สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,705
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,527
    [​IMG]เพียรเถิดจะเกิดผลแม้ยังไม่เห็นอะไรก็อย่าท้อแท้ใจ
    [​IMG]การเจริญภาวนาแต่เพียงขั้นต่ำ หรือการปฏิเสธ
    สมถกัมมัฏฐาน และมุ่งเน้นแต่การพิจารณาสภาวะธรรมเพื่อให้เกิดปัญญานั้น เสี่ยงต่อการเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างมาก


    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติภาวนา มีสติปรากฏยิ่งจนเกินไป กล่าวคือ มีสติพิจารณาสภาวะธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงยังเกิดขึ้นไม่ทัน คงมีอยู่แต่ปัญญาจากการจำได้หมายรู้จากตำราเสียโดยมากนั้น จิตจะปล่อยวางอารมณ์วิปัสสนาที่เคยยกขึ้นมาพิจารณาอยู่เสมอนั้นไม่ได้
    [​IMG]แม้แต่จะได้รับคำแนะนำให้ปล่อย หรือให้ปฏิเสธนิมิต ก็ปฏิเสธไม่ออก เป็นเหตุให้เกิดนิมิตลวงขึ้นในใจ โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ตั้งใจจะรู้จะเห็น เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลสข้ออุปัฏฐานอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตได้
    [​IMG]จึงใคร่จะกล่าว ถึงคุณค่าของการเจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ปฏิบัติและสั่งสอนถ่ายทอดไว้ ว่าเป็นกรรมฐานที่มีทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน เป็นการเจริญภาวนาที่มีมหาสติปัฏฐานโดยครบถ้วนอยู่ในตัวเสร็จ คือ มีการพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมอยู่ในตัวเสร็จ
    [​IMG]มีอุบายวิธีที่ทำให้สมาธิเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสัจธรรมจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น
    [​IMG]เมื่อยกสภาวธรรมใดขึ้นพิจารณาให้เกิดปัญญาแล้ว ก็มีวิธีให้พิสดารกาย พิศดารธาตุธรรมไปสู่สุดละเอียด ให้ใจของทุกกายรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายที่สุดละเอียดอยู่เสมอ จิตก็ละวางนิมิตที่ยกขึ้นพิจารณานั้นไปเองโดยอัตโนมัติ วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญภาวนาตามแนวนี้แต่ประการใด
    [​IMG]และยิ่งสำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ยิ่งเห็นอรรถเห็นธรรม ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า สังขตธาตุ สังขตธรรมกับทั้งที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่าอสังขตธาตุ อสังขตธรรม ได้โดยชัดแจ้ง ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย
    จึงขอเชิญชวนท่านสาธุชนเจริญให้มาก แม้ในระยะแรกๆ บางรายอาจจะยังมิได้เห็นอะไร ก็อย่าท้อแท้ใจ ว่าปฏิบัติไม่ได้ผล ความจริงถ้าสังเกตดูในเหตุและผลแล้ว ก็จะพบว่า ท่านได้รับผลดีจากการปฏิบัติอย่างแน่นอน ขอแต่ให้ปฏิบัติให้ได้ตรงตามวิธีที่แนะนำไป ด้วยใจรักในธรรมปฏิบัตินี้ ด้วยความเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อ ด้วยใจจดจ่ออยู่เนืองนิจ และด้วยความพินิจพิจารณาในเหตุสังเกตในผลให้ถูกต้อง ตามที่วิปัสสนาจารย์ให้คำแนะนำไว้
    [​IMG]โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้พึงระวังอุปกิเลสของสมาธิให้ดี เช่นว่า
    [​IMG]ระวังอย่าให้เพียรหย่อนเกินไป จนจิตใจง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปี้กระเป่า
    [​IMG]เพียรจัดเกินไป จนกายและใจไม่สงบ
    [​IMG]อยากเห็นนิมิตจนเกินไป ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน
    [​IMG]หรือ..พลอยหงุดหงิด เมื่อรู้สึกว่าปฏิบัติไม่ได้ผล
    [​IMG]หรือ..สะดุ้งตกใจกลัว/ตื่นเต้นจนเกินไปเมื่อเห็นนิมิต ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน หรือเคลื่อนจากสมาธิ
    [​IMG]และพึงระวังรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับผู้เป็นฆราวาสก็อย่างน้อยศีล ๕ ขึ้นไป
    [​IMG]พึงหลีกเลี่ยงจากกามฉันทะ อย่าไปตรึกนึกถึงมันให้มากนัก เพราะเป็นอุปกิเลสของสมาธิตัวสำคัญเสียด้วย
    [​IMG]สิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งหลาย
    [​IMG]ตลอดทั้งการดูการละเล่น หรือ ประโคมดนตรีเหล่านี้ ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องกีดกั้นหนทางเจริญสมาธิและปัญญาทั้งสิ้น



