>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เมื่อถึงวันพระ ต้องละนิวรณ์

    นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น ใช้หมายถึง ธรรมที่เป็นเครื่องปิดกั้น หรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี ไม่เปิดโอกาสให้ทำความดี และเป็นเครื่องกั้นความดีไว้ไม่ให้เข้าถึงจิตใจ

    นิวรณ์ มี 5 อย่างคือ


    1. กามฉันท์ ความพอใจติดใจอยู่ในสิ่งที่ชอบใจ คือติดความสุขในกาม

    2. พยาบาท ความคิดร้ายผู้อื่น คือมีความโกรธอาฆาตอยู่


    3. ถีนมิทธะ ความหดหู่ ท้อแท้ และเคลิบเคลิ้ม เศร้าซึม


    4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน อึดอัด กลัดกลุ้ม วิตกกังวล และรำคาญใจ


    5. วิจิกิจฉา ความลังเลใจ ตัดสินใจไม่ได้ ความสงสัยกังวล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • e52.jpg
      e52.jpg
      ขนาดไฟล์:
      106.3 KB
      เปิดดู:
      80
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ...ข้อคิดเตือนใจ...

    ธรรมชาติซ่อนความจริงในสิ่งว่าง
    ซ่อนความต่างในประตูผู้มองหา
    ซ่อนสมมุติในสมมติกาล...เวลา
    อนัตตาสรรพสิ่งจริงสมมุติ..พิสุทธิธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ocean_32.jpg
      ocean_32.jpg
      ขนาดไฟล์:
      71 KB
      เปิดดู:
      65
  3. kanokpan Pradabwong

    kanokpan Pradabwong Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +99
    ตามอ่าน

    สวัสดีค่ะ ขอตามอ่านด้วยนะ ไม่มีดีจะอวด แต่ชอบทำดีจ๊ะ
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สวัสดีค่ะพี่ต๋อง ยินดีต้อนรับสู่ห้องคนอวดรู้ค่ะ
    วันนี้ยังไม่รู้ วันหน้าก็รู้ได้ค่ะ...ไม่เป็นไรนะคะ
    ห้องนี้ ยินดีต้อนรับตลอดเวลาค่ะ...:cool:
     
  5. วิหคอิสระ

    วิหคอิสระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +1,318
    ฮ่าๆๆๆ น่าสนุกดี ผมก็เปนคนนึงที่ชอบโชวห่วยคับ
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    คำสอนของหลวงพ่อจรัญ....

    "วิปัสสนากรรมฐานนั้น สามารถแก้กรรมได้ แต่บุคคลผู้นั้นต้องมีศีล สมาธิ ปัญญาครบ จึงสามารถเปลี่ยนกรรมได้ เพราะหากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานระลึกชาติได้ รู้กฏแห่งกรรม จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในกิจประจำวันได้ ให้สร้างความดีติดต่อกัน สร้างความดีถูกตัวบุคคล ถูกสถานที่ ถูกเวลา ต่อเนื่องกันเสมอต้นเสมอปลาย คนนั้นจะได้รับผลดี 100 เปอร์เซ็นต์ และจะเอาดีได้ในชาตินี้เลยอย่างแน่นอน ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า

    สำคัญที่ทำความดีผิดสถานที่ ผิดตัวบุคคล และผิดกาลเวลาด้วย ไม่ใช่กาลเวลาที่จะต้องทำไปแล้วไปทำ ไม่ใช่กาลเวลาที่จะพูดแล้วไม่พูด มันก็เสียหาย

    ถ้าเรานั่งสมาธิอยู่หายใจยาวๆ มีกรรมฐานเป็นการพักผ่อนในร่างกายในตัว เช่น 1 นาที หายใจ 18 ครั้ง กำลังนอนหลับเหลือ 15 ครั้ง ถ้าเราทำสมาธิปกติเหลือ 15 ครั้ง ก็เหมือนได้หลับไปแล้ว มันไม่อ่อนเพลียละเหี่ยใจแต่ประการใด มันจะเข้าภาวะปกติอย่างดียิ่ง จะมีพลังจิตสูง ต่อสู้กับเหตุการณ์และปัญหาได้ ด้วยการฝึกฝนกรรมฐานนี่แหละ เพราะฉะนั้นกรรมฐาน แปลว่า การกระทำให้ฐานกายนี้ เป็นที่ตั้งของสติ พอท่านทั้งหลายทำจนได้ดวงตาเห็นธรรมวิเศษบางประการ ได้ศีล สมาธิ ลึกซึ้งในจิตใจ ท่านจะเห็นความดีในจิต"
     
