อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    อย่าเพลินจนลืมทานข้าว
    ขอให้ลูกค้าเข้าร้านไม่ได้ว่างเว้นนะครับ
     
  2. kravity

    kravity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,472
    ค่าพลัง:
    +34,745
    ลองโลชั่น ดูไหมครับ ใส่ไว้ในซองซิป ทิ้งไว้สัก 1-2 วันครับ ^^
     
  3. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ก็ลองดูนะ หาแปรงสีฟันของเด็กแบบขนแปรงนิ่มๆที่ยังไม่เคยใช้มาช่วย ค่อยๆปัดเบาๆดูครับ
    หรือตามที่คุณกานต์แนะนำก็ได้ ทดลองดูครับ
     
  4. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129

    สวัสดีครับน้องกานต์ พรุ่งนี้ เปิดเทอมกันนิ วันนี้เข้าเมืองเชียงใหม่ เห็นร้านขาุยชุดนักเรียน รองเท้า แน่นเลย


    จะลองดูครับผม
    :cool::cool:
     
  5. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129

    กราบหลวงปู่บัว

    ชื่อเสียงท่านไม่ธรรมดาครับ

    ผมว่า หลวงปู่ทิม เราอยู่ในที่ของเราดีกว่าครับ คุณเหน่ง คนศรัทธาท่านเป็นแสนเป็นหมื่นเป็นล้านๆ คน เราจะมาออกความเห็นกัน แค่ไม่ถึงสิบ ยี่สิบ เสียเวลาปล่าวๆ เด่วเค้าจะหาว่า อวดรู้อีก ส่วนผมนิ่งๆ ดีกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2014
  6. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129
    [​IMG] [​IMG]
     
  7. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    ถ้าเราไม่ได้ทำความผิด 5 อย่าง (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
    ไม่พูดเท็จ และดื่มน้ำเมา) อยู่ที่ไหนเราก็มีศีล อยู่ในป่าในดงก็มีศีล
    อยู่ในรถในราก็มีศีล ให้เข้าใจศีลตรงนี้ ที่คอยจะรับจากพระนั้นไม่ใช่

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ถือกำเนิดในสกุล สุวรรณรงค์ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีกุล
    ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2442 ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม
    จังหวัดสกลนคร บิดาของท่านคือ เจ้าไชยกุมาร (เม้า) ซึ่งเป็นหลานของพระเสนาณรงค์
    เจ้าเมืองพรรณานิคม มารดาชื่อ นุ้ย เป็นบุตรีของ หลวงประชานุรักษ์ จะเห็นได้ว่า
    เชื้อสายของท่านเป็นขุนนางทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา เป็นเชื้อสายขุนนางเก่าแก่ของหมู่ชน
    ที่เรียกว่า ผู้ไทย ซึ่งอพยพมาจากประเทศลาวในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระอาจารย์ฝั้น เคยเล่าว่า บรรพบุรุษของท่านได้ข้ามมาแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเป็นครอบครัว
    ใหญ่เรียกว่าไทยวัง หรือไทยเมืองวัง (ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งอยู่ในเขตมหาชัยของประเทศลาว)

    บิดาของท่านพระอาจารย์เป็นคนที่มีความเมตตาอารี ใจคอกว้างขวางเยือกเย็น เป็นที่นับหน้า
    ถือตา จึงได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านม่วงไข่ ต่อมาบิดาของท่านได้อพยพพร้อมกับครอบครัวอื่นๆ
    อีกหลายครอบครัว ไปตั้งหมู่บ้านใหม่ในที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม เพราะเป็นพื้นที่ที่มีลำห้วยอูน
    ผ่านทางทิศใต้ และลำห้วยปลาหางอยู่ทางทิศเหนือ เหมาะแก่การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์
    และเลี้ยงไหม ตั้งชื่อว่าบ้านบะทอง โดยมีบิดาของท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อไป

    เมื่อครั้งยังอยู่ในวัยเยาว์ พระอาจารย์มีความประพฤติเรียบร้อย นิสัยใจคอเยือกเย็น
    อ่อนโยน โอบอ้อมอารีกว้างขวาง เช่นเดียวกับบิดาของท่าน ทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร
    อดทนต่ออุปสรรคหนักเอาเบาสู้ ช่วยเหลือกิจการงานของบิดามารดา และญาติพี่น้อง
    โดยไม่เห็นแก่ความลำบากยากเย็นใดๆ ทั้งสิ้น

    ด้านการศึกษา พระอาจารย์ฝั้นได้เริ่มเรียนหนังสือที่วัดบ้านม่วงไข่ (วัดโพธิ์ชัย) สอนโดย
    ครูหุน ทองคำ และครูตัน วุฒิสาร ตามลำดับ พระอาจารย์เมื่อครั้งนั้นเป็นผู้มีความขยัน
    หมั่นเพียรในการศึกษาเป็นอันมาก สามารถเขียนอ่านได้รวดเร็วกว่าเด็กอื่นๆ ถึงขนาด
    ได้รับความไว้วางใจจากครูให้สอนเด็กคนอื่นๆ แทน ในขณะที่ครูมีกิจจำเป็น

