>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เรื่องนี้ยาวแต่มีประโยชน์ เอาไว้เทียบเคียงกับผลการปฏิบัติของตนเองนะคะ

    ความรู้แจ้งเห็นจริงถึงทุกขตาแห่งสรรพสิ่ง

    ความรู้แจ้งเห็นจริงใน “สภาวธรรมแห่งสรรพสิ่งทั้งหลาย” ที่เป็นไปตาม “สัจจธรรม” ตามกำหนดธรรมดา นั่นคือ “ความประจักษ์แจ้งตามความสภาพที่เป็นจริง” ส่วนในคำว่า “ตามกำหนดธรรมดา–ตามสภาพที่เป็นจริง” หมายถึง “ธรรมฐิติ–ยถาภูตธรรม” นั่นคือ ความเป็นจริงหรือปรมัตถสัจจะที่ดำรงอยู่อย่างมั่นคงแน่นอนตามธรรมชาติที่เป็นอยู่จริง คือ “กฎธรรมชาติ” ไม่ใช่ตามที่ตนเองเป็นผู้กำหนดหมายรู้ คือ ความเป็นไปตามเจตนาส่วนตัว คือ “สัญเจตนา” ซึ่งอาจเป็นความจริงตามวิสัยแห่งโลกหรือโลกียะ ที่เรียกว่า “สมมติสัจจะ–ความจริงทางโลก” คือ ความจริงตามที่สมมติหรือบัญญัติขึ้นเองตามข้อตกลงส่วนรวมทางสังคม ที่ยอมรับกันในสังคมนั้นๆ อย่างไรก็ตาม “ความจริง–สัจจธรรม” ในทางพุทธศาสนานั้น เรียกว่า “ปรมัตถสัจจะ–ปรมัตถธรรม–อริยสัจจธรรม–ความจริงทางธรรม” ซึ่งหมายถึง

    (๑) สภาวะตามความหมายสูงสุด
    (๒) สภาวะที่มีในความหมายที่แท้จริง
    (๓) ความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ โดยไม่ขึ้นต่อการยอมรับของคน หรือ
    (๔) ความจริงตามความหมายขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะ และเท่าที่จะกล่าวถึงได้ เช่นว่า รูป นาม เวทนา จิต เจตสิก เป็นต้น นั่นคือ ตามนิยามความหมายอย่างครอบคลุมของพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ที่แสดงความหมายที่เป็นกลางอย่างสากลที่แสดงคุณสมบัติรวม และเฉพาะเพื่อแสดงคุณสมบัติของความแตกต่าง ฉะนั้น คำว่า “ความจริง–สัจจธรรม” จึงหมายถึง “ความรู้” ที่ให้เกิด “ปัญญา” แล้ว “ปัญญา” ทำให้เกิด “ญาณ” ปัญญาหยั่งรู้ ความรู้แจ้ง ความรู้แจ้งเห็นจริง ที่ก่อให้เกิด “ญาณทัสสนะ” ในขณะเจริญวิปัสสนาที่ภาวะจิตเป็น “จิตตสมาธิ” (สมาธินทรีย์–สมาธิพละ) ที่เรียกว่า “สมาธิ–เอกัคคตา” ที่เรียกอีกอย่างว่า “ธรรมสมาธิ” ที่ประกอบด้วย
    (๑) ปราโมทย์
    (๒) ปีติ
    (๓) ปัสสัทธิ
    (๔) สุข
    (๕) สมาธิ ซึ่งเป็นภาวะจิตที่ปราศจากนิวรณ์ นั่นหมายถึง “นิวรณูปกิเลส” คือ
    (๑) สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม
    (๒) ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี
    (๓) อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง ได้แก่ (๑) “กามฉันทะ” คือ ความพอใจในกาม ความต้องการกามคุณ (๒) “พยาบาท” คือ ความคิดร้าย ความขัดเคืองแค้นใจ (๓) “ถีนมิทธะ” คือ ความหดหู่และเซื่องซึม (๔) “อุทธัจจกุกกุจจะ” คือ ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล (๕) “วิจิกิจฉา” คือ ความลังเลสงสัย

    ด้วยเหตุนี้ “การเข้าถึงความจริง” ที่จัดอยู่ในขั้น “อริยสัจจธรรม” นั้น ต้องเกิดขึ้นในขณะจิตเป็นสมาธิ “จิตตสมาธิ” ที่ประกอบด้วย “ธรรมสมาธิ ๕” ที่เรียกว่า “ฌานจิต” ที่หมายถึง “จตุตถฌาน” ที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ ประการ คือ
    (๑) “อุเบกขา” กับ
    (๒) “เอกัคคตา” ซึ่งเป็นภาวะจิตที่ปราศจากอุปกิเลส หมายถึง โทษเครื่องเศร้าหมอง สิ่งที่ทำจิตใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก ที่เรียกว่า “นิวรณูปกิเลส” นั่นคือ “นิวรณ์ ๕” ได้แก่
    (๑) “กามฉันทะ” คือ ความพอใจในกาม ความต้องการกามคุณ
    (๒) “พยาบาท” คือ ความคิดร้าย ความขัดเคืองแค้นใจ
    (๓) “ถีนมิทธะ” คือ ความหดหู่และเซื่องซึม
    (๔) “อุทธัจจกุกกุจจะ” คือ ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล
    (๕) “วิจิกิจฉา” คือ ความลังเลสงสัย แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับองค์ประกอบที่แท้จริงของ “อุปกิเลส” นั้น หมายถึง

    “อุปกิเลส ๑๖” ได้แก่
    (๑) “อภิชฌาวิสมโลภะ” คือ คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร โลภกล้า จ้องจะเอา ไม่เลือกควรไม่ควร
    (๒) “พยาบาท” คือ คิดร้ายเขา
    (๓) “โกธะ” คือ ความโกรธ
    (๔) “อุปนาหะ” คือ ความผูกโกรธ
    (๕) “มักขะ” คือ ความลบหลู่คุณท่าน ความหลู่ความดีของผู้อื่น การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น
    (๖) “ปลาสะ” คือ ความตีเสมอ ยกตัวเทียมท่าน เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน
    (๗) “อิสสา” คือ ความริษยา
    (๘) “มัจฉริยะ” คือ ความตระหนี่
    (๙) “มายา” คือ มารยา
    (๑๐) “สาเถยยะ” คือ ความโอ้อวดหลอกเขา หลอกด้วยคำโอ้อวด
    (๑๑) “ถัมภะ” คือ ความหัวดื้อ กระด้าง
    (๑๒) “สารัมภะ” คือ ความแข่งดี ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน
    (๑๓) “มานะ” คือ ความถือตัว ทะนงตน
    (๑๔) “อติมานะ” คือ ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา ดูหมิ่นเขา
    (๑๕) “มทะ” คือ ความมัวเมา และ
    (๑๖) “ปมาทะ” คือ ความประมาท ละเลย เลินเล่อ นอกจากนี้ ยังรวมทั้ง คำว่า “กิเลส”