  7. philosophi

    philosophi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    883
    ค่าพลัง:
    +1,896
    ผมฟังธรรมะของหลวงพ่อทุกวัน สตาร์ทรถปุ๊บ เปิดธรรมะปั๊บ เป็นนิสัยส่วนตัวของผมไปแล้ว หุหหุ.. ฟังที่หลวงพ่อเล่าตอนที่รถคว่ำ คอหัก แต่ไม่ยักตาย ท่านเล่าว่าพญายมราชต่ออายุให้ท่าน
    แต่มีข้อแม้ ต้องอยู่ช่วยเหลือมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยากครับ.
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ยินดีค่ะ...และขออนุโมทนาด้วยนะคะ สาธุ
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วันนี้..วันพระ มาฟังเทศน์กันดีกว่าค่ะ
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=vSlGn9L3tc4&feature=channel&list=UL"]หลวงพ่อจรัญ - อานิสงส์การสวดมนต์ - YouTube[/ame]
     
  10. philosophi

    philosophi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    883
    ค่าพลัง:
    +1,896
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ที่มา : http://www.nkgen.com/438.htm

    สมาธิขั้นใด ที่จำเป็นในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

    สมาธิหรือสมาบัติขั้นใดกันแน่? ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติวิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน) เป็นปัญหาที่ขบคิดตีความหรือวิจิกิจฉากันอย่างกว้างขวาง แม้ในจิตของนักปฏิบัติเองว่า สมาธิหรือฌานสมาบัติขั้นใดกันแน่ ที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติธรรมหรือพระกรรมฐานให้ก้าวหน้า กล่าวคือ จึงเป็นปัจจัยหนุนการวิปัสสนา เพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายแห่งพุทธธรรมเป็นสำคัญ

    สมาบัติ ๘ อันมี รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ นั้นมีมาก่อนพุทธกาลเสียอีก แม้องค์พระศาสดาก็ทรงเล่าเรียนมาจากพระคณาจารย์ เป็นสิ่งที่ปฎิบัติกันโดยทั่วไปในหมู่พราหมณ์และโยคี ตลอดจนในศาสนาอื่นๆมาช้านาน จึงยังไม่ใช่หนทางของการหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิง เหตุเพราะขาดปัจจัยอันสำคัญยิ่งในพระศาสนา คือขาดการวิปัสสนา อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปัญญาในการหลุดพ้นหรือปัญญาวิมุตติ จึงจะทำให้เจโตวิมุตติอันเกิดแต่สมาบัติ ๘ อันยังเป็นเพียงวิขัมภนวิมุตติที่เสื่อมไปได้ เป็นสัมมาวิมุตติคือมรรคองค์ที่ ๑๐ อันไม่กลับกลายหายสูญหรือปรวนแปร


    สมาบัติ ๘ ก็คือ สภาวะผลอันสุขสงบประณีตที่เกิดขึ้น จากการปฏิบัติฌาน,สมาธินั่นเอง ซึ่งเมื่อนำไปเป็นปัจจัยเครื่องหนุนการเจริญวิปัสสนา ก็ย่อมทำให้การเจริญวิปัสสนานั้นเป็นไปได้อย่างมีกำลังและรวดเร็วขึ้น แต่พึงเข้าใจอย่างถูกต้องด้วยว่าไม่ใช่เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญญาวิมุตติขึ้นโดยตรงจึงเป็นปัจจัยเครื่องเกื้อหนุนต่อการวิปัสสนา ดังที่ตรัสแสดงไว้ใน สัลเลขสูตร ดังนี้

    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุฌาน
    (ทั้งหลาย)มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นและกล่าวถึงองค์ฌาน อันเกิดแต่สมาธิอยู่ ตามลำดับของฌานนั้นๆภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)

    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือฌาน(ทั้งหลาย)นี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ดังท่านได้แบ่งพระอรหันต์เจ้า ออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ด้วยกัน กล่าวคือ
    พระสุกขวิปัสสก เป็นผู้เจริญวิปัสสนาล้วนจนสำเร็จพระอรหัตถผล ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา
    พระสมถยานิก มาจากคำว่า สมถะ+ยาน คือ ผู้มีสมถะเป็นยาน(พาหนะ,เครื่องนำไป) จึงหมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาวิมุตติสืบต่อไป

    หรือแยกแยะโดยละเอียด ท่านได้จัดไว้ ๕ ประเภท ด้วยกัน

    ๑.
    พระปัญญาวิมุต พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหันต์ ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา
    ๒. พระอุภโตภาควิมุต คือ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมาเป็นอย่างมากจนได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุอรหัตตผล กล่าวคือ หลุดพ้นทั้งสองส่วน กล่าวคือ แบ่งเป็นสองวาระ คือหลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ เป็นวิกขัมภนะหนหนึ่งแล้ว แล้วจึงหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค เป็นสมุจเฉท อีกหนหนึ่ง
    ๓. พระเตวิชชะ ผู้ได้วิชชา ๓ จากสมาบัติ
    ๔. พระฉฬภิญญะ ผู้ได้อภิญญา ๖ จากสมาบัติ
    ๕. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ปัญญาแตกฉาน มี ๔ กล่าวคือ อาจได้สมาบัติ หรือไม่ได้สมาบัติก็ได้ แต่ท่านปัญญาแตกฉานใน ๔ นี้
    ๕.๑ อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดาร และความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้า อันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ
    ๕.๒ ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ปัญญาแตกฉานในธรรม, เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้ เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้
    ๕.๓ นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ
    ๕.๔ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบ คือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือ แก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ

    ทั้ง ๕ นี้ มี
    ผลที่เหมือนกันทุกประการ กล่าวคือ บรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธธรรม กล่าวคือ ดับทุกข์โดยสิ้นเชิง หรือสิ้นกิเลสตัณหาโดยสิ้นเชิง
    ทั้ง ๕ นี้ มีเหตุที่เป็นปัจจัยให้เกิดขึ้นเหมือนกันทุกประการเช่นกันก็คือ การเจริญวิปัสสนาหรือวิปัสสนากรรมฐาน จนเกิดปัญญาวิมุตติ เป็นที่สุด
     
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ส่วนพระอรหันต์ในข้อ ๒, ๓, ๔, ๕ นั้น ผู้บรรลุต้องได้สมาบัติ อันคือ สภาวะผลอันประณีตของฌานเสียก่อน ร่วมกับวิปัสสนากรรมฐาน กล่าวคือ ไม่ว่าอย่างไรเสียก็ต้องเจริญวิปัสสนา จนเกิดปัญญาวิมุตติอีกครั้งเป็นสำคัญ จึงถึงที่สุดแห่งทุกข์หรือได้พุทธธรรมได้

    จากการนี้ ถ้านักปฏิบัติโยนิโสมนสิการโดยแยบคาย คงพอเข้าใจได้ว่า อะไรเป็นเหตุปัจจัยสำคัญ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์?อะไรเป็นเครื่องเกื้อหนุนเครื่องอุดหนุนในการปฏิบัติพระกรรมฐาน? เพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติแห่งพุทธธรรมอย่างถูกต้องแนวทางได้ชัดเจนขึ้น

    ดังนั้นพระสุกขวิปัสสก ท่านอาศัยสมาธิ เพียงระดับใช้ในการงานวิปัสสนาได้ดี ก็พอเพียงแล้ว ดังเช่น วิปัสสนาสมาธิ

    ส่วนพระสมถยานิก ท่านต้องผ่านการปฏิบัติฌานสมาธิอย่างแก่กล้า จนถึงขั้นสมาบัติ อันเป็นภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึงอันเกิดแต่ฌาน ๔ อรูปฌาน ๔

    เหตุที่กล่าวอ้างในเหตุเกิดของพระอริยเจ้าเสียโดยละเอียดนั้น ก็เพื่อทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง ก็เพียงเพื่อป้องกันการหลงผิดในการปฏิบัตินั่นเอง เพราะล้วนเกิดขึ้นแต่อวิชชา จึงถูกโมหะเข้า ครอบงำให้หลงผิด เดินทางหรือปฏิบัติผิด จนเกิดโทษขึ้นนั่นเอง เพราะฌานสมาธิหรือสมาบัติ อันเป็นปัจจัยเครื่องเกื้อหนุนนั้น ก็อุปมาได้ดั่งยา ถ้าบริโภคอย่างถูกต้องก็ยังประโยชน์ยิ่ง ย่อมช่วยรักษาร่างกายให้หายเจ็บไข้ได้ป่วย แต่ถ้าหลงทานผิดหรือพร่ำเพรื่อ เสีย ด้วยไม่รู้ ไม่จำกัดปริมาณ ก็จักกลับกลายเป็นยาพิษ ทำลายผู้บริโภคนั้นเสียเองให้ถึงทุกข์หรือถึงแก่ความตายได้ ฌานสมาธิหรือสมาบัติก็ฉันนั้น

    ส่วนใหญ่นักปฏิบัติมีความตั้งใจดี มาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังด้วยความเห็นชอบอันประเสริฐยิ่งแล้วอันคือสัมมาทิฏฐิ แต่ขาดสัมมาสังกัปปะเสียโดยไม่รู้ตัว จึงไปหลงเจริญแต่ในสมถกรรมฐาน ก็ด้วยความไม่เข้าใจเพราะไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง จึงเข้าใจผิด หลงคิดไปเองว่า ตนเองนั้นได้ทำการเจริญวิปัสสนาไปด้วยแล้วคือปฏิบัติ "สมถวิปัสสนา" กล่าวคือ ด้วยคิดว่าได้ปฏิบัติดีแล้วทั้งฝ่ายสมถะและวิปัสสนาด้วยอวิชชาก็มี ทั้งๆที่ปฏิบัติอยู่ในเพียงสมถะเท่านั้น

