>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]

    ผี ภาพสะท้อนความกลัวในใจเรา

    “ผี คือ ภาพสะท้อนความกลัวของเรา”

    เรากลัวอะไรบ้าง? ถ้าหากเปรียบเทียบสิ่งที่เรากลัวเหมือนผี? เรามีผีกี่ตัว?

    ผีข้อสอบ ผีเจ้านาย ผีเจ้าหนี้ ผีคนรักเก่า ผีโต๊ะทำงาน ผีความมืด ผีที่แคบ ผีตึกสูง ผีสาวและหนุ่มโสด เป็นต้น

    แต่ละคนคงมีผีในใจคนละหลาย ๆ ตัว แล้วเราจัดการอย่างไรกับผีในใจเรา ?

    มนุษย์ไม่เคยอยู่โดยปราศจากความกลัว – เราคือผี?

    ใครบ้างไม่กลัวความเจ็บปวดทางกายและใจ หรืออย่างน้อยที่สุด เรากลัวตาย ถ้าไม่ใช่ของตนเอง ก็ของคนที่เราฝากหัวใจไว้ (เหมือนทศกัณฑ์อะไรงั้น)

    นิทรรศการ “ผี” ความกลัว จัดการได้ด้วยจินตนาการสร้างสรรค์ ทำให้เราตื่น .. รู้อะไรมากมายในเรื่องความเชื่อ จินตนาการ และการจัดการความกลัวของมนุษย์

    หากเราตรวจทานใจตัวเองเวลาเข้าชมนิทรรศการนี้ เราจะเห็นใจตัวเอง และรู้จักตัวเองยิ่งขึ้น

    ก้าวแรกในนิทรรศการ เราสัมผัสความวังเวง และความกลัว ..ความมืดในใจเรา นั่นเอง

    ความมืดทำให้เรากริ่งเกรง เหมือนว่ามีอะไรซ่อนซุกอยู่ที่ไหนสักแห่ง ความวูบไหวเพียงน้อยในความมืด ทำให้เราใจสั่นได้

    ความมืดมีผลต่อความรู้สึก และจินตนาการอย่างยิ่ง

    ความมืดเป็นเวลาแห่งความชั่วร้าย ที่ต้องการความมืดไว้ปิดบังตัวตน

    ความมืดเป็นเวลาที่ความรู้สึกที่ซุกซ่อนจะเผยตัว ไม่ว่า ความเหงา ความเดียวดาย ความเศร้า และความปรารถนาส่วนลึกในใจ

    ในขณะที่ความสว่างจะช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ และพาใจเราเตลิดเปิดเปิงไปกับโลกภายนอก

    ความมืดกลับพาเราเข้าหาโลกภายใน และเกื้อกูลให้เราเห็นตัวเองมากขึ้น

    เพราะความมืด ความไม่รู้ เราจึงค่อย ๆ ก้าวย่าง ด้วยความระมัดระวัง รับรู้ความกลัวภายใน และสัมผัสความคิดจินตนาการปรุงแต่ง เสียงในใจดังกระหึ่ม

    นี่คือวิธีการจัดการกับความมืด ความกลัว และ ความไม่รู้ทางหนึ่ง …. เผชิญกับความกลัวนั้นอย่างตรงไปตรงมา รับฟังความกลัว เพื่อเข้าใจความกลัว

    เมื่อเราเรียนรู้ที่จะเป็นเพื่อนกับความกลัว แล้วอะไรจะเป็นศัตรูกับเราได้เล่า ?

    กลางดึกคืนหนึ่ง เราได้ยินเสียงประตูห้องนอนเปิดออกอย่างแรง หัวใจเต้น ตึบ ๆ ๆๆๆ แรงๆ ด้วยความตื่นกลัว รอฟังเสียงว่าเป็นใครที่เรารู้จักไหม … มีแต่ความเงียบวังเวง

    ในความเงียบ จิตจินตนาการภาพและเรื่องราวมากมาย เหงื่อซึมอาบกายตามภาพหลอนในใจ

    เราทนกลัวต่อไปไม่ไหวแล้ว …. เป็นไงเป็นกัน จะท้าตีท้าต่อยกับผีสักตั้ง เราอยู่ของเราดี ๆ มาทำกันอย่างนี้ มันอันธพาลชัด ๆ … แล้วเราก็เปิดผ้าคลุมโปงออก ตะโกนลั่น “เอาสิว่ะ นึกว่ากลัวเหรอ? มาเลย มาสู้กันเลย”

    สิ่งที่เราเห็นตรงหน้า คือ ความว่างเปล่า เรากำลังตะโกนและท้าสู้กับใคร ถ้าไม่ใช่ตัวเอง …. 5555

    ที่มา : ผี ภาพสะท้อนความกลัวในใจเรา | Bloomingmind's Blog
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ภาวะก่อนการบรรลุธรรม ทำให้รู้ตัวว่าบรรลุได้จริง โดยไม่ได้คิดไปเอง (พระอนาคามีควรอ่าน)
    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=119970

    การบรรลุธรรมจิตต้องตกศูนย์ หรือก้าวลงสู่ความว่าง คือ สุญตา ก่อนจึงบรรลุ

    การบรรลุธรรม ไม่ใช่เรื่องของสมอง ไม่ใช่เรื่องของการอ่านจำนึกคิด แต่เป็นเรื่องของจิต จิตของผู้บรรลุธรรมได้ จำต้องเข้าสู่ภาวะ “ตกศูนย์” หรือที่เรียกว่า “สุญตา” หรือในวิชชาธรรมกาย คือ เข้าสู่กลางในกลาง กายในกาย ไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุดแห่งกายไม่มีกายอื่นละเอียดยิ่งกว่า คือ ธรรมกาย หากดูจิตแบบสติปัฏฐาน คือ จิตใจจิตที่ลึกที่สุด ในทางอรูปฌาน คือ ภาวะฌานสี่ นั่นคือ ภาวะจิตตกศูนย์ คือ เข้าสู่จิตเดิมแท้ คือ ความว่างเปล่า ความเป็น จิตพุทธะ ความไม่มีอะไรจะยึด ความไม่มีกิเลส ความไม่ต้องการโหยหา ซึ่งภาวะจิตตกศูนย์นี้มีอยู่บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน แต่เราก็ไม่ทันบรรลุธรรม เพราะ “ใจ” ไม่ได้พิจารณา “ไตรลักษณ์” ได้ทัน เราเรียกภาวะนี้ว่า “ตทังคนิพพาน” คือ ความว่างสิ้นไป สูญไปแห่งกิเลสชั่วคราว ไม่ได้ถาวรตลอดไป หรือที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่า เราได้เคยลงไปอาบในพระนิพพานแล้วขึ้นมา แต่ไม่ทันได้ลงไปทั้งตัวนั่นแหละ ในเซน จะใช้โอกาสการทำงานในชีวิตประจำวัน คอยสังเกตเวลาจิตตกศูนย์ หรือภาวะสุญตา และใช้สติปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ในขณะนั้นทันที ก็จะ “บรรลุฉับพลัน” ได้เช่นกัน ซึ่งก็คือรอคอยจังหวะ “ตทังคนิพพาน” และ “ภาวะหลังออกจากฌานสี่สู่ฌานสาม” ก็ได้


