รวบรวมข้อมูลเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 28 กันยายน 2006.

  1. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    "สมาคม เทคโนโลยี ที่เหมาะสม" Appropriate Technology Association (ATA)

    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=2 width=525 border=0><TBODY><TR><TD>ความเป็นมา (Background)</TD></TR><TR><TD>..........ระหว่างปี พ.ศ. 2521 คณาจารย์ และ นิสิต คณะ วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย รวมทั้ง วิศวกร อาชีพ จำนวนหนึ่ง ซึ่งตระหนักถึงบทบาทของเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่มีต่อสังคม ได้รวมตัวกัน ก่อตั้งกลุ่ม ศึกษาค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่งานเทคโนโลยีที่เหมาะสม ภายใต้ ชื่อ "กลุ่มเทคโนโลยี เพื่อชาวบ้าน หรือ Adaptive Technology Group (ATG)" เพื่อให้ บริการ แก่ชุมชน ในรูปของการฝึกอบรม การจัดพิมพ์ เอกสาร รวมถึง การออกแบบ สร้าง เครื่องเจาะ น้ำบาดาล ถังเก็บน้ำซิเมนต์เสริมไม้ไผ่ กังหันลม เป็นต้น

    ..........จากผลงานที่ผ่านมา ได้ทำให้บุคคลในหลายวงการ รู้จัก และสนใจเข้ามาร่วมงาน กับ ATG มากขึ้น เป็นลำดับ บุคคลเหล่านี้ มีทั้งที่ เป็นวิศวกรอาชีพ นักเศรษฐศาสตร์ นักพัฒนา นักเกษตร และนักสังคม เป็นต้น กลุ่มบุคคล ดังกล่าว ได้ร่วมกัน ก่อตั้ง "ชมรม เทคโนโลย ีที่เหมาะสม" เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2524 และ ในราว กลางปี 2525 ชมรมจึงได้ จดทะเบียนจัดตั้ง เป็นองค์กรพัฒนา เอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ภายใต้ ชื่อ "สมาคม เทคโนโลยี ที่เหมาะสม" หรือ Appropriate Technology Association (ATA) ขึ้น อย่างเป็น ทางการ

    .......... ปัจจุบัน สมาชิก ของสมาคม ฯ ส่วนใหญ่ เป็นบุคลากร ที่ทำงาน อยู่ใน แวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สาขาทางสังคมศาสตร์ ทั้งในส่วนราชการ และ เอกชน สมาชิกของสมาคม ฯ มีบทบาททั้งในการบริหาร สนับสนุน งานด้าน ต่าง ๆ และ เข้าร่วม กิจกรรมที่สมาคม ฯ ดำเนินการอยู่ ในแต่ละปี ปัจจุบันสมาคม ฯ มีสมาชิก ประมาณ 300 คน กระจายอยู่ทั่วประเทศ

    ............กว่า 25 ปี ที่สมาคมฯ ดำเนินการมา เป็นช่วงเวลาที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มาอย่างรวดเร็วและหลากหลาย บทบาทของสมาคมฯ คือการจุดประกายให้คนส่วนก้าวหน้าของสังคมไทย ได้ ตระหนักคิด และไตร่ตรองถึงอนาคตของมวลมนุษย์ชาติ สมาคมฯ ได้ทำหน้าที่นี้ผ่านงานสำคัญๆ ดังนี้คือ

    การทำเกษตรผสมผสานและการดำเนินวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ซึ่งเป็นต้นแบบที่ทำให้เกิดนวัตกรรมทาง เทคโนโลยีมากมาย เช่น


    [​IMG] ระบบชลประทานขนาดเล็ก การขุดเจาะน้ำบาดาลด้วยเครื่องมือขนาดเล็ก สูบน้ำกรรเชียง การเก็บน้ำใช้ ในครัว เรือน ด้วยถังซีเมนต์เสริมไม้ไผ่ การขุดบ่อเลี้ยงปลาในนาข้าว
    [​IMG] การทำเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี การใช้สมุนไพรและต้นสะเดาควบคุมศัตรูพืช การทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสม ผสาน รวมทั้งเกษตรธรรมชาติ การทำตลาดผักปลอดสารพิษ
    [​IMG] การทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ การเกิดธุรกิจชุมชนในงานหัตถกรรมถักทอ
    [​IMG] และล่าสุดได้ริเริ่มและดำเนินการโครงการพลังงานยั่งยืนขึ้น ซึ่งการวางแผนพลังงานระดับท้องถิ่น ได้เป็น เครื่อง มือที่เป็นที่ยอมรับจากกระทรวงพลังงาน นำไปใช้ในการทำงานทั่วประเทศ

    ............ผลงานของสมาคมได้มีส่วนทำให้สังคมพลิกผันทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยี ให้มีความสอดคล้อง เหมาะสม กับสังคม วัฒนธรรมของประเทศ จนปัจจุบันคำว่า เทคโนโลยีที่เหมาะสม ถูกเรียกขาน จนเป็นที่เข้าใจของสังคม โดย ทั่วไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา http://www.ata.or.th/
     
  2. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=3 width=550 border=0><TBODY><TR><TD width=72> </TD><TD width=582>
    ............... ระบบพลังงานในอาศรม ฯ ..............................
    </TD></TR><TR><TD width=72>[​IMG]
























    </TD><TD noWrap width=600>
    ..........อาศรมพลังงาน เป็นสถาบันที่ทำกิจกรรมวิจัยพัฒนา เผยแพร่เทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงาน และเทคโนโลยี พลังงานทางเลือกของ "สมาคมเทคโนโลยี ที่เหมาะสม" มุ่งเน้นการพัฒนาวิธีการและสร้างเครื่องมือ การวาง แผนพลังงานระดับท้องถิ่น แล้วจัดทำเป็นแผนการศึกษาต่อเนื่องในการพัฒนาขีดความสามารถของผู้นำท้องถิ่น ให้มีเจตคติ ความรู้ และทักษะในการวางแผน และจัดการปัญหาพลังงาน และสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเอง รวมทั้งทำการศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี และวิศวกรรม โดย แสวงหาความร่วมมือกับสถาบันวิจัยของรัฐ เอกชน นักวิจัยอิสระ จากทั้งภายใน และต่างประเทศในการ พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยี ที่เหมาะสมที่เกี่ยวกับ พลังงานยั่งยืน

    นอกจากนี้ยังมุ่งหวังที่จะเป็นแบบอย่างของการดำรงชีวิต และการทำงานที่สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ เพื่อให้สามารถ พึ่งตนเอง และสร้างผลกระทบให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่สังคม และนิเวศน์


    [​IMG] [​IMG]
    ภารกิจของอาศรมพลังงาน

    1. สร้างและพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทางเลือก
    2. สร้างเป็นศูนย์ฝึกอบรมและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง
    3. สร้างเครือข่ายนักวิจัยและนักวิชาการที่มีความสนใจในด้านพลังงาน
    4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชนและองค์กรระหว่างประเทศ
    5. เป็นศูนย์ศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
    6. เป็นแบบอย่างของชุมชนที่พึ่งตนเองในด้านพลังงาน


    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD width=72> </TD><TD width=582>กลยุทธ์

    1. เลือกที่ตั้งในแหล่งท่องเที่ยว บริเวณใกล้อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวจะแวะเยี่ยมชม กิจกรรมของอาศรมได้

    2. มีสภาพแวดล้อมที่ เงียบสงบ สภาพอากาศเย็นสบายตลอดปี มีโครงสร้างอาคารสถานที่เป็นพื้นฐาน รองรับสำหรับสิ่งประดิษฐ์ และศูนย์ข้อมูลข่าวสาร มีสิ่งอำนวยความสะดวกพอแก่การดำรงชีพ ที่ไม่ ทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถรองรับนักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

    [​IMG] [​IMG]

    3. เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในรูปแบบกระบวนการ ที่เป็นการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และการ ศึกษาต่อเนื่อง โดยมีหลักสูตรการอบรมต่างๆ เป็นการศึกษาทั้งสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ และสังคม ภายนอก และที่สำคัญคือการพัฒนาภายในที่เป็น จิต วิญญาณของแต่ละบุคคล

    4. เน้นการสร้างผลลัพท์ที่เป็นนวตกรรม สิ่งประดิษฐ์ องค์ความรู้ และซอฟแวร์ ของระบบการพัฒนา สังคมที่ดำรงอยู่กับระบบนิเวศน์อย่างยั่งยืน


    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    5. เน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นชุมชนชนบท และคนชั้นกลางในเมือง ให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และเทคโนโลยี ซึ่งกันและกัน

    [​IMG] [​IMG]

    6. อาศรมพลังงานเป็นสาธารณสมบ้ติเชิงภูมิปัญญาของสังคม เป็นสถาบันที่สามารถโน้มน้าวสังคมและ บุคคลให้เกิด ฉันทะ สัมมาทิฐิ เกิดการเสียสละ มีส่วนร่วมในการระดม และสนับสนุนทรัพยากรทุกประ เภท เพื่อให้อาศรมสามารถดำรงอยู่ และทำประโยชน์กลับสู่สังคมต่อไป
    </TD></TR><TR><TD width=72>
    </TD><TD width=582> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=3 width=560 border=0><TBODY><TR><TD width=6> </TD><TD width=536>
    [FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif][FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif][FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif][FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif][​IMG] [SIZE=3][COLOR=#0000ff][B][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][COLOR=#ff6600][SIZE=4] [COLOR=darkred]ไบโอดีเซล (ฺBio diesel)[/COLOR][/SIZE][/COLOR][/B][/COLOR][/SIZE][COLOR=#0000ff][B][/B][/COLOR] [FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif][B][SIZE=3][COLOR=#0000ff][B][COLOR=#ff6600][IMG]http://www.ata.or.th/projects/ashram/images/square.gif[/IMG][/COLOR][/B][/COLOR][/SIZE][/B][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD width=6> </TD><TD width=536>
    </TD></TR><TR><TD width=6> </TD><TD width=536>
    ผู้ดูแลโครงการ : สุทัศนา กำเนิดทอง และเชาวรัช ทองแก้ว
    คือน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตมาจากน้ำมันพืช หรือไขมันสัตว์ โดยผ่านขบวนการที่ทำให้โมเลกุลเล็กลง ให้อยู่ในรูปของ เอทิลเอสเตอร์ (Ethyl Esters) หรือเมทิลเอสเตอร์ (Methyl Esters)ซึ่งมีคุณสมบัติ ใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล มาก สามารถใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลได้โดยตร


