เรื่องเด่น มนุษย์ต่างดาวติดต่อเราหรือยัง-ควรบอกว่า เมื่อไหร่จะไป

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย chandayot, 18 เมษายน 2012.

  1. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    บุคคลจะหลุดพ้นจากปฏิฆะ เครื่องร้อยรัดนี้ได้ จำต้องน้อมเอาไว้ในใจ กระทำภายในใจ ให้ปฏิฆะไม่ส่งผลกระทบต่อบุคคลภายนอกก่อน ปฏิฆะจะค่อยๆ อ่อนกำลังลง ลดลง เบาบางลงได้ แม้ว่าจะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งภายในจิตใจของตนเองบ้างก็ตาม แต่เมื่อเกิดการกระทบกระทั่งภายในตัวเองมากขึ้น เขาก็จะพึงรู้ได้ถึงผลกระทบของปฏิฆะ รู้ฤทธิ์เดชของปฏิฆะ และเห็นโทษภัยของปฏิฆะ จนเอาตนหลุดพ้นปฏิฆะได้ในที่สุด หากยังไม่น้อมเอาปฏิฆะมาพิจารณาภายในแล้ว ก็จะเกิดปฏิฆะกับบุคคลอื่นโดยรอบ ไปหมด ซ้ำๆ ทำให้ขาดสติ ไม่รู้ตัวว่าปฏิฆะกำลังแผลงฤทธิ์อยู่ เหมือนเวลาไฟโกรธลุกขึ้น ก็พ่นใส่คนอื่น ตัวเองหายร้อนแล้วก็สบาย ติดพฤติกรรมแบบนี้ ทำอยู่ซ้ำๆ เลยถูกพัวพันด้วยวิสัยเช่นนี้เรื่อยๆ แต่เมื่อเอาไฟโกรธไว้ภายในแล้ว มันก็เผาตัวเอง ตัวเองรู้ตัวว่าร้อน ย่อมเห็นโทษภัยของปฏิฆะเร็วขึ้น แล้วเอาตัวเองออกจากปฏิฆะได้เร็วขึ้นฉะนั้น อนึ่ง ปฏิฆะไม่ใช่ความโกรธ แต่เป็นนิสัยที่ติดตัว ชอบโต้แย้งถกเถียง หรือใส่อารมณ์โกรธไปยังคนอื่นๆ บุคคลสามารถบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นได้ แม้ยังมีความโกรธ เกิดและดับอยู่เืนืองๆ ก็ตาม ถ้าบุคคลนั้นมีความโกรธแต่หลุดพ้นแล้วจากการติดนิสัยเอาความโกรธไปลงที่คนอื่นที่เรียกว่า "ปฏิฆะ" ความโกรธที่หลุดพ้นแล้วจากปฏิฆะ ก็อุปมาเหมือนไฟในเตา ไม่อาจเผาผู้อื่นได้ฉะนั้น

    มานะ
    คือ สังโยชน์เครื่องร้อยรัดที่เป็นผลมาจากการถือตัวถือตนเช่นกันกับสักกายทิฏฐิ แต่มานะนี้ ไม่ใช่เรื่องส่วนกายสังขาร เป็นเรื่องลึกลงไประดับจิตวิญญาณ อนึ่ง มานะสังโยชน์ จะแสดงออกมาในรูปของการเอาชนะผู้อื่น, ชอบแข่งขัน, ยกตนให้เหนือกว่าผู้อื่น, ทำตนเสมอผู้อื่นที่ไม่ควร และการเปรียบเทียบตนและผู้อื่น แล้วพยายามทำให้ตนสูงส่งขึ้น เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ เมื่อทำจนติดเป็นนิสัยแล้วจะกลาย เป็นสังโยชน์เครื่องร้อยรัด ทำให้ผูกมัดพันธนาการบุคคลไว้ เมื่อได้ฟังธรรม ก็ขัดขวางการบรรลุธรรมได้ ทำให้ไม่อาจบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ หากไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์ตัวนี้ เช่น มัวแต่มีมานะจะเอาชนะอีกฝ่าย จนไม่ทันได้ฟังเหตุผล หรือสาระธรรมที่อีกฝ่ายแสดงให้ดู ในคนที่มีความอยากเอาชนะคนอื่น แ่ต่ไม่ได้กลายเป็นพันธนาการร้อยรัดเช่นนี้ เป็นเพียงเหมือนขันธ์กองหนึ่งที่เกิดแล้วดับไปตามเหตุปัจจัย สิ่งนั้น ก็ไม่อาจจะเป็นสังโยชน์ได้ ย่อมเป็นเพียงทิฐิมานะอันเกิดขึ้นแล้วดับไป ไม่ใช่มานะสังโยชน์ แต่หากไม่เป็นเช่นนี้ มานะที่มีมากเกินไป ไม่จบลงได้ พันธนาการบุคคลอยู่เรื่อยๆ ยิ่งฟังธรรม, สนทนาธรรมเท่าไรก็ไม่หลุดพ้นออกมาจากมานะสังโยชน์นั้น เพราะมัวแต่คิดจะเถียงเื่พื่อเอาชนะอีกฝ่ายให้อีกฝ่ายยอมจำนนแก่ตนให้จงได้ นี่เรียกว่า "มานะสังโยชน์" บุคคลทั้งหลายมีทิฐิมานะได้ ถ้าสิ่งนั้นไม่ผูกมัดพััวพันจนมากเกินไปแล้วขัดขวางการบรรลุธรรม ทิฐิมานะนั้นก็จะเป็นเีพียงขันธ์กองหนึ่ง ที่ไม่เที่ยง เกิดดับตามเหตุตามปัจจัยไปเอง ไม่จำเป็นต้องดับทิฐิมานะเช่นนี้เพราะไม่ใช่สังโยชน์ เมื่อใดที่กิเลสนิพพาน ก็อาศัยจังหวะนั้นพิจารณาธรรมให้แจ้ง จนบรรลุได้เช่นกัน เมื่่อจะละสังขารจึงกระทำ "ขันธปรินิพพาน" ทิฐิมานะอันอยู่ร่วมในกองขันธ์ก็สิ้นไป หมดหน้าที่ของตนไป ดังนั้น ทิฐิมานะจึงมีได้ หากยังไม่สิ้นชีวิต ตราบเท่าที่ไม่พัวพันขัดขวางจนกลายเป็นอุปสรรคในการบรรลุธรรม ทิฐิมานะนั้นก็ไม่จัดว่าเป็น "มานะสังโยชน์"

    มานะสังโยชน์เป็นสังโยชน์ระดับละเอียดชนิดหนึ่งในห้าชนิด (ได้แก่ มานะ, อุทธัจจะ, รูปราคะ, อรูปราคะ, อวิชชา) ซึ่งจะยังคงมีได้ในพระอนาคามีจนเมื่อพระอนาคามีหลุดพ้นจากสังโยชน์ละเอียดเหล่านี้แล้ว จึงจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ อนึ่ง พระอริยบุคคลทั้งสี่ประเภทนั้น มีเพียงพระอรหันต์เท่านั้นที่แจ้งในนิพพานจริงๆ ส่วนอีกสามประเภทนั้น แม้จิตจะตรงนิพพาน ปรารถนานิพพานแล้ว แต่ยังไม่แจ้งในนิพพาน เพราะยังมี "อวิชชาสังโยชน์" เป็นเครื่องร้อยรัดอยู่ ดังนั้น มานะนี้จึงมีได้ หากไม่พัวพันจนเป็นมานะสังโยชน์

    สกิทาคามี
    คือ พระอริยบุคคลขั้นที่สองในสี่ขั้น ถัดจากพระโสดาบัน ซึ่งนอกจากจะหลุดพ้นจากสังโยชน์สามตัวแรก คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา และศีลัพพตปรามาส ได้แล้ว ยังสามารถทำให้ "ปฏิฆะ และ กามฉันทะ" เบาบางได้อีกด้วย (แต่ยังไม่หมดไป) อนึ่ง พระสกิทาคามีมักมีการกระทบกระทั่งภายในตัวเองอันอาจเป็นผลมาจากความพยายามในการทำให้ ปฏิฆะและกามฉันทะ หมดไป หรือเป็นผู้ที่มีความละเอียดและเคร่งครัดในการพิจารณาตัวเองสูงขึ้นไปกว่าพระโสดาบันอีกขั้น (ในขณะที่พระโสดาบันมักปล่อยให้ตัวเองเป็นไปตามธรรมชาติของกิเลสแต่เปิดกว้างรับธรรมตรงทางเต็มที่) แต่เนื่องจากการฝึกฝนตนเองยังไม่บรรลุผล ทำให้ยังเกิดการกระทบกระทั่งกันภายในอยู่ ยังไม่สงบราบเรียบนัก พระสกิทาคามีจึงมักมีลักษณะเป็นคนที่วุ่นวายอยู่กับการจัดการจิตใจตัวเองมากกว่าพระโสดาบัน แต่ก็ทำให้ธรรมของท่านก้าวไปข้างหน้ามากขึ้น จึงมักพบว่า พระสกิทาคามีอยู่กับการปฏิบัติ ฝึกฝนจิต ค่อนข้างมากกว่าพระโสดาบัน

    ปฏิฆะ และ กามฉันทะ ที่ยังไม่หมดไปในพระสกิทาคามี แม้ว่าพระสกิทาคามีจะพยายามจัดการก็ตาม ทำให้เกิดภาวะแกว่งภายในได้ คือ เกิดทั้งปฏิฆะ และกามฉันทะ กำเริบหรือดับไป เป็นระยะๆ แต่เนื่องจากพระสกิทาคามีมีความพยายามตรงจุดที่จะหลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งสองประการนี้ จึงทำให้ท่านทำให้สังโยชน์ทั้งสองประการเบาบางลงได้บ้าง แต่ท่านก็ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งสองประการนี้อยู่ดี ตราบเมื่อบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นไปอีกขั้นคือ พระอนาคามี จึงจะสามารถหลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งสองนี้ได้

    อุทธัจจะ
    คือ สังโยชน์ระดับละเอียดชนิดหนึ่งซึ่งแสดงออกมาในรูป "ความฟุ้งซ่าน" เนื่องจากความไม่แน่วแน่ของจิต ก็ดี, ความไม่ชัดเจนของความคิด ก็ดี, ความรู้ที่มากหรือจินตนาการที่มากเกินไป ก็ดี ฯลฯ ส่งผลให้เกิดความฟุ้งซ่าน แต่หากความฟุ้งซ่่านนั้นไม่พัวพันร้อยรัด ก็ไม่ใช่ "สังโยชน์" จะเป็นเพียงนิวรณ์ เหมือนเมฆน้อยลอยมาบดบังดวงจันทร์เป็นครั้งคราวฉะนั้น เกิดแล้วดับไปไม่เที่ยงตามเหตุปัจจัยหนุนนำ หากความฟุ้งซ่านเป็นเพียงนิวรณ์ เป็นของไม่เที่ยง ไม่พัวพันร้อยรัดแล้ว อาศัยเพียง "ขณิกสมาธิ" คือ สมาธิเพียงเล็กน้อย, ตื้นๆ ไม่ลึกไม่ถึงขั้นมีฌาน ก็สามารถบรรลุธรรมได้ แต่หากความฟุ้งซ่านนั้นมีมากเกินไป จนกลายเป็นบ่วงร้อยรัด เป็นอุปสรรคขัดขวางการบรรลุธรรม ก็จะพัฒนาไปเป็น "อุทธัจจะ" ได้ อนึ่ง พระอริยบุคคลที่หลุดพ้นอุทธัจจะได้ คือ พระอรหันต์ นอกจากนั้น ก็ไม่อาจหลุดพ้นอุทธัจจะ ดังนั้น การที่บุคคลทั่วไปมีความฟุ้งซ่าน ก็ไม่แปลก บ้างมีความฟุ้งซ่านไม่รุนแรง ไม่ถึงขั้นพัวพันร้อยรัดเป็นสังโยชน์ คือ จัดเป็นความฟุ้งซ่านระดับนิวรณ์เท่านั้น, บ้างมีความฟุ้งซ่านรุนแรง พัวพันร้อยรัดจนเป็นสังโยชน์ที่เรียกว่า "อุทธัจจะ" ก็มี หากกลายเป็นอุทธัจจะแล้ว ต่อให้บรรยายธรรมดีเท่าไร ก็ไม่ช่วยให้บรรลุธรรมได้ จำต้องเอาตัวเองให้หลุดพ้นจากอุทธัจจะนั้นให้ได้ก่อน จึงจะเข้าถึงธรรมได้ ในที่สุด

    บางท่านที่มีอุทธัจจะ จะสังเกตุได้จากการมีความคิดมากเกินไป, สงสัยมากเกินไป, จินตนาการมากเกินไป ก็มี เป็นลักษณะหนึ่งของอุทธัจจะ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่เป็นแบบนี้จะมีอุทธัจจะเสมอไป (คนที่มีวิจิกิจฉาก็มีความสงสัยมากเกินไปได้) แต่ไม่ได้หมายความว่ามีตลอดเวลา ในพระอรหันต์สามารถมีความฟุ้งซ่านได้มากมาย หากสิ่งนั้นเป็นเพียงกองขันธ์ที่ไม่เที่ยง เกิดแล้วดับไปตามเหตุปัจจัย และไม่ได้มีอำนาจถึงขั้นร้อยรัด เป็นอุปสรรคขัดขวางการบรรลุธรรมได้ เช่น ยามฟังธรรม ไม่มีความฟุ้งซ่าน แต่พอไม่ได้ฟังธรรมแล้วก็กลับมีความฟุ้งซ่านมากมายเป็นปกติ เช่นนี้ ไม่ใช่อุทธัจจะ เพราะไม่ได้ร้อยรัดจนเป็นอุปสรรคขัดขวางการบรรลุธรรมแต่อย่างใด ดังนั้น อย่าเพิ่งมองคนที่ฟุ้งซ่านว่าจะไม่อาจบรรลุธรรมได้ หากเขาสามารถหลุดพ้นความฟุ้งซ่านได้เมื่อฟังธรรม ตรงกันข้าม อย่าเพิ่งคิดว่าคนที่ดูไม่ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลาจะเป็นผู้บรรลุธรรมแล้ว เพราะเขาอาจยึดมั่นยึดอยู่กับความคิดว่า จะต้องไม่มีอุทธัจจะก็ได้

    รูปราคะ
    คือ สังโยชน์เครื่องร้อยรัดอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในระดับละเีอียด อันส่งผลให้บุคคลพัวพันอยู่ในรูปฌาน อันเป็นความสุขสงบอันละเอียด อนึ่ง พึงเข้าใจว่า "กามฉันทะ" แตกต่างจากรูปราคะด้วย กล่าวคือ การพัวพันอยู่ด้วย "รูป, รส, กลิ่น, เสียง, สัมผัส" อันน่าพึงปรารถนาทั้งหลายนั้น จนทำให้ไม่อาจหลุดพ้นออกมาสู่ธรรมได้ เราเรียกว่า "กามฉันทะ" ไม่ใช่รูปราคะ ดังนั้น คนที่หลงรูป, มีราคะเมื่อเห็นรูปแห่งคนที่งดงามถูกพัวพันอย่างนี้จนไม่อาจบรรลุธรรมได้นั้น ไม่ใช่รูปราคะ แต่เป็นไปด้วยกามฉันทะ ดังนั้น คำว่า "รูปราคะ" จึงใช้เฉพาะให้ชัดเจนคือ ในท่านที่เจริญ "รูปฌาน" ดี แล้วไม่ยอมปล่อยวางในรูปฌานที่เจริญได้นั้น ทำให้เสียดายฌานนั้นๆ ก็ดี, กลัวเสียฌานที่บำเพ็ญมา ก็ดี, ติดในความสงบสุขด้วยรูปฌานนั้น ก็ดี ฯลฯ อันพัวพันขัดขวางไม่ให้บุคคลบรรลุธรรมในระดับที่สูงขึ้นได้ คือ อรหันตผล นั่นแหละ ที่เรียกว่า "รูปราคะ" หรือแม้แต่บางท่านเจริญรูปฌาน, ได้นิมิต, ได้กสิณ, ได้ตาทิพย์ อย่างใดก็ดี แล้วเห็นรูปในระดับทิพย์ หมายเอาว่าถึงธรรมแล้ว ถึงนิพพานแล้ว ถูกรูปเหล่าันั้นพัวพันอยู่ จนไม่อาจบรรลุอรหันตผลได้ นี่ก็คือ "รูปราคะ" เช่น เห็นนิพพานเ็ป็นเมืองแก้ว แล้วคิดว่าบรรลุธรรมแล้ว, เห็นธรรมกายเป็นกายแก้ว แล้วก็คิดว่าบรรลุอรหันตผลแล้ว, เห็นพระพุทธเจ้ามี "รูป" มาโปรด ก็คิดว่าได้ธรรมแท้ บรรลุแน่แท้แล้ว (เห็นรูปตถาคตแต่ไม่เข้าถึงตถาคต) ถูกรูปเหล่านี้พัวพันอยู่ ร้อยรัดอยู่ ขัดขวางการเข้าสู่ธรรม เป็นอุปสรรคขวางกั้น ทำให้ไม่บรลุธรรมในระดับที่สูงขึ้นได้ นี่ย่อมจัดเป็น "สังโยชน์" อย่างหนึ่งที่เรียกว่า "รูปราคะ" นั่นเอง
     
  2. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    อนึ่ง สังโยชน์หรือเครื่องร้อยรัดจิตใจไม่ให้บรรลุธรรมนั้น หากจะแบ่งออกเป็นหยาบ, ปานกลาง และละเอียดจะได้เป็น

    ๑. สังโยชน์ระดับหยาบ ได้แก่ สักกายทิฐิ, วิจิกิจฉา, ศีลัพพตปรามาส
    ๒. สังโยชน์ระดับปานกลาง ได้แก่ ปฏิฆะ, กามฉันทะ
    ๓. สังโยชน์ระดับละเอียด ได้แก่ มานะ, อุทธัจจะ, รูปราคะ, อรูปราคะ, อวิชชา

