**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6624

    พระนางพญา โรงพยาบาลสงฆ์ ปี2500


    ในปี 2500 คณะกรรมการแพทย์ โรงพยาบาลสงฆ์ ได้มีมติให้ดำเนินการสร้างพระเครื่อง โดยเงินที่ได้จากการดำเนินการดังกล่าว ทางคณะแพทย์จะใช้เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การประกอบพิธีถูกต้องตามตำราทั้งทางพุทธเวทย์ และ ไสยเวทย์ พระที่สร้างมีสองประเภท คือ เนื้อโลหะ และ เนื้อดินเผาผสมผงศักดิ์สิทธิ์ โดยเนื้อดินเผามีสามพิมพ์ ได้แก่ พิมพ์พระรอด พิมพ์นางพญา และ พิมพ์ชินราช มวลสาร - ดินจากสังเวชณียสถาน ผงว่านและ เกษรต่างๆ ผงอิทธิเจ ปถมัง มหาราช ตรีนิสิงเห ที่ได้จากพระอาจารย์มีชื่อในสมัยนั้นกว่า 700 รูป โดยให้นายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประจำจังหวัดในสมัยนั้นเป็นผู้ประสานงาน ผสมผงพระกรุเก่า อาทิเช่น พระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จวัดสระเกศ ผงพระกรุลำพูน ฯลฯ ทำพิธีพุทธาภิเศกสองครั้ง ครั้งที่หนึ่ง สามวันสามคืน ระหว่างวันที 7 – 9 มีนาคม 2500 ครั้งที่สอง สามวันสามคืน ระหว่างวันที่ 1 – 2 พฤษภาคม 2500 รายนามคณาจารย์ สมเด็จพระวันรัต เป็นองค์ประธาน พร้อมพระสงฆ์ 108 รูป อาทิ สมเด็จพุทธโฆษาจารย์ (อยู่) ลป นาค วัดระฆัง ลพ เมี้ยน วัดพระเชตุพน ลพ เหรียญ วัดหนองบัว ลพ เงิน วัดดอนยายหอม ลป โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ลพ ถิร วัดป่าเลไลย์ ลพ หลาย วัดราษฎร์บำรุง ลพ ฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิต พระครูกัลยาวิสุทธิ วัดดอน ลพ บุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์ ลพ จง วัดหน้าต่างนอก ลพ เต๋ คงทอง วัดสามง่าม ลพ แฉ่ง วัดบางพัง องค์นี้ เป็นพระรอด ครับ สภาพมีราน ตรงไหล่ ครับ พระเก่าๆปี 2500 ครับ นับมาจนถึงวันนี้ เกือบ 60 ปีแล้วครับ อีกหน่อยคงเป็นพระในตำนานครับ พระดี พิธีดี เจตนาการสร้างดี เกจิอาจารย์ ยุคเก่าทีมีชื่อเสียง ปลุกเสกไว้ครับ


    บูชาแล้วครับ

    พระนางพญา รพ.สงฆ์ a.jpg พระนางพญา รพ.สงฆ์ b.jpg พระนางพญา รพ.สงฆ์ c.jpg พระนางพญา รพ.สงฆ์ d.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020
  2. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6625

    พระกริ่งโปร่งฟ้าวัดหนองม่วงไข่ จ.แพร่ ปี 2512 แต่งเก่าสวยๆ


    ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ หลวงพ่อรส คนฺธรโส พระราชรัตนมุนี เจ้าอาวาสวัดหนองม่วงไข่ในสมัยนั้น ได้เททองหล่อพระประธาน ณ.วัดหนองม่วงไข่ หน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๙ นิ้ว โดยมีนายสวัสดิ์ และนายถาวร เดชพ่วง เป็นช่างหล่อ มีพระสมเด็จพระวันรัต ได้เสด็จเป็นองค์ประธานทำพิธีเททอง และทรงประธานพระมงคลนามว่า หลวงพ่อพระพุทธจักรลานนาไทย มีพระเถราจารย์จำนวน ๑๐๘ รูป ร่วมพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๑๒ พร้อมกันนั้นก็ได้จัดสร้างพระกริ่งพุทธจักรลานนาไทยขึ้นด้วย มีทั้งพิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก อย่างละ ๒๐๐๐ องค์ และพระกริ่งโปร่งฟ้าหล่อในพิธี จำนวน 99 องค์ เพื่อหารายได้เป็นค่าภัตตาหารของพระภิกษุสามเณร พระกริ่งของวัดหนองม่วงไข่ เป็นพระกริ่งแบบบัวรอบ ลักษณะของบัวเป็นแบบบัวคว่ำบัวหงาย ล้อพิมพ์พระกริ่งบัวรอบของวัดบวรนิเวศ รุ่นนายควง อภัยวงศ์ มีพระพักตร์โต พระโอษฐ์แย้ม มีลักษณะศิลปะแบบไทย เป็นเนื้อทองเหลืองรมดำเป็นพระกริ่งที่มีประสบการณ์สูง

    พระกริ่งโปร่งฟ้าหนองม่วงไข่ วัดหนองม่วงไข่ จ.แพร่ สวยๆ พระกริ่งโปร่งฟ้าหล่อในพิธี จำนวน 99 องค์ องค์นี้เนื้อแดง แต่งเก่าผิวเก่า ดูง่าย สุดยอดพระกริ่งเมืองแพร่ที่หายากมากๆ


    บูชาแล้วครับ

    พระกริ่งแพร่ a.jpg พระกริ่งแพร่ b.jpg พระกริ่งแพร่ c.jpg พระกริ่งแพร่ d.jpg พระกริ่งแพร่ f.jpg พระกริ่งแพร่ e.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2020
  3. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6626

    พระบูชารุ่นแรกครูบากาวิละ วัดสวรรณคูหา ขนาด 5 นิ้ว ปี 2539


    ครูบาเจ้ากาวิละท่านถือเป็นพระองค์บุญของชาวบ้านถ้ำ อีกทั้งท่านยังเป็นพระนักพัฒนาเป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้านมาก ท่านครูบาเจ้ากาวิละเป็นบุตรของพ่อตา แม่คำ หวานเสียง เกิดในปีพ.ศ. 2411 มีพี่น้อง
    ทั้งหมด 8 คน ได้แก่
    1.แม่อุ้ยปั๋น
    2.พ่อป้อม
    3.ครูบาเจ้ากาวิละ
    4.แม่ตุ่น
    5.แม่สุข
    6.พ่อหน้อยปัญญา
    7.พ่อหนานมูล
    8.พ่อหล้าพล้อย
    ครูบาเจ้ากาวิละได้บรรพชาเมื่อ พ.ศ. 2423 และอุปสมบท เมื่อพ.ศ.2432 ท่านมีหน้าที่และผลงานที่สำคัญได้แก่

    พ.ศ. 2441 ได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดสุวรรณคูหา
    พ.ศ. 2445 สร้างกำแพงรอบวัดสุวรรณคูหาทั้ง 4 ด้าน
    พ.ศ. 2450 สร้างกุฏิ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ณ ตอนนั้นมีพระภิกษุสงฆ์รวมทั้งหมด 34 รูป
    สามเณร ทั้งหมด 14 รูป
    พ.ศ. 2453 สร้างวิหารวัดพระธาตุจอมศีล
    พ.ศ. 2454 ร่วมกับพระยาสมุทร( เจ้าอาวาสวัดปงสนุก) สร้างวัดปงสนุกขึ้นมา
    พ.ศ. 2454 สร้างโฮงก๋อง ( หอระฆัง ) พร้อมปูลานวัดเป็นอิฐทั้งหมด
    พ.ศ. 2455 สร้างเจดีย์วัดสุวรรณคูหา
    พ.ศ. 2456 ถวายทานเจดีย์วัดสุวรรณคูหา
    พ.ศ. 2457 สร้างพระธาตุช้างแก้ว
    พ.ศ. 2458 เดือน 5 เป็ง ( ราวเดือนกุมภาพันธ์ ) ถวายทานพระธาตุช้างแก้ว
    พ.ศ. 2460 สร้างพระวิหารวัดสุวรรณคุหา
    พ.ศ. 2461 ถวายทานพระวิหารวัดสุวรรณคุหา
    พ.ศ. 2462 สร้างพระวิหารวัดรัตนคูหาวณาราม ( วัดกลางดง / วัดช้างแก้ว / วัดดง )
    พ.ศ. 2463 ถวายทานพระวิหารวัดรัตนคูหาวณาราม
    พ.ศ. 2466 ต่อเติมพระวิหารวัดสุวรรณคูหา
    พ.ศ. 2490 สร้างอุโบสถวัดสุวรรณคูหา

    ครูบาเจ้ากาวิละมรณภาพเมื่อพ.ศ.2494 สิริอายุได้ 83 พรรษา รวมบรรพขา 62 พรรษา รวมเจ้าอาวาส ได้ 53 พรรษา

    สร้างน้อยหายากมาก


    บูชาแล้วครับ

    พระบูชาครูบากาวีระ 4020 b.jpg พระบูชาครูบากาวีระ 4020 c.jpg พระบูชาครูบากาวีระ 4020 d.jpg พระบูชาครูบากาวีระ 4020 e.jpg พระบูชาครูบากาวีระ 4020 f.jpg Clip.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020
  4. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6627

