สัมมาทิฏฐิสูตรว่าด้วยความเห็นชอบ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 3 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เฮ้อ จนแล้วจนรอด ก็ไม่ยอมพ้นเรื่อง ความเป็นบุคคล

    ภาวนามายังไงว๊า ไหนว่า พ้นสภาพบุคคลได้ตลอดไง

    แล้วนี่ไปยุ่งอะไรในเรื่องของ บุคคล ขึ้นมาเล่า !
     
  2. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ก็ไปพิจารณาเอาสิ วันๆดูมันฟุๆ ยวบๆ ย้อยๆ ปัญยามันไปต่อได้ไหม

    มันก็แช่แต่อยู่แบบนั้น

    ถ้าเปลี่ยนเป็น ตึงๆ หย่อนๆ พวกนี้เป็นสมมุตติสัจจะที่มีอยู่นะโยม

    ขณะนั้นทันเป็นลม โยมสังเกตุไหม ว่าเดี๋ยวมี เดี๋ยวไม่มี มันไม่เที่ยง

    ที่รู้เพราะจิตไปรู้ลักษณะลม มันเป็นคนละขณะกันนะโยม กลับไปพิจารณาดูสิ


    เนี่ยแบบนี้ ดีว่ายวบๆ ย้อยๆตั้งเยอะ

    คนไม่รู้จักก็ไปสำคัญ ยวบ ย้อยๆ ตกลงพุทธองค์สอนให้รู้สัจจะ หรือให้รู้ยวบย้อย
     
  3. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    อาว ต้นเรื่องมันมาแบบไหนล่ะ แล้วคุยอะไรอยู่

    แล้วชี้แจงอะไรอยู่

    คนไม่เห็นด้วยมีเยอะ นั้นก็เรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา :cool:
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    กูละกุ้ม ดูมัน ยังเอา บัญญัติที่พันรกสมองไปหมด มาอ้างเรื่องถูกผิดอีก

    ภาวนายังไงว๊า ได้แต่ตัวหนังสือเนี่ยะ
     
  5. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    จำได้ว่าถกไปทีนึงแล้ว

    แล้วก็ยกเรื่อง ลาภยศ สรรเสริญมาด้วยที่ผมจับมาเป็นประเด็น

    คำว่า ลาภยศ สรรเสริญ นี้เป็นกามคุณ ๕

    คุณธรรมที่ละได้ คือพระอานาคามี

    โสดาบันเป็นฆารวาสก็มีนะครับ มีลุกมีเมีย ทำงานทางโลกอยู่

    จะเอาอะไรไปงอกลับ ภาลยศ นอกจากศีลที่วิสุทธิ
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    นี่อาหลง อาหลงคิดว่า พอเห็น นิพพาน แล้วต้องขานชื่อให้ถูกไหมว่า

    น หนู สระ อิ พอ อา นส พาน นิพพาน ถูกต้อง สอนได้เข้าใจแล้วคร้าบ
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    โอย พอคราวนี้ โยนปริยัติเข้าป่าไปนู้น

    ทำไมไม่ไปหาอ่านก่อนละคร้าบ ว่า พระพุทธองค์สอนเรื่องอะไร

    อย่าไป นึกๆคิดๆ เอาเองซี่
     
  8. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    นี่ก็ปัญญานิ่มเหลือเกิน

    ยวบย้อย ฟูแฟบ กับ หย่อนตึง ร้อนแข็ง

    อันไหนเป็นสมมุติ อันไหนเป็นสมมุตติสัจจะ ใช้แทนของมีอยู่จริง

    ฟังๆดูยังแยกไม่ถูก แล้วจะเอาอะไรไปภาวนา ในเมื่อธรรมเป็นปรมัตถ์ล้วนๆ

    พูดกี่ทีก็วลอยู่ในอ่าง
     
  9. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ไปเอาลิ้งด์ที่คุยกันบทนี้มาแปะไป จะได้ไม่ต้องพูดหลายรอบ

    ในตัวมีกี่หัว เอามาตรึกให้ดี องค์ธรรม องค์ธรรม

    ไปๆ จะเข้าทางธรรมภูตแล้ว " พระธรรมใครเขาให้ตรึกกัน ให้รู้ไปตรงๆเลย อรรถกถาไม่ต้องไปฟัง "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กุมภาพันธ์ 2012
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่าลืมสิ วิญญติรูป ไม่ใช่ปรมีัตถ์ล้วนๆ อะไรอย่างที่คุณเข้าใจหรอก

    วิญญติรูปนี่ ยังต้องพิจาณา นอกใน อีกนะ กว่าจะว่าใช่ไม่ใช่ ซึ่ง
    นอกใน ไม่ใช่ เขา กับ เธอ อะไรแบบที่อาหลงกล่าวนะ มันนอก
    ในก็คือ จิตที่งอกลับ กับ ส่วนขันธ์ ...แปลว่าอะไร แปลว่า ใน
    จิตที่งอกลับเด่นดวงนั้น มันยังมีขันธ์ภายในได้อีก

    แต่อาหลง เหมาเข่ง นอกใน คือ ฉัน และ เธอ
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456

    จะมาถามหาทำไมเล่าคร้าบ รู้ตัวไปสิว่า ประมาท
     
  12. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    นอกใน เคยอธิบายไปแล้ว

    ก็มาว่าไม่จำเป็นต้องไปดูชาวบ้าน

    ที่ดูนั้นเขาไม่ได้ดูชาวบ้าน ไม่ได้ดูความความเป็นคนสัตว์

    แต่ดูขันธ์ ดูรูปนาม ดูธาตุ น้อมเข้าน้อมออก ว่าเหมือนๆกัน ไม่ต่างกันโดยความเป็นขันธ์ ธาตุ

    เข้าใจไปผิด แล้วมาตู่ผมผิด โยนขี้มันทุกวัน เนี่ยไม่เคยปรับว่าตู่เลย

    จนรู้สึกว่าเป็นก้อนธาตุ ก้อนขันธ์ หมา แมว มันก็ขันธ์ ต่างแค่รูป

    อารมณ์วิปัสสนามันมีอยู่
     
  13. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=43vLlpdiVcY&feature=player_embedded#]บทเพลงพระพุทธประวัติ - YouTube[/ame]!

    น้าชาติเอาบุญมาฝาก ผมมาบอกต่อครับ

    อนุโมทนาด้วย ^^
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เทวปุตมาร

    มาร 5 และคัมภีร์ปราบมาร (ตอนที่5)

    5. เทวปุตมาร

    มารคือ เทวบุตร
    [​IMG]เทวบุตรมาร หมายถึง เทวดาบางตนที่มีนิสัยเสีย เห็นใครทำความดีหรืออยากไปนิพพานก็มักจะทนไม่ได้ เกิดอาการทุรนทุราย อยากเข้าไปขัดขวาง กลั่นแกล้ง เหนี่ยวรั้ง บางตนถึงกับมุ่งร้ายหมายเอาชีวิต หรือชักนำให้บุคคลผู้บำเพ็ญธรรมไม่กล้าหาญในการเสียสละเพื่อบำเพ็ญบารมีให้ยิ่งใหญ่ได้

    เทวบุตรมาร เป็นเทวดามิจฉาทิฏฐิ ที่อาศัยอยู่ในสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี (เป็นสวรรค์ชั้นสูงสุด คือชั้นหก สวรรค์ชั้นนี้มีความพิเศษคือ มีผู้ครองแบ่งเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายเทวดาสัมมาทิฐิ และฝ่ายเทวดามิจฉาทิฐิ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะไม่ยุ่งเกี่ยวกัน) ฝ่ายมาร มีหัวหน้าคือ พญาวสวัตตีมาร มีพระธิดามาร 3 องค์ รูปโฉมสวยงามเกินพรรณนา คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา และมีบุตรชายที่เรียกว่า เทวบุตรมาร อีกพันองค์ แวดล้อมด้วยเสนามาร เมื่อครั้งสมัยที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ เหล่ามารต่างพากันมาขัดขวาง โดยการนำของพญามาร กองทัพมารมีเหล่าสมุนมารมากมาย เช่น ยักษ์ นาค อสูร และเทวดาจากทั่วจักรวาล
    เรื่องราวของเหล่าเทวบุตรมาร
    จากเรื่องราวของท่านพญามารที่จะกล่าวแยกไว้ในบทความต่อไป จะเห็นว่าท่านคงไม่มายุ่งเกี่ยวกับเราๆ ท่านๆ แล้ว เพราะท่านกลับมาเป็นสัมมาทิฐิแล้ว และท่านยังเป็น นิยตโพธิสัตว์ อีกด้วย ต้องขอบคุณพระอุปคุตตเถระ ที่ทำให้ท่านละวางหน้าที่มารได้ ไม่เช่นนั้น ชาวพุทธเราอาจจะไม่ได้อยู่อย่างสงบเช่นทุกวันนี้ แต่อย่างไรก็ตาม เหล่าเทวบุตรมาร ก็ยังมีอยู่บ้างและพวกท่านเหล่านั้นก็ยังคงทำหน้าที่ขัดขวางผู้ทำความดีอยู่ ดังที่เราคงเคยได้ยินจากประวัติครูบาอาจารย์ต่างๆ ที่ต้องผจญกับเหล่ามารมาก่อนที่จะสำเร็จธรรม มีหลวงปู่มั่น เป็นต้น เป็นเสมือนอีกหนึ่งด่านทดสอบที่ต้องผ่านไปให้ได้ด้วยกำลังใจที่เข้มแข็ง….

    สาเหตุที่ทำให้มนุษย์กลายเป็นเทวบุตรมาร
    เทวดาที่เป็นมารพวกนี้เกิดจากคุณสมบัติที่เป็นการปรุงแต่งจิตด้วยกิเลสมาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นมนุษย์ซึ่งใช้ชีวิตโดยขาดการตั้งจิตให้อยู่ในธรรม บางคนแม้จะทำบุญมามาก แต่จิตกลับผ่านการปรุงแต่งในลักษณะที่ว่า นี่ของฉัน นี่บุญของฉัน ฉันอยากเป็นคนสำคัญ ฉันอยากได้ ฉันอยากรวย อยากเด่น อยากดัง อยากเก่ง อยากมีอำนาจ อยากมีพลังจิต ฯลฯ
    คนที่จิตใจจดจ่อหมกมุ่นอยู่กับกิเลสจนนำไปสู่การปรุงแต่งให้เกิดชาติภพของมารหรือเหล่าเทพเทวดากลุ่มที่เป็นมาร จิตของเขาจะเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือมีความคิดเห็นที่ผิด

