สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    ถ้าเลิกนั่งสมาธิจะทำให้รวยเป็นเศรษฐีจะเอาไหม...มารมายื่นข้อเสนอ

    ปี พ.ศ.๒๕๒๙ นี่คงเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ข้าพเจ้ารู้จักร้องไห้ น้ำตาคลอเบ้า...

    ขณะที่นั่งมองรูปหลวงพ่อสดบนโต๊ะหมู่บูชา เงินสักบาทไม่มีติดบ้าน ไหนจะลูกสองคนเล็กที่กำลังกินกำลังนอนต้องมาอดนมระยะหลังนี้ เพราะแม่ไม่มีเงินซื้อนมผงกระป๋อง ไหนจะลูกชายคนโตนอนป่วย รอการผ่าตัดหัวใจอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาไหนจะต้องหาเงิน ๒๕,๐๐๐ บาท จ่ายพิเศษค่าอาจารย์หมอผ่าตัด

    ทำไมการที่ข้าพเจ้าเลือก "ธรรมะ" ต้องแลกกับความทุกข์ยากเช่นนี้

    สามเดือนมาแล้วที่ครอบครัวต้องลำบากเพราะคืนนั้นทีเดียว..... ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังเจริญธรรมะอย่างเป็นสุข องค์พระขยายใหญ่สุดประมาณอยู่นั้น พลันปรากฏร่างอสูรกลุ่มหนึ่งแบกภูเขา เงิน ภูเขาทอง เหาะมากองต่อหน้าข้าพเจ้าและพูดขึ้นว่า........

    "ขอให้ท่านจงหยุดเจริญธรรม แล้วเราจะให้ท่านเป็นมหาเศรษฐีใน ๓ วัน ๗ วัน สมบัติเหล่านี้จะเป็นของท่านทันที"

    ข้าพเจ้ามองดูสมบัติเหล่านั้นอย่างไม่ยินดียินร้าย

    "พวกท่านจงไปเถอะ ข้า ฯ ไม่ต้องการสิ่งใด"

    "คิดดีแล้วหรือ แล้วท่านจะเสียใจ เราจะได้เห็นดีกัน" ขาดคำเท่านั้น ลูกชายที่นอนอยู่ข้างตัวข้าพเจ้า (ข้าพเจ้านั่งสมาธิบนเตียงนอนกับลูก) ก็ร้องไห้จ้า ยกแขนขาขึ้นเหมือนถูกใครดึงลากตัว

    "แม่จ๋า !!! หนูต้องตายแล้ว เพราะแม่นั่งสมาธิ แม่ช่วยด้วย หนูไม่อยากตาย"

    เสียงลูกร้องดังก้องห้อง ข้าพเจ้ารีบถอนออกจากสมาธิถอดสร้อยคอ ที่มีพระสมเด็จวัดปากน้ำรุ่น 1 ฟาดไปกลางอากาศรอบๆ ตัวลูกชาย แขนขาของลูกที่ถูกดึงลากตกลงมาทันที ลูกชายลืมตาร้องไห้อย่างขวัญเสีย

    "แม่ หนูกลัว เขาจะเอาชีวิตหนูไป หนูต้องตายแล้วแม่ช่วยหนูด้วย"

    พูดเสร็จลูกชายก็หมดแรงนอนหายใจแผ่วๆ ข้าพเจ้ารีบอุ้มลูกลงจากบ้าน ลุงยามได้ยินเสียง รีบเข้ามาช่วยเรียกรถรับจ้างให้ส่งไปโรงพยาบาลทันที

    ขณะที่อยู่บนรถลูกชายเริ่มหมดแรง การหายใจขาดเป็นช่วง ๆ จนเกือบหยุด ข้าพเจ้าบีบปากลูกให้ลูกพูดตามว่า ...."สัมมาอรหัง ๆ ๆ ๆ "

    ซึ่งลูกชายก็พยายามพูดตามอย่างยากเย็น สักพัก ลูกชายลืมตาขึ้นได้

    "แม่... หลวงปู่อยู่ในท้อง" ข้าพเจ้าดีใจจนแทบจะร้องไห้ รีบจับมือลูกชายพนมมืออธิษฐานว่า

    "หลวงปู่โปรดช่วยชีวิตลูกด้วย แล้วจะบวชเณรถวายหลวงปู่"

    เมื่อถึงโรงพยาบาลและเชิญนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านมาวินิจฉัยโรค ทุกคนสงสัยว่าเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้อย่างไร เด็กที่สุขภาพดีมาตลอด อยู่ๆ หัวใจรั่วและหัวใจวายอยู่ตลอดเวลา กำลังจะตายอยู่ทุกนาที คณะแพทย์แนะนำให้ผ่าตัดหัวใจช่วยชีวิตลูก แต่อาการที่น่าวิตก ผ่าตัดยังไม่ได้ ต้องรอให้อาการดีขึ้นกว่านี้

    ข้าพเจ้าต้องลาออกจากงานทันทีเพื่อมาดูแลลูกชายที่นอนป่วยอยู่ และต้องเหน็ดเหนื่อยมาก เพราะลูกกลัวต้องจับมืออยู่ตลอดเวลา

    "แม่อย่าทิ้งหนูนะ เค้ากลัวแม่ แม่อยู่เค้าเอาลูกไปไม่ได้"

    ข้าพเจ้าต้องทำน้ำมนต์ให้ลูกกิน เพราะเด็กทานอะไรไม่ได้เลยปรากฏว่า เด็กอาเจียนออกมาเป็นก้อนๆ เหมือนตัวหนอนขดกันเต็มขัน ลูกจึงสามารถจะรับประทานอาหารได้บ้าง แต่ไม่มากพอ จนกระทั่งคืนหนึ่งข้าพเจ้าเผลอหลับไป อยู่ๆ ก็สำลักควันธูป จนไอตื่นขึ้นมา มองไปมองมา เอ๊ะ!! ไม่มีใครจุดธูป และไม่มีควันธูปในห้องด้วย นึกขึ้นได้ว่าตนเองเผลอหลับไป หันไปจับตัวลูกต้องตกใจสุดขีด ทำไม !! ตัวลูกเย็นเจี๊ยบและแขนขาตกชี้ลง

    "โธ่ !! นี่ลูกตายหรือ แม่ไม่ยอมเด็ดขาด ไม่ยุติธรรม"

    ข้าพเจ้านั่งสมาธิเรียกท่านท้าวมัจจุราชขึ้นมาทันที

    ท่านท้าวมัจจุราชก็เข้ามาสิงร่างญาติผู้ชายคนหนึ่งของผู้ป่วยอื่นเดินไปที่เตียงลูก จับตัวเด็กขึ้นมาตบ ๆ ๆ ๆ ไปทั่วร่าง สักพักเด็กร้องไห้จ้า ยิ่งร้อง ยิ่งตบ เสียงท่านท้าวมัจจุราชหัวเราะดังก้องตึกอย่างชอบใจ

    "ฮึ ฮึ ฮึ !!! ไม่ต้องกลัวปู่เอง มาเกิดก็ต้องให้อายุยืนสิจะได้อยู่ช่วยแม่ ต่อไปมีอะไร เรียกปู่ได้เลย จะไม่มีใครทำอะไรเจ้าได้" พูดเสร็จท่านท้าวมัจจุราชก็กลับ ร่างผู้ชายนั้นล้มตึง !! ลุกขึ้นมามองอย่างงๆ ว่าตนเข้ามาอยู่ในห้องนี้ได้อย่างไร แล้วรีบเดินออกไปอย่างงุนงวย

    ลูกชายก็ลุกขึ้นเต้นเหย็งๆ บนเตียง ไม่รู้ไปเอาแรงมาจากไหน แล้วก็อาการดีวันดีคืน กินข้าวได้ น้ำหนักขึ้นจนพอเพียงที่จะผ่าตัดได้แล้ว

    และในวันนี้ ข้าพเจ้ารันทดใจเหลือเกิน หมดเงินรักษาลูกจนบาทสุดท้าย

    "หลวงพ่อคะ ลูกจะทำอย่างไรดี ลูกไม่เคยจนทางเช่นนี้จริงๆ"

    ทันใด ปรากฏแสงสีเขียวเป็นลำแสงส่องลงมาบนโต๊ะหมู่บูชา ข้าพเจ้าเห็นพระเดชพระคุณหลวงพ่อเป็นองค์แก้วใสขนาดเท่านิ้วมือยืนอยู่บนโต๊ะ รัศมีใสสว่าง และพูดขึ้นว่า

    "ร้องไห้ทำไม ต้องการเงินมากหรือ"

    ขาดคำสมบัติเพชรนิลจินดาก็กองอยู่แทบเท้าข้าพเจ้า

    "หยิบไปซิ นี่สมบัติของเจ้านะ หยิบ ๑ จะได้ ๓ "

    ข้าพเจ้าขณะนั้นมองดูสมบัติเหล่านั้นอย่างจิตใจที่ว่างเปล่า ทั้งๆ ที่กำลังร้องไห้เพราะต้องการเงินอยู่เมื่อกี้ กราบเรียนหลวงพ่อไปว่า

    "สมบัติใดๆ ลูกไม่ต้องการ อะไรจะเกิดลูกยอมรับสภาพทั้งนั้น"

    อัศจรรย์ !!! ข้าพเจ้าหลุดเข้าไปทันทีบนปราสาททำวิชชาของหลวงพ่อสด เห็นพระเดชพระคุณหลวงพ่อนั่งสง่ารัศมีสดใสเปล่งปลั่งบนธรรมาสน์ จีวรเหลืองทองอร่าม งามจับใจข้าพเจ้าที่สุดเท่าที่เคยพบหลวงพ่อมา

    หลวงพ่อเดินตรงเข้ามาหาข้าพเจ้าที่นั่งพนมมืออยู่ท่ามกลางหมู่สาวก ภิกษุสงฆ์ซ้ายขวา หลวงพ่อยิ้มอย่างพอใจกล่าวขึ้นว่า

    อันชีวี ของคน เรานี้
    ล้วนมีเกิด มีแก่เจ็บตาย ทุกแห่งหน
    เมื่อรู้ธรรม ประกอบตน จงอดทน
    หยุดเวียนวน เร่งเพียรมุ่ง นิพพานเทอญ

    กล่าวจบเหล่าสงฆ์สาวกสาธุการขึ้นพร้อมกัน ข้าพเจ้าตกใจรู้สึกตัวทันที เอ๊ะ!! เราไม่ได้ฝันไปนี่ หลวงพ่อมาให้สมบัติ

    โธ่ !! ทำไมไม่เอา ช่างเถอะ !! ใจลูกคนนี้ผ่านความทุกข์ยากมามากแล้ว ลูกจำคำสอนของหลวงพ่อได้เสมอว่าผู้ปฏิบัติธรรมควรมีความสงบเยือกเย็น มีความคิดที่หนักแน่นแม้จะประสบกับพายุฝนกระหน่ำ ก็ไม่สะเทือนสภาวะจิต

    สามารถอดทนอย่างเป็นสุข มิฉะนั้นเพียงเท้ายืนไม่นิ่งคลื่นลมก็จะกวาดพัดพาไปได้ และท่ามกลางความทุกข์ยาก สามารถฝึกสำเร็จเป็นยอดคน

    แค่นี้ลูกก็ชื่นใจที่หลวงพ่อมาให้กำลังใจ ซึ่งล้ำค่ากว่าสิ่งใดๆ ในโลก เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่ประทับใจข้าพเจ้าที่สุดในชีวิต และจำภาพหลวงพ่อบนธรรมาสน์ที่งามมากได้ติดตาตราบเท่าทุกวันนี้

    ด้วยอานุภาพแห่งคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ (คือหลวงพ่อสด) เป็นสรณะอันสูงสุด ข้าพเจ้าก็สามารถผ่านพ้น อุปสรรคขัดข้อง ได้เงินจากเลข ๑๓ (หยิบ ๑ ได้ ๓ ) และถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ ๕ ชุดใหญ่ ที่เพื่อนร่วมงานซื้อให้ เพียงพอ ค่าผ่าตัดหัวใจให้ลูกในเดือนมีนาคม ๒๕๒๙ ลูกปลอดภัยและ สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์เช่นเด็กปรกติ

    และในปีรุ่งขึ้นก็ได้บวชเณรถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา แด่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ)

    ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

    เพราะข้าพเจ้ายอมสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อธรรมนั่นเอง ธรรมจึงรักษาข้าพเจ้าและชีวิตของลูกชายไว้ได้

    ท่านลองคำนึงถึงตัวท่านเองสิว่า....เวลานี้ท่านมีธรรมข้อใดบ้างที่พอจะคุ้มครองตัวท่านได้บ้าง

    จงสร้างเครื่องคุ้มกันตัวด้วยการประพฤติธรรม

    ประเสริฐกว่าสิ่งใด ๆ ในโลก

    **จากเวปพลังจิต เล่าโดย เรื่องเล่าหลวงพ่อวัดปากน้ำโดยศิษย์ผู้ใกล้ชิด

    c_oc=AQkLWU_8JvZFZuwxc7LHfERhIveHESETdRdVAiqH4KhUEyKukukvYGGU7D6CgAw3rA8&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    กสิณอีกกองหนึ่ง ซึ่งจะมีปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก แต่ไม่มีปรากฎในวิสุทธิมรรค
    กล่าวคือ ในวิสุทธิมรรค นำอาโลกกสิณมาแทนที่วิญญาณกสิณ ซึ่งอาโลกกสิณไม่มีปรากฎในพระไตรปิฎก มีแต่การเจริญอาโลกสัญญา


    อาจเพราะว่าวิญญาณเป็นกสิณที่ทำได้ยาก คือการเพ่งธาตุรู้ เป็นอารมณ์ ซึ่งเอื้อต่อญาณทัสสนะได้อย่างดีวิเศษ

    วิธีเจริญวิญญาณกสิณ

    ตามแนววิชชาธรรมกาย ถือเป็นหลักปฏิบัติธรรมดาอยู่แล้ว กล่าวคือวิธีการเข้าฌานตามแนววิชชาธรรมกาย ก็คือการเจริญวิญญาณกสิณ


    ข้อที่ว่านั้นเป็นเช่นนี้... กล่าวคือวิญญาณกสิณท่านให้เพ่งธาตุรู้เป็นอารมณ์ ในวิชชาธรรมกายก็ให้ญาณธรรมกายเพ่งดวงธรรม ซึ่งดวงธรรมนั้นก็คือมนายตนะ ประกอบด้วยเห็น(รับ) จำ คิด รู้ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในดวงนั้นมีศูนย์ซ้าย ขวา หน้า หลัง เป็นธาตุ ๔ ตรงศูนย์กลางนั้นเป็นอากาศธาตุ และกลางของศูนย์กลางนั้นเป็นวิญญาณธาตุ ก็ตรงด้วยส่วนนี้ที่วิชชาธรรมกาย เน้นให้เข้ากลางของกลางถูกตัววิญญาณธาตุ ละเอียดๆเข้าไปทุกที นี้คือการเจริญ วิญญาณกสิณ ไปในตัวพร้อมเสร็จ

    เหตุใดจึงเลื่อนไปเพ่งดวงธรรมกายทิพย์ พรหม อรูปพรหม ตามลำดับองค์ฌานที่ละเอียดยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ?
    ก็เพราะว่ากายยิ่งละเอียด ตัวรู้ก็ยิ่งละเอียด (แต่เป็นคนละอย่างกับอรูปฌาน เนื่องจากมีขอบเขตจำกัด) จึงได้องค์ฌานละเอียดๆไปตามลำดับ ถือได้ว่าวิชชาธรรมกายเดินสมาบัติด้วยวิญญาณกสิณเป็นบาทเลยทีเดียว จึงเอื้อต่อการเข้าอรูปฌาน เจริญสมาบัติ ๘ (เพราะวิญญาณกสิณ เป็นกรรมฐานที่ละเอียดที่สุดในกสิณทั้งหมด มีอารมณ์ที่ละเอียดที่สุด และน้อมสู่อารมณ์ที่ละเอียดยิ่งขึ้นได้ไวที่สุด)


    นี้แหละ คือคุณอีกข้อหนึ่งของวิชชาธรรมกาย ซึ่งหาได้ยาก ในปัจจุบัน... เพราะแทบไม่มีวิธีให้ฝึกกันแล้ว เพราะตัวรู้นั้นกำหนดยากและจะเพ่งไม่ได้ถ้ากำหนดรู้อย่างเดียว ต้อง"ทั้งรู้ทั้งเห็น" ไม่ใช่นึกเอา คิดเอา
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571

    ในขณะนั่งสมาธิ เมื่อจิตเข้าถึงจุดที่ทำให้ตัวเรารู้สึกเบาสบาย จะเกิดความรู้สึกว่าหายใจไม่ออก รู้สึกว่าลมหายใจเบามาก ไม่ทราบว่า ปฏิบัติถูกวิธีหรือไม่ ? และมีวิธีแก้ไขอย่างไร ?


    ตอบ:

    ขณะที่จิตกำลังจะสงบได้ที่นั้น ลมหายใจจะค่อยๆ ละเอียด ค่อยๆ แผ่วไป จนเหมือนกับว่าไม่ได้หายใจ แต่ความจริงยังมี "ปราณ" คือลมละเอียดหล่อเลี้ยงอยู่ภายในร่างกายอยู่เป็นอย่างดี (อย่างโยคี ฤๅษี ที่อินเดีย เข้าฌานสมาธิ โดยไม่หายใจเลย บางคนก็เอาศีรษะฝังอยู่ในดิน ก็อยู่ได้หลายๆ ชั่วโมง ไม่ตาย ก็ด้วยเหตุผลเดียวกัน)

    เมื่อถึงจุดนี้ บางท่านก็ "ถอนจิตออก" มาจากศูนย์กลางกาย มาเกาะที่ร่างกายภายนอก แล้วรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองไม่ได้หายใจ จึงถอนจากสมาธิเพราะกลัวตายก็มี พยายามหายใจให้แรงขึ้น ทำให้จิตเคลื่อนจากสมาธิก็มี

    เพราะฉะนั้น ในเบื้องต้นโยมปฏิบัติมาถูกทางแล้ว จิตเริ่มสงบแล้ว แต่พยายามให้ใจหยุดนิ่งที่จุดเล็กใสกลางดวงใสที่ศูนย์กลางกายตลอด และปล่อยวางสิ่งต่างๆ รวมทั้งสังขารร่างกาย (ที่ยึดกันว่าเป็น) ของเราเสียทั้งหมด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของหยาบ การจะเข้าถึงธรรมชาติละเอียดภายในนั้น ต้องละวางของหยาบภายนอกได้ (อย่างน้อยที่สุดก็คือในขณะที่นั่งสมาธิอยู่นั้น)

    ดังเช่น เมื่อเห็นดวงใสแจ่มปรากฏขึ้นแล้ว ใจก็หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงนั้น ไม่ช้าศูนย์กลางดวงนั้นจะขยายออก ดวงใหม่ต่อๆ ไปจะปรากฏขึ้นอีก

    แล้วจะเห็นกายมนุษย์ละเอียดปรากฏขึ้นมา ก็ต้องปล่อยวางหรือ "ละ" ความรู้สึกอันเนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ สวมความรู้สึกเข้าไปเป็นกายมนุษย์ละเอียดที่เห็นนั้น (เรียกว่า ดับหยาบไปหาละเอียด) ใจหยุดนิ่งศูนย์กลางกายนั้น จะเห็นดวงในดวงผุดขึ้นมา

    แล้วจะเห็นกายละเอียดๆ กว่าเดิม ปรากฏขึ้นมาอีก เราก็ดับหยาบไปหาละเอียดต่อไปอีก จนถึงธรรมกาย

    อ่านเพิ่มเติม ที่ "เคยได้ยินเขาพูดว่า นั่งสมาธินานๆ จะหมดลมหายใจไปเฉยๆ จะจริงหรือเปล่า ?"
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    หลังปฏิบัติภาวนา รู้สึกมึนๆ หรือปวดศีรษะหรือบริเวณกระบอกตา

    ตอบ:

    ปัญหาข้อนี้ มักเกิดกับผู้ปฏิบัติที่พยายาม ใช้ตาเนื้อเพ่งมองให้เห็นนิมิต ที่ศูนย์กลางกาย อาจจะเป็นเพราะอยากเห็นนิมิตเกินไป จึงพยายามมองนิมิตให้เห็นด้วยตาเนื้อ หรือไม่ก็ปฏิบัติผิดวิธีที่ให้คำแนะนำว่า “นึกให้เห็นด้วยใจ”

    พึงเข้าใจว่า การเจริญภาวนาสมาธินั้น เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้หยุดให้นิ่ง เป็นกิจทางใจ ไม่ใช่กิจทางอายตนะอื่น อย่างเช่นตาเนื้อ เพราะฉะนั้น เมื่อใช้ตาเนื้อเพ่งดูให้เห็นนิมิต จึงไม่ได้เห็น เพราะผิดวิธี และแถมยังเป็นเหตุให้รู้สึกหนักๆ มึนๆ หรือปวดที่ศีรษะหรือที่บริเวณกระบอกตาอีกด้วย เพราะประสาทตาเครียด เนื่องแต่ถูกใช้งานผิดวัตถุประสงค์

    หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง จึงให้จินตนาการหรือนึกให้เห็นนิมิตด้วยใจ พร้อมด้วยบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอะระหังๆๆ” คู่กันไป เพื่อผูกใจให้มารวมหยุดอยู่กับบริกรรมนิมิต แล้วค่อยๆ รวมหยุดในหยุดเป็นจุดเดียว หรืออารมณ์เดียว แล้วจิตก็จะตกศูนย์ บางรายจะรู้สึกมีอาการเบาหวิวๆ ในขณะจิตดิ่งลงสู่สมาธิ เมื่อปล่อยใจให้ดิ่งลงสู่สมาธิเพียงชั่วครู่เดียว ก็จะเห็นนิมิตเป็นดวงกลมใสแจ่ม หรือพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม ปรากฏขึ้น ณ ศูนย์กลางกายนั้นเอง แล้วอาการดังกล่าวก็จะหมดไป
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    c_oc=AQl5JAMn0ihBuPhqhlijjFBF-KizthpwSVQ5SFjTGb3MK_Jwyd2URtesJiEeLzd9FAY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg




    อาโลกกสิณ ๑ อานาปานสติ ๑ พุทธานุสติ ๑
    ปฏิบัติจิตตภาวนาร่วมกันไป
    จึงเป็นพระกัมมัฏฐานที่มีประสิทธิภาพมาก
    และมีอานุภาพมาก