    พระอาจารย์ฝั้นเคยคิดจะเข้ารับราชการจึงได้ตามไปอยู่กับนายเขียน อุปพงศ์ ผู้เป็นพี่เขย
    ซึ่งเป็นปลัดเมืองฝ่ายขวา ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อไปชั้นสูงขึ้น
    ในช่วงนี้เองท่านได้พิจารณาเห็นความยุ่งเหยิงไม่แน่นอนของชีวิตคฤหัสถ์ ได้เห็นการปราบปราม
    ผู้ร้าย มีการฆ่าฟันกัน มีการประหารชีวิต ครั้งนั้นพี่เขยได้ใช้ให้เอาปิ่นโตไปส่งนักโทษอยู่เสมอ
    ท่านได้เห็นนักโทษหลายคนแม้เคยเป็นใหญ่เป็นโต เช่น พระยาณรงค์ฯ เจ้าเมืองขอนแก่น
    ต้องโทษฐานฆ่าคนตาย นายวีระพงษ์ ปลัดซ้ายก็ถูกจำคุก แม้แต่นายเขียน พี่เขยของท่าน
    เมื่อย้ายไปเป็นปลัดขวาอำเภอกุดป่อง จังหวัดเลย ก็ต้องโทษฐานฆ่าคนตายเช่นกัน
    สภาพของบรรดานักโทษที่ท่านประสบมาทั้งโทษหนักโทษเบา นับได้ว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้
    ท่านรู้จักปลง และประจักษ์ถึงความไม่แน่นอนของชีวิต ท่านได้สติบังเกิดความเบื่อหน่ายในทางโลก
    จึงเลิกคิดที่จะรับราชการและตัดสินใจบวช เพื่อสร้างสมบุญบารมีในทางพุทธศาสนาต่อไป

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    ชีวิตสมณะของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2461 เมื่อท่านอายุได้ 19 ปี
    ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบะทอง อำเภอพรรณานิคม และในปี พ.ศ.2462
    ถัดมา ท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุฝ่ายมหานิกาย ที่วัดสิทธิบังคม ตำบลบ้านไร่ อำเภอพรรณานิคม
    มีพระครูป้อง นนตะเสน เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์นวลและพระอาจารย์สังข์
    เป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากออกพรรษาปีนั้น
    ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบะทอง จึงได้ปฏิบัติธรรม อบรมกัมมัฏฐาน
    ตลอดจนการออกธุดงค์อยู่รุกขมูลกับท่านอาจารย์อาญาครูธรรม

    ปีถัดมา 2463 ท่านได้พบ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งได้เที่ยวธุดงค์มาพร้อมด้วยภิกษุสามเณร
    หลายรูป และพักที่ป่าช้าข้างบ้านม่วงไข่ (ปัจจุบันเป็นวัดภูไทสามัคคี) เมื่อได้ฟังธรรมจาก
    พระอาจารย์มั่น ท่านบังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในสติปัญญาความสามารถของ พระอาจารย์มั่น
    จึงขอมอบตัวเป็นศิษย์พร้อมท่านอาญาครูดี และพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน เนื่องจากทั้งสามท่าน
    ยังไม่พร้อมในเครื่องบริขารจึงยังไม่ได้ธุดงค์ตามอาจารย์มั่นไปในขณะนั้น

    เมื่อทั้งสามท่านได้เตรียมเครื่องบริขารเรียบร้อยแล้ว ประจวบกับได้พบกับ พระอาจารย์ดูลย์
    อตุโล ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่นมาก่อน และกำลังเดินธุดงค์ ติดตามหาพระอาจารย์มั่นเช่นกัน
    พระอาจารย์ฝั้นจึงได้ศึกษาธรรมเรียนวิธีฝึกจิตภาวนาเบื้องต้นจากพระอาจารย์ดูลย์
    จากนั้นทั้งสี่ท่านได้ร่วมกันเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์ดูลย์เป็นผู้นำทาง
    จนได้พบพระอาจารย์มั่นที่บ้านตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน ท่านทั้งสี่ได้ศึกษาธรรมกับ
    พระอาจารย์มั่นที่นั่นเป็นเวลา 3 วัน จากนั้นจึงได้ไปกราบนมัสการพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
    (ผู้ซึ่งได้ร่วมเผยแพร่ธรรมกับพระอาจารย์มั่น) ที่บ้านหนองดินดำ แล้วจึงไปรับการอบรมธรรม
    จากพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ที่บ้านหนองหวายเป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจึงไปที่บ้านตาลเนิ้ง
    และได้ไปรับฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่นเสมอๆ

    เมื่ออาจารย์ฝั้นได้รับการศึกษาอบรมธรรมะจากพระอาจารย์มั่นและได้ฝึกกัมมัฏฐาน
    จนจิตใจมั่นคงแน่วแน่ บำเพ็ญภาวนาได้ตลอดรอดฝั่ง โดยไม่มีอุปสรรคใดๆ มารบกวนได้แล้ว
    ท่านจึงได้ตัดสินใจทำการญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2468
    ที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์รถ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้ไปจำพรรษาแรกกับพระอาจารย์มั่น ที่วัดอรัญวาสี อำเภอท่าบ่อ
    จังหวัดหนองคาย ร่วมกับเพื่อนสหธรรมิกหลายรูป เช่น พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน
    พระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ และพระอาจารย์กว่า สุมโน ออกพรรษาปีนั้นท่านได้เดินธุดงค์
    เลียบไปกับฝั่งแม่น้ำโขงเที่ยวธุดงค์ไปหลายแห่ง วกกลับมายังวัดอรัญวาสี แล้วธุดงค์ติดตาม
    และพบพระอาจารย์มั่นที่บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบัน อำเภอศรีสงคราม)
    ซึ่งท่านได้รับมอบหมายให้จำพรรษาและโปรดญาติโยมที่บ้านดอนแดงคอกช้าง
    อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

