วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kananun, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. 1535

    1535 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +2,105
    อบรมครูสมาธิ ช่วงที่ ๑

    พลังจิตพิชิตภัยพิบัติ อาจารย์ คณานันท์ ทวีโภค
    อบรมครูสมาธิ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ณ เมตตาภิรมย์สถาน


    เราเริ่มจากไหว้พระก่อน วันนี้ขออนุญาตไหว้อย่างย่อ การกราบพระเราต้องให้จิตเรานอบน้อมต่อพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ไม่ใช่ว่ากราบแต่เพียงอาการ กราบให้เราน้อมจิตน้อมใจกราบ ถ้าคนที่ได้มโนมยิทธิก็ให้ใช้กายข้างในคือใช้กายทิพย์ของเราน้อมกราบพระพุทธเจ้าบนพระนิพพาน กราบให้ถึงพระรัตนตรัย กราบให้ถึงพระบาทพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยะเจ้าทุก ๆ พระองค์อย่างแท้จริง

    เริ่มต้นตั้งแต่กราบพระ คือสิ่งที่สำคัญที่สุด น้อมใจกราบพร้อมกันสามครั้ง
    (กราบคร้งที่หนึ่ง) กราบพระพุทธในอดีต ปัจุบัน อนาคต
    (กราบครั้งที่สอง) กราบพระธรรมในอดีต ปัจจุบัน อนาคต
    (กราบครั้งที่สาม) กราบพระอริยะสงฆ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
    และด้วยการกราบที่นอบน้อมเแค่การกราบที่เข้าถึงพระรัตนตรัย เข้าถึงไตรสรณคมน์นี้ เราตั้งใจว่าเราจะถึงซึ่งพระรัตนตรัยในอดีตชาติ ปัจจุบันชาติ และอนาคตกาลตราบเท่าเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน นั่นก็คือการทรงอารมณ์จิตอยู่ในไตรสรณคมน์ตั้งแต่ต้น

    เมื่อกราบเสร็จแล้วแราก็ตั้งใจกล่าวน้อมบูชาพระรัตนตรัย เริ่มตั้งแต่
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ
    สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
    และอีกข้อหนึ่งที่มีความสำคัญก็คือ การกล่าวถึงไตรสรณคมณ์ เรากล่าวพร้อมกัน

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ปกติจะมีคำอาราธนากรรมฐาน ต้องขออนุญาตลัด ให้เราน้อมจิตอธิษฐานเป็นภาษาปกติ แล้วคนที่ได้มโนมยิทธิ ก็ขอให้เราน้อมจิต น้อมใจ เราไหว้ครูพร้อมกัน กำหนดพร้อม ๆ กัน เริ่มต้นเรากำหนดในจิต เรานึกเอาว่าเราเห็นพานดอกไม้ธูปเทียนเ พานครูต่าง ๆ เป็นแก้วใสบริสุทธิ์ เรากำหนดในจิตของเราว่าเรามีความเคารพศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระอริยะสงฆ์ ครูบาอาจารย์ ที่ท่านสืบต่อธรรมะของพระพุทธเจ้า สืบต่อมาจนกระทั่งถึงเรา โดยมีพระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤๅษีลิงดำท่านเป็นที่สุด ครูบาอาจารย์ทุกท่าน ที่เมตตาสงเคราะห์โปรดสอน ถ่ายทอดวิชา

    เราน้อมใจว่าเราขึ้นครูพระกรรมฐาน โดยยกสมเด็จพระบรมครู คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่สุด ให้ท่านเป็นครู เมตตาสงเคราห์ครอบครู ครอบวิชากรรมฐานทั้งหมด อันเป็นวิชาสายตรงของพระพุทธเจ้า น้อมเข้ามาสู่กาย วาจา ใจของเรา เข้าถึงไตรสรณคมน์ เข้าถึงความเป็นสัมมาทิฐิเป็นที่ตั้ง เพื่อถ่ายทอดธรรมะไปยังดวงจิตอื่นให้เข้าถึงความดี เข้าถึงธรรมะโดยทั่วกัน จิตที่เราตั้งเป็นกุศลนี้เราน้อมจิตถวายดอกไม้ ถวายพานครูแทบเบื้องพระบาทสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน น้อมจิตถวายให้ใจเราสบายเป็นสมาธิ แล้วเราก็กราบ ถวายไปพร้อม ๆกัน (ถวายพานดอกไม้ ธูปเทียน)


    ถ้าเราพร้อมมีเวลา หนึ่งคือเริ่มตั้นตั้งแต่เปิดเทปชุมนุมเทวดา เปิดเทปอาราธนาศีล คำอาราธนาขึ้นพระกรรมฐาน อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ควรจะทำให้เต็มให้ครบด้วย ถ้าเป็นไปได้ กลับไปบ้าน ถ้ามีโอกาส วันพฤหัส วันครู เราก็ขึ้นครูของเราอีกครั้งหนึ่ง ต่อหน้าพระพุทธรูปที่บ้านเราอีกครั้งหนึ่ง วันนี้เรามีเวลาน้อยจึงขออนุญาตย่นย่อ
     
  2. 1535

    1535 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +2,105
    เริ่มต้นตั้งแต่การฝึกเรื่องการเป็นครู คราวนี้จะเป็นการสอนสมาธิที่มีเนื้อหามุ่งเน้นในการสร้างครูสมาธิ ในการถ่ายทอดธรรมะของพระพุทธเจ้าไปยังผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรม โดยเริ่มตั้งแต่พื้นฐาน

    ก่อนอื่นเราต้องปูพื้นฐานความเข้าใจให้คนที่เขาต้องการฝึกสมาธิต้องทราบก่อน ในเรื่องของภาพรวมของการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา

    ภาพรวมของการปฏิบัติของพระพุทธศาสนานั้น เราเริ่มตั้งแต่เป้าหมาย...

    เป้าหมายในการทำสมาธิ ในการปฏิบัติธรรมของแต่ละบุคคลมีความต่างกันบางคนบอกว่าต้องการมาฝึกสมาธิเพื่อ
    ความสงบ เพื่อดับทุกข์ในขณะปัจจุบัน ในชีวิตประจำวัน ตรงจุดนั้นพระพุทธศาสนาท่านมีให้อยู่แล้ว

    บางคนบอกว่าเราปฏิบัติสมาธิ เรามาปฏิบัติธรรมเพราะว่าอยากจะได้อภิญญา หรืออยากจะใช้อภิญญา กำลังจิต กำลังสมาธิ ไปรักษาคนไปช่วยคนอื่น หรือรักษาตัวเราเองจากโรคภัยไข้เจ็บก็เป็นอีกเป้าหมายหนึ่ง

    แต่เป้าหมายที่สำคัญที่สุดในการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาก็คือ...เพื่อการหลุดพ้นจากสังสารวัฏ คือ เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในที่สุด นั่นคือเป้าหมายสูงสุด ...

    แต่คนส่วนใหญ่จะมีความคิดแตกต่างกันออกไป บางคนก็มีความเชื่อว่า การเข้าถึงซึ่งพระ
    นิพพานเป็นเรื่องยาก บางคนก็บอกว่าเราไม่มีบารมี บางคนก็บอกว่าเป็นเรื่องไกลตัว บางคนก็ไม่เชื่อเลย ดังนั้นการที่เราอธิบายเรื่องพื้นฐานก็ดี เรื่องภาพรวมในการปฏิบัติก็ดี จะทำให้เขากระจ่างขึ้น ในเรื่องวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติธรรม หรือเป้าหมายแห่งชีวิตทางธรรมของเขา ว่าเขาควรจะเดินทางแบบไหน

    สำหรับภาพรวมในพระพุทธศาสนาที่สำคัญ สำหรับวันนี้เราจะมุ่งเน้นในจุดสูงสุดคือ “ ธรรมะปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน ” เป็นหลัก

    สิ่งแรกเราต้องรู้ก่อนว่า บุคคลทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาบนโลกมนุษย์ เน้นเอาเป็นมนุษย์ก่อน ผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์นั้น มีวิสัยแห่งการสร้างบารมีแตกต่างกันออกไป ไม่นับเนื่องกับเรื่องของจริต จริตมี ๖ แต่ว่ามันมีความซับซ้อน มีความซ้ำกันอยู่ บางคนเป็นพุทธจริตผสมกับโทสะจริตก็มี จะมีผสมผสานกันแบบนี้ แต่เรามาคุยเรื่องของ วิสัยในการปฏิบัติ หรือ เรื่องการสร้าง บารมี ของแต่ละบุคคลก่อน

    วิสัยในการปฏิบัติของสรรพสัตว์ทั้งหลาย แบ่งออกมาเป็นประเภทใหญ่ที่สุด ๒ วิสัย คือ วิสัยของพุทธภูมิ กับ สาวกภูมิ

    วิสัยของพุทธภูมิ คือ ผู้ที่ตั้งจิตปรารถนาที่จะสร้างบารมี สร้างความดี เพื่อตนเองจะได้พัฒนาจิตจนกระทั่งถึงซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล จะคล้ายและเป็นเรื่องเดียวกันกับ เรื่องของทางสายมหายาน แต่ในหินยานเราเองเนี่ย ก็ยังมีคนอีกมากมายที่ตั้งจิตอยู่ในวิสัยของพุทธภูมิ

    พุทธภูมิ ก็จะแบ่งแยกออกมาเป็นส่วนละเอียดต่อไปอีก

    ๑ วิสัยของผู้ที่ตั้งจิตปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าแบบ ปัญญาธิกะ บ ำเพ็ญบารมีทั้งหมด ๔ อสงไขย กับ แสนกัป
    ประเภทที่ ๒ เป็นประเภทที่เรียกว่า ศรัทธาธิกะ บำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขย กับ แสนกัป
    ประเภทที่ ๓ ก็คือ วิริยาธิกะ บำเพ็ญบารมีทั้งหมด ๑๖ อสงไขย กับ แสนกัป
    และก็มีประเภทที่เป็นพุทธภูมิที่ตั้งจิตบำเพ็ญบารมีเป็นพิเศษ เช่น
    ขอเป็นพระพุทธเจ้าองค์แรก ก็ปรากฏคือ สมเด็จองค์ปฐม เป็นพระพุทธเจ้าองค์แรก
    บางท่านบำเพ็ญบารมีอธิษฐานพิเศษ อธิษฐานขอเป็นพระพุทธเจ้าองค์สุดท้าย เช่น เจ้าแม่กวนอิม
    บางท่านก็อธิษฐานว่า ขอมีพระชนม์ชีพยาวนาน เพื่อมีเวลาในการโปรดสรรพสัตว์ได้เป็นช่วงเวลานาน
    บางพระองค์ก็อธิษฐานว่า ขอให้เราบำเพ็ญบารมีสามารถโปรดสัตว์ได้เป็นจำนวนมากที่สุด
    ตรงนี้คือการอธิษฐานพิเศษ หรือ การบำเพ็ญบารมีในอธิษฐานบารมีพิเศษ ซึ่งพุทธภูมิหรือพระโพธิสัตว์แต่ละองค์ ท่านจะตั้งจิตอธิษฐานไม่เหมือนกัน

    ตรงนี้เราลองมาดูแยกย่อยลงไปอีก เนื่องจากวิสัยของคนที่เข้ามาฝึกวันนี้จะมีวิสัยของพุทธภูมิกันหลายท่าน

    ตัวพุทธภูมินั้นมีจิตตั้งอธิษฐานเพื่อปรากฎเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตก็จริง แต่การเป็นพุทธภูมินั้นยังมีโอกาสตกนรกได้ เพราะพุทธภูมิที่เป็นมิจฉาทิฐิก็มี

    มิจฉาทิฐิ ก็คือ บางครั้งความตั้งใจแรกในการอธิษฐานเป็นพระเจ้ามันประกอบไปด้วยจิตที่เริ่มต้นไม่ถูก คือ เริ่มด้วย ตัวทิฐิ ตัวมานะ ตั้งใจปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเพราะเห็นว่าพระพุทธเจ้าเลิศที่สุด เก่งที่สุด เหนือกว่าเทวดา เหนือกว่าพรหม ทั้งปวง อยากเก่งก็เลยตั้งใจปรารถนาว่าเราเป็นพระพุทธเจ้าบ้างดีกว่า

