สัมมาทิฏฐิสูตรว่าด้วยความเห็นชอบ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 3 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE width="79%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    <HR>[FONT=CordiaUPC, Cordia New]รักจริงไม่เห็นแก่ตัว [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]รักชั่วมัวเมาหลงใหล[/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]รักดีกล้าสละออกไป [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]รักให้ไม่หวังตอบแทน[/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]นครสาวัตถีแห่งแคว้นโกศล มีกุลธิดานางหนึ่งของตระกูลที่อุปัฏฐาก (อุปถัมภ์ดูแลพระภิกษุสามเณร) พระอัครสาวกทั้งสอง ของพระศาสดา นางเป็นผู้มีความเลื่อมใส ศรัทราในพระพุทธ -พระธรรม -พระสงฆ์ กิริยาอาการ สมบูรณ์ด้วยมารยาท (สุภาพเรียบร้อย) เป็นผู้มีความ ฉลาด ยินดียิ่ง ในการทำบุญ ทำทานทั้งหลาย [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]ในนครสาวัตถีนั้นเอง มีมิจฉาทิฏฐิตระกูลหนึ่ง (ตระกูลที่ยังมีความคิดเห็นผิดจากธรรมะ) ซึ่งมีฐานะ ชาติตระกูล ทัดเทียมกัน ได้มาสู่ขอนาง แต่บิดามารดาของนาง ตอบไปว่า "ลูกสาวของเรา เคารพนับถือ ในพระรัตนตรัย มีนิสัยใจคอ นิยมทำบุญกุศล ส่วนตระกูลของท่าน ไม่นิยมในการทำบุญ ให้ทาน เราจึงไม่อาจ ยกลูกสาวให้ได้ เพราะพวกท่าน จะห้ามไม่ให้ ลูกสาวของเรา ได้แจกทาน ได้ไปฟังธรรม ได้ถืออุโบสถ รักษาศีล ตามชอบใจ ฉะนั้นพวกท่าน จงสู่ขอลูกสาว จากตระกูลอื่น ที่มีชีวิตความเป็นอยู่ คล้ายคลึงกับตนเถิด" [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]แม้จะถูกปฏิเสธเช่นนั้น พวกเขาก็ยังคงปรารถนาลูกสะใภ้ เช่นนางเข้าสู่ตระกูล จึงเอ่ยรับรองว่า "หากลูกสาวของท่าน เข้าสู่ตระกูลของพวกเราแล้ว กิจทั้งปวงที่นางประสงค์จะทำ พวกเรา จะไม่ห้ามเลย ขอท่านจงวางใจได้ ยกลูกสาวให้แก่พวกเราเถอะ" แล้วก็อ้อนวอนรบเร้าอยู่อย่างนั้น กระทั่ง บิดามารดา ของนางใจอ่อน ตกปากรับคำว่า "ถ้าอย่างนั้น เราก็จะยกลูกสาวของเรา ให้เป็นลูกสะใภ้ของพวกท่าน" เมื่อถึงฤกษ์งามยามดี จึงได้จัดพิธีมงคลขึ้น แล้วนางก็ไปอยู่ยังบ้านของสามี ปฏิบัติภาระ หน้าที่เป็นอย่างดี แก่พ่อแม่ของสามี และสามี โดยครบถ้วนไม่ขาดตกบกพร่อง เพราะนางเป็น ผู้เพียบพร้อม ด้วยความประพฤติ และมารยาทนั่นเอง[/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]วันหนึ่ง นางปรารถนาจะทำบุญทำทาน จึงเอ่ยกับสามีของนาง "พี่จ๋า ฉันประสงค์ที่จะถวายทาน แก่พระเถระ ให้ท่านมายังที่บ้านของเรา" [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]"ดีแล้ว น้องจงทำบุญตามอัธยาศัยเถิด" สามีของนางมิได้ขัดขวางแต่ประการใดเลย นางจึงได้นิมนต์ พระอัครสาวกทั้งสอง กับภิกษุอีกหลายรูป มาที่บ้าน กระทำการสักการะ เป็นอย่างดี ให้ฉันโภชนะ อันประณีต โดยที่สามี มิได้มาร่วมบุญด้วยเลย เมื่อเสร็จภัตตกิจแล้ว นางก็ได้เอ่ยนิมนต์ พระเถระทั้งสองไว้อีกว่า "พระคุณเจ้าผู้เจริญ คนในตระกูลของสามีดิฉันนี้ ส่วนใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้ไม่มีสัมมาทิฏฐิ ไม่มีศรัทธา ไม่รู้คุณของพระรัตนตรัย ด้วยเหตุนี้ ดิฉันจึงขอโอกาส นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลาย มาฉันโภชนะในที่นี้อีก จนกว่า ผู้คนในตระกูลนี้ จะรู้ได้ถึงคุณของพระรัตนตรัย" [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]พระเถระทั้งหลาย ก็รับนิมนต์ แล้วมาฉันเป็นประจำ ในตระกูลนี้ นางจึงได้โอกาส ที่จะกว่ากับสามีว่า "พี่ พวกเราได้นินมต์ พระเถระทั้งหลาย มาฉันภัตตาหาร ถึงที่บ้านของเรา เป็นประจำ ก็แล้วเหตุใด พี่จึงไม่ได้มา ช่วยกันร่วมบุญ ดูแลพระเถระเล่า" [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]สามีจำนนด้วยเหตุผล จึงรับปากว่า "ครั้งต่อไป เราจะอยู่ร่วมบุญด้วยกัน" ต่อมา...เมื่อถึงวันนั้น สามีของนาง จึงอยู่ต้อนรับ ดูแลพระเถระทั้งหลาย ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้ว ก็ได้ปฏิสันถาร กับพระเถระทั้งหลาย แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ขณะนั้นเอง เป็นโอกาสดี ของพระธรรมเสนาบดี สารีบุตร จึงได้แสดงธรรม ให้แก่สามีของนางฟัง เขารับฟังด้วยความตั้งใจ บังเกิดความเลื่อมใส ในธรรมกถา และอิริยาบถ ของพระเถระ นับตั้งแต่ครั้งนั้น เขาเริ่มใส่ใจ ช่วยตระเตรียมที่นั่งที่ฉัน แก่พระเถระทั้งหลาย และยินดี ในการฟังธรรม จนในที่สุด มิจฉาทิฏฐิของเขา ก็ถูกทำลายไป [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพระเถระแสดงธรรม แก่สามีภรรยาทั้งสองแล้ว ได้ประกาศอริยสัจ ๔ ณ ที่นั้น ในเวลาที่จบสัจจะนั้นเอง สองสามีภรรยา ก็ได้ดำรงอยู่ใน โสดาปัตติผลทันที ต่อมาไม่นานนัก แม้แต่บิดา มารดาของสามี กระทั่งถึง ข้าทาสกรรมกรทั้งหมด ในบ้านทุกคน ได้ทำลายมิจฉาทิฏฐิ ของตนไปหมดสิ้น เข้าสู่ความเป็น ผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีจิตใจเคารพนับถือใน พระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์ ยึดเอาพระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งพา ของชีวิตตลอดไป [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]วันหนึ่ง.....หลังจากที่นางเป็นผู้เข้ากระแส (โสดาบัน) แล้ว จิตพ้นจากอบายภูมิทั้งปวง มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา มีความเป็นผู้เที่ยง ต่อการตรัสรู้ในเบื้องหน้า ศรัทรายิ่งยวดใน พระพุทธศาสนา จึงตัดสินใจ เอ่ยขอ ต่อสามีของนางว่า "พี่จ๋า เราสองยังจะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่ครองเรือนกันอีกเล่า น้องปรารถนา จะออกบวช" [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]ฝ่ายสามีก็ตอบทันทีเลยว่า "ดีสิ! แม้แต่ตัวพี่เอง ก็จะออกบวชเช่นกัน" แล้วทั้งสอง ก็สละทุกสิ่งทุกอย่าง เขานำภรรยาไปสู่สำนักของภิกษุณี แล้วตนเองก็ไปเข้าเฝ้า พระศาสดา ทูลขอบรรพชา พระศาสดา ก็ทรงอนุญาต บวชแล้วไม่นานนัก ทั้งสองต่างก็ได้บำเพ็ญเพียรในธรรม อย่างตั้งใจ กระทั่งได้บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์แล้ว ณ ธรรมสภา ภิกษุทั้งหลาย พากันสนทนาว่า "ท่านทั้งหลาย มีภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง นับว่าเป็นยอด ของผู้เกื้อกูลแก่ตน และแก่สามี แม้ตนเอง ก็ได้บวช จนบรรลุพระอรหันต์ แม้สามีก็พลอยได้บวช จนเป็นพระอรหันต์ด้วย" [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]พอดีพระศาสดาเสด็จมาถึง ได้ตรัสถาม เรื่องที่ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันแล้ว