    ซึ่งสังโยชน์ระดับละเอียดนี้ เป็นระดับที่เฉพาะพระอรหันต์เท่านั้นจะหลุดพ้นได้

    อรูปราคะ
    คือ สังโยชน์เครื่องร้อยรัดอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในระดับละเีอียด อันส่งผลให้บุคคลพัวพันอยู่ในอรูปฌาน อันเป็นความสุขสงบอันละเอียด อนึ่ง พึงเข้าใจว่า "รูปราคะ" แตกต่างจากอรูปราคะด้วยกล่าวคือ การพัวพันอยู่ด้วย "รูปฌาน" อันสุขสงบอยู่ด้วยสมาธิ, ฌาน ซึ่งอาศัยรูปเป็นสมาธิทั้งหลาย จนทำให้ไม่อาจหลุดพ้นออกมาสู่ธรรมได้นั้น เราเรียกว่า "รูปราคะ" ไม่ใช่อรูปราคะ ส่วนคนที่หลงพัวพันอยู่ด้วย "อรูปฌาน" หรือฌาน, สมาธิ ทั้งหลายอันไม่มีรูปเป็นเครื่องหมายช่วยในการเจริญสมาธิ หรือท่านที่เจริญ "อรูปฌาน" ดี แล้วไม่ยอมปล่อยวางในอรูปฌานที่เจริญได้นั้น ทำให้เสียดายฌานนั้นๆ ก็ดี, กลัวเสียฌานที่บำเพ็ญมา ก็ดี, ติดในความสงบสุขด้วยอรูปฌานนั้น ก็ดี ฯลฯ อันพัวพันขัดขวางไม่ให้บุคคลบรรลุธรรมในระดับที่สูงขึ้นได้ เรียกว่า "อรูปราคะ" หรือแม้แต่บางท่านที่เจริญ อรูปฌานได้พลังพิเศษ, ได้ญาณหยั่งรู้พิเศษ อย่างใดก็ดี แล้วเห็นสิ่งใดๆ อันเป็นผลมาจากอรูปฌาน หมายเอาว่าถึงธรรมแล้ว ถึงนิพพานแล้ว ถูกอรูปเหล่าันั้นพัวพันอยู่ จนไม่อาจบรรลุอรหันตผลได้ นั่นก็คือ "อรูปราคะ" เช่น เห็นนิพพานเ็ป็นพลังพิเศษอย่างหนึ่ง แล้วคิดว่าบรรลุธรรม, ได้รับพลังธรรม ก็คิดว่าบรรลุอรหันตผลแล้ว, เห็น "ความว่างหรือสุญตา" แล้วหมายเอาว่าคือนิพพพาน, เห็นพระพุทธเจ้าเป็น "พลังงานหรืออรูป" อย่างหนึ่ง มาโปรด ก็คิดว่าได้ธรรมแท้ บรรลุแน่แล้ว ถูกสิ่งใดๆ อันเป็น "อรูป" เหล่านี้พัวพันอยู่ ร้อยรัดอยู่ ขัดขวางการเข้าสู่ธรรม เป็นอุปสรรคขวางกั้น ทำให้ไม่บรรลุอรหันต์ จัดเป็น "สังโยชน์" อย่างหนึ่งที่เรียกว่า "อรูปราคะ" นั่นเอง

    อนึ่ง สังโยชน์ที่เรียกว่า "รูปราคะและอรูปราคะ" นั้นมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ บุคคลที่ถูกสังโยชน์เหล่านี้ พัวพันอยู่ จะติดอยู่ในฌาน, สมาธิ, ความสงบสุข ฯลฯ อันเป็นผลมาจากการเจริญฌานแบบใดแบบหนึ่งในสองแบบนี้ (รูปฌาน หรือ อรูปฌาน) บางท่านถูก "ผลของการเจริญฌาน" บางอย่างพัวพันอยู่จนกลายเป็น "สังโยชน์ขัดขวางการบรรลุอรหันตผล เช่น เมื่อเจริญรูปฌานไปได้ดี เกิดแสงสว่างโอภาสขึ้นแล้วก็คิดว่าตนได้บรรลุธรรม เพราะเมื่อเห็นแสงสว่างโอภาสนั้น พร้อมกับมีปีติสุข อันเป็นผลจากฌาน จึงคิดว่าตนบรรลุอรหันตผล ก็มี บ้างก็เข้าถึงอรูปฌานด้วย "ความว่าง" ไร้นิมิต, ไร้รูป เป็นหมายในการเข้าถึงฌานนั้นๆ จึงคิดว่าตนหลุดพ้นแล้วจากอำนาจแห่งนิมิตใดๆ, รูปราคะใดๆ คิดว่าบรรลุอรหันตผล ก็มี เช่นนี้ก็เข้าข่่าย "อรูปราคะ" คือ ถูกพัวพันร้อยรัดด้วยอรูปฌานติดอยู่ในภาวะสุขสงบแห่งฌานนั้นๆ จนทำให้คิดไปว่าตนบรรลุธรรมขั้นสูงสุดแล้วอย่างนี้ก็มี อนึ่ง การถูกพัวพันด้วยฌานอันสงบสุขนี้ เป็นสิ่งที่รู้ตัวได้ยาก

    อนาคามี
    คือ พระอริยบุคคลขั้นที่สามในสี่ขั้น ถัดจากพระสกิทาคามี ซึ่งนอกจากจะหลุดพ้นจากสังโยชน์สามตัวแรก คือ สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา และศีลัพพตปรามาส ได้แล้ว ยังสามารถหลุดพ้นจาก "ปฏิฆะ และ กามฉันทะ" ได้อีกด้วย อนึ่ง พระอนาคามีมักมีลักษณะเหมือนพระอรหันต์ในความคิดหรือมุมมองของชาวโลก คือ ดูสงบเงียบ, น่าศรัทธาเลื่อมใส แต่ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติเท่าไร คือ ดูดีหรือมีตัวตน (อัตตา) เหมือนเป็นพระอรหันต์มากเกินไป นั่นเอง (ในขณะที่พระอรหันต์จริงๆ จะดูไม่ค่อยเหมือนพระอรหันต์แต่จะดูเหมือนคนธรรมดา มีความเป็นธรรมชาติมากกว่่า) แต่เนื่องจากการฝึกฝนตนเองยังไม่บรรลุผล ทำให้ยังมี ตัวตน หรือ อัตตา มีรูปแบบ มีความเป็นพระอรหันต์ (ที่ไม่ใช่พระอรหันต์จริงๆ) อยู่ พระอนาคามี จึงทำให้คนศรัทธาหลงคิดว่่าเป็นพระอรหันต์ได้มากกว่าพระอรหันต์จริงๆ เสียอีก และทำให้ธรรมของท่านไม่ก้าวไปข้างหน้าได้ หากท่านหลงยึดติดตัวตนหรือหลงตนว่าได้อรหันต์แล้ว จึงมักพบว่า พระอนาคามีบางท่านที่ยังไม่บรรลุอรหันตผล มักถูกแวดล้อมด้วยผู้คนที่หลงคิดว่่าท่านบรรลุอรหันตผลแล้ว นั่นเอง

    อุทธัจจะ, มานะ, รูปราคะ, อรูปราคะ, อวิชชา ยังไม่หมดไปในพระอนาคามี แม้ว่าพระอนาคามีจะพยายามควบคุมไว้ด้วยจิตที่สงบสงัดก็ตาม ทำให้เกิดภาวะ "ซ่อนตัว" ภายในได้ คือ สังโยชน์ทั้งห้านี้ยังคงอยู่ แม้จะเหลือเพียงตะกอนเล็กๆ แต่ก็ยังทำหน้าที่ขัดขวางการบรรลุธรรมได้ แต่เนื่องจากพระอนาคามีมีความพยายามทำจิตให้สงบหลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งห้าประการนี้ จึงทำให้ท่านทำให้สังโยชน์ทั้งห้าประการถูกกดซ่อนไว้เบื้องลึกได้ แต่ท่านก็ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งห้าประการนี้อยู่ดี ตราบเมื่อบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นไปอีกขั้นคือ พระอรหันต์จึงจะสามารถหลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งห้านี้ได้ อนึ่ง สังโยชน์ห้าประการนี้ เป็น "สังโยชน์ละเอียด" พิจารณาเห็นได้ยาก อุปมาเหมือนฝุ่นผงขนาดเล็กบนผ้าขาวจนมองแทบไม่เห็นจำต้องมี "ผ้าขาวกว่า" มาเปรียบเทียบ" จึงจะเห็นความแตกต่่าง ไม่อาจเห็นได้ด้วยง่ายๆ ด้วยตนเอง ซึ่งก็คือ การได้รับการโปรดด้วยผู้ที่มีธรรมสูงกว่า จนทำให้เห็นชัดว่าตนยังไม่ได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุด คือ ขั้นอรหันตผลจริงๆ เช่น เมื่อมีผู้โปรดธรรม สังโยชน์ทั้งห้าก็กำเริบขัดขวางการบรรลุธรรม จึงจะทราบว่าตนนั้น ยังไม่ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งห้านี้จริงๆ หากไม่มีผู้ที่มีธรรมสูงกว่ามาโปรด สังโยชน์ก็ไม่แสดงตัว

    สัมมาสังกัปปะ
    แปลว่า "การดำริชอบ" หมายถึงการตั้งเจตนาในการคิด, พูด, กระทำที่พอดีตรงต่อนิพพาน บางท่านไปแปลว่าเป็นความนึกคิดอันชอบ ซึ่งไม่ตรงนัก เพราะความนึกคิดในทางโลก จำแนกเป็นธรรมในทางธรรมได้หลายประการ เช่น ความนึกคิดที่เป็นสัญญาขันธ์ ความจำได้หมายรู้ ระลึกขึ้นมาในใจ ก็มี, ความนึกคิดที่ฟุ้งซ่านไปด้วยนิวรณ์ห้า ก็มี, ความนึกคิดอันเกิดจากเครื่องร้อยรัดพัวพันด้วย "อุทธัจจะ" ก็มี, ความนึกคิดแบบจินตนาการจนเิกิดปัญญาระดับกลางที่เรียกว่า "จินตนมยปัญญา" ก็มี, ความนึกคิดได้มาจาก "ความคิดเห็น" อันเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็มี, มิจฉาทิฏฐิ ก็มี ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนจัดเป็น "ความนึกคิด" ในทางโลกทั้งสิ้น แต่ในทางธรรมแล้วความนึกคิดเหล่านี้ ยังไม่จัดเป็น สัมมาสังกัปปะ
    อนึ่ง สัมมาสังกัปปะ นั้น ประกอบไปด้วย "เจตนา" ในระดับจิต เช่น การที่คนมีดำริจะทำอะไรบางอย่าง แต่ยังไม่ได้ทำ แ่ค่ดำริเฉยๆ คือ มีเจตนาจะทำแล้วแต่ยังไม่ได้ทำ หรือทำแล้วยังไม่เกิดผล เป็นต้น นี่จึงเรียกว่า "ดำริ" ไม่ใช่แค่ความนึกคิดทั่วไป ดังนั้น เมื่อมีเจตนาแล้วก็มีกรรมด้วย หากกรรมนั้นไม่มาก เบาบาง ชำระหมดได้ในชาติเดียว ความดำรินั้นก็ยังไม่ขัดขวางนิพพาน แต่หากความดำรินั้น ส่งผลให้ต้องได้รับวิบากกรรมไปอีกมากหลายชาติ เช่น ดำริที่จะทำพระเจดีย์บรรจุพระธาตุ จะส่งผลให้ได้รับผลบุญไปอีกอย่างน้อย ๕๐๐ ชาติ นี่ไม่จัดเป็น "สัมมาสังกัปปะ" เพราะไม่เอื้ออำนวยตรงสู่นิพพาน แต่หากดำริปลูกผักกินเอง ก่อกรรมไม่มาก ใช้หมดได้ในชาติเดียว อันนี้ จัดเป็นสัมมาสังกัปปะได้ อนึ่ง เมื่อบุคคลมีความคิดเห็นตรงต่อธรรมแบบที่เรียกว่า "สัมมาทิฏฐิ" แล้ว หากจะตั้งเจตนาทำกรรมอะไรก็แล้วแต่ ทั้งการทำกรรมทางกายกรรม, วจีกรรม, มโนกรรม แล้วตรงต่อนิพพานได้ คือ ไม่มากเกินไป ก็จัดเป็น "สัมมาสังกัปปะ" ได้ ส่วนนี้ ควรแยกแยะให้ชัดเจน คือ สัมมาทิฏฐิ กับ สัมมาสังกัปปะ เป็นธรรมคนละตัวกัน ตัวแรกเพียงแค่มีความคิดเห็นน้อมไปในทางไหน ตรงต่ออะไร น้อมตรงต่อธรรมหรือไม่? เท่านั้นเอง ตัวที่สอง เป็นเรื่องการตั้งเจตนาที่จะกระทำสิ่งใดๆ ซึ่งเริ่มจะมีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง นี่คือข้อแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าง สัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะ
     
  3. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    ในพระโสดาบัน จะเป็นผู้มีมรรคแปด ๕ ตัวแรก ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ แม้ว่าพระโสดาบันจะยังไม่รีบนิพพาน และยังไม่สามารถหลุดพ้นจากกิเลสได้ ทว่า บางท่านพยายามแปลความหมายของคำว่า "สัมมาสังกัปปะ" ให้ล้นเกินความหมายที่แท้จริงไป โดยใช้ความหมายว่า "สัมมาสังกัปปะคือดำริชอบ หมายถึง ดำริที่จะออกจากกามและพยาบาท" ซึ่งเป็นการแปลที่เกินความหมายไป เพราะในพระโสดาบันนั้น มีสัมมาสังกัปปะด้วย แต่ท่านก็ไม่จำเป็นต้องมีเจตนาที่จะต้องออกจากกิเลส ท่านมีจิตตรงต่อนิพพานแล้ว แต่ยังไม่รีบนิพพานอยู่กับกิเลสได้ต่อไป ส่วนอริยบุคคลที่มีดำริออกจากกามและพยาบาทนั้นคือ "พระสกิทาคามี" การแปลความหมายคำว่า "สัมมาสังกัปปะ" จึงควรแปลควบคู่ไปกับคำสามคำนี้คือ "สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ" หรือ การดำริ, การพูด, การกระทำ อันตรงต่อนิพพาน นั่นเอง (มโนกรรม, วจีกรรม, กายกรรม) ซึ่งจะทำให้เข้าใจชัดเจนมากกว่า

    สัมมาวาจา
    แปลว่า "วาจาชอบ" หมายถึง วจีกรรมอันพอดีตรงต่อนิพพาน ไม่ได้แปลว่าจะต้องพูดแต่สิ่งที่เป็นความจริงหรือผิดไม่ไ่ด้เลย หรือพูดแต่ธรรมะ, นิพพานตลอด ฯลฯ อย่าเพิ่งไำปยึดมั่นสุดโต่งขนาดนั้น สามารถพูดผิด, พูดไม่ดี ได้เหมือนกัน แต่ถ้าเรามี "สติปัญญา" ประกอบด้วยแล้ว การพูดนั้นจะ "พอดี" ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป เป็น "ทางสายกลาง" ตรงครรลองสู่พระนิพพานได้ เหมือนเราพายเรือในแม่น้ำ ก็อาจมีเป๋ไปขวาบ้าง ซ้ายบ้าง ถูกบ้าง ผิดบ้าง ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แต่ไม่ถึงกับสุดโต่งไปติดฝั่งซ้ายหรือขวาจนเรือไม่ไหลต่อไป ก็ไม่ถึงขนาดนั้น หากการพูดไม่ดี หรือพูดผิดบ้าง ก็เป็นเพียงไม่มาก เพราะมีสติ มีปัญญาประกอบอยู่ จะเกิดกรรมรับผล สำหรับปัญญาระดับโสดาบัน ก็ไม่เกิน ๗ ชาติ, อนาคามี ไม่เกิน ๑ ชาติ ส่วนพระอรหันต์ ก็หมดได้ในชาตินั้นๆ เลย ดังนั้น คำว่า "สัมมาวาจา" ไม่จำเป็นต้องยึุดมั่นถือมั่นสุดโต่งว่าจะต้องเป็นคำพูดที่ดีเกินจริง, คำพูดที่ถูกต้องทุกคำ, คำพูดที่ไม่มีกรรมเลย, หรือคำพูดที่มีแต่ธรรม ตรงนิพพานตลอดเวลา อย่างนั้น ก็หาไม่ แบบนั้นยังสุดโต่ง ไม่ "พอดี" ไม่ใช่ทางสายกลาง ยังตึงเกินไป

    สัมมาวาจา เป็นหนึ่งในมรรคแปด ขั้นต้น หากจะแบ่งมรรคแปดเป็นขั้นต้นและขั้นสูงแล้ว จะได้มรรคแปดขั้นต้นมี ๕ ประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ทั้ง ๕ ประการนี้ มีได้ครบในพระโสดาบัน แต่หากจะให้ได้มรรคแปดในระดับที่สูงขึ้นไป จำต้องมีธรรมในขั้นสูงขึ้นกว่านี้ด้วย มรรคแปด ๕ ประการแรกนี้จึงเป็นเหมือน "ธรรมพื้นฐาน" หรือ "มรรคพื้นฐาน" เท่านั้น

    สัมมากัมมันตะ
    คือ แปลว่า "กระทำชอบ" หมายถึง กายกรรมอันพอดีตรงต่อนิพพาน ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องทำอะไรที่เป็นความดีหรือผิดไม่ไ่ด้เลย หรือทำแต่บุญ, นิพพานตลอด ฯลฯ อย่าเพิ่งไำปยึดมั่นสุดโต่งขนาดนั้น สามารถทำผิด, ทำไม่ดี ได้เหมือนกัน แต่ถ้าเรามี "สติปัญญา" ประกอบด้วยแล้ว การกระทำนั้นจะ "พอดี" ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป เป็น "ทางสายกลาง" ตรงครรลองสู่พระนิพพานได้ เหมือนเราพายเรือในแม่น้ำ ก็อาจมีเป๋ไปขวาบ้าง ซ้ายบ้าง ถูกบ้าง ผิดบ้าง ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แต่ไม่ถึงกับสุดโต่งไปติดฝั่งซ้ายหรือขวาจนเรือไม่ไหลต่อไป ก็ไม่ถึงขนาดนั้น อาจจะมีการกระทำไม่ดี หรือทำผิดบ้าง ก็เป็นเพียงไม่มาก เพราะมีสติ มีปัญญาประกอบอยู่ จะเกิดกรรมรับผล สำหรับปัญญาระดับโสดาบัน ไม่เกิน ๗ ชาติ, อนาคามี ไม่เกิน ๑ ชาติ ส่วนพระอรหันต์ ก็หมดได้ในชาตินั้นเลย ดังนั้น คำว่า "สัมมากัมมันตะ" ไม่จำเป็นต้องยึุดมั่นถือมั่นสุดโต่งว่าจะต้องเป็นการกระทำที่ดีเกินจริง, การกระทำที่ถูกต้องทั้งหมด, การกระทำที่ไม่มีกรรมเลย, หรือการกระทำที่มีแต่ธรรม ตรงนิพพานตลอดเวลา อย่างนั้น ก็หาไม่ แบบนั้นยังสุดโต่ง ไม่ "พอดี" ไม่ใช่ทางสายกลาง ยังตึงเกินไป หากไม่ยึดมั่นสุดโต่งทางหนึ่งทางใดเิกินไป แม้แต่พระอรหันต์ก็มีทำผิดกันได้ เช่น พระสุภััททะ หลังบรรลุอรหันต์ก็ปรามาสพระธรรมวินัย แต่การทำผิดของพระอรหันต์นั้นไม่ได้มากเกินความพอดีของความเป็นพระอรหันต์ สามารถรับวิบากกรรมแล้วชดใช้ได้หมดในชาตินั้นๆ ได้

