สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    ดวงธรรม และธรรมกาย ทั้งหลายนี้ เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม ?
    เมื่อสมัยเกือบ 20 ปีมาแล้วก่อนท่านกับผมลาออกนิดหน่อย ท่านยังไม่ได้บวช ผมเคยถามปัญหาธรรมท่านอย่างหนึ่ง พอดีมีคนอื่นมาขัดจังหวะ ท่านเลยยังไม่ได้ตอบผม ปัจจุบันนี้อายุผมเกือบจะ 70 แล้ว ก็ยังไม่ได้คำตอบ ผมจึงขอเรียนถามท่านเสียที่นี่อีกครั้งนะครับ ผมถามอย่างนี้ครับ ดวงธรรม และธรรมกายทั้งหลายนี้ เป็นนามธรรม หรือรูปธรรมครับ ผมเรียนถามเท่านี้ละครับ ผมตีไม่แตกซะที

    ตอบ:

    เรื่องที่ถามไป ขอเจริญพรตอบสั้นๆ ไว้ก่อนว่า เฉพาะเรื่อง “ดวงธรรม” ที่ทำให้เป็นกายโลกิยะ (มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม) ส่วนที่รับรู้ เป็นนามธรรม ส่วนที่ถูกรับรู้เป็นรูปธรรม กล่าวคือ ส่วนที่ขยายส่วนหยาบจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ นั้นก็คือ“ใจ” ซึ่งเป็นนามธรรมนี้ตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงกายซึ่งขยายส่วนหยาบจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ซึ่งเห็นเป็นดวงใสอยู่ชั้นนอก และมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม และอากาศธาตุ ตั้งอยู่ภายในดวงกายนั้นแหละ ส่วนนี้เป็นรูปธรรม และยังมีเจตสิกธรรมที่เป็นบุญกุศล, บาปอกุศลหรือกลางๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตที่เป็นกุศล/อกุศล/กลางๆ อีกด้วย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็น “สังขารธรรม” ทั้งสิ้น จึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นสังขตธรรมสังขตลักษณะคือความเกิดปรากฏ 1 ความเสื่อมสลายปรากฏ 1 เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ 1 (อุปฺปาโท ปญฺญายติ วโย ปญฺญายติ ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)

    ส่วน “ธรรมกาย” ที่บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นธรรมธาตุที่บริสุทธิ์ (วิราคธาตุ) ล้วน ๆ ของพระอริยเจ้า-พระอรหันตเจ้าที่ยังมีชีวิต คือยังครองเบญจขันธ์อยู่ชื่อว่า “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ” ที่เบญจขันธ์แตกทำลายแล้วชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” เฉพาะพระนิพพานธาตุของพระอรหันต์เป็น “วิสังขารธรรม” ที่ไม่ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ มีสภาวะที่เป็นนิจจัง ปรมัง สุขังและธุวัง (ธุวํ-ยั่งยืน หรือ สสฺสตํ มั่นคง หรือ ตาทิ-คงที่) เป็นอมตํ ปทํ เป็นอสังขตธรรมที่มีอสังขตลักษณะคือไม่ปรากฏความเกิด 1 ไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย 1 (และ)เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน 1 (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ น วโย ปญฺญายติ น ฐิตสฺส อญฺยถตฺตํ ปญฺญายติ) นี้แหละที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระปัญจวัคคีย์ผู้บรรลุพระโสดาบันบุคคลแล้ว ด้วยอนัตตลักขณสูตร มีความตอนหนึ่งว่า

    “รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา รูปญฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส. นยิทํ รูปํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย. ฯเปฯ ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว รูปํ อนตฺตา. ตสฺมา รูปํ อาพาธาย สวตฺตติ.”

    “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ.... ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูป[นี้]แลเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูป[นี้]จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ”
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ จริงหรือไม่ ?
    มีคนบอกว่า คนนั่งธรรมกายเหมือนยังติดอยู่ในรูป ไม่สามารถจะหลุดพ้นได้ นั่นจริงหรือไม่ ? อย่างไรครับ

    ตอบ:

    ก็บอกแล้วว่า เขาไม่รู้ว่าติดรูปคืออะไร เพราะเขาไปเข้าใจเรื่องธรรมกายเป็นนิมิต และกระผมจะบอกให้ชัดเจนกันตรงนี้ พระคุณเจ้าโปรดทราบ โจมตีกันมานานแล้วว่า ธรรมกายวัดปากน้ำติดนิมิต ติดรูป กระผมอยากจะเรียนถามว่า มีอยู่ตรงไหนที่พระพุทธเจ้า ไม่ให้ใช้นิมิต มีไหม ! ใครเอามาแสดงให้ดูหน่อยได้ไหมครับ ผมจะประกาศให้ก้องทั่วโลก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ไม่มีใครเอาบทนี้มาดูเลย นี่ หลักทำนิพพานให้แจ้ง

    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความเงียบสงัด จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่ง วิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลบริบูรณ์ได้แล้ว จักละสังโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มี ได้เลย”

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ไม่ตามประกอบความยินดี ความพอใจในหมู่อยู่แล้วหนอ เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความเงียบสงัดแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาจิตวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้”

    คิดดูเถอะ..พระพุทธเจ้าน่ะตรัสให้ทำนิมิต มันเรื่องอะไรเราจะไปปฏิเสธนิมิต มันเป็นฐานสำคัญ นิมิตเป็นอุบายรวมใจให้มาหยุด เพราะใจมันมีตัวตนที่ไหน จะให้ใจหยุด ถึงได้สอนกัน บางท่านก็บอกว่า สมาธิแบบธรรมชาตินั่นถูกต้องแล้ว เท่านี้ก็พอแล้ว ความจริงพอหรือไม่พอ ให้ดูอริยมรรคมีองค์ 8 : สัมมาสมาธิ คือ การเจริญฌานทั้ง 4 ตั้งแต่ปฐมฌานน่ะ มันต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต นั่นแปลว่า มันเริ่มมาตั้งแต่บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิตถึงปฏิภาคนิมิตจึงจะได้อัปปนาสมาธิ จึงจะยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร แล้วจึงจะกำจัดถีนมิทธะ และวิจิกิจฉาได้ ประกอบด้วยปีติกำจัดพยาบาท สุขกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ และเอกัคคตากำจัดกามฉันทะ นั่นแหละนิวรณ์ 5 ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติแท้ๆ มีสติพิจารณาในนิวรณ์ 5 อยู่ที่ไหน ? ก็อยู่ที่มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ 5 นั่นแหละ ไม่ได้มีอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น ใครตั้งนิมิตขึ้นถูกต้องร่องรอยพระพุทธศาสนาเลย มันผิดที่ไหนกันครับ

    เกจิอาจารย์บางท่านบอกให้พิจารณานิมิตเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือพิจารณาให้เห็นนิมิตตามที่เป็นจริงว่านี่..สังขารนิมิต ไม่ว่าจะเอาอะไรมาพิจารณา จะเป็นเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ก็ยกขึ้นมาพิจารณานี่ ก็ให้พิจารณานิมิตนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะนิมิตนั้นเป็นของจริงโดยสมมติ เมื่อพิจารณาแล้วถูกต้องตรงถึงธรรมกาย จะไปปฏิเสธได้ยังไง นิมิตมันต้องเกิดด้วย และถ้านิมิตไม่เกิด หรือไม่ได้ใช้นิมิตแล้วจะยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้อย่างไร นี้มีอยู่ใน ฉักกนิบาต อังคุตรนิกาย ไปเปิดดูได้ทุกท่าน เป็นพระพุทธวจนะด้วย ไม่ใช่เป็นของพระอรหันต์ธรรมดาด้วยซ้ำไป

    เพราะฉะนั้น นิมิตนี่เป็นของต้องมี สมถภูมิ 40 น่ะบอกไว้ชัดเจนเลย กสิณ 10 นี่มันชัดอยู่แล้วก็มันนิมิตอยู่แล้วนี่ จริงๆ แล้ว แม้ อนุสสติ 10 อสุภะ 10 ก็ต้องเห็นนิมิต แต่นิมิตที่เห็นอย่าง อนุสสติ นี่ยังไม่แท้ แปลว่า พิจารณาจริงๆ จะเอาแน่ๆ เช่น เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าคนที่เห็นนิพพาน สัมผัสนิพพาน ซ้อนนิ่งอยู่กลางนิพพานทั้งรู้ทั้งเห็นและได้อารมณ์พระนิพพาน ส่งกระแสพระนิพพานมันผิดตรงไหน แต่นั่นนิพพานไม่เรียกว่านิมิต แต่ว่าสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน

    แต่เทวตานุสสตินี่มันชัดอยู่แล้วมันต้องเห็น แต่ไม่เห็นก็ได้ ก็นั่งท่องเอาว่าเทพยดามี เขาทำกุศลสำคัญ มีศีลกุศล ทานกุศล ภาวนา กุศล เป็นต้น เลยไปเกิดเป็นเทพยดา มีหิริโอตตัปปะ อย่างนี้ก็ได้...ก็ลองดูสิว่า ใจมันสงบได้เท่าไร กระผมว่าสงบได้นิดเดียว แต่ถ้าเป็นผู้สื่อกับเทวดาได้ โดยวิธีการที่ถูกต้องไม่ใช่โดยบังเอิญหรือถูกหลอก อันนั้นล่ะดีที่สุด เป็นนิมิตของจริงโดยสมมติ รู้เลยว่าเทวธรรมมีอะไร อย่างชัดเจนและถ้าคนถึงเทวกายได้เห็นเทพยดา ผมรับรองว่า สงบครับ..สงบแน่ ๆ เพราะขึ้นชื่อว่าสมถกัมมัฏฐาน ต้องสงบจากกิเสลนิวรณ์

    ดังนั้น นิมิตคือ สื่อที่ทำให้ใจรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกสิณ 10 อาโลกกสิณเป็นกสิณครอบจักรวาล เป็นกสิณกลาง ไม่ว่าบุคคลจะมีอัธยาศัยอย่างไรก็ตาม ใช้กสิณนี้กสิณเดียวครอบได้หมด ใช้แก้ไขป้องกันได้เลย กสิณก็คือนิมิตนั่นแหละ

    และแม้แต่คนที่ทำวิปัสสนาไม่ว่าจะสายไหนก็เอานิมิตทั้งนั้น ท่านสูดลมหายใจเข้าออก ท่องพุทโธๆ ไป พอจิตละเอียดหนักท่านเห็นอะไรล่ะ ให้ไปถามผู้ที่ถึงจุดนี้ได้ทุกคน..ก็เห็นดวงใสครับ กระผมเชื่อแน่และรับรอง 100% ว่าหลวงพ่อมั่นนี่ท่านเห็นดวงใส แล้วท่านก็เอาเข้ากลางดวงนั้น กลางของกลางดวงนั้น แต่ท่านปฏิเสธการเอาดวงออกนอก ท่านบอกมันไม่ถูกต้อง แต่ดวงใสอยู่ในใจของท่าน อยู่ศูนย์กลางข้างในกายท่าน พิจารณาเช่นนี้ครับ ทิพพจักขุ ทิพพโสต เกิดตรงนั้น เห็นแจ้ง เห็นชัด ก็เห็นจากตรงนั้น ไปถามเอาเถอะครับ

    ยุบหนอพองหนอ นั่งภาวนาก็เห็นครับ ทำไมจะไม่เห็น เห็นตั้งแต่ต้นด้วยซ้ำไป ไปถามดูก็ได้ แต่ก็เห็นด้วยใจหรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม ผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม เรารู้จักหรือไม่ก็ตาม นึกออกไปเห็น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ไม่ใช่นั่งท่องเอานะครับ เห็นน่ะนิมิตทั้งนั้น แต่ต้องเห็นด้วยใจ ทีนี้..นิมิตมันไปหมดตรงไหน ? ไปดูเถอะครับ ตำราวิสุทธิมรรค ท่านแสดงไว้ว่าเมื่ออริยมรรคญาณจะเกิดขึ้นปหานสังโยชน์กำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะเดียวกันปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ ได้ชื่อว่าท่านออกจากภาคทั้ง 2 คือสังขารนิมิตและตัณหาปวัตติ อุภโตวุฏฐานะ ไปดูได้ในปัญญานิทเทส ปวัตติ คือเครื่องปรุงแต่ง ก็ตัณหานั่นแหละหรือสัญโญชน์ อุภโตวุฏฐานะ คือออกจากภาคทั้ง 2

    ทีนี้ ออกจากสังขารนิมิตนี่ครับ วิชชาอื่นกระผมอธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จัก แต่วิชชาธรรมกายน่ะให้พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนจิตละเอียดหนัก สมถพละคือกำลังสมาธิ และวิปัสสนาพละมีกำลังเสมอกัน แล้วจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่พิสดารละเอียดไปจนจิตละเอียดหนัก จนวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้ชั่วคราว หรือ สำหรับพระอรหัตมรรคก็ต้องได้ถาวร หรือปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ธรรมกายหยาบตกศูนย์ ธรรมกายละเอียดปรากฏเข้าไปในอายตนะนิพพาน หรือซ้อนเข้าไปในพระนิพพาน หรือปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพาน ก็ได้อารมณ์พระนิพพาน นั่นจิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ จึงออกจากภาคทั้ง 2 คือ จิตละเอียดหนัก พ้น..หลุดจากสังขารนิมิต คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ในภพ 3 ตั้งแต่มนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด พรหมหยาบ พรหมละเอียด อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ไปจนสุดละเอียด จึงวางอุปาทานในขันธ์ 5 ได้เบื้องต้นในระดับโคตรภูญาณเป็นเพียงชั่วคราว แต่จะไปได้โดยเด็ดขาดตามระดับภูมิธรรม ที่ปฏิบัติได้ เมื่อมรรคจิตเกิดปหานสัญโญชน์ ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เช่น โสดาบันบุคคล ก็ปหานสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ แล้วเข้าผลสมาบัติไปเลย ธรรมกายรู้เลยครับ เพราะมันดับหยาบไปหาละเอียด ส่วนหยาบเมื่อมรรคจิตเกิดสมบูรณ์ปหานสังโยชน์ นั่นธรรมกายมรรค เมื่อธรรมกายมรรคเกิดขึ้นธรรมกายผลก็ตามมาเลยชั่วขณะจิตเข้าผลสมาบัติ เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ มันตรง..เข้าใจได้เลย ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก แต่ว่า..วิธีอื่น สายอื่น กระผมไม่เข้าใจว่าละสังขารนิมิตได้โดยวิธีไหน..ผมไม่ทราบ..ไม่เข้าใจเพราะฉะนั้นเรื่องนิมิตได้ โปรดเข้าใจได้เลยว่า พระพุทธเจ้าไม่มีตรัสไว้ตรงไหนเลยว่า..เธอ อย่าใช้นิมิต ถ้าใครเอามา ให้ผมดูสักนิดเถอะครับ
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    ?temp_hash=29edc4d8a1120f2ec243e53662d1b526.jpg






    ถามว่า ในปัจจุบันนี้ ถ้าว่ากันตามหลักการ ปฏิบัติแบบมโนมยิทธิมีสายปฏิบัติไหนที่ใกล้เคียงที่สุดต้องบอกว่าแบบธรรมกายใกล้เคียงที่สุด
    ธรรมกายนั้นจริงๆแล้วเป็นต้นแบบของมโนมยิทธิ เนื่องจากว่า ธรรมกายนั้นมีพื้นฐานมาจากกสิณ โดยเฉพาะอาโลกกสิณ คือการกำหนดลูกแก้ว ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นการใช้ผลของกสิณ คิดให้ดีๆนะ อย่างหนึ่งเริ่มตั้งแต่สร้างเหตุ ส่วนอีกอย่างหนึ่งใช้ผลเลย

    ถ้าจะเปรียบไปแล้ว ก็เหมือนกับเราสร้างบ้าน ธรรมกายจะเริ่มตั้งแต่ถมพื้นที่ ออกแบบ วางแปลน เทฐานรากขึ้นมา จนกระทั่งสร้างเป็นบ้านเสร็จ เรียบร้อย ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นลูกคนรวย ควักเงินในกระเป๋าไปซื้อบ้านสำเร็จรูป ก็มีที่อยู่เหมือนกันใช่ไหม แต่ถ้าเอาพื้นฐานแล้วจะสู้ธรรมกายไม่ได้ เพราะว่าธรรมกายเริ่มจากนับหนึ่งมาเลย จะมีความมั่นใจกว่ามาก เพราะเริ่มต้นมาจากพื้นฐาน

    แต่ถ้าหากเราซักซ้อมจนคล่องตัวท้ายสุดก็จะเหมือนกัน เพราะว่ามาจากหลักเดียวกัน คือพื้นฐานของกสิณ เพียงแต่ว่ามโนมยิทธินี้ในอดีตเราทำได้ ปัจจุบันไม่ได้ทำ ก็แค่มาย้อนทวนของเก่า มีเงินเต็มกระเป๋าแต่เปิดใช้ไม่เป็น ครูจะมีหน้าที่บอกว่า ต้องเปิดกระเป๋าอย่างไรเท่านั้น แต่ถ้าธรรมกายนี่เราต้องทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ หาเงินมาเองเลย เพราะฉะนั้น.....พื้นฐานจึงแน่นกว่ามาก....

    ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือ....พระจูฬปันถกเถระ....พระบาลีบอกว่า มโนมยิทธิของพระ จูฬปันถกเถระ นี้ เป็นเอตทัคคะ คือเลิศที่สุดในหมู่สาวกทั้งปวงของพระพุทธเจ้า สามารถถอดกายในออกมาอยู่ตรงหน้าของตัวเองได้เหมือนอย่างกับถอดใส้หญ้าปล้องหรือว่าชักดาบออกจากฝักกลายเป็นอีกองค์หนึ่งอยู่ข้างหน้าเลยและท่านสามารถกำหนดได้มากถึง 1,000 องค์ แล้วทั้ง1,000 องค์นั้นสามารถทำงานคนละอย่างกันด้วย

    จากหนังสือกระโถนข้างธรรมาสน์ฉบับพิเศษ หน้า 62/63 พระอาจารย์เล็ก วัดท่าขนุน กาญจนบุรี


    https://www.facebook.com/photo.php?...042.1073741826.100005634826993&type=3&theater
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    #ทำบุญไปทำไมกัน ???

    ผลจากการประกอบคุณงามความดีหรือกุศลนั้น คือบุญ บุญทั้งหลายเมื่อสะสมรวมกันมากๆเข้า #ก็จะกลั่นตัวเองเป็นบารมี ได้แก่..

    ทานบารมี
    ศีลบารมี
    เนกขัมมบารมี
    ปัญญาบารมี
    วิริยบารมี
    ขันติบารมี
    สัจจบารมี
    อธิษฐานบารมี
    เมตตาบารมี
    และอุเบกขาบารมี
    รวมสิบทัศ

    บารมีแต่ละอย่างนี้ เมื่อถูกสะสมกันมากๆเข้า #ก็จะกลั่นตัวเองเป็นอุปบารมี#และปรมัตถบารมี ตามลำดับ รวมเป็นสามสิบทัศ และจะติดตามให้ผลต่อไปในอนาคตหรือภพหน้า จนกว่าจะบรรลุมรรคผล นิพพาน

    #วัตถุประสงค์ของการประกอบการบุญกุศล ก็เพื่อชำระกาย-วาจา-ใจ ของตนให้บริสุทธิ์ โดยการละหรือกำจัดอาสวกิเลสให้สิ้นไป จนถึงหมดโดยสิ้นเชิงนั่นเอง

    #ผลที่ได้จากการประกอบบุญกุศลนี้ นอกจากจะให้ผลในทางโลกุตระดังกล่าวแล้ว ยังช่วยให้ผู้ประกอบกรรมดีนั้นได้เสวยผลบุญในทางโลกียะ อันจะเป็นเสบียงเลี้ยงตัวต่อไปจนกว่าจะสิ้นอาสวกิเลส ได้บรรลุมรรคผล นิพพาน อีกด้วย

    #ผู้มีปัญญาจึงย่อมรู้จักใช้บุญ อันเกิดแต่การประกอบกรรมดีทั้งหลาย เพื่อการละหรือกำจัดอาสวกิเลส ทั้งของตนเองและผู้อื่น จึงจะตรงเป้าหมายแห่งพระพุทธศาสนา เป็นต้นว่า..

    #การบริจาคทาน ก็เพื่อให้ผู้บริจาคละหรือกำจัดอภิชฌา อันเป็นกิเลสหยาบให้หมดไป ให้เป็นผู้มีจิตใจเมตตาอารี เผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน เป็นการชำระกาย-วาจา-ใจ ให้สะอาดได้ทางหนึ่ง และในขณะเดียวกัน ผลบุญจากการบริจาคทาน ก็จะกลับติดตามสนองตนต่อไปในกาลข้างหน้า ให้เป็นผู้เจริญด้วยโภคทรัพย์ มีฐานะเป็นปึกแผ่นมั่นคง

    #ท่านคงจะเคยได้พบเห็นมาแล้วว่า เพราะจน จึงไม่ค่อยมีโอกาสได้ทำบุญเพิ่ม บางรายถึงกับต้องประกอบมิจฉาชีพ หรืออาชีพที่ต้องเบียดเบียนชีวิตสัตว์ เพราะความยากจนข้นแค้น ไม่อาจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้ จิตใจย่อมหม่นหมองเพราะว้าวุ่นอยู่กับการเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง การจะเจริญสมาธิปัญญาก็ไม่อาจกระทำได้โดยสะดวก เมื่อปัญญายิ่งน้อยลง ความรู้สึกในบาปบุญคุณโทษก็ยิ่งเบาบาง หรือหมดไปเลยก็มี เป็นทางให้อาสวกิเลสอันได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบคลุมจิตใจให้มืดมนหนักยิ่งขึ้นไปอีก ระดับจิตก็ยิ่งตกต่ำลงไปตามลำดับ จนในที่สุดธรรมสัญญาก็ขาดจากใจ เมื่อจุติหรือตายลงก็ย่อมมีทุคติเป็นที่หวัง ทั้งนี้เป็นเพราะได้สร้างสมทานบารมีไว้น้อยแต่อดีต จึงเปิดโอกาสให้สร้างบาปในปัจจุบันได้มากขึ้น อุปมาดั่งคนจนยอมมีโอกาสที่จะมีหนี้สินพอกพูนมากขึ้น เพราะต้องเสียค่าดอกเบี้ยทบต้นฉะนั้น

    #ในทางกลับกัน ท่านก็คงจะได้พบเห็นผู้ที่มีอยู่มีกิน ไม่เดือดร้อน มีฐานะดี มีสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบในทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค มีจิตใจเมตตาอารีเผื่อแผ่ รู้จักแบ่งทรัพย์ที่มีอยู่หรือทำมาหาได้ เพื่อประโยชน์ตนเองและผู้อื่น ได้ชื่อว่าเป็นสัตบุรุษ มีจิตใจเป็นกุศล เหล่านี้ ย่อมเป็นผลจากการที่ได้สร้างสมทานบารมีอันประกอบด้วยปัญญามามากแต่อดีต จึงทำให้มีโอกาสได้สร้างสมบุญบารมีเพิ่มมากขึ้นอีกในภพนี้และภพหน้า ประดุจดั่งเศรษฐีมีทรัพย์มาก ก็มีโอกาสเก็บดอกผลทุนทรัพย์ได้มากขึ้น ด้วยเงินต่อเงินหรือบุญต่อบุญนั่นเอง ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ก็มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข เมื่อจุติย่อมมีสุคติเป็นที่หวัง เพราะรู้จักหาบุญได้ใช้บุญเป็นนั่นเอง

    #ยังมีบุคคลอีกประเภทหนึ่ง เป็นคนมีทรัพย์มากแต่มีจิตใจตระหนี่คับแคบ ไม่รู้จักใช้ทรัพย์ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยอภิชฌา จึงได้ชื่อว่าอสัตบุรุษ บุคคลประเภทนี้ เคยประกอบทานกุศลอันประกอบด้วยอวิชชาหรือโมหะ ขณะเมื่อกำลังเสวยผลบุญอยู่ก็ยังมีอวิชชาหรือโมหะที่พกติดตัวมาด้วยมาก ทั้งๆที่มีอยู่มีกินไม่เดือดร้อน หรือรุ่งเรืองด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ ก็ยังมีจิตใจเป็นอกุศล กรปรไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดเป็นชอบ เป็นทางให้โลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงำจิตใจ มีสติปัญญาอันเสื่อมทราม จนไม่พอที่จะรู้เรื่องบาปบุญคุณโทษได้ มีแต่ความประมาทขาดหิริโอตตัปปะ แล้วหันเข้าประกอบมิจฉาชีพ สร้างความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์อื่น ห่างจากการบริจาคทาน สมาทานศีล เจริญสมาธิและปัญญา ไม่ช้าก็ถึงซึ่งความเสื่อม เพราะมีใจเป็นอกุศล สร้างบาปพอกพูนมากขึ้น ระดับจิตก็ตกจนถึงขั้นธรรมสัญญาขาดจากใจ เมื่อยังมีชีวิตอยู่แม้จะมีทรัพย์ก็หาความร่มเย็นเป็นสุขมิได้ เมื่อจุติย่อมมีทุกคคติเป็นที่ไป ต่อไปในภพหน้าหรือกาลข้างหน้าก็จะกลับกลายเป็นคนต่ำต้อย หรือยากไร้ทรัพย์อีก

    ฉะนั้น #การบริจาคทานหรือประกอบการกุศล #จึงควรกระทำด้วยปัญญากล่าวคือ เพื่อความหลุดพ้นหรือสิ้นอาสวกิเลสของตนเองและผู้อื่น ก่อนบริจาค ขณะบริจาค และภายหลังบริจาค ก็ควรจะได้กระทำกาย-วาจา-ใจ ให้บริสุทธิ์ ด้วยการสมาทานศีล เจริญสมาธิและปัญญา และควรบริจาคกับผู้บริสุทธิ์ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อความบริสุทธิ์ ด้วยทรัพย์อันได้มาโดยบริสุทธิ์ จึงจะได้อานิสงส์เต็มส่วน

    #การรักษาศีล ก็เพื่อกำจัดกิเลสอย่างกลาง อันจะเป็นเครื่องส่งเสริมสมาธิได้เป็นอย่างดี

    #การเจริญภาวนา หรือการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน ก็เพื่อให้จิตใจสงบระงับจากความกำหนัดยินดี เป็นอุบายชำระจิตใจให้ปลอดจากนิวรณ์ และเป็นวิชาเบื้องต้นที่จะนำไปสู่วิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อดับอวิชชาและให้เกิดปัญญา สามารถได้บรรลุมรรคผลนิพพานต่อไป จึงนับเป็นมหากุศลทีเดียว

    #การประพฤติถ่อมตนกับผู้ใหญ่ ก็เพื่อทำลายถัมภะ คือความหัวดื้อหัวรั้น ไม่ยอมฟังเสียงหรือเหตุผลของผู้อื่น และกำจัดอติมานะ คือนิสัยชอบดูถูกดูแคลนผู้อื่น ให้หมดไปจากสันดาน

    #การช่วยขวนขวายในสิ่งที่ชอบ ก็เพื่อทำลายความเห็นแก่ตัว นับเป็นกุศลกรรมอีกอย่างหนึ่ง

    #การให้ส่วนบุญกุศลอันตนได้กระทำไว้แล้ว ทางกาย วาจาและใจ ให้แก่สัตว์ทั้งหลาย ก็เพื่อกำจัดโทสะ ได้แก่ความโกรธอย่างรุนแรง โกธะคือความโกรธอย่างเบาบาง และ อุปนาทะอันได้แก่ความผูกพยาบาท ความผูกโกรธหรือผูกใจเจ็บ ให้หมดไปจากสันดาน และเป็นการเจริญพรหมวิหารไปในตัวอีกด้วย นับเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่รองลงไปจากภาวนามัยทีเดียว

    #การอนุโมทนาส่วนบุญ ก็เพื่อชำระจิตใจตนให้สะอาด สามารถช่วยกำจัดอิสสา คือความริษยา ไม่พอใจในเมื่อเห็นคนอื่นได้ดี และ มานะคือความเย่อหยิ่งจองหอง อวดดี ให้สูญหายไปจากสันดาน

    #การฟังธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว (สวากขาตธรรม) ในที่นี้ หมายความรวมถึงการศึกษาหาความรู้เรื่องธรรม จากการฟังธรรมหรือค้นคว้าเรื่องธรรม ซึ่งจะเป็นเครื่องกำจัดโมหะ ความหลงผิด หรือกำจัดมิจฉาทิฐิ อันได้แก่ความเห็นผิด

    #การแสดงธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม และหากได้กระทำไปโดยมีจิตใจอันบริสุทธิ์ สะอาดผ่องใส ไม่มุ่งหวังลาภสักการะสิ่งใดตอบแทน ก็เป็นการกำจัดโมหะหรือมิจฉาทิฐิ ทั้งของตนเองและผู้อื่น จัดว่าเป็นบุญทั้งผู้แสดงและผู้สดับตรับฟังหรือเรียนรู้

    #การทำความเห็นของตนให้ตรงตามความเป็นจริง เป็นต้นว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ใครทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หรือใครทำกรรมอันใดไว้ ก็ต้องเสวยผลแห่งกรรมนั้น ฯลฯ ก็เป็นการกำจัดโมหะหรือมิจฉาทิฐิอีกเช่นเดียวกัน

    ฉะนั้น
    การสร้างบุญกุศลใดๆก็ตาม หากผู้กระทำจะได้มีสติปัญญาระลึกได้ว่า กระทำไปเพื่อละหรือกำจัดอาสวกิเลส มุ่งประโยชน์ในทางโลกุตระอันเป็นทางพ้นทุกข์ด้วยแล้ว ผู้สร้างบุญกุศลนั้นย่อมได้อานิสงส์มากกว่าผู้กระทำไปด้วยความมัวเมาปราศจากปัญญา ซึ่งมุ่งจะให้ได้ประโยชน์ในทางโลกียะแต่อย่างเดียว จึงจะได้ชื่อว่ารู้จักหาบุญได้ใช้บุญเป็น.