    กุมารทองหลวงปู่ครูบาดวงดี. วัดท่าจำปี เนื้อโลหะ ปี 2540 ขนาด3นิ้ว


    ครูบาเจ้าดวงดี วัดท่าจำปี ศิษย์เอกครูบาเจ้าศรีวิไชย ตนบุญแห่งล้านนาไทย
    ท่านเป็นผู้สำเร็จวิชาการสร้างกุมารทอง ซึ่งเป็นต้นแบบกุมารทองล้านนา ไทยจัดสร้าง มานานกว่า 40 ปี

    กุมารทองเทพเป็นกุมารที่เกิดจากการตั้งธาตุ หนุนธาตุ และบรรจุมวลสารที่เป็นของมงคลล้วนๆ ไม่มีผงผีเจือปน อาจารย์ผู้ทำต้องมีจิตที่แข็งแกร่ง ต้องประสิทธิ์ประสาทอาคมให้ตัวกุมารทองมีพลังมากที่สุด ในนิมิตกุมารทองต้องดิ้นได้ นั่งบนกองเงินกองทอง เป็นต้น สำหรับกุมารประเภทนี้ ไม่มีอันตรายใดๆเพราะเป็นวิญาณสมมติขึ้นมา

    กุมารสายเทพเป็นฝ่ายขาว

    ท่านครูบาดวงดี ท่านได้อัญเชิญจิตวิญญาณบริสุทธิ์ของเทพจากสวรรค์ ชั้น จาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นภพภูมิใกล้มนุษย์ที่สุด
    เข้าประทับสถิต ในหุ่นกุมาร ฉะนั้นจึงมีแต่ให้ "คุณ" ไม่มีโทษแต่ประการใดทั้งสิ้น

    อาจารย์ที่ทำกุมารทองประเภทนี้ได้เก่งที่สุดคือ อาจารย์ฝ่ายพระเกจิที่มีพรรษามากๆ หรืออาจารย์ที่เป็นหมออาคมสายพุทธคุณครับ

    คาถาบูชา ลูกกุมารเทพฤทธิ์
    นะโม ๓ จบ
    จิเจรุนิ จิตตัง เจตตะ สิกกัง รูปัง กุมาโรวา นิมิตตัง กุมารทอง
    อาคัจฉาหิ จิตติ เอหิ เอหิ นะมะพะทะ นะมะพะทะ นะมะพะทะ
    คาถาเรียกกุมาร
    นะโม ๓ จบ

    อาจเซ่นด้วยขนม น้ำหวานตามวาระโอกาส

    #พิธีปลุกเสกในวันที่ 20 ตค 2540 ณ วัดท่าจำปี สร้างน้อยหายากครับ


    ราคา 8500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_302.jpg Clip_309.jpg Clip_303.jpg Clip_304.jpg Clip_305.jpg Clip_306.jpg Clip_308.jpg Clip_307.jpg



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6628

    พระแก้วหยก วัดพระแก้ว เชียงราย ปี 34 ในหลวงร 9 เสด็จ ลอยองค์กล่องเดิม

    .......................................................................................
    สร้างในวโรกาศเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๙๐ พระชันษา วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สวณฺณโชตมหาเถระ) เจ้าอาวาส วัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม กรรมการมหาเถระสมาคมและเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ได้มีบัญชาให้คณะสงฆ์ หนเหนือ (๑๖ จังหวัด ในภาคเหนือ) จัดกิจกรรมบำเพ็ญกุศลทางพระพุทธศาสนาเพื่อ เฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล คณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายจึงจัดโครงการจัดสร้าง “พระแก้วหยกเชียงราย” ขึ้น เพื่อสนองบัญชาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณฯ) ดังกล่าว และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดังนั้นคณะ สงฆ์จังหวัดเชียงรายจึงจัดสร้าง “ พระแก้วหยกเชียงราย ” โดยมีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่า วัดพระแก้ว จ.เชียงราย แห่งนี้เคยเป็นที่ค้นพบพระแก้วมรกตมาก่อน จึงได้สร้าง “ พระแก้ว หยกเชียงราย ” ขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้สักการบูชา และเพื่อเป็นการรำลึกว่า “ วัดพระแก้ว จ.เชียงราย แห่งนี้ก็มีความสำคัญคู่พระบารมีแห่งองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ” ๒. เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๙๐ พระชันษา ในวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรชาวเชียงรายเปรียบ พระองค์ดุจดังดวงประทีปยังความสว่างและนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ จ.เชียงราย ในการนี้ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงรายและคณะกรรมการดำเนินการจัดสร้าง “ พระแก้วหยกเชียงราย ” และ “ วัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติฯ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ” จึงได้ดำเนินการจัดสร้างพระ พุทธรูป “ พระแก้วหยกเชียงราย ” ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๗.๙ เซนติเมตร ขนาดความสูง ๖๕.๙ เซนติเมตร ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับองค์ “ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ” หรือ “ พระแก้วมรกต ” องค์ดั้งเดิม โดยนำหยกเนื้อดีที่สุดจากประเทศแคนาดา ซึ่ง “ มิสเตอร์ ฮูเวิร์ดโลว์ ” เป็นผู้นำมาถวายท่านเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย และมอบหมายให้ อาจารย์กนก วิศวะกุล แห่งวิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดเชียงราย เป็นปฏิมากรผู้ปั้นหุ่นต้นแบบ แล้วส่งมอบให้ “ มิสเตอร์เหยน หวุนหุ้ย ” นายช่างแกะสลักหยกของโรงงานวาลินนานกู แห่งนครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้ดำเนินการแกะสลักตามต้นแบบ และในโอกาสนี้ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย ได้รับการอุปถัมภ์การจัดสร้างจาก ฯพณฯ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) และ ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ เป็นประธานอุปถัมภ์และบริจาคเงินเป็นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดสร้าง โดย ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ เดินทางไปเป็นประธานประกอบพิธีบวงสรวงเทวดาบูชาฤกษ์ในการเริ่มสร้าง เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และเดินทางมาเป็นประธานในพิธีมอบหุ่นต้นแบบ เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ณ วัดพระแก้ว อ.เมือง จ.เชียงราย พิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ 1 ณ วัดกว่างจี้ ประเทศจีน ครั้งที่ 2 ณ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กทม. เมื่อวันที่20กันยายน พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จมาเป็นประธานในพิธี ครั้งที่ 3 ณ วัดพระแก้วเชียงรายจ.เชียงราย ปี 2534 พระหยก สว.เชียงราย สร้างจากหยกชนิดเดียวกับองค์พระแก้วมรกตบูชา..ด้านหน้าแกะเป็นองค์พระแก้วด้านหลังแกะเป็นพระนามย่อ สว.ของสมเด็จย่า..จำนวนไม่ทราบแน่นอนแต่ไม่มากเพราะแกะจากหยกที่เหลือจากการแกะพระแก้วบูชาครับ หยกชนิดนี้(เนไพร์)ได้นำมาจากประเทศแคนนาดา เป็นหยกที่มีพลังมากกว่าหยกทั่วไปมีพลังวิเศษในตัวเอง...คุณค่าแก่การสะสมยิ่งด้านหลังมีพระนามย่อของสมเด็จย่าด้วย
    องค์นี้แกะได้ สวยมาก พระดีน่าใช้มากครับ


    บูชาแล้วครับ

    Clip_284.jpg Clip_288.jpg Clip_285.jpg Clip_287.jpg Clip_286.jpg Clip_310.jpg Clip_311.jpg Clip_312.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2020
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    พระกริ่งรุ่นแรกครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่งปี 39 เนื้อทองสัมฤิทธิ์2 โค๊ต

    พระกริ่งฟ้าหลั่ง ศิษย์กองบิน 41 จัดสร้างถวาย หลวงปู่ท่านเมตตามาอธิฐานจิตให้ที่ในกองบิน 41 คณะจัดสร้างได้ขอเมตตาครูบาเผือก ครูบาสิงห์ ครูบาน้อย บ้านปง ครูบาบุญปั๋น และเข้าร่วมพิธีวัดไชยสถานหลวงพ่อคูณนั่งฮอมาร่วมปลุกเสก ปิดท้ายด้วยครูบาอินเสกอีกรอบที่วัดจนเกิดเหตุกระเป๋าบรรจุพระระเบิดพระกระจาย ครับ

    สวยกล่องเดิม


    ราคา 4550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_289.jpg Clip_291.jpg Clip_290.jpg Clip_292.jpg Clip_294.jpg Clip_293.jpg Clip_299.jpg Clip_300.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020
  7. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6629