    ท่าน อ.เธียรนันท์ ได้กล่าวในหนังสือ มารมีจริง ว่า เหตุที่ทำให้เป็นมาร จากที่ค้นพบในพระไตรปิฎกและประสบการณ์ครูบาอาจารย์ มีดังนี้
    1. เป็นเทวบุตรมาร เพราะ ความริษยา
    ตัวอย่างคือ พระโมคคัลลานะ ในอดีตชาติระหว่างที่ยังบำเพ็ญบารมีเพื่อหวังเป็นพระอัครสาวกผู้เป็นเลิศทางฤทธิ์ของพระพุทธเจ้านั้น มีอยู่ชาติหนึ่งที่พระโมคคัลลานะเกิดเป็นเทวบุตรมาร นามว่า “ทูสีมาร” ในสมัยพระกกุสันธพุทธเจ้า มีพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและขวานามว่า “วิธุระ” และ “สัญชีวะ
    ในครั้งนั้น ทูสีมารดลใจพวกพราหมณ์และคหบดีให้ด่าเสียดสี พระมหาสาวกสัญชีวะ ว่าเป็นสมณะหัวโล้น เป็นค่าง เป็นผู้เกิดจากหลังเท้าของพรหม เป็นผู้คอตก ก้มหน้า เกียจคร้าน ฯลฯ เมื่อพวกพราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นตาย อกุศลกรรมที่ก่อไว้จึงส่งผลให้ตกนรกทุกคน
    เมื่อเห็นดังนั้น พระพุทธเจ้ากกุสันธะจึงสอนให้พระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านเรียนรู้ที่จะแผ่เมตตาโดยไม่มีประมาณ แผ่ให้แม้กระทั่งมารเพื่อกั้นไม่ให้มารมาดลใจ
    ต่อมาไม่นาน พระพุทธเจ้ากกุสันธะครองสบงแล้วทรงบาตร มีพระมหาสาวกวิธุระเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จเข้าไปสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ทูสีมารจึงเข้าสิงร่างเด็กคนหนึ่ง แล้วเอาก้อนหินขว้างที่ศีรษะท่านพระวิธุระจนศีรษะแตก พระพุทธเจ้ากกุสันธะทรงชำเลืองมองดู ทันใดนั้น ทูสีมารจากที่เป็นเทวดาอยู่ดีๆ ก็ตกลงมหานรกทันที ถูกหลาวเหล็กเสียบแทงที่หัวใจอยู่อย่างนั้นพันปี และหมกไหม้อยู่ในอุททสนรกแห่งมหานรกนั้นแล เสวยทุกขเวทนาหนักกว่านั้นอีกหมื่นปี นี่คือกรณีของการกลายเป็นมารเพราะความริษยา
    2. เป็นเทวบุตรมาร เพราะ คิดว่ามนุษย์เป็นสมบัติของตน
    เนื่องจากมาร สามารถเดินทางจากภพภูมิที่ตนอยู่อาศัยข้ามมาปั่นป่วนภพมนุษย์ ภพสวรรค์ และยังสามารถเข้าไปสิงร่างพรหมที่สถิตอยู่ในชั้นพรหมโลก เพื่อบังคับให้พรหมพูด คิด หรือทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ ความน่ากลัวของมารจึงอยู่ที่ความสามารถในการท่องไปในสังสารวัฏได้อย่างง่ายดาย และสามารถเข้าไปบงการใครต่อใครให้ทำชั่ว (ที่เรียกว่า การดลใจ) ให้ละเว้นการทำดี และนี่คือคำอธิบายว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “บรรดาผู้ยิ่งใหญ่ มารเป็นเลิศ” (ปัญญัติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 21) หมายถึง การที่มารมีพลังอำนาจในด้านมืด (อวิชชา) มากถึงขนาดที่สามารถครอบงำสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในสังสารวัฏ….
    ด้วยเหตุนี้จึงเป็นนิสัยพื้นฐานของมารที่คิดว่า มนุษย์ผู้ต่ำต้อย ไม่ได้เสพของทิพย์ มีความยากลำบากในภพมนุษย์ ไม่มีสิ่งใดเทียบเท่าความสุขที่เทวบุตรมารพบเจอบนสวรรค์ จึงคิดว่ามนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงหรือสมบัติของตน ต่อให้เก่งกล้าสามารถอย่างไรก็หนีไม่พ้นมาร ดังนั้น ไม่ว่ามารจะทำอย่างไรมนุษย์ก็ไม่มีวันมองเห็นหรือสู้ได้ ดังเช่นครั้งหนึ่ง มีมารตนหนึ่งเฝ้ามองดูพระโมคคัลลานะมาตลอด มารตนนี้เคยเกิดเป็นหลานชายของพระโมคคัลลานะในอดีตชาติ วันหนึ่งมารตนนี้ได้เข้าไปสิงที่ท้องน้อยของพระโมคคัลลานะ จนท่านมีอาการปวดท้องน้อยจนผิดสังเกต และได้ทราบว่าเป็นเพราะมารผู้เป็นหลานชายมาสิง จึงบอกให้มารออกมาจากท้องเพราะนั่นเป็นการสร้างบาปกรรม ฝ่ายมารแม้จะได้ยินพระโมคคัลลานะกล่าวอย่างนั้นก็ยังนึกดูถูกในใจว่า ไม่มีทางที่สมณะนี้จะเห็นเราได้ พระโมคคัลลานะจึงพูดดักคอว่า มารกำลังคิดอะไรอยู่ มารรู้สึกตกใจ แต่ไม่แน่ใจว่าสมณะรูปนี้มีฤทธิ์มองเห็นได้จริงหรือว่าแกล้งอำ จึงออกจากท้องแล้วไปยืนยังตำแหน่งต่างๆ ซึ่งพระโมคคัลลานะก็บอกตำแหน่งได้ถูกต้อง จึงยอมเชื่อแล้วหนีไป
    นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างในพระสูตรหลายแห่งที่มารจำแลงแปลงกายเป็นคนบ้าง เป็นสัตว์บ้าง เพื่อมาล่อลวงพระสาวกถึงหน้าที่ประทับของพระพุทธเจ้า โดยคิดว่าพระพุทธเจ้าจะมองไม่ออกว่านั่นเป็นมารจำแลงมา
    3. เป็นเทวบุตรมาร เพราะ ความคึกคะนอง
    ตัวอย่างที่พบเห็นได้บ่อยคือ เวลาพระป่าเข้าธุดงค์มักพบเจอเทวดาเจ้าถิ่นประเภทนาค ยักษ์ รุกขเทวดา มาลองของว่า ศีลสมาธิของพระภิกษุมั่นคงพอหรือไม่ ดังเช่นกรณีการรบกันทางจิตครั้งสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริฑัตโต กลางป่า ได้เกิดมีนิมิตเป็น “ยักษ์สูงใหญ่” ถอนต้นไม้เป็นตะบองมาทุบจนตัวท่านจมลงดิน แต่หลวงปู่ก็ไม่หวั่นไหว รักษาสมาธิมั่น พิจารณาสภาวธรรมจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ยักษ์ตนนั้นจึงวางตะบองต้นไม้ ก้มลงกราบเป็นการขอขมาลาโทษ หลวงปู่มั่น ท่านจึงเน้นให้พระภิกษุสงฆ์รักษาศีลให้บริสุทธิ์เพื่อให้ศีลคุ้มครองความปลอดภัย เวลาเข้าป่าหรืออยู่ที่ไหนๆ ก็ให้หมั่นเจริญเมตตาให้กับเจ้าที่เจ้าทางเสมอ
    เทวบุตรมารเหล่านี้พบเห็นได้ง่าย ขณะที่เรากำลังเข้าสมาธิ มีความตั้งใจมั่นที่จะเจริญภาวนา ก็มักจะมีเหตุให้ตกใจ เกิดนิมิตเข้ามาแทรก หรือมีเสียงประหลาด ซึ่งบางครั้งเกิดจากการเนรมิตของมาร
    4. เป็นเทวบุตรมาร เพราะ ความหลงผิด
    เช่น พวกเทวดาเจ้าถิ่นหรือเทวดาที่เหาะมา เมื่อเห็นนักปฏิบัตินั่งสมาธิอยู่ จิตมีความสว่างไสว ก็ชวนให้คิดว่าจะมาแย่งถิ่นที่อยู่อาศัยหรือกลัวเขาจะได้ดีกว่าตัวเอง เพราะเทวดาเขาจะวัดบารมีกันที่ความสว่างของจิต เทวดาพวกนี้ก็จะมาแกล้งให้เจริญสมาธิไม่ได้ เช่น ทำให้เกิดเหตุให้ตกใจกลัวหนีไปบ้าง ทำให้เห็นเป็นเสือบ้าง เป็นต้น
    5. เป็นเทวบุตรมาร เพราะ อยู่มานาน
    เทวดาบางท่านที่อยู่สวรรค์ชั้นสูงๆ หรือพรหม จะมีอายุยืนยาว โลกเกิดดับไปไม่รู้กี่รอบแล้วก็ยังไม่หมดบุญ จึงทำให้คิดว่าตนเองเป็นผู้พ้นแล้ว ไม่ต้องลงมาเกิดอีกแล้ว นี่คือ อวิชชาที่ทำให้เป็นมาร


    อำนาจของเทวบุตรมาร
    ดูได้จากตอนหนึ่งในพระไตรปิฎกว่าด้วยบทสนทนาระหว่างมาร กับพระพุทธองค์
    กัสสกสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 15

    [๔๗๐] สาวัตถีนิทาน ฯ</PRE>
    ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้</PRE>
    สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน และภิกษุ</PRE>
    เหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับ</PRE>
    ธรรมอยู่ ฯ</PRE>
    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ทรงยัง</PRE>
    ภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา</PRE>
    เกี่ยวด้วยพระนิพพาน ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปใกล้พระสมณโคดมถึงที่ประทับ</PRE>
    เพื่อการกำบังตาเถิด ฯ</PRE>
    ๔๗๑] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปจึงนิรมิตเพศเป็นชาวนาแบกไถใหญ่</PRE>
    ถือปะฏักมีด้ามยาว มีผมยาวรุงรังปกหน้าปกหลัง นุ่งผ้าเนื้อหยาบ มีเท้าทั้งสองเปื้อน</PRE>
    โคลน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่สมณะ</PRE>
    ท่านได้เห็นโคทั้งหลายบ้างไหม ฯ</PRE>
    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า แน่ะมารผู้มีบาป ท่านจะต้องการอะไรด้วย</PRE>
    โคทั้งหลายเล่า ฯ</PRE>
    มารกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ จักษุเป็นของเราแท้ รูปก็เป็นของเรา</PRE>
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแก่จักษุสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น</PRE>
    ข้าแต่สมณะ โสตเป็นของเรา เสียงเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่</PRE>
    โสตสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ จมูกเป็นของเรา</PRE>
    กลิ่นเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ก็เป็นของเรา ท่านจะ</PRE>
    หนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ ลิ้นเป็นของเรา รสเป็นของเรา อายตนะคือ</PRE>
    วิญญาณอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่</PRE>
    สมณะ กายเป็นของเรา โผฏฐัพพะเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กาย</PRE>
    สัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ข้าแต่สมณะ ใจเป็นของเรา</PRE>
    ธรรมารมณ์เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็นของเรา</PRE>
    ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ฯ</PRE>
    ๔๗๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมารผู้มีบาป จักษุเป็นของท่าน</PRE>
    รูปเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุสัมผัสก็เป็นของท่านแท้ ดูกร</PRE>
    มารผู้มีบาป แต่ในที่ใด ไม่มีจักษุ ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุ</PRE>
    สัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน โสตเป็นของท่าน เสียงเป็นของท่าน</PRE>
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัสก็เป็นของท่าน แต่ในที่ใด ไม่มีโสต ไม่</PRE>
    มีเสียง ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของ</PRE>
    ท่าน จมูกเป็นของท่าน กลิ่นเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆาน</PRE>
    สัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ ลิ้นเป็นของท่าน รสเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณ</PRE>
    อันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ กายเป็นของท่าน โผฏฐัพพะเป็นของท่าน</PRE>
    อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กายสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ ใจเป็นของท่าน</PRE>
    ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็น</PRE>
    ของท่าน แต่ในที่ใด ไม่มีใจ ไม่มีธรรมารมณ์ ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่</PRE>
    มโนสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน ฯ</PRE>
    ๔๗๓] มารกราบทูลว่า</PRE>
    ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า นี้ของเรา และกล่าวว่า นี้เป็นเรา</PRE>
    ถ้าใจของท่านมีอยู่ในสิ่งนั้น ข้าแต่สมณะ ท่านก็จะไม่พ้นเราไปได้ ฯ</PRE>
    [๔๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้น</PRE>
    ไม่มีแก่เรา ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา ดูกรมารผู้มีบาป ท่านจงรู้</PRE>
    อย่างนี้ ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา ฯ</PRE>
    ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา</PRE>
    พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ</PRE>
    สรุปเป็นภาษาง่ายๆ ก็คือ ตราบใดที่มนุษย์ก็ดี เทพก็ดี รับรู้ “โลก” ผ่าน “ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ” และปรุงแต่งว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้นเป็น “ตัวกู ของกู” เข้าไปผสมโรง ตราบนั้นมนุษย์ก็ดี เทพก็ดี ยังเสี่ยงต่อการรุกรานของมารทั้งสิ้น กิเลสจึงเปรียบเสมือนประตูมิติของภพภูมิต่างๆ ที่เปิดช่องให้มารเข้าแทรกแซงหรือเดินทางได้ทั่วทั้งจักรวาล
    ระวังจะกลายเป็นมารซะเอง