จึงตรัสออกไปว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางภิกษุณีรูปนี้ ได้ปลดเปลื้องสามี ออกจากบ่วงกามราคะ มิใช่ในบัดนี้ เท่านั้น แม้ในกาลก่อนโน้น นางภิกษุณีนี้ ก็เคยปลดเปลื้องบัณฑิต ให้หลุดรอดจากบ่วงมรณะมาแล้ว" แล้วทรงเล่า เรื่องราวในอดีตนั้น [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]---------------------- [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]ในอดีตกาล มีเนื้อ (สัตว์ป่าประเภทกวาง อีเก้ง เป็นต้น) ฝูงหนึ่ง อาศัยอยู่ในป่าลึกแห่งหนึ่ง มักรวมตัวกัน เป็นฝูงใหญ่ แสวงหาใบไม้ หรือผลไม้เป็นอาหาร โดยมีพญาเนื้อทอง เป็นจ่าฝูง รูปร่างสง่างามน่าดู ผิวพรรณ และขนเป็นสีทอง เขายาวแหลมคม ดั่งพวงเงิน ดวงตา ทั้งสองแวววาว ราวกับแก้วมณี และมีนางเนื้อสาว ตัวหนึ่งเป็นคู่ นางเนื้อสาวก็รูปร่างงดงาม น่ารักยิ่งนัก เนื้อทั้งสอง อยู่ร่วมกัน ด้วยความรัก สมัครสมาน พญาเนื้อทอง ปกครองบริวาร ถึงแปดหมื่นตัวทีเดียว [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]อยู่มาวันหนึ่ง มีพรานป่าคนหนึ่ง เข้าสู่ป่าลึกนั้น เมื่อแอบซุ่มดูฝูงเนื้อแล้ว ก็ได้วางบ่วงดักไว้ ตามเส้นทางผ่าน ของฝูงเนื้อ ครั้นพญาเนื้อทอง เดินนำหน้าเนื้อทั้งหลายมา เท้าได้ก้าวเข้าไปในบ่วง บ่วงจึงรัดเท้าไว้ทันที แม้จะรีบดึงเท้า ให้หลุดจากบ่วง ก็ไม่ทันแล้ว ยิ่งดึง บ่วงยิ่งรัดแน่นขึ้นกว่าเดิม พญาเนื้อทอง จึงตัดสินใจว่า "เราจะต้องออกแรงสุดกำลัง ดึงบ่วงนี้ ให้ขาดสะบั้นให้ได้" คิดแล้วก็กระชากเท้า สุดแรง บ่วงนั้นไม่เพียงแต่ไม่ขาด ยิ่งบาดลึกเข้าเนื้อ จนถึงกระดูก สร้างความเจ็บ ปวดทรมาน แก่พญาเนื้อทองยิ่งนัก ส่งเสียงร้องออกมา อย่างตื่นตกใจ และร้องบอกเตือนภัย แก่บริวารของตน หมู่เนื้อทั้งปวง ได้ยินเช่นนั้น พากันกลัวต่อมรณภัย วิ่งหนี แตกกระจาย กันไปหมดสิ้น เหลืออยู่แต่เพียง นางเนื้อสาวตัวเดียว ที่พอวิ่งไปแล้ว เหลียวหา ไม่เห็นพญาเนื้อ ก็รู้ได้ทันทีว่า "ภัยครั้งนี้ คงเกิดขึ้นแก่พญาเนื้อทอง ติดบ่วงอยู่ ด้วยอาการบาดเจ็บ สาหัส อดไม่ได้ ที่จะทุกข์ร้อนใจเป็นห่วง น้ำตาไหลพร่างพรู กล่าวเสียงสั่นเครือว่า "ข้าแต่พญาเนื้อทอง ผู้มีกำลังมาก ท่านลองพยายามอีกสักครั้ง ดึงบ่วงที่ติดแน่นนี้ ให้ขาดเถิด ฉันไม่ปรารถนา จะอยู่ป่านี้ โดยปราศจากท่าน" [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]ได้ฟังคำขอร้องเช่นนั้น พญาเนื้อทอง จึงพยายามออกแรงดึงเท้า ให้หลุดออกจากบ่วงอีกครั้ง แต่ยิ่งดึง ก็ยิ่งแน่น ยิ่งเจ็บปวด จนล้มลงนอน ที่พื้นดินตรงนั้น เอ่ยกับนางเนื้อว่า "ฉันพยายามดึงเต็มที่แล้ว แต่บ่วงนี้เหนียว ไม่ยอมขาด ยิ่งใช้เท้าตะกุย พื้นดินสุดแรง บ่วงยิ่งรัดแน่นบาดลึกเข้าไปอีก" [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]นางเนื้อมอง ดูเท้าของพญาเนื้อทอง ด้วยความสงสาร เพราะเท้างามข้างนั้น บัดนี้เปรอะ เลอะไปด้วย เลือดแดงฉาน นางจึงยืนอยู่ข้างๆกาย ของพญาเนื้อทอง โดยไม่ยอมละทิ้ง หลบหนีไปที่ใด [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]ขณะนั้นเอง..... พลันปรากฏ ตัวนายพรานขึ้น โดยที่ไม่รู้ว่า โผล่มาจากไหน ตั้งแต่เมื่อไร กำลังเดิน ตรงเข้ามาหาเนื้อทั้งสอง นางเนื้อขยับตัวขึ้น ด้วยอาการตื่นเต้น หันหน้าไปที่พญาเนื้อทอง แล้วปลอบใจว่า "นายพรานกำลังมา แต่ท่านอย่ากลัวเลย ฉันจะไม่ให้นายพราน นำเอาชีวิตของท่านไปได้" กล่าวจบ ก็ก้าวเข้าหานายพราน อย่างอาจหาญ พร้อมกับแสดงท่าทาง ทำความเคารพแก่พรานป่า แล้ววิงวอนขอร้องว่า "ข้าแต่นายพรานผู้ประเสริฐ พญาเนื้อทองที่ติดบ่วงของท่านนี้ เป็นคู่ทุกข์คู่ยาก อันเป็นที่รักยิ่งของเรา เป็นพญาเนื้อ ที่สมบูรณ์ด้วยศีล งามด้วยความประพฤติดี และมีมารยาท เป็นราชา ของหมู่เนื้อแปดหมื่นตัว หากท่านประสงค์ ที่จะฆ่าพญาเนื้อตัวนี้ ขอจงฆ่าเราเสียก่อนเถิด"[/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]พรานป่า พอได้ยินเสียงนางเนื้อ พูดออกมาเท่านั้น ทั้งตกใจ ทั้งแปลกประหลาดใจ รู้สึกตื่นเต้น อัศจรรย์ใจยิ่งนัก ถึงกับโพล่งออกไปว่า "ข้าไม่เคยได้ยินได้ฟังมาเลย ยิ่งไม่เคยได้เห็นเนื้อ พูดภาษามนุษย์ได้ด้วย ช่างมหัศจรรย์เหลือเกิน เจ้าพูดได้จริงๆ หรือ เป็นหูของข้าฟั่นเฟือนไป" [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]"จริงๆ ท่านฟังไม่ผิดหรอก เรากับพญาเนื้อนี้ สามารถพูดภาษามนุษย์ได้จริงๆ" [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]"โอ้....ถ้าอย่างนั้น เจ้าทั้งสองต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนาบารมีเป็นแน่ แน่ะ! นางเนื้อที่แสนวิเศษ ตัวเจ้ากับพญาเนื้อทองนี้ จงเป็นสุขเถิด ข้าจะปล่อยพวกเจ้าไป" จบคำ พรานป่าก็ตรงไปที่พญาเนื้อทอง ใช้มีดตัดบ่วงให้ขาด แล้วเอาบ่วงที่ติดเท้าออก ช่วยรักษาบาดแผล ให้เป็นอย่างดี จนอาการของพญาเนื้อทอง ดีขึ้นทันตาเห็น พญาเนื้อทอง พ้นทุกข์ทรมานแล้ว มีความรู้สึก สุขสบายขึ้น [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]นางเนื้อสาว จึงเอ่ยอนุโมทนา แก่นายพรานว่า "วันนี้ฉันเห็นพญาเนื้อทอง หลุดพ้นจากบ่วงทุกข์มาได้แล้ว ย่อมชื่นชมยินดี ฉันใด ขอให้ท่าน พร้อมด้วยญาติ ทั้งมวลของท่าน จงมีความชื่นชมยินดี ฉันนั้นเถิด" [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]ฝ่ายพญาเนื้อทอง ได้บังเกิดความคิดขึ้นว่า "นายพรานผู้นี้ เป็นที่พึ่งพาอาศัยของเรา แม้เรา ก็ควรเป็นที่พึ่งพาอาศัย ของนายพรานนี้บ้าง" จึงได้คุ้ยเขี่ย แก้วมณีก้อนหนึ่ง ขุดขึ้นมาจากพื้นดิน คาบเอามาให้ แก่พรานป่านั้น พร้อมกับแนะนำ สั่งสอนว่า "ดูก่อนสหาย นับตั้งแต่วันนี้ไป ท่านอย่าได้กระทำบาป ปาณาติบาต อันเป็นการเบียดเบียน ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ผู้อื่นอีกเลย แก้วมณีก้อนนี้ จงนำไปเป็นทรัพย์ เลี้ยงดูลูกเมีย เป็นผู้มีศีล กระทำบุญ และทานเถิด" แล้วพญาเนื้อทอง กับนางเนื้อ ก็พากันกลับคืน สู่ฝูงของตนตามเดิม [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]พระศาสดา ครั้นทรงแสดงชาดกนี้จบแล้ว ตรัสว่า "นายพรานป่าในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระฉันนะในบัดนี้ นางเนื้อนั้น ได้มาเป็นภิกษุณีสาวนี้ ส่วนพญาเนื้อทอง ได้มาเป็นเราตถาคตเอง" [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]*ฌวมพุทธ [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New]จันทร์ ๒๑ ม.ค.๒๕๔๕ [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, Cordia New](พระไตรปิฎกเล่ม ๒๗ ข้อ๗๔๓ อรรถกถาแปลเล่ม ๕๘ หน้า ๗๗๕)[/FONT]​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    Untitled Document
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ขันธมาร