    เมื่อเริ่มต้นด้วยจิตที่ประกอบไปด้วยมานะทิฐิ ตรงนี้ “ตัวเก่ง” มันก็เลยทำให้ บางครั้งเกิดความถือดี เกิดความเก่ง และมารทั้งหลายก็เข้ามาแทรกในใจเราตอนนั้นว่า เรามีบารมีเยอะ บารมีสูง เก่งกว่าพระพุทธเจ้าแล้ว มันจะมีตัวแทรกเข้ามาที่ทำให้พุทธภูมิกลายเป็นมารไป หรือ แม้แต่พระยามาราธิราชที่มีบารมีมาก มีบริวารเยอะแยะไปหมดก็ยังเป็นพุทธภูมิ แต่ท่านยังไม่ใช่พระโพธิสัตว์ ยังมิใช่สัมมาทิฐิ จนกระทั่่งพระพุทธเจ้าก็ดี พระอุปคุตก็ดี ท่านเมตตามาปราบทิฐิ จาก มิจฉา ให้เป็นสัมมา
     
  3. 1535

    1535 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +2,105
    สำหรับพุทธภูมิที่เป็นสัมมาทิฐิ … พุทธภูมิที่ท่านยกจิตเข้าสู่การทำบารมีที่สูงขึ้นไปแล้ว จุดสำคัญที่มีข้อแตกต่าง ระหว่างพุทธภูมิทั่วไปก็คือ ท่านยกจิตขึ้นสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ คำว่า “พระโพธิสัตว์” นั้น คือ ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิ แต่ท่านบำเพ็ญบารมีโดยวางกำลังใจ วางจิต ปรารถนาที่จะยอมรับความเหนื่อยยากในการสร้างบารมีเพื่อรื้อค้นสรรพสัตว์ เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน
    แรงขับดัน แรงขับเคลื่อน ซึ่งพุทธบารมีของท่านก็คือ “เมตตาจิตต่อมวลสรรพสัตว์ไม่มีประมาณ” ท่านจึงยอมเหนื่อย ยอมทุกข์ ยอมลำบาก ยอมทุกข์ยาก ยอมเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย รื้อค้นสรรพสัตว์ทั้งหลายให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ท่านไม่ทำเพื่อตนเองแล้ว นั่นคือกำลังใจของพระโพธิสัตว์

    กำลังใจของพระโพธิสัตว์ที่สูงขึ้นไปอีก ก็คือกำลังใจของพระโพธิสัตว์ที่ท่านทรงอยู่ในพระอริยโพธิสัตว์ นั่นก็คือ ถึงแม้ว่า ท่านจะไม่เข้าถึงอารมณ์พระอริยเจ้า แต่อารมณ์ท่านจะเทียบเคียงกับอารมณ์พระอริยเจ้า และ ประกอบไปด้วยเมตตาจิต บำเพ็ญบารมีในการรื้อค้นสรรพสัตว์เข้าถึงซึ่งพระนิพพานเช่นกัน นั่นคือท่นอาจจะทรงอารมณ์พระโสดาบัน รักษาศีลห้า
    บริสุทธิ์ มีความเคารพในพระรัตนตรัยสูงสุด มีวิปัสสนาญาณชัดเจน มีเมตตาเต็มเปี่ยม มีกำลังใจสมบูรณ์บริบูรณ์ ที่จะช่วย สรรพสัตว์ทั้งหลายในทุก ๆ อย่าง เพื่อให้เขาพ้นจากความทุกข์ นั่นก็คือกำลังใจของพุทธภูมิที่สูงขึ้นมาเป็นพระอริยโพธิสัตว์

    ดังนั้นเราจะเห็นว่า ท่านที่ทรงกำลังใจเป็นพระโพธิสัตว์นั้น ความคิดที่ท่านทำเพื่อตนเองมันจะเบาบาง ไม่มีแล้ว ทำอะไร คิดอะไร พูดอะไร หรือ งานอะไรที่ท่านทำ ท่านก็คิดทำเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นส่วนใหญ่ไม่ได้ทำเพื่อตนเอง นี่แหละคือข้อแตกต่างกัน

    ถ้าใครเป็นพุทธภูมิ พอเข้าใจไหม ทำไมถึงต้องเปลื้องมานะทิฐิลงไป ทำไมถึงต้องมีเมตตาจิต ไหนเราลองดู ตัวอย่างพระโพธิสัตว์สำคัญ ๆ เจ้าแม่กวนอิม ท่านมีเมตตาเยอะไหม ในหลวงท่านมีเมตตาเยอะไหม ท่านเห็นแก่เหนื่อยยาก เห็นแก่ความสุขของตัวเองไหม เห็นชัดไหม เวลาดู เราดูแบบอย่างที่สำคัญตรงนั้นด้วย ลองดูพระยามาราธิราช ส่วนใหญ่ มารังควานท่าน ต่างรังควานพระพุทธเจ้า เพราะอะไร...

    พระยามาราธิราชที่ปรากฎในเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ มาเพราะท่านสำคัญว่า ถ้าพระพุทธเจ้าปรากฎขึ้น จะดึงคน ดึงสาวกบรรลุธรรมไปหมด ไม่เหลือให้ท่านโปรด หรือ ทำให้บริวารท่านน้อยลง ดังนั้น พุทธภูมิที่ล่าสาวกทั้งหลายยังอยู่ในข่าย...

    แต่ถ้า พระโพธิสัตว์ เห็นพุทธภูมิท่านอื่น หรือพระโพธิสัตว์ท่านอื่น เขารู้กัน มองก็รู้กัน เห็นเขาทำบารมี คิดว่าไม่ได้..เดี๋ยวเขามาแย่งสาวก อารมณ์นั้นจะไม่มี จะมีแต่ว่า โมทนาบุญด้วย ช่วยกันเยอะๆ ช่วยกันโปรด ช่วยกันรื้อขน สรรพสัตว์ สร้างบารมี เราโมทนาด้วย มีบุญอะไรที่เราทำ เราแบ่งกัน เราให้กัน เห็นไหมว่าต่างกัน คนที่เป็นพุทธภูมิ เป็นมิจฉาทิฐิ จะกลายเป็นหมั่นไส้กัน ไม่เห็นจะเก่งจริงเลยขอทดลอง ขอทดสอบ ขอลองของหน่อย มันมาจากอารมณ์จิตนี้

    ดังนั้น วิธีที่จะทำให้การปฏิบัติหรือพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง ส่วนหนึ่งเราต้องช่วยกันปลุก ความเป็น พระโพธิสัตว์ในตัวของพุทธภูมิทั้งหลายให้ตื่นขึ้นด้วย สิ่งที่จะปลุกได้ ก็คือ เมตตากรุณาที่รินรดลงไปในหัวใจของพุทธภูมิ และ ท่านได้สัมผัส บางท่านที่วาระได้ท่านก็จะตื่นขึ้น ที่ท่านยังไม่ตื่นก็ไม่เป็นไร เราช่วยท่านเท่าที่จะทำได้

    อันนี้คือ ประเภทที่ ๑ วิสัยในการที่จะเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในแบบของผู้ที่ปรารถนาเป็นพุทธภูมิ ซึ่งในกลุ่มนี้ก็จะมี อีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในประเภทเดียวกัน คือบรรลุธรรมในการปฏิบัติด้วยตนเอง ก็คือ “พระปัจเจกพุทธเจ้า“ แต่เรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า ขอไม่ลงลึกมาก ท่านก็ปฏิบัติของท่านไปเรื่อย ๆ แต่ท่านไม่ได้ประกาศพระศาสนา ข้อแตกต่างกัน คือไม่ประกาศพระศาสนา ไม่ปรากฎในยุคที่ทับซ้อนกับพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งที่ทรงประกาศศาสนา

    เรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่เรียกว่า “พุทธประเพณี” ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนมา สำหรับบุคคลที่เป็นพระโพธิสัตว์ ที่ท่านเมตตามาโปรดก็คือ พระพุทธองค์ท่านจะมาโปรดสอนพระโพธิสัตว์ในจิตในสมาธิ ท่านจะสอนเกี่ยวกับพุทธประเพณี เช่น ผู้ที่เป็นพระโพธิสัตว์ ท่านจะมีความเคารพในพระรัตนตรัยและในพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ไม่มีความรู้สึกว่าเราเก่งกว่า หรือแข่งบารมีกับท่านผู้ใด

    ถ้าเราสังเกตดูภาพพระโพธิสัตว์หลาย ๆ องค์ จะเห็นว่า บนมุ่นผมท่านจะมีพระพุทธรูปอยู่เหนือเศียรเกล้า นั่นก็คือ ท่านเทิดทูนพระพุทธเจ้าไว้ เคารพพระพุทธเจ้าไว้ ตรงนี้เราดู เราพิจารณา เราต้องรู้ เราต้องเขาใจความหมายด้วย เมื่อเราเข้าใจแล้ว อารมณ์ในการปฏิบัติมันก็จะมีความละเอียดลึกซึ้งขึ้น
     
  4. 1535

    1535 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +2,105
    ข้อที่สอง เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง และ ทำให้เกิดความแปรปรวน ความเรรวนในพระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน ที่ว่า พระศรีอาริย์จะมาประกาศศาสนาในยุคของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เรื่องนี้ตามพุทธประเพณี พระพุทธเจ้าท่านจะไม่ ประกาศศาสนาแทรกกัน แต่การที่พระโพธิสัตว์ท่านมาช่วยจรรโลง ช่วยกันรักษาพิทักษ์พระพุทธศาสนานั้น ท่านทำในฐานะที่ช่วยยอยกพระพุทธศาสนา อย่างเช่นองค์พระมหากษัตริย์ของไทยเรา ส่วนใหญ่ท่านก็เป็นพระโพธิสัตว์กัน ท่านไม่ได้ว่า ท่านมา ประกาศศาสนา แต่ท่านมาอุปถัมภ์ มายกยอ มาทำให้ศาสนาเจริญรุ่งเรือง มาบำรุงสมณชีพราหมณ์ ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจ เรื่องพุทธประเพณีดีแล้ว เราจะเข้าใจว่า “ไม่มีการประกาศแทรกซ้อน ในเขตพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน” เราจะเข้าใจมากขึ้น ถ้าประเภทว่า มาประกาศศาสนาใหม่จึงไม่ใช่ ตรงนี้เราเข้าใจแล้วสำหรับเรื่องพุทธภูมิ

    ทีนี้ต่อไปเรามาศึกษา มาเรียนรู้ในวิสัยต่อไป คือ วิสัยของ สาวกภูมิ จะประกอบไปด้วยการบรรลุธรรม การปฏิบัติธรรม วิสัยในการบรรลุธรรมที่ต่างกัน คุณธรรมวิเศษภายหลังจากการบรรลุธรรมที่มีความต่างกัน

    ประเภทแรกที่ง่ายที่สุด ก็คือ

    วิสัยของสุขวิปัสสโก จะเป็นประเภทที่ท่าน ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ญาณ ถ้าสมาธิท่านได้ในระดับที่เป็นฌาน ๔ ในอานาปาสติกรรมฐาน แต่ญาณเครื่องรู้ ความเป็นทิพย์ของจิตต่าง ๆ ท่านไม่มี มีเพียงญานทัศนะที่ทำให้รู้ว่า ตัดกิเลส บรรลุธรรมแล้วเท่านั้น แต่ญาณที่เห็นเทวดา เห็นพรหมไม่มี ท่านก็พิจารณา ต้องอาศัยความศรัทธาในพระรัตยตรัย เป็นเครื่องมือ เหมือนหลับตาปฏิบัติแต่อาศัยว่าเชื่อมั่น ฟังเสียง เชื่อมั่นเดินตามไปเรื่อย ๆ จนบรรลุ นี่คือ วิสัยของสุขขวิปัสสโก