    ดังนั้นบางท่านเมื่อปฏิบัติไป ก็มีความคิดความเห็น เตลิดเปิดเปิงหลงไหลหรือ
    มิจฉาทิฏฐิไปในทางฤทธิ์ทางเดชหรือปาฏิหาริย์ด้วยอวิชชาก็มี, บ้างก็เห็นว่าต้องเจริญสมาธิหรือฌานสมาบัติจนเชี่ยวชาญถึงรูปฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ เสียก่อนเท่านั้น จึงจะเจริญวิปัสสนาได้ด้วยอวิชชาก็มี จนหลงติดเพลินไปในฌานสมาธิเสียก่อนก็มี, บ้างก็เข้าใจว่าต้องเจริญสมาธิหรือฌานสมาบัติให้ประณีตแล้ว ปัญญาความรู้หรือญาณต่างๆก็จักบังเกิดผุดขึ้นเองในที่สุด ด้วยอวิชชาก็มี, มาปฏิบัติเพราะทุกข์กายทุกข์ใจรุ้มเร้าร้อนรนหาทางออกไม่ได้ จึงเร่งรีบขาดการศึกษาหรือโยนิโสมนสิการก็มี, ศึกษาแล้วแต่แบบทางโลกจนคิดว่าเข้าใจดีแล้ว แต่ขาดการโยนิโสมนสิการจึงหลงก็มีเป็นจำนวนมาก, มาปฏิบัติเพราะต้องการสั่งสมบุญเพื่อแก้กรรมอันหลอกหลอนเร่าร้อนก็มี, มาสั่งสมบุญเพียงเพื่อหวังสะสมผลบุญในภพชาตินี้และภพชาติหน้าก็มี ฯลฯ.

    จึงล้วนเป็นเหตุให้ขาดการเจริญใน
    วิปัสสนาอันเป็นปัจจัยสำคัญหรือหัวใจของการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา และยิ่งเมื่อมาปฏิบัติโดยขาดครูบาอาจารย์ที่เข้าใจธรรมแท้จริง หรือปฏิบัติจากการอ่านศึกษาเองโดยขาดการโยนิโสมนสิการ จึงเกิดความเข้าใจผิดพลาด หรือหลงไปติดสุขอยู่แต่ในสมถกรรมฐานหรือสมาบัติแต่ฝ่ายเดียว โดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา เนื่องด้วยยังให้เกิดความสุข ความสงบอันประณีตยิ่งกว่ากามคุณทั้ง ๕ เสียอีก แต่เป็นอย่างยิ่งในระยะหนึ่งเท่านั้นเอง ยังกลับกลายไม่เที่ยงเป็นเพียงวิกขัมภนวิมุตติ จึงกลับกลายเป็นทุกข์ได้อีก และอาจเป็นทุกข์เสียยิ่งกว่าเดิมด้วยอวิชชาความเข้าใจผิด ด้วยปฏิบัติผิดนั่นแล
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    และยังมีนักปฏิบัติอีกประเภทแอบจิตอยากได้โลกียอภิญญาประเภทมีฤทธิ์มีเดชก็มีมาก ไม่ว่าจะด้วยโมหะอันเกิดแต่ความไม่รู้ด้วยอวิชชา หรือความคึกคะนองอวดเก่งอวดกล้าอันเกิดจากอำนาจของฌานสมาธิที่คัดหลั่งมาโดยตรง หรือโลภะเพื่อประโยชน์ในทางโลกก็ตามที จึงมุ่งเน้นปฏิบัติแต่ด้านสมถะล้วนแต่ฝ่ายเดียวขาดการวิปัสสนา จนต้องประสบทุกข์โทษภัยเป็นที่สุด ด้วยไปติดบ่วงของฌานสมาบัติอันประณีตเสียจนดิ้นไม่หลุดไปจนวันตาย และสภาวะอันสุขสงบประณีตเหล่านั้นก็แปรไปเป็นทุกข์อย่างยิ่งยวดเสียด้วยในที่สุด ด้วยคิดเข้าใจว่าจักควบคุมบังคับได้ตามใจปรารถนาด้วยอวิชชา จึงไม่รู้ว่าการเลื่อนไหลเข้าไปติดเพลินของฌานสมาบัตินั้นช่างแสนง่ายดายและ แสนละเอียดอ่อนนอนเนื่อง จนจัดเป็นสังโยชน์ขั้นสูงหรือขั้นละเอียดคือรูปราคะและอรูปราคะ ที่ปุถุชนยังไม่สามารถสลัดออกได้ จึงพากันเป็นทุกข์กันจนวันตายดังที่มีพระอริยะได้กล่าวไว้เป็นอเนก