    _________________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _________________
    ที่มา
    บางตอนจากหนังสือ
    "ทางสร้างบุญ"
    _________________
    ที่มาของธรรมะจาก
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    เรื่อง "หลักปฏิบัติ และวัตถุประสงค์ ของการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน"
    ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๓๒ หน้า ๙๗-๙๘
    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน
    .............

    เพราะฉะนั้น จึงพึงเข้าใจว่า การมีสติพิจารณาเห็นจิตในจิตนั้น มิใช่แต่เพียงให้ติดตามดูจิตเฉย ๆ แต่มีความมุ่งหมาย ที่จะให้กำจัด หรือปหานกิเลสนั้น ๆ ในทันทีที่รู้สึกตัวทีเดียว #มิฉะนั้นการปฏิบัติภาวนาธรรมก็แทบจะไร้ผล นี้เป็นวัตถุประสงค์หลักที่สำคัญยิ่งของการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ผลจากการปฏิบัติภาวนาธรรมในขั้นต้นที่ช่วยกำจัดกิเลสหยาบ ๆ (อิติกมกิเลส) หรือ กลาง ๆ (ปริยุฏฐานกิเลส) เช่นนี้ จัดว่าเป็นผลในขั้น #สมถกัมมัฏฐาน ซึ่งยังจะต้องดำเนินต่อไปถึงขั้น ให้สามารถกำจัดกิเลสที่ละเอียดที่เรียกว่า #อนุสัยกิเลสต่อไป ด้วย อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา จึงจะจัดเป็นผลในขั้น #วิปัสสนากัมมัฏฐาน

    ด้วยเหตุนี้ หากผู้ปฏิบัติธรรมผู้ใดละเลย ไม่ค่อยหมั่นสำรวจตัวเองอยู่เสมอ ทุกขณะที่จิตเป็นอกุศลระคนด้วยกิเลส เพราะความประมาทขาดสติสัมปชัญญะแล้ว ก็มีโอกาสจะถูกกิเลสชักนำดลจิตใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันได้โดยง่าย #ทำให้การปฏิบัติธรรมไม่บรรลุผลดีเท่าที่ควร สำหรับรายที่ประมาทมาก ๆ ที่มักคอยแต่จะเพ่งโทษผู้อื่น โดยที่ไม่เคยคิดที่จะเพิ่งพิจารณาอกุศลจิตของตนเองว่า มักมีกิเลสอะไร โด่งหรือเด่นระคนอยู่ ที่คอยดลจิตดลใจ หรือชักนำให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันได้เสมอ ๆ บ้างแล้ว ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าการปฏิบัติธรรมของท่านผู้นั้น นับวันแต่จะถอยหลังลงคลอง ถึงแม้ว่าจิตจะเคยอยู่ในภูมิที่สูงมาแล้วก็ตาม ตราบใดที่จิตยังไม่ถึงโลกุตตรภูมิแล้ว ก็เห็นพ่ายแพ้แก่กิเลสมาร มามากต่อมากแล้ว
    #จึงควรที่ผู้ปฏิ่บัติภาวนาธรรมจะสังวรให้มาก และเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ให้มาก พร้อมกันไปทั้งการพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา และธรรมในธรรมทีเดียว จึงจะเอาตัวรอดได้


    ?temp_hash=4a158bef5e84b2c9b98074a98efec867.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2018
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    วิญญาณแมลงวัน…ไม่รู้ตัวว่าตาย(เล่าประสพการณ์จากผู้เข้าถึง..)

    อาตมา (พระดร.มหาทวนชัย อธิจิตโต) ขณะที่เป็นสามเณรได้สำเร็จธรรมกายตั้งแต่ตอนเป็นเณร

    (สมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำยังมีชีวิตอยู่) หลวงพ่อเรียกให้ไปเป็นทหารเอกคือเณรน้อย
    เข้าไปปฏิบัติในโรงงานเขามีศัพท์เรียกว่า “โรงงาน” คือผู้ที่ได้ธรรมกายขั้นสูงแล้ว จะต้องได้ระดมพลกันมาเพื่อที่จะทำงานต่อสู้กับฝ่ายอธรรม

    ผู้เข้าถึงธรรมกายแล้ว สามารถเดินธรรมได้ สามารถที่จะถอดกายได้ ไอ้ที่ประหลายที่สุดคือให้ถอดกาย
    การถอดกาย คือการถอดจิต…ไปดูสิ่งต่าง ๆ ไปพบเห็นในแดนที่ไม่เคยไป ไปพบบุคคลที่ไม่เคยรู้จัก
    อันนี้เป็นอำนาจแล้วก็เป็นปาฏิหาริย์ของวิชชาธรรมกาย


    อยู่มาครั้งหนึ่งท่านเจ้าอาวาส นี่ก็ลืมชื่อแล้ว องค์ผอม ๆ นั้นแหละ ซึ่งเป็นรองของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    (ในขณะนั้น) อยู่กันมาก็สนิทสนม แต่พอมาสิบสี่สิบห้าปี มันก็ลืมชื่อไปหมดเสร็จแล้วท่านทดลองอาตมา ขณะนั้นเป็นเณรธรรมกาย…ท่านจับเรามา นั่งให้ถอดกายไปดู
    ตอนนั้นมีแมลงวันตัวหนึ่ง อีท่าไหนก็ไม่รู้ มาตาย ต่อหน้าท่าน

    “เออ…เณรเข้าสมาธิ ตามดูวิญญาณของสัตว์ตัวนี้ไปไหน”
    เราก็เข้าสมาธิติดตามดูก็ติดตามไปดูวิญญาณเขาอยู่ที่ไหน ไปที่ไหน เราก็เข้าสมาธิไปดูนะ
    ก็ตอบคำถามท่าน
    ท่านถามว่า “เห็นอะไรบ้างลูก”

    เราก็ “เห็นแล้ว ตอนนี้เขายังอยู่ที่นี่ ยังเจ็บปวด แล้วก็เขายังไม่รู้ว่าตัวตาย”

    การตายนี่มันมีสภาพที่ตัวเองไม่รู้นะ บางคนตายไปแล้ว ทำงานศพแล้ว แต่ตัวยังไม่รู้ว่าตาย
    แต่เขาจะสามารถมามองย้อนดูตัวเอง เอ๊ะ มันฉันนี่ ไอ้รูปที่ตั้งอยู่ที่งานศพนี่ตัวฉัน
    แล้วทำไมตัวฉันถึงมาอยู่ในสิ่งมีชีวิตอยู่ตรงนี้ ในกายใหม่ ภพใหม่ บางคนที่ไม่เข้าใจธรรมะ เขาจะประหลาดใจตัวเอง ว่าเอ๊ะ นี่มันอะไร
    มันศพใคร เอ๊ะนี่มันตัวเรานี่นา เราตายแล้วนี่นา มันจะเกิดสิ่งที่ประหลาดแบบนี้

    พระ ดร.มหาทวนชัย อธิจิตโต


    มีครั้งหนึ่ง สามเณรประพัฒน์ วัดปากน้ำ ได้ไปเจอกับสามเณรวัดตะเคียน
    ซึ่งเคยไปเรียนธรรมะกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ก็จำได้ว่าเคยไปเที่ยวสวรรค์กันมา
    หลวงพ่อวัดตะเคียน บอกว่า “กุไม่เชื่อ-งหรอก ว่า-งได้วิชชาจริงหรือเปล่า
    -งดูซิว่าพระที่อยู่ในย่ามฉันมีกี่องค์ เขาให้พระมาไม่เคยนับเลย”

    เณรประพัฒน์ก็นั่งเข้าที่สักพัก บอกหลวงพ่อวัดตะเคียนว่า “ร้อยกับสององค์ครับหลวงพ่อ”
    พอหลวงพ่อเทพระในย่ามออกมานับได้ร้อยกับสององค์จริง ๆ แน่แค่ไหนไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ

    หลวงพ่อวัดตะเคียนแทบจะกราบเณรเลยแล้วพูดว่า
    “ผมคิดว่าวิชชาวิปัสสนามันหมดแล้ว นึกว่าวิชชามรรคผลไม่มีแล้ว”

    จากนั้นหลวงพ่อวัดตะเคียนก็เลยไปเรียนธรรมะกับหลวงพ่อสด ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    พระครูภาวนากิตติคุณ
    วัดเกษมจิตตาราม
    จ.อุตรดิตถ์
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    เห็นดวงแกว่งลอยไปมา ?
    บางครั้งเห็นดวงแกว่งลอยไปด้านซ้ายบ้างด้านขวาบ้าง หรือวิ่งเป็นวงบ้าง จะทำอย่างไร เพราะรู้สึกปวดหัว ?

    ตอบ:

    ขณะปฏิบัติภาวนาอยู่เช่นนั้น ให้เหลือบตากลับขึ้นนิดๆ พร้อมกับกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกาย นิ่งๆ เข้าไว้ ไม่ต้องใช้ใจบังคับดวงที่แกว่งนั้น ดวงจะเลื่อนไปไหนก็ช่าง อย่าตาม อย่าเสียดาย



    คงให้รวมใจหยุดนิ่งๆ คือนึกให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกายไว้ให้มั่น กลางของกลางเข้าไว้ จะใช้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” ณ จุดเล็กใสนั้นช่วยด้วยก็ได้

    ไม่ช้าใจจะหยุดนิ่ง และก็ปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสแจ่มขึ้นมาเอง

    ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ขณะปฏิบัติภาวนา อย่าบังคับใจที่จะให้เห็นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกร็งและปวดศีรษะ ให้ผ่อนใจพอดีๆ แล้วจะค่อยๆ เห็นชัดเอง.
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    ขันธ์ 5 เป็นภาระอันหนัก


    lphor_tesna_vn.jpg


    29 ธันวาคม 2496

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา
    ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก
    นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ
    สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ภารหาโร จ ปุคฺคโล
    ภารนิกฺเขปนํ สุขํ
    อญฺญํ ภารํ อนาทิย
    นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ.


    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ 5 นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ 5 น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ ... แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยขันธ์เป็นภาระอันหนัก ตามวาระพระบาลีและคลี่ความเป็นสยามภาษา เพราะว่าเราท่านทั้งหลายเกิดมาหญิงชายทุกถ้วนหน้า ล้วนแต่แบกภาระขันธ์ 5 ด้วยกันทั้งนั้น ขันธ์ 5 เป็นของหนัก ไม่ใช่ของเบา หนักอย่างไร หนักตั้งแต่อุบัติตั้งแต่อยู่ในท้อง ตั้งแต่เกิดในท้องมารดา หนักเรื่อยมา นั่นบังคับให้มารดาผู้ทรงครรภ์นั้นหนักแล้ว ตัวเองก็หนักไปไหนไม่ค่อยไหว ติดอยู่ในอู่มดลูกนั่นเอง เจริญวัยวัฒนา เป็นลำดับๆ ไป เมื่อคลอดก็หนักถึงกับตายได้ ถ้าว่าขันธ์ที่เกิดนั้นไม่ตาย ขันธ์ของมารดาที่ให้เกิดนั้นถึงกับตายลำบากยากแค้นนัก หนักด้วย ลำบากด้วย ฝืดเคืองด้วย คับแค้นด้วย คับแคบด้วย ลำบากทั้งนั้น ขันธ์ 5 เป็นของหนักจริงๆ ไม่ใช่ของเบา ไปไหนก็ไปเร็วไม่ได้ อุ้ยอ้าย เมื่อเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับแล้วก็ไปได้ด้วยตนของตนเอง แต่ว่าเป็นกายหนัก เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ ไปเร็วไม่ได้ ต้องไปตามกาลสมัยตามกาลของขันธ์นั้น ไม่ใช่หนัก พอดีพอร้าย หนักกาย ต้องบริหารมากมาย

    ผู้เกิดมานั้นต้องบริหารขันธ์ 5 นั้นด้วย ต้องดูแลรักษา ครั้นเจริญวัยวัฒนาตัวของตัว เมื่อหลุดจากมารดาบิดาบริหารรักษาแล้ว ตัวของตัวต้องรักษาตัวเองอีก ตัวของตัวเองรักษาตัวเองก็ไม่ค่อยไหว บางคนถึงกับให้คนอื่นเขารักษาให้ ต้องให้เขาใช้สอยไปต่างๆ นานา รักษาขันธ์ 5 ของตัวไม่ได้ ต้องบากบั่นตรากตรำมากมาย ในการเล่าเรียนศึกษา กว่าจะรักษาขันธ์ 5 ของตนเองได้ จนกระทั่งรักษาขันธ์ 5 ของตนได้ พอรักษาขันธ์ของตัวได้ ขันธ์ 5 ก็เก่าคร่ำคร่า หนักเข้าขันธ์ 5 ของตัวเองก็พยุงตัวเองไม่ไหว พยุงตัวไม่ไหวต้องอยู่กับที่ ขยับได้บ้าง ไปโน่นมานี่ได้บ้าง แต่หนักเข้าก็ลุกไม่ขึ้น หนักเข้าก็หมดลมอัสสาสะปัสสาสะเข้าโลงไป 4 คนนั่นแหละต้องหาม 4 คนก็เต็มอึดเชียวหนา มันหนักขนาดนี้ หนักอย่างโลกๆ ไม่ใช่หนักอย่างธรรมๆ

    หนักอย่างทางธรรมน่ะนั่นลึกซึ้ง แบกขันธ์ทั้ง 5 นำขันธ์ทั้ง 5 ไปมากมายนัก ในมนุษย์โลกนี้แบกขันธ์ทั้ง 5 ไปมากมายนัก ภาระคือ ขันธ์ 5 นี้หนัก ไม่ใช่หนักแต่ในมนุษย์โลกนี้ ไปเกิดเป็นเทวดาก็หนักอีก ไปเกิดเป็นพรหมก็หนักอีก ไปเกิดเป็นอรูปพรหมก็หนักอีก หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เบา ถ้าไปเกิดเป็นสัตว์นรก หนักขึ้นไปกว่านั้นอีก ในสัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาตะ โรรุวนะ มหาโรรุวนะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจี หนักขึ้นไปกว่านั้น หรือไปเกิดในบริวารนรก รวมนรก 456 ขุม ขุมใดขุมหนึ่ง หรือไปเกิดเป็นเปรตก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดเป็นอสุรกายก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็หนักอีกเหมือนกัน เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย ก็หนักทั้งนั้น ขันธ์ 5 นี่เป็นของหนัก

    ท่านจึงได้ยืนยันตามพระบาลีว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ทั้ง 5 เป็นของหนัก ภารหาโร จ ปุคฺคโล บุคคลผู้นำขันธ์ 5 ที่หนักนั้นไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก การถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง 5 นั้นหนัก เป็นทุกข์ในโลก ภารนิกฺเขปนํ สุขํ สละขันธ์ 5 ปล่อยขันธ์ 5 วางขันธ์ 5 ทิ้งขันธ์ 5 เสียได้เป็นสุข นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ การทิ้งภาระที่หนักอันนั้นเสียได้แล้ว อญฺญํ ภารํ อนาทิย ไม่ถือเอาของหนักอื่นอีกต่อไป สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ชื่อว่าเป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้ นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต หมดกระหาย ไปนิพพานได้ หมดกระหาย หมดร้อน หมดกระวนกระวาย ไปนิพพานได้ ให้ทิ้งขันธ์ 5 เสีย ทิ้งขันธ์ 5 เสียได้แล้ว ได้ชื่อว่าถอนตัณหาทั้งรากได้ นี้เป็นตัวสำคัญ ให้รู้จักดังนี้

    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ 5 นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ 5 น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ หมดทั้งสากลโลก ขันธ์ 5 ของตัวเอาไปไม่ได้ ขันธ์ 5 ของสามีภรรยากันล่ะ เอาไปไม่ได้ แต่ของตัวเอาไปไม่ได้แล้ว นี่จะเอาของคนอื่นไปอย่างไรล่ะ เอาของลูกไปบ้างไม่ได้หรือ ไม่ได้ แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด

    เมื่อรู้ชัดดังนี้ วิธีจะละขันธ์ 5 ถอดขันธ์ 5 ทิ้ง วิธีจะถอดสละขันธ์ 5 วางขันธ์ 5 นั้น ต้องเป็นผู้ตั้งอยู่ในสังวรกถา ที่จะตั้งอยู่ในสังวรกถาได้ ต้องอาศัยมีความรู้ความเห็นแยบคาย เห็นแยบคายอย่างไร ? รู้เห็นแยบคาย ความยินดีในรูปในอารมณ์นั้นๆ ต้องปล่อยวาง ต้องละต้องทิ้งความยินดีในอารมณ์นั้นๆ ถ้ายังยึดความยินดีในอารมณ์อยู่ ปล่อยขันธ์ 5 ไม่ได้ การยึดอารมณ์ยินดีในอารมณ์ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้เป็นเนติแบบแผน เป็นภาษามคธว่า

    สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
    โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุํ
    ตํ เว ปสหตี มาโร อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
    กุสีตํ หีนวีริยํ
    วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ
    แปลเป็นสยามภาษาว่า สุภานุปสฺสึ ผู้ที่เห็นอารมณ์งาม รูปารมณ์ก็ดี สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ผู้เห็นอารมณ์งาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั่นแหละเรียกว่า สุภานุปสฺสึ ผู้เห็นอารมณ์งามอยู่ ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเกียจคร้าน กุสีตํ จมอยู่ในอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด หีนวิริยํ มีความเพียรเลวทราม ตํ เว ปสหตี มาโร มาร ย่อมประหารบุคคลผู้นั้นได้ วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ เหมือนลมประหารต้นไม้ อันมีกำลังทุพพลภาพได้ฉันนั้น นี้พระคาถาต้น คาถาสองรองลงไป

    อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
    โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุํ
    ตํ เว นปฺปสหตี มาโร อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ
    สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
    วาโต เสลํ ว ปพฺพตํ
    ผู้ที่เห็นอารมณ์อันไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารหรือโภชนาหาร มีความเชื่อ ปรารภความเพียรอยู่ มารย่อมประหารบุคคลผู้นั้นไม่ได้ เหมือนอย่างลมประหารภูเขาอันล้วนแล้วด้วยศิลาเขยื้อนไม่ได้ ฉันนั้น

    จกฺขุนา สํวโร สาธุ
    ฆาเนน สํวโร สาธุ
    กาเยน สํวโร สาธุ
    มนสา สํวโร สาธุ
    สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุ สาธุ โสเตน สํวโร
    สาธุ ชิวฺหาย สํวโร
    สาธุ วาจาย สํวโร
    สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
    สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ
    แปลเนื้อความว่า สำรวมตาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมจมูกได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมกายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมวาจาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมใจได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมในที่ทั้งหมดปรากฏว่า ยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ผู้ศึกษาธรรมวินัยเป็นผู้สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายในอินทรีย์ทั้งสิ้นเมื่อสำรวมได้เช่นนี้ตัดสินว่า สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปด้วยประการดังนี้ นี่สังวรกถา แสดงการสำรวม

    แต่ว่าที่กล่าวมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ถ้าจะอรรถาธิบายขยายความในการที่ปล่อยขันธ์ 5 เป็นลำดับไป ขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราแบ่งเป็นภาระหนักอยู่ในบัดนี้ แล้วอวดดีด้วยนะ ภาระของตัวหนักพออยู่แล้ว ยังอวดดีไปแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าอีกด้วย เอากันละตรงนี้ อวดดีแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าด้วย ไม่ใช่แบกน้อยด้วย บางคนแบกหลายๆ ขันธ์ แอบไปแบกเข้า 5 ขันธ์อีกแล้ว หญิงก็ดีชายก็ดีแอบไปแบกเข้าอีก 5 ขันธ์ แล้วรวมของตัวเข้าเป็น 10 ขันธ์ แล้วหนักเข้า ก็หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์ เป็น 15 ขันธ์ แล้วแบกเอาไป แบกเข้าไปเฮอะ เอ้าหนักเข้าๆ หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์แล้ว เป็น 20 ขันธ์แล้ว นานๆ หลายๆ ปีเข้า หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์ แล้วเป็น 25 ขันธ์ นานๆ หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์แล้ว เอ้าเป็น 30 ขันธ์ ดังนี้แหละ บางคนแบก ถึง 40-50-60-70-80-90 บางคนถึง 100 ขันธ์ สมภารแบกตั้ง 1,000 ขันธ์เชียวนา ไม่ใช่น้อยๆ นั่นอวดดีล่ะ ถ้าอวดดีอย่างนี้ต้องหนักมาก เขาจึงได้ชื่อว่าสมภาร สัมภาระ แปลว่าหนักพร้อม หนักรอบตัว พ่อบ้านแม่บ้าน พ่อครัวแม่ครัว ก็เหมือนกัน หนักใหญ่อีกเหมือนกัน หนักรอบอีกเหมือนกัน เพราะแบกขันธ์ทั้งนั้น ที่ทุกข์ยากลำบากกันหนักหนา ทีเดียว เพราะแบกขันธ์เหล่านี้แหละต้องปลูกบ้านเป็นหย่อมๆ เป็นหลังเป็นพืดไป นั่นเพราะอะไร บริหารขันธ์แบกขันธ์ทั้งนั้น แบกภาระที่หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เล็กน้อย ไม่ใช่พอดีพอร้าย เพราะเหตุดังนั้น การแบกภาระของหนักนี่แหละ ถ้าปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ละก้อ เป็นทุกข์หนักทีเดียว บุคคลผู้แบกของหนักไป บุคคลผู้แบกขันธ์ 5 ที่หนักไป ถ้าว่าปล่อยวางขันธ์ 5 ไม่ได้ ก็เป็นทุกข์แท้ๆ ถ้าปล่อยวางขันธ์ 5 เสียได้ก็เป็นสุขแท้ๆ เหมือนกัน ตรงกันข้ามอย่างนี้