    วิสัยที่สอง เรียกว่าวิสัยของ เตวิชโช หรือวิชชาสาม วิสัยนี้ท่านจะปฏิบัติโดยอาศัยบาทฐานของอภิญญา ดังนั้น เมื่อ บรรลุธรรมแล้วก็ดี ในระหว่างที่ท่านปฏิบัติจิตอยู่ก็ดี ท่านก็จะมีญานทัศนะเห็นเทวดา เห็นพรหม มีความเป็นทิพย์ ของจิต บางครั้งก็ได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ ได้ทิพโสต ได้ทิพจักขุญาณ บาทฐานที่ทำให้ท่านได้วิสัยนี้ก็คือ ท่านจะต้องได้ สมาธิ อันเนื่องมาจากทิพจักขุญาณ คือต้องได้กสิณกองใดกองหนึ่ง อันเกี่ยวเนื่องกับการได้ทิพจักขุญาน นั่นคือได้ กสินแสงสว่าง กสิณไฟ กสิณน้ำ กสิณสี ตัวที่ค่อนข้างชัดก็คือ กสิณแสงสว่าง อาโลกกสิณ กับกสิณไฟ

    กสิณไฟส่วนใหญ่มันจะเป็นของเก่าในยุคที่เป็นฤาษีกันก็จะได้ตรงนั้นมา ทำไมเด็ก ๆ บางคนชอบเล่นไฟ มองไฟแล้ว ใจมันนิ่ง หรือบางทีเรามองเห็นแสงสว่างที่ลอดมาจากตะเกียง แล้วมันเห็นปรากฏเป็นดวง วง ตรงนี้ก็คือ อาโลกกสิณ
    เมื่อเรามีบาทฐานจากกสิณที่ทำให้เกิดเป็นทิพจักขุญาณ ผลก็คือให้การบรรลุธรรมของเรา สามารถเห็นเทวดา เห็นพรหม เห็นนรก เห็นสวรรค์ ได้ความเป็นทิพย์ของจิต ได้อานิสงส์นอกเหนือจากการบรรลุธรรม ตัดกิเลสไปได้

    ส่วนวิสัยที่สามของสาวกภูมิ ก็คือวิสัยของฉฬภิญโญ หรือ อภิญญาหก สำหรับวิสัยนี้ คุณสมบัติวิเศษ คุณธรรมวิเศษที่ได้ก็คือ เราจะสามารถถอดกายทิพย์ได้ สามาถแสดงฤทธิ์ได้ แสดงอิทธิวิธีได้ เดินทะลุกำแพง เหาะเหินเดินอากาศ เสกของเพิ่มของ ตรงจุดนี้ก็คือ เป็นผลมาจากการที่เราปฏิบัติกสิณได้ครบทั้ง ๑๐ กอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กสิณธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เมื่อได้กสิณธาตุทั้ง ๔ มันจะทำให้ การตั้งธาตุ ปลุกธาตุ รวมธาตุต่าง ๆ สำเร็จ กสินธาตุ ก็คือ เปลี่ยนอานุภาคของวัตถุ จากของทึบให้กลายเป็นของโปร่ง ของเหลวให้ กลายเป็นของแข็ง นั่นก็คือ ใช้พลังจิตเปลี่ยนอนุภาควัตถุ คือสำเร็จวิชาธาตุ ดังนั้นก็จะได้อิทธิวิธีเพิ่ม ถอดกายทิพย์ต้องได้ฌาน ๔ อันนี้ก็คือ อะไร ทำไม
     
  5. 1535

    1535 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +2,105
    ส่วนตรงนี้ยังมีต่ออีกเป็นวิสัยที่ ๔ ของสาวกภูมิ คือ ปฏิสัมภิทาญาณ หรือ ปฏิสัมภิทัปปัตโต ประเภทที่ ๔ นั้นมีความพิเศษ คุณสมบัติที่ได้ ก็คือ อิทธิวิธีได้หมด คุณสมบัติความสามารถเพิ่่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึง ปฏิสัมภิทาญาณ ทิพจักขุญาณได้หมด แต่ที่ได้มากกว่านั้นก็คือ รู้ภาษาสัตว์ รู้ภาษาต่างประเทศ รู้ทุกภาษาบนโลก เพราะเป็นการสื่อสารด้วยจิต รู้ทุกภาษา ฟังภาษาสัตว์รู้เรื่อง พูดภาษาต่างประเทศได้ บางทีเราฟังพระสวด บทแปล เข้ามาในใจ สิ่งพิเศษมากกว่านั้นคือ เมื่อบรรลุแล้วเราจะทรงพระไตรปิฏกได้ทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ถึงแม้ไม่เคยอ่านมาก่อน รู้เข้าใจหมด อยากรู้ไหมว่าเพราะอะไร.. จิตมีความละเอียด มีญาณทัศนะ จิตแนบกับพระเต็มที่ พระพุทธเจ้าสอนตรงมา ดังนั้นยกพระธรรมขึ้นมาทราบทั้งหมด เพราะว่าพระท่านมาสอนโดยตรง ดังนั้น ท่านไม่ต้องใช้สมอง ทราบด้วยญาณทัศนะ ท่านพูดออกมาด้วยญานทัศนะ นี่คือเหตุผลที่ทรงพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หรือแม้แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ในสมัยพุทธกาล เราสังเกต จะมีพระบางองค์ที่ท่านได้ ทิพจักขุญาณ ท่านเทศน์ไปตามที่ท่านไปเห็นในอตีตังสญาณ ถ้าเราฟังเรารู้สึกได้ สัมผัสได้

    คุณสมบัตินอกเหนือจากนั้นคือ มีความฉลาดในการสอนธรรมะ ธรรมที่ง่ายท่านแตกให้ละเอียดพิศดาร ซับซ้อน หลายชั้น หลายมิติได้ ธรรมะที่ยากท่านจะอธิบายด้วยคำ ๆ เดียว หรือคำสั้น ๆ ให้กระจ่าง ให้กลายเป็นง่ายได้ ซึ่งคุณสมบัติที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในวิสัยของปฏิสัมภิทาญาณก็คือ ด้วยควมที่ท่านทรงพระไตรปิฎกได้ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ในเวลาที่สังคายนาพระไตรปิฎก จริง ๆ แล้วต้องนิมนต์พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณมาเป็นผู้ชำระ ถึงจะถูกต้อง อันนี้ข้อที่หนึ่ง

    ข้อที่สอง ด้วยความที่ท่านเป็นคนมีปัญญาสูงในการสอน ในการเทศน์ ในการอธิบาย ท่านที่ได้ ปฏิสัมภิทาญาณ ย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านทรงอภิญญาก็เป็นคุณสมบัติ ที่ช่วยยังศรัทธาให้เกิดขึ้น จะครบที่สุด คือธรรมะ ก็ช่วยทำที่ยากให้เป็นง่าย จริง ๆ ที่เห็นชัดที่สุด ก็คือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลาย ๆ เรื่องที่เราฟัง แต่ก่อนไม่เคยเข้าใจมาก่อน แต่พอฟังท่านอธิบายปุ๊บ ก็กลายเป็นว่าเราเข้าใจ เรากระจ่างขึ้นมา หรือว่าเรื่องอภิญญาต่าง ๆ เราก็ไม่เคยทราบ ถึงเวลาเราปฏิบัติตามที่ท่านสอน เราได้อภิญญาขึ้นมา มันก็ทำให้ความลังเลสงสัย วิจิกิจฉาในไตรสรณคมน์เราเบาบางหรือหมดไปจากจิต

    ดังนั้นตัวอภิญญา ถามว่าสำคัญไหม... มี...เพราะสามารถทำให้คนเราเข้าถึงไตรสรณคมน์ได้ง่าย ไตรสรณคมน์ ต้องอาศัย ศรัทธา ถ้าไม่เชื่อมั่น ยังมีความสงสัย พระพุทธเจ้ามีจริง ไม่มีจริงก็อีกไกล...โอกาสที่จะเชื่อมั่นหรือน้อมนำธรรมะ ไปปฏิบัติก็ยาก แต่ถ้าหมดสงสัยว่าพระพุทธเจ้ามีจริงไม่มีจริง ธรรมะมีผลที่ทำให้ใจเราเป็นสุขจริงหรือไม่จริง เราหมดเราไม่มีความสงสัย มันก็เหมือนเดินเต็มสูบ แต่อารมณ์ที่มีวิจิกิจฉา มันจะเหมือนมีเชื่อกที่คอยรั้งเราอยู่ จะเดินก็เดินไม่ไป ก้าวเข้าก้าวออก ขึ้น ๆ ลง ๆ อารมณ์แต่ละตัว กิเลสแต่ละตัว ถ้าเราเข้าใจว่ามันมีอาการอย่างไร มันดึงอย่างไร รั้งอย่างไร เราจะเข้าใจ มันจะแก้ มันจะปรับ มันจะปล่อยวาง มันจะล้างได้ง่าย ตอนนี้เราเข้าใจวิสัยของการปฏิบัติทั้งหมด

    วิสัยของปฏิสัมภิทาญาณนั้น บาทฐานของการที่จะได้ปฏิสัมภิทาญาณ ก็คือ จะต้องได้ตัวสมาธิที่เป็นอรูปสมาบัติ กองใด กองหนึ่ง อรูปสมาธิ อรูปฌานกองใดกองหนึ่ง ได้สมาบัติแปดกองใดกองหนึ่ง
     
  6. 1535

    1535 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +2,105
    เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าวิสัยในการปฏิบัติ มีตั้งแต่วิสัยของพุทธภูมิ วิสัยของสาวกภูมิ และวิสัยของสาวกภูมิก็ยัง แบ่งแยกเป็น ๔ ประเภท ไม่นับที่ท่านอธิษฐานบารมีพิเศษ อย่างเช่น ขอเป็นอัครสาวก ขอเป็นพระอสีติมหาสาวก เป็นมหาสาวิกา นั่นคืออธิษฐานพิเศษ

    ทำไมถึงต้องรู้ ที่ต้องรู้เพราะถ้าเราอยู่ในวิสัยอภิญญา ถ้าไปปฏิบัติแบบสุขวิปัสโกคือหลับตาแล้วท ำ มันก็จะทำไม่ได้
    สุขวิปัสสโก คือหลับตา ทำ เชื่อ ศรัทธา และค่อย ๆ จินตนาการน้อมนึกจนกระทั่งถึงธรรมะ
    ประเภทที่สอง วิชชาสาม รู้เห็นด้วยความเป็นทิพย์ เริ่มมองเห็น
    ประเภทที่สาม ฉฬภิญโญ อภิญญาหก เริ่มเล่นได้จับต้องได้
    วิสัยที่สี่ ปฏิสัมภิทาญาณ กระจ่างแก่ใจ จับต้องได้ เข้าใจทุกอย่างลึกซึ้ง

    และสิ่งที่เราต้องรู้ก็คือ ใจเราชอบแบบไหน เมื่อใจเราชอบแบบไหน มันจะเห็นเส้นทางในการปฏิบัติของเรา เช่น ถ้าเรามีความรู้สึกว่าอยากช่วยสรรพสัตว์มาก ๆ อยากให้เขาได้ดี อยากให้เขามีความสุข นั่นก็คือเราอยู่ในวิสัยของพุทธภูมิ อยากเก่ง อยากเป็นหนึ่ง บางทีก็ใช่แต่ยังเป็นมิจฉาทิฐิ แต่ถ้าอยากช่วยเขา เขาจะรู้ไม่รู้ อยากช่วยก็คือวิสัยของพระโพธิสัตว์ อาจเป็นผู้หญิงก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชาย เจ้าแม่กวนอิม ท่านก็ทำให้ดู ว่าท่านเป็นผู้หญิง ท่านก็ยังทำบารมีแบบนี้ได้ บางทีท่านก็มาปรากฎเป็นคนธรรมดา จะเป็นคนธรรมดาทั้งนั้น ถ้าเราดูพระชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า อย่างพระสุวรรณสาม ก็เป็นคนธรรมดา เป็นชาวบ้านป่าเลี้ยงพ่อแม่ตาบอดอยู่ในป่า แต่ว่าเรียกพระสุวรรณสามเนื่องจากเป็นพระชาติที่ ท่านเสวยเป็น พระโพธิสัตว์ในทศบารมี ดังนั้นเราไม่รู้ การสร้างบารมีจริง ๆ ไม่รู้ ดูเป็นคนธรรมดา หรือท่านอาจจะเกิดเป็นกษัตริย์ แล้วแต่ อาจจะเป็นผู้ชายก็ได้ ผู้หญิงก็ได้ ความดีท่านอยู่ที่ไหน อยู่ที่ใจ อยู่ที่จิต อยู่ที่น้ำใจท่าน ที่ทำให้คนอื่น ทำให้สรรพสัตว์อื่น

