รวบรวมข้อมูลเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 28 กันยายน 2006.

  1. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
    denceeท่านที่มีรถคงต้องเจอสถานการณ์แบบนี้แน่นอน ถ้าได้เรียนรู้การใช้รถในภูมิประเทศก็จะยิ่งดี ในภาพคงเป็นแค่ตัวอย่าง สิ่งที่ไม่คาดคิดในสถานะการณ์ที่มีสภาพภูมิอากาศแปรปรวนอาจนำภัยและการสูญเสียเวลาในการเดินทาง

    dencee อุปกรณ์ในการกู้ซ่อม การซ่อมบำรุงฉุกเฉิน การขับขี่ในโคลน ทราย การลงน้ำ การใต่ขึ้นลาดเนินที่สูงชัน การลงเนินที่สูงชัน ล้วนเป็นเทคนิคการขับรถที่ต้องเรียนรู้ หาหนังสืออ่านหรือหา VCD ไว้ดูบ้างก็ไม่เสียหาย ครับ

    denceeสำหรับพวกยานเกาะ ก็คงต้องเรียนรู้ไว้บ้างออกกำลังกายให้ฟิต ๆ หน่อย เพื่อช่วยเข็น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a120.jpg
      a120.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.9 KB
      เปิดดู:
      65
    • a121.jpg
      a121.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.8 KB
      เปิดดู:
      67
    • a122.jpg
      a122.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.8 KB
      เปิดดู:
      65
    • a124.jpg
      a124.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.4 KB
      เปิดดู:
      58
    • a125.jpg
      a125.jpg
      ขนาดไฟล์:
      33.7 KB
      เปิดดู:
      56
    • a127.jpg
      a127.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.7 KB
      เปิดดู:
      62
    • a128.jpg
      a128.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.3 KB
      เปิดดู:
      66
    • a129.jpg
      a129.jpg
      ขนาดไฟล์:
      25 KB
      เปิดดู:
      89
    • a1213.jpg
      a1213.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.9 KB
      เปิดดู:
      59
    • a1214.jpg
      a1214.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34 KB
      เปิดดู:
      84
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 สิงหาคม 2008
  2. kumpeang

    kumpeang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    546
    ค่าพลัง:
    +1,984
    เรื่องการจุดไฟ

    จากการขัดสี โดยเอาไม้มาสีกัน
    พูดแค่นี้ฟังดูง่ายจัง แต่แท้ที่จริงแล้วทำได้ยากมากๆนอกจากจะใช้กำลังและความอดทนอย่างมากแล้ว ไม่ใช่ใครจะทำเองได้หากไม่เคยฝึกฝนก่อน การเอาไม้สีกันจะเกิดความร้อนสูงเพียงพอที่จะจุดไฟได้แต่ต้องมีเชื้อไฟที่ดีพอ เรามักจะใช้ขุยไม้ นุ่น ฝ้าย เป็นเชื้อจุด การเอาไม้สีกันอย่างแรงและต่อเนื่องมักเป็นการใช้ไม้แท่งและคันเชือกปั่นให้แท่งไม้เกิดความร้อนจนติดเชื้อไฟ เป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนให้ชำนาญก่อนที่จะต้องใช้จริงๆ อย่าคิดว่าเดี๋ยวเกิดเหตุการณ์ก็เป็นเอง เพราะมันอาจไม่ทันการเสียแล้ว


    หินเหล็กไฟ
    เป็นชื่อของอุปกรณ์จุดไฟครับไม่ใช่วงดนตรีร็อกชื่อดัง วิธีนี้ก็นับว่าง่ายกว่าการเอาไม้สีกันแต่ต้องมีการเตรียมการมากกว่าคือต้องพกชุดจุดไฟไปด้วย หินไฟนั้นเราจะยังพบเห็นในปัจจุบันก็คือถ่านไฟแช็คที่เมื่อเสียดสีด้วยโม่กลมๆที่มีความหยาบแล้วจะเกิดประกายไฟและความร้อนขนาดเล็กที่สามารถจุดแก็ส น้ำมัน หรือวัตถุไวไฟอื่นๆ(เช่นดินปืน หรือก้อนนุ่น) ให้ติดไฟได้โดยง่าย จึงเป็นหลักการของการจุดชนวนปืนใหญ่ ปืนคาบศิลาและ ไฟแช็คในปัจจุบัน ถ้าเรามีไฟแช็คแก็สราคาถูกๆ ที่หมดแก็สแล้ว ลองถอดส่วนหัวครอบออกมาแล้วเอาประกายไฟของหินเหล็กไฟขีดลงไฟบนก้อนสำลี หรือ ขุยกระดาษทิชชู่ จะทำให้เชื้อไฟลุกติดไฟได้โดยง่ายดาย คุณจะทดลองดูด้วยตนเองก็ได้ครับ ชุดจุดไฟโดยใช้หินเหล็กไฟจัดเป็นอุปกรณ์มาตรฐานทีมีจำหน่ายเพราะ 1 แท่ง สามารถจุดไฟได้มากกว่า 1000 ครั้ง คุ้มค่าในการจัดชุดยังชีพครับ แถมยังกันน้ำดีกว่าไฟแช็คอีกด้วย<!-- / message --><!-- attachments -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูป</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </FIELDSET>
    <!-- / attachments --><!-- sig -->__________________
    ที่มา http://thaiblades.com/forums/showthread.php?t=10475&page=4

    เก่าเล่าใหม่ก็ได้ประโยชน์ทุ้กที......
     
  3. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    จุดเทียน เอาเทียนไปต่อไฟดีกว่า เพราะขัดสีไม้ไม่เป็นค่ะ
    ไม้ขีดไฟตราพญานาค กล่องยักษ์ ๑ๆ กล่อง ๖๐ บาท ซื้อร้านสังฆภัณฑ์
    ถุงซิิบกันน้ำขนาดสองผ่ามือ ๕๐๐ กรัมราว ๘๐ บาท ซื้อได้ที่แม็คโคร
     
  4. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    สำหรับ Light Stick หาซื้อได้ที่อื่นก็มีครับ อันที่เห็นในรูป ผมซื้อจากร้าน Daiso (ไดโซะ) สาขาฟิวเจอร์พาร์ครังสิตครับ จะมีสีส้ม สีเหลือง สีชมพู ราคา 60 บาท ต่ออัน ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0261.jpg
      IMG_0261.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44 KB
      เปิดดู:
      57
    • IMG_0266.jpg
      IMG_0266.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.6 KB
      เปิดดู:
      51
  5. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
    denceeความสว่างนานไหม ครับ

    denceeให้ความสว่าง ใช้เป็นแสงสัญญาณแสดงที่อยู่ได้ในเวลากลางคืน ไม่ทราบว่ากลางวันพอเห็นในระยะไกลได้ไหม (kiss)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0261.jpg
      IMG_0261.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      54
    • IMG_0266.jpg
      IMG_0266.jpg
      ขนาดไฟล์:
      3.4 KB
      เปิดดู:
      912
  6. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    ผมว่าสว่างเต็มที่น่าจะได้สัก 4 ชม.นะครับ ส่วนหลังจากนั้น ที่ในฉลากเขียนไว้ 8 ชม. หรือบางรุ่น 12 ชม. น่าจะเป็นเวลาอายุของแสงทั้งหมดตั้งแต่สว่างจนดับ