    [​IMG]หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เรียกคนที่มีจิตฝักใฝ่ในทางอกุศลว่า ไม่พ้นวิสัยของมาร หรือบางคนไม่รู้ตัวเองว่ากำลังยินดีหรือดื่มด่ำกับอารมณ์ที่เป็นมาร ผู้ที่ยินดีในวิสัยมารถือว่ากำลังเสี่ยงต่อการก้าวเข้าสู่วิถีมาร แต่คนโดยทั่วไปที่มี วิสัยของมารบางครั้งก็รู้ตัวเองหรือบางครั้งก็ไม่รู้ตัวเองว่ากำลังจะกลายเป็นมาร
    คนที่อยากรวย อยากมีอำนาจบงการใครต่อใคร อยากยิ่งใหญ่ มีข้าทาสบริวาร มีเกียรติยศ สิ่งเหล่านี้คือ โลกธรรม ที่ผูกมนุษย์ เทวดา พรหม ให้ติดอยู่ใน บ่วงมารจนดิ้นไม่หลุดจากสังสารวัฏ นี่คือบันไดขั้นแรกที่ทำให้มนุษย์หรือเทวดาค่อยๆ แยกห่างจากธรรมะซึ่งเป็นภูมิคุ้มกัน
    หรือแม้แต่คนที่หันมาปฎิบัติธรรม มีความสุขความพอใจขั้นละเอียดมากขึ้น ซึ่งการที่คนเหล่านี้พยายามปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์นั้น ในแง่หนึ่งพวกเขากำลังท้าทายอำนาจของมารอย่างรุนแรง ทั้งมารที่เป็น กิเลสและ เทวบุตรมาร
    หลายคนจึงโดนกิเลสที่ละเอียดเล่นงานทั้งแบบรู้ตัวและแบบไม่รู้ตัวนั้น กรณีนี้อาจกล่าวได้ว่าจิตใจของเขายังเสพติดอยู่ใน วิสัยของมาร เมล็ดพันธุ์แห่งความชั่วร้ายอันยิ่งใหญ่ หลุมพรางที่ดักสรรพสัตว์บนเส้นทางจิตวิญญาณ ส่งผลให้กลายเป็นมารในที่สุด ถึงตรงนี้คงจะเห็นแล้วว่า มารนั้นมีฤทธิ์มากเพียงใด เพราะแม้แต่ธุลีกิเลสเพียงน้อยนิด หากไม่รู้เท่าทันก็สามารถครอบงำชีวิตของเราได้ในท้ายที่สุด…….
    **********************จบเทวปุตมาร*************************
    เทวปุตมาร : มารคือเทวบุตร | Dhammatan.net
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    แถม แถม ลักษณะของเทวบุตรมาร :cool:





    เกร็ดธรรม

    หลวงปู่พุธ ฐานิโย

    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


    ข้อ ๔ คำว่าเทวบุตรมารเป็นอย่างไร ?

    มีบางท่านว่าเป็นเทวดาที่คอยแกล้งผู้ที่ทำความดีจริงหรือไม่ ?

    เอ่อใครจะว่ากันโดยบุคคลาธิฐานแล้วก็

    เทวบุตรมารก็หมายถึง เทวดาที่คอยมาหลอกหลอน
    เอาในปัจจุบันนี้แหล่ะ เทวบุตรมารเนี๊ยะมีเยอะ

    เช่น อย่างนักภาวนาไปแล้วพอจิตจะเข้าที่ รวมเป็นสมาธิที่ถูกต้องแล้ว

    ประเดี๋ยวก็มีพระบ้างล่ะ

    มีผู้ยิ่งใหญ่บ้างล่ะ

    มีเจ้านี่ เจ้าโน้นบ้างละ เป็น วิญญาณมาบอก

    การทำอย่างนั้น ไม่ถูกไม่ถูกไม่ถูก อย่าทำเลย อะไรทำนองเนี๊ยะ

    อันนี่แหล่ะคือเทวบุตรมาร


    ที่นี้ ถ้าจะว่า

    โดยกิเลส ที่มันมีอยู่ในตัวของเราเนี๊ยะ
    เช่นเราตั้งใจว่า จะทำสมาธิภาวนาในวันนี้แหล่ะ
    อ้าวพอทำไปทำไปพอจะได้สะบาย
    แล้วความคิดอันหนึ่งมันเกิดขึ้นมาว่า อึ้ย หยุดดีกว่า
    ไม่ต้องทำ อะไรทำนองนี่

    หมายถึงความคิดที่คอยกระตุ้นเตือน ให้เราหยุดพักการกระทำนั้น
    ในลักษณะ แห่งความขี้เกียจท้อแท้ เป็นเรื่องของเทวบุตรมาร
    <!-- google_ad_section_end -->

     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เรื่องราวของพญามาร

    มาร 5 และคัมภีร์ปราบมาร (ตอนที่6)

    เรื่องราวของพญามาร

    [​IMG](ที่มา : พระพุทธประวัติ เรียบเรียงโดย อ.สุรีย์ มีผลกิจ และ มารมีจริง เรียบเรียงโดย เธียรนันท์ และเวบไซต์ palungjit.org)

    พญาวสวัตตีมาร หรือ พญามาร นั้น ก่อนที่จะมาเสวยชาติเกิดเป็นพญามาร ครั้งหนึ่งได้เกิดเป็นมนุษย์ และได้มีชีวิตอยู่ในสมัยพุทธกาลของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ พญามารผู้นี้ได้เกิดเป็นมนุษย์มีนามว่า โพธิอำมาตย์ เป็นถึงอัครเสนาบดีของพระเจ้ากิงกิสสะมหาราช ผู้ที่มีพระทัยเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมาก
    วันหนึ่งทรงทราบว่า พระพุทธเจ้าได้เข้านิโรธสมาบัติ ซึ่งผู้ที่ได้ถวายทานเป็นคนแรกหลังจากพุทธเจ้าออกจากนิโรธสมาบัติ จะเป็นบุญมหาศาลยิ่งนัก ถึงขั้นขออะไรก็จะสำเร็จดังนั้นทุกประการทีเดียว พระเจ้ากิงกิสสะจึงประกาศห้ามผู้ใดไปถวายทานก่อนพระองค์เป็นอันขาด ใครฝ่าฝืนจะประหารชีวิตในทันที
    โพธิอำมาตย์ แม้จะทราบคำสั่งของเหนือหัว แต่ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะถวายทาน ถึงกับไม่กลัวตาย รุ่งขึ้นจึงได้ชวนภรรยาพร้อมด้วยเครื่องไทยทานรวม 2 ห่อ ตรงไปยังบริเวณต้นไทรใหญ่ที่พระพุทธเจ้าทรงเข้านิโรธสมาบัติอยู่ ทหารรักษาการณ์เห็นดังนั้น จึงตรงเข้าขัดขวาง แต่โพธิอำมาตย์ได้ตั้งใจไว้แล้วว่าจะถวายทานให้ได้ ที่จริงจะบอกไปก็ได้ว่าเหนือหัวให้มาอาราธนาเข้าไปในวัง แต่ไม่ควรจะโกหกเช่นนั้น จึงได้บอกความจริงไปแม้จะต้องถูกประหารก็ไม่กลัว เช่นนั้นแล้วจึงได้ถูกทหารจับตัวไป เมื่อพระเจ้ากิงกิสสะได้ทราบข่าวว่าเสนาบดีของตนเองได้ละเมิดคำสั่งเสียเอง จึงพิโรธเป็นอันมาก จึงได้สั่งประหารทันที
    ฝ่ายพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่าโพธิอำมาตย์ได้มีศรัทธาแรงกล้าจะถวายทาน แม้จะถูกประหารก็ไม่กลัว จึงทรงกรุณาแก่เสนาบดีมาก จึงเนรมิตพุทธนิมิตให้สถิตย์แทนพระองค์ แล้วไปปรากฎตัวแก่โพธิอำมาตย์ โดยให้เห็นเฉพาะโพธิอำมาตย์เท่านั้น แล้วได้กล่าวว่า
    “ดูก่อนโพธิอำมาตย์ ท่านทำถูกแล้ว จงมีศรัทธามั่นเถิด อย่าอาลัยในชีวิต ไทยทานของท่านอยู่ที่ไหน จงถวายเราเถิด”
    เสนาบดี ผู้น่าสงสาร เมื่อได้ฟังคำตรัสของพุทธเจ้าแล้ว ได้เกิดความเลื่อมใสอย่างสุดใจ รีบนำเครื่องไทยทานของตนและภรรยามาถวายด้วยความศรัทธาอย่างที่สุด และได้ตั้งความปรารถนาแทบพระบาทเอาไว้ว่า


    “ด้วยอำนาจแห่งผลทานครั้งนี้ ขอจงเป็นปัจจัยให้ข้าพระองค์ได้เป็นพุทธเจ้าเช่นเดียวกับพระองค์ในอนาคตกาลโน้นเถิด”

    พระกัสสปะพุทธเจ้าได้ยกพระหัตถ์ลูบศีรษะของโพธิ์อำมาตย์และได้กล่าวพยากรณ์ว่า
    “ท่านปรารถนาสิ่งใด ขอสิ่งนั้นจงสำเร็จเถิด ท่านจะได้อุบัติเป็นพุทธเจ้าในอนาคตในอนาคตเบื้องหน้าโน้น”