    เพราะอาโลกกสิณเป็นกสิณกลาง
    คือเมื่อพระโยคาวจรกำหนดบริกรรมนิมิต
    นึกเห็นมณฑลกสิณแสงสว่างได้
    และเพ่งกสิณนั้นจนถือเอา
    “อุคคหนิมิต” ถึง “ปฏิภาคนิมิต”ได้

    ย่อมเห็นนิมิตติดตาติดใจ เป็นดวงกลมใสสว่าง

    ส่วนผู้เพ่งกสิณอื่น อีกทั้ง ๙
    ไม่ว่าจะเป็น ภูตกสิณ ๔ วัณณกสิณ ๔ และอากาศกสิณ

    เมื่อพระโยคาวจรกำหนดบริกรรมนิมิต
    และเพ่งกสิณนั้นต่อไป
    จนถือเอาอุคคหนิมิตถึงปฏิภาคนิมิตได้
    ก็เห็นนิมิตติดตาติดใจ เป็นดวงกลมใสด้วยเช่นกัน

    อาโลกกสิณ จึงชื่อว่าเป็น “กสิณกลาง”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    •อุปกิเลสเหล่านี้ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
    ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป •



    การเจริญภาวนาธรรมนั้น มีเงื่อนไขหลายอย่าง ที่ผู้ปฏิบัติพึงจะต้องทราบ และคอยสอดส่องพิจารณา ให้การปฏิบัติเป็นไปโดยถูกถ้วนสมบูรณ์และตรงประเด็น

    พร้อมด้วยพิจารณาในเหตุและสังเกตในผลของการปฎิบัติว่า ให้ผลในทางที่เป็นคุณหรือเป็นโทษด้วย

    พระพุทธองค์เคยทรงมีพระดำรัส กับเหล่าพระภิกษุเกี่ยวกับอุปกิเลสของสมาธิ ปรากฏอยู่ในอุปกิเลสสูตร ในสุญญตวัคค์ อุปริปัณณาสก์ มัชฌิมนิกาย หน้า 302 ข้อ 452 มีใจความว่า

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ที่ป่าชื่อว่า ปาจีนวังสะทายวัน แขวงเมืองโกสัมพี

    ณ ที่นั้นภิกษุสามรูป คือ พระอนุรุทธะ พระภัททิยะ และพระกิมพิละ ได้ทูลพระองค์ว่า

    "ข้าพระองค์ทั้งสาม พยายามกำหนดเห็นแสงสว่าง แล้วเห็นรูปทั้งหลาย แต่แสงสว่างและรูปนั้น เห็นอยู่ไม่นาน ก็หายไป ข้าพระองค์ทั้งสามไม่ทราบว่า เป็นเพราะเหตุไร "

    พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย (พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่พระภิกษุทั้งสามองค์ แต่ได้ทรงเรียกอนุรุทธะเป็นองค์แรก ในบาลีจึงใช้"อนุรุทธา")

    แม้เราเอง ครั้งก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ กำหนดเห็นแสงสว่างได้ และเห็นรูปทั้งหลาย แต่ไม่นานเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น ก็หายไป เราเกิดความสงสัยว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    เราก็คิดได้ว่า อุปกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้น หายไป

    อุปกิเลสเหล่านี้คือ

    1. วิจิกิจฉา ความลังเลหรือความสงสัย

    2. อมนสิการ ความไม่ใส่ใจไว้ให้ดี

    3. ถีนมิทธะ ความท้อและความเคลิบเคลิ้มง่วงนอน

    4. ฉัมภิตัตตะ ความสะดุ้งหวาดกลัว

    5. อุพพิละ ความตื่นเต้นด้วยความยินดี

    6. ทุฏฐุลละ ความไม่สงบกาย

    7. อัจจารัทธวิริยะ ความเพียรจัดเกินไป

    8. อติลีนวิริยะ ความเพียรหย่อนเกินไป

    9. อภิชัปปา ความอยากที่จะเห็นนิมิตจนเกินไป

    10. นานัตตสัญญา ความฟุ้งซ่าน นึกไปในสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เคยผ่านมา หรือเคยจดจำไว้ มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ

    11. รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะ ความเพ่งต่อรูปหรือนิมิตจนเกินไป

    อนุรุทธะทั้งหลาย เมื่ออุปกิเลสเหล่านี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมาธิของเราก็เคลื่อนไป เพราะอุปกิเลสเหล่านี้เป็นต้นเหตุ

    เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป ก็หายไป

    ฉะนั้น เราพยายามสอดส่องดูว่า วิธีใดจะทำให้อุปกิเลสเหล่านี้ เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็ทำใจไว้โดยวิธีนั้น

    อนุรุทธะทั้งหลาย เรารู้ชัดว่า วิจิกิจฉาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสของจิต จึงได้ละเสีย"

    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังได้ตรัสกับพระภิกษุเหล่านั้นอีกด้วยว่า

    "อนุรุทธะทั้งหลาย เราคิดได้ว่า ขณะใด สมาธิของเราน้อย ขณะนั้น จักษุก็มีน้อย ด้วยจักษุอันน้อยนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างน้อย เห็นรูปก็น้อย

    ขณะใด สมาธิของเรามาก ขณะนั้น จักษุก็มีมาก ด้วยจักษุอันมากนั้น เราจึงเห็นแสงสว่างมาก เห็นรูปก็มาก เป็นดังนี้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง"
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    วิธีพิจารณาอริยสัจ 4 เข้ามรรคผลนิพพาน


    การพิจารณาให้เห็นสัจจะทั้ง 4 แต่ละอย่าง
    [​IMG] ทุกขสัจ [​IMG] สมุทัยสัจ [​IMG] นิโรธสัจ [​IMG] มรรคสัจ [​IMG]

    วิธีเจริญฌานสมาบัติเข้ามรรคผลนิพพาน


    การมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อริยสัจ 4 นี้ เป็นส่วนสำคัญยิ่ง ของการเจริญสติปัฏฐาน 4 อันเป็น เอกายนมรรค คือ หนทางอันเอก ให้ถึงมรรค ผล นิพพาน โดยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ด้วยว่าอริยสัจ 4 ก็มีอริยมรรคมีองค์ 8 และอริยมรรคมีองค์ 8 เล่า ก็มีสติปัฏฐาน 4 คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายใน

    เฉพาะในส่วนของการมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ก็มีตั้งแต่การมีสติพิจารณา นิวรณ์ 5 (อันเป็นธรรมปฏิบัติในขั้นอนุวิปัสสนา) อุปาทานขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 และอริยสัจ 4 ซึ่งก็จะมีข้อกำหนดรวมทั้งอริยมรรคมีองค์ 8 และทั้งสติปัฏฐาน 4 อันจะขยายผลถึงการมีสติพิจารณาเห็นธาตุ 18 อินทรีย์ 22 และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ให้เจริญขึ้นเต็มภูมิวิปัสสนา ตั้งแต่ระดับอนุวิปัสสนาถึงโลกุตตรวิปัสสนา และยังให้ข้อปฏิบัติอื่นๆ เจริญขึ้น อันเป็นทางให้บรรลุวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด และเป็นธรรมเกื้อหนุนอริยมรรคให้เจริญขึ้น ถึงความบรรลุมรรคผลนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุข ได้แก่

    1. จรณะ 15 ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้บรรลุวิชชา (ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิดทุกข์ทั้งปวง) คือ ศีลสัมปทา อินทรีย์สังวร โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ สติ ปัญญา และ รูปฌาน 4
    2. โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ และธรรมเครื่องเกื้อหนุนอริยมรรค ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และ อริยมรรคมีองค์ 8
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์เป็นปฐมเทศนาว่า

    "จกฺขุ ํ อุทปาทิ, ญาณํ อุทปาทิ, ปญฺญา อุทปาทิ, วิชฺชา อุทปาทิ, อาโลโก อุทปาทิ ..." (สํ.มหา.19/1666-1669/529-530)
    "จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณ [ความหยั่งรู้-เห็น] เกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความสว่างแจ้งเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ว่า นี้คือทุกข์ ... นี้เหตุแห่งทุกข์ ... นี้ความดับทุกข์ [สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ] ... นี้ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์ ..."

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะทรงบำเพ็ญสมณธรรมใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เมื่อ 2588 ปีล่วงมาแล้วนั้น (ปีนี้ พ.ศ.2543) จึงได้ทรงเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาเพื่อเจริญวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด เริ่มตั้งแต่ วิชชาที่ 1 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในยามต้นแห่งราตรี, วิชชาที่ 2 จุตูปปาตญาณ ในยามกลางแห่งราตรี และ วิชชาที่ 3 อาสวักขยญาณ โดยการพิจารณาอริยสัจ 4 และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ในยามปลายแห่งราตรี จนเห็นแจ้งแทงตลอดในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 (คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ) มีอาการ 12 และมีญาณหยั่งรู้วิธีทำอาสวกิเลสให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในตอนรุ่งอรุณแห่งคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะนั้นเอง

    จึงขอแนะนำวิธีเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย และพัฒนาขึ้นเป็นวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ต่างเป็นธรรมกาย) ที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติและสั่งสอนศิษยานุศิษย์ มีปรากฏในหนังสือ วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ 1 และ เล่มที่ 3 (หนังสืออาสวักขยญาณชั้นสูง) อันเป็นธรรมปฏิบัติส่วนสำคัญของสติปัฏฐาน 4 นี้ มาแสดงไว้ก่อน เพื่อดำเนินตามรอยบาทพระพุทธองค์ ดังต่อไปนี้

    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้พิสดารกายไปจนสุดละเอียด และให้สมาธิตั้งมั่นดีเสียชั้นหนึ่งก่อน

    ในลำดับนี้ก็จะได้แนะนำการพิจารณาอริยสัจ 4 ให้เห็น ทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ และมรรคอริยสัจ อีกต่อไป

    การพิจารณาให้เห็นสัจจะทั้ง 4 แต่ละอย่าง
    พึงเข้าใจเสียก่อนว่า

    ทุกข์ เป็น ผล, สมุทัย เป็น เหตุ
    นิโรธ เป็น ผล, มรรค เป็น เหตุ

    หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะสมุทัย ทุกข์จึงเกิด, แต่ถ้ามรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธก็แจ้ง กล่าวคือ เมื่อมรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธคือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะสมุทัยอันเป็นตัวเหตุดับก็แจ้ง, เมื่อสมุทัยอันเป็นตัวเหตุแห่งทุกข์ดับ ทุกข์ก็ดับลงโดยอัตโนมัติ

    1. ทุกขอริยสัจ
    ทุกขอริยสัจนั้นมีลักษณะสัณฐานกลม มีสีดำๆ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียด ซ้อนอยู่ในกลางดวงอัญญาตาวินทรีย์ ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม มีซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ ดวงชาติทุกข์ (ทุกข์เพราะเกิด), ดวงชราทุกข์ (ทุกข์เพราะแก่), ดวงพยาธิทุกข์ (ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ), และ ดวงมรณทุกข์ (ทุกข์เพราะความตาย)

    ในดวงกลมของทุกข์นั้นยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ อีก 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด รู้ และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และวิญญาณ ของกายมนุษย์ ของทิพย์ ของรูปพรหม และของอรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะทั้งหมด แต่ทุกข์ส่วนหยาบก็มีอยู่ในกายหยาบคือกายมนุษย์ ทุกข์ส่วนละเอียดก็มีอยู่ในกายที่ละเอียดๆ คือ กายทิพย์ รูปพรหม และอรูปพรหมต่อไป ตามลำดับ

    เฉพาะทุกข์ของมนุษย์นั้น ชาติทุกข์ หรือสิ่งที่เรียกว่าเป็นความเกิดนั้น มีลักษณะเป็นดวงกลมใส ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ สีขาวบริสุทธิ์ ดวงนี้เองเป็นดวงเริ่มเกิดของมนุษย์ทุกคน ถ้าดวงนี้ไม่มาจรดที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ (ของมารดา) กายมนุษย์ก็จะมาเกิดไม่ได้

    ใช้ตาหรือญาณของธรรมกายดูความเกิดและเหตุที่จะทำให้เกิด ให้เห็นตลอด แล้วก็ดูความแก่ต่อไป

    ความแก่ (ชราทุกข์) นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงเกิด (ชาติทุกข์), มีลักษณะกลม สีดำเป็นนิล แต่ไม่ใส ขนาดโตเท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็กเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ เวลาที่ดวงแก่นี้ยังเล็กอยู่ ก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่, แต่ถ้าดวงนี้ยิ่งโตขึ้น กายก็ยิ่งแก่เข้าทุกที ดวงแก่นี้เองที่เป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม เมื่อแก่มากขึ้นก็ต้องมีเจ็บ (พยาธิทุกข์) เพราะดวงเจ็บนั้นซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั้นเอง เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กันกับดวงเกิด ดวงเจ็บนี้มีสีดำเข้มกว่าดวงแก่ ขณะเมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เข้าเวลาใด กายมนุษย์ก็จะต้องเจ็บไข้ทันที เมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดหนักเข้า ดวงตาย (มรณทุกข์) ก็จะเข้ามาซ้อนอยู่ในกลางดวงเจ็บ เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กับดวงเจ็บ แต่มีสีดำใสประดุจนิลทีเดียว เมื่อดวงนี้เข้ามาจรดกลางดวงเจ็บแล้ว ถ้ามาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของมนุษย์กับทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์แล้ว กายมนุษย์ก็จะต้องตายทันที

    กายมนุษย์ที่เป็นทุกข์นั้น ก็เพราะอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน บุคคล เรา เขา ของเรา ของเขา จึงได้ชื่อว่า รูปูปาทานักขันโธ, เวทนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ และ วิญญาณูปาทานักขันโธ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในขันธ์ทั้ง 5 คือ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั้น ต่างก็มีเห็น จำ คิด และรู้ ซ้อนประจำอยู่ แล้วขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และ วิญญาณ เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อ และใจนั่นเอง

    ขันธ์ทั้ง 5 นั้น เป็นประดุจดังว่าบ้านเรือนที่อาศัยของเห็น จำ คิด รู้ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นที่ตัวบ้านเรือนที่อาศัย ผู้อาศัยอยู่ คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งยึดติดอยู่กับรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณนั้นเองที่รู้สึกเดือดร้อน เป็นทุกข์ เพราะเข้าไปยึดว่าขันธ์แต่ละขันธ์นั้นว่าเป็นตัวเรา เราเป็นนั้น นั้นมีในเรา นั้นเป็นของเรา ซึ่งรวมเรียกว่า สักกายทิฏฐิ 20 (คือแต่ละขันธ์ มีสักกายทิฏฐิ 4, ขันธ์ 5 ขันธ์ จึงเป็นสักกายทิฏฐิ 20)

    กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ดังบาลีพระพุทธภาษิตที่ว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ซึ่งก็คือ เห็น จำ คิด รู้ นั่นเองที่เข้าไปยึดถือในขันธ์ 5 จึงเป็นทุกข์

    อนึ่ง ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ได้แต่เพียงกำหนดรู้ไว้ว่าเป็นทุกข์เท่านั้น จะดับทุกข์ก็ยังไม่ได้ ถ้าจะดับทุกข์ก็จะต้องละสมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์เสียก่อน ทุกข์จึงจะดับ เพราะทุกข์นี้เกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาศัยสมุทัยเป็นเหตุ คือ ทุกข์นั้นอยู่ชั้นนอก สมุทัยซ้อนอยู่ชั้นใน ชั้นนอกจะเกิดขึ้นได้และเจริญอยู่ได้ก็เพราะอาศัยชั้นในรักษา ถ้าชั้นในซึ่งเป็นใจกลางดับ ชั้นนอกซึ่งเป็นเสมือนเปลือกหุ้มอยู่ก็ต้องดับตามไปด้วย เพราะเหตุนั้น การดับทุกข์จึงต้องดับตัวสมุทัยซึ่งเป็นตัวเหตุเสียก่อน ทุกข์ซึ่งเป็นตัวผลจึงจะดับตาม

    เมื่อกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาหรือญาณพระธรรมกายว่า ความเกิด แก่ เจ็บ และตายนี้ เป็นทุกข์จริง (ทุกขอริยสัจ) เรียกว่า สัจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาและญาณพระธรรมกายว่า ทุกขอริยสัจนี้ควรกำหนดรู้ เรียกว่า กิจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งชัดว่า ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้เราได้กำหนดรู้ชัดแล้ว ชื่อว่า กตญาณ เช่นนี้เรียกว่าพิจารณาทุกขสัจซึ่งเป็นไปในญาณ 3

    2. สมุทัยอริยสัจ
    เหตุให้เกิดทุกข์นั้น มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ซ้อนอยู่ในกลางดวงทุกขสัจ ที่ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นแหละ ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ มีซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น คือ ดวงกามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา มีความละเอียดและดำมากกว่ากันเข้าไปเป็นชั้นๆ ในดวงสมุทัยนี้ยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ ของกายทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด, รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด และ อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ แต่สมุทัยในแต่ละกายนี้หยาบละเอียด ตามความหยาบ-ละเอียดของแต่ละกายเข้าไปตามลำดับ

    ส่วนรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย ซึ่งเรียกว่า กามคุณ หรือ วัตถุกาม ทั้ง 6 อย่างนี้เป็นของทิพย์ เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับหายไป คงทิ้งไว้แต่ความยินดี-ยินร้ายให้ปรากฏฝังใจอยู่เท่านั้น, กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกามคุณทั้ง 5, ภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้กามคุณที่พึงพอใจที่ตนมีอยู่แล้ว ให้ดำรงอยู่ และความทะยานอยากในความอยากมี อยากเป็นโน่น เป็นนี่ และ วิภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้สิ่งที่ไม่เป็นที่พึงพอใจ พินาศไป หรือไม่อยากจะได้พบ ได้เห็น หรือความทะยานอยากที่จะไม่มี ไม่เป็นในสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนาทั้งหลาย เหล่านี้มีอยู่ในก้อนกายทิพย์ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นทิพย์ เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือสิ่งสัมผัสทางกาย และ ธรรมารมณ์ เหล่านี้จึงเต็มไปด้วยตัณหา และชุ่มโชกสดชื่นไปด้วยตัณหา

    สิ่งที่เป็นทิพย์นั้น เมื่อจุติ (เคลื่อน คือตายจากภพหนึ่ง) แล้วก็จะไปแสวงหาที่เกิดใหม่ เรียกว่า กายสัมภเวสี ถ้าแสวงหาที่เกิดได้แล้ว เรียกว่า กายทิพย์ ซ้อนอยู่ภายในกายมนุษย์ละเอียดนั้นแหละ จึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเจริญอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยสมุทัยซึ่งมีอยู่ในก้อนกายทิพย์เป็นเหตุ

    และก็ใคร่จะขอย้ำว่า กำเนิดเดิมของทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดนั้น ก็มิใช่อื่นไกล ก็คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากขันธ์ 5 ที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง

    โดยเหตุนี้ กายทั้ง 8 คือ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด และ กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ จึงต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา

    เมื่อเห็นด้วยตา และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา ซึ่งรวมเรียกว่าสมุทัยนี้ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง (สมุทัยอริยสัจ) ชื่อว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, เห็นแจ้งด้วยตาธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ควรละ ชื่อว่า ได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นแจ้ง รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ ดังนี้เรียกว่า พิจารณาสมุทัยอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3

    3. ทุกขนิโรธอริยสัจ
    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้งในสมุทัยอริยสัจแล้ว ก็ต้องดูให้รู้ถึงสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ที่เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ เป็นดวงกลมใส ซ้อนอยู่ในสมุทัยอริยสัจ ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา มีหุ้มซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ เดิม ของกายโลกิยะ ซึ่งเปลี่ยนสภาพ เพราะวิญญาณของกายโลกิยะดับ กลับเป็นญาณของกายธรรม หรือ ธรรมกาย นั่นเอง

    เมื่อมรรคอันเป็นเหตุ เกิดและเจริญขึ้น รวมกันเป็นเอกสมังคีนั้น นิโรธธาตุอันเป็นผล ย่อมเป็นธรรมอันพระอริยเจ้าท่านได้บรรลุ พร้อมกับสมุทัยอันเป็นเหตุดับ และทุกข์อันเป็นผลของสมุทัยก็ดับทันที เหมือนรัศมีของพระอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้หายไป ฉะนั้น

    อนึ่ง ใคร่จะทบทวนไปถึงที่เคยได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นจิตในจิต คือ อาสวกิเลส ซึ่งเอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น อยู่ในเห็น จำ คิด และ รู้ ของกายโลกิยะทั้ง 8 ว่า เมื่อเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้วนั้น ใจของธรรมกายอันประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ ย่อมสิ้นรสชาติจากอาสวะจนจืดสนิท และเห็น จำ คิด รู้ นั้น ก็กลับเป็นอาสวักขยญาณ ส่วนอวิชชาเครื่องหุ้มรู้นั้น ก็กลับเป็นตัววิชชา ให้รู้แจ้งในสัจจธรรมขึ้นมาทันที เห็น จำ คิด และ รู้ จึงเบิกบานเต็มที่ ขยายโตขึ้นเต็มส่วนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักของพระธรรมกาย ส่วนเห็น จำ คิด และ รู้ ในก้อนทุกข์และสมุทัยของกายโลกิยะเดิมจึงดับหมด เป็นวิกขัมภนวิมุตติ ตั้งแต่เมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกาย นับตั้งแต่กายลำดับที่ 9 ซึ่งเป็นกายโลกุตตระเป็นต้นไปจนสุดธรรมกายพระอรหัตละเอียด ต่อเมื่อละสัญโญชน์ได้หมด จึงจัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นโดยเด็ดขาด โดยสิ้นเชิง

    กายธรรม หรือ ธรรมกาย ซึ่งเป็นกายโลกุตตระนั้น พ้นจากอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ กลับเป็น นิจจัง สุขัง และ อัตตา ด้วยประการฉะนี้

    เมื่อได้เห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า ความดับทุกข์ คือ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับคือนิโรธอริยสัจ มีได้ เป็นได้จริง เรียกว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ เราได้กระทำให้แจ้งแล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ

    ดังนี้คือการพิจารณานิโรธอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3

    4. มรรคสัจ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์ เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้งในนิโรธอริยสัจแล้ว ก็พึงพิจารณาและกระทำมรรคให้เกิดขึ้น ให้เจริญขึ้นอีกต่อไป

    มรรคอริยสัจนั้น เป็นดวงกลมใสสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งนัก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของพระธรรมกาย ซ้อนอยู่ในกลางนิโรธอริยสัจ ที่ในกลางขันธ์ 5 ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง มรรคอริยสัจนี้ ก็คือ

    ดวงศีล ซึ่งมีซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น คือ สัมมาวาจา วาจาชอบ, สัมมากัมมันโต การงานชอบ, สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ

    ดวงสมาธิ ซึ่งมีซ้อนกันอยู่อีก 3 ชั้นเข้าไปข้างใน คือ สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ, สัมมาสติ ความระลึกชอบ และ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

    ดวงปัญญา ซึ่งมีซ้อนกันอยู่อีก 2 ชั้นเข้าไปข้างในอีก คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบในอริยสัจ และ สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ

    และ ในมรรคอริยสัจแต่ละดวงนี้ก็ยังมีหุ้มซ้อนอีก 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต วิญญาณ เดิมของกายโลกิยะ ซึ่งเปลี่ยนสภาพ (เพราะวิญญาณของกายโลกิยะดับ) เป็นญาณของพระธรรมกายตั้งแต่พระโสดาหยาบ (โสดาปัตติมรรค) ขึ้นไป กล่าวคือ กายธรรม เป็น พระพุทธรัตนะ, ใจ (คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ ของธรรมกาย) เป็น พระธรรมรัตนะ, จิต เป็น พระสังฆรัตนะ และ วิญญาณ ซึ่งขยายส่วนหยาบเป็นดวงรู้ของกายโลกิยะเดิมดับ กลับเป็นญาณ (ญาณรัตนะ) ของธรรมกายซึ่งขยายเต็มส่วนแล้ว

    เมื่อได้เห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า มรรคอริยสัจนี้ เป็นทางดับทุกข์ได้จริง (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) ชื่อว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, เห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า มรรคอริยสัจนี้ควรเจริญ ชื่อว่าได้บรรลุ กิจจญาณ และเห็นแจ้งด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เราได้เจริญแล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ

    นี้คือการพิจารณาอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3

    ญาณ หรือ ปริวัฏ 3 นี้ เมื่อเป็นไปในอริยสัจ 4 จึงมีอาการ 12


    วิธีเจริญฌานสมาบัติเข้ามรรคผล นิพพาน
    สำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายที่สุดละเอียด และได้ฝึกสับกาย-ซ้อนกาย เจริญฌานสมาบัติ ดีพอสมควร และได้พิจารณาสติปัฏฐาน 4 พอให้มีพื้นฐานทั้งสมถะและวิปัสสนาดีพอสมควรแล้ว ให้ฝึกเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 เข้ามรรคผลนิพพานต่อไป

    ให้รวมใจของทุกกายอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายอรหัตที่ละเอียดที่สุด เอาใจธรรมกายอรหัตเป็นหลัก เจริญฌานสมาบัติ (รูปฌาน 4) หมดพร้อมกันทุกกายหยาบกายละเอียด โดยอนุโลมและปฏิโลม 1-2-3 เที่ยว ให้ใจผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ อ่อนโยน ควรแก่การงาน แล้วธรรมกายพระอรหัตที่สุดละเอียด ทำนิโรธ ดับสมุทัย คือพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัตออกจากฌานสมาบัติ (ไม่ต้องพิจารณาอารมณ์ฌาน) ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุ-ธรรม และเห็น-จำ-คิด-รู้ อันเป็นที่ตั้งของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ของกายโลกียะ สุดกายหยาบกายละเอียด ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 ให้เป็นแต่ใจ คือญาณรัตนะของธรรมกายที่บริสุทธิ์ล้วนๆ จนสุดละเอียดปล่อยอุปาทานขันธ์ 5 และความยินดีในฌานสมาบัติได้ (แม้ชั่วคราว) เป็นวิกขัมภนวิมุตติ โคตรภูจิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่แล้วนั้น

    1. ใช้ตา (ญาณ) พระธรรมกายพิจารณาอริยสัจที่กลางกายมนุษย์ เห็นแจ้งแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้พร้อมกับเดินสมาบัติ เมื่อถูกส่วนเข้า พระธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลาง 5 วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม นี้เป็นธรรมกายพระโสดา กล่าวคือ
      เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในพระสัจจธรรมดังกล่าวแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียดก็ตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ปรากฏขึ้นปหาน (ละ) สัญโญชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้แล้ว ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 คือ พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละได้, กิเลสที่ยังเหลือ และ พิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระโสดาบัน และก็จะเห็นธรรมกายพระโสดาปัตติผลใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กเข้ามาอีก
    1. แล้วธรรมกายพระโสดานั้นเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจของกายทิพย์ ให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 10 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระสกิทาคามี กล่าวคือ
      เมื่อธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคปรากฏขึ้นกำจัดสัญโญชน์ และสามารถละโลภะ โทสะ และ โมหะ จนเบาบางลงมากแล้ว ก็จะตกศูนย์ และปรากฏธรรมกายพระสกิทาคามิผลเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระสกิทาคามี และท่านก็จะเห็นธรรมกายพระสกิทาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา
    1. แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 15 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอนาคามี กล่าวคือ
      เมื่อธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นปหานกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยได้อีก แล้วก็จะตกศูนย์ ปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผล เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามีบุคคล และท่านจะเห็นธรรมกายพระอนาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา
    1. แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 20 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอรหัตแล้ว กล่าวคือ
      เมื่อธรรมกายพระอรหัตตมรรค ปรากฏขึ้นปหานสัญโญชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชาได้โดยเด็ดขาดแล้ว ก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 4 คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้หมด และพิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันตขีณาสพ แล้วท่านจะเห็นธรรมกายพระอรหัตของท่านใสละเอียดและมีรัศมีสว่างอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กลงอีก และก็จะมีญาณหยั่งรู้ว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว
      เมื่อได้กายพระอรหัตนี้แล้ว ก็ให้ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ไปจนสุดละเอียด แล้วหยุด ตรึกนิ่ง เพื่อฟังตรัสรู้ในธรรมที่ควรรู้อีกต่อไป
    การเจริญสมาบัติพิจารณาพระอริยสัจทั้ง 4 นี้ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ด้วยสัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ แล้ว ญาณทั้ง 3 กลุ่มนี้เองที่เป็นปัญญาผุดรู้ขึ้นมาเองในระหว่างการปฏิบัติ เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกต้อง ไม่ท้อถอย ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้ง 3 กลุ่ม รวม 12 ญาณของอริยสัจ ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่นิพพิทาญาณ ทีนั้น ญาณทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการเป็นความเห็นแจ้งในปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ทำให้สามารถกำหนดรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้อริยสัจ และ พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา และ สพฺเพ ธมฺมา (สังขาร/สังขตธรรม ทั้งปวง) อนตฺตา ซึ่งเป็นธรรมาวุธอันคมกล้า ปหานสัญโญชน์พินาศไปในพริบตา

    ญาณทั้ง 3 กลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ อันให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 12 นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้เป็นอย่างดี โดยทางเจโตสมาธิ หรือ วิชชาธรรมกาย ด้วยประการฉะนี้แล ในพระไตรปิฎกมีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะมี รอบ 3 มีอาการ 12
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    ทำไมบางทีลืมตาจึงเห็นดวงแก้วหรือองค์พระชัดกว่าหลับตา ?

    ตอบ:

    เป็นธรรมชาติของใจ (เห็น จำ คิด รู้) ที่เมื่อตกไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 แล้ว ใจดวงใหม่ก็จะปรากฏลอยขึ้นมาหยุดนิ่ง ณ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เพื่อทำหน้าที่ต่อไปนั้น ตาจะเหลือบกลับเองโดยอัตโนมัติ เช่นเมื่อเวลาสัตว์จะมาเกิด คือมาตั้งปฏิสนธิวิญญาณที่ขั้วมดลูกของมารดา ตาของทั้งบิดาและมารดาก็จะเหลือบกลับเอง เพราะใจตกศูนย์ และแม้เวลาที่สัตว์จะ ดับ (ตาย) จะหลับ จะตื่น และแม้เวลาที่ใจจะหยุดนิ่งสนิท เป็นสมาธิแนบแน่นตรงศูนย์กลางกาย แล้วก็ตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 และปรากฏลอยเด่นขึ้นมาใหม่ยังศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น ตาของสัตว์หรือบุคคลนั้นก็เหลือบกลับเองโดยอัตโนมัติ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้สึก คนส่วนมากจะไม่เคยได้สังเกตเห็น ให้สังเกตดูตัวอย่างเด็กทารกเวลาที่เธอนอนหลับ ใจกำลังตกศูนย์นั้น จะเห็นตาของเธอเหลือบกลับเหมือนคนที่กำลังชักจะตาย พ่อแม่บางคนเมื่อเห็นถึงกับตกใจนึกว่าลูกตนกำลังชัก แต่แท้ที่จริงเธอกำลังนอนหลับปุ๋ยสบาย

    โดยเหตุนี้แหละ เวลาที่ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิ หลับตาโดยเม้มเปลือกตาให้ปิดแน่นสนิทมากๆ เพราะความที่ตั้งใจมาก และไม่ทราบกลอุบายนี้ จึงไม่เอื้ออำนวยให้ตาเหลือบกลับเองได้สะดวกตามธรรมชาติในเวลาที่ใจจะเป็นสมาธิ ใจจึงพร่าไม่สามารถรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน (เอกัคคตารมณ์) ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ได้สนิท จึงเห็นเป็นแต่ความมืดหรือเห็นไม่ชัดโดยธรรมชาติ นี้แหละ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านจึงแนะนำเวลาฝึกเจริญภาวนาสมาธิในเบื้องต้นว่า ให้เหลือบตากลับ เพื่อให้ใจอันประกอบด้วย ความเห็น (ด้วยใจ) จำ คิด รู้ ที่มักจะพล่านออกไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกนั้นกลับไปข้างหลัง แล้วก็ให้กลับเข้าข้างในไป หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายได้โดยง่าย

    ส่วนว่า ผู้ปฏิบัติภาวนาสมาธิที่ปิดเปลือกตาเบาๆ แต่พอให้ใจเป็นอิสระ คือไม่เห็น และยึดเกาะอยู่กับรูปหรืออารมณ์ภายนอก และพอให้ตาเหลือบกลับเองได้โดยสะดวก ใจจึงสามารถรวมลงหยุดอยู่ในอารมณ์เดียว ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้นได้โดยง่าย และเมื่อหยุดในหยุดกลางของหยุดนิ่งลงไปที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมตรงศูนย์กลางฐานที่ 7 นั้น ก็จะสามารถเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายได้เร็วและชัดกว่าการปิดเปลือกตาอย่างแน่นสนิท

    เพราะฉะนั้น ผู้ลืมตานิดๆ แค่พอประมาณ หรือแม้ผู้เดินจงกรม เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ และลืมตามองลงชั่วแอก เจริญภาวนา จิตจึงเป็นสมาธิได้เร็ว และสามารถเห็นดวงธรรมในธรรม และกายในกายได้เร็วและชัดกว่าการปิดเปลือกตาที่แน่นสนิท เพราะกดเปลือกตาจนเกินไป
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    #อมตวัชรวจีหลวงป๋า

    - ธรรมกายดับเพราะใบ้หวย

    เคยมีพระมาปฏิบัติธรรมที่นี่ ดื้อ มาปฏิบัติรุ่นแรกเดือนกุมภาพันธ์ต่อมีนาคม พ.ศ. 2525 มีพระปฏิบัติได้ผลดี มาจากหนองคาย เป็นพระที่เคยไปปฏิบัติอยู่ฝั่งลาวบ้าง ฝั่งนี้บ้าง ธุดงค์อยู่บ่อย มาถึงก็ปฏิบัติได้ผล

    บริเวณตรงนี้เป็นท้องนาหมด ใครเคยมารุ่นแรกนี่ เวลาเดินเท้าเปล่าแสบเท้าเลย แถวๆนี้ร้อนเปรี้ยงๆ ไม่มีต้นไม้เลย เลยข้ามคลองนี้ไปหน่อย มีต้นสะเดาอยู่ต้นหนึ่งตรงนั้น และมีต้นมะขามเทศอีกต้นหนึ่งเท่านั้น นอกนั้นไม่มีอะไร โล้นๆเลย

    สมัยนั้นเราอยู่เพิงจาก มุงจากไว้ เสร็จแล้วพอเขาเลิกปฏิบัติธรรม แล้วท่านก็ขออยู่ต่อ เราก็บอกว่าอยู่เถิด จะได้เฝ้าที่ของเราด้วย สมัยนั้นอาตมายังเป็นฆราวาสอยู่ อาตมาก็สอนทั้งเป็นฆราวาสนั้นแหละ

    แกยังไม่กลับหนองคาย ขออยู่ต่อ ต่อมาปรากฏว่าคนแถวๆนี้ถูกหวยกันอื้อเลย แกนั่งใบ้หวย ลาภสักการะก็มา อาตมามาบอกให้แกหยุด ลงท้ายแกหยุด และบอกอาตมาว่าหยุดแล้ว กลัวอาตมาเหมือนกัน

    วันหลังอาตมามาสืบดูอีก ยังปรากฏว่า ชาวบ้านยังถูกหวยกันตึงๆอยู่แถวนี้ แต่ตอนหลังๆชักจะผิดๆแล้วนา พอบอกให้เขาถูกไปๆ ก็ชักจะผิด เพราะธรรมกายดับหมดแล้ว ธรรมกายเกิดขึ้นเพราะความบริสุทธิ์ เป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ ไปเล่นแบบนั้นก็เสร็จ ไม่กี่ทีหรอก อาตมาเลยนิมนต์ท่านให้กลับไปเสีย เพราะกลัวจะเสียชื่อว่าที่นี่เป็นที่ใบ้หวย

    เพราะฉะนั้น โปรดทราบว่า ธรรมกายเป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ เป็นธรรมขันธ์ที่บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นเมื่อใจเราบริสุทธิ์เราจึงจะเข้าถึง รู้-เห็น และเป็นได้ เมื่อใจเราไม่บริสุทธิ์ ธรรมกายก็ดับ

    ความจริง ธรรมกายเขาก็อยู่ในที่สุดละเอียดของเขา แต่ว่าถ้าใจเราไม่บริสุทธิ์พอ ก็เข้าไม่ถึง ก็กลายเป็นใจปุถุชนไปเท่านี้แหละ เรื่องมีแค่นี้แหละ ไม่มีอะไร

    แต่ว่านั้นแหละ อาตมาว่าจะไม่ชี้โพรงให้กระรอก สมัยนั้นอาตมาบอกห้ามเท่าไหร่ ได้ยินข่าวมีทุกรุ่น หลายรุ่นทีเดียวชอบใบ้หวย นั่นแหละฆ่าตัวเองแท้ๆ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ณ ภายใน #เป็นเปรตเลยนะจะบอกให้

    เพราะว่า นำให้คนอื่นให้เกิดความโลภ ความยึดติด เกิดกิเลสตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพชาติเป็นทุคคติภพ ก็จึงเป็นเปรตนั่นแหละ

    ธรรมกายน่ะย่อมเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม นี้ได้ ตรวจสอบตัวเองได้ อย่าเผลอทีเดียว เล็กๆน้อยๆอย่างนี้ ก็ต้องระวัง

    เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติภาวนาเขาถึงสำรวม แต่คนที่เพิ่งมาปฏิบัติใหม่ๆ ยังไม่เข้าใจ จึงยังไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวมก็แย่ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย

    ที่ถึงธรรมกายแล้วจะเห็นตัวเองได้ จะเข้าใจได้ แต่มักจะเผลอ เพราะยังไม่ใช่ธรรมกายอริยมรรคอริยผล ก็เหมือนขาข้างหนึ่งก้าวเข้าไปอยู่ในนิพพาน อีกข้างหนึ่งยังอยู่ในภพ 3 ประเดี๋ยวอยู่ๆเมืี่อยขา ก็ผลุบลงมาอยู่ในภพ 3 อย่างเก่า

    ถ้ายังอยู่แค่ตอนบนคือสุคติภพก็ยังดี แต่ผลุบลงมาอยู่ข้างล่างถึงทุคคติภพ ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม ธรรมเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่ใช่ต้องรอให้เราตายก่อน ไม่ใช่นะ มันเปลี่ยนเดี๋ยวนี้เป็นปัจจุบันธรรมเลย ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ คือ ใจของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เปลี่ยนแปลงได้เดี๋ยวนี้ฉับพลันทันใด

    พอกระดิกจิตไปในทางชั่วปุ่บ ก็เปลี่ยนเลยทันที จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 ถ่ายทอดกรรมไปปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตดวงใหม่ของกาย เวทนา จิต ธรรม ส่วนละเอียด ณ ภายใน ปรากฏลอยเด่นขึ้นมาใหม่ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 กายมนุษย์ละเอียดก็ซ่อมซ่อเศร้าหมอง เป็นอย่างนี้ที่ "#ปฏิจจสมุปบาทธรรม"

    เห็นตัวเองได้น่ะ มิใช่ไปนั่งท่องเอาแต่ตำรา นั่งท่องเอานั่นตำรา ธรรมปฏิบัติจริงๆเห็นอยู่ในนี้ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่พระพุทธเจ้าให้เห็นทั้ง ณ ภายใน และทั้ง ณ ภายนอก คืออย่างนี้.

    ________________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _________________
    ที่มา
    ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ
    _________________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
    ขอบคุณภาพประกอบธรรมะ

    c_oc=AQlIn6JrOvPc4wGyJ0d8BQ497jQBO8BJXNZJZBx6QSgEy-vvxtVCpm17KcxieUP1-zg&_nc_ht=scontent.fbkk5-5.jpg
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    c_oc=AQkjnEUCYRZu_pydIYMT48Q9l_Z0jvooJ4bULBvy6B-6-86G7HbMGuitLSGC5ccY-gE&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg


    #ขันธ์ 5 เป็นภาระอันหนัก

    29 ธันวาคม 2496

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา
    ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก
    นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ
    สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺหภารหาโร จ ปุคฺคโล
    ภารนิกฺเขปนํ สุขํ
    อญฺญํ ภารํ อนาทิย
    นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ.

    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ 5 นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ 5 น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ ... แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยขันธ์เป็นภาระอันหนัก ตามวาระพระบาลีและคลี่ความเป็นสยามภาษา เพราะว่าเราท่านทั้งหลายเกิดมาหญิงชายทุกถ้วนหน้า ล้วนแต่แบกภาระขันธ์ 5 ด้วยกันทั้งนั้น ขันธ์ 5 เป็นของหนัก ไม่ใช่ของเบา หนักอย่างไร หนักตั้งแต่อุบัติตั้งแต่อยู่ในท้อง ตั้งแต่เกิดในท้องมารดา หนักเรื่อยมา นั่นบังคับให้มารดาผู้ทรงครรภ์นั้นหนักแล้ว ตัวเองก็หนักไปไหนไม่ค่อยไหว ติดอยู่ในอู่มดลูกนั่นเอง เจริญวัยวัฒนา เป็นลำดับๆ ไป เมื่อคลอดก็หนักถึงกับตายได้ ถ้าว่าขันธ์ที่เกิดนั้นไม่ตาย ขันธ์ของมารดาที่ให้เกิดนั้นถึงกับตายลำบากยากแค้นนัก หนักด้วย ลำบากด้วย ฝืดเคืองด้วย คับแค้นด้วย คับแคบด้วย ลำบากทั้งนั้น ขันธ์ 5 เป็นของหนักจริงๆ ไม่ใช่ของเบา ไปไหนก็ไปเร็วไม่ได้ อุ้ยอ้าย เมื่อเจริญวัยวัฒนาเป็นลำดับแล้วก็ไปได้ด้วยตนของตนเอง แต่ว่าเป็นกายหนัก เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ ไปเร็วไม่ได้ ต้องไปตามกาลสมัยตามกาลของขันธ์นั้น ไม่ใช่หนัก พอดีพอร้าย หนักกาย ต้องบริหารมากมาย

    ผู้เกิดมานั้นต้องบริหารขันธ์ 5 นั้นด้วย ต้องดูแลรักษา ครั้นเจริญวัยวัฒนาตัวของตัว เมื่อหลุดจากมารดาบิดาบริหารรักษาแล้ว ตัวของตัวต้องรักษาตัวเองอีก ตัวของตัวเองรักษาตัวเองก็ไม่ค่อยไหว บางคนถึงกับให้คนอื่นเขารักษาให้ ต้องให้เขาใช้สอยไปต่างๆ นานา รักษาขันธ์ 5 ของตัวไม่ได้ ต้องบากบั่นตรากตรำมากมาย ในการเล่าเรียนศึกษา กว่าจะรักษาขันธ์ 5 ของตนเองได้ จนกระทั่งรักษาขันธ์ 5 ของตนได้ พอรักษาขันธ์ของตัวได้ ขันธ์ 5 ก็เก่าคร่ำคร่า หนักเข้าขันธ์ 5 ของตัวเองก็พยุงตัวเองไม่ไหว พยุงตัวไม่ไหวต้องอยู่กับที่ ขยับได้บ้าง ไปโน่นมานี่ได้บ้าง แต่หนักเข้าก็ลุกไม่ขึ้น หนักเข้าก็หมดลมอัสสาสะปัสสาสะเข้าโลงไป 4 คนนั่นแหละต้องหาม 4 คนก็เต็มอึดเชียวหนา มันหนักขนาดนี้ หนักอย่างโลกๆ ไม่ใช่หนักอย่างธรรมๆ