    ปฎิกิริยาเคมี เป็นดังนี้

    น้ำมันพืช + เมทานอล (Methanol ) หรือ เอทานอล (Ethanol)
    |
    เมทิลเอสเตอร์ (Methyl Eaters) หรือ เอทิลเอสเตอร์ (Ethyl Esters) + กลีเซอรีน

    วิธีการผลิตไบโอดีเซล (Bio diesel) จากน้ำมันพืชใช้แล้ว

    + สารตั้งต้น +

    1. น้ำมันมรกต (จากปาล์ม)
    2. โปเตสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) 1 % (กรัม : มิลลิลิตร)
    3. เมทานอล (Methanol) หรือ เอทานอล (Ethanol) 25 %

    + ขั้นตอน +

    1. นำน้ำมันพืชที่ทำจากปาล์มมาจำนวนหนึ่ง
    2. ชั่งสารโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) 1 % โดยน้ำหนัก ต่อปริมาตรของน้ำมันพืช (g/ml)
    3. ตวงเมทานอลจำนวน 25% ของน้ำมันพืช แล้วผสมโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน
    4. อุ่นน้ำมันพืช ที่เตรียมไว้ให้ได้อุณหภูมิ 45-55 C ใช้เวลานานประมาณ 20 นาที ถึง 1 ชม. ขึ้นกับปริมาณ
    5. เทสารละลายโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ กับเมทานอล ลงในน้ำมันพืชที่อุ่น คนเข้ากัน
    6. ยกส่วนผสม ลงจากเตา ตั้งทิ้งไว้ จะเกิดการแยกชั้นระหว่าง เมทิลเอสเตอร์ กับ กลีเซอรีน
    7. แยกน้ำมันไบโอดีเซล (เมทิลเอสเตอร์) ส่วนบนออกจากกลีเซอรีนด้านล่าง ถ้าต้องการเลี่ยงปฎิกิริยาการเกิด สบู่ขึ้น ให้เติมกรด เช่น กรดเกลือ (HCI) ลงไปที่สัดส่วนโมลเท่ากัน แล้วผ่านกระบวนการล้าง เพื่อกำจัด แอลกอฮอล์ และโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ ที่ตกค้าง (ห้ามเทน้ำอย่างแรง หากไม่เติมกรดก่อน เนื่องจากจะ ทำให้เกิดสบู่ขึ้นได้)
    8.นำไปเติมแทน หรือผสมน้ำมันดีเซลในรถกระบะ หรือเครื่องยนต์การเกษตร เครื่องยนต์เรือได้ดี


    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD width=6> </TD><TD width=536>
    [FONT=Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=3 width=565 border=0><TBODY><TR><TD width=6> </TD><TD width=516>
    [​IMG] [COLOR=#0000ff][B][COLOR=#ff6600] [/COLOR][SIZE=2][COLOR=#666666][B][SIZE=2][COLOR=#666666][SIZE=3][COLOR=#0000ff][B][COLOR=#ff6600]BIOMASS Gasification Power Plant[/COLOR][/B][/COLOR][/SIZE][/COLOR][/SIZE][/B][/COLOR][/SIZE][/B][/COLOR] [SIZE=3][COLOR=#0000ff][B][COLOR=#ff6600][IMG]http://www.ata.or.th/projects/ashram/images/square.gif[/IMG][/COLOR][/B][/COLOR][/SIZE]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=3 cellPadding=2 width=565 border=0><TBODY><TR><TD width=10> </TD><TD width=538 colSpan=2>

    ผู้ดูแลโครงการ : นายเที่ยงทน คำภิเดช

    ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยชีวมวล (ฟืน และถ่านไม้)

    เทคโนโลยีที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดใน การผลิตไฟฟ้าด้วยชีวมวล นั้นคือ ระบบการเผาไหม้โดยตรง (Direct-Fired) คือ การนำชีวมวล เช่น แกลบ หรือเศษไม้มาใช้เป็นเชื้อเพลิง เพื่อเผาไหม้ในหม้อไอน้ำ (Boiler) และถ่ายเทความร้อนให้ หม้อไอน้ำ จนกลายเป็นไอน้ำที่ร้อนจัด และมีความดันสูง ซึ่งไอน้ำจะไปปั่น กังหัน หรือเครื่องจักรไอน้ำที่ต่ออยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าออกมา หรือเรียกอีกอย่างว่า ระบบผลิตไฟฟ้าพลังความร้อน ส่วนใหญ่ใช้ในโรง สีข้าว โรงเลื่อยจักร โรงน้ำตาล และการอบแห้ง ผลิต ผล ทางการเกษตร และอบไม้ เป็นต้น ซึ่งจุดที่จะคุ้มกับการดำเนินการ ขนาดโรงไฟฟ้าไม่ควรต่ำกว่า 5 เมกะ วัตต์ สำหรับระบบนี้

    [​IMG]


    เทคโนโลยี แก๊สซิฟิเคชั่น (Gasification) ซึ่งเป็นระบบการเผาไหม้ใน เครื่องแก๊สซิไฟเออร์ (Gasifier) โดยควบคุมอากาศไหลเข้าในปริมาณจำกัด ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จะได้ก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไฮโดรเจน (H2) เป็นหลัก และเกิดมีเทน (CH2) เล็กน้อย แก๊สที่เกิดขึ้น สามารถ นำไปให้ความร้อนโดยตรง หรือนำไป เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน เพื่อผลิตไฟฟ้าประสิทธิ ภาพการผลิตไฟฟ้าของระบบนี้ มีความหลาก หลายอยู่ระหว่าง 20 -30 % ขึ้นกับเทคโนโลยีการออกแบบ และ ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่นำมาใช้


    ข้อเด่น/ ข้อด้อย
    ระบบแก๊สซิฟิเคชั่น เหมาะกับการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ไม่เกิน 1 เมกกะวัตต์ ข้อด้อยมีประการเดียว คือมีน้ำมัน ดิน (TAR) ผสมในก๊าซ เป็นสาเหตุที่เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น ไม่เป็นที่แพร่หลายเนื่องจากประสบปัญหาเกี่ยว กับการทำ ความสะอาดน้ำมันดิบในก๊าซที่ผลิตได้ ทำให้ไม่เป็นที่นิยมนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าและหยุดการพัฒนาไป

    ดังนั้น หากจะนำไปใช้ต้องหาทางกำจัด หรือทำให้น้อยลง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับเครื่องยนต์ชีวมวลที่เหมาะ สมจะนำ เป็นเชื้อเพลิง เช่น แกลบ เศษไม้ที่ย่อยแล้ว กะลาปาล์ม และชานอ้อย เป็นต้น ต้องมีขนาดที่พอเหมาะ ความชื้นไม่ควร เกิน 50% หากเล็กเกินไป จะทำให้อากาศไหลผ่านไม่ได้ หรือหากใหญ่เกินไปจะเกิดการเผา ไหม้เชื้อเพลิงไม่หมด

    ระบบการผลิตกระแสไฟฟ้า ชีวมวลที่อาศรมพลังงาน (มีรูป)

    [​IMG]
    โดยนำเทคโนโลยี แก๊สซิฟิเคชั่น มาผลิตแก๊สเป็นเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน เพื่อผลิตไฟฟ้า โดยใช้ เตา ผลิตแก๊ซชนิด ลมล่าง ( Downdraft Gasification)

    ข้อเด่นของเตาชนิดนี้ คือออกแบบมาเพื่อขจัดน้ำมันดินโดยเฉพาะ อากาศจะเข้าทางด้านล่างของเตาถ่าน กลุ่ม หัวฉีด ( Tuyers) ห้าหัว บริเวณโซนเผาไหม้แก๊ซบางส่วน จะไหลขึ้นบน ผ่านโซนผลิตถ่าน ไปยังโซนไล่ ความชื้น ขณะเดียวกัน แก๊ซอีกส่วนจะไหลลงด้านล่าง และผ่านชั้นของคาร์บอนที่ร้อนในโซนปฎิกิริยา ก่อเกิด แก๊สแล้ว ไหลผ่านผนังเข้าท่อไป สู่ขบวนการขจัดฝุ่นน้ำมันดินลดอุณหภูมิแล้ว เข้าสู่เครื่องยนต์ในท่อไอดีของ เครื่องยนต์ เครื่องยนต์ทำหน้าที่หมุน แกนของมอเตอร์ ให้ตัดกับขดลวดเหนี่ยวนำเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นมา


    ปฎิกิริยาเคมีทางความร้อนของการเกิดแก๊สชีวมวล


    [​IMG]
    ในกระบวนการเกิดแก๊สชีวมวลภายในเตาเผา สามารถแบ่งโซนการเกิดแก๊สตามปฎิกิริยาทาง เคมี และความแตกต่างของอุณหภูมิ ได้เป็น 4 โซน ดังนี้

    1. โซนการเผาไหม้ ( Combustion or Oxidation Zone)
    2. โซนปฎิกิริยาก่อเกิดแก๊ส ( Reduction Zone)
    3. โซนผลิตถ่าน ( Pyrolysis or Distillation Zone)
    4. โซนไล่ความชื้น (Drying Zone)

    [​IMG]

    ราคาระบบ

    เครื่องยนต์ ......................... 30,000 บาท
    แก๊สซิไฟเออร์ ......................300,000 บาท
    มอเตอร์ ............................. 30,000 บาท
    ชุดควบคุม ......................... 40,000 บาท

    รวมราคาโดยประมาณ ........ 400,000 บาท


    บทสรุปส่งท้าย

    จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการผลิตพลังงานจากชีวมวล ซึ่งสามารถนำไป ใช้ได้ ทั้งในรูปของพลังงานความร้อนและกระแสไฟฟ้าทางอาศรมพลังงาน นำเสนอภาพการผลิตถ่านไม้ ประสิทธิภาพสูง แล้วนำถ่านไม้ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในระบบผลิตแก๊ส เพื่อนำไปใช้ร่วมกับน้ำมันไบโอดีเซล ที่ ผลิตได้เอง เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในอาศรม พลังงานเพื่อให้สังคมได้เห็นภาพชุมชนที่พึ่งพาพลังงานภาย ใน ชุมชนมากขึ้น


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    ท่าทางบ้านประหยัดพลังงานจะไม่รอด mega storm ค่ะ
     
  6. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=3 width=560 border=0><TBODY><TR><TD width=9> </TD><TD width=513>
    [​IMG] เครื่องทำน้ำร้อนพลังแดด (Solar Water Heater) [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width=9> </TD><TD width=513> </TD></TR><TR><TD width=9> </TD><TD width=513>
    ผู้ดูแลโครงการ : นายกิจบัญชา ฉายแสง และสุชน ทรัพย์สิงห์

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]