    ขณะจิตตกศูนย์ จิตต้องดำดิ่งลึก หรือลงสู่กลางกายในกายที่ลึกที่สุด (ตามหลักวิชชาธรรมกาย) หรือเข้าฌานลึกที่สุด (ฌานสี่) หรือ เข้าสู่ความว่างเปล่าอย่างแท้จริง หรืออยู่ภาวะไม่เหลือ “รูปนาม” คือ “รูปนาม” ดับไปหมด (ตามหลักสติปัฏฐานสี่) ภาวะเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องบ่งชี้บอกว่า “จิตตกสู่ศูนย์กลางดิ่งลึกแล้ว” หากใจมี “สติ” ก็จะป้อนข้อมูล “ไตรลักษณ์” ให้กับจิต จิตรับข้อมูลไตรลักษณ์ เห็นสรรพสิ่งอนิจจัง คลายการยึดทั้งปวง จิตก็เข้าสู่ “การบรรลุธรรม” แต่หากไม่เห็นไตรลักษณ์ “ขณะจิตตกศูนย์” ก็ไม่อาจบรรลุธรรม เหมือนคนที่ได้ธรรมกายแล้ว ก็ถือว่าจิตละเอียดมากแล้ว ดิ่งลงสู่ภาวะจิตตกศูนย์ได้ แต่ไม่ได้ใช้สติปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ ก็ไม่บรรลุธรรม เป็นเพียงการบรรลุเจโตวิมุติ คือ ขั้นสูงสุดของสมถกรรมฐาน ที่ข่มกำราบกิเลสได้หมด แต่ไม่แจ้งในนิพพาน คือ ไม่อาจทำนิพพานให้แจ้งได้ ดังนี้ ไม่ว่าเดินมรรคในวิชชาใดๆ ก็ตาม หากเข้าสู่ความละเอียดที่สุด หรือสูงสุดแห่งวิชชาสมถะสายนั้นๆ แล้ว ให้รีบใช้ “สติปัญญา” พิจารณา “ไตรลักษณ์” ทันที ก็จะบรรลุธรรมได้ ทั้งนี้ สายวิปัสสนาก็บรรลุได้เช่นกัน


    บุคคลจะบรรลุธรรมได้ ไม่ใช่การอ่านเอา การจำได้ การหมายรู้ การนึกคิด หรือการทำความเข้าใจ บุคคลนั้น พึงต้องเข้าสู่ “ภาวะจิตตกศูนย์” และได้ “พิจารณาไตรลักษณ์” ทันที จึงจะเกิดภาวะ “ทำนิพพานให้แจ้ง” ได้ นั่นคือ การบรรลุธรรมโดยแท้จริง บุคคลนั้น จะสัมผัสพระนิพพาน และอธิบายได้ในแบบของตน ที่เรียกว่า “ปัจจัตตัง” คำว่า “ปัจจัตตัง” นี้ ไม่ได้แปลว่า “ฉันรู้ของฉันคนเดียวคนอื่นเขาไม่รู้ด้วย” นั่นเรียกว่า “ความหลงในตนแต่ผู้เดียว” แต่ “ปัจจัตตัง” นี้หมายถึง รู้เฉพาะตน และผู้ที่รู้เทียบเท่าตนจะสามารถตรวจสอบและเข้าใจได้เช่นตน ดังนี้ หากพระอรหันต์รูปหนึ่งได้รับการทดสอบ แล้วกล่าวอะไรที่เป็นปัจจัตตังขึ้นมา พระอรหันต์อีกรูปหนึ่งจะเข้าใจปัจจัตตังนั้นได้ทันทีโดยง่าย แต่หากพระอรหันต์ที่ทดสอบ เห็นว่า “รู้คนเดียว ยึดคนเดียว เพี้ยนคนเดียว” เมื่อไร สิ่งนั้น ก็ไม่เรียกว่า “ความรู้เฉพาะตน” แต่เป็นเพียง “ความหลงเฉพาะตน” ดังนี้ ปัจจัตตัง ต้องเป็นความรู้ ไม่ใช่ความหลง และเมื่อรู้ธรรม มีดวงตาเห็นธรรม ต้องไม่ลืมว่า “ธรรมนั้นเป็นสากล” ผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้วทั้งหลายย่อมรู้ได้เหมือนกัน จึงไม่ได้แปลว่าปัจจัตตังนั้น จะไม่มีใครรู้เหมือนเราเลย มีผู้รู้ปัจจัตตังของเรา และตรวจสอบเราได้เสมอว่าเรารู้จริง โดยพระอรหันต์ด้วยกันซึ่งบรรลุธรรมระดับเดียวกันนั่นเอง ดังนี้ จึงเรียกว่า “ปัจจัตตัง” ไม่ใช่ “อวิชชา” ซึ่งหลายท่าน ได้เกิด “อวิชชา” คือ “ความหลงเฉพาะตน หรือ หลงในตัวตนของตน หลงในความคิดตน” ขึ้น และอ้างว่า เป็นความรู้เฉพาะตน เป็นปัจจัตตัง

    ทั้งนี้ขอให้เข้าใจด้วยว่า “ปัจจัตตัง” นั้น “เป็นความรู้ ไม่ใช่ความหลง” และ “เป็นสากลที่ผู้บรรลุด้วยกันจะตรวจสอบได้” มิใช่ “ความหลงเฉพาะตนคนเดียว” แต่วิธีการอธิบายนั้น ตนย่อมเข้าใจด้วยตนเอง ใช้ภาษาในแบบของตนเอง จึงมี “เอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2014
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ภาวะจิตตกศูนย์ก่อนบรรลุธรรมในวิชชาธรรมกาย

    ในวิชชาธรรมกาย หลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดปากน้ำรูปปัจจุบัน ได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า “แม้นบรรลุธรรมกายแต่ไม่สามารถตัดสังโยชน์สิบได้ ก็ไม่บรรลุอรหันต์” นั่นหมายความว่า “วิชชาธรรมกายเป็น สมถะกรรมฐาน” ซึ่งหากไม่มีการพิจารณาสภาวธรรม หรือการผสมวิปัสสนากรรมฐานเข้าไปด้วยแล้ว ก็ย่อมไม่สามารถ “บรรลุอรหันต์” ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ฝึกธรรมกายได้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ไม่ยากเลยที่จะ “บรรลุธรรม” เพียงเดินวิชชาตามมรรคจนถึง “ธรรมกาย” อันเป็นกายละเอียดสูงสุด แล้วพิจารณา “ไตรลักษณ์” เช่น การ “แผ่ฌานทันที” จนธรรมกายเข้าสู่ภาวะ “ไร้กาย” อันเนื่องจาก “การแผ่ฌาน” นั้น เป็น “อรูปฌาน” ซึ่งตรงกันข้ามกับธรรมกาย ซึ่งเป็น “รูปฌาน” การเข้าสู่ “รูปฌาน” ขั้นสูงสุด แล้วเดินมรรคต่อเข้าสู่ “อรูปฌาน” นั้น ไม่มีอันตรายอะไร เพราะผู้ฝึกรูปฌานก็จะเดินฌานลึกเข้าสู่อรูปฌานเช่นนี้ นับรูปฌานขั้นสุดท้ายเป็นฌานสี่ แล้วนับอรูปฌาน ขั้นที่หนึ่งเป็น ฌานห้า จึงถึงฌานแปดเป็นลำดับ ดังนั้น ขอเพียงเมื่อถึงที่สุดแห่งกายธรรม คือ ธรรมกาย คือที่สุดแห่งรูปฌานแล้ว เข้าสู่อรูปฌานทันที ด้วยการแผ่ฌาน ก็จะเห็นการสิ้นไปแห่ง “ธรรมกาย” เห็นอนิจจัง เห็นอนัตตาแห่งธรรมกาย ละความ “ยึดมั่นในธรรมกาย” ก็จะบรรลุธรรมแบบฉับพลันนั้นเอง โดยไม่มีอันตรายแต่อย่างใด
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ภาวะจิตตกศูนย์ก่อนบรรลุธรรมในวิชชาธรรมจักร