    หนักอย่างทางธรรมน่ะนั่นลึกซึ้ง แบกขันธ์ทั้ง 5 นำขันธ์ทั้ง 5 ไปมากมายนัก ในมนุษย์โลกนี้แบกขันธ์ทั้ง 5 ไปมากมายนัก ภาระคือ ขันธ์ 5 นี้หนัก ไม่ใช่หนักแต่ในมนุษย์โลกนี้ ไปเกิดเป็นเทวดาก็หนักอีก ไปเกิดเป็นพรหมก็หนักอีก ไปเกิดเป็นอรูปพรหมก็หนักอีก หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เบา ถ้าไปเกิดเป็นสัตว์นรก หนักขึ้นไปกว่านั้นอีก ในสัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาตะ โรรุวนะ มหาโรรุวนะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจี หนักขึ้นไปกว่านั้น หรือไปเกิดในบริวารนรก รวมนรก 456 ขุม ขุมใดขุมหนึ่ง หรือไปเกิดเป็นเปรตก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดเป็นอสุรกายก็หนักขึ้นอีกเหมือนกัน ไปเกิดสัตว์ดิรัจฉาน ก็หนักอีกเหมือนกัน เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย ก็หนักทั้งนั้น ขันธ์ 5 นี่เป็นของหนัก

    ท่านจึงได้ยืนยันตามพระบาลีว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธาขันธ์ทั้ง 5 เป็นของหนัก ภารหาโร จ ปุคฺคโล บุคคลผู้นำขันธ์ 5 ที่หนักนั้นไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก การถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง 5 นั้นหนัก เป็นทุกข์ในโลก ภารนิกฺเขปนํ สุขํ สละขันธ์ 5 ปล่อยขันธ์ 5 วางขันธ์ 5 ทิ้งขันธ์ 5 เสียได้เป็นสุข นิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํ การทิ้งภาระที่หนักอันนั้นเสียได้แล้ว อญฺญํ ภารํ อนาทิย ไม่ถือเอาของหนักอื่นอีกต่อไป สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ชื่อว่าเป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้ นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต หมดกระหาย ไปนิพพานได้ หมดกระหาย หมดร้อน หมดกระวนกระวาย ไปนิพพานได้ ให้ทิ้งขันธ์ 5 เสีย ทิ้งขันธ์ 5 เสียได้แล้ว ได้ชื่อว่าถอนตัณหาทั้งรากได้ นี้เป็นตัวสำคัญ ให้รู้จักดังนี้

    เราจำเป็นอยู่แล้วจะต้องวางต้องทิ้งขันธ์ 5 นี่ถึงไม่ทิ้งเราก็ต้องทิ้ง ใครล่ะจะไม่ทิ้งได้ ถ้าไม่ทิ้ง แก่เข้าๆ ถึงเวลาก็ตายจะเอาไปได้หรือ ขันธ์ 5 น่ะ คนเดียวก็เอาไปไม่ได้ หมดทั้งสากลโลก ขันธ์ 5 ของตัวเอาไปไม่ได้ ขันธ์ 5 ของสามีภรรยากันล่ะ เอาไปไม่ได้ แต่ของตัวเอาไปไม่ได้แล้ว นี่จะเอาของคนอื่นไปอย่างไรล่ะ เอาของลูกไปบ้างไม่ได้หรือ ไม่ได้ แต่ของตัวก็ยังเอาไปไม่ได้ จะเอาของลูกไปได้อย่างไร พี่น้องวงศ์วานว่านเครือจะเอาไปบ้าง ไม่ได้หรือ เอาไปไม่ได้ ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด ตายๆ คนเดียว เกิดๆ คนเดียว เราอยู่คนเดียวน่ะนี่น่ะ ไม่ได้อยู่หลายคนนะ อยู่กี่คนก็ชั่ง ตายไปด้วยกันไม่ได้ เกิดคนเดียวตายคนเดียวทั้งนั้น ก็แฝดกันมาไม่ใช่ด้วยกันดอกหรือ จะแฝดหรือ จะติดกันอย่างไรก็ตามเถอะ คนละจิตละใจทั้งนั้น ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด

    เมื่อรู้ชัดดังนี้ วิธีจะละขันธ์ 5 ถอดขันธ์ 5 ทิ้ง วิธีจะถอดสละขันธ์ 5 วางขันธ์ 5 นั้น ต้องเป็นผู้ตั้งอยู่ในสังวรกถา ที่จะตั้งอยู่ในสังวรกถาได้ ต้องอาศัยมีความรู้ความเห็นแยบคาย เห็นแยบคายอย่างไร ? รู้เห็นแยบคาย ความยินดีในรูปในอารมณ์นั้นๆ ต้องปล่อยวาง ต้องละต้องทิ้งความยินดีในอารมณ์นั้นๆ ถ้ายังยึดความยินดีในอารมณ์อยู่ ปล่อยขันธ์ 5 ไม่ได้ การยึดอารมณ์ยินดีในอารมณ์ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้เป็นเนติแบบแผน เป็นภาษามคธว่า

    สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
    โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุํ
    ตํ เว ปสหตี มาโรอินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
    กุสีตํ หีนวีริยํ
    วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ

    แปลเป็นสยามภาษาว่า สุภานุปสฺสึ ผู้ที่เห็นอารมณ์งาม รูปารมณ์ก็ดี สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ผู้เห็นอารมณ์งาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั่นแหละเรียกว่า สุภานุปสฺสึ ผู้เห็นอารมณ์งามอยู่ ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเกียจคร้าน กุสีตํ จมอยู่ในอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด หีนวิริยํ มีความเพียรเลวทราม ตํ เว ปสหตี มาโร มาร ย่อมประหารบุคคลผู้นั้นได้ วาโต รุกฺขํ ว ทุพฺพลํ เหมือนลมประหารต้นไม้ อันมีกำลังทุพพลภาพได้ฉันนั้น นี้พระคาถาต้น คาถาสองรองลงไป

    อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
    โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุํ
    ตํ เว นปฺปสหตี มาโรอินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ
    สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
    วาโต เสลํ ว ปพฺพตํ

    ผู้ที่เห็นอารมณ์อันไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภคอาหารหรือโภชนาหาร มีความเชื่อ ปรารภความเพียรอยู่ มารย่อมประหารบุคคลผู้นั้นไม่ได้ เหมือนอย่างลมประหารภูเขาอันล้วนแล้วด้วยศิลาเขยื้อนไม่ได้ ฉันนั้น

    จกฺขุนา สํวโร สาธุ
    ฆาเนน สํวโร สาธุ
    กาเยน สํวโร สาธุ
    มนสา สํวโร สาธุ
    สพฺพตฺถ สํวุโต ภิกฺขุสาธุ โสเตน สํวโร
    สาธุ ชิวฺหาย สํวโร
    สาธุ วาจาย สํวโร
    สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
    สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ

    แปลเนื้อความว่า สำรวมตาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมจมูกได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมกายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมวาจาได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมใจได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมในที่ทั้งหมดปรากฏว่า ยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ผู้ศึกษาธรรมวินัยเป็นผู้สำรวมแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายในอินทรีย์ทั้งสิ้น เมื่อสำรวมได้เช่นนี้ตัดสินว่า สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปด้วยประการดังนี้ นี่สังวรกถา แสดงการสำรวม

    แต่ว่าที่กล่าวมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ถ้าจะอรรถาธิบายขยายความในการที่ปล่อยขันธ์ 5 เป็นลำดับไป ขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราแบ่งเป็นภาระหนักอยู่ในบัดนี้ แล้วอวดดีด้วยนะ ภาระของตัวหนักพออยู่แล้ว ยังอวดดีไปแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าอีกด้วย เอากันละตรงนี้ อวดดีแบกภาระของคนอื่นเขาเข้าด้วย ไม่ใช่แบกน้อยด้วย บางคนแบกหลายๆ ขันธ์ แอบไปแบกเข้า 5 ขันธ์อีกแล้ว หญิงก็ดีชายก็ดีแอบไปแบกเข้าอีก 5 ขันธ์ แล้วรวมของตัวเข้าเป็น 10 ขันธ์ แล้วหนักเข้า ก็หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์ เป็น 15 ขันธ์ แล้วแบกเอาไป แบกเข้าไปเฮอะ เอ้าหนักเข้าๆ หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์แล้ว เป็น 20 ขันธ์แล้ว นานๆ หลายๆ ปีเข้า หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์ แล้วเป็น 25 ขันธ์ นานๆ หลุดออกมาอีก 5 ขันธ์แล้ว เอ้าเป็น 30 ขันธ์ ดังนี้แหละ บางคนแบก ถึง 40-50-60-70-80-90 บางคนถึง 100 ขันธ์ สมภารแบกตั้ง 1,000 ขันธ์เชียวนา ไม่ใช่น้อยๆ นั่นอวดดีล่ะ ถ้าอวดดีอย่างนี้ต้องหนักมาก เขาจึงได้ชื่อว่าสมภาร สัมภาระ แปลว่าหนักพร้อม หนักรอบตัว พ่อบ้านแม่บ้าน พ่อครัวแม่ครัว ก็เหมือนกัน หนักใหญ่อีกเหมือนกัน หนักรอบอีกเหมือนกัน เพราะแบกขันธ์ทั้งนั้น ที่ทุกข์ยากลำบากกันหนักหนา ทีเดียว เพราะแบกขันธ์เหล่านี้แหละต้องปลูกบ้านเป็นหย่อมๆ เป็นหลังเป็นพืดไป นั่นเพราะอะไร บริหารขันธ์แบกขันธ์ทั้งนั้น แบกภาระที่หนักทั้งนั้น ไม่ใช่เล็กน้อย ไม่ใช่พอดีพอร้าย เพราะเหตุดังนั้น การแบกภาระของหนักนี่แหละ ถ้าปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ละก้อ เป็นทุกข์หนักทีเดียว บุคคลผู้แบกของหนักไป บุคคลผู้แบกขันธ์ 5 ที่หนักไป ถ้าว่าปล่อยวางขันธ์ 5 ไม่ได้ ก็เป็นทุกข์แท้ๆ ถ้าปล่อยวางขันธ์ 5 เสียได้ก็เป็นสุขแท้ๆ เหมือนกัน ตรงกันข้ามอย่างนี้

    แต่ว่า วิธีปล่อยขันธ์ 5 ไม่ใช่ของเล็กน้อย ไม่ใช่เป็นของปล่อยง่าย ถ้าปล่อยไม่ได้ ก็เป็นทุกข์ ปล่อยได้ก็เป็นสุข แต่ขันธ์ 5 จริงๆ เราก็ไม่รู้จักมันเสียแล้วนะ ปล่อยมันอย่างไร รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณน่ะ เอาเถอะ แก่เฒ่าอยู่วัดอยู่วาไปตามกัน บวชแล้วก็ตาม ไม่บวชก็ตาม ถามจริงๆ เถอะว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จริงๆ น่ะคืออะไร เอาละอึกอักกันทีเดียว ไม่เข้าใจตัวของตัวแท้ๆ ไม่เข้าใจ รูปน่ะคือร่างกาย ประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ผสมกันอยู่นี้ ถ้าว่าแยกออกไปก็เป็น 28 มหาภูตรูป 4 อุปาทายรูป 24 เป็นรูป 28 ประการดังนี้ นี่แหละมีรูปเท่านี้ เป็นเบญจขันธ์นี้ รูป 28เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นามขันธ์ 4 โดยย่อ สังขาร 3 วิญญาณ 6 เวทนา ความรู้สึก สัญญา ความจำ สังขารความคิด วิญญาณ ความรู้ เป็นดวงสีต่างๆ กัน ส่วนเวทนาก็เป็นดวง ถ้าสุขเวทนาก็ใส ถ้าทุกขเวทนาก็ขุ่น ดังนี้ เป็นดวงๆ ดังนี้ สัญญา ความจำก็เป็นดวงเหมือนกัน เป็นดวงต่างกัน ดีชั่วหยาบละเอียดเลวประณีต สังขาร ความคิดดีคิดชั่ว คิดไม่ดีไม่ชั่ว นี่ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน วิญญาณความรู้ ความรู้ก็เป็นดวงอีกเหมือนกัน ต้องรู้จักพวกนี้ ให้เห็น พวกนี้เสียก่อน ให้เห็นขันธ์ทั้ง 5 เสียก่อน ให้เป็นปฏิบัติ

    ที่แสดงแล้วนั่นเป็นปริยัติ ถ้าปฏิบัติ ต้องเห็น เห็นขันธ์ทั้ง 5 นั่น รูปเป็นดังนั้นโตเล็กเท่านั้น สัณฐานอย่างนั้น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 แล้ว ก็ดูความจริงของมัน ขันธ์ 5 เหล่านี้น่ะ ถ้าแม้ว่า ขืนไปยึดถือมันเข้าไว้ละก้อ เป็นทุกข์ ท่านถึงได้วางตำราเอาไว้ว่า ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ยึดถือมั่นในเบญจขันธ์ 5 นั่นเป็นทุกข์ ถ้าหากว่าปล่อยเบญจขันธ์ 5 เสียได้ก็เป็นสุข แต่ว่าปล่อยไม่ใช่ได้ง่าย ปล่อยไม่ได้ง่ายเหมือนอะไร ปล่อยไม่เป็น ถ้าปล่อยเป็นปล่อยได้ง่าย ปล่อยไม่เป็นปล่อยได้ยาก ปล่อยไม่เป็นเหมือนอะไร เหมือนเด็กๆ กำไฟเข้าไว้ ยิ่งร้อนหนักเข้า ยิ่งกำหนักแน่นหนักเข้า ร้องใจหายใจคว่ำก็ร้องไป ปล่อยไม่เป็น คลายมือไม่เป็น ถ่านก้อนที่กำเข้าไว้น่ะ เมื่อเด็กกำเอาเข้าไว้แล้ว กำเสียดับเลยทีเดียว กำเสียมิดทีเดียว มือก็ไหม้ เข้าไปรูหนึ่งแล้ว นั่นเพราะอะไร เด็กมันปล่อยถ่านไฟไม่เป็น ปล่อยไม่เป็นหรือมันไม่ปล่อย ปล่อยไม่เป็นจริงๆ ถ้าปล่อยเป็นมันก็ปล่อยเหมือนกัน

    เหมือนพวกเรานี่แหละยึดมั่นเอาเบญจขันธ์ทั้ง 5 เข้าไว้ ปล่อยไม่เป็น ไม่รู้จะปล่อยท่าไหน วางท่าไหนก็ไม่รู้ วางไม่ออก ปล่อยไม่ออก ปล่อยไม่เป็น วางไม่เป็น หรือปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้ ไอ้ที่ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้ อีกพวกหนึ่ง ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง

    ปล่อยไม่ได้วางไม่ได้น่ะ รู้แล้วว่าปล่อยเท่านั้นวางเท่านั้น ไม่ยอมปล่อย ไม่อยากปล่อย เพราะอะไร เสียดายมัน นั่นอีกพวกหนึ่ง ไม่อยากปล่อยขันธ์ 5 อยากจะได้ขันธ์ 5 ให้มากขึ้น นั่นพวกหนึ่ง

    ไอ้ที่ปล่อยไม่เป็นน่ะพวกหนึ่ง ไม่ได้เล่าเรียนศึกษา ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระพุทธเจ้า ไอ้พวกนั้นปล่อยไม่เป็น

    ไอ้พวกที่ได้ฟังแล้วจะปล่อยก็เป็น แต่ว่าเสียดายไม่ยอมปล่อย อีกพวกหนึ่งตั้งใจปล่อยจริงๆ แต่ปล่อยไม่ได้ ไอ้ที่ไม่อยากปล่อยน่ะ เหมือนอะไรล่ะ เหมือนพรานวางเบ็ด เมื่อปลาติดเบ็ดแล้ว ถ้าปลาตัวเล็กๆ พอจะปลดปล่อยได้ ถ้าปลาถึงขนาดเข้าปล่อยไม่ได้ เสียดาย ต้องใส่เรือของตัวไป ไอ้อยากปล่อยแต่ปล่อยไม่ได้น่ะเหมือนอะไร เหมือนนกติดแร้ว อยากปล่อย แต่เครื่องติดมันมี มันมีเหมือนอะไรล่ะ นี่แหละเหมือนอย่างเราครองเรือน อย่างนี้แหละ อยากจะปล่อยมัน แต่ว่าเครื่องติดมันมีเลยปล่อยไม่ได้ เสียดาย มันปล่อยไม่ได้ มันติดอยู่ดังนั้นแหละ ปล่อยไม่ถนัด เพราะเหตุฉะนี้แหละเบญจขันธ์ทั้ง 5 ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ต้องถอดกัน ไม่ถอด ปล่อยไม่ได้

    วิธีถอดเบญจขันธ์เบื้องต้นต้องสำรวม ที่จะสำรวมน่ะ ต้องพิจารณาเบญจขันธ์ทั้ง 5 เสียก่อนว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม เป็นของไม่ดีไม่งามนะ เป็นของหนักจริงๆ นะ รู้ว่าเป็นของหนักแล้ว เริ่มต้นทีเดียว เมื่อเห็นว่าหนักละก็เริ่มต้นสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลยทีเดียว สำรวมระวังไว้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในเวลาที่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มากระทบ คอยระวังไว้สำรวมไว้ให้ดี เมื่อระวังให้ดีแล้วสละความยินดียินร้ายไม่ให้มากระทบ ไม่ให้ความชอบความไม่ชอบซึ่งเป็นกิเลสหยาบเข้ามากระทบได้ สละเสีย เมื่อสละเช่นนั้น ถ้าว่าเกียจคร้านไม่ได้นะ ต้องหมั่นขยันทีเดียว ต้องมีความเชื่อมั่นว่าปล่อยได้จริง แล้วขยันหมั่นเพียรจริงๆ นั่นแหละจึงจะปล่อยได้ ถ้าไม่สำรวมระวังปล่อยพลั้งเผลอละก้อ เหมือนดังคนเกียจคร้านมีปัญญาเลวทราม ก็ต้องรัดรึงตรึงตราอยู่ในเบญจขันธ์ทั้ง 5 ก็บุคคลมีศรัทธา มีความเพียรดี มีความเพียรหมั่นขยัน กลั่นกล้านั้นแหละอาจปล่อยขันธ์ 5 ได้ล่ะ แต่ว่าวิธีจะปล่อย ท่านชี้แจงแสดงย่อยออกไปเป็นตำรับตำราออกไปเป็นส่วนๆ ให้เป็นตำรับตำราออกไปว่า จกฺขุนา สํวโร สาธุสำรวมตาได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ อย่างไร ความติดมั่นในรูปารมณ์ก็ไม่มี สำรวมหูได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำเร็จอย่างไร ความติดมั่นในสัททารมณ์ก็ไม่มี หยุดไปได้ สำรวมจมูกได้ ความติดมั่นถือมั่นในกลิ่นก็ไม่มี หลุดไปได้ สำรวมในลิ้นได้ ก็ไม่ติดในรส สำรวมในกายได้ ความสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ก็หลุดไป ยังประโยชน์ให้สำเร็จดังนี้ เมื่อสำรวมกายได้ สัมผัสก็หลุดไป สำรวมวาจาได้ ที่จะมีโทษทางวาจาก็ไม่มี หลุดไป สำรวมใจได้ โทษทางใจก็ไม่มี ยังประโยชน์ให้สำเร็จเป็นชั้นๆ ไป ดังนี้ ความสำรวมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นแหละ ทั้ง 6 อย่างสำรวมได้แล้ว ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ทั้งหมด ปรากฏว่าผู้ศึกษาพระธรรมวินัยต้องเป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้ เมื่อมีหลักมีเกณฑ์อย่างนี้แล้ว ได้ชื่อว่าสำรวมดีในสิ่งทั้ง 6 ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจสำรวมใจดีแล้วหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้จริงๆ นะ

    เขาทำกันอย่างไร ต้องทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ที่เคยแสดงอยู่เสมอๆ เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ดี ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ พอหยุดนิ่งก็เข้ากลางของกลางๆๆๆๆๆ เป็นลำดับไป เมื่อเข้ากลางของกลางเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

    เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์หยาบหลุด หยุดอยู่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เข้ากลางของกลาง หยุดเรื่อยไป ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะเข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียดก็หลุดไปเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายทิพย์หยาบก็หลุดไปเข้าถึงกายรูปพรหม กายทิพย์ละเอียดก็หลุดไปเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมหยาบหลุดไปเข้าถึงกายอรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดหลุดไปเข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบหลุดไปเข้าถึงกายธรรม กายอรูปพรหมละเอียดหลุดไป

    นี่หลุดไป 8 กายแล้ว

    เข้าถึงกายธรรมโคตรภูละเอียด กายธรรมโคตรภูหยาบก็หลุดไปเข้าถึงกายธรรมพระโสดาบันหยาบ กายธรรมโคตรภูละเอียดหลุดไปเข้าถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด กายพระโสดาหยาบก็หลุดไปเข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาหยาบ กายพระโสดาละเอียดก็หลุดไปเข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาละเอียด กายพระสกทาคาหยาบก็หลุดไปเข้าถึงกายธรรมพระอนาคาหยาบ กายพระสกทาคาละเอียดก็หลุดไปเข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด กายพระอนาคาหยาบก็หลุดไปเข้าถึงกายพระอรหัตหยาบหรือพระอรหัตตมรรค กายพระอนาคาละเอียดก็หลุดไปเข้าถึงกายพระอรหัตละเอียดหรืออรหัตตผล กายพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคก็หลุดไปพอเข้าถึงอรหัตตผล เรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เรียกว่าเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดจากธรรมที่ปะปนด้วยกิเลส สราคธาตุสราคธรรม หลุดหมด เบญจขันธ์ทั้ง 5ขันธ์ 5 ของมนุษย์ ขันธ์ 5 ของกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดแล้ว ก็หลุดขันธ์ 5 ของกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ก็หลุด,ขันธ์ 5 กายของรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด เข้าถึงอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็หลุด, หลุดหมด หลุดเป็นชั้นๆ ไป