    หลวงปู่วีระ คณุตฺตโม
    อดีตรองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำภาษีเจริญ


    [​IMG]
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,705
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,527
    กิเลสทั้งปวงนับตั้งแต่อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายที่
    รวมเรียกว่า สมุทัยนั้น ต่างก็ประชุมรวมลงอยู่ที่ จิตใจของสัตว์ คือใน เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ อย่างนี้
    ทั้งสิ้น
    เพราะฉะนั้น การแก้ หรือปหานกิเลสทั้งมวลเหล่านี้
    ก็จะต้องแก้ที่จิตใจ คือที่ เห็น จำ คิดและรู้นี่เอง
    กิเลสจึงจะดับหมด
    แล้วธรรมกายจึงจะใสสะอาดบริสุทธิ์ ขยายส่วนใหญ่โตออกไป ได้เต็มธาตุ เต็มธรรม แล้วก็จะไม่กลับมัวหมอง และไม่กลับเล็กเข้ามาอีก เพราะเบิกบานเต็มที่ เหมือนดอกบัวที่บานแล้ว ก็จะเห็นธรรมกายนั้น ใสสว่างอยู่ทุกเมื่อ



    พระราชพรหมเถร
    หลวงปู่วีระ คณุตฺตโม



    ?temp_hash=4e4be3b5bbf348fe824000f3bbe53837.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,705
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +70,527
    #ถ้ายังไม่ได้เป็นพระอริยสงฆ์พระอริยเจ้าก็อย่าหลงว่าตนเองเป็นผู้รู้มาก
    [​IMG]เลิกละความหลงผิด ไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามความเป็นจริง
    [​IMG]ส่วนมากบางคนก็ไม่รู้นะ มากต่อมาก ที่มักจะแสดงความเห็นว่า "ตนเองนี่ รู้แล้ว" ก็ยอมรับว่ารู้อยู่...แต่ส่วนเดียว มันมีส่วนที่ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีกมาก
    #ยังไม่เป็นพระอริยสงฆ์ #ไม่เป็นพระอริยเจ้าจริงๆแล้ว อย่าหลงตัวเอง ว่าตัวเองรู้แล้ว..ไม่มีทาง มันมีหยาบ กลาง ละเอียด กิเลสน่ะ ถ้าหลงตัวเองก็เสร็จเลย ไม่ต้องพูด มันเป็นอยู่อย่างนี้
    [​IMG]เพราะฉะนั้น วิธีกำจัดกิเลส ซึ่งมันเกิดขึ้นแก่ใจ มันก็ต้องอบรมจิต
    อบรมจิตตรงไหนล่ะ? ทำไมจะอบรมได้?
    #เบื้องต้นต้องอบรมศีลก่อน บุคคลพวกเรานี่แหละ บกพร่องกัน ยังไม่ใช่พระอริยเจ้าก็ต้องคิดว่าบกพร่องอะไร
    [​IMG]แม้แต่ผู้พูดนี่ก็บกพร่องนะ ไม่ใช่ว่าเก่งเสมอไปนะ แต่ก็ทำความเข้าใจตัวเองว่า "อะไรเราผิด อะไรเราควรจะทำให้มันถูก บางทีมันเผลอไผลไปอะไรไป ก็ทำให้มันดี" เป็นพระนี่แหละไม่ใช่ว่าหมดกิเลส ยัง ไม่อย่างนั้นไม่ต้องมาบวชหรอก เป็นพระอรหันต์ไปแล้ว ๓ วันก็มรณภาพ หรือตายไปแล้ว
    ถ้าเป็นพระอรหันต์นี่ เป็นเพศอุบาสก อุบาสิกา ไม่ได้ อยู่ได้ไม่เกิน ๓ วัน
    เทวดา..ถ้าบรรลุคุณธรรมเป็นพระอรหันต์เมื่อไหร่ ทำกาละเมื่อนั้น นิพพานเมื่อนั้นเลย ดังนี้เป็นต้น
    แล้วตราบใดที่มันยังอยู่นี้ ก็นี่แหละ ความเพียรแหละ กำจัดกิเลส แต่ว่าเริ่มต้นสำคัญ ที่ควบคุมจิตนี่คือ เจริญภาวนาสมาธิ ด้วยอุบายวิธีสงบใจ ตัวนี้มันตัวสำคัญมาก