    หลังออกพรรษาท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้ร่วมกับหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรมทางจังหวัดอุบลราชธานี
    โดยได้รับเอาโยมมารดาของพระอาจารย์มั่นไปอุบลฯ ด้วย ในปี 2470 นี้ท่านได้จำพรรษาที่
    บ้านบ่อชะเนง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับอาจารย์กู่ เทศนาสั่งสอนญาติโยม
    ที่นั่น พ.ศ.2471 ท่านได้ไปจำพรรษาที่บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
    หลังออกพรรษาท่านได้ไปเผยแพร่ธรรมที่จังหวัดขอนแก่น ได้จำพรรษาที่จังหวัดขอนแก่น
    เป็นเวลา 3 ปี ระหว่างนั้นท่านได้อบรมสั่งสอนชาวบ้านให้เลิกนับถือผีเลิกกลัวผี
    ให้หันมานับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถือศีล 5 และภาวนาพุทโธ ท่านเป็นที่พึ่ง
    และให้ความอบอุ่นแก่ชาวบ้านทั่วไป คนคลอดลูกยาก คนไอไม่หยุด คนถูกผีเข้า
    คนมีมิจฉาทิฏฐิหลอกลวงชาวบ้าน ท่านช่วยเหลือแก้ไขด้วยอุบายธรรมะได้หมดสิ้น
    ตัวท่านเองบางครั้งก็อาพาธเช่น ระหว่างที่จำพรรษาบนภูระงำ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
    ท่านปวดตามเนื้อตามตัวอย่างมาก ท่านก็ใช้ธรรมโอสถ โดยนั่งภาวนาในอิริยาบทเดียว
    ตั้งแต่ทุ่มเศษจนกระทั่ง 9 โมงเช้า ทำให้อาการอาพาธหายไปหมด พ้นจากการทุกข์ทรมาน
    และทำให้ท่านก้าวหน้าในทางธรรมเพิ่มขึ้นด้วย

    ระหว่างปี พ.ศ.2475-2486 พรรษาที่ 8-19 ท่านได้จำพรรษาที่จังหวัดนครราชสีมาโดยตลอด
    แต่ในระหว่างนอกพรรษาท่านจะท่องเที่ยวไปเพื่อเผยแพร่ธรรมและตัวท่านเองก็ได้ศึกษา
    และปฏิบัติธรรมด้วย เช่น ก่อนเข้าพรรษาปี 2475 ท่านพระอาจารย์ฝั้น พร้อมด้วย
    พระอาจารย์สิงห์และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อเยี่ยมอาการป่วย
    ของเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) โดยพักที่วัดบรมนิวาสเป็นเวลา 3 เดือน
    เมื่อออกพรรษาปี พ.ศ.2477 ท่านได้เดินธุดงค์ไปในดงพญาเย็น ท่านได้พบเสือนอนหันหลังให้
    ในระยะที่ใกล้มาก ท่านสำรวมสติเดินเข้าไปใกล้ๆ มัน แล้วร้องถามว่า "เสือหรือนี่?"
    เจ้าเสือผงกหัวหันมาตามเสียงแล้วเผ่นหายเข้าป่าไป เมื่อเดือน 3 พ.ศ.2479
    พระอาจารย์ฝั้นพร้อมด้วยพระอาจารย์อ่อน ได้ไปนมัสการพระอาจารย์มั่นที่วัดเจดีย์หลวง
    จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อได้อยู่ใกล้ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านจึงได้เร่งความเพียรทั้งกลางวัน
    และกลางคืน เล่ากันว่าท่านทั้งสองต่างสามารถมองเห็นกันทางสมาธิได้โดยตลอด
    ทั้งๆ ที่กุฏิห่างกันเป็นระยะทางเกือบ 500 เมตร

    ออกพรรษาปี พ.ศ.2486 พระอาจารย์ฝั้นได้ออกธุดงค์จากวัดป่าศรัทธาราม อำเภอเมือง
    จังหวัดนครราชสีมา ไปพักวิเวกภาวนาตามป่าเขาที่เห็นว่าสงบเงียบพอเจริญกัมมัฏฐานได้
    และขณะเดียวกันก็สั่งสอนธรรมะช่วยเหลือชาวบ้านที่มีความทุกข์ยาก และพาชาวบ้าน
    พัฒนาหมู่บ้านและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ท่านธุดงค์ผ่านไปเขาพนมรุ้งต่อไปจังหวัดสุรินทร์
    จนกระทั่งถึงจังหวัดอุบลราชธานี โดยจำพรรษาปี พ.ศ.2487 ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลฯ นี้เอง
    พระอาจารย์ฝั้นมีหน้าที่เข้าถวายธรรมแก่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ซึ่งกำลังอาพาธ
    (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคชรา) และใช้ความรู้ทางด้านสมุนไพรรักษาโรคปอดแก่ท่านอาจารย์มหาปิ่น
    จนกระทั่งออกพรรษาปีนั้น ปรากฏว่าทั้งสมเด็จฯ และพระมหาปิ่นมีอาการดีขึ้น