    แต่ว่า วิธีปล่อยขันธ์ 5 ไม่ใช่ของเล็กน้อย ไม่ใช่เป็นของปล่อยง่าย ถ้าปล่อยไม่ได้ ก็เป็นทุกข์ ปล่อยได้ก็เป็นสุข แต่ขันธ์ 5 จริงๆ เราก็ไม่รู้จักมันเสียแล้วนะ ปล่อยมันอย่างไร รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณน่ะ เอาเถอะ แก่เฒ่าอยู่วัดอยู่วาไปตามกัน บวชแล้วก็ตาม ไม่บวชก็ตาม ถามจริงๆ เถอะว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จริงๆ น่ะคืออะไร เอาละอึกอักกันทีเดียว ไม่เข้าใจตัวของตัวแท้ๆ ไม่เข้าใจ รูปน่ะคือร่างกาย ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกันอยู่นี้ ถ้าว่าแยกออกไปก็เป็น 28 มหาภูตรูป 4 อุปาทายรูป 24 เป็นรูป 28 ประการดังนี้ นี่แหละมีรูปเท่านี้ เป็นเบญจขันธ์นี้ รูป 28 เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นามขันธ์ 4 โดยย่อ สังขาร 3 วิญญาณ 6 เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำ สังขาร ความคิด วิญญาณ ความรู้ เป็นดวงสีต่างๆ กัน ส่วนเวทนาก็เป็นดวง ถ้าสุขเวทนาก็ใส ถ้าทุกขเวทนาก็ขุ่น ดังนี้ เป็นดวงๆ ดังนี้ สัญญา ความจำก็เป็นดวงเหมือนกัน เป็นดวงต่างกัน ดีชั่วหยาบละเอียดเลวประณีต สังขาร ความคิดดีคิดชั่ว คิดไม่ดีไม่ชั่ว นี่ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน วิญญาณ ความรู้ ความรู้ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน ต้องรู้จักพวกนี้ ให้เห็น พวกนี้เสียก่อน ให้เห็นขันธ์ทั้ง 5 เสียก่อน ให้เป็นปฏิบัติ

    ที่แสดงแล้วนั่นเป็นปริยัติ ถ้าปฏิบัติ ต้องเห็น เห็นขันธ์ทั้ง 5 นั่น รูปเป็นดังนั้นโตเล็กเท่านั้น สัณฐานอย่างนั้น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 แล้ว ก็ดูความจริงของมัน ขันธ์ 5 เหล่านี้น่ะ ถ้าแม้ว่า ขืนไปยึดถือมันเข้าไว้ละก้อ เป็นทุกข์ ท่านถึงได้วางตำราเอาไว้ว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ยึดถือมั่นในเบญจขันธ์ 5 นั่นเป็นทุกข์ ถ้าหากว่าปล่อยเบญจขันธ์ 5 เสียได้ก็เป็นสุข แต่ว่าปล่อยไม่ใช่ได้ง่าย ปล่อยไม่ได้ง่ายเหมือนอะไร ปล่อยไม่เป็น ถ้าปล่อยเป็นปล่อยได้ง่าย ปล่อยไม่เป็นปล่อยได้ยาก ปล่อยไม่เป็นเหมือนอะไร เหมือนเด็กๆ กำไฟเข้าไว้ ยิ่งร้อนหนักเข้า ยิ่งกำหนักแน่นหนักเข้า ร้องใจหายใจคว่ำก็ร้องไป ปล่อยไม่เป็น คลายมือไม่เป็น ถ่านก้อนที่กำเข้าไว้น่ะ เมื่อเด็กกำเอาเข้าไว้แล้ว กำเสียดับเลยทีเดียว กำเสียมิดทีเดียว มือก็ไหม้ เข้าไปรูหนึ่งแล้ว นั่นเพราะอะไร เด็กมันปล่อยถ่านไฟไม่เป็น ปล่อยไม่เป็นหรือมันไม่ปล่อย ปล่อยไม่เป็นจริงๆ ถ้าปล่อยเป็นมันก็ปล่อยเหมือนกัน

    เหมือนพวกเรานี่แหละยึดมั่นเอาเบญจขันธ์ทั้ง 5 เข้าไว้ ปล่อยไม่เป็น ไม่รู้จะปล่อยท่าไหน วางท่าไหนก็ไม่รู้ วางไม่ออก ปล่อยไม่ออก ปล่อยไม่เป็น วางไม่เป็น หรือปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้ ไอ้ที่ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ อีกพวกหนึ่ง ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง

    ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้น่ะ รู้แล้วว่าปล่อยเท่านั้นวางเท่านั้น ไม่ยอมปล่อย ไม่อยากปล่อย เพราะอะไร เสียดายมัน นั่นอีกพวกหนึ่ง ไม่อยากปล่อยขันธ์ 5 อยากจะได้ขันธ์ 5 ให้มากขึ้น นั่นพวกหนึ่ง

    ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง ไม่ได้เล่าเรียนศึกษา ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระพุทธเจ้า ไอ้พวกนั้นปล่อยไม่เป็น

    ไอ้พวกที่ได้ฟังแล้วจะปล่อยก็เป็น แต่ว่าเสียดายไม่ยอมปล่อย อีกพวกหนึ่งตั้งใจปล่อยจริงๆ แต่ปล่อยไม่ได้ ไอ้ที่ไม่อยากปล่อยน่ะ เหมือนอะไรล่ะ เหมือนพรานวางเบ็ด เมื่อปลาติดเบ็ดแล้ว ถ้าปลาตัวเล็กๆ พอจะปลดปล่อยได้ ถ้าปลาถึงขนาดเข้าปล่อยไม่ได้ เสียดาย ต้องใส่เรือของตัวไป ไอ้อยากปล่อยแต่ปล่อยไม่ได้น่ะเหมือนอะไร เหมือนนกติดแร้ว อยากปล่อย แต่เครื่องติดมันมี มันมีเหมือนอะไรล่ะ นี่แหละเหมือนอย่างเราครองเรือน อย่างนี้แหละ อยากจะปล่อยมัน แต่ว่าเครื่องติดมันมีเลยปล่อยไม่ได้ เสียดาย มันปล่อยไม่ได้ มันติดอยู่ดังนั้นแหละ ปล่อยไม่ถนัด เพราะเหตุฉะนี้แหละเบญจขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ต้องถอดกัน ไม่ถอด ปล่อยไม่ได้

    วิธีถอดเบญจขันธ์เบื้องต้นต้องสำรวม ที่จะสำรวมน่ะ ต้องพิจารณาเบญจขันธ์ทั้ง 5 เสียก่อนว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม เป็นของไม่ดีไม่งามนะ เป็นของหนักจริงๆ นะ รู้ว่าเป็นของหนักแล้ว เริ่มต้นทีเดียว เมื่อเห็นว่าหนักละก็เริ่มต้นสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลยทีเดียว สำรวมระวังไว้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มากระทบ คอยระวังไว้สำรวมไว้ให้ดี เมื่อระวังให้ดีแล้วสละความยินดียินร้ายไม่ให้มากระทบ ไม่ให้ความชอบความไม่ชอบซึ่งเป็นกิเลสหยาบเข้ามากระทบได้ สละเสีย เมื่อสละเช่นนั้น ถ้าว่าเกียจคร้านไม่ได้นะ ต้องหมั่นขยันทีเดียว ต้องมีความเชื่อมั่นว่าปล่อยได้จริง แล้วขยันหมั่นเพียรจริงๆ นั่นแหละจึงจะปล่อยได้ ถ้าไม่สำรวมระวังปล่อยพลั้งเผลอละก้อ เหมือนดังคนเกียจคร้านมีปัญญาเลวทราม ก็ต้องรัดรึงตรึงตราอยู่ในเบญจขันธ์ทั้ง 5 ก็บุคคลมีศรัทธา มีความเพียรดี มีความเพียรหมั่นขยัน กลั่นกล้านั้นแหละอาจปล่อยขันธ์ 5 ได้ล่ะ แต่ว่าวิธีจะปล่อย ท่านชี้แจงแสดงย่อยออกไปเป็นตำรับตำราออกไปเป็นส่วนๆ ให้เป็นตำรับตำราออกไปว่า จกฺขุนา สํวโร สาธุ สำรวมตาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ อย่างไร ความติดมั่นในรูปารมณ์ก็ไม่มี สำรวมหูได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำเร็จอย่างไร ความติดมั่นในสัททารมณ์ก็ไม่มี หยุดไปได้ สำรวมจมูกได้ ความติดมั่นถือมั่นในกลิ่นก็ไม่มี หลุดไปได้ สำรวมในลิ้นได้ ก็ไม่ติดในรส สำรวมในกายได้ ความสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ก็หลุดไป ยังประโยชน์ให้สำเร็จดังนี้ เมื่อสำรวมกายได้ สัมผัสก็หลุดไป สำรวมวาจาได้ ที่จะมีโทษทางวาจาก็ไม่มี หลุดไป สำรวมใจได้ โทษทางใจก็ไม่มี ยังประโยชน์ให้สำเร็จเป็นชั้นๆ ไป ดังนี้ ความสำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นแหละ ทั้ง 6 อย่างสำรวมได้แล้ว ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ทั้งหมด ปรากฏว่าผู้ศึกษาพระธรรมวินัยต้องเป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้ เมื่อมีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้แล้ว ได้ชื่อว่าสำรวมดีในสิ่งทั้ง 6 ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำรวมใจดีแล้วหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้จริงๆ นะ

    เขาทำกันอย่างไร ต้องทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ที่เคยแสดงอยู่เสมอๆ เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ดี ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของกลางๆๆๆๆๆ เป็นลำดับไป เมื่อเข้ากลางของกลางเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

    • เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์หยาบหลุด หยุดอยู่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เข้ากลางของกลาง หยุดเรื่อยไป ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    • เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายทิพย์หยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายรูปพรหม กายทิพย์ละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมหยาบหลุดไป
    • เข้าถึงกายอรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    • เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบหลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรม กายอรูปพรหมละเอียดหลุดไป
    นี่หลุดไป 8 กายแล้ว

    • เข้าถึงกายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรมโคตรภูหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระโสดาบันหยาบ กายธรรมโคตรภูละเอียดหลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด กายพระโสดาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาหยาบ กายพระโสดาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด กายพระสกทาคาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาหยาบ กายพระสกทาคาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด กายพระอนาคาหยาบก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายพระอรหัตหยาบหรือพระอรหัตตมรรค กายพระอนาคาละเอียดก็หลุดไป
    • เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียดหรืออรหัตตผล กายพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคก็หลุดไป
    • พอเข้าถึงอรหัตตผล เรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เรียกว่าเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดจากธรรมที่ปะปนด้วยกิเลส สราคธาตุสราคธรรม หลุดหมด เบญจขันธ์ทั้ง 5
    • ขันธ์ 5 ของมนุษย์ ขันธ์ 5 ของกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดแล้ว ก็หลุด
    • ขันธ์ 5 ของกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ก็หลุด,
    • ขันธ์ 5 กายของรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด เข้าถึงอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็หลุด, หลุดหมด หลุดเป็นชั้นๆ ไป
    ขันธ์ 5 ของกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรมเสียแล้ว ก็หลุด, ถึง กายธรรมพระโสดา ขันธ์ 5 ของกายธรรมโคตรภูหยาบ-โคตรภูละเอียด หลุด, เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาแล้ว กายธรรมของโสดา-โสดาละเอียดหลุด, เข้าถึงกายธรรมของ พระอนาคาหยาบ-อนาคาละเอียดแล้ว กายธรรมของพระสกทาคาหยาบ-สกทาคาละเอียด หลุดออกไปเช่นนี้ เป็นชั้นๆ เช่นนี้เรียกว่ารู้จักสำรวมถูกส่วนเข้าแล้วหลุดเป็นชั้นๆ ไปดังนี้ เมื่อหลุดออกไปได้แล้วเห็นว่าหลุดจริงๆ ไม่ใช่หลุดเล่นๆ ถ้าว่าโดยย่อแล้วละก็ พอถึง กายธรรมหยาบละเอียดเท่านั้นไปนิพพานได้แล้ว แต่ว่าหลุดดังนี้เป็นตทังควิมุตติ ประเดี๋ยวก็ กลับมาอีก พอหลุดแค่พระโสดา นั่นเป็นโลกุตตระ ข้ามขึ้นจากโลกได้แล้ว เป็นอริยบุคคลแล้ว แต่ว่าไม่พ้นจากไตรวัฏฏ์ ต้องอาศัยไตรวัฏฏ์ เพราะยังไปนิพพานไม่ได้ ต้องอาศัยกามภพ รูปภพอยู่ แต่ว่าอาศัยอยู่แต่เปลือกนอก ข้างในล่อนจากเปลือกนอกเสียแล้ว อย่างนั้นก็พอ ใช้ได้ แต่ว่ายังไม่ถึงที่สุด ต้องถึงที่สุดคือพระอรหัตตผลนั่นแหละจึงจะพ้นขาดเด็ดเป็น วิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดได้จริงๆ เช่นนี้ อย่างนี้เอาตัวรอดได้ อย่างนี้ เมื่อรู้จักหลัก ความหลุดพ้นเช่นนี้แล้วก็ตั้งใจให้แน่วแน่ ต้องมีความสำรวมเบื้องต้น ที่ท่านได้ชี้แจงแสดงไว้ใน อารมณ์ที่ไม่งาม แล้วสำรวมระวังให้ดี รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเพียร มีศรัทธา กล้าหาญไม่ย่อท้อ นั่นแหละคงจะไปถึงที่สุดได้ ทว่าย่อท้อเสียแล้วถึงที่สุดไม่ได้ง่าย ให้เข้าใจ หลักอันนี้ หลักที่แสดงแล้ว ที่แสดงในทางขันธ์ 5 เป็นของหนักแล้ว คิดสละขันธ์ 5 นั่นได้ ด้วยความสำรวมระวัง นี้เป็นทางปริยัติ เป็นลำดับไปจนเข้าถึงถอดกายเป็นชั้นๆ ออกไปแล้ว จนกระทั่งถึงพระอรหัต ถึงวิราคธาตุวิราคธรรม กายพระอรหัตหยาบ-พระอรหัตละเอียดนั้น ในแนวนั้นเป็นทางปฏิบัติ ปฏิเวธก็เป็นชั้นๆ เคยแสดงแล้ว

    กายมนุษย์เมื่อปฏิบัติถูกส่วนเข้าแล้วเห็นกายมนุษย์ละเอียด นั่นเป็นนิโรธ เป็น ปฏิเวธ รู้แจ้งแทงตลอดของกายมนุษย์ เมื่อกายมนุษย์ละเอียดเข้าถึงกายทิพย์ ก็เป็นปฏิเวธ ของกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์เมื่อเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายทิพย์ รู้จักกายทิพย์ละเอียดแล้ว เมื่อกายทิพย์ละเอียดเข้าถึงกายรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหมเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม, กายรูปพรหมละเอียดเข้าถึงกายอรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหมหยาบเห็นกายอรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมหยาบ, กายอรูปพรหมละเอียดเห็นกายธรรม ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรมเห็นกาย ธรรมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมหยาบ, กายธรรมละเอียดเห็นกายธรรมพระโสดา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมละเอียด, กายธรรมพระโสดาเห็นกายธรรมพระโสดาละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาหยาบ, เมื่อกายธรรมของพระโสดาละเอียดเห็นกายธรรม ของพระสกทาคา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาละเอียด, กายธรรมพระสกทาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคา, กายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเห็นกายธรรมพระอนาคาหยาบ ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคาละเอียด, กายธรรมพระอนาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระอนาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคา, กายธรรมของพระอนาคาละเอียดเห็นกายธรรมของพระอรหัต ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคาละเอียด, กายธรรมของพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคเข้าถึงกายธรรมของพระอรหัตละเอียดหรือพระอรหัตตผล ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอรหัต นี่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นมาลำดับอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักดังนี้ละก็ การเล่าเรียนในทางพุทธศาสนา การแสดงก็ดี การสดับตรับฟังก็ดี ให้รู้จักทางปริยัติ ทาง ปฏิบัติ ทางปฏิเวธ จึงจะเอาตัวรอดได้ ถ้ารู้จักแต่เพียงทางปริยัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิบัติ ต้องให้เข้าถึงทางปฏิบัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิเวธ ให้เข้าถึงทางปฏิเวธนั่นแหละจึงจะเอาตัว รอดได้ ด้วยประการดังนี้

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดา มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติ ธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความด้วยเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม


    lphor_tesna_vn.jpg

    12 มกราคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
    ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
    เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ
    น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารีติ.
    มากอยู่แล้วพวกที่ปฏิบัติใช้ได้ทีเดียว ที่ใช้ไม่ได้อย่างสูงนั้น ผู้เทศน์ต้องคอยคุม ถ้าไม่คุมละก้อ ไปสูงไม่ได้ มารมันปัดลงต่ำเสีย มันแนะนำให้วางเป้าหมายใจดำเสีย ไม่จรดอยู่ที่เป้าหมายใจดำ ที่ผู้เทศน์คอยคุมไว้ละก้อ ถูกเป้าหมายใจดำ ตรงกันข้ามกับพวกพญามาร ถ้าว่าไม่คุมไว้แล้ว เป็นลูกศิษย์พญามารเสียแล้ว มารเอาไปใช้เสียแล้วอย่างนี้มาก เหตุนั้นเมื่อมาพบของจริงเช่นนี้แล้ว ทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งอุบาสก อุบาสิกา ควรปล่อยชีวิต ค้นเอาของจริง รักษาของจริงไว้ให้ได้ เมื่อได้แล้วละก็ จะยิ้มในใจของตัวอยู่เสมอไป ไม่มีความเดือดร้อนใดๆ

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ว่าด้วย ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย กว่าจะยุติลงโดยสมควรแก่เวลา

    เริ่มต้นแห่งธรรมที่รักษาผู้ประพฤติธรรม ตามวาระพระบาลีว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมนั่นแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ธมฺโม สุจิณฺโน สุขมาวหาติ ธรรมที่บุคคลสั่งสมไว้ดีแล้ว นำความสุขมาให้ เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ ข้อนี้แหละเป็นอานิสงส์ในธรรม น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี ผู้ประพฤติธรรมดีเรียบร้อยไม่ไปสู่ทุคติ นี่เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงแค่นี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความว่า ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมนั้นเป็นไฉน เพราะธรรมคือความดี จะขีดขั้นลงไปเพียงแค่ไหน ความดีไม่มีความชั่วเข้าเจือปนเลย นี่ก็เป็นโลกุตตรธรรมแท้ๆ ข้ามขึ้นจากโลก เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้ๆ ไม่เกี่ยวข้องด้วยสราคธาตุ สราคธรรมทีเดียว นี้ส่วนหนึ่ง คำว่าธรรมแยกออกเป็นหลายประการ ท่านแสดงไว้เป็นหลักเป็นประธาน แก้ในศัพท์ว่าธรรม ธมฺโม คำว่าธรรมนั้นแยกออกไปถึง 4 คือ คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม นิสสัตตนิชชีวธรรม แยกออกไปเป็น 4

    1. คุณธรรมให้ผลตามกาล ฝ่ายดีก็ให้ผลเป็นสุข ฝ่ายชั่วก็ให้ผลเป็นทุกข์ นี้ก็เป็นคุณธรรมฝ่ายดีฝ่ายชั่ว หรือดีฝ่ายเดียวให้ผลเป็นสุขฝ่ายเดียวนั้นก็เรียกว่าคุณธรรม
    2. เทศนาธรรมที่พระองค์ตรัสเทศนา ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในเบื้องปลาย ท่านวางหลักไว้ ไพเราะในเบื้องต้นคือศีล บริสุทธิ์กายวาจาเรียบร้อยดีไม่มีโทษ ตลอดจนกระทั่งถึงดวงศีล ไพเราะในท่ามกลางคือสมาธิ ตลอดจนกระทั่งถึงดวงสมาธิ ไพเราะในเบื้องปลายคือปัญญา ตลอดจนกระทั่งถึงดวงปัญญา นี้ก็คือเทศนาธรรม
    3. ปริยัติธรรม ข้อปฏิบัติอันกุลบุตรจะพึงเล่าเรียนศึกษา ตั้งต้นแต่นักธรรมตรี-โท-เอก เปรียญ 3-4-5-6-7-8-9 หลักสูตรวางไว้ในประเทศไทย การศึกษาปริยัติธรรมมีเท่านี้ นี่ที่เรียกว่าปริยัติธรรม
    4. นิสสัตตนิชชีวธรรม ยกเอารูปออกเสีย กับวิญญาณออกเสีย เหลือแต่เวทนา สัญญา สังขาร 3 อย่างนี้ท่านจัดเป็นนิสสัตตนิชชีวธรรม ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ชีวิต แสดงหลักไว้ดังนี้
    แสดงธรรมออกไปเป็น 4 คือ คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม นิสสัตตนิชชีวธรรม แสดง 4 ดังนี้ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม แต่คำว่าธรรมนี้ แสดงตามแบบปริยัติ ไม่ใช่หนทางปฏิบัติ แบบทางปฏิบัติ ศาสนามี 3 ทาง คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

    ถ้าแบบทางปฏิบัติ คำว่าธรรม กล่าวถึงดวงธรรมทีเดียว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ เป็นดวงธรรมทีเดียว เป็นธรรมแท้ๆ ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์-มนุษย์ละเอียด กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด กายธรรม-กายธรรมละเอียด กายโสดา-กายโสดาละเอียด สกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด อรหัต-อรหัตละเอียด เรียกว่า ธมฺโม นี่ทางปฏิบัติ เป็นดวงใสบริสุทธิ์ ธรรมดวงนั้นเป็นธรรมสำคัญ ทว่าหลักก็ธรรม อันนั้นเป็นธรรมทีเดียว

    ธรรมนั้นถ้าว่าจะแยกออกไป ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ที่จะได้ธรรมดวงนั้นมา ต้องกล่าวเริ่มแรก มนุษย์หญิงชายทุกถ้วนหน้า ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บริสุทธิ์สนิททั้งกาย วาจา จิต ไม่มีผิดจากความประสงค์ของพระพุทธเจ้าอรหันต์เลย บริสุทธิ์สนิททั้งกาย วาจา จิต ไม่ฆ่าสัตว์ แต่เวทนาปรานีต่อสัตว์ ลักทรัพย์สมบัติก็ไม่มี มีแต่ให้สมบัติของตนแก่คนอื่น ประพฤติล่วงผิดในกามก็ไม่มี หรือประพฤติล่วงอสัทธรรมประเพณีก็ไม่มีดังนี้ สนิททีเดียว พูดจริงทุกคำไม่มีปด เสพสุรายาเมาเป็นที่ตั้งของความประมาทไม่มี วัตถุที่ทำให้เมาเป็นที่ตั้งของความประมาทก็ไม่ใช้สอย ในศีลทั้ง 5 นี้ตลอด ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ตลอด สะอาดสะอ้านทั้งกาย กายก็ไม่มีร่องเสีย วาจาก็ไม่มีร่องเสีย ใจก็ไม่มีร่องเสีย ใช้ได้ทั้งกาย วาจา ใจ ตรงกับบาลีกล่าวไว้ว่า

    • สพฺพปาปสฺส อกรณํ ชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ไม่กระทำเป็นเด็ดขาด
    • กุสลสฺสูปสมฺปทา ดีด้วยกาย วาจา ใจ ทำจนสุดสามารถ
    • สจิตฺตปริโยทปนํ ทำใจของตนให้ผ่องใส
    อันนี้เมื่อบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา ใจ ไม่มีร่องเสียแล้ว นี้เรียกว่าธรรมโดยทางปริยัติ ยังไม่ใช่ทางปฏิบัติ ถ้ากลั่นเข้ามาถึงเจตนา เจตนาก็บริสุทธิ์ บังคับกายบริสุทธิ์ บังคับวาจาบริสุทธิ์ บังคับใจบริสุทธิ์ นั่นก็เป็นทางปริยัติอยู่เลย ยังไม่ใช่ทางปฏิบัติ เข้าถึงทางปฏิบัติ เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สำเร็จมาจากบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ สำเร็จมาจากบริสุทธิ์ เจตนา เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสเป็นกระจกส่องเงาหน้า เท่าฟองไข่แดงของไก่ นี่ ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นดวงๆ ไปอย่างนี้

    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่งเป็น 8 เท่าฟองไข่แดงของไก่นั้น เรียกว่าเป็นธรรมทั้งนั้น
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมหน้าตักวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดโตขึ้นไปอีก 5 วา
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา 5 วา กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด 10 วา กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา 10 วา กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด 15 วา กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา 15 วา กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด 20 วา กลมรอบตัว
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต 20 วา กลมรอบตัว เป็นลำดับกันไปอย่างนี้
    นั้นแหละเรียกว่า ธมฺโม ลึกอย่างนี้ นี่ทางปฏิบัติเห็นปรากฏชัด เข้าถึงธรรมดังกล่าวแล้วนี้ ตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ไปจนกระทั่งถึงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตทีเดียว นั่นแหละคำที่เรียกว่า ธมฺโม ละ นั่นแหละธาตุธรรมอันนั้นแหละรักษาผู้ประพฤติธรรมละ ถ้าเห็นเข้าแล้วก็รักษาผู้นั้นไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว อย่าทิ้งท่านก็แล้วกัน อย่าผละจากท่าน ถ้าว่าห่างจากธรรมนั้นไม่รับรอง ถ้าติดอยู่กับธรรมนั้น รับรองทีเดียว ทั้งกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์ ไม่มีร่องเสียกัน เสียไม่มีกัน ถ้าว่าไปเสียเข้าดวงธรรมนั้นเศร้าหมอง ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ลงโทษเอาเจ้าของผู้ประพฤติผู้กระทำ ถ้าไม่ล่วงล้ำแต่อย่างหนึ่งอย่างใดสะอาดสะอ้าน ก็ใสหนักขึ้นทุกที ใจหยุดนิ่งหนักขึ้น ใสหนักขึ้น นั่นแหละ ธมฺโม ละ คำที่เรียกว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมดวงนั้น ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมดวงนั้น

    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้วจะแสดงต่อไป ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมดวงนั้นแหละ ถ้าว่าสั่งสมได้ดีแล้วสะอาดหนักขึ้น เสมอตัว สะอาดหนักขึ้นใสหนักขึ้น เสมอตัว ใสไปแค่ไหน เสมอตัวไปแค่นั้น ใสหนักขึ้นไปแล้วเสมอตัวไปแค่นั้น ใสหนักขึ้นไปเสมอตัวไปแค่นั้นอีก อย่างขนาดอย่างนี้เรียกว่าสั่งสมดีจริง ธรรมอันบุคคลสั่งสมดีแล้ว สุขาวหาติ นำความสุขมาให้ ถ้าอยู่กับใครขนาดนี้ ใจก็เบิกบานรื่นเริงบันเทิงชื่นแช่มแจ่มใส ไม่มีความทุกข์เศร้าหมองขุ่นมัวใดๆ เพราะธรรมนั้นนำความสุขมาให้ นี่หลักของธรรมที่แสดงไว้แค่นี้ เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดี ประพฤติดีขนาดนี้ก็ได้อานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดี ประพฤติดีขนาดนี้ก็ได้อานิสงส์แล้วก็เป็นสุขทีเดียว น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี ประพฤติไปอย่างนั้น มั่นคงอย่างนั้น ไม่ไปสู่ทุคติ ผู้ประพฤติเรียบร้อยเช่นนั้นดี สะอาดสะอ้านเช่นนั้น ไม่ไปสู่ทุคติเด็ดขาดทีเดียว ตายแล้วก็ไปสู่สวรรค์ เป็นมนุษย์อยู่ก็ไม่ได้รับทุคคติ มีแต่ สุคติฝ่ายเดียว นี่แหละเลือกเอาเถอะ ให้รู้จักหลักจริงอย่างนี้