    มาร 5 และคัมภีร์ปราบมาร (ตอนที่2)

    2. ขันธมาร

    มาร คือ กายใจเรานี่เอง
    [​IMG]ขันธมาร : มารคือ ขันธ์ทั้ง 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสถึง ขันธมาร ไว้ใน มารสูตร ใจความว่า

    “ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ มารเป็นไฉนหนอ?
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราธะ รูปเป็นมาร เวทนาเป็นมาร สัญญาเป็นมาร สังขารเป็นมาร วิญญาณเป็นมาร ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น
    ครั้นหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี”


    ขันธมาร หมายความว่า เวลาจะทำความดี ปฏิบัติกรรมฐาน ทำสมาธิจิต หรือ ทำบุญทำทาน ไอ้ความป่วยไข้ไม่สบาย(หรือความเจ็บปวด)มันเข้ามาขวาง(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)

    วิธีต่อสู้กับขันธมาร : คือ การเจริญสติปัฏฐาน 4 (การมีสติตามดู กาย เวทนา จิต ธรรม) โดยเฉพาะหมวดกาย และ เวทนา ดังจะขอยกตัวอย่างพุทธพจน์จาก สติปัฏฐานสูตร ในหมวด กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน มาบางส่วนดังนี้

    ปฏิกูลบรรพ
    [๑๓๖]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ เบื้อง
    บนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบเต็มด้วยของไม่สะอาดมี
    ประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
    ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด
    หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ไถ้มีปากสองข้าง
    เต็มด้วยธัญญชาติต่างอย่าง คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษ
    ผู้มีนัยน์ตาดี แก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง
    นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ เบื้องบนแต่
    พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการ
    ต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน ฯลฯ ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายใน
    กายอยู่.

    จบ ปฏิกูลบรรพ.


    ธาตุบรรพ
    [๑๓๗]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้ง
    อยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
    คนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าแม่โคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วนๆ นั่งอยู่ ที่หนทาง
    ใหญ่ ๔ แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้ง
    อยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนา
    มาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุ
    ชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    .

    จบ ธาตุบรรพ.
    นวสีวถิกาบรรพ
    [๑๓๘]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้ง
    ไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด น้ำ
    เหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็น
    ธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น
    กายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
    อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุ พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกิน
    อยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอก
    กัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้
    เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
    อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุ พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก
    ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ เป็นร่างกระดูก เปื้อนเลือด แต่ปราศจากเนื้อ
    ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นผูกรัด
    อยู่ ฯลฯ เป็นร่างกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปในทิศน้อยทิศใหญ่ คือกระดูก
    มือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูก
    สะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกข้อสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไป
    ทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคาง
    ไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละ
    ว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้
    อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
    อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุ พึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูก
    มีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ … เป็นกระดูก เป็นกองเรี่ยรายแล้ว เก่าเกินปีหนึ่งไปแล้ว … เป็น
    กระดูกผุละเอียดแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอยู่อย่างนี้เป็น
    ธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา
    เห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายใน
    ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อม
    ในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง
    สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่า อาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็น
    ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่าง
    นี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.

    จบ นวสีวถิกาบรรพ


    ขันธบรรพ
    [๑๔๒]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ
    อุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรม
    วินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป
    อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา
    อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความ
    เกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่ง
    วิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    ภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่น
    อยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ
    ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่


    ศึกษา สติปัฏฐานสูตร เพิ่มเติมได้ที่…
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1754&Z=2150&pagebreak=0

    **********************จบขันธมาร**********************
    ขันธมาร : มารคือขันธ์ทั้ง 5 | Dhammatan.net
     
  3. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    พระกุมารกัสสปะคิดว่า “ถ้าหากว่าเราพูดกับมารดาด้วยถ้อยคำอันไพเราะแล้ว นางก็ยิ่ง
    เกิดความสิเนหารักใคร่ในตัวเรามากยิ่งขึ้น และจะเป็นเหตุทำให้นางเสื่อมเสียโอกาสบรรลุ
    อมตธรรมได้ ควรที่เราจะกล่าวคำพูดที่ทำให้นางหมดอาลัยในตัวเราแล้ว นางก็จะได้บรรลุ
    อมตธรรม” ดังนี้แล้ว จึงกล่าวแก่นางว่า “ท่านมัวทำอะไรอยู่ จึงตัดไม่ได้แม้กระทั่งความรัก”
    ถ้อยคำของพระกุมารกัสสปะทำให้นางรู้สึกน้อยใจและเสียใจเป็นอย่างยิ่ง นางคิดว่า
    “เราร้องไห้เพราะคิดถึงลูกชายนานถึง ๑๒ ปี เมื่อพบลูกชายแล้วกลับถูกลูกชายพูดจาตัดเยื่อใย
    ให้ต้องช้ำใจอีก” ด้วยความน้อยใจเช่นนี้ นางจึงตัดรักตัดอาลัย หมดความสิเนหาในตัวลูกชาย
    อย่างสิ้นเชิง แล้วนางก็ได้ตั้งใจปฏิบัติวปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนั้นนั่น
    เอง


    อ่านแล้วทำให้อึ้ง มันเหนือปัญญาปุถุชนจะเข้าใจครับ
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มาร คือ เครื่องขวางกั้นแห่งความดี ในทางพระพุทธศาสนา จำแนกมารได้ 5 ประเภท

    (มารประเภทเดียวที่อยู่นอกตัวเรา คือ เทวดาที่เป็นมาร ที่เหลืออีกสี่ประเภทอยู่ในตัวเรานี่เอง)


    1. กิเลสมาร : มารคือ กิเลส

    2. ขันธมาร : มารคือ ขันธ์ 5

    3. อภิสังขารมาร : มารคือ อภิสังขาร

    4. มัจจุมาร : มารคือ ความตาย

    5. เทวปุตมาร : มารคือ เทวบุตร

    ในบรรดามารทั้ง 5 นั้น มารที่รบกวนเราบ่อยที่สุดคือ กิเลสมาร และ ขันธมาร จะขอกล่าวรายละเอียดของมารแต่ละประเภทดังนี้

    1. กิเลสมาร

    มาร คือ กิเลส

    กิเลสมาร นี้เป็นรากเหง้าแห่งมารทั้งปวง กิเลสเป็นมาร ก็เพราะเป็นตัวกำจัดและขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบความพินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต (พจนานุกรมพุทธศาสตร์ : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))

    ดังนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจและรู้จักกิเลสแต่ละประเภทให้ดี เพื่อจะได้รู้เท่าทันพวกมัน โดยทั่วไป ถ้าเป็นกิเลสตัวใหญ่ ๆ อย่าง ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เราก็คงจะรู้ๆ กันอยู่ แต่หากเราเริ่มปฏิบัติธรรมไป จิตละเอียดขึ้น ก็จะเจอกิเลสที่ละเอียดขึ้นตามไปด้วย ซึ่งหลายครั้ง นักปฏิบัติไม่รู้จักมันก็จะเสียท่าได้

    เรื่องนี้ผู้เขียนขอยกตัวอย่างประสบการณ์ของตัวผู้เขียนเอง…

    ในช่วงแรกๆ ที่ผู้เขียนสำนึกได้ถึงความเลวของตัวเองที่ผ่านมา และเริ่มหันมาปฏิบัติธรรมมากขึ้น โดยการตั้งใจให้ ทาน รักษาศีล เจริญพรหมวิหาร 4 และกรรมบถ 10 ช่วงนั้นผู้เขียนรู้สึกว่าชีวิตเปลี่ยนไปอย่างมาก จากที่ส่วนใหญ่จะทุกข์ประมาณ 80-90% ในแต่ละวัน เปลี่ยนเป็นชีวิตมีความสุขมากกว่าทุกข์ ผู้เขียนรู้จักการให้อภัย มันทำให้รู้สึกดีมากๆ มีความสุขทุกครั้งที่ให้อภัยทานอย่างไม่มีขอบเขต ต่อมาผู้เขียนได้เริ่มการภาวนาบ้าง ปรากฏว่า ได้เกิดเหตุวิปลาสกับผู้เขียน คือ ก่อนหน้านั้นอารมณ์จิตของผู้เขียนคือ ชีวิตนี้รักพระพุทธเจ้าสุดหัวจิตหัวใจ ยอมตายแทนพระองค์ได้ แต่อยู่ๆ วันหนึ่ง จิตของผู้เขียนกับคิดปรามาสพระพุทธเจ้าทุกครั้งที่นึกถึงพระองค์ ด้วยถ้อยคำที่ไม่สุภาพ โดยที่ตัวผู้เขียนเองไม่สามารถห้ามความคิดชั่วนี้ได้เลย ตอนนั้นผู้เขียนรู้สึกตกใจและทุกข์ใจมาก ผู้เขียนไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง ความรู้สึกบอกว่า ทำไมยิ่งปฏิบัติกลับยิ่งแย่ลง ผู้เขียนเรียกว่าไอ้ตัวคิดชั่วนี้ว่า จิตมาร มันเป็นเหมือนอีกคนหนึ่งที่อยู่ในตัวเรา แต่ก็ไม่ใช่เรา แต่เราจะปฏิเสธความรับผิดชอบก็ไม่ได้ เพราะการปรามาสพระรัตนตรัย มันเกิดขึ้นจริง…