    #หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านเลือกมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ด้วยอุบายวิธีสงบใจที่มีประสิทธิภาพสูงมาก
    คือ...
    อาโลกกสิณ ๑
    อานาปานสติ ๑
    พุทธานุสติ ๑
    #สุดยอดของกัมมัฏฐานแล้วฝ่ายสมถะ มีคุณค่าในการศึกษาสัมมาปฏิบัติ เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญาสูงที่สุด ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ไม่ได้ผล คุณไม่ต้องไปหาวิธีอื่นหรอก เพราะนี่ มันยอดของอารมณ์สมถะที่มีคุณค่า มีคุณประโยชน์ มีอานุภาพสูงสุด
    อาโลกกสิณ เป็นกสิณกลาง เหมาะแก่ทุกจริตอัธยาศัย
    พุทธานุสติ ก็เหมาะแก่พวกพุทธจริต
    อานาปานสติ ก็เหมาะแก่ทุกคนทุกจริตอัธยาศัย
    นี่..ถ้าเรียนธรรมะมาเราจะรู้เลย ในขบวนสมถะภูมิ ๔๐ เนี่ย ๓ ข้อนี้ เลิศเลยแหละ เพราะฉะนั้น ตั้งใจปฏิบัติ
    [​IMG]แต่มันดูเหมือนว่า..มันจะยาก ก็เพราะเราไม่ได้สั่งสมมามากพอสมควร ก็ต้องตั้งใจ ถามว่า..เราอยากพ้นทุกข์ไหม หรือเราอยากเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้ต่อไป ถ้าทุกคนเข้าใจก็จะตอบว่า ไม่อยากเวียนว่ายตายเกิดหรอก
    [​IMG]เพราะฉะนั้น #เมื่อไม่อยากเวียนว่ายตายเกิด ก็ต้องเจริญภาวนาสมาธิ ให้ถึง"จิตตวิสุทธิ"
    ความหมดจดแห่งจิต คือ เป็นสมาธิตั้งมั่นตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป เป็นมรรคองค์ที่ ๘ ตั้งแต่"ปฐมฌาน"ขึ้นไป
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสอริยมรรค์มีองค์ ๘ เป็นทางให้ตัดกิเลสเหตุแห่งทุกข์ บรรลุมรรคผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ ข้อที่ ๘ คือ สัมมาสมาธิ
    #การเจริญภาวนาสมาธิ ในระดับฌานจิต ตั้งแต่ปฐมฌานถึงจตุตถฌาน เป็นอย่างต่ำ คือ ตรงนี้ได้มาตรฐาน มีกำลังพอที่จะคู่กันกับ เมื่อใจสงบบริสุทธิ์ผ่องใสแล้ว เจริญวิปัสสนาให้เห็นแจ้งในสภาวะธรรมและอริยสัจธรรมตามความเป็นจริง ตรงนี้เป็นภาวนามยปัญญา ให้เจริญปัญญาด้วยการที่ได้ทั้งเห็น และ ทั้งรู้ แล้วจึงจะเจริญวิชชา คุณเครื่องช่วยให้เห็นแจ้งในสภาวะธรรม และอริยสัจธรรมตามความเป็นจริง ให้ชัดเจนแน่วแน่อีกครั้งหนึ่ง
    อย่างน้อยวิชชา ๓
    คือ...
    ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๑
    จุตูปปาตญาณ ๑
    และวิชชาที่สามสุดท้ายคือ อาสวักขยญาณ
    อาสวักขยญาณเนี่ย ถ้าสมาธิไม่ดีพอ ไปไม่ถึง เพราะไม่สามารถจะเข้าถึงคุณธรรมที่ให้เห็นแจ้ง รู้แจ้ง สภาวะธรรมตามความเป็นจริงได้
    #ต่อเมื่อท่านปฏิบัติถึงธรรมกาย ธรรมเป็นที่ประชุมคุณธรรมของพระอริยสงฆ์ พระอริยเจ้า ตั้งแต่"โคตรภูบุคคลขึ้นไป" จึงจะเจริญทิพจักษุ ทิพโสต สมันตจักษุ พุทธจักษุ และ ปัญญาจักษุ...ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง นี่แหละ เรื่องมันสูงขึ้นไปถึงขนาดนี้ ก็ต่อเมื่อไปเข้าสู่กระแสพระนิพพาน เรียกว่า "#ตกกระแส"



    [​IMG]


    พระเทพญาณมงคลเสริมชัย ชยมงฺคโล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...