    หลังจากนั้น เสนาบดีก็ถูกประหารชีวิต แล้วไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต และจุติจากดุสิตสวรรค์ลงมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎมาช้านาน จนถูกมิจฉาทิฏฐิเข้าครอบงำในระหว่างบำเพ็ญเพียร จนล่าสุดได้ไปเกิดเป็นพญามาร เนื่องจากมีจิตริษยาในพระพุทธโคดม คือ พุทธเจ้าของเรา ที่จะมาตรัสรู้ก่อนตน จึงได้ตามเฝ้าประจัญขัดขวางต่างๆ พญามารเคยพบเจอและขัดขวางพระพุทธเจ้ามาแล้วในอดีตระหว่างที่กำลังสร้างบารมี ในช่วงที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ จนถึงขั้นเคยคิดฆ่าพระโพธิสัตว์ เลยทีเดียว(แต่ไม่สำเร็จ)
    พญามารขัดขวางการออกผนวช
    [​IMG]ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์ตัดสินใจออกผนวช พญามารได้ออกมาขวางทาง พร้อมกล่าวกับพระโพธิสัตว์ว่า นับแต่นี้ 7 วัน จักรรัตนะทิพย์จะปรากฏแก่ท่าน ท่านจักได้ครอบครองราชสมบัติแห่งทวีปใหญ่ทั้ง 4 มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร ขอท่านจงกลับไปเสียเถิด พระโพธิสัตว์ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร มารตอบว่า เราคือ วสวัตตีมาร พระโพธิสัตว์ตรัสว่า เราทราบว่าจักรรัตนะจะปรากฏแก่เรา แต่เราไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ เราจักเป็นพระพุทธเจ้า ไปเสียเถิดมาร มารนั้นกล่าวว่า นับแต่บัดนี้เป็นต้นไปเราจักคอยแสวงหาโอกาส และจักติดตามพระองค์ไปดุจเงาฉะนั้น……
    พญามารขัดขวางการตรัสรู้
    [​IMG]ต่อมาเมื่อถึงวันเพ็ญวิสาขมาส เมื่อพระโพธิสัตว์ตั้งสัจจะยอมพลีชีพเพื่อบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ณ โพธิบัลลังก์ ณ เวลานั้น เทวดาจากทุกจักรวาล ได้ยืนสดุดีพระโพธิสัตว์ ท้าวมหาพรหมกั้นเศวตฉัตร ท้าวสักกเทวราชเป่าสังข์วิชยุตร (สังข์นี้เมื่อเป่าให้กินลมไว้คราวเดียว จะมีเสียงดังอยู่ตลอดถึง 4 เดือน) คนธรรพ์เทพบุตรชื่อปัญจสิขะ ดีดพิณขับลำนำอันประกอบด้วยมงคล ท้าวสุยามเทวราชถือวาลวิชนีถวายงานพัด พญามหากาฬนาคราชอันมีนาคฟ้อนรำแวดล้อม พรรณนาพระคุณเกินกว่าร้อยบท ปวงเทพทุกจักรวาลบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยดอกไม้ ของหอม และจุรณอันเป็นทิพย์ พากันยืนถวายสาธุการอยู่
    ฝ่ายพญามารที่เฝ้าดูอยู่ตลอด คิดว่า สิทธัตถะนี้ประสงค์จะก้าวล่วงอำนาจของเรา เราจักไม่ให้สิทธัตถะล่วงพ้นไปได้ จึงยกพลมารออกมา สั่งให้พลมารล้อมพระโพธิสัตว์ไว้ทั้ง 4 ด้าน ข้างหน้าและข้างหลังมีระยะทางยาวด้านละ 12 โยชน์ ข้างซ้ายและข้างขวาด้านละ 9 โยชน์ ซึ่งเมื่อเสียงโห่ร้องนั้นบันลือขึ้น จะได้ยินเสียงเหมือนแผ่นดินทรุด
    เมื่อพลมารเข้าไปใกล้โพธิมณฑล บรรดาเทพทั้งหลายแม้แต่สักองค์ก็ไม่อาจยืนอยู่ ณ ที่นั้นได้ พากันหนีไปทันที ท้าวสักกเทวราชลากวิชยุตรสังข์ไปยืนที่ขอบจักรวาล ท้าวมหาพรหมจับยอดเศวตฉัตรเสด็จไปยังพรหมโลกทันที แม้พญากาฬนาคราชก็ดำดินไปยังเชริกนาคภพ เหลือแต่พระโพธิสัตว์ประทับนั่งอยู่บนบัลลังก์เพียงพระองค์เดียว
    พญามารคิดจะทำให้พระโพธิสัตว์ตกใจกลัวแล้วเสด็จหนีไปจึงแสดงฤทธ์ทั้ง 9 คือ โจมตีด้วย ลม ฝน ก้อนหิน เครื่องประหาร ถ่านไฟ เถ้ารึง ทราย โคลน และความมืด แต่พระโพธิสัตว์ก็เอาชนะการจู่โจมทั้งหมดได้ด้วยการระลึกถึงบารมี 10 ที่ได้สั่งสมมา
    เมื่อไม่สามารถเอาชนะได้ พญามารจึงโกรธมาก บังคับหมู่มารว่า พวกเจ้าจะหยุดอยู่ไย จงทำสิทธัตถะให้ไม่เป็นสิทธัตถะ จงทำให้สิทธัตถะหนีไป ส่วนตัวเองนั่งอยู่บนคอช้างคิรีเมขล์ ถือจักราวุธเข้าไปใกล้พระโพธิสัตว์ แล้วกล่าวว่า สิทธัตถะ ท่านจงลุกขึ้นจากบัลลังก์ บัลลังก์นี้ไม่ควรแก่ท่าน บัลลังก์นี้ควรแก่เรา
    พระโพธิสัตว์ ได้ฟังคำของพญามารแล้ว ตรัสว่า ดูกรมาร ท่านไม่ได้บำเพ็ญบารมี 10 ไม่ได้บริจาคมหาบริจาค 5 (ได้แก่ การบริจาคร่างกาย บริจาคดวงตา บริจาคทรัพย์ การสละราชสมบัติและการบริจาคบุตรภรรยา) ไม่ได้บำเพ็ญโลกัตถจริยา ญาตัตถจริยา และพุทธัตถจริยา ทั้งหมดนั้นเราได้บำเพ็ญมาแล้ว ดังนั้นบัลลังก์นี้จึงไม่ควรแก่ท่าน บัลลังก์นี้ควรแก่เราเท่านั้น
    พญามารอดกลั้นกำลังแห่งความโกรธไว้ไม่ได้ จึงขว้างจักราวุธใส่พระโพธิสัตว์ เมื่อพระโพธิสัตว์ทรงรำพึงถึงบารมี 10 จักราวุธนั้นได้กลายเป็นเพดานดอกไม้ เหล่ามารจึงพากันกลิ้งก้อนหินใหญ่ให้กลิ้งมา ด้วยคิดว่าให้พระโพธิสัตว์หนีไป แต่ก้อนหินเหล่านั้นก็กลายเป็นกลุ่มดอกไม้ ตกลงยังพื้นดิน
    พระโพธิสัตว์ตรัสว่า บัลลังก์นี้เป็นบัลลังก์ที่ตรัสรู้ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ดังนั้นย่อมถึงแก่เรา มาร ท่านบำเพ็ญบารมีเพื่อบัลลังก์นี้มาแต่ครั้งไร ในภาวะที่ท่านได้ให้ทาน ใครเป็นสักขีพยานของท่าน พญามารเหยียดมือออกไปตรงหน้าหมู่มาร กล่าวว่า เหล่ามารมีประมาณเท่านี้เป็นสักขีพยานของเรา ขณะนั้นพลมารส่งเสียงอื้ออึงว่า เราเป็นสักขีพยานๆ
    พญามารถามกลับบ้างว่า สิทธัตถะในภาวะที่ท่านให้ทานไว้แล้ว ผู้ใดเป็นสักขีพยาน พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ในที่นี้เราไม่มีผู้ใดที่มีจิตใจจะเป็นสักขีพยานให้ได้ ทานที่เราให้แล้วในอัตภาพอื่นๆ จงยกไว้ เอาเพียงในภาวะที่เราดำรงอยู่ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร แล้วได้ให้ สัตสดกมหาทาน (คือให้สิ่งของอย่างละร้อยรวม 7 อย่าง) มหาปฐพีอันหนาทึบนี้ แม้จะไม่มีจิตใจก็เป็นสักขีพยานแก่เราได้
    พระโพธิสัตว์ทรงเหยียดพระหัตถ์ขวา ชี้ลงพื้นมหาปฐพี ทันใดนั้น มหาปฐพีอันกว้างใหญ่ก็บันลือเสียงสนั่นหวั่นไหว ประหนึ่งจะท่วมทับพลมาร ว่า เราเป็นสักขีพยานให้แก่ท่าน ๆ
    (ปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าวว่า นางพระธรณีมิอาจนิ่งอยู่ได้เมื่อถูกพระโพธิสัตว์อ้างเป็นพยาน จึงได้บันดาลเป็นรูปนารีผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์ ร้องประกาศว่า ข้าแต่พระมหาบุรุษ ข้าพระองค์ทราบอยู่ซึ่งบุญที่พระองค์สั่งสมมาตั้งแต่ต้น ด้วยว่าทักษิโณทกที่พระองค์หลั่งลงเหนือพื้นปฐพีนั้น ได้ตกลงมาชุ่มอยู่ในมวยผมของข้าพระองค์มากมายประมาณมิได้ ข้าพระองค์จะได้บิดน้ำในมวยผมให้ไหลออกมาประจักษ์ ณ บัดนี้ ว่าแล้วก็บิดน้ำจากมวยผมให้ไหลออกมา น้ำนั้นมากมายไหลท่วมท้นเสนามารทั้งหลายให้ลอยไป)
    ขณะที่พระโพธิสัตว์กำลังพิจารณาถึงทาน ที่ถวายในอัตภาพพระเวสสันดร ช้างคีรีเมขล์ ก็ทรุดตัวคู้เข่าลง พญามารที่นั่งบนคอช้างพลัดตกลงมายังพื้นดิน ขณะเดียวกัน อสนีบาตก็ฟาดเปรี้ยงลงมา มหาเมฆก็ร้องครืนครั่นปานภูเขาจะถล่มทลาย มหาสาครก็ปั่นป่วนกัมปนาท ทั่วจักรวาลเกิดโกลาหลสะท้านสะเทือน หมู่มารทั้งหลายตื่นตระหนกตกใจต่างพากันทิ้งศัสตราวุธหนีหายไปจนหมดสิ้น
    พญามารเห็นเช่นนั้นก็ให้อัศจรรย์ใจ ด้วยความครั่นคร้ามในพระเดชานุภาพของพระโพธิสัตว์ หนีกลับไปยังปรนิมมิตวสวัตตี ประนมมือนมัสการ กล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ว่า
    บุคคลในโลกและเทวโลก ที่จะเสมอด้วยพระองค์ไม่มี
    พระองค์จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    จักขนสัตว์ผู้ชาญฉลาดให้ข้ามพ้นวัฏฏสงสาร
    บรรลุพระนิพพาน ในครั้งนี้แน่นอน
    (ปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส มารวิชัยปริวัตต์ กล่าวว่า ด้วยอำนาจการกล่าวสรรเสริญคุณพระโพธิสัตว์ในครั้งนี้ พญามารจักได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณในกาลภายหน้า)
    พระโพธิสัตว์ทรงเอาชนะพญามาร และเสนามาร ด้วยอำนาจบารมี 10 ประการ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และ อุเบกขาบารมี ที่ได้ทรงบำเพ็ญมาเป็นเวลายาวนานถึง 4 อสงไขยกับอีกแสนกัป ตั้งแต่ยังไม่ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ด้วยประการฉะนี้…
    พญามารทูลขอให้ปรินิพพาน
    [​IMG]พญามารได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ปรินิพพาน 2 ครั้ง ครั้งแรก หลังจากที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ พระพุทธองค์ตรัสว่า ดูกรมาร ตราบใดที่บริษัท 4 อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ซึ่งเป็นสาวกสาวิกาของเรายังไม่เป็นผู้ฉลาด เป็นพหูสูต ยังไม่สามารถจำแนกธรรมที่สุขุมลุ่มลึกให้แจ่มแจ้ง และสามารถแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ (คำสอนที่เห็นผลได้จริง) ข่มปรับวาท (คำโต้แย้งของลัทธิอื่น) ที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยได้โดยสหธรรม ตราบนั้น เราจักยังไม่ปรินิพพาน
    มารได้ยินดังนั้นก็อันตรธานไปในทันที
    ครั้งที่สอง ในพรรษาที่ 45 ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่เมืองเวสาลี ได้ทรงตรัสกับพระอานนท์ถึงอานุภาพของอิทธิบาทสี่ ความว่า “อานนท์ ผู้หนึ่งผู้ใดเจริญอิทธิบาท 4 เป็นนิตย์ ผู้นั้นเมื่อปรารถนาก็จักพึงดำรงชีพอยู่ได้ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป แม้ตถาคตก็เช่นกัน” (คำว่า กัป ในความหมายนี้ท่านกล่าวว่าหมายถึง ชั่วอายุของมนุษย์ในแต่ละยุค หรือ ประมาณ 100 ปี)
    พระบรมศาสดาตรัสย้ำความนี้ถึง 3 ครั้ง พระอานนท์มิได้เฉลียวใจ มิได้กราบทูลอาราธนา เมื่อพระอานนท์หลีกไป พญามารได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์แล้วกล่าวว่า บัดนี้ บริษัท 4 เหล่านั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนทุกประการ ตามพระประสงค์ของพระองค์แล้ว ข้าพระองค์จึงมาทูลขอให้ปรินิพพาน ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพานเถิด พระพุทธองค์จึงตรัสว่า มารผู้มีบาป ท่านจงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด จากนี้ล่วงไป 3 เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน…….
    พระอุปคุตปราบพญามาร
    [​IMG]ต่อมา หลังจากพระพุทธเจ้าของเราปรินิพพานได้ 200 ปีเศษๆ พระเจ้าธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกมหาราช) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป ทรงมีศรัทธาอุตสาหะ สร้างพระสถูปเจดีย์ถึงแปดหมื่นสี่พันองค์ เพื่อเป็นการบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และยังปรารถนาจะทำการฉลองใหญ่ มีกำหนดถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ให้สมกับความตั้งใจของพระองค์ที่มีมานาน และการฉลองใหญ่ครั้งนี้ พระองค์เกรงว่าจะถูกรบกวนจากพญามาร ผู้มีอิทธิฤทธิ์สูงส่งนักและมีจิตริษยา พระเจ้าธรรมาโศกราชจึงได้อาราธนาภิกษุสงฆ์เพื่อให้ช่วยป้องกันภัยจากพญามารนี้ แต่เหล่าสงฆ์ทั้งหลายในสังฆมณฑลรู้ตัวดีว่าไม่อาจสู้ฤทธิ์ของพญามารนี้ได้ แต่มีพระภิกษุรูปหนึ่งจำพุทธพยากรณ์ได้ว่า ในอนาคตจะมีภิกษุนามว่า “อุปคุตตเถระ” สามารถกำราบพญามารให้หายพยศ พร้อมทั้งตักเตือนให้พญามารระลึกถึงความปรารถนาในพุทธภูมิได้
    กล่าวกันว่า พระอุปคุตตเถระ ผู้นี้ มีปกติสันโดษอยู่องค์เดียว ชอบแผลงฤทธิ์ลงไปในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ และเนรมิตปราสาทล้วนด้วยแก้ว 7 ประการ ประดิษฐานอยู่ในท้องมหาสมุทร นั่งเหนือรัตนบัลลังก์ เข้าฌานสมาบัติเสวยวิมุติสุขอยู่ลำพัง เป็นเวลาหลายวัน จนวันพุธเพ็ญกลางเดือน จึงออกจากสมาบัติ เหาะขึ้นมาบิณฑบาต บนโลกมนุษย์ครั้งหนึ่ง แล้วจึงกลับลงไปเข้าฌาน เป็นแบบนี้ตลอดเวลา
    และในครั้งนี้นี่เอง พระอุปคุตตเถระ ได้ถูกภิกษุ 2 รูป ผู้ได้อภิญญาชำแรกมหาสมุทรลงมาแจ้งโทษแก่ท่าน ว่าไม่มีสังฆกรรมร่วมกับสงฆ์ กลับมาหาความสบายแต่ผู้เดียว บัดนี้คำสั่งจากสงฆ์นำมาถึงท่าน ให้ท่านเป็นธุระป้องกันพญามาร อย่าให้ได้รบกวนงานฉลองของพระเจ้าธรรมาโศกราชได้ พระเถระน้อมรับคำสั่งโดยมิได้โต้แย้งใดๆ
    วันเปิดงานมาถึง พระเจ้าธรรมาโศกราชได้เข้าสู่บริเวณงาน พร้อมด้วยคณะสงฆ์มากมาย ขณะนั้นนั่นเอง พญามารผู้มีใจริษยา อดใจไม่ไหว จึงลงมาจากปรนิมมิตวสวัตตี บันดาลให้เกิดพายุใหญ่พัดกระหน่ำ หวังจะทำลายงานดับประทีปบูชาที่จุดสว่างไสว ฝ่ายพระอุปคุตตเถระซึ่งได้คอยระวังอยู่แล้ว จึงบันดาลให้พายุนั้นอันตรธานหายไป
    พญามารโมโหโกรธายิ่งขึ้น และรู้ได้ด้วยฤทธิ์ว่าพระรูปนี้นั่นเอง ที่เป็นผู้ต่อกร จึงเปลี่ยนแผน แปลงร่างเป็นวัวกระทิงตัวใหญ่ยักษ์ เขาโง้งแหลมคมราวกับหอก วิ่งพุ่งออกมาจากพุ่มไม้ หวังจะทำลายโรงพิธีให้แหลกไป พระเถระเห็นเช่นนั้น ก็ไม่รอช้า แปลงกายเป็นเสือลายพาดกลอนตัวใหญ่ ตรงเข้าตะลุมบอน ต่อสู้กันอย่างดุเดือด ไม่นานนักวัวกระทิงก็โดนเสือตะปบไปนอนกองแทบจะตายแหล่ แต่ไม่นานก็เปลี่ยนร่างเป็นพญานาค 7 เศียร พ่นไฟใส่เสือโคร่ง หมายจะเอาชีวิต พระเถระเห็นว่าเสียเปรียบจึงแปลงกายเป็นพญาครุฑตัวใหญ่ โดดเข้าจิกหัวพญานาคลากกลิ้งไปอย่างไม่ปราณี เล่นเอาพญานาคร้องโอดโอยและได้เปลี่ยนร่างเป็นยักษ์ใหญ่ นัยน์ตาดุดัน ถือกระบองยักษ์เท่าต้นตาล กวัดแกว่งทุบหัวพญาครุฑโดยไม่รั้งรอ พญาครุฑเห็นเช่นนั้น จึงเปลี่ยนร่างเป็นยักษ์ที่ใหญ่กว่าถึง 2 เท่า ถือกระบองยักษ์ 2 อัน เหวี่ยงเข้าทุบศีรษะพญามารอย่างรุนแรง และรวดเร็วราวกับจักรผัน ยากที่พญามารจะป้องกันได้ ในที่สุดก็กลับร่างและยอมแพ้ไปในที่สุด
    พระเถระเห็นดังนั้น ไม่รอช้า ได้เนรมิตร่างหมาเน่า กลิ่นเหม็นฟุ้งเต็มไปด้วยหนอน และดึงประคตจากเอวของท่าน ออกมาผูกร่างหมาเน่าและเหวี่ยงไปคล้องคอพญามาร พร้อมว่าตั้งสัจจาฤทธิ์ไว้ว่า
    “ไม่ว่าใครก็ตาม ย่อมไม่อาจเอาหมาเน่าออกจากคอพญามารได้”
    จากนั้นก็ขับไล่พญามารให้ออกไปจากพื้นที่นั้น