    จริงๆ คือ “กิเลส ๑๐” หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ได้แก่
    (๑) “โลภะ” คือ ความอยากได้
    (๒) “โทสะ” คือ ความคิดประทุษร้าย
    (๓) “โมหะ” คือ ความหลง ความไม่รู้ ความเขลา
    (๔) “มานะ” คือ ความถือตัว
    (๕) “ทิฏฐิ” คือ ความเห็นผิด
    (๖) “วิจิกิจฉา” คือ ความลังเลสงสัย ความเคลือบแคลง
    (๗) “ถีนะ” คือ ความหดหู่ ความท้อแท้ถดถอย
    (๘) “อุทธัจจะ” คือ ความฟุ้งซ่าน
    (๙) “อหิริกะ” คือ ความไม่ละอายต่อความชั่ว
    (๑๐) “อโนตตัปปะ” คือ ความไม่เกรงกลัวต่อความชั่ว

    สำหรับข้อสังเกตประการหนึ่ง คือ ควรพิจารณาถึง คำว่า “ตัณหา ๓” หมายถึง ความทะยานอยาก ได้แก่
    (๑) “กามตัณหา” คือ ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้กามคุณ นั่นคือ สิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า
    (๒) “ภวตัณหา” คือ ความทะยานอยากในภพ ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้ จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ
    (๓) “วิภวตัณหา” คือ ความทะยานอยากในวิภพ ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา อยากทำลาย อยากให้ดับสูญ ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ และ “อกุศลมูล ๓” ซึ่งหมายถึง รากเหง้าของอกุศล ต้นตอของความชั่ว ได้แก่ (๑) “โลภะ” คือ ความอยากได้ (๒) “โทสะ” คือ ความคิดประทุษร้าย (๓) “โมหะ” คือ ความหลง

    ทั้งหมดที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ เป็นเรื่องของ “กิเลส” ที่เป็นภาวะจิตที่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องหลีกเลี่ยงกำจัดให้สิ้นไปจากตนเอง เพื่อเตรียมตนค้นหาความจริง โดยตัดสิ้นไปจากกิเลสตัณหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเริ่มต้นจากจิตที่เป็นสมาธิที่ปราศจาก “นิวรณธรรม” ทั้งหลาย ที่เป็นกิเลสอย่างกลาง ที่เรียกว่า “ปริยุฏฐานกิเลส” ที่เป็นกิเลสอกุศลธรรมที่คอยสกัดกั้นไม่ให้เข้าถึงการสร้างความดีได้
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เพราะฉะนั้น คำว่า “สติสัมปชัญญะ” หมายถึง “สติปัญญา” ที่เกิดขึ้นในขณะจิตตั้งมั่นใน “ธรรมสมาธิ ๕”

    โดยมุ่งเน้นที่ “จตุตถฌาน–ฌานที่ ๔” ที่ประกอบด้วย “อุเบกขา–เอกัคคตา” นั่นคือ “อัปปนาสมาธิ” ซึ่งภาวะจิตในขณะนั้น จึงเป็นกุศลจิตที่อยู่ในระดับ “ปัญจมฌานกุศลจิต” ที่ประกอบด้วย “อุเบกขา–เอกัคคตา” เช่นกัน

    ซึ่งเทียบเท่ากับการลุถึง “อัปปมัญญาเจตสิก” ที่ประกอบด้วย “กรุณา–มุทิตา” นั่นคือ “อัปปมัญญาธรรม–อัปปมัญญา ๔–พรหมวิหาร ๔” ที่ประกอบด้วย “เมตตา–กรุณา–มุทิตา–อุเบกขา” นั่นคือ จิตมีความรัก จิตความสงสาร จิตมีความยินดีด้วย และจิตมีความเป็นกลาง ที่แผ่ไปในมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย อย่างกว้างขวางสม่ำเสมอกัน และอย่างไม่จำกัดขอบเขต

    ฉะนั้น ภาวะจิตดังกล่าวนี้ทำให้จิตปราศจากนิวรณ์ ที่ส่งผลให้กระบวนการสืบค้นหา “ความจริงสูงสุด–ปรมัตถสัจจะ–สัจจธรรม–อริยสัจจธรรม” ได้รู้แจ้งเห็นจริงตามสภาพที่เป็นจริงตามกำหนดธรรมดา ซึ่งหมายถึง “ความรู้แจ้งเห็นจริงตามไตรลักษณ์” ที่หมายถึง “สามัญลักษณะ ๓” ได้แก่ “อนิจจตา–ทุกขตา–อนัตตตา”

    ด้วยเหตุนี้ “ความรู้แจ้งเห็นจริงตามไตรลักษณ์” ที่เกิดจากการเจริญธรรม “สติปัฏฐาน ๔” และทำให้พบเห็นความจริง คือ “ปัญญาเห็นธรรม” ที่เกิดจากการมนสิการ “อนุปัสสนา” ได้แก่

    (๑) “อนิจจานุปัสสนา” ทำให้เกิด “ชวนปัญญา” ปัญญาเร็ว คิดได้เร็ว คิดออก เนื่องจากการเห็นความไม่เที่ยง

    (๒) “ทุกขตานุปัสสนา” ทำให้เกิด “นิพเพธิกปัญญา” ปัญญาทำลายกิเลส ปัญญาแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากการเห็นความทุกข์ และ