    ปี พ.ศ.2488-2496 ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้จำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ อำเภอเมือง
    จังหวัดสกลนคร ซึ่งเดิมชื่อวัดป่าธาตุนาเวง เป็นป่าดงดิบอยู่ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตรเศษ
    ท่านได้นำชาวบ้านและนักเรียนพลตำรวจพัฒนาวัดขึ้นจนเป็นหลักฐานมั่นคง ในพรรษา
    ท่านจะสั่งสอนอบรมทั้งศิษย์ภายใน (คือพระเณรและผ้าขาว) และศิษย์ภายนอก
    (คืออุบาสกอุบาสิกา) อย่างเข้มแข็งตามแบบฉบับของท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ทุกวันพระ
    พระเณรต้องฟังเทศน์แล้วฝึกสมาธิและเดินจงกรมตลอดคืน อุบาสกอุบาสิกาบางคนก็ทำตามด้วย
    ช่วงออกพรรษาท่านก็มักจะจาริกไปกิจธุระหรือพักวิเวกตามที่ต่างๆ เช่น บริเวณเทือกเขาภูพาน
    เป็นต้น ช่วงปี พ.ศ.2491 ท่านไปวิเวกที่ภูวัวและได้สร้างพระพุทธรูปบนหน้าผาที่สวยงามมาก
    ออกพรรษาปี พ.ศ.2492 ได้ติดตามพระอาจารย์มั่นถึงวัดสุทธาวาสที่จังหวัดสกลนคร
    และเฝ้าอาการพระอาจารย์มั่นจนถึงแก่มรณภาพ ออกพรรษา ปี พ.ศ.2493-2495
    ท่านได้ไปเผยแพร่ธรรมแถวภาคตะวันออกเช่นที่จันทบุรี บ้านฉาง (จ.ระยอง) และ ฉะเชิงเทรา
    ในระหว่างนั้นก็แวะเผยแพร่ธรรมไปตามที่ต่างๆ ด้วย เช่น ที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    และวัดป่าศรัทธาราม นครราชสีมา เป็นต้น

    ราวกลางพรรษาปี พ.ศ.2496 ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้ปรารถกับศิษย์ทั้งปวงเสมอว่าท่านได้
    นิมิตเห็นถ้ำแห่งหนึ่งทางตะวันตกของเทือกเขาภูพาน เป็นที่อากาศดี สงบและวิเวก
    พอออกพรรษาปีนั้นเมื่อเสร็จกิจธุระต่างๆ แล้ว ท่านได้พาศิษย์หมู่หนึ่งเดินทางไปถึงบ้านคำข่า
    พักอยู่ในดงวัดร้างข้างหมู่บ้าน เมื่อคุ้นกับชาวบ้านแล้วท่านได้ถามถึงถ้ำในนิมิต
    ในที่สุดชาวบ้านได้พาท่านไปพบกับถ้ำขามบนยอดเขายอดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่พอใจของท่านมาก
    เพราะเป็นที่วิเวกจริงๆ ทิวทัศน์สวยงามมองเห็นถึงจังหวัดสกลนคร อากาศดี
    สงัดและภาวนาดีมาก ดัานหลังถ้ำเต็มไปด้วยต้นไม้

    ออกพรรษาปี พ.ศ.2505 ท่านพระอาจารย์ได้ลงไปพักที่วัดป่าอุดมสมพร
    เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศและเพื่อจะได้สั่งสอนอบรมโปรดชาวบ้านพรรณา
    อำเภอพรรณานิคมบ้าง วัดป่าอุดมสมพรนี้เดิมเป็นป่าช้าติดกับแหล่งน้ำชื่อหนองแวง
    ที่บ้านบะทอง ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นบ้านเดิมของท่าน
    ท่านเคยธุดงค์มาพักชั่วคราวเพื่อบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทานแด่บุพการี
    ครั้งเมื่อออกพรรษาปี 2487 พร้อมด้วยพระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ และพระอาญาครูดี
    ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สถานที่แห่งนั้นก็ได้มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษามาโดยตลอด
    จนกระทั่งได้กลายเป็นวัดป่าอุดมสมพร

    ด้วยนิสัยนักพัฒนา ช่วงที่พักที่วัดป่าอุดมสมพร (2505) ท่านพระอาจารย์ได้นำญาติโยม
    พัฒนาเส้นทางจากโรงเรียนบ้านม่วงไข่ไปถึงบ้านหนองโคก ท่านไปประจำอยู่กับงานทำถนน
    ทั้งวันอยู่หลายวันจนอาพาธเป็นไข้สูง และต้องยอมเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสกลนคร
    และเดินทางไปรักษาตัวต่อที่กรุงเทพฯ เมื่ออาการทุเลาแล้วจึงเดินทางกลับสกลนคร
    เนื่องด้วยท่านยังมีความดันเลือดค่อนข้างสูง แพทย์จึงได้ขอร้องให้ท่านงดขึ้นไปจำพรรษา
    บนถ้ำขาม เพราะสมัยนั้นยังต้องเดินขึ้น ดังนั้นท่านจึงจำพรรษาปี 2506 ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์

    ช่วงปี พ.ศ.2507 จนถึงพรรษาสุดท้ายของท่านคือ ปี พ.ศ.2519 ท่านพระอาจารย์ฝั้น
    จำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพรโดยตลอด จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งอายุขัย
    ท่านได้พัฒนาวัดนั้นเป็นการใหญ่ มีการขุดขยายหนองแวงให้กว้างและลึกเป็นสระใหญ่
    สร้างศาลาใหญ่เป็นที่ชุมนุมสำหรับการกุศลต่างๆ สร้างกุฏิ โบสถ์น้ำ พระธาตุเจดีย์
    ถังเก็บน้ำและระบบท่อส่งน้ำ ถึงแม้ว่าท่านจะจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร แต่วัดถ้ำขาม
    และวัดป่าภูธรพิทักษ์ก็ยังอยู่ในความรับผิดชอบและอุปการะของท่าน ท่านยังคงไปๆ มาๆ
    ด้วยความห่วงใยอยู่เสมอ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2519 องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดผ้าพระกฐิน
    ที่วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ และได้ทรงนิมนต์ท่านเข้าไปพักที่วัดบวรนิเวศวิหาร
    เมื่อวันที่ 22 เดือนเดียวกัน อีกชั่วระยะเวลาหนึ่งระหว่างที่พักในวัดบวรฯ ล้นเกล้าฯ
    ทั้งสองพระองค์ยังได้เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนและสนทนาธรรมกับท่านนอกจากนั้นล้นเกล้าฯ
    ทั้งสองพระองค์ยังได้เสด็จไปเยี่ยมเยียนท่านที่วัดป่าอุดมสมพรเป็นการส่วนพระองค์เมื่อวันที่
    14 ตุลาคม พ.ศ.2518 อีกด้วย