    พญามารผู้เลิศฤทธิ์ พอถูกหมาเน่าคล้องคอก็พาลหมดฤทธิ์เอา ไม่อาจทำอะไรได้ จะเอาออกเองก็มิได้ ได้แต่ไปวอนขอให้เพื่อนเทวดา ตั้งแต่เทวกษัตริย์สวรรค์ชั้นที่ 1 – 6 ให้ช่วยเอาออกให้ ก็ไม่มีใครเอาออกได้ ได้แต่แนะนำว่า ให้ไปขอขมากับพระเถระดีกว่า ให้ท่านช่วยแก้ให้ พญามารไม่มีทางเลือก ได้แต่จำใจกลับไปหาพระอุปคุตตเถระ เพื่อขอขมาและบอกให้ท่านช่วยเอาออกให้ พระเถระยินดีเอาออกให้ แต่ก่อนอื่น อยากให้ตามมาทางนี้ก่อน พระเถระได้นำพญามารมายังภูเขาใหญ่ลูกหนึ่ง แล้วหยิบเอาหมาเน่าออกและโยนทิ้งไปในเหว พร้อมกันนั้น ก็เนรมิตประคตนั้นให้ยาวขึ้น และพันรอบตัวพญามารไว้กับภูเขา แล้วกล่าวว่า

    “ท่านจงอยู่ที่นี่ จนกว่าพระเจ้าธรรมาโศกราชจะทำพิธีฉลองสถูปเจดีย์ครบ 7 ปี 7 เดือน 7 วันให้เสร็จสิ้นไปก่อน”

    กล่าวจบก็เดินไปโดยไม่เหลียวหลังกลับมามอง
    พญามารได้รับทุกขเวทนาอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน จนเมื่อครบกำหนด พระเถระได้กลับมาเพื่อจะปลดปล่อยพญามาร แต่ได้เดินมาแอบดูก่อน พญามารเป็นอย่างไรบ้าง พญามารเอง ก่อนเคยมีวิมาน มีสุข เมื่อมารับทุกขเวทนาเช่นนี้จึงละพยศในสันดาน และนึกถึงพระพุทธโคดมและกล่าวออกมาว่า

    “เมื่อพระองค์สถิตย์ใต้ต้นมหาโพธิ์ ข้าพระองค์ขว้างจักราวุธอันคมกล้าไป หมายจะปลิดชีพพระองค์ แต่จักรนั้นกลับกลายเป็นดอกไม้บูชาพระองค์ และไม่ว่าจะขว้างอาวุธอะไรไป ก็กลายเป็นดอกไม้ไปเสียหมด คราวนั้นข้าพ่ายแก่พระองค์ แต่พระองค์ก็ไม่ได้โต้ตอบอันใด บัดนี้สาวกของพระองค์มีจิตใจเหี้ยมโหดทำร้ายข้า ทำให้ข้าพระองค์ได้รับทุกข์สาหัสเหลือเกิน”

    คิดแล้วก็เศร้าโศกและโมโห เอาบาทกระทืบพื้นดังลั่น แต่แล้วก็หวนคิดถึงพุทธภูมิที่เคยตั้งใจไว้ที่แทบพระบาทพระกัสสปะพุทธเจ้า ในที่สุดพญามารก็สำนึกได้ จึงลดละความริษยา ตั้งใจอยู่ในคุณธรรม เพื่อที่จะเป็นพระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งแก่สัตว์ทั้งหลายในอนาคต
    ครั้นกล่าวจบ พระเถระได้แสดงตนออกมา และแก้มัดให้กับพญามาร
    “ดูก่อนพญามาร ขอท่านยกโทษให้ข้าด้วย แม้การกระทำของข้าครั้งนี้จะทำร้ายท่าน แต่ก็ทำให้ท่านระลึกถึงพุทธภูมิที่ท่านเคยตั้งใจปรารถนาไว้”
    ต่อจากนั้น พระเถระได้ขอให้พญามารได้แปลงกายเป็นพุทธองค์ เพื่อจะได้เห็นพุทธานุสติบ้าง พญามารรับคำ แต่บอกว่า ห้ามลืมตัวกราบไหว้เด็ดขาด มิฉะนั้นตนจะบาปหนัก