    (๓) “อนัตตานุปัสสนา” ทำให้เกิด “มหาปัญญา” ปัญญามาก ความรู้ยิ่งใหญ่ เนื่องจาการเห็นความไม่มีตัวตน ซึ่งเป็นบาทฐานที่สืบเนื่องต่อการเกิด “ปัญญาญาณ” ต่างๆ ตามมาในวิปัสสนากัมมัฏฐาน ฉะนั้น “ความรู้แจ้งเห็นจริงตามไตรลักษณ์” จะต้องเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในขณะมี “สติสัมปชัญญะ” ขณะจิตตั้งมั่นใน “ธรรมสมาธิ ๕” อย่างแน่วแน่ (อัปปนาสมาธิ) จนได้ลุถึง “อนัตตานุปัสสนา” ที่ก้าวล่วงถึงการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    นั่นคือ “โสฬสญาณ–ญาณ ๑๖” หมายถึง “ความหยั่งรู้” ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด โดยได้ลุถึง “วิชชา ๓” หมายถึง ความหยั่งรู้ที่ทำให้เกิด “ความรู้แจ้ง” หรือ “ความรู้วิเศษ” ซึ่งได้แก่

    (๑) “ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ” คือ ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้ หรือความสามารถระลึกชาติได้ ส่งผลานิสงส์ให้เกิด “นามรูปปริจเฉทญาณ” (ข้อ ๑ ในโสฬสญาณ–ญาณ ๑๖) คือ ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป (นามรูป–เบญจขันธ์) คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม อันได้แก่ “วิปัสสนาภูมิ–ปัญญาภูมิ” ในเรื่อง “ขันธ์ ๕–อายตนะ ๑๒–ธาตุ ๑๘–อินทรีย์ ๒๒”

    (๒) “จุตูปปาตญาณ–ทิพพจักขุญาณ” คือ ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ส่งผลานิสงส์ให้เกิด “ปัจจยปริคคหญาณ” (ข้อ ๒ ในโสฬสญาณ–ญาณ ๑๖) คือ ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป (นามรูป) คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ดี ตามแนววัฏฏะ ๓ ก็ดี เป็นต้น (นั่นคือ “ปฏิจจสมุปปันนธรรม” ได้แก่ อัทธา ๓ สังเขป–สังคหะ ๔ สนธิ ๓ วัฏฏะ ๓ วัฏฏะ ๓ อาการ ๒๐ มูล ๒) อันได้แก่ “วิปัสสนาภูมิ–ปัญญาภูมิ” ในเรื่อง “ปฏิจจสมุปบาท–ปฏิจจสมุปปันนธรรม–อริยสัจจ์ ๔–ศรัทธา ๔” รวมทั้งส่งผลานิสงส์ให้เกิด “สัมมสนญาณ” (ข้อ ๒ ในโสฬสญาณ–ญาณ ๑๖) คือ ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์

    คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน อันได้แก่ “วิปัสสนาภูมิ–ปัญญาภูมิ” ในเรื่อง “ไตรลักษณ์–อริยสัจจ์ ๔” และ

    (๓) “อาสวักขยญาณ” คือ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือ “ความตรัสรู้” ซึ่งหมายถึง “ญาณหยั่งรู้ในวิปัสสนา” จากข้อ ๔ ถึง ข้อ ๑๖ ในโสฬสญาณ–ญาณ ๑๖ ตามลำดับ ซึ่งในลำดับนี้ เป็นกระบวนการกำจัดกิเลสอย่างละเอียด ที่เรียกว่า “อนุสัยกิเลส” (อนุสัย) หมายถึง กิเลสที่หมักดองอยู่ในพื้นจิต กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน

    เช่น “อาสวะ” คือ สภาวะอันหมักดองสันดาน ๑ สิ่งที่มอมพื้นจิต ๑ กิเลสที่ไหลซึมซ่านไปย้อมใจเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ ๑ “สังโยชน์” คือ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับวัฏฏทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เพราะฉะนั้น “อนุสัยกิเลส–กิเลสานุนัย” ดังกล่าวข้างต้นนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องกำจัดด้วย “ปัญญาญาณ” ซึ่งหมายถึง “โสฬสญาณ–ญาณ ๑๖” ที่เริ่มตั้งแต่ ข้อ ๔ ถึง ข้อ ๑๖ ซึ่งเรียกรวมว่า “อาสวักขยญาณ” ซึ่งมีลำดับการชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง ใน ๙ ข้อ แรกนั้น เรียกว่า “วิปัสสนาญาณ ๙” (ข้อ ๑–ข้อ ๙) หมายถึง ญาณในวิปัสสนาที่เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ดังนี้

    (๑) “อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ” คือ ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ นั่นคือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไปล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด

    (๒) “ภังคานุปัสสนาญาณ” คือ ญาณอันตามเห็นความสลาย นั่นคือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้วคำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด

    (๓) “ภยตูปัฏฐานญาณ” คือ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว นั่นคือ เมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

    (๔) “อาทีนวานุปัสสนาญาณ” คือ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ นั่นคือ
    เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษเป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์

    (๕) “นิพพิทานุปัสสนาญาณ” คือ ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย นั่นคือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ

    (๖) “มุญจิตุกัมยตาญาณ” คือ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย นั่นคือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น

    (๗) “ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ” คือ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป

    (๘) “สังขารุเปกขาญาณ” คือ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร นั่นคือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่ามีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้

    (๙) “สัจจานุโลมิกญาณ–อนุโลมญาณ” คือ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ นั่นคือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจจ์ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป

    (๑๐) “โคตรภูญาณ” คือ ญาณครอบโคตร ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล

    (๑๑) “มัคคญาณ” คือ ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น

    (๑๒) “ผลญาณ” คือ ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ

    (๑๓) “ปัจจเวกขณญาณ” คือ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรคผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อย่างไรก็ตาม ให้พึงระลึกไว้ว่า “โสฬสญาณ–ญาณ ๑๖” หมายถึง ญาณในวิปัสสนาที่ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากกิเลสอย่างละเอียด ที่เรียกเป็นทางการว่า “ปัญญา–อธิปัญญาสิกขา” (ข้อ ๓ ในไตรสิกขา–สิกขา ๓)

    เพราะฉะนั้น “วิปัสสนาภูมิ–ปัญญาภูมิ” ที่เกิดขึ้นในขั้นนี้ จึงเรียกว่า “อริยสัจจ์ ๔–ไตรลักษณ์” ซึ่งความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายและทุกข์ทั้งปวง นั่นคือ

    “วิมุตติ ๒” หมายถึง ความหลุดพ้น ได้แก่

    (๑) “เจโตวิมุตติ” คือ ความหลุดพ้นแห่งจิต ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ

    (๒) “ปัญญาวิมุตติ” คือ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา ความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง หรือในอีกแง่หนึ่ง คือ

    “วิโมกข์ ๓” หมายถึง ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น ได้แก่

    (๑) “สุญญตวิโมกข์” คือ หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ โดยอาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส

    (๒) “อนิมิตตวิโมกข์” คือ หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ โดยอาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต

    (๓) “อัปปณิหิตวิโมกข์” คือ หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตา แล้วถอนความปรารถนาเสียได้ โดยอาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อย่างไรก็ตาม ทั้ง “อริยสัจจ์ ๔” คือ เครื่องมือดับทุกข์ กับ “ไตรลักษณ์” คือ เครื่องมือที่ใช้ในการหลุดพ้น เพราะเจริญอนุปัสสนาตามประเภทไตรลักษณ์ ซึ่งหลักธรรมทั้ง ๒ อย่าง ต่างเกิดรวมกับ “ปฏิจจสมุปบาท” ในเวลาเดียวกัน พร้อมด้วย “โสฬสญาณ–ญาณ ๑๖” ๑ “วิสุทธิ ๗” ๑ และ “โพธิปักขิยธรรม ๓๗” ๑ ตามลำดับ โดยทั้งหมดก็คือ “สัมปยุตตธรรม” นั่นเอง

    เพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมยิ่งขึ้น จึงควรเห็นรายละเอียดของหลักธรรม “วิสุทธิ ๗” คือ ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือนิพพานได้แก่ “สีลวิสุทธิ–จิตตวิสุทธิ–ทิฏฐิวิสุทธิ–กังขาวิตรณวิสุทธิ– มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ–ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ–ญาณทัสสนวิสุทธิ” กับ “โพธิปักขิยธรรม ๓๗” คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้หรือเกื้อกูลแก่การตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค ได้แก่ “สติปัฏฐาน ๔–สัมมัปปธาน ๔–อิทธิบาท ๔–อินทรีย์ ๕–พละ ๕–โพชฌงค์ ๗–มรรคมีองค์ ๘” และเพื่อให้เห็นสภาวะแห่งความตรัสรู้ที่สมบูรณ์ว่าประกอบด้วยองค์ธรรมย่อมทั้งหมด ดังนี้

    (๑) “สติปัฏฐาน ๔” คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน นั่นคือ “การเห็นไตรลักษณ์” ได้แก่ “กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน– เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน– จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน– ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน”

    (๒) “สัมมัปปธาน ๔” คือ ความเพียรใหญ่ ได้แก่ “สังวรปธาน–ปหานปธาน–ภาวนาปธาน–อนุรักขนาปธาน”

    (๓) “อิทธิบาท ๔” คือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย ได้แก่ “ฉันทะ–วิริยะ–จิตตะ–วิมังสา”

    (๔) “อินทรีย์ ๕” คือ ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน โดยเป็นเจ้าการในการทำหน้าที่ และเป็นหัวหน้านำสัมปยุตตธรรมในการครอบงำกำจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ ได้แก่ “ศรัทธา–วิริยะ–สติ–สมาธิ–ปัญญา”

    (๕) “พละ ๕” คือ ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน โดยเป็นกำลังให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ ได้แก่ “ศรัทธา–วิริยะ–สติ–สมาธิ–ปัญญา”

    (๖) “โพชฌงค์ ๗” คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ธรรมที่เป็นองค์ของผู้ตรัสรู้ ได้แก่ “สติ–ธัมมวิจยะ–วิริยะ–ปีติ–ปัสสัทธิ–สมาธิ–อุเบกขา”

    และ (๗) “มรรคมีองค์ ๘” คือ แนวทางประพฤติปฏิบัติอันมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ ที่ทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ทำให้บรรลุถึงความตรัสรู้ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณได้ ได้แก่ “สัมมาทิฏฐิ–สัมมาสังกัปปะ–สัมมาวาจา–สัมมากัมมันตะ–สัมมาอาชีวะ–สัมมาวายามะ–สัมมาสติ–สัมมาสมาธิ”

    ด้วยเหตุนี้ ในบรรดาสัมปยุตตธรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ทำให้เกิด “ญาณสัมปยุตต์” ในครั้งใหญ่รวมกัน ที่เรียกว่า (๑) “ปัญญาเห็นธรรม” คือ การเห็นอาณาจักรแห่งธรรมทั้งหมด ที่เรียกว่า “ธรรมจักร” กับ (๒) “ปัญญาตรัสรู้” คือ การรู้แจ้งเห็นจริง จนเห็นแนวทางในการดับทุกข์ได้จริง ที่เรียกว่า “อริยสัจจ์ ๔” และ “ไตรลักษณ์” ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันพร้อมๆ กัน

    ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ภาวะดังกล่าวนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่มีความละเอียดอ่อนอันประณีตขั้นสูงของการพัฒนาปัญญา (วิปัสสนา) จนเกิด “ญาณ–ญาณทัสสนะ” ขึ้นในขณะที่จิตอยู่ในสภาวะที่ตั้งมั่นใน “ธรรมสมาธิ ๕” (สมถะ) คือ “ฌานจิต–จิตตสมาธิ–เอกัคคตา” หรือเรียกสามัญว่า “สมาธิ–สมาธินทรีย์” หรือภาวะจิตที่ดำรงอยู่ในภาวะที่ประกอบด้วย “มีความเพียร–มีสัมปชัญญะ–มีสติ” ที่มั่นคงแน่วแน่ไม่หวั่นไหวในเส้นทางที่ตนปฏิบัติธรรมนี้
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ฉะนั้น คำอธิบายขั้นตอนปฏิบัติธรรมดังกล่าวนี้ เป็นขั้นตอน “การรวมปัญญา” ที่เรียกว่า “วิปัสสนาภูมิ–ปัญญาภูมิ” กับ “ญาณในวิปัสสนา” ทั้งหมด ที่เรียกอีกอย่าง “ปัญญาเห็นธรรม” กับ “ปัญญาตรัสรู้” ซึ่งเริ่มอุบัติเกิดขึ้นจาก “วิชชา ๓” ก่อนเป็นเบื้องต้น ซึ่งเป็น “ความรู้แจ้ง –ความรู้วิเศษ” ที่สามารถบรรลุได้ในระหว่าง “ปัญญาเห็นธรรม–วิปัสสนาภูมิ–ปัญญาภูมิ” นั่นคือ “ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ–จุตูปปาตญาณ–ทิพพจักขุญาณ” (ข้อ ๑–๒ ในวิชชา ๓) กับ “ญาณในวิปัสสนา–ปัญญาตรัสรู้” นั่นคือ “อาสวักขยญาณ” (ข้อ ๓ ในวิชชา ๓)