    เป็นชุดอุปกรณ์ ที่ใช้ประโยชน์จากการดึงความร้อน ออกจากแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ ชนิดด้วยแผงรับ ความร้อน ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงแผงรับความร้อนชนิดแผ่นระนาบความร้อนที่ได้ จะช่วยทำให้มีอุณหภูมิสูง ขึ้น และสามารถนำไปใช้ใน กิจกรรมต่างๆ ได้ เช่น ใช้น้ำร้อนที่ได้ไปชะไขมัน ของจานชามแทนการใช้น้ำยา เคมีล้างจานต้มสกัดสมุนไพร สารกำจัดศัตรูพืชนำไปทดแทนเครื่องทำน้ำอุ่น สำหรับอาบที่ใช้พลังงานไฟฟ้า

    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]

    เครื่องทำน้ำร้อนพลังแดด ชนิดไหลเวียนน้ำตามธรรมชาตินั้น ถังเก็บน้ำร้อนต้องอยู่สูงกว่าแผงรับแสงอาทิตย์ โดยน้ำ จากก้นถัง ซึ่งเป็นน้ำเย็นจะไหลเข้าแผงรับแสงอาทิตย์ทางด้านล่าง เพื่อไปรับความร้อนจากท่อทอง แดงที่แผงรับแสงอาทิตย์

    การแทนที่ของน้ำเย็นจากก้นถัง จะทำให้น้ำร้อนขึ้น ความหนาแน่นลดลง น้ำจึงลอยขึ้น จากนั้นจะไหลเข้าถัง เก็บน้ำร้อนทางด้านบน เมื่อไม่มีการใช้น้ำร้อน น้ำที่ร้อนกว่าที่ไหลขึ้นมาจากแผงรับ แสงอาทิตย์ จะแทนที่น้ำ ด้านบนของถัง น้ำด้านบนของถัง ก็ไหลลงก้นถัง แล้วไหลลงด้านล่างของแผงรับแสงอาทิตย์ต่อไป น้ำเย็นจาก แหล่งน้ำจะไหลเข้าทางด้านล่างถัง น้ำร้อนที่จะถูกนำออกใช้ จะดึง จากด้านบนของถังเก็บน้ำร้อน

    ถ้าเราเปรียบเทียบกับการนำพลังงานประเภทอื่นๆ มาใช้ในการผลิตน้ำร้อน เพื่อให้ได้น้ำร้อน ที่มีอุณหภูมิ ประมาณ 40 -70 องศาเซลเซียส ปริมาตร 150 ลิตร จะต้องใช้พลังงาน ประเภท ต่างๆ ดังนี้

    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=2 width=465 border=0><TBODY><TR bgColor=#ff6666><TD width=100>
    ประเภทพลังงาน
    </TD><TD width=214>
    ปริมาณที่ใช้ต่อปีในการผลิตน้ำร้อน
    </TD><TD width=123>
    คิดเป็นมูลค่าเงิน
    </TD></TR><TR><TD width=100 bgColor=#ffffcc>
    พลังแดด
    </TD><TD width=214 bgColor=#ccffcc>
    2,448 กิโลวัตต์ชั่วโมง / ปี
    </TD><TD width=123 bgColor=#ffffcc>
    ฟรี
    </TD></TR><TR><TD width=100 bgColor=#ffffcc>
    แก๊สหุงต้ม
    </TD><TD width=214 bgColor=#ccffcc>
    75 กิโลกรัม / ปี (กก.ละ13 บาท)
    </TD><TD width=123 bgColor=#ffffcc>
    1,000 บาท
    </TD></TR><TR><TD width=100 bgColor=#ffffcc>
    น้ำมันเบนซิน
    </TD><TD width=214 bgColor=#ccffcc>
    280 ลิตร / ปี (ลิตรละ 17 บาท)
    </TD><TD width=123 bgColor=#ffffcc>
    4,760 บาท
    </TD></TR><TR><TD width=100 bgColor=#ffffcc>
    ไฟฟ้า
    </TD><TD width=214 bgColor=#ccffcc>
    2,448 หน่วย/ปี ( หน่วยละ 2.23 บาท)
    </TD><TD width=123 bgColor=#ffffcc>
    5,459 บาท
    </TD></TR><TR><TD width=100 bgColor=#ffffcc>
    ไม้
    </TD><TD width=214 bgColor=#ccffcc>
    540 กิโลกรัม/ปี (กก. ละ 0.30 บาท )
    </TD><TD width=123 bgColor=#ffffcc>
    146 บาท
    </TD></TR><TR><TD width=100 bgColor=#ffffcc>
    ถ่าน
    </TD><TD width=214 bgColor=#ccffcc>
    305 กิโลกรัม/ปี (กก.ละ 5 บาท)
    </TD><TD width=123 bgColor=#ffffcc>
    1,525 บาท
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=3 width=540 border=0><TBODY><TR><TD></TD><TD>

    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]






    </TD><TD>
    กลยุทธ์สำหรับอาศรมพลังงาน

    1. เลือกที่ตั้งในแหล่งท่องเที่ยว บริเวณใกล้อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวจะแวะเยี่ยมชม กิจกรรมของอาศรมได้

    2. มีสภาพแวดล้อมที่ เงียบสงบ สภาพอากาศเย็นสบายตลอดปี มีโครงสร้างอาคารสถานที่เป็นพื้นฐานรองรับ สำหรับสิ่งประดิษฐ์ และศูนย์ข้อมูลข่าวสาร มีสิ่งอำนวยความสะดวกพอแก่การดำรงชีพ ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถรองรับนักศึกษา นักวิจัย และผู้สนใจจากทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ

    3. เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในรูปแบบกระบวนการ ที่เป็นการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และการศึกษาต่อเนื่อง โดยมีหลักสูตรการอบรมต่างๆ เป็นการศึกษาทั้งสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ และสังคมภายนอก และที่สำคัญคือ การพัฒนาภายในที่เป็น จิต วิญญาณของแต่ละบุคคล

    4. เน้นการสร้างผลลัพท์ที่เป็นนวตกรรม สิ่งประดิษฐ์ องค์ความรู้ และซอฟแวร์ ของระบบการพัฒนาสังคมที่ดำรงอยู่กับระบบนิเวศน์อย่างยั่งยืน

    5. เน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นชุมชนชนบท และคนชั้นกลางในเมือง ให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และเทคโนโลยี ซึ่งกันและกัน

    6. อาศรมพลังงาน เป็นสาธารณสมบ้ติเชิงภูมิปัญญาของสังคม เป็นสถาบันที่สามารถโน้มน้าวสังคม และบุคคลให้เกิด ฉันทะ สัมมาทิฐิ เกิดการเสียสละ มีส่วนร่วมในการระดม และสนับสนุนทรัพยากรทุกประเภท เพื่อให้อาศรมสามารถดำรงอยู่ และทำประโยชน์กลับสู่สังคมต่อไป

    </TD></TR><TR><TD></TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR><TD></TD><TD>[​IMG] [​IMG]</TD></TR><TR><TD></TD><TD>เทคโนโลยีพลังงาน



    อาศรมพลังงาน ให้ความสำคัญ ต่อเทคโนโลยีพลังงานต่อไปนี้ คือ
    - การวางแผนพลังงานระดับท้องถิ่น
    - น้ำร้อนพลังแดด มีการผลิตจำหน่ายแผงน้ำร้อน 3 แบบ
    - โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงแกลบ โดยใช้ต้นกำลังเป็นเครื่องจักรไอน้ำ ขนาดกำลังการผลิตต่ำกว่า 1 เมกกะวัตต์
    - เชื้อเพลิงชีวมวล เช่น การพัฒนาน้ำมันพืช และไบโอดีเซล การพัฒนาการเผาถ่านให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ การอนุรักษ์ทรัพยากรไม้ และการเกษตรอินทรีย์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2008
  8. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=3 width=560 border=0><TBODY><TR><TD width=8> </TD><TD width=511>
    [​IMG] [COLOR=darkred]เตาอิวาเอะ[/COLOR] [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width=8> </TD><TD width=511>

    ผู้ดูแลโครงการ : จิระศักดิ์ ผุยมูลตรี กับ สุชาดา อินทะศรี


    เป็นเตาเผาถ่านประเภทหนึ่ง มีต้นแบบมาจากเมือง อิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น เตานี้มีโครงสร้างถาวร สร้าง ได้โดย ใช้ดินเหนียวเผา ที่หาได้ในท้องถิ่น สามารถผลิตถ่านคุณภาพสูงได้ดีเยี่ยม และมีข้อได้เปรียบใน เรื่องของ การควบคุมอากาศ และควบคุมขบวนการที่ทำให้ไม้ กลายเป็นถ่าน หรือที่เรียกว่า "กระบวนคาร์ บอนไนเซชั่น" (Carbonization) ได้ดีกว่าเตาถ่านประเภทอื่นๆ

    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG]
    การลงทุน อยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับผลผลิตที่ได้ นอกจากนี้ ยังมีผลพลอยได้จากกระบวนการเผาถ่าน คือ "น้ำส้มควันไม้ หรือ Wood Vinegar" ที่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ใน เกษตรกรรมธรรมชาติ ได้อีกด้วย


    ข้อมูลทั่วไปของเตา อิวาเตะ
    <TABLE borderColor=#99cc00 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=475 align=center border=1><TBODY><TR><TD width=121 bgColor=#ccffcc>
    ประสิทธิภาพ ของเตา
    </TD><TD width=312 bgColor=#ccff99>ใช้ถ่าน 25-30 % โดยน้ำหนักไม้ที่ไม่แห้งสนิท (ไม้หมาดๆ)
    หรือ น้ำหนักไม้ฟืนก่อนเข้าเตา+ไม้หน้าเตารวม 100 กิโลกรัม
    จะได้ถ่าน 25 - 30 กิโลกรัม
    </TD></TR><TR><TD width=121 bgColor=#ccffcc>
    อายุการใช้งาน
    </TD><TD width=312 bgColor=#ccff99>10 ปี</TD></TR><TR><TD width=121 bgColor=#ccffcc>
    การลงทุน
    </TD><TD width=312 bgColor=#ccff99>ตัวเตา 20,000 บาท
    โรงเรือน และปล่องควัน 20,000 บาท
    รวม 40,000 บาท (ไม่รวมค่าแรง)
    </TD></TR><TR><TD width=121 bgColor=#ccffcc>
    ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้
    </TD><TD width=312 bgColor=#ccff99>5 % ของน้ำหนักไม้ฟืนที่ใส่ในเตา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ลักษณะเด่นของเตาอิวาเตะ