    ในวิชชาธรรมจักร เมื่อวนรอบจิตเข้าสู่ “จิตเดิมแท้” นั้น รอบแรกๆ ยังไม่เข้าถึงจิตเดิมแท้ หรือ “ภาวะจิตตกศูนย์” จึงไม่บรรลุธรรม จะผ่านด่านต่างๆ ก่อนเข้าสู่จิตเดิมแท้ คือ จิตที่บันทึก “อดีตชาติ” ไว้ในแต่ละชาติ ทำให้ผู้ฝึกธรรมจักรระลึกชาติได้มากเป็นลำดับ หากยังมีความ “ยินดี” ในชาติที่ระลึกได้นั้น เช่น บางชาติเป็นฤษีมีเวทย์มนต์ ก็จะยึดอยู่ ค้างอยู่ในชาตินั้น เดินวิชชาธรรมจักรเมื่อใด ก็จะแสดงอาการเหมือนฤษีทุกครั้งไม่จบไม่สิ้น ตราบเมื่อ “ละความยินดีในชาติภพ” หรือ บางชาติมีรอยแผลให้อดีต แล้วไปยึด “ไปยินร้าย” ในอดีตชาตินั้น เช่น เป็นทหารของพระเจ้าตาก แล้วเสียใจยึดไว้ในเรื่องราวนั้น ก็จะต้องทุกข์ใจไม่จบไม่สิ้น บางท่านมีอาการดิ้นทุรนทุราย เพราะระลึกได้ตอนถูกฆ่าตายพอดี ก็จะเจ็บปวดอย่างนั้น ทุกครั้งไป จนกว่าจิตจะยอมปล่อยคลายการยึดมั่นในชาตินั้นลงได้ ความเจ็บปวดจึงหายไป และเข้าสู่ชาติใหม่ที่ละเอียดขึ้นเป็นลำดับ เมื่อผู้ฝึกวิชชาธรรมจักร เข้าสู่ “จิตเดิมแท้” จะค้นพบว่า “จิตเดิมแท้คือพุทธะ” คือ มีการแสดงออกมาเป็นลักษณะแห่งพุทธะในรูปแบบต่างๆ ระดับนี้ จิตมีความละเอียดเทียบเท่า “ธรรมกาย” แล้ว คือ สูงสุดแห่งวิชชาในด้าน “สมถะ” แล้ว หากพิจารณา “ไตรลักษณ์” คือ อนิจจัง หรือ อนัตตา แห่ง จิตพุทธะนั้น ไม่ยึดว่าตนเองเป็นพุทธะ ตนเองเป็นอรหันต์ ตนเองและผู้อื่นหรือแม้นแต่มารก็มีจิตพุทธะนี้เหมือนกัน (เห็นอนัตตา คือ ความไม่ใช่ของตน คือ ความเป็นสากลของสรรพสิ่ง) จึงปล่อยวางคลายการยึดมั่นถือมั่นใดๆ เพราะจิตพุทธะนั้น ไม่มีกิเลสตัณหาใดๆ อยู่แล้ว หากพ้นไปเสียซึ่งการยึดมั่นในตนว่าตนเป็นพุทธะ เห็นว่าตนก็คือคนธรรมดา เช่นเดียวกับมารก็มีจิตพุทธะเหมือนกัน จนคลายการยึดว่า “ตนเป็นนั่นเป็นนี่” (อนาคามี) ก็บรรลุ “อรหันต์” ได้เช่นกัน นี่คือการบรรลุแนววิชชาธรรมจักร
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ภาวะจิตตกศูนย์ก่อนบรรลุธรรมในวิชชาทางเซน

    ในวิชชาวิปัสสนาลืมตาแบบ “เซน” ใช้ภาวะจิตตกศูนย์ หรือ สุญตานี้มาก และมีความรู้เรื่องจิตตกศูนย์ หรือภาวะสุญตาสูงกว่าแนวทางอื่นๆ จึงเห็นจังหวะโอกาสของภาวะจิตตกศูนย์ หรือสุญตานี้มากกว่าผู้ใด อาจารย์เซนบางท่าน ใช้การ “ถีบลูกศิษย์” ทำให้ลูกศิษย์ที่นับถือตน งุนงง แล้วเกิดภาวะ “ความว่างเปล่า” ในจิตทันที เพราะไม่ทันได้ตั้งตัว อยู่ๆ อาจารย์ที่ตนนับถือก็ถีบ ไม่ทันมีกิเลสตัณหา ไม่ทันยินดี ไม่ทันยินร้าย จิตเกิดความว่างขึ้นมาชั่วขณะ ในขณะเสี้ยววินาทีทองนั้นเอง อาจารย์เซนก็จะพูดปริศนาธรรม (โคอัน) ขึ้นมาเพื่อเรียก “สติ” จนลูกศิษย์ได้พิจารณาปริศนาธรรมนั้น เกิด “สติปัญญา” ฉับพลัน และบรรลุแบบฉับพลันทันทีได้เช่นกัน วิธีการของเซนนี้ ไม่อาจใช้ได้กับลูกศิษย์ในปัจจุบัน เพราะลูกศิษย์ในปัจจุบันมีความถือตัวมาก มีความยึดมั่นว่าอาจารย์ต้องไม่ถีบตน อาจารย์ต้องเป็นพระที่ดูใจดี หากถีบลูกศิษย์เมื่อใด เป็นต้อง “ยินร้าย” และเกิดเรื่องทันที ดังนั้น จึงกล่าวว่าหลักเซนแบบนี้ใช้ได้ยากกับลูกศิษย์ปัจจุบัน
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ภาวะจิตตกศูนย์ก่อนบรรลุธรรมในวิชชามโมยิทธิ

    ในวิชชา “มโนมยิทธิ” เป็นวิชชาทาง “สมถะกรรมฐาน” จำต้องใช้ “การพิจารณาสภาวธรรม อันเป็นหัวใจของ วิปัสสนา เข้าไปร่วมเมื่อภาวะจิตเข้าสู่สูงสุดของ “สมถะ” เช่นกัน ไม่เช่นนั้น ไม่อาจบรรลุธรรมได้ ในหลักการนำจิตไปสู่มิติอื่นๆ นั้น ขณะที่จิตรวมเป็นหนึ่งเดียวและกำลังออกจากมิติเดิม หรือที่เราเรียกกันว่า “ออกจากร่าง” (แต่จริงๆ แล้วไม่ได้ออกอย่างเด็ดขาดจริงๆ) เราไม่รู้สึกถึงร่างเดิมเราแล้ว รู้สึกได้ถึงมิติใหม่ ภพใหม่ เช่น ถอดกายทิพย์ไปสวรรค์ ก็รู้สึกเหมือนตัวเองอยู่สวรรค์แล้วจริงๆ ภาวะนี้ เทียบเท่ากับฌานสี่ ซึ่งไม่อาจบรรลุธรรมได้ ต้องเข้าใจก่อนว่า “จิตไม่ได้ถอดจากกายอย่างสิ้นเชิงจริงๆ” เพราะหากถอดออกไปสิ้นเชิง ก็คือ “ตาย” เท่านั้น