    ด้วยเหตุนี้ ความรู้แจ้งเห็นจริงในขั้นตอนการปฏิบัติธรรมจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวด ก่อนที่จะลงมือประพฤติปฏิบัติจริงในภาคปฎิบัติเพื่อค้นหาความจริง ที่เรียกว่า “ปรมัตถสัจจะ” ที่ต้องย่อยให้ “ความรู้” (Knowledge) ตกผลึกแล้วกลายเป็น “ปัญญา” (Wisdom) เมื่อมี “ปัญญา” ที่ถูกต้อง ได้แก่

    “สัมมาทิฏฐิ–โลกทัศน์” (Worldview) หรือ “วิสัยทัศน์” (Vision) กับ “สัมมาสังกัปปะ–กระบวนทัศน์” (Paradigm) ที่เป็น ความรู้หยั่งรู้ คือ “ญาณ” (Insight) นั่นคือ การบรรลุถึง “ญาณทัสสนะ” (Insight and Knowledge) ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิปัสสนา ที่จะค้นพบ “ความจริงสูงสุด–ปรมัตถสัจจะ” (Absolute Truths)

    ฉะนั้น ลำดับความเข้าใจเกี่ยวกับ “สภาวธรรม” (State) หรือ “ปรากฏการณ์” (Phenomenon) หมายถึง “ธรรม–ปรมัตถสัจจะ–ปรมัตถธรรม” ที่เป็นภาวะจิตที่เข้าถึงสภาวะที่เป็นจริงตามสภาพที่เป็นจริงตาม “กฎธรรมชาติ” (Natural Law) ที่เรียกว่า “ยถาภูตธรรม” (Reality) คือ การรู้แจ้งเห็นจริงใน

    (๑) สภาพแห่งสรรพสิ่ง ตามอริยสัจจ์และไตรลักษณ์

    และ (๒) ความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยอย่างมีเหตุผล ตามปฏิจจสมุปบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเชื่อ ความศรัทธา อย่างมีเหตุผล ที่เรียกว่า “กฎแห่งกรรม” ซึ่งเป็น “กฎธรรมชาติ” นั่นเอง
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สำหรับความหมาย คำว่า “กฎธรรมชาติ” (Natural Law) หมายถึง ความเข้าใจจริงที่แยกออกเป็น ๒ ระดับ นั่นคือ

    “ธรรม–ปรมัตถสัจจ–ปรมัตถธรรม–ยถาภูตธรรม–ยถตา” ที่เป็น

    (๑) “สังขตะ–สังขตธรรม–สังขาร–สังขารธรรม” ที่ประกอบด้วย “สังขตลักษณะ ๓” คือ สภาพที่ปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งขึ้น สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ “มีความไม่เที่ยงปรากฏ–มีความทุกข์ปรากฏ–มีความไม่ใช่ตัวตนปรากฏ” เป็นสภาพที่ปรุงแต่งด้วยเจตนาที่มี “กุศลธรรม” กับ “อกุศลธรรม” เกิดสลับกัน เป็น “อุปาทินนกสังขาร” คือ สังขารที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ที่เรียกว่า “อุปาทินนธรรม” กับ “อนุปาทินนกสังขาร” คือ สังขารที่กรรมไม่ยึดครองหรือเกาะกุม สังขารที่ไม่มีใจครอบครอง (สิ่งไม่มีชีวิต) ที่เรียกว่า “อนุปาทินนธรรม” เช่น ภูเขา แม่น้ำ เป็นต้น

    และ (๒) “อสังขตะ–อสังขตธรรม–วิสังขาร–วิสังขารธรรม” ที่ประกอบด้วย “อสังขตลักษณะ ๓” คือ สภาพที่ปัจจัยทั้งหลายไม่ปรุงแต่งขึ้น สิ่งที่ไม่ได้เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ “ปราศจากมีความไม่เที่ยง–ปราศจากความทุกข์–มีความไม่ใช่ตัวตนปรากฏ” ที่เรียกว่า “อสังขตธาตุ” คือ “นิพพาน” แต่จะอย่างไรก็ตาม ความเข้าใจอย่างถูกต้องว่า “สังขารที่มีใจครอบครอง เป็นทุกข์” คือ มีทุกข์ครอบครองอยู่ นั่นคือ “ขันธ์ ๕” ซึ่งหมายถึง ความยึดมั่นถือมั่น “อุปาทาน” ใน “ขันธ์ ๕” (อุปาทานขันธ์) ที่เรียกว่า “อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์” นั่นเอง

    ข้อที่พึงระวัง คือ “ความทุกข์” นั้น เกิดจาก “กิเลสตัณหา” ความทะยานอยาก และ “อวิชชา” ความไม่รู้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเห็นที่ผิด “มิจฉาทิฏฐิ” (ทิฏฐิ) ที่ว่า “เห็นทุกข์ ว่าเป็นสุข” นั่นคือ “เห็นกงจักร เป็นดอกบัว” แบบชนิดถอนตัวไม่ขึ้น ไม่สามารถตัดขาดจากกิเลสตัณหาได้เลย

    ในอีกแง่มุมหนึ่ง บุคคลที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส จนไม่มีอะไรจะเหลือในชีวิตจากสิ่งที่ตนรัก จนกระทั่งพบแต่ “ความโศก–ความคร่ำครวญ–ทุกข์–โทมนัส–ความคับแค้นใจ” ที่เกิดจาก “อวิชชา” กับ “ตัณหา” เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ ไม่ว่าจะจัดอยู่ใน “ระบบเทกรรม” หรือไม่ก็ตาม

    สภาวะดังกล่าวนี้ เรียกได้ว่า “รู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์” ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต ไม่ได้เข้าใจจริงจากการอ่านหนังสือ หรือฟังเรื่องเล่าจากคนอื่นต่อๆ มา ว่า “นี้คือทุกข์” หรือ “นั้นคือทุกข์” แต่ประการใดทั้งสิ้น