    กลางวันไม่ได้ครับ มองไม่เห็นเลย เหมือนเป็นแค่แท่งธรรมดา

    กลางวันคงต้องเป็นพลุ หรือ ควันไฟแล้วครับ
     
  7. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
    hello8สี่ชั่วโมงก็ยอดแล้วครับ คงต้องหาไว้เล่นมั้งแล้ว แบบนี้คงจะไม่แย่งอากาศเราหายใจ สี่ชั่วโมงสุดท้ายก็ค่อย ๆ มอดไป อย่างนี้ดีสำหรับผู้กลัวความมืด แต่ถ้าใช้แล้วคงต้องม้วนเดียวจบ :z12
     
  8. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
    611254714002.jpg 611254714254.jpg



    611254714363.jpg 611254714304.jpg thaiseal_b19.jpg

    seal016.jpg

    :z12วันนี้หารูปเรื่องการใช้เชือก บางทีอาจนึกไม่ออกว่าจะเอาเชือกไปใช้ประโยชน์อย่างไร นอกจากทำราวตากผ้าแล้วก็ยังขึงแขวนกลดได้ หรืออาจใช้ช่วยให้การเดินทางไปได้สดวกจากเครื่องกีดขวางที่เป็นอุปสรรคของการเดินทาง

    :z12 เชือกที่ประจำตัวบุคคลมักจะมีความยาวประมาณ ๑๐ ฟุต ถ้าเชือกประจำชุดหรือประจำหน่วยหรือกลุ่มคนหลาย ๆ คนก็ยาวและใหญ่เพิ่มขึ้น หมายถึงต้องช่วยกันแบกถ้ามีการเดินเท้า ถ้าบรรทุกไปในรถก็ไม่มีปัญหา

    :z12เชือกที่มีความยาว ๑๐ ฟุต เห็นบางท่านบ่นว่าจะเอาไปทำอะไรได้ยาวแค ๑๐ ฟุต เชือกนี้เป็นเชือกประจำบุคคลที่จะนำไปทุกสถานที่ เรียกว่าพันติดสายโยงบ่าหือเป้ไปเลย ถ้าต้องการใช้ยาวก็เอามาต่อกันให้ยาวตามต้องการ ใช้ข้ามลำน้ำโดยทำสพานเชือก หรือห้อยโหนข้ามสิ่งกีดขวาง หรือทำการโรยตัวจากที่สูง หรือใช้ทำปมหรือบันไดเชือกขึ้นที่สูงหรือลงจกที่สูง

    :z12ในชุด หรือหน่วยทหารใด ๆ ก็ตาม เชือกจะเป็นขนาดเดียวกัน เพื่อสดวกกับการใช้งาน เชือกขนาดเดียวกันจะต่อจะทำประโยชน์ได้มากกว่าเชือกคนละขนาดกัน

    :z12การขึนหรือลงจากที่สูง ถ้าเป็นเชือกเส้นเดียว ถ้ามีเชือกยาวพอที่จะมัดปมได้ก็ให้มัดปม เอาไว้เหยียบพักเท้า จะได้ไม่หมดแรงตกลงมาก่อน แต่ถ้าเชือยาวไม่พอที่จะทำปมได้ก็ การห้อยโหนหรือยึดจับ ถ้ามีถุงมือหนังก็จะช่วยได้มาก มือไม่ลื่น จับเชือกได้กระชับ ถ้าเราไม่รู้วิธีการไต่เชือกเราก็จะหมดแรงก่อนขึ้นถึงที่หมาย

    :z12กาไต่เชือกเส้นเดียวใช้กำลังมาก มีวิธีที่จะผ่อนแรงคือ มือขวาที่จับเชือก ให้เอามือหรือแขนขวาพันกับเชือกสักรอบ ให้ข้อเท้าขวาพันกับเชือกสักรอบ ฝ่าเท้าขวาเหยียบเชือกอยู่บนหลังเท้าซ้าย ค่อย ๆ รูดลงทีละน้อย ถ้าระยะทางยาวต้องการพักระหว่างทางก็ให้ใช้ขาขวาท่อนล่างพันกับเชือกสักรอบสองรอบแล้วใช่เท้าขวาเหยียบบนเชือกบนหลังเท้าซ้าย พันแขนขวาท่อนบนอีกสังสองรอบ แค่นี้ก็ยืนพักบนเชือกในแนวดิ่งได้อย่างสบาย จะลงต่อก็คลายเชือกที่แขนและขา ก็ลงตามเดิม

    :z12ถ้าเชือกมีปม หรือทำบันไดลิงได้ ก็สดวก ไม่มีปัญหา แต่ถ้าจะให้ปลอดภัยเป็นลำดับหนึ่งก็ใช้ เชือกที่ประจำตัว ๑๐ ฟุต นั้นแหละ คลื่ออกมาพันรอบเอวหนึ่งรอบแล้วพันแทยงลงหว่างขาสองข้างแล้วพันที่เอวอีกหนึ่งรอบมัดให้แน่น เอาสแนปลิ้งค์ ไอ้ตัวงอ ๆ แบบที่ห้อยตามเอว ตามเป้ นั้นแหละ เอาตัวขนาดเขื่อง ๆ หน่อย เกาะร้อยเข้าที่เชือกที่รัดเอวอยู่ หยุดพักตรงไหนก็คล้องเกาะเชือกตรงนั้นไว้ ไอ้ตัวงอ ๆ นีก็ต้องหามาติดเป้สักอันสองอัน เอาพอใช้งานได้ ไอ้นี่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง

    :z12การลงทางดิ่ง หรือ ลงจากที่สูง ถ้ามีเชือกแบบที่เขาไต่หน้าผากัน ยาว ๆ เส้นเดียวก็สนุก มีเชือกประจำตัวก็เอามาพันเอว มีสแนปลิ้งค์ สักตัว ซือหรือขอเขาเอาก็ได้ เกี่ยวเข้าที่เอว แล้วเอาเชือกเส้นยาวที่จะเป็นเชือกนำลง เอาเข้ามาพันที่ขอเกี่ยวของเราสักรอบสองรอบ ถ้าพันรอบเดียวก็รูดลงไว ถ้าพันสองรอบก็ลงช้าหน่อย เลือกเอา ต้องมีถุงมือหนังที่หนาหน่อยพอทนความร้อนจากการเสียดสีกับเชือกได้ มือซ้ายจับเชือกด้านบนเป็นการประคองตัว มือขวาจับเชือกด้านล่างเอาไปกดไว้ที่สะโพก มือซ้ายประคองไว้ มือขวาที่อยู่กับสะโพก เป็นตัวกำหนดว่าจะให้หยุดหรือให้เคลื่อนที่ ถ้าเรากำมือขวาและกดแนบกับสโพก มันก็จะหยุด ถ้าเราคลายมือมันก็จะรูดลง คล่อย ๆ คลายมันก็จะลงอย่างนิ่มนวล อันนี้ลงทางดิ่งที่ไม่มีที่เหยียบแบบหน้าผา เช่นลงจาก เฮลิคอปเตอร์

    :z12ถ้าแบบมีหน้าผา หรือ ฝาบ้าน ผนังคอนโด ก็ทำแบบเดียวกัน แต่ให้ใช้เท้าเหยียบกับผนัง ให้ตั้งฉากกับผนัง กางขาออกให้เทห์ เหมือนพระเอกหนัง เพื่อความมั่นคงของการเหยียบ เวลาลงก็ใช้กระโดดทีสองขาพร้อมกัน หรือจะค่อย ๆ ก้าวเดินถอยลงก็ได้ เวลากระโดดก็ใช้จังหวะมือที่กดทับสโพกให้คลายมือเป็นจังหวะที่เรากระโดด เมื่อต้องการหยุดก็บีบมือแล้วกดกับสะโพก เมื่อหยุดการเคลื่อนที่เท้าก็จะไปเหยียบกับผนังคอนโดโดยรักษาแนวลำตัวให้ตั้งฉากกับผนังคอนโด ตอนนี้อาจจะทุลักทุเลสักสองสามยก พอจับจังหวะได้ก็ลิ่วเลย แต่ถ้าเดินลงทีละก้าวก็สบาย ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม

    :z12เวลากระโดดก็ต้องถีบผนังยันตัวออกมา รักษาการทรงตัวไว้ ทำแบบนี้เป็นวงรอบ จนกว่าจะถึงพื้น ถ้าเชือกยาวมากพอ คนที่คอยคุมการเคลื่อนที่อยู่ข้างล่างเขาจะช่วยให้เราปลอดภัยได้โดยการคอยดึงเชือกให้ตึงให้กว้างออกไปถ้าเขาเห็นเราเสียหลักเสียการทรงตัว เป็นการเบรคการเคลื่อนที่ของเรา

    :z12สพานเชือกในระดับหรือต่างระดับ มีตั้งแต่หนึ่งเส้น สองเส้น สามเส้น สี่เส้น มากเส้นก็มั่นคงเดินง่าย การไต่เชือกเส้นเดียว น่าจะเป็นการยากกว่าเพื่อน และใช้กำลังมากกว่า มีวิธี

    :z12 โหนเชือกแบบสองมือสลับกันไปจนถึงจุดหมาย

    :z12โหนด้วยสองมือแล้วเอาขาเกี่ยวไขว้กัน แล้วก็ไต่สลับกันไป อย่างนี้เบาแรงหน่อย

    :z12แบบนอนคว่ำหน้าพาดลงไปกับเชือกขาซ้ายห้อยลงกับพื้นดิน ขาขวาท่อนล่างพาดไว้กับเชือกทิ้งเข่าลง แขนซ้ายแขนขวาประคองเชือกไปข้างหน้า สองมือจับเชือกดึงรูดตัวไปข้างหน้า แบบนี้ถ้าการทรงตัวดีก็ไปแบบเบาสบาย ๆ แต่ไปได้ครึ่งทางทีไร ครูฝึกมันร่วมแรงเขย่าเชือกให้เราตกทุกที แม้กระทั่งเราเป็นครูฝึกเราก็เอาเหมือนกัน เป็นที่สนุกสนาน เมื่อตกแล้วก็เป็นท่าเกี่ยวขาไขว้ ไปแบบลิงไต่ราว ถึงได้เหมือนกัน

    :z12 การฝึกตกจากเชือกก็ลงน้ำ ของจริงตกจากเชือกก็พื้นดินแข็ง ๆ ความสูงคงต้องแล้วแต่ว่าระกรรม

    :z12การฝึกมีรถพยาบาลจอดคอยอยู่ มีหมอพยาบาลประจำอยู่ให้กำลังใจด้วย ของจริงไม่มีรถพยาบาลและหมอ มีแต่สายตาพวกเรากันเอง

    :z12การฝึกมีเชือกเส้นใหญ่กำลังพอเหมาะ แต่ของจริงอาจเล็กและต้องต่อกันอีกต่างหาก

    :z12การฝึกมีการอธิบายและมีการสาธิต มีครูฝึกคอยกำกับดูแล แต่ของจริงต้องนึกคิดเอาเอง เราต้องดูแลตัวเราเอง มีเพียงเพื่อนคอยลุ้นเท่านั้น

    wel lcome_ เชือก ถุงมือหนัง สแนปลิ้งค์ ดี ๆ สักชุด น่าจะไม่หนักเกินไป ลองเรียนรู้มันสักหน่อย ถ้าอยากสนุกก็โนนเลย ตามสถานที่ท่องเที่ยว มีให้ลองมากมาย

    wel lcome_หวังว่าคงเป็นประโยชน์ บ้าง น่ะ ครับ

    :z12ไอ้ตัวขอเกาะเกี่ยวพวกนี้ คงต้อง ไปถามหา kitcamp ไม่รู้ว่าภาษานักเดินป่าเขาเรียกอะไรถึงจะถูกต้อง ผมก็เรียกไปตามที่เขาเรียกกัน ไง ๆ ก็ช่วยบอกกันหน่อย เดี๋ยวนี้มันทันสมัยมาก

    :z12รูปภาพก็ได้รับความเอื้อเฟื้อจากหลายที่ ครับ ต้องขอขอบคุณเจ้าของภาพ ภาพแบบนี้หาดูยาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 611254714304.jpg
      611254714304.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.8 KB
      เปิดดู:
      68
    • DSC_0260.jpg
      DSC_0260.jpg
      ขนาดไฟล์:
      4.8 KB
      เปิดดู:
      728
    • DSC_0278.jpg
      DSC_0278.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.8 KB
      เปิดดู:
      754
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 สิงหาคม 2008
  9. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
          1. ATTACH]386768[/ATTACH]
            [ DSC_0250.jpg