    จิตจะมีบางส่วนเชื่อมโยงกับร่างเดิมขณะถอดจิต ขอเรียกเป็นภาษาง่ายๆ ว่า “จิตหลัก” และ “จิตรอง” ในขณะถอดกายทิพย์นี้ จิตรองจะรับรู้ถึงมิติอื่น และจิตหลักจะดูแลร่างกายของเรา ในวิชชาสติปัฏฐานสี่ ได้พูดในเชิงปรัชญาว่า “จิตในจิต” นั่นคือ มีจิตสองดวง (แท้แล้วมีดวงเดียว) แต่หลวงปู่เทสก์ จะเรียกว่า “จิต” และ “ใจ” ขอให้เข้าใจว่า “ที่เราถอดกายทิพย์ไปนั้น ไปด้วย จิต (จิตรอง)” ส่วน “ใจ” (จิตหลัก) นั้น ยังคงดูแลร่างกายเราอยู่ เราจึงยังไม่ตาย

    ในการจะบรรลุธรรมได้ ต้องประสานการทำงานของ “จิตและใจ” เข้าด้วยกัน กล่าวคือ จิตจะเห็นไตรลักษณ์ โดยไม่มี “ใจ” ไม่ได้ หากเห็นไตรลักษณ์ขณะ “ถอดกายทิพย์” ออกจากร่าง คือ ไม่มี “ใจ” ร่วม จะตายทันที เรียกว่า “ดับขันธปรินิพพาน” นั่นเอง หรือ ที่เขาเรียกว่า “เทวดาบรรลุธรรม” คือ กายทิพย์เดิมจะสลายทันที หรือที่มารเรียกว่า “วิญญาณสลาย” นั่นแหละ (มารกลัววิญญาณสลายมาก) แต่สำหรับ “พวกกายทิพย์” แล้ว หากจะเลื่อนภพภูมิได้ “จำต้องสลายวิญญาณ” ก่อน คือ กายทิพย์เดิมสลายไป แล้ว “จุติใหม่ในภพภูมิที่สูงขึ้น”

    ดังนั้น บางท่านอาจเคยแผ่ส่วนบุญให้ “ผี” แล้วเห็นผีร่างกายสลายไปทันที จากนั้นก็กลายร่างเป็นเทวดา นั่นแหละ เขาได้เลื่อนไปจุติในภพภูมิใหม่ที่ดีขึ้นแล้ว หรือ หากเดินวิชชาธรรมกาย ก็จะเห็นกายที่ละเอียดลึกเข้าไปนั่นเอง คือ กายหยาบเก่า ทะลุเข้าสู่กายที่ละเอียดขึ้น ดีขึ้นกว่าเดิม ในวิชชา “มโนมยิทธิ” ไม่มีทางบรรลุธรรมได้ด้วยการ “ถอดกายทิพย์” เลย เพราะจิตและใจแยกขาดออกจากกัน เทียบได้กับภาวะ “ฌานสี่” นั่นเอง เป็นภาวะที่ “ใจ” หรือ จิตหลัก ไม่รู้ไม่เห็น ไม่แจ้งในไตรลักษณ์ด้วย

    ดังนั้น หากต้องการบรรลุธรรมด้วยวิชชา “มโนมยิทธิ” จำต้อง พิจารณา “ไตรลักษณ์” ช่วงขณะเสี้ยววินาที ที่ “กายทิพย์จะออกจากร่าง” คือ พิจารณาเห็นว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา แม้นกายทิพย์ก็ไม่ใช่ของเรา การพิจารณาเฉยๆ จิตไม่มี “สติตื่นเต็มที่” คือ ไม่อยู่ในภาวะ “สติตื่นเหมือนกำลังจะตาย” ก็จะไม่บรรลุ คือ ได้แต่ระลึกเฉยๆ ว่า ไม่ใช่ของเรา แต่จิตไม่ตื่นตัว จิตใจจึงไม่กลับเข้าประสานกัน ไม่ทำงานร่วมกันเต็มที่ ก็จะไม่บรรลุธรรม

    ดังนั้น วิชชามโนมยิทธิ จะบรรลุธรรม ในเสี้ยววินาที “จังหวะที่กายทิพย์ถอดออกแล้วกลับร่างเดิมฉับพลัน” ด้วย “สติตื่นเห็นอนิจจัง และอนัตตา นั่นเอง เช่น ถอดออกแล้ว ตกใจ เห็นว่าตนจะตาย วิญญาณออกจากร่างแล้ว จิตรองหรือกายทิพย์ก็รีบกลับประสานเข้าร่างเดิม จิตและใจประสานกันอีกครั้ง เมื่อเห็นว่า “สุดท้ายตนก็ตาย ใดๆ ในโลกจะอยาก จะยึดเอาไว้ทำไมอีกเล่า” ก็จะบรรลุธรรมด้วย “มโนมยิทธิ” ทันที เรียกว่า ผ่านด่าน “มัจจุราชมาร” คือ “ความกลัวตาย อาลัยชีวิต” หรือการ “ตายก่อนตาย” จึงมีดวงตาเห็นธรรม บุคคลใดก็ตาม ไม่พร้อมเข้าสู่ภาวการณ์ตาย คือ “ไม่เคยรู้สึก ตายก่อนตาย” หรือ “ดับ ก่อน ดับ” ก็จะไม่มีทางบรรลุธรรม
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ภาวะจิตตกศูนย์ก่อนบรรลุธรรมในวิชชาฌาน

    ในวิชชา “ฌาน” การบรรลุธรรม อยู่ในเสี้ยววินาทีที่จิตเลื่อนจากฌานสามเข้าสู่ ฌานสี่ หรือฌานสี่ออกสู่ฌานสาม เท่านั้น ไม่สามารถบรรลุใน “ขณะเข้าฌานสี่ได้” การเข้าฌาน คือ ภาวะเทียบเท่า “ภูมิพรหม” ไม่ใช่ภาวะนิพพาน ดังนั้น เมื่อเข้าฌานใดก็ตาม เป็นเพียงการยึดติดรสชาติของภพๆ หนึ่งเท่านั้นเอง เทียบได้กับคนที่ถอดกายทิพย์แล้วหลงเพลินความสุขบนสวรรค์ ไม่อาจบรรลุธรรมได้ จะบรรลุได้ จิตต้องไม่เข้าสู่ความเป็น “ภพชาติ” ใดๆ ไม่ใช่ “สวรรค์” ไม่ใช่ “พรหม” ไม่มีภพชาติ คือ จิต ต้องไม่บรรลุใน “องค์ฌาน” แต่เป็นการ “บรรลุระหว่างองค์ฌานสามและสี่” เท่านั้น จึงจะได้นิพพาน
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ภาวะจิตตกศูนย์ก่อนบรรลุธรรมในวิชชาวิปัสสนา

    สำหรับสายวิปัสสนา การบรรลุธรรมเป็นแบบ “ปัญญาวิมุติ” อย่างเดียว อาศัยจังหวะที่จิตมีสมาธิมีสติสูงมาก เหมือนคนอ่านหนังสือแล้วคิดอะไรได้ทันควัน เหมือนสะดุ้งเฮือก ได้สติ เห็นธรรม แล้วคลายวางทุกอย่าง หากไม่มีภาวะ “สติสูงสุดเหมือนสะดุ้งเฮือก หรือ ปิ๊งแว้บ” ก็ไม่อาจบรรลุธรรม กล่าวคือ ต้องมีอาการทางจิตให้สังเกตได้บางประการก่อน บางท่านอาจเกิดอาการเป๋ แล้วเคว้งคว้างก่อนเพราะหลักที่ยึดไว้เดิมถูกทำลาย จากนั้นพอทรงจิตได้ภายหลัง รับสภาวธรรมแท้ นิพพานจึงชัดเจน มั่นใจได้ว่าถึงฝั่งพระนิพพาน
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สรุปภาวะ “ก้าวลงสู่ความว่าง” หรือ “จิตตกศูนย์” ก่อนบรรลุธรรม

