สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    มหากษัตริย์องค์หนึ่ง ได้บรรลุปฐมฌานแล้ว สละราชสมบัติให้ ราชโอรสปกครองไป ตัวไปเป็นฤาษีชีไพรเสีย ภายนอกนั่น ฝ่ายผู้ได้รับรัชทายาทนั้นไม่อาจ จะปกครองได้ ให้ไปตามบิดามา มหาดเล็กเด็กชาก็ไปพร้อมกัน ผู้คนสกลโยธามากมาย หลามไปทีเดียว ไปตามพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเดิม ผู้สละราชสมบัติไปเสีย นั่นนะ เป็นผู้ปกครองมีความสงบเรียบร้อยดี มหากษัตริย์ไปถึง กำลังเข้าฌานสมาบัติอยู่ เข้าไปคอยอยู่จนกระทั่งมีโอกาสออกมา ก็เข้าไปทูลว่า พระองค์ เชิญพระองค์เสด็จกลับ เสวยราชสมบัติ ไม่มีใครสามารถจะปกครองได้ มหากษัตริย์ก็ลืมพระเนตรขึ้น ก็ไถ่ถาม เรื่องราว รู้เรื่อง เอ็งกลับไปเถอะ ข้าจะเข้าฌานของข้า ข้าไม่ต้องการแล้วสมบัติ ข้าอยู่ใน ฌานของข้าสบายกว่า อยู่เป็นกษัตริย์ ข้าไม่สบายเลย ข้าเดือดร้อนนัก นั่นแน่ถึงขนาดนั้น ถึงขนาดนั้น อ้อ! การเข้าฌานนี่มันเลิศประเสริฐอย่างนี้หรือ ร่มเย็นเป็นสุขอย่างนี้ ที่จะละ กามได้ ต้องเข้าฌานเข้าปฐมฌานเสีย กามทำอะไรเราไม่ได้

    บัดนี้ ที่วัดปากน้ำนี่นะ มี ธรรมกาย สูงกว่าฌานนั่นอีก โอยนั่นสู้ไม่ได้ ไกลกว่าฌาน นั่นอีก เขามีธรรมกายกัน ถ้ามีความกำหนัดยินดีเวลาใด แพร็บเข้าธรรมกายไป ความกำหนัด ยินดีทำอะไรไม่ได้เลย ล้อมันเล่นเสียก็ได้ มันทำอะไรไม่ได้ ความกำหนัดยินดีทำอะไรไม่ได้ ที่เราเป็นผู้ครองเรือนน่ะ ความกำหนัดยินดีมันบังคับเหมือนกับเด็กๆ ตามชอบใจมัน จะทำ อะไรก็ทำตามชอบใจของมัน ความกำหนัดยินดีมันบังคับ มันบังคับเช่นนั้นแล้ว เราเข้า ธรรมกายเสีย ไม่ออกจากธรรมกาย ความกำหนัดยินดีที่มันบังคับนั่นหายแวบไปแล้ว เหมือน ไฟจุ่มน้ำ

    จงพยายามให้มี ธรรมกาย ขึ้นเถิด เลิศกว่าฌานฌานนั่นก็พอใช้ได้ แต่ว่าจะเข้า สักเท่าไรก็ตามเถอะ นั่นนะ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เลิศประเสริฐหนักขึ้นไป ก็ยัง อยู่ใน รูปภพ ถ้ายังติดกามอยู่ ยังแน่นอยู่ในกามนั่น เขาเรียกว่า กามภพ ติดอยู่ในกาม ก้าวล่วงกามยังไม่ได้ พ้นจากกามหยาบไปในมนุษย์หนึ่ง สวรรค์ 6 ชั้นไปได้ ไปติดอยู่ใน รูปภพอีก แม้จะเข้าถึงอรูปฌานละเอียด ออกจากจตุตถฌานแล้วเข้าถึงอรูปฌานละเอียด เข้า อากาสานัญจายตนฌาน วิญญานัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ก็ยังอยู่ในภพ ใน อรูปภพ อยู่ กามภพ รูปภพ อรูปภพเหล่านี้ ก็ยังไม่ พ้นความกำหนัดยินดีในรูปฌานหรืออรูปฌานอยู่

    เมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้วละก็ ขึ้นไปเป็นชั้นๆ จึงจะพ้นจากกามได้ เข้าถึงธรรมกาย แล้ว เข้าไปเป็นชั้นๆ เป็นธรรมกายโคตรภู ธรรมกายพระโสดา ธรรมกายพระสกทาคา ธรรมกายพระอนาคา ธรรมกายพระอรหัต เป็นจากกายอรูปพรหมอีก 10 ชั้นถึงพระอรหัต ถึงพระอรหัตชั้นที่เก้าที่สิบละก้อ ชั้นที่สิบเจ็ด ชั้นที่สิบแปดของกายทุกกายไป เข้าถึง กายพระอรหัต พอถึงกายพระอรหัต ก็ วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ เลิศประเสริฐกว่า สังขตธรรม และ อสังขตธรรมทั้งหมด ถึง วิราคธรรม ทีเดียว

    นี่พอถึงธรรมกายได้แล้วละก็ เลิศประเสริฐนัก นี่สูงนะ สูงขึ้นไป สูงไปทีเดียว

    (คัดลอกมาส่วนนึงจากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อสด จนฺทสโร เรื่องพุทธโอวาท)
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    "ไม่ว่าจะเห็นหรือไม่เห็นก็ให้ปฏิบัติเรื่อยไป
    อย่าปล่อยให้กาลเวลาล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์
    ความเพียรก็ต้องมีที่สุดของความเพียร
    ความอดทนก็ต้องมีที่สุดของความอดทน
    การเข้าถึงธรรมต้องปล่อยทั้งชีวิตจิตใจ
    ไปรักไปห่วงอะไรไม่ได้ปล่อยกันให้หมดสิ้นทีเดียว
    ถ้ายังมีรักมีห่วงอยู่เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด"

    หลวงพ่อสด จนฺทสโร


    c_oc=AQnDRU8mXk__mXKwEatMrlb_rM_8_dcpqc9AUiOTe0_aPvIHEfia-2jmq1lazUpwmfA&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    ทำสมาธิแล้วมืด ไม่เห็นอะไร พยายามนึกดวงแก้ว แต่ก็ไม่เห็น


    ทำอย่างไรถึงจะแก้โรคเบื่อชีวิต เกิดมาแล้วเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ กิจวัตรประจำวันก็ซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย เมื่อปฏิบัติสมาธิแล้วก็มืดไม่เห็นอะไรเลย พยายามนึกไปที่ดวงแก้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะเห็นได้ จะทำอย่างไรดี ?
    ----------------------------------------------------------

    ตอบ:


    หากเบื่อด้วยกิเลส (โทสะ/นิวรณ์) จะเป็นทุกข์ จมอยู่ในความทุกข์ หากเบื่อด้วยปัญญา เข้าใจโลกตามที่เป็นจริง จิตใจย่อมปลอดโปร่ง แล้วหาทางพ้นด้วยการปฏิบัติตามพุทธธรรม

    การนึกดวงแก้วในเบื้องต้นเป็นวิธีทำใจให้สงบ เพราะฉะนั้น สำหรับคนส่วนใหญ่ ก็ยังเป็นได้แค่การ “นึก” ยังไม่ใช่ “เห็น” (ยกเว้นไม่กี่คนที่ครั้งแรกนึกแล้ว “เห็น” เลย)

    เมื่อเพียรพยายาม “นึก” อยู่เรื่อยๆ ใจจะค่อยๆ ได้รับการฝึกให้เชื่อง ความฟุ้งซ่านจะลดลง ได้สัมผัสความ “สันติสุข” จากการที่ใจเริ่มสงบบ้างโดยที่ยังไม่เห็นอะไรนั้น เมื่อถึงจุดที่จิตสงบพอดี หยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ก็จะ “เห็น” นิมิตแสงสว่างหรือดวงแก้วปรากฏขึ้น ซี่งเป็นไปด้วยอำนาจของความสงบใจ ไม่ใช่ด้วยอำนาจของการ “นึก”

    เพราะฉะนั้น หากเข้าใจธรรมชาติของจิตว่าเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็จะไม่บังคับใจ บังคับตา ของเราให้เห็น เราจะไม่ใจร้อนหงุดหงิดเมื่อยังไม่เห็น เราจะไม่พากเพียรจัดเกินไป ด้วยความ “อยาก” เห็น

    แต่เราจะวางใจเป็นกลางๆ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ในทุกอิริยาบถ คือ ยืนเดินนั่งนอน เพราะเรามีความสงบสุขทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ บุญบารมีของเราเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ สติสัมปชัญญะดีขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    อุปกิเลสเหล่านี้ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
    ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป •



    การเจริญภาวนาธรรมนั้น มีเงื่อนไขหลายอย่าง ที่ผู้ปฏิบัติพึงจะต้องทราบ และคอยสอดส่องพิจารณา ให้การปฏิบัติเป็นไปโดยถูกถ้วนสมบูรณ์และตรงประเด็น

    พร้อมด้วยพิจารณาในเหตุและสังเกตในผลของการปฎิบัติว่า ให้ผลในทางที่เป็นคุณหรือเป็นโทษด้วย

    พระพุทธองค์เคยทรงมีพระดำรัส กับเหล่าพระภิกษุเกี่ยวกับอุปกิเลสของสมาธิ ปรากฏอยู่ในอุปกิเลสสูตร ในสุญญตวัคค์ อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย หน้า 302 ข้อ 452 มีใจความว่า

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ที่ป่าชื่อว่า ปาจีนวังสะทายวัน แขวงเมืองโกสัมพี

    ณ ที่นั้นภิกษุสามรูป คือ พระอนุรุทธะ พระภัททิยะ และพระกิมพิละ ได้ทูลพระองค์ว่า

    "ข้าพระองค์ทั้งสาม พยายามกำหนดเห็นแสงสว่าง แล้วเห็นรูปทั้งหลาย แต่แสงสว่างและรูปนั้น เห็นอยู่ไม่นาน ก็หายไป ข้าพระองค์ทั้งสามไม่ทราบว่า เป็นเพราะเหตุไร "

    พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย (พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระภิกษุทั้งสามองค์ แต่ได้ทรงเรียกอนุรุทธะเป็นองค์แรก ในบาลีจึงใช้"อนุรุทธา")

    แม้เราเอง ครั้งก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ กำหนดเห็นแสงสว่างได้ และเห็นรูปทั้งหลาย แต่ไม่นานเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น ก็หายไป เราเกิดความสงสัยว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    เราก็คิดได้ว่า อุปกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    อุปกิเลสเหล่านี้คือ

    1. วิจิกิจฉา ความลังเลหรือความสงสัย

    2. อมนสิการ ความไม่ใส่ใจไว้ให้ดี

    3. ถีนมิทธะ ความท้อและความเคลิบเคลิ้มง่วงนอน

    4. ฉัมภิตัตตะ ความสะดุ้งหวาดกลัว

    5. อุพพิละ ความตื่นเต้นด้วยความยินดี

    6. ทุฏฐุลละ ความไม่สงบกาย

    7. อัจจารัทธวิริยะ ความเพียรจัดเกินไป

    8. อติลีนวิริยะ ความเพียรหย่อนเกินไป

    9. อภิชัปปา ความอยากที่จะเห็นนิมิตจนเกินไป

    10. นานัตตสัญญา ความฟุ้งซ่าน นึกไปในสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เคยผ่านมา หรือเคยจดจำไว้ มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ

    11. รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะ ความเพ่งต่อรูปหรือนิมิตจนเกินไป

    อนุรุทธะทั้งหลาย เมื่ออุปกิเลสเหล่านี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราก็เคลื่อนไป เพราะอุปกิเลสเหล่านี้เป็นต้นเหตุ

    เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ก็หายไป

    ฉะนั้น เราพยายามสอดส่องดูว่า วิธีใดจะทำให้อุปกิเลสเหล่านี้ เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็ทำใจไว้โดยวิธีนั้น

    อนุรุทธะทั้งหลาย เรารู้ชัดว่า วิจิกิจฉาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของจิต จึงได้ละเสีย"

    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ตรัสกับพระภิกษุเหล่านั้นอีกด้วยว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย เราคิดได้ว่า ขณะใด สมาธิของเราน้อย ขณะนั้น จักษุก็มีน้อย ด้วยจักษุอันน้อยนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างน้อย เห็นรูปก็น้อย

    ขณะใด สมาธิของเรามาก ขณะนั้น จักษุก็มีมาก ด้วยจักษุอันมากนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างมาก เห็นรูปก็มาก เป็นดังนี้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง"


    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    temp_hash-69c9765adf8a0084ff39f7cd42801e98-jpg.jpg
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    อมตวัชรวจีหลวงป๋า

    - ของจริงในพระพุทธศาสนาต้องเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
    ให้จำหลักไว้ มารตัวจริงคือกิเลส.