            DSC_0300.jpg

            DSC_0303.jpg

            DSC_0320.jpg :z12ตามภาพเป็นการข้ามลำน้ำด้วยรอกหรือเรียกว่าเลื่อนช่วยชีวิต ถ้าเรียกดุ ๆ หน่อย ก็ เลื่อนมรณะ ถ้าเป็นตามสถานที่ท่องเที่ยวก็เรียกให้สวยหรู หน่อย เลื่อนลอยฟ้า
    1. :z12ที่ถาวรก็ต้องเป็นลวดสลิงขนาดใหญ่ มีรอกเป็นตัวเลื่อน ตามสถานที่ท่องเที่ยวก็ต้องมีสายรัดอย่างดีเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ถ้าขึงลวดลาดชันมาก ๆ รอกก็จะไปเร็ว ถ้าลาดชันน้อย รอกก็จะเคลื่อนที่ช้า ถ้าขึงให้หย่อนท้องช้างรอกก็จะเคลื่อนตัวช้าขึ้นไปอีก ทำให้ไม่เป็นอันตรายมากเกินไปสำหรับผู้ใช้ เมื่อเคลื่อนที่ใกล้ถึงจุดปลายทางก็จะมีสัญญาณให้ทิ้งตัวลงน้ำ ถ้าทิ้งตัวช้าก็ลงที่น้ำตื้นอาจบาดเจ็บได้
      1. :z12ถ้าเป็นการฝึกของทหารพวกหน่วยรบพิเศษ ก็ต้องขึงให้ตรึง ให้ชันเข้าไว้ ก่อนขึ้นไปเล่นก็ต้องเอานักเรียนให้เหนื่อยจนอ่อนล้า ถึงจะสะใจครูฝึก ไม่มีการเกาะสายเพื่อความปลอดภัย ใช้กำลังแขนโหนตัวไป ถ้าตกก่อนสิบถึงสอบห้าเมตรก็ตกดิน ตายสถานเดียว ลงน้ำเสร็จก็ห่อพวกเป้สัมภาระต่าง ๆ ทำเป็นทุ่นข้ามลำน้ำกลับมาที่เดิม
    2. :z12ลักษณะนี้ก็นำมาใช้ได้กับการส่งข้ามสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสัมภาระหรือคน อาจใช้รอกหรือไม้ง่าม หรือวัสดุอื่น ๆ มาดัดแปลง ถ้าไม่มั่นใจในกำลังกายก็ใช้เชือก ๑๐ ฟุตมารัดตัวแล้วใช้ขอเกี่ยวเกาะคล้องไว้ ก็จะปลอดภัยระดับหนึ่ง
      1. :z12จำลักษณะไว้แล้วนำไปพลิกแพลงใช้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_0298.jpg
      DSC_0298.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      712
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 สิงหาคม 2008
  10. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
    1. 1.jpg

      4514-20071123231002.jpg

      212.jpg

      25-20050824224337.jpg

      25-20050823204754.jpg

      25-20050823204238.jpg

      25-20050823204926.jpg :z12ภาพ เฮลิคอปเตอร์แบบลำเลียง
    • :z12เราอาจเป็นผู้ได้รับการช่วยเหลือด้วยเครื่องบินเหล่านี้ ถ้าเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับมันสักเล็กน้อยก็คงไม่เสียหาย ​
    :z12ในเหตุภัยพิบัติต่าง ๆ เราอาจได้รับการช่วยเหลือจากทางหน่วยราชการ ฮ.ลำเลียงขนาดเล็ก มีนักบิน ๒ นาย ช่างเครื่อง ๒ นาย ผู้โดยสารตัวเปล่าก็อาจนั่งได้สัก ๑๐ - ๑๓ คน ถ้าอุปกรณ์พร้อมรบก็ได้แค่สัก ๖ - ๘ คนก็เต็มที่ ​


    :z12ด้านข้างซ้ายขวา เป็นที่นั่งของช่างเครื่อง หรือพลประจำปืนกล สองท่านนี้จะช่วยเหลือให้เราขึ้นนั่งอย่างปลอดภัย บางครั้งช่างเครื่องอาจจะลงมาอยู่กับผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือคอยประสานงานกับนักบินเกี่ยวกับการบรรทุกให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและคอยจัดและจำกัดจำนวนคนในการบรรทุก ​

    :z12ถ้าเครื่องลงรับได้ ลมจากใบพัด ฮ. จะแรงมาก สิ่งของที่อยู่บริเวณสนามที่เตรียมบรรทุก เราจะต้องจับให้ดี ถ้ามันปลิวแล้วก็ไกลเลย ถ้าเป็นเที่ยวบินที่ท่านต้องขึ้นด้วยแล้วท่านจะไม่มีโอกาสหันกลับไปเก็บของของท่านเลย อาจไปได้แต่ตัว เวลา ฮ. จะลงแตะพื้น ให้หันหน้าสู้ลมเข้าไว้กมหน้ามองดิน ก้มตัวให้ต่ำเข้าไว้ ตั้งท่ารับแรงลมให้มั่นคง จะได้รู้ว่าฝุ่นหมดเลยตัวเราไปแล้ว ไม่ควรหันหลังให้ จะทำให้เราไม่เห็นว่าฝุ่นหมด และไม่เห็นตัวนักบินหรือช่างเครื่องซึ่งอาจส่งสัญญาณให้กับเรา เมื่อ สกีของ ฮ. แตะพื้นก็หิ้วเป้ของเราวิ่งขึ้นไปบนห้องบรรทุก ถึงก่อน ก็เหวี่ยงเป้ขึ้นไปนั่งติดกับผนังหลังพิงผนังสบายไป คนอื่น ๆ ก็นั่งต่อ ๆ กันไป ให้นั่งทับบนเป้ของเรา จะไม่กินพื้นที่ ถ้ามีสัมภาระอื่น ๆ มาก การนั้งบนสัมภาระที่สูงจะทำให้หัวเราชนกับเพดาน ถ้าระยะทางสักครึ่งชั่วโมง เราจะเมื่อยมาก ยิ่งนั่งไม่ถนัดจะยิ่งแล้วใหญ่ ถ้าจะให้ดี ตรงที่ช่างเครื่องนั่งด้านข้างนั้นแหละครับ เสือกเป้ไว้ใต้ที่นั่ง แล้วลงนั่งคู่กับช่างเครื่องไปเลย คราวนี้สบายเหมือนนั่งรถ ปอ. ๑ เลย สองด้านก็นั่งได้สองคน ไม่ต้องไปเบียดกับใคร ถ้าช่างเครื่องไปอยู่กับทางภาคพื้นดินอีกละก็เราก็นั่งเพิ่มได้อีกคน ชมนกชมไม้กันเพลิดเพลิน ส่วนใหญ่ช่างเขาจะคอยควบคุมการขึ้นลง มื่อ สกี ฮ.แตพื้นดินสนิทแล้วถึงจะเคลื่อนตัวขึ้นลงได้ ​