    ครั้นแล้ว พญามารก็เนรมิตตนเป็นพุทธเจ้า ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ และฉัพพรรณรังสีอันวิจิตร มีพระอัครสาวกเบื้องซ้ายขวา แวดล้อมด้วยมหาสาวกทั้งหลายเป็นบริวารเสด็จเยื้องย่างด้วยพุทธลีลางดงามยิ่งนัก
    พระเถระและพุทธบริษัทเห็นเช่นนั้น ก็เกิดความปิติอย่างสูงยิ่ง เกิดปิติลืมตัวพร้อมกันนมัสการด้วยเบญจางคประดิษฐ์ทั้งสิ้น ทำให้พญามารตกใจกลับร่างเดิม
    “ทำไมท่านลืมสัญญามากราบไหว้ข้าเล่า”
    “พวกเรามิได้ไหว้ท่านหรอก เพียงแต่กราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้าและพระสาวกต่างหาก”
    “แต่ข้าก็บาปนะท่าน”
    “ไม่บาปหรอก ท่านได้ทำกุศลแก่พวกเราต่างหาก”

    จากนั้น พญามารก็กลับคืนสู่สวรรค์ และตั้งแต่นั้นมา พญามารก็มีจิตเลื่อมใสในพุทธศาสนามาตลอด และบำเพ็ญตนเพื่อจะได้มาตรัสรู้เป็นพุทธเจ้าในอนาคตต่อไป… พญามารจะมาบังเกิดเป็นพุทธเจ้ามีพระนามว่า “พระพุทธธรรมสามี” เป็นพุทธเจ้าองค์เดียวในกัลป์นั้น ต่อไปในอนาคตอันไกลโพ้น
    ตอนที่พญามารขัดขวางพระพุทธเจ้า ท่านบำเพ็ญบารมี มา8อสงไขย
    เหลืออีก 8 อสงไขยจึงจะครบตามที่ปรารถนา


    เรื่องราวของพญามาร | Dhammatan.net
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิธีเอาชนะมารทั้ง 5

    มาร 5 และคัมภีร์ปราบมาร (ตอนจบ)

    คัมภีร์ปราบมาร

    >>>อ่านตอนที่ 1

    [​IMG]จากที่กล่าวในแต่ละเรื่องข้างต้น ผู้เขียนก็ได้สอดแทรกวิธีต่อสู้กับมารแต่ละประเภทไปบ้างแล้ว ซึ่งมารแต่ละแบบก็ต้องใช้เทคนิคต่างๆ เข้าสู้ เช่น
    - เทวบุตรมาร อาจใช้การแผ่เมตตาให้ท่าน เพื่อป้องกันไม่ให้มารดลใจเราได้ (อย่างพระพุทธองค์ทรงระลึกถึงบารมี 10 ที่ได้บำเพ็ญมา สามารถเอาชนะเหล่ามารได้ แต่บารมีระดับผู้เขียน ก็ไม่รู้จะเป็นยังไง แต่ผู้เขียนคิดว่าหากเรานึกถึงบารมีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็น่าจะสู้กับมารได้ อย่างมากก็แค่ตาย แต่หากเขาจะฆ่าเราตายจริง ก็ขอตั้งใจไปอยู่กับพระพุทธองค์ละกันครับ)
    - กิเลสมารประเภทปรามาสพระรัตนตรัย ต้องใช้การขอขมาพระรัตนตรัยบ่อยๆ เข้าสู้
    - กิเลสมารประเภทอนุสัย อันหมายถึง กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน ได้แก่ กามราคะ (ความกำหนัดในกาม), ปฏิฆะ (ความขัดใจ, ความหงุดหงิดขัดเคืองคือโทสะ), ทิฏฐิ (ความเห็นผิด), วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย), มานะ (ความถือตัว), ภวราคะ(ความกำหนัดในภพ), อวิชชา (ความไม่รู้จริง คือ โมหะ)
    เช่น การที่เรามีความคิดที่เป็นอกุศลผุดขึ้นมา ทั้งที่ไม่เคยมีในความคิดมาก่อนเลย หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ท่านแนะนำว่า ให้รู้เท่าทัน และปล่อยวาง อย่าเอาจิตไปยึดจนเศร้าหมอง (เพราะหากตายไปตอนนั้นที่จิตกำลังเศร้าหมอง จะตกนรก) ให้ทำบ่อยๆ ก็จะหายไปเอง
    ท่านอาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร แนะนำว่า ต้องเจริญพละธรรม 5 (ศรัทธา วิริยา สติ สมาธิ ปัญญา) ให้มีกำลังกล้าแข็ง และเมื่อใดความคิดที่เป็นอกุศลผุดขึ้นในจิต ให้ใช้สติและปัญญาที่มีกำลังกล้าแข็ง ตามดูความคิดที่เป็นอกุศลนั้น เวียนเข้าสู่อนัตตาคือความคิดอกุศลไม่มีตัวตนแท้จริง ตามกฎไตรลักษณ์ได้แล้วความคิดเป็นอกุศลจะหมดไปจากใจ
    - กิเลสมารประเภท ความขี้เกียจ (ถีนมิทธะ) หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงพ่อพุธ ฐานิโย แนะนำให้ใช้ “วินัย” เข้าสู้ ดังคำกล่าวของหลวงพ่อพุธ ที่แนะวิธีเอาชนะตนเอง คือ จงมี วินัย แล้วเราจะมีพลังจิตเข้มแข็งขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ดังนี้
    การนอนเป็นเวลา การตื่นเป็นเวลา การรับประทานเป็นเวลา การขับถ่ายเป็นเวลา การอาบน้ำเป็นเวลา ทำอะไรให้ตรงต่อเวลา แล้วก็ให้มีสัจจะไว้ในใจว่า เราจะทำอะไรให้มันจริงใจสักอย่างหนึ่ง ให้เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่ของใจ นี่คือแผนการสร้างพลังจิตพลังใจ การทำอะไรเป็นเวลาตรงไปตรงมา มันเป็นการสร้างสัจจบารมี ถ้าใครมีสัจจะความจริงใจ มีสัจจบารมีใกล้ต่อการตรัสรู้ ถ้าขาดสัจจะความจริงใจแล้ว ยังห่างพระพุทธเจ้า

    และในบทนี้จะขอกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีเอาชนะมาร จากพระไตรปิฎกและที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนมา…..
    วิธีเอาชนะมารทั้ง 5
    พุทธวิธีพิชิตมาร
    มารเธยยสูตร
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารแล้ว ย่อมรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น
    ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑
    เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑
    เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบแล้วด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารแล้ว ย่อมรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ฉะนั้นฯ”
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค สุภสูตรที่ ๓
    “สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ต้นไม้อชปาลนิโครธใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ อุรุเวลาประเทศ ก็โดยสมัยนั้นแลพระผู้มีพระภาคประทับนั่งในที่กลางแจ้งในราตรีอันมืดทึบ และฝนกำลังตกประปรายอยู่ ฯ
    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปใคร่จะให้เกิดความกลัว ความครั่นคร้ามขนลุกขนพองแด่พระผู้มีพระภาคจึงเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วแสดงเพศต่างๆ หลากหลาย ทั้งที่งามทั้งที่ไม่งาม ในที่ไม่ไกลแต่พระผู้มีพระภาค ฯ
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป ดังนี้จึงตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า ท่านจำแลงเพศทั้งที่งามทั้งที่ไม่งาม ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาลอันยืดยาวนาน มารผู้มีบาปเอ๋ย ไม่พอที่ท่านจะทำการจำแลงเพศนั้นเลย ดูกรมารผู้กระทำซึ่งที่สุด ตัวท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียได้แล้ว ฯ
    และชนเหล่าใดสำรวมดีแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา และ ด้วยใจ ชนเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของมาร ชนเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นผู้เดินตามหลัง ฯ
    ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า พระผู้มีพระภาค ทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ”
    นั่นคือ การสำรวมระวังอายตนะ อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ให้พลั้งเผลอกระทำผิดคิดชั่ว ปรุงแต่งฟุ้งซ่านไปตามกิเลสมาร ก็เพียงพอที่จะทำให้เราไม่ตกอยู่ในอำนาจมาร ทำให้เรามีกำลังสติในการต่อสู้กับมารต่อไปได้ เมื่อสำรวมระวังได้แล้วก็ต้องระวัง อย่ายึดมั่นหรือหวงแหนสิ่งที่เกิดจาก “ตัวกู ของกู” ปล่อยวางขันธ์ 5 ว่า “ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา” มันจะปวด จะทุกข์ หรือจะตายก็ช่างมัน เอาจิตของเรามุ่งสู่พระนิพพานเท่านั้น

    ดังพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ ณ พระนครสาวัตถี ความว่า
    [​IMG]“ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ มารเป็นไฉนหนอ?
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เวทนาเป็นมาร สัญญาเป็นมารสังขารเป็นมาร วิญญาณเป็นมาร ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น
    ครั้นหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”

    วิธีเอาชนะมารทั้ง 5 ประเภท | Dhammatan.net
     
  18. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    มีเรื่อง ขันธ์มาร บ้างไหม :cool:
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    แถม แถม ผีลูกน้องมารนิดๆ :cool: :cool:



    เกร็ดธรรม
    หลวงปู่พุธ ฐานิโย
    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา​


    จุดอันตรายเนี๊ยะนะ ถ้าเห็น นิมิตรต่างๆแล้วนี่
    จุดอันตราย มันอันตรายอย่างไร ​

    ประเดี๋ยวก็ไปเห็นนิมิตร
    เห็นอาจารย์เสาร์ เห็นอาจารย์มั่น ​

    เห็นพระสาวก โมคคัลลา ฯ สารีบุตรฯ เห็นพระพุทธเจ้า
    เห็นพระอินทร์ พระพรหม เห็นพระอิศวร นารายณ์เป็นเจ้า ​

    พอเห็นแล้วก็ดี๊ อกดีใจ ไปเข้าใจว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้นจะมาช่วยสมาธิ
    ช่วยญานของเราให้แก่กล้า แล้วก็อุส่าห์ น้อม น้อมเข้ามา น้อมเข้ามา
    น้อมเข้ามาในตัว​

    พอภาพนิมิตรนั้นกลับอ่า เข้ามาถึงตัวปั๊ป
    สมาธิที่มี ปิติ มีความสุข ปลอดโปร่ง รู้ ตื่น เบิกบาน
    จะกลายเป็น สมาธิมืด นอกจากจะมืดแล้ว
    หัวใจเหมือนถูกบีบ จิตซึ่งเป็นอิสระ รู้ตื่นเบิกบานอยู่นั้น
    จะหมดสมรรถภาพในการในความเป็นตัวของตัว
    เพราะถูกอำนาจของสิ่งที่เราน้อมเข้ามานั้นมากดขี่ข่มเหงจิตของเรา
    ต่อไปก็ภูตผีปีศาจทั้งหลายเหล่านั้นแหล่ะ
    มันจะชักจูงจิตไปรู้โน้นเห็นนี่
    บางทีมันก็จะบอกว่า นี่ตั้งแต่ก่อนเจ้าเป็น เกิดอยู่ที่ตรงนู้น
    เป็นลูกผู้นั้นหลานผู้นี้ เป็นลูกศิษย์ผู้นั้น ลูกศิษย์ผู้นี้
    แล้วก็ไปหลงตายว่าตัวเองนี่ รู้จริงเห็นจริง แท้ที่จริง ผีมันหลอก
    อืม อันนี่แหล่ะ ระวังให้ดี จุดนี่แหล่ะท่านผู้ปฏิบัติทั้งหลาย
    ที่มันทำให้นักปฏิบัติเกิดทิฐิมานะ
    เกิดหลงตัวลืมตัว นอกจะยืน เกิดทิฐิมานะหลงตัวหลงลืมตัวแล้ว
    มันยังจะสำคัญผิด
    แล้วก็ไปเปลี่ยนพระพุทธศาสนาให้เป็นศาสนาอื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ ​