    ขันธ์ 5 ของกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรมเสียแล้ว ก็หลุด, ถึง กายธรรมพระโสดา ขันธ์ 5 ของกายธรรมโคตรภูหยาบ-โคตรภูละเอียด หลุด, เข้าถึงกายธรรมพระสกทาคาแล้ว กายธรรมของโสดา-โสดาละเอียดหลุด, เข้าถึงกายธรรมของ พระอนาคาหยาบ-อนาคาละเอียดแล้ว กายธรรมของพระสกทาคาหยาบ-สกทาคาละเอียด หลุดออกไปเช่นนี้ เป็นชั้นๆ เช่นนี้เรียกว่ารู้จักสำรวมถูกส่วนเข้าแล้วหลุดเป็นชั้นๆ ไปดังนี้ เมื่อหลุดออกไปได้แล้วเห็นว่าหลุดจริงๆ ไม่ใช่หลุดเล่นๆ ถ้าว่าโดยย่อแล้วละก็ พอถึง กายธรรมหยาบละเอียดเท่านั้นไปนิพพานได้แล้ว แต่ว่าหลุดดังนี้เป็นตทังควิมุตติ ประเดี๋ยวก็ กลับมาอีก พอหลุดแค่พระโสดา นั่นเป็นโลกุตตระ ข้ามขึ้นจากโลกได้แล้ว เป็นอริยบุคคลแล้ว แต่ว่าไม่พ้นจากไตรวัฏฏ์ ต้องอาศัยไตรวัฏฏ์ เพราะยังไปนิพพานไม่ได้ ต้องอาศัยกามภพ รูปภพอยู่ แต่ว่าอาศัยอยู่แต่เปลือกนอก ข้างในล่อนจากเปลือกนอกเสียแล้ว อย่างนั้นก็พอ ใช้ได้ แต่ว่ายังไม่ถึงที่สุด ต้องถึงที่สุดคือพระอรหัตตผลนั่นแหละจึงจะพ้นขาดเด็ดเป็น วิราคธาตุวิราคธรรมจริงๆ หลุดได้จริงๆ เช่นนี้ อย่างนี้เอาตัวรอดได้ อย่างนี้ เมื่อรู้จักหลัก ความหลุดพ้นเช่นนี้แล้วก็ตั้งใจให้แน่วแน่ ต้องมีความสำรวมเบื้องต้น ที่ท่านได้ชี้แจงแสดงไว้ใน อารมณ์ที่ไม่งาม แล้วสำรวมระวังให้ดี รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเพียร มีศรัทธา กล้าหาญไม่ย่อท้อ นั่นแหละคงจะไปถึงที่สุดได้ ทว่าย่อท้อเสียแล้วถึงที่สุดไม่ได้ง่าย ให้เข้าใจ หลักอันนี้ หลักที่แสดงแล้ว ที่แสดงในทางขันธ์ 5 เป็นของหนักแล้ว คิดสละขันธ์ 5 นั่นได้ ด้วยความสำรวมระวัง นี้เป็นทางปริยัติ เป็นลำดับไปจนเข้าถึงถอดกายเป็นชั้นๆ ออกไปแล้ว จนกระทั่งถึงพระอรหัต ถึงวิราคธาตุวิราคธรรม กายพระอรหัตหยาบ-พระอรหัตละเอียดนั้น ในแนวนั้นเป็นทางปฏิบัติ ปฏิเวธก็เป็นชั้นๆ เคยแสดงแล้ว

    กายมนุษย์เมื่อปฏิบัติถูกส่วนเข้าแล้วเห็นกายมนุษย์ละเอียด นั่นเป็นนิโรธ เป็น ปฏิเวธ รู้แจ้งแทงตลอดของกายมนุษย์ เมื่อกายมนุษย์ละเอียดเข้าถึงกายทิพย์ ก็เป็นปฏิเวธ ของกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์เมื่อเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายทิพย์ รู้จักกายทิพย์ละเอียดแล้ว เมื่อกายทิพย์ละเอียดเข้าถึงกายรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหมเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม, กายรูปพรหมละเอียดเข้าถึงกายอรูปพรหม ก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหมหยาบเห็นกายอรูปพรหมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมหยาบ, กายอรูปพรหมละเอียดเห็นกายธรรม ก็เป็นปฏิเวธของกายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรมเห็นกาย ธรรมละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมหยาบ, กายธรรมละเอียดเห็นกายธรรมพระโสดา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมละเอียด, กายธรรมพระโสดาเห็นกายธรรมพระโสดาละเอียด ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาหยาบ, เมื่อกายธรรมของพระโสดาละเอียดเห็นกายธรรม ของพระสกทาคา ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระโสดาละเอียด, กายธรรมพระสกทาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคา, กายธรรมละเอียดของพระสกทาคาเห็นกายธรรมพระอนาคาหยาบ ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระสกทาคาละเอียด, กายธรรมพระอนาคาเห็นกายธรรมละเอียดของพระอนาคาเอง ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคา, กายธรรมของพระอนาคาละเอียดเห็นกายธรรมของพระอรหัต ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอนาคาละเอียด, กายธรรมของพระอรหัตหยาบหรืออรหัตตมรรคเข้าถึงกายธรรมของพระอรหัตละเอียดหรือพระอรหัตตผล ก็เป็นปฏิเวธของกายธรรมพระอรหัต นี่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เป็นมาลำดับอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักดังนี้ละก็ การเล่าเรียนในทางพุทธศาสนา การแสดงก็ดี การสดับตรับฟังก็ดี ให้รู้จักทางปริยัติ ทาง ปฏิบัติ ทางปฏิเวธ จึงจะเอาตัวรอดได้ ถ้ารู้จักแต่เพียงทางปริยัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิบัติ ต้องให้เข้าถึงทางปฏิบัติ ยังข้องขัดอยู่ในทางปฏิเวธ ให้เข้าถึงทางปฏิเวธนั่นแหละจึงจะเอาตัว รอดได้ ด้วยประการดังนี้

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชนด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดา มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติ ธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความด้วยเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.

    หลวงพ่อวัดปากน้ำสด จันทสโร
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    c_oc=AQmnkHdJ5OYdm8rphmGsiGQD-V0oi70AhlbR0PnRidFDFxZBEp7z8LPDV5DgNZXY-SQ&_nc_ht=scontent.fbkk5-4.jpg



    #บรรดาระดับอาจารย์ที่เป็นพระอริยเจ้าชั้นสูง
    #ท่านจะสอนลูกศิษย์ลูกหาให้พิจารณาดวงใส_ณ_ภายในเหมือนกันหมด

    มีพระคุณเจ้าระดับวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง เป็นเจ้าสำนัก ได้ยินว่าท่านนั่งเจริญภาวนา ท่านนั่งไปเอง พุทโธๆ ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดปรากฏขึ้นภายนอกกายหยาบ ท่านเห็นกายมนุษย์ละเอียดนั่งอยู่ภายนอกกายหยาบ ท่านก็เลยเอากายละเอียดพิจารณากายหยาบ เอากายหยาบพิจารณากายละเอียด ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เพียงเท่านั้นแหละ เลยไม่ได้ก้าวหน้าให้ถึงธรรมกาย ท่านก็พิจารณาไตรลักษณ์อยู่แค่นี้

    อาตมาพยายามส่งเอกสาร นิตยสารธรรมกาย ทั้งเทป ไปถวาย ไม่ทราบว่าท่านได้ดูหรือเปล่า ถ้าว่าท่านได้ดู ท่านเดินวิธีปฏิบัติตามนิตยสารนั้น แป๊บเดียวท่านก็จะสามารถปฏิบัติถึงธรรมกาย และถึงพระนิพพาน อันเป็นธรรมชั้นสูงได้เร็ว เพราะท่านมีพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว กายมนุษย์ละเอียดท่านเห็นอยู่แล้วเป็นประจํา นั่งพิจารณาว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เพียงเท่านั้นเป็นประจำ ไม่ได้ปฏิบัติเข้ากลางของกลาง และดับหยาบไปหาละเอียดให้ไปถึงสุดละเอียด

    หลายท่านก็สอนกันว่า นี่เป็นนิมิตหลอกนิมิตลวง ให้ปฏิเสธเสีย เพราะว่าเขาไม่รู้วิธีเข้ากลางของกลาง และดับหยาบไปหาละเอียด ไปจนสุดละเอียด ถึงธรรมกาย และไปถึงพระนิพพาน ก็เลยนึกว่านี่เป็นนิมิตหลอกตัดทิ้งซะ ไม่เอาซะเลย เมื่อไม่เอาก็ไม่มีฐานที่ตั้งของจิตที่มั่นคง จิตไม่มีฐานที่ตั้งที่จะเป็นสมาธิได้แนบแน่นมั่นคง เพื่อปฏิบัติเข้ากลางของกลาง ดับหยาบไปหาละเอียด ไปสุดละเอียด ถึงธรรมกาย ไม่มีฐานอันมั่นคง เมื่อไม่มีฐานมั่นคงก็ไปไม่ถึงธรรมกาย ไม่ถึงอายตนะนิพพาน แต่ว่าคุณธรรมของท่านบรรลุได้ ละกิเลสท่านก็ทำได้ แต่ว่าที่จะถึงธรรมกาย ไปถึงอายตนะนิพพาน ท่านยังทำไม่ได้ เพราะท่านเห็นธรรมกายเมื่อไหร่ก็ปฏิเสธว่าเป็นนิมิต ก็เท่ากับเลื่อยหรือตัดขาเก้าอี้ที่ตนนั่ง

    อีกท่านหนึ่งนั่น เป็นระดับลูกศิษย์ในสำนักหนึ่ง นั่งภาวนาทีไร เห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป เพราะอาจารย์ท่านสอนไว้ว่านั่นเป็นนิมิต เป็นนิมิตลวง นั่งไปอีกก็เห็นอีก ไม่เอา ปฏิเสธเสีย ธรรมจึงไม่ก้าวหน้าไปเท่าที่ควร ไปติดอยู่แค่นั้น

    เพราะฉะนั้น เรื่องจริงๆก็มีอยู่นิดเดียวเท่านั้นว่า บางท่านอาจจะถือกันมาผิดๆ จากเจตนาที่พระอาจารย์ท่านสอนจากประสบการณ์

    จากที่เคยได้ยินได้ฟังมา #พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ท่านได้เห็นดวงกสิณของท่านดวงใหญ่ พอท่านเห็นแล้ว ตอนแรกๆท่านก็ตามดูกสิณนั้นไป เห็นเข้าไปเรื่อยๆ ดูตามไปก็เห็นต่างๆนานา เห็นเหมือนกับระลึกชาติ ไปเห็นชาติเก่าบ้าง ชาติใหม่บ้าง อนาคตบ้าง อะไรบ้าง ท่านก็ดูตามไปๆเรื่อยๆ เห็นอะไรต่อมิอะไร หนักเข้าๆ ก็เห็นจะไม่ได้เรื่อง ท่านก็เลยบอกว่า โอ!! นี่ไม่มีประโยชน์ นิมิตไม่มีประโยชน์ ท่านก็ตัดทิ้ง คือท่านปฏิเสธนิมิต #ฟังให้ดี #แปลว่าท่านปฏิเสธนิมิตลวง #ที่เห็นปรากฏอยู่ข้างนอก #ซึ่งถูกต้องไม่ผิด #ท่านปฏิเสธนิมิตลวง #เพราะนั่นยังไม่ใช่ของจริง เพราะยังไม่ได้เข้ากลางของกลาง ณ ภายใน

    ต่อเมื่อภายหลัง ท่านปฏิบัติไปๆ เมื่อท่านได้ทำใจให้หยุดนิ่งสนิท จนใจสงบที่ศูนย์กลางกาย ท่านก็ได้ดวงพุทโธนะ ท่านเรียกว่า #ดวงพุทโธ ได้เคยอ่านประวัติท่าน ตอนที่ท่านไปอยู่ป่าเขา ชาวเขาถามท่าน(หลวงปู่มั่น)ว่า "ตุ๊เจ้าเดินหาอันหยัง?" เพราะตุ๊เจ้าเดินจงกรมอยู่เรื่อยๆ ท่านตอบว่า "#หาดวงพุทโธ" ความจริงท่านก็เดินจงกรม ใจท่านหยุดท่านก็รู้ พิจารณาไปข้างใน ที่นี้ พวกชาวเขาก็ถามท่านว่า แล้วก็อย่างพวกเขานี่เขาจะหาดวงพุทโธได้ไหม? ท่านก็บอกว่า "ได้ มาสิ" แล้วท่านก็แนะนำกัมมัฏฐานให้ แต่จะได้เท่าไหร่ ได้ผลเท่าไร ก็ไม่ได้เล่าให้ฟัง นี้เป็นประวัติของท่านมีอยู่ในหนังสือ ท่านเรียกดวงธรรม ณ ภายในนั้นว่า "ดวงพุทโธ"

    เพราะฉะนั้น #บรรดาระดับอาจารย์ที่ท่านเป็นพระอริยะเจ้าชั้นสูง #เมื่อท่านเจริญอานาปานสติ #ใจหยุดลมหยุดที่ศูนย์กลางกาย #ก็เห็นเป็นดวงใสเหมือนกันหมดไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้นท่านจะสอนลูกศิษย์ลูกหาต่อไปว่า ให้เอามาพิจารณา ณ ภายใน อย่าให้อยู่ข้างนอก เหมือนกันหมด ท่านให้เอานิมิตมาพิจารณาข้างในทั้งนั้นนั่นแหละ แล้วผู้ปฏิบัติก็จะรู้ทางสายกลางไปเอง #แต่สำหรับพระอริยเจ้าท่านไม่เอามาพูดมาก

    ก็ขอเจริญพรไว้เพียงเท่านี้ว่า ไม่ได้แตกต่างกันหรอก เหมือนกันแหละ ทำไปเถอะ แล้วก็จะไปที่เดียวกันนั้นแหละ ไม่ไปไหนหรอก #เพราะทุกคนก็มุ่งนิพพาน #ซึ่งในทางปฏิบัติจักต้องผ่านทางสายเอก #และทางสายกลาง #ตรงกลางของกลางธาตุธรรม_เห็น_จำ_คิด_รู้_คือ_ใจ #ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของแต่ละกาย #จากสุดหยาบไปจนสุดละเอียดทั้งสิ้น #จะไปไหนรอด #เพราะถึงจุดหนึ่งก็ไปทางเดียวกันนั่นแหละ

    แต่ทีนี้ ลูกศิษย์ลูกหาบางท่านนี่แหละ ฟังไม่ได้ศัพท์ จับมากระเดียด ตรงที่ว่านิมิต(ลวง) ไม่ให้ถือ และยิ่งเมื่อเห็นอะไรเป็นนิมิตไปหมด ก็เลยปฏิเสธหมด เมื่อปฏิเสธหมดก็ไม่มีฐาน ปฏิเสธนิมิตจิตก็ไม่มีฐานที่ตั้ง เหมือนยิงจรวดไม่มีฐานที่มั่นคง จะไปได้สักเท่าไร

    #พระพุทธเจ้าได้ตรัส อยู่ในฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า...

    เมื่อภิกษุไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว
    ยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว
    จักถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้นั้น
    ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้ว
    จักยังสัมมาทิฏฐิ(คือความเห็นชอบ)แห่งวิปัสสนา ให้บริบูรณ์ได้นั้น
    ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว
    จะยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น
    ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผล ให้บริบูรณ์แล้ว
    จักละสังโยชน์ทั้งหลาย(คือหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง)ได้นั้น
    ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว
    จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น
    ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้เลย

    ( พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๒, อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต, ข้อ ๓๓๙, หน้า ๔๗๒-๔๗๓. [ คำแปลจากหนังสือขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ของกองตำราคณะธรรมทานไชยา พ.ศ. ๒๕๑๔, หน้า ๒๘๕-๒๘๖.])

    ทีนี้ อาจจะสงสัยนิดหนึ่ง ตรงที่ว่า ตรงนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ทำนิพพานให้แจ้ง จะต้องละสังโยชน์ได้ทั้งหมด นั่นหมายถึงคุณธรรมพระอรหันต์ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมบอกว่าคนนั่งภาวนาถึงธรรมกาย ถึงนิพพาน เห็นนิพพานได้

    #ตรงนี้เป็นวิกขัมภนวิมุตติ #หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลสชั่วคราว และคำว่า"รู้แจ้ง"นั้น ถ้ายังไม่เป็นพระอริยเจ้าก็แจ้งน้อยกว่าพระอริยเจ้า แต่ก็ถึงประตู รู้เส้นทางจะไปแล้ว ได้สัมผัสทั้งสังขารและวิสังขารแล้ว ว่ามีลักษณะหรือสามัญลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ก็เพียรปฏิบัติไป เมื่อบารมีเต็มก็หลุดพ้นโดยสิ้นเชิงได้ เรื่องก็เป็นอย่างนี้

    การเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกาย และอายตนะนิพพาน แม้จะยังไม่หมดกิเลสโดยสิ้นเชิง ก็หลุดพ้นได้ชั่วคราวด้วย "วิกขัมภนวิมุตติ" การหลุดพ้นมีตั้งหลายระดับ ระดับด้วยการข่มกิเลส ทำได้ มีได้

    แต่ว่าอวิชชาจะหมดหรือไม่หมดโดยสิ้นเชิง อวิชชาก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะจิตไม่สังขาร และเมื่อปฏิบัติภาวนาดับหยาบไปหาละเอียด ถูกเครื่องรู้-เห็น คือ ทิพพจักษุ ทิพพโสตของกายทิพย์ ละเอียดยิ่งขึ้นไป จนถึงญาณทัศนะของธรรมกายซึ่งเชื่อมต่อถึงกัน พอให้รู้ พอให้เห็น พอให้ได้สัมผัส พอเข้าใจ สภาวะพระนิพพานและอายตนะนิพพาน ได้ด้วยอาการอย่างนี้

    แต่คำว่า "#รู้แจ้ง" หรือ "#ทำนิพพานให้แจ้ง" ได้จริงๆนั้น หมายเอาคุณธรรมพระอรหันต์ ท่านรู้แจ้ง ไม่มีอะไรปิดบังท่านในเรื่องของพระนิพพาน เรื่องเป็นอย่างนี้.

    _________________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _________________
    ที่มา
    บางตอนจากหนังสือ
    "ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ"
    _________________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
    ขอบพระคุณภาพประกอบธรรมะ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2019
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    #เจโตปริยญาณ
    คุณยายอาจารย์ฉลวย สมบัติสุข
    อดีตอุบาสิกาหัวหน้าเวรทำวิชชา วัดปากน้ำ

    ท่านละสังขารอย่างสงบเมื่อเช้ามืด(๒๓ ก.ค. ๕๙) ภาพนี้เป็นภาพสุดท้ายที่ข้าพเจ้าถ่ายด้วยตนเอง เมื่อขึ้นไปกราบขอความกระจ่างในข้อธรรมที่ข้องจิตจากท่านที่บ้านแยกธานินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเมื่อไปถึงแล้ว ท่านเข้าใจว่าข้าพเจ้าเป็นญี่ปุ่น ข้าพเจ้ากราบท่านและนำกระเช้าส้มที่เตรียมไปมอบให้ท่านแล้ว ก็กราบท่านอีก ไม่พูดอะไร เพียงแต่ดำริในใจถึงคำถามนั้น แล้วท่านก็ตอบให้ฟังด้วยน้ำเสียงนิ่งเรียบและสงบเย็น เพียงเท่านั้นข้อข้องจิตของข้าพเจ้าก็หมดไปโดยฉับพลัน ไม่มีความสงสัยใดอีก และมั่นใจในอานุภาพเจโตปริยญาณของท่านและวิชชาของหลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นยิ่งนัก และด้วยการไปของข้าพเจ้าในครั้งนั้น นั่งเครื่องบินไปด้วยความร้อนใจในธรรมข้อนั้น มิได้บอกแก่ผู้ใด มิมีผู้ใดทราบว่าข้าพเจ้าจะไปพบท่าน แต่ท่านกลับรับทราบทั้งการมาของข้าพเจ้าและเข้าใจถึงวัตถุประสงค์อย่างแจ่มชัด โดยที่ข้าพเจ้ายังมิได้พูดสิ่งใดกับท่าน
    เมื่อได้คำตอบแล้ว ข้าพเจ้าก็กราบลา ท่านได้สั่งว่า "คุณเดินตามฐานของหลวงพ่อ(พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ)เอาไว้ ไม่มีทางจะผิดไปได้หรอกค่ะ"

    คุณบัญชา บัวงาม
    FB : Bun Bun
    ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙


    c_oc=AQkdKA07p81MhAuWGR8z30mPaTt1Z43pXw-WU95MHWCpUPdyFcj-pmGgf9fZGBoUZ7Y&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg


    *******************************************
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    ?temp_hash=91576341dd500b6e618721d74ee26950.jpg





    ลุงจอน (นามสมมติ) ซึ่งเป็นผู้เจริญภาวนาธรรมตามแนว “วิชชาธรรมกาย” ได้เล่าว่า ...

    ในตอนเย็นของวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๘
    ท่านได้รับโทรเลขจากญาติของท่านว่า “คุณแม่ป่วยหนัก ให้ไปด่วน”

    ทั้ง ๆ ที่ลุงจอน ได้ผ่านการเจริญภาวนาธรรมมานานพอสมควร

    แต่ก็อดที่จะรู้สึกใจหายวาบชั่วระยะเวลาหนึ่งไม่ได้

    เพราะตั้งแต่ลุงจอนเกิดมา ก็เพิ่งเคยได้รับโทรเลขทำนองนี้มาก่อนว่า

    “คุณพ่อป่วยหนัก ให้กลับด่วน”

    พอลุงจอนเดินทางไปถึง ก็ปรากฏว่า ... คุณพ่อของลุงจอน ได้เสียชีวิตไปแล้ว

    เพราะฉะนั้นในคราวนี้จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ลุงจอนจะสะเทือนใจเพียงใด

    เมื่อลุงจอนระงับใจ “พิจารณาสังขารธรรม” แล้ว
    ท่านก็ชวนบุตรสาวคนเล็ก (อายุ ๑๗ ปี) ให้ไป “เจริญภาวนาธรรม” ด้วยกัน

    เพื่อ อุทิศส่วนกุศล ให้คุณแม่ ... ไม่ว่าท่านจะยังคงมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม

    และเพื่อจะ “ตรวจ” ดูว่า ... คุณแม่จะเป็นตายร้ายดีอย่างไรอีกด้วย

    เมื่อสองพ่อลูก เจริญภาวนาธรรม
    ... จนจิตใจสงัดจาก นิวรณ์ธรรม ทั้งหลายแล้ว
    ก็อธิษฐานเอาสภาวะของคุณแม่ ตามที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบันเข้ามาพิจารณาดู ณ ที่ “ศูนย์กลางกาย”
    ซึ่งก็ได้เห็นด้วย “ญาณทัสสนะ” ตรงกันว่า ...