    รู้จักหลักจริงอันนี้ เราเป็นภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ประพฤติดีจริงตรงเป้าหมายใจดำ [ถ้า] เห็นดวงแก้วใสเช่นนี้ ไม่ค่อยจะได้ ภิกษุหรือสามเณรก็เลอะเลือนไป อุบาสกอุบาสิกาก็เหลวไหลไป ไม่อยู่กับธรรมเนืองนิตย์ ความสุขเราปรารถนานัก แต่ว่าความประพฤติไขว้เขวไปเสียอย่างนี้ อย่างนี้หลอกตัวเองนี่ ถ้าลงหลอกตัวเองได้ มันก็โกงคนอื่นเท่านั้น ไม่ต้องไปสงสัย

    หลอกตัวเองเป็นอย่างไร ตัวอยากได้ความสุข แต่ไปประพฤติทางทุกข์เสีย มันก็หลอกตัวเองอยู่อย่างนี้ละซิ ตัวเองอยากได้ความสุขแต่ความประพฤตินั่นหลอกตัวเองเสีย ไปทางทุกข์เสีย มันหลอกอยู่อย่างนี้นี่ ใครเข้าใกล้ มันก็โกง โกงทุกเหลี่ยมนั่นแหละ ถ้าลงหลอกตัวเองได้ มันก็โกงคนอื่นได้ ไว้ใจไม่ได้ทีเดียว เหตุนี้พุทธศาสนาท่านตรง ตรงตามท่านละก้อ มรรคผลไม่ไปไหน อยู่ในเงื้อมมือ อยู่ในกำมือทีเดียว พุทธศาสนาท่านตรง แต่ว่าผู้ปฏิบัติไม่ตรงตามพุทธศาสนา มันก็หลอกลวงตัวเอง โกงคนอื่นเท่านั้น นี่หลักจริงเป็นอย่างนี้ ให้จำไว้ให้มั่น ท่านได้ยืนยันอีกในอัคคัปปสาทสูตร ว่า

    อคฺคโต เว ปสนฺนานํ
    อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ
    อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ
    อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ
    อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ
    อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ
    อคฺคสฺส ทาตา เมธาวี
    เทวภูโต มนุสฺโส วา อคฺคํ ธมฺมํ วิชานตํ
    ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร
    วิราคูปสเม สุเข
    ปุญฺญกฺเขตฺเต อนุตฺตเร
    อคฺคํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
    ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ
    อคฺคธมฺมสมาหิโต
    อคฺคปฺปตฺโต ปโมทตีติ.
    นี่วางหลักอีกหลักหนึ่ง แปลเป็นภาษไทยว่า เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วด้วยความเป็นของเลิศ เลิศอย่างไร ? รู้จักธรรมอันเลิศนั้น ธรรมอะไร ? ธรรมอันเลิศคือธรรมที่แสดงมาแล้วเป็นธรรมอันเลิศทั้งนั้น ถ้าว่าเลื่อมใสโดยความเป็นของเลิศ ไม่ปล่อยไม่วางไม่ละกันละ เข้าถึงก็จรด ไม่ปล่อยไม่วางกันละ จรดไม่วางไม่ปล่อย วางกึกลงไปตั้งแต่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดเรื่อยเข้าไป จนกระทั่งได้ขึ้นไปถึงแค่ไหน ดวงไหนไม่ปล่อยไม่ละกันละ ใจจรดอยู่กลางดวงนั่นแหละ ถ้าจรดอยู่ขณะนั้นละก้อ เลื่อมใสโดยความเป็นของเลิศละ ของเลิศก็ต้องไม่ปล่อย ถ้าปล่อยมันก็ไม่เลิศ ไม่ปล่อยกันละ คว้ากันแน่นทีเดียวดวงนั้น ตลอดตั้งแต่ดวงต้นจนกระทั่งถึงดวงพระอรหัต ได้แค่ไหนยึดแค่นั้น มั่นเป็นขั้นๆ ไป เมื่อรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ ทีนี้ก็เป็นชั้นๆ ไป

    อคฺเค พุทฺเธ ปสนฺนานํ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ คือ ธรรมกายทีเดียว ธรรมกายโคตรภู-ธรรมกายโคตรภูละเอียด ธรรมกายโสดา-โสดาละเอียด ธรรมกายสกทาคา-สกทาคาละเอียด ธรรมกายอนาคา-อนาคาละเอียด ธรรมกายอรหัต- อรหัตละเอียด นั่นแหละ ธรรมกายนั่นแหละพระพุทธเจ้าผู้เลิศละ เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้านั้น เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ทกฺขิเณยฺเย อนุตฺตเร ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอดเยี่ยม ทักขิไณยบุคคลเป็นอย่างไร ถ้าใครได้ไปทำบุญทำกุศลกับท่านเข้า ผลได้ในปัจจุบันทันตาเห็น ได้เป็นเศรษฐีคหบดีทีเดียว ได้เป็นกษัตริย์เศรษฐีทีเดียว ได้สมบัติในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว นั่นแหละเป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอดเยี่ยมอย่างนั้น

    อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ วิราคูปสเม สุเข ซึ่งเป็นธรรมปราศจากยินดี สงบสุข สงบเป็นสุข นั่นแหละ ดวงนั้นตลอดขึ้นไปนั่นแหละ อคฺเค ธมฺเม ปสนฺนานํ เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ซึ่งเป็นธรรมอันปราศจากกำหนัดยินดีสงบสุข เมื่อเข้าไปอยู่ในกลาง ดวงนั้นแล้ว หมดความกำหนัดยินดี สงบ ระงับ เป็นสุขแสนสุขทีเดียว ทุกดวงไป ตั้งต้นแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เมื่ออยู่กลางดวงนั้นแล้วความกำหนัดยินดีไม่มี สงบ ระงับ เป็นสุขทีเดียว ถ้าว่าต้องการสุขละก้อ ไปอยู่นั่น ถ้าว่าต้องการทุกข์ละก้อ ออกมาเสีย ก็ได้รับทุกข์ ต้องการสุขก็เข้าไปอยู่กลางดวงธรรมนั่น ทุกดวงไปเป็นสุขแบบเดียวกันหมด ที่ปรากฏว่า วิราคูปสเม สุเข ซึ่งเป็นธรรมปราศจากยินดี สงบระงับ เป็นสุข

    อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ เลื่อมใสในพระสงฆ์อันเลิศ ธรรมกายละเอียด กายมนุษย์ละเอียด-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมละเอียด-กายอรูปพรหมละเอียด นี่เป็นหมู่ของชน เป็นหมู่ของมนุษย์ ธรรมกายละเอียดของโคตรภู ธรรมกายละเอียดของโสดา ธรรมกายละเอียดของสกทาคา ธรรมกายละเอียดของอนาคา ธรรมกายละเอียดของพระอรหัตนี่แหละ อคฺเค สงฺเฆ ปสนฺนานํ เลื่อมใสในพระสงฆ์อันเลิศ ปุญฺญกฺเขตฺเต อนุตฺตเร ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอด พระสงฆ์เป็นบุญเขตอย่างยอด ถ้าใครได้บริจาคกับพระสงฆ์หรือได้ไปเลื่อมใสใน พระสงฆ์เข้าก็ได้ผลปัจจุบันได้ผลเป็นมหัศจรรย์ทีเดียว เป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอด อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ ได้ถวายทานในท่านผู้เลิศแล้ว อคฺคํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติบุญอันเลิศย่อมเจริญ ได้ถวายทานในพระพุทธเจ้า ได้ถวายทานในธรรม ได้ถวายทานในพระสงฆ์ ในท่านผู้เลิศเหล่านั้น บุญอันเลิศย่อมเจริญ ได้สมบัติปัจจุบันทันตาเห็น ไม่อย่างนั้นละโลกนี้ไปแล้วก็ได้สมบัติในเทวโลก พรหมโลก สมมาดปรารถนา ได้ผลทีเดียว อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ อายุ วรรณะ อายุ คือมีอายุยืน วรรณะ ผิวพรรณวรรณะแห่งร่างกายงดงามเป็นของที่เลิศ ย่อมเจริญแก่เขาที่ได้ถวายทานนั้น ยศ เกียรติคุณ ความสุขและกำลังอันเลิศ ก็ย่อมเจริญแก่เขา อคฺคสส ทาตา เมธาวี ผู้มีปัญญาได้ถวายทานแก่ท่านผู้เลิศแล้ว อคฺคธมฺมสมาหิโต ตั้งอยู่ในธรรมอันเลิศ เทวภูโต มนุสฺโส วา จะไปเกิดเป็นเทวดาหรือว่าจะไปเกิดเป็นมนุษย์ อคฺคปฺปตฺโต ปโมทติย่อมถึงเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่ เกิดเป็นเทวดาก็ได้เกิดในวิมานทีเดียว จะเกิดเป็นมนุษย์ ก็เกิดในปราสาททีเดียว ถึงซึ่งความเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่ ไม่ต้องทำไร่ไถนา ค้าขายใดๆ เกิดในกองสมบัติทีเดียว นี่เป็นหลักยืนยันว่าธรรมนั่นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติได้จริงอย่างนี้ ไม่คลาดเคลื่อน อย่าไปต้องสงสัยอะไรเลย อย่าระแวงอะไรเลย ถ้าไม่สงสัย ก็ให้มั่นอยู่ในธรรม จะทำอะไรก็ช่าง

    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสหรือไม่
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ใสหรือไม่ ถ้าใสเข้าอยู่เวลาใด ได้เวลานั้น
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่เวลาใดได้เวลานั้น
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ใสหรือไม่ ถ้าใส
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ใสหรือไม่ ถ้าใส
    • ดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายอรูปพรหมใส หรือไม่ ถ้าใส
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ใสหรือไม่ ถ้าใส
    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมใสหรือไม่ ถ้าใส เข้าอยู่ในเวลาใด ได้เวลานั้น
    ตลอดกายธรรมละเอียด กายธรรมโสดา-โสดาละเอียด กายธรรมสกทาคา-สกทาคาละเอียด กายธรรมอนาคา-อนาคาละเอียด กายธรรมพระอรหัต-อรหัตละเอียด นี่แหละเรียกว่า ธมฺมวิหารี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ หรือ สุขธมฺมวิหารี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุข อยู่ในกลางดวงธรรมนั้น จะปฏิบัติให้ถูกหลักพระพุทธศาสนา หลักพระพุทธศาสนาอยู่ในกลางดวงธรรมนั้น ไม่ได้อยู่ที่อื่น หลักพระพุทธศาสนาไม่มีอื่น มีดวงศีล สมาธิ ปัญญา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อจัดออกมาทางกายวาจาไปอีกเรื่องหนึ่ง จัดไปทางเจตนาก็อีกเรื่องหนึ่ง ถ้าจัดเข้าไปในดวงธรรม ก็คือดวงศีลทีเดียว เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ใสบริสุทธิ์สนิท เมื่อเป็นมนุษย์ก็ปฏิบัติอยู่ในดวงธรรม ดวงศีลนั่น ที่จะเข้าถึงดวงศีลต้องเข้าถึงดวงธรรมก่อน ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ ดวงปฐมมรรค หรือ ดวงเอกายนมรรค เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน และหยุดอยู่กลางดวงธรรมนั่นแหละ นี่จะปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาละ ปฏิบัติทางธรรม ได้หลักแล้ว ได้หลักศาสนาแล้ว ปฏิบัติทางธรรมต่อไป ปฏิบัติทางธรรมก็ต้องให้มั่นคง

    • ใจนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    • ใจหยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอหยุดก็หยุดในกลางดวง ของกลาง กลางของกลางๆๆๆ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล
    • หยุดอยู่กลางศีล พอถูกส่วนเข้า ก็กลางของกลางใจที่หยุดนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงสมาธิ
    • หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ พอหยุดเข้า กลางของหยุด กลางของกลางๆๆๆ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงปัญญา
    • หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้ากลางของหยุด กลางของกลางถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติ
    • หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอหยุดเข้าก็กลางของกลางๆๆ พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
    • หยุดอยู่ศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้ากลางของกลางๆๆๆๆๆ ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียด
    ดำเนินไปในกายมนุษย์ละเอียดแบบนี้แหละ ก็จะเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม-กายธรรมละเอียด เป็นลำดับขึ้นไปทั้ง 18 กาย ถึงตลอดแบบเดียวกันนี้

    นี่ปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา คือ ไปทางศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติเข้าไปข้างใน ถ้าปฏิบัติถอยออกมาข้างนอก ก็กายวาจาบริสุทธิ์ ว่ากันเจตนาบริสุทธิ์ไปอีกกว้างๆ เป็นปริยัติไป ถ้าปฏิบัติต้องเดินให้ตรงเข้าไปข้างใน นั่นเป็นทางปฏิบัติ เมื่อเข้าถึงปฏิบัติแล้ว ก็ปฏิเวธเป็นชั้นๆ เข้าไป

    เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์หยาบนี้ เข้าไปในทางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียด พอถึงกายมนุษย์ละเอียด ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้ว เห็นกายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว นั่นเป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้วตามส่วน เข้าไปในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด จนกระทั่งถึงกายทิพย์ก็เป็นปฏิเวธอยู่แล้ว เห็นกายทิพย์เข้าแล้ว เห็นกายทิพย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธ เห็นกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธ เห็นกายอรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธ เห็นกายอรูปพรหมละเอียดก็เป็นปฏิเวธเป็นชั้นๆ เข้าไป เข้าถึงกายธรรม เข้าถึงกายธรรมก็เป็นปฏิเวธ เข้าถึงกายธรรมละเอียดก็เป็นปฏิเวธ แบบเดียวกันนั่นแหละ จะปฏิบัติไปอย่างไรก็ว่าไปเถอะปริยัติ เมื่อเข้าถึงปฏิบัติแล้ว ก็เข้าถึงปฏิเวธ เป็นลำดับไป เข้าถึงโสดา-โสดาละเอียด สกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด อรหัต-อรหัตละเอียด เป็นลำดับไป ไม่เคลื่อนละ ไม่เคลื่อนหลัก เอาหลักมาปรับดูเถอะ ปริยัติเอามาปรับดูเถอะ แต่ว่าผู้เรียนปริยัติ ผู้เรียนบาลีท่านไม่เห็น ท่านก็เรียนตามศัพท์ของท่านไป เมื่อท่านเห็นท่านก็เรียนตามความเห็นของท่าน นี่เรื่องนี้สำคัญ

    เพราะเหตุนั้น การปฏิบัติศาสนาหรือนับถือศาสนา ถ้าว่าศึกษาไม่ได้หลักพระพุทธศาสนาแล้ว จะนับถือไปสัก 50 ปีก็เอาเรื่องไม่ได้ ถ้าได้หลักแล้ว จึงจะเอาเรื่องได้ เพราะฉะนั้น วัดปากน้ำได้หลักแล้ว ต่อไปหมดประเทศไทย จะต้องถือเอาวัดปากน้ำนี้เป็นหลักทางปฏิบัติ ในทางปฏิบัติ ปฏิเวธ ส่วนปริยัติน่ะไม่ต้องเอาวัดปากน้ำ วัดปากน้ำต้องไปเอาเขามาอีก เอามาจากตำรับตำราที่เขาตั้งไว้เป็นหลักสูตรในประเทศไทย ถึงกระนั้นปริยัติวัดปากน้ำ ก็ไม่แพ้ฝั่งพระนคร ชนะฝั่งพระนครหลายวัด เหลือไม่กี่วัดที่จะล่วงล้ำไป แต่ส่วนปฏิบัตินั้น ชนะหมดทั้งประเทศไทย วัดใดวัดหนึ่งสู้ไม่ได้ เพราะวัดใดวัดหนึ่งสั่งสมพวกมีธรรมกายมาก ไม่ได้เหมือนวัดปากน้ำ วัดปากน้ำสั่งสมมากเวลานี้ ขนาด 100 ขาดเกินไม่มาก ทั้งอุบาสก อุบาสิกา พระเณร 100 ขาดเกินไม่มาก หรือจะกว่าก็ไม่รู้ แต่ว่ายังไม่ได้สำรวจถี่ถ้วน แล้วจะ สำรวจให้ดูว่ามีเท่าใด มากอยู่แล้วพวกที่ปฏิบัติใช้ได้ทีเดียว ที่ใช้ไม่ได้อย่างสูงนั้น ผู้เทศน์ต้องคอยคุม ถ้าไม่คุมละก้อ ไปสูงไม่ได้ มารมันปัดลงต่ำเสีย มันแนะนำให้วางเป้าหมายใจดำเสีย ไม่จรดอยู่ที่เป้าหมายใจดำ ที่ผู้เทศน์คอยคุมไว้ละก้อ ถูกเป้าหมายใจดำ ตรงกันข้ามกับพวกพญามาร ถ้าว่าไม่คุมไว้แล้ว เป็นลูกศิษย์พญามารเสียแล้ว มารเอาไปใช้เสียแล้วอย่างนี้มาก เหตุนั้นเมื่อมาพบของจริงเช่นนี้แล้ว ทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งอุบาสก อุบาสิกา ควรปล่อยชีวิต ค้นเอาของจริง รักษาของจริงไว้ให้ได้ เมื่อได้แล้วละก็ จะยิ้มในใจของตัวอยู่เสมอไป ไม่มีความเดือดร้อนใดๆ เห็นว่าพระพุทธศาสนานี่เป็นนิยานิกธรรมจริง นำสัตว์ออกมาจากทุกข์ ได้จริงในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว เมื่อรู้จักหลักอันนี้นี่แหละ ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมย่อมรักษาผู้ที่ประพฤติธรรม ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมนั่นแหละ สั่งสมไว้ดีแล้ว นำความสุขมาให้แท้ๆ

    เหตุนี้แหละที่ได้ชี้แจงแสดงมาแล้วนี้ เพื่อเป็นปฏิการสนองประคองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดาสโมสรในสถาน ที่นี้ถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา พอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมมีกถาโดยอรรถนิยมความแต่เพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    อุทานคาถา

    21 มีนาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
    ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ
    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
    ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ
    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ
    สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติ.


    lphor_tesna_vn-jpg.jpg




    เมื่อยังไม่ถึงพระอรหัตละก็ ยังมีค่ำยังมีสว่างอยู่ ถ้าถึงพระอรหัตละก็ ไม่มีค่ำเลยทีเดียว มีสว่างตลอด เพราะดวงธรรมเต็มที่แล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตนั่นวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว ดวงนั้นยิ่งกว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไปอีก ดวงจันทร์ก็ดี ดวงอาทิตย์ก็ดี ส่องให้สว่างในที่ที่ส่องได้ ที่ลึกลับลงไปใต้แผ่นดินส่องไม่ได้ ถ้ำคูหาส่องไม่ถึง วงธรรม ของพระอรหัตนั้นใต้แผ่นดินก็สว่างหมด เหนือดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็สว่างหมด เห็นสว่างตลอดหมด ในถ้ำ ในเหว ในปล่อง ในไส้พุง ตับไต เห็นตลอดหมด



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในอุทานคาถา ที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงเปล่งขึ้นด้วยพระองค์เอง มิได้ปรารภสิ่งหนึ่งสิ่งใด ปรารภแต่ธรรมสิ่งเดียวเท่านั้น ทรงเปล่งอุทานคาถาขึ้น ดังที่ยกขึ้นไว้ ณ เบื้องต้นนั้น

    อุทานคาถานี้เป็นความเปล่งขึ้นจากพระโอษฐ์ของพระองค์เอง เปล่งขึ้นด้วยมาปรารภถึงธรรมว่าเป็นของอัศจรรย์นัก ธรรมน่ะเป็นของอัศจรรย์

    บัดนี้ ท่านทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต จงตั้งใจให้บริสุทธิ์สนิท ฟังอุทานคาถา ซึ่งเปล่งขึ้นจากพระทัยของพระบรมศาสดา

    ปรากฏโดยวาระพระบาลีว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ. เป็นอาทิ แปลเป็นสยามภาษาทั้ง 3 อุทานนั้นว่า

    เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ

    เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้จักความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมืดเสียได้ ดำรงอยู่เหมือนดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นมากำจัดความมืด ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น นี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่เป็นของรู้ถึงได้ง่าย รู้ถึงได้ยากนัก

    ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่พราหมณ์นั้นเราควรจะรู้ ธรรมอะไรที่ปรากฏแก่พราหมณ์น่ะ และก็บอกลักษณะท่าทางไว้ให้เสร็จ เสมือนดวงอาทิตย์ขึ้นไปแล้วกำจัดความมืดทำอากาศให้สว่าง นี้เป็นข้อใหญ่ใจความสำคัญนัก จะเอาธรรมตรงไหน ดวงไหน ชิ้นไหน อันไหนกัน ธรรมที่เกิดขึ้นแก่พราหมณ์น่ะ ถ้าว่าไม่รู้จักธรรมดวงนั้น ฟังไปเถอะ สักร้อยครั้งก็ไม่ได้เรื่องได้ราวทีเดียว อุทานคาถานี้ลึกซึ้งอยู่ ไม่ใช่ของง่าย เผอิญจะต้องกล่าวไว้ย่อ ไม่ได้กล่าวพิสดาร เรียกว่า อุทานคาถา ธรรมที่ปรากฏแก่พราหมณ์น่ะ เป็นมนุษย์เป็นหญิงก็ดี ชายก็ดี ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต ไม่ว่าที่ปรากฏอยู่บัดนี้มีธรรมบังเกิดขึ้นกับใจบ้างไหม ที่ปรากฏอยู่เสมอน่ะ บางคนก็มี บางคนก็ไม่มี ที่ไม่มีนั้นเทียบด้วยคนตาบอด ที่ธรรมปรากฏขึ้นแล้วน่ะเทียบด้วยคนตาดี เรื่องนี้พระองค์ทรงรับสั่งในเรื่องธรรมว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารี มีธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น ธรรมที่บังเกิดปรากฏอยู่กับตัวน่ะ พวกมีธรรมกาย มีธรรมปรากฏแก่ตัวเสมอ พวกไม่มีธรรมกายนานๆ จะปรากฏธรรมสักครั้งหนึ่ง ธรรมที่ปรากฏขึ้นน่ะประจำตัวเชียวนะ ติดอยู่กับใจของบุคคลนั้น สว่างไสว ถ้าปฏิบัติดีๆ เหมือนดวงอาทิตย์ในกลางวันเชียวนะ แจ่มจ้าอยู่เสมอ แต่ว่าใจนั้นต้องจรดอยู่กับธรรม ถ้าว่าใจไม่จรดอยู่กับธรรม หรือธรรมไม่ติดอยู่กับใจละก็ ความสว่างนั้นก็หายไปเสีย เหมือนอย่างตามประทีปในเวลากลางวัน ประทีปอย่างย่อมๆ ความสว่างก็น้อย ประทีปนั้นขยายออกไป ความสว่างก็ขยายออกไป อย่างนั้นแหละฉันใด ธรรมก็มีหลายดวง สว่างต่างกันอย่างนั้นเหมือนกัน

    ธรรมน่ะอยู่ที่ไหน มนุษย์อยู่ที่ไหนธรรมอยู่ที่นั่น มนุษย์มีธรรมด้วยกันทุกคน เขาเรียกว่าดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ถ้าว่าผู้ที่ทำธรรมเป็นละก็ ใจไปติดที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น ติดอยู่ที่นั่น นั่นแหละได้ชื่อว่า ธรรมนั้นปรากฏแก่มนุษย์คนนั้นแล้ว

    ถ้าว่ากายมนุษย์ละเอียด ใจมนุษย์ละเอียดก็ติดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น สองเท่าฟองไข่แดงของไก่ ได้ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่กายมนุษย์ละเอียดนั้นแล้ว ถ้าว่าเป็นกายทิพย์ ใจก็ไปติดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถ้าว่าไม่ติดอยู่ในธรรมดวงนั้น ไม่เห็นธรรมดวงนั้นแจ่ม ได้ชื่อว่าธรรมยังไม่ปรากฏ เมื่อธรรมปรากฏแล้ว ก็เห็นธรรมดวงนั้นแจ่ม สามเท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงขนาดนั้น ดวงกลม กายทิพย์ละเอียดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด สี่เท่าฟองไข่แดงของไก่ แจ่มอยู่กับใจเสมอนั่น ได้ชื่อว่าธรรมปรากฏแก่กายทิพย์ละเอียดแล้ว กายรูปพรหม ใจติดอยู่กับศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ใส ห้าเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสบริสุทธิ์ นั่นแหละธรรมนั้นปรากฏแก่กายรูปพรหมแล้ว กายรูปพรหมละเอียด เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด เห็นดวงใส หกเท่าฟองไข่แดงของไก่ ติดอยู่กับใจเสมอ สว่าง ไม่มืด ได้ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่กายรูปพรหมละเอียดแล้ว กายอรูปพรหม ใจติดอยู่กับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม เจ็ดเท่าฟองไข่แดงของไก่ เห็นแจ่มอยู่เสมอไป นั้นได้ ชื่อว่าธรรมดวงนั้นปรากฏแก่กายอรูปพรหมแล้ว กายอรูปพรหมละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด แปดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใจอรูปพรหมละเอียดติดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด เห็นใสชัดปรากฏ แปดเท่าฟองไข่แดงของไก่ นี่เห็นปรากฏอย่างนี้ละก็ นั่นแหละได้ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่กายอรูปพรหมละเอียดแล้ว