    หากจิตไม่ตกศูนย์ หรือไม่ก้าวลงสู่ความว่าง จะไม่มีทางบรรลุ จะต้องเห็นสภาวะเดิมปรากฏชัด จากนั้นเห็นสภาวะเดิมนั้น “ว่างไปอย่างเห็นได้ชัด” ไม่ใช่คลุมเครือ หรือคิดนึกเอา เป็นการรับรู้ด้วยความเข้าใจหรือการเห็นสภาวะนั้นๆ อย่างชัดเจนจนกระทั่ง “สติ” ตื่นตัวขึ้นมาสูงสุดในฉับพลัน เหมือนการจุดประกายไฟ แล้วกำลังสมาธิมั่นคง นิ่งอยู่ ดูอยู่ เมื่อเห็นสภาวะเดิมว่างไป อย่างนั้น คลายการยึดมั่นทั้งหมดแล้ว จิตก็จะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสรรพสิ่งได้ จึงเข้าสู่การบรรลุธรรม ดังนั้น ภาวะทางจิตนี้เอง จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการบรรลุธรรม หากจิตไม่มีอาการ หรือสภาวะเช่นนี้ บุคคลผู้ศึกษาไตรปิฎกอาจคิดไปเองว่าตนเองบรรลุแล้ว เพราะนึกเอา, คิดเอา, อ่านเอา ทำความเข้าใจเอาในหลักการในพระไตรปิฎก หากเป็นสายอภิญญาได้เห็นไตรลักษณ์เพียงน้อยก็บรรลุได้ หากเป็นสายปัญญา จะต้องคัดค้านและไม่เชื่อในพระไตรปิฎกก่อน จนตระหนักรู้ว่าตนโง่ เห็นความว่างไปของ “ความโง่เขลา” ของตน ก็บรรลุได้ แต่หากไม่เห็นสภาวะความว่างไปของ “สิ่งที่ยึดมั่น” จากจิต ก็เปลี่ยนเสมือนดวงจันทร์ถูกเมฆบดบัง ไม่เห็นสภาวะเมฆถูกสลายไป เพราะเมฆยังบดบังอยู่ ดังนั้น แสงสว่างแห่งปัญญาย่อมไม่สว่างไสวได้ จะบรรลุได้ จึงต้องเห็นสภาวะการสลายไปของ “สิ่งที่บดบัง” ก่อน เมื่อเห็นความว่างไป สลายไปของสิ่งที่บดบังแล้ว จึงเห็นแสงสว่างแห่งปัญญาได้อย่างแท้จริง ซึ่งบางครั้ง สิ่งที่บดบังหายไปนานระยะหนึ่ง แล้วค่อยเกิดปัญญามาอธิบายสภาวธรรมได้ในภายหลังก็มี ดังนั้น บางท่านจึงไม่ทันสังเกต “ภาวะจิตตกศูนย์” หรือ “การก้าวลงสู่ความว่าง” หรือ “การสูญไปของสิ่งที่บดบัง” นี้ กล่าวคือ จิตต้องมีอาการก้างลง หรือ ตก ไปสู่ความว่างก่อน แสงปัญญาแห่งธรรม จึงปรากฏได้ ซึ่งเป็นแสงแห่งธรรมภายในตนเอง ไม่ใช่ธรรมะที่ไปอ่านจำนึกคิดมาจากที่ใด ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ดังๆ จำนวนมากมักคิดเอาว่าบรรลุแล้ว


    ยังมีพระภิกษุสงฆ์อีกจำนวนมาก ที่ยังไม่ได้ทำนิพพานให้แจ้ง ไม่เห็นแจ้งในสภาวะการว่างไป สูญไป (นิพพานแปลว่าสูญ) ดังนั้น จึงไม่เห็นอาการการว่างไป หรือสูญไป ของกิเลสเครื่องร้อยรัด นั่นคือ “กิเลสนิพพาน” ยังไม่ได้เกิดแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นจึงไม่เห็นสภาวธรรม ความสูญสิ้นไปของกิเลส ไม่เห็นแจ้งได้ว่ากิเลสสุญนั้นเป็นอย่างไร ไม่รู้สึก อธิบายไม่ได้ อาศัยการทำความเข้าใจในตำราหรือการฟังธรรมด้วยสมอง ทั้งๆ ที่เรื่องการบรรลุธรรม ไม่ใช่เรื่องของสมอง แต่เป็นเรื่อง “สภาวะการรับรู้ทางจิต” ดังนั้น ไม่เข้าสู่สภาวะนั้นๆ และไม่เห็นแจ้งด้วยจิต จึงไม่ใช่การบรรลุธรรม พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้น จึงมีกำลังสมถะแก่กล้า ข่มกำราบกิเลสได้หมด แต่ยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม ยังไม่บรรลุธรรม เป็นพระอนาคามี ที่คิดว่าตนเข้าถึงธรรมแล้ว เพราะอ่านแล้วมีความเข้าใจในธรรม และจะเป็นพระอนาคามีอยู่อย่างนี้ยาวนานทีเดียว โดยไม่รู้ตัวว่าตนยังไม่แจ้งอะไร เพราะอาศัยสมองและความคิดนั้นก็เข้าใจในธรรมแล้ว แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ทดลองหรือเห็นด้วยตนเอง ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อ “ยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม” โดยทั่วกัน
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ศึกษาค้นคว้าจาก “จูฬสุญญตสูตร”

    จูฬสุญญตสูตร (๑๒๑)

    [๓๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ออกจากสถานที่หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่สักยนิคมชื่อนครกะ ในสักกชนบท ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับ ได้รับพระดำรัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรอานนท์ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ

    [๓๓๔] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใดดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้นเธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    [๓๓๕] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน เปรียบเหมือนหนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของปราศจากรอยย่น ฉันใด ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจแผ่นดินนี้ ซึ่งจะมีชั้นเชิง มีแม่น้ำลำธาร มีที่เต็มด้วยตอหนาม มีภูเขาและพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ ทั้งหมด ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่า แผ่นดิน จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าแผ่นดินนี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์ และชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่า มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละเธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [๓๓๖] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่าไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญาจิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในอากาสานัญจายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากาสานัญจายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวนกระวาย ชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่าและชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดิน มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญาเท่านั้นเธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    [๓๓๗] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดินไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญาจิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในวิญญาณัญจายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในวิญญาณัญจายตนสัญญานี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดิน และชนิดที่อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญามีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญาและรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลยและรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูกรอานนท์แม้อย่างนี้ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ของภิกษุนั้น ฯ

    [๓๓๘] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา ไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในอากิญจัญญายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากิญจัญญายตนสัญญานี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยวิญญาณัญจายตนสัญญา มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะอากิญจัญญายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละเธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลยและรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาดบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [๓๓๙] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา ไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยวิญญาณัญจายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญา มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญา และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    [๓๔๐] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา มีอยู่แต่เพียงความกระวนกระวายคือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาและรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    [๓๔๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญาตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้แล ยังมีปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้ ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น ไม่เที่ยงมีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยกามาสวะ ชนิดที่อาศัยภวาสวะและชนิดที่อาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้ว่างจาก ภวาสวะ สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

    [๓๔๒] ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้นย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูกรอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

    จบ จูฬสุญญตสูตร ที่ ๑
     
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [​IMG]
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    "สาธุ" และ "อนุโมทนา" คืออะไร?