    หลังจากนั้นผู้เขียนก็พยายามหาคำตอบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร จนได้มาอ่านหนังสือของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระอรหันต์แห่งวัดท่าซุง เหมือนพระมาโปรด หลวงพ่ออธิบายไว้หมดเลยว่า ไอ้อาการอย่างนี้คือ กิเลสมาร ชนิดหนึ่ง นักปฏิบัติเป็นกันเกือบทุกคน หลวงพ่อบอกว่า กิเลสมาร พวกนี้มันเห็นว่าเราจะพ้นอำนาจมัน ก็เลยหาทางลากเราลงนรก ท่านบอกว่าให้ขอขมาพระรัตนตรัยไปเรื่อยๆ จะหายเอง ผู้เขียนก็ทำตามที่ท่านบอก ใช้เวลา 3 – 4 เดือนจึงเบาบางลง ตอนนั้นก็หวั่นๆ ใจว่า ถ้าหากผู้เขียนพลาดพลั้งตายไปก็คงนู่นแหล่ะ อเวจีมหานรก (กรรมก่อนตายคือ การปรามาสพระรัตนตรัย)


    มาคิดใคร่ครวญดูดีๆ ก็ทำให้เห็นได้ง่ายขึ้น ว่า ขันธ์ 5 นี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เพราะการปรามาสที่เกิดขึ้นนี้ ที่เราคิดว่าเกิดจากจิตเรานี้ แต่จริงๆ แล้ว เราควบคุมมันไม่ได้เลย ถ้าความคิดมันเป็นเราจริง ทำไมเราบังคับมันไม่ได้ เหมือนกับว่า ยิ่งกิเลสมารมันพยายามลากเราลงนรก แต่ถ้าเรารู้ทันมัน กลับกลายเป็นประโยชน์กับตัวเราในการดูจิต

    ผู้เขียนเคยไปอ่านในเวบพลังจิต ปรากฏว่าเป็นกันเยอะมาก อาการแบบนี้ สำหรับใครที่มีอาการ ปรามาสพระรัตนตรัยจากกิเลสมาร ให้กล่าวคำ ขอขมาพระรัตนตรัย ทุกครั้งที่คิดปรามาส ดังนี้ครับ….

    “สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง

    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต”

    หรือจะกล่าวเป็นภาษาไทยก็ได้..
    “หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยกายก็ดี วาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยะสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า
    ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ”

    นอกจากนี้จากที่ผู้เขียนเคยอ่านเจอ ประสบการณ์ของบางคนจะเจอกิเลสมาร ที่มาในรูปแบบอื่นๆ เช่น บางคนหลังจากปฏิบัติไปได้สักระยะ จะมีความคิดชั่วผุดขึ้นมา โดยที่ห้ามตัวเองไม่ได้ ทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

    บางคนจากปกติที่เป็นคนไม่โกรธ แต่ไม่รู้เป็นอะไร เวลาเจริญกรรมฐาน กลับมีอารมณ์โกรธแค้นแบบไม่เคยมีมาก่อน อันนี้หลวงพ่อสอนว่ามันเป็น อนุสัย หมายถึง กิเลสละเอียดที่นอนนิ่งอยู่ในใจ เวลาปกติจะไม่แสดงตัว แต่พอจิตเราละเอียดขึ้น มันก็จะแสดงตัวออกมาเล่นงานเรา วิธีแก้ไขคือ ให้กำหนดรู้ สภาวะจิตต่างๆ เหล่านี้ว่า คือ กิเลสมาร มีเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป ให้เราปล่อยวางความคิดเหล่านี้ ไม่ต้องไปเศร้าหมองกับมัน หากเรากำหนดรู้และปล่อยวางบ่อยๆ หลวงพ่อบอกว่า เดี๋ยวจะหายไปเอง….

    สรุป : วิธีต่อสู้กับกิเลสมาร

    เบื้องต้นคือ การรู้เท่าทันมัน เมื่อรู้แล้วก็ใช้กฎ ไตรลักษณ์ ดูว่า มันไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป(อนิจจัง) นำมาซึ่งความทุกข์(ทุกขัง) และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา(อนัตตา) สุดท้ายก็ให้ปล่อยวางอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้น นั่นก็คือ การดูจิต หรือ เจริญหนึ่งในสติปัฏฐานสี่ นั่นคือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั่นเอง…

    ดังนั้นเราจึงควรจะศึกษาให้รู้ว่า กิเลส นั้นมีกี่ประเภท อะไรบ้างเพื่อประกอบการดูจิต…

    สำหรับวิธีการกำจัดกิเลสมารทั้งหลายให้สิ้นซาก ก็คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน แต่การที่จะเจริญวิปัสสนาจนถึงขั้นตัดกิเลสได้ ต้องมีพื้นฐานที่ดีคือ การทำบารมี 10 ให้เต็ม และต้องปฏิบัติตามหลัก ไตรสิกขา 3 นั่นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา…

    ****************************************

    ส่วนเสริม (เพื่อประกอบการดูจิต)

    ประเภทของกิเลส

    กิเลส สามารถแบ่งประเภทได้หลายแบบ แต่รากเหง้าของกิเลสทั้งหลาย เกิดจาก กิเลส 3 ประเภท หรือที่เรียกว่า อกุศลมูล 3 ดังนี้

    1. โลภะ ความอยากได้
    2. โทสะ ความคิดประทุษร้าย
    3. โมหะ ความหลง

    นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งประเภทกิเลสให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ออกเป็นแบบต่างๆ ดังนี้

    อุปกิเลส 16
    โทษเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำจิตใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก มี ๑๖ อย่าง คือ

    ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร

    ๒. โทสะ คิดประทุษร้าย

    ๓. โกธะ โกรธ

    ๔. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้

    ๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน

    ๖. ปลาสะ ตีเสมอ

    ๗. อิสสา ริษยา

    ๘. มัจฉริยะ ตระหนี่

    ๙. มายา เจ้าเล่ห์

    ๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด

    ๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ

    ๑๒. สารัมภะ แข่งดี

    ๑๓. มานะ ถือตัว

    ๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน

    ๑๕. มทะ มัวเมา

    ๑๖. ปมาทะ เลินเล่อหรือละเลย


    นิวรณ์ 5


    ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี ๕ อย่าง คือ

    ๑. กามฉันท์ พอใจในกามคุณ

    ๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น

    ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา ความท้อแท้ ง่วงเหงา รวมถึงความขี้เกียจ

    ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ

    ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย


    วิปัสสนูปกิเลส 10 (เป็นกิเลสที่เกิดขึ้นกับผู้เจริญภาวนา)


    อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, สภาพ น่าชื่นชม แต่ที่แท้เป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา ซึ่งเกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนา อ่อนๆ ทำให้เข้าใจผิดว่า ตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ มี ๑๐ คือ

    ๑. โอภาส แสงสว่าง

    ๒. ปีติ ความอิ่มใจ

    ๓. ญาณ ความรู้

    ๔. ปัสสัทธิ ความสงบกายและจิต

    ๕. สุข ความสบายกาย สบายจิต

    ๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ

    ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี

    ๘. อุปัฏฐาน สติชัด

    ๙. อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง

    ๑๐. นิกันติ ความพอใจ


    เนื่องจากที่กล่าวมามีแต่เพียงหัวข้อ >>>>อ่านเพิ่มเติมเรื่อง วิปัสสนูปกิเลส

    อนุสัย 7

    กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน มี ๗ คือ

    ๑. กามราคะ ความกำหนัดในกาม

    ๒. ปฏิฆะ ความหงุดหงิด

    ๓. ทิฏฐิ ความเห็นผิด

    ๔. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

    ๕. มานะ ความถือตัว

    ๖. ภวราคะ ความกำหนดในภพ

    ๗. อวิชชา ความไม่รู้จริง

    สังโยชน์ 10

    กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ

    โอรัทภาคิสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำเป็นอย่างหยาบ เป็นในภพอันต่ำ

    ๑. สักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่าขันธ์ ๕ เป็นเรา เป็นของเรา เป็นว่ามีตัวตน ยึดกายของตน ความเห็นเข้าข้างตน

    ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย สงสัยเพราะไม่รู้

    ๓. สีลัพพตปรามาส ความยึดถือศีลถือพรตอย่างงมงาย คิดว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ คิดว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญา เชื่อถือโชคลาง เพื่อเชื่อพิธีกรรม เป็นการลูบคลำศีล

    ๔. กามราคะ ความกำหนัดยินดีใน กามคุณ ๕

    ๑.รูป

    ๒.เสียง

    ๓.กลิ่น

    ๔.รส

    ๕.โผฏฐัพพะ

    ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งทางใจ ทำให้ไม่พอใจ ความขัดใจ หงุดหงิดด้วยอำนาจ โทสะ

    อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูงเป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง

    ๖. รูปราคะ ติดใจใน รูปธรรม (สิ่งที่มีรูป) ติดใจในอารมณ์แห่ง รูปฌาน ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์)

    ๗. อรูปราคะ ติดใจใน อรูปธรรม ติดใจในอารมณ์แห่ง อรูปฌาน ๔ (ฌานที่มีอรูปธรรมเป็นอารมณ์)

    ๘. มานะ ความถือตนโดยความรู้สึกว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา

    ๙. อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่าน จิตส่าย ใจวอกแวก

    ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้แจ้ง (ไม่รู้ใน อริยสัจจ์ ๔) อวิชชา ๔

    ๑. ไม่รู้ใน ทุกข์

    ๒. ไม่รู้ใน ทุกขสมุทัย

    ๓. ไม่รู้ใน ทุกขนิโรธ

    ๔. ไม่รู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ไม่รู้ใน อดีต ไม่รู้เหตุการณ์ ไม่รู้ใน อนาคต ไม่รู้ทั้ง อดีต ทั้ง อนาคต ไม่รู้ ปฏิจจสมุปบาท

    พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้

    พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย

    พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด

    พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ

    พุทธวิธีเอาชนะกิเลสมาร…จากพระสูตร

    “…อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ เป็นฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราแม้นี้ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน
    คือพระองค์ทรงละกามฉันท์ด้วยเนกขัมมะเสด็จไปแล้ว, ทรงละพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ทรงละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ทรงละอุทธัจจกุกกุจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ทรงละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรมเสด็จไปแล้ว,
    ทรงทำลายอวิชชาด้วยญาณเสด็จไปแล้ว, ทรงบรรเทาความไม่ยินดีด้วยความปราโมทย์ ทรงเพิกถอนเครื่องกั้นคือนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ยังความมืดคือวิตก วิจารให้สงบระงับด้วยทุติยฌาน ทรงสำรอกปีติด้วยตติยฌาน ทรงละสุข และทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ทรงล่วงพ้นรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตตสัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นวญญาณัญจายตนสัญญาด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเสด็จไปแล้ว,
    ทรงละนิจจสัญญาด้วย อนิจจานุปัสสนาญาณ ทรงละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนาญาณ ทรงละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนาญาณ ทรงละความเพลิดเพลินด้วยนิพพิทานุปัสสนาญาณ ทรงละราคะด้วยวิราคานุปัสสนาญาณ ทรงละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนาญาณ ทรงละการถือมั่นด้วยปฏินิสัคคานุปัสสนาญาณ ทรงละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนาญาณ ทรงละการประมวลมาด้วยวยานุปัสสนาญาณ ทรงละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสสนาญาณ ทรงละนิมิตตสัญญาด้วยอนิมิตตานุปัสสนาญาณ ทรงละความปรารถนาด้วย อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ทรงละอภินิเวสด้วยสุญญานุปัสสนาญาณ ทรงละการยึดถือโดยเป็นสาระด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนาญาณ
    ทรงละการยึดมั่นเพราะความหลงด้วยยถาภูตญาณทัสสนญาณ ทรงละความยึดถือด้วยความอาลัย ้วยอาทีนวานุปัสสนาญาณ ทรงละการไม่พิจารณาด้วยปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ทรงละการยึดมั่นด้วยอำนาจสังโยชน์ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนาญาณ ทรงหักรานกิเลสในปัจจุบันด้วยโสดาปัตติมรรค ทรงละกิเลสอย่างหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ทรงเพิกถอนกิเลสซึ่งยังเหลืออยู่เล็กน้อยด้วยอนาคามิมรรค ทรงตัดขาดกิเลสทุกอย่างด้วยอรหัตตมรรค เสด็จไปแล้ว.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วอย่างนั้น ด้วยอาการ ดังพรรณนามาอย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.”

    มาร 5 และวิธีปราบมาร - Powered by phpwind
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ยกมาเลย ไม่องไม่รู้ (f)
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระกุมารกัสสปะ ท่านเป็นเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร :cool:
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อภิสังขารมาร

    มาร 5 และคัมภีร์ปราบมาร (ตอนที่3)

    3. อภิสังขารมาร

    มาร คืออภิสังขาร
    [​IMG]อภิสังขาร
    (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม)

    อภิสังขาร เป็นมารเพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา เป็นต้น ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังขารทุกข์ (ทุกข์เพราะเป็นสังขาร คือ เพราะเป็นสภาพอันถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น จึงต้องผันแปรไปตามเหตุปัจจัยเป็นสภาพอันปัจจัยบีบคั้นขัดแย้ง คงทนอยู่มิได้) – พจนานุกรมพระไตรปิฎก
    อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของอภิสังขารมาร
    อภิสังขารมาร = มาร คือ เจตนากรรมในอดีตภพ ซึ่งมีอยู่ 3 ประการ อันได้แก่
    1. ปุญญาภิสังขาร เจตนาอันเป็นบุญได้แก่ เจตนาในมหากุศล ๘ รูปฌานกุศล ๕
    2. อปุญญาภิสังขาร เจตนาคือบาป ได้แก่ เจตนาในอกุศล ๑๒
    3. อาเนญชาภิสังขาร เจตนาที่ไม่หวั่นไหวคือเจตนาในอรูปฌานกุศล ๔
    ก็อภิสังขารมาร คือ เจตนาในอภิสังขารทั้ง ๓ นี้เป็นเหตุให้ปฏิสนธิในภพภูมิต่างๆ เมื่อยังต้องปฏิสนธิคือยังต้องเกิดในภพต่างๆ อยู่ย่อมไม่พ้นไปจากความทุกข์ได้ อภิสังขารคือเจตนากรรมเหล่านี้ที่ชื่อว่ามาร ก็เพราะเป็นผู้ทำลายหรือกีดกันปิดกั้นหนทางที่บุคคลจะเข้าถึงความพ้นทุกข์ พูดง่ายๆ ก็คือ อภิสังขารมารนั้นปิดกั้นทางที่จะให้ถึงมรรคผลนิพพาน…



    ตามความเข้าใจของผู้เขียน เข้าใจว่า อภิสังขารมา มีความหมายอยู่ 2 นัย
    - นัยที่ 1 อภิสังขารมาร คือ วิบากหรือผลกรรมที่จะมาขัดขวางการทำความดีของเราในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลมาจาก เจตนากรรมในอดีต(อภิสังขารทั้ง 3 คือ บุญ บาป และ ฌานที่เจือด้วยกิเลส) ผลกรรมนี้ถ้าขนาดเบาก็แค่ทำให้เราเดินหลงออกนอกหนทาง แต่ถ้าเราตั้งสติทัน เราก็ยังสามารถบรรลุธรรมได้ ขอเพียงอย่าทำกรรมหนักหรือครุกรรมเท่านั้นเป็นพอ
    ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ พระเจ้าอชาตศัตรู ที่หลงเชื่อคำยุยงของพระเทวทัตจนได้ทำ อนันตริยกรรม คือ ฆ่าพ่อตัวเอง บุคคลที่ทำอนันตริยกรรมแล้ว วิบากคือต้องลงนรกอย่างเดียว หมดสิทธิ์บรรลุมรรคผลแม้แต่เป็นพระโสดาบันก็ไม่ได้ ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูนี้เป็นผู้มีบุญที่พระพุทธองค์ทรงตรัสมีใจความว่า พระราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว หากท้าวเธอไม่ได้ทำอนันตริยกรรม แล้วมีโอกาสฟังธรรมกับตถาคต ก็จะบรรลุมรรคผลทันที
    ผลกรรมอื่นๆ ที่จะปิดกั้นมรรคผล เช่น การปรามาสพระรัตนตรัย หรือบิดามารดา ตัวอย่างคือ พระพุทธองค์ของเราเอง สมัยพระกัสสปะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เกิดเป็นมานพ ชื่อว่า โชติปาละ ได้กล่าวดูถูกพระกัสสปะพุทธเจ้า ว่าการตรัสรู้เป็นของได้โดยยาก ท่านจะได้จากควงไม้โพธิ์ที่ไหนกัน ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ในชาติสุดท้ายนี้ต้องบำเพ็ญทุกกรกริยาเป็นอันมาก สิ้นเวลาถึงหกปี ต่อจากนั้น จึงได้บรรลุการตรัสรู้
    “เรามิได้บรรลุการตรัสรู้โดยทางนั้น ได้แสวงหาโดยทางที่ผิด เพราะถูกกรรมเก่าทวงเอา”