    สัมมากัมมันตะ เป็นหนึ่งในมรรคแปดขั้นต้น ซึ่งควรอธิบายควบคู่ไปเป็นชุดกับธรรมอีก ๓ ประการ ได้แก่ สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ ทั้ง ๓ ประการนี้ ครอบคลุมรวมทั้ง มโนกรรม, วจีกรรม และ กายกรรม หรือกรรมทั้งสามล้วนพอดีตรงต่อนิพพาน ไม่ตึง, ไม่เคร่งครัด และไม่หย่อนยาน จนเกินไป

    สัมมาอาชีวะ
    โดยทั่วไปมักแปลว่่า "อาชีพชอบ" แต่คำแปลนี้ไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุม เช่น บางท่านไม่มีอาชีพ จะมีสัมมาอาชีวะได้หรือไม่? คำตอบคือ "มีได้" เนื่องจาก คำว่า "อาชีวะ" นั้น แต่เดิมไม่ได้แปลว่า "อาชีพ" เป็นศัพท์ธรรมเก่าแก่ที่ถูกทางโลก เอาไปใช้แปลว่า "อาชีพ" ในภายหลังเท่านั้นเอง ที่จริงแล้ว "อาชีวะ" นั้นมีความหมายกว้างกว่าคำว่า "อาชีพ" กล่าวคือ หมายถึง "ภาระกิจ, หน้าที่" ของแต่ละบุคคล อันพึงมี และพึงกระทำอยู่เป็นนิตย์ เช่น หน้าที่ต่อตนเอง, หน้าที่ต่อครอบครัว, หน้าที่ต่อสังคม ฯลฯ เป็นต้น หน้าที่เหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นอาชีพใดๆ เลย ตรงกันข้าม หลายคนมีอาชีพที่ดีในทางโลก แต่ไม่ใช่ "สัมมาอาชีวะ" ในทางธรรมเลยก็ได้ เช่น เป็นหมอ เวลาเห็นคนได้รับอุบัติเหตุตรงหน้า เขาอาจไม่ทำหน้าที่ของมนุษย์, หน้าที่ต่อสังคม เพราะคิดว่า เขากำลังรีบไปโรงพยาบาล ไปทำงานตามอาชีพของเขา ปล่อยให้คนอื่นช่วยเหลือกันไป ตนก็ตรงไปโรงพยาบาลโดยไม่สนใจเพื่อนมนุษย์ที่ได้รับอุบัติเหตุตรงหน้านั้น อย่างนี้ เรียกว่า ไม่ทำหน้าที่ของมนุษย์ จึงไม่มี "อาชีวะ" มีแต่ "อาชีพ" ทางโลกเท่่านั้น ส่วนคำว่า "สัมมา" นั้น หมายถึง มรรคหรือทางอันชอบแล้วด้วยความพอดี พอควร ตรงทางนิพพาน เมื่อรวมกับ "อาชีวะ" จึงหมายถึง การประกอบกิจอันพอดี พอควร สมแก่ฐานะตน สมแก่หน้าที่แห่งความเป็นมนุษย์, หน้าที่ต่อตนเอง, หน้าที่ต่อครอบครัว, หน้าที่ต่อสังคม, หน้าที่ต่อผู้อื่น ฯลฯ เป็นต้น

    ดังนั้น การที่พระภิกษุเป็นผู้ไม่มีอาชีพทางโลก แต่ได้ทำหน้าที่ของตน อันสมควรแก่ฐานะแล้ว จึงนับว่ามี "อาชีวะ" ได้ ในบางกรณี บางท่านอาจต้องทำอาชีวะที่ก่อให้เกิดกรรม หรือผิดศีลก็มี เช่น หากเป็นทหารก็ต้องทำสงคราม ต้องเข่นฆ่ากัน เป็นต้น ถามว่า เช่นนี้แล้ว ทหารจะมี "อาชีวะ" ได้อย่างไร? คำตอบคือ มีได้เมื่อเขาได้ทำหน้าที่ของเขาแล้ว นั่นเอง และจัดเป็นการกระทำอาชีวะแบบ "สัมมา" หรือไม่? ก็อาจเป็นได้ ถ้าเขาทำแต่พอดี พอควร เช่น กระทำไปโดยวิบาก ถูกสั่งให้ทำ ทั้งๆ ที่ไม่อยากทำ ไม่อยากก่อกรรม ทำไปโดยไม่มีเจตนาอยากจะทำ ทำไปอย่างนั้นเอง อนึ่ง อาชีพทางโลกนั้น ตอบสนองต่อความต้องการของทางโลก ไม่ได้ตอบสนองต่อทางธรรม ดังนั้น การมีอาชีพทางโลก จึงยากที่จะนับเป็นสัมมาอาชีวะได้ อาชีพทางโลกที่พอจะนับเป็นสัมมาอาชีวะได้ จึงมักตอบสนองต่อทางโลกน้อย เช่น อาชีพเก็บขยะขาย, ร้อยมาลัยขาย, เกษตรไร้สาร (แบบดั้งเดิม) ซึ่งไม่ได้มีรายได้หรือเด่นดังในทางโลกมากนัก เป็นต้น

    สัมมาวายามะ
    แปลว่า "ความเพียรชอบ" แต่แปลแบบนี้แล้วไม่ชัดเจน ไม่ละเอียด ทำให้หลายคนเข้าใจผิดไปมาก อย่างแรก ความเพียร กับ ความพยายาม ก็ไม่เหมือนกัน ถ้าเราทำงานอย่่างสม่ำเสมอไม่ได้มากขึ้น แต่ก็ไม่ขาดตกบกพร่อง แสดงว่าเรามีความเพียร แต่เราไม่มีความพยายาม เมื่อใดที่เราทำงานให้มากขึ้น ได้มากขึ้น นั่นคือ เรามีความพยายาม แต่ถ้าขาดความต่อเนื่อง เช่น พยายามอย่างยิ่งเป็นช่วงๆ บางช่วงก็เลิก, หยุด, พัก ฯลฯ อย่างนี้เรียกว่ามีความพยายาม แต่ขาดความเพียร ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นความหมายทางโลก เท่านั้นเอง ยังไม่ใช่ "สัมมาวายามะ" เลย การแปลความหมายของศัพท์ธรรมะให้เป็นศัพท์ทางโลกว่า "ความเพียรชอบ" จึงกลายเป็นความเข้าใจระดับทางโลกไป แทนที่จะเป็นระดับทางธรรม ตรงกับความหมายที่แท้จริงของคำว่า "สัมมาวายามะ"

    คำว่า "สัมมาวายามะ" หมายถึง ความเพียรอันพอดีตรงต่อนิพพาน ไม่มากเกินไป ไม่หย่อนยานเกินไป เรียกว่า "ทางสายกลาง" แต่ตรงต่อนิพพาน ในบางคนมีความเพียรมากเกินไป ทำให้ไม่ตรงต่อนิพพานก็มี เช่น เพียรในการทำสมาธิ, เจริญฌานมาก ยิ่งทำมาก ยิ่งเกิดกรรม (ดี) มาก ส่งผลให้เกิดชาติภพมาก ยิ่งห่างไกลนิพพานมาก เช่นนี้ เรียกว่า "ความเพียรชอบ" ได้ (ความเพียรในทางที่ชอบ) แต่ไม่ใช่ "สัมมาวายามะ" พอเห็นความแตกต่างของความหมายทั้งสองนี้แล้วนะครับ ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าสอนให้ภิกษุรูปหนึ่งไปเพ่งกสิณด้วยดอกบัวทอง ไม่ทันที่จะสอนให้เขาได้ฌานไปมากขึ้น ครบถ้วนอะไรเลย ท่านก็ทรงอธิษฐานให้ดอกบัวเหี่ยวลงตอนที่ภิกษุรูปนั้นกำลังมีสมาธิดี ผลปรากฏว่าเขาได้บรรลุธรรมทันที ด้วยเห็นอนิจจัง นั่นเอง นี่แหละ ความเพียรพอดี ตรงต่อนิพพาน ไม่ใช่ขยันมากเหลือเกิน เพื่อให้ได้ฌาน ได้ญาณ อะไรมากมาย นั่นเกินพอดี ไม่ตรงต่อนิพพาน บางท่่านไม่ยอมทำอะไรเลย เพราะคิดว่ามันมีกรรม นั่นเขาก็มีความเพียรมากในศีล ลดละกรรม แต่มากเกินไป ถ้าไม่ทำหน้าที่ตาม "สัมมาอาชีวะ" เลย ก็จะไม่ได้ชดใช้กรรม ห่างไกลนิพพานได้เหมือนกัน นี่เรียกว่า่ "เพียรมากเกินไปในศีล" นั่นเอง
     
  4. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    สัมมาสติ
    แปลว่า ระลึกชอบ หมายถึง การระลึักรู้เท่าทันธรรมชาติต่่างๆ เช่น ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ไม่เที่ยง ในปัจจุบันขณะก็ดี, อดีตก็ได้, อนาคตก็ได้ แต่ยังไม่ใช่ความรู้แจ้ง ยังไม่ใช่ปัญญา เืมื่อแยกคำสองคำออกมาอธิบายจะได้คำว่า "สติ" นั้น อุปมาเหมือน "ประกายไฟ" ที่จะเกิดก่อนที่ไฟจะลุกโชติช่วงสว่างไสวฉะนั้น ประกายไฟแรกนั้น เปรียบเหมือนสติ ส่วนไฟที่ลุกโชิตช่วงนั้น เปรียบเหมือนปัญญา ดังนั้น สติและปัญญาจึงมักเกิดตามกันมาบ่อยๆ ส่วนคำว่า "สัมมา" หมายถึง "ความพอดีตรงต่อนิพพาน" คือ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ไม่เกินเลยสุดโต่งไปทางใด ตรงนิพพานพอดี เมื่อรวมกันแล้ว "สัมมาสติ" จึงหมายถึง การระลึกรู้เท่าทันธรรมชาติ อย่างพอดีตรงต่อนิพพาน ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป หมายความว่า เราไม่จำเ็ป็นต้องมีสติตลอดเวลา หรือทุกขณะก็ได้ พอเพียงช่วงหนึ่งสั้นๆ เช่น ขณะฟังธรรม แล้วสติตื่นขึ้นเต็มกำลัง ก็สามารถบรรลุธรรมได้ แล้วหลังจากนั้น เราจะมีสติบ้าง ไม่มีบ้าง สติเกิดบ้าง ดับบ้าง ไม่เที่ยง ก็เป็นธรรมดา ไม่ต้องไปยึดมั่นถือมั่นว่า สติจะต้องเที่ยง, จะต้องไม่ดับ, จะต้องดำรงคงอยู่ตลอดเวลา ฯลฯ เพราะอย่างนั้นจะเคร่งเกินไป สุดโต่งเกินไป ตามธรรมชาติ ความพอดีของคนเราย่อมมีสติบ้าง ไม่มีบ้าง เป็นธรรมดา แต่ในผู้มีปัญญาแจ้งแล้ว บรรลุธรรมแล้ว จะมีสติที่ตื่นตัว ทำงานได้ดีกว่า แต่ไม่จำเป็นต้องตลอดเวลา เหมือนการจุดประกายไฟ เพื่อก่อกองไฟนั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องจุดตลอดเวลา

    บางท่านที่สุดโต่งเกินไปสองทาง คือ ๑. ในทางหย่อนยาน ก็จะขาดสติ, สติอ่อนกำลัง ทำให้เกิดปัญหา้ต่างๆ มากมาย ๒. ในทางตึงเคร่งเกินไป ก็จะมีสติตื่นตัวมากเกินไป หรือบังคับเกินไป ให้มีสติตลอดเวลา เป็นต้น ในท่านที่ฝึกสติมาก กำหนดสติกำกับพร้อมกับสิ่งต่างๆ เช่น กำกับสติกับลมหายใจ ให้สติเกิดกับลมหายใจ ก็ดี, กำกับสติกับกาย ให้อยู่กับกาย ก็ดี, กำกับสติ ให้อยู่กับพุทธะ ระลึกถึงพระพุทธเ้จ้าเป็นสติ ก็ดี ฯลฯ หากสุดโต่ง เคร่งมากเกินไป ก็จะ "กำหนด" ให้มีสติมากเกินไป จนไม่เป็นกลาง ไม่พอดี ไม่เป็นธรรมชาติ เช่นนั้น ยากที่จะเกิดปัญญาได้ เนื่องจากพละทั้งห้าขาด "สมังคี" คือ ขาดความพร้อมสมดุลกัน อย่างนี้ ไม่อาจบรรลุธรรม เกิดปัญญาได้ เพราะสติที่มากหรือน้อยเกินไป ไม่พอดี ตรงต่อนิพพาน นั่นเอง

    สัมมาสมาธิ
    แปลว่า ความตั้งมั่นชอบ ประกอบด้วยคำสองคำคือคำว่า ๑. สัมมา ๒. สมาธิ โดยคำว่า สัมมา หมายถึง ความพอดีตรงต่อนิพพาน เป็นทางสายกลางที่ไม่มาก ไม่น้อย ไม่สุดโต่งเกินไป ส่วนคำว่า "สมาธิ" เป็นคำเฉพาะทางธรรมที่ไม่ถูกดัดแปลงไปใช้ทางโลกมากนัก หมายถึง จิตที่ผ่องใสรวมเป็นหนึ่งดีพ้นจากนิวรณ์ห้า ไม่ลังเล-หวาดระแวง, ไม่ฟุ้งซ่าน, ไม่หดหู่ซึมเซา, ไม่พุ่งไปสู่ความคิดเชิงบวกและลบ เช่น พยาบาท-ความเพลิดเพลินในกามต่างๆ มากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อยามได้ฟังธรรมอันตรงต่อนิพพานอย่างแท้จริง ก็จะเอื้อให้เกิดการบรรลุธรรมได้โดยง่าย อนึ่ง ในบุคคลที่มีสมาธิมากหรือน้อยเกินไป ไม่พอดี ไม่เป็นกลาง จะไม่เป็นธรรมชาติ กล่าวคือ บ้างก็สุดโต่งไปทางมีสมาธิน้อยเกินไป บ้างก็สุดโต่งไปทางมีสมาธิมากเกินไป จนไม่เป็นธรรมชาติ ไม่พอดี ไม่เป็นกลาง เคร่งครัดในสมาธิมากไป จมลงในฌานระดับสูงมากเกินไป จนขาดความสมดุลพอดี ระหว่างสมาธิและพละทั้งห้าประการตัวอื่นๆ อันส่งผลให้พละห้าไม่สมังคีกัน และทำให้ไม่อาจบรรลุธรรมได้ (หากสมาธิมาก พละตัวอื่นก็ต้องมากด้วย)

    บุคคลที่มี "สัมมาสมาธิ" ย่อมมีสมาธิอย่างเป็นกลาง พอดี พอควรตรงต่อนิพพาน ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป ไม่สุดโต่งไปทางหย่อนยานหรือเคร่งตึงเกินไป อันจะช่วยให้เกิดปัญญา บรรลุธรรมโดยง่าย อนึ่ง สมาธิ นั้นไม่จำเป็นต้องเที่ยง หรือมีอยู่ตลอดเวลา บางครั้ง เราอาจจะมีสมาธิ แต่บางครั้งเราก็อาจจะมีนิวรณ์ ไม่มีสมาธิ ก็ได้ เพราะทั้งสมาธิและนิวรณ์ก็ล้วนไม่เที่ยง เราจึงไม่จำเป็นต้่องยึดมั่นถือมั่นทั้งสมาธิและนิวรณ์ ซึ่งเกิดดับ ไม่เที่ยงนั้น ในการบรรลุธรรมจึงไม่จำเป็นต้องมีสมาธิสูงมาก เพียงสมาธิชั่วขณะที่เรียกว่า "ขณิกสมาธิ" ก็สามารถบรรลุธรรมได้ หากพละทั้งห้าสมังคีกันดี และได้รับธรรมอย่างแท้จริง แต่หากพละทั้งห้า อันได้แก่ ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา ไม่พร้อมสมดุลกัน ก็ไม่อาจบรรลุธรรม เช่น บางท่านเน้นศรัทธามากเกินไป, บางท่านเน้นสติมากเกินไป, บางท่านเน้นสมาธิมากเกินไป ฯลฯ ทำให้ พละทั้งห้าไม่สมังคีกัน ก็ไม่อาจบรรลุธรรม ดังนั้น "สัมมาสมาธิ" จึงเป็นทางตรงนิพพานด้วยเหตุนี้

    มรรคผล
    ประกอบด้วยคำว่า "มรรค" และคำว่า "ผล" โดยคำว่า "มรรค" หมายถึง วิธี, วิถีทาง อันเป็นเหตุให้เกิดผลทางธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นเอง ส่วนคำว่า "ผล" นั้นคือ สิ่งที่เกิดจากมรรค เช่น อรหันตผล ซึ่งเกิดได้จากการเจริญมรรค นอกจากนี้ ยังมีคำว่า "มรรคผลนิพพาน" ด้วย ซึ่งเป็นการเพิ่มคำว่า "นิพพาน" เข้ามา อนึ่ง พึงทราบว่า "นิพพาน" ไม่ใช่เหตุ และไม่ใช่ผล เป็นธรรมชาติดั้งเดิมก่อนสมมุติ ที่พ้นจากการเกิดและการดับของสมมุติใดๆ จึงไม่ใช่เหตุ และไม่ใช่ผลของอะไรใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้วแต่ไม่ใช่มีแบบเป็นตัวตนของตน (อัตตา) ไม่ใช่ความมีอยู่แบบเที่ยง หรือความมีอยู่แบบไม่เที่ยง ก็หาไม่ เพราะไม่ใช่ธรรมที่ต้องดำรงอยู่ บนความเที่ยงหรือความไม่เที่ยงใดๆ ดังนั้น จึงควรแยกแยะให้ชัดเจนว่า "ผล" กับ "นิพพาน" นั้น ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ บุคคลสามารถเจริญ "มรรค" เป็นเหตุให้เกิด "อรหันตผล" เป็นผลได้ แต่เมื่อได้อรหันตผล เป็นผลแล้ว ไม่จำเป็นต้องนิพพานเสมอไป ด้วยนิพพานเป็นธรรมชาติที่ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยเหตุหรือผลใดๆ ด้วยเหตุนี้แม้บุคคลไม่เจริญมรรคใดๆ นิพพานก็เป็นธรรมชาติที่เป็นจริงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องสร้างเหตุให้เกิดนิพพาน ไม่จำเป็นต้องอาศัยมรรคให้นิพพานมีขึ้นมาจริงๆ ก็หาไม่ นิพพานก็เ็ป็นความจริงเช่นนั้นเองอยู่แล้วไม่เกี่ยวกับมรรคหรือผลใดๆ เลย มีแต่ "อรหันตผล" ที่เกี่ยวเนื่องด้วยเหตุและผล อันบุุคคลใดปรารถนาก็สามารถอาศัย "มรรค" เป็นเหตุให้เกิด "อรหันตผล" เป็นผลได้