    บุคคลที่มีจิตใจที่เต็มไปด้วยกิเลสมาร เขาเรียกเทพบุตรมาร ยิ่งอยู่ในที่สูงแล้วมีกิเลสมารอยู่มาก เรียกว่าเทพบุตรมาร อย่างนี้ เพราะฉะนั้นให้เข้าใจความหมาย

    มารคือกิเลส
    กิเลสคืออะไร ?
    หรือมารคืออะไร ?

    คือ ธรรมชาติที่ขัดขวางคุณความดี กิเลสมารก็ขัดขวามคุณความดี สังขารมารความเจ็บไข้ได้ป่วยก็ขัดขวางคุณความดี มัจจุมาร มารยังให้เกิดความตายก็ขัดขวางคุณความดี เพราะฉะนั้นให้เข้าใจความหมายว่า มารมีจริงอย่างไร โดยความหมายอย่างไร ภาษาพระแท้ๆ

    ที่นี้ ยักษ์ล่ะ มาจากไหน ?

    ยักษ์ ผู้ที่มีกิเลสมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าโทสะ เป็นต้น แล้วก็ ตายแล้วก็ไปเกิดเป็นยักษ์ ยักษ์จริงๆ เป็นบริวารของท้าวเวสวัณ เพราะฉะนั้น ยักษ์ส่วนใหญ่เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่มีสัมมาทิฏฐิด้วยเหมือนกัน

    แต่ว่า ประสงค์ไปเกิดเป็นยักษ์ก็มี ตัวอย่างนี้ ก็คือท่านที่ไปเกิดเป็น ชนวสภะเทพบุตร น่ะบริวารของท้าวเวสวัณ

    พระเจ้าพิมพิสาร ประวัติพระพุทธเจ้าน่ะ เป็นพระโสดาบันแล้ว ถูกบุตรชายคือ พระเจ้าอชาติศรัตรู ทรมานจนตาย นั่นแหละ พระเจ้าอชาติศรัตรูนั่นแหละ มีอาการของเทพบุตรมาร เพราะมีความโง่เขลาเบาปัญญา แต่ภายหลังได้กลับมาเป็นสัมมาทิฏฐิก่อนตาย ก็ยังดีหน่อย ตายแล้วก็ต้องไปล่ะ ปิตุฆาต นั่น ฆ่าพ่อ เป็นอนันตริยกรรม ได้รับกรรมนี้ก่อน หนักมาก ตายแล้วต้องไปเกิดอยู่ในอเวจีมหานรก เพราะไม่มีอะไรจะไปขัดขวางได้ กรรมเจ้ากรรมเนี่ย คือ กรรมหนักเนี่ย

    ปิตุฆาต คือ ฆ่าพ่อ ตายแล้วมีคติเดียว ไปเกิดในอเวจีมหานรก เป็นขุมที่ ๘ อย่างนี้เป็นต้น แต่ว่าได้กระทำความดีในภายหลังนะ ในภายหลังในบั้นปลายชีวิต ได้สนับสนุนอุปถัมป์พระพุทธศาสนา ก็ยังดี นี่ก็เป็นตัวอย่าง

    พระเจ้าพิมพิสารนี่ เป็นพระโสดาบันบุคคลแล้ว เสด็จสวรรคตเพราะถูกพระราชโอรสทรมานจนตาย เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว จิตยังผูกพันธ์อยู่กับภพเก่าที่เคยเป็นบริวารของท้าวเวสวัณ ปรารถนาจะไปเกิดที่นั่น ตายแล้วก็ไปเกิดเป็นพญายักษ์ เรียกว่าเป็นเหมือนกับมือขวาของท่านท้าวเวสวัณเลย ในระดับเลขาอะไรประมาณนั้น ชื่อ ชนวสภะเทพบุตร นี่ก็มี เพราะฉะนั้นให้เข้าใจว่า ยักษ์จริงๆมีอยู่

    แต่ผู้มีจิตใจเป็นยักษ์เป็นมาร มารคือกิเลส แม้ยักษ์ก็ไปจากกิเลสประเภทโทสะมากๆ นี่ ไปเกิดเป็นยักษ์ก็มาก แต่ที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็มี แต่นั่นเพราะจิตใจผูกพันธ์อยู่ในภพเก่า ที่เคยเป็นบริวารของท้าวเวสวัณ

    ท้าวเวสวัณนี่ มีอำนาจมากนะ รูปร่างเดิมของท่านก็เป็นยักษ์นะ แต่ท่านจะอธิษฐานเป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้นแหละ พระรูปจริงๆ หรือว่ารูปกายจริงๆ ถ้าให้สวยงามก็สวยหล่อไปเลย แต่ถ้ารูปดั้งเดิมของท่านล่ะก็ ดูไม่ได้เลยแหละ อย่างนี้เป็นต้น

    ของจริงในพระพุทธศาสนาต้องเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เข้าใจนะ อันนี้ หลวงตาก็เล่าให้ฟังพอเป็นเกร็ดความรู้

    ให้จำหลักไว้ มารตัวจริงคือกิเลส คือกิเลสมาร มีอยู่ในจิตใจของผู้ใดมาก ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันมาก บุคคลเช่นนั้นก็ชื่อว่ามาร เทพบุตรมาร..ถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในที่สูงถ้าว่าปฏิบัติตามอำนาจของมันมาก

    แต่ว่าเทพบุตรมารมีจริงๆมั้ย ที่เป็นเทพบุตร เทพธิดา...มี แม้แต่ที่ชื่อว่า นางตัณหา นางราคา ที่เคยผจญพระพุทธเจ้าก็ของจริง นั่นแหละ เป็นพระราชธิดาของจอมเทพในมารโลก มีอยู่ของจริง ไอ้นั่นแหละคอยดลจิตดลใจ หรือคอยสำแดงด้วยกิเลส นั้นแหละ เพื่อผูกใจสัตว์โลกให้ติดอยู่ในกิเลสกาม มีอยู่

    เพราะฉะนั้นให้เข้าใจว่า มารคือกิเลส ถ้าอยู่ในจิตใจของผู้ใดมาก คนนั้นชื่อว่าเทพบุตรมาร แต่มารที่ทำให้เกิดความเจ็บไข้ได้ป่วย อันนั้นเขาเรียกว่าสังขารมาร หรือจะแปลว่าโดยความหมายว่า มารคือความเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ได้ แต่ถ้ามารยังให้เกิดความตาย เรียกว่ามัจจุมาร ก็ความตายนั่นแหละมัจจุมาร

    ให้เข้าใจนะ เป็นสมมติเรียกชื่อให้ตรงกับสภาวะของเขา เป็นสมมติชื่อในอาการอย่างนั้นของสัตว์โลก มนุษย์ ทิพย์ อย่างโน้นอย่างนี้ หรือเทพยดา เทพบุตร อย่างโน้นอย่างนี้มีอยู่ ให้เข้าใจนะ

    แต่ว่า..ความเป็นพระก็มีอยู่ในใจคน มีมากก็เรียกว่าพระภายใน ที่ห่มผ้ากาสาวพัสตร์เนี่ย พระภิกษุภายนอก นี่ เรามาสร้างพระในใจตน คือ สร้างคุณความดีให้เกิดขึ้น ณ ภายใน แล้วเกิดความดีนี่ มีพระมั้ย..มี ค่อยๆรู้ไป พระนั้นคือธรรมกาย นี่แหละ เราจะสร้างพระในใจตน แล้วช่วยสร้างพระในใจผู้อื่น เข้าใจนะ

    _______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
    ที่มา
    เทศนาธรรมช่วงอบรมพระวิปัสสนาจารย์
    รุ่นปลายปี ๒๕๕๙
    _______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    c_oc=AQnYes13vz0Sw6HtQ8ZCNlxPDcFEkjvHBiDyC8U_oK39BwYQ28K3YOs-DHwKnxxpyY0&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    c_oc=AQlwG96htSiNYRLUdpuoCnjkEsCfYFwNVJYYnpI6q7zea99zhu-a0-tH97-PJeFxI4E&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.png

    c_oc=AQnzTogmBdS4HZJArq-Va5qNZIQQ2NFEr0N6nmA8aZdbWSPKFW-b8nxZYTpkslIKGZ8&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    c_oc=AQkfMD69TJFn4aWYmsfh0rkFLmS4ZRvaLxEUKZ7q7nsWqJRPp43xTDu1y9OGFBkfUFM&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    c_oc=AQm8c3xxrCd-_e8gg4FiyDnKXMSqB7BDCNyASgu-NgW66W7xPrE0OfXiTNgzG0pjdsw&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    c_oc=AQmV3Gf-rglAFXsjlDuLxJ_cImbhLZIBFM9_Omhaa-KWJYBuaB9SN0kF0w5_THaFMV0&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    c_oc=AQnRxkzA6qC2tWvoAw6yg6gbMsIz-qA60FMH-p8PkdOHTuIFFaqV0den-vRv-AqCjW0&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    #ขอเชิญชวน
    ร่วมเป็นเจ้าภาพภัตตาหาร น้ำปานะ สร้างหนังสือ
    ถวายพระภิกษุผู้มาเข้ารับการอบรม
    #โครงการปฏิบัติธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง (#อภิญญาเทสิตธรรม)
    ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๒
    ณ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งที่ ๑
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ......................................................................
    ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่าง
    แก่ปฏิคาหก ๕ อย่างเป็นอย่างไร คือ
    ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุข ให้กำลัง ให้ปฏิภาณ
    ครั้นให้อายุแล้ว
    ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง อายุอัน เป็น ทิพย์ หรือ เป็น ของมนษุย์
    ครั้น ให้วรรณะแล้ว
    ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
    ครั้นให้สุขแล้ว
    ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุขอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
    ครั้นให้กำลังแล้ว
    ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งกำลังอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์
    ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว
    ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งปฏิภาณอันเป็นเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ให้โภชนะ
    ชื่อว่าย่อมให้ฐานะ ๕ อย่างนี้แลแก่ปฏิคาหก.