    ทีนี้เราลองมาถามตัวเองว่า เราชอบในวิสัยไหน อย่างเวลาเราอธิบายให้ฟังทั้งหมด บางคนบอกเอออยากบรรลุธรรม แต่ไม่อยากเกิดมา ขอเป็นสาวกภูมิ คราวนี้มาดูต่อไปว่า อยากเห็นเทวดา อยากเห็นพรหม อันนี้ก็อยู่ในวิสัยของวิชชาสาม

    ถ้าบางคนอยากได้อภิญญา อยากได้ฤทธิ์ อยากเหาะได้ เราก็จะรู้ในวิสัย หรือว่าอยากได้อภิญญาด้วย อยากได้อิทธิวิธีด้วย และในขณะเดียวกันก็อยากรู้ภาษาสัตว์ อยากทรงพระไตรปิฎกได้ หรือบางทีเขารู้เขาเอง อย่างยุคปัจจุบัน หลังจากภัยพิบัติต่อไปอนาคตข้างหน้าเราจะมีการสังคายนาพระไตรปิฏกอีกครั้งหนึ่ง ครั้งใหญ่ สังคายนาพระกรรมฐาน อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นมีบางคนที่เขารู้เลย เขาฟังปั๊บเขาอธิษฐานเลยว่าเขาออกบวชเพื่อมีส่วนร่วมในการสังคายนาพระไตรปิฎก คือตั้งจิตเพื่อปฏิสัมภิทาญาณจะมีอยู่เหมือนกัน ตรงนี้ถ้ามีก็ตั้งเลย เราต้องฟันธงไปว่า เราตั้งใจปฏิบัติเพื่อตรงจุดนั้น ดังนั้นเป้าหมายมันชัดเจนขึ้นไหม แนวทางปฏิบัติชัดเจนขึ้นไหม ชัดเจนก็หมายความว่า เราเห็นทิศทางที่เราจะต้องเดิน ไม่ใช่ว่าเราตั้งใจว่าอยากได้ปฏิสัมภิทาญาณ แต่ปฏิบัติแบบสุขวิปัสสโก ไปได้ไหม...

    ดังนั้นการปฏิบัติก็ไม่เกิดผลเพราะปฏิบัติผิดวิสัยที่ตนเองอธิษฐาน คือ บางทีไปอยู่ในกลุ่มที่ปฏิบัติธรรม แต่ทั้งหมด หรือ ครูบาอาจารย์ที่ท่านสอนท่านสอนแบบสุขวิปัสสโก แต่เราอยากได้อภิญญา ไปเท่าไรมันก็ไม่ได้ซะที เพราะท่านก็สอนได้ เฉพาะเท่าที่ท่านทำได้ จะมีจริง ๆ ที่ครบเครื่อง ก็จะมีทางสายที่ท่านเป็นพระโพธิสัตว์แล้วท่าานลาพุทธภูมิ ส่วนใหญ่มักจะ สอนได้ครบ เพราะท่านปฏิบัติมาครบแล้ว บารมีถึงก็จะสอนได้หมด ตรงนี้เริ่มเข้าใจแล้ว ว่าทำไมถึงต้องรู้ ต้องเข้าใจในวิสัย เพื่อให้เราปฏิบัติได้ตรงแนวทางขึ้น
     
  7. 1535

    1535 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +2,105
    พอเราอธิบายเรื่องภาพรวมในพระพุทธศาสนา การปฏิบัติเสร็จแล้ว ตรงนี้เราต้องจี้ไปยังคนที่ฟังเราสอนด้วย ให้เขาเริ่มตื่นขึ้นมาจากข้างในว่า ตกลงเขาจะเดินอย่างไร จะไปทางไหน คือให้เขารู้ตัวเอง ไม่งั้นเขาปฏิบัติก็ดี ก็ไปเรื่อย ๆ ไปทางไหนก็ไม่รู้ เดินซ้าย เดินขวา แต่ถ้าเรากระตุ้นตรงนี้เสร็จ จะได้รู้ว่าเรามาทางนี้ เราต้องการเป้าหมายตรงนี้ ดังนั้นเป้าหมายเขาชัดเขาจะเดินง่ายขึ้น

    อย่างกลุ่มที่เข้ามาฝึกคอร์สครู เราต้องรู้จักตัวเองก่อน อันนี้สำคัญ เราก็จี้ให้เขารู้ พอเขารู้เขาก็จะวางเป้าในการ วางพื้นฐาน เรื่อง ตัวสมถะได้ชัดเจนขึ้น พอเขาปฏิบัติตรงมันจะได้จริง เพราะมันตรงกับสิ่งที่เขาอธิษฐานมาในอดีตชาติ อันนี้คือขั้นตอนที่หนึ่ง คือปลุกให้เขารู้ว่าเป้าหมายเขาคืออะไร

    ขั้นตอนต่อมา ก็คือ เราต้องอธิบายวางพื้นฐานเกี่ยวกับตัวสมาธิก่อน เรารู้แล้วว่า เป้าหมายของการปฏิบัติทั้งหมด ขั้นต่ำที่ต้องได้คือ ฌาน ๔ เริ่มตั้งแต่อานาปานสติไล่ไปจนกระทั่งถึงการได้ฌาน ๔ จากกสิณ ไปจนกระทั่งถึงที่สุด ในตัวสมถะ ก็คือ อรูปสมาบัติ หรืออรูปฌาน อันนี้ภาพของสมถะ ต้องเข้าใจก่อนที่จะเข้าสู่ภาคของวิปัสสนาญาณ

    สมาธิแบ่งออกเป็น ๒ ตัว ตัวสมถะ ก็คือ ตัวสมาธิที่เป็นตัวนิ่ง ตัวสงบ ตัวที่เราทำจิตให้ปราศจากนิวรณ์ ๕ ประการ ปราศจากสิ่งที่เข้ามาแทรกมาซึม มารบกวนจิตใจ ซึ่งมันรวมไปถึง
    นิวรณ์ ๕ ประการ
    กิเลสและอุปกิเลสในขณะที่เข้ามาแทรกมาซึม มารบกวนจิตใจ ในขณะที่เราทรงฌาน
    อคติทั้งปวง ก็คือบางครั้ง คนเราพิจารณาธรรมนอกสมาธิ เราก็คิดว่าธรรมะน่าจะเป็นอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้ คิดตามใจเราก็มี เอาตัวเราสะดวก ตัวอคติที่ว่าเราขอบอย่างไหน มันน่าจะเป็นอย่างนั้น เราไม่ชอบอย่างไหน มันไม่น่าจะอย่างนั้น คิดไปเอง ว่าไปเรื่อย อันนี้คือ อคติที่แทรกเข้ามาเมื่อเราไปพิจารณาธรรมนอกสมาธิ

    ตัววิปัสสนา คือ การเจริญปัญญาในกฏไตรลักษณ์ ในความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แต่เป็นการพิจารณาในฌาน ในสมาธิ เพราะเมื่อจิตของเราอยู่ในฌาน อยู่ในสมาธิ มันจะไม่ถูกสอดแทรก ไม่ถูกรบกวน จิตจะเป็นอุเบกขารมณ์ ไม่มีการเอาอคติ เอาความคิดของเราเข้ามาผสมปรุงแต่ง ดังนั้นเมื่อเราพิจารณาปัญญาในสมาธิ มันจะเป็นตัวธรรมะที่ปราศจากทิฐิ เป็นธรรมะ ที่บริสุทธิ์และตรง

    อุปมาง่าย ๆ ว่า ถ้าเรามีกระดานดำอยู่ แต่ว่ากระดานดำนั้น มีข้อความเรื่องนั้น เรื่องนี้ เขียนเต็มไปหมด แล้วเรา เขียนธรรมะไปบนกระดานที่เต็มไปด้วยตัวอักษร เราจะเห็นข้อความนั้นชัดไหม บางทีก็มั่วไปผสมกับอักษรอื่น ที่มันอยู่ ตรงแถวนั้น มันก็กลายเป็นเรื่องอื่นไปแล้ว แต่การทำสมาธิ ก็คือการลบกระดานดำ คือ ให้จิตสะอาดจากนิวรณ์ ๕ ประการ กิเลส อุปกิเลสทั้งปวง คราวนี้เมื่อจิตมันสงบ ปราศจากการปรุงแต่ง เราก็พิจารณาในฌานในสมาธิ อันนี้คือเหตุผล ไม่งั้นจะกลายเป็นวิปัสสนึก เรานึกเอาว่ามันเป็นอย่างนั้น มันเป็นอย่างนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ทำไมไม่เป็นแบบนี้ ไม่เป็นแบบนั้น แล้วก็เลยลามไปถึงทำไมคนนั้นเป็นอย่างนี้ ทำไมคนนี้เป็นอย่างนั้น

    แต่ถ้ามันเป็นฌานเป็นสมาธิ ไม่ไปปรุงแต่ง มันก็จะละเอียดขึ้น เฉพาะตัวธรรมะ มันจะแยกแยะออกมาได้ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องดีชั่ว ตัวเรากับคนอื่น มันจะแยกออกมาได้ชัดเจนขึ้น อันนี้เข้าใจในภาพของสมถะกับวิปัสสนาแล้ว
     
  8. 1535

    1535 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +2,105
    คราวนี้ข้ามมาที่ตัวสมถะ …
    ตัวสมถะ นั้น สมาธิเป้าหมายสูงสุด เราต้องการฌาน ๔ องค์ของฌาน ๔ อันนี้คือภาคทฤษฎี เดี๋ยวเรามาปฏิบัติจริงว่า อารมณ์นั้น คืออะไร ตัวที่ต้องการคือตัวนิ่ง ตัวเอกัคตารมณ์ ตัวอุเบกขารมณ์ ก็คือจิตนิ่งหยุด จากการปรุงแต่งทั้งปวง บังคับให้ได้ ต้องให้ได้ตลอดเวลา ตัวฌาน ๔ แต่..

    ฌาน ๔ มีตั้งแต่

    เราได้ฌาน ๔ จากอานาปานสติกรรมฐาน
    การจับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อันนี้เป็นพื้นฐานที่ง่ายที่สุด และเป็นสิ่งที่เราสามารถข้าถึงหรือทรงสมาธิ ได้ง่ายที่สุด พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเป็นวิหารธรรม คือ ธรรมเครื่องอยู่ อานาปานสติ คือท่านอยู่เฉย ๆ ท่านก็ทรงจิตอยู่ใน อานาปานสติ เรียกว่า ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่ที่เราต้องทรงให้ได้เป็นปกติ ซึ่งตัวนี้จะควบรวมไปถึงในเรื่อง มหาปฏิปัฏฐาน ๔ ด้วย จะใช้ร่วมกัน เพราะ ธรรมมะบางทีอาจมีความทับซ้อนกันอยู่ คือปฏิบัติตัวหนึ่ง แต่ได้ทั้งในตัวของกรรมฐาน๔๐ ด้วย แล้วได้มหาสติปัฏฐาน ๔ พร้อมกันไปด้วย เพียงแต่ว่าเรามองออกมองเห็นความทับซ้อนที่มันเชื่อมกันได้หรือเปล่า

    ในทางของเราจะเน้นว่า ขยับขาได้ ถ้าเมื่อยปุ๊บเราขยับ เราปรับให้นั่งสบายไว้ ถ้าร่างกายสบายปุ๊บ จิตมันจะไม่หนัก จะไม่เครียด แล้วการทำสมาธิจะง่ายขึ้น

    ตัวที่หนึ่ง สมาธิจากอานาปานสติกรรมฐาน ตัวที่สอง ..