    ส่วนการจะไม่ปฏิบัติสมาธิเสียเลยก็ไม่ได้ เพราะเป็นมรรคองค์ที่ ๘ กล่าวคือ เป็นข้อปฏิบัติอันสำคัญยิ่งในการปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อยังให้เกิดสัมมาญาณเช่นกัน เพราะสมาธินั้นเป็นทั้ง กำลังของจิต๑ เป็นเครื่องอยู่แทนกามในเบื้องต้น๑ ความสงบเป็นเครื่องหนุนปัญญา๑ ฯ. แต่สมาธิขั้นไหน จึงเหมาะต่อการวิปัสสนา ที่ยังให้ถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธธรรม นักปฏิบัติจึงต้องคิดพิจารณาหรือดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)ด้วยว่า ปฏิบัติด้วยจุดประสงค์อะไรเป็นสำคัญ สมาธิขั้นใดจึงเหมาะแก่อินทรีย์ตน รวมทั้ง เพศ(ภิกษุ, ฆราวาส ฯ.), อาชีพการงาน, เวลา ฯ. เหล่านี้ก็มีส่วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยอันสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เช่นกัน ดังในเพศฆราวาส ผู้เขียนก็แนะนำให้ปฏิบัติ "วิปัสสนาสมาธิ" ซึ่งเหมาะต่อทุกเพศ ทุกฐานะ ฯ. ตลอดจนเหมาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ต้องดิ้นรนเร่าร้อนเต้นเร่า และรัดตัวในการดำเนินชีวิตกันเป็นอย่างยิ่ง


     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=_uAFhRd_dFA&feature=channel&list=UL"]นั่งสมาธิที่แท้จริง - YouTube[/ame]
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=d7VOf7hsDVw&feature=channel&list=UL"]หลวงพ่อจรัญ - เหตุที่จิตไม่มีสมาธิ - YouTube[/ame]
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วัดหนองหอย

    วัด หนองหอยเป็นวัดที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2416 ตั้งอยู่เในเขต ต.เขาแร้ง อ.เมือง จ.ราชบุรี ห่างจากตัวเมืองประมาณ 12 กิโลเมตร ในปัจจุบันนี้วัดหนองหอยเป็นที่รู้จักของสาธุชนทั่วไป เนื่องจากที่วัดหนองหอยแห่งนี้ มีรูปเหมือนองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมประดิษฐานอยู่ ฯ ยอดเขาหนองหอย ซึ่งจะเรียกกันว่า "เขาเจ้ามีกวนอิม วัดหนองหอย" เป็นที่ลำลือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากไม่ว่าจะขออะไรก็ได้ดังใจ จะมีผู้คนมาสักการะบูชากันมิขาด โดยเฉพาะในวัดเทศกาลหรือวันหยุด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    หลวงพ่อกับโจร

    หลวงพ่อโตหรือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก แม้ท่านจะไม่เคยเข้าสอบแปลหนังสือเป็นเปรียญ แต่ชาวบ้านก็เรียกท่านว่าพระมหาโตมาตั้งแต่บวช ใช่แต่เท่านั้น ท่านยังได้รับคำชมจากสมเด็จพระสังฆราช (สุก) แห่งวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นสำนักที่หลวงพ่อโตเคยไปเข้าเรียนครั้งยังเป็นพระหนุ่มว่า “ขรัวโตเขามาแปลหนังสือให้ฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันดอก”

    อย่างไรก็ตาม ท่านมิใช่พระที่แม่นยำเฉพาะตัวหนังสือหรือเคร่งคัมภีร์ หากท่านน้อมนำธรรมะจนกลายเป็นเนื้อเป็นตัวของท่าน ทำให้ชีวิตของท่านเป็นไปอย่างโปร่งเบาและอิสระ ไม่ติดกับกฎเกณฑ์ประเพณี ทั้งไม่ถือความนิยมของผู้อื่นเป็นใหญ่

    คราวหนึ่งพระในวัดของท่าน (วัดระฆัง) โต้เถียงกันถึงขั้นด่าท้าทายกัน พอท่านเห็นเหตุการณ์ ท่านก็เข้าไปในกุฏิ จัดดอกไม้ธูปเทียนใส่พาน แล้วเดินเข้าไปในระหว่างคู่วิวาท แล้วลงนั่งคุกเข่าถวายดอกไม้ธูปเทียนให้พระทั้งคู่ แล้วกล่าวว่า “พ่อเจ้าพระคุณ พ่อจงคุ้มฉันด้วย ฉันฝากตัวกับพ่อด้วย ฉันเห็นจริงแล้วว่าพ่อเก่งเหลือเกิน เก่งพอได้ เก่งแท้ๆ พ่อเจ้าประคุณ ลูกฝากตัวด้วย”

    ผลคือพระทั้งคู่เลิกทะเลาะกัน หันมาคุกเข่ากราบท่าน ท่านก็กราบตอบพระ ทั้งหมอบกราบและหมอบกันอยู่นาน

    นอกจากท่านจะไม่ถือตัวหรือติดในยศศักดิ์แล้ว ท่านยังไม่ยึดในทรัพย์ด้วย ความมักน้อยสันโดษของท่านเป็นที่เลื่องลือ ลาภสักการะใดๆ ที่ท่านได้มาจากการเทศน์หรือกิจนิมนต์ ท่านมิได้เก็บสะสมไว้ มักเอาไปสร้างวัตถุสถาน (เช่นพระพุทธรูป) อยู่เนืองๆ แม้ใครขอก็ยินดีบริจาคให้ กระทั่งมีโจรมาลัก ท่านก็ยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่โจร

    เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งท่านกำลังนอนอยู่ในกุฏิ มีโจรขึ้นมาขโมยของ หมายจะหยิบตะเกียงลานในกุฏิ แต่บังเอิญหยิบไม่ถึง ท่านก็ช่วยเอาเท้าเขี่ยส่งให้โจร แล้วบอกให้โจรรีบหนีไป

    อีกเรื่องหนึ่งมีว่า ท่านไปเทศน์ต่างจังหวัดโดยทางเรือ ได้กัณฑ์เทศน์มาหลายอย่าง รวมทั้งเสื่อและหมอน ขากลับท่านต้องพักแรมกลางทาง คืนนั้นเองมีโจรพายเรือเข้ามาเทียบกับเรือของท่าน ขณะที่โจรล้วงหยิบเสื่อนั้นเอง ท่านก็ตื่นขึ้นมาเห็น จึงร้องบอกว่า “เอาหมอนไปด้วยซิจ๊ะ” โจรได้ยินก็ตกใจกลัวรีบพายเรือหนี ท่านจึงเอาหมอนโยนไปทางโจร โจรเห็นว่าท่านยินดีให้ จึงพายเรือกลับมาเก็บเอาหมอนไปด้วย

    บางครั้งลูกศิษย์ของท่านก็มาเป็นเหตุเสียเอง กล่าวคือเมื่อท่านกลับจากการเทศน์พร้อมกับกัณฑ์เทศน์มากมาย ศิษย์ ๒ คนที่พายเรือหัวท้ายก็ตั้งหน้าตั้งตาแบ่งสมบัติกัน แต่ตกลงกันไม่ได้ คนหนึ่งว่ากองนี้ของข้า อีกคนก็ว่ากองนั้นของข้า ท่านจึงถามว่า “ของฉันกองไหนล่ะจ๊ะ” เมื่อกลับถึงวัด ศิษย์ทั้งสองเอากัณฑ์เทศน์ไปหมด ท่านก็มิได้ว่ากล่าวอย่างใด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • somdajto.jpg
      somdajto.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.8 KB
      เปิดดู:
      61
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    พระนางจามเทวี ราชินีแห่งนครลำพูน

    ชาติ กำเนิดของพระองค์นั้น ในตำนานจามเทวีวงศ์และตำนานมูลศาสนากล่าวว่าทรงเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ แห่งกรุงละโว้ แต่ตำนานมุขปาฐะพื้นบ้านแห่งหนึ่งกล่าวว่า พระองค์เป็นธิดาของคหบดีชาวหริภุญชัยซึ่งมีเชื้อสายชาวเมง (ตำนานเรียกว่า เมงคบุตร) อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านหนองดู่ อำเภอป่าซางจังหวัดลำพูน พระนางจามเทวีเมื่อแรกประสูติไว้ว่าตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พ.ศ. 1176 เวลาจวนจะค่ำ ขณะเมื่อพระนางยังมีพระชนม์ได้ 3 เดือนนั้น มีนกยักษ์ตัวหนึ่งโฉบเอาพระนางขึ้นไปบนฟ้า เมื่อนกนั้นบินผ่านหน้าสุเทวฤๅซึ่งบำเพ็ญตบะอยู่ ณ เขาอุจฉุตบรรพต (แปลว่าเขาไร่อ้อย เชื่อว่าคือดอยสุเทพใน ปัจจุบัน) ท่านจึงได้แผ่เมตตาจิตให้นกนั้นปล่อยทารกน้อยลงมา แล้วรับเอาเด็กนั้นเป็นบุตรบุญธรรม พร้อมทั้งตั้งชื่อให้ว่า นางวี ด้วยถือเอานิมิตที่พระฤๅษีใช้พัด (ภาษาถิ่นเรียกว่า "วี") รองรับพระนางเนื่องจากพระฤๅษีอยู่ในสมณเพศ ไม่อาจถูกตัวสตรีได้ ต่อมาพระนางได้ร่ำเรียนสรรพวิชาการต่างๆ จากสุเทวฤๅษี

    ท่าน สุเทวฤๅษีจึงได้ผูกดวงและตรวจสอบชะตา ทราบว่ากุมารีผู้เป็นบุตรบุญธรรมของท่านจะมีวาสนาเป็นถึงจอมกษัตริย์ ปกครองบ้านเมืองอันใหญ่โตซึ่งจะรุ่งเรืองไปในภายภาคหน้า จึงตกลงใจว่าจะต้องส่งเด็กหญิงไปสู่ราชสำนักเพื่อรับการอภิเษกขึ้นเป็นเชื้อ พระวงศ์ให้สมควรแก่การที่จะได้เป็นใหญ่ต่อไป และที่เหมาะสมในสายตาท่านฤๅษีคือ ราชสำนักแห่งกรุงละโว้ ซึ่งเป็นราชสำนักที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในสุวรรณภูมิเวลานั้น<sup>[2]</sup>