    (คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
    ผู้มีปัญญา ให้อายุย่อมได้อายุ ให้กำลังย่อมได้กำลัง
    ให้วรรณะย่อมได้วรรณะ ให้ปฏิภาณย่อมได้ปฏิภาณ ให้สุข
    ย่อมได้สุข ครั้นให้อายุ กำลัง วรรณะ สุข และปฏิภาณแล้ว
    จะเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้นๆ .
    -บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๔๔/๓๗.
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    ?temp_hash=47860fe28832ce2134a025ae91425e5a.jpg







    การนั่งวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของหลวงปู่โต๊ะ แห่งวัดประดู่ฉิมพลี

    ก่อนที่พระเดชพระคุณหลวงปู่โต๊ะท่านจะสอนวิธีนั่งเจริญกรรมฐาน วิปัสสนาให้แก่ศิษย์ ท่านจะได้ศิษย์แต่ละคนที่มีความประสงค์จะถวายตัวเป็นศิษย์ทางนั่งเจริญกรรมฐานวิปัสสนา เพื่อแสวงหาความสงบทางใจ จัดหาดอกไม้ธูป เทียน มาสักการะท่านเป็นการขึ้นครูหรือเรียกว่าขอขันธ์๕จากท่านก่อน และท่านจะนัดให้มาในวันพฤหัส โดยแต่ละคนต้องนำ
    ๑.ธูป ๕ ดอก
    ๒.เทียนขาว ๕ เล่ม
    ๓.ดอกไม้ ๕ กระทง
    ๔.ข้าวตอก ๕ กระทง
    เมื่อมากันพร้อมแล้ว ท่านจะนำเข้าสู่พระอุโบสถและเริ่มสอนวิธีนั่งปฎิบัติเจริญกรรมฐานวิปัสสนาต่อไปนี้

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ปาณาติปาตาเวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    อะทินนาทานาเวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ นิจจะสีละวะเสนะสาธุกัง อัปปมาเทนะ รกฺขิตัพพานิ สีเลนะสุคคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสสะมา สีลัง วิโสธะเย

    จุดธูปเทียนได้………………………………………..
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ(กราบ)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ(กราบ)
    สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ)
    พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวามะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ(กราบ) ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฎฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ(กราบ) สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ สุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฎฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ(กราบ)

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    อุกาสะ ข้าพเจ้าจะขออาราธนา พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า คุณบิดามารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ข้าพเจ้าจะขออย่างพระลักษณะปิติทั้ง๕ จงมาบังเกิดใน จักขุทวาร โสตะทวาร ฆานะทวาร ชิวหาทวาร กายะทวาร มโนทวาร แห่งข้าพเจ้า ในกาลบัดนี้เถิด นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ(กราบ)

    (หลวงปู่บอกวิธีนั่งเจริญสมาธิ)

    เท้าขวาทับเท้าซ้าย…มือขวาทับมือซ้าย…ตั้งตัวให้ตรง…แล้วมองดูพระประธาน…ผิวพรรณวรรณ สัณฐาน ท่านเป็นอย่างไร…หลับตาบ้าง ลืมตาบ้าง ลืมตาเห็นผิวพรรณ สัณฐานเป็นอย่างไร แม้หลับตาก็เห็นผิวพรรณวรรณท่านเหมือนอย่างกับลืมตา ทำอย่างนั้นไป
    น้อมพระที่เราจำได้ มาตั้งไว้บนไหล่ขวา…น้อมพระที่เราจำได้ มาตั้งไว้บนไหล่ขวา(ให้เวลาเพิ่อปฎิบัติ)
    น้อมพระจากไหล่ขวามาตั้งไว้บนไหล่ซ้าย…น้อมพระจากไหล่ขวามาตั้งไว้บนไหล่ซ้าย(ให้เวลาเพิ่อปฎิบัติ)
    น้อมพระจากไหล่ซ้ายมาตั้งไว้บนกระหม่อม…น้อมพระจากไหล่ซ้ายมาตั้งไว้บนกระหม่อม(ให้เวลาเพิ่อปฎิบัติ)
    น้อมพระจากกระหม่อมมาตั้งไว้ที่ทรวงอก…น้อมพระจากกระหม่อมมาตั้งไว้ที่ทรวงอก(ให้เวลาเพิ่อปฎิบัติ)
    น้อมพระจากทรวงอกมาตั้งไว้ที่ศูนย์จุดสะดือ…น้อมพระจากทรวงอกมาตั้งไว้ที่ศูนย์จุดสะดือ(ให้เวลาเพิ่อปฎิบัติ)
    ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว…ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว…ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว
    ภาวนาว่า”พุทโธ”ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง…
    ภาวนาว่า”พุทโธ”ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง…(ให้เวลาปฎิบัติพอสมควรแล้ว หลวงปู่จะสอนและแนะแนวทางปฎิบัติ)

    ต่อไปนี้ จะแนะแนวทางของการปฎิบัติในกรรมฐาน กรรมฐานแบ่งเป็น ๒ สมถะกรรมฐานประการหนึ่ง วิปัสสนากรมมฐานประการหนึ่ง สมถะเรียกว่าความสงบ วิปัสสนา ปัญญาเห็นแจ้ง สมถะ สงบจากอะไร “นิวรณ์๕” มีอะไรบ้าง กามฉันทะ ความใคร่ในกาม กามคืออะไร รูป เสียง กลิ่น รส ดผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ นี่กามเรียกว่า กามคุณ๕ เราพึงสังเกตุดูว่า จิตของเรามันตกอยู่ในกามตัวใดบ้าง เมื่อเรารู้ว่า อ้อ มันติดอยู่ที่ความพอใจ ในรูปก็ดี ในเสียงก็ดี ในกลิ่นก็ดี ในสัมผัสก็ดี ในรสก็ดี เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตัวใดตัวหนึ่งก็ตาม ความสงบหาเกิดขึ้นกับเราไม่เพราะเหตุใด เพราะจิตมันเข้าไปอยู่ในกาม ความสงบไม่มี เมื่อความสงบไม่มีเรียกว่าอะไรไม่ใช่สมถะไม่ใช่สมถะ แล้วเรียกว่าอะไร จิตฟุ้งซ่าน ไปในรูปบ้าง ไปในเสียงบ้าง ไปในกลิ่นบ้าง ไปในรสบ้าง ไปในสัมผัสบ้าง จิตตกอยู่ในกาม ความสงบหาเกิดขึ้นได้ไม่ สมถะกรรมฐาน ถ้าความสงบไม่มีเรียกว่าสมถะไม่ได้ จิตมันตกอยู่ในอำนาจของกามคุณแล้ว

    เรามีวิธีอะไรที่จะพึงแก้ ไม่ให้จิตมันตกไปในกามคุณทั้ง๕นั้นได้
    มีทางแก้ พิจารณา กายะคะตานุสติ ก็ได้ หรืออสุภะกรรมฐานก็ได้ เพื่อแก้ไม่ให้จิตมันตกไปในกามคุณทั้ง๕
    ไอ้ที่จิตมันตกไปในกามคุณ เพราะเราเห็นผิดว่าเป็นไปตามจริตของจิตที่มันพอใจ มันชอบรูป เออ!รูปดี มันชอบเสียง เออ!เสียงเพราะดี ชอบกลิ่น เออ!หอมดี ชอบรส รสอย่างนั้น รสอย่างนี้ ชอบสัมผัส การถูกต้องนิ่มนวลอะไรๆเหล่านี้ ธรรมารมณ์อารมณ์พอใจ ไม่พอใจเพิ่มขึ้น แก้ด้วย อสุภะกรรมฐาน รูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี สัมผัสก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี ไม่แน่นอน มันมีแต่ทุกข์ ทุกข์มันมาได้อย่างไร อะไรเป็นตัวทุกข์ชาติ ชาติเป็นตัวทุกข์ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ นี่เป็นตัวทุกข์ ไหนบ่นกันอยู่เรื่อยๆว่า เป็นทุกข์จริง ฉันนี่เป็นทุกข์จริง แล้วเราก็เข้าไปหาทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรานะ เราไม่ต้องการความทุกข์ เราต้องการความสุข แต่ทำไมจิตมันตกไปเองในเรื่องทุกข์อย่างนั้น ทุกข์อย่างนี้ ทุกข์อย่างโน้น ทุกข์ร้อยแปดพันเก้า กิเลส กิเลสกรรมวิบาก กิเลสความใคร่ ใคร่ไปในเรื่องต่างๆ กรรมแปลว่ากระทำ กิเลสกรรม กระทำดี กระทำชั่ว วิบาก เราทำดี ได้รับผลดี เราทำชั่ว ได้รับหลชั่ว พวกนี้เอง ทำให้เราเห็นไปในทางที่ผิดทำนองคลองธรรม มันก็เพลินในเรื่องความเห็นผิด มันเพลินไป ความเพลินที่เราเพลินเลยเผลอ เผลอไป เผลอไป เผลอไปเลยหลง หลงว่าอย่างนี้ดี หลงไปหมด คนที่หลงนั่นเป็นเพราะอะไร
    ปราศจากสติ คนปราศจากสติ ปราศจากสติ เขาเรียกว่าอะไร คนประมาท อ้อ!เรานี่เป็นคนประมาทนะ ทำเป็นคนไม่ประมาทเสียบ้างซี เอ้อ! ทำไง
    ทำสมถะกรรมฐานนี่ละ เพื่อความไม่ประมาท เพื่อความสงบจากกาม แล้วรู้ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเรามีความสงบ รู้ได้ มีสติเข้าไปคุมจิต เมื่อเรามีสติเข้าไปคุมจิต เราจะรู้ว่า จิตมีอะไรเป็นอารมณ์ มีดีกับชั่ว อะไรดี กุศลจิต นี่ดี เป็นคนฉลาดเกิดขึ้นในจิตของตนเอง
    รู้เหตุผล นี่ควร นี่ไม่ควร เกิดปัญญาขี้นในจิต อกุศลจิต นี่จิตโง่ จิตไม่ฉลาด เรียกว่าอกุศลจิต เกิดขึ้นรู้ไม่เท่าทัน อะไรเป็นอารมณ์ของจิต กุศลจิต อกุศลจิต พุทโธ นี่เรียกว่ากุศลจิต มีประโยชน์อะไร ภาวนาพุทโธ มีประโยชน์อะไร แล้วทำไมมีตั้งหลายอย่างหนัก เดี๋ยวก็ให้ตั้ง เดี๋ยวก็ไม่ให้ตั้ง ตั้งอย่างนั้น ตั้งอย่างนี้ ก็เพื่อทดลอง สติกับจิต ให้รู้ว่า ตั้งที่ตรงนั้นน่ะ จิตใจมันเป็นอย่างไรไม่ทราบ มันยังส่ายออกออกไปนอกพุทโธ หรือว่าอยู่ในพุทโธ

    เมื่อมันส่ายออกออกไปนอกพุทโธ จิตมันเป็นอย่างไร สติคุมไว้ เมื่อมันอยู่ในพุทโธ จิตมันเป็นอย่างไร ความสุขอยู่นอกพุทโธ ได้ผลอย่างไรบ้าง ในเรื่องการปฎิบัติ จิตมันอยู่ในพุทโธมันได้ผลอะไรบ้าง ในการปฎิบัติของแต่ละท่าน ละท่าน มันเป็นอย่างงั้น พุทโธนี่เป็นอารมณ์ของจิต สติ จิต แล้วก็อารมณ์ จะต้องมีสติคุมจิตเสมอ คุมอะไร เดี๋ยวเลื่อนไปตั้งที่โน้น เดี๋ยวเลื่อนไปตั้งที่นี่ เพราะจริตของคน แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบโยกย้าย ดี โยกย้าย ได้เห็นสิ่งอะไรผิดแปลก แปลก ของที่เราไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยิน เราก็เห็น ก็ได้ยิน ถิ่นที่เราไม่เคยไป เอ้อ! ไปได้ ไปได้ดูของแปลกๆ เมื่อไปดูของแปลกๆน่ะ มันมีประโยชน์อะไรสำหรับรู้ สำหรับเห็น มันเป็นประโยชน์ทางโลกหรือว่าประโยชน์ทางธรรม หรือเอาทางโลกมาเปรียบเทียบกับทางธรรม หรือเอาทางธรรมมาเปรียบเทียบกับทางโลก บางคนชอบอย่างนั้น บางคนไม่ไปอยู่เฉยๆ อยู่ที่เดียวดีกว่า มันไม่ยุ่ง อยู่ที่เดียวอย่างงั้นก็มี ไม่อยากเที่ยวไปโน้น ไม่อยากเที่ยวไปนี่ อยู่ที่ไหนก็อยากอยู่ที่นั่นมันสบาย มีศีล มีจิตที่ตั้ง เราก็ตั้งดู มันสบายที่ไหน อยู่ที่นั่นก็ได้ เห็นว่ามันไม่สบายก็ย้ายไปอีก ย้ายไปหาความสุขเกิดจากจิตใจของเรา ทำไป ขั้นสมถะกรรมฐาน ก็ต้องมีอย่างนี้ มีพระปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ ปริยัติเป็นข้อที่ดี ว่าพุทโธเป็นอย่างนี้ แล้วเราก็นำเอาพุทโธมาปฎิบัติ เรียกว่าธรรม เราภาวนา พุทโธ พุทโธ ให้สังเกตอยู่ที่ใจ ใจมันเลื่อมใสในพุทโธ บางคราวมันไม่เลื่อมใสในเครื่องพุทโธ เมื่อภาวนาพุทโธเมื่อไหร่มันไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย เมื่อไม่เห็นด้วย เราจะต้องทำ ต้องแก้ ไม่แก้ก็ไม่ได้ ปล่อยไปใหญ่ ต้องแก้ ต้องอ้อนวอน ชวนให้ทำงาน ชวนจิตให้มาทำงานว่า ไอ้งานที่ทำๆกันน่ะ ฉันเคยทำเหมือนกันน่ะ ไอ้งานเหล่านั้นน่ะ แต่มันได้ประโยชน์น้อย งานที่ฉันได้ใหม่ได้ประโยชน์มาก เชิญมาลองทำดู ดูฉันเป็นตัวอย่าง เดี๋ยวนี้ฉันทำงานอีกอย่างหนึ่งแล้ว รู้สึกสบาย

