สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +30



    #เข้าใจแบบนี้ ก็ได้ชื่อว่าทำความเห็นได้ถูกต้องดีแล้ว!
    #น่าชื่นชมปัญญาธรรม
     
  2. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +30
    [ภาษาบาลี]

    โย ปฏิจจสมุปฺปทามํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ. โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ.
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา

    - พระไตรปิฎกบาลี พระสุตตันตปิฎกมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ วักกลิสูตร

    .

    [ภาษาสันสกฤต]

    โย ภิกฺษวะ ปฺรตีตฺยสมุตฺปาทํ ปศฺยติ, ส ธรฺมํ ปศฺยติ ฯ โย ธรฺมํ ปศฺยติ, ส พุทฺธํ ปศฺยติ ฯ
    ภิกษุใดเห็นประตีตยสมุตปาท ภิกษุนั้นเห็นธรรม, ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นพุทธะ

    - ศาลิสตัมพสูตร (พระสูตรมหายาน – ภาษาสันสกฤต)

    .

    [ภาษาจีน]

    若比丘見緣起為見法。已見法為見我。
    ภิกษุใดเห็นประตีตยสมุตปาท ภิกษุนั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา

    - ศาลิสตัมพสูตร สำนวนแปลโดยอุบาสกจือเชียน (222-252 CE)

    汝等苾芻若見緣生即是見法。若見法即見佛。
    ภิกษุใดเห็นประตีตยสมุตปาท ภิกษุนั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นพุทธะ

    - ศาลิสตัมพสูตร สำนวนแปลโดยพระอโมฆวัชระมหาเถระ (705-774 CE)

    .

    [ภาษาทิเบต]

    རྣམ་པར་ཞི་བ་མ་ཡིན་པའི་རང་བཞིན་དུ་མཐོང་བ་དེས་འཕགས་པའི་ཆོས་མངོན་པར་རྟོགས་ཏེ། ཡང་དག་པའི་ཡེ་ཤེས་དང་ལྡན་པས་བླ་ན་མེད་པའི་ཆོས་ཀྱི་སྐུར་སངས་རྒྱས་མཐོང་ངོ་ཞེས་གསུངས་སོ།

    - འཕགས་པ་སཱ་ལུའི་ལྗང་པ་ཞེས་བྱ་བ་ཐེག་པ་ཆེན་པོའི་མདོ། : F.117.a, volume 62, Degé Kangyur

    IMG_8515.jpeg
     
  3. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +30
    น.13.39
    ผู้ที่จะแปล พระไตรปิฏก ก็ต้องอาศัย อรรถกถาทั้งนั้น ไม่งั้นไม่มีทางเข้าถึง ไม่รู้จะแปลยังไงเลย

    น..15.42
    #แม้แต่ผู้ที่พูดว่าไม่เชื่ออรรถกถา
    ตัวเองก็ไม่รู้ว่าตัวเองเนี่ยะ เอาอรรถกถามาอ้าง
    เพราะอะไรรู้มั้ย
    เพราะว่าหลายท่านเนี่ยะ
    ก็ไม่ได้ใช้พระไตรปิฏกบาลี
    #ไปใช้พระไตรปิฏกภาษาไทย
    #ทีนี้คนแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาไทย
    #แปลตามอรรถกถา

    #แล้วคนที่อ้างพระไตรปิฏกบอกว่าฉันเอาแต่พระไตรปิฏก
    #ไม่รู้ตัวหรอกว่าไอ้ที่ตัวเอาพระไตรปิฏกภาษาไทยมานั้นเอาอรรถกถานั่นเอง

    .#แปลพระไตรปิฏกแล้วแปลไม่ออกก็ต้องไปปรึกษาอรรถกถา

    ก็หมายความว่า แปลตาม อรรถกถา
    ข้อความนี้พระบาลีพระไตรปิฏกว่าอย่างนี้ ....
    ก็ไปดูอรรถกถา อรรถกถาแปลว่าอย่างนี้ และก็บอกให้เข้าใจว่าแปลว่าอย่างนี้ ...
    พระไตรปิฏกแปล ก็แปลตามอรรถกถา