    1. ผลผลิตถ่านมาก เป็นขี้เถ้าน้อย
    2. สามารถเผาถ่านได้ทีละมากๆ เหมาะกับการเผาถ่านเพื่อการค้า ( ไม่เหมาะกับการใช้ในครัวเรือน )
    3. ได้ถ่านที่ให้ค่าความร้อนสูง มีสารก่อมะเร็งต่ำ
    4. ถ่านที่ได้ สามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ อื่นๆ ได้
    5. ใช้เชื้อเพลิง ( ฟืนหน้าเตา) ในการเผาถ่าน น้อยกว่าเตาชนิดอื่นๆ
    6. สามารถควบคุมการเผาไหม้ได้
    7. เก็บน้ำส้มควันไม้ ที่มีคุณภาพได้ปริมาณมากกว่าเตาชนิดอื่นๆ
    8. มีฉนวนกันความร้อน อย่างหนา ป้องกันการสูญเสียความร้อนได้
    9. ลดการตัดไม้ เนื่องจากเตามีประสิทธิภาพสูง
    10. การนำถ่านที่ได้ไปใช้ เป็นเชื้อเพลิง หากใช้รวมกับเตาถ่านหุงต้มประสิทธิภาพสูง
    จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการใช้งานของถ่านมากขึ้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2008
  9. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=3 width=565 border=0><TBODY><TR><TD width=8> </TD><TD width=531>
    [​IMG] เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width=8> </TD><TD width=531>

    ผู้ดูแลโครงการ : จิระศักดิ์ ผุยมูลตรี กับ สุชาดา อินทะศรี


    [​IMG] [​IMG]

    คือ เตาที่ใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิง ที่ได้รับการปรับปรุงให้สามารถใช้พลังงานจากเชื้อเพลิง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประหยัดเชื้อเพลิง ได้มากกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับเตาหุงต้มที่ผลิตจำหน่ายในท้องตลาดทั่ว ไปโดยมีคุณสมบัติเด่นจำเพาะ ดังนี้
    - ออกแบบถูกต้องตามหลักวิชาการ
    - น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก
    - ใช้วัสดุคุณภาพดี ทำให้แข็งแรงทนทาน
    - จุดติดไฟเร็ว เปลวไฟแรง ให้ความร้อนสูง ไม่ต้องพัดช่วย
    - เผาไหม้สมบูรณ์ปราศจากควันพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้
    - ใช้กับหม้อหุงต้มได้ 9 ขนาด ตั้งแต่เบอร์ 16-32 วางบนเตาได้ทุกขนาด

    เตาเศรษฐกิจ

    [​IMG]

    เป็นเทคโนโลยีเตาหุงต้มประเภทหนึ่งที่นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเผาไหม้เป็นเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิ ภาพสูง โดยเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของพลังงานความร้อน ซึ่งจะช่วยในการประหยัดพลังงาน และใช้ทรัพยากร ให้มีประโยชน์สูงสุดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้ ได้แก่ แกลบ ชานอ้อย ซังข้าวโพด ลำต้นมันสำปะหลัง กาบมะพร้าว กะลามะพร้าว ทะลายปาล์ม เยื่อใยปาล์ม ลำต้นถั่วลิสง และอื่นๆ ที่มีอยู่มากมายในภาคเกษตร กรรม

    [​IMG]

    เตาเศรษฐกิจทำงานอย่างไร


    เริ่มจากการจุดเตาในห้องเผาไหม้ แล้วใส่เชื้อเพลิงลงไปในช่องเติมเชื้อเพลิง ซึ่งมีตะแกรงวางเอียงลาด กับ ความยาวของตัวเตา รองรับอยู่ และตะแกรงสามารถปรับขยับขึ้นลงได้ เพื่อป้อนอัตราการไหลของเชื้อเพลิง ได้ตามความต้องการ ขยับตะแกรงให้เชื้อเพลิงไหลลงไปในห้องเผาไหม้ เกิดการเผาไหม้ระหว่างเชื้อเพลิง ผสมกับ อากาศอย่างต่อเนื่อง พลังงานในรูปความร้อนที่จะได้ จะถูกส่งผ่านไปยัง ภาชนะหุงต้ม ส่วนเขม่า ควันจะไหลออกไปตามปล่องควัน

    ลักษณะทั่วไปของเตาเศรษฐกิจ
    เชื้อเพลิงที่ใช้ -------> ฟืน แกลบ ซังข้าวโพด ชานอ้อย ขี้เลื่อย ของเหลือใช้ทางเกษตร
    ประสิทธิภาพในการทำ งาน -------> 30 %
    อายุการใช้งาน ------> 2 - 4 ปี
    การลงทุน -----------> 300 - 800 บาท ไม่รวมท่อดูดอากาศ


    เตาเศรษฐกิจ ดีอย่างไร
    1. ประหยัดเงินในการซื้อเชื้อเพลิงหุงต้มอาหาร
    2. ประหยัดเวลา และแรงงานในการประกอบอาหาร
    3. บริเวณประกอบอาหาร สะอาดปราศจากควัน และเขม่า
    4. ให้ความร้อนสูง
    5. จุดไฟง่าย และสะดวก

    ข้อจำกัดของ เตาเศรษฐกิจ
    1. ต้องฉาบฉนวนด้านในทุกปี เพื่อยืดอายุการใช้งาน
    2. ผู้ใช้งาน ต้องทำการป้อนเชื้อเพลิงเข้าเดา อย่างสม่ำเสมอ
    3. เตามีน้ำหนักมาก ไม่เหมาะกับการขนย้ายไปมา
    4. การป้อนเชื้อเพลิงที่มากเกินไป อาจเกิดการลุกติดไฟที่รุนแรง
    5. เหมาะกับกลุ่มอาชีพมากกว่า การใช้ตามบ้านเรือน

    </TD></TR><TR><TD width=8> </TD><TD width=531>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=3 width=560 border=0><TBODY><TR><TD width=15> </TD><TD width=524>
    [​IMG] เตาเผาถ่าน 200 ลิตร [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width=15> </TD><TD width=524>

    ผู้ดูแลโครงการ : จิระศักดิ์ ผุยมูลตรี กับ สุชาดา อินทะศรี

    [​IMG] [​IMG]

    เป็นเตาเผาถ่านที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเตาเผาถ่านแบบดั้งเดิม ประมาณ 1.2 -1.5 เท่า โดยใช้ถังขนาด 200 ลิตร เป็นตัวเตา เตาประเภทนี้อาศัยความร้อนไล่ความชื้นในเนื้อไม้ที่อยู่ในเตา ทำให้กลายเป็นถ่าน หรือ ที่เรียกกันว่า " กระบวนคาร์บอนไนเซซั่น ( Carbonization) " นอกจากนี้เตายังมีโครง สร้างที่มีลักษณะปิด ทำให้สามารถควบ คุมอากาศได้ จึงไม่มีการลุกติดไฟของเนื้อไม้ ผลผลิตที่ได้จึงเป็น ถ่านที่มีคุณภาพ มีสารก่อ มะเร็งต่ำ ขี้เถ้าน้อย และผลพลอยได้จากกระบวนการเผาถ่านอีกอย่างหนึ่ง คือ " น้ำส้มควันไม้ หรือ Wood Vinegar" ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน ์ในการเกษตรกรรมธรรมชาติ ได้ด้วย

    [​IMG] [​IMG]

    ลักษณะเด่นของเตาเผาถ่าน 200 ลิตร

    1. ด้านวัตถุดิบ และอุปกรณ์
    - ไม้ที่นำมาเผาถ่าน และเชื้อเพลิงหน้าเตาหาได้ง่าย
    - สามารถใช้ไม้ที่มีขนาดเล็กที่เกิดจากการตัดแต่งกิ่งไม้ได้ ช่วบลดการตัดต้นไม้ขนาดใหญ่
    - ใช้เชื้อเพลิงในการเผาถ่านน้อย
    - อุปกรณ์ประกอบเตา หาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องก่อสร้างทั่วไป
    - ตัวเตาดูแลรักษาง่าย อายุการใช้งานนาน

    2. ด้านกรรมวิธีการผลิต
    - ใช้เวลาในการเผาถ่านสั้น (ภายใน 1 วัน) สามารถใช้แรงงานคนเดียวในการเผา
    - ควลคุมอากาศในการเผาไหม้ได้ตามต้องการ
    - การเผาถ่าน เกิดเป็นขี้เถ้าน้อย

    3. ด้านผลผลิต
    - ได้ถ่านมีคุณภาพสูง ดีต่อสุขภาพ เพราะถ่านที่ได้มีปริมาณน้ำมันดิน (ทาร์)น้อย
    - ได้ปริมาณผลผลิตถ่าน (ประมาณ 20-22 %)
    - ได้ผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากถ่าน คือ น้ำส้มควันไม้

    4. ด้านการลงทุน

    - ลงทุนน้อย (ไม่เกิน 500 บาท) เหมาะกับการใช้งานในครัวเรือน

    </TD></TR><TR><TD width=15> </TD><TD width=524>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=3 width=560 border=0><TBODY><TR><TD width=6> </TD><TD width=536>
    [​IMG] อาคารประหยัดพลังงาน [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD width=6> </TD><TD width=536>

    ผู้ดูแลโครงการ :
    นายจิรศักดิ์ ผุยมูลตร
    หลักการ และเหตุผล :
    เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง และมีแนวโน้มการใช้พลังงานกับอาคารมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต เช่น การทำความเย็น การทำความร้อน การให้แสงสว่าง การขนส่งในอาคาร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ล้วนต้องใช้ พลังงานทั้งสิ้น

    [​IMG]

    นอกจากนี้ วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง และตกแต่งอาคาร เป็นสิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการผลิตเช่นกัน ยิ่งวัสดุ มีขั้นตอนการผลิตซับซ้อนมากเท่าใด ยิ่งต้องใช้พลังงานมากขึ้นเท่านั้น


    วิธีการติดตั้ง ก็ต้องใช้อุปกรณ์และพลังงานมากขึ้นด้วย พลังงานที่ใช้กับอาคารทั้งทางตรง และทางอ้อม ส่วนใหญ่ยังคงเป็นพลังงานประเภท ฟอสซิล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ปล่อยก๊าสเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ อาคารต่างๆ ที่เราใช้อยู่ จึง มีส่วนสำคัญในการใช้พลังงาน และสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่นกัน ใน ขณะที่ปัจจุบัน การสร้างอาคารทั่วไป และการเลือกใช้วัสดุส่วนใหญ่จะคำนึงถึงเรื่องความสวยงาม เป็นหลัก

    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อใช้เป็นห้องสมุดของอาคารอาศรมพลังงาน
    2. เพื่อให้เป็นอาคารตัวอย่างที่แสดงแนวคิด และเทคโนโลยีต่างๆ ด้าน Sustainable Building
    3. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้าน Sustainable Building