    ท่านผู้ใหญ่ก็ชอบว่า ทำงานดี ผู้น้อยก็ชอบว่า ดี ท่านอัธยาศัยใจคอ วางตนเป็นกลางๆ ไม่เข้าไม่ออก ท่านถือเป็นกันเอง เออ! งานดีแล้วท่านเสนองานการของเราที่ทำ เสนอผู้หลักผู้ใหญ่ว่า นาย ก. เขาทำยังงั้นๆได้รับความชมเชย หรือขึ้นเงินดาวเงินเดือนอะไรให้นี่ล่ะ ฉันทำอย่างงี้ได้เพราะกิจการที่ทำชิ้นใหม่

    เราก็ชวนเขา เอ้า!ไปวัดประดู่ ไปทำงานที่วัดประดู่ หลวงปู่โต๊ะ ท่านสอนให้ฉันทำงานขึ้นใหม่ ไปซี เราก็ไป เราก็มาขึ้นทำกันนี่ละ บางคราวก็เห็นด้วยที่นั่งภาวนา บางคราวไม่เห็นด้วย เพราะอะไร
    เพราะงานมันบีบคั้น นั่งไปนานๆหน่อย เมื่อย ปวดที่นั่น เจ็บที่นี่ ยุงกัดที่โน่น ยุงกัดที่นี่ ง่วงเหงาหาวนอนไป จิตใจไม่สงบ นั่งอยู่ที่นี่ คิดไปที่โน่น ต่อไปถึงที่นั่น อะไรอีก จะถามว่า นั่นแกคิดเรื่องอะไรอยู่บ้างไหม ที่ไปนั่งภาวนานับไม่ถ้วน อะไรต่ออะไร มันเข้ามาวุ่นวายกันใหญ่ ไม่เห็นจะมีท่ามีทาง อย่า อย่า อย่าเพิ่งใจร้อน อย่าเพิ่งใจร้อนต้องอ้อนวอนนิดหน่อย เพราะงานเขายังไม่เคยทำ เขาไม่เคยทำงานชิ้นนี้ ต้องอ้อนวอนหน่อย ให้รู้ว่า ดีนะ งานนี้น่ะดี ทำไปเหอะ ค่อยๆทำไป ไม่ต้องรีบร้อนอะไร ถึงศรัทธาเวลาไหน ก็เวลานั้นได้ จะถามว่าทำยังไง ยืนก็ทำได้ นอนก็ทำได้ นั่งก็ทำได้ เดินก็ทำได้ มันอยู่ที่การกระทำ เออลองดูซี นั่งก็ทำ ไม่ต้องมาก ๕มินิส๑๐มินิส หรือจะมีศรัทธายิ่งไปกว่านั้นก็ได้ นั่งกำหนดจิตว่า เดี๋ยวนี้จิตมันเป็นอย่างไร
    จิตมันเป็นอย่างไร ทีนี้จิตมันก็เชื่องช้า คุ้นกับงานการเข้า ทีหลังเราไม่ต้องเตือน มันเดินไปตามงานมราเรากะให้ทำ ไม่ต้องไปทำกันบ่อยๆ จำได้ก็เข้ามา อารมณ์อื่นๆก็เบาไป เบาไปแล้วเราก็รู้สึกแช่มชื่น จิตใจมันสมคบดี มันรู้เท่าทัน กิเลส ตัญหา อุปาทาน รู้เท่าทันเขา เย็นเข้า เ ย็นเข้า ไอ้พวกนั้นดับ ดับด้วยอะไร ดับด้วยศีล ดับด้วยสมาธิ ดับด้วยปัญญา เรียกง่ายๆเขาว่า”วิมุติ” หลุดไปเป็นครั้งเป็นคราว เป็นขณะ เป็นสมัย เป็นกาล หลุดไปได้เราเคยโกรธคนมากๆ ต่อไปโกรธน้อยลง เรามารู้ตัวว่า เอ๊ะ!ไอ้โกรธนี่ มันต้องเราก่อนซิ เราก่อน มันเผาเราก่อน แล้วมันจึงไปเผาคนอื่น แล้วก็เดือดร้อน ด้วยประการต่างๆ ลดลงเพราะเห็นโทษ ได้ที่โกรธหรือราคะอะไรนี่ เพราะความหลงของเรา เข้าใจว่ามันเป็นยังงั้นๆยังงั้นๆ ทีนี้ก็แก้ความหลง เขาเรียกว่า อวิชชา เราก็ทำ อวิชชานั่นน่ะ เป็นวิชชาขึ้น เมื่อมันเป็นวิชชา ความรู้มันก็ดีขึ้น ความโง่หมดไป ความเขลาหมดไป ความฉลาดก็เกิดขึ้นฉันใด การที่เรามาอบรมใจก็ฉันนั้นต้องปลอบ ช่วยเหลือตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้น การที่จะมาทำจิต ขั้นสมถะกรรมฐาน ก็ตั้งสติคุมจิต จิตก็มีอารมณ์ คือ พุทโธ ทำจิตตัวเอง จะนั่งได้นานเท่าไหร่ก็ตาม ที่ได้อธิบายมานี้ก็เห็นสมควรแก่เวลา ด้วยประการฉะนี้..
    (ภาพ จากในกุฏิเก่าหลวงปู่โต๊ะ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    นาคทุกคนรู้ดีว่า ในพิธีอุปสมบท หลวงพ่อจะขึ้นต้นด้วยเสียงชัดเจนแจ่มใสอย่างนี้

    “บัดนี้ เธอมีศรัทธาน้อมนำผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยของพระอรหัตต์ ซึ่งเย็บย้อมด้วยน้ำฝาด
    เป็นการถูกต้องตามพุทธานุญาตแล้ว มามอบให้แก่ฉันในท่ามกลางสงฆ์ เปล่งอุทานวาจาขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเช่นนี้ เป็นความดี ความชอบของเธอแล้ว...”

    ระหว่างที่พูดนี้ หลวงพ่อก็จะเพ่งมอง สำรวจเจ้านาคด้วยสายตาอันคมกริบตลอดเวลา แล้วก็อธิบายถึงพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระกรุณาธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ✏แล้วก็จะสอนเรื่องการทำตจปัญจกกรรมฐาน โดยให้พูดตามท่านว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นแบบอนุโลม แล้วให้พูดทวนจากท้ายไปหาต้น แบบปฏิโลมว่า ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา พอถึงตอนนี้ พระอุปัชฌาย์ทั่วไปก็จะนำอังสะออกมาสวมให้เจ้านาคแล้วสั่งให้ไปครองผ้า แต่หลวงพ่อไม่เช่นนั้น...

    ท่านแนะนำให้นึกถึงเส้นผมที่ปลงแล้ว ให้นำมาเป็นนิมิต เพราะการนำเส้นผมมาเป็นนิมิตนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังจะเป็นพระสงฆ์สามเณรมากที่สุด ท่านให้นึกถึงเส้นผมน้อมนำเข้าไปในช่องจมูกขวา แล้วเลื่อนไปยังฐานที่ ๒-๓-๔-๕-๖-๗ ตามลำดับ

    เมื่อถึงฐานที่ ๗ ให้นำเส้นผมนั้นไปตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่หลวงพ่อเรียกว่า กลางกั๊ก ให้เอาใจหยุดนิ่ง อยู่ที่กึ่งกลางของเส้นผม

    ⏩หลวงพ่อจะคอยถามว่า เห็นหรือยัง เห็นอะไร ถ้านาคบอกว่าเห็นเส้นผมแล้ว ท่านก็จะสั่งต่อไปว่า จงดูต่อไปให้ดี ผมที่เห็นน่ะปลายผมชี้ไปทางไหน โคนชี้ไปทางไหน เพียงชั่วครู่นาคบางคนก็เห็นดวงธรรม หลวงพ่อท่านก็ให้ไปฝึกฝนต่อไปจนเกิดความชำนาญ แล้วจึงให้ต่อวิชชาในขั้นสูงขึ้นไปกับผู้ได้วิชชาธรรมกายแล้ว

    แต่ถ้าคนไหนที่จิตยังไม่เป็นสมาธิ บอกว่ายังไม่เห็นอะไร ก็ต้องนั่งไปจนกว่าจะเห็น ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต้องบวช บางคนต้องนั่งสมาธิในพิธีอุปสมบทเกือบ ๒ ชั่วโมงก็มี จึงจะทำพิธีอุปสมบทต่อได้…

    ดังนั้นพระสงฆ์รูปใดที่ได้รับการอุปสมบทจากหลวงพ่อ จะรู้สึกว่าได้รับเกียรติจากหลวงพ่ออย่างสูงยิ่ง เพราะหลวงพ่ออุตส่าห์ตั้งอกตั้งใจสอนกรรมฐานตัวต่อตัว อุตส่าห์นั่งรอด้วยความอดทนว่าลูกศิษย์จะเห็นดวงปฐมมรรคหรือยัง นานแค่ไหนก็รอได้ ไม่บ่นปวดเมื่อย รำคาญ เหน็ดเหนื่อย ไม่ดุไม่ว่า

    ทุกคนที่อยู่ในคณะสงฆ์ก็ต้องนั่งรอเป็นชั่วโมงด้วย ระหว่างรอก็ต้องปฏิบัติธรรมไปด้วย เพียงขอให้พระสงฆ์ ๑ รูปได้เห็นดวงธรรม ลำบากอย่างไรก็ต้องยอม

    **จากหนังสือตรีธาเล่าเรื่องหลวงพ่อวัดปากน้ำ

    c_oc=AQkyAKEZ1Uw-t8Yg8mqCvpPqRySqYPyAXS4E2UttAYGZ1Tpltr9rPoHNSjlBvCO9nqg&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    การอาศัยกายที่เข้าถึงเป็นแบบ ถูกหลักมัชฌิมาปฏิปทาหรือไม่ ?



    **************************************

    ขอกราบนมัสการและขอความเมตตาจากหลวงพ่อช่วยตอบปัญหาด้วยค่ะ ดิฉันเคยปฏิบัติเจริญภาวนาธรรมในสายอื่นที่สอนให้ปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ แม้เพียงตัวตนของเรา ก็ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ตามขั้นตอนของการพิจารณาดูสังขารในสติปัฏฐาน 4 แม้เพียงนิมิต ก็ไม่ให้เอาเป็นอารมณ์หรือยึดติด แต่เมื่อเข้ามาปฏิบัติ ณ สถานที่แห่งนี้ กลับตรงกันข้าม แม้เพียงเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ให้มาก็มีข้อความเป็นโดยนัยลักษณะเดียวกัน อย่างนี้จะไม่เป็นการสอนให้ยึดมั่นถือมั่นหรือค่ะ เช่น ในหนังสือหลักการเจริญภาวนา (เล่มสีฟ้า) หน้า 22 ระหว่างบรรทัดที่ 1 ถึงบรรทัดที่ 18 เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม เข้ากลางกายแต่ละกาย ผู้ปฏิบัติจะต้องยึดกายที่เข้าถึงเป็นแบบ ไปอย่างนี้เรื่อย ๆ จะถึงกายธรรมอรหัตละเอียด ดิฉันสงสัยว่า จะถูกทางที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ในหลักของมัชฌิมาปฏิปทา และการปล่อยวางต่างๆ หรือไม่ ?