    ถ้ากายธรรม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ถ้าใจของธรรมกายติดอยู่ที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายติดอยู่เสมอละก็ นั่นแหละได้ ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่ธรรมกายนั้นแล้ว ธรรมกายละเอียดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว กายธรรมพระโสดา เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมพระโสดา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว ติดอยู่กับใจพระโสดา พระโสดานั้นได้ชื่อว่ามีธรรมประจำใจแล้ว ได้ชื่อว่าธรรมนั้นปรากฏแก่กายธรรมพระโสดาแล้ว พระโสดาละเอียด พระสกทาคา สกทาคาละเอียด พระอนาคา อนาคาละเอียด พระอรหัต อรหัตละเอียด พวกนี้ติดอยู่เสมอไม่หลุด ติดอยู่เสมอ นั้นได้ชื่อว่าธรรมปรากฏขึ้นแล้ว แต่พวกที่ยังไม่เห็น ไม่มี ไม่เห็นปรากฏ ได้ชื่อว่ายังไม่เห็น ไม่มี ไม่เห็นปรากฏ ธรรมนั้นได้ชื่อว่า ไม่ปรากฏ

    ตามกำหนดวาระพระบาลี ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส แปลเนื้อความว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ผู้เพ่งอยู่แล้ว ก็เห็นดวงธรรมนั้นแหละ นี่แหละได้ชื่อว่าธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ละ อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป ก็ใจไปติดอยู่เสียกับธรรม เห็นธรรมแล้วก็หมดสงสัยในเรื่องธรรมกันเสียที เห็นแล้ว ติดแล้ว ปรากฏแล้ว หมดสงสัยในเรื่องธรรมกันเสียที พวกเรานี่มันสงสัยทุกคนนั่นแหละ ธรรมมากมายนัก โน่นก็ธรรม นี่ก็ธรรม ไม่รู้จะไปเอาธรรมที่ไหนแน่ ไม่รู้จะเอาธรรมที่ไหนแท้ๆ นี้ธรรมอันนี้แหละเป็นตัวจริงละ ให้เอาใจติดอยู่ตรงนี้แหละ อย่าไปเที่ยวหาอื่นให้มันอื่นจากศูนย์กลางกายมนุษย์ กลางกายของตัวไปเลย ตรงนั้นแหละ เอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นแหละ ถ้ายังไม่เห็น นานๆ เข้าก็เห็นเอง พอถูกส่วนเข้าก็เห็นเอง ที่ไปหาที่อื่น ไปโน่น ไปตรงโน้น ไปตรงนี้ ไปที่โน่น ไปที่นี่ ไปหาธรรมในป่า ในดอนในดง กันยกใหญ่ทีเดียว เพราะไม่เห็น พอไปเห็นเข้าแล้ว โธ่ ผ้าโพกหัวหาแทบตายไม่เห็น อยู่บนหัวนี่เอง ไปหาธรรมแทบตาย ธรรมอยู่กลางตัวของตัวของตัวนั่นเอง นั่นแหละธรรมอยู่ตรงนั้นแหละ แต่ว่าไม่ปรากฏขึ้น เมื่อปรากฏขึ้นแก่พราหมณ์แล้ว พราหมณ์ก็หมดสงสัย ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ ได้รู้ว่าธรรมเกิดแต่เหตุ

    ธรรมเกิดแต่เหตุอย่างไร ก็เพ่งพินิจพิจารณาดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใส บริสุทธิ์ เหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า เท่าฟองไข่แดงของไก่ เออ ธรรมดวงนี้เกิดแต่เหตุ รู้ทีเดียว เกิดแต่เหตุ เหตุอะไร เพราะมนุษย์ทำบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ไม่มีร่องเสียเลยเชียว นิดเดียวเท่าปลายผมปลายขนก็ไม่มี กลับเป็นคนอีกทีก็เป็นมนุษย์อีก ดวงธรรมอันนั้นเป็นขึ้นอีก ดวงธรรมดวงเก่านั้นหมดไป หมดอำนาจหมดชีวิตไป กลับเป็นมนุษย์ดังเก่าอีก ก็มีธรรมดังเก่าแบบเดียวกัน อ้อ ธรรมนี่เกิดแต่เหตุอย่างนี้ เกิดแต่เหตุที่มนุษย์ทำ นี่เอง

    ถ้าว่ามนุษย์ไม่ทำความบริสุทธิ์กายวาจาใจให้ถ่องแท้แล้วละก็ ไม่ได้เป็นมนุษย์ กลับไปเป็นอสุรกาย เป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นสัตว์นรกไป ธรรมนั้นก็เสียไป ดำขุ่นหมองเศร้ามัวไปหมด แต่ว่าสัตว์นั้นไม่เห็น ถ้าเห็นแล้ว ไม่ไปนรกแน่นอน ไม่ไปละ กลับเป็นมนุษย์ทีเดียว นี่แหละได้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์แล้ว เห็นไหมล่ะ ด้วยวิธีบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ

    กายมนุษย์ละเอียดก็เช่นเดียวกัน ดวงธรรมละเอียดลงไปกว่านี้ 2 เท่าฟองไข่แดงของไก่ ทั้งกายมนุษย์หยาบ มนุษย์ละเอียด ทั้ง 2 กายนั้นเป็นกายที่มารวมกัน อุตส่าห์พยายามรักษาความบริสุทธิ์ของตัวไว้ บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ไม่มีร่องเสียเลย

    เมื่อบริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ ไม่มีร่องเสียเลยแล้วละก็ อุตส่าห์พยายามเหมือนภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกานั้นแหละ อุตส่าห์บำเพ็ญทาน ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา อุตส่าห์ให้ทานตามกาล ตามสมัย ตามกำลังของตน อุตส่าห์รักษาศีลให้ดียิ่งขึ้นไป กาย วาจา ใจ ไม่ให้เดือดร้อนใคร ไม่ให้กระทบกระเทือนใคร ตัวเองก็ไม่เดือดร้อนไม่ให้กระทบกระเทือน คนอื่นก็ไม่ให้เดือดร้อน ไม่ให้กระทบกระเทือน รักษากาย วาจา ใจ ไว้เป็นอันดี เรียกว่าศีล สุตะ ถึงวันธรรมสวนะก็อุตส่าห์พากันมาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนาอย่างนี้แหละ เหมือนภิกษุ สามเณร ก็อุตส่าห์พากันมาสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา ทำอย่างนี้เรียกว่าสุตะ จาคะ กระทบกระเทือนกันบ้างก็ช่างเถิด ให้อภัย ไม่ถือเอาโทษ ไม่ถือเอาความขุ่นมัวเศร้าหมองอันใด ให้อภัยกันเสียหมดทีเดียว อยู่ด้วยกันตั้งร้อยตั้งพันก็ไม่เป็นไร ยิ้มแย้มแจ่มใสกันดี เพราะให้อภัยซึ่งกันและกัน ปัญญา รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ สูงและต่ำ ดีชั่ว ผิดชอบ เมื่อเราตั้งอยู่ในความเป็นผู้ใหญ่ ก็ต้องมีใจโอบอ้อมอารีต่อผู้น้อย ต้องมีใจอย่างนั้น นั่นเรียกว่ามีปัญญา ต้องอยู่ในความโอบอ้อมอารี เราเป็นผู้น้อยก็ต้องตั้งอยู่ในความเคารพยำเกรงผู้ใหญ่ อย่าถือเอาแต่ตัวของตัวไม่ได้ หรือไม่เช่นนั้น ผู้ปกครองก็ต้องใจโอบอ้อมอารี ผู้อยู่ใต้ปกครองก็ต้องเคารพยำเกรงต่อผู้ใหญ่ อย่างนี้อยู่เป็นสุขเบิกบานสำราญใจ ต้องเคารพคารวะซึ่งกันและกัน ผู้น้อยผู้ใหญ่เป็นลำดับลงไป เคารพซึ่งกันและกันตามหน้าที่ ตามพรรษา อายุ ตามคุณธรรมนั้นๆ ดังนี้ได้ชื่อว่าแตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์โลกนี้ ทำดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ให้บังเกิดขึ้น สามเท่าฟองไข่แดงของไก่ โตหนักขึ้นไป ดีหนักขึ้นไป กายทิพย์ทั้งหยาบทั้งละเอียด ทำละเอียดลงไปแบบเดียวกัน ทำให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก

    เรายังเวียนว่ายตายเกิดในกามภพนี่ สุขไม่พอ ต้องทำให้สูงขึ้นไปกว่านี้ อุตส่าห์ทำรูปฌาน เมื่อบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ศีลก็บริสุทธิ์เป็นอันดีแล้ว กาย วาจา ใจ ก็บริสุทธิ์เป็นอันดี ทาน ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ก็สมบูรณ์บริบูรณ์ดีแล้ว ตั้งใจแน่แน่วบำเพ็ญฌานให้บังเกิดมีขึ้น ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมนั่น ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น กายมนุษย์ละเอียดนั่น หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเห็นดวงปฐมฌานทีเดียว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 8 ศอก กลมรอบตัว นั่นเรียกว่าดวงปฐมฌาน แล้วก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปฐมฌานนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า ก็บังเกิดดวงทุติยฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 8 ศอกเท่ากัน กลมรอบตัวเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงทุติยฌาน พอนิ่งถูกส่วนเข้า เกิดดวงตติยฌาน ขึ้น จากดวงทุติยฌานนั่น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 8 ศอก กลมรอบตัว ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงตติยฌานนั้น ถูกส่วนเข้าเห็นดวงจตุตถฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 8 ศอก กลมรอบตัว สี่ดวงนี้เป็น ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เมื่อทำฌานให้เกิดมีขึ้นเช่นนี้แล้ว อำนาจฌานนี่แหละ อำนาจความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อำนาจทาน ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นเหตุให้บังเกิดธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ห้าเท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว ฟองไข่แดงของไก่ สี่ดวงมารวมกันเข้าเป็นดวงเดียว กลมรอบตัว ทั้งหยาบทั้งละเอียดแบบเดียวกัน

    ถ้าว่าทำยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ใจของกายมนุษย์ ใจของกายรูปพรหมนั่น หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ทั้งหยาบทั้งละเอียด พอถูกส่วนเข้า รู้ว่าฌานสูงขึ้นไป กว่านี้มี นิ่งอยู่กลางจตุตถฌานนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นนิ่งอยู่กลางจตุตถฌานนั่น วัดผ่าเส้นศูนย์ กลาง 8 ศอก กลมรอบตัวเหมือนกัน ใจรูปพรหมก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางอากาศนั่น พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน กายรูปพรหมเข้าไม่ได้ กายอรูปพรหมก็ปรากฏขึ้น ใจกายอรูปพรหมก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอากาสานัญจายตนะนั่น ถูกส่วนเข้า เห็นวิญญาณัญจายตนะ เห็นชัดทีเดียว รู้ว่าเกิดมาจากกลางของอากาศนั่น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 8 ศอก กลมรอบตัวเหมือนกัน ใจของอรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางของดวงรู้นั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นอากิญจัญญายตนะ รู้ละเอียด วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 8 ศอก กลมรอบตัวเหมือนกัน ใจของอรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงรู้ละเอียดนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นรู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ อยู่กลางดวงของรู้ละเอียดนั้น เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ ให้เกิดขึ้น ดังนี้ได้ ก็ได้ชื่อว่าเป็นอรูปฌาน ดวงธรรมนั้นก็โตออกไป ถ้าว่าวัดฟองไข่แดงเป็นที่ตั้งละก็ 8 เท่าฟองไข่แดงของไก่ 8 เท่าโตขึ้นไปดังนี้ ก็รู้ทีเดียวว่า ธรรมเหล่านี้ที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นจากเหตุ เหตุเพราะทำขึ้น บำรุงขึ้นให้เป็น ถ้าไม่บำรุงขึ้น ไม่ทำขึ้น ไม่เป็น ก็มุ่งจะให้สูงขึ้นไปกว่านั้น ก็ทำขึ้นไปได้อีก

    กายอรูปพรหมนั่นที่จะทำต่อขึ้นไป นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม พอถูกส่วนเข้า ก็เดินศีลเทียว เพ่งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ดวงธรรมที่ละเอียดจริง นั่นแหละ ก็เห็นดวงศีล วัดผ่าเส้นศูนย์กลางคืบหนึ่ง เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ วัดผ่าเส้นศูนย์กลางคืบหนึ่ง กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา วัดผ่าเส้นศูนย์กลางคืบหนึ่ง กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ วัดผ่าเส้นศูนย์กลางคืบหนึ่ง กลมรอบตัว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ วัดผ่าเส้น ศูนย์กลางคืบหนึ่ง กลมรอบตัว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็นกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมา เกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามส่วน อย่างโตที่สุดหย่อนกว่า 5 วา อย่างเล็กที่สุดไม่เกินคืบหนึ่งไป นั่น เรียกว่ากายธรรม เกิดเป็นลำดับไป ก็รู้ว่า อ้อ! ธรรมเกิดขึ้นได้เพราะเหตุ เหตุที่เรากระทำลงไปนี่เอง เหตุของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่แหละให้เข้าถึงกายธรรมได้ เข้าถึงได้อย่างนี้ เห็นปรากฏอย่างนี้ทีเดียว กายธรรมโคตรภู กายธรรมพระโสดาทั้งหยาบ ทั้งละเอียด ก็ทำไปแบบเดียวกันนี้ กายธรรมพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียดก็ทำไปแบบนี้ กายธรรมพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียดก็ทำไปแบบนี้ จนกระทั่งเข้าถึงกายธรรมพระอรหัต ก็ทำไปแบบนี้

    เมื่อธรรมปรากฏขึ้นเช่นนี้แล้ว พราหมณ์แกก็รู้ว่าธรรมเกิดแต่เหตุ เหตุที่กระทำลงไป อย่างนี้ ไม่กระทำไม่เกิด ถ้าไม่มีเหตุดังนี้เกิดไม่ได้ต้องมีเหตุอย่างนี้จึงเกิดได้ เมื่อรู้จักเหตุดังนี้ ต้องทำลงไปในเหตุ ต้องการธรรมต้องทำลงไปในเหตุ ผิดเหตุละก็ ไม่เกิด นี่ชั้นหนึ่ง

    ในคาถาที่ 2 ว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมฺณสฺส อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความ เพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เห็นจริงแท้ไม่ต้องสงสัย ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ เพราะพราหมณ์นั้นได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย ตรงนี้สำคัญนัก พราหมณ์นั้นได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย รู้ความสิ้นไปเมื่อพราหมณ์เดินขึ้นไปเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงกายพระอรหัต ก็รู้ทีเดียว รู้ชัดทีเดียว ที่จะขึ้นไปเช่นนี้ก็ต้องรู้ชัด เห็นชัด ทีเดียว เพราะแกเห็นแล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่จะชะลอกายมนุษย์ไว้ได้ดังนี้ เพราะอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ บังคับอยู่ บังคับธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์อยู่ ทั้งหยาบ ทั้งละเอียด กายทิพย์เล่า เพราะปัจจัยคือ โลภะ โทสะ โมหะ ทั้งหยาบทั้งละเอียด บังคับกายทิพย์ทั้งหยาบทั้งละเอียดอยู่ กายรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียดเล่า ทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็เพราะปัจจัยคือ ราคะ โทสะ โมหะ ทั้งหยาบทั้งละเอียด บังคับกายรูปพรหมอยู่ ขึ้นไปจากภพ ไม่ได้ ไปไม่พ้น กายอรูปพรหมเล่า ทั้งหยาบทั้งละเอียด เพราะกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย บังคับอรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียดอยู่ พ้นจากภพไปไม่ได้ กายธรรมเล่า เพราะ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เป็นสังโยชน์ เป็นปัจจัยคุ้มครองป้องกัน ไม่ให้หลุดพ้น ไปจากโคตรภูบุคคลได้ ทั้งหยาบทั้งละเอียด เมื่อเข้าถึงพระโสดา เป็นพระโสดาบันบุคคลแล้ว ทั้งหยาบทั้งละเอียด เพราะกามราคะ พยาบาท อย่างหยาบบังคับอยู่ ทั้งหยาบทั้งละเอียด กายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียดเล่า เพราะกามราคะ พยาบาท อย่างละเอียด มัน บังคับอยู่ ทั้งหยาบทั้งละเอียด พระสกทาคาไปไม่ได้ ติดอยู่เพียงแค่พระสกทาคานี้ เมื่อ เข้าถึงพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์ เบื้องบนนี่เอง นี่เป็นปัจจัยคุ้มครองป้องกันไม่ให้เป็นพระอรหันต์ได้ เป็นลิ่มเป็นสลักอยู่ อย่างนี้ ท่านก็อุตส่าห์พยายามให้เข้าถึงพระอรหัต เดินทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ พอบรรลุเป็นพระอรหันต์ หลุดจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เรียกว่า ขีณาสโว ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ทิฏฐาสวะ ไม่มีในพระอรหัต เมื่อไม่มีในพระอรหัต เห็นชัดเช่นนี้ ท่านก็รู้น่ะซี รู้ชัด เห็นชัดทีเดียวว่า นี่แหละ ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ พราหมณ์นั้นได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย ไม่มีปัจจัยเลย ปัจจัยฝ่ายที่จะตรึงไว้ ไม่มีเลย หลุดจากปัจจัยหมด เป็นพระอรหันต์ เป็นสมุจเฉทปหาน แน่นอนในพุทธศาสนา

    เมื่อรู้จักหลักเช่นนี้ ในบาทที่ 3 รับรองอีก รับรองทีเดียวว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ ดำรงอยู่เหมือนดวงอาทิตย์ผุดขึ้นมากำจัดมืด กระทำอากาศให้สว่างฉะนั้น นี้ปรากฏเป็นพระอรหัตแล้วอย่างนี้ สว่างเป็นพระอาทิตย์กลางวันเรื่อย ไม่มีค่ำเลย เมื่อยังไม่ถึงพระอรหัตละก็ ยังมีค่ำยังมีสว่างอยู่ ถ้าถึงพระอรหัตละก็ ไม่มีค่ำเลยทีเดียว มีสว่างตลอด เพราะดวงธรรมเต็มที่แล้ว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตนั่นวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว ดวงนั้นยิ่งกว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไปอีก ดวงจันทร์ก็ดี ดวงอาทิตย์ก็ดี ส่องให้สว่างในที่ที่ส่องได้ ที่ลึกลับลงไปใต้แผ่นดินส่องไม่ได้ ถ้ำคูหาส่องไม่ถึง วงธรรม ของพระอรหัตนั้นใต้แผ่นดินก็สว่างหมด เหนือดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็สว่างหมด เห็นสว่างตลอดหมด ในถ้ำ ในเหว ในปล่อง ในไส้พุง ตับไต เห็นตลอดหมด ปรากฏอย่างนี้ ท่านจึงได้เทียบด้วย สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ เหมือนดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นมาแล้วกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่าง ดวงธรรมก็ทำให้สว่างยิ่งกว่านั้น สว่างในไส้พุงตับไต สว่างหมด ในภูเขา ดวงอาทิตย์ส่องได้แต่ในที่ที่ส่องได้ในที่ลึกลับ เข้าไปในภูเขา เข้าไปส่องไม่ได้ ส่วนดวงธรรมส่องเข้าไปได้ตลอดหมด ท่านจึงได้ยืนยันว่า นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี ดวงธรรมนั่นแหละให้เกิดปัญญาสว่าง ไม่มีที่กำบังอันใดแต่นิดเดียว จะกำบังก็กำบังไม่ได้ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดกำบังได้เลย ส่องสว่างได้ตลอด นี้ท่านจึงได้ชี้ว่าเหมือนยังกับดวงอาทิตย์ผุดขึ้น เหมือนดวงอาทิตย์เกิดขึ้นแล้วกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่าง ดวงธรรมก็เทียบด้วยอย่างนั้นเหมือนกัน

    นี้เป็นอุทานคาถา พระบรมศาสดาทรงตรัสเทศนา เป็นธรรมอันลึกซึ้ง ฟังพอดีพอร้าย ไม่รู้เรื่อง เมื่อเป็นของลึกซึ้งขนาดนี้ละก็ จำเอาไว้ว่าเราจะต้องทำให้เป็นเหมือนอย่างนี้ นี่ ที่เขาเป็นธรรมกายเขารู้หนา แค่นี้เขาเข้าใจทีเดียวว่า อ้อ ตำรับตำรามีจริงอย่างนี้ เราก็เห็นจริงเหมือนตำราแล้ว ถูกต้องตามตำราแล้ว ผู้ที่ไม่เห็น ไม่เป็นปรากฏ ก็เท่ากับตาบอด ไปไหนไม่รอด ติดอยู่แค่กายมนุษย์นี่เอง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ไม่เห็น ไม่เป็นกับเขา เมื่อไม่เห็นไม่เป็นกับเขา ก็ไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ก็เป็นทุกข์อยู่ร่ำไป ไม่มีสุข ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็เป็นสุข ที่พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารี ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น ถ้ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่ละก็ เป็นสุขในปัจจุบันทันตาเห็น เป็นสุขเดี๋ยวนั้น ท่านยืนยันด้วยว่า อกาลิโก เมื่อเข้าไปถึงดวงธรรมนั้นแล้ว เป็นสุขเดี๋ยวนั้น ไม่ต้องผลัดกาลเวลา ไม่มีกาลเวลา จะได้เลื่อนความสุขมาในเวลานั้นในเวลานี้ นี่ไม่มี พอถึงก็สุขทีเดียว ไปถึงเดี๋ยวนั้นเป็นสุขเดี๋ยวนั้นทีเดียว จึงเรียกว่าอกาลิโก แล้วไม่ใช่เท่านั้น เป็นดวงแจ่มแจ้งกระจ่างสว่างกับใจอยู่ อาจจะเรียกบุคคลผู้อื่นเข้ามาดูได้ รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้ นี่ เหมือนกับเทศน์ให้ฟังอย่างนี้แหละ เรียกบุคคลผู้อื่นให้เข้ามาดูได้ เป็นดวงขนาดนั้นๆ โตเท่านั้น สว่างถึงนั่น อาจจะเรียกบุคคลผู้อื่นให้เข้ามาดูได้อย่างนี้ นี้เรียกว่า เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ไม่ใช่เป็นของแข็ง น้อมเข้าไปในใจก็ได้ น้อมเข้าไปตั้งอยู่แค่ไหนก็ได้ น้อมออกข้างนอกก็ได้ น้อมลงข้างล่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง นอก ใน น้อมไปได้ตามชอบใจหมดทั้งสิ้น ไม่ผิด นั่นเป็นของอ่อนตามใจอย่างนั้น เรียกว่า โอปนยิโก เป็นของน้อมได้ตามชอบใจ ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ผู้รู้รู้ได้เฉพาะตัว ใครเข้าถึงใครก็รู้ ใครทำเป็น ใครก็เห็น ใครได้ ใครก็ถึง ใครไม่ได้ ใครก็ไม่ถึง ใครไม่เป็น ใครก็ไม่เห็นเท่านั้น ปรากฏอย่างนี้ นี้แหละอุทานคาถาที่พระศาสดาทรงประสงค์แสดงไว้

    ที่ชี้แจงแสดงมาแล้วนี้ ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติในอุทานคาถา ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้าทั้งปวง สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง สพฺพสงฺฆานุภาเวนด้วยอานุภาพพระสงฆ์ทั้งปวง ปิฎกตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพปิฎกทั้งสาม คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ชินสาวกานุภาเวนด้วยอานุภาพชินสาวกของท่านผู้ชนะมาร จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์ให้อุบัติบังเกิดมี เป็น ปรากฏในขันธปัญจกแห่งท่านทานิสราบดีทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาด้วยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    ต้องกำหนดนิมิตเป็นองค์พระ ถ้าเห็นเป็นดวงแล้วจะเข้ากลางไม่ได้เลย ?
    กระผมได้ภาวนาวิชชาธรรมกายมาตั้งแต่บวชเมื่อปลายปี 2529 นั่งภาวนาเพียงอาทิตย์เศษ ก็เห็นองค์ธรรมกาย แต่ยังไม่เห็นดวงปฐมมรรค พอได้ธรรมกายเพียง 2-3 วัน ก็มองอะไรไม่เห็นอีกเลย เวลานั่งภาวนาก็เข้ากลางไม่ได้ จับได้แต่กว้างๆ และนิมิตก็ต้องเป็นองค์พระ ถ้าเห็นเป็นดวงแล้วจะเข้าไม่ได้เลย แต่ระยะหลังนี้ เข้ากลางได้ ประคองนิมิตได้ แต่พอเข้ากลางก็จะเกิดแสงสว่างวูบขึ้นอย่างแรง จิตจะเคลื่อนที่ แล้วจะทำใหม่ไม่ได้ ขอได้โปรดแนะนำด้วยครับ ?