    เทคนิคที่นำมาใช้ในการออกแบบ

    1. การนำระบบธรรมชาติ (Passive/ nature-driven technology) มาใช้ประกอบ การออกแบบ
    1.1 การกำหนดทิศทาง และตำแหน่งของตัวอาคาร ( Building orientation) ให้ถูกต้องกับทิศทาง
    โคจรของดวงอาทิตย์ และลม เพื่อให้อาคารโดนแสงแดดน้อย และรับลมได้เต็มที่
    1.2 การสร้างสภาพภูมิอากาศบริเวณอาคาร (Micro-climate) ให้เย็นด้วยการจัดภูมิสถาปัตย์
    การปลูกต้นไม้ ทรงสูง ในบริเวณที่ต้องการให้ร่มเงา และลมสามารถพัดผ่านใต้พุ่มใบได้
    1.3 ป้องกันความชื้นจากดินในส่วนเก็บหนังสือ โดยการยกพื้นอาคารสูงขึ้น ให้มีอากาศระบายใต้ถุนอาคาร
    1.4 การนำแสงธรรมชาติ (Day lighting) มาใช้ โดยการออกแบบให้สามารถใช้แสงธรรมชาติได้
    ในเกือบทุก ส่วนของอาคาร
    1.5 การรักษาสภาพอุณหภูมิ ภายในอาคารให้อยู่ในสภาวะสบาย (Comfort Zone)

    + การออกแบบให้ลมผ่านสะดวก ( Cross Ventilation)


    [​IMG]

    + การระบายอากาศทางปล่อง ( Stack Venitilation)


    [​IMG]

    + การใช้ก้อนหินกักเก็บอากาศเย็น ( Mass Cooling Storage) มาใช้ในเวลากลางวัน

    [​IMG]

    2. การใช้วัสดุ
    - ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการนำวัสดุที่มีอยู่กลับมาใช้เพื่อไม่ต้อง ซื้อวัสดุสำหรับก่อสร้าง ใหม่ เป็นการรักษาทรัพยากร ลดการสร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงานในการผลิตวัสดุ (Embodied Energy)
    - ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly Material) และลดการใช้พลังงานในอาคาร การใช้วัสดุ และฉนวนป้องกันความร้อน (Thermal Envelope) ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่เปลือกอาคาร เพื่อ ป้องกัน หรือลดความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่ภายในอาคาร


    ข้อจำกัดของอาคาร
    1.การป้องกันความชื้น จากอากาศภายนอก เนื่องจาก อาคารเป็นระบบเปิด จึงสามารถป้องกันความชื้น จาก อากาศภายนอกได้ยาก
    2. การออกแบบไม่ได้ป้องกันแสงแดด ให้กับอาคารด้านทิศตะวันออก ซึ่งจะทำให้มีแสงแดด เข้าไปในอาคาร ด้านนี้
    3. อาคารนี้ยังไม่ได้ออกแบบด้านคุณภาพของแสง และการนำเอาแสงธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
    4. เนื่องจาก ใช้อิฐบล็อกประสานทำเป็นผนัง ทำให้ผนังภายในห้องมีสีเข้ม ซึ่งจะทำให้ความสว่างภายในห้อง ลดลง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=3 width=560 border=0><TBODY><TR><TD width=6> </TD><TD width=516>
    [​IMG] [COLOR=darkred]น้ำส้มควันไม้ (Wood Vinegar)[/COLOR] [IMG]http://www.ata.or.th/projects/ashram/images/square.gif[/IMG]
    </TD></TR><TR><TD width=6> </TD><TD width=520>

    ผู้ดูแลโครงการ :
    สุชาดา อินทะศรี

    เป็นผลผลิตหนึ่งที่ได้จากการเผาถ่าน ปริมาณน้ำส้มควันไม้ในการเผาถ่านแต่ละครั้งโดยทั่วไปไม้สดที่ตัดทิ้งไว้ ประมาณ 3 - 4 วัน ก่อนนำเข้าเตาหนัก 100 กก.ผลผลิตที่ได้จากการเผาจะได้ถ่านประมาณ 20 กก. และได้ น้ำส้มควันไม้ดิบประมาณ 8 กก.น้ำส้มควันไม้ดิบที่ได้นี้ ถ้าจะให้มีคุณภาพดี ต้องทำ การแยกเอาสารเจือปน อื่นๆ ออกก่อนโดยจะต้องนำไปเก็บไว้ในภาชนะที่ไม่ใช่โลหะ แล้วปล่อยให้ตกตะกอนทิ้งไว้ประมาณ 1- 2 เดือน

    [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]
    ประโยชน์ และการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้งาน

    1. ป้องกันแมลงศัตรูพืช

    [​IMG] [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=2 width=473 align=center border=0><TBODY><TR bgColor=#cc6600><TD width=125>
    ชนิดของพืช
    </TD><TD width=131>
    ป้องกัน/ขับไล่แมลงศัตรูพืช
    </TD><TD width=87>
    อัตราส่วน
    </TD><TD width=99>
    วิธีการใช้
    </TD></TR><TR><TD width=125 bgColor=#ccffcc>
    มะเขือเทศ
    </TD><TD width=131 bgColor=#ffffcc>
    ไส้เดือน
    </TD><TD width=87 bgColor=#ccffcc>
    1 : 50
    </TD><TD width=99 bgColor=#ffffcc>
    รดบริเวณโคนต้น
    </TD></TR><TR><TD width=125 bgColor=#ccffcc>
    มะเขือเทศ
    </TD><TD width=131 bgColor=#ffffcc>
    เชื้อรา
    </TD><TD width=87 bgColor=#ccffcc>
    1 : 200
    </TD><TD width=99 bgColor=#ffffcc>
    ฉีดพ่นใบ
    </TD></TR><TR><TD width=125 bgColor=#ccffcc>
    มะเขือเทศ
    </TD><TD width=131 bgColor=#ffffcc>
    รากเน่า
    </TD><TD width=87 bgColor=#ccffcc>
    1 : 200
    </TD><TD width=99 bgColor=#ffffcc>
    รดบริเวณโคนต้น
    </TD></TR><TR><TD width=125 bgColor=#ccffcc>
    แตงกวา
    </TD><TD width=131 bgColor=#ffffcc>
    เชื้อรา
    </TD><TD width=87 bgColor=#ccffcc>
    1 : 200
    </TD><TD width=99 bgColor=#ffffcc>
    ฉีดพ่นใบ
    </TD></TR><TR><TD width=125 bgColor=#ccffcc>
    แตงกวา
    </TD><TD width=131 bgColor=#ffffcc>
    รากเน่า
    </TD><TD width=87 bgColor=#ccffcc>
    1 : 200
    </TD><TD width=99 bgColor=#ffffcc>
    รดบริเวณโคนต้น
    </TD></TR><TR><TD width=125 bgColor=#ccffcc>
    สตรอเบอรี่
    </TD><TD width=131 bgColor=#ffffcc>
    ไส้เดือนฝอย
    </TD><TD width=87 bgColor=#ccffcc>
    1 : 200
    </TD><TD width=99 bgColor=#ffffcc>
    รดบริเวณโคนต้น
    </TD></TR><TR><TD width=125 bgColor=#ccffcc>
    พริกไทยเขียว
    </TD><TD width=131 bgColor=#ffffcc>
    ไส้เดือนฝอย
    </TD><TD width=87 bgColor=#ccffcc>
    1 : 1500
    </TD><TD width=99 bgColor=#ffffcc>
    รดแทนน้ำปกติ
    </TD></TR><TR><TD width=125 bgColor=#ccffcc>
    กะหล่ำปี
    </TD><TD width=131 bgColor=#ffffcc>
    ขับไล่แมลง
    </TD><TD width=87 bgColor=#ccffcc>
    1 : 1500
    </TD><TD width=99 bgColor=#ffffcc>
    รดแทนน้ำปกติ
    </TD></TR><TR><TD width=125 bgColor=#ccffcc>
    ผักกาดขาว
    </TD><TD width=131 bgColor=#ffffcc>
    ขับไล่แมลง
    </TD><TD width=87 bgColor=#ccffcc>
    1 : 1500
    </TD><TD width=99 bgColor=#ffffcc>
    รดแทนน้ำปกติ
    </TD></TR><TR><TD width=125 bgColor=#ccffcc>
    พริก
    </TD><TD width=131 bgColor=#ffffcc>
    ลดการร่วงโรยของดอก
    </TD><TD width=87 bgColor=#ccffcc>
    1 : 300
    </TD><TD width=99 bgColor=#ffffcc>
    ฉีดพ่นใบ
    </TD></TR><TR><TD width=125 bgColor=#ccffcc>
    ข้าวโพด
    </TD><TD width=131 bgColor=#ffffcc>
    ขับไล่แมลง
    </TD><TD width=87 bgColor=#ccffcc>
    1 : 300
    </TD><TD width=99 bgColor=#ffffcc>
    ฉีดพ่นใบ
    </TD></TR><TR><TD width=125 bgColor=#ccffcc>
    ผักต่างๆ ที่มีระยะปลูกสั้นๆ
    </TD><TD width=131 bgColor=#ffffcc>
    ก่อน หรือหลังยอดแตกอ่อน
    </TD><TD width=87 bgColor=#ccffcc>
    1 : 800
    </TD><TD width=99 bgColor=#ffffcc>
    รดแทนน้ำปกติ
    </TD></TR><TR><TD width=125 bgColor=#ccffcc></TD><TD width=131 bgColor=#ffffcc></TD><TD width=87 bgColor=#ccffcc></TD><TD width=99 bgColor=#ffffcc></TD></TR></TBODY></TABLE>
    2.เพิ่มปริมาณรสชาติ ของผลไม้ และกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช

    [​IMG] [​IMG]

    ฉีดน้ำวูดไวน์เนก้า ในอัตราส่วน 1: 500 ถึง 1 : 1,000 เท่า สาทารถเพิ่มรสชาติของผลไม้ให้มีความหวานที่ เป็นเช่นนี้ เพราะน้ำวูดเวเนการ์ ช่วยลดไนโตรเจนส่วนเกิน กระตุ้นการสันดาปของพืช และเพิ่มระดับน้ำตาล ให้กับพืช ชนิดที่ให้รสหวาน

    [​IMG]
    [​IMG]
    3.ช่วยเร่งการหมัก
    การนำน้ำส้มควันไม้ ที่มีความเข้มข้นต่ำ ประมาณ 1 ต่อ 100 จะช่วยเพิ่มปริมาณเชื้อรา และแบคทีเรียที่มี ประโยชน์ ในการเร่งการหมักสารชีวภาพ คือ สามารถย่นระยะเวลาในการหมักลงอีกครึ่งหนึ่งของการหมัก สารชีวภาพโดยปกติ