    ------------------------------------------------
    a.gif







    ตอบ:



    ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจ คำว่า "ยึดมั่น หรือ ยึดติด" คำว่า "ตัวตน" คำว่า "นิมิต" และ "ปล่อยวาง" ให้ดีเสียก่อน ก็จะเข้าใจความหมายคำของหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ง่าย กล่าวคือ

    การปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในพระพุทธศาสนานั้นมุ่งที่จะอบรมจิตใจให้สงบและผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ (ธรรมชาติเครื่องเศร้าหมองอันเป็นเครื่องกั้นปัญญา)ควรแก่งานแล้วพิจารณาสภาวะของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่มีวิญญาณครอง) และอนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง) ทั้งปวง ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริง ว่า ไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกขํ) และมิใช่ตัวตน ของใครที่ถาวรแท้จริง (อนตฺตา) เพื่อให้คลายอุปาทานความยึดถือ(ยึดมั่น ยึดติด) ว่าเป็นตัวตน (มีแก่นสารสาระของความเป็นตัวตนที่แท้จริง) ว่าเป็น บุคคล เรา-เขา ของเรา-ของเขา ด้วยตัณหาและทิฏฐิ ความหลงผิด (ความคิดว่าเป็นตัวตน) นั้นเสีย

    เพราะอุปาทาน คือความยึดถือสังขารธรรมทั้งปวงที่ไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนที่แท้จริงของใครนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ด้วยตัณหา และทิฏฐิ(ความหลงผิดว่าเป็นแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน บุคคล เรา-เขา) นั้น เป็นทุกข์จริงๆ แท้(ทุกขสัจ) ตามส่วนแห่งความยึดถือนั้น ยึดมาก ก็ทุกข์มาก ยึดน้อย ก็ทุกข์น้อย ไม่ยึดเลย ก็ไม่ทุกข์เลย

    "อุปาทาน ความยึดมั่น" ณ ที่นี้หมายถึง ความรู้สึกเป็นเจ้าของเมื่อไปมีอุปาทาน(ความยึดถือ) คือมีความรู้สึกเป็นเจ้าของในสิ่งที่ไม่มีแก่นสารสาระ ในความเป็นตัวตนที่เป็นเองโดยธรรมชาติไม่เที่ยงต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งอยู่เสมอ ด้วยตัณหา(ความทะยานอยาก) และทิฏฐิ(ความหลงผิด) จึงเป็นทุกข์ดังตัวอย่างพระบาลีว่า สงฺขิตฺเตนปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา กล่าวว่าโดยสรุป อุปาทานเบญจขันธ์เป็นทุกข์

    ได้เคยมีบางท่านกล่าวว่า"เพราะบุคคลมีอุปาทาน จึงมีอัตตา ถ้าไม่มีอุปาทาน อัตตาก็ไม่มี" คำกล่าวเช่นนี้ ไม่ถูกต้อง

    ฉะนั้นการพิจารณาดูสังขารในสติปัฏฐาน 4 ก็เพื่อให้เห็นแจ้งด้วยปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นถูกต้อง ตามพระพุทธดำรัสต่อไปนี้ ว่า

    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ฯ ธรรม (สังขารธรรม) ทั้งปวงมิใช่ตนคือไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน

    และว่า ยถา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโควิสุทฺธิยา ฯ

    "เมื่อใดที่พระโยคาวจรเห็นด้วยปัญญา ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ และ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาแล้ว เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด"

    คำว่า ธรรมทั้งปวง ณ ที่นี้หมายเอาสังขารธรรมมีเบญจขันธ์เป็นต้น เท่านั้นที่เป็น "อนัตตา"เพราะไม่มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตนที่ถาวรแท้จริงของใคร และนี้ก็เป็นพระพุทธดำรัสในลำดับ "นิพพิทาญาณ" ซึ่งเป็นขั้นตอนของการยกเอาสังขารมีเบญจขันธ์เป็นต้น ขึ้นพิจารณาเพื่อให้เห็นแจ้งแทงตลอดพระไตรลักษณ์ อันจะนำไปสู่วิราคะ วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน จึงยังไม่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์เพราะเหตุนั้นพระพุทธดำรัสว่า "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา" ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา นี้ จึงหมายเอา "สังขารธรรมทั้งปวง" หรือธรรมชาติที่เป็นไปในภูมิ 3 (กามภูมิ-รูปภูมิ-อรูปภูมิ)ทั้งหมดเท่านั้น

    ที่หลวงพ่อ (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) ท่านสอนว่าให้เข้ากลางของกลางแต่ละกาย แล้วให้ผู้ปฏิบัติยึดกาย ที่เข้าถึงเป็นแบบไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนถึงธรรมกายอรหัตละเอียด นั้นหมายความว่าเมื่ออบรมใจให้หยุดให้นิ่ง จนบริสุทธิ์ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ด้วยและจิตใจไม่ปรุงแต่งด้วย จึงยิ่งบริสุทธิ์จากกิเลสเครื่องเศร้าหมองและจึงถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายต่อๆ ไปอย่างนี้จนสุดละเอียดก็จะถึงกายในกายที่บริสุทธิ์ผ่องใส ณ ภายใน ต่อๆ ไปตามลำดับ คือต่อจากกายมนุษย์หยาบ ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด เมื่อถึงแล้ว ไม่ใช่ให้ดู คือเพียงแต่เห็นเฉยๆ ถ้าเพียงแต่เห็นเฉยๆ ธรรมก็ไม่ก้าวหน้าแต่ให้ดับหยาบไปหาละเอียดคือ ให้ละอุปาทานกายหยาบ ได้แก่ ละความรู้สึกทั้งหมดอันเนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ เข้าไป (สวมความรู้สึก) เป็นกายมนุษย์ละเอียดเพื่อให้ใจของกายมนุษย์ละเอียดที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าของกายมนุษย์หยาบนั้น ทำหน้าที่เจริญภาวนาต่อไปให้สมบูรณ์เต็มที่ เพื่อความเข้าถึง รู้ - เห็น และเป็นกายในกาย(รวมเวทนา-จิต-ธรรม) ที่บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไปตามลำดับ

    การเข้าถึง รู้-เห็น และเป็นกายละเอียด (กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน)เป็นขั้นๆ ไปอย่างนี้ "ดับหยาบไปหาละเอียด" จนสุดละเอียดถึงธรรมกายต่อๆ ไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกายอรหัต เป็นขั้นๆ ไปอย่างนี้ แหละที่หลวงพ่อท่านอธิบายว่า เมื่อปฏิบัติถึงกายละเอียด(กายในกายที่ละเอียดและบริสุทธิ์) แล้ว ต้องยึดกายละเอียดที่เข้าถึงนั้นเป็นแบบ คือเป็นแนวทางปฏิบัติภาวนาให้ถึงกาย และธรรมที่ละเอียดๆ ที่บริสุทธิ์ ผ่องใสยิ่งกว่าเดิมต่อๆ ไปตามลำดับ ในทางธรรมปฏิบัติจึงเป็นการละอุปาทาน (ความยึดถือ) สังขารธรรมที่ไม่บริสุทธิ์เพื่อความเข้าถึง รู้-เห็น และเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป จนถึงธรรมกายอันเป็นกายที่พ้นโลกพ้นความปรุงแต่ง (สังขาร) อันเป็นธรรมชาติที่บริสทุธิ์ผ่องใส โดยไม่ใช่ให้ยึดติด

    ที่ว่า "ให้ยึดกายที่เข้าถึงเป็นแบบ" นั้น หมายถึงให้เอาเป็นแนวทาง เป็นพื้นฐานในการเจริญภาวนาให้ถึงธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นต่อๆ ไป เหมือนการขึ้นบันไดทีละขั้นๆ ไปถึงชั้นบนบ้านได้ก็ต้องอาศัยบันไดขึ้นต่ำที่เราขึ้นไปถึงแล้วนั้น ก้าวขึ้นไปสู่บันไดขั้นสูงยิ่งขึ้นต่อๆ ไป ตามลำดับจึงเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องที่สุด

    ถ้ามัวแต่ไปเพ่งที่คำพูด แต่ไม่เข้าใจถึงความเป็นไปอันแท้จริงของธรรมปฏิบัติจึงไขว้เขวได้อย่างนี้มีเยอะ มีแต่นักอ่าน นักพูดนักวิจารณ์ แต่ไม่เข้าใจถึงความเป็นไปอันแท้จริงของธรรมปฏิบัติก็ไขว้เขวได้มาก อย่างนี้ ยิ่งคนดังๆ พูดแล้วคนก็เชื่อมากเสียด้วย เพราะฉะนั้นให้พยายามปฏิบัติต่อไปให้เข้าถึงกายที่ละเอียดๆ (เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม) ถึงธรรมกายต่อๆ ไปให้สุดละเอียดถึงพระนิพพานก็จะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งไปเอง

    เรื่อง"นิมิต"นั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ เป็นขั้นตอนของการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง มีปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ฉบับ พ.ศ. 2521 ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย (องฺ ฉกฺก. 22/39/430-431)ว่าดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ เป็นผู้พอใจในหมู่, ยินดีในหมู่, ตามประกอบความพอใจในหมู่, อยู่แล้วหนอ; เธอนั้นจักมาเป็นผู้โดยเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้วจักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละสัญโญชน์ทั้งหลายนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้.

    เมื่อไม่ละสัญโญชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เลย.

    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่ไม่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่ตามประกอบความพอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ๆ ไม่เป็นผู้พอใจในหมู่, ไม่ยินดีในหมู่, ไม่ตามประกอบความพอใจในหมู่,อยู่แล้วหนอ; เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อเป็นผู้โดดดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบรูณ์ได้นั้นข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้แล้ว จักละสัญโญชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้.

    เมื่อละสัญโญชน์ทั้งหลายได้แล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้นข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้แล.