    บางท่านเวลาได้ยิน หรือได้รับฟังเกี่ยวกับธรรมะ บ้างจะพูดว่า สาธุบ้างละ อนุโมทนา บ้างละ โดยที่ผู้พูดอาจไม่รู้ความหมายเลย อาจเป็นเพราะได้ยิน หรือพูดตามๆกันมา ซึ่งในบทความนี้จะชี้แจงความหมายของคำว่า สาธุ และคำว่า อนุโมทนาดังรายละเอียดต่อไปนี้ ขอให้ญาติโยมศึกษา(อ่านให้จบจะเข้าใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่บางครั้งการใช้คำยังไม่ถูกต้อง ลื้องอบ)
    ความหมายของคำว่า "สาธุ"

    ข้อมูลส่วนใหญ่เรียบเรียงจาก พระธรรมเทศนา พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ

    สาธุ มาจากรากศัพท์ว่า สาธฺ (หรือ สธฺ) ในความหมายว่า สำเร็จ และประกอบด้วย รู ปัจจัย (สาธ + รู = สาธุ)

    ส่วนในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ได้จำแนกการใช้คำว่า สาธุ ไว้ 6 นัย กล่าวคือ

    สุนทระ หมายถึง ดีงาม
    ทัฬหิกัมมะ เป็นการย้ำอีกครั้ง เพื่อให้การกระทำนั้นมั่นคงยิ่งขึ้น
    อายาจนะ เป็นคำอ้อนวอนหรือเรียกร้อง เมื่อเริ่มต้นจะพูดอย่างอื่นต่อไป
    สัมปฏิจฉนะ เป็นการรับคำหรือยอมรับคำพูดของผู้อื่น
    สัชชนะ หมายถึง คนดี
    สัมปหังสา เป็นคำแสดงความยินดีหรือพอใจ
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ก่อนจะอธิบายธรรมอธิบายคำว่าสาธุให้ฟังสักหน่อยพวกเราได้ยินแต่ว่าสาธุ ๆ แต่ไม่รู้แปลว่าอะไรสาธุในภาษาไทยมีความหมายอย่างน้อย 5 อย่าง

    1.สาธุหมายถึง อนุโมทนา แสดงความยินดี ตกลง เห็นด้วย เช่น เวลาเราเห็นด้วยกับใครตกลง โอเค เราก็บอกสาธุ เห็นด้วย ๆ สมมุติว่าเราเลือกตั้งเห็นคะแนนเสียงเราก็บอกสาธุไม่ต้องปรบมือกราว ๆ เพราะปรบมือเป็นของฝรั่งเขาของไทยคือสาธุเห็นด้วยเหมาะสมแล้ว หรืออาจารย์รู้ว่าลูกศิษย์กราบสวยอาจารย์ก็บอกสาธุดีแล้วอนุโมทนายินดีด้วย

    2.สาธุหมายถึง ยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือให้สำเร็จประโยชน์ เช่นได้ยินคำว่า มัตตัญยุตตา สทา สาธุ ความรู้จักประมาณให้สำเร็จประโยชน์เสมอ

    3.สาธุหมายถึง ขอให้สมพรปากกับคำอวยพรที่ท่านให้ อย่างเช่น อันนะภาระในครั้งสมัยพุทธการเป็นคนยากจนเข็ญใจทำบุญกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้อธิฐานว่าคำว่าจนอย่าได้มีและจงได้รู้ธรรมอย่างท่านพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ให้พรว่า

    อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปาจันโท ปัณณะระโส ยะถา มะณิ โชติระโส ยะถา

    แปลว่า ขออิฏฐผลที่ท่านปรารถนาแล้วตั้งใจแล้วจงสำเร็จโดยฉับพลัน ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี ฯ จึงรับว่าสาธุขอให้สมพรปากท่าน

    4.สาธุหมายถึง ขอโอกาส อันนี้เป็นสำนวนของพระ อย่างสมมุติว่าจะอาราธนาศีลก็จะขึ้นว่า สาธุ สาธุ มะยัง ภันเต เคยได้ยินบ้างไหม เหมือนกับว่าคนเป็นครูบาอาจารย์จะทำอะไรก็ขอโอกาสพระเถระเสียก่อนเช่น จะเปิดหน้าต่างก็ ขอโอกาสท่านอาจารย์ครับผมจะเปิดหน้าต่าง ทำอะไรต้องบอกผู้ใหญ่เสียหน่อย ไม่ใช้ทำพรวด ๆ ไปขาดความเคารพ การทำขอโอกาสอย่างนี้ท่านเรียกว่าสาธุภาษาบาลี ภาษาไทยว่าขอโอกาส

    5.สาธุหมายถึง แสดงความต้อนรับแสดงความยินดีไชโยโห่ร้องกราบไหว้ ยกตัวอย่าง เวลาสมเด็จสังฆราชหรือใครก็ตามเสด็จไปต่างประเทศ ต่างประเทศเช่นเนปาลเขานิยมเวลามาต้อนรับเขาจะร้องสาธุตลอดทางที่มาต้อนรับ สาธุตัวนี้ก็คือขอยินดีต้อนรับ
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ส่วนคำว่าอนุโมทนา มีความหมายดังรายละเอียดต่อไปนี้

    ศัพท์ธรรมคำวัด : อนุโมทนา มีคำอยู่คำหนึ่งที่ชาวพุทธพูดกันจนติดปาก คำนั้นก็คือ “อนุโมทนา” ความหมายของอนุโมทนาคืออะไร และเมื่อไหร่ที่ควรใช้คำนี้ คำตอบก็คือ...

    ในหนังสือ ‘คำวัด’ โดยพระธรรมกิตติวงศ์ ได้อธิบายความหมายของคำนี้ไว้ว่า

    อนุโมทนา หมายถึง การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำการอนุโมทนานั้นอาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่นเมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบก็ยกมือขึ้นประนมไหว้ เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัดหรือมีใครทำบุญ แล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วก็ยกมือขึ้นสาธุเป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วย

    เรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า “อนุโมทนากถา”
    เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า “อนุโมทนาบัตร หรือใบอนุโมทนา”
    เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า “อนุโมทนามัยบุญ" และการที่ภิกษุกล่าว สัมโมทนียกถา อันแปลว่า ถ้อยคำอันเป็นที่บันเทิงใจใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของความดี ของบุญกุศล ที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆัง เป็นต้น ไว้ในบวรพระพุทธศาสนา บางทีเรียกว่า อนุโมทนากถา
    ส่วนในหนังสือศาสนพิธี เล่ม ๒ ฉบับมาตรฐาน โดยคณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า...