    ท่านพระอาจารย์ฝั้นได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2520 ด้วยอาการอันสงบ
     
  8. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129
    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (๔) โดย อ.เล็ก พลูโต

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ พระอาจารย์ฝั้นจำพรรษาที่วัดป่าธาตุนาเวง สกลนคร ได้บูรณะจนดีขึ้น และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดป่าภูธรพิทักษ์" อันเป็นวัดหนึ่งที่พระอาจารย์ฝั้นเป็นเจ้าอาวาสด้วย ท่านได้จำพรรษาต่อมาหลายพรรษา ได้ถือโอกาสไปปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์มั่นตามโอกาส ตามวัดป่าที่พระอาจารย์มั่นไปพำนักอยู่ในละแวกนั้น ในระหว่างพรรษา ปี ๒๔๙๒ พระอาจารย์มั่นได้อาพาธ คณะศิษย์ได้นำท่านมารักษาที่วัดป่าสุทธาวาสในตัวเมืองสกลนคร พระอาจารย์ฝั้นก็ได้ไปคอยดูแลพระอาจารย์มั่นอยู่ด้วย พระอาจารย์มั่นได้มรณภาพในปีนี้เอง และได้ทำการประชุมเพลิงศพพระอาจารย์มั่นเรียบร้อยไปในวันที่ ๓๑ ม.ค. ๒๔๙๓

    หลังจากเสร็จงานศพพระอาจารย์มั่นแล้ว พระอาจารย์ฝั้น ได้เดินทางไปแสวงหาความวิเวกทางจังหวัดนครพนมอีก โดยมีจุดมั่นอยู่บนภูวัว พรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ออกพรรษาแล้วได้เดินทางจากสกลนครมาอุดรธานี แล้วมากรุงเทพฯ อีกครั้ง โดยได้เดินทางต่อไปยังจังหวัดจันทบุรี พร้อมกับพระอาจารย์กงมา โดย พระอาจารย์วิริยังค์ เป็นผู้นิมนต์มาพักที่ วัดดำรงธรรม อ.ขลุง จ.จันทบุรี วัดเขาหนองชิ่ม อ.แหลมสิงห์ และวัดอื่น ๆ อีกหลายวัด เป็นเวลา ๓ เดือนจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยทางเรือ ถึงกรุงเทพฯ แล้วได้พักที่วัดนรนารถฯ เทเวศน์ . วัดอโศการาม สมุทรปราการ พระอาจารย์ลี ได้พาพระอาจารย์ฝั้นไปลพบุรี และนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีด้วย แล้วจึงกลับสกลนคร และนับตั้งแต่นั้นมาพระอาจารย์ฝั้นก็ได้เดินทางมากรุงเทพฯ บ่อยครั้ง

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พระอาจารย์ฝั้นได้ไปสร้างสถานวิเวกไว้ที่ถ้ำเป็ด อ.ส่องดาว ใกล้กับวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมของพระอาจารย์วัน อุตตโม

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้มิมิตเห็นถ้ำอยู่แห่งหนึ่งบนภูพาน พอออกพรรษาท่านก็ได้เดินทางไปหาสถานที่แห่งนั้น และก็ได้พบตามที่ได้นิมิตไว้ สถานที่แห่งนั้นก็คือ "ถ้ำขาม" บนภูพานนั่นเอง พระอาจารย์ฝั้น ได้ขึ้นไปพักบนถ้ำขาม และสร้างเป็น "วัดถ้ำขาม" ในเวลาต่อมา โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นต้นมา ปัจจุบันวัดถ้ำขาม เป็นสถานที่วิเวกอันเพรียบพร้อมไปด้วยทุกสิ่งอย่างท่ามกลางธรรมชาติอันงดงามอย่างยิ่ง

    นับตั้งแต่นั้นมา พระอาจารย์ฝั้น ก็มีภารกิจที่จะต้องดูอยู่ด้วยกัน ๓ วัด คือ วัดป่าอุดมสมพร วัดป่าภูธรพิทักษ์ และวัดถ้ำขาม โดยท่านได้ไป ๆ มา ๆ ทั้ง ๓ วัดนี้เป็นประจำ ได้ปฏิบัติศาสนกิจด้วยความมุ่งมั่น และจริงจัง อบรมศิษย์ด้วยความเอาใจใส่ เมตตาธรรมของท่านนั้นกว้างใหญ่ไพศาล แผ่ถึงทั่วทุกคนที่ไปพบกราบท่าน พระอาจารย์ฝั้น ได้ตรากตรำงานหนักมาตลอดชีวิตของท่าน จึงเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสแก่ผู้เคยพบเห็นท่านเสมอ

    พระอาจารย์ฝั้น ได้สร้างสรรค์ถาวรวัตถุไว้มาก ไม่ใช่เพียงแต่ในด้านศาสนสถานอย่างเดียวเท่านั้น ในด้านสังคมก็ได้ช่วยสร้างไว้มาก อย่างเช่นตึกสงฆ์อาพาธของโรงพยาบาลสกลนคร หรือ โรงพยาบาลพรรณานิคม ที่ได้ใช้ชื่อของท่านเป็นชื่อโรงพยาบาลด้วย ก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี ก็ด้วยบารมีของท่าน