    (คำแปลจากหนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ของคณะธรรมไชยา พ.ศ.2514 หน้า 285-286)

    กล่าวโดยสรุป "นิมิต" เป็นขั้นตอนของการเจริญสมถภาวนาเพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญาให้จิตใจผ่องใสควรแก่งานและ เป็นขั้นตอนของวิปัสสนาภาวนา คือ ยกสังขารนิมิต มีเบญจขันธ์ เป็นต้น ทั้ง ณ ภายนอก (ส่วนหยาบ) และทั้ง ณ ภายใน (ส่วนละเอียด) ขึ้นพิจารณาให้เห็นแจ้ง รู้แจ้ง สภาพความปรุงแต่งและ ลักษณะอันเป็นเอง ของสังขารธรรมที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ว่าเป็นสภาพ ไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และ มิใช่ตัวตนที่แท้จริงของใคร (อนตฺตา)

    ในขั้นสมถภาวนา เมื่อสามารถถือเอาปฏิภาคนิมิตได้ ก็จะได้สมาธิจิต ในระดับอัปปนาสมาธิอันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌานมรรคจิตอันประกอบด้วยสัมมาสมาธิ จึงจะเริ่มสามารถทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ เพราะฉะนั้น ถ้าใครปฏิเสธนิมิตเสียตั้งแต่สมาธิจิตยังสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน มรรคจิตก็ย่อมจะยังไม่เจริญขึ้นสมบูรณ์ให้สามารถทำหน้าที่ปหานสัญโญชน์ได้เต็มกำลัง เพราะขาดสัมมาสมาธิ(การเจริญรูปฌานตั้งแต่ปฐมฌาน-จตุตถฌาน) อันเป็นไปเพื่อเจริญปัญญาเห็นแจ้ง รู้แจ้งในสภาธรรมและอริยสัจจธรรมตามที่เป็นจริงได้

    อนึ่ง เมื่อสมาธิจิตเป็นฌานจิต ตั้งแต่ปฐมฌานและเจริญขึ้นไปตามลำดับฌานนั้น ย่อมละองค์แห่งฌานที่หยาบ หรือเรียกว่า"ดับหยาบไปหาละเอียด" ไปเองโดยอัตโนมัติ อย่างสงสัยเลย

    ในขั้นวิปัสสนาภาวนาถ้าไม่ยกสังขารนิมิต อันตัณหาปวัตติ (ปรุงแต่งให้เป็นไป) ให้เห็นแจ้งสภาพความปรุงแต่ง และลักษณะอันเป็นเองตามธรรมชาติของสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวง ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตาอย่างไรแล้ว ภาวนามยปัญญา(ปัญญาแจ้งชัดจากการเจริญภาวนาจริงๆ ) จะเกิดได้อย่างไร ? ก็จะได้แต่เพียงสุตามยปัญญา และ จินตมยปัญญา จากสัญญา คือความจำได้หมายรู้จากตำรา หรือจากที่ฟังเขาว่ามาเท่านั้นเอง

    ใครสอนให้ละ"นิมิต"ตั้งแต่ขั้นแรกของสมถและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ก็เท่ากับสอนให้ละฐานสำคัญที่จะให้เกิดสมาธิจิตในระดับปฐมฌานขึ้นไป อันจะนำไปสู่การเห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวะของสังขารธรรม และสัจจธรรมตามที่เป็นจริง การเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานก็จะมีสภาพเป็น "วิปัสสนึก (เอาเอง)"เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอุบายให้ได้รับผลเบื้องต้นในระดับหนึ่งแต่มรรคจิตก็ไม่สมบูรณ์พอจะปหานสัญโญชน์โดยเด็ดขาดได้ ต่อเมื่อถึงฌานจิตตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป จึงจะมีพลังพอที่จะปหานสัญโญชน์โดยเด็ดขาดได้ จึงขอให้ทบทวนพระพุทธดำรัสข้างต้นนี้ให้ดี จะได้ไม่หลงทางปฏิบัติ วนอยู่แต่ในวิธี "ขุดบ่อไม่ถึงตาน้ำ"


    ?temp_hash=cc6b4bd000c3acc24f3f8e3fcdffec78.gif
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 18kaya.gif
      18kaya.gif
      ขนาดไฟล์:
      23 KB
      เปิดดู:
      134
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    c_oc=AQntEdFMsBl4ijHsPhG4UmJ_vocxHnHIj5jjXSmwEVMHwBPXM3CGIGY6fpU6Rvu8v20&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    a.jpg

    "เออ... มันยากอย่างนี้นี่เอง ถึงได้ไม่บรรลุกัน ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ ต้องรวมเป็นจุดเดียวกัน เมื่อหยุดแล้วจึงดับ เมื่อดับแล้วจึงเกิด ถ้าไม่ดับ ก็ไม่เกิด นี่เป็นของจริง ของจริงต้องอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนนี้ เป็นไม่เห็นเด็ดขาด "


    ****************************************
    ผู้ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ทราบ คำสอนของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ดังกล่าวข้างต้น
    และนำไปปฏิบัติด้วยอิทธิบาท ย่อมทราบได้ว่า

    การจะผ่านแต่ละขั้นตอน ต้องหยุดนิ่งตามที่ท่านสอนแล้วจะเห็นอริยสัจจ์ในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่รายละเอียดของความเป็นมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม ธรรมกายขั้นต้นที่ยังไม่บรรลุมรรคผล จนเข้าถึงของสูงในพระพุทธศาสนา

    หยุด แล้วจะเห็น

    เห็นเพื่อรู้

    รู้ เพื่อปล่อย


    ตั้งแต่หยาบๆ ไปหาละเอียด จนพ้นกระแสความร้อยรัดของสามโลก
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    อมตวัชรวจีหลวงป๋า

    - ของจริงในพระพุทธศาสนาต้องเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
    ให้จำหลักไว้ มารตัวจริงคือกิเลส.

    บุคคลที่มีจิตใจที่เต็มไปด้วยกิเลสมาร เขาเรียกเทพบุตรมาร ยิ่งอยู่ในที่สูงแล้วมีกิเลสมารอยู่มาก เรียกว่าเทพบุตรมาร อย่างนี้ เพราะฉะนั้นให้เข้าใจความหมาย

    มารคือกิเลส
    กิเลสคืออะไร ?
    หรือมารคืออะไร ?

    คือ ธรรมชาติที่ขัดขวางคุณความดี กิเลสมารก็ขัดขวามคุณความดี สังขารมารความเจ็บไข้ได้ป่วยก็ขัดขวางคุณความดี มัจจุมาร มารยังให้เกิดความตายก็ขัดขวางคุณความดี เพราะฉะนั้นให้เข้าใจความหมายว่า มารมีจริงอย่างไร โดยความหมายอย่างไร ภาษาพระแท้ๆ

    ที่นี้ ยักษ์ล่ะ มาจากไหน ?

    ยักษ์ ผู้ที่มีกิเลสมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าโทสะ เป็นต้น แล้วก็ ตายแล้วก็ไปเกิดเป็นยักษ์ ยักษ์จริงๆ เป็นบริวารของท้าวเวสวัณ เพราะฉะนั้น ยักษ์ส่วนใหญ่เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่มีสัมมาทิฏฐิด้วยเหมือนกัน

    แต่ว่า ประสงค์ไปเกิดเป็นยักษ์ก็มี ตัวอย่างนี้ ก็คือท่านที่ไปเกิดเป็น ชนวสภะเทพบุตร น่ะบริวารของท้าวเวสวัณ

    พระเจ้าพิมพิสาร ประวัติพระพุทธเจ้าน่ะ เป็นพระโสดาบันแล้ว ถูกบุตรชายคือ พระเจ้าอชาติศรัตรู ทรมานจนตาย นั่นแหละ พระเจ้าอชาติศรัตรูนั่นแหละ มีอาการของเทพบุตรมาร เพราะมีความโง่เขลาเบาปัญญา แต่ภายหลังได้กลับมาเป็นสัมมาทิฏฐิก่อนตาย ก็ยังดีหน่อย ตายแล้วก็ต้องไปล่ะ ปิตุฆาต นั่น ฆ่าพ่อ เป็นอนันตริยกรรม ได้รับกรรมนี้ก่อน หนักมาก ตายแล้วต้องไปเกิดอยู่ในอเวจีมหานรก เพราะไม่มีอะไรจะไปขัดขวางได้ กรรมเจ้ากรรมเนี่ย คือ กรรมหนักเนี่ย

    ปิตุฆาต คือ ฆ่าพ่อ ตายแล้วมีคติเดียว ไปเกิดในอเวจีมหานรก เป็นขุมที่ ๘ อย่างนี้เป็นต้น แต่ว่าได้กระทำความดีในภายหลังนะ ในภายหลังในบั้นปลายชีวิต ได้สนับสนุนอุปถัมป์พระพุทธศาสนา ก็ยังดี นี่ก็เป็นตัวอย่าง

    พระเจ้าพิมพิสารนี่ เป็นพระโสดาบันบุคคลแล้ว เสด็จสวรรคตเพราะถูกพระราชโอรสทรมานจนตาย เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว จิตยังผูกพันธ์อยู่กับภพเก่าที่เคยเป็นบริวารของท้าวเวสวัณ ปรารถนาจะไปเกิดที่นั่น ตายแล้วก็ไปเกิดเป็นพญายักษ์ เรียกว่าเป็นเหมือนกับมือขวาของท่านท้าวเวสวัณเลย ในระดับเลขาอะไรประมาณนั้น ชื่อ ชนวสภะเทพบุตร นี่ก็มี เพราะฉะนั้นให้เข้าใจว่า ยักษ์จริงๆมีอยู่

    แต่ผู้มีจิตใจเป็นยักษ์เป็นมาร มารคือกิเลส แม้ยักษ์ก็ไปจากกิเลสประเภทโทสะมากๆ นี่ ไปเกิดเป็นยักษ์ก็มาก แต่ที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็มี แต่นั่นเพราะจิตใจผูกพันธ์อยู่ในภพเก่า ที่เคยเป็นบริวารของท้าวเวสวัณ

    ท้าวเวสวัณนี่ มีอำนาจมากนะ รูปร่างเดิมของท่านก็เป็นยักษ์นะ แต่ท่านจะอธิษฐานเป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้นแหละ พระรูปจริงๆ หรือว่ารูปกายจริงๆ ถ้าให้สวยงามก็สวยหล่อไปเลย แต่ถ้ารูปดั้งเดิมของท่านล่ะก็ ดูไม่ได้เลยแหละ อย่างนี้เป็นต้น

    ของจริงในพระพุทธศาสนาต้องเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เข้าใจนะ อันนี้ หลวงตาก็เล่าให้ฟังพอเป็นเกร็ดความรู้

    ให้จำหลักไว้ มารตัวจริงคือกิเลส คือกิเลสมาร มีอยู่ในจิตใจของผู้ใดมาก ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันมาก บุคคลเช่นนั้นก็ชื่อว่ามาร เทพบุตรมาร..ถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในที่สูงถ้าว่าปฏิบัติตามอำนาจของมันมาก

    แต่ว่าเทพบุตรมารมีจริงๆมั้ย ที่เป็นเทพบุตร เทพธิดา...มี แม้แต่ที่ชื่อว่า นางตัณหา นางราคา ที่เคยผจญพระพุทธเจ้าก็ของจริง นั่นแหละ เป็นพระราชธิดาของจอมเทพในมารโลก มีอยู่ของจริง ไอ้นั่นแหละคอยดลจิตดลใจ หรือคอยสำแดงด้วยกิเลส นั้นแหละ เพื่อผูกใจสัตว์โลกให้ติดอยู่ในกิเลสกาม มีอยู่

    เพราะฉะนั้นให้เข้าใจว่า มารคือกิเลส ถ้าอยู่ในจิตใจของผู้ใดมาก คนนั้นชื่อว่าเทพบุตรมาร แต่มารที่ทำให้เกิดความเจ็บไข้ได้ป่วย อันนั้นเขาเรียกว่าสังขารมาร หรือจะแปลว่าโดยความหมายว่า มารคือความเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ได้ แต่ถ้ามารยังให้เกิดความตาย เรียกว่ามัจจุมาร ก็ความตายนั่นแหละมัจจุมาร

    ให้เข้าใจนะ เป็นสมมติเรียกชื่อให้ตรงกับสภาวะของเขา เป็นสมมติชื่อในอาการอย่างนั้นของสัตว์โลก มนุษย์ ทิพย์ อย่างโน้นอย่างนี้ หรือเทพยดา เทพบุตร อย่างโน้นอย่างนี้มีอยู่ ให้เข้าใจนะ

    แต่ว่า..ความเป็นพระก็มีอยู่ในใจคน มีมากก็เรียกว่าพระภายใน ที่ห่มผ้ากาสาวพัสตร์เนี่ย พระภิกษุภายนอก นี่ เรามาสร้างพระในใจตน คือ สร้างคุณความดีให้เกิดขึ้น ณ ภายใน แล้วเกิดความดีนี่ มีพระมั้ย..มี ค่อยๆรู้ไป พระนั้นคือธรรมกาย นี่แหละ เราจะสร้างพระในใจตน แล้วช่วยสร้างพระในใจผู้อื่น เข้าใจนะ