    ถ้าเข้าใจอย่างประจักษ์แจ้งแล้ว ย่อมสามารถเข้าถึง “ทุกขอริยสัจจ์” ได้เหมือนกัน แต่ต้องประกอบด้วยเหตุผลและปัญญาด้วย อย่างไรก็ตาม แม้บางคนจะจมอยู่ในกองทุกข์ทั้งชีวิต ก็ยังไม่เข้าใจในความหมายของคำว่า “ทุกข์” เพราะไม่มีสติปัญญา คือ ไม่มี “สติ–สัมปชัญญะ” หมายความว่า

    (๑) ขาดกัลยาณมิตรที่แท้จริง นั่นคือ ไม่มีภาวะแห่ง “กัลยาณมิตตตา”

    (๒) ขาดการคิดที่ถูกวิธีที่เป็นประโยชน์ นั่นคือ ความไม่ถึงพร้อม “โยนิโสมนสิการ”

    และ (๓) ขาดความระมัดระวัง ไม่ประกอบด้วย “อัปปมาทะ” นั่นคือ “ความไม่ประมาท” กล่าวโดยรวม “ไม่มีสติสัมปชัญญะ” โดยธรรมชาติที่แท้จริง ผู้ที่ประสบกับความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัสนั้น มักเป็นผู้ที่เข้าถึงธรรมได้เร็ว ในเรื่อง “อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์” โดยเฉพาะอย่าง ทุกข์ที่เกิดจากการพรากจากสิ่งที่ตนรัก คือ “ความตาย” ความตายย่อมทำให้เกิด “ธรรมสังเวช” ที่ตนโน้มนำมาพิจารณาในตนเอง ว่าตนมีเวลาเหลือน้อยในโลกนี้ ชาตินี้ ที่จะได้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นจริง เข้าถึงความจริงอันสูงสุดแห่งชีวิต “ปรมัตถปฏิปทา” แห่งเส้นทางในอริยมรรคได้ ซึ่งหมายถึง “อริยอัฏฐังคิกมรรค–มรรคมีองค์ ๘” ที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” นั่นเอง

    ด่านแรกแห่งการเข้าถึง “พุทธศาสนา” คือ ความเชื่ออย่างมีเหตุผล ที่จะกลายเป็นแรงแห่งศรัทธาและฉันทะในเรื่อง “กฎแห่งกรรม” อันเป็น “ศีลธรรม–อธิสีลสิกขา” คือ “การประพฤติพรหมจรรย์” ซึ่งหมายถึง “ความประพฤติอันประเสริฐ”

    หรืออีกนัยหนึ่ง การดำเนินชีวิตอย่างประเสริฐด้วย “มรรคมีองค์ ๘” หรือ “ไตรสิกขา–สิกขา ๓” ที่ถึงพร้อมด้วย “ศีล–สมาธิ–ปัญญา” ให้พิจารณาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง เพื่อประโยชน์ของตนเองในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตามเส้นทางแห่งอริยมรรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญยิ่งในพระธรรมวินัยนี้

    ถ้าผู้ใดมีความเชื่อความศรัทธาอย่างแท้จริงในเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ภาวะดังกล่าวนี้ ย่อมแสดงถึงสัญญาที่บอกล่วงหน้าว่า ผู้นั้นกำลังเข้าถึง “มรรคมีองค์ ๘” ที่เริ่มต้นด้วย “สัมมาวาจา–สัมมากัมมัตตะ–สัมมาอาชีวะ” คือ มีชีวิตที่ประเสริฐในเบื้องต้นได้จริง คำว่า “ประพฤติพรหมจรรย์” แสดงนัยไว้ ๑๐ อย่าง ดังนี้

    (๑) “ทาน” คือ การทำบุญทำทาน

    (๒) “ไวยาวัจจ์” คือ การขวนขวายช่วยเหลือรับใช้ หรือทำประโยชน์

    (๓) “เบญจศีล” คือ “ศีล ๕”

    (๔) “อัปปมัญญา ๔” คือ “พรหมวิหาร ๔” ได้แก่ “เมตตา–กรุณา–มุทิตา–อุเบกขา”

    (๕) “เมถุนวิรัติ” คือ การเว้นเมถุน

    (๖) “สทารสันโดษ” คือ ความพอใจคู่ครองของตน

    (๗) ความเพียรชอบ คือ “สัมมัปปธาน ๔” ได้แก่ “สังวรปธาน–ปหานปธาน–ภาวนาปธาน–อนุรักขนาปธาน”

    (๘) การรักษาอุโบสถ คือ “ศีล ๘”

    (๙) “อริยมรรค” คือ “มรรคมีองค์ ๘” ได้แก่ “สัมมาทิฏฐิ–สัมมาสังกัปปะ–สัมมาวาจา–สัมมากัมมันตะ–สัมมาอาชีวะ–สัมมาวายามะ–สัมมาสติ–สัมมาสมาธิ”

    (๑๐) พระศาสนา คือ “ไตรสิกขา” ได้แก่ “ศีล–สมาธิ–ปัญญา” ฉะนั้น ข้อประพฤติปฏิบัติในสัมมาปฏิปทาแห่งอริยมรรคดังกล่าวข้างต้นนี้ ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ยากที่สุดสำหรับบุคคลที่ไม่ถึงพร้อม “สติ–สัมปชัญญะ” ซึ่งจะเป็นผู้มีสติปัญญาที่จะสร้างความเพียรในการละบาปและสร้างบุญกุศลให้เกิดขึ้นแก่ตนได้จริง

    ส่วนใหญ่มักมี “ข้อแก้ตัว” ที่แสดงนัยถึง “ความไม่พร้อม” ที่จะประพฤติพรหมจรรย์อย่างแท้จริง จนอายุล่วงโรยไปเปล่า ไม่สามารถสะสมบุญได้ หัวใจสำคัญของการปฏิบัติในพระธรรมวินัยนี้ คือ สะสมบุญบารมี ประพฤติปฏิบัติอย่างสืบเนื่องอยู่เนืองๆ เป็นนิตย์

    เนื่องจากว่า การสร้างบุญบารมีในพระศาสนานี้ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาศัยความเข้าใจที่ถูกต้องที่ควบคู่กับการลงมือปฏิบัติ ในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ที่เรียกว่า “ไตรสิกขา–สิกขา ๓” ที่ประกอบด้วย “ศีล–สมาธิ–ปัญญา” ที่แปลอย่างง่ายว่า “ความประพฤติ–ฌาน–ญาณ” นั่นหมายความว่า