    ธรรมเนียมของพระภิกษุสามเณร เมื่อได้รับถวายปัจจัยสี่ไม่ว่าจะเป็นภัตตาหาร หรือทานวัตถุใดๆ ก็ตามจากทายกทายิกาจะต้องทำพิธีอนุโมทนาทานนั้น ไม่ว่าจะได้รับรูปเดียวหรือหลายรูปก็ตามต้องอนุโมทนาทุกครั้ง จะละเว้นเสียมิได้ถือว่าผิดพระพุทธานุญาตต่างแต่ว่าอนุโมทนาต่อหน้าหรือลับหลังเท่านั้น

    ธรรมเนียมนี้ปฏิบัติกันมาแต่ครั้งพุทธกาลแล้วฉะนั้นการอนุโมทนาทานจึงเป็น ประเพณีมานานในหมู่สงฆ์การประกอบพิธีอนุโมทนาลับหลังทา ยกทายิกามีวิธีเดียว คือการบิณฑบาตที่ต้องออกรับในสถานที่ต่างๆ ทั่วไปไม่จำกัด กรณีเช่นนี้ไม่ต้องอนุโมทนาต่อหน้าขณะที่รับบิณฑบาต แต่กลับมาถึงวัดฉันอาหารเรียบร้อยแล้วจึงอนุโมทนา หรือยกไปอนุโมทนาในช่วงทำวัตรสวดมนต์ เช้า - เย็นก็ได้
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ส่วนพิธีอย่างอื่นนอกจากนี้ควรจะอนุโมทนาต่อหน้าเสมอไปจึงจะสมควร พิธีอนุโมทนาแบ่งออกเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ ๒ หัวข้อคือ

    ๑. สามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาที่นิยมใช้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ไม่จำกัดงานหนึ่งงานใด ก็คงใช้คำอนุโมทนาแบบเดียวกัน

    ๒. วิสามัญอนุโมทนา คือ การอนุโมทนาด้วยบทสวดพิเศษคือ อนุโมทนาเฉพาะทาน เฉพาะกาล และเฉพาะเรื่อง

    สำหรับคำว่า “สาธุ” แปลว่า “ดีแล้วชอบแล้ว” ดังนั้นการเปล่งวาจาว่าสาธุก็เพื่อแสดงความเห็นชอบด้วยชื่นชมหรือยกย่องสรรเสริญ เพื่ออนุโมทนาในบุญ หรือความดีที่ผู้อื่นทำนั่นเอง

    ในพระไตรปิฎก ได้พูดเรื่องผลบุญของการอนุโมทนาที่ทำให้ไปเกิดในวิหารวิมานว่า

    ท่านพระอนุรุทธเถระได้ถามนางเทพธิดาตนหนึ่งว่าเหตุใดมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศสถิตอยู่เหมือนดาวประกายพฤกษ์ มีเสียงอันเป็นทิพย์น่าฟัง รื่นรมย์ใจมีกลิ่นทิพย์อันหอมหวนยวนใจเสียงของเครื่องประดับผมก็ดังเสียงไพเราะดุจเสียงดนตรีแม้พวงมาลัยบนศีรษะก็มีกลิ่นหอมชวนให้เบิกบานใจ หอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ขอท่านจงบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร ?

    นางเทพธิดาตอบว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นสหายของดิฉัน อยู่ในเมืองสาวัตถี ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ดิฉันเห็นมหาวิหารนั้น แล้วมีจิตเลื่อมใสอนุโมทนาก็วิมานอันเป็นที่รักนี้อันดิ ฉันได้แล้วเพราะการอนุโมทนาด้วยจิตบริสุทธิ์แต่อย่างเดียวเท่านั้นวิมานนี้เป็นวิมานอัศจรรย์น่าดูน่าชม โดยรอบสูง ๑๖ โยชน์เลื่อนลอยไปในอากาศ ได้ตามความปรารถนาของดิฉัน ดิฉันมีปราสาทเป็นที่อยู่อาศัย อันบุญกรรมจัดแจงเนรมิตให้เป็นส่วนๆงามรุ่งโรจน์ตลอดร้อยโยชน์โดยรอบทิศ วิมานอันมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศน่าอัศจรรย์ น่าดูน่าชมเช่นนี้ เกิดแต่ดิฉันเพราะกุศลกรรมทั้งหลายควรทำบุญโดยแท้

    สรุปแล้วการอนุโมทนาเป็นสิ่งดี แต่สิ่งที่ดีกว่าก็คือ การลงมือทำความดี สร้างบุญกุศลนั้นๆ ด้วยตนเอง

    อ้างอิง http://www.societybit.com/bbs/viewthrea ... a=page%3D1
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เเยกรูปกับนาม คือ อะไร ?

    โดย พระไพศาล วิสาโล
    วันที่ 29 ตุลาคม 2010
    จากหน้า พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo

    ปุจฉา
    1. รูปนามคืออะไรครับ เข้าใจว่าเป็นเรื่องกายกับจิต ที่นี้โยมไม่เข้าใจคำว่าเเยกรูปกับนามน่ะครับ

    2. เวลานั่งเฉยๆความคิดที่มันเกิดขึ้น พอเรารู้ตามเเล้วมันดับ พอมันเกิดขึ้นอีกรู้ตามทันความคิดเเล้วมันดับไป เป็นแบบนี้ตลอดถูกต้องเเล้วหรือยังครับ

    วิสัชนา
    รูป-นาม พูดง่าย ๆ คือ กายและใจ แยกรูปนามหมายความว่า แทนที่จะเห็นว่านี่เป็นฉัน ก็เห็นว่า มีแต่รูปกับนาม ไม่มีตัวฉัน ความรู้สึกว่าตัวฉันหายไป เพราะเห็นว่ามีแต่รูปกับนาม กายกับใจเท่านั้น "ตัวฉัน"เป็นแค่สมมติ แยกรูปนาม เป็นวิปัสสนาญาณ ที่เกิดจากการมีสติเห็นกายและใจอย่างต่อเนื่องตามความเป็นจริง มิใช่เกิดจากการคิดหรือท่องเอา

    ข้อ ๒ นั้น ถูกต้องแล้ว แค่ดูรู้เฉย ๆ ไม่ต้องไปตามมัน พอรู้ว่าเผลอคิด ความเผลอหายไป ความคิดนั้นก็จะหายไปด้วย เพราะมีความรู้ตัวมาแทนที่ ขอให้ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องไปจ้องหรือดักรอมัน
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ลองคิดดูดีๆ นะ คนเราเกิดมาแล้ว กว่าจะโต กว่าจะแก่ ทำอะไรกันไปบ้าง ทำแล้วได้อะไรกันบ้าง พอแก่ตัวเข้าวัด เข้าไปทำไม มีประโยชน์อะไร ร่างกายสังขารมันทำอะไรก็ไม่ไหวแล้ว

    ถ้าอยากจะปฏิบัติธรรมอยู่ที่บ้านดีกว่าหนอ ไม่ต้องมาที่วัดหรอก เพราะเหมือนๆ กันนั่นแหละ มาอยู่วัดเปลืองน้ำเปลืองไฟอีก

    การที่มีคนไปบวช ถือศีลปฏิบัติธรรมและอยู่วัดกันเยอะๆ นั่นแหละเป็นเหตุให้วัดต้องมีธุรกิจเพื่อหารายได้มาเป็นค่าใช้จ่ายภายในวัด กลายเป็นการส่งเสริมให้สงฆ์ปฏิบัติผิดพระธรรมวินัย

    เอ๊ะ...ทำไมจึงกล่าวเช่นนี้ มองโลกในแง่ร้ายเกินไปหรือเปล่า? ในสายตาของชาวพุทธต่างมองว่าศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองเพราะมีคนเข้ามาบวชในศาสนากันเยอะๆ ถ้าเป็นในอดีตก็คงจะใช่ แต่ในปัจจุบันนี้ ผู้ที่เข้ามาบวชแล้วศึกษากันจริงๆ ก็มีอยู่เยอะ แต่ศึกษาอะไรกันล่ะ คงจะไม่ปฏิเสธว่าเข้ามาบวชแล้วมาอาศัยเป็นสถานที่ทำมาหากินก็มีเช่นกัน พระแท้ๆ ที่เป็นเนื้อนาบุญคืออะไร?

