>>> อวดรู้ (รู้แล้วได้อะไร) <<<

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 กรกฎาคม 2012.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ศึกชิงพระนางจามเทวี

    เจ้า หญิงจามเทวีได้เสด็จประทับในราชสำนักกรุงลวปุระ และเจริญพระชันษาขึ้นโดยเป็นที่รักใคร่เสน่หาของพระราชา พระมเหสี พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนเสนาอำมาตย์และประชาชนชาวละโว้ทั้งหมด เวลาได้ล่วงเลยจนพระองค์ทรงเจริญพระชนมายุได้ 20 พรรษา ปรากฏว่าทรงมีพระสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปยังทุกอาณาจักรอันใกล้เคียง พระปรีชาญาณและบุญญานุภาพแห่งพระองค์นั้นก็แผ่ไพศาล เป็นที่หมายปองของเจ้าครองนครต่างๆ ความงดงามในพระรูปแห่งพระองค์หญิงจามเทวีนั้น เป็นที่เล่าลือกันว่าไม่มีหญิงใดจะทัดเทียมทั้งสิ้น ดังมีบรรยายไว้ในตำนานต่างๆ ว่า

    ดวง พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระเนตรดำซึ้งเป็นแวววาวและต้องผู้ใดแล้วยังผู้นั้นให้งงงวยไปด้วยพิษเสน่หา พระขนงโก่งเรียวยาวประดุจคันธนูขณะน้าวสาย พระนาสิกโด่งคมสันรับกับพระพักตร์ ริมพระโอษฐ์แดงระเรื่อดุจชาดป้าย พระทนต์เรียบขาวสะอาดเป็นเงางามดุจไข่มุก ขณะยุรยาตรพระวรกายอันอ่อนไหวให้ชวนพิศ เวลาก้าวพระบาทนั้นประดุจพระนางหงส์เมื่อเยื้องย่างกราย พระวรกายหอมดังกลิ่นดอกบัวหลวง หาสตรีใดเทียบมิได้”<sup>[2]</sup>


    เมื่อพระนางจามเทวีมีพระชนมายุได้ 20 พรรษา พระเจ้ากรุงละโว้จึงได้กระทำพิธีหมั้นหมายพระนางจามเทวีไว้กับเจ้าชายรามราช แห่งเมืองรามบุรีซึ่งเป็นเจ้าชายจากแว่นแคว้นใกล้เคียง ทว่าด้วยกิตติศัพท์ความงดงามของพระนางจามเทวีนั้นเป็นที่เลื่องลือทั่วไป เจ้าชายแห่งเมืองโกสัมพี (เชื่อว่าคืออาณาจักรมอญหรือพม่าในเวลานั้น) จึงได้ส่งบรรณาการมาสู่ขอพระนางจามเทวีกับพระเจ้ากรุงละโว้ แต่พระเจ้ากรุงละโว้ได้ตอบปฏิเสธเพราะเจ้าหญิงทรงมีพระคู่หมั้นอยู่แล้ว เจ้าชายแห่งเมืองโกสัมพีรู้สึกแค้นพระทัย จึงได้ยกทัพเมืองโกสัมพีและทัพจากเมืองต่างเข้าต่อรบกับละโว้เพื่อชิงพระนาง จามเทวี

    ตามตำนานกล่าวว่ากองทัพของฝ่ายโกสัมพีมีจำนวนมากกว่าฝ่ายละโว้มาก กองทัพละโว้จึงประสบความปราชัย ฝ่ายขุนนางเมืองละโว้จึงปรึกษากันว่าจำต้องยอมรับไมตรีจากเมืองโกสัมพีเพราะ สู้ไม่ได้ แต่พระนางจามเทวีกลับตัดสินพระทัยที่จะรบโดยพระนางจะเป็นผู้นำทัพเอง เมื่อพระเจ้ากรุงละโว้ผู้เป็นพระราชบิดาทรงอนุญาตแล้ว พระนางจึงจัดทัพหน้าเป็นหญิง 500 คน ชาย 1,000 คน (บ้างก็ว่า 2,
    000 คน) และกำลังจากเมืองพันธมิตรอื่นๆ เข้าทำการรบโดยล่อกองทัพข้าศึกให้เข้ามาในที่แคบแล้วจึงตีกระหนาบ กระทั่งเมื่อกองทัพทั้งสองฝ่ายต่างเสียหายอย่างหนัก พระนางจึงตัดสินพระทัยให้นายทัพของแต่ละฝ่ายเข้าดวลอาวุธกันตัวต่อตัว ตัวพระนางเองดวลอาวุธกับเจ้าชายแห่งโกสัมพีจนได้รับชัยชนะ เจ้าชายจึงเชือดพระศอพระองค์เองด้วยขัตติยะมานะ กองทัพฝ่ายโกสัมพีที่เสียจอมทัพจึงยอมแพ้<sup>[6]</sup>


    ชัยชนะของพระนางเป็นที่ยกย่องสรรเสริญของชาวละโว้อย่างยิ่ง แต่พระนางเองมิได้ยินดีในชัยชนะนั้น กลับรู้สึกสลดพระทัยที่ต้องมีคนตายในสงครามนี้มากมาย พระนางจึงตรัสสั่งให้สร้างวัดขึ้นในบริเวณสมรภูมิขึ้นวัดหนึ่งเพื่ออุทิศ ส่วนกุศลแก่ผู้ที่ตายในการรบ พร้อมทั้งทรงจัดการพระศพของบรรดาเจ้านายเมืองต่างๆ ทั้งสองฝ่าย ที่สิ้นชีวิตในการรบอย่างสมเกียรติ หลังเหตุการณ์สงบแล้ว

    งานอภิเษกของพระนางจามเทวีจึงมีขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ตำนานบางฉบับก็ได้กล่าวว่า พระเจ้ากรุงละโว้ได้เวนราชสมบัติให้แก่เจ้าชายรามราชในคราวเดียวกัน บางฉบับกล่าวแต่เพียงว่าเจ้าชายรามราชได้เข้ามาอยู่ในราชสำนักละโว้เท่านั้น<sup>[6]</sup>

    ตำนานได้ระบุว่า สงครามเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1196 และการอภิเษกนั้นได้มีขึ้นในอีก 2 ปีถัดมา<sup>[6]</sup>
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การปกครองเมืองหริภุญชัย

    ประมาณปี พ.ศ. 1202 สุกกทันตฤๅษี ซึ่งเป็นสหายกับสุเทวฤๅษี ได้เดินพร้อมกับนายควิยะผู้เป็นทูตของสุเทวฤๅษี มายังกรุงละโว้ เพื่อทูลขอพระนางจามเทวีจากพระเจ้ากรุงละโว้ เพื่อไปเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองใหม่ที่สุกทันตฤๅษีกับสุเทวฤๅษีสร้างขึ้น ซึ่งก็คือเมืองหริภุญไชยหรือเมืองลำพูนในปัจจุบันนี้ เมื่อพระนางจามเทวีปรึกษากับพระราชบิดากับพระสวามีแล้วทั้งพระสวามีกับพระ ราชบิดาต่างก็อนุญาต พระนางจึงได้เดินทางออกจากเมืองละโว้ตามคำทูลเชิญของพระฤๅษี แต่ในตำนานจามเทวีวงศ์ได้กล่าวความต่างไปอีกอย่าง คือ ในเวลานั้นเจ้าชายรามราชได้ออกบวชเสียแล้ว พระนางจึงทรงอยู่ในฐานะไร้พระสวามี ทางลำพูนจึงได้ส่งสาส์นมาทูลขอดังกล่าว ตำนานพื้นบ้านว่าเจ้าหญิงจามเทวีทรงรับที่จะครองเมืองลำพูนเพราะว่าเมือง ลำพูนเวลานั้นราษฎรเดือดร้อนด้วยขาดผู้นำ และพระนางก็ระลึกถึงพระคุณท่านสุเทวฤๅษีที่เคยชุบเลี้ยงมาแต่ก่อน