    4.ลดกลิ่นเหม็น
    น้ำส้มควันไม้มีคุณสมบัติในการต่อต้าน หรือลดการผลิตแอมโมเนีย จึงสามารถนำไปใช้ลดกลิ่นเหม็นในคอก สัตว์ ในอัตราส่วนไม่เข้มข้นนัก ประมาณ 1 ต่อ 50

    5.ขับไล่แมลงมีพิษ
    เนื่องจากน้ำส้มควันไม้ เข้มข้น มีส่วนผสมของ น้ำมันทาร์ และยางเรซินอยู่มาก ที่ส่งกลิ่นเหม็นคล้ายควันไฟ รบกวนสัตว์แมลงที่มีพิษ เช่น ตะขาบ

    6.บำรุงผิวดิน ในการเพาะปลูก
    รดน้ำส้มควันไม้ที่ควรมีความเข้มข้น ประมาณ 1 ต่อ 30 ลงไปในหน้าดิน และใช้ในปริมาณ 6 ลิตร ต่อ 1 ตารางเมตร สำหรับบำรุงผิวดินก่อนทำการเพาะปลูก แต่สำหรับการนำไปฆ่าเชื้อในดิน ควรจะมีความเข้มข้น สูงกว่านี้ ประ มาณ 1 ต่อ 5 - 10

    7.ใช้เป็นอาหารเสริม สำหรับสัตว์เลี้ยง
    น้ำส้มควันไม้ เมื่อผสมลงไปในอาหารสัตว์ เมื่อสัตว์กินเข้าไป สารในน้ำวู้ดเวเนการ์ จะช่วยปรับระดับ แบคทีเรียในลำใส้ เพื่อช่วยในการดูดซึมซับสารอาหารได้ดี ถ้าเป็นไก่เนื้อไก่จะเจริญเติบโตได้ดี เนื้อไก่เป็นสี ชมพู เมื่อผสมในอัตรา ส่วนที่เจือจาง 1 ต่อ 1 ต่อ 200 ถึง 300

    8.ใช้ในการขับไล่ แมลงวัน
    ใช้ในอัตราส่วนเจือจาง ประมาณ 1 ต่อ 100 ขับไล่แมลงวัน เนื่องจากน้ำส้มควันไม้ จะมีกลิ่นฉุน กลิ่นฉุน เหล่านี้ ส่งผลในการขับไล่แมลงวัน

    9.น้ำมันดิน(ทาร์)
    น้ำมันดิน (ทาร์) ก็เป็นผลผลิตหนึ่งที่ได้จากการเผาถ่าน ตัวน้ำมันทาร์จะมีความเหนียวติดไฟง่ายและมีกลิ่นฉุน มาก เมื่อนำน้ำมันทาร์ เทลงไปในหลุมเสาบ้านไม้ หรือ ทาผิวไม้ ก่อนที่จะทำการก่อสร้างบ้าน ป้องกันปลวก / มอด ทำลายเนื้อไม้ได้
    [​IMG]

    หมายเหตุ:
    อัตราส่วน น้ำวู้ดเวเนการ์ ต่อ น้ำ ข้อมูล : สถาบันคาทอลิคแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา

    </TD></TR><TR><TD width=6> </TD><TD width=516>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    โครงการการส่งเสริมการผลิตถ่านและการจัดการทรัพยากรไม้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ความเป็นมา


    [​IMG] [​IMG]

    พลังงานที่ใช้หุงต้มในภาคครัวเรือนชนบท และกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ขนาดเล็กและขนาดย่อม ในภาคเกษตรของประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ ยังคงเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล โดยเฉพาะจากถ่านไม้ และฟืนในปี 2545 ประเทศไทยมีการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลประมาณ 17% ของปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของประเทศ ซึ่งทำให้ในปัจจุบัน พบปัญหาคือ การขาดแคลนทรัพยากรป่าไม้ ถ่าน และฟืนเริ่มหาได้ยาก และมีราคาแพงมากขึ้น เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ ทั่วไป เกี่ยวกับการผลิต และการใช้พลังงานจากไม้ ส่วนใหญ่ยังมีประสิทธิภาพต่ำ ทำให้ต้องใช้เชื้อเพลิง และวัตถุ ดิบมาก

    จากประสบการณ์การทำงาน เรื่องการวางแผนพลังงานระดับท้องถิ่น กับชุมชน สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม ( Appropriate Technology Association หรือ ATA) จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมการผลิตถ่าน และการจัดการทรัพยากรไม้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนเพื่อส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (Energy Policy and Planning Office หรือ EPPO) กระทรวงพลังงาน เพื่อสร้างความรู้ และส่งเสริมการประหยัดทรัพยากรไม้ อันเป็นทรัพยากร อันมีค่า ของประเทศ ทั้งในแง่พลังงาน วัสดุก่อสร้าง และสิ่งแวดล้อม โดยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่ การอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรไม้อย่างยั่งยืน ต่อไป


    [​IMG] [​IMG]

    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อส่งเสริมการผลิตถ่านไม้ ให้มีประสิทธิภาพ
    2. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากถ่านไม้ ทั้งการใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิง และการใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น การเกษตร สุขอนามัย ให้คุ้มค่า และเพิ้มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่อไป
    3. ส่งเสริมการใช้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้ จากการเผาถ่าน เช่น น้ำส้มควันไม้ ให้เกิดประโยชน์ ทางการเกษตร และสิ่งแวดล้อม
    4. เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการ การใช้ทรัพยากรป่าไม้ชุมชนให้ยั่งยืน

    ระยะเวลาของโครงการ
    กุมภาพันธ์ 2547 - สิงหาคม 2549 รวมระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน

    พื้นที่เป้าหมาย
    5 จังหวัด ในภาคอีสาน คือ จังหวัดนครราชสีมา , จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดอุบลราชธานี,
    จังหวัดขอนแก่น


    [​IMG] [​IMG]
    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย
    1.
    กลุ่มผู้ใช้พลังงานจากไม้ ระดับครัวเรือน เช่น ชุมชน
    2. ผู้ประกอบการผลิตถ่าน
    3. กลุ่มผู้ผลิตเทคโนโลยีการใช้พลังงานจากไม้
    4. หน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง
    5. สถาบันวิจัย และการศึกษา
    6. องค์กรพัฒนาเอกชน

    ิจกรรมหลักของโครงการ

    กลุ่มผู้ใช้พลังงานจากไม้ระดับครัวเรือน

    1. แนะนำและเผยแพร่ ให้มีการผลิตถ่านระดับครัวเรือน อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเตาถ่าน และเตาฟืนหุงต้ม ประสิทธิภาพสูง 200 ลิตร

    [​IMG] [​IMG]

    2. ส่งเสริมให้มีการใช้เตาถ่าน และเตาฟืนหุงต้มประสิทธิภาพสูง


    [​IMG] [​IMG]

    3. แนะนำ และเผยแพร่ การใช้น้ำส้มควันไม้ ในการทำเกษตรกรรม

    [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]

    4. ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรไม้ อย่างเหมาะสมในท้องถิ่น

    [​IMG] [​IMG]

    ผู้ประกอบการผลิตถ่าน

    [​IMG] [​IMG]

    1. ศึกษาสำรวจผู้ประกอบอาชีพเผาถ่าน เป็นอาชีพในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้ทราบตลาด และขนาดของธุรกิจถ่าน ในพื้นที่ แหล่งวัตถุดิบ และเทคโนโลยีเผาถ่าน

    [​IMG] [​IMG]

    2. เผยแพร่ความรู้ และอบรมผู้ประกอบการเผาถ่าน ทางด้านเทคโนโลยีผลิตถ่านอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเตา อิวาเตะ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก

    [​IMG] [​IMG]

    3. รวบรวมเผยแพร่ และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากถ่านไม้ ให้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงดิน ด้านสุขอนามัย และอื่นๆ

    [​IMG]

    กลุ่มผู้ผลิตเทคโนโลยีการใช้พลังงานจากไม้
    เช่น เตาหุงต้มใช้ถ่าน และเตาหุงต้มใช้ฟืนประสิทธิภาพสูง
    1. จัดอบรมดูงาน และเผยแพร่ความรู้ ในการประกอบอาชีพ ปั้นเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง


    [​IMG] [​IMG]

    2. ให้ความรู้ทางเทคนิค ในการทำผลิตภัณฑ์ให้ได้คุณภาพ

    [​IMG]
    [​IMG]
    [COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][IMG]http://www.ata.or.th/projects/charcoal/images/semi-cha_supply-14.jpg[/IMG][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR] [​IMG]

    [COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][COLOR=#666666][SIZE=2][B][COLOR=#0066ff]การร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง[/COLOR]
    [/B][COLOR=black]เช่น กรมป่าไม้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น เพื่อรวบรวม ศึกษา พัฒนา และเผยแพร่เทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากไม้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
    - การใช้ถ่านอย่างมีประสิทธิภาพ
    - การผลิต และการใช้เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง
    - เทคโนโลยีผลิตถ่าน
    - การใช้ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้
    - การใช้ประโยชน์ จากถ่าน นอกเหนือจากเป็นเชื้อเพลิง[/COLOR][/SIZE][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR][/COLOR]


     
  14. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    การวิจัย และพัฒนา

    1. วิจัย และพัฒนาเตาอิวาเตะ ขนาดต่างๆ (1-3 ตัน) ให้มีประสิทธิภาพมากกว่า 40 % โดยมวล
    2. วิจัย และพัฒนา เตาเผาถ่านขนาด 200 ลิตร ให้มีประสิทธิภาพมากกว่า 20 % โดยมวล
    3. วิจัย และพัฒนา วัสดุที่เป็นฉนวนความร้อนราคาถูกเพื่อให้ต้นทุนการทำเตาหุงต้ม และเตาเผาถ่านราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพสูง
    4. สำรวจเพื่อทราบวัสดุ ราคา แหล่งผลิต และทดสอบประสิทธิภาพของเตาเผาถ่าน ทุกประเภท และอุปกรณ์ที่ใช้ถ่าน และฟืนทุกชนิดที่ผลิต และการใช้งานในพื้นที่ 5 จังหวัด

    [​IMG] [​IMG]

    การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร

    โครงการจะมีการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ โดยรูปแบบสื่อต่างๆ เช่น
    - แผ่นพับโครงการ
    - แคตตาลอคผลิตภัณฑ์ ถ่าน-ฟืน และเทคโนโลยี ถ่าน-ฟืน
    - คู่มือการเผาถ่าน ระดับครัวเรือน
    - คู่มืออาชีพเผาถ่าน และผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวกับถ่าน
    - ชุดนิทรรศการ ถ่าน-ฟืน และการจัดการทรัพยากรไม้
    - วิดิท้ศน์ การใช้ประโยชน์จากไม้ เพื่อพลังงาน และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
    - CD ROM เทคโนโลยี ถ่าน-ฟืน เพื่อพลังงาน และสิ่งแวดล้อม

    [​IMG] [​IMG]

    ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
    1. ครัวเรือน หรือชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งจะมีตำบลในโครงการ จำนวน 50 ตำบล มีความรู้เรื่องการผลิต และการใช้พลังงานจากไม้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดพลังงานโดยรวมได้ นอกจากนี้ จะทำให้เกิดการอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ด้วย
    2. มีการใช้ทรัพยากร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสามารถนำผลพลอยได้จากการเผาถ่าน มาเสริมการเกษตรกรรมปลอดสารพิษได้
    3. ขยายฐานธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเผาถ่าน และปั้นเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง เป็นการสร้างงานใน
    ท้องถิ่น
    4. มีการจัดการทรัพยากรไม้ ที่เหมาะสมในท้องถิ่น

    บทสรุปผู้บริหาร

    การส่งเสริมการผลิตถ่านและการจัดการทรัพยากรไม้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นโครงการที่มีกลุ่มเป้าหมายประกอบ ด้วยเกษตร และผู้ประกอบการ จากการดำเนินการจนถึงขณะนี้พบว่าการขยายความรู้การผลิตถ่าน และนำผลพลอย ได้มาใช้ในด้านการเกษตรนี้เป็นไปอย่างแพร่หลายในภาคอีสาน
    ขณะเดียวกันก็เริ่มแพร่ไปสู่ภาคเหนือ และภาคใต้ เนื่องจากพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เป้าหมายจึง ขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง จากการดำเนินการพบว่าโครงการฯ สามารถดำเนินการได้ดีในกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็น เกษตรกร การขยายความรู้เข้าไปสู่กลุ่มผู้ประกอบการ ทั้งผู้ประกอบการเผาถ่าน และผู้ประกอบการปั้นเตาประสิทธิ ภาพสูง ยังไม่ดีนัก ซึ่งจะต้องเพิ่มมาตรการบางอย่าง เพื่อเข้าถึงกลุ่มนี้ในระยะต่อไป

    แผนการดำเนินการ
    1. การส่งเสริมการเผาถ่านให้กับเกษตรกร
    2. การส่งเสริมอาชีพผู้ประกอบการเผาถ่านและผู้ประกอบการปั้นเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง
    3. การวิจัยและการพัฒนา
    4. การจัดทำสื่อเผยแพร่
    5. การติดตามประเมินผล

    ผลการดำเนินการ


    1.การส่งเสริมการเผาถ่านให้กับเกษตรกรตำบล

    โครงการได้ส่งเสริมพื้นที่นำร่อง 5 ตำบลใน 5 จังหวัดได้แก่ ตำบลอู่โลก จังหวัดสุรินทร์, ตำบลหนองเสาเล้า จังหวัดขอนแก่น, ตำบลดงครั่งใหญ่ จังหวัดร้อยเอ็ด, ตำบลคูเมือง จังหวัดอุบลราชธานี, ตำบลหมูสี จังหวัดนคร ราชสีมา ส่วนการขยายการดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ใน 4 จังหวัด ( จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดขอนแก่น, จังหวัด อุบลราชธานี, จังหวัดนครราชสีมา) จำนวนทั้งสิ้น 56 ตำบล

    โดยโครงการได้เผยแพร่ความรู้ โดยการประชุมและฝึกอบรมเผาถ่านในพื้นที่ จำนวน 36 ครั้ง ณ. เดือน เมษายน 2548 ชุมชนมี เตาเผาถ่าน 200 ลิตร แล้วจำนวน 890 เตา
    นอกจากนี้โครงการยังได้อบรมเผยแพร่เรื่อง เตาเผาถ่าน 200 ลิตร ครั้งใหญ่ในเดือนเมษายน 2548 โดยมีผู้ สนใจเข้าอบรมจาก 10 จังหวัดได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา, ขอนแก่น,นนทบุรี, เพชรบูรณ์, สมุทรสาคร,นครพนม, มุกดาหาร, สมุทรสงคราม, แพร่ และจังหวัดลพบุรี

    2. การส่งเสริมอาชีพผู้ประกอบการเผาถ่าน และผู้ประกอบการปั้นเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง

    โครงการได้จัดการฝึกอบรมเผยแพร่ความรู้สำหรับผู้ประกอบการ 2 ครั้ง คือ การอบรมเรื่อง เตาเผาถ่านอิวาเตะ และการอบรมเสริมทักษะผู้ประกอบการปั้นเตาหุงต้ม
    นอกจากนี้ทำการสำรวจอาชีพผู้ประกอบการ เผาถ่านและปั้นเตา ในท้องถิ่นในพื้นที่ 5 จังหวัด ในภาคอีสาน คือ จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดร้อยเอ็ด, จังหวัดขอนแก่น,จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดนครราชสีมา ปัญหาที่พบ คือ เรื่องตลาด ผู้ซื้อต้องการซื้อแต่ไม่รู้ว่าซื้อได้ที่ไหน ผู้ผลิตเมื่อผลิตแล้ว ก็ไม่รู้จะขายที่ไหน และพบว่า พ่อค้า เร่ขาย เตาหุงต้ม ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการขยายเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง เนื่องจากเป็นผู้ที่เข้าถึงผู้ซื้อ ซึ่งทางโครง การ จะต้องเพิ่มแผนงานบางอย่าง เพื่อให้มีการเชื่อมถึงกันของกลุ่มคนดังกล่าว

    3. การวิจัยและพัฒนา

    มีการวิจัยและพัฒนา 2 โครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว คือ เรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพเตาเผาถ่าน 200 ลิตร และ เรื่องการใช้น้ำส้มควันไม้ในระบบเกษตรอินทรีย์ ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ เรื่องการพัฒนา ประสิทธิภาพเตาเผาถ่านอิวาเตะ และการสร้างเครื่องวัดค่านำความร้อน ของวัสดุที่นำมาเป็นฉนวน ของเตาหุงต้ม

    4. การจัดทำเอกสารเผยแพร่

    มีการจัดทำเอกสารเผยแพร่ คือชุดนิทรรศการเรื่องถ่าน-ฟืน คู่มือการเผาถ่านระดับครัวเรือน และขณะนี้กำลัง จัดทำ วีซีดีเรื่อง การใช้ประโยชน์จากไม้เพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่ยั่งยืนด้วยเตาเผาถ่าน 200 ลิตร

    5. การติดตามประเมินผลโครงการ

    ผู้ติดตามประเมินผลโครงการได้แก่ สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้ร่วมสังเกตการณ์ การสัมม นา และฝึกอบรมของโครงการเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการ นอกจากนี้โครงการได้จัดตั้งคณะกรรมการ บริหารโครงการ ขึ้นเพื่อคอยติดตามผล และให้คำปรึกษาและแนะนำการดำเนินโครงการเป็นระยะ



    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width=450 border=0><TBODY><TR bgColor=#999999><TD colSpan=3>ตารางที่ ๑ แสดงค่าใช้จ่ายพลังงานที่ประหยัดได้
    </TD></TR><TR><TD width=99 bgColor=#ffff99>1
    </TD><TD width=172 bgColor=#ffffcc>เตาเผาถ่าน 200 ลิตร
    </TD><TD width=159 bgColor=#ffffcc>427,253.40 บาท
    </TD></TR><TR><TD width=99 bgColor=#ffff99>2
    </TD><TD width=172 bgColor=#ffffcc>เตาอิวาเตะ
    </TD><TD width=159 bgColor=#ffffcc>อยู่ระหว่างการสำรวจ
    </TD></TR><TR><TD width=99 bgColor=#ffff99>3
    </TD><TD width=172 bgColor=#ffffcc>เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง
    </TD><TD width=159 bgColor=#ffffcc>อยู่ระหว่างการสำรวจ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    เตาเผาถ่าน 200 ลิตร (ประสิทธิภาพ 20%) จำนวน 890 เตา ถ้ามีการเผาถ่าน 60 ครั้ง ต่อปีต่อเตา เมื่อเทียบกับ เตาแบบดั้งเดิม ( ประสิทธิภาพ 15 %) จะทำให้มีการประหยัดไม้ฟืน เป็นจำนวน 1,424,178 กิโลกรัม ต่อปี หรือ คิดเป็นเงินจำนวน 427,253.4 บาทต่อปี( คิดค่าไม้ฟืนราคาตันละ 300 บาท)

    สำนักงาน : โครงการการส่งเสริมการผลิตถ่าน และการจัดการไม้อย่างมีประสิทธิภาพ สมาคมเทคโนโลยี ที่เหมาะสม
    135/4 หมู่ 4 ถนน ธนะรัชต์ ต. หมูสี อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา 30130
    โทรศัพท์ : 0-4429-7621 โทรสาร : 0-4429-7621
    website : www.ata.or.th Email : se@ata.or.th

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2008
  15. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,696
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
  16. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอโมทนากับข้อมูลของพี่เกษมด้วยครับ นำไปเชื่อมต่อลิงค์ ประสานงานกันและสามารถนำไปใช้ในงานมาสเตอร์แปลนในการพัฒนาประเทศและการเตรียมการณ์ด้านภัยพิบัติได้ทันทีเลยครับ
     
  17. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ปัญหาและอุปสรรคหนึ่งของชาวบ้านและชุมชนก็คือ การเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่น ของเขา

    ปัญาของพวกเราส่วนกลางก็คือ มีความรู้ มีข้อมูล มีทฤษฏี แต่ไม่มีแรง มีความสามารถที่จะไปลงมือลงแรงกันในพื้นที่ได้

    ดังนั้นหากทำระบบเครือข่าย แบ่งงาน เชื่อมประสานกลุ่มต่างๆและองค์ความรู้เข้าด้วยกัน ได้ ประเทศไทยก็จะพัฒนาขึ้นไปอีกมาก ทำให้ทุกคนมีความสุข พออยู่พอกิน ลดต้นทุนชีวิต เพิ่มคุณภาพชีวิตได้ สังคมไทยก็มีความสุขขึ้น เป็นการสนองพระราชดำริ แบ่งเบาพระราชภาระของพ่อหลวงของเราด้วย
     
