ผู้ประกอบธุรกิจ" ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 นั้น นำมาสู่ปัญหาสำคัญสำคัญที่ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายฉบับนี้ โดยเมื่อพิจารณาบทนิยามดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่า ข้อพิพาทที่จะเป็นคดีผู้บริโภคตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้ บริโภค พ.ศ. 2551 ได้นั้น คู่ความฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้บริโภคและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ประกอบ ธุรกิจ และนอกจากการพิจารณาถึงสถานะของคู่ความดังกล่าวข้างต้นแล้ว ข้อพิพาทที่จะถือว่ามีลักษณะเป็นคดีผู้บริโภคจะต้องเป็นข้อพิพาททางแพ่งซึ่ง พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับการบริโภค สินค้าหรือบริการ

    ทั้งนี้ ความหมายของคำว่า "ผู้บริโภค" และ "ผู้ประกอบธุรกิจ" ก็เป็นไปตามนัยที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดว่า "ผู้บริโภค" ได้แก่ ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการผู้ได้รับการเสนอหรือชักชวนเพื่อให้ซื้อสินค้า หรือบริการผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการ และผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ในขณะที่ "ผู้ประกอบธุรกิจ" ได้แก่ ผู้ขายหรือผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้าเพื่อขาย ผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า ผู้ให้บริการและผู้ประกอบกิจการโฆษณา

    จากเงื่อนไขทั้งสองประการของคดีผู้บริโภคดังกล่าวข้างต้น คดีผู้บริโภคตามนัยแห่งพระราชบัญญัติจึงครอบคลุมทั้งกรณี "ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ" และกรณี "ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภค" ด้วย ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการฟ้องบังคับชำระหนี้จากผู้บริโภคตามสัญญาซื้อ สินค้าหรือสัญญาบริการต่างๆ จึงสามารฟ้องผู้บริโภคเป็นคดีผู้บริโภคและได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้ แม้ว่าในการฟ้องร้องหรือดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในบางเรื่อง ผู้ประกอบธุรกิจจะได้รับประโยชน์น้อยกว่าผู้บริโภคบ้างก็ตาม แต่ผู้ประกอบธุรกิจก็สามารถใช้ช่องทางตามกฎหมายฉบับนี้โดยอาศัยประโยชน์ จากกระบวนพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วและความคล่องตัวในการฟ้องและดำเนินคดี ต่อผู้บริโภค ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงผลการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติที่ บิดเบือนไปจากเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมายฉบับนี้

    นอกจากนั้น กรณีดังกล่าวยัเงป็นผลสืบเนื่องนำมาซึ่งการฟ้องคดีจำนวนมหาศาลและต่อเนื่อง ของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อฟ้องบังคับชำระหนี้จากผู้บริโภค อันนำมาซึ่งปัญหาในทางปฏิบัติของศาลในการกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็วเพื่อให้ เป็นไปตามกำหนดเวลาตามที่กำหนดในข้อ 9 ของข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาดังกล่าว ว่าจะกระทำได้จริงหรือไม่ ซึ่งหากคดีผู้บริโภคที่ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคมีจำนวนมากซึ่งเป็นคดี ที่เกิดขึ้นแทบทุกวัน กระบวนพิจารณาคดีผู้บริโภคย่อมไม่อาจที่จะดำเนินไปตามกำหนดเวลาแห่งข้อกำหนด ของประธานศาลฎีกาได้ ทำให้บทบัญญัติที่กำหนดไว้ในข้อ 9 ของข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาไม่มีผลบังคับใช้โดยปริยาย ทั้งๆ ที่มีบทบัญญัติกำหนดไว้โดยชัดเจน

    ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ก็ได้มีการพิจารณาถึงประเด็นปัญหานี้โดยละเอียด และในที่สุดคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีมติว่า หากจะมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคโดยการจะออกกฎหมายให้ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบการ ได้แต่เพียงฝ่ายเดียว ย่อมขัดต่อหลักความเป็นธรรมอันเป็นหลักสำคัญของกฎหมายวิธีพิจารณาความ ดังนั้น จึงไม่สามารถกำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบการฟ้องคดีผู้บริโภคเป็นคดีผู้บริโภค ได้ จึงนำมาสู่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

    ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นผู้มีส่วนในกระบวนการร่างกฎหมายฉบับนี้ เห็นว่า กรณีดังกล่าวถือเป็นบทเรียนสำคัญของการร่างกฎหมาย เนื่องจาก ผลของการบังคับใช้กฎหมายขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างชัดแจ้ง ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นสิ่งที่นักร่างกฎหมายพึงระวังเป็นอย่างยิ่งแม้ว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้จะมุ่งคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคเป็นสำคัญและ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเหตุสุดวิสัยที่ผู้ร่างกฎหมายไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าผู้ ประกอบการจะใช้กฎหมายฉบับนี้เป็นเครื่องมือ "เร่งรัดหนี้สิน" โดยเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ปัญหาดังกล่าวนั้นส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากกระบวนการร่างกฎหมายที่ยังไม่ รัดกุมและรอบคอบเพียงพอ ทำให้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