    - นัยที่ 2 ของอภิสังขารมาร หากมองในปัจจุบันและอนาคต ก็คือ ต้องดูจิตของเรา ณ ตอนนี้ว่าเรายังอยู่ในข่ายของมาร คือจิตยังปรุงแต่งกรรม หรือมีเจตนากรรมให้เรายังต้องการสร้างภพสร้างชาติต่อไปอยู่อีกหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญหรือฌานโดยหวังมนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ หรือพรหมสมบัติ ยังมีอยู่ในใจเราหรือไม่ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการสร้างบาปทั้งหลาย เพราะจะทำให้เราต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ… เป็นการปิดกั้นทำให้ไม่ได้มรรคผลในอนาคต
    ยกตัวอย่างกรณีนี้ เช่น ปรุงให้อยากรวย อยากเป็นเทวดา พรหม อยากได้ฌาน อยากได้อิทธิฤทธิ์
    ท่านพ่อลี เคยสอนเอาไว้ว่า หัวหน้ามาร คือ อวิชชาความไม่รู้ ส่วนอภิสังขารเป็นเหมือนลูกน้องมาร ดังนี้
    “เพราะความไม่รู้ (อวิชชา) จึงเป็นเหตุแห่งสังขารทั้ง 3 คือ ปุญญาภิสังขาร นึกคิดปรุงแต่ง ไตร่ตรอง พินิจพิจารณา หาทางจะสร้างคุณงามความดีของตนให้เกิดขึ้น อาทิ หลงบุญ อยากได้บุญแต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร อปุญญาภิสังขาร นึกคิดปรุงแต่ง เสกสรรในทางที่ไม่ดีไม่ชอบ ซึ่งเป็นฝ่ายชั่ว ทุจริต ทำดวงจิตให้เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส อเนญชาภิสังขาร ความคิดเป็นกลางจะเรียกว่าบุญก็ไม่ใช่ จะเรียกว่าบาปก็ไม่ใช่ เช่น พรุ่งนี้ เราจะไปซื้อของในตลาดหรือพรุ่งนี้จะไปทำนา หรือเราจะไปอาบน้ำ เราจะไปกินข้าว ความคิดนึกตรึกตรองเกิดขึ้นในดวงจิตอย่างนี้เป็นอเนญชาภิสังขาร สังขารยังไม่เป็นบุญ สังขารยังไม่เป็นบาป”

    วิธีต่อสู้กับอภิสังขารมาร
    ขอแยกเป็น 2 นัย ตามที่ผู้เขียนกล่าวถึงอภิสังขารมาร ว่าอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทดังกล่าวข้างต้น
    - นัยที่ 1 หากเป็นผลกรรมจากกรรมเก่าที่เราต้องได้รับแล้ว อันนี้ก็สุดวิสัย เพราะแม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงหนีไม่พ้นกฎแห่งกรรมไปได้ สิ่งที่เราต้องทำคือ เข้าใจและยอมรับกฎแห่งกรรม เพราะหากเป็นเศษกรรมแล้ว เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่หากเป็นเรื่องของเจ้ากรรมนายเวร อันนี้ยังพอต่อรองกันได้ โดยการขออโหสิกรรมและทำบุญอุทิศไปให้ท่าน….
    ในประเด็นนี้ผู้เขียนคิดว่า สิ่งที่เราทำได้คือ อันดับแรกต้องไม่สร้างกรรมใหม่เพิ่มโดยเด็ดขาด ทั้งทางกาย วาจา และใจ (ศีลและกรรมบถ 10) ต่อมาก็ต้องเร่งทำความดีตามหลัก บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ เร่งสร้าง บารมี 10 ประการ ให้เต็ม และการทำบุญทุกอย่างอย่าหวังผลตอบแทนใดๆ อย่าหวังการสร้างภพสร้างชาติ ให้ตั้งจิตมุ่งสู่พระนิพพานอย่างเดียว ทำได้อย่างนี้แล้ว ถึงแม้ว่า ณ ตอนนี้เรายังต้องรับวิบากกรรมซึ่งเป็นเหตุให้ยังไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่สักวันหนึ่งข้างหน้า เราย่อมสามารถบรรลุธรรมตามที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน (หากไม่เลิกล้มความตั้งใจเสียก่อน)
    เรื่องนี้ก็ขอให้ดูอย่างพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นตัวอย่าง ที่ถึงแม้ท่านจะถูกปิดกั้นด้วยวิบากกรรมแล้วว่าไม่สามารถบรรลุธรรมได้ในชาตินี้ แต่ท่านก็ไม่ได้ท้อพระทัยในการทำความดีสร้างบารมีให้เต็ม ผลที่สุดเมื่อท่านสิ้นพระชนม์ ด้วยอานิสงส์แห่งบุญบารมีที่ท่านสร้าง ก็ทำให้ท่านต้องไปอยู่ในนรกขุมที่ตื้นที่สุด(แทนที่จะเป็นอเวจีมหานรก) และในอนาคตเมื่อท่านพ้นจากนรกแล้วมาเกิด ก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า ชีวิตวิเสส นั่นเอง….
    - นัยที่ 2 ว่าด้วยวิธีเอาชนะ อภิสังขาร 3 อันได้แก่ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และ อเนญชาภิสังขาร ข้อนี้ขอนำคำสอนหลวงพ่อฤาษีฯ มากล่าวดังนี้ครับ…

    “สังขารคือสภาพที่ปรุงแต่งจิต ไอ้นี่หมายความถึงอารมณ์ของจิต อารมณ์ที่เข้ามาแทรกจิต ท่านกล่าวว่า อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร อย่างนี้บรรดาพระคุณเจ้าบางท่านคงพอจะรับทราบ บางองค์ก็คงไม่เข้าใจ ญาติโยมพุทธบริษัทบางท่านเรียนมาแล้วคงเข้าใจ ท่านที่ไม่เรียนคงไม่เข้าใจ ก็มาพูดกันเสียให้เข้าใจเลย สังขารมี 3 ปุญญาภิสังขาร คือ อารมณ์ที่มีความสุข อปุญญาภิสังขาร ได้แก่อารมณ์ที่มีความทุกข์ ท่านพูดว่าบุญหรือบาปมันฟังยาก อารมณ์ที่มีความสุขก็คือบุญ อารมณ์ที่มีความทุกข์ก็คือบาป ความชั่ว และอเนญชาภิสังขาร คืออารมณ์ที่วางเฉยเป็นอารมณ์กลางได้แก่อุเบกขารมณ์ เป็นอารมณ์ว่างจากกิเลส ว่างจากความสุขหรือความทุกข์ อันนี้เป็นอารมณ์ที่ปรารถนาพระนิพพานนี่นะ ถ้าอารมณ์อย่างนี้เข้ามาสิงจิต ถ้าเป็นอารมณ์ฝ่ายกุศลมันก็มีความสุขใจ ถ้าเป็นอารมณ์ฝ่ายอกุศลมันก็มีความทุกข์ใจกลัดกลุ้มใจ ถ้าเป็นอารมณ์พระนิพพานก็มีแต่ความเยือกเย็น อารมณ์อย่างนี้มันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไปนะขอรับ มันไม่คงสภาพ เดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ ไม่คงที่ เดี๋ยวมีอารมณ์อย่างนี้ เดี๋ยวมีอารมณ์อย่างนั้น ข้อนี้เป็นวิปัสสนาญาณนะขอรับ ให้พิจารณาว่ามันเป็นอนัตตา ไม่มีอะไรทรงตัว”



     
  8. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    เห็นวันก่อน ลุงตั้งกระทู้ โทสะ กับ โลภะ อย่างไหนถึงธรรมได้มากกว่ากัน

    ต่อมาไม่กี่ความก็มาพบบทความที่คลายความติดข้องใจ นั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญแน่แท้

    ถือว่า สร้าเหตุมาดีนะเนี่ย :cool:
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มัจจุมาร

    มาร 5 และคัมภีร์ปราบมาร (ตอนที่4)

    4. มัจจุมาร

    มาร คือ ความตาย
    [​IMG]
    มัจจุมาร มารคือความตาย ความตายจัดเป็นมาร เพราะเป็นตัวการตัดโอกาสในการทำคุณงามความดี บางคนไม่เคยสนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมเลย พอหันมาสนใจก็มีเหตุให้ต้องตายไปเสียก่อนที่จะได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมตามที่ตั้งใจ ความตายจึงเป็นมารอย่างนี้
    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ท่านอาจารย์สอนกรรมฐานทั้งสองของพระพุทธองค์ คือ ท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร และ ท่านอุทกดาบส รามบุตร ซึ่งสำเร็จฌานขั้นสูง หากได้คำแนะนำจากพระพุทธองค์เพียงเล็กน้อยก็จะบรรลุอรหัตผลได้โดยง่าย แต่เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว ลำดับแรกคิดจะไปโปรดท่านอาจารย์ทั้งสองนี้ ปรากฏว่าตายซะแล้ว ต้องไปติดอยู่ในพรหมชั้นสูงอีกไม่รู้กี่กัป (พรหมในชั้น อากิญจัญญายตนภูมิ มีอายุ 60,000 มหากัป ส่วนชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ มีอายุ 80,000 มหากัป) จึงจะได้ลงมาเกิดใหม่….อย่างนี้คือมัจจุมารโดยแท้