  18. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,171
    ขอเชิญร่วมเดินทางไปทอดผ้าป่า ณ ปรียนันท์ธรรมสถาน กับท่าน พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ (พระอาจารย์เล็ก) ใน วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม 2551


    กำหนดการทอดผ้าป่า ณ ปรียนันท์ธรรมสถาน

    06.30 น. พร้อมกัน ณ จุดนัดพบบริเวณโรงเรียนหอวัง (ฝั่งตรงข้ามทางเข้าที่จอดรถห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว)

    07.00 น. ออกเดินทางจากหน้าโรงเรียนหอวัง

    10.30 น. เดินทางถึง "ปรียนันท์ธรรมสถาน" อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

    11.00 น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์

    11.30 น. รับประทานอาหารเที่ยง

    13.00 น. ทำพิธีทอดผ้าป่าสามัคคี

    14.00 น. ออกเดินทางไปวัดท่าซุงเพื่อเยี่ยมชมและนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์

    18.30 น. กลับถึง กทม. โดยสวัสดิภาพ


    การชำระเงินค่าเดินทาง


    ขอให้ท่านที่ลงชื่อจองที่นั่งไว้ ได้โอนเงินเข้าบัญชีข้างล่างนี้ และโพสต์แจ้งชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ และรายละเอียดการโอนเงินให้ทราบ เพื่อให้น้องเอ็กซ์ (เช้าใหม่) ได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ร่วมเดินทางทั้งหมด


    ณัฐพัชร จันทรสูตร
    ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาย่อยองค์การโทรศัพท์ (แจ้งวัฒนะ)
    บัญชีเลขที่ 066 - 1 - 18321 - 1



    อนึ่ง กลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติได้กราบนิมนต์หลวงพี่เล็กให้เดินทางไปจำวัด ณ ปรียนันท์ธรรมสถาน ในคืนวันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2551 และจะขออาราธนาให้ท่านเป็นองค์นำในการปฏิบัติพระกรรมฐานในค่ำคืนของวันดังกล่าว


    ในการนี้ หากท่านใดที่ประสงค์จะเดินทางไปร่วมปฏิบัติพระกรรมฐานด้วย ขอให้จัดเตรียมเครื่องนอน เช่น เต้นท์ ถุงนอน เสื่อ ยากันยุง (จำเป็นมาก) ของใช้ส่วนตัว ฯลฯ และเดินทางไปเองตามอัธยาศัย (รายละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางจะนำมาแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป)


    .
     
  19. หลับตา

    หลับตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    716
    ค่าพลัง:
    +3,151
    ยางแตก ไม่มียางใน ไม่มีที่ปะ ทำไงดี ?

    จักรยานกับยางแตก ยางรั่วเป็นของคู่กัน เป็นอย่างนี้นักปั่นจักรยานก็มักจะต้องมี ยางใน
    สำรอง หรือไม่ก็ที่ปะยาง ที่งัดยาง กาวต่างๆ พกติดตัวเอาไว้ด้วย ใครที่ไม่เคยมีประสบการณ์ เข็นรถกลับบ้านเป็นระยะทางนับสิบกิโลเมตร คงจะไม่รู้ซึ้งถึงประสบการณ์ที่ไม่ค่อยสวย สักเท่าไร เพียงแค่ถ้ามีเจ้าชุดปะยาง แค่นี้ก็กลับบ้านได้สบายไปแล้ว โดยเฉพาะถ้าต้องเข็น จักรยานคนเดียวกลางป่า เพื่อจะกลับที่พัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สนุกเอาเสียเลย

    ทีนี้เวลาถ้าเราเข้าป่าแล้วหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว คือยางแตก แล้วไม่มีที่ปะยาง จะทำอย่างไรละทีนี้ Dr. Bike ฉบับนี้เลยมี วิธีเอาตัวรอดแบบใช้เครื่องมือตามสภาพ ภูมิประเทศ มาฝาก เพื่อนชาวเสือด้วยกันครับ

    1.เก็บใบไม้ที่ไม่มีความคม หรือหนาม หรือใบไม้ที่ไม่มีพิษมา โดยการรูดออกจากต้น
    2.นำมาม้วนขวั้นให้เป็นมัดก้อน ยิ่งถ้าได้ฟางข้าวก็จะช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น
    3.เปิดยางนอกออกมาจากล้อเจ้าปัญหา ที่แตก ออกมาเพียง 1 ข้าง

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle> </TD><TD align=right> </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="52%">4.ใช้ใบไม้ที่เราเก็บมา ม้วนเรียบร้อยแล้ว ค่อยๆ ยัดใส่เข้าไป ยางในอันเก่าที่แตก ก็ใส่ไว้ในล้อหรือจะนำ ออกก็ได้</TD><TD width="4%"> </TD><TD width="44%">5. พยายามใส่ใบไม้ให้เต็มทั้งวง จัดการใส่ยางนอกเข้าไปกับขอบล้อ
    ตามเดิม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย การใช้วิธีดังกล่าวไม่สามารถใช้ความเร็วได้ ในการใช้งานจริงคือการแก้ปัญหาให้กลับถึงจุดหมายเท่านั้น ซึ่งหากเราไม่ใช้วิธีดังกล่าว แต่ฝืนปั่นแบบบดไปเลยก็ทำให้ล้อจักรยานของเราเสียหายมาก เช่น ขอบล้อ โดยเฉพาะ ขอบล้อ ซึ่งขอบล้อบางประเภทจะมีราคาแพงมาก

    ข้อมูลจาก http://www.la-bicycle.com/service_shop/dr_bike/update/2007-04-19/content02.php
     
  20. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"เครก เวนเทอร์" มุสร้างจุลชีพกิน CO2 ถ่ายเป็นเชื้อเพลิงได้ไม่จำกัด</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>4 มีนาคม 2551 08:14 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=200>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>เครก เวนเทอร์ ที่หยิบจับงานวิจัยแต่ละอย่างล้วนเป็นเมกะโปรเจคทั้งนั้น</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เอเอฟพี - เล็กๆ ไม่ ใหญ่ๆ ทำ ให้สมกับเป็นเจ้าพ่อจีโนมโปรเจค ล่าสุด "เครก เวนเทอร์" กำลังเลี้ยงแบคทีเรียสังเคราะห์บวกตัดต่อพันธุกรรมรุ่นที่ 3 กินก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก แล้วแปรเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพได้มากเท่าที่ต้องการ มากพอจะเปลี่ยนโลกให้เต็มไปด้วยก๊าซมีเทนได้ คาดอีก 18 เดือนได้เชื้อเพลิงรุ่นที่ 4

    นักพันธุศาสตร์แห่งศตวรรษ "เครก เวนเทอร์" (Craig Venter) ผู้ริเริ่มโครงการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ (Human Genome Project) เปิดเผยระหว่างการประชุมสุดยอดด้านเทคโนโลยี, บันเทิง และการออกแบบ (Technology, Entertainment and Design conference) เมืองมอนเทอเรย์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 ก.พ.51 ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้เขากำลังทดลองเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ให้เป็นโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO<SUB>2</SUB>) เป็นวัตถุดิบ และกำลังจะได้เชื้อเพลิงรุ่นที่ 4 จากแบคทีเรียสังเคราะห์ในอีก 18 เดือนข้างหน้า

    "เรากำลังทำให้มันเข้าไปแทนที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนกลายเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักของพวกเราในท้ายที่สุด และคาดว่าเรากำลังจะเก็บเกี่ยวเชื้อเพลิงรุ่นที่ 4 ได้ในอีก 18 เดือนข้างหน้านี้แล้ว จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เราสำรองไว้เป็นแหล่งพลังงานให้จุลินทรีย์" เวนเทอร์กล่าวท่ามกลางผู้เข้าฟังมากมาย ซึ่งรวมถึงอัล กอร์ (Al Gore) อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผู้สร้างความตะหนักเรื่องภาวะโลกร้อนจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา

    เวนเทอร์ กล่าวต่อว่า สิ่งมีชีวิตที่ไม่ซับซ้อนมากนักอย่างจุลินทรีย์สามารถตัดต่อพันธุกรรมเพื่อให้ผลิตวัคซีนได้หรือผลิตเชื้อเพลิงออกเทน (octane: C8H18) ออกมาในรูปของเสียได้ดีไม่แพ้กัน ซึ่งเขาผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากแบคทีเรียได้ 3 รุ่นแล้ว ขั้นต่อไปก็เลี้ยงแบคทีเรียด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้ผ่านกระบวนการในแบคทีเรียเปลี่ยนให้เป็นก๊าซมีเทน (metane: CH4)

    ทีมวิจัยของเวนเทอร์ได้สังเคราะห์โครโมโซมที่เหมือนกับของแบคทีเรียที่มีอยู่ในธรรมชาติ จากนั้นก็ดัดแปลงอีกเล็กน้อย ซึ่งไม่ใช่การสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่ดัดแปลงให้สามารถผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้มากพอที่จะใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงได้จริง ซึ่งหากเป็นแบคทีเรียในธรรมชาติก็สามารถผลิตออกเทนได้อยู่แล้ว แต่ได้ไม่มากเท่าที่เราต้องการ

    "ถ้าจุลินทรีย์เหล่านั้นสามารถผลิตเชื้อเพลิงได้ในระดับที่เราต้องการ เมื่อนั้นอาจเปลี่ยนโลกของเราให้กลายเป็นดาวแห่งมีเทนเลยก็ได้" เวนเทอร์เผย ซึ่งเขาชูว่าจุลินทรีย์จีเอ็มโอของเขายิ่งกินคาร์บอนได้ออกไซด์มากขึ้นก็ยิ่งปลดปล่อยออกเทนได้มากเท่านั้น

    อย่างไรก็ดี เวนเทอร์เผยว่าขั้นตอนที่ยุ่งยากของงานวิจัยดังกล่าวไม่ได้อยู่ที่การออกแบบและตัดต่อพันธุกรรมของจุลินทรีย์ แต่อยู่ที่ขั้นตอนการสกัดคาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์จากอากาศมากกว่า

    และเพื่อความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เวนเทอร์ได้ใส่ "ยีนทำลายตัวเอง" (suicide gene) ให้เหล่าจุลินทรีย์ตัดต่อพันธุกรรมพวกนั้นด้วย เพื่อไม่ให้มีชีวิตรอดได้ในสภาวะภายนอกห้องทดลอง ซึ่งรับรองได้ว่าหลุดออกจากห้องแล็บไปเมื่อไหร่ เหล่าจุลินทรีย์จีเอ็มโอเป็นต้องจบชีวิตแน่นอน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...