    :z12 เวลา ฮ. ลง เสียงมันดังคุยกันไม่รู้เรื่อง ต้องใช้สัญญาณมือ กัน ผู้ควบคุม ตบบ่า ก็วิ่งขึ้นได้เลย กำมือยกนิ้งโป้ง ก็ เคลียร์ ....เรียบร้อย ยกมือให้นักบิน นักบินพยักหน้า หงึก ๆ ก็ OK. ยกเครื่องขึ้นบินจากไป พวกที่รอคอยอยู่ข้างหลังก็นอนรออย่างว้าเหว่เหมือนคนที่รอคอยความหวัง พอได้ยินเสียง ฮ. มาแต่ไกลโดยที่ยังไม่เห็นตัว ก็ใจขึ้นมาเป็นกอง หน้าตาตื่น ถึงคิว:z12ตูแล้ว ตูได้ไปเสียที .......ลาก่อนภัยพิบัติ.... ​

    :z12 สิ่งของที่วางลงบนพื้น ฮ. ต้องดูแลให้ดี มีสิทธิ์ตกหล่นจาก ฮ. ได้ เคยมีกล่องที่ใสบุหรี ๒๐ ห่อ ร่วงหล่นจาก ฮ. ห่อละ ๑๓๐ บาท คูณเข้าไป ผบ.ฐานหน้ามืดไปเลย ลูกน้องบนฐานบ่นกันไปสิบวันเพราะไม่มีบุหรีสูบ ต้องเล่นยาเส้นแก้กันไป หาตัวคนรับผิดไม่ได้ เป็นไปตามธรรมดา รับชอบแต่ไม่รับผิด คนก็ต้องยึดห่วงที่พื้นที่นั่งหรือด้านบน ด้านข้าง ตามธรรมดาแล้วมันปลอดภัยถ้านั่งดี ๆ แต่บางครั้งเขาลดระดับเร็ว มันก็เอียงตัวมาก เป็น ฉวัดเฉวียน ตอนนี้ท่านอาจเมาเครื่องได้ ​

    :z12ตามธรรมเนียม หรือตามลำดับความเร่งด่วน บาดเจ็บสาหัสไปก่อน ตามด้วยบาดเจ็บเล็กน้อย ต่อด้วยพวกหน้าละห้อยอ่อนแรง และพวกกำยำแข็งแกร่ง ส่วนหัวหน้ากลุ่มพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ KANANAN ต้องก้าวขึ้นเป็นคนสุดท้าย

    :z12ฮ.ใหญ่ สบายมาก ขึ้นได้เพียบ หิ้วปืนใหญ่ได้สบาย รถวิ่งเข้าไปจอดได้ หลายคัน บรรทุกคนได้ ๕๐ - ๖๐ คนได้สบาย แต่ลมแรงมาก หลังคาสังกระสีตะปูยังถอนได้เลย ฟืนที่เราตัดวางไว้เป็นกอง ๆ ยังปลิวได้ พวกบนดอยเห็นมันมาหิ้วปืนแล้วใจหายจะต้องซ่อมอะไรกันอีกเที่ยวนี้ ถ้ามันมีโอกาสมารับใช้เราก็ต้องเตรียมตัวให้ดี ​

    :z12บางครั้งเมื่อเราขึ้นนั่ง ฮ. แล้ว นักบินยกตัวแล้วเห็นว่ามี นน.มาก อาจเอาสกีแตะพื้นใหม่ แล้วต้องไล่ใครคนใดคนหนึ่งลง ถ้าเรานั่งข้าง ๆ ประตูตรงที่ช่างเครื่องนั่ง ตรงนี้ก็อาจปลอดภัยจากการถูกลด นน.ของ ฮ. เพราะเมื่อเราขึ้นไปแล้ว ก็ยากที่เราจะอยากลง เพราะเที่ยวหน้า ฮ.จะมีโอกาสมารับเราหรือเปล่าก็ยังไม่รู้ แล้วยิงคนหนีตายแล้ว ยิ่งทำใจยาก ต้องทำใจ ครับ ฮ. นน.มากไป ก็เป็นอันตราย จะทำให้ตายยกลำ ไม่เคยมีประวัติว่ามีใครรอดตายจาก ฮ.ตกในระดับสูง เคยไปเฝ้าซาก ฮ. หลายวาระ ดูไม่จืด จริง ๆ ยิ่งตกในป่าแล้ว ค้นหากันหลายวัน กว่าจะพบเจอ ถ้าระเบิดและไฟลุกแล้วด้วยไม่รู้ใครเป็นใครดำเหมือนกันหมด ต้องดูนาฬิกา สร้อย แหวน เครื่องประดับต่าง ๆ กว่าจะรูใครเป็นใครก็ต้องวิทยุหากันยุ่งวุ่นวายไปหมด ​

    :z12ในระหว่างที่รับ ฮ.ในสนาม ถ้าลมแรงกรรโชก เราก็ต้องระวังตัวเราด้วย ถ้า ฮ. มันเอียงเสียหลัก ใบพัดก็อาจมาฟันหัวเราได้ การรอขึ้น ฮ. เขาให้รอขึ้นสองฝั่งด้านข้าง ให้รอขึ้นด้านละเท่า ๆ กัน จะทำให้ขึ้นได้รวดเร็ว ไม่เปลือน้ำมัน ด้านหน้าก็มีคนรับ ฮ. ได้คนเดียว ทางที่ดี คนที่ไม่เกี่ยวข้องก็หลบลงหลุมไป หาที่ซ่อนตัวดี ๆ ​

    :z12ฮ. เขาบินตามภาระกิจ น่ะ ครับ นอกเหนือไม่ได้ จะลงไปเก็บเห็ด หรือพาพวกขึ้นไปภูกระดึงนี่ไม่ได้ เขาไปภาระกิจไหนก็ต้องตามนั้น ขึ้นเกินไม่ได้ ไม่งั้นเวลาตกแล้วศพมันเกิน เช็คยอดยาก จะขึ้นที ต้องมีรายละเอียดมาก จำนวน รายชื่อ ไปจนถึงกรุปเลือด นน.ในแต่ละเที่ยว มีสิ่งของประเภทไหนก็ต้องแจ้งให้ทราบ ไม่งั้นก็อาจเป็นอันตรายต่อ ฮ.เอง ​

    wel lcome_ที่เขียนมาเล่าสู่กันฟัง นี่ ไม่ได้เป็นนักบิน น่ะ ครับ เป็นเพียงผู้โดยสารจึงพอเข้าใจในตำแหน่งผู้โดยสาร​
     
  11. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    ข้อมูลรายละเอียด ช่วยให้เกิดไอเดียหลายอย่างในการเตรียมอุปกรณ์
    soldier never die :z2
     
  12. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เยี่ยมไปเลยครับ
     
  13. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
    :z12Old Ranger never die