    ล็อกเก็ต พระครูถาวรศีลคุณ (ครูบาอินตา ธนกฺขนฺโธ) วัดวังทอง

    หลังอุดผง ตะกรุด ก้านธูป เกศา เม็ดข้าว

    บูชาแล้วครับ

    Clip_295.jpg Clip_296.jpg Clip_297.jpg Clip_298.jpg Clip_301.jpg Clip_313.jpg


    ครูบาอินตา เกิดวันเสาร์ แรม 10 ค่ำเดือน 2 ตรงกับวันที่ 12 มกราคม 2453 ปีจอ (ปีเส็ด ) ซึ่งอยู่ในช่วง แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
    ครูบาอินตา เกิดที่ บ้านเหมืองง่า ม.2 ต.เหมืองง่า อ.เมือง จ.ลำพูน โยมพ่อชื่อนายตา โยมแม่ชื่อนางบัวแก้ว นามสกุล ธนาขันธรรม ท่านเป็นหลานท่านเจ้าคุณพระญาณมงคล (ครูบาปวน อภิชโย ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำพูน รูปที่ 4 อดีตเจ้าคณะแขวงลี้ อดีตเจ้าอาวาสวัดเหมืองง่า อยู่ในครอบครัวชาวนา ซึ่งในขณะนั้นเป็นอาชีพที่มีฐานะยากจน มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 5 คน พระเดชพระคุณเป็นคนสุดท้อง และมีน้องบิดาเดียวกัน แต่ต่างมารดาอีก 5 คน

    ขะโยมวัดเหมืองง่า
    ครูบาเมื่อเป็นเด็กชาย อินตา ธนาขันธรรม อายุ 7 ขวบ (พ.ศ. 2460) โยมพ่อแม่นำมาฝากกับครูบาปวน อภิชโย ขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะแขวงชั้นเอกราชทินนามที่พระครูมหาศีลวงค์
    ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเมืองลำพูนเจ้าอาวาสเหมืองง่า ครูบาฯ ได้เป็นเด็กวัดและได้เรียนหนังสือครั้งแรกกับครูบาปวน และได้เรียนหนังสือพื้นเมือง(ภาษาล้านนา) ในสมัยนั้น
    ที่โรงเรียนวัดเหมืองง่า ซึ่งเป็นโรงเรียนแรก ในตำบลเหมืองง่า ในจบชั้นประถมปีที่ 4 พ.ศ. 2464

    ระหว่างเป็นเด็กวัดและบวชเป็นสามเณรอยู่นั้น ครูบาฯ ได้เรียนคาถาและวิทยาคมจากครูบาปวน เล่ากันว่าเป็นผู้ที่ถือของคลังและวิทยาคมเป็นอย่างมาก
    พ่อเจ้าเหนือหัวพลตรี มหาอำมาตย์โทเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหอคำเมืองนครลำพูน ถึงกับมีความเลื่อมใสเป็นพิเศษ
    ซึ่งพระสงฆ์ที่เจ้าเหนือหัวทรงให้ความเคารพนับถือเป็นพิเศษมีอยู่ 4 รูป ด้วยกันคือ
    1. ครูบาธรรมชัย ธัมมัมชโย วัดประตูป่า ต.ประตูป่า อ.เมือง ลำพูน
    2. ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง ต.ศรีวิชัย อ.ลี้ ลำพูน
    3. พระญาณมงคล (ครูบาปวน อภิชโย) วัดเหมืองง่า ต.เหมืองง่า อ.เมืองลำพูน
    4. ครูบาติกขะปัญโญ วัดวังทอง อ.เมือง ลำพูน
    ครูบาติกขะรูปนี้ ถูกบังคับให้สละสมณเพศ หลังจากหลวงจักรคำฯ ถึงแก่พิราลัย และครูบายังได้เรียนคาถาวิทยาคม ยังได้สืบทอดวิถีการสะเดาะเคราะห์
    และได้ไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ครูบาศรีวิชัย ได้ 3 ปี ได้กราบลาครูบาศรีวิชัยเดินทางกลับวัดเหมืองง่า เพื่อที่จะเข้าพิธีญัตติจตุถกรรมวาจาเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2474
    ในครั้งนั้น ครูบาปวน รักษาการเจ้าคณะนครลำพูน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาสุดใจ ญาณวุฒิ วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระกรรมวาจารย์
    พระครูสมุห์จรูญ วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า ธนักขันโธ

    ครูบาติกขะ อดีตเจ้าอาวาสวัดวังทอง เจ้าจักรคำฯ ให้ความนับถือศรัทธาเป็นพิเศษ หลังจากเจ้าจักรคำถึงแก่พิราลัย พ.ศ. 2584
    พระครูบาติกขะเป็นพระผู้ที่เข้มงวด ในเรื่องการปฏิบัติและเป็นผู้ที่ถือของขลัง ในครั้งนั้นได้มีชาวบ้าน ไปแจ้งพ่อแคว่น (กำนัน) ว่าครูบาติกขะได้ฆ่าวัวของชาวบ้านว่ามากินหญ้าหน้าวัด
    เพราะวัวของ ชาวบ้านได้มาทำความเสียหายแก่วัดวังทอง ครูบาติกขะได้ถือก้อนหินเท่าลูกกำปั้นปาถูกกะโหลกหัวของวัวเสียชีวิต กำนันในสมัยนั้นได้มาสอบสวนหาสาเหตุท่านไม่ยอมพูด
    กำนันได้ใช้กำลังชกต่อยครูบาติกขะ ท่านไม่ได้ตอบโต้แต่พอตอนกลางคืนกำลังพักผ่อน ได้ล้มพับลงกับที่แล้วมีเลือดไหลออกปาก จมูก จนเสียชีวิตกับที่สร้างความแปลกใจให้แก่ลูกบ้าน ครอบครัว เป็นอย่างยิ่ง
    ทำให้ทุกคนสงสัยว่า ครูบาติกขะเป็นผู้ที่ให้กำนันเสียชีวิต เพราะเชื่อในวิทยาคมของครูบาติกขะ ซึ่งชาวล้านนาเรียกพิธีนี้ว่า "การตู้ของใส่ของ" สาเหตุอย่างถึงที่ ครูบาติกขะถูกบังคับให้สละสมณเพศ
    เพราะว่าครูบาติกขะเป็นผู้ไม่เกรงกลัวอำนาจการปกครอง ทำให้คณะกรรมการและคณะสงฆ์ยำเกรง จนทำให้คณะสงฆ์ชั้นปกครองไม่สามารถทำงานได้สะดวกเพราะเกรง ในวิทยาคมของครูบาติกขะ

    ครูบาอินตา มรณะภาพแล้วฟื้น

    เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ครูบาอินตาได้อาพาธหนัก และเข้ารักษาที่ รพ.ลำพูน จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 อาการยังไม่ดีขึ้นและทรุดหนักจนไม่รู้สึกตัว
    แพทย์จึงนำส่งโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ แพทย์ได้นำครูบาอินตาเข้าห้อง ไอซียู และไม่รู้สึกตัวถึง 8 วัน พอถึงวันที่ 7 มีนาคม 2532 แพทย์ได้มาแจ้งว่าครูบาอินตามรณภาพแล้ว
    ทำให้ลูกศิษย์ ต่างเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก ขณะที่แพทย์จะฉีดยาศพ ปรากฏว่า เข็มฉีดยากับแทงไม่เข้าและได้หักงอ แพทย์จึงตัดสินใจไม่ฉีดยาศพ และเมื่อจะอาราธนาศพขึ้นรถ
    เพื่อไปส่ง ณ วัดวังทอง ครูบาอินตา ก็รู้สึกตัวและเหนื่อยหอบ สร้างความตกในแก่แพทย์ และได้นำครูบาอินตาเข้าห้อง ไอซียู และรักษาจนหายปกติ
    ชื่อเสียงของหลวงปู่ครูบาอินตา ท่านเป็นหนึ่งในผู้ปลุกเสกเหรียญกู่ช้างอันโด่งดังของ จ.ลำพูน รวมถึงคาถา มหาเสน่ห์ มหานิยม พุทธคุณดีด้านเมตตามหาเสน่ห์ มหานิยมโชคลาภ แคล้วคลาด ค้าขายร่ำรวย ด้านคงกระพันนั้น นอกจากนั้นในอดีต หลวงปู่ครูบาอินตา เป็นผู้หนึ่งที่ “มรณภาพแล้วฟื้น”
    มีเรื่องเล่าว่า เวลาจำวัดท่านจะจำวัดที่ระเบียงกุฏิท่าน ท่านจะไม่เข้านอนภายในแม้จะฝนตก แดดออก หรือ อากาศหนาวเย็นเพียงใดก็ตามกุฏิท่านจะเต็มไปด้วยข้าวสาร และข้าวสุก ที่ท่านโปรยให้บรรดานกต่าง ๆ ภายในวัดได้อาศัยจิกกิน ซึ่งแสดงถึงความเมตตาของท่านอีกทั้ง ท่านไม่ถือยศศักดิ์ ลูกศิษย์ลูกหาเข้าพบได้ตลอด หากท่านไม่ติดกิจนิมนต์ไปนอกวัด และใครไปหาท่าน ๆ มักบอกคาถา จ่ายมบาล ป้องกันเคาระห์อันตรายต่าง ๆ ท่านบอกว่าจ่ายมบาลให้มาตอนมรณภาพแล้วฟื้น คาถาว่าดังนี้ครับ “สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะอะอุ มะอะอุ พุทโธเน้อ ธัมโมเน้อ สังโฆเน้อ” หลวงปู่ครูบาอินตา มรณะภาพลงเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2552 สิริอายุ 101 ปี 79 พรรษา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2020
  8. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6630