    _______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
    ที่มา
    เทศนาธรรมช่วงอบรมพระวิปัสสนาจารย์
    รุ่นปลายปี ๒๕๕๙
    _______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    มองเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงด้วยปัญญา ทั้งโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เหมือนที่หลวงป๋าท่านสอนไว้ว่า รู้โลกไม่หลงโลก รู้่ธรรมไม่หลงธรรม
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    กสิณสิบกองตามแนววิชชาธรรมกาย ( ตามแบบดั้งเดิม )

    กสิณ ๑๐ กอง
    (กรรมฐานที่มีอานุภาพมาก)

    ภูตกสิณ
    ๑.อาโปกสิณ (เพ่งน้ำเป็นอารมณ์)
    ๒.ปฐวีกสิณ (เพ่งดินเป็นอารมณ์)
    ๓.เตโชกสิณ (เพ่งไฟเป็นอารมณ์)
    ๔.วาโยกสิณ (เพ่งลมเป็นอารมณ์)

    วรรณกสิณ
    ๕.นีลกสิณ (เพ่งสีเขียวเป็นอารมณ์)
    ๖.ปีตกสิณ (เพ่งสีเหลืองเป็นอารมณ์)
    ๗.โลหิตกสิณ (เพ่งสีแดงเป็นอารมณ์)
    ๘.โอทาตกสิณ (เพ่งสีขาวเป็นอารมณ์)

    เสสกสิณ
    ๙.อาโลกกสิณ (เพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์)
    ๑๐.อากาสกสิณ หรือปริจฉินนากาสกสิณ (เพ่งอากาศ หรือที่ว่างเป็นอารมณ์)*

    *อากาสกสิณ ต่างจากอากาสานัญจายตนฌาน ตรงที่กสิณทุกกองจะมีมณฑลกสิณ คือนิมิตเป็นวงกลม จึงต่างจากอากาสานัญจายตนฌาน ตรงที่อากาสานัญจายตนฌานจะพิจารณาอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ ไม่ได้กำหนดมณฑล


    วิธีฝึก

    เตรียมอุปกรณ์ในการเพ่งกสิณในแต่ละกอง ตั้งให้ห่างจากตัวพอเหมาะ อยู่ในระดับสายตา มองเห็นได้ชัด และไม่ใกล้เกินไป ไม่ไกลเกินไป

    เพ่ง ดูด้วยสายตาอย่างสบายๆ(ไม่ควรเกร็ง) ให้จำภาพนั้นๆได้ชัด โดยใจนึกให้เห็นสิ่งที่เราเพ่ง เป็นมณฑล(วงกลม)เหมือนฉายหนัง เป็นจอกลมๆ ติดใจชัด

    แล้วน้อมบริกรรมนิมิตนั้น มาที่ศูนย์กลางกาย ส่งใจเพ่งไปที่จุดเดียว คือดวงกสิณ ไม่ต้องสนใจอะไรภายนอก ท่องในใจไป กะสิณังๆๆๆ เรื่อยไป สบายๆ ไม่ต้องเกร็ง ไม่ต้องเพ่งหนักเกินไป พอดีๆ จนเกิด อุคคหนิมิต คือนิมิตติดตา หลับตาก็เห็น ลืมตาก็เห็นชัด ใจเริ่มสงบลงมาก ก็บริกรรมต่อไป กสิณังๆๆ จนเกิดปฏิภาคนิมิต ขาวใสสว่างดุจกระจกส่องหน้าสะท้อนแสง แล้วให้นึกขยายให้ใหญ่ก็ได้ และย่อให้เล็กลงก็ได้ตามชอบใจ

    แล้วจึงเข้าฌาน อนุโลม ปฏิโลม ตามแนววิชชาธรรมกาย (อ่านในวิธีเจริญรูปฌาน) หรือจะเดินสมาบัติ ๘ แล้วแต่ชอบใจ


    วิธีตั้งมณฑลกสิณด้วยดวงธรรมในกายมนุษย์และกายทิพย์

    หมายเหต* ศัพท์บัญญัติเฉพาะ (กายโลกีย์)
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เรียกว่า ดวงปฐมมรรค
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ เรียกว่า ดวงทุติยมรรค
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม เรียกว่า ดวงตติยมรรค
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม เรียกว่า ดวงจตุตถมรรค

    คราวนี้จะใช้เฉพาะกายโลกีย์ทั้ง ๘ (กายที่ไม่ใช่กายธรรม) เพื่อประกอบโลกียฌาน สับกาย ซ้อนกาย เฉพาะกายโลกีย์ สัก ๗ เที่ยว ให้กายมันใสทุกกาย

    เมื่อ กายใสดีแล้ว เข้าตั้งกสิณในดวงทุติยมรรคของกายทิพย์(หรือในกายมนุษย์ก็ได้) พอดวงทุติยมรรคใสใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นึกบริกรรมว่า ปฐวีกสิณัง ดินก็เกิดขึ้นในดวงนั้นเป็นปฐวีกสิณ น้อมจิตนิ่งแน่นเลยดินลงไป น้ำก็ผุดขึ้นเป็นอาโปกสิณ ไฟก็ซ้อนอยู่ในน้ำเป็นเตโชกสิณ ลมซ้อนอยู่ในไฟเป็นวาโยกสิณ สีเขียวอยู่ในลมเป็นนีลกสิณ สีเหลืองอยู่ในสีเขียวเป็นปีตกสิณ สีแดงอยู่ในสีเหลืองเป็นโลหิตกสิณ สีขาวอยู่ในสีแดงเป็นโอทาตกสิณ แสงสว่างอยู่ในสีขาวเป็นอาโลกกสิณ อากาศว่างอยู่ในแสงสว่างเป็นอากาสกสิณ แล้วเดินสมาบัติในกสิณนั้น

    หลวงปู่สดท่านเมตตาสอนวิธีการเดินสมาบัติในกสิณ เพื่อตรวจดูภพต่างๆไว้ ว่าเวลาจะเดินสมาบัติในกสิณเหล่านี้ ก็ต้องซ้อนดวงกสิณให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามลำดับ แล้วจึงเดินสมาบัติ วิธีเดินสมาบัติต้องใช้ธรรมกายเดิน(ทีนี้ไม่ใช่โลกียฌานแล้ว)


    เวลาจะตรวจดูภพไหนให้เห็นชัด ก็ประกอบดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายระดับนั้นๆ*เป็นสมาบัติ ที่ตั้งของดวงธรรมนั้นเป็นกสิณ (ตรวจโลกมนุษย์ *ทวีปทั้ง ๔ ในจักรวาลนี้ ก็ใช้ดวงธรรมในกายมนุษย์ ตรวจภพเทวโลกใช้ดวงธรรมในกายทิพย์ ตรวจพรหมโลกใช้ดวงธรรมในกายรูปพรหม ตรวจอรูปพรหมใช้ดวงธรรมในกายอรูปพรหม) เดินสมาบัติในกสิณ ใช้กายธรรมเป็นผู้เดินสมาบัติ ตรวจดูให้รู้ตลอด เป็นอยู่กันอย่างไร ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    คำหลวงปู่
    .............................. ถึงหลวงพ่อจะสอนวิธีการบรรลุธรรมอย่างละเอียดลออ บอกกันอย่างถึงแก่นกันทีเดียว ไม่ใช่บอกแต่เปลือก สอนกันอย่างไม่หวงวิชชาความรู้ไม่มีขยักกั๊กไว้แม้สักน้อย สำหรับคนที่ยังไม่ได้ ท่านก็ให้เจริญอิทธิบาท ๔ ท่านอธิบายไว้ ดังนี้

    อิทธิบาท ๔ เป็นหัวใจแห่งความสำเร็จทั้งมวล ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา แปลอย่างจำได้ง่ายว่า ปักใจ บากบั่น วิจารณ์ ทดลอง ไม่ว่าจะทำกิจการใด ถ้าประกอบด้วย ๔ อย่างนี้ เป็นสำเร็จทั้งสิ้น ว่าโดยเฉพาะในการบำเพ็ญภาวนา

    ๑) ต้องปักใจรักการนี้จริง ๆ ประหนึ่งชายหนุ่มรักหญิงสาว
    ๒) ต้องบากบั่น พากเพียรเอาจริงเอาจัง การทำใจให้หยุดเป็นของทำได้ยากแก่บุคคลผู้เกียจคร้านคนมีความเพียรทำไม่ยาก
    ๓) วิจารณ์ ตรวจดูการปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามแนวสอนของอาจารย์ให้ดีที่สุด
    ๔) ทดลอง ในที่นี้ได้แก่หมั่นใคร่ครวญสอดส่องดูว่าวิธีการที่ทำไปนั้น มีอะไรขาดตกบกพร่องบ้าง รีบแก้ไข อย่างนั้นไม่ดี
    เปลี่ยนอย่างนี้ลองดูใหม่ เช่นนั่งภาวนาในที่นอน มักจะง่วง ก็เปลี่ยนมานั่งเสียที่อื่น เป็นต้น

    ข้อสำคัญให้ยึดแนวสอนเป็นหลักไว้ อย่าออกนอกทาง ๔ อย่างนี้ เรียกว่าอิทธิบาท เป็นเครื่องที่จะช่วยให้เกิดความสำเร็จในกิจทั้งปวง

    ท่านปรารภเรื่องความเพียร อันเป็นข้อ ๒ ของอิทธิบาท ๔ เสมอว่า วัน คืน เดือน ปีล่วงไป ๆ มิได้ล่วงไปแต่วัน คืน เดือนปีเปล่า ๆ ชีวิตของเราล่วงไปตามวัน คืน เดือน ปีนั้นไปด้วย ชีวิตที่เป็นอยู่ร้อยปีพอหมดไปเสียวันหนึ่ง ก็ขาดร้อยปีไปวันหนึ่ง แล้วลดคืนหนึ่ง ผ่านร้อยปีไปแล้วคืนหนึ่ง แล้วหมดเสียวันกับคืนหนึ่ง ขาดร้อยปีไปวันกับคืนหนึ่งแล้ว อย่างนี้เรื่อยไป เมื่อวัน คืน เดือน ปีล่วงไปเท่าไร ชีวิตก็หมดไปเท่านั้น

    ท่านให้หมั่นยึดถือสุภาษิตนี้ แล้วจะหลุดพ้นได้เร็ว

    “ ด้วยความหมั่นมั่นใจไม่ประมาท
    รักษาอาตม์ข่มใจไว้เป็นศรี
    ผู้ฉลาดอาจตั้งหลักพำนักดี
    อันห้วงน้ำไม่มีมารังควาน ”

    คำว่าห้วงน้ำ หลวงพ่อหมายถึงการวนเวียนอยู่ในภพด้วยอำนาจโอฆะกิเลส ๔ ประการ ที่เปรียบเหมือนกระแสคลื่นท่วมทับครอบงำจิตใจสัตว์อยู่ทุกเมื่อ ได้แก่ กาโมฆะ โอฆะคือกาม ภโวฆะ โอฆะคือภพ ทิฏฺโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชา

    หลวงพ่ออธิบายถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของเบญขันธ์ว่า รูปทั้งหลายไม่ว่าจะประณีตสวยงามหรือไม่ แตกต่างกันอย่างไรก็ตาม ก็มาลงเอยที่อนิจจังด้วยกันทั้งสิ้น คือตายหมดไม่มีเหลือ ไม่ว่าจะถือกำเนิดมาจากชั้นวรรณะใด ย่อมเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่อย่างนี้ มีแต่ความไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น ถ้าจะหาความเที่ยงความสุขก็ต้องหาภายในกายมนุษย์เข้าไป จนกระทั่งพบกายมนุษย์ละเอียด

    แต่ในกายมนุษย์ละเอียดก็ยังไม่สามารถหาความสุขเที่ยงได้ ต้องเดินเข้าไปอีกในกายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมละเอียด จนถึงการธรรม พอเข้าไปพบการธรรมนั่นแหละ จะรู้สึกตัวเองทันทีว่า นี่เองที่เที่ยงที่เป็นสุขจะเห็นสิ่งที่เที่ยงที่เป็นสุขในกายธรรม หรือธรรมกายนี้เอง