    วัดเป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์ในการทำสังฆกรรมที่เกี่ยวกับพระวินัยของสงฆ์ ไม่ใช่สถานที่ให้ญาติโยมเดินเข้าเดินออก เข้ามาชื่นชมภายในวัด

    อยากจะไหว้พระ กราบพระ นั่นอยู่ที่ใจ ถ้ามีพระอยู่ในใจกราบใจตัวเองนั่นแหละ ไม่ต้องไปตระเวณหาหรอก ที่อยู่ในใจนั่นแหละศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแล้ว มีพระรัตนตรัยอยู่ในใจดีที่สุด ดีกว่ามีพระรัตนตรัยอยู่ที่วัด

    ตามหากันตลอดชีวิต ไปกันจนทั่ว แต่ไม่ได้อะไรเลย นอกจากความพอใจซึ่งก็คือตัณหา

    พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ก็คือใจ อยู่ที่ใจนี่แหละ เพราะใจน้อมระลึกถึงคุณเหล่านั้น

    ทั้งสุขทั้งทุกข์ทั้งหมดทั้งมวลมันรวมอยู่ที่ใจนี่แหละ กายนั้นมีเพื่อเรียนรู้ใจ ไม่ใช่มีกายไว้แข่งกัน เมื่อรู้ใจแล้วก็ไม่มีกายอีกต่อไป และเมื่อรู้ใจจนถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่มีใจอีกเช่นกัน พูดง่ายดีเนาะ จะมีใครที่มองเห็นเหมือนเราหรือเปล่าหนอ?

    ที่พูดๆ มาทั้งหมด ไม่ใช่เป็นการโจมตี แต่อยากให้ชาวพุทธได้มองเห็นความจริง ปลดภาพมายาออกจากใจ
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วิปลาสธรรม (ธรรมที่ผิดไปจากความเป็นจริง)

    วิปลาสธรรม เป็นธรรมที่ผิดไปจากความเป็นจริง

    องค์ธรรมของวิปลาสธรรม มี ๓ อย่าง คือ...

    ๑. ทิฏฐิ...ได้แก่ ความเห็นผิด

    ๒. จิต...ได้แก่ รู้ผิด

    ๓. สัญญา...ได้แก่ จำผิด

    อารมณ์ของวิปลาสธรรม มี ๔.....

    ๑. อัตตวิปลาส สำคัญว่า นามรูปนี้ เป็น ตัวตน

    ๒. สุขวิปลาส สำคัญว่า นามรูปนี้ เป็น สุข

    ๓. สุภวิปลาส สำคัญว่า นามรูปนี้ สวยงาม

    ๔. นิจจวิปลาส สำคัญว่า นามรูปนี้ เที่ยง

    อารมณ์ทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นอารมณ์ที่ถูกตัณหา และทิฏฐิยึดถือไว้ จึงทำให้วิปริตผิดจากความเป็นจริง อารมณ์ของวิปลาส ๔ อย่างนี้ เมื่อคูณด้วยองค์ธรรมของวิปลาส ๓ ได ๑๒ คงได้วิปลาสทั้งสิ้น ๑๒ ประการ

    วิปลาสทั้ง ๑๒ ประการนี้ เกิดขึ้นเพราะไม้ได้กำหนดรู้ความจริงของนามรูปนั่นเอง และวิปลาสธรรมเหล่านี้ เกิดจากอำนาจของกิเลสอย่างละเอียด ทั้งศีล และสมาธิ ก็ไม่สามารถจะละได้ ต้องอาศัยวิปัสสนาภาวนาอย่างเดียวเท่านั้นที่จะละได้

    เพราะเหตุว่า วิปัสสนานั้น เป็นปัญญาที่เข้าไปกำหนดรู้ความจริงของนามรูป

    ฉะนั้น การเจริญวิปัสสนา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจในนามรูป เพื่อจะได้กำหนดรู้ความจริงของนามรูป แต่วิธีการที่จะกำหนดนามรูปนั้น ต้องกำหนดตามนัยของสติปัฏฐาน ๔ เพราะสามารถละวิปลาสธรรมได้ดังนี้ คือ....

    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ สุภวิปลาส

    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ สุขวิปลาส

    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ นิจจวิปลาส

    ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ อัตตวิปลาส

    โดยเหตุนี้ การเจริญวิปัสสนากับการเจริญสติปัฏฐาน จึงเป็นอย่างเดียวกัน และการเจริญสติปัฏฐานก็เป็นการเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา.

    เมื่อการเจริญสติปัฏฐาน เป็นการเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ชื่อว่า เป็นการเจริญมรรค ๘ หรือ มัชฌิมาปฏิปทา นั่นเอง เพราะองค์ธรรมของสติปัฏฐาน ประกอบด้วย วิริยะ ปัญญา สติ ดังในสติปัฏฐานพระบาลี แสดงว่า

    "อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ฯ"

    ซึ่งแปลความว่า...

    "มีความเพียรยังกิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดเสียซึ่งความยินดียินร้ายในโลกให้พินาศลง"

    การเจริญสติปัฏฐาน เป็นการสำรวมอินทรีย์ ที่เรียกว่า อินทรีย์สังวร ในพระบาลีมหาวรรค สังยุตตนิกาย แสดงว่า "จตฺตโร สติปฏฺฐาน ภาวิตา พหุลี กตา อิทฺริยสํวรสีลํ ปริปุเรนฺติ ฯ"

    ซึ่งแปลความว่า "สติปัฏฐาน ๔ นี้ เมื่อได้เจริญให้มากเต็มที่แล้ว ย่อมยังอินทรีย์สังวรให้บริบูรณ์ด้วย"

    เมื่อการเจริญสติปัฏฐาน เป็นการเจริญอินทรีย์สังวรแล้ว และอินทรีย์สังวรนี้ เป็นอธิศีล และอธิศีลนี้ก็คือ ศีลวิสุทธิ ส่วนวิริยะ และสติ จัดเป็นองค์ของ สมาธิ ซึ่งสมาธินี้ ได้แก่ จิตตวิสุทธิ.

    สำหรับสัมปชัญญะนั้น เป็นองค์ของปัญญา และปัญญานี้ ก็คือ ปัญญาวิสุทธิ นับแต่ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นต้นไป

    โดยเหตุผลดังกล่าวแล้วนี้ จึงว่า การเจริญสติปัฏฐาน ก็คือการเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา หรือเจริญมรรค ๘ คือ มัชฌิมาปฏิปทา หรือวิสุทธิ ๗ ทั้งหมดนี้ก็เป็นอันเดียวกัน หรือจะกล่าวให้สั้นที่สุด ก็ได้แก่ สมถะ และ วิปัสสนา ๒ อย่างเท่านั้น.

    (คู่มือการศึกษา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ รวบรวมโดย อาจารย์(วิปัสสนา)วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี)
     

แชร์หน้านี้

Loading...