    คุณแม่ของลุงจอน ... กำลังป่วยหนัก
    และกำลังได้รับการฉีดยา / ให้น้ำเกลือจากนายแพทย์

    โดยมีญาติอีกคนหนึ่ง กำลังพยายามป้อนอาหารเหลว ๆ ให้

    และได้เห็นอีกว่า ... คุณแม่มีเรี่ยวแรงเหลืออยู่น้อยเต็มที

    เพื่อให้แน่ใจยิ่งขึ้น ลุงจอนและบุตรสาวจึงได้ ...
    พิจารณา “อริยสัจ” ของกายมนุษย์ (ของคุณแม่) ตามแนว วิชชาธรรมกาย

    โดยใช้ “ญาณของพระธรรมกาย” ดู ทุกขสัจจะ ได้แก่ดวงธรรม ที่ทำให้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ปรากฏว่า ...

    ดวงตาย ซึ่งมีลักษณะสีดำสนิทประดุจนิล ... ของคุณแม่ลุงจอน

    ที่ซ้อนอยู่ใน ดวงเจ็บ ... ยังไม่มาจรดที่ กำเนิดเดิม
    ให้หัวต่อของมนุษย์ ... ขาดจากของทิพย์

    ซึ่งหมายความว่า คุณแม่ของลุงจอน ... ยังมีชีวิตอยู่

    และเมื่อลุงจอนกับบุตรสาว ได้พิจารณาดู ...
    สมุทัยสัจจะ นิโรธสัจจะ และ มรรคสัจจะ ต่อไปตามลำดับ

    เสร็จแล้วจึงได้น้อม บุญกุศล ... ที่ได้บำเพ็ญมา
    บูชาแด่ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
    ทั้งในอดีด ปัจจุบัน และในอนาคต ทุก ๆ พระองค์
    รวมทั้งพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร)

    แล้วอุทิศ บุญกุศล นี้ผ่าน “ศูนย์กลางกาย” ของตนเองไปให้ ... คุณแม่

    เพื่อให้ บุญกุศล เหล่านั้น ... ช่วยหล่อเลี้ยงท่าน
    ... ให้บรรเทาจากอาการเจ็บป่วย และมีกำลังดีขึ้น
    พร้อมด้วย แผ่เมตตา ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ... ไม่มีประมาณ

    ต่อมาในวันรุ่งขึ้น ก่อนออกเดินทางไปเยี่ยมคุณแม่ที่จังหวัดบุรีรัมย์

    ลุงจอนได้มีโอกาส สนทนากับ พระอาจารย์ (วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) ทางโทรศัพท์

    จึงเล่าเรื่องอาการป่วยของคุณแม่ ให้พระอาจารย์ท่านฟัง

    ท่านได้ตอบว่า “ไม่เป็นไรหรอก อย่าได้วิตกกังวลไปเลย”

    ทำให้ลุงจอน รู้สึกสบายใจขึ้น
    เพราะได้รับการยืนยันจาก “ญาณทัสสนะ” ของผู้ปฏิบัติธรรมถึงสามท่าน

    เมื่อเดินทางมาถึงแล้ว ก็ได้ทราบว่า
    สิ่งต่าง ๆ ที่ได้เห็นใน “ญาณทัสสนะ” นั้น ... เป็นจริงทุกประการ

    จากประสบการณ์ ในการเจริญภาวนาธรรมตามแนว “วิชชาธรรมกาย” นี้
    ช่วยให้ลุงจอนและบุตรสาว เกิด “ปัญญา”
    จากการที่ได้ ทั้งรู้และทั้งเห็น ... ความจริง
    ตามสภาพที่เป็นจริง ๒ ประการ คือ

    ๑. การ รู้เห็น ถึงอาการเจ็บป่วยของคุณแม่ และรู้ว่าท่านยังมีชีวิตอยู่

    รวมทั้งเหตุการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ... ตามความเป็นจริง

    นับว่า เป็นการรู้เห็นความจริงโดยสมมติ (สมมติสัจจะ) ว่า

    สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์
    และต้องแตกสลายไป หาใช่ตัวตนที่แท้จริงไม่

    ๒. การพิจารณา “อริยสัจ” เมื่อได้ทำบ่อย ๆ เนือง ๆ
    ทบไปทวนมา มาก ๆ เข้า ก็จะเกิด ปัญญารู้แจ้ง ด้วย “ญาณ ๓” คือ

    มีปัญญารู้แจ้ง ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน จึงเป็น ทุกข์
    สมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง
    นิโรธ สามารถดับทุกข์ได้จริง
    มรรค เป็นทางให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้จริง
    เรียกว่า “สัจจญาณ”

    มีปัญญารู้แจ้ง ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็น ทุกข์จริง และเป็นสิ่งอันควรรู้
    สมุทัย เป็นสิ่งอันควรละ
    นิโรธ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง
    มรรค เป็นสิ่งที่ควรเจริญ
    เรียกว่า “กิจจญาณ”

    มีปัญญารู้แจ้ง ว่า
    ทุกข์ ได้รู้ชัดแจ้งแล้ว
    สมุทัย ละได้ขาดแล้ว
    นิโรธ ทำให้แจ้งแล้ว
    มรรค ได้ทำให้เจริญแล้ว
    เรียกว่า “กตญาณ”

    “ญาณ ๓” คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ หรือ “อริยสัจ ๑๒” นี้
    จะเห็นแจ้ง หรือกำหนดรู้ได้ ก็แต่โดยทาง เจโตสมาธิ
    (สมาธิที่ประดับด้วย อภิญญา หรือ วิชชาสาม)
    หรือใน “วิชชาธรรมกาย” นี้เท่านั้น

    ใน “พระไตรปิฎก” มีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง
    ใน ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ ๑๕ และ ๑๖ ว่า
    เป็น ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒
    ปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมดังกล่าว เป็น สัจจะขั้นสูงสุด
    เป็น ทางทำนิพพานให้แจ้ง จึงนับเป็น ปรมัตถ์สัจจะ ด้วย

    * ที่มา
    หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    ใน โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    ทุกข์เหล่านี้ เป็นละครของโลก



    c_oc=AQlxiDQA-qFtM3NBm5pcgv0UcmEXz2nRRhMk00P9tW5Ax53xDAHOo2vkS4UZg7ZJ878&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    เล่าเรื่องหลวงพ่อวัดปากน้ำต่อ โดยศฺิษย์ผู้ใกล้ชิดลุงเตชวัน มณีวรรณวรวุฒิ

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ ท่านจะสอนอยู่เสมอว่า ให้เราทำตัวเหมือนผ้าขี้ริ้วเช็ดเท้านะ อันนี้ท่านย้ำมากบอกอยู่บ่อย แต่เราทำไม่ค่อยได้ ท่านบอกว่าต้องทำเป็นผ้าขี้ริ้วเช็ดเท้าเข้าใจไหม เราเป็นเด็กก็ยังไม่เข้าใจ แล้วท่านก็อธิบายว่า เหมือนเขาเอาไม้มาตีเรา แล้วถามว่าเราเจ็บไหม ก็เจ็บนะ แล้วเราจะตีเขาตอบไหม เราจะโกรธไหม ถ้าโกรธนั้นแหละตัวกรรม ถ้าเขาตีเรา แล้วเราอโหสิให้ เราจะได้แสงรัศมีของความอดทน เราจะได้บารมีตรงนี้ นี่ตอนท่านสอนใหม่ๆ สอนไป ก็ทำวิชชาไป ท่านสอนอยู่เรื่อยๆ
    หลวงพ่อท่านจะเอาใจใส่ดูแลลูกวัดอย่างใกล้ชิด ในวันพระท่านก็จะลงปาติโมกข์ พอลงปาติโมกข์เสร็จก็อบรมพระเณร ถ้าไม่อบรมตอนนี้ก็จะมีตอนเช้าไปฉันที่ศาลา ก่อนจะเข้าโบสถ์ไหว้พระ


    *****************************************


    หลักสูตรการฝึกปฏิบัติวิชชาธรรมกายที่วัดหลวงพ่อสดฯ แบ่งเป็นขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูง หากท่านใดสนใจฝึกสมถและวิปัสสนากรรมฐาน(สมถะเป็นเบื้องต้นและวิปัสสนาเป็นเบื้องปลาย) สามารถมาอบรมได้ช่วงกลางปี 1-15พฤษภาคม และช่วงปลายปี 1-15 ธันวาคม ของทุกปี จะได้ทราบและเข้าใจว่า อย่างน้อยวิชชาธรรมกายมีหลักการฝึกและปฏิบัติอย่างไร เมื่อได้ดวงแล้วต่อกายอย่างไร



    c_oc=AQn40WDnS3Ty-8wws_TdPBeSzd8lihCMG-0_kf8nygMzek67QPQOw7I_C3ZM1GMjJMc&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    ความลึกซึ้งของ ... “ วิชชาธรรมกาย”

    เล่าโดย จิตอารีย์
    ( วิทยากร สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ปัจจุบันคือ วัดหลวงพ่อสดฯ
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี )

    “ มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา”
    “ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ”

    พุทธวจนะบทนี้....ข้าพเจ้าเพิ่งจะมาเข้าใจได้ลึกซึ้งมากขึ้นกว่าเดิม
    เมื่อได้เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรม ตามแนววิชชาธรรมกาย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อได้เรียนรู้ เข้าถึง ... “วิชชาธรรมกายชั้นสูง”
    อาทิเช่น ยุทธวิธี และ ยุทธศาสตร์ของการสะสางธาตุธรรมชั้นสูง ฯลฯ

    บัดนี้เมื่อได้เจริญภาวนารุดหน้าเรื่อยไป...โดยไม่ถอยหลังกลับ
    ตามคำสั่งดั้งเดิมของ “หลวงพ่อสด”
    บ่อยครั้ง....ที่ข้าพเจ้าเกิดความปีติ
    คละเคล้ากับความเลื่อมใสศรัทธา....ที่มั่นคงทวีขึ้น
    เมื่อได้เรียนรู้ลึกซึ้งเข้าไปใน “วิชชาชั้นสูง” ... ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ

    ความรู้สึกอัศจรรย์ใจในความซับซ้อน ละเอียดประณีต...จนสุดประมาณ
    ที่ไม่สามารถอธิบายเป็นคำพูดได้นั้น...มีบ่อยครั้งที่สุด
    และเมื่อได้รู้ ได้เห็น เข้าไปมาก ๆ แล้ว
    ความรัก ความเคารพ...ในองค์ “หลวงพ่อสด”
    จึงเกิดพอกพูนขึ้นในจิตใจอย่างไม่หยุดยั้ง

    ข้าพเจ้าจึงมักรำพึงกับตัวเองว่า....
    เหมาะแล้ว ควรแล้ว กับความเป็นยอดอัจฉริยะของหลวงพ่อสด
    และสมแล้วที่ท่านเป็น “ธาตุธรรมส่วนหนึ่งของ ... องค์ต้นธาตุ”
    มิฉะนั้นคนรุ่นเรา คงจะไม่มีโอกาส ได้รู้ ได้เห็น และ เป็น ...เช่นนี้เลย

    นับตั้งแต่ได้ “เข้าถึงธรรม” มาแต่ครั้งกระนั้น
    กิจวัตรของตนเองก็คือ พยายามรักษาใจ...
    มิให้ตกไปอยู่ในอำนาจของ ฝ่ายอกุศลาธัมมา และ อัพยากตาธัมมา
    แต่ก็มีบ้าง...ที่ได้เผลอไผล
    ย่อหย่อนในการทำความเพียร...ตามตารางที่ตั้งใจไว้อยู่เหมือนกัน

    คราใดก็ตามที่เป็นเช่นนั้น
    พอได้เวลาปฏิบัติภาวนา และเมื่อเข้าถึงที่สุดละเอียดแล้ว
    จึงมักถูกหลวงพ่อดุ
    และสอนผ่านศูนย์กลางกายอยู่บ่อย ๆ
    ข้าพเจ้าจึงได้พัฒนามรรคาแห่งจิตขึ้นเรื่อย ๆ

    แม้ในยามปกติ ก็ยังมีโอกาสได้แก้ความสงสัยบางประการ
    จาก “หลวงพ่อวีระ คณุตฺตโม”
    (รองเจ้าอาวาส และ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ)

    รวมทั้งหลายครั้งหลายหน ที่ได้รับความกระจ่างในวิชชา
    จาก “หลวงป๋า” (เสริมชัย ชยมงฺคโล)( ปัจจุบันคือ พระเทพญาณมงคล )

    ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเตือนตนเอง... ให้จรดใจให้อยู่ในศูนย์อยู่เสมอ
    ยิ่งเมื่อจะออกจากบ้านไปทำธุระ หรือ ไปทำงาน ... ยิ่งต้องทำให้มาก
    บางครั้งก็ “เดินวิชชาชั้นสูง” ไปเลย
    ในยามที่จะต้องยืน เดิน หรือ ในขณะนั่งทำงานนั้นแหละ

    เพราะได้ตั้งตารางไว้ว่า …..
    วันหนึ่ง ๆ จะต้องเดินวิชชา เข้าจนถึงสุดละเอียดของเขตธาตุเขตธรรม
    และเดินเร็วเป็นสิบ – ร้อย – พันเขต เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไป
    .....ทับทวีโดยไม่หยุดอยู่กับที่

    และด้วยผลของการปฏิบัติธรรมตามขั้นตอน...ตามหลักวิชชา
    ที่ครูบาอาจารย์ได้สอนไว้ดังกล่าวข้างต้นนี้เอง
    จึงบังเกิดผลเป็นอานุภาพแห่งธรรม ปกป้องคุ้มครองข้าพเจ้า
    ให้พ้นจากภัยพิบัติต่าง ๆ มาหลายครั้ง

    มิใช่แค่เรื่องความปลอดภัย ในการเดินทางเท่านั้น
    แม้สิ่งของที่หายไป...โดยการขโมย
    ข้าพเจ้าก็ได้อาศัยวิชชา ตรวจสอบและติดตาม
    จนรู้ว่า...ใครเป็นคนหยิบไป ? เมื่อไหร่ ? ของนั้นยังอยู่ ?
    เปลี่ยนมือไปแล้วหรือยัง ? ผู้ที่ขโมยไปนั้น ตั้งใจจะขายต่อเมื่อใด ?

    และด้วยอานุภาพแห่ง...วิชชาธรรมกาย
    ทำให้ผู้ที่ขโมยของไป ต้องแอบนำของกลับมาคืนไว้ โดยไม่ให้คนในบ้านเห็น

    นี่ก็เป็นเพราะ ข้าพเจ้าได้ใช้วิชชา (เบื้องต้น) ผ่านไปในสมาธิ
    และสั่งสอนอบรมเข้าไปในจิต ในวิญญาณส่วนละเอียดของผู้นั้น
    ให้มีความสำนึกในความผิด รู้โทษในสิ่งที่ตนได้ทำลงไปว่า...
    เป็นบาป ที่จะเผาลนจิตใจให้เร่าร้อน

    จนกระทั่ง เขาบังเกิดความละอายใจขึ้นมา
    จนต้องนำของที่ขโมยไป...กลับมาส่งคืน

    การทุ่มเทจิตใจ...ฝึกเจริญภาวนาธรรมอย่างจริงจังของข้าพเจ้า
    ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์
    ได้บังเกิดผลแห่งการปฏิบัติ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

    คำพูดของ “หลวงพ่อสด” ที่ว่า
    “ ธรรมกายยังไม่ถึง ๑๐ ปี ยังนับว่าใช้ไม่ได้ ”
    ข้าพเจ้าได้เข้าใจในความหมายของประโยคนี้...อย่างลึกซึ้ง
    จากประสบการณ์ในการเจริญภาวนา เช่น

    ข้าพเจ้าเคยใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง
    ในการนั่งทำวิชชา เข้าถึงสุดละเอียดของเขตธาตุเขตธรรมหนึ่ง ๆ นั้น

    ในเวลาต่อมา เมื่อมีความชำนาญมากขึ้น
    ก็สามารถทำวิชชา คำนวณวิชชา ได้เร็ว แรง และละเอียดประณีตมากขึ้น
    ถึงเป็น อณุ – ปรมาณู ที่สุดละเอียดของเขตธาตุเขตธรรม
    .....นับอสงไขยอายุธาตุอายุบารมีไม่ถ้วน

    เพราะเข้าใจหลัก และ เคล็ดลับของวิชชาดีขึ้น
    จากที่นั่งเจริญภาวนา คำนวณวิชชา เป็นสิบเขต ใน ๑ ชั่วโมง
    ก็เป็น ร้อย – พัน – หมื่น จนนับไม่ถ้วน
    เป็นอสงไขยเขตธาตุเขตธรรม...เลยทีเดียว

    ประสบการณ์ในการเจริญภาวนาทุกครั้ง
    ช่วยให้ข้าพเจ้ามีความรอบรู้มากขึ้น และ สำรวมมากขึ้นด้วย

    ในเช้าวันหนึ่ง ขณะที่ข้าพเจ้านั่งเจริญภาวนาอยู่ให้องพระ
    เมื่อเดินวิชชา ... ตามลำดับขั้นตอนไปพักใหญ่
    จนได้เข้าถึง “ปราสาททำวิชชา ของ หลวงพ่อสด” ...ในอายตนะนิพพาน
    ข้าพเจ้าเข้าไปในกลางของกลาง “องค์ต้นธาตุ”
    ปักใจดิ่งสู่กลางในกลาง ทับทวีจนสุดละเอียด
    พร้อมกับตรึกขอดู “ผังจริง” ในพระพุทธศาสนา

    ฉับพลันนั้นเอง
    ภาพที่ปรากฏชัดเจน ยิ่งกว่าเห็นด้วยตาเนื้อ...ก็ปรากฏขึ้น
    ท่ามกลางความสว่างไสว และ ละเมียดละไมไปด้วยอณูของความสงบเย็น
    .....ที่ประณีตมาก จนประมาณไม่ถูกนั้น

    ข้าพเจ้าได้เห็นว่า.....
    ตรงกลางนั้น เป็นตำแหน่งของ “องค์ต้นธาตุต้นธรรม”
    ..... ที่มีลักษณะเหมือน “หลวงพ่อสด”
    เป็นธาตุธรรมที่ใส สะอาด บริสุทธิ์ ทั้งองค์...จนเป็นประกาย
    รัศมีโชติช่วง เปล่งปลั่งยิ่งนัก

    ส่วนที่อยู่รอบ ๆ องค์ท่านนั้น
    ต่างก็นั่งสงบ ในท่าสมาธิ...เป็นระเบียบสวยงาม
    ในลักษณะคล้าย ธาตุ ๖ ที่เคยเห็นมา
    คือ มีซ้าย – ขวา – หน้า – หลัง

    ที่อยู่ใกล้ “องค์ต้นธาตุ” ก็เป็น ..... “องค์กลางธาตุ”
    และที่ห่างออกไป จึงเป็น ... “ปลายธาตุ”
    ล้อมรอบท่านเป็นวงกลม เป็นชั้น เป็นชุด ออกไปเป็นปริมณฑล...กว้างใหญ่มาก

    มีบุคคลมากมาย ทั้ง “พระ” และ “แม่ชี” ตลอดจนฆราวาส...เต็มไปหมด
    ในส่วนหน้า ๆ นั้น ... ส่วนมากจะเป็น “พระสงฆ์”
    “แม่ชี” และ “อุบาสิกา” จะอยู่ข้างหลังท่าน ... เป็นส่วนใหญ่

    ทั้งหมดนี้เป็นการยืนยันว่า.....
    วิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ... ที่ “หลวงพ่อวัดปากน้ำ”
    ได้สั่งสอนถ่ายทอดมายัง “หลวงพ่อวีระ คณุตฺตโม”
    (รองเจ้าอาวาส และ พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ)

    และถ่ายทอดต่อมาถึง “หลวงป๋า” (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    (เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี)
    รวมทั้งที่ได้ถ่ายทอดต่อมา...ถึงศิษยานุศิษย์ในปัจจุบันนี้

    เป็นวิชชาที่สามารถ...เข้าถึงได้จริง ทำได้จริง เป็นได้จริง

    ความจริงวิชชาในพระพุทธศาสนา
    มิได้สอนกันอยู่เพียง วิชชา ๓ วิชชา ๘ อภิญญา ๖
    อันมี...อาสวักขยญาณ เป็นที่สุดเท่านั้น

    เพราะ พระเดชพระคุณ “หลวงพ่อวัดปากน้ำ” ได้เคยกล่าวยืนยันถึง
    ความเป็นจริงในวิชชาของพระพุทธศาสนาว่า…
    เป็นข้อที่ลุ่มลึกมาก...เกินกว่าที่จะคาดคะเนด้วยปัญญาของคนทั่วไป

    ดังเช่นที่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ได้เคยกล่าวว่า.....

    “ ต่อแต่นี้ไป เราจะต้องเข้าให้ถึงที่สุด
    เข้าไปในกายที่สุดของเราให้ได้ เป็นกาย ๆ ออกไป
    เมื่อเป็นกาย ๆ เข้าไปแล้ว ถ้าทำเป็นแล้ว ไม่ใช่เดินท่านี้
    เดินในไส้ทั้งนั้น ในไส้เห็น ไส้จำ ไส้คิด ไส้รู้
    ในกำเนิดดวงธรรมที่ทำให้เป็นสุดหยาบสุดละเอียด
    (เถา – ชุด – ชั้น – ตอน – ภาค – พืด .....ฯลฯ)

    เดินในไส้ (หยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด)
    ไม่ใช่เดินทางอื่น เดินในกลางดวงปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา
    เดินไปในกลางดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา ดวงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    นั่นเป็นทางเดินของ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์

    เดินไปในไส้ ไม่ใช่เดินไปในไส้เพียงเท่านั้น
    ในกลางว่างของดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ของดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    ว่างในว่างเข้าไป เหตุว่างในเหตุว่าง เหตุเปล่าในเหตุเปล่า
    เหตุดับในเหตุดับ เหตุลับในเหตุลับ เหตุหายในเหตุหาย
    เหตุสูญในเหตุสูญ เหตุสิ้นเชื้อในเหตุสิ้นเชื้อ
    เหตุไม่เหลือเศษในเหตุไม่เหลือเศษ ...ฯลฯ

    หนักเข้าไปไม่ถอยหลังกลับ
    นับอสงไขยไม่ถ้วน นับชาติอายุไม่ถ้วน
    ไม่มีถอยกลับกัน เดินเข้าไปอย่างนี้นะ

    พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ไม่ใช่เดินโลเลเหลวไหล
    ที่เรากราบ ที่เราไหว้ เรานับถือนะ ท่านวิเศษวิโสอย่างนี้
    นี่แหละเป็นผู้วิเศษแท้ ๆ นี่แหละเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกแท้ ๆ
    ถ้าเป็นผู้รู้จริง เห็นจริง ได้จริง เราจึงเอาเป็นตำรับตำราได้...”