    หลายท่านที่ไม่เข้าใจตรงนี้ ย่อมมีความพยายามผิดทาง ไม่ตรงนิพพาน คือ พยายามสร้างนิพพานบ้าง, ทำให้เกิดนิพพานบ้าง, ทำให้กิเลสนิพพานบ้าง, ทำให้ขันธ์ห้านิพพานบ้าง, ทำให้ได้เป็นพระอรหันต์บ้าง ฯลฯ แท้แล้วนิพพานไม่ใช่ผลจากการกระทำใดๆ เลย ส่วนสมมุติธรรมอื่นๆ นั้นต่างหากที่เป็นผลจากการ กระทำด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ส่งให้เกิดเป็นสมมุติใหม่ๆ เกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อหมดสิ้นซึ่งกระบวนการนี้แล้ว "สมมุติใหม่ๆ" ย่อมไม่ถูกสร้างขึ้น, ไม่ถูกรักษา, ไม่ถูกทำลาย ย่อมไม่มีสมมุติใดๆ มาบดบังนิพพาน อันเป็นธรรมชาติที่มีมาแ่ต่ดั้งเดิมนั้น นิพพานย่อมปรากฏชัด แสดงตัวเอง อันพ้นแล้วจากภาวะตัวตนของตน สมมุติัอันไม่เที่ยง และทุกข์ใดๆ ทั้งปวง "นิพพาน" จึงพ้นแล้วจากมรรคและผลดังนี้ อนึ่ง บุคคลอาศัยมรรคเป็นเหตุเพื่อให้ได้ "อรหันตผล" เป็นผล แล้วอาศัยปัญญาระดับอรหันตผลนั้น ในการส่องสว่างเห็น "นิพพาน" ชัดเจน ทว่า พระอรหันต์อาจจะนิพพานในชาตินั้นๆ หรือไม่รีบนิพพาน ก็ได้

    สัมมาสมาธิ | Mouth Buddha

    บัวบาน
    เป็นคำอุปมาอุปมัย ไม่มีในพระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์แต่ใช้เพื่ออธิบายถึงบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ "พร้อมบรรลุอรหันตผลทันที" อุปมาดั่งบัวที่บานอยู่ก่อนแล้วฉะนั้น ซึ่งตามพุทธประวัติในบางตำนานได้กล่าวถึง พระพุทธเจ้าครั้งที่ยังบำเพ็ญบารมีอยู่ ได้อธิษฐานเสี่ยงดอกบัวกับพระศรีอาริยเมตตรัยแล้วได้เลือกเอา "ดอกบัวบาน" ของพระศรีอาริยเมตตรัยไป อันบัวบานเหล่านี้่ ในภายหลังจึงนำไปสู่การโปรดสัตว์ที่พร้อมแล้วเต็มที่ดุจดั่งบัวบานฉะนั้น ถามว่า คำว่า "พร้อม" นั้นวัดที่ไหน? ในทางพุทธศาสนาจะวัดได้หลายแบบ เช่น ดูที่พละทั้งห้าเจริญดีพร้อมรับธรรมแล้ว เป็นต้น (พละทั้งห้าก็คือ ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา นั่นเอง) หรืออาจจะดู "กายในกาย" หรือ "จิตวิญญาณภายในสังขาร" ว่าพร้อมบรรลุธรรมเต็มที่หรือยัง? ก็จะดูว่า "กายในกาย" นั้น พัฒนาขึ้นถึง "ธรรมกาย" หรือยัง ด้วยธรรมกายนั้น สามารถรับรู้ได้ถึง "นิพพาน" หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ธรรมกายเป็นอายตนะนิพพาน นั่นเอง เมื่อบุคคลใดได้ธรรมกายแล้ว ย่อมรับรู้ถึงนิพพานได้ไม่ยากเลย แต่หากยังไม่ถึงซึ่งพระธรรมกาย ย่อมไม่อาจรับรู้ถึงนิพพานได้ จึงกล่าวได้ว่า "ผู้ได้ธรรมกาย" จึงเหมือน "บัวบาน" ฉะนั้น อนึ่ง ยังสามารถจำแนกบุคคลที่ได้ธรรมกาย หรือ "บัวบาน" เหล่านี้ ได้หลายแบบแตกต่างกันไปตามบุญบารมีที่แต่ละบุคคลเคยสร้างมา เช่น

    ๑. ธรรมกายแบบพระยูไล คือ จิตวิญญาณพัฒนาถึงพุทธะแล้ว มีญาณหยั่งรู้ได้ด้วยตนเองแล้ว รอแต่ต่อสายธรรมจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น เหมือนดอกบัวบานแล้ว รอแต่เพียงแสงอาทิตย์ (แสงธรรม) เท่านั้น
    ๒. ธรรมกายแบบวัชรกาย คือ จิตวิญญาณพัฒนาถึงขั้นใสบริสุทธิ์ดุจเพชรแล้ว ไม่ใช่แค่ใสเหมือนแก้วเท่านั้น แต่จะเปล่งประกายสีรุ้งดุจเพชรด้วย อนึ่ง วัชรกายมีทั้งแบบพุทธะและแบบที่ไม่ใช่พุทธะ
    ๓. ธรรมกายแบบมโนธาตุ คือ จิตวิญญาณพัฒนาถึงขั้นเหลือแต่มโนธาตุบริสุทธิ์ วิญญาณขันธ์นิพพานไปก่อนแล้ว เหลือจิตสว่างไสวดุจดาวประกายแสง บางท่านเห็นแล้วเรียกว่า "พระเจ้าแสงแห่งธรรม" ก็มี
     
  5. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    อนึ่ง ธรรมกายแบบอรหันตสาวกนั้นไม่มีั กล่าวคือ จิตวิญญาณที่พัฒนาถึงขั้นเหมือนกับอรหันตสาวกแล้วระดับหนึ่งนั้นไม่อาจมีญาณหยั่งรู้ถึงนิพพานได้เองเรียกว่า "ไม่มีอายตนะนิพพาน" จึงต้องรอพระพุทธเจ้ามาโปรดโดยตรงหรือพระอรหันตสาวกรูปอื่นมาต่อสายธรรมให้ เท่านั้น ก็จะบรรลุธรรมเป็นอรหันตสาวก ปกติ จะมีกายทิพย์สีทอง ทั้งนี้ ในทางพุทธศาสนามีคำศัพท์ว่า "ธรรมกาย" ใช้เรียกถึงกายในกายที่มีพัฒนาการสูงถึงขั้น "ธรรมกาย" แต่ไม่ค่อยนิยมนำมาเรียกตัวบุคคล ส่วนคำว่า "บัวบาน" นั้น มีใช้เรียกตัวบุคคลบ้างเช่น "ภิกษุบัวบาน" ก็หมายถึงถิกษุรูปนั้นได้ "ธรรมกาย" แล้วนั่นเอง เช่น ครั้งที่พระพุทธเจ้าโปรดพระมหากัสสปะ ท่านไม่ได้กล่าวธรรมใด เพียงยกดอกบัวบานขึ้นเท่านั้น พระมหากัสสปะก็บรรลุธรรมได้ (ตามตำราของฝ่ายมหายาน แต่ตำราของเถรวาทไทยครั้งเขียนใหม่หลังสังคายนาพระไตรปิฎกยุครัตนโกสิน เขียนต่างออกไป) อนึ่ง การแสดงธรรมผ่านภาษาต่างๆ เป็นเครื่องสร้างความมั่นใจและสุตมยปัญญาให้แก่ผู้ฟังเท่านั้น แต่ธรรมแท้นั้นไร้คำอธิบาย ไร้ตัวอักษร ภาษาใดๆ จะอธิบายได้ รับรู้ได้จากจิตสู่จิต เท่านั้น

    สายธรรม
    เป็นคำที่ไม่มีใน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แต่เป็นคำไทยที่เกิดขึ้นมาใหม่ เพื่ออธิบายธรรมชาติบางอย่างเพิ่มเติม กล่าวคือ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาของสัตว์สังคม ไม่ใช่ศาสนาของพระปัจเจกพุทธเจ้า ดังนั้น ในการบรรลุธรรมไม่ว่าจะระดับใด จึงไม่ได้เป็นไปแบบตัวใครตัวมัน หรือบรรลุได้เองโดยไม่้ต้องเกี่ยวเนื่องทางธรรมกับผู้ใด ก็หาไม่ กล่าวคือ จำเป็นต้องเกี่ยวข้องและัรับธรรมสืบทอดมาจากผู้อื่น หากบรรลุธรรมเองโดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้ใดแล้ว เรียกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งในยุคนี้ยังไม่ใ่ช่ยุคของพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะยังไม่หมดวาระของพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี ดังนั้น การบรรลุธรรมเองโดยยังไม่ได้ต่อสายธรรมจากผู้ใด จึงนับได้เพียงขั้น "เซียน" เท่านั้น ซึ่งเซียนจะมีระดับทางธรรมที่ยังไม่ถึงโสดาบัน และมีสักกายทิฏฐิอยู่ด้วย การรับธรรมไม่ได้รับผ่านการทำลายสักกายทิฏฐิก่อน ไม่ผ่านการมีร่างสังขารของผู้มีธรรมไปโปรด ไปต่อสายธรรมให้ เช่น ได้รับธรรมผ่านมาทางอื่นที่ไม่ได้ผ่านมาทางร่างสังขารของผู้มีธรรมจริงๆ, ผ่านทางจิตวิญญาณ, ผ่านทางตำราที่ถูกเขียนทิ้งไว้ (แบบเล่าจื้อ), ผ่านการสื่อสารทางอ้อมวิธีต่างๆ ฯลฯ เหล่านี้ ไม่ใช่วิถีการบรรลุเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา แต่เป็นการเตรียมจิตวิญญาณ, พละทั้งห้าของผู้รับธรรม ให้พร้อมสมบูรณ์เท่านั้น ดังนั้น หากผู้หนึ่งผู้ใด ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลแล้ว ควรจะสามารถบอกได้ว่าในการบรรลุครั้งนั้น บรรลุอย่างไร? มีท่านใดที่เข้ามาช่วยต่อสายธรรม หรือให้ธรรมแก่ท่าน และท่านนั้นใช่พระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาจริงหรือไม่ หากผู้ถ่ายทอดสายธรรม ไม่มีธรรมจริงแล้ว ไม่ได้บรรลุธรรมจริงแล้ว การถ่ายทอดธรรม ก็ไม่อาจสำเร็จ

    คำว่า "สายธรรม" จึงมีส่วนคล้ายคำว่า "อาจาริยวาท" ของลัทธิอาจาริยวาท บางส่วน กล่าวคือ ในลัทธิอาจาริยวาท จะนับถืออาจารย์เป็นใหญ่ เป็นสำคัญ จนภายหลัง "มากเกินไป" เกินความพอดี เกินความจำเป็น และเกินความหมายของคำว่า "สายธรรม" เพราะแทนที่จะเข้าใจตรง พอดี ว่าการมีอาจารย์ที่ตรงสายธรรม ทำให้การต่อสายธรรม สืบทอดสายธรรมในพระพุทธศาสนา ดำเนินสืบเนื่องไปได้ กลับถูกกระแส "เทวนิยม" ครอบงำ ยกย่องอาจารย์ตนเองเป็นใหญ่ดุจดั่งเทพเจ้า หรือพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ฉะนั้น จนถึงขั้นเอาอาจารย์ของตนมาข่มกัน, มาอวดกัน, มาแข่งกัน ตามมาด้วยการแตกแยกเป็นธรรมของใครของมัน ต่างกันไปตามอาจารย์ ไม่อาจเข้าถึงธรรมแบบ "ต้นธาตุ ต้นธรรม" คือ ธรรมแท้จากพระพุทธเจ้าได้ กลายเป็นธรรมแบบ "หลวงปู่ หลวงพ่อ" แทน ดังนั้น ท่านจึงควรเข้าใจและแยกแยะความสำคัญของการมี "สายธรรม" ให้ไำด้ ว่าแตกต่างจากคำว่า "อาจาริยวาท" อย่างไร? และจำเป็นอย่างไร? ดังกล่าว

    รับธรรม
    เป็นคำที่ไม่มีใน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แต่เป็นคำที่ใช้กันใน "ลัทธิอนุตรธรรม" ที่เผยแพร่มาจากไต้หวัน เพื่ออธิบายธรรมชาติบางอย่างเพิ่มเติม กล่าวคือ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาของสัตว์สังคม ไม่ใช่ศาสนาของพระปัจเจกพุทธเจ้า ดังนั้น ในการบรรลุธรรมไม่ว่าจะระดับใด จึงไม่ได้เป็นไปแบบตัวใครตัวมัน หรือบรรลุได้เองโดยไม่้ต้องเกี่ยวเนื่องทางธรรมกับผู้ใด ก็หาไม่ กล่าวคือ จำเป็นต้องเกี่ยวข้องและัรับธรรมสืบทอดมาจากผู้อื่น ต่อๆ กันไป การรับธรรมจึงเป็นวิถีดั้งเดิมในพระพุทธศาสนา คือ รับฟังธรรมจากผู้มีธรรมแท้ อันที่จริงการฟังย่อมได้เพียง "สุตมยปัญญา" เท่านั้น ธรรมแท้แล้วนั้นไม่มีแม้แต่คำอธิบายหรือตัวอักษรใดๆ เป็น "จิตสู่จิต" และ "ธรรมสู่ธรรม" ดังนั้น จะใช้คำว่า "รับฟังธรรม" เห็นว่ายังไม่ตรงนัก จึงใช้คำว่า "รับธรรม" แทน ซึ่งค่อนข้างตรงมากกว่า ทว่า หากผู้ให้ธรรม, ผู้สืบทอดธรรมส่งต่อให้ผู้อื่น เป็นผู้ไม่มีธรรมแท้จริง การรับธรรมนั้นก็ไม่สำเร็จผล คือ ผู้รับธรรมหาได้บรรลุธรรมไม่ จำต้องให้ "ผู้มีธรรมแท้หรือบรรลุธรรมแท้จริง" เป็นผู้ให้ธรรม ผู้รับธรรมจึงจะบรรลุธรรม เมื่อบรรลุธรรมแล้ว จึงไม่ต้องปฏิบัติธรรม อย่างอื่นใดให้ยุ่งยากอีกเพราะบรรลุแล้วเป็นอเสขบุคคลมีปัญญาส่องสว่างนำทางให้ตนเองได้ ก็ปฏิบัติตัวตามธรรมชาติ (ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลย นั่งนิ่งเป็นพระอิฐพระปูน ก็หาไม่) การทำตัวตามธรรมชาติโดยไม่ได้ปฏิบัติธรรมอะไรอื่นใดเลย นั่นแหละ คือ ลักษณะของผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว นั่นเอง

    ในพระอภิธรรม มีคำว่า "ปริยัติ, ปฏิบัติ, ปฏิเวธ" เป็นสามลำดับเรียงกันไว้ กล่าวคือ เมื่อใดบุคคลได้เรียนธรรมแบบอ่าน, ฟัง หรือจากตำรับตำราที่ผ่านตัวอักษรภาษา อธิบายได้ เมื่อนั้น เรียกว่า "ปริยัติ" และเมื่อได้นำไปปฏิบัติโดยยังไม่รู้แจ้ง ยังไม่ใช่ธรรมแท้ ยังไม่ใช่วิถีของผู้บรรลุธรรมจริง จึงเีรียกว่า "การปฏิบัติธรรม" ซึ่งยังไม่ใช่วิถีของผู้บรรลุธรรมจริง สิ่งที่ปฏิบัตินั้นยังไม่ใช่ธรรมะจริง ไม่เป็นธรรมชาติจริง (ขอเน้นย้ำตรงนี้) จนเมื่อผ่านเลยไปถึงจุดที่เรียกว่า "ปฏิเวธ" แ้ล้ว นั่นแหละ จึงเรียกว่่า "บรรลุธรรมจริง" ซึ่งบุคคลจะเข้าสู่ขั้น "ปฏิเวธ" ได้นั้น จำต้อง "รับธรรม" จนบรรลุธรรม, แจ้งด้วยปัญญาแล้วก่อน จึงจะนำธรรมะไปใช้แบบที่เรียกว่า "ปฏิเวธ" ได้ ซึ่งการนำธรรมไปใช้แบบปฏิเวธนี้ อาจจะดูเหมือนแตกต่างไปจากธรรมะแต่เดิม เนื่องจากเป็นการปรับเข้าตามสถานการณ์จริง, ความเป็นจริงของชีวิต แต่แท้แล้ว โดยแก่นสารแห่งธรรมภายใน ย่อมเหมือนเดิม ไม่ต่างจากเดิมเลย เนื่องจากเป็นผลมาจากการบรรลุธรรม นั่นเอง
     