    ในการเดินทางจากละโว้ไปสู่เมืองลำพูนนั้น พระนางได้เชิญพระเถระ 500 รูป หมู่ปะขาวทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเบญจศีล 500 คน บัณฑิต 500 คน หมู่ช่างแกะสลัก 500 คน ช่างแก้วแหวน 500 คน พ่อเลี้ยง 500 คน แม่เลี้ยง 500 คน หมู่หมอโหรา 500 คน หมอยา 500 คน ช่างเงิน 500 คน ช่างทอง 500 คน ช่างเหล็ก 500 คน ช่างเขียน 500 คน หมู่ช่างทั้งหลายต่างๆอีก 500 คน และช่างโยธา 500 คน <sup>[2]</sup>


    ให้ร่วมเดินทางกับพระนางเพื่อไปสร้างบ้านแปงเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคงยิ่งขึ้น โดยเดินทางด้วยการล่องเรือไปตามแม่น้ำปิง กินระยะเวลานาน 7 เดือน พร้อมกันนี้พระนางยังได้เชิญพระพุทธรูปสำคัญมาด้วย 2 องค์ คือ 1)
    พระแก้วขาว ซึ่งว่ากันว่าเป็นองค์เดียวกับที่ประดิษฐาน ณ วัดเชียงมั่นจังหวัดเชียงใหม่ ในปัจจุบัน 2) พระรอดหลวง ซึ่งประดิษฐานที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน


    เมื่อพระนางเดินทางมาถึงเมืองหริภุญชัยแล้ว สุเทวฤๅษีและสุกทันตฤๅษีจึงกระทำพิธีราชาภิเษกพระนางขึ้นเป็นกษัตริย์แห่ง หริภุญชัย ทรงพระนามว่า "พระนางเจ้าจามเทวี บรมราชนารี ศรีสุริยวงศ์ องค์บดินทร์ ปิ่นธานีหริภุญชัย" หลังจากวันราชาภิเษกไปแล้ว 7 วัน พระนางจึงประสูติพระราชโอรสซึ่งติดมาในพระครรภ์ตั้งแต่ยังทรงอยู่เมืองละโว้ 2 พระองค์ พระโอรสองค์โตมีพระนามว่าพระมหันตยศหรือพระมหายศ ส่วนองค์รองมีพระนามว่าพระอนันตยศหรือพระอินทวร<sup>[6]</sup>

    ใน รัชกาลของพระองค์นั้น นครหริภุญชัยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง ประชาราษฎรต่างอยู่ร่วมกันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข พระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงอย่างดียิ่ง ตามตำนานได้กล่าวว่า พสกนิกรต่างมีใจศรัทธาสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนถึง 2,000 แห่ง และกาลต่อมาวัดทั้ง 2,000 แห่งก็มีภิกษุจำพรรษาทุกแห่ง อนึ่ง ในเวลาต่อมา ภายหลังสงครามขุนวิลังคะชาวลัวะได้ผ่านไปแล้ว พระนางจามเทวียังได้สร้างวัดประจำเมืองขึ้น 4 วัดเพื่อเป็นพุทธปราการ ได้แก่

    1. วัดอรัญญิกกรัมมการาม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระนคร
    2. วัดอาพัทธาราม ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระนคร
    3. วัดมหาวนาราม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระนคร
    4. วัดมหารัดาราม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระนคร
    นอก จากนี้ในด้านการป้องกันเมือง พระนางจามเทวีได้จัดให้มีด่านชายแดนอาณาจักรไว้ที่เวียงนอกและเวียงสาม เสี้ยว (ปัจจุบันบริเวณหมู่บ้านกอกและทุ่งสามเสี้ยว เขตอำเภอสันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่) และโปรดฯ ให้มีการซ้อมรบเพื่อการเตรียมความพร้อมของกองทัพ โดยทรงออกอุบายให้ด่านที่เวียงนอกและเวียงสามเสี้ยวแกล้งตั้งตัวเป็นกบฏและ ทรงมีรับสั่งให้จัดทัพไปปราบ ปรากฏว่าฝ่ายพระนครชนะศึก ทว่าในการซ้อมรบดังกล่าวก็มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากเพราะต่างฝ่ายต่างไม่รู้ กัน พระนางจึงทรงปูนบำเหน็จความชอบให้แกผู้รอดชีวิต และทรงอุปถัมภ์ครอบครัวของทหารที่ตายในการสู้รบครั้งนี้ให้เป็นสุขต่อไป <sup>[6]</sup>

    อนึ่งในตำนานยังกล่าวว่า พระนางจามเทวีได้ทรงทำพิธีบวงสรวงเทวดาขอช้างศึกประจำพระนคร ด้วยทรงมีพระดำริว่า เวลานี้พระโอรสทั้ง ๒ ก็ยังเยาว์พระชันษาอยู่ ถ้ามีข้าศึกมาเบียดเบียนจะเป็นการลำบาก ช้างศึกดังกล่าวนั้นคือ "ช้างภู่ก่ำงาเขียว" ซึ่งกล่าวกันว่ามีอานุภาพยิ่ง เพราะหากใครไปยืนเบื้องหน้าช้างในยามใกล้เที่ยงงก็จะเกิดมีอันเป็นไปต่างๆ ถ้าไม่บวงสรวงด้วยข้าวตอกดอกไม้เสียแล้วก็อาจถึงแก่ชีวิตเลยทีเดียว ช้างดังกล่าวนี้นับเป็นกำลังสำคัญของพระองค์ในการรบกับชาวลัวะในกาลต่อมา ด้วย<sup>[6]</sup>
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สงครามขุนวิลังคะ

    ด้วย พระนางจามเทวีทรงเป็นจอมกษัตริย์ผู้ทรงปกครองนครหริภุญชัยที่รุ่งเรือง ทั้งพระนางเองก็ทรงมีพระรูปเลอโฉม พระปรีชาญาณหลักแหลม เป็นที่สรรเสริญแก่บรรดาประเทศใหญ่น้อยทั่วไป บรรดาเจ้าครองนครหลายองค์จึงใคร่จะได้พระนางไปเป็นพระมเหสี โดยเฉพาะ ขุนวิลังคะ ผู้นำชาวลัวะ ซึ่งส่งทูตพร้อมเครื่องบรรณาการถึง 500 สาแหรก มาถวายสาส์นทูลเชิญพระนางเสด็จไปเป็นพระมเหสีแห่งระมิงค์นคร ซึ่งบางตำนานว่าตกในราวๆ ต้นปี พ.ศ. 1226 เมื่อพระนางทรงมีรับสั่งให้เข้าเฝ้า ทูตลัวะก็กราบบังคมทูลอย่างวางอำนาจว่า

    “ข้า แต่มหาราชเทวีเป็นเจ้า ขุนแห่งข้าพเจ้ามีนามว่าวิลังคราชอยู่ทิศดอยละวะโพ้น เป็นใหญ่กว่าลัวะทั้งหลาย ใช้ให้ข้าพเจ้าทั้งหลายนำเครื่องบรรณาการมาถวายพระนางบัดนี้ โดยเหตุที่ขุนวิลังคราชมีความรักใคร่ในพระเทวีเป็นเจ้า จักเชิญพระแม่เจ้าไปเป็นอัครมเหสี”


    พระนางจามเทวีตรัสถามว่า “ดูกรท่านอำมาตย์ เรายังไม่เคยได้เห็นขุนผู้นั้นแม้สักหนเดียวเลย ขุนผู้นั้นหน้าตาเป็นอย่างใดเล่า”

    ทูตลัวะทูลตอบว่า “ขุนแห่งข้าพเจ้านั้นรูปร่างหน้าตาก็เหมือนดังตัวข้าพเจ้านี้แหละ”


    พระนางจึงทรงมีรับสั่งว่า “ผิว่า ขุนแห่งท่านมีหน้าตาเหมือนดังท่านแล้ว อย่าว่าแต่มาเป็นผัวเราเลย แม้แต่มือเราก็ไม่จักให้ถูกต้อง ท่านจงรีบไปเสียให้พ้นจากเรือนเราเดี๋ยวนี้”