    :z12Old Recon never die

    wel lcome_ ไอเดีย....อะไร ก็บอกกันบ้าง....:z12
     
  14. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    วันก่อนได้มีโอกาสจัด ชุดรับมือแผ่นดินไหวใหม่ครับ เนื่องจาก ชุดเดิม มีน้ำหนักมาก และไม่คล่องตัวเลย เนื่องจากผม อยู่ในตึก ชั้น 4 และ ไม่มีรถ ให้ขนของจำเป็นเพิ่มมากนัก ความคล่องตัวและเบา ค่อนข้างสำคัญ และก็ต้องในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ในเวลาใช้งานจริง

    โดยอ้างอิงจาก ชุดรับมือแผ่นดินไหวของต่างประเทศ แล้วมาดัดแปลงเป็นบางอย่างครับ

    เริ่มจาก ในรูปเป้ เป็นเป้ ขนาด 25 ลิตร ขนาดกำลัง เป็น เป้ Day pack ครับ

    รายละเอียดสิ่งของ ดังนี้

    - เครื่องมือสื่อสาร ว.แดง พร้อมแบตเตอรี่สำรอง เต็มๆ
    - ชุดปฐมพยาบาล ครบเซ็ต พร้อม ยาทากันยุง ตะไคร้หอม
    - ไม้ขีดไฟ 2 กลัก อยู่ในถุงซีลกันน้ำ ไฟแช็ค
    - ไฟฉายแบบถือ และไฟฉายคาดหัว พร้อมถ่านอัลคาไลน์สำรอง
    - เชือกแบน 20 เมตร ซึ่ง ที่ใช้เชือกแบนเนื่องจาก มีความเหนียว และประหยัดเนื้อที่ในเป้ได้ครับ แต่ประโยชน์อาจจะจำกัดหน่อย เท่าที่จำเป็นครับ
    - เสื้อผ้า 1 ชุด เป็นกางเกงทหารขายาว เสื้อแขนยาว และกางเกงชั้นใน (เผื่อไว้ตอนหนีออกจากตึก)
    - ทิชชู่น้ำ ไว้เช็ดตัว
    - เสื้อกันฝน แบบพกพา
    - ผ้าปิดจมูก กันฝุ่นละออง จากฝุ่นซีเมนต์
    - ถุงมือผ้า
    - Light Stick 3 แท่ง (ถ้ามีสัก 5 แท่งก็ดีครับ)
    - ขี้ใต้
    - เทียนตะไคร้หอม
    - น้ำดื่ม 2 ขวด
    - ชุดอาหาร ประกอบด้วย มาม่า 5 ห่อ ใส่ไว้ในหม้อใบเล็ก โจ๊ก 2 ห่อ เน้นเบา และ หมูบดกระป๋อง 2 กระป๋อง
    - มีดพับ และ มีดวิกตอรินอกซ์

    เท่านี้ก็น่าจะเพียงพอสำหรับผมแล้วครับ

    และจัดเสร็จแล้ว วางไว้ใกล้เตียงนอน ครับ เผื่อแผ่นดินไหว มุดใต้เตียงก่อน และสามารถคว้าเป้ได้สะดวกและทันท่วงที
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0267.jpg
      IMG_0267.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.4 KB
      เปิดดู:
      74
    • IMG_0269.jpg
      IMG_0269.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55 KB
      เปิดดู:
      88
  15. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
    a04.jpg

    a05.jpg

    a06.jpg

    DSC_0049.jpg

    DSC_0056.jpg

    seal004.jpg

    611254713584.jpg

    thaiseal_b00.jpg

    seal05.jpg

    seal09.jpg [/ATTACH]

    a06.jpg

    DSC_0049.jpg

    DSC_0056.jpg

    seal004.jpg

    611254713584.jpg

    thaiseal_b00.jpg

    seal05.jpg

    seal09.jpg wel lcome_ ลองมาคุยกันเรื่องภาคทะเลและที่ลุ่มกันบ้าง อ่านจบก็รับประกาศนียบัตร Ranger ได้เลย ผ่านหลักสูตรมาแล้ว ๑๐ สัปดาห์

    รับประกาศ Recon อีกครึ่งใบ แถม ทำลายใต้น้ำจู่โจมอีก เศษเสี้ยวของใบประกาศ

    :z12เรื่องทะเลนี่ต้อง Marine 24 ถึงจะของจริง ผมเพียงแค่ผ่าน ๆ แต่ก็จะขึ้นให้ Marine 24 มาเสริมให้สมบูรณ์ ถ้ามีเวลา
    :z12เอาภาพเรือยางมาฝาก เห็นว่าหลายคนเอ่ยถึง การใช้เรือยางไม่ใช่ของง่ายถ้าเราไม่ได้เรียนรู้การใช้งาน ตอนที่ฝึกหลักสูตร จู่โจม ได้มีโอกาสเข้าไปฝึกภาคทะเล ๒ สัปดาห์ ได้ฝึกหลักสูตรลาดตระเวนชายฝั่ง ของทหารเรือ โดยมีครูฝึกที่มาจากหน่วยรบพิเศษของทหารเรือ หน่วยทำลายใต้น้ำจู่โจม หรือเขาเรียกพวกมนุษย์กบ จังหวะที่เข้าไปเรียนก็ได้มีโอกาสดีที่ทางทหารเรือกำลังฝึกหลักสูตรทำลายใต้น้ำ ของ ทบ. หลักสูตรจู่โจม ของ ทร. มนุษย์กบ ชนกันหนึ่งสัปดาห์ อร่อยครูฝึกไปเลย พอมีประสปการณ์มาเล่าให้ฟัง อาจจะเป็นประโยชน์ในการเตียมการ

    :z12คนเคยอยู่บนบกมานาน เดินป่าภูเขามาหนึ่งเดือนเต็ม ๆ จากสระบุรีขึ้นเขาใหญ่ ลงนครนายก เดินต่อไปปราจีนบุรี ขึ้นรถไปลง สัตหีบ ถูกต้อนลงลำคลองทิ้งน้ำเสีย เดินลุยอยู่ครึ่งวัน นรกแท้ ๆ เลย ไปล้างตัวด้วยการลงทะเลที่อ่าวดงตาล พักแรมที่นั้น ยุงตัวใหญ่และเยอะมาก ๆ กัดเราคันไปหมด นักเรียนจู่โจมไม่มีมุ้ง นอนแบบดิบ ๆ หลับไม่ลงแม้นอนชายทะเล เรื่องยุงสำคัญเหมือนกัน เป็นสถานะการณ์ธรรมดาอาจก่อกองไฟเอาควันไล่พอได้ ยุงบางสถานที่ มาเป็นเวลา บางทีมาตอนค่ำ ดึก ๆ อากาศเย็น ก็หายไปหมด บางทีก็มีเฉพาะตอนพลบค่ำ พอมืดจริง ๆ ก็หายไปหมด บางสถานที่ก็มีทั้งคืน อันนี้ก็ต้องหมั่นสังเกตุ ถ้ามียาทากันยุงติดตัวไปก็จะช่วยได้มาก ถ้าอากาศหนาวเย็น ก็จะไม่มียุง มันคงไม่ชอบอากาศหนาว และที่มีลมพัดมันก็ไม่อยู่เหมือนกัน ลมคงจะทำให้มันบินไม่ถนัด