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมทั้งทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าทุกพระองค์ ก็ได้เคยเสด็จฯ ไปนมัสการพระอาจารย์ฝั้นอยู่เสมอ ได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับพระอาจารย์ฝั้นอย่างใกล้ชิด ทรงสนทนาธรรมตรัสถามข้อสงสัยด้วยความสนพระทัยอย่างยิ่ง เมื่อโอกาสใดที่พระอาจารย์ฝั้นเดินทางมากรุงเทพฯ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ก็เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมพระอาจารย์ฝั้นถึงวัดที่พระอาจารย์ฝั้นมาพักทุกครั้ง

    เดือนกันยายน ๒๕๑๙ พระอาจารย์ฝั้น ได้เกิดอาพาธ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดสกลนคร แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงได้นิมนต์ท่านเข้าการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ รักษาอยู่ระยะหนึ่งท่านก็ขอกลับวัดป่าอุดมสมพร สกลนคร อาการบางอย่างก็หายเป็นปกติ แต่ก็ได้มีโรคอื่นแทรกซ้อนมา

    จนกระทั่งเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๑๙ อาการของโรคหัวใจของท่านก็กำเริบ วันที่ ๒๗ ธ.ค. ๒๕๑๙ พระอาจารย์ฝั้นเกิดอาการช็อค ทางคณะแพทย์ได้นิมนต์ให้ท่านเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสกลนคร แต่ท่านไม่ยอมไป คณะแพทย์หลวงได้ทราบข่าว จึงได้ขอนิมนต์ท่านให้เข้ารับการรักษาที่กรุงเทพฯ ท่านก็ไม่ยอมเช่นกัน ยังคงพักรักษาอยู่แต่ที่วัดป่าอุดมสมพรตลอดมา โดยมีคณะแพทย์หมุนเวียนกันไปเฝ้าอาการตลอดเวลา จนกระทั่งถึง วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐ เวลา ๑๙.๕๐ น. พระอาจารย์ฝั้นก็ได้ละขันธ์ธาตุไปด้วยอาการสงบ นับเป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของนักรบแห่งกองทัพธรรม ภาคอีสาน ทิ้งไว้แต่ความดีงามให้ลูกศิษย์ลูกหาได้ระลึกถึงท่านต่อไปอีกนานเท่านาน

    ข่าวมรณภาพของพระอาจารย์ฝั้น ได้แพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว สาธุชนผู้มีความเคารพในตัวท่านได้หลั่งไหลไปคารวะศพท่านที่วัดอย่างเนืองแน่น ต่างอาลัยอาวรณ์ในพระอาจารย์ฝั้นเป็นอย่างมาก เพราะท่านเป็นที่รวมแห่งจิตใจของศิษย์ทุกหมู่เหล่าอย่างแท้จริง

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงทราบข่าวก็ได้เสด็จฯ ไปยังวัดป่าอุดมสมพร เมื่อวันที่ ๕ ม.ค. ๒๕๒๐ ทรงสรงน้ำศพ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน พระราชทานหีบทองทึบประกอบศพด้วย

    ๒๑ มกราคม ๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ มาพระราชทานเพลิงศพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร เป็นกรณีพิเศษโดยส่วนพระองค์

    ประวัติการสร้างวัตถุมงคล

    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้สร้างวัตถุมงคลแจกจ่ายแก่สานุศิษย์ผู้เคารพนับถือครั้งแรก เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๔๙๖ เป็น “พระชัยวัฒน์” เนื้อตะกั่วผสมปรอท สร้างที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ และแจกจ่ายแก่ชาวบ้านธาตุนาเวง จังหวัดสกลนคร มีหลายพิมพ์ นอกจากนั้นยังสร้าง “พระปิดตา” เนื้อตะกั่วผสมปรอท แจกในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๕ – ๒๔๙๘ ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์อีกด้วย

    วัตถุมงคลนอกเหนือจากที่ท่านสร้างเองที่กล่าวไว้นี้ ยังมีอีกมากมายหลายรูปแบบ เช่น พระกลีบบัว เนื้อตะกั่วผสมปรอท สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๘, พระลีลา ๒หน้า เนื้อตะกั่วผสมปรอท สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๙, นางกวัก เนื้อตะกั่วผสมปรอท สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๔๙๘, ล็อคเก็ตรูปถ่ายของท่าน รุ่นต่าง ๆ, พระผงรูปเหมือน รุ่นต่าง ๆ ที่สำคัญและสร้างมากมายถึง ๑๒๐ รุ่น คือ เหรียญรุ่นต่าง ๆ ซึ่งท่านไม่ได้สร้างเอง แต่ลูกศิษย์ลูกหา และผู้เคารพศรัทธาขออนุญาตสร้าง และท่านปลุกเสก หรือ อธิษฐานจิตให้ ล้วนมากด้วยประสบการณ์อภินิหารทุกรุ่น ทุกแบบ ปัจจุบันหาแทบไม่พบตามแผงพระต่าง ๆ ในสนามพระเครื่อง

    เหรียญรุ่นแรก สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ คุณเกษม งามเอก ศิษย์ทหารอากาศ สร้างในงานยกเสาโบสถ์น้ำ วัดป่าอุดมสมพร มีเนื้ออัลปาก้า ๒๑๘ เหรียญ, เนื้อทองคำ และทองแดง จำนวนไม่มากนัก ซึ่งแม่พิมพ์ด้านหน้าของเหรียญรุ่นแรก ถึงรุ่นที่ ๗ ใช้แม่พิมพ์ตัวเดียวกัน ส่วนแม่พิมพ์ด้านหลังด้านหลังของเหรียญรุ่นแรก ระบุปี พ.ศ. ที่สร้าง และเขียนไว้ว่า รุ่นแรก ศิษย์ ทอ.สร้างถวาย