    #คนที่ไม่เชื่ออรรถกถาแล้วไปอ้างพระไตรปิฏกภาษาไทย
    #ไม่รู้ตัวว่าอ้างอรรถกถาอยู่เต็มที่เลย
    น...17.01
    #ถ้าคุณไม่ศึกษาพระไตรปิฏกบาลี
    #แล้วคุณจะไปอ้างว่าคุณไม่เชื่ออรรถกถา
    #แล้วคุณไปอ้างพระไตรปิฏกภาษาไทยเนี่ยะคุณพูดเท็จ

    ธรรมบรรยายชุด
    ถ้ารู้ขั้นนี้ได้ ก็เริ่มถึงเนื้อในของพระพุทธศาสนา:สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    อรรถกถานั้นเริ่มกำเนิดแล้วสืบต่อมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า คือเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาแล้วพระเถระผู้ใหญ่ก็นำมาสอนลูกศิษย์
    เมื่อสอนลูกศิษย์ก็ต้องอธิบาย ลูกศิษย์ก็มีความรู้มากบ้าง ไม่มากบ้าง

    พระอาจารย์ก็อธิบายว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างนี้
    คำนั้นมีความหมายว่าอย่างนี้

    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

    https://pantip.com/topic/32540857

    https://www.watnyanaves.net/th/album_detail/buddhism-inside

    IMG_9363.jpeg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +30
    ผู้มีปฏิภาณเป็นอย่างไร?

    บทว่า พหุสฺสุตํ คือ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ พวก

    คือผู้เป็นพหูสูตในปริยัติ ในพระไตรปิฎกโดยเนื้อความทั้งสิ้น ๑

    และผู้เป็นพหูสูตในปฏิเวธ เพราะแทงตลอดมรรคผล วิชชาและอภิญญา ๑.

    ผู้มีอาคมอันมาแล้ว โดยการทรงจำไว้ได้ ชื่อว่าผู้ทรงธรรม.
    ส่วนท่านผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรมอันโอฬาร ชื่อว่าผู้มีคุณยิ่ง.
    ท่านผู้มีปฏิภาณอันประกอบแล้ว ผู้มีปฏิภาณอันพ้นแล้ว และผู้มีปฏิภาณทั้งประกอบแล้วทั้งพ้นแล้ว ชื่อว่าผู้มีปฏิภาณ.
    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผู้มีปฏิภาณ ๓ พวก คือปริยัตติปฏิภาณ ๑ ปริปุจฉาปฏิภาณ ๑ อธิคมปฏิภาณ ๑.
    ผู้แจ่มแจ้งในปริยัติ ชื่อว่าปริยัตติปฏิภาณ
    #ผู้มีปฏิภาณในปริยัติ.
    ผู้แจ่มแจ้งคำสอบถาม เมื่อเขาถามถึงอรรถ ไญยธรรม ลักษณะ ฐานะ อฐานะ ชื่อว่าปริปุจฉาปฏิภาณ
    #ผู้มีปฏิภาณในการสอบถาม.
    ผู้แทงตลอดคุณวิเศษทั้งหลายมีมรรคเป็นต้น ชื่อว่าปฏิเวธปฏิภาณ
    #ผู้มีปฏิภาณในปฏิเวธ.

    อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิทเทสขัคควิสาณสุตตนิทเทส


    บุคคลพึงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาชั้นยามามีอยู่ เทวดาชั้นดุสิตมีอยู่ เทวดาชั้นนิมมานรดีมีอยู่ เทวดาชั้นปรนิมมิตสวัสดีมีอยู่ เทวดาชั้นพรหมกายมีอยู่ เทวดาชั้นที่สูงขึ้นไปกว่านั้นมีอยู่

    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่

    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใดจุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีศีลเช่นนั้น

    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใดจุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆแม้เราก็มีสุตะเช่นนั้น

    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีจาคะเช่นนั้น

    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีปัญญาเช่นนั้น

    เมื่อเธอระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนกับของเทวดาเหล่านั้นอยู่

    #จิตย่อมผ่องใสเกิดความปราโมทย์ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้

    อนุสสติสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ ข้อที ๒๘๐ หน้า ๒๖๓

    เทวตานุสสติกถา

    เจริญเทวตานุสสติกัมมัฏฐาน

    ก็แหละ โยคีบุคคลผู้มีความประสงค์เพื่อจะเจริญเทวตานุสสติกัมมัฏฐาน พึงเป็นผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น อันสำเร็จมาด้วยอำนาจอริยมรรค แต่นั้นพึงไปในที่ลับ หลีกเร้นอยู่ ณ เสนาสนะอันสมควร พึงระลึกอยู่เนือง ๆ ถึงคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นของตน โดยตั้งเทวดาทั้งหลาย ไว้ในฐานะเป็นพยานอย่างนี้ว่า –
    เทวดาชาวจาตุมหาราชิกา มีอยู่จริง เทวดาชาวดาวดึงส์ มีอยู่จริง เทวดาชาวยามา มีอยู่จริง เทวดาชาวดุสิต มีอยู่จริง เทวดาชาวนิมมานรดี มีอยู่จริง เทวดาชาวปรนิมมิตวสวัตดี มีอยู่จริง เทวดาชั้นพรหมกายิกา มีอยู่จริง เทวดาชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น ก็มีอยู่จริง เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาชนิดใด ครั้นจุติจากโลกนี้แล้วจึงไปบังเกิดในภพนั้น ๆ ศรัทธาชนิดนั้นแม้ในเราก็มี

    เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลชนิดใด ประกอบด้วยสุตะชนิดใด ประกอบด้วยจาคะชนิดใด ประกอบด้วยปัญญาชนิดใด ครั้นจุติจากโลกนี้ไปแล้วจึงไปบังเกิดในภพนั้น ๆ ศีล, สุตะ, จาคะ และปัญญาชนิดนั้น ๆ แม้ในเราก็มีอยู่ ฉะนี้

    แต่ว่าในพระสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนมหานามะ ในสมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกเนือง ๆ ถึงศรัทธา, ศีล, จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น ในสมัยนั้น จิตของเธอก็จะไม่ถูกราคะรบกวน ดังนี้ ถึงจะตรัสไว้ดังนั้นก็ตาม แต่นักศึกษา

    พึงทราบว่า พระพุทธพจน์นั้นตรัสไว้เพื่อประสงค์จะทรงแสดงถึงคุณอันเสมอกัน ทั้งของเทวดาที่ตั้งไว้ในฐานะเป็นพยาน ทั้งของตน โดยคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น จริงอยู่ ในอรรถกถาท่านก็กล่าวไว้อย่างมั่นเหมาะว่า ย่อมระลึกเนือง ๆ ถึงคุณทั้งหลายของตน โดยตั้งเทวดาทั้งหลายในฐานะเป็นพยาน

    องค์ฌาน ๕ เกิด

    เพราะเหตุนั้น เมื่อโยคีบุคคลระลึกอยู่เนือง ๆ ถึงคุณทั้งหลายของเหล่าเทวดา ในภาคต้นแล้ว จึงระลึกเนือง ๆ ถึงคุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นอันมีอยู่ของตนในภายหลังในสมัยนั้น จิตของเธอก็จะไม่ถูกราคะรบกวน จะไม่ถูกโทสะรบกวน จะไม่ถูกโมหะรบกวน ในสมัยนั้น จิตของเธอก็จะปรารภตรงดิ่งถึงเทวดาทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ องค์ฌานทั้งหลายย่อมบังเกิดขึ้นแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ได้แล้วในขณะเดียวกัน โดยนัยก่อนนั่นแล ก็แหละ เพราะเหตุที่คุณทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นเป็นสภาพที่ล้ำลึกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่โยคีบุคคลน้อมจิตไปในอันระลึกถึงคุณอย่างนานาประการอย่างหนึ่ง ฌานจึงขึ้นไม่ถึงขั้นอัปปนา ขึ้นถึงเพียงขั้นอุปจาระเท่านั้น ฌานนี้นั้นย่อมถึงซึ่งอันนับว่า เทวานุสสติฌาน ก็โดยที่ระลึกถึงคุณมีศรัทธาเป็นต้นเช่นเดียวกับคุณของเทวดาทั้งหลายนั่นเอง

    อานิสงส์การเจริญเทวตานุสสติกัมมัฏฐาน

    ก็แหละ ภิกษุผู้ประกอบเทวตานุสสติกัมมัฏฐานนี้อยู่เนือง ๆ ย่อมเป็นที่รักใคร่เป็นที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย ย่อมจะประสบความไพบูลย์ด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น โดยประมาณยิ่ง เป็นผู้มากล้นด้วยปีติและปราโมทย์ ก็แหละ