    การเดินตามรอยบาทของ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์
    เราจะต้องทำวิชชา...เข้าไปถึงขนาดนั้น
    ก็เพราะเหตุผลที่หลวงพ่อว่า ...

    “ พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ท่านก็ไปถึงที่สุดเหมือนกัน
    ถ้าใครยังไปไม่ถึงที่สุด ก็ยังไม่ฉลาดเต็มที่
    ต่อเมื่อเข้าไปถึงที่สุดกายของตัวต่อไปแล้วละก็ ฉลาดเต็มที่แน่

    ต้องไปให้ถึงที่สุดให้ได้
    เมื่อไปถึงที่สุดของตัวได้ละก็
    รักษาตัวได้เป็นอิสระ ไม่มีใครมาบังคับบัญชา

    ที่บังคับเรา ให้เกิด ให้แก่ ให้เจ็บ และให้ตายอยู่เดี๋ยวนี้แหละ
    พวกมาร บังคับให้เป็นไปตามนั้น
    ส่วนพวกพระ บังคับไม่ให้เกิด ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ และไม่ให้ตาย
    นี่พวกพระ พวกมาร บังคับกันอย่างนี้

    เวลานี้พวกพระ บังคับไม่ให้รบกัน
    แต่พวกมาร บังคับให้รบกันหนักขึ้น ”

    เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ
    ผู้ปฏิบัติธรรม...ตามแนววิชชาธรรมกาย
    ก็ต้องมาหาความหมายที่ว่า ... “ที่สุดของตัว” นั้นคืออะไร ?

    * เรียบเรียงบางตอนจาก
    นิตยสารธรรมกาย ฉบับที่ ๔
    เมษายน – มิถุนายน ๒๕๓๐

    นิตยสารธรรมกาย ฉบับที่ ๑๐
    ตุลาคม – ธันวาคม ๒๕๓๑



    c_oc=AQmnlMJ3jRnt1av0ALzu2a6guAA3HOU1-Mtjwfvifi1THLuBA9nRZJMZOv3mfiUByXc&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    บทเจริญพระพุทธมนต์ “สัมพุทเธ” เป็นบทแสดงความนอบน้อมสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ ว่า


    สัมพุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก

    ปัญจะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง

    เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง

    นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว

    อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

    แปลความว่า : ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า, ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมและพระอริยสงฆ์ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยเคารพ, ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยนี้ จงขจัดความจัญไรทั้งปวงให้หมดไป, แม้อันตรายทั้งหลายทั้งปวง จงพินาศไปโดยไม่เหลือ.


    คัมภีร์สัมภารวิบากได้แสดงถึงการพบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๕๑๒,๐๒๗ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม ตลอดระยะเวลา ๒๐ อสงไขย แสนมหากัป มีรายละเอียดดังนี้


    ช่วงมโนปณิธาน ๗ อสงไขย พบสมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า ๑๒๕,๐๐๐ พระองค์ ได้แก่

    ๑.นันทะอสงไขย พบ ๕,๐๐๐ พระองค์

    ๒.สุนันทะอสงไขย พบ ๙,๐๐๐ พระองค์

    ๓.ปฐวีอสงไขย พบ ๑๐,๐๐๐ พระองค์

    ๔.มัณฑะอสงไขย พบ ๑๑,๐๐๐ พระองค์

    ๕.ธรณีอสงไขย พบ ๒๐,๐๐๐ พระองค์

    ๖.สาคระอสงไขย พบ ๓๐,๐๐๐ พระองค์

    ๗.ปุณฑริกะอสงไขย พบ ๔๐,๐๐๐ พระองค์


    ช่วงวจีปณิธาน พบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๓๘๗,๐๐๐ พระองค์

    ๘.สัพพถัททะอสงไขย พบ ๕๐,๐๐๐ พระองค์

    ๙.สัพพผุลละอสงไขย พบ ๖๐,๐๐๐ พระองค์

    ๑๐.สัพพรตนะอสงไขย พบ ๗๐,๐๐๐ พระองค์

    ๑๑.อสุภขันธะอสงไขย พบ ๘๐,๐๐๐ พระองค์

    ๑๒.มานีภัททะอสงไขย พบ ๙๐,๐๐๐ พระองค์

    ๑๓.ปทุมะอสงไขย พบ ๒๐,๐๐๐ พระองค์

    ๑๔.อุสภะอสงไขย พบ ๑๐,๐๐๐ พระองค์

    ๑๕.ขันธคมะอสงไขย พบ ๕,๐๐๐ พระองค์

    ๑๖.สัพพผาละอสงไขย พบ ๒,๐๐๐ พระองค์


    ช่วงได้รับพุทธพยากรณ์ ๔ อสงไขย แสนมหากัป พบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๗ พระองค์ มีพระนามดังต่อไปนี้

    ๑๗.สัพพผาละอสงไขยที่ ๑๗ พบ ๔ พระองค์ (สารมัณฑกัป) ได้แก่ พระตัณหังกรพุทธเจ้า พระเมธังกรพุทธเจ้า พระสรณังกรพุทธเจ้า พระทีปังกรพุทธเจ้า

    ๑๘.เสละอสงไขยที่ ๑๘ พบ ๑ พระองค์ (สารกัป) คือ พระโกณฑัญญพุทธเจ้า

    ๑๙.ภาสะอสงไขยที่ ๑๙ พบ ๔ พระองค์ (สารมัณฑกัป) ได้แก่ พระสุมังคลพุทธเจ้า พระสุมนพุทธเจ้า พระเรวตพุทธเจ้า พระโสภิตพุทธเจ้า

    ๒๐.ชยะอสงไขยที่ ๒๐ พบ ๓ พระองค์ (วรกัป) ได้แก่ พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระปทุมพุทธเจ้า พระนารทพุทธเจ้า

    ๒๑.รุจิระอสงไขย เป็นช่วงเศษแสนมหากัป

    - ในกัปที่ ๑๐๐,๐๐๐ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๑ พระองค์ (สารกัป) คือ พระปทุมุตตรพุทธเจ้า

    - สุญญกัป ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ๗๐,๐๐๐ กัป (ขุ.จริยา.อ. รจนาว่า ๖๙,๘๘๒ กัป)

    - ในกัปที่ ๓๐,๐๐๐ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๒ พระองค์ (มัณฑกัป) ได้แก่ พระสุเมธพุทธเจ้า และพระสุชาตพุทธเจ้า

    - สุญญกัป ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ๒๘,๒๐๐๐ กัป

    - ในกัปที่ ๑,๘๐๐ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๓ พระองค์ (วรกัป) ได้แก่ พระปิยทัสสีพุทธเจ้า พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า และพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า

    - สุญญกัป ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ๑,๗๐๕ กัป

    - ในกัปที่ ๙๔ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๑ พระองค์ (สารกัป) คือ พระสิทธัตถพุทธเจ้า

    - สุญญกัป ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ๑ กัป

    - ในกัปที่ ๙๒ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๒ พระองค์ (มัณฑกัป) ได้แก่ พระติสสพุทธเจ้า และพระปุสสพุทธเจ้า

    - ในกัปที่ ๙๑ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๑ พระองค์ (สารกัป) คือ พระวิปัสสี

    - สุญญกัป ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ๖๐ กัป

    - ในกัปที่ ๓๑ นับจากภัทรกัปนี้ พบ ๒ พระองค์ (มัณฑกัป) ได้แก่ พระสิขีพุทธเจ้า และพระเวสสภูพุทธเจ้า

    - สุญญกัป ว่างเว้นจากพระพุทธเจ้า ๓๐ กัป

    - ในภัทรกัปนี้ พบ ๓ พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า และพระกัสสปพุทธเจ้า.

    c_oc=AQks3tfZZvFUzeFeJYZdXuOMrqqUXK5jvCKaiMbBkuBxjsS1G4q6wDHnAUp5b97K_hU&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    a-jpg.jpg

    หมายเหตุ ขอบคุณภาพประกอบจากท่านเจ้าของภาพจากอินเตอร์เนต




    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งเก้าบรรพ

    เมื่อจะพูดถึงเรื่องเวทนาก็จะต้องพูดเรื่องของจิตด้วย กล่าวคือจิตทำหน้าที่น้อมไปสู่อารมณ์ต่างๆ จึงมีชื่อทางบาลีในที่มากแห่งว่า "สังขาร" ส่วนเวทนา ก็ทำหน้าที่รับอารมณ์และเสวยอารมณ์ที่จิตคิดหรือน้อมไปหา และภายในจิตก็มี"วิญญาณ" ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ และภายในเวทนาก็มี"สัญญา" ทำหน้าที่รวบรวมจดจำอารมณ์ ธรรมชาติ ๔ อย่างนี้ ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหมด ประดุจข่ายของใยแมงมุม

    พิจารณาขันธ์ ส่วนเห็น จำ คิด รู้

    รวม ใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายพระอรหัตละเอียด แล้วหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมกายมนุษย์ ตรงกลางดวงกำเนิดเดิมนั้นก็จะเห็นดวงกลมใสๆ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ตั้งอยู่ในใจนั้นแหละ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆข้างใน ใสละเอียดกว่ากันตามลำเอียด เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นธาตุละเอียดนี้เองที่ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ เป็นการทำงานระดับนามธรรม

    ดวงเห็น มีขนาดเท่ากับเบ้าตาของกาย ธาตุเห็นอยู่ในท่ามกลางดวงเห็น มีหน้าที่รับอารมณ์ หรือเสวยอารมณ์

    ดวงจำ มีขนาดเท่ากับดวงตาของกาย ธาตุจำอยู่ในท่ามกลางดวงจำ มีหน้าที่รวบรวมและจดจำอารมณ์

    ดวงคิด มีขนาดเท่ากับตาดำ ธาตุคิดอยู่ในท่ามกลางดวงคิด มีหน้าที่คิด หรือน้อมเข้าสู่อารมณ์ ไม่ว่าจะอยู่ไกลแสนไกล ก็ไปถึงได้

    ดวงรู้ มีขนาดเท่ากับแววตาดำข้างใน ธาตุรู้อยู่ในท่ามกลางดวงรู้ มีหน้าที่รู้หรือรับรู้อารมณ์

    เห็น จำ คิด รู้ สี่อย่างนี้ที่รวมเรียกว่า "ใจ" เมื่อรวมหยุดเป็นจุดเดียว เรียกว่า เอกัคตารมณ์ หรือ ใจมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

    พึงพิจารณาต่อไปให้ถี่ถ้วน ก็จะเห็นว่า ในเบญจขันธ์ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ ทั้งสี่อย่างนี้เจืออยู่ด้วยหมดทุกกอง

    และก็ เห็น จำ คิด รู้ นี้เอง ที่ขยายส่วนหยาบออกมาอีก เป็น กาย ใจ จิต วิญญาณ ของมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย

    อัน ดวงคิด หรือ จิต นั้น ลอยอยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ(ไม่ใช่มังสหทัยหรือหัวใจเนื้อ) อันใสบริสุทธิ์ มีประมาณเท่าหนึ่งซองมือของผู้เป็นเจ้าของ และจิตนี้ โดยสภาพเดิมของมันแล้ว เป็นธรรมชาติอันประภัสสร จึงชื่อว่า "ปัณฑระ" แต่เนื่องจากจิตมักตกในอารมณ์ที่น่าใคร่ และมักน้อมไปสู่อารมณ์ภายนอกอยู่เสมอ จึงเปิดช่องทางให้อุปกิเลสจรมาทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว สีน้ำเลี้ยงของจิตจึงเปลี่ยนสีไปตามสภาพของกิเลสแต่ละประเภทที่จรเข้ามา เป็นต้นว่า เมื่อจิตระคนด้วยโลภะหรือราคะก็จะเป็นสีชมพู เกือบแดง, เมื่อจิตระคนด้วยโทสะ ก็จะมีสีเกือบดำ, ถ้าจิตระคนด้วยโมหะ ก็จะมีสีขุ่นๆเทาๆ ขึ้นอยู่กับสภาพของอุปกิเลสว่าหนักเบาเพียงใด

    นอกจากนี้ อาการลอยตัวของจิตในเบาะน้ำเลี้ยง ก็บอกอาการของจิต กล่าวคือ ถ้า จิตลอยอยู่เหนือระดับน้ำเลี้ยงหทัยมาก แสดงว่า ฟุ้งซ่าน, ถ้าลอยอยู่เหนือน้ำเลี้ยงเล็กน้อย ก็เป็นสภาพธรรมดา, ถ้าลอยปริ่มพอดีกับระดับน้ำเลี้ยง ก็อยู่ในเอกัคคตารมณ์, ถ้าจมลงไปมาก ก็หลับไปเลย เป็นต้น

    "จิต"เป็น ธรรมชาติอันรู้ได้เห็นได้ แต่มิใช่เห็นด้วยมังสจักษุหรือตาเนื้อ หากแต่เป็นทิพยจักษุหรือตาละเอียด อันเป็นผลการเจริญสมถภาวนาอันถูกส่วน


    การพิจารณาอายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘

    เดิน สมาบัติอนุโลม-ปฏิโลม จนจิตอิ่มเอิบแจ่มใสดีแล้ว รวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ศูนย์กลางกายพระอรหัตละเอียด แล้วก็ขอให้ใจของธรรมกายพระอรหัตละเอียดเพ่งลงไปที่ศูนย์กลางดวงธรรมกาย มนุษย์ ให้เห็นขันธ์ ๕ ส่วนละเอียด ทีนี้ให้เพ่งลงไปที่กลางวิญาณขันธ์ ซึ่งเป็นขันธ์ที่ละเอียดที่สุด ก็จะเห็นธาตุธรรมส่วนละเอียดของอายตนะทั้ง ๑๒ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปข้างใน คือ อายตนะ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ นี้เป็นธาตุธรรมละเอียดของอายตนะภายใน ๖ กลางอายตนะภายใน ๖ ก็ยังมีธาตุธรรมละเอียดที่ทำหน้าที่เป็นอายตนะภายนอกอีก ๖ คือ รูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส,อารมณ์ทางใจ อายตนะทั้ง ๑๒

    บาลีว่า "สฬายตนะ" สัณฐานเป็นดวงกลมใสดวงเล็กๆ ซ้อนกันอยู่ ละเอียดกว่ากันเข้าไปตามลำดับ

    ตรง กลางสฬายตนะ ที่สุดละเอียดนี้เอง ยังมีธาตุธรรมละเอียดของธาตุ ๑๘ ซ้อนอยู่อีก คือ ธาตุรับรูป,ธาตุรับเสียง,ธาตุรับกลิ่น,ธาตุรับรส,ธาตุรับสัมผัส,ธาตุรับ อารมณ์ทางใจ รวมเรียกว่าธาตุรับ ๖

    ต่อไปก็จะเป็น ธาตุรูป,ธาตุเสียง,ธาตุกลิ่น,ธาตุรส,ธาตุสัมผัส,ธาตุอารมณ์ทางใจ รวมเป็นธาตุกระทบ(เร้า) ๖

    ต่อ ไปอีกเป็น ธาตุรับรู้การรับรูป,ธาตุรับรู้การรับเสียง,ธาตุรับรู้การรับรส,ธาตุรับรู้ การรับสัมผัส,ธาตุรับรู้การรับรู้อารมณ์ทางใจ รวมเป็นธาตุประมวลผลอีก ๖

    เรา จะเห็นว่า ในธาตุธรรมละเอียดเหล่านี้ ยังมีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทุกๆดวง เพราะเหตุนี้ ธาตุธรรมทั้งหลายเหล่านี้ แม้จะทำหน้าที่ต่างๆกัน แต่ก็สัมพันธ์กันเป็นอัตโนมัติ ฉะนั้น เมื่อมีอะไรมากระทบ ก็จะกระเทือนไปถึง"ใจ"อันประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ เป็นต้นว่า เมื่อจิตคิดไปถึงสิ่งที่น่ากำหนัดยินดี และไปยึดมั่นถือมั่น แม้ว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย จะยังมิได้สัมผัสรูป เสียง กลิ้น รส สัมผัส อารมณ์กำหนัดยินดีก็ไม่กระเทือนถึงแต่เฉพาะ"ใจ"เท่านั้น หากแต่จะกระเทือนถึงกายด้วย ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า "ดวงเห็น" ซึ่งทำหน้าที่รับและเสวยอารมณ์อันเป็นเปลือกนอกของ "ใจ"ทำหน้าที่เป็น "ดวงกาย"ซึ่งขยายส่วนหยาบ เจริญเติบโตออกมาเป็นกาย ซึ่งเป็นที่อาศัยและยึดเกาะของ"ใจ"นั่นเองอีกด้วย

    และเนื่อง จาก"ใจ"ตั้งอยู่อาศัยกับขันธ์ ๕ ทั้งในส่วนที่เป็นธาตุธรรมละเอียด และส่วนหยาบ มีอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เพราะความไม่รู้แจ้ง หรือ "อวิชชา"ครอบคลุมอยู่ เมื่อมีสิ่งหนึ่งอันจะก่อให้เกิดอารมณ์มากระทบส่วนใดส่วนหนึ่งของขันธ์ ๕ นี้ ก็จะรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ(อทุกขมสุขเวทนา หรือ ไม่สุข ไม่ทุกข์) โดยจะแสดงออกทางดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้นี้เอง กล่าวคือ เวลาที่เป็นสุข ก็จะเห็นเป็นใสๆ เวลาทุกข์ ก็จะเห็นเป็นมัวๆขุ่นๆ ถ้าเวลาเฉยๆ ก็จะไม่ใส ไม่ขุ่น กลางๆ


    การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา สติพิจารณาเวทนาขันธ์อยู่เนืองๆ มี ๙ บรรพด้วยกัน คือ

    ๑. เมื่อรู้รสสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งสุขเวทนา
    ๒. เมื่อรู้รสทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขเวทนา
    ๓. เมื่อรู้รสอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งอทุกขมสุขเวทนา (เสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ ไม่สุข)
    ๔. เมื่อรู้รสสามิสสสุขเวทนา(สุขอันเจือด้วยอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งสุขเวทนาอันมีอามิส
    ๕. เมื่อรู้รสสามิสสทุกขเวทนา(ทุกข์อันเจือด้วยอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขเวทนาอันมีอามิส
    ๖. เมื่อรู้รสสามิสสทุกขมสุขเวทนา(ไม่ทุกข์ ไม่สุขอันเจือด้วยอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขมสุขเวทนาอันมีอามิส
    ๗. เมื่อรู้รสนิรามิสสสุขเวทนา(สุขอันปราศจากอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งสุขเวทนาอันไม่มีอามิส
    ๘. เมื่อรู้รสนิรามิสสทุกขเวทนา(ทุกข์อันปราศจากอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขเวทนาอันไม่มีอามิส
    ๙. เมื่อรู้รสนิรามิสสทุกขมสุขเวทนา(ไม่ทุกข์ ไม่สุขอันปราศจากอามิส) ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เรารู้ชัดซึ่งทุกขมสุขเวทนาอันไม่มีอามิส

    อามิส แปลว่า เครื่องล่อใจ ดังนั้น เรียกว่า สุขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ(เกิดจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) ทุกขเวทนาที่เจือด้วยกามคุณ ฯลฯ
    ส่วน สุขเวทนาที่เกิดขึ้น ด้วยสมถภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนาก็ดี ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากสภาพแห่งสังขารก็ดี และทุกขมสุขเวทนาซึ่งเกิดมีความสงบจากอารมณ์ของ สมถะหรือวิปัสสนาก็ดี จัดว่าเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา ทุกขมสุขเวทนาเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิส

    การเสวยเวทนาโดยมีอามิสหรือไม่ก็ตาม ย่อมเปลี่นแปลงแปรผันตามเหตุปัจจัยเสมอๆ อารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ หาได้จีรังไม่ ย่อมเกิดขึ้น และเสื่อมสลายไป เมื่อเห็นเป็นธรรมดาในความเกิดดับของเวทนาแล้ว แม้จะรู้ว่าเวทนามีอยู่ ก็จงระลึกได้ว่า "สักแต่เป็นเวทนา" หามีสาระแก่นสารให้ยึดถืออย่างใดไม่ ทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์และ สิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ทั้งหลายลง จิตใจก็เบิกบาน เพราะความหลงผิดสิ้นไป กิเลส ตัณหา อุปาทาน ก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาย้อมหรือดลจิตให้เป็นไปตามอำนาจของมันได้ เมื่อเหตุแห่งทุกข์ดับ ทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น นี้คือทางแห่งมรรค ผล นิพพาน อันเป็นความว่างเปล่าจากกิเลส อาสวะทั้งปวง


    วิธีพิจารณาระบบการทำงานของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ เห็นเวทนาในเวทนา ตามแนววิชชาธรรมกาย

    รวมใจของทุกกายหยุด ณ กลางกายธรรมอรหัตละเอียด แล้วเพ่งไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุด ตรึก นิ่ง ให้ดวงธรรมสว่างไสวทั่วทั้งกาย แล้วพิจารณาทวารทั้ง ๕ คือ จักขุทวาร(ตา) โสตทวาร(หู) ฆานทวาร(จมูก) ชิวหาทวาร(ลิ้น) กายทวาร โดยเริ่มที่ตาก่อน ตรงกลางแววตาทั้งซ้าย-ขวา พิจารณาให้ดีจะเห็น จักขุปสาท ซึ่งทำหน้าที่เป็นจักขุอายตนะ สำหรับรับรูป มีสัณฐานกลมสะอาด ตั้งอยู่ตรงกลางแววตา ตรงกลางจักขุปสาทก็มี จักขุธาตุ ซึ่งละเอียดกว่า ซ้อนอยู่ข้างใน สำหรับเห็นรูป แล้วที่กลางจักขุธาตุก็มี จักขุวิญญาณธาตุ ละเอียดกว่าจักขุธาตุ ซ้อนอยู่อีก สำหรับรู้ว่าเห็นรูปอะไร และมีสายเล็กๆขาวใส บริสุทธิ์ ทอดออกไปจากตรงกลางแววตาทั้งสองข้าง ผ่านขึ้นไปสมอง ศีรษะ แล้วหยั่งไปในเยื่อพื้นหลัง ลงไปรวมจรดอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    อะไรทำให้เห็น?