    แล้วทรงขับไล่ทูตลัวะออกไปเสียจากพระนคร ขุนวิลังคะได้ทราบเช่นนั้นก็บังเกิดความโกรธอย่างรุนแรง แต่ก็ส่งสาส์นเกลี้ยกล่อมอีกครั้งหนึ่ง ก็ได้รับคำตอบว่า พระนางยังไม่ตัดสินพระทัยเสด็จไปยังระมิงค์นครเพราะพระนางเพิ่งมีพระประสูติ กาลพระโอรส พระวรกายยังไม่บริสุทธิ์พอจะทรงรับการอภิเษกเป็นพระมเหสีแห่งชาวลัวะได้ ขอให้รอไปก่อน ขณะเดียวกันภายในเมืองหริภุญชัยพระนางจามเทวีก็โปรดฯ ให้สั่งสมเสบียงและอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้อย่างเต็มที่ รวมทั้งเตรียมกำลังทหารให้พร้อมรบที่สุด ทางฝ่ายขุนวิลังคะได้รับคำตอบเช่นนั้นก็เบาใจและรั้งรออยู่อย่างนั้น บางตำนานว่าหลงกลรอต่อไปเป็นเวลานานถึง 7 ปี


    ในที่สุดขุนวิลังคะก็นำทัพเข้าล้อมเมืองด้วยทหารจำนวนถึง 80,000 คน พระนางจามเทวีทรงมีพระราชโองการให้พระโอรสทั้งสองซึ่งเจริญพระชมมายุได้ 7 พรรษาแล้วขึ้นประทับเหนือช้างผู้ก่ำงาเขียวนำทัพออกศึก โดยพระมหันตยศประทับคอช้าง พระอนันตยศประทับกลางช้าง กองทัพของหริภุญชัยมีจำนวนเพียง 3,000 คน แต่เมื่อกองทัพของทั้งสองฝ่ายประจันหน้ากัน พลรบชาวลัวะก็ให้บังเกิดอาการหน้ามืดตามัวหมดกำลัง เพราะเผชิญหน้ากับช้างภู่ก่ำงาเขียวในเวลาเที่ยงวันพอดี จนในที่สุดไม่มีผู้ใดทนได้ก็พากันแตกทัพอลหม่านโดยไม่ทันได้สู้รบทิ้งอาวุธ และสิ่งของไว้เป็นอันมาก พระนางจามเทวีจึงทรงมีรับสั่งให้ชาวพระนครพรากับออกไปรวบรวมสิ่งของเหล่า นั้นไปเป็นของตนเองเสีย ทำเลที่ทหารลัวะทิ้งของไว้นั้นจึงมีชื่อว่า ลัวะวาง ในกาลต่อมา


    หลังจากนั้น พระนางจามเทวีจึงเสด็จไปยังระมิงค์นครในฐานะผู้ชนะศึก เพื่อทรงช่วยเหลือบำรุงขวัญประชาชนให้กลับเป็นปกติสุขอีกครั้ง จากนั้นจึงพระราชทานเอกราชให้แก่ชาวระมิงค์นครมิให้ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของ หริภุญชัยเป็นการแสดงพระกรุณา โดยจารึกไว้ในพระสุพรรณบัฎเมื่อวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ
    พ.ศ. 1230


    ในตำนานจามเทวีวงศ์มีขยายความเรื่องเกี่ยวกับลัวะต่อไปอีกคือ ภายหลังการสงครามขุนวิลังคะ พระมหันตยศและพระอนันตยศ ก็ทรงได้พระธิดาขุนวิลังคะเป็นชายาด้วย ดังนั้นพระนางจามเทวีจังทรงมีพระสุณิสาลำดับแรกเป็นเจ้าหญิงชาวลัวะ


    เรื่องเผชิญพวกลัวะนี้ ตำนานพื้นเมืองอีกฝ่ายหนึ่งกล่าวไว้พิสดารออกไป คือ หลวงมิลังคะ (ไม่ใช่ขุนวิลังคะ) ผู้นำเผ่าลัวะเกิดหลงใหลพระสิริโฉมแห่งพระนางจามเทวีจนไม่เป็นอันกินอันนอน จึงได้แต่งทูตมาสู่ขอ แต่พระนางจามเทวีไม่ทรงสนพระทัยและไม่ให้คำตอบใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเหตุให้หลวงมิลังคะยกไพร่พลมาประชิดเมือง พระนางจึงทรงพระดำริว่า ถ้าจะรบกับหลวงมิลังคะบ้านเมืองคงย่อยยับแน่ จึงออกอุบายแก่หลวงมิลังคะว่า หากหลวงมิลังคะพุ่งเสน้า (ธนู) จากดอยสุเทพมาตกกลางเมืองลำพูนพระนางก็จะทรงตกลงเป็นพระมเหสี หลวงมิลังคะจึงดีใจถือธนูขึ้นดอยสุเทพ บริกรรมคาถาอาคมแล้วพุ่งเสน้าจากดอยสุเทพเพียงครั้งแรกก็มาตกที่นอกเมืองทาง ทิศตะวันตก ห่างกำแพงเมืองไปเพียงไม่กี่วาเท่านั้น สถานที่เสน้าตกนี้เรียกกันว่า หนองเสน้า เวลาต่อมา


    พระนางจามเทวีทรงเห็นเช่นนั้นก็หวั่นพระทัยนัก ทรงเกรงว่าหากให้มีการพุ่งเสน้าเป็นครั้งที่ 2 และ 3 คงจะมาตกกลางเมืองแน่ จึงทรงออกอุบายอีกครั้งหนึ่ง ให้ข้าราชบริพารนำซิ่นในมาตัดเย็บเป็นหมวกส่งไปให้หลวงมิลังคะสวม ข้างหลวงมิลังคะนั้นพอได้รับของฝากจากพระนางก็ดีใจเป็นที่สุด รีบสวมหมวกนั้นแล้วลองพุ่งเสน้าเป็นครั้งที่ 2 และ 3 ปรากฏว่าเสน้ากลับลอยไปตกห่างจากตัวเมืองยิ่งกว่าเดิมหลายเท่า จึงได้พบว่าเสียรู้และถูกทำลายคาถาอาคมเสียแล้ว เลยหมดกำลังใจที่จะพุ่งเสน้าต่อไป พระนางจามเทวีจึงมิได้เป็นราชินีของชาวลัวะด้วยเหตุดังกล่าว แต่ต่อมาชาวลัวะกับชาวลำพูนก็ยังได้มีสัมพันธ์ต่อกันบ้างในรุ่นหลังจากนั้น
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    กำเนิดเขลางค์นคร

    ในตำนานมูลศาสนาและจามเทวีวงศ์กล่าวว่า หลังสิ้นสงครามชาวลัวะแล้ว พระนางจามเทวีก็ได้ทรงอภิเษกพระมหันตยศซึ่งมีพระชนม์มายุ 7 พรรษาขึ้นเป็นกษัตริย์ครองหริภุญชัยแทนพระนาง และอภิเษกพระอนันตยศขึ้นเป็นพระอุปราช รวมเวลาที่พระนางทรงเสวยราชย์ในกรุงหริภุญชัยได้ 7 ปี เมื่อพระมหันตยศได้เสวยราชย์แล้ว ทรงดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทแห่งพระมารดาทุกประการ นครหริภุญชัยจึงยิ่งเจริญรุ่งเรืองและร่มเย็นเป็นสุข ทว่าฝ่ายพระอุปราชอนันตยศหามีความพอพระทัยไม่ ด้วยทรงมีพระดำริว่าพระเชษฐาธิราชประสูติมาพร้อมกัน เมื่อพระเชษฐาธิราชได้เสวยราชสมบัติแล้วพระองค์ก็น่าจะได้ครองเมืองบ้าง จึงกราบทูลพระนางจามเทวีตามพระดำรินั้น เมื่อพระนางจามเทวีได้ทราบดังนั้น จึงให้บัณฑิตผู้หนึ่งพาพระอนันนตยศไปปรึกษากับสุเทวฤๅษีเรื่องการสร้างเมือง ใหม่ก่อน

    เมื่อสุเทวฤๅษีทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว จึงถวายคำแนะนำแก่พระอนันตยศให้ไปไหว้ฤๅษีพุทธชฏิลที่ดอยโชติบรรพต ไปหาพรานเขลางค์ที่ดอยลุทธบรรพต และไปกราบท่านสุพรหมฤๅษี ที่ดอยเขางามริมแม่น้ำวังกะนที เพื่อขอให้ช่วยสร้างพระนครแห่งใหม่ พระอนันตยศทรงดำเนินการตามนั้นทุกอย่าง จึงได้ท่านสุพรหมฤๅษีและพรานเขลางค์ไปช่วยกันสร้างเมือง ท่านสุพรหมฤๅษีได้ตรวจดูทำเลอันเหมาะสมแล้วจึงใช้อำนาจเนรมิตเมืองใหญ่ขึ้น แห่งหนึ่ง แล้วเอาชื่อพรานเขลางค์มาตั้ง เรียกว่าเมืองเขลางค์นคร (ปัจจุบันคือเมือง
    ลำปาง) จากนั้นสุพรหมฤๅษีก็ถวายการราชาภิเษกพระเจ้าอนันตยศขึ้นเสวยราชสมบัติในพระนครแห่งใหม่


    หลังจากนั้นพระนางจามเทวีจึงเสด็จมายังเมืองเขลางค์นครตามคำทูลเชิญของพระโอรส พระองค์ได้กระทำพิธีราชาภิเษกพระราชโอรสอีกครั้งอย่างมโหฬาร และได้ประทับอยู่ที่เมืองนี้ต่ออีก 6 เดือน ตามคำทูลขอของพระอนันตยศ แต่ในจามเทวีวงศ์ว่าต้องทรงอยู่ถึง 6 ปี จึงได้เสด็จกลับเมืองหริภุญชัย โดยระหว่างนั้นพระนางยังได้สร้างเมืองอาลัมพางค์นครขึ้นอีกเมืองหนึ่ง


    แต่ในตำนานพื้นเมืองกลับกล่าวถึงเรื่องนี้ไปอีกอย่างหนึ่ง ต่างกับจามเทวีวงศ์ และตำนานมูลศาสนาดังที่กล่าวมาแล้วอย่างสิ้นเชิง โดยกล่าว่าพระนางจามเทวีได้ครองสิริราชสมบัติบริหารราชการแผ่นดินนครหริภุญ ชัยไปถึงต้นเดือน 8 ปีกุน
    พ.ศ. 1231 จึงทรงสละราชสมบัติพระราชทานพระเจ้ามหันตยศขึ้นครองหริภุญชัยแทน และในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีเดียวกัน ก็มีการราชาภิเษกพระเจ้าอนันตยศขึ้นครองเขลางค์นคร เวลานั้นพระนางทรงมีพระชนมายุได้ 55 พรรษาแล้ว และก็มิได้กล่าวถึงรายละเอียดการสร้างเขลางค์นคร และการที่พระนางเสด็จประทับทั้งในเขลางค์นครและอาลัมพางค์นคร<sup>[6]</sup>
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    บั้นปลายพระชนม์ชีพ

    สุวรรณจังโกฏิเจดีย์หรือกู่กุด ที่วัดจามเทวีจังหวัดลำพูน เชื่อกันว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระนางจามเทวี

    ครั้นบ้านเมืองสงบสุขภายใต้การปกครองของพระเจ้ามหันตยศแล้ว ในปี
    พ.ศ. 1236 พระนางจามเทวีซึ่งทรงมีพระชนมายุได้ 60 พรรษาแล้ว จึงทรงละจากการกำกับดูแลราชการแผ่นดินทั้งปวง และทรงสละเพศฆราวาสฉลองพระองค์ขาวเสด็จไปประทับทรงศีลที่วัดจามเทวี และทรงเอาพระทัยใส่ต่อการทำนุบำรุงพระศาสนายิ่งขึ้นอีกมากมาย กระทั่งถึง พ.ศ. 1294 จึงเสด็จสวรรคต รวมพระชันษาได้ 98 พรรษา


    ส่วนในตำนานมูลศาสนา และจามเทวีวงศ์กล่าวแตกต่างออกไปว่า พระนางจามเทวีได้ทรงเสวยราชย์ในนครหริภุญชัยเพียง 7 ปี แล้วสละราชบัลลังก์พระราชทานพระเจ้ามหันตยศ จากนั้นเสด็จไปประทับที่เขลางค์นครกับอาลัมพางค์นครกับพระเจ้าอนันตยศอีก 6 ปี ครั้นเริ่มประชวรเสด็จกลับมายังหริภุญชัย ทรงเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยทักษิณาวรรตแล้วทรงศีลต่อไปอีกเพียง 8 วัน พระโรคาพาธก็กำเริบแรงกล้าจนถึงเสด็จสวรรคต หลังสวรรคคตแล้วพระองค์ก็ได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต


    หลังจากนั้น พระเจ้ามหันตยศจึงโปรดฯ ให้จัดพิธีบูชาสักการะพระศพเป็นการใหญ่ 7 วัน แล้วจึงก่อพระเมรุมาศสำหรับถวายพระเพลิง จัดให้มีการสมโภชพระศพเป็นการใหญ่ 7 วัน แล้วจึงถวายพระเพลิง หลังเสร็จการถวายพระเพลิงพระศพแล้วจึงได้เชิญพระอัฐิไปบรรจุไว้ในสุวรรณจัง โกฏิเจดีย์ (ปัจจุบันเรียกกันเป็นสามัญว่า เจดีย์กู่กุด) ภายใน
    วัดจามเทวีอำเภอเมืองลำพูนจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน<sup>[6]

    </sup>
    อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ตั้งอยู่ตำบลในเมืองจังหวัดลำพูน บริเวณสวนสาธารณะหนองดอกเทศบาลเมืองลำพูน

    ที่มา : http://www.thamnaai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538780528&Ntype=1
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    มหาสติ
    ที่มา : http://www.nkgen.com/718.htm

    ฝึกสติจนเป็นมหาสติ ขั้นจางคลายจากทุกข์และดับสนิทแห่งทุกข์

    มหาสติ ในการดับทุกข์ในทางปฎิบัติ หมายถึงการมีสติ รู้เท่าทันและเข้าใจอย่างถูกต้อง(สัมมาปัญญา)ในกายบ้างในเวทนาบ้างในจิตสังขารบ้าง(เช่นความคิด,คิดนึกปรุงแต่ง,เจตสิก) ในธรรมบ้าง อยู่เนืองๆเป็นอเนก, ฝ่ายเวทนาหรือจิต(จิตสังขาร)เมื่อมีสติรู้เท่าทันแล้ว ต้องปล่อยวางโดยการอุเบกขา(ในโพชฌงค์ ๗) กล่าวคือเป็นกลาง วางทีเฉย แม้จะรู้สึกเป็นสุข,เป็นทุกข์,หรือไม่สุขไม่ทุกข์(คือเวทนา)ตามธรรม(สิ่ง)ที่เกิดอย่างไรก็ตามที ด้วยการไม่เอนเอียง ไม่แทรกแซง ไม่ปรุงแต่ง ไม่พัวพันไปในเรื่องนั้นๆ ไม่ทั้งในทางดีหรือชั่ว คือ ถูกก็ไม่ ผิดก็ไม่, ดีก็ไม่ ชั่วก็ไม่ หมายถึงไม่ไปยึดมั่นหมายมั่นแม้ในดีชั่ว บุญบาป เป็นสภาพที่เรียกได้ว่า เหนือบุญเหนือบาป เหนือดีเหนือชั่ว หรือเหนือกรรมนั่นเอง จนเกิดความชำนาญอย่างยิ่งยวด อันเกิดแต่การสั่งสมอบรมประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้องนั่นเอง เกิดการประสานกันอย่างกลมกลืนอย่างลงตัวในที่สุด ก็จะเกิดมหาสติขึ้น กล่าวคือมีสติอยู่เสมอโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่มันเกิดมันทำของมันเองโดยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นมาแต่การสั่งสมอย่างดีเลิศหรือเชี่ยวชาญชำนาญยิ่งจนเคยชินยิ่งอันเป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งของชีวิตนั่นเอง จึงยิ่งใหญ่
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    กล่าวคือเกิดการกระทำตามที่ได้สั่งสมอบรมไว้ด้วยความเพียร และอย่างถูกต้องจนสามารถกระทำเองได้โดยอัติโนมัติ เป็นเหมือนดั่งสังขารในปฏิจจสมุปบาท เพียงแต่มิได้เกิดแต่อวิชชา แต่เกิดจากวิชชาหรือวิชา ดังเช่น การอ่านหนังสือออก ขอให้โยนิโสมนสิการโดยแยบคายจะเห็นได้ว่า เมื่อตากระทบตัวอักษร จะเกิดการอ่านออกโดยอัติโนมัติ จะอ่านไม่ออกก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นสังขารอันอบรม สั่งสม ปฏิบัติไว้ด้วยความเพียรมาแต่ครั้งเล่าเรียนนั่นเอง จึงเป็นอาการมหาสติอย่างหนึ่ง เพียงแต่เป็นมหาสติแบบประโยชน์ทางโลก มิได้เป็นมหาสติที่นำพาให้จางคลายจากทุกข์ หรือดับทุกข์อันเป็นสุขอย่างยิ่ง