    ถ้าวิญญาณมาทรงก็เป็นศาสนาวิญญาณ
    เอ้าถ้าใครเคยผ่านสิ่งเหล่านี้ไปเผลอและเป็นอย่างนี้มาแล้ว
    อ่า ตอนแรกสมาธิจิต สงบ สว่าง รู้ตื่น เบิกบาน มีความสุข
    พอสิ่งเหล่านั้น เข้ามาถึงตัวปั๊ป หนักตัว จิตมืด
    แล้วถ้ามีการแสดงอาการไป
    หัวใจตีบเหมือนถูกบีบ พอรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาเมื่อยแทบเป็นแทบตาย
    ถ้าฝันว่าไปดูนรก ดูสวรรค์
    พอกลับมาแล้วเมื่อย ต้องนอนพัก ที่เค้าเป็นๆหลงๆกันอยู่ทั้งหลายเหล่านั้น
    ถ้าอย่างนั้นเราจะเอาอย่างไร หึ เอาอย่างไร​

    กำหนดจิตตัวเองอยู่ เมื่อเหตุการณ์ทั้งหลายเกิดขึ้น
    กำหนดรู้จิต รู้อยู่ที่จิตเท่านั้น ​

    ถ้ามันจะหลงก็นึกว่า ​

    อืม มันเป็นอารมณ์ที่จิตของเราปรุงแต่งขึ้น
    มันเป็นแต่เพียงอารมณ์จิตเท่านั้นไม่ใช่ของจริงของจังอะไร
    สิ่งเหล่านั้น ถ้าเราไปยึดแล้วมันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร
    นอกจากจะทำให้เราหลงทาง ​

    ผู้ที่ภาวนาไม่หลงทาง รู้อะไร เห็นอะไร จิตของเค้าจะรู้อยู่ที่จิต
    สติจะรู้อยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    ในเมื่อรู้เห็นอะไรขึ้นมาแล้ว ก็ สักแต่ว่ารู้สักแต่ว่าเห็น
    รู้แล้วก็ปล่อยวางไม่ไปยึดมั่นถือมั่น เอาไว้ให้สร้างปัญหาให้ตัวเองเดือดร้อน​

    นี่แหล่ะคือภูมิจิตภูมิใจ ที่เราจะต้องทำความเข้าใจ ​

    ในเมื่อภาวนาเก่งแล้วเป็นแล้ว ​

    ๑. เราจะมีศรัทธาเชื่อมั่นใน คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างยิ่ง
    มี วิริยะ ความแกล้วกล้าอาจหาญคือความเพียร กล้าสละชีวิต
    เพื่อบูชาการปฏิบัติโดยไม่กลัวตาย
    มีสติ ความระลึกชอบ ระลึกในสิ่งที่เป็นบุญ เป็นกุศล เป็นคุณงามความดี​

    มีสมาธิ จิตตั้งมั่น ต่อการบำเพ็ญความดีนั้นๆ
    มีปัญญารอบรู้อยู่ที่จิต ​

    มีสติเป็นอัตโนมัติ รู้เท่าทันเหตุการณ์ ซึ่งเกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายใน ​

    เวลากำหนดจิตสมาธิ สติจะอยู่ที่จิตรู้อยู่ที่จิต ​

    เวลาออกมาข้างนอก
    คือเลิกสมาธิแล้ว ยืน เดิน นั่ง นอน รับทาน ดื่ม ทำ พูด คิด
    จิต จะมี สติสัมปชัญญะ รู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดีอยู่ตลอดเวลา​

    แล้วจะไม่ไปสนใจกับเรื่องของคนอื่น ​

    จะรู้อยู่ที่ตัวเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมิใช่ว่าทอดอาลัยตายอยาก ​

    จิตมัน คล้ายๆกับว่า มันจะนึกรู้ว่า ใครควรสอนหรือไม่ควรสอน
    ใครควรเทศน์ให้ฟังหรือไม่ควรเทศน์ให้ฟัง
    คนที่เอาจริงแล้วเจอกัน มันใจมันดูดดื่มอยากจะเว้าอะไรให้ฟัง
    แต่ถ้าคนมันไม่เอาจริงและคนมันไม่เคารพเลื่อมใส
    ใจมันไม่อยากพูด มันขี้เกียจ​

    เพราะฉนั้น เราทั้งหลายในฐานะที่เราเป็น สหธรรมมิกอยู่ร่วมกัน
    ก็ควรจะได้ ตั้งอก ตั้งใจ เอาใจใสซึ่งกันและกัน
    ทั้งผู้น้อยผู้ใหญ่ เคารพนับถือกันตามอันดับตามอายุพรรษา
    มีอะไรก็ช่วยเกื้อกูลอุดหนุดซึ่งกันและกันทั้งอามิสและธรรม ​

    มันจึงจะเป็น สหธรรมมิกที่ดีต่อกัน ถ้าเราทำอย่างนี้ไม่ได้แล้วก็
    มันก็ไม่มีอะไรหรอก นอกจากว่าเราจะเป็นเสี่ยวกันเท่านั้น หึ มันเป็นเสี่ยวกัน​

    ถ้าเป็นเสี่ยวแล้วมันก็เที่ยว เที่ยวไปแล้วมันก็ออกนอกลู่นอกทาง
    เพราะขาดความเอาใจใส่ซึ่งกันและกันเท่านั้นเอง
    หืม ลองเอาไปพิจารณาดูให้มันดีเด๊ะ​

    ทีนี้ ถ้าผู้มีคุณธรรมที่เกิดขึ้นในจิตในใจนั้น
    ๑ มันมี หิริ ความละอายบาป มีโอตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อบาป​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กุมภาพันธ์ 2012
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    38-พระกุมารกัสสปเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร

    พระกุมารกัสสปะ เป็นบุตรของธิดาเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ เดิมชื่อว่า “กัสสปะ” แต่
    เพราะท่านได้รับการบำรุงเลี้ยงดูจากพระเจ้าเสนทิโกศล ดังนั้นประชาชน จึงเรียกท่านว่า
    “กุมารกัสสปะ” ประวัติชีวิตของท่าน มีดังต่อไปนี้:- ​
    • มารดาภิกษุณีตั้งท้อง
      ขณะเมื่อมารดาของท่านยังเป็นสาวรุ่นอยู่นั้นมีศรัทธาปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุณีใน
      พระพุทธศาสนา แต่บิดามารดาไม่อนุญาต อยู่ต่อมาจนกระทั่งนางได้แต่งงานมีสามีอยู่ครองเรือน
      ระยะหนึ่ง นางได้ปฏิบัติต่อสามีเป็นอย่างดีจนสามารถเกิคความพอใจแล้วได้อ้อนวอนขออนุญาต
      บวช สามีก็ไม่ขัดใจอนุญาตให้นางบวชตามความปรารถนา นางจึงไปขอบวชในสำนักของนาง
      ภิกษุณี ผู้เป็นศิษย์ของพระเทวทัต
      ครั้นบวชแล้วได้ไม่นานปรากฏว่าครรภ์ของนางโตขึ้น จึงเป็นที่รังเกียจสงสัยของเพื่อน
      นางภิกษุณีทั้งหลาย และได้นำเรื่องนี้ไปแจ้งแก่พระเทวทัต เพื่อให้ตัดสินความ พระเทวทัตได้ตัด
      สินให้เธอสระสมณเพศสึกออกไปเสียจากสำนัก
      นางได้ฟังคำตัดสินเกิดความเสียใจเป็นอย่างมาก ได้พูดอ้อนวอนขอร้องให้โปรดอย่า ลง
      โทษเธอถึงขนาดนั้นเลย เพราะนางมิได้ประพฤติชั่วทำผิดพระธรรมวินัยเลย เมื่อคำอ้อนวอนของ
      นางไม่เป็นผล นางจึงกล่าวว่า:-
      “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดิฉันมิได้บวชอุทิศตนต่อพระเทวทัต แต่ดิฉันบวชอุทิศตนต่อ
      พระบรมศาสดา ดังนั้น ขอท่านทั้งหลายจงพาดิฉันไปสู่สำนักของพระบรมศาสดาด้วยเถิด”