    (๑) การดำรงชีวิตที่เป็นปกติด้วย “ศีลวัตร” อย่างเคร่งครัด

    (๒) การรักษาจิตให้ปลอดจาก “นิวรณธรรม” ด้วยความไม่ประมาท “อัปปมาทะ” นั่นคือ การเจริญสติด้วย “สติปัฏฐาน ๔” เรียกอีกอย่างว่า “สมถะ–สมถกรรมฐาน”

    (๓) การเจริญปัญญาด้วยการถือปฏิบัติด้วย “มนสิการกรรมฐาน” ที่ประกอบด้วยเหตุผลและปัญญา คือ “โยนิโสมนสิการ” เรียกอีกอย่างว่า “วิปัสสนา–วิปัสสนากัมมัฏฐาน”

    ฉะนั้น ความหมายของคำว่า “ไตรสิกขา–สิกขา ๓” จึงรวมนัยหมายถึง การบำเพ็ญเพียรภาวนา ที่ประกอบด้วย ๔ อย่าง ได้แก่

    (๑) “กายภาวนา” คือ การเจริญกาย พัฒนากาย การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้าด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกาย

    (๒) “สีลภาวนา” คือ การเจริญศีล พัฒนาความประพฤติ การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัยไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน

    (๓) “จิตตภาวนา” คือการเจริญจิต พัฒนาจิต การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา มีฉันทะ ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น และ

    (๔) “ปัญญาภาวนา” คือ การเจริญปัญญา พัฒนาปัญญา การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา ทั้งหลายทั้งปวงที่ได้กล่าวมานี้ จึงเป็นเรื่องการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง.

    คัดลอกจาก......http://www.siripat.com/Realization-of-Sufferings-Relevant-to-Reality-2013-0126.asp
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    กลับมาอีกครั้งหลังจากที่ห่างหายไปนาน สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ผู้เยี่ยมชมทุกท่าน

    เราได้เรียนรู้เรื่องธรรมปฏิบัติกันมาก็พอสมควรแล้ว คราวนี้เราลองเอาประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังบ้างดีกว่านะ

    จากที่ได้พบปะกับผู้คนหลากหลาย ได้ถูกกระทบกันทางอายตนะหกในทุกๆ วัน ได้เห็นกิเลสในใจที่ยังตกค้างอยู่ ตั้งแต่ตัวที่หยาบที่สุดไปจนถึงที่ละเอียดที่สุด เรามีวิธีการจัดการอย่างไร รอดบ้าง ตายบ้าง 555 ก็ว่ากันไปตามความเท่าทันของสติปัญญาแล้วกันนะ

    พอดีวันนี้ได้พูดคุยกับน้องคนหนึ่ง น้องคนนี้ชอบมาทักและพูดคุยด้วย แกบอกว่าได้คุยกับเราแล้วรู้สึกสบายใจ จิตใจปลอดโปร่ง ได้ความรู้ในอีกแง่มุมหนึ่ง ได้รู้ในด้านที่ตนเองไม่รู้ ก็รู้สึกยินดีกับเค้าด้วย

    ทีนี้ เรื่องราวที่คุยกัน ส่วนใหญ่เราจะเป็นคนคุยซะมากกว่านะ เพราะจิตที่แคล่วคล่องว่องไว จนรู้ถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขที่จะแนะนำกันได้ แต่การที่จะพูดคุยในทางศัพท์ของธรรมะโดยตรง คงจะทำให้เข้าใจและเข้าถึงจิตใจได้ยาก จึงพูดคุยในลักษณะเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ด้วยภาษาง่ายๆ น่าจะดีกว่า ได้ประโยชน์และเห็นผลชัดเจนกว่าแน่นอน
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    จึงขอนำเรื่องราวของชีวิตทุกรูปนามมาเล่าสู่กันฟังในอรรถรสของภาคธรรมดา

    ....ชีวิตมันก็เหมือนละคร....

    ตั้งแต่เกิดจนตาย เปลี่ยนฉากกันไปเรื่อยๆ เปลี่ยนบทบาทกันไปเรื่อยๆ อุปสรรคในชีวิต ทุกคนล้วนได้พบเจอและก้าวผ่านมันไป บางคนก็ใช้สติในการนำพาชีวิตให้เปลี่ยนจากฉากเศร้าเป็นฉากรัก ฉากครึกครื้นตลกเฮฮา ฉากที่ทดท้อ ฯลฯ บางคนก็ใช้ความไร้สติก้าวไปด้วยความฟั่นเฟือน ไปอย่าง งงๆ

    เล่นเป็นพระเอก เป็นนางเอก เป็นผู้ร้าย เป็นตัวโกง ฯลฯ ขึ้นอยู่กับบทบาทที่สวมใส่ขณะนั้นๆ จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ ต่างก็สลับสับเปลี่ยนกันไปมาด้วยกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ได้พบเจอ

    ระหว่างทางที่ผ่านมา มันคือบทเรียนของชีวิตที่ทุกคนต้องเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นแง่ไหนมุมไหน เราต่างก็ต้องใช้สติปัญญาและความสามารถในการก้าวผ่านไปให้ได้ ผ่านไปเพื่ออะไร ผ่านไปเพื่อเรียนรู้บทอื่นๆ ที่สูงขึ้นไปในแต่ละระดับ ในแต่ละวัย
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    แต่ฉากสุดท้ายนี่ซิ เป็นฉากสำคัญที่สุดของทุกชีวิตเลยก็ว่าได้ เพราะฉากนี้จะเป็นบทพิสูจน์ว่า เราสอบได้หรือสอบตก นั่นคือ....ฉากตาย

    ตายแล้วลงนรกก็คือสอบตกเห็นๆ
    ตายแล้วไปสวรรค์ก็ถือว่าสอบผ่านไปอีกระดับนึง

    ดังนั้น ทุกคนมีสิทธิเลือกสำหรับฉากสุดท้ายนี้ แต่ต้องเลือกก่อนที่จะเปลี่ยนฉาก เลือกที่จะก้าวเดินไปในหนทางของความเจริญหรือความเสื่อม เรามีสองทางเลือกเหมือนๆ กันทุกคนนะ