    สมาธิ หรือ ฌาน ๔ จากกสิณ
    ตัวสมาธิจากกสิณนี้จำเป็นต้องฝึก เพราะยากกว่าอานาปานสติขึ้นมานิดนึง ไม่ยากมากและตัวกสิณ ถ้าเราทำได้แล้ว เราขยับซะ นิดนึง นั่งในที่นั่งเดียว เราเลยไปถึงอรูปสมาบัติทั้งแปดให้ได้ในที่นั่งเดียวต่ออีก จริง ๆ ไม่ยากเกินวิสัย โดยเฉพาะคนที่ตั้งใจ บำเพ็ญบารมีมาเยอะพอไม่ยากเกินไป จะค่อย ๆ เป็นลำดับไปเรื่อย ๆ

    เอาตัวแรก ตัวฌาน ๔ เราต้องรู้จักกันก่อน พอเราสอนมาถึงตรงจุดนี้ เราก็จะเริ่มเข้าสู่การฝึกสมาธิให้ได้ถึงฌาน ๔ คนที่เป็นครู หรือคนที่สอนเอง หากยังไม่ได้ฌาน ๔ อย่าไปหวังว่า จะทำให้ลูกศิษย์ได้ อันนี้ขอบอกไว้เลย เพราะว่าเรื่องนี้เป็น เรื่องของการบอกอารมณ์จิต และ เราทำแล้วโน้มจิตดึงให้เขาได้ ส่วนหนึ่งใช้กำลังของเราด้วย นอกเหนือจากสิ่งที่เรา ขอบารมี พระ

    เริ่มต้นตั้งแต่การครอบครูหรือการประสิทธิ์ประสาท ก่อนที่จะสอน ต้องเริ่มตั้งกำลังใจของตนก่อน ถอยมาดูจิตตัวเรา เอง หนึ่งเราสอน เพราะเราปรารถนาให้เขานำลาภสักการะมาให้เราหรือไม่ เราสอนเพราะปรารถนาให้เขามากราบไหว้ มาเคารพเราเป็นครูบาอาจารย์ ต้องการเกียรติยศชื่อเสียงอย่างนั้นหรือไม่ หรือ เราสอนเพื่อปรารถนาให้ผู้อื่น ได้เข้าถึงธรรม ของพระพุทธเจ้า ได้เข้าถึงความดี มีพระนิพพานเป็นที่สุด ต้องถามใจตัวเอง ถ้าเราทำด้วยความโลภ ผลก็จะออกมาอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าเราทำแล้วเราปรารถนาจะให้ ความศักดิ์สิทธิ์หรือผลมันจะมากกว่า มันจะเกิดผลที่อัศจรรย์ว่าเวลาที่เราสอนแล้ว คนเขาได้ง่าย ได้เร็ว เพราะว่าจิตเราเป็นกุศลตั้งแต่ต้น

    นั่นก็คือ เราต้องย้อนมาดูกำลังใจเราเอง พอเราดูกำลังใจตัวเองเสร็จว่าเราทำเพื่อความดีอย่างแท้จริง ทำเพื่อผลแห่ง การปฏิบัติจริง ๆ ปรารถนาให้ผู้อื่นได้ธรรมะ พอเราดูแล้วมันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ เป็นความสะอาด เป็นความบริสุทธิ์ของใจเรา จริง ๆ เราก็ขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านสงเคราะห์ว่า “ ด้วยจิตที่เป็นกุศลของข้าพเจ้าที่ปรารถนาให้ทุกคนได้ธรรมะ ได้ความดี ขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์ ครูบาอาจารย์ แรงครูท่านลงมาจากที่เราไหว้ครู ให้ท่านเมตตาสงเคราห์ ประสิทธิประสาทให้ คนที่ฝึกสมาธิกับเรา หรือคนที่เราช่วยได้ผลแห่งการปฏิบัติอย่างน่าอัศจรรย์ “ และก็อาราธนาบารมี พระพุทธรูป ที่เป็นแก้วใส ลงมายังทุก ๆ คน ที่เราสอน น้อมนำธรรมะ น้อมนำกระแสจากพระนิพพาน ธาตุธรรมจาก พระนิพพานลงมายังทุก ๆ คน ที่เราสอน แต่เราต้องดูใจเราเองก่อน

    พอเราอธิษฐานแบบนี้เสร็จ เราก็จึงค่อย ๆ น้อมจิตเขา เริ่มต้นจากตัวแรก การฝึกสมถะให้เขาได้ฌาน ๔ ก่อน ตัวฌาน ๔ มันจะเป็นบาทฐานให้เราสามารถแผ่เมตตาในฌานได้ สามารถที่จะทำให้เราต่อไปเรื่องการฝึกอภิญญาได้ การได้ฌาน ๔ เป็นองค์ที่ทำให้เราใช้เป็นกำลังพิจารณาวิปัสสนาญาณตัดกิเลสได้ ฌาน๔ เป็นตัวที่เราใช้ แรงอธิษฐานในการใช้กำลังไป รักษาโรคภัยไข้เจ็บให้คนอื่นได้ ใช้อภิญญาได้ ดังนั้น มันเป็นหัวเลี้ยงหัวต่อที่สำคัญ ที่เราสามารถนำให้ใช้หลากหลาย คือ กำลังของ จิตจากฌาน ๔ มันจึงเป็นข้อที่ว่า ในทุกวิสัยจะต้องปฏิบัติให้ได้ฌาน ๔ ทั้ง หมด


    -------------------------------------------------------
    มีต่อตอนต่อไปค่ะ
     
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอเสริมจากห้องสนทนาสมาธิ

    เวลามีน้อยแล้ว

    -------------------------------------
    หากเราต้องกระจายตัวด้วยการอพยพ ไปในสถานที่ต่างกัน ต่างกรรม ต่างวาระ ก็ขอจงนำวิกฤตนั้นให้เกิดประโยชน์
    [21:54:08] KANANUN: จงริเริ่ม ให้กำลังใจ ให้สติคนอื่นในสถานที่นั้น
    [21:54:15] KANANUN: ถึงการเสียสละ
    [21:54:25] KANANUN: การเข้าถึงเมตตาธรรมต่อกัน
    [21:54:35] KANANUN: ความรักในความเป็นชาติ
    [21:54:52] KANANUN: สลายอคติและ ความเกลียดชังจากจิตใจด้วยเมตตา
    [21:55:18] KANANUN: นำความรู้แนวคิดเรื่อง ศานติบุรี บวร มาให้ทุกคนร่วมใจกัน
    [21:55:41] KANANUN: เพื่อให้พื้นที่และชุมชนนั้นอยู่รอด ทางกายภาพได้
    [21:55:59] KANANUN: ส่วนวิชชาและอภิญญาสมาบัติทั้งปวงนั้น
    [21:56:25] KANANUN: ผมตั้งใจเป็นเรื่องที่นำไปใช้ได้ทุกเรื่องอยู่แล้ว
    [21:56:35] KANANUN: เข้าฌานสี่ได้
    [21:57:00] KANANUN: ตัดความเครียดความกังวลของใจเราให้สงบลงได้
    [21:57:14] KANANUN: เข้าฌานสี่ลมหายใจดับ
    [21:57:25] KANANUN: ใช้ยามเกิดภัย ยามคับขัน ทำให้ได้เป็นปกติ ทรงภาพพระพุทธเจ้ากำกับจิต

    KANANUN: ยามไฟไหม้ ฝ่าไฟ ไม่สูดควัน ดับพิษไฟก็เอาตัวรอดได้
    [21:58:51] KANANUN: ยามโรคระบาด ทางอากาศ แพร่มา อาวุธชีวภาพ ฝุ่นกัมมันตรังสี พัดมา
    [21:59:08] Forever In LoVE: ..
    [21:59:15] KANANUN: เราทรงภาพพระ เข้าฌานสี่ไม่ รับไม่สูดเข้าไปก็เพิ่มโอกาสรอดได้มาก
    [21:59:48] KANANUN: เข้าฌานสี่ เพื่อให้จิตสงบระงับเป็นการเข้าสู่สเตจการจำศีล
    [21:59:55] KANANUN: ลดการใช้อาหาร
    [22:00:02] KANANUN: ลดการใช้พลังงาน
    [22:00:44] KANANUN: เพิ่มพลังจิตเพิ่มขึ้น ยิ่งตัดเป็นตัดตาย ถวายชีวิตต่อพระรัตนไตร ยามนั้น
    [22:00:50] KANANUN: อภิญญาจะปรากฏ
    [22:00:56] KANANUN: ---------------------------------------------------------


    [22:01:23] KANANUN: ส่วนวิชชาแต่งกองทัพ ตอนนี้ให้ปลุกวิชชา ซักซ้อมทุกวัน
    [22:01:36] Nixxx: :cool:
    [22:02:22] KANANUN: ซ้อมทุกวัน ให้ควบ อธิษฐาน แคร้วคราดอันตรายทั้งปวง คงกะพันและชาตรี ดับพิษไฟ พิษทั้งปวงไปพร้อมกันด้วยคาถาชุดเดียวที่สอนนั่นล่ะ ครอบคลุมให้ครบ พุทโธอัปปะมาโร
    [22:02:51] KANANUN: และจงอธิฐานเผื่อครอบคลุมเป็นองค์พระองค์ใหญ่เป็นแก้วประกายพรึกให้สามารถคุ้มครอง คนอื่นในกลุ่มที่หลบภัยในสถานที่นั้นด้วย
    [22:03:08] KANANUN: โดยอาจ อาศัยคาดด้วยดินหรือ น้ำมนต์ก็ได้
    [22:03:49] KANANUN: ยามติดขัดอะไร ขอบารมีพระพุทธเจ้า บารมีเทพพรหมเทวาให้ท่านสงเคราะห์
    [22:03:58] KANANUN: อย่าใช้กำลังใจตนเองเด็ดขาด
    [22:04:12] KANANUN: จะทำให้จิตหนักและเครียด
    [22:04:28] KANANUN: อย่าลืมจิตอันเป็นอุเบกขารมณ์เอาไว้
    [22:04:39] KANANUN: --------------------------------------------------------------------
    [22:04:50] KANANUN: พอถึงที่ใด สอนคนทั้งปวงให้ได้
    [22:04:53] KANANUN: ฌานสี่
    [22:05:00] KANANUN: เมตตาฌาน
    [22:05:09] Forever In LoVE: โอโห พี่เล็กพิมพ์ ในนี้ตั้งแต่ 21.51
    ซันเพิ่งเห็นข้อความตอน 22.05
    [22:05:15] KANANUN: ความมั่นคงในพระรัตนไตรเป็นสำคัญ
    [22:05:43] Forever In LoVE: แปลกจัง
    [22:05:47] KANANUN: จะทำให้ สถานที่นั้น วัตถุมงคล พระบรมสารีริกธาตุ เปล่งพุทธานุภาพได้เต็มที่
    [22:06:03] KANANUN: ใจเย็นๆ
    [22:06:13] KANANUN: ค่อยๆสอน
    [22:06:18] KANANUN: และทำให้ดู
    [22:06:20] KANANUN: ทำให้ได้
    [22:06:25] Nixxx: (bow)(F)
    [22:06:34] KANANUN: ห่วงหลายคนที่ เมตตายังไม่ได้เต็ม
    [22:06:49] KANANUN: ต้องทำให้สุดอารมณ์ในทุกกรรมฐาน
    [22:07:01] KANANUN: เมตตาให้จิตแย้มบานที่สุด
    [22:07:09] KANANUN: สว่างใสที่สุด
    [22:07:36] KANANUN: ฌานสี่ให้จิตสงบนิ่งเป้นเอกกัตคตารมณ์ไม่หวั่นไหวไม่กระเพื่อม
    [22:07:46] KANANUN: --------------------------------------------------
    [22:07:52] KANANUN: และที่สำคัญที่สุด
    [22:08:30] KANANUN: ไตรสรณคมม์ต้องมีจิตคารวะนอบน้อมอ่อนโยนต่อพระพุทธเจ้าอย่างที่สุด
    [22:08:40] KANANUN: ---------------------------------------------------------------------
    [22:08:55] KANANUN: ทำอารมณ์จิตในพระกรรมฐานสำคัญให้สุด
    [22:09:00] KANANUN: ------------------------------------------------------------------------
    [22:09:25] KANANUN: อย่าลืมทบทวน เรื่องการตัดขันธุ์ห้า วิปัสสนาญาณ
    [22:09:38] KANANUN: การชำระล้างฟอกธาตุขันธุ์
    [22:09:42] KANANUN: เราเอง
    [22:09:57] KANANUN: บุคคลอื่นในกลุ่ม ณ สถานที่แห่งนั้น
    [22:10:15] Ning: ขออนุญาตอาจารย์ นำไปแชร์ให้กลุ่มชุมชนมโนฯ ทราบด้วยนะคะ
    [22:10:30] KANANUN: อย่าลืมอธิษฐาน ปรับและให้เขาอธิษฐานล้างมิจฉาทิฐิกันด้วย
    [22:10:37] KANANUN: ยินดีครับ
    [22:11:00] KANANUN: ภาวนาเอาไว้ทุกวัน
    [22:11:21] KANANUN: "สัมมาทิฐิ สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา สัมมาปฏิบัติ"
    [22:11:45] KANANUN: "รักในพระนิพพาน พอใจในพระนิพพาน มั่นคงในพระนิพพาน"
    [22:12:05] KANANUN: ปรากฏภาพ พระพุทธเจ้าในจิตเมื่อไร
    [22:12:29] KANANUN: คือเรายกจิตไปกราบพระพุทธเจ้าบนพระนิพพานเมื่อนั้น
    [22:12:34] KANANUN: เวลาเร่งรัดมาก
    [22:12:56] KANANUN: พระท่านจึงให้ผมสอนแบบ ควบรัดตัดตรงที่สุดแล้ว
    [22:14:06] KANANUN: อารมณ์ จิต ใน พุทธานุสติกรรมฐาน ควบอาโลกกสิณ ควบ อุปมานุสติกรรมฐาน ควบ เมตตาอัปปันนาณฌาน
    [22:14:25] KANANUN: พอทรงอารมณ์กรรมฐานเต็มอัตรา
    [22:14:31] KANANUN: ยามเกิดภัย
    [22:14:51] KANANUN: ตัดเป้นตัดตาย ยอมมอบกายถวายชีวิตต่อพระพุทธเจ้า
    [22:14:58] KANANUN: เป็นมรณานุสติ
    [22:15:20] KANANUN: พออารมณ์จิตเราเด็ดเดี่ยวมั่นคง เด็ดขาด
    [22:15:34] KANANUN: อภิญญาใหญ่จะเข้ามาตอนนี้ล่ะ
    [22:16:08] KANANUN: และที่สำคัญหากได้ก็จงอธิษฐานใช้อภิญญาเป็นสัมมาอภิญญา ใช้เพื่อประโยชน์สงเคราะห์
    [22:16:13] KANANUN: ส่วนรวม
    [22:16:29] KANANUN: ใช้ตามที่พระพุทธเจ้าท่านทรงมีพระพุทธานุญาต
    [22:16:48] KANANUN: หากใช้ตามอำเภอใจไหลตามกิเลส จะเสื่อม
    [22:16:55] Nixxx: ;(
    [22:17:02] KANANUN: สอนเอาไว้หมดครบแล้ว
    [22:17:10] Nixxx: (bow)
    [22:17:16] KANANUN: อย่าลืมว่าเราทำเพื่อส่วนรวม
    [22:17:28] KANANUN: เพื่อพระพุทธศาสนา