    เหรียญรุ่นที่ ๒ คณะศิษย์ทหารอากาศสร้างถวายที่ระลึกงานสร้างโบสถ์น้ำ พ.ศ. ๒๕๐๗ เช่นเดียวกัน รุ่นนี้ด้านหลังมี ๒ พิมพ์ ที่เหมือนกันคือ เขียนเอาไว้ว่า ที่ระลึกงานสร้างโบสถ์น้ำ และระบุปี พ.ศ.ที่สร้าง คือ ๒๕๐๗ ส่วนที่แตกต่างกันก็คือ ตรงสระอำ ของคำว่า “น้ำ” มีพิมพ์ที่ ตัวพินธุอำ (ตัวกลมเป็นเลขศูนย์) ที่เป็นวงกลม และ ที่เป็นจุด เหรียญรุ่นนี้มีเพียงเนื้อทองแดงรมดำ ชนิดเดียว ไม่ทราบจำนวนสร้างที่แน่นอน

    เหรียญรุ่นที่สาม และ รุ่นที่สี่ สร้างปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ด้านหลังระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รุ่นสาม หรือ รุ่นสี่ พร้อมลงปี พ.ศ.ที่สร้าง คือ พ.ศ. ๒๕๐๘ รุ่นที่สาม สร้างด้วยเนื้อทองแดงรมดำเพียงอย่างเดียว ส่วนรุ่นสี่ สร้างด้วยเนื้อทองแดงรมดำ และ เนื้ออัลปาก้า (เนื้อช้อนส้อม) ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด

    เหรียญรุ่นที่ ๕ คณะศิษย์ทหารอากาศสร้างถวาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ด้านหลังไม่ได้ระบุว่ารุ่นที่เท่าไร เพียงแต่ระบุปี พ.ศ.ที่สร้าง คือ พ.ศ. ๒๕๐๙ มีเนื้อทองแดงรมดำเพียงเนื้อเดียว ไม่ทราบจำนวนสร้างที่แน่นอน

    เหรียญรุ่นที่ ๖ คณะศิษย์ทหารอากาศสร้างถวาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ด้านหลังไม่ได้ระบุว่ารุ่นใด และรายละเอียดอื่นใด นอกจากมีอักขระเลขยันต์ ๔ แถว คือ “นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา” ซึ่งเป็น คาถาพญายูงทอง (เหรียญทุกรุ่นของท่านจะมีพระคาถานี้อยู่ด้านหลัง) มีเฉพาะเนื้อทองแดงรมดำ ไม่ทราบจำนวนการสร้างที่แน่นอน

    เหรียญรุ่นที่ ๗ คณะศิษย์ทหารอากาศสร้างถวาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ด้านหลังมีอักขระเลขยันต์ ๔ แถว เหมือนเหรียญรุ่นที่ ๖ ทุกอย่าง ต่างกันตรงที่ ด้านบนของอักขระเลขยันต์ เป็นรูปกลีบดอกไม้สี่กลีบ มีวงกลมอยู่ตรงกลาง คล้ายรูปดอกจัน มีเฉพาะเนื้อทองแดงรมดำเช่นเดียวกัน

    อย่างที่กล่าวเอาไว้ เหรียญรุ่นแรก ถึง รุ่นที่ ๗ ที่คณะศิษย์ทหารอากาศสร้างถวายตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๑ นั้น ใช้แม่พิมพ์เหรียญด้านหน้าตัวเดียวกัน ถ้ามองแต่ด้านหน้าอย่างเดียว และไม่พิจารณาเนื้อล่ะก็ จะแยกรุ่นไม่ออก แต่ก็ไม่ทำให้นักสะสมสับสน เพราะด้านหลังของเหรียญแต่ละรุ่น แตกต่าง และมีจุดให้สังเกตเพื่อแยกรุ่นได้อย่างชัดเจน จึงทำให้อยู่ในความนิยมของนักสะสมพระเครื่อง เหรียญรุ่นแรก หากสวย และอยู่ในสภาพเดิม ราคาค่าบูชาต้องว่ากันเป็น “แสน" ขึ้นไป และอย่านึกนะว่า จะมีคนปล่อยง่าย ๆ เพราะเงินน่ะหาง่ายกว่ากันเยอะ ส่วนรุ่นที่ ๒ ถึง รุ่นที่ ๗ นั้น ราคาก็ลดหลั่นกันลงมาอยู่ในหลักหมื่น แต่ก็มีบางเหรียญที่มีคนยอมบูชาถึงแสนเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของทั้งสองฝ่าย อ้อ ขอกระซิบดัง ๆ ว่า ของเก๊ หรือ ของปลอมนั้น มีทุกรุ่นครับ ดูไม่เป็น เล่นไม่ถูก หรือหวังฟลุ๊ค มีหวังลุกไม่ขึ้น ล้มทั้งยืน ไข้ขึ้นไม่มีลงแน่นอน

    ส่วนเหรียญรุ่นอื่น ๆ นอกจากนี้ ล้วนได้รับความนิยมจากนักสะสมทุกรุ่น เรียกว่า ถ้าเห็นวางบนแผงพระเมื่อไร ก็หลุดไปอยู่กับผู้ศรัทธา หรือ ตามเก็บ เมื่อนั้น ผมไม่แน่ใจนะครับว่า มีของเก๊ทุกรุ่นหรือเปล่า แต่ขอเตือนว่า หากได้มาจากแหล่งที่ไม่น่าไว้วางใจ เช่น ตามแผงพระล่ะก็ ต้องให้เจ้าของแผงเขารับประกันคืนเงินให้หากเก๊ ไม่งั้น อย่าเช่าให้เสียเงินเลยครับ