    ผ้ารอยมือรอยเท้า หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ยุคต้นจารเต็มครบสูตร


    ของดีที่หลวงปู่ท่านสร้างไว้มอบไว้ให้แก่ศิษย์เก็บไว้บูชาเป็นสิริมงคลแก่บ้านเรือน ร้านค้า และผู้มีไว้บูชา เป็นที่กราบไหว้ของคนและเทวดาทั้งหลายปกป้องคุ้มครองภัย ภยันตรายทั้งปวง

    ผืนนี้เป็นยุคต้นเขียนมือ จารเต็มครบสูตรครับ

    บูชาแล้วครับ

    Clip_314.jpg Clip_315.jpg Clip_316.jpg Clip_317.jpg Clip_319.jpg Clip_318.jpg Clip_320.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2020
  9. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6631

    พระผงหลวงพ่อคูณ หลัง ยันต์พระปิดตา ออกวัดพันอ้น จังหวัดเชียงใหม่ ออกปี 2523


    พระชุดนี้จัดสร้างขณะที่หลวงพ่อคูณจำพรรษาที่วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่ ข้อมูลจากหนังสือสปิริต ฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ และหนังสืออริยเจ้าแห่งด่านขุนทด หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ของสำนักพิมพ์เพชรประกาย วัดพันอ้นสร้างประมาณ พ.ศ.๒๐๔๔ ในสมัยพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช (พระเมืองแก้ว) กษัตริย์ล้านนาองค์ที่๑๓ ล้านนาไทยยังเป็นอิสระอยู่ในราชวงศ์มังรายมหาราช “พันอ้น” สันนิษฐานว่าเป็นชื่อของผู้สร้างวัด สร้างถวายไว้กับพระพุทธศาสนา ผู้สร้างอาจเป็นทหารหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์เป็น”พัน” คนในสมัยโบราณเมื่อประสบผลสำเร็จในชีวิตมักจะสร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์ แล้วใช้ชื่อตัวเองตั้งเป็นชื่อวัดที่สร้างขึ้น วัดพันอ้นตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนิน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เรื่องพระหลวงพ่อคูณ วัดพันอ้น เขียนจากบันทึกและการสัมภาษณ์หนึ่งในสองผู้สร้าง คือคุณสัมฤทธิ สรรสวาสดิ์ ส่วนผู้แกะแม่พิมพ์คือคุณเกษม เลิศมโนกุลชัย เสียชีวิตไปแล้ว คุณสัมฤทธิได้บันทึกการสร้างพระไว้ละเอียด สร้างตามกรรมวิธีของคณาจารย์โบราณเพื่อแจก ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ซึ่งเป็นช่วงที่ใกล้เข้าพรรษาของปีนั้น หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดพันอ้น ตามคำกราบอาราธนานิมนต์ของพระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพันอ้น คุณสัมฤทธิ์กับคุณเกษมจึงได้ขออนุญาตหลวงพ่อคูณหุงสีผึ้งและจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อเป็นที่ระลึกที่หลวงพ่อคูณได้มาจำพรรษาที่เชียงใหม่ เมื่อได้รับอนุญาต คุณสัมฤทธิ์และคณะได้เดินทางไปเก็บกู้ว่านต่างๆในป่าของอำเภอแม่แตง รวมทั้งว่านวิเศษที่เลี้ยงไว้ในบ้านอีกส่วนหนึ่ง โดยว่านวิเศษต่างๆที่หามาได้นี้ ส่วนหนึ่งนำมาหุงเป็นสีผึ้ง อีกส่วนหนึ่งนำมาเป็นส่วนผสมเนื้อหามวลสารในการสร้างพระเครื่อง ซึ่งว่านวิเศษต่างๆเหล่านี้ประกอบด้วย ว่านสาวหลง ว่านเสน่ห์จันทร์มหาโพธิ์ ว่านเสน่ห์จันทร์แดง ว่านดอกไม้ทอง ว่านมหาอุด ว่านนางกวัก ว่านจูงนาง ว่านกระแจะจันทร์ ว่านดินสอฤๅษี ว่านมหาโชค ว่านเครือเถาวัลย์หลง ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว ว่านขมิ้นขาว ว่านมหานิยม ว่านมหาจักพรรษดิ ว่านช้างผสมโขลง ว่านห้าร้อยนาง ว่านเทพรำลึก ว่านไก่แดง ว่านไพลขาว ว่านกุมารทอง ว่านเสน่ห์ขุนแผน ว่านม้าสีหมอก ว่านกระชายดำ นอกจากนี้เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของมวลสารยังได้นำมวลสารศักดิ์สิทธิ์อื่นๆมาเป็นส่วนผสม ได้แก่ เกศาหลวงพ่อคูณ ยาฉุนและก้นบุหรี่ที่หลวงพ่อคูณเสกให้ เกสรดอกไม้ มีดอกมะลิ ดอกสารภี ดอกบัว ดอกว่านต่างๆ ดิน๗พระธาตุ ชิ้นส่วนพระสกุลลำพูนที่แตกหักชำรุด เช่น พระคง พระสาม พระป๋วย พระสิบสอง พระลือ เป็นต้น พระเนื้อผงที่แตกชำรุด เช่น พระกรุวัดสามปลื้ม พระกรุวัดใหม่อมตรส พระกรุวัดเงินคลองเตย เป็นต้น พระเนื้อดินที่แตกหักชำรุด เช่น พระขุนแผนวัดบ้านกร่าง ผงหลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร เกสรดอกไม้มงคล ๑๐๘ เช่น ยอดเกสรดอกรักซ้อน ยอดเกสรดอกมะลิฉัตร ยอดเกสรดอกมะลิซ้อน เป็นต้น กาฝากยอดไม้มงคลต่าง เช่น กาฝากยอดไม้รัก กาฝากยอดไม้มะยม กาฝากยอดไม้ชัยพฤกษ์ เป็นต้น ขี้เถ้าของธนบัตรเก่าที่เผาด้วยเตโชธาตุโดยพระครูศรีปริยัติยานุรักษ์ ตัวประสานที่ใช้ในการผสมรวมของเนื้อหามวลสารที่ใช้ในการกดพิมพ์ประกอบด้วย น้ำพระพุทธมนต์ของหลวงพ่อคูณ กล้วยน้ำว้าบดละเอียดทั้งลูก น้ำผึ้งหลวงเดือนห้า ดินสอพองจากลพบุรี ปูนขาวจากสระบุรี น้ำว่านบีบจากหัวสดๆ และกากว่านที่บดละเอียด ผงใบลานของวัดพันอ้นและวัดเชียงมั่น จากส่วนผสมของเนื้อหามวลสารต่างๆทำให้พระชุดนี้มีสีต่างกันดังนี้ ถ้าสีพระออกเหลืองจะมีส่วนผสมของเกสรดอกไม้กับว่านอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าสีพระออกแดงจะมีส่วนผสมของเนื้อดินของพระสกุลลำพูนและพระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่างอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าสีพระออกดำจะมีส่วนผสมของใบลานเก่าอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าสีพระออกเทาจะมีส่วนผสมของขี้เถ้าของธนบัตรเก่าอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อกดพิมพ์พระเครื่องเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อคูณได้เริ่มปลุกเสกตั้งแต่วันจันทร์ ซึ่งทางเหนือถือว่าเป็นวันมหาเสน่ห์ หลวงพ่อคูณทำการปลุกเสกทุกเช้าหลังเวลาบิณฑบาตรและเวลากลางคืนก่อนจะเข้าจำวัด จนกระทั่งวันออกพรรษา ใช้เวลาสร้างและเสก ๑ไตรมาส หลวงพ่อคูณได้นำออกแจกฟรีให้กับบรรดาลูกศิษย์สายเชียงใหม่ และนำมาแจกอีกครั้งเมื่อมีงานทอดผ้าป่าที่วัดพันอ้น พระที่สร้างมี ๑๒ พิมพ์ดังนี้ ๑. พิมพ์รูปไข่ครึ่งองค์ ยันต์ลอย ถอดพิมพ์จากเหรียญปีพ.ศ. ๒๕๑๗ ด้านหน้ามีอักขระว่า ”ยา นะ ยา” มียันต์อุข้างละตัวและตรงสังฆาฏิ ด้านหลังมีสองแบบ คือยันต์ใบพัดและพระปิดตา จำนวนสร้าง ๗๐๐องค์ ๒. พิมพ์รูปไข่ครึ่งองค์ ยันต์จม ด้านหน้ามีอักขระ ๓ตัว “ยา นะ ยา” ด้านหลังมีสองแบบ คือยันต์ใบพัดและพระปิดตา จำนวนสร้าง ๕๐๐องค์ ๓. พิมพ์สี่เหลี่ยมครึ่งองค์ เหมือนพิมพ์รูปไข่ครึ่งองค์แต่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม หลังยันต์และฝังตะกรุด ๔. พิมพ์พระประธานพร นั่งบนฐานบัวหงายในซุ้มโค้ง มีพิมพ์สี่เหลี่ยมและพิมพ์ตัดขอบโค้ง หลังแบบเดียวกับพิมพ์สี่เหลี่ยมครึ่งองค์ ฝังตะกรุด จำนวนสร้าง ๑๐๐กว่าองค์ ๕. พิมพ์สมเด็จหลังยันต์ ด้านหน้าเป็นพระสมเด็จสามชั้น ด้านหลังเหมือนพิมพ์พระประธานพร องค์ ฝังตะกรุด จำนวนสร้าง ๑๐๐กว่าองค์ ๖. พิมพ์สี่เหลี่ยมรูปเหมือนนั่งสมาธิ ฐานมีชื่อหลวงพ่อคูณ พื้นองค์พระเรียบ หลังพระปิดตา จำนวนสร้าง ๑,๐๐๐องค์ ๗. พิมพ์สี่เหลี่ยมรูปเหมือนนั่งสมาธิ ฐานมีชื่อหลวงพ่อคูณ ด้านหน้ามีอักขระยันต์รอบองค์หลวงพ่อ หลังพระปิดตา จำนวนสร้าง ๕๐๐องค์ ๘. พิมพ์สี่เหลี่ยมรูปเหมือนนั่งยองสูบบุหรี่ ฐานมีชื่อหลวงพ่อคูณ แต่ช่างแกะตัวหนังสือกลับข้าง หลังพระปิดตา จำนวนสร้าง ๑,๐๐๐องค์ ๙. พิมพ์สี่เหลี่ยมรูปเหมือนนั่งยองสูบบุหรี่ ฐานมีอักขระยันต์ “ยา นะ ยา” ด้านหน้ามีอักขระยันต์รอบองค์หลวงพ่อ หลังพระปิดตา จำนวนสร้าง ๕๐๐องค์ ๑๐. พิมพ์พระขุนแผน ถอดพิมพ์จากพระขุนแผนบ้านกร่าง หลังมีหลายแบบ หลังยันต์ใบพัด หลังพระปิดตา หลังเรียบ ส่วนใหญ่ฝังตะกรุดเงิน จำนวนสร้าง ๒๐๐องค์ ๑๑. พิมพ์พระปิดตาจัมโบ้ ด้านหลังมีสองแบบ คือหลังพระปิดตาและหลังยันต์ “มะ อะ อุ” ในรูปสามเหลี่ยม จำนวนสร้าง ๗๐๐องค์ ๑๒. พระปิดตาลอยองค์พิมพ์วัดหนัง นอกจากนี้ยังมีลูกประคำและลูกอมสอดตะกรุดเงิน ครั้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ คุณสัมฤทธิ์ ได้นำพระเครื่องวัดพันอ้นที่สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ จำนวนหนึ่ง มาให้หลวงพ่อคูณปลุกเสกในพิธีเสาร์ห้าอีกครั้งหนึ่งที่วัดบ้านไร่ และได้ถวายพระเครื่องบางส่วนให้กับหลวงพ่อคูณ เพื่อสำหรับแจกให้กับผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนในการก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ของวัดบ้านไร่ และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน คณะกรรมการจึงนำปากกาเคมีมาเขียนที่ขอบด้านข้างขององค์พระเครื่องที่มีการปลุกเสกซ้ำในพิธีเสาร์ห้าปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ว่า “เสาร์๕ ปี ๒๕๓๓” ดังนั้นพระเครื่องชุดวัดพันอ้นที่คุณสัมฤทธิ์และคณะจัดสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ นั้น จัดเป็นพระเครื่องที่สร้างจากมวลสารส่วนผสมต่างๆที่เป็นมงคลดังที่กล่าวนำเสนอข้างต้นแล้ว การปลุกเสกก็เป็นการปลุกเสกเดี่ยวในปีพรรษา ๒๕๒๓ และยังมีพระเครื่องชุดวัดพันอ้นบางส่วนที่พิเศษกว่า คือได้เข้าพิธีปลุกเสกในวันเสาร์ห้าอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๓๓