    ตอบ:

    เรื่องเห็นดวงปฐมมรรคหรือไม่นี้ ไม่เป็นประมาณนะ เพราะว่า ในที่สุดละเอียดของดวงธรรมก็เป็นองค์พระ ในกลางองค์พระก็มีดวงธรรม หรือ ณ ศูนย์กลางของกายในกายต่างๆ ก็มีดวงธรรม เหมือนกัน

    สุดละเอียดของดวงธรรมนั้นอันประกอบด้วยคุณความดีในธาตุในธรรม เป็นดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ สุดละเอียดไปก็เป็นกายในกายที่ละเอียดยิ่งไปกว่ากายเดิม แปลว่า ในกายก็มีดวง ในดวงก็มีกาย นี่เป็นธรรมดา

    เมื่อเห็นธรรมกายแล้ว โปรดจำไว้ว่า เห็นแล้วต้องเข้าถึง ทุกอย่างต้องเข้าถึง วิธีเข้าถึงนั้น ไม่ว่าจะเห็นดวงธรรมหรือเห็นกายละเอียดกายใดก็ตาม มีอุบายวิธีคือ เหลือบตากลับนิดๆ เพื่อมิให้สายตาเนื้อไปแย่งหน้าที่ตาใน

    ขณะเดียวกันนั้น ก็มีธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่ง คือ ใจของคนเรานี้ชอบที่จะฟุ้งซ่านออกข้างนอกตัว ถ้าจะให้เข้าใน เห็น จำ คิด รู้ จะเข้าในได้ แต่พอใจจะเข้าในเมื่อไร ตาจะเหลือบกลับเองเมื่อนั้น นี้เป็นธรรมชาติ แต่เราไม่ได้สังเกตตัวเอง

    ถ้าใครเคยสังเกตเด็กทารกเวลานอนหลับ ก็จะพบว่า ตาของเด็กนั้นจะเหลือบกลับตลอดเวลา และนี่ก็เป็นธรรมชาติที่แปลก ซึ่งหลวงพ่อใหญ่ คือ หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านพบและเข้าใจเลยว่า เวลาที่สัตว์จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น เมื่อจิตหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ จิตดวงใหม่จะเกิดขึ้นมาใหม่ตรงนั้น อาการของสัตว์โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์เรา ตาจะเหลือบกลับ

    เพราะฉะนั้นอุบายนี้เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเราเหลือบตากลับนิดๆ ใจจะหยุดข้างในได้โดยง่าย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกให้ชำนาญ ผู้ที่ทำวิชชาชั้นสูงนั้น ตาเขาเหลือบกลับตลอดเวลา แต่ต้องไม่ลืมตา คือตาจะพรึมๆ อยู่นั่นแหละ ใจจะเข้าในและตกศูนย์อย่างละเอียดด้วย เพราะฉะนั้นวิธีทำให้ใจสามารถเข้าไปเห็นดวงในดวงกายในกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระหรือธรรมกายได้สนิทดีนั้น ให้เหลือบตากลับนิดๆ แล้วนึกเข้าไปเห็นศูนย์กลางองค์พระ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่มองดูเฉยๆ ถ้ามองดูเฉยๆ มองไปอย่างไร ก็ไม่ก้าวหน้า ต้องนึกเข้าไปเห็นและเข้าไปเป็น ถ้าเพียงดวงก็นึกเข้าไปเห็น ณ ภายในดวง ทิ้งความรู้สึกภายนอกของเรา เข้าไปเห็นภายใน เหมือนกับมีกายอีกกายหนึ่งของเราเข้าไปเห็นข้างใน ทำอย่างนี้จะก้าวหน้าได้ ถ้าเห็นกายแล้ว ก็ให้ดับหยาบไปหาละเอียด คือ สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นกายละเอียดนั้นเลย ทิ้งความรู้สึกอันเนื่องอยู่กับกายเนื้อของเรา กายละเอียดปรากฏขึ้นมาเมื่อไร ก็ดับหยาบไปหาละเอียดเข้าไปเป็นกายละเอียดนั้นแล้วใจมันจะตกศูนย์เอง เพราะว่าใจของกายละเอียดนั้นจะทำหน้าที่เอง โดยวิธีดังนี้ ใจของกายละเอียดจะทำหน้าที่เจริญภาวนาต่อ หยุดนิ่งเข้าไปจนถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นเจตสิกธรรมที่สุดละเอียดของใจของกายนั้น แล้วก็จะถึงธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ของ อีกกายหนึ่งที่ละเอียดๆ ต่อไป เหมือนกับการถ่ายทอดถึงซึ่งกันและกันเข้าไปจนสุดละเอียด

    ที่กล่าวมานี้นั้นก็เป็นอุบายวิธีในการเจริญจิตภาวนาให้ได้ผลดี ซึ่งพอจะสรุปหลักย่อๆ ได้ 4 ประการ คือ

    1. เห็นดวงให้เดินดวง คือ นึกเข้าไปเห็นจุดเล็กใสที่ศูนย์กลางดวง ให้ใจหยุดใน หยุด กลางของหยุด กลางของกลางดวงให้เห็นใสละเอียดไปจนสุดละเอียด
    2. เห็นกายให้เดินกาย คือ ดับหยาบไปหาละเอียด คือ นึกเข้าไปเห็นจุดเล็กใสที่ ศูนย์กลางกายละเอียดที่ปรากฏขึ้นใหม่ ให้ใจของกายละเอียดนั้นเจริญภาวนา หยุดในหยุด กลางของหยุด ให้เห็นใสละเอียดทั้งดวง ทั้งกาย ทั้งองค์ฌาน
    3. เหลือบตากลับนิดๆ (ไม่ต้องลืมตา) ขณะเจริญภาวนา จะป้องกันมิให้สายตาเนื้อไปแย่งงานจิตตภาวนาของตาใน (คือใจ) และจะช่วยให้ใจหยุดนิ่ง กลางของหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ดี
    4. เข้ากลางทำให้ขาว คือ นึกเข้าไปหยุดในหยุดกลางของหยุด ณ ศูนย์กลางดวงหรือธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ของกายที่ใสละเอียดที่สุด ไว้เสมอ
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    คำว่า “หยุด” เอาอะไรเป็นเกณฑ์วัด เป็นเรื่องของกายหรือใจ ?
    คำว่า “หยุด” ที่หลวงพ่อสด ท่านกล่าวไว้ว่า จะไปทางนี้ต้อง “หยุด” ถ้าไม่หยุดก็ไปไม่ได้ และหยุดอย่างเดียวเท่านั้น สำเร็จ หรือเป็นตัวสำเร็จ อยากกราบถามหลวงพ่อค่ะว่า ในการ “หยุด” นี้ เอาอะไรเป็นเกณฑ์วัด เป็นเรื่องของกายหรือเรื่องของใจคะ ?

    ตอบ:

    คำว่า “หยุด” ณ ที่นี้หลวงพ่อ (หลวงพ่อวัดปากน้ำหรือหลวงปู่สด) ท่านหมายถึงหยุดทำชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ หยุดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ด้วยการปฏิบัติไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา(ศีลยิ่ง) อธิจิตสิกขา(จิตยิ่ง) อธิปัญญาสิกขา(ปัญญายิ่ง)

    ในการ “หยุด” ทางใจ นั้นเริ่มด้วยการอบรมใจให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่งคง ณ ศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม ด้วยอุบายวิธี 3 อย่างประกอบกัน คือ

    1. อาโลกกสิณ โดยการเพ่งดวงแก้วกลมใส (นึกให้เห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจคือความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ ให้อยู่กับดวงแก้ว และให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน)
    2. พุทธานุสสติ ด้วยการให้กำหนดบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอะระหังๆๆ” เพื่อประคองใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ตรงกลางและให้น้อมพระพุทธคุณ คือพระปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณจาก คำว่า “สัมมาอะระหัง” มาสู่ใจเรา
    3. อานาปานสติ สังเกตลมหายใจเข้าออกที่ผ่านและกระทบดวงแก้ว ตรงศูนย์กลางกาย แต่ไม่ต้องตามลม
    เมื่อใจถือเอาปฏิภาคนิมิตได้และหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมและเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปๆ จนสุดละเอียดนั้นแล้ว จิตดวงเดิมจะละปฏิภาคนิมิตและตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 ถ่ายทอดกรรมเดิมที่เป็นสมาธิ เป็นจิตดวงใหม่ คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ อันตั้งอยู่ท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่ผ่องใสบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ ลอยเด่นขึ้นมาพร้อมกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ใสสว่างยิ่งนัก เป็นทางให้เข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมที่ละเอียดและบริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งขึ้นไปทุกที จนถึงธรรมกายอันเป็นกายที่พ้นโลก และเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใส รัศมีสว่าง

    นั่นก็คือ ใจยิ่งหยุดยิ่งนิ่งยิ่งไม่สังขาร คือ ไม่ปรุงแต่ง อีกนัยหนึ่ง คือ “หยุดมโนสังขาร” จิตใจก็ยิ่งถึงและเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใสนั่นเอง นี่เรียกว่า “ใจหยุดในหยุดกลางของหยุด ดับหยาบไปหาละเอียด จนสุดละเอียด”

    เมื่อถามว่า “มีอะไรเป็นเครื่องวัด ?” ก็ตอบว่า มีการเข้าถึงรู้-เห็นและเป็น กายในกาย (รวมเวทนาในเวทนา จิตในจิต) และธรรมในธรรม เริ่มตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายที่ใสแจ่มอยู่ ณ ภายใน ละเอียดเข้าไป ๆ จนสุดละเอียด ถึงธรรมกายและเป็นธรรมกาย ที่บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนสุดละเอียดนั่นเอง เป็นทางให้ถึงมรรค ผล นิพพาน

    เพราะเหตุนั้น หลวงพ่อท่านจึงกล่าวว่า “หยุด นั่นแหละ เป็นตัวสำเร็จ” คือ เป็นทางให้ถึงมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุข
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมอบรมพระกัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน๔รุ่นที่8 ณ สำนักปฏิบัติธรรม ป่ามงคลธรรม (ศิษย์หลวงปู่สด)สาขาวัดหลวงพ่อสดฯจ.ราชบุรี/เลขที่63หมู่17บ้านอุดมทรัพย์พัฒนา ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ระหว่างวันที่25-31ม.ค.61รุ่นที่8ผู้สนใจติดต่อสอบได้ที่090-1192479



    27067876_598005070538595_4193955278066762012_n.jpg


    26814441_598005103871925_5866214605673457010_n.jpg


    26907383_598005287205240_3744341836360047381_n.jpg




    ********************************************************************************


     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    ติลักขณาทิคาถา


    lphor_tesna_vn.jpg




    1 สิงหาคม 2497



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)
    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
    อปฺปกา เตมนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน
    อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ
    เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
    เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ
    กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมีกถาว่าด้วยเรื่องลักขณคาถา เครื่องหมายลักษณะ ของความจริง คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว (อนัตตา) ตามสภาพความเป็นจริงนี้ ที่นิยมใช้ในพระพุทธศาสนานัก เพราะแสดงความจริงทุกสิ่งทุกประการ ในลักษณะทั้ง 3 ประการนี้ เป็นภูมิของวิปัสสนา เป็นชั้นสูงเป็นธรรมอันสุขุมลุ่มลึกคัมภีรภาพ เหตุนั้นที่จะ แสดงวันนี้ เพราะว่าลักษณะธรรมชั้นสูงนี้สมควรที่เป็นธรรมที่เป็นไปในปัญญา ไม่ใช่ทางศีล ไม่ใช่ทางสมาธิ เป็นทางปัญญาแท้ๆ เหตุนี้แล จะแปลเนื้อความตามวาระพระบาลีที่ได้ยกไว้ ในเบื้องต้น ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ เมื่อนั้นย่อม เหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็น ทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี้คือความหมดจดวิเศษ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโนบรรดามนุษย์ทั้งหลาย ชนเหล่าใดมีปกติไปสู่ฝั่งข้างโน้น ชนทั้งหลายเหล่านั้นมีประมาณน้อย อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ ส่วนชนนอกนี้ย่อม เลาะชายฝั่งนั่นแล เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน ก็ชนทั้งหลายเหล่าใดแล ประพฤติตามธรรมในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวแล้วดี เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมถึงซึ่งฝั่งคือพระนฤพาน ล่วงเสียซึ่งวัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่ง มัจจุ อันบุคคลข้ามได้ด้วยยากนัก กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต ผู้ดำเนิน ด้วยคติของปัญญา ละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น ดังนี้ นี่เนื้อความของบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้
    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไปว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง ก็เมื่อบุคคลเห็นตามดังนี้ด้วยปัญญาของตนแล้ว ก็ย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย นี้เป็นทางหมดจดวิเศษ นี่หนทางนี้เราต้องการ ให้พินิจพิจารณา ด้วยความรู้ความเข้าใจของตน นี่เป็นภูมิขั้นสูงนะ ไม่ใช่ภูมิขั้นต่ำ เห็นตาม ปัญญาว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เห็นอย่างไรสังขารน่ะ คือ ปุญญาภิสังขาร สังขารที่บุญ ตกแต่ง อปุญญาภิสังขาร สังขารที่บาปตกแต่ง อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว
    ปุญญาภิสังขาร สังขารตกแต่งให้เกิดเป็นบุญขั้นมนุษย์นี่ ในชมพูทวีป แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล มนุษย์มีมากน้อยเท่าไร อยู่ในปุญญาภิสังขารทั้งนั้น ส่วนทิพย์ กายอุปปาติกกำเนิดเกิดเป็นกายทิพย์ในชั้นจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี 6 ชั้นนี้ นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร สวรรค์ทั้ง 6 ชั้นนี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร สังขารอันบุญตกแต่งทั้งนั้น รูปพรหมอีก 16 ชั้น พฺรหฺมปาริสชฺชา พฺรหฺมปโรหิตา มหาพฺรหฺมา ปริตฺตาภา อปฺปมาณาภา อาภสฺสรา ปริตฺตสุภา อุปฺปมาณสุภา สุภกิณฺหกา อสญฺญีสตฺตา เวหปฺผลา นี่ชั้นที่ 11 อสญฺญีสตฺตา เวหปฺผลา อยู่ในชั้นพรหมที่ 11 นี้ อวิหา อตปฺปา สุทสฺสา สุทสฺสี อกนิฏฺฐา นี้เรียกว่าชั้นสุธาวาส เป็นที่อยู่ของพระอริยบุคคล ขั้นพระอนาคามิมรรค-พระอนาคามิผล อยู่ในที่นี้ รูปพรหมทั้ง 16 ชั้นนี้เป็นปุญญาภิสังขาร ทั้งนั้น ส่วนอเนญชาภิสังขาร สังขารในอรูปพรหม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ในอรูปพรหมทั้ง 4 นี้ก็จัดเป็นปุญญาภิสังขาร อีกเหมือนกัน ไม่ใช่ อปุญญาภิสังขาร
    อปุญญาภิสังขารต่ำกว่ามนุษย์ลงไป เรียกว่าอปุญญาภิสังขาร เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์นรกบ้าง 456 ขุม ลุ่มลึก ทุกข์ยาก ลำบากนัก ในอบายภูมิทั้ง 4 นี้ เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ฝ่ายสัตว์เดรัจฉาน ก็เห็นปรากฏว่าตัวใหญ่ ตัวเล็กตัวน้อย น่าสมเพชเวทนา เปรต อสุรกาย เราไม่เห็นด้วยตา เป็นแต่เขาเขียนรูปไว้ ให้ดู ถึงกระนั้นก็มีอยู่แท้ๆ สัตว์นรกเราก็ไม่เห็น เขาเขียนรูปไว้ให้ดูทั้งนั้น แต่ว่าเขาเห็นแล้ว เขาเขียนรูปให้ดู มีจริงๆ ไม่ต้องไปสงสัย เปรต อสุรกาย สัตว์นรก เหล่านี้ สัตว์เดรัจฉาน เห็นปรากฏชัด นี้ได้ชื่อว่า อปุญญาภิสังขาร
    อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว ตั้งแต่ อรูปสัตว์ อสัญญีสัตว์ ที่ชั่วคราวนะ ไม่หวั่นไหวชั่วคราวหนึ่ง นี้ตำรับตำราท่านยกเอาแค่นี้ แต่ว่า อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่ หวั่นไหว สังขารที่ไม่หวั่นไหวควรจะจัดสังขารที่บุญตกแต่งไม่ได้ บาปตกแต่งไม่ได้ ควรจะ เป็นอเนญชาภิสังขาร ส่วนโลกันต์นรกก็ไปหมกไหม้อยู่ในนั้น ไปทนทุกข์เวทนาอยู่ใน โลกันต์นรก นั่นจะจัดเป็นอเนญชาภิสังขารได้ไหมล่ะ ก็มันยังไปเกิดมาเกิดอยู่ ถ้านิพพาน ก็ได้ เป็น อเนญชาภิสังขาร ที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้ง 8 ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมทั้ง 8 นี้เป็น อเนญชาภิสังขาร ได้ อเนญชาภิสังขาร เหล่านั้นก็มีหวั่นไหวอยู่ เคลื่อนไปมาอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ ธาตุล้วน ธาตุล้วนๆ ไม่เกี่ยวข้องอะไร นั่นแน่ควรจะเป็น อเนญชาภิสังขาร ธรรมล้วนๆ ไม่เกี่ยวข้องด้วยสิ่งใด นั่นแน่ควรจะเป็นอเนญชาภิสังขาร แต่ว่า สังขารในที่นี้ ท่านประสงค์เอาอสัญญีสัตว์ อรูปสัตว์เป็น อเนญชาภิสังขาร ให้รู้จักหลักอันนี้
    สังขารเหล่านี้แหละเป็น อนิจฺจํ ไม่เที่ยงทั้งนั้น แปรผันไปหมด ปรากฏว่าจะเป็น ปุญญาภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อเนญชาภิสังขารก็ดี สังขารเหล่านี้ไม่เที่ยงทั้งนั้น ยักเยื้องแปรผันอยู่ปกติธรรมดา เหมือนมนุษย์ที่ยักเยื้องเป็นมนุษย์ สัตว์เดรัจฉานก็ยักเยื้อง ส่วนสัตว์เดรัจฉาน อสุรกายก็ยักเยื้องทั้งนั้น ที่เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร กายทิพย์ ทิพยกาย หรือพรหมกาย ส่วนอรูปพรหม กายเหล่านี้เป็นอเนญชาภิสังขาร และกายเหล่านี้ไม่เที่ยง มียักเยื้องแปรผันอยู่ ตามจริงเป็นอย่างนี้ ที่ไม่เที่ยงเป็นอย่างไร ก็มีเกิดขึ้น ท่ามกลางมีแก่ แปรไป ในอวสานที่สุดแตกสลายไป ไม่ได้เหลือตนแต่สักคนเดียว เบื้องต้นมีเกิดขึ้น ท่ามกลางมีแก่แปรไป อวสานที่สุดมีสิ้นสลายหายไป เอาจริงเอาจังไม่ได้สักอย่างหนึ่ง ดังนี้ เรียกว่าไม่เที่ยง นี่ในพระคาถาต้น เมื่อสิ่งที่ไม่เที่ยงที่เราเห็นเช่นนี้ เราจะเป็นอย่างไรบ้าง ใจคอก็สลด ใจไม่อยากจะได้ ไม่อยากจะเอื้อเฟื้อ ไม่อยากจะเกี่ยวข้อง เพราะมันไม่เที่ยง ยักเยื้องแปรผันไปเช่นนี้ เกี่ยวข้องก็เสียเวลาเปล่า คล้ายๆ กับหลอกๆ ลวงๆ เล่น ไม่จริงไม่จัง อะไร เมื่อเป็นเช่นนี้ใจของเราก็ไม่เกี่ยวข้องในสังขารนั้นๆ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่เกี่ยว ก็ใจมันก็ไม่ติดในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ไม่ติด ไม่เกาะไม่ติด เมื่อไม่ติดแล้วใจไม่เกาะอะไรเลย ใจมันก็ว่างจากสังขารเหล่านั้น ไม่เกี่ยวเกาะในสังขารเหล่านั้น ใจก็ว่าง ใจว่างนั้นแหละ เป็น หนทางหมดจด ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด ใจที่ว่างนั่นแหละเป็นหนทางหมดจด ว่างจากสังขาร เหล่านั้น ไม่เกี่ยวเกาะด้วยสังขารเหล่านั้น ไม่ติดในสังขารเหล่านั้น เรียกว่าใจหมดจด เป็น หนทางบริสุทธิ์ นี่แหละทางบริสุทธิ์ เป็นทางไปของพระอริยบุคคล ตั้งต้นแต่โสดา สกทาคา อนาคา อรหันต์ ไปทางนี้ ไปทางหมดจดนี้ ผู้ที่เป็นวิปัสสนาคามินี ย่อมเห็นแจ้งชัดเจนใน สิ่งที่ไม่เที่ยงทั้งหลาย เหล่านั้น เป็น วิปัสสนาคามินีเห็นแจ้งชัดอยู่ว่าสังขารเหล่านี้ ไม่เที่ยงจริงๆ
    เมื่อไม่เที่ยงแล้วเป็นอย่างไร ในบาทที่ 2 รองรับลงไปว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่ทางหมดจดวิเศษอีกเหมือนกัน ย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เห็นสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เป็นทุกข์จริงๆ นะ ไม่เป็นสุขหรอก ถ้ามีความเกิดแล้วก็เป็นทุกข์ มีเกิดเป็นเบื้องต้น มีแก่แปรไปในท่ามกลาง มีตายไปเป็น อวสาน เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว สังขารทั้งหลายเหล่านั้นล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่เป็นสุข สังขาร ดังกล่าวแล้วจะเป็น ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร สังขารที่เป็นไปใน ภพ 3 กามภพ รูปภพ อรูปภพ หรือ เป็นไปในวัฏฏะทั้ง 3 กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ ทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อเป็นสังขารแล้วจะได้เป็นสุขเป็นอันไม่มี ย่อมเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ก็เทวดาเขาว่าเป็นสุขอย่างไรเล่า เป็นสุขหลอกๆ ไม่ใช่สุขจริงๆ สุขหลอกลวงเหมือนสุข มนุษย์อย่างนี้แหละ ยิ้มแย้มแจ่มใส หัวเราะร่าเริงบันเทิงใจ ประเดี๋ยวหน้าดำคร่ำเครียด เสียอกเสียใจกันวุ่นวายแล้ว แตกกายทำลายนี้แล้ว เจ็บปวดขึ้นแล้ว ตึงตังเกิดขึ้นรบทัพ จับศึก ตายกันสิ้นแล้ว เป็นทุกข์กันจ้าละหวั่นแล้ว เหตุนี้ไม่เที่ยงอย่างนี้ ยักเยื้องแปรผันอยู่ อย่างนี้ แล้วก็เป็นทุกข์จริงๆ อยู่อย่างนี้ สิ่งไม่เที่ยงมีอยู่เท่าไรก็เป็นทุกข์อยู่เท่านั้น ไม่มี สุขเลย ก็เป็นเทวดาเขาว่าเป็นสุขนัก พรหมก็ว่าเป็นสุขนักอย่างไรเล่า ก็สุขชั่วคราว สุข ประเดี๋ยวๆ แล้วก็กลายไปเป็นทุกข์อีกต่อไป เมื่อเห็นจริงเช่นนี้ ไม่ติดไม่เกี่ยวด้วยสังขาร เหล่านี้เสียได้ละก้อ นั่นแหละเป็นหนทางหมดจดวิเศษ ไม่เอาใจไปเกี่ยวกับสังขารเหล่านี้ เป็นหนทางหมดจดวิเศษ นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าของพระอรหันต์ ทางไปของพระอริยบุคคล ทางไปของพระโสดา สกทาคา อนาคา นี่เป็นทางไปอย่างนี้ นี่ได้ชื่อว่าเป็นทางหมดจด วิเศษ เป็นทางไปของวิปัสสนาญาณิกด้วย ที่จะไปสู่โสดา สกทาคาเหล่านั้นได้ ต้องอาศัย รู้จริงเห็นจริงในสิ่งเหล่านั้น นี้เป็นพระคาถาที่ 2
    คาถาที่ 3 ตามลำดับไปว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่าธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทางหมดจดวิเศษ นี่ถึงจะจริง ละได้จริง เอาตรงนี้ แหละว่าธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว ธรรมทั้งปวงน่ะอยู่ที่ไหน สังขารมีที่ไหน ธรรมมีที่นั่น สังขาร อยู่ที่ไหน ธรรมอยู่ที่นั่น ปุญญาภิสังขาร สังขารอันบุญตกแต่ง อปุญญาภิสังขาร สังขารอัน บาปตกแต่ง อเนญชาภิสังขาร สังขารมีสิ่งที่มิใช่บุญมิใช่บาปตกแต่งตามหน้าที่กัน ดังนี้ ธรรมทั้งปวงอยู่ในกายมนุษย์ด้วยกันทุกคน กายมนุษย์นี้ล้วนเป็นปุญญาภิสังขาร
    จะกล่าวถึง ธรรม ทั้งปวงต่อไป คือ เป็นดวงใส มนุษย์ได้มาด้วยความบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ไม่มีร่องพิรุธเลย พอแตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์ ก็ติดดวงธรรม อันนั้น สำหรับให้เกิดเป็นมนุษย์ ได้ดวงธรรมดวงหนึ่งสำหรับเกิดเป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ นี่เป็นกายมนุษย์ มีธรรมดวงเท่านี้ กายมนุษย์ละเอียดก็มีธรรมอีก ดวงหนึ่งเหมือนกัน จึงเป็นกายมนุษย์ละเอียด 2 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว กายทิพย์มีอีกดวงหนึ่งเหมือนกัน กลม 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัว กายทิพย์ ละเอียดมีอีกดวงหนึ่ง 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัวเหมือนกัน กายรูปพรหม 5 เท่า ฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัวเหมือนกัน กายรูปพรหมละเอียด หกเท่าของฟองไข่แดง ของไก่ ใหญ่ กลมรอบตัวเหมือนกัน ใสอยู่กลางกายนั้น ส่วนกายอรูปพรหม เจ็ดเท่าของ ฟองไข่แดงของไก่ กลมรอบตัวเหมือนกัน ส่วนกายอรูปพรหมละเอียด แปดเท่าฟองไข่แดง ของไก่ กลมรอบตัวเหมือนกัน ดวงธรรมนั่นแหละไม่ใช่ตัว เป็นที่อยู่ของตัว เป็นที่อาศัยของตัว เป็นที่ทำตัวให้ปรากฏอยู่ กายมนุษย์นี่แหละเป็นตัว แต่ตัวสมมติทั้งนั้น
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ล่ะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นก็ไม่ใช่ตัว เหมือนกัน แต่ว่าให้ตัวอาศัย ให้ตัวอาศัย คือ กายมนุษย์ละเอียดอาศัย กายมนุษย์ละเอียด ก็ไม่ใช่ตัว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็ไม่ใช่ตัว ให้กายทิพย์อาศัยกายทิพย์ก็ ไม่ใช่ตัว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ไม่ใช่ตัว กายมนุษย์ๆ หมดทั้งร่างกายประกอบด้วย เบญจขันธ์ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่ไม่ใช่ตัวทั้งนั้น ส่วนธรรมที่ทำให้ เป็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ล้วนแต่เป็น อนิจจัง ทุกขัง ทั้งนั้น ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 บังเกิดขึ้นหรืออาศัยอยู่ได้ มันก็ไม่ใช่ตัว ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็ไม่ใช่ตัว ขันธ์ทั้ง 5 ของกายมนุษย์ละเอียดก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง แบบเดียวกัน แล้วก็ไม่ใช่ตัว เป็นอนัตตา ส่วนกายทิพย์ก็ประกอบด้วย เบญจขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง ส่วนดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายทิพย์ก็ไม่ใช่ตัวเหมือนกัน แต่ว่ากายมนุษย์ที่เป็นตัว ก็ตัวโดยสมมติ ดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายมนุษย์ เรียกว่าไม่ใช่ตัวนั่น ไม่ใช่ตัวแท้ๆ เป็นที่อาศัยของตัว เป็นที่อาศัยของ ตัว คือ กายมนุษย์ละเอียด
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็ไม่ใช่ตัว ส่วนเบญจขันธ์ทั้ง 5 ของกาย มนุษย์ละเอียด ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว ซึ่งเป็นกายทิพย์ กายทิพย์ก็ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น อนิจจัง ทุกขัง
    ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว คือ กายทิพย์ ละเอียด กายทิพย์ละเอียดก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว คือ กายรูปพรหม รูปพรหมหมดทั้งร่างกายประกอบด้วยเบญจขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง
    ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว คือ กาย รูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมละเอียดก็ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง
    ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียดก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว คือ กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง ประกอบด้วยเบญจขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัว เหมือนกัน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    ส่วนดวงธรรมที่ให้เป็นกายอรูปพรหมเล่า ก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว คือ กายอรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมละเอียดก็ประกอบด้วยขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง
    ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดก็ไม่ใช่ตัว เป็นที่อาศัยของตัว ตัว เหล่านี้โดยสมมติทั้งนั้น ไม่ใช่วิมุตติ
    สูงขึ้นไปกว่านี้ เข้าถึงกายธรรม กายธรรมคราวนี้เป็นตัวหละ กายธรรมเป็นตัว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม กายธรรมนั่นแหละเป็นตัว กายธรรมนั่นแหละเป็น นิจจัง สุขัง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็เป็นอัตตา ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย 8 กายเบื้องต้น ก็เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว จะเป็นอัตตายังไม่ได้ เพราะยังเป็นสมมติอยู่ กายธรรมของธรรมกาย ละเอียดที่อาศัยดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายอยู่นั่น เรียกว่ากายธรรมละเอียด กายธรรม ละเอียดนั้น แต่ว่าตั้งแต่กายธรรมไปสิบกาย กายธรรม-กายธรรมละเอียด, กายโสดา-โสดาละเอียด, กายสกทาคา-กายสกทาคาละเอียด, กายอนาคา-กายอนาคาละเอียด เหล่านี้ยกเป็นตัวทั้งนั้น ควรยกเป็น นิจจัง สุขัง ทั้งนั้น ส่วนดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย เล่า หมดทั้งก้อนนั่นแหละเป็นอัตตา เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา ส่วนกายพระอรหัต ถ้าถึง พระอรหัตละก้อ เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา แท้ๆ กายธรรมก็มีขันธ์เหมือนกัน แต่เป็นธรรมขันธ์ ท่านไม่เรียกเบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์เสีย มีธาตุเหมือนกัน เป็นวิราคธาตุ เป็นวิราคธรรม เป็นธรรมไปทั้งก้อน เพราะฉะนั้นกายธรรมพระอรหัต เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา หมดทั้งก้อน กายพระอรหัตละเอียดก็เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา หมดทั้งก้อน
    เมื่อรู้จักดังนี้แล้ว ก็นี่แหละถ้าจะไปนิพพานไปได้ทางนี้ ทางอื่นไปไม่ได้ ที่พระองค์ ทรงรับสั่งไว้ อตฺตทีปา อตฺตสรณา นาญฺญสฺสรณา ตนเป็นเกาะ ตนเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่ง ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา นาญฺญสฺสรณา ธรรมเป็นเกาะธรรมเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่ง ตน นั่นแหละเป็นเกาะ ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่ง ธรรมนั่นแหละเป็นเกาะ ธรรม นั่นแหละเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่ง
    เมื่อมาถึงกายมนุษย์เข้า ก็มีตนมีธรรม ตนก็คือกายมนุษย์ นี่ ตนโดยสมมติ ธรรม ก็คือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น พอถึงกายมนุษย์ละเอียด มีตนมีธรรมอย่างนั้นอีก ตนก็คือกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ ธรรมก็คือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด นั่นแหละ ส่วนกายทิพย์ก็แบบเดียวกัน กายทิพย์ละเอียดก็แบบเดียวกัน กายรูปพรหม ก็แบบเดียวกัน กายรูปพรหมละเอียดก็แบบเดียวกัน กายอรูปพรหมก็แบบเดียวกัน กาย อรูปพรหมละเอียดก็แบบเดียวกัน กายทั้ง 8 กาย มีตนมีธรรมแบบเดียวกัน
    ถึงพระธรรมกายทั้งสิบกาย ธรรมกายโคตรภู ธรรมกายนั่นแหละเป็นตนหละ เป็น ตนโดยวิมุตติด้วย ไม่ใช่สมมติด้วย กายธรรมนั่นเป็นตนหละ ดวงธรรมที่เป็นธรรมกาย กลม รอบตัว โตเท่าหน้าตักของธรรมกาย นั่นก็เป็นธรรมหละ กายธรรมละเอียดก็มีตนเหมือนกัน กายธรรมโสดาละเอียดก็มีตนมีธรรมแบบเดียวกัน กายธรรมสกทาคาละเอียดก็มีตนมีธรรม แบบเดียวกัน กายธรรมพระอนาคาละเอียดก็มีตนมีธรรมแบบเดียวกัน กายธรรมพระอรหัต ละเอียดก็มีตนมีธรรมเป็นแบบเดียวกัน แบบเดียวกันแท้ๆ สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่ง จะไปพึ่งสิ่งอื่น นอกจากตนที่ทำให้เป็นตนนี้ไม่ได้
    แต่ว่ากายทั้งแปดอยู่ในภพนั้น ตนก็เป็นโดยสมมติ ธรรมก็เป็นโดยสมมติเหมือนกัน ไม่ใช่วิมุตติทั้งนั้น ส่วนตนและธรรมที่เป็นธรรมกาย โสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด สกทาคา ทั้งหยาบทั้งละเอียด อนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด นี่แหละเป็นพวกวิมุตติทั้งนั้น แต่ไม่ใช่วิมุตติ ขาดเด็ดลงไป วิมุตติขาดเด็ดก็ได้แก่พระอรหัต ตนก็เป็นวิมุตติขาดเด็ดทีเดียว ส่วนธรรมก็ วิมุตติขาดเด็ดทีเดียว หมดจากสังโยชน์เบื้องต่ำเบื้องสูงหมด หลุดไปหมดทีเดียว นี่ได้ชื่อว่า เป็นตน เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา เข้าถึงพระอรหัตทีเดียว นี่แหละแน่แท้ไม่ต้องสงสัย เมื่อเข้าใจ ดังนี้ ท่านจึงได้เชิดชี้ตำรับตำราวางลงไว้ว่า อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน ใน บรรดามนุษย์ทั้งหลาย ชนเหล่าใดมีปกติไปถึงฝั่งคือพระนิพพาน ชนเหล่านั้นมีประมาณ น้อย ไม่ใช่ไปง่ายๆ ถึงพระอรหันต์แล้วจึงไปได้ ถึงธรรมกายแล้วไปได้ ถึงพระอรหันต์ ไปเลยไม่กลับ ถ้าถึงธรรมกายไปแล้วกลับ เหมือนวัดปากน้ำมีธรรมกายกันตั้ง 150 กว่า ไป นิพพานได้ทั้งนั้น ไปแล้วกลับ ไปแล้วกลับมา มีน้อยนักที่มีปกติไปสู่นิพพาน มีน้อยนัก อถายํ อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ ส่วนชนนอกนี้ย่อมเลาะชายฝั่งแน่แลคืออยู่ฝั่งข้างภพนี้ ไม่ไปนิพพาน งุ่มง่ามอยู่ในฝั่งข้างนี้ ภิกษุสามเณรตั้งใจจะไปนิพพานกัน แต่ก็เลาะอยู่ชายฝั่ง นั่นเอง ไปไม่ได้กัน ไม่ถึงธรรมกายไปไม่ได้ ถึงธรรมกายแล้วก็ไปนิพพานได้ ไปไม่ได้แหละ เรียกว่าเลาะชายฝั่ง เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน ก็ส่วนชนทั้งหลายเหล่าใด มีปกติประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวชอบแล้ว ตามหลักของทางมรรค ผลไป อย่าให้เคลื่อนจากทางมรรคผลนั้น ได้ชื่อว่าปฏิบัติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคต เจ้ากล่าวชอบแล้ว เป็นทางมรรคผล ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่ให้ไป ทางนี้ ทางอื่นไม่มี มีทางเดียวเท่านี้ เป็นเอกายนมรรค เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ ใครปฏิบัติ ถูกต้องร่องรอยเช่นนั้น ย่อมถึงซึ่งฝั่งคือพระนิพพานแท้ๆ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ล่วงเสียซึ่ง วัฏฏะอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุอันบุคคลข้ามได้ยากนัก ล่วงวัฏฏะ นั้น กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ เป็นที่ตั้งของมัจจุ เพราะวัฏฏะเป็นที่ตั้งของมัจจุ ต้องตายอยู่ร่ำไป ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายเรื่อย เมื่อเป็นเช่นนี้ ที่จะพ้นไปจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายนี้ ได้ยากนัก ไม่ใช่เป็นของได้ง่าย หลักเป็นดังนี้ เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ควรแน่ ในใจของตัวเสียว่า วัฏฏะเป็นที่ตั้งของมัจจุนี้ มันเป็นตัวกิเลสแท้ๆ ถ้าเราไม่พ้นกิเลสตราบใด ละก้อ เราต้องเวียนว่ายตายเกิดในกามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่จบไม่แล้วล่ะ ต้องเข้าถึง ธรรมกายให้ได้ ไปดูนิพพานให้ได้ ถ้าไปดูนิพพานเห็นได้แล้วละก็ จะชอบใจสักเพียงไหน ไปดูที่นิพพานเป็นอย่างนี้ กามภพเป็นอย่างนี้ กามภพนั่นไม่ใช่พอดีพอร้ายนะ ยังมีอบายภูมิ ทั้ง 4 ถ้าประพฤติผิดความดีคราวใดละก้อ เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็น อสุรกายบ้าง เป็นสัตว์นรกบ้าง ต้องตกลงไปโน้น นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะกิเลสมันบังคับ ให้เป็นไป ต้องรับทุกข์ลำบากอย่างนั้น เมื่อรู้จักเช่นนั้นแล้ว ตั้งใจเสียให้แน่แน่วว่า เราจะ ดำเนินตามร่องรอยของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไปสู่มรรคผลนิพพานดีกว่า เป็นสุขพิเศษ ไพศาลนัก อื่นไม่มี ยิ่งกว่านิพพานเป็นไม่มี เมื่อรู้จักเช่นนี้ให้ตั้งใจหมายมั่นให้เราเห็นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว หลีกจากสังขารทั้งหลายที่ ไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายที่เป็นทุกข์ หลีกจากสังขารเหล่านั้นไปเสีย ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว หลีก จากธรรมที่ไม่ใช่ตัวไปเสีย เข้าถึงตัวให้ได้ เข้าถึงธรรมกายให้ได้ ธรรมกายเป็นตัว ธรรมกาย เที่ยง อื่นจากธรรมกายนั้น เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี่กายในภพ ส่วนธรรมกายนั้นเป็น นิจจัง สุขัง อัตตา นี่เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งนั้น แต่ว่าจะไปทางธรรมกาย ต้องใจหยุด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดง ของไก่ หยุดอยู่นั้นแหละ หยุดหนักเข้า เข้ากลางของหยุดนั่นไป ก็จะเข้าถึงกายมนุษย์ ละเอียด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด ไปทีเดียว นี่ไปทางนี้ ไปทางอื่นไม่ได้ ผิดทั้งนั้น ให้รู้จักหลัก อันนี้ ตั้งใจให้มั่น มาประสบพบพุทธศาสนา เราจะต้องดำเนินให้ถูกร่องรอยของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ให้ได้ จะได้ไปนิพพานในอัตภาพที่เป็นมนุษย์นี้ จะประสบความสุขสมมาดปรารถนา ที่ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่ เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดิ์จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกทั่วหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดย อรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504