    ดังตัวอย่างกระบวนธรรม ที่เกิดจากการอ่าน เช่น หนังสือที่เกี่ยวกับข่าวที่ไม่ดี ไม่ถูกใจ

    ตา [​IMG] รูปคือตัวหนังสือ [​IMG] จักษุวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG]สัญญาจำ เข้าใจถึงความหมาย [​IMG] เกิดเวทนา ความรู้สึก รับรู้ตามความหมายที่เห็นนั้น จึงเกิดทุกขเวทนา [​IMG] สัญญาหมายรู้ คิด สรุปรู้ข้อมูลทั้งหมดที่อ่าน [​IMG]มโนวิญญาณหรือสัญเจตนา[​IMG] จึงเกิดสังขารขันธ์ เช่น จิตตสังขาร(ทางใจ) - จิตหดหู่ หรือ จิตคิดวนเวียนปรุงแต่งสืบต่อไป จึงวนเวียนอยู่ในกองทุกข์นั่นเอง (คืออาการที่เกิดวนเวียนเป็นวงจรในองค์ธรรมชรา[​IMG]ในปฏิจจสมุปบาท ที่ขันธ์ทั้ง ๕ ที่เกิดขึ้นวนเวียนต่อมานั้น ล้วนประกอบด้วยอุปาทาน จึงเป็นทุกข์อุปาทานอันร้อนแรงยิ่ง)
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ตัวอย่างดังข้างต้นนี้ จึงแสดงสังขารของการอ่านหนังสือออก อันเป็นสังขารที่เป็นไปในลักษณาการของมหาสติ เมื่อเห็นคือกระทบแล้วย่อมเกิดกระบวนธรรมต่างๆดังข้างต้น โดยไม่ต้องเจตนา เป็นไปโดยสภาวธรรมดังมหาสตินั่นเอง ที่ย่อมต้องเข้าใจในตัวหนังสือนั้นเป็นธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ส่วนในตอนท้ายคือสังขารขันธ์นั้นก็แสดงอาการดั่งมหาสติอีกอย่างหนึ่ง แต่เป็นฝ่ายให้เกิดทุกข์อย่างยิ่งยวด คือ จิตสังขารที่มีอาการฟุ้งซ่าน คิดนึกปรุงแต่ง คิดวนเวียนในทุกข์ ด้วยเป็นความสั่งสมเคยชินด้วยอวิชชา จึงสั่งสมมาแต่ช้านาน แต่อ้อนแต่ออก นานจนไม่รู้ว่าสักกี่ภพ กี่ชาติมาแล้ว จึงหยุดการคิดวนเวียนปรุงแต่งคือหยุดฟุ้งซ่านไม่ได้ ด้วยเป็นสังขารที่สั่งสมมาช้านานด้วยอวิชชา จึงเกิดทุกขเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทานกระทบอยู่ตลอดเวลาราวกับเป็นชิ้นเป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งๆที่ทุกขเวทนานั้นเกิดขึ้นในสภาวะเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับๆๆ....จากการคิดปรุงหรือฟุ้งซ่านไม่หยุดหย่อนราวกับต่อเนื่องกันไป โดยไม่รู้ตัว ทั้งควบคุมไม่ได้เพราะทั้งไม่เคยรู้ทั้งไม่เคยฝึกฝนปฏิบัตินั่นเอง จนยิ่งเร่าร้อนยิ่งขึ้นไป ทั้งยาวนานยิ่ง

    ลองโยนิโสมนสิการในการขี่จักรยาน การว่ายนํ้า บุคลิกต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นสังขารที่ได้สั่งสม อบรม ประพฤติ ปฏิบัติมาแต่อดีตทั้งสิ้น จึงเป็นไปดังเช่นเดียวกับสังขารในปฏิจจสมุปบาทเพียงแต่มิได้เป็นสังขารที่เกิดจากอวิชชาอัน นำพาให้เกิดทุกข์ เป็นเพียงสังขารทางโลกอย่างหนึ่ง หรือก็คือขันธ์ ๕ ธรรมดาๆที่ฝึกฝนมาแล้วอย่างลงตัวคือชำนาญยิ่งและใช้ในการดำเนินขันธ์หรือ ชีวิตอันมิได้ก่อทุกข์โทษภัย และบางอย่างก็จำเป็นยิ่งในการดำรงขันธ์หรือชีวิต โยนิโสมนสิการดูความยิ่งใหญ่ของสภาวธรรมหรือธรรมชาติ(คล้ายดั่งสังขารในปฏิจจสมุปบาท)นี้ ที่เมื่อเกิดขึ้นลงตัวได้แล้ว จดจำได้ไม่สามารถลบเลือนไปได้จนกว่าแตกดับไป และสามารถกระทำเองได้โดยแทบไม่ต้องเจตนา(สัญเจตนา)ทั้งๆที่แท้จริงแล้วมีเจตนา หรือเรียกได้ว่ากระทำไปเองโดยอัติโนมัตินั่นเองกล่าวคือมันเกิดมันทำของมันเอง ดั่งเช่น ถ้าฝึกฝนสั่งสมจนว่ายนํ้าเป็นอย่างลงตัวแล้ว แม้ไม่ได้ว่ายมา ๒๐ ปี แต่เมื่อตกนํ้าก็สามารถทำได้เองในทันทีโดยอัติโนมัติ, การขี่จักรยาน การอ่านหนังสือ การพูด บุคคลิกท่าทาง ฯลฯ. เราต้องการสังขารในลักษณะเยี่ยงนี้ไปในการดับไปแห่งทุกข์เช่นกัน ที่เรียกกันภาษาธรรมทั่วๆไปได้ว่า มหาสติ นั่นเอง กล่าวคือ ต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วย และอย่างเป็นมหาสติ กล่าวคือถ้าไม่ถูกต้องก็ย่อมกลายเป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สำหรับนักปฏิบัติ มีสังขารอีกอย่างหนึ่งที่เป็นอาการของมหาสติ แต่เป็นฝ่ายก่อให้เกิดทุกข์ในภายหน้า จึงไม่จัดว่าเป็นมหาสติ คืออาการของ จิตส่งในหรือจิตส่องใน ไปในกายหรือจิต เป็นอาการของมหาสติฝ่ายก่อให้เกิดทุกข์อย่างยิ่งยวดอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากการติดเพลินหรือติดสุขในฌานหรือสมาธิ จึงกระทำอยู่เสมอๆทั้งโดยรู้ตัวและโดยไม่รู้ตัว จึงควบคุมบังคับไม่ให้ไม่ทำไม่ได้ เหตุเกิดขึ้นเพราะความสงบความสุขที่เกิดขึ้นแต่สมาธิหรือองค์ฌานต่างๆเป็นเครื่องล่อลวงให้เข้าไปติดเพลิน มักขาดการเจริญวิปัสสนา จึงไปติดเพลินโดยไม่รู้ตัว จึงถวิลหาสังขารของสมาธิหรือฌานอยู่เสมอๆแม้ในวิถีจิตปกติธรรมดา โดยอาการจิตส่งในไปสังเกตุกายหรือจิตเพื่อเสพรส ในที่สุดกายและจิตย่อมแปรปรวนเป็นทุกข์ด้วยวิปัสสนูปกิเลส อันเกิดขึ้นเพราะเหตุที่ว่าสังขารของสมาธิและฌานก็ไม่เที่ยงด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง จิตส่งในจึงเป็นสังขารที่ควรรีบแก้ไขอย่างยิ่งยวด ก่อนที่จะเป็นสังขารดังมหาสติอย่างผิดๆอย่างยิ่งยวด ด้วยเหตุดั่งนี้นี่เอง จึงจัดรูปราคะและอรูปราคะอันเกิดแต่มิจฉาฌานสมาธิเพราะติดเพลินหรือนันทิเป็นหนึ่งในสังโยชน์ขั้นละเอียด ที่ละได้ยากยิ่งนัก