  6. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    อเสขบุคคล
    คือ บุคคลที่บรรลุธรรมขั้นสูงสุดแล้ว จึงไม่ต้องปฏิบัติธรรมอีก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ทำอะไรเลย ก็หาไม่ สามารถทำกิจต่างๆ ได้ ตามปกติ ตามธรรมชาติของผู้บรรลุธรรมนั้นๆ ทั้งยังสามารถก่อกรรมดีและกรรมชั่วไ้ด้ด้วย แต่จะไม่มากเกินเลยขอบเขตไป จะอยู่ในครรลองที่สามารถชดใช้กรรมได้หมดในชาตินั้นๆ และตรงสู่นิพพานได้ อย่างพอเหมาะ พอดี ไม่เคร่งตึง ไม่หย่อนยานจนเกินไป อนึ่ง ในการศึกษาธรรมนั้น จะให้ผลเป็นความรู้ระดับ "ปริยัติ" หรือ "สุตมยปัญญา" ส่วนการปฏิบัติธรรมนั้น จะให้ผลเป็นความมีธรรมในระดับ "ปฏิบัติ" คือ ปฏิบัติให้มีธรรม ถ้าไม่ปฏิบัติ ก็จะไม่มีธรรม ดังนั้น ธรรมะที่เกิดจากการปฏิบัติและธรรมะตามธรรมชาติปกติจึงยังไม่ได้เป็นหนึ่งเดียวกัน ทว่า การรับธรรมแล้วบรรลุธรรมต่างหาก ที่จะทำให้เกิดปัญญาสว่างไสว น้อมนำธรรมกับตนเป็นหนึ่งเดียวกันได้ จึงไม่ต้องปฏิบัติธรรมอีก การกระทำต่างๆ ย่อมปรากฏออกมาอย่างเป็นธรรมะ ธรรมชาติ ไม่ต้องปรุงแต่งด้วยสิ่งใดๆ ไม่้ต้องปรุงแต่งด้วยธรรมในตำราหรือข้อมูลอ้างอิงใดๆ ออกมาจากใจอย่างใสซื่อ ก็เป็นธรรม ก็สอดคล้องกับธรรม แม้ว่าจะดูเปลือกนอกแล้วต่างไป แต่แก่นแท้กลับตรงต่อธรรมทั้งสิ้น ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า "ปฏิเวธ" คือ การปรับประยุกต์ธรรมไปสู่ภาคความจริง ณ สถานการณ์นั้นๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงไม่ใช่การยึดมั่นจดจำธรรมอย่างไร้ซึ่งปัญญาแล้วไม่อาจใช้ปัญญาประยุกต์ใช้ธรรมะอย่างเหมาะสมแก่สถานการณ์ได้

    อนึ่ง อเสขบุคคล จึงหมายถึง พระอรหันต์ นั่นเอง

    กิจของสงฆ์
    ไม่ใช่คำศัพท์ในอภิธรรม แต่เป็นวลีที่อยู่ในไตรปิฎก พบได้ในไตรปิฎกเช่นกัน มีความสำคัญ จึงได้นำมาอธิบายเพิ่มเติม กล่าวคือ คำว่า "กิจของสงฆ์" นี้ หมายถึง สิ่งที่พระสงฆ์ควรต้องทำ เนื่องจาก บางสิ่งก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์ ไม่ใช่สิ่งที่สงฆ์ควรต้องทำ เช่น การทำงานแลกเงิน, การมีอาชีพ นั้น ไม่ใช่กิจของสงฆ์ การที่สงฆ์ทำกิจอันใดก็แล้วแต่ เพื่อให้ได้มาซึ่งลาภสักการะ, เงินทอง นั้นก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์ ไม่ใช่สิ่งที่พระสงฆ์ควรต้องทำ หรือแม้แต่กิจใดๆ อันปกติแล้วพระสงฆ์ไม่จำเป็นต้องทำอีกแล้ว และไม่มีผู้นิมนต์ให้ทำ นั่นก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์ เช่น ก่อนบวชเป็นพระ สงฆ์อาจเป็นพราหมณ์มาก่อน ทำพิธีกรรมเพื่อช่วยเหลือเกื้อหนุนทางโลกมาก่อน เมื่อบวชเป็นพระแล้ว หากไม่มีผู้นิมนต์ ก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์อันพึงต้องทำ แม้แต่การสวดมนต์ แท้แล้วดั้งเดิมก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์มาก่อน แต่ "นิกายเถรวาท" ได้คิดค้นวิธีที่จะทำให้ชนรุ่นหลังจดจำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าได้ จึงใช้กุศโลบายให้พระสงฆ์สวดมนต์ นี่ก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์แต่ดั้งเดิมมา (ดั้งเดิมแล้ว พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้พระสงฆ์สวดมนต์ การสวดมนต์มีได้ในบางกรณี เช่น กรณีที่พระพุทธเจ้าได้รับนิมนต์จากคนผู้หนึ่ง ขอให้ช่วยบุตรชายของตน) หรือแม้แต่การเข้าร่วมใน "การสังคายนาพระไตรปิฎก" ก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์แต่ดั้งเดิม แต่เป็นไปด้วยความคิดของพระมหากัสสปะ ที่ต้องการเรียบเรียงพระธรรมวินัยให้ชัดเจนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ กิจของสงฆ์แท้แล้วจึงน้อยมาก เช่น การทำหน้าที่เป็น "เนื้อนาบุญแก่โลก" แต่ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเรื่องทางโลก ด้วยการบิณฑบาตรยังชีพทุกวัน เป็นต้น รับทักษิณาทานจากผู้อื่นที่ให้ตนได้ แต่ไม่ใช่เรียกร้องหรือร้องขอให้เขาให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่ตน เนื่องจากการร้องขอ ไม่ใช่กิจของสงฆ์ แต่เป็นกิจของขอทาน ก็เท่านั้นเอง

    อนึ่ง กิจของสงฆ์มีเพียงการดำรงชีพอย่างเรียบง่ายเท่านั้น เช่น การฉัน, การจำวัด, การดูแลตัวเอง, การซักจีวร-ย้อมเย็บจีวร ฯลฯ ไม่ใช่กิจของสงฆ์ที่จะพึงไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลก, เรื่องของผู้อื่นใด, เรื่องวิบากกรรมของใคร ฯลฯ ยกเว้นว่าได้รับกิจนิมนต์จากผู้อื่น แล้วตนได้รับกิจนิมนต์นั้น จึงกระทำได้ นับเป็นกิจของสงฆ์ได้ (หลังจากมีผู้นิมนต์แล้ว)
    แม้แต่ผู้สำเร็จ "พุทธะ" ก็ตาม หากไม่มีผู้นิมนต์ให้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ไม่อาจกระทำได้ เพราะไม่ใช่กิจของพุทธะที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ จำต้องปล่อยวาง อุเบกขา อยู่เฉยๆ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับระบบกรรมของผู้ใด ตัวอย่างเช่น พระพุทธเ้จ้า หลังตรัสรู้แล้วก็ทรงปล่อยวาง ไม่ได้คิดทำสิ่งใดๆ อีก จนเมื่อท้าวมหาพรหม ลงมาทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม โปรดสัตว์ ท่านจึงรับไว้เป็นกิจนิมนต์ เป็นกิจของสงฆ์ และสามารถกระทำกิจนั้นได้เหมือนการรับวิบากกรรมทั่วไป แต่ในที่นี้ เป็นการรับวิบากกรรมในรูปการกระทำกิจ เท่านั้นเอง
    อนึ่ง "พระอรหันตสาวก" ผู้หนึ่งผู้ใด เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ไม่มีผู้นิมนต์ให้แสดงธรรม ท่านก็จะไม่แสดงธรรม เพราะไม่ใช่กิจของท่าน ไม่ต่างอะไรกับพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งตรัสรู้แล้ว ก็ปลงตก อุเบกขา ปล่อยวาง แม้การแสดงธรรมโปรดสัตว์ ก็ทรงสิ้นอยาก สิ้นยึด ทว่า บางท่านคิดว่าตนบรรลุธรรมแล้วจึงออกโปรดสัตว์ แสดงธรรมมากมาย ก็มี ซึ่งนั่นไม่ใช่วิสัยอันแท้ของพระอรหันต์ ดังนั้น แม้แต่การเผยแพร่ธรรมะ, การสอนธรรมะ ก็ไม่ใช่กิจของสงฆ์ หากไม่มีผู้มานิมนต์ให้แสดงธรรมแล้ว ก็ย่อมไม่ใช่กิจของสงฆ์ การสอนธรรมนั้น เป็นแต่กิจของพราหมณ์ที่ยังมีอัตตาตัวตนแห่งความเป็น "ครู" เหลืออยู่ เท่านั้นเอง

    นิมนต์
    หมายถึง การเชิญให้พระสงฆ์กระทำกิจอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น การนิมนต์ให้่ไปฉันเพลที่บ้าน เป็นต้น ซึ่งพระสงฆ์สามารถพิจารณาแล้วรับหรือไม่รับคำเชิญนั้นๆ เป็นกิจนิมนต์ก็ได้ ถ้าพระสงฆ์รับแล้วก็จะต้องทำกิจนั้นๆ แต่ถ้าพระสงฆ์ไม่รับ ก็ไม่ต้องทำกิจนั้นๆ อนึ่ง คำว่า "ภิกษุ" หมายถึง "ผู้รับ" ไม่ใช่ "ผู้ขอ" ข้อนี้เป็นความแตกต่างจากขอทาน คือ ไม่ได้ทำกรรมร้องขอ, เรียกร้อง, เรี่ยไร, โฆษณาเชิญชวน ฯลฯ ให้ผู้ใดมาทำการให้ แต่ทำหน้าที่เป็นผู้รับ เดินบิณฑบาตรผ่านไปเฉยๆ ผู้ใดต้องการให้ทาน ทำทาน ก็สามารถทำได้ ผู้ใดไม่ต้องการทำทาน ไม่พร้อมทำทาน ก็ไม่จำเป็นต้องทำ นี่เรียกว่า "ผู้รับ" ซึ่งต่างจากความหมายของคำว่า "ผู้ขอ" ในการทำกิจอันเกี่ยวข้องกับทางโลกต่างๆ ก็เช่นกัน ภิกษุย่อมอยู่อย่างผู้รับ คือ หากมีผู้มานิมนต์ให้ภิกษุทำ ภิกษุย่อมสามารถพิจารณาได้ว่าจะรับหรือไม่รับกิจนิมนต์นั้น หากไม่รับ ก็สามารถแจ้งแก่ผู้นิมนต์ได้ว่าไม่รับ อีกประการ ศีลที่พระพุทธเจ้าให้ไว้ ก็สามารถนำมาใช้ในการปฏิเสธเพื่อไม่รับกิจบางประการได้ เช่น หากมีผู้มาบอกให้ภิกษุไปรบเพื่อชาติ ภิกษุย่อมอ้างศีลว่าตนไม่ฆ่าสัตว์ เพื่อไม่้ต้องรับกิจนั้นๆ ก็ได้ แต่มิใช่ ใช้เป็นข้ออ้่างเพื่อหนีหน้าที่ทางโลกแล้วหลบมาอยู่ทางธรรม ก็หาไม่

    อนึ่ง การนิมนต์ให้ภิกษุทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้น ผู้นิมนต์จำต้องมีบารมีในการนิมนต์ด้วย ภิกษุจึงรับไว้เป็นกิจ ปกติหากเป็นกิจเล็กๆ ก็ไม่ยากนักที่จะนิมนต์ แต่หากเป็นกิจใหญ่ๆ เช่น การโปรดกษัตริย์ที่หลงตัวเองมาก ภิกษุบางรูปพิจารณาแล้ว อาจไม่รับเป็นกิจนิมนต์ก็ได้ ด้วยเห็นว่าไม่มีประโยชน์ หรือตนไม่อาจจะโปรดได้ เป็นต้น ทว่า ในการรับกิจนิมนต์นั้น นับเป็นการรับวิบากกรรมอย่างหนึ่งของภิกษุด้วย กล่าวคือ แทนที่ภิกษุจะอยู่รอรับวิบากกรรม ภิกษุก็ทำกิจนิมนต์นั้นเพื่อชำระวิบากกรรมไป ย่อมได้ผลเช่นกัน แต่หากภิกษุไม่ยอมรับกิจนิมนต์แล้ว ภิกษุจำต้องรับวิบากกรรมในรูปอื่นแทน ทั้งสองแนวทางนี้ส่งผลต่างกันกล่าวคือ  หากภิกษุไม่แน่ใจว่าการทำกิจตามนิมนต์นั้นตนจะรู้จริงหรือไม่? หากทำไปเกินขอบเขตหน้าที่ย่อมจะเกิดกรรมสืบชาติต่อภพต่อไป ทำให้ไม่นิพพานตามที่ต้องการได้ ภิกษุย่อมไม่รับกิจนิมนต์แล้วยอมรับวิบากกรรมไปดีกว่า แต่หากภิกษุเป็นผู้มีปัญญาแจ้งรู้ขอบเขตแห่งการกระทำกิจนิมนต์นั้นๆ อย่างดี ภิกษุย่อมรับกิจนิมนต์นั้นเพื่อชำระกรรม ใช้หนี้กรรมแก่ปวงสัตว์ได้ เช่นกัน โดยทำกิจอยู่ในขอบเขต ย่อมไม่ก้าวล่วงไปสู่การกระทำกรรมใหม่ๆ อันเป็นการสืบชาติต่อภพไปอีก และสามารถนิพพานได้ ดังที่ตนปรารถนา

    พิธีกรรม
    ในพระพุทธศาสนาและในศาสนาพราหมณ์ ดูเปลือกนอกแล้วคล้ายกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือเหมือนเป็นสิ่งร่วมกันในบางพิธี แท้แล้วไม่ใช่อย่างนั้น พิธีกรรมแบบพุทธนั้น มีไว้เพื่อให้รู้ร่วมกันและเป็นที่ยอมรับร่วมกันในการเริ่มต้น หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จำเป็นต้องได้รับการรับรู้หรือยอมรับร่วมกัน เช่น การเปลี่ยนจากฆราวาสมาเป็นพระ เป็นต้น ดังนั้น พิธีกรรมแบบพุทธ จึงเป็นการกระทำแบบ "พอเป็นพิธี" เช่น การบวชพระ ในพระพุทธศาสนาดั้งเดิมแต่ครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงให้ปลงผม "พอเป็นพิธี" ไม่ใช่การโกนจนเกลี้ยงอย่างสวยงามน่าศรัทธา จากนั้นท่านก็จะกล่าวเพียงว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิืด" แค่นั้น จบ เรียกว่า รับรู้กันแล้วว่าบุคคลผู้นั้นได้เป็นพระ อยู่ในกลุ่มของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีพิธีรีตองอะไรมากมาย
    ภายหลัง คนไทยซึ่งมีความรู้ทางพราหมณ์ ได้นำเอาพิธีกรรมของพราหมณ์หลายพิธีกรรมเข้ามาผนวกไว้ด้วย เพื่อสนองความต้องการแบบพราหมณ์ กล่าวคือ พิธีกรรมของพราหมณ์จะมุ่งเน้นให้เกิดความน่าศรัทธา, รวมใจคน, จูงใจคน, จรรโลงใจคน, ดูขลัง, ดูศักดิสิทธิ์, ดูน่าเชื่อถือ หรือแม้แต่บางรายต้องการทำให้ดูยิ่งใหญ่เด่นดังเลยก็มี เช่น พิธีทำขวัญนาค ซึ่งเป็นพิธีกรรมของพราหมณ์โดยเฉพาะ ในพระพุทธศาสนาดั้งเดิมไม่มีพิธีกรรมนี้ แม้จะมีพุทธประวัติว่าพญานาคที่มาขอบวชเป็นพระ ได้เคยทูลขอต่อพระพุทธเจ้าว่าให้เรียกคนที่มาขอบวชว่า "นาค" ก็ตาม เป็นเพียงแค่การเรียกชื่อว่า "นาค" เฉยๆ ดั้งเดิมนั้น ยังไม่มีพิธีทำขวัญนาค แม้แต่ในบางประเทศเช่น อินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา ก็มีการบวชพระต่างไปจากในประเทศไทย แม้แต่การสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น ก็ไม่มีในพุทธประเพณีดั้งเดิม แต่ได้เพิ่มเติ่มมาภายหลังโดยลัทธิเถรวาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พระสงฆ์ช่วยกันจดจำพระธรรมสืบต่อไป
     
  7. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    อนึ่ง ในการศึกษาพระพุทธศาสนา จึงควรแยกแยะให้ดี เพราะในประเทศไทย พราหมณ์และพุทธ ไม่ไ่ด้แยกจากกันอย่างชัดเจน มาแต่สมัยก่อนสุโขทัยแล้วพราหมณ์เรืองอำนาจมาก่อน อาณาจักรขอมโบราณก็นับถือพราหมณ์ฮินดู ผู้คนทั้งหลายก็นับถือกันเช่นนั้น ไม่อาจลบล้างให้หมดไปได้ และไม่จำเป็นต้องลบล้างออกไป แต่จำเป็นที่เราจะต้องศึกษาอย่างเข้าใจ และแยกแยะให้ออกจากกันให้ได้ จะได้ไม่สับสน และเข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ไม่หลงใน "พิธีกรรมต่างๆ" ที่ถูกเสริมเพิ่มปรุงแต่งมาภายหลัง

    สัจจานุโพโธ
    หมายถึง การตามรู้ซึ่งความจริง จนรู้เท่าทัน รู้แ้จ้ง ซึ่งยังไม่ใช่การบรรลุธรรมอันแท้จริง เหมือนการยิงธนูไล่ตามเป้าบิน ลูกศรแตะที่เป้า แต่ยังไม่ทะลุเป้า ฉะนั้น เรียกว่า ตามเท่าทัน แตะถึงเป้า แต่ยังไม่ทะลุทะลวง จึงยังไม่ใ่ช่การบรรลุธรรมที่แท้จริง ดังนั้น การบรรลุธรรมที่แท้จริง จึงมีลักษณะคล้ายการ "เลยเถิด" ไปเล็กน้อย จากธรรมที่บรรลุนั้นๆ เช่น การที่พระอรหันต์ที่บรรลุธรรมแล้ว มักจะกล่าวอะไรที่ดูเหมือนเลยเถิดไปบ้าง เช่น ท่านสุภัททะ กล่าวว่า "พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วก็ดี ไม่เห็นต้องเสียใจอะไรเลย จะได้ไม่มีใครควบคุมให้เราอยู่ในธรรมวินัยอีก" เป็นต้น ซึ่งเป็นการกล่าวเลยเถิดออกไป แ่ต่ก็ทำให้พระอรหันต์รูปอื่น พอเ้ข้าใจได้ว่าท่านได้บรรลุธรรมแล้วจริงๆ ทั้งนี้ มิใช่ว่าผู้ที่เลยเถิดออกไปจะต้องบรรลุธรรมทั้งหมด ก็หาไม่ ลักษณะการเลยเถิดออกไป เป็นเพียงลักษณะหนึ่งของผู้บรรลุเท่านั้น แต่หากยังไม่บรรลุธรรม ก็จะยังมีลักษณะของ "การรู้ตามจริง" ซึ่งจะยังบรรลุ ไม่เลยเถิดออกไป ยังเป็นเพียง "สุตมยปัญญา" อยู่เช่นนี้ ซึ่งอยู่ในขั้น "ปริยัติ" นั่นเอง ดังข้อความบางส่วนในพระไตรปิฎกมีดังนี้