    เมื่อเข้าถึงกายธรรมแล้วใจคอที่เคยคับแคบก็เวิ้งว้างกว้างขวางสุขสบาย ใครไปถึงกายธรรมได้ก็แจ่มใสเบิกบาน กายธรรมนี่เป็นของเที่ยง การที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าอะไร ๆ ไม่เที่ยงนั้น จุดประสงค์ก็คือจะให้เข้าถึงกายธรรม จึงมีหลักว่านอกจากกายธรรมแล้ว จะเป็นกายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด เหล่านี้ต่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งสิ้น คือต้องเวียนว่ายอยู่ในภพทั้ง ๓ จึงเป็นกายที่ยังไม่เที่ยง ยังต้องเป็นทุกข์อยู่

    ต่อเมื่อเข้าถึงกายธรรมจึงเป็นนิจจัง สุขขัง อัตตาขึ้นทันที เป็นของเที่ยง เป็นสุขเป็นตัวตนทันทีเมื่อถึงกายธรรมละเอียดก็ยิ่งดีหนักขึ้น กายธรรมพระโสดา พระโสดาละเอียดก็ยิ่งดีหนักขึ้น เที่ยงหนักขึ้นสุขหนักขึ้นไม่มีถอย กายธรรมพระสกิทาคา พระสกิทาคาละเอียดก็เที่ยงหนักขึ้น สุขหนักขึ้น กายธรรมพระอนาคามี พระอนาคามีละเอียดก็ยิ่งเที่ยงหนักขึ้นสุขหนักขึ้น กายธรรมพระอรหัตต์ พระอรหัตต์ละเอียดก็ยิ่งเที่ยงทีเดียว สุขที่เดียวไม่แปรผันต่อไป เป็นกายคงที่คงวา อุปมาเหมือนเสาเขื่อน ย่อมไม่เขยื้อนไปตามอารมณ์โลกธรรมทั้ง ๘ คือ อิฏฐารมณ์ ๔ ได้แก่ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ และอนิฏฐารมณ์ ๔ ได้แก่ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ ติฉินนินทา ไม่สามารถทำให้ยุบลงหรือฟูขึ้นได้

    หลวงพ่อท่านได้ยกพระพุทธภาษิตประกอบว่า

    ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
    อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ฯ

    จิตของบุคคลผู้ใด อันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวไม่เศร้าโศก ไม่ยินร้ายไม่ยินดี ย่อมปราศจากความขุ่นมัว เป็นแดนเกษมจากโยคะ ได้ชื่อว่าเป็นมงคลอันสูงสุด ฯ

    หลวงพ่อท่านให้คติธรรม วิธีการประสบผลสำเร็จด้านการปฏิบัติธรรม ตามขั้นตอนไว้ดังนี้

    ประกอบเหตุ สังเกตผล สนใจเถิด ประเสริฐนัก
    ประกอบในเหตุ สังเกตในผล สนใจเข้าเถิดประเสริฐดีนัก
    ประกอบที่ในเหตุ สังเกตที่ในผล สนใจเข้าเถิด ประเสริฐยิ่งนัก

    ทำใจให้ใสเท่านั้นแหละ เป็นใช้ได้

    อิฏฐารมณ์เป็นที่นิยมชื่นชอบของทุกคนส่วนอนิฏฐารมณ์ไม่เป็นที่นิยม ไม่เป็นที่ปรารถนา เราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต เมื่อรู้จักอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เหล่านี้แล้วมีทางเลี่ยงได้โดยทำดังนี้ คือต้องบังคับจิตให้ดี ต้องตั้งจิตให้ดี ถ้าตั้งจิตให้ดีถูกหลักถูกฐานของที่ตั้งจิตแล้ว จะสามารถต่อสู้กับอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ได้

    ต้องหมั่นเอาใจจดจ่ออยู่ที่กลางกั๊ก อันเป็นศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ให้หมั่นเอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นเสมอ ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน กิน ดื่ม จะทำ จะพูด แม้แต่จะอุจจาระ ปัสสาวะ ก็หยุดอยู่ตรงนั้นเสมอ จรดหนักเข้า ๆ ๆ ๆ พอชินหนักเข้า ก็ชำนาญหนักเข้า ๆ ๆ ๆ ก็หยุดได้

    พอใจหยุดเสียได้เท่านั้นแหละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติฉินนินทา ทุกข์ ไม่มีทางกระทบกระเทือนแล้ว เฉยเสียแล้ว ถ้าทำจิตให้ได้ขนาดนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่า ถึงซึ่งมงคลสูงสุดแล้วถ้ายังอาดูรเดือดร้อนไปตามอนิฏฐารมณ์ เป็นอัปมงคลแท้ ๆ

    หลวงพ่อย้ำว่า “อัปมงคลมิใช่เป็นแต่เฉพาะฆราวาส หญิง ชายเท่านั้น ภิกษุ สามเณรก็เป็นได้เหมือนกัน พอสงบไม่ลง ทำใจให้หยุดไม่ได้ ก็เป็นอัปมงคล หลวงพ่อท่านเคยสอนพระสงฆ์ สามเณรว่า “ ภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา พอบวชแล้วไม่ต้องทำอะไร ทำใจให้ใสเท่านั้นแหละเป็นใช้ได้ ถ้าใจไม่ใส ภิกษุ สามเณรนั้นใช้ไม่ได้ ยังเป็นภิกษุสามเณรภายนอก ภายในเป็นไม่ได้ พอทำใจให้ใสได้เท่านั้นก็เป็นที่บูชาของมหาชนทีเดียว”



    https://www.facebook.com/Rakangdham...3385195862661/333561413511704/?type=1&theater
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    วัตถุประสงค์ ของการตรวจจักรวาล ภพสาม( กามภพ รูปภพ อรุปภพ) และโลกันต์


    ก็เพื่อให้รู้เห็นธรรมชาติที่เป็นไปในภพ 3 และโลกันต์ ว่า เป็นสภาพที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (สังขาร/สังขตธรรม) อย่างไร ได้แก่ปรุงแต่งด้วยบุญ (ปุญญาภิสังขาร) ปรุงแต่งด้วยบาป (อปุญญาภิสังขาร) และปรุงแต่งด้วยฌานสมาบัติที่ไม่หวั่นไหว (อเนญชาภิสังขาร)


    และเพื่อให้เห็นแจ้งรู้แจ้ง ในสามัญญลักษณะคือสภาวะที่เป็นเองเสมอกันหมดของสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวงว่า เป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อย่างไร


    ให้เห็นสัจจธรรม คือ ทุกขสัจ และ สมุทัยสัจ ตามที่เป็นจริง และพัฒนาขึ้นเป็นความเห็นแจ้งรู้แจ้งในอีก 2 สัจจธรรมที่เหลือ คือ นิโรธสัจ และ มรรคสัจ


    อันเป็นการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้สภาวธรรมและสัจจธรรม ตามที่เป็นจริงอย่างแจ่มแจ้ง เป็นหนทางให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานตามรอยบาทพระพุทธองค์



    -----------------------------------------



    สำหรับผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้พิสดารกาย เจริญฌานสมาบัติพร้อมกันหมดทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด โดยอนุโลมปฏิโลมหลายๆ เที่ยว ให้ใสละเอียดหมดทุกกาย

    หากประสงค์จะตรวจดูความเป็นไปในภพ 3 ก็ให้น้อมเอาภพ 3 เข้ามาเป็นกสิณ คือมาไว้ ณ ศูนย์กลางกาย แล้วใช้ตาคือญาณพระธรรมกายตรวจดูความเป็นไปในแต่ละภพ เริ่มตั้งแต่ อรูปภพ 4 ชั้น รูปภพ 9 ชั้น (16 ภูมิจิต) ตลอดไปจนถึงกามภพ ทั้งสวรรค์ 16 ชั้น และ นรก 8 ขุมใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้เขาพระสุเมรุลงไป ให้รู้เห็นความเป็นไปโดยตลอด หากประสงค์จะทราบบุพพกรรมคือกรรมเก่าที่กระทำไว้ในภพก่อนอย่างไร จึงได้มาเสวยผลบุญหรือผลบาปอยู่ในขณะนี้ ก็ไต่ถามดูได้
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    c_oc=AQmeruSjkeLrUfUlY5bMled1vkEGkcFdYeIYQjMb_5necjrIwnFA5RPE2eosOKLhA8g&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    เรื่อง "การบำเพ็ญบารมี เพื่อความสิ้นกิเลส และกองทุกข์ ถึง มรรค ผล นิพพาน"
    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน
    ...........

    ทีนี้ธาตุ ที่เป็นที่ตั้งของธรรม คือยังไง?
    ถ้าธรรมฝ่ายบุญกุศล เข้ามาดลจิตดลใจ ให้เป็นไปตามอำนาจของเขา ก็มีธรรมชาติเป็นเครื่องชำระจิตใจ เห็น จำ คิด รู้ ให้ใสสะอาด ตั้งอยู่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม และธาตุนี้แหละ หรือ ธรรมชาตินี้ ฝ่ายบุญกุศล นอกจากชำระเห็น จำ คิด รู้ แล้ว ยังชำระธาตุนั้นแหละ ให้สะอาด
    เพราะฉะนั้น คนดี จึงมีธาตุแห่งความดี ที่บริสุทธิ์ แล้วก็มีใจที่ดี ที่ชาวบ้านเรียกว่า "สันดาน"

    สันดาน แปลว่า ก้นบึ้งของหัวใจ คนที่สันดานดี ก็แปลว่า ทำความดีมามาก #จนจิตใจนี่ดีไปจนสุดละเอียดเลย นั่นสันดานดี นี่พูดให้เข้าใจภาษาง่าย ๆ แต่ธาตุสำหรับคนสันดานดี หรือทำความดีบ่อย ๆ ประทับความดีไว้ บุญกุศลขึ้นมาปรากฏชำระธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ให้ดี ผ่องใสอยู่เรื่อย ส่งผลให้ธาตุหยาบ จากธาตุละเอียดที่ว่า มหาภูตรูปสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ และวิญญาณธาตุ ขยายส่วนหยาบออกมา เป็นกาย ใจ จิต วิญญาณ ก็ดีไปด้วย นี่แหละที่ว่า ดีข้างนอก ก็ดีไปถึงข้างใน ดีจากข้างในเป็นเหตุให้ดีมาถึงข้างนอก นี่...มันกลับไปกลับมาอย่างนี้ แต่ว่าไม่ได้กลับไปไหน อยู่ตรงกลางของกลางนั่นแหละ

    เพราะฉะนั้น คนดีที่มีความดีมาก ๆ จะปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใส ใสด้วยบุญกุศลนั้นแหละ ทีนี้บุญกุศลนี้ ถ้าจิตละเอียด ถึงธรรมกายละเอียด ๆ แล้ว มันเห็นเป็นประเภทเชียวนะ แต่นั้นต้องละเอียดมาก

    ...........

    อนูโมทนาบุญท่านเจ้าของภาพและพิมย์บทความครับ


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,611
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,134
    ค่าพลัง:
    +70,498
    "พึงละธรรมดำแล้วเจริญธรรมขาว"
    พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี(หลวงพ่อวัดปากน้ำ) ได้แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องนี้ไว้ในเอนกสถานโดยชอบแล้ว

    โดยอาจารย์พระมหาศักฎา สุมโน (ป.ธ.๙ , รป.ม.)
    เจ้าอาวาสวัดป่าวิสุทธิคุณ จ.เพชรบุรี ได้นำบรรยายพร้อมภาพประกอบ
    ธรรมดำ คืออะไรบ้าง?
    ธรรมขาว คืออะไรบ้าง?
    วิธีละธรรมดำทำอย่างไร?
    และวิธีเจริญธรรมขาวทำอย่างไร?

    สามารถรับชมรับฟังได้ที่ลิงค์
    https://youtu.be/xBZre-mFFnE

    เครดิต เพจวัดป่าวิสุทธิคุณ



     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...