    จนกระทั่ง เมื่อพระนางมีพระชนมายุได้ 13 พรรษา ท่านสุเทวฤๅษีจึงได้เนรมิตแพขึ้น ส่งกุมารีน้อยล่องไปตามน้ำจากเมืองเหนือ โดยพญากากะวานรและบริวารจำนวน ๓๕ ตัวโดยสารแพไปด้วย อีกทั้งยังฝากหนังสือไปฉบับหนึ่งเพื่อกราบทูลพระเจ้ากรุงละโว้ (ลวปุระ) ว่ากุมารีน้อยนี้จะไปช่วยละโว้ประหารศัตรู เด็กหญิงและวานรทั้งหลายล่องตามลำน้ำไปเป็นเวลานานหลายเดือนจึงเข้าสู่ เขตกรุงละโว้ ประชาชนชาวละโว้สองฝั่งลำน้ำได้โจษขานถึงแพเล็กๆ นี้ด้วยความประหลาดใจครั้นถึงท่าน้ำหน้าวัดชัยมงคล แพเนรมิตก็มิได้ล่องตามน้ำต่อไปกลับลอยวนเวียนอยู่บริเวณนั้น ประชาพลเมืองได้เห็นต่างโจษขานกันอึงคนึง บ้างก็เข้าไปพยายามดึงนาวาเข้าฝั่ง แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ชาวบ้านเห็นเหตุเป็นอัศจรรย์และต่างพากันชื่นชมเด็กหญิงซึ่งมีผิวพรรณ ผุดผ่องน่ารักน่าเอ็นดูอย่างยิ่ง ความทราบถึงบรรดาขุนนาง จึงได้ไปตรวจดูที่ฝั่งน้ำ เห็นความจริงประจักษ์แก่ตาจึงรีบกลับเข้าพระราชวังกราบบังคมทูล พระเจ้าจักวัติ ผู้ครองกรุงละโว้ ให้ทรงทราบทันที

    เจ้าแผ่นดินกรุงลวปุระได้เสด็จไปยังท่าน้ำหน้าวัดชัยมงคลพร้อมด้วยมเหสีในทันที นั้น เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นความเป็นไปทั้งหมด พระองค์ทรงมีรับสั่งให้ทหารที่ตามเสด็จชะลอแพเนรมิตเข้าสู่ฝั่ง แต่เหตุการณ์อันไม่มีใครคาดคิดก็บังเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง กำลังของเหล่าทหารแห่งกรุงลวปุระไม่อาจชักลากแพเข้าสู่ท่าน้ำได้ ไม่ว่ากษัตริย์จะมีพระบัญชาให้เพิ่มจำนวนทหารมากขึ้นสักเท่าใดก็ตามการณ์อันเป็นไปโดยอัศจรรย์ดังนี้ ทำให้เจ้าแผ่นดินทรงประจักษ์แจ้งแก่พระปรีชาญาณว่า กุมารีแรกรุ่นในท่ามกลางฝูงวานรบนแพนี้คงจะเป็นผู้มีบุญญาธิการมากมาย และแพนั้นก็คงจะเป็นแพวิเศษที่สามัญชนจะไปแตะต้องมิได้ พระองค์จึงเสด็จจากที่ประทับพร้อมด้วยพระมเหสีและทรงยึดเชือกที่ผูกแพนั้น ไว้ด้วยพระหัตถ์ของทั้งสองพระองค์<sup>[2]</sup>

    และแล้วเหตุอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้นอีกเป็นคำรบสาม พระเจ้ากรุงลวปุระและพระมเหสีเพียงแต่ทรงชักเชือกนั้นด้วยแรงเฉพาะสอง พระองค์ แพวิเศษก็ลอยเข้าสู่ท่าน้ำได้โดยง่าย และดูราวกับเทพยดาฟ้าดินจะทรงอำนวยพรให้แก่ประพฤติเหตุอันอัศจรรย์นี้ เพราะเมื่อแพวิเศษลอยเข้าเทียบท่าน้ำ ได้มีฝนโปรยปรายเป็นละอองบางเบา ยังความสดชื่นแก่ทุกคนในที่นั้น ประชาชนทั้งสองฝั่งลำน้ำได้เห็นต่างก็พากันชื่นชมพระบารมีของทั้งสองพระองค์ และสรรเสริญบุญญานุภาพของกุมารีน้อยไปทั่วทั้งพระนคร