    พระดีน่าใช้ครับ


    ราคา 2200 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    _C9wpEGHjVZ6PCkhtnffbVRLTHvAPRl45IPMKyP_42Qn&_nc_ohc=UdY9oCxs7UAAX_603Hu&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg _e8giVgecHG-x3us_XTosecjZhkE4xpGyTbmWtgbNfD5&_nc_ohc=vVcVeVPD36sAX-EyLEx&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg LcPE2FAIlLo5u6MCZY83kqcMt5eL5iVgrH6yG3pEuJwg&_nc_ohc=fX-i-m1E6_UAX9YFEhH&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg pJaWtt-xWJVKNcB8NAvyGjaqoj2KbhtmRB9AC1E1NeZN&_nc_ohc=eI_1vlmw_cQAX-BJD69&_nc_ht=scontent.fbkk5-5.jpg O1UYYyKt4tfK182H2DtQHtKygRyZQ8Xa2PzvtpaUHenT&_nc_ohc=uvGAFayC664AX_Z4-69&_nc_ht=scontent.fbkk5-4.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6632

    เหรียญรุ่นแรกครูบาสม โอภาโส วัดศาลาโป่งกว๋าว ปี2519 บล็อก ม ขีดนิยม สวยเดิมๆ


    สร้างขี้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 โดยพระครูอินทอน วัดสันป่ายาง อ.แม่แตง ได้ขออนุญาตครูบาสม จัดสร้างเหรียญรุ่นแรก ครูบาสมท่านได้มอบกระดาษที่ท่านได้เขียนยันต์ก๋าสะท้อน ให้กับครูบาอินทร วันสันป่ายาง เพื่อนำไปเป็นต้นแบบเหรียญที่จัดสร้างในครั้งแรกจำนวน 3,000 เหรียญ แล้วนำมามอบให้ครูบาปลุกเสกเดี่ยว 1 พรรษา แล้วได้นำเหรียญชุดนี้ไปเข้าร่วมพิธีปลุกเสกอีกครั้งที่วัดสันโป่ง พร้อมกับเหรียญครูบาคำปัน ในปี 19 เกจิอาจารย์อันโด่งดังเข่้าร่วมพิธีนี้ด้วยคือ

    1. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

    2. หลวงปู่คำปัน วัดสันโป่ง

    3. หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส

    4. หลวงพ่อเจิม วัดวันยาวล่าง

    5. หลวงพ่อศรีนวล วัดเกวียนหัก

    6. หลวงพ่อคำปัน วัดหม้อคำตวง

    7. ครูบาสม วัดโป่งกว๋าว

    8. พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม

    9. พระอาจราย์ประเดิม วัดเพลงวิปัสสนา

    10. พระอาจารย์ธีระ วัดพระธาตุสบฝาง

    พระคาถาที่อยู่ด้านหลังเหรียญก็คือคาถาหัวใจ๋ กาสะต้อน อักขระถูกแบ่งเป็นหกช่องคำแรกอ่านว่า (สัง)2(วิ)3(สุ)4(โร)5(พุด)6(อัต)มีหกตัว ก็คือ สัง วิ สุ โร พุด อัต หัวใจกาสะท้อน
    เด่นทางด้านมหาอุตม์ คงกระพันชาตรี คนสะเมิงรู้ดีครับ


    ราคา 5500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_324.jpg Clip_325.jpg Clip_326.jpg Clip_327.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020
  11. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6633

    พระปิดตาครูบาสม โอภาโส วัดศาลาโป่งกว๋าวเนื้อตะกั่วหลังตะกรุด

    ครูบาสม วัดโป่งกว๋าว สะเมิง สุดยอดพระเกจิท่านหนึ่งของเมืองเหนือ ที่ลูกศิษย์ของท่าน นิยมแสวงหาวัตถุมงคลของท่านมาใช้และมีประสบการณ์ทางด้านมหาอุดมานักต่อนักแล้ว ท่านได้ยึดถือตามรอยปฎิบัติ ของ ครูบาศรีวิชัยสม่ำเสมอตลอดชีวิตของท่าน คณะศรัทธา วัดศาลาโป่งกว๋าว โดยการนำของพ่อหลวง แก้ว ซึ่งมีความเลื่อมใสในวัตรปฎิบัติของ พระสม โอภาโส พร้อมใจกันอาราธนานิมนต์ ท่าน จากวัดสวนดอกมาเป็นผู้นำการพัฒนาวัดศาลาโป่งกว๋าว ต. สะเมิงเหนือ อ. สะเมิง หลังจากนั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลอีกหลายครั้งหลายคราวด้วยกัน ครูบาสม โอภาโส เป็นลูกศิษย์ผู้อุปฐากรับใช้ใกล้ชิดครูบาเจ้าศรีวิชัยรูปหนึ่ง ที่มีอาคมขลังยิ่ง ครั้งหนึ่งเคยเอาลูกระเบิดมาแกะเล่น ลูกระเบิดทำงาน ระเบิดกุฏิพังราบเรียบ จีวรขาดเป็นชิ้นๆ แต่ตัวท่านเองไม่ได้รับอันตรายอะไร นอกจากเหรียญรูปเหมือน รุ่น ๑ ของท่านที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในราคานิยมหลักพันต้นๆ พระปิดตาเนื้อผง ก้นอุดตะกรุด ก็ได้รับความนิยมไม่เเพ้กันครับผม
    ครูบาหนังเหนียว ท่านเก่งทางด้านคงกระพัน มหาอุด
    ทางใดชอบสายเหนี่ยวไม่ควรพลาด สร้างน้อยหายากมากครับ