    “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ)
    มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริง
    ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการ
    ตามรู้ซึ่งความจริง”
    ภารท๎วาชะ ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้
    เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดี
    หรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่
    ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ :-
    ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ
    ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
    ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ....
    เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่า
    เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ต่อแต่นั้น
    เขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรม
    ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ….ในธรรมทั้งหลายอันเป็น
    ที่ตั้งแห่งโมหะ…. เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น
    ย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
    โทสะ....ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ
    ลำดับนั้น เขา :-
    (๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไปในภิกษุนั้น ครั้นมี
    ศรัทธาเกิดแล้ว
    (๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว
    (๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
    (๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง
    (๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว
    (๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม
    (๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลาย
    อันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่
    (๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ,
    เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่
    (๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
    (๑๐) ย่อม มีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว
    (๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม,
    ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว
    (๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น; เขาผู้มีตน
    ส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อม กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ
    (ความจริงโดยจริงความหมายสูงสุด) ด้วยนามกาย ด้วย,
    ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย.
    ภารท๎วาชะ !
    การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมี
    ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
    บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริง
    ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
    และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริง
    ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;
    แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

    การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
    (สจฺจานุปตฺติ)
    “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
    (สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึง
    ซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญ
    ถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง”
    ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ
    การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ (ทั้ง ๑๒ ข้อ
    ข้างต้น) เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.
    ภารท๎วาชะ !
    การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมี
    ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
    บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
    ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
    และเราบัญญัติการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง
    ด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.
    ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๕/๖๕๕-๖๕๗
     
  8. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    สจฺจานุปตฺติ หรือ สัจจานุปัตติ
    คือ การบรรลุถึงซึ่งความจริง ซึ่งแตกต่างจากสัจจานุโพโธ (การตามรู้ซึ่งความจริง) ในพระไตรปิฎกมีกล่าวเปรียบเทียบถึงสัจจานุโพโธว่าเกิดขึ้นก่อนสัจจานุปัตติ เมื่อเกิดสัจจานุโพโธขึ้นมาแล้ว จึงเพียรพยายามให้มากขึ้นไปเรื่อยๆ ในธรรมที่ได้ตามรู้แล้วนั้น จึงไปสู่สัจจานุปัตติได้ ดังนั้น สัจจานุโพโธ จึงเหมือนเป็นปัญญาระดับปริยัติ หรือหากเป็นปัญญาัขั้น "ปฏิบัติ" ก็จะเกิดจากการรู้เท่าทันความจริง ณ ปัจจุบัน ที่ยังต้องนำไปสู่การปฏิบัติให้มากขึ้น จึงจะบรรลุธรรมได้ ส่วนสัจจานุปัตติ จึงเหมือนปัญญาระดับปฏิเวธ ที่ผ่านการปฏิบัติอย่างมาก ดังข้อความบางส่วนในพระไตรปิฎกมีดังนี้

    “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามรู้ซึ่งความจริง (สจฺจานุโพโธ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่าตามรู้ซึ่งความจริงด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการตามรู้ซึ่งความจริง”

    ภารท๎วาชะ ! ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านหรือในนิคมแห่งใดแห่งหนึ่ง. คหบดีหรือคหบดีบุตร ได้เข้าไปใกล้ภิกษุนั้นแล้วใคร่ครวญดูอยู่ในใจเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการ คือ :-
    ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ
    ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ
    ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ....
    เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้น ย่อมเล็งเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโลภะ ต่อแต่นั้นเขาจะพิจารณาใคร่ครวญภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ….ในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ…. เมื่อเขาใคร่ครวญดูอยู่ซึ่งภิกษุนั้นย่อมเล็งเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ....ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ
    ลำดับนั้น เขา :-
    (๑) ปลูกฝัง ศรัทธา ลงไปในภิกษุนั้น ครั้นมีศรัทธาเกิดแล้ว
    (๒) ย่อม เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว
    (๓) ย่อม เข้าไปนั่งใกล้ ครั้นเข้าไปนั่งใกล้แล้ว
    (๔) ย่อม เงี่ยโสตลง ครั้นเงี่ยโสตลง
    (๕) ย่อม ฟังซึ่งธรรม ครั้นฟังซึ่งธรรมแล้ว
    (๖) ย่อม ทรงไว้ซึ่งธรรม
    (๗) ย่อม ใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลายอันตนทรงไว้แล้ว เมื่อใคร่ครวญซึ่งเนื้อความแห่งธรรมอยู่
    (๘) ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อความเพ่งพินิจ, เมื่อการทนต่อการเพ่งพินิจของธรรมมีอยู่
    (๙) ฉันทะย่อมเกิดขึ้น ผู้มีฉันทะเกิดขึ้นแล้ว
    (๑๐) ย่อม มีอุสสาหะ ครั้นมีอุสสาหะแล้ว
    (๑๑) ย่อม พิจารณาหาความสมดุลย์แห่งธรรม, ครั้นมีความสมดุลย์แห่งธรรมแล้ว
    (๑๒) ย่อม ตั้งตนไว้ในธรรมนั้น; เขาผู้มีตนส่งไปแล้วอย่างนี้อยู่ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ (ความจริงโดยจริงความหมายสูงสุด) ด้วยนามกาย ด้วย, ย่อม แทงตลอดซึ่งธรรมนั้น แล้วเห็นอยู่ด้วยปัญญา ด้วย.

    ภารท๎วาชะ ! การตามรู้ซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
    บุคคลชื่อว่าย่อมตามรู้ซึ่งความจริงด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
    และเราบัญญัติการตามรู้ซึ่งความจริงด้วยการกระทำเพียงเท่านี้;
    แต่ว่านั่นยังไม่เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

    การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง (สจฺจานุปตฺติ)
    “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง (สจฺจานุปตฺติ) มีได้ ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร? บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ด้วยการกระทำเพียงเท่าไร ? ข้าพเจ้าขอถามพระโคดมผู้เจริญถึงการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง”

    ภารท๎วาชะ ! การเสพคบ การทำให้เจริญ การกระทำให้มาก ซึ่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นแหละ (ทั้ง ๑๒ ข้อข้างต้น) เป็นการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.
    ภารท๎วาชะ ! การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง ย่อมมีด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
    บุคคลชื่อว่าย่อมตามบรรลุถึงซึ่งความจริงด้วยการกระทำเพียงเท่านี้,
    และเราบัญญัติการตามบรรลุถึงซึ่งความจริงด้วยการกระทำเพียงเท่านี้.
    ม. ม. ๑๓/๖๐๑-๖๐๕/๖๕๕-๖๕๗

    ปริยัติธรรม
    คือ ธรรมระดับพื้นฐานที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน แต่ยังไม่ผ่านการปฏิบัติให้มาก และยังไม่ใช่การบรรลุธรรมที่แท้จริง ในพระพุทธศาสนามีธรรมหมวดหนึ่งกล่าวถึง ปริัยัติ, ปฏิบัติ, ปฏิเวธ ไว้ เพื่อบอกถึงการมีธรรมขั้นต่างๆ โดยผู้ที่ "ตามรู้ธรรม, รู้เท่าทันธรรมตามจริง" ได้นั้น ท่านนับให้เป็นธรรมระดับปริยัติ หรือปริยัติธรรม นั่นเอง ยังไม่ใช่ธรรมขั้นปฏิบัติและธรรมขั้นปฏิเวธ ซึ่งท่านมีคำเรียกผู้ที่รู้ธรรมตามจริงได้อย่างนี้ ว่า "สัจจานุโพโธ" (การตามรู้ แจ้งธรรม ตามจริง) ซึ่งยังไม่ใช่การบรรลุธรรมที่แท้จริง อนึ่ง คำว่า "สุตมยปัญญา" ที่หมายถึง ปัญญาระดับการรับรู้ผ่านการฟัง, อ่าน ฯลฯ ต่างๆ นั้น ท่านหมายถึง การรับรู้จากพระพุทธเจ้าโดยตรงเท่านั้น ไม่ผ่านพระสาวกองค์ใด หรือผู้อื่นใดทั้งสิ้นด้วยเหตุว่า พระพุทธเจ้าเป็น "พระอรหันต์เพียงรูปเดียว" ที่ได้รับการนิมนต์ให้แสดงธรรมโปรดสัตว์ ส่วนพระอรหันต์องค์อื่นๆ นั้น ไม่ได้รับการนิมนต์ให้แสดงธรรมโปรดสัตว์ดังเช่น พระพุทธเจ้า มีบ้างเพียงบางองค์เท่านั้นที่ได้รับนิมนต์ให้โปรดสัตว์เฉพาะบางกรณี เช่น พระอุปคุตโปรดพระเจ้าอโศกมหาราช, พระนาคเสนโปรดพระเจ้ามิลิน เป็นต้น ดังนั้น กิจโปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนานี้ จึงเป็นกิจเฉพาะของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้น การมีปัญญาด้วยการศึกษาเล่าเรียนธรรม จึงใช้คำว่า "ปริยัติ" ได้ แต่การ "รู้แจ้งในธรรม" ระดับต้น ซึ่งเกิดจากการรับธรรมโดยตรงจากพระพุทธเจ้า แล้วเกิดการรู้แจ้งตามธรรม จะใช้คำว่า "สัจจานุโพโธ" ดังความว่า

    สุตตันตะของพระตถาคต
    "ภิกษุ ท.! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด  ที่กวีแต่งขึ้นใหม่เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน  มีอักษรสละสลวย   มีพยัญชนะอันวิจิตรเป็นเรื่องแนวนอก เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่เธอจักไม่ฟังด้วยดี  ไม่เงี่ยหูฟัง  ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และ จักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน"

    "ภิกษุ ท.! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่า เฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,เมื่อมีผู้นำสุตตันตะ เหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟังย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนจึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า  ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ? ” ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้"

    ดังนั้น การศึกษาธรรม จึงต้องตรงต่อพระพุทธเ้จ้า เพียงองค์เดียว ไม่มีอื่น และไม่อาจรับธรรมจากพระสาวกองค์อื่นได้เลย เพราะไม่อาจนับเป็นสุตมยปัญญาได้ เมื่อไม่ได้สุตมยปัญญา ย่อมไม่อาจได้ถึงซึ่ง จินตมยปัญญาและ ภาวนามยปัญญา ด้วย นั่นหมายถึงว่า หากเราต้องการได้เข้าสู่ธรรมของพระพุทธเจ้าจริงๆ เราต้องเริ่มต้นขั้นแรกให้ตรงสู่พระพุทธเจ้าจริงๆ เท่านั้น ไม่อาจรับธรรมผ่านพระอรหันตสาวกองค์ใดได้เลย แม้ว่าพระรัตนตรัยจะมีสาม คือ พระพุทธ, พระธรรม และพระสงฆ์ก็ตาม แต่ผู้ที่ทำหน้าที่สอนธรรม โปรดสัตว์ ก็ยังคงมีเพียงหนึ่งเดียวเท่่านั้น คือ พระพุทธเ้จ้า พระอรหันตสาวกไม่ว่าองค์ไหนๆ ก็ไม่อาจกระทำกิจนี้แทนพระพุทธเจ้าได้เลย พระสงฆ์สาวกไม่มีกิจในการสอนธรรม โปรดสัตว์อย่างพระศาสดา มีเพียงหน้าที่อื่นๆ เช่น การบวชให้แก่พระภิกษุรูปอื่น เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่เมื่อบุคคลได้บวชแล้ว หากต้องการรับธรรม จำต้องรับโดยตรงจากพระพุทธเจ้าเท่าันั้น พระองค์เดียว ไม่มีอื่น ซึ่งแม้ว่าท่านจะกระทำขันธปรินิพพาน ไม่มีขันธ์ห้าเหลือแล้ว ยังสามารถรับได้ด้วยวิธีจิตสู่จิต โดยตรงไม่ผ่านสิ่งอื่น ไม่ผ่านตำราใดๆ ไม่ผ่านพระสงฆ์สาวกองค์ใดๆ ตามสัจวาจาที่พระพุทธองค์ทรงให้ไว้ว่าจะทรงโปรดสัตว์ต่อไป ตราบเท่าที่ยังคงมีผู้สนใจปฏิบัติ เพียรพยายาม จนกว่าจะสิ้นอายุพุทธกาลห้าพันปี อนึ่ง การศึกษาเล่าเรียนธรรมผ่านตำรา ทั้งการศึกษาที่เรียกว่าปริยัติธรรม ในปัจจุบัน ที่มีระบบการศึกษาคล้ายการศึกษาแบบตะวันตกนั้น มิอาจเรียกว่าเป็น "สุตมยปัญญา" เพราะมิได้ยิน ได้ฟัง หรือรับธรรมโดย ตรงจากพระพุทธเจ้า นับเป็นเพียงการศึกษาแบบทางโลก ที่ได้เนื้อหาจากธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ทั้งยังไม่อาจเรียกได้ว่า "สัจจานุโพโธ" ด้วย เพราะไม่ใช่การ "รู้แจ้งธรรมตามจริง" จึงจัดได้ว่าเป็นเพียง "ปริยัติธรรม" เท่านั้น ซึ่งไม่ได้ต่างจากการศึกษาเล่าเรียนธรรมของพราหมณ์เหล่าอื่น แต่อย่างใดเลย

    สุตมยปัญญา
    หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการรับรู้ผ่านอายตนะใดอายตนะหนึ่งในระดับสังขาร เช่น การอ่าน, การฟัง เป็นต้น อันไม่รวมถึงการรับรู้ผ่านอายตนะทางใจ (จิตสู่จิต) ซึ่งยังไม่ใช่การบรรลุธรรมอันแท้จริง โดยมีคำสามคำเกี่ยวข้อง เช่น สุตมยปัญญา, จินตมยปัญญา และภาวนามยปัญญา สำหรับการบรรลุธรรมที่แท้จริง จะใช้คำว่า "ภาวนามยปัญญา" ส่วน "สุตมยปัญญา" นั้น ได้มาจากการรับรู้จากผู้อื่นในระดับสังขาร ไม่มีการคิด ไม่เกิดจากจิตหรือญาณหยั่งรู้ของตัวเอง ส่วน "จินตมยปัญญญา" นั้น เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากตัวเอง เป็นการคิด, สร้างสรรค์ เอาเอง ซึ่งยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ก็ได้ ส่วน "ภาวนามยปัญญา" นั้น มีทั้งการรับรู้จากผู้อื่นและการพิจารณาจนรู้แจ้งด้วยตนเอง ประกอบด้วย

    นอกจากนี้ ยังมีคำอีกสามคำที่คล้ายกัน คือ สุตมยปัญญา, ปริยัติ, สัจจานุโพโธ ล้วนเป็นคำที่แสดงถึงการมีปัญญาหรือความรู้ในระดับตื้น, ระดับต้น แต่ยังไม่ถึงขั้นบรรลุธรรมทั้งสิ้น โดยคำว่า "สุตมยปัญญา" นั้นจะใช้ในความหมายกว้างๆ เป็นปัญญาที่ไม่จำกัดแหล่งที่มา อาจจะมาจากในทางโลกหรือทางธรรมก็ได้ สามารถใช้่ได้เหมือนกัน เพียงแต่หมายความแคบลงถึงการรับรู้จากผู้อื่นในระดับสังขาร เช่น การฟัง, การอ่าน เป็นต้น ส่วนคำว่า "ปริยัติ" นั้นใช้ในความหมายกว้างๆ เช่นกัน แต่เฉพาะเจาะจงลงไปในด้านการเรียนรู้ ซึ่งอาจจะมีหรือยังไม่มีปัญญาเกิดขึ้นก็ได้ เช่น บางท่านไปเรียนปริยัติแล้วอาจจะได้ปัญญาหรือยังไม่ได้ปัญญา ก็ได้, บางท่านไม่ได้เรียนปริยัติ แต่ได้ฟังธรรมจากแหล่งอื่นใด แล้วอาจเกิด "สุตมยปัญญา" ก็ได้ หรือไม่เกิด ก็ได้, ส่วนคำว่า "สัจจานุโพโธ" แตกต่างจากคำือื่นๆ ตรงที่เป็นปัญญาอันเกิดจากการได้รู้แจ้งตามธรรมนั้นๆ ซึ่งยังนับเป็นการ "รู้ตามความจริง" ยังไม่ใช่การ "บรรลุความจริง" ก็เท่านั้นเอง ดังนั้น คำสามคำเหล่านี้ จึงมีความหมายในระดับที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่ใช้ต่างกันเพียงเล็กน้อย เ่ท่านั้นเอง

    ใบไม้หนึ่งกำมือ
    เป็นคำอุปมา หมายถึง "พระธรรม" จำนวนน้อยที่ถูกคัดเลือกโดยพระพุทธเจ้าแล้วว่าควรแสดงให้แก่ผู้ใด เพราะว่า "กำลัง" ของคนแต่ละคนนั้น รับธรรมได้ มาก น้อย ไม่เท่ากัน เหมือนกับการรับสื่อ ถ้ารับไม่เป็น รับมากไป เสพมากไป ก็จะกลายเป็นทาสของสื่อได้ การรับธรรมมากไป ก็เช่นกัน ทำให้หลงธรรม ติดธรรม หรือหลงตัวเองว่ารู้ธรรมมาก แต่ไม่ไ่ด้บรรลุธรรม ก็ได้ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงคัดเลือกธรรมที่พอเหมาะ พอควร กับแต่ละคน เรียกว่า "ใบไม้หนึ่งกำมือ" นั่นเอง ทว่า ยังมีพระสาวกบางคน ไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใด พระพุทธเจ้าจึงไม่แสดงธรรมทั้งหมดแก่ตน หรือแสดงธรรมบางอย่างแก่คนบางคน แล้วไม่แสดงธรรมบางอย่างแก่คนบางคน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้ว แต่ไม่มีพระสาวกรูปใด เข้าใจได้ ด้วยเพราะเป็น "สัพพัญญูญาณ" เฉพาะของพระพุทธเจ้า ที่จะทรงรู้ด้วยได้พระองค์เองว่าธรรมใดควรตรัสแสดงแก่ผู้ใด และธรรมใดไม่ควรตรัสแสดงแก่ผู้ใด เป็นต้น ภายหลัง พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแล้ว จึงไม่มีผู้ใดคอยคัดเลือกธรรมเหล่านั้น ประกอบกับมีการสังคายนารวบรวมธรรม ทำให้มีธรรมมากมายที่ไม่มีผู้คัดสรรให้อย่างเหมาะสม พระสาวกล้วนเข้าถึงธรรมได้เอง ต่อมา ได้เกิด "ลัทธิเถรวาท" ขึ้น โดยมีหลักการคือ "การแบ่งปันกันสวดท่องจำ" เพื่อไม่ให้พระธรรมสูญหายโดยไม่มีผู้คัดเลือกธรรมที่เหมาะสมให้แต่ละบุคคลทำให้เกิด "ความหลงธรรม" และ "การเสพติดธรรม" ขึ้น ภายหลัง "ลัทธิมหายาน" มองเห็น "ปัญหาจุดนี้" จึงได้นำแนวคิด "ใบไม้หนึ่งกำมือ" กลับมาใช้ โดยจะทำการ "คัดเลือกพระสูตรเพียง ๑ บท" ที่คิดว่าเหมาะสมแล้ว ให้แก่ศิษย์ตามควร ไม่ได้มุ่งเน้นการศึกษาพระธรรมให้หมดทุกหมวดหมู่ก็หาไม่