    สติรู้เท่ารู้ทันกาย เวทนา จิต ธรรม เรียกว่า
    มหาสติ เป็นไปเพื่อการดับทุกข์

    สติรู้เท่าทันในหน้าที่การงาน เรียกว่า สั่งสมจนเชี่ยวชาญชำนาญยิ่ง เป็นไปเพื่อประโยชน์ทางโลกๆ

    สติ
    รู้ในกิเลสที่ผุดขึ้นมา(อาสวะกิเลส)และประกอบด้วยอวิชชา คือสังขารกิเลส ในองค์ธรรมสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง ล้วนเป็นไปเพื่อทุกข์อันเร่าร้อน

    ธรรมทั่วๆ ไปได้ว่า
    มหาสติ นั่นเอง กล่าวคือ ต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วย และอย่างเป็นมหาสติ กล่าวคือถ้าไม่ถูกต้องก็ย่อมกลายเป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง
     
  10. A-ya

    A-ya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    685
    ค่าพลัง:
    +2,549
    พี่นุ๊ก ขอบคุณที่นำเรื่องพระนางจามเทวี มาแบ่งปันคะ นู๋กำลังสนใจเรื่องท่านอยู่พอดีเลย โชคดีจังมีให้อ่านที่ห้องนี้ :cool:
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ด้วยความยินดีนักเจ้าาาาา...:cool:
     
  12. A-ya

    A-ya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    685
    ค่าพลัง:
    +2,549
    ยังตามอ่านความรู้ไม่ครบเลย จะแวะเข้ามาหาความรู้เรื่อยๆ นะเจ้า

     
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เจ้า...เข้ามาอ่านได้เรื่อยๆ ค่ะ จะโพสท์ทิ้งๆ ไว้ให้ตามนะคะ
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อาหารของผู้บรรลุธรรมชั้นสูง ; พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td background="source/plugin/drc_tbg/image/td_05.gif">ตลอด ระยะเวลาเดือนกว่าที่ถ้ำผาบึ้ง หลวงปู่ได้ปฏิบัติฝึกฌานสมาบัติ หรือฌานสมาธิ ปฐมมรรรค ทุติยมรรค ตติยมรรค และจตุตถมรรค จนได้พระนิพพานเป็นอารมณ์ได้อย่างถาวร สามารถระงับดับสังขารทั้งหลาย จนหมดทั้งเหตุ หมดทั้งปัจจัย รวมเรียกว่า ปสโมสุโข คือ ดับไปโดยไม่มีส่วนเหลือ “ธรรมสากัจฉา” ในความเป็นพระอรหันต์

    ออกจากถ้ำผาบึ้ง ก็ถึงเขตสกลนคร อำเภอวาริชภูมิ หลวงปู่ดูลย์ ท่านได้พบกับพระปรมาจารย์มั่นที่นี่ ในต้นปี 2466 และในครั้งนี้ ไม่มีการกราบเรียนผลการปฏิบัติหรือแนะนำแนวทางปฏิบัติต่อไปอันใดอีก

    นั้นเป็นเพราะท่านปรมาจารย์ทราบด้วยญาณทัศนะแห่งตนว่า “ณ บัดนี้เป็นต้นไป ท่านดูลย์คือพระอรหันต์องค์ต่อจากท่าน” รวมการเจริญอายุครองเพศแห่งร่มผ้ากาสาวพัสตร์ได้ 14 พรรษากว่า” ในบัดนี้ หลวงปู่ดูลย์ท่านถือว่าเป็นเพียงการเริ่มต้นเดินทางบนสายธารแห่งความเป็นพระ อรหันต์เท่านั้น

    ด้วยเหตุนี้ การพบปะกันในครั้งนี้ของพระอรหันต์ 2 ท่านจึงมีแต่การสนทนาธรรม หรือการกระทำธรรมสากัจฉาในเรื่องทางจิตวิญญาณล้วนๆ ซึ่งพอนำสรุปได้ดังนี้

    “หลักของความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ของความเป็นพระอรหันต์ คือ มีพรหมวิหารธรรม 4 เป็นธรรมประจำใจในการครองชีวิต และปฏิบัติต่อเพื่อนสัตว์โลกทั้งหลาย

    มีเมตตา เจริญธรรมข้อนี้ในเวลาปกติได้ทุกๆ ขณะจิตโดยตั้งเจตนาไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งหลายจงอย่าได้มีเวรแก่กันและกัน จงอย่าได้มีความลำบากกายและใจ จงมีความสุขรักษาตนให้พ้นภัยยิ่งๆ ขึ้นไป เป็นไปเพื่อละความพยาบาท

    กรุณา เจริญเมื่อได้รู้ได้เห็นว่าเพื่อนสัตว์โลกได้รับความทุกข์ร้อน ต้องช่วยเหลือกัน ไม่เห็นแก่ตัว หรือหนีเอาตัวรอดเพียงคนเดียว เป็นไปเพื่อละวิหิงสา

    มุทิตา เจริญเมื่อทราบว่าผู้นั้นได้รับความสุข ความเจริญหรือความสำเร็จ เป็นไปเพื่อละความริษยาให้คงทน

    และอุเบกขา เจริญเมื่อความทุกข์ความวิบัติได้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นแต่สุดวิสัยที่จะช่วย ได้ ต้องเจริญอุเบกขา คือวางใจให้เป็นกลาง ปรารภว่าสัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เขาทำกรรมเช่นนั้นมาก็ต้องได้รับกรรมเช่นนั้น ซึ่งเป็นการรักษาอาการละความทุกข์ ความฟุ้งซ่าน ละความหงุดหงิดให้อยู่ยืนนาน

    ขณะเดียวกันต้องห่างไกลจากโลกธรรม 8 อยู่ทุกขณะจิต มีลาภ – อลาภ – ยศ – อยศ – นินทา – สรรเสริญ – สุข - ทุกข์

    และปัจจัย 4 คือเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยาและอุปกรณ์รักษาโรค ล้วนแล้วแต่เป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งที่แตกดับได้ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ มีความแปรปรวนเป็นสาระ จึงไม่โลภอยากได้และหลงใหลหลุ่มหลงหมกหมุ่นมัวเมาเคลิ้มลำพอง ไปตามบารมีอำนาจ ยศ ฐาน บรรดาศักดิ์และความมั่งคั่งที่ปรารถนาให้มีอยู่ และจิตไม่น้อยเนื้อต่ำใจ ไม่โทษฟ้าโทษดิน ก้าวพ้นจากความเศร้าโศกร่ำไร ดับความทุกข์ มีแต่ความกระปรี้กระเปร่า ชื่นบาน สงบกาย สบายใจ”

    นอกจากพรหมวิหาร 4 แล้วปฏิปทาของหลวงปู่ดูลย์ ก็ยังมีคือ มากด้วยขันติ โสรัจจะ อดทน สงบเสงี่ยม เยือกเย็น ไม่แสดงกริยาอันเคลื่อนคลายจากสมณสารูปมาโดยตลอด


    [​IMG] ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
    • พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล). พลังเหนือโลก ฉบับที่ 31 ปีที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2528: สุภักดิ์ ตลับทอง เรียบเรียง. หน้า 21-22.