    ขอให้รักษาอภิญญาสมาบัติและปฏิปทาสาธารณะประโยชน์เอาไว้
     
  10. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    “พรใดในหล้าว่าประเสริฐ จงบังเกิดแก่เธอทั้งหลาย”... “รักษาศีลให้ประเสริฐ ทำสมาธิให้เลิศ ทำปัญญาให้บริสุทธิ์”... “คำว่าบารมีแปลว่ากำลังใจ จะมาขอบารมีฉันทำไม? ทำให้มีให้เกิดขึ้นกับตัวเองซิ ถ้าบารมีขอกันได้ ฉันก็กลายเป็นบารจนเท่านั้นเอง...”
    “นิพพานไม่ใช่ภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาเขียน เป็นภาษาใจ ถ้าอยากไปนิพพานให้เร่งปฏิบัติ เร่งขวนขวาย เร่งหาธรรม ใครทำใครได้ไม่มีใครทำแทนกันได้”...


    http://palungjit.org/threads/พระองค์ที่-๑๐.240030/
     
  11. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    [21:14:51] คุชินาดะ: จงเร่งปฏิบัติตามทางสายตรงที่ครูบาอาจารย์เมตตามอบให้ไว้
    [21:14:55] Ning: มานั่งรอครู ด้วยค่ะ
    [21:14:56] KANANUN: จิตเป็นฌานให้นิ่งให้หยุดเป็นเอกกัตคตารมณ์ได้ไหม
    [21:15:03] KANANUN: ทำตามเลย
    [21:15:08] คุชินาดะ: ค่ะ
    [21:15:30] KANANUN: คราวนี้ทรงภาพพระพุทธเจ้าเป็นแก้วประกายพรึก เพชรระยิบระยับ
    [21:16:06] KANANUN: ให้องค์พระที่ปรากฏในจิตท่านยิ้ม จิตเรายิ้มกับท่านในพุทธเมตตา
    [21:16:16] KANANUN: ให้จิตชุ่มฉ่ำเย็น
    [21:17:16] KANANUN: จากนั้นขอบารมีพระท่านแผ่เมตตาจากองค์พระ ออกไปโดยรอบไม่มีประมาณ
    [21:17:47] KANANUN: ประคองอารมณ์จิตสะอาด สว่าง สงบ เย็น แย้มนี้เอาไว้
    [21:18:14] KANANUN: ประคองจิตให้นาน ยิ่งนาน ยิ่งจิตแย้มบาน ยิ่งสว่าง
    [21:18:27] Ning: พระสว่างมากค่ะ
    [21:18:38 | Removed 21:19:07] Ning: This message has been removed.
    [21:19:28] คุชินาดะ: ค่ะ
    [21:21:10] คุชินาดะ: แผ่ไพศาล
    [21:22:53] KANANUN: อธิษฐานขอบารมีพระท่านสลายจิตอกุศล แรงอาฆาตพยาบาทต่อกัน แรงอวิชชา คุณไสยทั้งปวงให้สลายกลายเป้นความว่างเว้งว้าง ว่างเปล่า
    [21:23:48] KANANUN: ที่ปรากฏเป็นเงาดำขอบารมีพระท่าน สลายล้างด้วยรัศมีแห่งฉัพพรรณรังสี ที่สว่างล้างสลายให้หมด
    [21:24:39] KANANUN: ขอบารมีพระท่านแผ่สว่างเสริมเติมแรงบุญให้ชาวธรรมผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ
    [21:25:23] KANANUN: มีแสงแห่งธรรมห้อมล้อมคุ้มครองให้เจริญในธรรมยิ่งขึ้นไปเป็นกำลัะงของชาติ พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์
    [21:26:10] KANANUN: เห็นดวงจิต ชาวธรรมทุกสายบุญสว่างเรืองรองผ่องใสขึ้น ทุกๆดวงจิต
    [21:26:28] KANANUN: เมื่อเห็นจิตที่ดีทั้งหลายสว่างงามขึ้น
    [21:27:08] KANANUN: จิตเรายิ่งพลอยยินดีในความดี ความงาม ในบุญของท่านอื่นๆจนจิตเรายิ่งสว่างด่วยมุทิตาจิต
    [21:27:43] KANANUN: ประคองอารมณ์จิตนี้ไว้
    [21:29:40] KANANUN: อธิษฐานต่อไป ว่าเราขอตั้งกำลังใจเราเพื่อส่วนรวมไม่ใช่เพื่อตน เราขอกราบน้อมจิตถวายบุญกุศลที่เราบำเพ็ญนี้ ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านให้ท่านมีพระพลานามัยพระกำลังพระวรกาย กำลังพระราชหฤทัยเข้มเเข็งในยามวิกฤตนี้
    [21:30:12] KANANUN: น้อมถวายบุญแด่องค์เทพพรหมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีพระสยามเทวาธิราชเจ้า
    [21:30:33] KANANUN: เทวดารักษาเศวตฉัตร
    [21:31:10] KANANUN: เทพพรหมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แยกราชประสงค์ ขอให้ท่านได้รับกระแสบุญที่พวกเราน้อมจิตถวาย
    [21:31:41] KANANUN: ช่วยเมตตาปกป้องประเทศไทยผืนแผ่นดินพระพุทธศาสนา
    [21:31:48] KANANUN: และชาวธรรมให้ปลอดภัย
    [21:32:01] KANANUN: ตามกำลังที่ไม่เกินผลแห่งกรรมด้วยเทอญ
    [21:32:18] KANANUN: แผ่เมตตาสว่างใสกระจายออกไปอีก
    [21:32:27] KANANUN: สว่างคลุมกายตนเอง
    [21:32:30] KANANUN: ครอบครัว
    [21:32:34] KANANUN: บ้านเรือน
    [21:32:42] KANANUN: วัดวาอาราม
    [21:32:55] KANANUN: เพื่อน กัลยาณมิตรทั้งหลาย
    [21:33:02] KANANUN: ให้สว่างใส
    [21:33:14] KANANUN: ปลอดจากภยันตรายทั้งปวง
    [21:33:33] KANANUN: มีแต่กระแสบุญกุศลคอยดลจิต ดลใจ
    [21:33:39] KANANUN: ให้ทำแต่ความดี
    [21:33:59] KANANUN: มีกำลังใจ กำลังบุญ กำลังบารมีกล้าแข็งด้วยเทอญ


    ประคองอารมณ์จิตใสสว่าง ภาพพระพุทธองค์สว่างใสชัดเจนเอาไว้
    กำหนดจิตอยู่กับพระองค์ท่านบนพระนิพพาน จิตเป็นสุข ชุ่มเย็น

    ระคองอารมณ์ใสสว่าง ภาพพรพุทธองค์สว่างใสชัดเจนเอาไว้
    [21:35:43] KANANUN: กำหนดจิตอยู่กับพระองค์ท่านบนพระนิพพาน

    กำหนดจิตต่อพิจารณาตัดสังโยชน์ สิบประการ
    [21:40:32] KANANUN: -ตัวเราตายตอนนี้ เราอาลัยในขันธุ์ห้าร่างกายไหม
    [21:40:47] KANANUN: ตายแล้วจิตปักมั่นคงที่ไหน
    [21:41:16] KANANUN: ตัดสักกายทิฐิได้ไหมเสียดายร่างกายหรือภพแห่งมนุษย์ไหม
    [21:41:27] คุชินาดะ: สาธุ ขอบูชาครูบาอาจารย์ ขอให้มีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ด้วยเทอญ
    [21:42:01] KANANUN: ให้จิตยอมรับ ในอารมณ์ตัดร่างกาย สักกายทิฐิให้สิ้น
    [21:42:16] คุชินาดะ: ขอมวลสรรพสัตว์ จงมีจิตสว่างไสวในดวงธรรมด้วยเทอญ
    [21:42:29] KANANUN: -ถามจิตเราต่อว่า รักพระพุทธเจ้า พระรัตนไตรไหม
    [21:42:43] KANANUN: เคลือบแคลงใจในเรื่องกรรม
    [21:42:47] KANANUN: ผลของกรรม
    [21:42:51] KANANUN: พระนิพพาน
    [21:43:04] KANANUN: และมรรคผลพระนิพพานหรือไม่
    [21:43:36] KANANUN: สิ้นสงสัยในไตรสรณะคมม์ว่าเป็นสรณะที่พึ่งสูงสุดจริงไหม
    [21:43:43] KANANUN: เชื่อพระนิพพานไหม
    [21:44:07] KANANUN: เคารพรักพระพุทธเจ้าสุดจิตใจยอมตายแทนได้ไหม
    [21:45:00] KANANUN: ให้จิตสิ้นจากวิจิกิจฉา ลังเลสงสัยในการปฏิบัติให้สิ้นไปให้หมดจากใจ
    [21:46:30] kesa: สาธุค่ะ...รับทราบ น้อมรับปฎิบัติตาม อย่างตั้งใจค่ะ
    [21:47:31] KANANUN: -กำหนดจิตในเมตตาญาณสูงสุดสว่างใส เย็นแย้มด้วยเมตตาสว่างเย็น
    [21:47:54] KANANUN: ถามจิตถามใจเราว่า เมื่อจิตเราเย็นด้วยเมตตาแล้ว
    [21:48:12] KANANUN: เราปรารถนาไปละเมิดศีลห้า
    [21:48:24] KANANUN: จะไปทำร้ายไปฆ่าฟันใครไหม
    [21:49:19] KANANUN: ไปลักทรัพย์ละเมิดบุคคลอื่นในพรหมจรรย์ ไปหลอกลวงฉ้อฉลเขาไหม
    [21:49:37] KANANUN: ไปทำลายสติมอมเมาตนเองด้วยสุรายาเมาไหม
    [21:50:06] KANANUN: หรือจิตมีแต่เมตตาปรารถนาดีอยากให้ อยากเห็นผู้อื่น จิตอื่นเป็นสุข
    [21:50:21] KANANUN: สงสารเกื้อกูลจิตอื่นด้วยกรุณา
    [21:50:58] KANANUN: ยินดีเมื่อจิตดวงอื่นเข้าถึงบุญกุศลตื่นสู่จิตเดิมแท้อันเป็นประภัสสรด้วยมุทิตา
    [21:51:50] KANANUN: จิตวางเฉยไม่สุขไม่ทุกข์เมื่อช่วยเมื่อโปรดเมื่อสงเคราะห์เขาไม่ได้ ไม่เศร้าหมองหรือทุกข์ใจไปด้วย อุเบกขา
    [21:52:18] KANANUN: มีแต่จิตผ่องใสแย้มบานชุ่มเย็นแต่เพียงประการเดียว
    [21:52:56] KANANUN: ตัดอบายภูมิปิดนรกด้วยศีลของพระอริยะเจ้า
    [21:53:08] KANANUN: ศีลที่ไม่ต้องบังคับฝืนจิต
    [21:53:19] KANANUN: ศีลที่ปรากฏด้วยจิตเมตตา
    [21:53:35] KANANUN: มีแต่การให้ การช่วยเหลือ การสงเคราะห์กัน