    เวลา ที่จักขุอายตนะ กับ รูปายตนะ กระทบกัน (เมื่อสายตากระทบรูป) ก็จะมีดวงใส คือส่วนละเอียดของจักขุอายตนะ ซึ่งจะมีจักขุธาตุ จักขุวิญญาณธาตุซ้อนอยู่ แล่นจากศูนย์กลางขันธ์ ๕ ที่ตรงกลางกำเนิดเดิม ขึ้นมาตามสาย ผ่านสมอง มาจรดที่จักขุปสาท ที่ตรงกลางแววตาทั้งซ้ายขวา ซึ่งทำหน้าที่รับรูป แล้วนำรูปนั้นแล่นผ่านสมอง ตามสายกลับมาที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นไปอย่างรวดเร็วมากการเห็นรูปก็เกิดขึ้นตั้งแต่ดวงกลมขาวใส มาจรดที่กลางจักขุปสาท ที่กลางแววตา เพราะที่กลางจักขุปสาทก็มีจักขุธาตุสำหรับเห็นรูป และมีจักขุวิญญาณธาตุ สำหรับรับรู้ว่าเป็นรูปอะไร ซ้อนอยู่ด้วยแล้ว และการเห็นนี้ ไม่เฉพาะแต่ที่ตรงกลางแววตาเท่านั้น หากแต่เห็นไปถึง"ใจ" อันประกอบด้วย เห็น จำ คิด รู้ เป็นอัตโนมัติ เพราะเหตุที่ดวงกลมใสที่แล่นขึ้นมารับรูปจากตา กลับไปสู่กลางขันธ์ ๕ ที่กำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็คือธาตุธรรมละเอียดของจักขุอายตนะ ซึ่งทำหน้าที่รับรูป และจักขุธาตุซึ่งทำหน้าที่เห็นรูป และจักขุวิญญาณธาตุที่ทำหน้าที่รับรู้ว่ารูปอะไร มีลักษณะ สี สัณฐานอย่างไร ซ้อนอยู่ด้วยอีกเช่นกัน

    และนอกจากนี้ ในธาตุธรรมละเอียดเหล่านี้ ก็ยังมี ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง จึงทำหน้าที่เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอดเป็นอัตโนมัติ เพราะเมื่อตากระทบรูปนั้น รูปธาตุย่อมผ่านเห็น จำ คิด รู้เสมอ

    อนึ่ง ดวงรู้ของสัตว์ที่ยังไม่บรรลุโลกุตตรธรรมนั้นมี อวิชชานุสัย ห่อหุ้มหนาแน่น ส่วนดวงเห็นกับดวงจำก็มี ปฏิฆานุสัย ห่อหุ้มอยู่ และดวงคิดก็มี กามราคานุสัย ห่อหุ้มอยู่ จึงไม่ขยายโตเต็มส่วนเหมือนกายธรรม (จึงทำให้ทัสสนะไม่บริสุทธิ์เหมือนกายธรรม)

    เพราะฉะนั้น เวลาที่สายตากระทบรูป ถ้าเป็นรูปที่ถูกอารมณ์น่ายินดี เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในสภาวะจริงของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ซึ่งกล่าวโดยย่อว่า อวิชชา จิตใจจึงมักเลื่อนลอยตามอารมณ์นั้น ทำให้รู้สึกเป็นสุขตา-สุขใจไปตามอารมณ์ที่น่าพอใจนั้น เรียกว่าเกิด สุขเวทนา หรือ โสมนัสเวทนา ในกรณีเช่นนี้ ก็จะเห็น"ใจ"มีลักษณะใส

    แต่ ถ้าเป็นรูปที่ไม่น่าพอใจ และปล่อยใจคล้อยไปตามอารมณ์ที่ว่านั้น ก็จะเกิดความไม่สบายตา-ไม่สบายใจ หรือที่เรียกว่าเป็นทุกขเวทนาหรือโทมนัสเวทนา ในกรณีเช่นนี้ก็จะเห็น"ใจ"มีลักษณะขุ่นมัว

    ทีนี้ ถ้าหากจิตใจไม่ได้รับการอบรมให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง ปล่อยใจให้เคลิบเคลิ้มไปในอารมณ์ต่างๆนี้มากๆเข้า กิเลสที่สะสมหมักดองอยู่ในจิตใจ ได้แก่ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย ก็จะฟุ้งขึ้นมาครอบคลุมจิตใจย้อมจิตย้อมใจให้เป็นไปตามสภาพของมัน ด้วยเหตุนี้ สีน้ำเลี้ยงของจิตซึ่งถูกเจือด้วยกิเลสนั้น เปลี่ยนสีจากที่เคยขาว ใส สะอาด เป็นสีต่างๆตามสภาพกิเลสที่จรมาผสม เป็นต้นว่าจิตที่ประกอบด้วยกามตัณหา และภวตัณหา หรือรวมเรียกว่า โลภะ-ราคะ ก็จะเห็นเป็นสีชมพู จนถึงเกือบแดง, จิตที่ระคนด้วยวิภวตัณหา หรือโทสะ ก็จะเป็นสีเขียวคล้ำ จนเกือบดำ, และจิตที่ระคนด้วยโมหะ ก็จะเห็นเป็นสีขุ่นเหมือนตม หรือเกือบเทา เป็นต้น

    นอกจากนี้ อาการที่จิตฟุ้งออกไปรับอารมณ์ภายนอกมากเพียงใด ก็จะเห็นจิต คือ ดวงคิดลอยอยู่เหนือน้ำเลี้ยงหทยรูปมากขึ้นเพียงนั้น การเห็นลักษณะของใจตนเองที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี โดยจะเห็นดวงใสหรือขุ่นหรือปานกลางนั้น เรียกว่า เห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายใน แต่ถ้าเห็นเวทนาของผู้อื่น ก็เรียกว่า เห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายนอก ซึ่งเป็นลักษณะของการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ส่วน การเห็นสภาวะของจิตของตนว่าระคนด้วยกิเลส โดยเห็นสีน้ำเลี้ยงที่เปลี่ยนไปตามสภาวะกิเลสที่เข้ามาผสมก็ดี หรือเห็นว่าจิตฟุ้งซ่าน หรือสงบ โดยอาการลอยของจิตในเบาะน้ำเลี้ยงหทยรูปในลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วก็ดี เรียกว่า เห็นจิตในจิต เป็นภายใน และถ้าเห็นสภาวะจิตของผู้อื่น ก็เรียกว่า เห็นจิตในจิต เป็นภายนอก ซึ่งเป็นลักษณะของการเจริญจิตตานุปัสสนสติปัฏฐาน

    การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเจริญปัญญา จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตเป็นทั้งภายในและภายนอก ดังนี้จึงควรที่สาธุชนจะพึงเจริญให้มาก

    ในลำดับนี้ จะได้แนะนำวิธีพิจารณาที่โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร และมโนทวารต่อไป

    สำหรับ ผู้ถึงธรรมกายแล้ว ให้รวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายธรรมอรหัตละเอียด แล้วให้ญาณพระธรรมกายเพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดในหยุด ตรึกในตรึก นิ่งในนิ่ง ให้ดวงธรรมนั้นใสสว่าง ขยายโตขึ้นจนเห็นใสสว่างหมดทั้งกาย แล้วเริ่มพิจารณาที่โสตทวาร(หู)ก่อน

    ที่ตรงกลางแก้วหูทั้งซ้ายและขวานั้น จะเห็นมี"โสตปสาท" ซึ่งทำหน้าที่เป็น "โสตายตนะ" คือ อายตนะหู สำหรับรับเสียง มีลักษณะสัณฐานกลมใส สะอาดบริสุทธิ์ ประมาณเท่าขนจามรี ขดเป็นวงซ้อนกันอยู่ ๗ ชั้น ตั้งอยู่ที่ตรงกลางแก้วหูทั้งสองข้าง ตรงกลางโสตประสาทก็มี "โสตธาตุ" ซึ่งละเอียดกว่า เล็กกว่า ซ้อนอยู่ข้างใน สำหรับฟังเสียง และในกลางโสตธาตุ ก็มี "โสตวิญญาณธาตุ" ซึ่งใสกว่า เล็กกว่าโสตธาตุ ซ้อนอยู่ภายในเข้าไปอีก สำหรับให้รู้ว่าเป็นเสียงอะไร แลมีสายใยสีขาว ใส ทอดออกไปจากโสตประสาททั้งซ้ายขวา ผ่านขึ้นไปบนสมองศีรษะ แล้วหยั่งลงไปภายในเยื่อพื้นข้างหลัง ไปรวมจรดอยู่ที่ตรงกลางของขันธ์ ๕ ที่กำเนิดธาตุธรรมเดิม

    ทำหน้าที่ได้ยินเสียง ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการหน้าที่มองเห็นของอายตนะตา กล่าวคือ เมื่อเสียงมากระทบประสาทหูซึ่งทำหน้าที่เป็นโสตายตนะนั้น จะมีดวงกลมขาว ใส คือธาตุละเอียดของโสตายตนะ ซึ่งมีโสตธาตุ และโสตวิญญาณธาตุซ้อนอยู่ แล่นจากศูนย์กลางขันธ์ ๕ ที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรมเดิม ขึ้นมาตามสายสีขาวบริสุทธิ์ มาจรดที่โสตประสาทตรงกลางแก้วหูซ้ายขวาซึ่งทำหน้าที่รับเสียง แล้วนำเสียงนั้นแล่นกลับไปที่กลางขันธ์ ๕ กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม เพื่อทำหน้าที่ต่อไป

    ทีนี้ให้พิจารณาต่อไปที่ขื่อจมูกข้างในทั้งซ้ายและขวา จะเห็น"ฆานปสาท" ซึ่งทำหน้าที่เป็น "ฆานายตนะ"ทำ หน้าที่รับกลิ่น มีลักษณะสัณฐานเหมือนกีบกวางหรือปีกริ้น ใสสะอาดบริสุทธิ์ ตั้งอยู่ตรงกลางขื่อจมูกข้างในทั้งซ้ายและขวา แล้วตรงกลางประสาทจมูก ก็มี "ฆานธาตุ" ซึ่งใสสะอาดบริสุทธิ์ และเล็กกว่าประสาทจมูก สำหรับทำหน้าที่ดมกลิ่น และที่ตรงกลางฆานธาตุก็มี "ฆานวิญญาณธาตุ" ซึ่งมีลักษณะสัณฐานอย่างเดียวกัน แต่ใส สะอาด และเล็กกว่าฆานธาตุ สำหรับทำหน้าที่รู้ว่าคุณสมบัติกลิ่นเป็นอย่างไร และมีสายใยสีขาวทอดออกจากตรงกลางฆานปสาททั้งสองข้าง ผ่านขึ้นไปบนสมองศีรษะ แล้วหยั่งลงภายในพื้นเยื่อพังผืดข้างหลัง ไปรวมจรดอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    แล้วต่อไปก็ให้พิจารณาที่ลิ้น จะเห็น"ชิวหาปสาท" กระจายอยู่ทั่วลิ้น มีลักษณะสัณฐานเหมือนดอกบัวหรือกลีบบัว ขาวใส ทำหน้าที่เป็น "ชิวหายตนะ"สำหรับทำหน้าที่รับรส และตรงกลางชิวหาปสาทก็มี "ชิวหาธาตุ"ซึ่งมีลักษณะสัณฐานเดียวกัน แต่ใสสะอาด และเล็กกว่าชิวหาปสาท ซ้อนอยู่ภายในเข้าไป สำหรับทำหน้าที่ลิ้มรส แล้วก็ตรงกลางชิวหาธาตุก็มี "ชิวหาวิญญาณธาตุ" ซึ่งใสสะอาด และเล็กกว่าชิวหาธาตุ ซ้อนอยู่ภายในเข้าไปอีก สำหรับทำหน้าที่รู้คุณสมบัติรส แล้วก็มีสายใยสีขาว ใสสะอาด ทอดออกไปจากตรงกลางชิวหาปสาททั้งหลาย ผ่านขึ้นไปบนสมองศีรษะ แล้วหยั่งลงไปภายในเยื่อพังผืดพื้นหลัง แล้วไปจรดอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ที่กำเนิดธาตุธรรมเดิม

    ทีนี้ให้พิจารณาดูหมดทั่วสรรพางค์กาย จะเห็น"กายปสาท" มีลักษณะสัณฐานเหมือนดอกบัว ขาว ใส สะอาด ตั้งอยู่ทั่วทั้งกาย ทุกขุมขนทีเดียว ทำหน้าที่เป็น "กายายตนะ" ทำหน้าที่รับสัมผัส และตรงกลางกายปสาททั้งหลาย ก็มี "กายธาตุ" ซึ่งมีลักษณะสัณฐานเดียวกัน แต่เล็กกว่า ใสสะอาดกว่ากายปสาท สำหรับทำหน้าที่สัมผัสสิ่งที่มาถูกต้องทางกาย และมี "กายวิญญาณธาตุ" ซึ่งมีลักษณะสัณฐานนเดียวกัน แต่ใสสะอาด และเล็กกว่ากายธาตุ ซ้อนอยู่ชั้นในเข้าไปอีก สำหรับทำหน้าที่รู้คุณสมบัติสิ่งที่มาสัมผัสถูกต้องทางกาย ว่าเย็น ร้อน อ่อน แข็งอย่างไร แล้วก็มีสายใยสีขาวใส ทอดออกไปจากกายปสาททั่วทั้งกาย ขึ้นไปสู่สมองศีรษะ แล้วไปรวมจรดที่ขันธ์ ๕ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    ที่ตรงกลางหทยรูป(ไม่ใช่มังสหทยรูป แต่เป็นของละเอียด) หรือที่เรียกว่ามโนทวาร ก็มี "มนายตนะ" มีลักษณะสัณฐานเป็นดวงกลมใส ขนาดประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร ซึ่งทำหน้าที่น้อมไปสู่อารมณ์ และที่ตรงกลางมโนทวารนี้เองเป็นที่ตั้งของ "มโนธาตุ" มีลักษณะสัณฐานกลมใสยิ่งกว่า เล็กกว่ามนายตนะ ซ้อนอยู่ข้างใน สำหรับรู้ธรรมารมณ์ที่มากระทบใจ และตรงกลางมโนธาตุ ก็มี "มโนวิญญาณธาตุ" ซึ่งใส สะอาดกว่า และเล็กละเอียดกว่ามโนธาตุ ซ้อนอยู่ข้างในเข้าไปอีก สำหรับรู้คุณสมบัติอารมณ์ที่มากระทบ และมีสายใยสีขาวใสหยั่งลงไปจรดรวมอยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม แต่สายของมนายตนะนี้ ไม่ผ่านขึ้นสู่สมองศีรษะเหมือน ๕ สายข้างต้น

    การรู้กลิ่น รู้รส รู้การสัมผัสทางกาย และรู้อารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทางใจ ก็เป็นลักษณะเดียวกันกับการเห็นรูป หรือ ได้ยินเสียง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์จากภายนอกที่มากระทบนั้น เป็นสิ่งที่น่าพอใจ ยินดี ก็จะรู้สึกเป็นสุข เรียกว่า "เสวยสุขเวทนา" และในกรณีเช่นนี้ ก็จะเห็น "ใจ" มีลักษณะใส แต่ถ้าอายตนะภายนอกที่มากระทบทวารทั้งหลายเหล่านี้ ไม่เป็นที่น่าพอใจ ยินดี ก็เป็นทุกข์ใจ เรียกว่า "เสวยทุกขเวทนา" ในกรณีเช่นนี้ ก็จะเห็น "ใจ" ทั้งดวงมีลักษณะขุ่นมัว

    ทีนี้ถ้าหากไม่รู้เท่าทันในสภาวะจริงตามธรรมชาติของเวทนา ไม่รู้ข้อดี ข้อเสียของเวทนา และไม่รู้ทางออกจากเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น แล้วปล่อยให้จิตใจเลื่อนลอยไปตามอารมณ์ จนถึงกับต้องสยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารัก น่ายินดี หรือจนถึงกับเคียดแค้น ชิงชังในอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจยินดี กิเลสอนุสัยต่างๆ เป็นต้นว่า กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย ก็จะฟุ้งขึ้นมาครอบคลุมจิตใจดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมัน อันเป็นทางให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนตามมาได้

    แต่ถ้ารู้เท่าทันในสภาวะของเวทนาตามที่เป็นจริง ว่าอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ และรู้เท่าทันเวทนาว่า ถ้าปล่อยจิตใจให้เลื่อนลอยตามอารมณ์ที่มากระทบแล้ว ก็จะเป็นทางให้กิเลส ตัณหา อุปาทานเข้ามาครอบคลุมจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันได้แล้ว ก็รู้วิธีออกจากเวทนานั้นๆ โดยรวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด ให้ละเอียดหนักเข้าไป ไม่ถอยหลังกลับ เมื่อใจไม่น้อมไปสู่อารมณ์และหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุดหนัก เข้าไป(หยุดปรุงแต่ง ส่งจิตส่งใจไปตามอารมณ์) ก็พ้นอำนาจของอนุสัยที่เคยนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน กิเลส ตัณหา อุปาทานก็ไม่มีทางที่จะเข้ามาย้อมจิตย้อมใจ ทุกข์จะมีมาแต่ไหน จิตใจก็กลับใส สะอาด ปราศจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง เป็นสุขจากความสงบรำงับด้วยประการฉะนี้แล

    นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ - สุขอื่นยิ่งกว่า กาย วาจา และใจ สงบ ไม่มีอีกแล้ว
    จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ - จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้



    จงพิจารณาให้เห็นสภาวะจริงของเวทนาที่เป็นจริงต่อไปอีกว่า เวทนานั้นเกิดแต่จิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของใจอันมีอวิชชา ความไม่รู้สภาวะจริงนั้นเอง ทำหน้าที่ปรุงแต่งอารมณ์ เรียกว่า จิตสังขาร อันเป็นเหตุให้เกิดการรับรู้อารมณ์จากภายนอกที่สัมผัสกับทวารต่างๆ ทั้ง ๖ ทวาร แล้วจิตนั้นเองก็เสวยอารมณ์สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขเวทนา แล้วแต่กรณี

    เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่เกิดเวทนาทั้งหลาย นับตั้งแต่อวิชชาเอง ก็ไม่เที่ยง มีการเกิดดับไปพร้อมกับจิต ซึ่งไม่เที่ยงอีกเช่นเดียวกัน ทั้งอวิชชาและจิต จึงต่างก็หามีตัวตนแท้จริงไม่ ต่างก็เป็นอนัตตา ด้วยกันทั้งสิ้น นี้ข้อหนึ่ง

    อาการปรุงแต่งอารมณ์ของจิต นั้นอีกเล่า ก็ไม่เที่ยง มีเปลี่ยนแปลง แปรผันอยู่เสมอ, วันนี้เห็นบุคคล รูปร่างอย่างนี้ แต่งกายอย่างนี้ มีกิริยาอาการอย่างนี้ว่า น่ารัก น่าพอใจ แต่พอภายหลัง กลับไม่ชอบ ไม่ยินดี หรือขัดหูขัดตาไปก็มี ดังนี้เป็นต้น มันไม่เที่ยงอย่างนี้ หากยึดถือก็เป็นทุกข์ เพราะไม่มีแก่นสารให้ยึดถือ อาการปรุงแต่งของจิตจึงเป็นอนัตตา นี้ก็อีกข้อหนึ่ง

    ทวารต่างๆ หรือ อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ คือ อายตนะภายนอกเอง ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสกาย และอารมณ์ทางใจ ก็ไม่เที่ยงอีกเหมือนกัน รวมตลอดทั้งสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์จากภายนอกในรูปอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลกธรรม ๘ ประการ ไม่ว่าจะเจือด้วยอามิสหรือไม่ก็ตาม เป็นต้นว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือการได้กำเนิด เสวยวิบากกรรมจากผลบุญ-บาปในภพภูมิใหม่ใดๆก็ตาม ก็ล้วนแต่ไม่เที่ยงทั้งสิ้น มีเปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัยนเสมอ ผู้ใดยึดถือก็เป็นทุกข์ เพราะต่างก็ไม่มีแก่นสารตัวตนให้ยึดถือได้ตลอดไป มีเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสลายดับสิ้นไปเป็นธรรมดา นี้เป็น อนัตตา อีกข้อหนึ่ง

    ก็เมื่อเหตุ-ปัจจัยที่เกิดของเวทนา และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยเวทนาทั้งหลายต่างก็ไม่เที่ยง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย ผู้ใดยึดถือก็เป็นทุกข์เพราะไม่มีตัวตนให้ยึดถือได้ จึงเป็นอนัตตาไปหมด ดังนี้แล้ว เวทนาเองก็จึงหาได้มีแก่นสารแต่ประการใดไม่ อีกเช่นกัน มีเกิดดับเป็นธรรมดา หากผู้ใดยึดมั่นถือมั่นในเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ได้ อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี, ด้วยความเห็นผิดว่าเป็นของเรา หรือว่า เราเป็นตัวเวทนา เวทนามีในตัวเรา หรือตัวเรามีในเวทนา ซึ่งเรียกว่า สักกายทิฏฐิ ๔ แล้วย่อมเป็นเหตุแห่งความทุกข์ เพราะสภาวะจริงของเวทนานั้น ก็สักแต่เป็นเวทนา หาใช่เป็นของผู้ใดไม่ เป็นอนัตตาแท้ๆ
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,023
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,571
    ?temp_hash=30b750b2c372675bfbbf0c46bbf508a5.jpg





    วัดป่าวิสุทธิคุณได้จัดพิมพ์หนังสือธรรมชุด “สัมมาปฏิบัติ” ๓ เล่ม และได้ทำเป็น e-book คือ


    ๑) หาบุญได้ ใช้บุญเป็น >>> http://visutthikhun.org/ebook/01/


    ๒) การบำเพ็ญบารมีของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวก >>> http://visutthikhun.org/ebook/02/


    ๓) ธรรมปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพาน >>> http://visutthikhun.org/ebook/03/


    ลิงค์สำหรับดาวน์โหลดอีบุ๊ค >>> http://visutthikhun.org


    สำหรับคนที่ไม่สะดวกอ่านจาก e-book ถนัดอ่านจากหนังสือที่เป็นกระดาษ ให้ไปรับได้ที่วัดป่าวิสุทธิคุณ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 702.jpg
      702.jpg
      ขนาดไฟล์:
      123 KB
      เปิดดู:
      136
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...