    ราคา 6550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_328.jpg Clip_329.jpg Clip_330.jpg Clip_331.jpg


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6634

    พระปิดตารุ่นแรก ครูบาสม โอภาโส วัดศาลาโป่งกว๋าว พิมพ์เล็บมือเล็ก สอดตะกรุด


    ครูบาสม วัดโป่งกว๋าว สะเมิง สุดยอดพระเกจิท่านหนึ่งของเมืองเหนือ ที่ลูกศิษย์ของท่าน นิยมแสวงหาวัตถุมงคลของท่านมาใช้และมีประสบการณ์ทางด้านมหาอุดมานักต่อนักแล้ว ท่านได้ยึดถือตามรอยปฎิบัติ ของ ครูบาศรีวิชัยสม่ำเสมอตลอดชีวิตของท่าน คณะศรัทธา วัดศาลาโป่งกว๋าว โดยการนำของพ่อหลวง แก้ว ซึ่งมีความเลื่อมใสในวัตรปฎิบัติของ พระสม โอภาโส พร้อมใจกันอาราธนานิมนต์ ท่าน จากวัดสวนดอกมาเป็นผู้นำการพัฒนาวัดศาลาโป่งกว๋าว ต. สะเมิงเหนือ อ. สะเมิง หลังจากนั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลอีกหลายครั้งหลายคราวด้วยกัน ครูบาสม โอภาโส เป็นลูกศิษย์ผู้อุปฐากรับใช้ใกล้ชิดครูบาเจ้าศรีวิชัยรูปหนึ่ง ที่มีอาคมขลังยิ่ง ครั้งหนึ่งเคยเอาลูกระเบิดมาแกะเล่น ลูกระเบิดทำงาน ระเบิดกุฏิพังราบเรียบ จีวรขาดเป็นชิ้นๆ แต่ตัวท่านเองไม่ได้รับอันตรายอะไร นอกจากเหรียญรูปเหมือน รุ่น ๑ ของท่านที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในราคานิยมหลักพันต้นๆ พระปิดตาเนื้อผง ก้นอุดตะกรุด ก็ได้รับความนิยมไม่เเพ้กันครับผม
    ครูบาหนังเหนียว ท่านเก่งทางด้านคงกระพัน มหาอุด
    ทางใดชอบสายเหนี่ยวไม่ควรพลาด สร้างน้อยหายากมากครับ


    ราคา 6550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_332.jpg Clip_333.jpg Clip_334.jpg Clip_335.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020
  13. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6634

    ผ้ารอยเท้าครูบาสม โอภาโสวัดศาลาโป่งกว๋าว เหยียบสด ปั๊มตราวัดเดิมๆ ครับ. ตัวจริงเสียงจริงหายากมากครับ


    ครูบาสม วัดโป่งกว๋าว สะเมิง สุดยอดพระเกจิท่านหนึ่งของเมืองเหนือ ที่ลูกศิษย์ของท่าน นิยมแสวงหาวัตถุมงคลของท่านมาใช้และมีประสบการณ์ทางด้านมหาอุดมานักต่อนักแล้ว ท่านได้ยึดถือตามรอยปฎิบัติ ของ ครูบาศรีวิชัยสม่ำเสมอตลอดชีวิตของท่าน คณะศรัทธา วัดศาลาโป่งกว๋าว โดยการนำของพ่อหลวง แก้ว ซึ่งมีความเลื่อมใสในวัตรปฎิบัติของ พระสม โอภาโส พร้อมใจกันอาราธนานิมนต์ ท่าน จากวัดสวนดอกมาเป็นผู้นำการพัฒนาวัดศาลาโป่งกว๋าว ต. สะเมิงเหนือ อ. สะเมิง หลังจากนั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลอีกหลายครั้งหลายคราวด้วยกัน ครูบาสม โอภาโส เป็นลูกศิษย์ผู้อุปฐากรับใช้ใกล้ชิดครูบาเจ้าศรีวิชัยรูปหนึ่ง ที่มีอาคมขลังยิ่ง ครั้งหนึ่งเคยเอาลูกระเบิดมาแกะเล่น ลูกระเบิดทำงาน ระเบิดกุฏิพังราบเรียบ จีวรขาดเป็นชิ้นๆ แต่ตัวท่านเองไม่ได้รับอันตรายอะไร นอกจากเหรียญรูปเหมือน รุ่น ๑ ของท่านที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในราคานิยมหลักพันต้นๆ พระปิดตาเนื้อผง ก้นอุดตะกรุด ก็ได้รับความนิยมไม่เเพ้กันครับผม
    ครูบาหนังเหนียว ท่านเก่งทางด้านคงกระพัน มหาอุด
    ทางใดชอบสายเหนี่ยวไม่ควรพลาด สร้างน้อยหายากมากครับ


    บูชาแล้วครับ

    Clip_336.jpg Clip_337.jpg Clip_338.jpg Clip_339.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6635

    รูปหล่อโบราณ รุ่นแรก ครูบาเจ้าศรีวิชัย ออกวัดศรีสุพรรณ จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ.2497บล็อกเตกหล่อตัดช่อเก่าดูง่าย

    จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2497 พร้อมกับพระรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย ขนาดหน้าตักประมาณ 30 นิ้ว ที่ตั้งอยู่ในพระวิหารของวัดศรีสุพรรณ โดยจัดสร้างในคราวพิธีฉลองงานปอยหลวงพระวิหารวัดศรีสุพรรณ จัดสร้างโดยพระครูบาจม(พระครูสถิตบุญญานันท์) วัสดุที่ใช้ในการจัดสร้างเป็นเนื้อทองผสมแล้วนำมารมดำ ขนาดหน้าตักประมาณ 1 นิ้ว ใต้ฐานมีการบรรจุกริ่ง ด้วยทองแดง เป็นอีกหนึ่งรูปหล่อโบราณ ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากจำนวนการสร้างน้อยมาก โดยจัดสร้างเพียง 500 องค์โดยประมาณ และให้บูชา องค์ละ 100 บาท ในสมัยนั้นจึงเป็นรูปหล่อที่มีค่านิยมสูงมาก จัดเป็นรูปหล่อยอดนิยมของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย
    #องค์นี้หล่อตัดช่อเก่าดูง่ายครับ

    ราคา 4500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_341.jpg Clip_342.jpg Clip_344.jpg Clip_343.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    ผ้าป๋าต๊ะรอยเท้าครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง

    (คำว่าฝ่าต๊ะหมายถึง ประทับรอยมือรอยเท้าบนผ้า) ชึ่งชาวล้านนามีความเชื่อว่า บูชาผ้าต๊ะ เปรียบเสมือนว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านได้เหยียบขึ้นบ้านจึงนับว่าเป็นสิ่งมงคลสูงสุด เพราะเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ หรือตัวแทนของครูบาเจ้าศรีวิไชย
    ผืนนี้จารึกเป็นภาษาล้านนาว่า. สีวิไชยะภิกขุ. วัดบ้านปาง
    ผ้ายันต์ผืนนี้อายุไม่ต่ำกว่า80ปี เชื่อว่าเป็นสิ่งแทนของครูบาเจ้าที่ทันท่านอย่างแน่นอน (สมัยก่อนครูบาท่านไม่ได้สร้างพระหรือเครื่องราง) และผ้ายันต์ดังกล่าวคนที่ได้ครอบครองต้องมีความใกล้ชิดและมีความสำคัญอย่างมาก ความเชื่อเรื่องการบูชาผ้ายันต์ผ้าผ่าต๊ะเชื่อว่าหากผู้ใดได้ครอบครอง นั้นเกิดความเป็นสิริมงคง เนื่องจากเป็นฝ่ามือฝ่าเท้า ของตนบุญ มหาโพธิสัตว์ใหญ่ ผู้เปี่ยมล้นด้วยบารมี เป็นที่เคารพของคนเเละเทพยดาทั้งหลาย มีรอยมือรอยเท้าที่ไว้ที่ไหนเปรียบเสมือนท่านได้ไปโปรดเมตตาได้เหยียบขึ้นบ้าน หรือ เหมือนมีท่านอยู่ในบ้าน ด้วยบุญบารมีของตนบุญแห่งองค์ครูบาเจ้าศรีวิชัย สามารถปกป้องคุ้มภัย แคล้วคลาดปลอดภัย มีไว้กับบ้านเรือนจักชุ่มเย็นและมีความสุขความเจริญทุกประการ เป็นผ้ายันต์ครอบจักรวาลดังใจนึกครับ ถือเป็นมงคลชีวิตที่ได้ครอบครองของมงคลสูงค่าที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้ฝากไว้ให้ลูกหลานไว้สักการะบูชา


    Clip_105.jpg Clip_110.jpg Clip_311.jpg Clip_299.jpg Clip_107.jpg Clip_106.jpg Clip_108.jpg Clip_300.jpg Clip_301.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020
  16. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6636

    เหรียญรุ่นแรกครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ปี 2500 เนื้อฝาบาตร สวยเดิมๆ

    พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก)
    พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก) หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ครูบาพรหมา” หรือบ้างก็เรียก “ครูบาพรหมจักร” ท่านเปรียบดั่ง “เจ้าคุณนรแห่งล้านนา” ด้วยความมั่นคงในพระวินัย จริยาวัตรอันเรียบร้อยสงบเสงี่ยม เมตตาอันล้ำเลิศ ไม่ผิดพลาดไปจากพระธรรมแม้สักนิด อีกทั้งยังมีจิตที่ทรงฤทธิ์ ถึงขนาดเหยียบหินให้เป็นรอยเท้าได้ ถึงขนาดที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไท ยังต้องนัดขอดูตัวด้วยความชื่นชม และท่านยังเป็นอาจารย์ของครูบาชัยวงศาพัฒนาผู้มีฤทธิ์ยอดยิ่งอีกต่างหากด้วย
    ประวัติ
    วัยเด็ก
    ท่านมีนามเดิมว่า พรหมา พิมสาร กำเนิดวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่บ้านป่าแพ่ง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของ นายเป็งกับนางบัวถา พิมสาร มีพี่น้องร่วมกัน 13 คนท่านครูบาพรหมมาได้เรียนหนังสืออักษรลานนาและไทยกลางที่บ้านจากพี่ชายที่ได้บวชเรียน
    บรรพชาและอุปสมบท
    ครูบาเจ้าบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2455 เวลา 15.00 น. ณ วัดป่าเหียง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง มีเจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้หมั่นศึกษาเล่าเรียน ปฎบัติธรรม และประพฤติในศีลาจารวัตรอย่างเคร่งครัด
    ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดเดิมเมื่อวันที่ 16 ม.ค. พ.ศ. 2461 เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย (ครูบาขัตติยะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฮอน โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุวินโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พรหมจักโก” กระทั่งพรรษาที่ 4 ท่านได้เริ่มต้น เข้าสู่วิถีแห่งการปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง ท่านได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาต่างๆ ทั้งเขตประเทศไทย พม่า และลาว กระทั่งในปีพ.ศ.2491 ท่านจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า และได้พัฒนาวัดจนมีชื่อเสียงเป็นศาสนสถานที่มีความสำคัญทางศาสนาแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน และด้วยการสั่งสมบุญบารมี คุณงามความดีของท่านนี้เองทำให้ ท่านได้รับความเคารพศรัทธาจากพุทธบริษัทโดยทั่วไป
    ละสังขาร
    ครูบาเจ้าพรหมาได้ดับขันธ์ (มรณภาพ) ในท่านั่งสมาธิภาวนา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เวลา 06.00 น.อายุ 87 ปี 67 พรรษา คณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 3 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2531 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงครูบาเจ้าพรหมาด้วยพระองค์เอง หลังจากพระราชทานเพลิงเสร็จสิ้นแล้วได้เก็บอัฐิ ปรากฏว่าอัฐิของครูบาเจ้าพรหมาได้กลายเป็นพระธาตุ มีวรรณะสีต่างๆ หลายสี
    คำสอน
    ครูบาพรหมาท่านได้แสดงธรรมโอวาทไว้มากมาย
    “การทำบาปหรือการทำบุญ จะทำในที่ลับหรือในที่แจ้ง หรือใครไม่รู้ไม่เห็น ก็ตัวของเรา ใจของเรารู้เห็นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็กล่าวได้ว่าที่ลับไม่มีในโลกนี้ แม้ว่าจะลับตาลับหูคนอื่น แต่เราก็รู้ เราก็เห็นคนเดียว”
    “ทุกๆคน จึงควรรีบขวนขวาย ซึ่งความงามความดี ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นเด็กก็อย่าได้เกียจคร้านในการเรียนหนังสือ จงตั้งจิตตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ให้มีความรู้ความเฉลียวฉลาดความสามารถ เป็นผู้ใหญ่แล้วก็จงตั้งตัวตั้งตนให้ดี ให้มีความขยัน มีความประหยัด ให้คบแต่คนดี ให้รู้จักประมาณในการใช้จ่าย ถ้าเป็นผู้เฒ่าผู้แก่แล้ว ก็เตรียมตัวเพื่อคุณงามวามดีให้ยิ่งๆกว่าเด็กและคนหนุ่มทั้งหลาย”
    “คนเราทุกคนมีความปรารถนาดี ปรารถนาหาความสุข ความปรารถนาหาที่ผึ่งในวัฏฏะสงสาร ท่านเปรียบเหมือนเราที่ตกอยู่ในกลางทะเลอันเวิ้งว้างกว้างไกลทุกคนก็มีความใฝ่ฝันหาที่ผึ่ง เพื่อที่จะได้อาศัยพักพิงไปยังฝั่งเบื้องหน้า”
    คำไหว้บูชาพระธาตุของครูบาพรหมา พรหมจักโก
    อะหัง วันทามิ พรหมจักกะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส ฯ
    พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนาแห่งแดนล้านนา

    เนื้อฝาบาตร สวยผิวเดิมๆไม่ผ่านการใช้


    ราคา 8500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    เหรียญครูบาพรหมา 4.2 a.jpg เหรียญครูบาพรหมา 4.2 b.jpg เหรียญครูบาพรหมา 4.2 c.jpg Clip_312.jpg Clip_313.jpg


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020
  17. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6637

    รูปหล่อโบราณรุ่นแรกครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ปี 2497 น้ำทองเดิมๆ


    พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก)

    พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก) หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ครูบาพรหมา” หรือบ้างก็เรียก “ครูบาพรหมจักร” ท่านเปรียบดั่ง “เจ้าคุณนรแห่งล้านนา” ด้วยความมั่นคงในพระวินัย จริยาวัตรอันเรียบร้อยสงบเสงี่ยม เมตตาอันล้ำเลิศ ไม่ผิดพลาดไปจากพระธรรมแม้สักนิด อีกทั้งยังมีจิตที่ทรงฤทธิ์ ถึงขนาดเหยียบหินให้เป็นรอยเท้าได้ ถึงขนาดที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไท ยังต้องนัดขอดูตัวด้วยความชื่นชม และท่านยังเป็นอาจารย์ของครูบาชัยวงศาพัฒนาผู้มีฤทธิ์ยอดยิ่งอีกต่างหากด้วย
    ประวัติ
    วัยเด็ก
    ท่านมีนามเดิมว่า พรหมา พิมสาร กำเนิดวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่บ้านป่าแพ่ง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของ นายเป็งกับนางบัวถา พิมสาร มีพี่น้องร่วมกัน 13 คนท่านครูบาพรหมมาได้เรียนหนังสืออักษรลานนาและไทยกลางที่บ้านจากพี่ชายที่ได้บวชเรียน
    บรรพชาและอุปสมบท
    ครูบาเจ้าบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2455 เวลา 15.00 น. ณ วัดป่าเหียง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง มีเจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้หมั่นศึกษาเล่าเรียน ปฎบัติธรรม และประพฤติในศีลาจารวัตรอย่างเคร่งครัด
    ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดเดิมเมื่อวันที่ 16 ม.ค. พ.ศ. 2461 เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย (ครูบาขัตติยะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฮอน โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุวินโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พรหมจักโก” กระทั่งพรรษาที่ 4 ท่านได้เริ่มต้น เข้าสู่วิถีแห่งการปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง ท่านได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาต่างๆ ทั้งเขตประเทศไทย พม่า และลาว กระทั่งในปีพ.ศ.2491 ท่านจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า และได้พัฒนาวัดจนมีชื่อเสียงเป็นศาสนสถานที่มีความสำคัญทางศาสนาแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน และด้วยการสั่งสมบุญบารมี คุณงามความดีของท่านนี้เองทำให้ ท่านได้รับความเคารพศรัทธาจากพุทธบริษัทโดยทั่วไป
    ละสังขาร
    ครูบาเจ้าพรหมาได้ดับขันธ์ (มรณภาพ) ในท่านั่งสมาธิภาวนา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เวลา 06.00 น.อายุ 87 ปี 67 พรรษา คณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 3 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2531 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงครูบาเจ้าพรหมาด้วยพระองค์เอง หลังจากพระราชทานเพลิงเสร็จสิ้นแล้วได้เก็บอัฐิ ปรากฏว่าอัฐิของครูบาเจ้าพรหมาได้กลายเป็นพระธาตุ มีวรรณะสีต่างๆ หลายสี
    คำสอน
    ครูบาพรหมาท่านได้แสดงธรรมโอวาทไว้มากมาย
    “การทำบาปหรือการทำบุญ จะทำในที่ลับหรือในที่แจ้ง หรือใครไม่รู้ไม่เห็น ก็ตัวของเรา ใจของเรารู้เห็นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็กล่าวได้ว่าที่ลับไม่มีในโลกนี้ แม้ว่าจะลับตาลับหูคนอื่น แต่เราก็รู้ เราก็เห็นคนเดียว”
    “ทุกๆคน จึงควรรีบขวนขวาย ซึ่งความงามความดี ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นเด็กก็อย่าได้เกียจคร้านในการเรียนหนังสือ จงตั้งจิตตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ให้มีความรู้ความเฉลียวฉลาดความสามารถ เป็นผู้ใหญ่แล้วก็จงตั้งตัวตั้งตนให้ดี ให้มีความขยัน มีความประหยัด ให้คบแต่คนดี ให้รู้จักประมาณในการใช้จ่าย ถ้าเป็นผู้เฒ่าผู้แก่แล้ว ก็เตรียมตัวเพื่อคุณงามวามดีให้ยิ่งๆกว่าเด็กและคนหนุ่มทั้งหลาย”
    “คนเราทุกคนมีความปรารถนาดี ปรารถนาหาความสุข ความปรารถนาหาที่ผึ่งในวัฏฏะสงสาร ท่านเปรียบเหมือนเราที่ตกอยู่ในกลางทะเลอันเวิ้งว้างกว้างไกลทุกคนก็มีความใฝ่ฝันหาที่ผึ่ง เพื่อที่จะได้อาศัยพักพิงไปยังฝั่งเบื้องหน้า”
    คำไหว้บูชาพระธาตุของครูบาพรหมา พรหมจักโก
    อะหัง วันทามิ พรหมจักกะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส ฯ
    พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนาแห่งแดนล้านนา