    อนึ่ง แนวคิด "ใบไม้หนึ่งกำมือ" นั้น เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะทรงกระทำได้ ด้วยเพราะทรงเข้าใจในวิสัยของสัตว์และทรงตรัสรู้ธรรมเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง จึงทรงเลือกธรรมแจกจ่ายให้บุคคลได้อย่างเหมาะสม ทว่า ภายหลังที่ท่านปรินิพพานไปแล้ว ฝ่ายมหายานที่พยายามคัดพระสูตร ๑ บท เลือกให้แก่ศิษย์ ก็ไม่อาจทำได้ดีดังพระพุทธเจ้า ทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือแม้แต่ฝ่ายเถรวาท ที่พยายามให้คนช่วยกันสวดท่องจำให้ได้มากๆ ก็ไม่อาจบรรลุธรรมได้อย่างแท้จริง เพราะขาดผู้ช่วยในการคัดกรองพระธรรมที่เหมาะสมกับบุคคลแต่ละบุคคล นั่นเอง อนึ่ง การศึกษาธรรมะนั้น "ควรเหมาะสมกับกำลังของตน" หากศึกษามากไป ไม่พอดี ไม่พอควรแล้ว ย่อมเกิดอาการ "เสพติดธรรม, หลงธรรม, หลงตัวเอง" ได้

    ปฏิเวธ
    คือ ธรรมะที่มีลักษณะประยุกต์ ดูเปลือกนอกแล้วคล้ายไม่เหมือนเดิม แท้แล้วมีแก่นแท้แห่งธรรมไม่ต่างจากสัจธรรมใดๆ เพียงแต่ปรับประยุกต์ไปตามสถานการณ์หรือการใช้งานนั้นๆ บางครั้ง จึงเหมือนธรรมที่ผิดเพี้ยนไปได้ แต่ก็ไม่ใช่ความผิดเพี้ยนที่แท้จริง (จุดนี้ต่างจาก "ปริยัติ" ซึ่งเป็นธรรมะแบบตรงไปตรงมา ไม่มีการปรับประยุกต์ แต่ไม่ใช่การมีปัญญาที่แท้จริง เหมือนการจำต่อมาเฉยๆ ไม่มีการใช้ปัญญาพิจารณาอะไรทั้งนั้น) เช่น เมื่อท่านหุยเคอถามท่านตั๊กม้อว่า "ทำอย่างไรจึงจะหายทุกข์ ใจนี้เป็นทุกข์" ท่านบอกว่า "ไหนเอาใจมาให้ดูหน่อยสิ" ท่านหุยเคอกลับตอบว่า "หาไม่เจอ" แล้วท่่านก็บรรลุธรรม บทสนทนาเหล่านี้ ล้วนไม่สามารถอ้างอิงธรรมะ บทใดๆ ใน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ได้เลย หรือต่อให้ยกเอาพระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์มากล่าว ก็ไม่อาจทำให้ท่านหุยเคอบรรลุธรรมได้ เพราะอะไร? เพราะการที่ท่านหุยเคอบรรลุธรรมนั้น ก็ด้วยธรรมที่เรียกว่า "ปฏิเวธ" คือ ประยุกต์ให้เหมาะสมกับท่านหุยเคอในขณะนั้นๆ แล้ว ไม่ใช่ "ปริยัติ" ที่ท่องจำสืบกันต่อๆ ไป ก็หาไม่ และหากจะพิจารณาว่าท่านตั๊กม้อกล่าวมานั้น สอดคล้องกับอภิธรรมส่วนไหน? ก็ตอบได้ว่า ส่วนสติปัฏฐาน หมวด "จิตในจิต" คำถามนั้น ทำให้ท่านหุยเคอพิจารณาย้อนไปค้นหา "ใจ" แล้วเข้าถึง "จิตในจิต" ท่านจึงตอบว่า "หาใจไม่เจอ" นั่นเอง

    ธรรมปฏิเวธ เป็นธรรมที่มีแก่นแท้ไม่ต่างจากสัจธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพียงแต่มีเปลือกนอกที่ดูเหมือนผิดเพี้ยนไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่นั่นเป็นเพียงเปลือกนอกที่ประยุกต์ให้เข้ากับผู้ฟัง ก็เท่านั้น เพราะสถานการณ์ของผู้ฟังอาจต่างกัน การแสดงธรรมแบบตรงไปตรงมา แบบท่องจำ แบบยกมาเพื่ออ้างอิงแบบ "ปริยัติ" นั้น ไม่อาจทำให้ใครบรรลุธรรมได้เลย อุปมาเหมือน เกาไม่ถูกที่คันฉะนั้น ดังนั้น หากบุคคลเข้าใจถึงจุดนี้แล้ว ย่อมจะนำพระอภิธรรมไปประยุกต์เพื่อถ่ายทอดต่อได้ แม้ว่าเปลือกนอกจะดูแตกต่างไปก็ตาม แต่หากแก่นแท้ยังเหมือนเดิม และทำให้ผู้ฟังบรรลุธรรมได้ ก็นับเป็นธรรมขั้น "ปฏิเวธ" อนึ่ง มีผู้เข้าใจไปว่า "ปฏิเวธ" หมายถึง การประยุกต์นำธรรมะไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน เช่น การนำธรรมหมวดพรหมวิหารไปใช้ในการปกครอง, บริหารลูกน้องของตน ซึ่งแท้แล้ว วิธีการเหล่านี้ ล้วนยังไม่ใช่วิถีของพระพุทธศาสนาเลย เ็ป็นวิถีของพราหมณ์ เพราะยังไม่ได้ทำให้เกิดปัญญาแจ้งในสัจธรรม ไม่ทำให้บรรลุธรรมจริงๆ เพียงแต่นำธรรมะไปประยุกต์ใช้ในทางโลก ในระดับตื้นๆ เท่านั้นเอง นี่จึงไม่ใช่ปฏิเวธ
     
  9. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279

    แสดงธรรม
    หมายถึง การสื่อธรรมที่มีอยู่ภายในไปสู่ผู้รับธรรมซึ่งประกอบด้วยการสื่อธรรมที่ผ่านตัวอักษรและไม่ผ่านตัวอักษร (ที่เรียกว่าจิตสู่จิต, ธรรมสู่ธรรม) ในการแสดงธรรมครั้งหนึ่งจะมีทั้งสองส่วนประกอบกัน ส่วนใดที่ผ่านตัวอักษร ฟังแล้วเข้าในใจได้ให้ผลสูงสุดเป็น "สุตมยปัญญา" ผู้ใดฟังแล้วรู้แจ้งตามจริงนั้น ก็ให้ผลเป็น "สัจจานุโพโธ" (ยังไม่ใช่การบรรลุธรรมที่แท้จริง เป็นเพียงการรู้แจ้งขั้นต้น) ถ้าผู้ใดนำไปศึกษาเล่าเรียนต่อก็ให้ผลเป็น "ปริยัติ" เท่านั้น ในการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้านั้น บางครั้ง ประกอบไปด้วยธรรมะตามหมวดหมู่อย่างมีระเบียบ แล้วยังซ่อน "ปริศนาธรรม" เอาไว้ด้วย ซึ่งการแสดงธรรมตามหมวดหมู่นั้นเป็นเพียงการปูพื้นฐานให้เกิดความพร้อมที่จะบรรลุธรรมเท่านั้น ไม่ใช่ส่วนที่จะทำให้บรรลุธรรมจริงๆ เพราะส่วนที่ทำให้บุคคลบรรลุธรรมได้จะมาจากส่วนที่เป็น "ปริศนาธรรม" อันเป็นเหมือนกุญแจไขสู่ประตูแห่งความรู้แจ้ง ที่จะทำให้บุคคลเข้าถึง "ธรรมที่ไม่ผ่านตัวอักษร" คือ ธรรมแบบจิตสู่จิต ธรรมสู่ธรรม นั่นเอง ในพุทธศาสนานิกายเซนเรียก "ปริศนาธรรมที่ซ่อนอยู่" นี้ว่า "โกอาน" ซึ่งอาจจะเป็นเพียงวลีสั้นๆ ที่แทรกอยู่ในพระสูตร หรือพระธรรมที่อธิบายในหมวดใดหมวดหนึ่ง เนื่องจากธรรมแท้ไม่อาจที่จะอธิบายผ่านตัวอักษรภาษาใดๆ ได้ การแสดงธรรมโดยใช้ตัวอักษร, ภาษาต่างๆ จึงเป็นเพียงการนำจิตเบื้องต้นให้บุคคลเข้าใกล้ธรรมอีกระดับเท่านั้นเอง แต่หากบุคคลจะบรรลุธรรมได้ จำต้องค้นหา "โกอาน" ที่ซ่อนอยู่ในธรรมนั้นให้พบ ก็จะค้นพบกุญแจไขไปสู่ธรรมที่ไร้ตัวอักษร หรือ "จิตสู่จิต, ธรรมสู่ธรรม" ได้

    อนึ่ง ในการโปรดสัตว์ของพระพุทธเจ้าไม่จำเป็นต้องแสดงธรรมอะไรมากมายก็ได้ เพียงใช้ "โกอาน" หรือปริศนาธรรมสั้นๆ วลีสั้นๆ ให้พระสาวกแต่ละคนก็สามารถบรรลุธรรมได้แล้ว แต่เนื่องจากบางครั้ง ท่านต้องแสดงธรรมต่อบุคคลมากมายพร้อมๆ กัน ที่มีทั้งที่พร้อมบรรลุธรรมและไม่พร้อมบรรลุธรรม ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ท่านต้องแสดงธรรมที่มีเนื้อหาและหมวดหมู่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น การแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ภิกษุจำนวนมากพร้อมๆ กัน ซึ่งไม่เน้นให้เกิดการบรรลุธรรม เนื่องจากภิกษุเหล่านั้นล้วนได้อรหันตผลมาก่อนแล้ว เป็นต้น (ธรรมที่แสดงในวันมาฆบูชา ซึ่งพระอรหันต์ประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมา่ย) ในขณะที่บางครั้งพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์ จนทำให้เขาบรรลุธรรมนั้น พระองค์มิได้แสดงธรรมเช่นนั้น แต่กลับกล่าวเพียงวลีสั้นๆ เป็นปริศนาธรรมเท่านั้นเอง เช่น ครั้งที่กล่าวแก่องคุลีมาลว่า "เราหยุดแล้ว แต่ท่านยังไม่หยุด" และยังมีอีกหลายวลีที่เป็นวลีสั้นๆ เป็นโกอาน (ปริศนาธรรม) ยังผลให้ผู้ฟังบรรลุธรรม

    จบกิจ
    เป็นคำที่พบได้ในพระไตรปิฎกแต่ไม่ได้อยู่ในส่วนอภิธรรม หมายถึง ลักษณะอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ที่ไม่มีกิจอื่นใดต้องทำแล้ว กิจต่างๆ ล้วนจบสิ้นแล้ว ไม่มีกิจทั้งด้านบุญและกรรมอื่นใดจะต้องทำอีก ไม่มีทั้งกิจสอนธรรม, โปรดสัตว์, เผยแพร่ธรรมะ, ค้ำจุนพระพุทธศาสนา, สร้างวัด, สังคายนาพระไตรปิฎก, สร้างโรงพยาบาล, อนุเคราะห์สัตว์อื่นด้วยการก่อกรรมใดๆ ฯลฯ ก็หาไม่ กิจอันใดที่จะก่อให้เกิดกรรมสืบชาติภพต่อไปนั้น ไม่มี สิ้นแล้ว จบลงแล้ว หากผู้ใดยังมีกิจเหล่านี้อยู่ ย่อมไม่เข้าข่ายลักษณะของพระอรหันต์ แต่อาจเข้าข่ายลักษณะของพระโพธิสัตว์ ดังนั้น ชาวพุทธจึงควรแยกแยะให้ดี อย่าสับสน ไปหลงพระที่สร้างสิ่งต่างๆ, ทำกิจต่างๆ มากมายว่าเป็นพระอรหันต์ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ เพราะยังทำกิจอยู่มากมาย นั่นเอง ท่านเหล่านั้นอาจเป็นพระโพธิสัตว์ แต่ไม่เข้าลักษณะของ "พระอรหันตสาวก" เลย

    อนึ่ง เมื่อพระอรหันต์ได้บรรลอรหันตผลแล้ว ย่อมรู้แจ้งเช่นเดียวกันว่า ตนไม่มีกิจใดจะทำอีก หมดสิ้นแล้ว จบกิจแล้ว เฉกเช่น พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งตรัสรู้ก็ไม่คิดที่จะกระทำกิจใดอีก แต่ด้วย "วิบากกรรมของพระพุทธเจ้า" ยังมี ยังไม่หมดสิ้น พระำพรหมจึงลงมาทูลเชิญให้ทรงโปรดสัตว์, สอนธรรมแก่ปวงสัตว์, ทำหน้าที่เป็นพระพุทธเจ้า นี่คือ "วิบากกรรม" เท่านั้นเอง ที่มีเฉพาะในพระพุทธเจ้า เท่านั้นเอง ไม่มีในพระอรหันต์รูปอื่นๆ ในพระอรหันต์บางรูปที่มีบารมีมากพอโปรดสัตว์เท่านั้น ที่ได้รับมอบหมายให้ทำกิจบางประการ แต่มิใช่กิจโปรดสัตว์ทั่วไปอย่างพระพุทธเจ้า เช่น พระอุปคุตได้รับการทูลเชิญให้โปรดพระเจ้าอโศกมหาราช, พระนาคเสนได้รับการทูลเชิญให้โปรดพระเจ้ามิลินท์ ซึ่งกษัตริย์เหล่านี้ เกือบจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่เนื่องจากยังไม่สมบูรณ์พร้อมตามวาระ ช่วง ๕,๐๐๐ ปี ของพุทธกาลนี้ จะมี พระธรรมมิกราช ๗ องค์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงโปรดไปหมดแล้ว ไม่มีพระเจ้าจักรพรรดิ (แต่ในยุคของพระศรีอาริยเมตตรัย จะมีพระเจ้่าจักรพรรดิ ๑ องค์) ดังนั้น จึงมีผู้ที่เกือบได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕ องค์ในยุคของพระสมณโคดมนี้ ลงมาบำเพ็ญบารมีได้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นผู้ที่โปรดได้ยาก และจำต้องได้รับการโปรดโดยพระศรีอาริยเมตตรัยโพธิสัตว์ จวบจนกว่าจะถึุงกาลสมัยของพระศรีอาริยเมตตรัย ท่านผู้ปรารถนาจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิจึงจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิโดยสมบูรณ์ได้ และพระศรีอาริยเมตตรัยจะทรงโปรด ท่านอีกที ดังนั้น ในช่วงยุคพุทธกาลของพระสมณโคดมนี้ จึงยังไม่มีพระเจ้าจักรพรรดิ แต่จะมีผู้ที่ลงมาบำเพ็ญบารมีเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้บ้าง ทำให้มีลักษณะคล้ายพระเจ้าจักรพรรดิแต่ยังไม่สมบูรณ์นั่นเอง

    จบพรหมจรรย์
    เป็นคำที่ปรากฏในพระไตรปิฎกแต่ไม่ได้อยู่ในส่วนของอภิธรรม ซึ่งหมายถึงลักษณะอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ คำว่า "จบพรหมจรรย์" หมายถึง การปล่อยวางเรื่องการรักษาพรหมจรรย์ได้แล้้ว แม้จะถูกทำลายพรหมจรรย์ ก็ไม่มีผลต่อธรรม เพราะเป็นอนิจจัง, เป็นอนัตตา อยู่ในตัวแล้ว แม้ว่าจะบวชพระ ถือศีลพรหม ถือพรหมจรรย์ แต่สิ่งเหล่านั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนของตนที่จะยึดมั่นถือมั่นได้ ดังนั้น การมีหรือไม่มีพรหมจรรย์ จึงไม่ใช่สาระของธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่าให้เลิกรักษาพรหมจรรย์แล้วไปมีกามเสีย ก็หาไม่ หมายความว่า หากมีวิบากกรรมถูกข่มขืนก็ปล่อยไปตามวิบากกรรมนั้น ไม่จำเป็นต้องรักษาหรือหวงแหนพรหมจรรย์ไว้ ความมีหรือไม่มีพรหมจรรย์นั้น ไม่มีผลต่อธรรมะทั้งสิ้น เหมือนดั่งเช่น พระอุบลวรรณาเถรีที่ถูกข่มขืนนั้น ก็เป็นเพียงแค่วิบากกรรมเท่านั้น ไม่มีผลต่อธรรมของท่านเลยแม้แต่น้อย

    สำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุอรหันตผล หากถือบวชอยู่ ก็จะถือพรหมจรรย์ด้วยจึงยังคงทำกิจ "รักษาพรหมจรรย์"  ต่อไป นี่จึงยังไม่ "จบพรหมจรรย์" ทำให้ยังไม่ถึงที่สุดแห่งธรรม ยังไม่บรรลุธรรม เพราะความยึดมั่นถือมั่นในพรหมจรรย์นั้น กลายเป็นตัวขัดขวางการบรรลุธรรมไปเสีย เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรม ไปถึงที่สุดแห่งธรรมได้ จึงมีำคำกล่าวไว้ว่า "จบกิจ จบพรหมจรรย์" ซึ่งเป็นลักษณะของพระอรหันต์ เพื่อให้ทราบว่่าท่านไม่ยึดมั่นถือมั่น แม้แต่เรื่องพรหมจรรย์ ว่าจะต้องมีหรือไม่ จะต้องรักษาไว้หรือไม่ ด้วยเพราะเป็นอนิจจัง
    จบภาคสาม------------------------------------------
     
  10. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    พอใจครับที่ได้ทำงานลุล่วง จนภาคสามแล้ว แต่2วัน ยังไม่ได้อัพลิ้งค์ที่ญาณทิพย์--และบล็อกแกง ยังมีบ้านโลกทิพย์ ยังรอให้ไปเขียนอยู่--คลิกได้เลย มีแต่คนไปแล้วติดใจ อิอิ (ตรงที่มีเก็งหวยมั้ง) ธรรมมะ คำสอนหลวงปู่ต่างๆก็มี อิอิ และอิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2013
  11. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    กระดูกพญานาค
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=2V6N74txhVk]บันทึกลึกลับ กระดูก...พญานาค 27 เมษา 2555 - YouTube[/ame]
     