    พูดถึงเรื่อง ความตาย ในทางพุทธศาสนาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
    ๑. กาลมรณะ หมายถึง ความตายในเวลาอันสมควร เหมือนมนุษย์หรือสัตว์โลกทั้งหลายที่ดำเนินชีวิตไปตามปกติ ก็สิ้นชีวิตตามธรรมชาติ อันเนื่องมาจาก
    - ตายเพราะสิ้นอายุ (อายุกขมรณะ) หมายความว่า เป็นความตายของสัตว์ทั้งหลายที่ต้องตายโดยสิ้นอายุขัย สัตว์ทั้งหลายย่อมมีชีวิตอยู่ด้วยการกำหนดขอบเขตแห่งการตั้งอยู่ของชีวิตรูป มีกำหนดขอบเขตอายุขัยของตนไปตามภูมิที่ตนเกิด
    - ตายเพราะสิ้นกรรม (กัมมักขยมรณะ) หมายความว่า เป็นความตายของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น เพราะชนกกรรม ที่มีหน้าที่ส่งผลให้เกิดปฏิสนธิในภพนั้น ๆ และอุปถัมภกกรรม ที่มีหน้าที่ช่วยอุดหนุนให้รูปนามที่เกิดจากชนกกรรมให้ตั้งอยู่ได้ในภพนั้น ๆ ได้มีการสิ้นสุดแห่งกรรมทั้งสองดังกล่าวนี้
    - ตายเพราะสิ้นอายุและสิ้นกรรม (อุภยักขยมรณะ) หมายความว่า เป็นความตายของสัตว์ทั้งหลายที่ถึงแก่ความตายนั้น มีอายุยืนอยู่ได้จนกระทั้งครบอายุขัยและอำนาจของกุศลชนกกรรม หรืออกุศลชนกกรรม ก็พอดีหมดลงพร้อมกับความสิ้นสุดแห่งอายุ
    ๒. อกาลมรณะ หมายถึง ความตายในเวลาที่ยังไม่สมควร คือ ตายเพราะถูกกรรมเข้ามาตัดรอน (อุปฆาตกรรม) ทำให้ต้องตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ อันเนื่องมาจาก ตายเพราะประสบอุปัทวเหตุ (อุปจเฉทกมรณะ) หมายความว่า เป็นความตายของสัตว์ทั้งหลายที่ต้องประสบกับเหตุให้ต้องตายลงด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ถูกฆ่าตายบ้าง ถูกรถชนตายบ้าง เป็นความตายที่อายุและกรรมของสัตว์ทั้งหลายยังไม่สิ้น เมื่อตายก่อนอายุขัยเช่นนี้ ต้องกลายเป็น วิญญาณที่รอการเกิด หรือที่เรียกว่า สัมภเวสี จนกว่าจะถึงอายุขัยของตนเอง จึงจะได้ไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ สุดแท้แต่กรรมที่ตนสั่งสมมา (สัมภเวสีในที่นี้ผู้เขียนหมายถึง วิญญาณที่รอการไปเกิด แต่ในพระไตรปิฎก สัมภเวสี หมายความรวมถึง พรหม เทวดา มนุษย์ และสัตว์ในอบายภูมิทั้งหมดเพราะยังอยู่ในวิสัยที่ต้องเวียนตายเวียนเกิดทั้งหมด)
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง เคยพูดถึงเรื่อง สัมภเวสี ว่าพวกนี้มีชีวิตที่น่าสงสาร จะไปรับผลบุญหรือผลบาปของตัวเองยังไม่ได้เพราะต้องรอจนครบอายุขัยก่อน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบากต้องรอให้ญาติทำบุญอุทิศไปให้ โดยหลวงพ่อแนะนำว่าให้ถวายสังฆทาน ผ้าไตรจีวร และพระพุทธรูป แล้วอุทิศบุญให้ผู้ตาย (โดยต้องระบุชื่อผู้ตายด้วยจึงจะได้บุญ เพราะการอุทิศบุญแบบรวมๆ สัมภเวสีจะไม่สามารถโมทนาบุญได้….แต่พวกเปรตนี่รับได้ ดังนั้นเวลาทำบุญแล้วอุทิศบุญควรระบุชื่อว่าทำให้ใคร เสร็จแล้วอุทิศต่อไปว่าให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งที่ใช่ญาติและไม่ใช่ญาติด้วย เพราะพวกเปรตที่เขาอยู่ได้ด้วยการรับส่วนบุญ เวลามีงานบุญเขาก็มารอ แต่บางทีไม่ใช่ญาติพี่น้องเราจึงไม่สามารถโมทนาได้เพราะคนอุทิศบุญบอกแต่ว่าทำให้ญาติ)
    เพิ่มเติมเรื่องการอุทิศบุญอีกสักเล็กน้อย คือถ้าวิญญาณหรือคนที่เราอุทิศบุญให้เขามาอยู่ ณ ที่นั้นก็จะสามารถโมทนาบุญได้เลย แต่มีบางกรณีที่ไม่สามารถมารับบุญได้ เช่นไปอยู่ในภพบางภพ ได้แก่ สัตว์นรก อสุรกาย และเปรตบางประเภท ผลกรรมจะปิดกั้นทำให้บุญส่งไปไม่ถึง ท่านพญายมเคยบอกหลวงพ่อว่า ลูกหลานหลวงพ่อก็เหมือนลูกหลานท่านพญายม เวลาอุทิศบุญให้เพิ่มไปว่า อุทิศบุญฝากไว้กับท่านพญายมด้วย เผื่อวิญญาณเหล่านั้นไปเจอท่าน ท่านจะได้บอกให้โมทนาบุญได้ โดยเฉพาะพวกที่ต้องผ่านการตัดสินที่สำนักพญายม หากเราอุทิศฝากท่านไว้ ท่านจะช่วยให้ไปสวรรค์ได้ทันที
    รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง การอุทิศบุญที่ถูกต้องและได้ผล

    การป้องกัน อุปฆาตกรรมที่ทำให้ตายก่อนอายุขัย หลวงพ่อแนะนำว่า ให้ทำบุญต่ออายุ โดยการปล่อยสัตว์ที่เขากำลังจะฆ่า เช่น ปล่อยปลาในตลาด ไถ่ชีวิตโค-กระบือ เป็นต้น แล้วอุทิศบุญให้กับเจ้ากรรมนายเวร ควรทำเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้งหรือได้เดือนละครั้งยิ่งดี เพราะเราไม่รู้ว่า อุปฆาตกรรม จะมาเมื่อใด แต่อย่าเข้าใจผิดว่าจะต่ออายุได้เรื่อยๆ นะครับ เพราะหากสิ้นอายุขัยหรือสิ้นกรรมแล้ว ทุกคนก็ต้องตายหมด….
    มารู้จักชีวิตหลังความตาย

    [​IMG]คนเรามักกลัวความตายกัน ผู้เขียนคิดว่าสาเหตุหนึ่งน่าจะเป็นเพราะความไม่รู้นั่นเอง ว่าตายแล้วจะไปไหน คำตอบในเรื่องนี้ก็คงบอกได้กว้างๆ ว่า หากยังไม่บรรลุอรหัตผล ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิทั้ง 31 ภูมินี่แหล่ะครับ (รายละเอียดมีมาก ขอให้ศึกษาเพิ่มเติมใน แผนภูมิ 31 ภูมิ )แต่ตายแล้วจะไปไหนนั้น ในเรื่องกฎของกรรมนั้น มีวิธีสังเกตดังนี้ครับ
    ว่าด้วยลำดับแห่งการให้ผลของกรรมหลังตาย
    - กรรมที่ให้ผลอันดับแรก หากชีวิตนี้เราได้ทำ ครุกรรม คือ กรรมหนัก จะส่งผลก่อน มีทั้งฝ่ายดี ได้แก่ ฌานสมาบัติ 8 หากตายในฌาน ก็จะไปบังเกิดในพรหมโลกทันทีตามแต่ขั้นของฌานนั้นๆ (คงเคยเห็นคนนั่งสมาธิตายนะครับ) และครุกรรมฝ่ายไม่ดี ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม ๓และอนันตริยกรรม ๕หากตายไปต้องลงนรกทันทีเช่นกัน(หากไม่ได้ทำความดีไว้ก็ต้องลงอเวจีมหานรก) ตัวอย่างคือ พระเทวทัต ที่ถูกธรณีสูบลงอเวจีมหานรก
    - กรรมที่ให้ผลอันดับสอง หากไม่ได้ทำครุกรรม กรรมที่ส่งผลเป็นอันดับสองคือ อาสันนกรรม หรือ กรรมก่อนตาย ถึงแม้จะเป็นกรรมเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็ส่งผลก่อน เปรียบเสมือนโคแก่ปากคอก ถึงแม้กำลังไม่เยอะ แต่ก็ออกจากคอกได้ก่อน หากแม้นทั้งชีวิตทำแต่ความดีแต่ก่อนตายจิตเศร้าหมองคิดถึงความชั่วเพียงเล็กน้อย ก็ลงอบายภูมิ หรือตรงกันข้าม บางคนทั้งชีวิตทำแต่ความชั่ว แต่ก่อนตายได้ทำความดีและมีจิตที่เบิกบานในความดีนั้น ก็ต้องไปรับผลบุญในสุคติภูมิก่อน จนกว่าจะหมดบุญ
    - กรรมที่ให้ผลอันดับสาม หากไม่มีครุกรรมและอาสันนกรรมแล้ว กรรมที่จะให้ผลคือ อาจิณณกรรม หรือ กรรมที่ทำเป็นประจำ เช่นใส่บาตรประจำ ไหว้พระสวดมนต์ทุกวัน หรือฆ่าสัตว์ประจำ
    - กรรมที่ผลลำดับสุดท้าย ถ้าไม่มีครุกรรม อาสันนกรรม และอาจิณณกรรมแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของ กตัตตากรรม หรือ กรรมที่ได้กระทำไปโดยไม่ตั้งใจไว้ก่อน หรือ กรรมที่ทำด้วยเจตนาอันอ่อน กรรมนี้จัดเป็นกรรมเล็กๆน้อยๆ ถ้าเป็นกุศลกตัตตากรรม ก็นำไปสู่สุคติ แต่ถ้าเป็นอกุศลกตัตตากรรม ก็นำไปสู่ทุคติ
    สรุปว่า หากทำความดีมากๆ ก็ไปพรหมหรือสวรรค์ทันที แต่ถ้าทำความชั่วมากๆ ก็ลงอบายภูมิทันทีเช่นกัน แต่เท่าที่ผู้เขียนเคยศึกษามาเข้าใจว่า คนที่ทำทั้งบุญและกรรมแบบก้ำกึ่ง ต้องผ่านสำนักพญายม ท่านพญายมจจะพยายามช่วยให้ไปสุคติภูมิโดยจะถามถึงความดีที่เคยทำมา ผู้เขียนมีกระทู้แนะนำอยู่ 3 กระทู้ที่ควรศึกษาเพิ่มเติม คือ
    1. พญายมราชไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
    2. วิธีทำบุญหนีนรก
    3. ทางไปนิพพานที่ตรงและง่ายที่สุด
    หากใครได้อ่าน 3 บทความนี้แล้วปฏิบัติตาม ผู้เขียนคิดว่าอย่างน้อยก็คุ้มสำหรับการเกิดมาในชาตินี้ และคงจะทำให้ไอ้ความกลัวตายมันลดน้อยลงได้แน่ๆ เพราะเรารู้แล้วว่า ยังไงเราก็ไปดีแน่ ขออนุโมทนากับทุกท่านผู้น้อมปฏิบัติตามคำสอนหลวงพ่อด้วยนะขอรับ….