    เมื่อ “เจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง” ... สุดละเอียดเข้าไป
    จึงพบความจริงข้อหนึ่งที่ว่า ...
    สัตว์โลกทั้งหลาย ... มีธาตุธรรมที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน “สายธาตุธรรมเดียวกัน” (สายขาว,สายกลาง,สายดำ)
    เพราะมาจาก ... ธาตุธรรม(ต้นธาตุต้นธรรม)เดียวกัน

    โดยเหตุนี้
    เมื่อผู้ถึงธรรมกาย ... “เจริญภาวนาวิชชาชั้นสูง”
    ซึ่งเป็น ... การสะสางธาตุธรรมของตนเอง
    จึงมีผลถึง ... ธาตุธรรมของสัตว์อื่น
    ในสายธาตุธรรมเดียวกันโดยอัตโนมัติ (มากน้อยตามส่วน)

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร) จึงได้กล่าวเสมอว่า ...
    “ธรรมกายนั้นแหละ คือ ที่พึ่งของสัตว์โลก”
    และว่า “ธรรมกายคนหนึ่ง ช่วยคนได้ครึ่งเมือง”


    * คัดลอกบางตอนจากหนังสือ อานุภาพธรรมกาย
    โดย มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    ในโครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    27067179_1967586219925762_5992885265038807364_n.jpg



    27073090_1967586013259116_1130581471387231291_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    #วิธีถอดขันธ์๕

    วิธีถอดเบญจขันธ์เบื้องต้นต้องสำรวม ที่จะสำรวมน่ะ ต้องพิจารณา #เบญจขันธ์ ทั้ง ๕ เสียก่อน ว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม #เป็นของไม่ดีไม่งามนะ เป็นของหนักจริงๆ นะ รู้ว่าเป็นของหนักแล้ว เริ่มต้นทีเดียว เมื่อเห็นว่าหนักละก็ เริ่มต้นสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลยทีเดียว

    #สำรวมระวังไว้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มากระทบ คอยระวังไว้ สำรวมไว้ให้ดี เมื่อระวังให้ดีแล้ว#สละความยินดียินร้ายไม่ให้มากระทบ ไม่ให้ความชอบความไม่ชอบ ซึ่งเป็นกิเลสหยาบเข้ามากระทบได้ สละเสีย เมื่อสละเช่นนั้นถ้าว่าเกียจครัานไม่ได้นะ ต้องหมั่นขยันที่เดียว #ต้องมีความเชื่อมั่นว่าปล่อยได้จริง แล้ว #ขยันหมั่นเพียรจริงๆ นั่นแหละจึงจะปล่อยได้.

    จาก พระธรรมเทศนากันฑ์ที่ ๙
    เรื่อง ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก
    ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๖


    26991608_180371049230380_221487492902319418_n.jpg
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    PaliTuition61.jpg
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    ปัจฉิมวาจา

    18 กุมภาพันธ์ 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    ภาสิตา โข ปน ภควตา ปรินิพฺพานสมเย อยํ ปจฺฉิมวาจา หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ. ภาสิตญฺจิทํ ภควตา เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยานิ กานิจิ ชงฺคลานํ ปาณานํ ปทชาตานิ สพฺพานิ ตานิ หตฺถิปเท สโมธานํ คจฺฉนฺติ หตฺถิปทํ เตสํ อคฺคมกฺขายติ ยทิทํ มหนฺตตฺเตน. เอวเมว โข ภิกฺขเว เยเกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อปฺปมาทมูลกา อปฺปมาทสโมสรณา อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายตีติ. ตสฺมา ติหมฺเหหิ สิกฺขิตพฺพํ ติพฺพาเปกฺขา ภวิสฺสาม อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน อธิจิตฺตสิกขาสมาทาเน อธิปญฺญาสิกฺขาสมาทาเน อปฺปมาเทน สมฺปาเทสฺสามาติ. เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพนฺติ.



    นึกถึงความเสื่อมอยู่เสมอ ให้เจอความเสื่อมไว้เสมอ นึกหนักเข้าๆ แล้วใจหาย เอ๊ะนี่เรามาคนเดียวหรือ เอ๊ะนี่เราก็ตายคนเดียวซิ บุรพชนต้นตระกูลของเราไปไหนหมดล่ะ อ้าวตายหมด เราล่ะ ก็ตายแบบเดียวกัน ตกใจล่ะคราวนี้ ทำชั่วก็เลิกละทันที รีบทำความดีโดยกะทันหันทีเดียว เพราะไปเห็นอ้ายความเสื่อมเข้า ถ้าไม่เห็นความเสื่อมละก้อ กล้าหาญนัก ทำชั่วก็ได้ ด่าว่าผู้หลักผู้ใหญ่ได้ตามชอบใจ ถ้าเห็นความเสื่อมเข้าแล้ว กราบผู้ใหญ่ปะหลกๆๆ ทีเดียว เพราะเหตุอะไรล่ะ เพราะเห็นความเสื่อมเข้า มันไม่ประมาท



    ณ บัดนี้ท่านทั้งหลายทั้งหญิงและชาย คฤหัสถ์ บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า มาสโมสรสันนิบาตในพระอุโบสถวัดปากน้ำ ณ เวลาวันนี้ ล้วนมีสวนเจตนาใคร่เพื่อจะสดับตรับรับฟังพระธรรมเทศนาในวันมาฆบูชา สมเด็จพระบรมศาสดาไว้อาลัยให้แก่เราท่านทั้งหลาย ให้เป็นเครื่องประจำใจของเราท่านทั้งหลายทุกถ้วนหน้า เรียกว่า ปัจฉิมวาจา พระองค์ทรงรับสั่งพระวาจานี้ แล้วหับพระโอษฐ์ไม่ทรงรับสั่งต่อไป

    พระวาจาอันนี้เป็นที่ตรึงใจของหญิงชายในโลกทุกถ้วนหน้า ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต สมเด็จพระบรมสามิตสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้อาลัยให้แก่เราท่านทั้งหลายในเรื่อง วยธรรม ของ สังขารทั้งหลาย อาลัยอันนี้แหละเป็นปัจฉิมวาจาของพระจอมไตร ให้เราจำไว้อย่าลืมหลงว่า เราต้องเป็นอย่างนี้แน่ไม่แปรผัน เมื่อทราบชัดด้วยใจของตนมั่นในขันธสันดานแล้ว ความเสื่อมไปของสังขารทั้งหลาย หรือสังขารทั้งหลายเสื่อมไป ไม่ได้มีถอยกลับเลยแม้แต่สังขารใดสังขารหนึ่ง อาศัยสราคธาตุสราคธรรม หรืออาศัยวิราคธาตุวิราคธรรม เกิดขึ้นที่เรียกว่าสังขาร สิ่งที่มีขึ้นเกิดขึ้น ปรุงขึ้นแล้ว ตกอยู่ในความแปรไป เสื่อมไป ไม่มีเหลือเลยแม้สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง เสื่อมไปทั้งนั้น ความเสื่อมอันนี้แหละเป็นเครื่องประจำใจของเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต หญิงชายทุกถ้วนหน้า ให้นึกถึงความเสื่อมอันนี้ไว้

    ความเสื่อมน่ะจะนึกที่ไหน นึกถึงในตัวของเรานี่ อัตภาพร่างกายนี้ไม่คงที่เลย ตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาก็เสื่อมเรื่อยไป เสื่อมไปตามหน้าที่ เสื่อมขึ้น เสื่อมลง เสื่อมขึ้น ก็เจริญขึ้นเป็นลำดับไป พอเต็มอายุก็เสื่อมลงเรื่อยไป เสื่อมไม่มีหยุดเลย เสื่อมเรื่อย เมื่อเสื่อมเป็นดังนี้ละก็ สิ่งทั้งสิ้นหมดทั้งสากลโลก ที่เราได้เห็นด้วยตา หรือได้ยินด้วยหู หรือได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย รู้แจ้งทางใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเสื่อมทั้งนั้น ไม่มีความตั้งอยู่ได้มั่นอยู่ได้สักชั่วกัลปาวสานเลย มีความเสื่อมเป็นเบื้องหน้า ให้นึกความเสื่อมอันนี้แหละให้ติดอยู่กับใจของอาตมา [ของตนเอง] ถ้านึกถึงความเสื่อมดังนี้ละก็ สังเกตได้นะ หัวเราะเสียงดังไม่ค่อยมีหรอก อย่างดัง ก็แต่ยิ้มๆ แหละ เพราะมันนึกถึงความเสื่อมอยู่ มันไม่ไว้ใจทั้งนั้น นึกว่าเสื่อมแล้ว หน้าไม่ค่อยดีหรอก หัวเราะดังกับเขาไม่เป็นหรอก เป็นแต่ยิ้มๆ อย่างขบขันเต็มทีก็เป็นแต่ยิ้มๆ เท่านั้น หรือแย้มโอษฐ์เท่านั้น มันนึกถึงความเสื่อมประจำใจอยู่

    ถ้านึกถึงความเสื่อมประจำใจได้ดังนี้ละก็ หากว่าเป็นภิกษุสามเณรจะต้องเรียนเป็นนักปราชญ์ของเขาได้ ทางคันถธุระ ทางวิปัสสนาธุระ เพราะแกนึกถึงความเสื่อมอยู่ ถ้าเป็นหญิงเป็นชาย เป็นฆราวาสครองเรือน จะต้องมีหลักฐานมั่นคงใหญ่โตทีเดียว ไม่ใช่คนเหลวไหล ไม่ใช่คนเลวทราม ต้องเป็นคนอยู่ในความพยายามทีเดียว มันหมดไปสิ้นไป รออยู่ไม่ได้ ใจกายขยันนัก เพราะนึกถึงความเสื่อมอยู่ แกไม่รอผู้หนึ่งผู้ใดล่ะ แกกลัวชีวิตของแกจะหมดไป แกรักษาชีวิตของแก หากว่าแกจะมารักษาศีลทางวัด แกก็ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดทีเดียว แกกลัวชีวิตมันหมดไปเสีย กลัวจะไม่ได้ศีลเต็มที่ เป็นแต่เพียงรักษาศีล กลัวจะไม่เข้าถึงอธิศีล ถ้าว่าแกทำสมาธิล่ะ แกก็ทำได้อย่างงดงามทีเดียว เพราะแกพยายามไม่หยุดยั้ง แกกลัวชีวิตจะไม่พอ แกรีบทั้งกลางวันกลางคืนทีเดียว นี้สมาธิของแกก็มั่นคง ผิดกับบุคคลธรรมดา ถ้าแก เจริญทางปัญญาล่ะ แกก็โชติช่วงทีเดียว คนอื่นไม่อาจที่จะเข้าถึง เพราะแกคำนึงถึงความเสื่อมของอัตภาพร่างกายของแกอยู่เสมอ แกทำปัญญาได้รุ่งเรืองเจริญดี แกทำธรรมละก้อ เจริญดีทีเดียว เพราะแกนึกถึงความเสื่อม ทางโลกก็เจริญดีเหมือนกัน เพราะแกกระวีกระวาดจัดแจง ให้เรียบเสียในการเลี้ยงชีพ จะได้ทำความดียิ่งขึ้นกว่านั้นต่อไป เหตุนี้ความเสื่อมที่พระจอมไตรวางโอกาสไว้ให้เราท่านทั้งหลายนะ ตรึงใจไว้ในวันมาฆบูชา ที่พระจอมไตรทรงรับสั่งในเรื่องธรรม ในวันมาฆบูชาน่ะเป็นโอวาท ย่อย่นสกลพุทธศาสนาสำคัญนัก

    แต่วันนี้จะกล่าวในโอวาทสุดท้าย ที่เรียกว่า ปัจฉิมวาจา ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้เป็นนิเขปกถาว่า ภาสิตา โข ปน ภควตา ปรินิพฺพานสมเย อยํ ปจฺฉิมวาจา หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถาติ. แปลเนื้อความว่า จริงอยู่ วาจาสุดท้ายนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับสั่งแล้วว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลาย เราเรียกท่านทั้งหลายเข้ามาสู่ที่เฝ้าเรานี้ว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ” นี่จำไว้อันนี้ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ สิ่งที่ได้เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ได้รู้แจ้งทางใจ เสื่อมไปเสมอ ไม่เหลือเลย อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ท่านจงถึงพร้อมด้วยความไม่เผลอไม่ประมาท ท่านจงถึงพร้อมด้วยความไม่เผลอในความเสื่อมไปนั้น ให้ตรึงไว้กับใจเสมอ นี้แหละเจอละ ทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เป็นหนทางหมดจดวิเศษทีเดียว นึกถึงความเสื่อมอันนั้น นึกถึงความเสื่อมได้เวลาไรละก้อ บุญกุศลยิ่งใหญ่เกิดกับตนเวลานั้น ให้นึกอย่างนี้ นี่เป็นข้อสำคัญ นี้เนื้อความของพระบาลีแปลเป็นสยามภาษาได้ความดังนี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายเป็นลำดับไปว่า ความเสื่อมอันนี้แหละมีอยู่กับใครบ้าง หมด เราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต หญิงชาย เด็กเล็กผู้ใหญ่ไม่ว่า เสื่อมทีละนิดๆๆ เหมือนกับนาฬิกาเดิน เหมือนกันทุกคน ติณชาติ พฤกษชาติ รุกขชาติ วัลลีชาติใดๆ ไม่เหลือเลย ในกำเนิดทั้ง 4 สังเสทชะ อัณฑชะ ชลาพุชะ โอปปาติกะ

    อัณฑชะ สัตว์เกิดด้วยฟองไข่ ก็เสื่อมเหมือนกัน สังเสทชะ สัตว์เกิดด้วยเหงื่อไคล ก็เหมือนกัน ชลาพุชะ เกิดขึ้นอาศัยน้ำเป็นแดนเกิด ก็เสื่อมเหมือนกัน โอปปาติกะ จะลอยขึ้นบังเกิด บังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 เปรต นรก อสุรกาย เหล่านี้ หรือว่าเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานก็เสื่อม เกิดเป็นกายทิพย์ ภุมมเทวดา รุกขเทวดา อากาศเทวดา จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี ก็มีเสื่อมอีกเหมือนกัน เสื่อมทีละนิดๆ ไปตามหน้าที่ พอหมดหน้าที่ก็แตกกายทำลายขันธ์ เสื่อมอย่างนี้เหมือนกันหมด หรือไปเกิดในชั้นพรหม ทั้ง 16 ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิต มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา อสัญญี เวหัปผลา ก็เสื่อมเหมือนกัน แบบเดียวกัน ไม่คลาดเคลื่อน อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา ในปัญจสุทธาวาส ก็เสื่อมเหมือนกัน หรืออรูปพรหมทั้ง 4 อากาสานัญจายตนภพ วิญญาณัญจายตนภพ อากิญจัญญายตนภพ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ ก็มีความเสื่อมดุจเดียวกัน