    :z12เรื่องเรือยางต้องยกให้ Marine 24 นักเรียนจู่โจมบอกว่า แบกเรือยางวิ่งบนชายหาดง่ายกว่าพายเรือเข้าฝั่ง นักเรียนทำลายใต้น้ำจู่โจมบอกว่าวันไหนครูฝึกให้ลอยคออยู่ในน้ำทั้งวัน วันนั้นเป็นวันทีสบายที่สุด ก็ว่ากันไปตามถนัด เวลาพายเรือยางใหม่ ๆ มันไม่ไปตามใจเรา มันหมุนไปหมุนมา กว่าจะถึงฝั่งก็เล่นเอาเหนื่อย ไม่รู้จะโทษใคร คนพายก็ว่าคนคัดท้ายไม่ดี คนกาบซ้ายกาบขวาก็โทษกันไป กว่าจะถึงฝั่งครูฝึกก็ให้เราลงน้ำ ขึ้นเรือ ลงน้ำ ขึ้นเรือเสียหลายรอบ เลยเกิดความชำนาญ การลงการขึ้น มันมีวิธีเหมือนกันที่ง่ายและปลอดภัย หาตัวคนผิดไม่ได้ ใครก็ว่าตัวดี เป็นธรรมดาของโลก ถ้าทางธรรมก็ต้องว่า เราผิดเองถึงจะไปกันรอด ถ้าแกผิด เองผิดก็เสร็จ จมกิเลสกันหมด
    :z12อยู่กับทะเลมาหนึ่งสัปดาห์ ไม่เคยได้อาบน้ำจืดเลย แต่ก็อยู่ได้ ยังดีกว่าอยู่บนป่าภูเขา อันนั้นไม่ได้อาบน้ำเลย แต่มาอยู่ทะเลเราลงกันทั้งวัน ขึ้นจากน้ำก็นอนเลย ตีสองตีสามพวกก็มาปลุกให้ลงไปเล่นน้ำทะเลในยามดึก เล่นแบบเหนื่อยมาก ๆ สักชั่วโมงสองชั่วโมงแล้วให้เข้าไปนอนต่อ นอนสักครึงชั่วโมงก็สว่างอีกแล้ว ต้องลงไปวิ่งเล่นบนชายหาดในเวลาเช้ามืดอีก เพื่อให้ได้บรรยากาศ ต้องไปแสดงคามแข็งแกร่งกับนักเรียน ทำลายใต้น้ำจู่โจม ครูฝึกก็สนุกกันไป บางทีในสถานะการณ์ที่ต้องจำยอมอยู่ในสภาวะแบบนั้น ผมคิดว่าเราทุกคนก็ทำได้ ไม่ใช่ว่าจะต้องมาหาน้ำดี ๆ อาบ ต้องฟอกสบู่ ต้องเช็ดตัวให้แห้ง ในสถานะการณ์ภัยพิบัตินั้นน้ำดื่ม น้ำใช้ น่าจะเป็นสิ่งที่หายากและเป็นที่หวงแหน ต้องรักษาและประหยัดสุด ๆ การจิบน้ำแค่ริมฝีปากให้สดชื่นจะช่วยให้สดชื่นขึ้น ไม่ควรดื่มน้ำทีละมาก ๆ นอกจากเราจะเจอแหล่งน้ำจริง ๆ และเมื่อเจอเราก็ควรดมและชิมก่อน บางน้ำที่เจออาจเป็นน้ำกร่อย น้ำที่มีรถเฝื่อน ถ้าเรากินเข้าไปจะทำให้เราอยากน้ำขึ้นไปอีก

    :z12สถานะการณ์น้ำท่วมหรือน้ำหลาก น่าจะหาน้ำดื่มยากกว่าน้ำใช้ ถ้ามีเครื่องกรองน้ำแบบพกติดตัวก็พอช่วยได้ ถ้าเป็นสถานที่พักของเราเองก็ควรมีวิธีกรองน้ำแบบธรรมชาติที่ไม่ใหญ่โตนัก อันนี้น่าจะช่วยได้ระดับหนึ่ง เพราะถ้าเป็นเครื่องกรองน้ำที่ทำขายทั่วไปนั้นถ้าน้ำไม่ไหลก็จบ ครับ กระติกน้ำที่พกติดตัวถ้าเป็นการเดินทางคิดว่าน่าจะเป็นกระติกหรือขวดที่มีความคงทนแข็งแรงทนต่อการกระแทกและบีบอัด นำติดตัวได้ง่าย
    :z12 ฝึกปัญหา ๗๒ ชั่วโมง ขึ้นเรือยกพลขึ้นบกไป ปล่อยไว้บนเกาะ ให้น้ำหนึ่งกระติก ๑ ลิตร นั่ง ๆ นอน ๆ รอยคอยให้หมดไปวัน ๆ หาเรื่องเหนื่อยโดยใช่เหตุ ดำน้ำ เอาดาบปลายปืนแทงหอยเม่นมาเผากิน ใช้ดาบปลาบปืนกระเทาะหอยนางรมตามโขดหินมากินกันสด ๆ นัยว่าบำรุงกำลัง เดินเก็บผักบุ้งทะเลมาต้มกินโดยเฉลี่ยน้ำกันเอามาต้ม ผลปรากฏเมากันเป็นแถว ทำให้อยากน้ำมากกว่าเดิม ต้องลงไปนอนคิดว่า ตูเสียท่า ซะแล้ว ถ้านอนภาวนาอยู่เฉย ๆ จะดีกว่า เปลืองแรงและเปลืองน้ำอีกต่างหาก เป็นบทเรียนว่าอย่าดิ้นรนมากหาทุกข์ใส่ตัวเปล่า ๆ จะหาอะไรกินก็ต้องดูว่าถ้ากินไปแล้วจะทำให้อยากกินน้ำหรือเปล่า พวกเค็ม เฝื่อน ฝาด อะไรพวกนี้ คนเราพอหิวแล้ว มันคิดถึงขนมหลายร้อย ๆ รายการที่อยากกิน เป็นอย่างนั้น จริง ๆ จดใส่กระดาษแล้วหลายหน้าสมุด