    ทางเจริญก็ไม่ยาก เพียงแค่เรามีสติทุกการกระทำ ทุกคำพูด ทุกความคิด ใช้สติปัฏฐานสี่ในการดำเนินชีวิตให้เป็นไปใน 24 ชั่วโมงของทุกวัน เมื่อมีสติย่อมทรงศีลได้ครบถ้วน เพราะสติจะเป็นเครื่องยับยั้งไม่ให้ล่วงไปในความเลว (อกุศลกรรม) ทั้งหลาย และสติยังนำพาไปสู่ความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม

    ส่วนทางเสื่อมก็ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่เลย เพียงแค่ทำตัวให้ขาดสติ เมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรค ก็หันไปหา สุรานารีพาชีกีฬาบัตร แค่นี้เอง กามคุณห้าเสพกันเข้าไป

    แต่ละฉากนั้น เราเลือกได้เอง เพียงแค่เรามีสติสมบูรณ์ จะเปลี่ยนฉากได้ช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับองค์ความรู้และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เราก็สรรหาและสร้างขึ้นมาเองได้เช่นกันด้วยสติที่สมบูรณ์เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่มีสติแค่วันละหนึ่งเวลา คือแค่เวลาที่นั่งสมาธิ พอไม่ได้นั่งสมาธิก็เลื่อนลอยไร้สติ พูดทำคิดเพ้อไปเรื่อย ก็จะแสดงอยู่แค่ฉากเดียวนั่นแหละ คือฉากของความทุกข์ ทุรนทุราย กระสับกระส่ายไม่มีความสุขทางใจ เดี๋ยวก็อยากได้โน่น เดี๋ยวก็อยากได้นี่ เป็นต้น
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ฉากสุดท้าย ไม่มีเงื่อนไขเวลาบอกกล่าวกันล่วงหน้าด้วยนะ ฉากนี้ชัดเจนมาก ขึ้นอยู่กับผู้กำกับหนังชีวิต ใครล่ะคือผู้กำกับ.....ผู้กำกับก็คือ.....กฏของธรรมชาติและกฏแห่งกรรมนั่นเอง

    ขอทิ้งท้ายนิดนึงกับการปฏิบัติธรรมของผู้เริ่มต้นทั้งหลาย หากท่านมีความเห็นตรงของเรื่องการสวดมนต์ ก็จะทราบว่าเราสวดมนต์กันเพื่ออะไร เพื่อน้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ เพื่อเป็นการเตรียมจิตในการเข้าสู่สมาธิอันเป็นฐานของวิปัสสนาต่อไป เมื่อเรามีวิปัสสนาแล้ว ปัญญาย่อมบังเกิด ปัญญาอันเป็นเครื่องนำพาไปสู่ความพ้นทุกข์

    ยังคงยืนยันเหมือนเดิมว่า การปฏิบัติธรรมทำได้ทุกที่ทุกเวลาทุกอิริยาบท ไม่จำเป็นต้องมานั่งจุดธูปจุดเทียนสวดมนต์แล้วจึงนั่งสมาธิได้ ไม่จำเป็นต้องไปวัดแล้วจึงจะปฏิบัติธรรมได้ เพียงแค่เราอาราธณาศีลจากพระที่อยู่ในใจเรานี่แหละ สวดมนต์ในใจให้ดังไปทั้งสามโลกยังได้เลย เพราะผลของการปฏิบัตินั้นคือใจนี่เอง ที่จะเข้าถึงและละออกซึ่งกิเลส
     
  12. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    หวัดดีจ้ะ..คุณนุ้ก...
     
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เพราะอะไรท่านพุทธทาสจึงกล่าวว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม เพราะการงานทุกชนิดที่จะทำ ทำแล้ว และสำเร็จได้ต้องมีสติ การที่เราจะมีสติได้ เราก็ต้องมีสมาธิ เมื่อมีสติระลึกรู้เท่าทันทุกผัสสะ ทุกอารมณ์ ทุกคำพูดและการกระทำ ผลงานย่อมไม่มีคำว่าผิดพลาด สติที่นี้ ก็คือสติปัฏฐานสี่ในชีวิตประจำวันนี่แหละ อาการที่ระลึกรู้ในทุกอิริยาบทนี่แหละ พวกเรามีกันหรือยัง ถ้ายังก็ลองนำไปปฏิบัติดูนะ อย่าไปคิดว่าต้องไปวัด ต้องจุดธูปจุดเทียน ต้องมีบรรยากาศก่อน นั่นคือการติดในกามคุณห้า รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสดีๆ นี่เอง ปฏิบัติแล้วไม่ได้ละออกเลย กลับไปยึดไว้อีก

    ลองพิจารณากันดูนะ ย้ำนิดนึง ฉากไหนๆ อย่าไปใส่ใจมันมาก ปล่อยๆ ไป โฟกัสแค่ฉากสุดท้ายก็พอ...คุณว่าจริงมั้ย???
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    จ๊ะเอ๋ สบายดีหนอคุณ ISSA
     
  15. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    จริงจ้า..:cool:
     
  16. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    สบายมากกกกเลย คิดถึงคุณนุ้กเสมอเลยนะ:VO
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    คิดถึงเช่นกันจ้ะ ตอนแรกคิดว่าจะไม่ออน ไม่เล่นเวปแล้ว แต่พอดีวันนี้ได้คุยกับน้องคนหนึ่งแล้วเห็นว่าข้อความที่พูดคุยกันน่าจะมีประโยชน์กับคนอื่นๆ ด้วย ก็เลยเอามาโพสต์ให้อ่านกัน

    คุยคนเดียวตลอดเหมือนคนบ้า 555
     
  18. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    เราเล่นเมื่ออยากเล่น ไม่อยากเล่นก็ไม่เข้า:cool:
     
  19. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    คุณนุ้ก.เราคงได้เจอกันนะ หวังไว้ว่าเราจะเจอเพื่อนทุกคนที่เรารู้สึกรักน่ะ
    ปล."เพื่อน"มันลึกมากเลยในความรู้สึกของเรา คุณนุ้กก็เป็นเพื่อนที่เรารักนะ หายไปก็คิดถึง(ยิ้มม) ในพลังจิตเพื่อนที่เราไม่มีวันลืมจนวันตาย คือ"หนุ่มยาดอง"
    (ขออนุญาตเอ่ยนาม)
     
  20. Kama-Manas

    Kama-Manas เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    5,351
    ค่าพลัง:
    +6,491
    ไว้มีโอกาสค่อยคุยกันใหม่จ้ะ..กู้ดไนท์ ฝันดี..yimm
     

แชร์หน้านี้

Loading...