    • พระอุบาลีตัดสินคดีภิกษุณีท้อง
      นางภิกษุณีทั้งหลายจึงพานางไปเข้าเฝ้ากราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบโดยลำดับตั้ง
      แต่ต้น แม้พระผู้มีพระภาคจะทรงทราบอย่างแจ่มชัด ด้วยพระองค์เองแล้วว่า “นางตั้งครรภ์มา
      ตั้งแต่ก่อนบวช” แต่เพื่อให้เนื้อความนี้แจ่มชัด ขจัดความสงสัยของชนทั้งหลายให้สิ้นไป จึงรับ
      สั่งให้พระอุบาลีเถระดำเนินการชำระอธิกรณ์เรื่องนี้ให้ชัดเจน
      พระอุบาลีเถระได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มาร่วมกันพิสูจน์ โดยมีพระเจ้าปเสนทิโกศล
      เป็นประธาน มีนางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถปิณฑิกะเศรษฐี และตระกูลอื่น เป็นต้น นาง
      วิสาขาให้ขึงผ้าม่านโดยรอบแล้ว เรียกนางภิกษุณีเข้าไป แล้วตรวจดูมือ เท้า สะดือ และลักษณะ
      ของครรภ์แล้วนับวันนับเดือนสอบประวัติย้อนหลังโดยละเอียดแล้วก็ทราบชัดเจนว่า “นางตั้ง
      ครรภ์มาตั้งแต่ก่อนบวช” พระอุบาลีเถระ จึงได้ประกาศตัดสินอธิกรณ์ในท่ามกลางพุทธบริษัท
      ทั้ง ๔ ว่า นางภิกษุณีรูปนี้ยังมีศีลบริสุทธิ์อยู่ แล้วกราบทูลเนื้อความให้พระบรมศาสดาทรงทราบ
      พระพุทธองค์ได้ตรัสอนุโมทนาสาธุการแก่พระเถระว่า ชำระความได้ถูกต้องยุติธรรม
    • พระเจ้าปเสนทิโกศลขอบุตรนางภิกษุณีไปเลี้ยง
      ครั้นเวลาล่วงเลยไป ครรภ์ของนางได้โตขึ้นเป็นลำดับ จนครบกำหนดได้คลอดบุตรออก
      มา นางได้เลี้ยงดูอยู่ในสำนักของนางภิกษุณีนั้น วันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จผ่านมาได้
      สดับเสียงทารกร้องในห้องของนางภิกษุณีจึงตรัสถามได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ทรงมีพระ
      เมตตาขอรับทารกไปบำรุงเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม นำไปชุบเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง
      ประทานนามว่า “กัสสปะ” แต่เพราะพระองค์ทรงชุบเลี้ยงประดูจราชกุมาร จึงเรียกกันว่า
      “กุมารกัสสปะ”
      เมื่อกุมารกัสสปะ เจริญเติบโตขึ้น ได้วิ่งเล่นกับราชกุมารอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน เมื่อขัดใจ
      กันขึ้นกุมารกัสสปะก็มักจะใช้มือตีเพื่อน ๆ เหล่านั้น แล้วถูก เพื่อน ๆ ติเตียนว่า “พวกเราถูกเด็ก
      ไม่มีพ่อแม่ตี”
    • กุมารกัสสปะ เกิดความสงสัย จึงกราบทูลถามพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งพระองค์ก็ได้
      พยายามบ่ายเบี่ยง ปกปิดมาโดยตลอด แต่เมื่อถูกอ้อนวอนรบเร้าหนักขึ้น ก็ไม่สามารถจะปกปิด
      ได้ จึงตรัสบอกความจริง
      กุมารกัสสปะ ได้ทราบความจริงแล้วรู้สึกสลดใจในชะตาชีวิตของตนจึงกราบทูลขอ
      อนุญาตบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อได้รับอนุญาตแล้วได้ไปบวชเป็นสามเณรในสำนักพระบรม
      ศาสดา ศึกษาพระกรรมฐานและพระธรรมวินัยจากพระบรมศาสดาและอาจารย์ทั้งหลาย จวบจน
      อายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว กราบทูลลาพระผู้มีพระภาค เพื่อไปทำความ
      เพียร บำเพ็ญสมณธรรมในป่า ได้บรรลุคุณพิเศษเบื้องต้นแล้ว จึงกลับมาศึกษาพระกรรมฐานใน
      ระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้นแล้วเข้าไปสู่ป่าอันธวัน บำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฎ์ต่อไป
      ครั้งนั้นได้มีพรหมชั้นสุทธาวาส ผู้ซึ่งในอดีตชาติเคยเป็นสหายปฏิบัติสมณธรรมร่วมกัน
      กับท่านพระกุมารกัสสปะ ในครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ได้บรรลุเป็นพระอนาคามี
      แล้วจุติไปเกิดเป็นพรหมในชั้นสุทธาวาสนั้นเห็นท่านพระกุมารกัสสปะบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก ก็
      ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล จึงลงมาช่วยเหลือด้วยการแก้ปัญหา ๑๕ ข้อ แนะนำให้ไปกราบทูล
      พระผู้มีพระภาคให้พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ให้ ท่านได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของพระหรหมนั้น
      ปัญหา ๑๕ ข้อนั้นคือ
      ๑. จอมปลวก ๒. กลางคืนเป็นควัน ๓. กลางวันเป็นไฟ ๔. พราหมณ์ ๕. สุเมธผู้เป็นศิษย์
      ๖. จอบ ๗. เครื่องขุด ๘.ลูกสลัก ๙.อึ่งอ่าง ๑๐. ทาง ๒ แพร่ง ๑๑. กระบอกกรองน้ำ ๑๒. เต่า
      ๑๓ เขียง ๑๔. ชิ้นเนื้อ ๑๕. นาค
      พระบรมศาสดาทรงสดับปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อแล้วตรัสแก้ว่า ดูก่อนภิกษุ
      คำว่า จอมปลวก นั้นหมายถึง อัตภาพร่างกายนี้ เพราะว่า จอมปลวกเกิดจากตัวปลวก นำ
      ดินมาผสมกับน้ำลายเหนียว ๆ แล้วก่อขึ้นเป็นจอมปลวก ฉันใด อัตภาพร่างกายนี้ ก็เกิดขึ้นเพราะ
      มีพ่อแม่เป็นแดนเกิด ฉันนั้น จอมปลวกมีรูพรุน มีตัวปลวกอยู่อาศัย ร่างกายก็มีรูพรุนคือ ทวารทั้ง
      ๙ และรูขุมขนทั่วตัว เป็นที่อยู่อาศัยของหมู่หนอนและเชื้อโรคต่าง ๆ จอมปลวกต้องแตกสลาย
      แม้ร่างกายก็ต้องเน่าเปื่อยเช่นกัน
      คำว่า กลางคืนเป็นควัน นั้นหมายถึง วิตก คือการคิดนึก และวิจารณ์ คือการพิจารณา
      ใคร่ครวญถึงการงานที่จนทำเมื่อตอนกลางวันว่า มีคุณมีโทษอย่างไรและใคร่ครวญถึงวันรุ่งขึ้นว่า
      จะทำอะไรต่อไป การคิดใคร่ครวญอย่างนี้มีอาการดุจควันไฟที่คุกรุ่นอยู่
      คำว่า กลางวันเป็นไฟ หมายถึง การทำงานตามที่คิดไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืนต้องรีบเร่ง ร่าง
      กายเหน็ดเหนื่อย ท่านจึงเปรียบเหมือนไฟที่ลุกโพลง
      คำว่า พราหมณ์ หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านเรียกว่าพราหมณ์ เพราะพราหมณ์
      มีประเพณีลอยบาปด้วยการลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคา ชำระบาปคือ ความชั่วออกจากกาย ส่วนที่
      เรียกพราหมณ์ คือ พระพุทธองค์นั้น เพราะพระองค์ทรงชำระบาปทั้ง ๗ คือ ราคะ โทสะ โมหะ
      มานะ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สี ลัพพัตตปรามาส ได้โดยไม่เหลือ
      คำว่า สุเมธ หมายถึง พระภิกษุผู้ยังเป็นเสขะ ผู้มีปัญญากำลังศึกษาในไตรสิกขา
      คำว่า จอบ หมายถึง ปัญญาเป็นเครื่องขุดความโง่ทิ้ง ขุดจนสามารถตักรากเง่าของความ
      โง่ออกได้หมด
      คำว่า การขุด หมายถึงความเพียร คือ เพียรเจริญสติปัฏฐาก ๔ พิจารณา กาย เวทนา
      จิต ธรรม ให้เห็นว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอน
      คำว่า ลูกสลัก หมายถึง อวิชชา ความไม่รู้ เป็นเครื่องกั้นตัว วิชชา คือความรู้ไม่ให้เกิด
      ขึ้น อวิชชา จึงเปรียบดังลูกสลักหรือกลอนประตูที่ไม่ยอมให้ประตูเปิด
      คำว่า อึ่งอ่าง ได้แก่ ความโกรธ เพราะความโกรธมีลักษณะทำให้ใจพองขึ้นเหมือน
      อึ่งอ่าง
      คำว่า ทาง ๒ แพร่ง ได้แก่ วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเล เหมือนทาง ๒ แพร่งที่คนไม่รู้ว่า
      จะเดินไปทางไหนดี
      คำว่า กระบอกน้ำ หมายถึง นิวรณ์ ๕ ประการ มีกามฉันทะ เป็นต้น คนที่มีนิวรณ์ทั้ง ๕
      อยู่ในใจ ไม่สามารถจะแสวงหากุศลธรรมให้ติดตัวอยู่ได้เหมือนกระบอกกรองน้ำที่ไม่สามารถ
      จะเก็บน้ำไว้ได้
    คำว่า เต่า หมายถึง อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่ง
    เหมือนกับเต่าที่มี ๔ ขา มีหัว ๑ รวมเป็น ๕ ท่านสอนให้ตัดความรักใคร่พอใจในอุปาทานขันธ์
    นั้นเสีย
    ค่ำว่า เขียง ได้แก่ กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่รักใคร่พอใจ
    ดุจคนวางชิ้นเนื้อไว้บนเขียงแล้วเชือดชำแหละด้วยมีด ฉันใด กิเลสทั้งหลาย ฆ่าหมู่สัตว์แล้ววาง
    ไว้บนเขียง คือ กามคุณทั้ง ๕ แล้วเชือดชำแหละ ฉันนั้น พระพุทธองค์ทรงสอนให้ละกามคุณทั้ง
    ๕ นั้นเสีย
    คำว่า ชิ้นเนื้อ ได้แก่นันทิราคะ ความรักใคร่เพลิดเพลินอยู่ในกามคุณทั้งหลาย อันเป็น
    เหตุให้เกิดความทุกข์ในภายหลัง
    คำว่า นาค หมายถึงภิกษุผู้สิ้นกิเลสแล้ว เป็นพระอรหันต์ เว้นจากการทำความชั่วทั้งปวง
    จึงเรียกว่า นาค แปลว่าผู้ประเสริฐ
    พระกุมารกัสสปะ ส่งกระแสจิตไปตามลำดับแห่งคำพยากรณ์แก้ปัญหานั้น เมื่อจบข้อ
    สุดท้ายท่านก็บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย
    • พระเถระต่อว่ามารดา
      ฝ่ายนางภิกษุณีผู้เป็นมารดาของพระกุมารกัสสปะ ตั้งแต่วันที่พระเจ้าปเสนทิโกศล รับ
      เอาบุตรของนางไปชุบเลี้ยงเป็นต้นมา น้ำตาของนางก็ได้ไหลหลั่งเพราะความทุกข์เกิดจากการ
      พลัดพรากจากบุตรผู้เป็นที่รัก เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี แม้ต่อมาจะทราบว่าบุตรชายของนางมา
      บวชแล้วก็ตาม แต่นางก็ยังมิได้เห็นหน้าพระลูกชายเลย จนกระทั่งเช้าวันหนึ่ง นางได้พบท่าน
      พระกุมารกัสสปะกำลังออกเดินรับบิณฑบาตอยู่ ด้วยความดีใจสุดจะยับยั้ง นางได้ร้องเรียกขึ้น
      ว่า “ลูก ลูก” แล้ววิ่งเข้าไปหาเพื่อสวมกอดพระลูกชาย แต่เพราะว่านางรีบร้อนเกินไป จึงได้
      สะดุดล้มลงเสียก่อน

    พระกุมารกัสสปะคิดว่า “ถ้าหากว่าเราพูดกับมารดาด้วยถ้อยคำอันไพเราะแล้ว นางก็ยิ่ง
    เกิดความสิเนหารักใคร่ในตัวเรามากยิ่งขึ้น และจะเป็นเหตุทำให้นางเสื่อมเสียโอกาสบรรลุ
    อมตธรรมได้ ควรที่เราจะกล่าวคำพูดที่ทำให้นางหมดอาลัยในตัวเราแล้ว นางก็จะได้บรรลุ
    อมตธรรม” ดังนี้แล้ว จึงกล่าวแก่นางว่า “ท่านมัวทำอะไรอยู่ จึงตัดไม่ได้แม้กระทั่งความรัก”
    ถ้อยคำของพระกุมารกัสสปะทำให้นางรู้สึกน้อยใจและเสียใจเป็นอย่างยิ่ง นางคิดว่า
    “เราร้องไห้เพราะคิดถึงลูกชายนานถึง ๑๒ ปี เมื่อพบลูกชายแล้วกลับถูกลูกชายพูดจาตัดเยื่อใย
    ให้ต้องช้ำใจอีก” ด้วยความน้อยใจเช่นนี้ นางจึงตัดรักตัดอาลัย หมดความสิเนหาในตัวลูกชาย
    อย่างสิ้นเชิง แล้วนางก็ได้ตั้งใจปฏิบัติวปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนั้นนั่น
    เอง
    • ได้รับยกย่องวาแสดงธรรมอย่างวิจิตร
      พระกุมารกัสสปะนั้นท่านได้เป็นกำลังช่วยเหลือกิจการพระศาสนาเต็มกำลังความ
      สามารถ ท่านมีความสามารถพิเศษในการแสดงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร ทั้งข้ออุปมาอุปไมย
      เปรียบเทียบให้ผู้ฟังรู้แจ้งเห็นจริง เข้าใจอย่างง่ายดาย
      ครั้งหนึ่ง ท่านได้แสดงธรรมโปรดพระเจ้าปายาสิ ผู้ครองนครเสตัพยะ ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
      มีความเห็นผิดว่าโลกหน้าไม่มี กรรมดีกรรมชั่วไม่มีผล นรกสวรรค์ก็ไม่มี เมื่อได้ฟังธรรมจาก
      พระเถระแล้วกลับเป็นสัมมทิฏฐิ ประกาศตนเป็นอุบาสก นับถือพระรัตนตรัยตลอดพระชนม์ชีพ
      ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ
      ทั้งหลายในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร
      ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

     

แชร์หน้านี้

Loading...