    4.ข้อเสนอแนะบางประการเพื่อการปรับปรุงพระราชบัญญัติ

    จะเห็นได้ว่าประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากปัญหาทางข้อกฎหมายเกี่ยวกับนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภค" ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ นั่นเอง เนื่องจากหากพระราชบัญญัติมิได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้มีความเหมาะสมตาม สมควรได้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติอย่างแท้จริงแล้ว ปัญหาจำนวนคดีผู้บริโภคที่ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคย่อมจะมีแนวโน้มที่ สูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งย่อมจะส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีและแม้กระทั่งการ ปฏิบัติหน้าที่ของศาลเอง อันอาจจะส่งผลถึงประสิทธิภาพของกาดรำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ อย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก

    แนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อมิให้ผู้ประกอบการใช้กฎหมายฉบับนี้เป็น เครื่องมือ "เร่งรัดหนี้สิน" นั้น ผู้เขียนเห็นว่า มีแนวทาง 2 ประการได้แก่

    1.การใช้อำนาจแก่ประธานศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาวินิจฉัย ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ว่า "ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาใดๆ ที่ได้กระทำไปก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยนั้น..."
    ดังนั้น จึงมีข้อพึงวินิจฉัยว่าจะใช้อำนาจของประธานศาลอุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ได้หรือไม่ โดยการให้ประธานศาลอุทธรณ์กำหนดแนวทางการฟ้องคดีผู้บริโภคโดยกำหนดให้เฉพาะ แต่กรณีผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจเท่านั้นที่จะสามารถใช้กระบวนการ พิจารณาคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัตินี้ได้

    แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น มีข้อพิจารณาว่า เนื่องจากบทนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภค" ได้กำหนดไว้โดยชัดเจนว่า "คดีผู้บริโภค" หมายความว่า คดีแพ่งระหว่าง "ผู้บริโภค" กับ "ผู้ประกอบธุรกิจ" ดังนั้น แม้บทบัญญัติมาตรา 8 จะกำหนดให้อำนาจแก่ประธานศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจวินิจแยว่าคดีใดเป็นคดีผู้ บริโภคหรือไม่ก็ตาม แต่การใช้ดุลพินิจของประธานศาลอุทธรณ์ย่อมอยู่ในกรอบของบทนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภคและประธานศาลอุทธรณ์ก็ไม่อาจตีความหรือวินิจฉัยให้ขัดกับบท บัญญัติลายลักษณ์อักษณที่กำหนดไว้โดยชัดแจ้งในพระราชบัญญัติ ซึ่งบัญญัติให้คดีผู้บริโภคหมายความว่าคดีแพ่ง "ระหว่าง" ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ (ที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับการบริโภค สินค้าหรือบริการ)

    ประกอบกับบทบัญญัติมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติ ก็ยังได้กำหนดรองรับสิทธิในการฟ้องคดีผู้บริโภคของผู้ประกอบธุรกิจไว้อย่าง ชัดแจ้ง อันเป็นการยืนยันขอบเขตของคดีผู้บริโภคตามนิยามดังกล่าวว่าครอบคลุมทั้งกรณี ที่คู่ความฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บริโภคและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ประกอบ ธุรกิจ ซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญของพระราชบัญญัตินี้ ประกอบกับในทางปฏิบัตินั้น ก็ได้มีคำวินิจแยของประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเป็นแนวทางไว้แล้วว่า กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคนั้น ถือเป็นคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัตินี้

    ดังนั้น การจะอาศัยอำนาจในการตีความหรือการวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์เพื่อแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราชบัญญัติจึงมีข้อจำกัดและไม่อาจแก้ ปัญหาได้อย่างแท้จริงแต่ประการใด

    2.การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 โดยการแก้ไขบทนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภค" ให้สอดรับกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติและยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 17 น่าจะเป็นวิธีการที่ควรนำมาใช้เพื่อให้การใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสมตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติในการคุ้มครองสิทธิ ของผู้บริโภคอย่างแท้จริง โดยการแก้ไขนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภค" ให้จำกัดแต่เฉพาะกรณีผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจอันเกี่ยวกับสิทธิหรือ หน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ เท่านั้น

    แต่แนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการดังกล่าว ก็มีข้อควรพิจารณาว่า การกำหนดให้ผู้บริโภคสามารถฟ้องผู้ประกอบการเป็นคดีผู้บริโภคได้แต่เพียง ฝ่ายเดียวนั้น จะมีความเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากหลักการสำคัญของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ฯ แล้วจะเห็นได้ว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกระบวนพิจารณาที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัด เพื่อให้สามารถคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้นแต่ พระราชบัญญัติดังกล่าวก็ยังคงหลักการของวิธีพิจารณาความในส่วนที่เกี่ยวกับ ความเป็นธรรมไว้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย หลักการฟ้องความทั้งสองฝ่ายหลักการพื้นฐานว่าด้วยกฎหมายพยานหลักฐาน เป็นต้น
    ประกอบกับในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ได้กำหนดว่า กระบวนพิจารณาคดีผู้บริโภคให้เห็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้และข้อ กำหนดของประธานศาลฎีกาตามมาตรา 6 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ดังนั้น การแก้ไขบทนิยามคำว่า "คดีผู้บริโภค" ให้หมายความเฉพาะคดีที่ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจ จึงมีความเหมาะสม เป็นธรรม และสามารถคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ

    โดยในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องบังคับให้ผู้บริโภคชำระหนี้ก็ให้ ฟ้องเป็นคดีแพ่งสามัญและดำเนินการตามที่กำหนดไว้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่งทั่วไป ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจย่อมอยู่ในสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่จะสามารถเผชิญกับ อุปสรรคหรือความยุ่งยากที่เกิดขึ้นตามกระบวนพิจารณาคดีดังกล่าวได้มากกว่า ผู้บริโภค



    .


    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1286796415&grpid=no&catid=02
    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    นักกฎหมายกฤษฎีกาเผยคดีวิธีพิจารณาผู้บริโภคพุ่ง อึ้ง! แบงก์-นอนแบงก์ใช้เป็นเครื่องมือไล่ฟ้องผู้บริโภค

    <style>p { margin: 0px; }</style> นักกฎหมายกฤษฎีกาหวั่นพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯผิดวัตถุ ประสงค์ของกฎหมาย หลังพบสถิติคดีของศาลยุติธรรมพุ่ง แต่โจทก์กลับเป็นธนาคารและนอนแบงก์ที่ทำบัตรเครดิตไล่ฟ้องประชาชนผู้บริโภค กลายเป็น"เครื่องมือ" สำคัญของนายทุนไปโดยปริยาย

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆนี้ นางสาวเรวดี ขวัญทองยิ้ม นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้เขียนบทความ "พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 : กฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคหรือเครื่องมือทวงหนี้ใหม่ของนายทุน?

    ผู้เขียนระบุในบทความตอนหนึ่งว่า นับตั้งแต่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 นับแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับจนถึงปัจจุบัน ก็ได้มีเสียงสะท้อนจากสังคมเกี่ยวกับผลของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้โดย เฉพาะประเด็นที่ว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้ "เอื้อ" ต่อนายทุนโดยเฉพาะธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank) ที่ประกอบธุรกิจการให้กู้ยืมเงินในรูปแบบของการออกบัตรเครดิต ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้มีหลักการสำคัญคือ ต้องการให้คดีผู้บริโภคสามารถฟ้องได้โดยสะดวก รวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายน้อย จึงเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้ธนาคารหรือผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตซึ่งอยู่ใน ฐานะ "นายทุน" ใช้ช่องทางดังกล่าวเพื่อฟ้องคดีกับผู้ใช้คดีบัตรเครดิตที่เป็นประชาชนทั่วไป และอยู่ในฐานะ "ผู้บริโภค" ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้น

    ผู้เขียนในฐานะของฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ในฐานะเป็นผู้ร่วมพิจารณาร่างกฎหมายนี้มาตั้งแต่ต้น ขอยืนยันการกระทำดังกล่าวผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ที่มุ่งคุ้มครอง ประโยชน์ของผู้บริภคเป็นสำคัญ

    เมื่อพิจารณาจากสถิติคดีของสำนักงานศาลยุติธรรม พบว่า ในขณะนี้ในมีการฟ้องคดีผู้บริโภคเข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมทั่วประเทศ เป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นว่าคดีแพ่งที่เคยฟ้องเข้าสู่ศาล เป็นคดีแพ่งสามัญ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก คดีมโนสาเร่ มีจำนวนลดน้อยลงกว่า 80 เปอร์เซนต์ แต่มีคดีผู้บริโภคเข้ามาแทนที่ ( เรียกว่าคดี "ผบ" หมายถึงคดีผู้บริโภค สำนวนใช้ปกสีฟ้าเข้ม สำนวนใช้กระดาษขนาด A4)

    ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปริมาณคดีผู้บริโภคที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลเป็นจำนวนมากนั้นเมื่อ พิจารณาในรายละเอียดแล้วจะพบว่า "โจทก์" ส่วนใหญ่ก็คือ ธนาคารหรือผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตฟ้อง (Non Bank) และ "จำเลย" คือประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้บริโภคนั่นเอง จนเกิดคำกล่าวว่าพระรชบัญญัติฉบับนี้ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของนายทุน และทำให้ศาลทำหน้าที่เสมือนเป็น "เจ้าพนักงานบังคับคดี" หรือ "เจ้าพนักงานเร่งรัดหนี้สิน" ให้แก่นายทุนเลยทีเดียว




    .

    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1286800082&grpid=&catid=05

    .



    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จาก pm ผมครับ


    เรื่องของจำนวนเงิน ผมไม่กำหนด แล้วแต่ศรัทธาครับ



    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...