    เมื่อมีความเสื่อมเช่นนี้นะ พระพุทธองค์ประสงค์อะไร จะต้อนพวกเราให้พ้นจากความเสื่อมเหล่านี้ ให้ออกจากภพไปเสีย ให้เข้าถึงธรรมกายไปนิพพาน ต้องการอย่างนั้นหนา ไม่ใช่ต้องการท่าอื่นหนา จะต้อนพวกเรา จะขับจูงพวกเรา จะเหนี่ยวรั้งพวกเราพ้นจากไตรวัฏ กรรมวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ให้ขึ้นจาก วัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารน่ะคือ กรรมวัฏ วิปากวัฏ กิเลสวัฏ ที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารนี้ จะให้ขึ้นจากภพ กามภพ รูปภพ อรูปภพ พ้นจากภพทั้ง 3 ไป ให้มีนิพพานมีที่ไปในเบื้องหน้า ประสงค์อย่างนั้นจึงได้ทรงรับสั่ง เช่นนี้ ให้เราไม่เผลอในความเสื่อมนั้น ถ้าไม่เผลอในความเสื่อมนั้น ทำอะไรเป็นได้ผลหมด เป็นภิกษุสามเณรทำอะไรเป็นได้ผลหมด เล่าเรียนก็สำเร็จ คันถธุระก็สำเร็จ วิปัสสนาก็สำเร็จ ไม่ท้อถอยกันละ ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกาทำนาก็รวยกันยกใหญ่ ทำสวนก็รวยกันยกใหญ่ ทำไร่ก็ร่ำรวยกันยกใหญ่ เป็นคนไม่เกียจคร้านทีเดียว ถ้าว่ารับราชการงานเดือนก็เอาดีได้ทีเดียว หรือไม่ว่าทำหน้าที่อันใดเป็นเอาดีได้ทั้งนั้น รุ่งเรืองเจริญด้วยกันทั้งนั้น เพราะแกไม่เผลอ แกระวังตัวอยู่เสมอเช่นนี้ แล้วก็ทางชั่วแกไม่ทำทีเดียว แกกลัวมันตามไปลงโทษแก แกไม่ยอมเด็ดขาดทีเดียว แกเห็นความเสื่อมอยู่เสมอดังนี้ ให้เห็นอยู่อย่างนี้แหละจึงจะเอาตัวรอดได้ ถ้าไม่เห็นอย่างนี้เอาตัวรอดไม่ได้ ต้องเห็นความเสื่อมอยู่เช่นนี้

    เมื่อเห็นความเสื่อมดังนี้แล้ว ท่านอุปมาอุปไมยไว้หลายนัยหลายประการ อุปมาอุปไมยไว้ว่า ภาสิตํ อิทํ ภควตา คำอันนี้พระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งแล้วว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยานิ กานิจิ ชงฺคลานํ ปาณานํ ปทชาตานิ สพฺพานิ ตานิ หตฺถิปเท สโมธานํ คจฺฉนฺติ หตฺถิปทํ เตสํ อคฺคมกฺขายติแปลเนื้อความว่า ปทชาติทั้งหลาย รอยเท้าสัตว์ทั้งหลายทั้งหมดในชมพูทวีป ปทชาตานิ น่ะ เขาแปลว่า ปทชาติทั้งหลาย ทับศัพท์ ถ้าว่าจะขยาย [ความ] รอยเท้าสัตว์หมดทั้งชมพูทวีป ไม่เหลือเลย ปทชาติทั้งหลายของสัตว์ที่ไปด้วยแข้ง ยานิ กานิจิ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง สพฺพานิ ตานิ ปทชาติทั้งหลายเหล่านั้นทั้งสิ้น คจฺฉนฺติ ย่อมถึง สโมธานํ ซึ่งการประชุมลง หตฺถิปเท ในรอยเท้าแห่งช้าง แปลเนื้อความออกไปดังนี้ หตฺถิปทํ อันว่ารอยเท้าแห่งช้าง เตสํ อคฺคมกฺขายติ อันบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เลิศกว่าประเสริฐกว่าปทชาติทั้งหลายเหล่านั้น เรียกว่ารอยเท้าช้างเป็นใหญ่กว่ารอยสัตว์อื่นทั้งหมด เลิศกว่ารอยสัตว์ทั้งหมด เสยฺยถาปิ แม้ฉันใด ยทิทํ มหนฺตตฺเตน นี้อะไร เพราะรอยเท้าของช้างนั้นเป็นวิปทชาติใหญ่

    เอวเมว โข ภิกฺขเว เย เกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อปฺปมาทมูลกา อปฺปมาทสโมสรณา อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายติ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เย เกจิ กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นกุศลเหล่าใด สพฺเพ เต ธรรมเป็นกุศลทั้งสิ้น อปฺปมาทมูลกา มีความไม่ประมาทเป็นต้นเค้า เป็นโคน รากทีเดียว มีความไม่ประมาทเป็นต้นเค้า อปฺปมาทสโมสรณา ประชุมลงด้วยความไม่ประมาท อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายติ ความไม่ประมาทบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ ตสฺมา ติหมฺเหหิ สิกฺขิตพฺพํ เพราะเหตุนั้นเราควรศึกษา ติพฺพาเปกฺขา ภวิสฺสามิ เราจักเป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญ เราจะเป็นผู้บากบั่นตรากตรำ เราจะเป็นผู้บากบั่นมั่นคง จะเป็นผู้ดำรง อยู่ด้วยความไม่ประมาท ในอันสมาทานซึ่งอธิศีล ในอันสมาทานซึ่งอธิจิต ในอันสมาทานซึ่ง อธิปัญญา นี้ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา 3 ข้อนี้เป็นข้อที่คาดคั้นนัก ความประมาทหรือความ ไม่ประมาท 2 อันนี้เป็นข้ออันสำคัญ ความประมาททำให้เสื่อมเสีย ความไม่ประมาทไม่ทำให้เสื่อมเสีย ธรรมของพระบรมศาสดาจบพระไตรปิฎกมีความไม่ประมาทนี่แหละเป็นต้นเค้า ที่จะดำเนินถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระบรมศาสดา ที่จะพลาดพลั้งไม่ถูกต้องร่องรอย ความประสงค์ของพระบรมศาสดาก็เพราะความประมาท นี่เป็นข้อสำคัญนัก

    ความประมาทน่ะคือเผลอไป ความไม่ประมาทน่ะคือความไม่เผลอ ไม่เผลอล่ะ ใจจด ใจจ่อทีเดียว นั่น อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา นี่เรียกว่าผู้ไม่ประมาท ท่านจึงได้อุปมาไว้ ไม่ประมาท ไม่เผลอด้วยอะไร ไม่ประมาทไม่เผลอในความเสื่อมไปในข้างต้น ในปัจฉิมวาจา ไม่ประมาท ไม่เผลอ ในความเสื่อมไป นึกถึงความเสื่อมอยู่เสมอ ให้เจอความเสื่อมไว้เสมอ นึกหนักเข้าๆ แล้วใจหาย เอ๊ะนี่เรามาคนเดียวหรือ เอ๊ะนี่เราก็ตายคนเดียวซิ บุรพชนต้นตระกูลของเราไปไหนหมดล่ะ อ้าวตายหมด เราล่ะ ก็ตายแบบเดียวกัน ตกใจล่ะคราวนี้ ทำชั่วก็เลิกละทันที รีบทำความดีโดยกะทันหันทีเดียว เพราะไปเห็นอ้ายความเสื่อมเข้า ถ้าไม่เห็นความเสื่อมละก้อ กล้าหาญนัก ทำชั่วก็ได้ ด่าว่าผู้หลักผู้ใหญ่ได้ตามชอบใจ ถ้าเห็นความเสื่อมเข้าแล้ว กราบผู้ใหญ่ปะหลกๆๆ ทีเดียว เพราะเหตุอะไรล่ะ เพราะเห็นความเสื่อมเข้า มันไม่ประมาท ถ้าว่าประมาท เข้าก็ไปอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้นสำคัญนัก ความประมาท

    ความประมาทน่ะ คืออะไรทำให้ประมาทล่ะ สุราซิ ความเมาซิ ทำให้ประมาท ความเมานั่นแหละ ถ้าว่าไปขลุกขลุ่ยกับมันนัก ไปคุ้นเคยกับมันหนักเข้าละก้อ มันทำให้เสียคนนะ ไม่รู้จักพ่อไม่รู้จักแม่พี่ป้าน้าอาปู่ย่าตายาย ว่าต่ำๆ สูงๆ นี่เพราะมันเมา อ้ายเมาสุราน่ะมีเวลาสร่างนะ อ้ายเมาอีกอย่างหนึ่งล่ะ อ้ายนั่นเมาสำคัญ เขาเรียกว่าเมามัน ถ้าว่าช้างก็เรียกว่า เมามัน อ้ายเมามันนี่สำคัญนัก อ้ายเมามันนี่ไม่ได้ พ่อแม่เลี้ยงลูกหญิงลูกชายมาน่ะ ถ้าเมามันขึ้นมาแล้วก็ไม่ได้ละ แม้ว่าเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้นแหละ หญิงก็ลงจมูกฟิดทีเดียว ชายก็ลงจมูกฟิด ลงจมูกฟิดแล้วก็ไปแล้ว เหนี่ยวไม่อยู่รั้งไม่อยู่ พ่อแม่ก็รั้งไม่อยู่ไปเสียแล้ว นั่นแน่ มันเมาขึ้นมาแล้วอย่างไรล่ะ อ้ายนั่นสำคัญ อ้ายนั่นประมาท นี่เป็นเหตุประมาทสำคัญ อ้ายเมามันนั่นแหละประมาท ถ้าว่าช้างเรียกว่ากลัดมัน ไม่กลัวใครจะอ้ายนั่น ไม่กลัวใคร นั่นแน่ ในคุกตะรางเมามันทั้งนั้น ไปอยู่โน่น ถ้าเมามันละก้อ ประมาทยกใหญ่ ถ้าเมาสุราก็ประมาทยกใหญ่ ถ้าว่าเมามันด้วย เมาสุราด้วย 2 อย่างละก้อ เสียยกใหญ่ทีเดียว ประมาท ตั้งอยู่ในประมาทแท้ๆ ทีเดียว นี่ความประมาท ไม่ประมาทมันอยู่อย่างนี้นะ ให้เลิกเมามันเสีย ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท

    รอยเท้าของสัตว์หมดทั้งสากล จะเป็น 4 เท้า 2 เท้าไม่เข้าใจ ต้องประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างน่ะเป็นของใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์อื่นหมดทั้งสิ้น ฉันใดก็ดี ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลที่ดีน่ะ หมดทั้งสกลพุทธศาสนา หมดทั้งพระไตรปิฎกทั้งหลายที่เป็นกุศลนั่น ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูลราก นั่นแน่ อปฺปมาทมูลกา มีความไม่ประมาทเป็นต้นเค้า มีความไม่ประมาทเป็นมูลราก อุปฺปมาทสโมสรณา ประชุมลงในความไม่ประมาท เหมือนรอยเท้าสัตว์อื่นประชุมลงในรอยเท้าช้าง ธรรมที่เป็นกุศลทั้งหมดประชุมอยู่ในความไม่ประมาททั้งนั้น นี้หลักพระพุทธศาสนาอยู่ตรงนี้ ไม่ให้ประมาท เมื่อไม่ประมาท ความดีมีเท่าไรในพระพุทธศาสนา ในธาตุในธรรม ย่อมประชุมลงในความไม่ประมาท คนไม่ประมาท ผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทแล้ว คนมีธรรมควรไหว้ควรเคารพควรนับถือทีเดียว คนมีธรรม คนตั้งอยู่ในธรรม นี้แล ความไม่ประมาทนี้นักปราชญ์สรรเสริญนัก อปฺปมาโท เตสํ อคฺคมกฺขายติ ว่าเลิศประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลายแล้ว กล่าวไว้อีกหลายนัย อปฺปมาทรโต วิโรจติ ผู้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทย่อมรุ่งโรจน์ทีเดียว เป็นของไม่ใช่พอดีพอร้าย เพราะฉะนั้นความประมาทและไม่ประมาทนี้ นักปราชญ์ทั้งหลายสรรเสริญความไม่ประมาทว่าเป็นธรรมของนักปราชญ์ บัณฑิตชาติทั้งหลายดำเนินอยู่เนืองนิตย์อัตรา ความประมาทนักปราชญ์ทั้งหลายติเตียนว่า เป็นทางไปของคนเมา ของคนไม่มีสติ ของคนพลั้งเผลอ ของคนพาล ไม่ใช่ทางไปของบัณฑิต ความไม่ประมาทเป็นทางไปของบัณฑิตแท้ๆ

    ใครเป็นคนไม่ประมาทในสากลโลก เมื่อครั้งพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ พระบรมศาสดาเป็นผู้ไม่ประมาท พระอรหันต์ทั้งหลายที่ได้บรรลุอรหัตแล้วเป็นผู้ไม่ประมาท ก็ได้แก่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์น่ะซิเป็นผู้ไม่ประมาท นั่นอย่างสูงอย่างเด็ดขาด ไม่ประมาทแท้ๆ ถ้าจะลดส่วนกว่านั้นลงไป พระอนาคาก็ไม่ประมาทตามส่วนของท่านทั้งมรรคทั้งผล พระสกทาคาก็ไม่ประมาทตามส่วนของท่านทั้งมรรคทั้งผล พระโสดาก็ไม่ประมาทตามส่วนของท่านทั้งมรรคทั้งผล โคตรภูบุคคลที่มีธรรมกายแล้วก็ไม่ประมาทเหมือนกัน มีความประมาทน้อย ความไม่ประมาทมีมาก ถ้าปุถุชนแท้ๆ ละก้อ น้อยคนจึงจะมีความไม่ประมาทมาก มีความประมาทมากโดยมาก มีความประมาทน้อยโดยน้อย นี้ความจริงเป็นเช่นนี้ เมื่อรู้จักความจริงเช่นนี้แล้ว สิ่งที่ดีที่หายาก ถ้าว่าเราตั้งอยู่ได้ในความไม่ประมาท คอยนึกถึงความเสื่อมไป มีอารมณ์อยู่ ไม่ใช่ไม่มีอารมณ์ ว่าตั้งใจว่าเรานึกถึงความเสื่อมนี้ว่า ตั้งแต่นี้ไปเมื่อรู้ เมื่อเข้าใจแล้ว จะนึกถึงความเสื่อมในสกลร่างกายนี้ไม่ขาดอยู่ จะเอาใจจรดอยู่ที่ความเสื่อมนั่นแหละ เราจะนึกถึงความเสื่อมของตน นึกถึงความเสื่อมบุคคลผู้อื่น เมื่อลืมตาขึ้นเห็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา แน่ะความเสื่อมมันแสดงให้ดู นั่นแปรผันไปถึงแค่นั้น แล้วมันก็แปรผันไปถึงแค่นั้น ประเดี๋ยวก็ตายให้ดู แน่ะทำให้ดูแล้ว ได้ยินเสียงพระสวดก็ดี เห็นโลงก็ดี แน่ะเป็นอย่างนี้แหละ หมดทั้งสากลโลก เราก็เป็นอย่างนี้ เพราะเหตุฉะนั้นเมื่อบุคคลไม่เผลอในความเสื่อมเช่นนี้ ไม่พลั้งไม่เผลอละก้อนั่นแหละ ผู้นั้นแหละได้ชื่อว่า ได้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พระจอมปราชญ์สรรเสริญนัก

    ถ้าแม้ว่าจะเป็นภิกษุหรือสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ทั้งหญิงชาย คฤหัสถ์ บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า ถ้าผู้ที่มีใจจรดอยู่ในความเสื่อมไม่พลั้งเผลอละก้อ เป็นเจอซึ่งสมบัติในภพนี้ ต่อไปภายหน้า สมบัติในภพนี้ก็เป็นคนมั่งมีทีเดียว สมบัติในภายหน้าก็จะไม่เลินเล่อเผลอตัวทีเดียว เหมือนอย่างกับเราท่านทั้งหลายเป็นนักบวชเหล่านี้ เป็นอุบาสกอุบาสิกาเหล่านี้ นี่ก็เพราะอาศัยเราเห็นว่ามีความเสื่อม เห็นมีความเสื่อมอย่างไร ก็เราเห็นนี่ เราเกิดมาถึงแค่นี้แล้ว เราต้องตายแน่ นั่นแน่มันไปเห็นอ้ายต้องตายแน่นั้น นั่นไปเห็นความเสื่อมแล้วนี่ นี้จึงได้แสวงหาธรรมในพุทธศาสนา แสวงหาบุญกุศลน่ะ รู้จะต้องละโลกนี้แล้วไปสู่ปรโลกเบื้องหน้า แสวงหาสิ่งที่เป็นที่พึ่งของตน นี่เพราะเห็นความเสื่อมเข้าแล้วนี่ ถ้าไม่เห็นความเสื่อม มันจะอย่างนี้อย่างไรเล่า เพราะมันเห็นความเสื่อมเข้าแล้ว ความเสื่อมอันนี้แหละ เมื่อเช่นนั้นแล้ว ให้อุตส่าห์มั่นคงอยู่ในอธิศีล ให้อุตส่าห์มั่นคงอยู่ในอธิจิต ให้อุตส่าห์มั่นคงอยู่ในอธิปัญญา

    อธิศีลเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน นี่ตรงนี้เราต้องเข้าใจ วัดปากน้ำทั้งหญิงและชาย ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เขาเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นพื้นเชียวมีมากนัก ตั้ง 100 ที่เราบริสุทธิ์กายบริสุทธิ์วาจาน่ะ นั่นเป็นแค่ศีลนะ ศีลบริสุทธิ์เป็นแต่ศีลบริสุทธิ์ เราบริสุทธิ์เจตนานั่นก็เป็นแต่เจตนาศีลน่ะ เราบริสุทธิ์กายบริสุทธิ์วาจาเป็นสังวรศีล สำรวมระวังไว้ เราบริสุทธิ์เจตนาคิดอ่านทางใจ เป็นเจตนาศีลนะ ไม่ใช่อธิศีลหรอก ยังไม่ถึงอธิศีล ถ้าถึงอธิศีลแล้วละก็ เห็นเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำ ให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์ เหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ กลมอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ถ้าเห็นศีลดวงนั้นเข้าแล้วละก็ นั่นแหละเขาเรียกว่า อธิศีล

    เมื่อไปรู้จักอธิศีลแล้วละก็ อธิจิตก็อยู่ในกลางอธิศีลนั่นแหละ ดวงเท่าๆ กับอธิศีล ที่กายวาจาเราสงบดีก็เพราะอาศัยจากใจของเราเจตนาสงบดี นั่นเป็นสมาธิ เป็นสมาธิแต่ภายนอก ไม่ใช่สมาธิสำคัญ เมื่อเข้าถึงอธิจิตอยู่ในกลางของศีลนั่นดวงเท่าๆ กัน ดวงเท่ากับดวงศีล อยู่ในกลางดวงของศีลนั่น เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ถ้าเข้าถึงอธิจิตเช่นนั้นละก็ ได้ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคงละ ไม่โยกคลอนไปตามใครละ เข้าถึงอธิจิตเสียแล้ว

    ยังไม่ลึกซึ้งเท่าอธิปัญญา อธิปัญญาสูงกว่านั้น เราอุตส่าห์พยายามให้เข้าถึงอธิปัญญา แม้จะเฉลียวฉลาดในกายวาจาสักเท่าหนึ่งเท่าใดเรียกว่าฉลาด อ้ายนั่นก็ปัญญาภายนอก เจตนาคล่องแคล่วอย่างหนึ่งอย่างใด ก็เรียกว่าความฉลาดของปัญญาเป็นภายนอก เข้าถึงปัญญาอยู่ ในกลางดวงของศีลนั่นแหละ ใสยิ่งกว่าใสขึ้นไป สะอาดยิ่งกว่าสะอาดขึ้นไป เท่าๆ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน เมื่อเข้าถึงดวงปัญญาเช่นนั้นละก็ นั่นแหละทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ เข้าไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ เข้าไปในทางอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา นั่นแหละ เมื่อเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แล้วละก็ ก็จะเข้าถึงธรรมกายเป็นลำดับไป เมื่อเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ละก็ ไม่พ้นละ ต้องเข้าถึงธรรมกายแน่ เป็นทางไปของ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์จริงๆ แท้ๆ เมื่อรู้จักแน่เช่นนี้ละก็ จะไปนรกกันได้อย่างไร ไม่ไปแน่นอน ถ้าทำหนักเข้า ปฏิบัติหนักเข้า ก็จะเป็นลำดับไป มรรคผลต้องอยู่กับเราแน่ ต้องออกจากวัฏฏะทั้ง 3 แน่ๆ คือ กิเลสวัฏ กัมมวัฏ วิปากวัฏ ต้องออกจากภพ 3 แน่ๆ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่ต้องอาศัย มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

    ทีนี้ นิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้าน่ะลึกซึ้ง ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย เมื่อรู้จักอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาแล้ว ก็จะเข้าถึงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ถึงกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ก็แบบเดียวกันอย่างนี้แหละ เข้าไปในกลางกายมนุษย์ละเอียด กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะเข้าถึงกายทิพย์ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า จะเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะถึงกายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหม ละเอียด พอเข้าถึงเช่นนั้นแล้ว จะเข้าถึงกายธรรมด้วยอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จะเข้าถึงกายธรรมที่เป็นโคตรภู กายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรม พระโสดา-โสดาละเอียด กายธรรมพระสกทาคา-สกทาคาละเอียด กายธรรมอนาคา-อนาคาละเอียด กายธรรมอรหัต-อรหัตละเอียด ที่จะถึงอรหัตตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้เช่นนี้ ต้องอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาหนา ถ้าไม่อาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไปไม่ได้ ตำรับตำราก็ได้กล่าวไว้ วางเป็นเนติแบบแผนว่า ทางปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา ทางอื่นไม่มีหรอก นอกจากทางศีล สมาธิ ปัญญา วินัยปิฎกทั้งปิฎก เมื่อย่อลงไปแล้วก็คือศีลนั่น ถ้าเข้าถึงอธิศีล แล้วละก็ ตัววินัยปิฎกทีเดียว ถึงโคนรากวินัยปิฎกทีเดียว ถ้าเข้าถึงอธิจิต เข้าโคนรากของสุตตันตปิฎกทีเดียว ถ้าเข้าถึงอธิปัญญา เข้าโคนรากของปรมัตถปิฎกทีเดียว นี่เป็นตัวสำคัญอย่างนี้

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ วันนี้เราได้ฟังเทศนา ให้ตรงใจไว้ว่าเราจะเอาใจจรดอยู่ในความเสื่อม ตามปัจฉิมวาจาที่พระองค์ทรงรับสั่งว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ ทรงรับสั่งแล้วหับพระโอษฐ์ ไม่รับสั่งต่อไป เราก็นึกถึงตัวเราเสื่อมไปเสมอไม่หยุดไม่ยั้งเลย หมดทั้งสากลโลก เสื่อมไปเสมอ นี่แบบเดียวกัน นี่ต้องหยุดอย่างนี้ไม่เผลอหนา เมื่อตรึกเช่นนี้แล้วละก็ ตั้งอยู่ในความไม่ประมาททีเดียว ข้อที่สองไม่พลั้งไม่เผลอไม่ประมาท เมื่อรู้ว่าเสื่อมเช่นนี้แล้วละก็ เราจะไปทางไหน ไปทางอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไปทางโน้น ต้องเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ให้ได้ ถ้าเข้าถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไม่ได้ ต้องรีบเร่งค้นคว้าหาอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เหมือนอย่างบุคคลที่มีกระเช้าไฟหรือเตาอั้งโล่ตั้งอยู่บนศีรษะ มันร้อนทนไม่ไหว ต้องรีบหาน้ำดับ หรือเอาทิ้งเสียให้ได้นั้นฉันใดก็ดี ต้องให้เจอในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถ้าไม่เจอ ต้องรีบเร่งขวนขวายทีเดียว จึงจะเอาตัวรอดได้ ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมุติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,654
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,504
    ผู้ถึงธรรมกาย จัดว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมได้ถึงที่สุดแล้วหรือ ?


    ผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกาย แล้วจัดว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ได้ถึงที่สุด (บรรลุมรรค ผล นิพพาน) แล้วหรือ ?

    ----------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ตราบใดที่ยังไม่สามารถละสังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก) เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการ (คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) ได้โดยเด็ดขาด ตราบนั้น ก็ยังมิได้บรรลุมรรคผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคล จึงยังมิใช่ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ (บรรลุ) ถึงที่สุดแล้ว

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้สอนภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ได้กล่าวถึงผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกาย แต่ยังไม่สามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการได้ดังกล่าวแล้วว่า ยังจัดเป็นแต่เพียงโคตรภูบุคคล
    ซึ่งท่านอุปมาไว้ว่า
    เสมือนหนึ่งว่า ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นได้ก้าวขาข้างหนึ่งขึ้นไปอยู่บนพระนิพพาน ส่วนขาอีกข้างหนึ่งยังยืนอยู่ในภพ 3 กล่าวคือ หากผู้ปฏิบัติธรรมที่ถึงธรรมกายแล้วนั้นก้าวหน้าต่อไป คือปฏิบัติภาวนาต่อไปอีกจนสามารถละสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการนั้นได้โดยเด็ดขาด ก็ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคลตามภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ แต่ถ้าผู้ที่เคยปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว ได้ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะของการก้าวถอยหลังกลับคืนมาสู่โลก (ภพ 3) ด้วยอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำ เหตุหนุน จนธรรมสัญญาขาดจากใจและธรรมกายดับลงเมื่อใด บุคคลผู้นั้นก็กลับเป็นปุถุชนธรรมดาที่หนาไปด้วยกิเลส และมีสิทธิถึงทุคคติได้เมื่อนั้น


    ผู้ปฏิบัติธรรมจนได้ถึงธรรมกาย และยังทรงอยู่เสมอนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้บวชภายใน
    ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย คือแปลว่า ใจนั้นบวชอยู่ และถ้าหากได้บรรพชาอุปสมบทอีกด้วย (ในกรณีที่เป็นชาย) ก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้บวชทั้งภายในและภายนอก
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...