    เสน่ห์ของหล่อแบบโบราณคราบขี้เบ้าน้ำทองเดิม ๆ เข้มขลังมากครับ


    ราคา 7500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    คุณ j999 จองแล้วครับ


    รูปหล่อครูบาพรหมา 3.0 a.jpg รูปหล่อครูบาพรหมา 3.0 c.jpg รูปหล่อครูบาพรหมา 3.0 d.jpg รูปหล่อครูบาพรหมา 3.0 e.jpg Clip_312.jpg Clip_313.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2020
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6638

    เหรียญรุ่นแรก ครูบาชัยวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
    บล็อค"ข้าวตม" ปี 2509 สวย ๆ


    เหรียญยอดนิยมของหลวงปู่ครูบาวงค์ แท้ดูง่าย ท่านใดชอบของสวยเดิม ๆ ไม่ควรพลาดครับ


    ราคา 9000 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    คุณ j999 จองแล้วครับ

    เหรียญข้าวตม a.jpg เหรียญข้าวตม c.jpg เหรียญข้าวตม d.jpg เหรียญข้าวตม b.jpg


    3h375.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2020
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6639

    เหรียญรุ่นแรก ครูบาชัยวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม บล็อค"ข้าวต้ม" สภาพสวย กะไหล่ทอง ปี 2509


    เหรียญยอดนิยมของหลวงปู่ครูบาวงค์ แท้ดูง่าย ท่านใดชอบของสวยเดิมไม่ควรพลาดครับ

    ราคา 7500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    เหรียญข้าวต้ม a.jpg เหรียญข้าวต้ม c.jpg เหรียญข้าวต้ม d.jpg เหรียญข้าวต้ม b.jpg Clip_314.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,175
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 6640

    วัวธนูรุ่นแรกครูบาคำแสนคุณาลังกาโล วัดป่าดอนมูล สวยๆ ดีกรีที่2งานสมาคม


    หลวงปู่ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล เชียงใหม่ สมัยก่อนบางคนจะเรียกท่านว่าคำแสนเล็ก เพราะครูบาคำแสน วัดสวนดอก จะมีอายุมากกว่าชาวบ้านจะเรียกว่าคำแสนใหญ่ ครูบาคำแสน วัดป่าดอนมูล ท่านนี้เป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนา ท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่แหวนและหลวงปู่สิม มีเหรียญหลวงปู่แหวนหลายรุ่นที่ได้ครูบาคำแสนปลุกเสกให้ ครูบาคำแสนเป็นพระใจดีใครมาขอให้ทำอะไรท่านก็จะช่วย แม้แต่หลวงพ่อฤาษีลิงดำก็ยังยกย่องว่าท่านเป็นระดับพระอรหันต์แล้ว

    ครูบาคำแสน ท่านคือวัวธนูต้นตำหรับ วัวธนูเนื้อโลหะ อันลือลั่น และ แพงที่สุด ในล้านนา

    พุทธคุณป้องกันภูตผีปีศาจ ป้องกันคุณไสย ลบล้างเสนียดจัญไร ปกปักรักษาทรัพย์สินเงินทอง ป้องกันเหล่าโจรกรรมต่างๆได้อีกด้วย หรือว่าจะเอาไปทางเมตตามหานิยมหรือทางโชคลาภก็ได้เหมือนกัน เช่น ในเวลากลางวันให้หันหน้าเข้าบ้าน…ให้อธิฐานจิตเอาในทางโชคลาภ ส่วนในเวลากลางคืนให้เอาวัวธนูหันหน้าออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและพวกเหล่าโจรกรรม

    #กล่าวกันว่า เมื่อคราวที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำได้มรณภาพลง ในย่ามของหลวงพ่อจะมีเครื่องรางที่ท่านพกติดตัวไปตลอดด้วย นั่นก็คือ วัวธนูของหลวงปู่ครูบาคำแสน ซึ่งจากเหตุการณ์นี้เป็นจึงเป็นเรื่องราวที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ยืนยันความศักดิ์สิทธิ์ของ วัวธนูหลวงปู่ครูบาคำแสนครับ

    #คาถาสำหรับปลุกเสกวัวธนู

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3หน)

    โอม...โคโน มหาโคโน, โอม โคโส มหาโคโส, โอมกูจักมนต์วัวธนู กูสูงได้เก้าพันศอก, ปล๋ายหนอกได้เก้าพันวา, กูโอ้ดังก้องฟ้า อ้าปากร้องผีกลัว, เห็นเสือด่าหนี เห็นผีด่าจม, โอมสวาหะ ขะจัดเถ็กฯ

    โอม...โคโน มหาโคโน, โอมกูจักมนต์วัวธนู, กูบินฆะฆะ ตัวมีราคะมัวมืดเศร้า ปะริเทหะ ชนไอ้ดอกชน สัพพะศัตรู วินาสันตุฯ

    #วิธีปฏิบัติต่อวัวธนู ของหลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโล วัดป่าดอนมูล
    ให้หาหญ้าและน้ำใส่ภาชนะเป็นอาหาร ครบ 7วันให้เปลี่ยนทั้งหญ้าและน้ำเสียครั้งหนึ่ง ห้ามเอาวัวธนูไว้ปะปนกับพระพุทธรูปและเครื่องรางของขลังต่าง ๆ และทั้งห้ามเอาไว้สูงกว่าพระพุทธรูป วัวธนูมีไว้สำหรับป้องกันภัย ภูตผีปีศาจอันจะมารบกวนเราทั้งที่อยู่อาศัย และยังป้องกันพวกมิจฉาชีพเหล่าโจรกรรมทั้งหลายได้อีกด้วย หรือว่าถ้าจะเอาใช้ไปในทางเมตตามหานิยมหรือทางโชคลาภ ในเวลากลางคืนให้หันหน้าวัวธนูออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและพวกเหล่าโจรกรรมได้อีกด้วย ในเวลากลางวันให้หันหน้าวัวธนูเข้าบ้านให้อธิษฐานเอาในทางโชคลาภ ให้จุดธูป ๓ ดอก ทุกเช้าค่ำ

    วัวธนูมีใว้สำหรับป้องกันภูตผีปิศาจอันจะมารบกวนเราทั้งที่ อยู่อาศัย และทั้งยังป้องกันเหล่าโจรกรรมต่างๆได้อีกด้วย หรือว่าจะเอาไปทางเมตตามหานิยมหรือทางโชคลาภก็ได้เหมือนกัน เช่น ในเวลากลางวันให้หันหน้าเข้าบ้านให้อธิฐานจิตเอาในทางโชคลาภ ส่วนในเวลากลางคืนให้เอาวัวธนูหันหน้าออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและพวกเหล่าโจรกรรมได้อีกด้วย นับวันจะกลายเเป็นตำนาน ไปเสียแล้วกับ วัวธนู ครูบาคำแสน หายากมากๆ นานๆจะเจอสักตัว แบบนี้หากยากแล้วครับ เวลานี้ วัวธนูหลวงปู่คำแสนทุกรุ่น เริ่มหายากขึ้นเรื่อยๆ ราคาขยับสูงขึ้นตามความต้องการที่มีเพิ่มมากขึ้นแรงด้วยประสบการณ์ดี ครับ เวลานี้ ของแท้ๆ หาอยากแล้วครับ ผู้ที่มีก็เก็บเงียบกันหมด

    สวยเดิมๆดีกรีที่ 2 งานสมคมกาดสวนแก้วเชียงใหม่ล่าสุดครับ


    ราคา 36500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    วัวธนูครูบาคำแสน 17.0 a.jpg วัวธนูครูบาคำแสน 17.0 h.jpg วัวธนูครูบาคำแสน 17.0 c.jpg วัวธนูครูบาคำแสน 17.0 b.jpg วัวธนูครูบาคำแสน 17.0 d.jpg วัวธนูครูบาคำแสน 17.0 e.jpg วัวธนูครูบาคำแสน 17.0 f.jpg วัวธนูครูบาคำแสน 17.0 g.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2020

แชร์หน้านี้

Loading...