    มัจจุมาร : มารคือความตาย | Dhammatan.net
     
  10. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    เพราะลุง มีแต่ความห่วง ลุงมีหลายห่วง มันพันไปหมด เห็นบทความนี้
    มันสะดุด แต่ลุงยังไม่ได้ปัญญาหรอก
     
  11. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ความห่วงใย ความรักใคร่ ล้วนเป็นภาวะธรรมที่จิตรู้

    แต่ถ้าสติไม่รู้ ก็กลายเป็นยึดขึ้นมาได้

    ห่วงมาก เป็นโลภะ อยากให้เป็นดั่งใจ อยากเห็นให้เป็นดั่งใจ

    ห่างมากเกินไป ก็เป็นโทสะ ไม่ได้ดั่งใจก็กลุ้มใจ เสียใจ คับแค้นใจ

    พวกนี้เป็นธรรมที่มีอยู่ ปรากฏปรุงแต่ง แสดงความไม่ปรากฏแล้วปรากฏ ไม่มีแล้วมีขึ้นมาครับ


    พูดแบบบ้าน ห่วงลูก ห่วงหลาน ห่วงเห็ด ห่วงฟาร์ม ห่วงฝนฟ้า ห่วงโซฟา

    พวกนี้หากมองเป็น ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟแล้วไซร์

    ก็กำลังยึดธาตุ หลงธาตุอยู่

    พวกนี้หากมองเป็นกรรมแล้วไซร์ ทุกอย่างเกิดแต่กรรม มีกรรมเป็นที่อาศัย มีกรรมเป็นของตน

    ก็กำลังยึดกรรมชาวบ้านมาเป็นกรรมของตน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 กุมภาพันธ์ 2012
  12. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ความสำคัญมันอยู่ที่ว่า หากลุงทำอะไรไป มันจะกระทบใจใครบ้างเท่านั้นเอง
    เพราะลุง รู้ใจคนอื่นได้ยาก ทำอะไรก็ลำบาก

    ทำได้แค่พากันสวดมนต์แค่นั้นเอง
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ถ้าป๋ายังช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ไม่ได้ ยังไม่มีปัญญาที่เป็นที่พึ่งของตน
    ก็ช่วยพวกเขาไม่ได้อยู่ดี ความห่วง ความผูกพันธ์ ที่เรามีให้เขาก็ช่วยเขาไม่ได้จริง
    ที่ช่วยพวกเขาได้คือช่วยเรื่องปัจจัยทางโลก ส่วนการจะช่วยทางธรรมต้องสร้าง
    ปัจจัยทางธรรมให้สมควรแก่เหตุจนกว่าจะได้บรรลุธรรมถึงจะเนื้อนาบุญช่วยเหลือ
    คนอื่นๆและคนในครอบครัวได้จริง

    การตัดรักตัดความผู้พันธ์ไม่ใช่เรื่องของความใจร้าย เพราะยังมีเมตตาธรรมต่อกันอยู่
    ก็อยู่อย่างมีเมตตาต่อกัน ไม่มีโมหะ โลภะ โทสะ มาเจือปน ดีกว่าเดิมอีกนา
    ไม่ต้องเป็นทุกข์ใจเพราะความเป็นห่วงอีกตะหาก
     
  14. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    ในที่นี้ ถ้าเป็นเจตนาดี เป็นประโยชน์แก่ผู้รับ

    แม้การกระทำใดเป็นเหตุให้กระทบใจบ้าง ก็ควรกล่าวครับ

     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ถ้ายังมีภาระทางบ้านอยู่ ก็ปฏิบัติธรรมในบ้านไปตามปกติ
    ทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวไปตามปกติ
    แต่ถ้ามีกิจกรรมไปวัดทำบุญปฏิบัติวิปัสสนาร่วมกันบ่อยๆ ก็พากันเจริญไปเองนะป๋า
    ทำเท่าที่ทำได้ หรือว่า ป๋าใจร้อน อยากปลีกวิเวกอยู่สันโดษ

    ถ้าที่บ้านปฏิบัติธรรมกันทั้งบ้าน บ้านก็เป็นที่สัปปายะอยู่แล้ว สันโดษในทางธรรม

    ช่วยเหลือกันทางธรรมภายในครอบครัว ก็ดีไปอีกแบบ นะ
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตอน รับเธอมา จะไม่ทำ ให้ลำบาก
    มัน หนักเพียงใด จะไม่ยอมบอกใคร

    ยกมาได้เลย ไม่เคยบิดพลิ้ว

    สัญญา คือสัญญา....

    ปรารถนาเพียงเธอได้โพ้บบบบ .......!!!
    (f)<!-- google_ad_section_end -->
     
  17. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    มีคนหนึ่งเขาเป็นหัวหน้าครอบครัว และเขาเกิดตายกระทันหัน
    ก่อนตาย ลุงไม่รู้นะว่าเขาจะตาย เขาพยายามจะพูดกับลุงแต่ลุงบอกว่า
    เดี่ยวก่อน เดี่ยวมานะ วันนั้นเป็นวันที่ลุงพูดกับเขาครั้งสุดท้าย คนนี้เพิ่งเผาไปเองนะ
    ตายกระทัน ด้วยเส้นโลหิตแตกและลิ้มเลือดไปอุดเส้นโลหิตใหญ่ทำให้ก้านสมองตาย มันทำให้ลุงมองอะไรชัด แต่มันสวนทางมันกลับทำให้ห่วง

    เล่าให้ฟังเฉย นะ อันนี้
    มากขึ้น
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อันโคบาลหญิงชายทั้งหลายแหล่
    ต่างมีดีมีแย่อยู่พอๆ กัน
    ถึงเมื่อคราวแยกเนื้อกันมักหวานลื่น
    ต่างหยิบยื่นกระสุนตัดจุดตายให้แก่กัน

    ผมเป็นโคบาลบุรุษนะครับ
    ฉันเป็นโคบาลบุตตรีค่ะ
    ผมพรากลูกพรากแม่ของวัวนะ
    ฉันก็สลับธุระพรากชีวิตเช่นกันค่ะ

    วันเวลาผันไปช่างหวานชื่น
    ต่างหยิบยื่นความลำบาก.ให้ต่อกัน
    ความรักธรรมงดงามช่างยิ่งใหญ่
    จึงตกลงปลงใจยากเมื่อภาวนากัน

    .............................
    .............................

    กรรมมุนาวัตติโลโก

    *********************

    ก็แค่ ภาวนา ยาก นิ๊ดสสส์นึง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2012
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อนึ่ง การทำอาชีพหมอ หรือ หมอหมา ก็เป็นอาชีพที่สุ่มเสี่ยง
    ก่อบาปกรรม มากกว่าจะได้บุญกุศล

    เพราะเวลาที่พลาด ก็ย่อมต้องได้รับ ผลกรรม นั้นในแบบที่ไม่คาดฝัน

    ไม่มีเหตุบอกล่วงหน้า ไม่มีโจทยก์ ไม่มีพยาน ไม่มีเจ้าหนี้ ไม่มีลูกหนี้
    แต่ก็เลี่ยงไม่ได้

    ภัยในวัฏกสงสาร จะใช้ ตรรกศาสตร์ใดๆ มาพิจารณาไม่ได้

    กฏแห่งกรรมเท่านั้น เที่ยงแท้
     
  20. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    นิวรณ์สอนกันได้ดีนะ
    เอานะฮะแม่งามยามสายๆ
    ถึงแม้ป๋าแก่และตาลาย
    แต่สหายกลายเป็นครู ..หรูจริงๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...