    ขอให้จิตทุกๆดวงผ่องใส งดงามเบิกบานในธรรม
     
  12. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
  13. Vatairat

    Vatairat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,294
    อนุโมทนาสาธุค่ะอาจารย์นู๋ก็โดนเร่งปฎิบัติธรรมค่ะ
    ไม่มีเวลาแล้วค่ะ
     
  14. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ปฏิบัติให้ใจสบาย แต่ทำทุกวัน ทำบ่อยๆ ทำเป็นปกติ ทำสม่ำเสมอ ทุกครั้งที่มีสติรำลึกได้

    จับลมหายใจสบายๆ ในอานาปานสติบ้าง
    แผ่เมตตาให้จิตยิ้มชุ่มเย็นบ้าง
    ทรงภาพพระพุทธเจ้าให้จิตตั้งมั่นในพระรัตนไตรบ้าง
    ทรงอารมณ์พระนิพพานบ้าง
    เจริญปัญญาพิจารณาในวิปัสนาญาณบ้าง

    ตาม อารมณ์จิต ที่เป็นสุขนั้น

    ดังนั้น

    ยิ่งปฏิบัติยิ่งจิตสบายโล่งปลอดโปร่ง เบา เย็น


    จนกระทั่ง

    จิตชิน จิตเกิดธรรมฉันทะ ความพอใจในการปฏิบัติ จนทำจนปฏิบัติทุกลมหายใจ

    เป็นไปเป็นธรรมชาติเนื้อแท้ของจิตเราเองที่ผ่องใส เป็นนิจ

    คำว่าไม่มีเวลา ไม่มี
    ไม่มีอารมณ์ปฏิบัติไม่มี
    เราทำงาน ทางโลก ปฏิบัติธรรมไม่ได้ ไม่มี
    คนอื่นที่บ้าน ที่ทำงาน คนรอบตัวเป็นอุปสรรค ต่อเรา ไม่มี
    ความขาดแคลน ยากจน เป็นอุปสรรค ต่อการปฏิบัติ ไม่มี
    รวยเกินไป จนไม่มีเวลาปฏิบัติ ไม่มี

    มีแต่ปัญญามองเห็น วิปัสสนาญาณในทุกสรรพสิ่ง
    เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ที่ปรากฏในทุกขณะจิต

    เข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของจิตและ ธรรม

    เพราะ ธรรมมะน้อมนำสู่จิตสู่ใจ จนจิตสะอาดบริสุทธิ์แล้ว


    "ขอธรรมจักรจงเคลื่อนดวงธรรมไปในทุกขณะจิต ทุกกาล ทุกวาระ สู่ความเป็นสัมมาทิฐิ สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา สัมมาปฏิบัติด้วยเทอญ"
     
  15. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    คลื่นกรรม กระแสจิตยังส่งผลผ่านกาลเวลาต่อเนื่องมาจนถึง สถานที่ และจิตคน บ่วงกรรมมาส่งผลให้เกิดความแยกแยกในบ้านเมือง
    พระท่านก็ให้กำหนดจิตดูภาพเหตุการณ์เป็นอดีตตังสญาณ ซึ่งหากเราจะใช้ญาณให้ละเอียดลึกลงไปอีก ท่านก็ให้กำหนดลึกลงไปใน อารมณ์จิตหรือความรู้สึก ของบุคคลในเหตุการณ์นั้นๆด้วย
    หากเหตุการณ์นั้นๆเราคือผู้อยู่ในเหตุการณ์ เราก็พึงอโหสิกรรม ขมากรรม สลายดวงจิต อันเป็นทุกข์ โทษเหล่านั้นเสีย

    หากเราไม่เกี่ยว ในเหตุการณ์ เราก็พึงขออารธนาบารมีพระท่าน สลายกระแสคลื่น กระแสขัดแย้ง นั้นๆด้วยเมตตาให้กระแสลบ สลายไปจากสถานที่เหล่านั้น ให้สิ้นไป

    มีแต่กระแสบวก กระแสกุศล กระแสบุญ
    ในความดีที่ทุกดวงจิต เคยร่วมสร้าง ร่วมแรง ร่วมบารมีกันมา
    เพื่อให้แรงงกรรรมที่ส่งผลมาจนปัจจุบันนี้พลอยเบาบางลงไปด้วย
    ท่านก็ให้แผ่เมตตาสลายแรงกรรม อโหสิกรรมต่อกันไป เราเป็นฝ่าย ให้อภัยทานไม่เป็นเจ้ากรรมนายเวรใคร
    ให้กรรมทั้งปวงสลายเป็นโมฆะกรรมต่อกัน
    ให้อธิษฐานตั้งกำลังใจ ว่านับแต่นี้ เรา ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์
    ให้จิตเราสะอาด ปลดบ่วงกรรมให้เบาบางลง
    ยกจิตเราเองให้ใส ให้ อภัยได้ ทั้งคนไทยด้วยกันก็ดี ทั้งอริราชศัตรูก็ดี
    เราให้อภัยให้ได้หมด
    พิจารณา ว่า เวลา 100 ปีก็ดี 3-400 ปีก็ดี แรงกรรม กระแสจิต แห่งความโกรธ อาฆาตพยาบาท ยังคงอยู่แบบนี้มันทุกข์ไหม
    ก่อแรงลบแรงแค้นไหม
    ยังเกาะเกี่ยวในจิต ในอารมณ์ร้อนแบบนี้ ทุกข์ไหม
    พิจารณาแล้วก็ละ ก็วาง สลายออกไปจากดวงจิตเรา
    เหลือเพียงเมตตาจิตแต่เพียงประการเดียว
    ให้ใจเราใสเอาไว้
    จากนั้น ขอบารมีพระพุทธเจ้าท่านทรงสงเคราะห์
    แผ่เมตตาจิตในอารมณ์พระนิพพาน
    สลายล้าง กระแสลบ กระแสเกลียดชัง ออกไปจากทุกสถานที่ ทุกมิติแห่งกาลเวลา บนโลกใบนี้ ในจักรวาลนี้ ในอนันตจักรวาลนี้ ที่ภพภูมิ ทุกดวงจิต
    ออกไปด้วยกำลังแห่ง อรูปสมาบัติแปด
    สรรพสิ่งแล จักรวาลล้วนแต่ต้องสูญสลายเป็นผุยผงไปตามกฏไตรลักษณ์ฉันใด
    ความแค้น ความเกลียดชัง ทั้งปวงก้ล้วนไร้แก่นสารเมื่อทุกสรรพสิ่งต้องสูญสลายไปในที่สุด
    เราสลายออกไปให้สิ้น
    เหลือเพียงบุญกุศลผุดปรากฏเป็นดอกบัวแก้วแห่งความดีความงาม รองรับบุญ รองรับผู้เข้าถึงมรรคสี่ ผลสี่ พระนิพพานหนึ่ง
    และท่านผู้จะเข้าถึงอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณในอนาคตด้วยเทอญ
    สลายกระแสลบ กระแสโกรธ กระแสโลภ กระแสหลงโลก ออกไปจาก จักรวาล จากทุกช่วงมิติของเวลา ทุกมิติทับซ้อน
    มีแต่กระแสธรรม กระแสบุญอันบริสุทธิ์แต่ประการเดียวด้วยเทอญ
    ไปไหนใช้มโนดู อดีตตังสญาณ
    ดูแล้วดูให้ลึกให้เห็นกรรม บุพพกรรม
    ผลของกรรม
    และกระแสกรรมที่ส่งผลสืบเนื่องต่อไป
    จะทำให้เข้าใจเรื่อง กรรมอันเป็นทายาท
    กรรมที่เป็นกระแสต่อเนื่องมาถึงชนรุ่นหลัง
    ทำให้เข้าใจกรรม
    กฏของกรรม
    กลัวกรรม
    และเรายิ่งชำระขัดเกลาใจเราให้ไม่ไปละเมิดล่วงเป็นกรรมต่อกัน
    ยิ่งจิตละเอียดเท่าไร เรายิ่งกลัวกรรมแม้เพียงเล็กน้อย
    ไปไหนเราใช้เมตตาที่ไม่มีประมาณ ขอบารมีพระพุทธองค์ท่านทรงสงเคราะห์ให้เราได้ช่วย
    ปรับภพภูมิ
    ปรับกระแส พลังลบในทุกสถานที่ที่ไป
    แผ่เมตตาปรับกระแส ปรับคลื่น ปรับดวงจิตให้ เป็นผลึกเพชร เย็น สว่าง สะอาด สงบ ด้วย เมตตา


    น้องชัด: สายโยงใยแห่งกรรม กำลังเกิดเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ เราต้องช่วยกันแผ่เมตตา และอย่าเอาตัวเองไปอยู่ในสายใยแห่งกรรมเหล่านี้

    ใช้กรรมฐาน สลาย ถอนสายโยงกรรมเหล่านี้
    ให้ตัดภพจบชาติให้สั้นลง เบาบางลง
    จะต่อภพต่อชาติ ก็ก่อกรรมเพิ่มมากๆ
    จะตัดภพตัดชาติ ชรามรณะ ก็ ละกรรม ยังกุศล แต่เพียงประการเดียว
    ตัดสังโยชน์ สามได้ จึงตัดภพ แห่งอบายภูมิได้
    เหลือภพมนุษย์ภพกลาง กับสุขคติภูมิแต่เพียงเท่านั้น
    ทุกข์น้อยลงไหม
    กรรมฐานมีอานิสงค์ ก็เพราะตัดภพชาติ จนทำให้ออกจากสังสารวัฏฏ์ไปได้

    จนถึงซึ่งพระนิพพานในที่สุด
     
  16. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    พอดีปูได้อ่านหนังสือนิทานบ้านตลิ่งชัน-สบายใจ เล่ม๓ ของท่านจิตโต มาอ่านเจอเนื้อความให้ข้อคิดเรื่องความมั่นคง เลยขอนำมาฝากทุกท่านพิจารณาค่ะ

    พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงตรัสกับเทวดาว่า
    " บุรุษผู้เจริญ ความตั้งใจที่มั่นคงแล้ว ย่อมจะนำไปสู่ความสำเร็จ หากเมื่อใดที่ใจของเจ้าหมดความมั่นคงแล้ว นั่นแหละ ความสำเร็จของเจ้าก็จะสูญไป "


    " ขอให้เจ้าจงจำไว้ว่า ความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่ไหน อยู่ที่ความมั่นคงของใจเจ้าอย่างเดียว "