  12. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    โลกอนาคต อยู่กันแบบไหน จากตัวอย่างหนัง อีไลเซี่ยม คลิกจอใหญ่ได้เลยครับ เป็น ไฮ-เด็ฟ
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=AvqjwTQ1Kqk]Elysium TRAILER 1 (2013) - Matt Damon Movie HD - YouTube[/ame]
     
  13. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    แปซิฟิก ริม-และหอยทาก เทอร์โบ-ไฮ-เด็ฟ อันหลังโกยเงินดี ใช้คอมพิวเตอร์แอนิเมชั่น

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Ef6vQBGqLW8]Pacific Rim Official Wondercon Trailer (2013) - Guillermo del Toro Movie HD - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=0RSLFhlEFMg"]Turbo Trailer #2 2013 Dreamworks Movie - Official [HD] - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2013
  14. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    สวัสดีครับ พบกันตามเวลา แทนที่จะไปหาดูวิวเฟซบุ๊คสาวๆ ผมกลับเลือกที่จะมาที่นี่ เพราะธรรมมะแท้ๆ หาคนโพสยากครับ---อุดมการณ์เรามี ก็หมดปัญหา ทำตามอุดมกาณ์นั้นแหละ ดีๆ---
    พบคนดี เจอโชคดี มีลาภดี มีการมีงานอาชีพทีเดีๆกันนะครับ ประเทศชาติก็จะดีๆๆ
    --แม้ว่าการเมืองจะอึมครึม แต่เศรษฐกิจยังรุ่ง อาจจะดีกว่าปีที่แล้ว ปี55ปีน้ำท่วมน่ะครับ
    ---เมืองไทยขนาดเมล็ดหมามุ่ยยังขายได้ เขาเอาไปทำยาปลุกเซ็กส์-- เพิ่มสมรรถภาพ ---ผู้ชายส่วนใหญ่ก็บ้าเรื่องเพศครับ ---เซ็ก อิน เดอะเบรน--ผู้เขียนก้อ..พ้นซะที่ไหน ถือว่าด่าตัวเองเลยครับ---สมน้ำหน้ามัน
    --ผมไปเขียนที่ บ้านโลกทิพย์แล้วละครับ ---4ที่แล้วตอนนี้ ---คิวเลยเต็ม ไม่มีเวลาไปบ้ารัก- เลิฟสตอ(เบอ)รี่-กับสาวๆ ---ก็แก่ป่านนี้ใครจะมาเอา(เรื่องจริง)
    --บล็อกแกงยังไม่ได้เขียน ถ้าตอน 2ตอน3ได้ปล่อยนะ จะเป็นครั้งแรกที่เรื่องนิพพาน จิต เจตสิกจะไปสู่คนหมู่มาก ช่วยกะัันลุเนหน่อยครับ กดไล้ๆๆ อ้ะ---ไล้ น่าจะมาจากภาษาจีนที่ว่า เทียวไล้ เทียวขือ น่ะครับ อิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2013
  15. Isreal

    Isreal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    530
    ค่าพลัง:
    +1,327
    ไม่ได้มาโพสต์เสียนานเลย จริงๆก็ไม่ได้หายไปไหนนะคะ
    เทียวไล้เทียวขื่ออยู่แถวๆนี้แหละค่ะ ^^
    คิดว่าเพื่อนๆคงจะรู้สึกถึงบางสิ่งอย่างคล้ายๆกัน
    แต่ก้อไม่รู้แน่ชัดนักว่าคืออะไรที่มันผุดๆกรุ่นๆอยู่ในใจนั้นน่ะ
    ขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆท่านนะคะ
    เรากำลังจะกลับไปสู่สิ่งที่เคยเป็นมาด้วยกันแล้วค่ะ

    catt7
     
  16. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    ไม่รู้แน่ชัดนักว่าคืออะไรที่มันผุดๆกรุ่นๆอยู่ในใจนั้นน่ะ
    --น่าจะเป็นสิ่งดีๆนะครับเจ๊--ตามดวงเมือง ใครเป็นนายกก็อยู่ยากครับตอนนี้--เว้นถ้ามีใครที่เก่งทางโหราศาสตร์--- ไสยศาสตร์ทำแก้เคล็ด ( แบบว่าบนหมุ1ตัว เอาปลายจมูก หู หาง เท้าทั้งสี่ ---นี่ไงครบ 1ตัว--เทพอึ้ง --มรึงคิดได้ไงฟ่ะ)
    --วันนี้แดดร้อนมาก ไม่รู้ว่าทนอยู่ชั้นบนได้ไง พาลกินข้าวไม่ได้ มดๆมากิน เราก็เอามันเข้าไมโครเวฟ ตายซะ555 --บาปนะนะถ้าจะคิดไป---
    ---ความจริงผู้เขียนก็นิสัยเหมือนผู้หญิง คิดเล็กคิดน้อย ใจน้อย เหมือนผู้ชายนินึงตรงที่คิดทำเพื่อส่วนรวม
    ---เมื่อไปเปิดความลับที่นึง ก็ต้องมาเปิดที่นี่ เดี๋ยวจะน้อยใจ ว่าไม่รักกันจริง เทพหนุมาณ บอกว่าผู้เขียนเป็นเพือนของเขา เพื่อนรักกัน เทพว่าผมคือลักษมัน น้องชายสุดที่รักขององค์พระราม เป็นจิตดวงเดียวกันด้วย--ปกติ เป็นคนเศร้าง่าย ซึ้งง่าย ขี้น้อยใจ ไม่ค่อยพูด-- นิสัยผู้หญิงเลยหละ ชอบอยู่ในหมู่ผู้หญิง หรือดวงมีผุ้หญิงล้อมรอบ คนให้คุณ ให้โทษ ล้วนเป็นผู้หญิง ลักณะมือ---นิ้วมือของข้าพเจ้า คือมือผู้หญิงแหละ--นิสัยพวกนี้แก้ไม่หาย--- พระรามเมื่อนางสีดาถูกลักพาไป ก็ทรงกันแสง ร้องไห้--อะไรนิดอะไรหน่อยก็ร้องไห้ นี่แหละคือคนธรรมดาแท้ๆ--เป็นผุ้ชายต้องหัดร้องไห้บ้าง ไม่แปลกนะ แต่ห้ามคนอื่นเห็นแค่นั้นแหละ--(โลกไม่รู้ กรูก็สบายๆ)
    ครั้งจะสู้กับกองทัพของยักษ์ จะไหวเหรอ ท่านก็ทรงบูชาพระนารายณ์ ก็คือตัวของท่านเองละ ด้วยว่าพระนารายณ์อาวตารมาเป็นพระราม--คนรูปงาม ผู้เป็นที่รักของคนหลายร้อยล้าน
    ---ผู้เขียนเป็นคนเก็บตัว ขี้อาย แต่เพราะชอบเล่นกีตาร์ ต้องออกงานต่หนาคนหมู่มาก
    จากขี้อายต้องกลายเป็นคนหน้าด้าน อิอิ ----คือว่าการสื่อสารมีความจำเป็นในมนุษย์น่ะ
    ---จากการที่ค้นคว้า มีความรู้เรื่องลึกลับ--กลัวว่าตายไปแล้ว มันไร้ค่า ความรู้ก็หายไปพรอมนายเจษฎาไง เราจึงต้องมาพบกัน อิอิ และอิอิ นี่คือเหตุผลทั้งหายทั้งมวล หรืออีกอย่างก็คือขะตาฟ้าลิขิต เหมือนที่คนเค้าพูดว่า(ห้ามอ่าน)(พรหมลิขิตขีดเขี่ยให้เหี้ยเดิน เหี้ยเพลิดเพลินเดินตามทางสะพรั่งไป คนแต่งคงเซงกับชะตาชีวิต--มาก)
    ความจริงพรหมลิขิตไม่ได้มี ตามทางพุทธนะครับ กรรมเป็นผู้ลิขิต และผู้สร้างกรรมก็คือตัวเรานี่เอง จาไปโทษใครอีกล่ะ--ทำเต็มก็รับเต็มๆ---ถ้าพูดทางอินเดียพรหมลิขิตอาจจะมีได้
    --เรื่องด้ายสีแดงผูกวิญญาณคู่รักเข้าด้วยกัน คนจีนเชื่อแบบนี้ คนไทยก็มี ยัยอ้วนภรรยาผมไปเห็นมาแล้ว แกยังไปไปแกะเอาคู่เคาสลับไปหมดเลย เทพผู้ดุแลว่าใครพานังเด็กคนนี้มาวะ มาทางไหนกลับไปทางนั้น แล้วท่านบรรจงถีบโครม เธอก็ลอยละลิ่วลงมา โดยยังแหกปากว่า "พ่อโว้ย ตุ๊กตามีอยู่สองตัวในมือนี่ โว้ย" สวรรค์ยังต้องป่นด้วยน้ำมือยัยอ้วน น่าตีมั้ยภรรยาผม ตอนเล่าเรื่องยังมีทีท่ามันเขี้ยวยังอยากกลับไปอีก บอกแล้ว นี่แหละ เจ้าตัวหัวโป่ หัวหน้าพวกกุมารเด็กซนๆ
    (ข้าพเจ้าไม่ได้หมายถึงว่า เป็นจิตของพระรามโปรดกลับไปอ่านดีๆ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2013
  17. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    คุณอิสรีลอย่านอนดิ้น เดี๋ยวด้ายแดงขาดละยุ่งเลย แฟนดีๆ ทนๆ(ทนนิสัยเจ๊ได้) ยิ่งหายากอยู่นะ
    เขาว่าคนเราทุกคน--ถูกปั้นด้วยดินขี้ไก่(ไก่ก็ไก่สวรรค์น่ะ) แต่มีคนนึง คือภรรยาผม เทพปั้นด่้วย สีผึ้งทิพย์ แบบที่คนเอามาทาปากกัน แต่เป็นของเบื่้องบนนะ- ผิวเนียน เนื้อนุ้่ม เกหหมือยคนไม่มีกระดูก กระซิบบอกพี่สาวๆ คนวิปัสสนายังหลงเพลิน ลูบต้นแขน ขยำอยู่นาน จนแฟนผมสงสัย

    ---หนูเอ ตอนนั้นเป็นสาวสวยเซ็กซี่ ว่า "ขอนอนกอด น้าพา นะคืนนี้ เนื้อนุ้มนุ่ม" คิดไรป่าวนี่..อิอิ
    ---เขาว่าพราหมณ์ในวัง ต้องการคนแบบนี้เอาไปนั่งในพิธี จะขลัง เขามาได้ข่าว จึงมาตามหลายครีัั้
    งที่บ้าน ซ.ทานสัมฤทธิ์ ---แต่แม่ตัวดีหนีเข้ากลีบเมฆไปหมู่บ้านท้ายซอยโน่น นกรู้ทุกที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2013
  18. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    กำลังก๊อปข้อความที่นี่ไปยังเว็ปอื่นๆครับ เนื่องด้วยถ้าผมเขียนจะไม่ค่อยซ้ำกัน แบบกลอนสด หรือพวกติ๊ดๆ อาร์ติสต์-ศิลปิน เขียนตามแรงบันดาลใจ----ถ้าเราฟังเพลงมากก็จะรู้่ได้ และวิจารณ์ได้ว่าดีไง เลวยังไง ยิ่งถ้าเราเป็นนักดนตรี--ถ้าเราอ่านมาก ก็จะเขียนหนังสือได้หลากหลาย เช่น--ท่านกฤษณมูรติ มักจะเขียนบรรยายธรรมชาติ แล้วมาที่คน และหลักปรัชญาชีวิต ท่านพุทธทาสว่า "ว่างเกินไป ไม่มีหลักการ"--ถ้ามีหลัก ก็ไม่ใช่ความว่างแล้วสิท่าน--ท่านพุทธทาสพูดเรื่องจิตว่าง มีคนเข้าใจสัก10คนไหม เมื่ิอ20ปีผ่า่นไป---- ธรรมมะที่แม้จริง ไม่มีคำอธิบาย-- ไร้รูปไร้รส ไร้เสียง ไร้กำเนิด"นอกเหตุ เหนือผล --นอกผล เหนือเหตุ(ลพ.ชา)
    ---จากการตีกันกะภรรยา(ห้ามเลียนแบบ) ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้ว่า สติ เป็นสิ่งสำคัญ ในวิถีการต่อสู้ และทำให้เรามีความเร็วในการบังคับจิตให้เป็นสมาธิ-ว่องไว-จิตเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย
    -เคยดูหนังที่ว่า (หนังจีนนะ) คนสู้ๆกันไป คนนึงเกิดบรรลุอรหันต์ อีกคนฟันอย่างไรก็ๆไม่ถูก เพราะจิตท่านนั้นจะรู้ก่อนทุกที--สติอาจจะกะเทาะเปลือกจิตให้ปัญญาได้สว่างสไว พี่สาววว่า นั่นอาจไม่ใช่บรรลุธพรรม เป็นแค่มรรค หรือสมุทัย --ญาณแบบนึง-การบรรลุนั้น ต้องมีมรรค8เป็นกำลัง รวมมาเป็น1 เรียกว่ามรรคสมังคีครับ ไม่ได้ง่ายๆแบบเราคิดกัน อุปสรรคของการหลุดพ้นมีมาก---บางทีก็มีหลุมพรางที่ตกลงไปแล้วจะไม่รอด เช่น วิปัสนูปกิเลส สำคัญว่าหลุดพ้นแล้ว เห็นเทพเทวดาได้ มีญาณหยั่งรู้ใจคน รู้ำไปหมด แต่กิเลสอยู่ครบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2013
  19. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    คนเราจะดีจะชั่วเพราะความคิด จนกลายมาเป็นการกระทำ
    --การบรรลุธรรม ไม่ได้สำเร็จเพราะความคิด แต่ต้องมี ความคิด ความอยากบรรลุก่อน
    --ความอยาก ถ้ามีมากก๋็ยิ่งไม่สำเร็จ เพราะความอยากจึงปิดกั้นทางเสียเอง(กิเสสธรรม)
    --ก็ต้องตั้งใจว่าทำเล่น ไม่หวังอะไร แ่ค่หลุดพ้น
    --ผมโทรคุยกับพี่สาว แกลึกล้ำสุดหยั่งคาด
    "อย่างที่ว่าต่อสู้กัน แล้วบรรลุอรหันต์ เป็นไปได้ไหม"
    "เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่ได้ทำตามมรรค8"
    "กุณฑาลินีศักติ ทำให้บรรลุได้ไหม"
    "ไม่บรรลุ เพราะไม่ตามมรรค8"
    "แล่้วทำให้เกิดหูทิพย์ตาทิพย์หนา"
    "มันก็บำรุงอัตตา ทำให้ตัวกูของกูมากขึ้น มีไว้หลอกฟาดเงินญาตืิโยม ไม่ใช่ทางหลุดพ้นน่ะ"
    "แล้วพี่ทำทางจิตว่าง แน่ใจเหรอว่าทางตรงและเร็วกว่าทางหืนยานที่คนทั่วไปทำกัน"
    "พี่ศึกษามาเกือบทุกสำนัก แอ๊พพลายมาจุดนี้คิดว่า เป็นทางลัดสู่นิพพาน เร็วที่สุดแล้ว"
    "มีเอกสารหรือเปล่า"
    "คนนึงบอกกว่า คนเราให้ความสำคัญกับนิพพานมากมาย แต่เป็นแค่สภาวะนึง ไม่ได้สำคัญ พี่ว่าเค้าเป็นชาวต่างดาวว่ะ"
    "แล้ว ลพ.ชา"
    "หลวงพ่อชา บอกว่า นิพพานไม่มี มีเอกสารชัดเจน"
    "ทำไมจึงบอกอย่างนั้น"
    "เพราะมีผู้ปฏิบัติ มีจุดมุ่งหมาย มีการหลุดพ้น ก็ต้องมีอัตตาก่อน มีอัตตาก็ไปนิพพานไม่ได้"
    "ทำมาแทบตายที่แท้ก็ไม่มีจุดหมายให้ไปถึง"
    ท่านผู้อ่านครับ ขนาดทหารเรือหญิงต้องพากันกอดกันร้องไห้ เมื่อวิปัสสนาความว่าง
    เพราะพบว่า ชีวิตนี้ไร้แก่นสาร ไร้ที่พึ่ง ไร้ที่ยึดเหนี่ยว โดยสิ้นเชิงด้วย ฟันธง
    ---หากจะยึดพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งล่ะ ----ทา่งมหายาน ห้ามการยึดมั่น ถึงขนาดว่า"ถ้าพบพระพุทธองค์(ในนิมิต)ให้สังหารพระพุทธองค์เสีย"
    ---ยึดพระธรรม พระธรรมคือคำสอน คือ แนวทาง หาใช่สิ่งจะยึดได้ไม่ พระสงฆ์ล่ะ พระอริยสงฆ์ท่านจะยอมให้เรายื้อจีวรเหรอ เมื่อท่านจะไปนิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2013
  20. jesdath

    jesdath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    3,209
    ค่าพลัง:
    +1,279
    ดีใจนะครับที่ขุดคุ้ยคุณอิสรีลออกมาได้(ครูไหวใจร้าย+ระเบียบรัตน์) จิตผมสังหรณ์ว่้าแกเกาะขอบจออยู่แถวนี้แหละ ต้องแหย่ๆเดี๋ยวก็โผล่

    --มีสิ่งนึง ผมคิดตั้งแต่นั่งตรงนี้จนอาบน้ำ แล้วมานั่งพิมพ์ เอ๊ะมีอะไรกับหญิงคนนี้นิ จิตมันโต้ตอบกัน จิตตอบว่า กลัวอิสรีลละสิ ทำไมต้องกลัว ก็เค้าเป็นคนมุทะลุโผงผาง อาจทำให้งานกร่อย ก็ไม่เป็นไรนี่ เค้ามีความรู้ดี ทางปรัชญาจีน--ไม่เท่านั้นสิ เค้าปฏิบัติสมาธิแบบกึ่งเต๋า กึ่งเซ็น--อาจารย์เค้าก็เก่งมากนะ
    อ้อ เธอยังกุมความลับเรื่องอดีตชาติของภรรยาผม--ซึ่งน้อยคนนักในโลกนี้ที่จะรู้น่ะ
    --ผมชอบคุณอิสรีลนะ เธอมีความเป็นอาร์ติส(อาติ๊ส ไม่ใข้ซาดิ๊ส อ่านดีๆ)ไงไม่รู้ ตัวอักษร และโลโก้ประจำตัวเธอไม่เคยเปลี่ยน เห็่นแค่ตัวหนังสือก็ยืนยันได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...