    พระเจ้ากรุงละโว้และพระมเหสีได้รับกุมารีน้อยไว้ด้วยความเสน่หาอย่างยิ่ง พระมเหสีนั้นถึงกับเสด็จเข้าไปสวมกอดและจุมพิตกุมารีตั้งแต่แรกขึ้นสู่ฝั่ง พระเจ้ากรุงละโว้ผู้เต็มไปด้วยความปิติในพระหฤทัยได้ทรงน้ำกุมารีผู้น่ารัก ขึ้นประทับบนราชรถ และต่างพากันเสด็จเข้าสู่ราชสำนักกรุงละโว้ท่ามกลางประชาชนที่มาเฝ้าชมพระ บารมีสองข้างทางด้วยความชื่นชมยินดีโดยทั่วหน้าและได้ตั้งพระนามให้ใหม่ว่า พระนางจามเทวี<sup>[6]</sup>
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    พระราชธิดาแห่งละโว้

    ใน ราชสำนักกรุงละโว้ กุมารีได้รับการผลัดเปลี่ยนฉลองพระองค์ให้งดงามสมพระเกียรติ ครั้นแล้วได้เสด็จสู่ท้องพระโรงอันเป็นที่ประชุมเหล่ามุขมนตรีเสนาอำมาตย์ ทั้งหลาย กษัตริย์และพระมเหสีก็เสด็จออกประทับบนพระบัลลังก์ มีพระราชดำรัสให้พระราชครูพยากรณ์ดวงชะตาของเด็กหญิง พระราชครูได้คำนวณกาลชะตาโดยละเอียดแล้วถวายคำพยากรณ์ว่า
    “ขอ เดชะ กุมารีน้อยผู้นี้เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบุญญานุภาพและพระบารมีอันยิ่งใหญ่ ต่อไปภายหน้าจักได้เป็นถึงจักรพรรดินีครองแว่นแค้น ปรากฏพระเกียรติยศเกริกไกรไปทั่ว แม้ว่าพระราชาและเจ้าชายพระองค์ใดได้เสกสมรสด้วยก็จักเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย รัตนะทั้ง 7 ประการอย่างแน่นอน”<sup>[2]</sup>
    พระ เจ้ากรุงละโว้ทรงทราบดังนั้นก็ทรงเปี่ยมด้วยความโสมนัสอย่างยิ่ง เพราะได้ประจักษ์แก่พระปรีชาญาณว่าเทพยดาฟ้าดินได้ประทานกุมารีผู้นี้แด่ พระองค์และกรุงลวปุระ ทั้งพระองค์เองและพระมเหสียังมิได้ทรงมีพระโอรสธิดา จึงทรงมีพระราชโองการให้จัดพระราชพิธีอภิเษกกุมารีวีขึ้นดำรงพระยศเป็นพระ ธิดาแห่งกรุงละโว้และได้ทรงเฉลิมพระนามใหม่ประกาศไว้ในพระสุพรรณบัฏว่า เจ้าหญิงจามเทวี ศรีสุริยวงศ์ บรมราชขัตติยนารี รัตนกัญญา ลวะปุรีราเมศวร<sup>[2]</sup>

    ตำนาน ว่า วันประกอบพิธีอภิเษกนั้นเป็นวันที่ 3 ภายหลังพระนางจามเทวีเสด็จเข้าสู่ราชสำนักลวปุระ ตรงกับวารดิถีอาทิตยวารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมียพุทธศักราช 1190 เวลานั้นทรงมีพระชนมายุได้ 14 พรรษา เจ้าหญิงพระองค์แรกแห่งนครลวปุระทรงถวายสัตย์ปฏิญาณเป็นปฐมว่า
    “ข้าฯ ขอกล่าวต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันพิทักษ์รักษากรุงละโว้ว่าข้าฯ จะเป็นมิตรที่ดีต่อท่านทั้งหลาย จะขอปกปักษ์พิทักษ์รักษาอาณาจักรละโว้ด้วยชีวิต จะปฏิบัติทุกทางที่จะยังความสุขให้ทั่วพระราชอาณาจักรแห่งนี้”<sup>[2]</sup>

    สิ้นพระราชดำรัส ปวงเสนาอำมาตย์และพสกนิกรทั้งหลายต่างพากันแซ่ซ้องถวายพระพรพระธิดาพระองค์ ใหม่ ทั้งราชสำนักและบ้านเมืองกระหึ่มด้วยเสียงมโหรีปี่พาทย์ที่บรรเลงเพลง สรรเสริญ มีการบังเกิดพระพิรุณโปรยปรายเป็นละอองชุ่มเย็นไปทั่วเมืองละโว้เป็นกาล อัศจรรย์อีกครั้งหนึ่ง

    ภายหลังพระราชพิธีอภิเษก พระเจ้ากรุงละโว้ได้พระราชทานพระธิดาในพระเจ้าทศราชแห่งกรุงรัตนปุระ 2 พระองค์ คือ
    เจ้าหญิงปทุมวดี และเจ้าหญิงเกษวดี ให้เป็นพระพี่เลี้ยงคอยถวายการดูแลพระธิดาพระองค์ใหม่ รวมทั้งเป็นผู้ถวายการสอนวิชาศิลปะศาสตร์แขนงต่างๆ เพิ่มเติมแก่พระธิดาน้อยด้วย<sup>[2]</sup>
     

แชร์หน้านี้

Loading...