    ท่านจิตโตอธิบายคำว่ามั่นคง มั่นคงนี่ มันมีความหมายที่เธอจะต้องทำให้มันแตกฉาน เธอมั่นคงอะไร ทำไมใจของเธอจึงว่ามั่นคงปั๊บ เราก็สามารถทำทุกอย่างสำเร็จได้ เธอมั่นคงอะไร ถ้าเราต้องการความสำเร็จคือมรรคผล เธอต้องมั่นคงกับอะไร? มั่นคงกับความเข้าใจที่เธอรู้ว่า เธอกำลังอยู่ในดินแดนที่เต็มไปด้วยทุกข์ เธออยากพ้นทุกข์ เธออยากหนีทุกข์ เธออยากไปจากความทุกข์ นั่นถือว่าเธอเริ่มมั่นคงในใจของเธอแล้วถ้าเธอไม่เห็นดินแดนมนุษย์เป็นความทุกข์ เธอจะออกจากที่นี่ไปทำไม ไม่ไปหรอก ถ้าเขาชักชวนว่าสวรรค์สวยงามกว่า นิพพานสวยที่สุด มีความสุขที่สุด แม้เธอจะยินดีกับนิพพานไปกับเขา แต่ใจของเธอไม่มั่นคง ก็ยังไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ความมั่นคงไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เขาพูด หรือเขายุยงส่งเสริม ให้เธอยินดีไปด้วย ต่อให้ผู้นั้นจะเป็นผู้ที่เธอให้ความเคารพ เลื่อมใสและเชื่อในสิ่งที่เขาพูด สิ่งที่ท่านพูดมา ก็ไม่ทำให้เธอเกิดความมั่นคงได้เลยแม้แต่นิดเดียว


    ฉะนั้น ความมั่นคงจะไม่ได้อาศัย จากการที่เราได้ยินได้ฟังจากใคร หรือใครเขาจะพรรณนาสิ่งนั้นว่าดี แล้วเราเกิดความเชื่อว่า สิ่งนั้นดีและมั่นคงและจะทำตาม เพราะมันเป็นการทำตามได้ประเดี๋ยวประด๋าว เดี่ยวมันก็กลับไปสู่สิ่งที่เราคุ้นเคยเหมือนเดิมอีก แต่ถ้าเธอมีความมั่นคงอย่างที่เราบอกว่า มันเป็นความมั่นคงที่เกิดจากภายในใจ มั่นคงเรื่องอะไร มั่นคงในการเห็นว่า โลกมนุษย์นี่ไม่มีดินแดนตรงไหน มุมใดมุมหนึ่งของโลกที่มั่นเป็นสุข นั่นเราจะเริ่มมั่นคงแล้วว่า ดินแดนมนุษย์นี้เราจะไม่กลับมาอีกต่อไป


    อันดับแรก สำคัญนะ เธอจะหลุดพ้นโลกใบนี้หรือไม่ก็ตาม สิ่งที่เธอต้องแสวงหาความจริงภายในใจของเธอก็คือว่า ดินแดนมนุษย์นี้มีมุมใดมุมหนึ่งไหมที่เธอยังรู้สึกว่าเป็นของดี มีไหม? ไม่มี
    แล้วจะมีบทพิสูจน์ว่าดีหรือไม่ดีตรงที่ว่า เวลาเธอได้อะไรมาดีมาก เขาให้ความสุขแก่เธอมาก เธอลืมในสิ่งที่เธอตั้งใจจะไปไหม ในชั่วขณะหนึ่งที่สิ่งนี้หยิบยื่นให้ ในเวลาเดียวกันนั้น จิตใจของเธอที่มีความมั่นคง มันก็ผุดขึ้นมาต้าน มันจะไม่ห่างกันแม้แต่ลัดนิ้วมือเดียวเลย ยังช้ากว่าความรู้สึกที่มันขึ้นมาต้านในเวลาเดียวกัน เหมือนมันมีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่า เราไม่ได้พอใจในสิ่งนี้ ต่อให้สิ่งนั้นเขาจะหยิบยื่นอะไรให้เธอก็ตามที ในโลกนี้เราฝืนไม่ได้หรอกว่า เขาจะให้อะไรกับเรา เขาอาจจะหยิบยื่นความสุขทั้งหลายที่เราเคยพึงพอใจ ให้แก่เราช่วงไหนก็ได้ และเมื่อช่วงเวลานั้นเกิดขึ้น ไอ้ความที่เรามั่นคงกับความคิด ว่าโลกใบนี้ไม่ว่ามุมใดมุมหนึ่งเราก็ไม่เห็นว่าเป็นสุขเลย มันจะขึ้นมายันใจเราไว้ว่า ไม่มีแล้วที่นี่ไม่ใช่ดินแดนที่เป็นสุข ไม่มีอะไรเป็นของจริง มีแต่ของที่ทำให้เรานั้นหลงเข้าไปหาความผิด ความโง่เขลาต่างหาก เดือดร้อนเมื่อเราหลงผิดอยู่กับมัน


    แล้วเธอจำไว้นะว่า เมื่อจิตของเธอมีความมั่นคงในสิ่งนี้ เกิดขึ้นในคราวใด เธอจะพยากรณ์ตัวของเธอได้เลยว่า เธอกำลังก้าวเท้าเดินข้ามวัฏฏะอันน่าสงสาร เท้าของเธอข้างหนึ่งก้าวไปแล้วฝั่งโน้น เหลืออีกข้างหนึ่งที่เธอจะก้าวตามก็ต่อเมื่อใจของเธอเริ่มมีความมั่นคงต่อผู้ที่มีความสุขแล้ว คือพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย


    เมื่อใดที่ใจของเราไม่มีวิจิกิจฉา คือสงสัยในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ นั่นแหละ เท้าของเธอก็จะหลุดจากข้างนี้ไปอีกข้างหนึ่ง ไปอยู่ข้างเดียวกัน คำว่าไม่สงสัยในคุณของพระพุทธเจ้าหมายความว่าอะไร? ก็คือไม่สงสัยในคำสอน ไม่สงสัยความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศ ไม่สงสัยในความตายว่าต้องเป็นธรรมดา ไม่สงสัยว่าการเกิดมาจะต้องมีกรรมเป็นของๆตน เราเป็นผู้ทำกรรมของเรามาเอง สิ่งนี้ก็ต้องเกิดขึ้นกับเราเป็นของแน่ ไม่สงสัย ไม่ตำหนิ ไม่โทษผู้ใด ไม่เบียดเบียนในความจริงที่เกิดขึ้น เพราะเหตุแห่งกรรม


    เขาเรียกว่ามั่นคงในคุณของพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ เมื่อเรามั่นคงปั๊บ ความหนักแน่นของใจเรานี่ ขึ้นชื่อว่าจะก้าวหลุดมาการแสวงหาการเวียนว่ายตายเกิด หรือว่าจะทำความชั่วอีกนั้นเป็นอันว่าจบสิ้น เธอก้าวพ้นแล้ว โลกใบนี้ไม่เป็นดินแดนที่เธอต้องกลับมาอีกได้แน่นอน แล้วก็ไม่เคยเห็นมีใคร กลับมาอีกเลย เมื่อเขาเป็นผู้ที่มีความมั่นคงเช่นนี้ ต่อให้กำลังใจของท่านผู้นั้น ยังแค่พระโสดาบันก็ไม่กลับ
     
  17. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
  18. มาพบพระ

    มาพบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    643
    ค่าพลัง:
    +1,973
    เอากายหนีภัยธรรมชาตินี้ยากนัก ปฏิบัติจิตหนีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ยิ่งยากใหญ่
     
  19. ปูเเว่น

    ปูเเว่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,614
    ค่าพลัง:
    +6,697
    [​IMG]

    ของน้องตุ้ยนำมาฝากค่ะ
     
  20. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    สวัสดีครับ อ.คณานันท์

    หลังจากที่ผม พยายามทรงอารมณ์ฌานสี่ ในอานาปานสติ ตลอดทั้งวัน พร้อมทั้ง เจริญอาโลกสิณ สติปัฏฐาน พิจารณาอสุภกรรมฐาน เจริญวิปัสสนาญาน
    ตอนนี้เวลานั่งสมาธิ อารมณ์สูงสุดที่ทำได้ จะเป็นอาการหูดับ และดับความรู้สึกทั้งหมด คือไม่รู้สึกตัวและตัวชามากๆ คล้ายๆกับหลับไป แต่ไม่ได้ตกภวังค์ สมาธิยังทรงตัวอยู่ และช่วงจุดสูงสุดนั้น จิตมีอาการเคลิ้มๆไปกำหนดรู้ที่ภาพอาโลกสิณ ที่เป็นปฎิภาคนิมิตร ส่องสว่างเจิดจ้าดั่งดวงอาทิตย์ ผมนั่งทำสมาธิอยู่บนเก้าอี้ ท่านกลางผู้คนมากมาย แต่กลับไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย คือผมใส่แว่นตาอยู่ ไม่มีใครรู้ว่าผมนั่งทำสมาธิ ทุกคนคิดว่าผมนั่งหลับ ในช่วงที่ทุกอย่างดับไปนั้นเวลาจะผ่านไปเร็วมากๆ อาการแบบนี้เรียกว่า กายกับจิต แยกออกจากกันใช่หรือเปล่าครับ และอีกอย่างหนึ่ง ในเวลาใช้ชีวิตประจำวันปกติ ผมกำลังนั่งอยู่บนเก้าอี้ พอกำหนดสติ ระลึกได้ ปุ๊ป จิตเป็นสมาธิ ร่างกายของผมจะเข้าสู่อาการชา แบบไร้ความรู้สึกไปทั้งตัว โดยที่ผมกำลังอยู่ในอารมณ์ปกติ สบายๆ ไม่ได้ คิดจะเข้าฌานแต่อย่างใด ผมไม่ได้เป็นโรคเหน็บชา แล้วไม่ได้นั่งทับขาตัวเอง ผมไม่รู้สึกเจ็บปวด ทุกขเวทนาแต่อย่างใด อาการชาที่เกิดขึ้นเป็น อาการชาแบบไม่รับสัมผัส ซึ่งอาการแบบนี้เกิดกับผมบ่อยมากๆ เริ่มเห็นอาการได้ชัดเจน หลังจากที่ผมเริ่มท่องคาถา โสตัตตะ ภิญญา ก่อนนอน อาการตัวชาจึงเกิดขึ้นกับผม ทั้ง ตอนนั่ง ตอนนอน ก่อนจะหลับ และหลังจากตื่น แต่ที่โดยรวมแล้ว ผมก็รู้สึกมีความสุขดีที่เกิดอาการแบบนี้
    อยากทราบว่า อาการแบบนี้ เนื่องมาจากที่ผมเจริญวิปัสสนาญานใช่หรือเปล่าครับ ส่วนอาการอื่นๆที่เกิดขึ้นกับผมที่ผ่านตอนนี้หายไปหมดแล้วครับ เหลือเพียงแต่ อาการตัวชา หูดับ จิดไปจับที่ ปฎิภาคนิมิตร ของอาโลกสิณ เท่านั้นเอง

    ที่เข้าใจและปฎิบัติถูกต้องหรือเปล่าครับ รบกวนขอคำแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ
    โมทนาบุญด้วยครับ

    จิตนิ่งหยุด หูดับอาการทางกายหายไปหมด เป็นฌานสี่ละเอียดครับ

    ยิ่งปล่อยวางร่างกายมาก จิตยิ่งแยกจากกายมาก ยิ่งเป็นฌานลึกครับ

    หากจะออกจากฌาน ให้ถอนจิตในอารมณ์ที่พิจารณาธรรมได้และทรงภาพพระพุทธเจ้าให้แจ่มใสและ น้อมจิตขอฟังธรรมจากพระพุทธองค์ได้แล้วครับ

    แต่เมื่อรู้ ทราบในจิตให้พัก เอาไว้ในอุเบกขารมณ์ก่อน พิจารณาใคร่ครวญแล้วจึงเชื่อ เป็นโยนิโสมนัสสิการ พิจารณาให้แยบคายว่า ธรรมที่รู้ที่ทราบในญาณนี้ เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วเกิดผล เกิดการคลายวางปล่อยจากกิเลสตัณหาอุปทานได้

    เราจึงค่อยน้อมนำไปปฏิบัติครับ

    อย่าเกาะ อย่ายึด ให้ใจสบาย วางแล้วเบา วางได้แล้วจิตเป็นสุขรู้เท่าทันอารมณ์ของเราครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...