    </td><td background="source/plugin/drc_tbg/image/td_06.gif" valign="top" width="40">
    </td></tr></tbody></table>
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    แก่นธรรม ...โดย หลวงปู่ทอง

    แก่นธรรมคืออะไร ใน ธรรมะปริเฉทที่ ๒ ท่านก็ได้กล่าวถึงสาระธรรม หรือธรรมขันธ์ ๕ อย่าง คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ คือ มีญาณที่รู้ถึงวิมุตติธรรม

    ๑. ศีลขันธ์ คือ ศีลสาระ ศีลที่เรารักษา
    ๒. สมาธิขันธ์ คือ สมาธิสาระ คือสมาธิที่เราทำกัน
    ๓. ปัญญาขันธ์ คือ เจริญวิปัสสนาปัญญา
    ๔. วิมุตติขันธ์ คือ วิมุตติสาระ คือการหลุดพ้น
    ๕. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ คือ วิมุตติญาณทัสสนะสาระ คือ ญาณที่เราเห็นเป็นขั้นตอนไป

    เมื่อเราจับสติปัฏฐาน ๔ แล้วญาณนั้นจะเกิดขึ้นมา และจะเข้าถึงมรรคญาณ

    ศีล มี ๒ อย่าง คือ ศีลโลกีย์ ศีลโลกุตระ ศีลโลกีย์คือ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ที่เรารักษากันอยู่นี้ เมื่อเราปฏิบัติเป็นศีลในองค์มรรคแล้ว เมื่อเข้าถึงมรรคจิตจะเป็นศีลในโลกุตระ

    สมาธิเมื่อเราปฏิบัติเป็นสมาธิในองค์มรรคแล้ว เมื่อเข้าถึงมรรคจิตจะเป็นสมาธิในโลกุตระ

    ปัญญาวิปัสสนา ปัญญา ที่เราได้เห็น ได้ฟัง ได้คิดเป็นโลกีย์ปัญญาเมื่อเราจับสติปัฏฐาน ๔ ญาณต่างๆก็เกิดขึ้นมาตั้งแต่ นามรูปปริเฉทญาณไปจนถึง สังขารุเปกญาณ อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ มรรคญาณ เมื่อมรรคญาณเกิดขึ้นเมื่อใดนั่นแหละญาณทัสสนวิมุตติ มันหลุดพ้นเป็นขั้นตอนตัดสัญโญชน์ ๓ ตัวแรกหมดได้ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สกิทาคามีตัด ๓ ตัว และราคะ โทสะ โมหะให้น้อยลง อนาคามีตัดได้อีก ๒ ตัวคือ กามราคะ ปฏิฆะ ต่อไปเป็นอรหันต์ตัดได้อีก ๕ ตัว รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ก็หลุดไป เป็นวิมุตติญาณทัสสนะสาระ คือเราจะเห็นความหลุดพ้นแห่งจิต.

    พระพุทธคุณ

    เรา ตื่นขึ้นมาเราต้องนึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแทนที่จะนึกถึงเรื่องอื่น ให้คิดถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่มีแก่เราแก่โลก พระธรรมคือคำสอนของพระองค์ พระสงฆ์เป็นผู้แนะนำหนทางที่ถูกต้องแก่เรา

    [​IMG]
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่ ๓ อย่าง

    ๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ รู้หมดเลยพระองค์ทรงใช้ พระสัพพัญญุตญาณ สิ่งที่ไม่รู้ไม่มีในโลก เพราะท่านสร้างบารมีมากท่านสามารถสอนคนอื่นทำตามท่านได้

    ๒. ปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า คือสามารถตรัสรู้เองได้ แต่ไม่สามารถสอนคนอื่นให้รู้ธรรมตามท่านได้

    ๓. อนุพุทธะ คือ ตรัสรู้ตามพระพุทธองค์ได้ คือ หมู่พวกเราที่เป็นภิกษุ

    การข้องอยู่ในอารมณ์ ๕ อย่าง

    การที่จะหลุดพ้นได้จงอย่าไปข้องในอารมณ์ คืออารมณ์นั้นมีอยู่ ๕ อย่าง

    ๑. กามารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ให้สักแต่ว่าเท่านั้นให้มีสติ เวลาได้เห็น เห็นหนอ เวลาได้ยิน ได้ยินหนอ เวลาได้กลิ่น กลิ่นหนอ เวลาสัมผัส ก็ถูกหนอ เวลาคิดก็คิดหนอ ถ้ากำหนดอย่างนี้จิตจะไม่ติดอยู่ในกามารมณ์ เหมือนกับใบบัวกับน้ำนั้นจะไม่ติดในใบบัวฉันใด เราอยู่กับโลกนี้ ถ้าเรามีสติแล้วเราก็จะไม่ติดในโลก

    ๒. อย่าติดในรูป จะเป็นลักษณะใดก็ตามอย่าไปยินดียินร้าย ให้รู้ว่าเป็นรูปเท่านั้นเอง

    ๓. อย่าติดในกาย ก็อยู่ในรูปนั่นเองมันเป็นลักษณะหนึ่ง อย่าติดในกายของตน อย่าติดในกายของสัตว์ทั้งหลาย

    ๔. อย่าติดอยู่ในการนอน การนอนนั้นต้องมีสติอยู่ด้วยอย่าติดข้องในการนอน

    ๕. อย่าติดในเมถุน คืออย่าติดอยู่ในการอยากอยู่ในเทพชั้นนั้นชั้นนี้ พรหมชั้นนั้นชั้นนี้ จิตของเราถ้าติดอยู่ที่ใดก็จะไปเกิดที่นั้นเลย อย่างนางปฏิปูชิตานี้บูชาผัวตัวเอง นางนี้ได้ไปเก็บดอกในสวน นันทวรรณ กับสามีตัวเองที่เป็นเทพบุตร พอดีนางหมดบุญก็จุติมาเป็นมนุษย์ ก็ได้แต่งงานมีลูก ๔ คน แต่นางได้มีญาณรู้ว่าตัวเองมาจากเทวโลก นางก็ได้นึกถึงสามีตัวเองที่เป็นเทพบุตรอยู่เสมอ พอนางตายจิตของนางข้องอยู่ที่สวน นันทวรรณ กับสามีผู้เป็นเทพบุตร นางก็ไปเกิดในสวนนั้น ภิกษุทั้งหลายก็ทูลถามพระพุทธองค์ว่า การที่จิตไปเกี่ยวนี้ เป็นอันตรายมากต่อการหลุดพ้น พระพุทธองค์ก็ตรัสว่า ก็เป็นความจริงภิกษุทั้งหลาย จากนั้นพระพุทธองค์ก็ทรงยกตัวอย่าง นางปฏิปูชิตา ฉะนั้นอย่าให้ไปข้องในอารมณ์ให้สักแต่ว่า ให้มีสติ ต้องมีสติกำหนดตลอดให้เอาสติไปตั้งที่กาย ที่เวทนา ที่จิต ที่ธรรม แล้วจิตนี่ก็จะไม่ติดข้องกับสิ่งใดทั้งหมดในโลกนี้ แล้วก็จะหลุดพ้นไปได้ง่าย

    "ฉะนั้นเรื่องสำคัญ เมื่อมีอารมณ์อันใดเกิดขึ้นมาแล้วก็ให้มีสติสัมปชัญญะ จะทำให้จิตบริสุทธิ์ ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ และจะหลุดพ้นอย่างง่ายดาย"
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สิ่งที่ประเสริฐ ๓ อย่าง

    พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญสิ่งที่ประเสริฐในโลกนี้มี ๓ อย่าง สิ่งที่ประเสริฐ ๓ อย่างที่นักปฏิบัติควรทราบไว้ คือ

    ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันประเสริฐได้แก่เราได้เห็น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แม้ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าด้วยตา แต่เห็นด้วยพระธรรม เราศึกษาในพระธรรม ในพระวินัยก็ได้ชื่อว่าเราเห็น แม้จะเป็นการเห็นในส่วนปริยัติก็ถือว่าเป็นการเห็นอันประเสริฐ "แต่ การเห็นอันประเสริฐยิ่ง การเห็นอันยิ่ง ไม่มีการเห็นอันใดจะเสมอเหมือน คือ การปฏิบัติอย่างประเสริฐ คือ เราปฏิบัติสติปัฏฐานทั้ง ๔ แล้วญาณต่างๆก็เกิดขึ้น เมื่อมรรคญาณเกิดขึ้นแล้วสัญโญชน์ ๓ ตัวหายไป เป็นการเห็นธรรมอันประเสริฐ" การเห็นก็มี การพบเห็น การคิดเห็น รู้เห็น การพบเห็นก็คือ เราเกิดมาได้พบ พระธรรม พระวินัย การคิดเห็นก็คือ การที่เราคิด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา การที่เราได้รู้เห็นคือการที่เราได้ปฏิบัติ การปฏิบัติเราให้เราได้รู้ถึงญาณต่างๆ เช่น นามรูปปริเฉทญาณ , ปัจจยปริคคหญาณ , สัมมสนญาณ อุทยัพยญาณ , ภังคญาณ , ภยญาณ อาทีนวญาณ , นิพพิทาญาณ , มุญจิตุกัมมยตาญาณ , ปฏิสังขารญาณ , สังขารุเปกขาญาณเรียกว่าเห็นโดยรู้เห็น ไม่ใช้การคิดเห็น เวลาปฏิบัติเราจะรู้เห็นว่า สภาวะธรรมเกิดขึ้นแล้ว นี่เรียกว่า ทัสสนานุตตริยะ

    ปฏิปทานุตตริยะ คือ การปฏิบัติอย่างประเสริฐ เราจะปฏิบัติอย่างไร ก็คือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในแนวสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรมเป็นการปฏิบัติอันถูกต้อง เราเอาสติไปตั้งที่กาย ที่เวทนา ที่จิต ที่ธรรม เมื่อเราตั้งในสัมมาสติแล้ว สัมมาสมาธิก็จะเกิดขึ้นมา เวลาปฏิบัติเราต้องการขณิกสมาธิอย่างเดียวไม่ต้อง ถึงอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ

    วิมุตติ คือ การปฏิบัติอย่างประเสริฐ มี วิกขัมภนวิมุตติ คือเราเห็นอารมณ์อันงาม ถ้าเราเพ่งอสุภ ตัวกามราคะก็จะหายไป ถ้าเรามีโทสะเราเจริญเมตตาตัวโทสะก็จะหายไป ตทังควิมุตติ คือ การกำหนดด้วยอำนาจแห่งญาณ เมื่อกำหนดแล้วอารมณ์นั้นๆก็หายไป และก็จะเป็นสมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วิมุตตานุตตริยะ คือ การหลุดพ้นอันประเสริฐ เวลานี้ตัวราคะ โทสะ โมหะของเรามีมากหรือมีน้อย เราจะพ้นได้ด้วย วิกขัมภนวิมุตติ ตทังควิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ ตัวราคะ โทสะ โมหะจะค่อยๆลดลง การที่ภิกษุสามเณรอยู่ได้เพราะราคะ โทสะ โมหะสงบ นี้วิมุตติ แต่ไม่ถึงกับบรรลุธรรม แต่ต่อไปเมื่อปฏิบัติไป ปฏิบัติไปตัดสัญโญชน์ ๓ ตัว สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และยังโลภะ โทสะ โมหะให้เบาลง และยังกิเลสตัวอื่นให้เบาลง

    การที่เราปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ นี้เป็นการปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น เป็นการปฏิบัติอันประเสริฐแล้วขอให้เรารู้จักคุณค่า อะไรๆก็ปฏิบัติ การปฏิบัติมันดีอย่างไร "การปฏิบัติเป็นของประเสริฐ เมื่อปฏิบัติอะไรในโลกนี้ที่ยิ่งไปกว่าการปฏิบัติธรรมไม่มี" ผู้ใดไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ผู้นั้นแหละเป็นผู้ประเสริฐ จริงอยู่ทุกคนทุกองค์ยังมีกิเลส แต่ถ้าปฏิบัติเอาสติไปตั้งในกาย เวทนา จิต ธรรม แล้วกำหนดพอมีสติไปกำหนดกิเลสก็ไม่เกิด นี่แหละคือผู้ประเสริฐ ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า.
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การลอยอังคาร จำเป็นไหมที่เราต้องไปลอย !!!

    เจริญพร
    คนเราประกอบด้วย ธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ และลม เมื่อตายแล้ว ธาตุ 4 ก็แตก กลายไปสู่สภาพเดิม

    แปลกมั้ยทำไมต้องลอยอังคาร (ลอยจันทร์ พุธ ศุกร์ แบบนี้ไม่ได้หรอ)
    วันนี้วันเสาร์ ลอยเสาร์ ไม่ได้หรือ ไม่ต้องรอให้ถึงอังคาร
    คำว่า “อังคาร” นั้น หมายถึง เถ้าถ่านของศพ ที่เผาแล้ว
    แต่มักเข้าใจกันว่าหมายถึงอัฐิหรือกระดูกของคนตายที่เผาแล้ว
    เมื่อทำพิธีเก็บอัฐิและทำบุญเสร็จแล้วนิยมรวบรวมอังคารห่อด้วยผ้าขาว
    นำไปทิ้งแม่น้ำหรือทะเลตอนที่มีร่องน้ำลึก

    การลอยอังคาร เป็นการสลายธาตุ กลับคืนสู่สภาพเดิมตามธรรมชาติ
    โดยนำส่วนที่เหลือจากการเผา ไปคืนสู่ธรรมชาติ
    โดยนิยมนำกระดูกส่วนหนึ่งเป็นเก็บไว้เพื่อการบูชาของลูกหลาน
    ส่วนหนึ่งนำไปฝังสู่ดิน ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นเถ้าถ่าน ก็นำไปลอยน้ำเพื่อคืนสู่น้ำ
    เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการละวางทั้งปวง ร่างกาย สังขาร ทั้งหลาย
    เมื่อแตกดับ กลับคือสู่ธาตุต่างๆที่มาประชุมกัน เหลือเพียงผงธุลี ฝากไว้ในอากาศ ในดิน ในน้ำ

    สรุปว่า.....
    การลอยอังคาร เป็นการนำเถ้าถ่านไปคืนสู่ธาตุต่างๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการละวาง
    ความเป็นตัวเป็นตน ควรมีการกระทำสืบต่อ นอกจากเป็นการรักษาประเพณีอันดี
    ยังเป็นกุศโลบายในการสอนคนเป็นให้ดำเนินชีวิตด้วยจิตที่ไม่ประมาท

    เจริญพร
    --------------พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต หลวงพี่มาแล้ว
     
  20. คะรุทา

    คะรุทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,243
    ค่าพลัง:
    +3,477
    อะจ๊ากกก..คุณ nouk ขา...
    จะบอกว่า หนูนั่งสมาธิเมื่อกี๊นี้เลย 23.30
    จู่ๆก็รู้สึกว่า ได้ยิน (แค่รู้สึก) อิอิ..
    คำว่า อะยัง กาโย มาแบบแว่วๆไกลๆๆ
    หลังจากถอนสมาธิ จึงมาหาคำตอบ หาความหมายของคำนี้
    โผล่ไป โผล่มา หลายหน้า หลายเวป..มาทะลุตรงนี้เฉยเลย คิก คิก...
    ขอตัวไปพิจารณา กายคตาสติก่อนนะคร๊าาาาาาา:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...