    เหตุที่วัตถุมงคลของท่านทุกรุ่นทุกแบบ โดยเฉพาะเหรียญรุ่นต่าง ๆ ทั้ง ๑๒๐ รุ่น ล้วนได้รับความนิยมจากนักสะสมพระเครื่อง ก็เพราะประสบการณ์ด้าน “แคล้วคลาด” และ “ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ” ที่เด่นชัดทุกรุ่นน่ะแหละครับ ทำให้วัตถุมงคลของท่าน “หายาก” ยิ่งกว่า “งมเข็มในมหาสมุทร” เสียอีก ท่านบอกกับศิษย์ทุกคนว่า “อย่าได้ลองยิงวัตถุมงคลของท่านเป็นอันขาด” เพราะถ้ายิงแล้ว “มันจะดัง”

    คนเข้าใจว่า วัตถุมงคลของท่าน คงดีเฉพาะเมตตา แคล้วคลาด ป้องกันภัยเท่านั้น แต่พอมีข่าวบนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ ที่กำนันคนดังท่านหนึ่ง นั่งอยู่ในร้านกาแฟดี ๆ พลันก็มีชายฉกรรจ์ ๒ คน ขี่และซ้อนมอเตอร์ไซด์กันมา คนที่ซ้อนพอมาถึงหน้าร้าน ก็ลงจากรถตรงลิ่วเอาปืนเอ็ม ๑๖ กราดยิงใส่ไปยังกำนันคนดังทันที ปรากฎว่า ปืนไม่ลั่นแม้แต่นัดเดียว แต่แรกกำนันนึกว่า เป็นปืนเด็กเล่น มารู้ตอนหลังว่าเป็นของจริง เมื่อมีคนร้องบอกว่า “หลบเร็ว มันจะยิงกำนัน” กำนัน และคนที่นั่งอยู่ด้วยกันเลยหลบแผล็วเข้าไปอยู่ใต้โต๊ะ กระสุนชุดต่อไปจึงแผดเสียงออกมาราวปะทัดแตก แต่ไม่ถูกกำนัน หรือใครต่อใครแม้แต่นัดเดียว ทำให้เจ้าวายร้ายจึงขวัญเสีย ขี่รถเผ่นแน่บไป ที่ตัวกำนันมีเหรียญของท่านห้อยคออยู่เพียงเหรียญเดียวเท่านั้น เป็นเหรียญรุ่นหลัง ๆ เสียด้วย ด้วยเหตุนี้ คนจึงถึงบางอ้อที่ท่านว่า “อย่าลองยิงนะ มันจะดัง” และมันก็ดังจริง ๆ ดังเป็นพลุแตก ทำให้ผู้คนเที่ยวพล่านหาของที่ท่านปลุกเสกทั่วทุกมุมเมืองมาจนทุกวันนี้ ขนาดผมเองเสาะหามากว่า ๓๐ ปี มีแค่เพียงเหรียญรุ่นที่ ๗๙ เพียงเหรียญเดียวเท่านั้น
     
  9. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ขอบคุณคุณเอ็มที่นำมาให้อ่านเพิ่มพูนความรู้
    ลองศึกษาดู พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มักจะใช้การ อธิษฐานจิต ครับ
     
  10. วุฒิ สิงห์

    วุฒิ สิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +13,055
    ตามที่ตากานต์ว่า..ใช้โลชั่นใส่ในถุงซิบ..แต่สภาพสนิมเหรียญของท่านเอ็มนี่ลองแช่สักสามสี่ ช.ม. ก่อนก็น่าจะพอถ้าสองสามวันนี่กลายสภาพเป็นเหรียญใหม่เลยนา..
     
  11. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,779
    ค่าพลัง:
    +53,129

    ขอบคุณครับพี่ตี๋

    เหรียญตอนนี้แช่แล้วประมาณชั่วโมงนึง เห็นคราบเขียวๆ เริ่มหลุดๆ ออกมาเป็นสี ๆแล้วครับ


    [​IMG] [​IMG]
     
  12. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    สวัสดียามค่ำ เพื่อนๆสมาชิกทุกๆท่าน
    ภาพและเหรียญขวัญถุง ลป.เกลี้ยง เตชะธัมโม วัดโนนแกด ศรีสะเกษ อายุครบ 100ปี


    [​IMG]
     
  13. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ได้ผลประการใด แจ้งให้เพื่อนๆทราบด้วยนะครีบ
     
  14. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,125
    น้อมกราบหลวงปู่เกลี้ยง...สวัสดียามค่ำครับพี่ตี๋...
     
  15. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,125
    แช่ไว้สักวันหรือสองวันยิ่งดีครับ...ห่อด้วยกระดาษทิษชูด้วยจะช่วยดูดสนิมได้ดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2014
  16. kravity

    kravity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,472
    ค่าพลัง:
    +34,745
    ขอบพระคุณพี่ตี๋มากๆครับ

    คุณแม่ผมจะบอกผมเสมอ ขายดีไม่ได้มีทุกวันครับ สู้! ^^
     
  17. kravity

    kravity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,472
    ค่าพลัง:
    +34,745
    5555 ใหม่วิ้งจริงๆครับพี่วุฒิ เดียวจะเอา before and after มาลงให้ชมครับ เอิ๊กๆ ^^
     
  18. kravity

    kravity เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,472
    ค่าพลัง:
    +34,745
    ถั่วต้มแล้วครับพี่เอ็ม ผมเอามือช่วยถูๆเพื่อความเร็วขึ้นครับ เอิ๊กๆๆ
     
  19. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ได้ไปเวียนเทียนหรือเปล่าครับ
     
  20. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,125
    ค่ำไม่ได้ไปครับพี่ตี๋...ไปมาแล้วกลางวันครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...