    :z12พอออกจากเกาะ พวกให้กินเต็มที่เลย ให้ปลาทอดหนึ่งตัว ทีแรกไอ้เราก็นึกว่าไม่พอกิน ที่ไหนได้ครึ่งตัวก็จอด อิ่มเพราะกินข้าวมาก แถมไอสครีมกระทิอีกหนึ่งหม้อสนาม แต่กินไม่ลง หายอยาก ตอนนี้ทำให้คิดว่า คนเราก็แค่อิ่มเดียว ถ้าหิวอีกก็แค่อิ่มเดียว จริง ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 สิงหาคม 2008
  16. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
    wel lcome_
     
  17. ขิก

    ขิก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,338
    ค่าพลัง:
    +18,756
    :z12จากอ่าวดงตาลขึ้นเรือยกพลขึ้นบกไปลงที่ระยอง ตอนลงน้ำก็เกือบมิดหัว ค่อยประคองตัวเดินกันไป น้ำทะเลก็ค่อย ๆ ลดลง แล้วมันลดไวมาก จากลุยน้ำทะเลกลายเป็นลุยเลนไปซะแล้ว อันนี้ถ้า Marine 24 มาอ่านต้องขำกลิ้งแน่

    :z12ตอนลุยเลนนี่สนุกปนน่าสงสารมาก ถ้ายิ่งพยามยามที่จะเดินมันก็จะจม บางคนพยายามมากมันก็จมจนต้องไปช่วยกันขุดขึ้น มีวิธีที่ไปได้ง่ายคือนั่งพับเพียบแล้วค่อย ๆ ไป คือทำตัวให้ราบเรียบไปกับโคลนเลน อย่างนี่จะไม่จม ถ้ามีกระดานก็เอากระดานช่วยดีกว่า ต้องถาม Marine 24 ว่า จะมีวิธีไหนที่จะเคลื่อนที่บนโคลนเลนได้ดี เพราะไม่แน่เหมือนกัน พวกเราอาจจะได้เจอบ้างก็ได้ น้ำท่วมก็ต้องมีโคลนเลน หรืออาจเดินไปในสถานที่ที่เป็นที่ลุ่มน้ำขังด้วยสถานการณ์บังคับก็อาจเป็นได้ ถ้าได้รู้วิธีก็จะดีมาก

    :z12เป้ต้องเลิกแบก โยนมันไปก่อนแล้วลากตัวตามไป ปืนเป็นไม้เท้าไปแล้ว ทำแบบนี้เรื่อยไปจนถึงฝั่ง แต่ยังไม่สะใจครูฝึก ให้เดินไปตามคลองที่เป็นโคลนต่อไปอีก คงจะเพื่อความเข้มข้น ขึ้นฝั่งตอนค่ำ เข้าที่นอน มันคันจริง ยอมกับป่าชายเลน ยุงก็เยอะ คันก็คัน โชดดีที่อีกสามสี่วันจะจบหลักสูตรแล้ว ถ้าต่อไปอีกสักเจ็ดวัน อาจไม่ได้เสือคาบดาบมาประดัยที่หน้าอกด้านขวา

    :z12โอกาสการหนีภัยพิบัติ อาจต้องเจอกับหล่มและโคลนเลน ก่อนเดินก็ควรตรวจสภาพภุมิประเทศให้ดี บางทีพื้นดูแห้งและแข็ง แต่พอเหยียบลงด้วยน้ำหนักตัวแล้วจมเลย ถ้าครึ่งขาอย่าดิ้น อย่าพยายามก้าวเท้า มันจะทำให้เราจมลงเรื่อย ๆ โคลนมันดูด เราจะขยับหรือดึงเท้าขึ้นไม่ได้ ทำใจให้สงบภาวนา พุท โธ แล้วร้องให้เพื่อนช่วย ถ้ามันจะจมก็ให้รีบทำตัวให้ราบกับโคลน ถอดเป้มาเป็นตัวช่วยพยุง เชือก ๑๐ ฟุต ที่ประจำตัวจะช่วยเราและเพื่อนได้ ถ้ามีไม้เท้าก็ช่วยได้อีก

    wel lcome_ พวก ทะเล และ ป่าชายเลน ต้องให้ Marine 24 มาเล่นเองดีกว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • seal05.jpg
      seal05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38.1 KB
      เปิดดู:
      56
    • seal09.jpg
      seal09.jpg
      ขนาดไฟล์:
      45.4 KB
      เปิดดู:
      54
    • 611254713584.jpg
      611254713584.jpg
      ขนาดไฟล์:
      54.4 KB
      เปิดดู:
      65
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 สิงหาคม 2008
  18. Kongp

    Kongp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +3,909
    เรื่อง กกน. ผมเลือก แบบที่ผมใส่ประจำนี่ล่ะครับ เพราะถ้าซื้อมาแล้ว ไม่เคยลองใส่ พอมาใช้จริงๆ แล้ว กลัวมีปัญหาอ่ะครับ เช่น รัดแน่นเกินไป หรือเปล่า

    ยังไงก็ซื้อแบบใช้ครั้งเดียว แล้วทิ้ง สำรองไว้ก็ได้ครับ

    สำหรับเชือกแบน ก็รับน้ำหนักได้เยอะ ครับ เชือกประเภทนี้ เป็นแบบเดียวกับเปลนอน ครับ
     
  19. วัสสานะ

    วัสสานะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    268
    ค่าพลัง:
    +565
    เทียนตะไคร้หอม
    หาซื้อที่ไหนสะดวกบ้างครับ

    เชือกแบนเห็นเป็นใยถักเฉยๆ ส่วน เชือกกลมบางแบบ ขนาดไล่เลี่ยกันมีเส้นใยเหนียวอีกชั้นข้างใน คิดว่าน่าจะเหนียวกว่าเชือกแบนหรือเปล่า ?
     
  20. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    ผมไม่ได้ผ่านหลักสูตร RECON แต่ในระหว่างเป็นนักเรียน ผมเรียนหลักสูตรทหารราบ ครูฝึกเป็นผู้ผ่านหลักสูตร RECON และ SEAL บางคนผ่านศึกเวียตนามและเคยเป็นทหารรับจ้างในลาว ฝึกกันแบบน้องๆ RECON (รร.เหมือนค่ายกักกันซะมากกว่า) ผมอาจจะได้รับการฝึกมาน้อยกว่าพี่คลิก ผมไปเน้นสงครามทุ่นระเบิด ป้อมสนามและการสร้างเครื่องกีดขวาง แต่ที่จะทำเกิดไอเดีย คือการลำเลียงคนเจ็บทั้งทางบกและทางอากาศ (วิธีขึ้น-ลงเฮลิคอปเตอร์) และข้ามลำน้ำด้วยเลื่อน (ที่เขาชอบเรียกว่าเลื่อนมรณะ) การทำเปลสนามด้วยท่อนไม้และเสื้อผ้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...