    #เมื่อยังไม่ได้แทงตลอดคุณวิเศษชั้นสูงขึ้นไป (ในชาตินี้ ) #ก็จะเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเพราะเหตุฉะนั้นแล โยคาวจรบุคคลผู้มีปัญญาดี พึงบำเพ็ญความไม่ประมาทในเทวตานุสสติภาวนา ซึ่งมีอานุภาพอันยิ่งใหญ่ ดังพรรณนามานี้ ในกาลทุกเมื่อ เทอญ

    กถามุขพิศดารในเทวตานุสสติกัมมัฏฐาน
    ยุติลงเพียงเท่านี้

    อานาปานสติ วิปัสสนาญาณ

    วิธีกำหนดนามรูป

    ก็ภิกษุทำฌาน ๔ และฌาน ๕ ให้บังเกิดแล้วอย่างนี้ ประสงค์จะเจริญกรรมฐาน ด้วยสามารถแห่งสัลลักขณา (คือวิปัสสนา) และวิวัฏฏนา (คือมรรค) และบรรลุความบริสุทธิ์ (คือผล) ในอานาปานสติภาวนานี้ ย่อมทำฌานนั้นแล ให้ถึงภาวะเป็นวสีด้วยอาการ ๕ ให้คล่องแคล่ว

    #แล้วกำหนดนามรูปเริ่มตั้งแต่วิปัสสนาอย่างไร?

    เพราะพระโยคาวจรนั้นออกจากสมาบัติแล้ว
    ย่อมเห็นได้ว่า กรัชกายและจิตเป็นแดนเกิดแห่งลมหายใจออกหายใจเข้า เปรียบเหมือนอย่างว่าอาศัยหลอดแห่งสูบของนายช่างทองที่กำลังพ่นอยู่ และความพยายามอันเหมาะสมแก่หลอดสูบนั้นของบุรุษ ลมจึงสัญจรไปได้ ฉันใด ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า

    ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ต้องอาศัยกายและจิตจึงสัญจรไปได้ ลำดับนั้นพระโยคาวจร

    #ย่อมกำหนดลมหายใจออกเข้าและกายว่าเป็นรูป
    #และกำหนดจิตและธรรมอันสัมปยุตกับจิตนั้นว่าเป็นนาม

    นี้เป็นความสังเขปในการกำหนดนามรูปซึ่งจักมีแจ้งข้างหน้า

    ครั้นกำหนดนามรูปอย่างนี้แล้ว จึงแสวงหาปัจจัยของนามรูปนั้น และเมื่อแสวงหาก็เห็นนามรูปนั้น ปรารภความเป็นไปแห่งนามรูป ข้ามความสงสัยในกาลทั้ง ๓ เสียได้ เป็นผู้ข้ามความสงสัยได้

    #แล้วยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์โดยพิจารณาเป็นกลาปะ
    ละวิปัสสนูกิเลส ๑๐ ประการมีโอภาสเป็นต้น

    อันเกิดขึ้นในส่วนเบื้องต้นแห่งอุทยัพยานุปัสสนาญาณ กำหนดปฏิปทาญาณอันพ้นจากอุปกิเลสแล้วว่าเป็นมรรค ละนามรูปที่เกิดขึ้น บรรลุการตามเห็น ความดับแห่งนามรูป แล้วเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดหลุดพ้นในสังขารทั้งปวงที่ปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว เพราะเห็นแต่นามรูปที่ดับไปหาระหว่างคั่นมิได้ บรรลุอริยมรรค ๔ ตามลำดับ ดำรงอยู่ในอรหัตผลถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ประการ เป็นพระทักขิไณยผู้เลิศของโลกพร้อมทั้งเทวโลก

    ก็ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ เป็นอันจบการเจริญอานาปานสติสมาธิแห่งพระโยคาวจรนั้น นับตั้งต้นแต่การนับจนมีปัจจเวกขณะเป็นที่สุด ฉะนี้แล

    วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๘ อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ หน้าที่ ๖๖ - ๗๐


    #รีบสั่งสมสุตตะ! อย่าอยู่อย่างขาดทุน

    #ผู้สั่งสมสุตตะแบบปริยัติงูพิษ สั่งสมสุตตะกับสัทธรรมปฎิรูป สั่งสมการสร้างสัทธรรมปฎิรูป มีทุคคติภูมิมีอบายเป็นที่ไป

    IMG_9364.jpeg
     

แชร์หน้านี้

Loading...