เชิญร่วมอนุรักษ์พระกรุครับ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 10 พฤศจิกายน 2011.

  1. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ประวัติการค้นพบพระรอด
    ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ได้มีการปฏิสังขรณ ์องค์เจดีย์ในวัดมหาวันขึ้นมาใหม่ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๔๓๘ ซึ่งแต่เดิมองค์เจดีย์ยอดปรักหักพังลงไป พระรอดซึ่งถูกบรรจุไว้ได้กระจัดกระจายไปพร้อมกับยอดเจดีย์ซึ่งหักพังลงไปทางทิศตะวันตก เพราะได้มีผู้ขุดพบยอดพระเจดีย์ซึ่งเป็นศิลาแลงทางทิศนั้น อนึ่งปรากฏว่า มีผู้ค้นพบพระรอดได้เป็นจำนวนมากมายทางทิศนี้ด้วย ซึ่งมีมากกว่าทิศอื่นๆ จนกระทั่งสถานที่ขุดได้กลายเป็นบ่อน้ำ (ซึ่งก็คือบ่อน้ำในวัดปัจจุบันนี้) ในการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ในครั้งนั้นได้พบพระรอดจำนวนมากในซากกรุเจดีย์ วัดมหาวัน พระรอดส่วนหนึ่ง ได้รับการบรรจุเข้าไปไว้ในพระเจดีย์ใหม่ และบางส่วนได้มีผู้นำไปสักการะบูชา แต่ยังมีอีกบางส่วนที่ปะปนกับเศษซากกรุเก่า กระจายไปทั่วบริเวณวัด เมื่อขุดค้นพบนำขึ้นมาใหม่ๆ นั้น จะนำพระไปขัดถูหรือล้างน้ำเสียที่เดียวนั้นไม่ได้ เพราะพระรอดจะยุ่ยและละลายไปกับน้ำต้องเก็บตากแดดไว้อย่างน้อย ๑๕ วัน ถึงนำมาล้างน้ำเนื้อจะแข็งแกร่งดี เศษดินที่เรียกว่า ขี้กรุ จะติดแน่นอยู่กับองค์พระรอด ล้างเท่าไรจะไม่ออกง่ายๆ ต้องใช้แปรงสีฟันค่อยๆ ถูเบาๆ นอกจากพระรอดดินเผานี้แล้ว ยังมีพระรอดอีกชนิดหนึ่งเป็นพระรอดดิบ คือพระรอดที่ทำแล้วไม่ได้เผา พระรอดดินดิบเป็นพระรอดที่ทำขึ้นด้วยเกสรดอกไม้ผสมกับดินละเอียด มีกลิ่นหอม เนื้อนิ่ม ขุดได้ออกมาจากหลุมใหม่ จับแรงไม่ได้ เอาไปตากให้แห้ง ถูกน้ำไม่ได้จะยุ่ยและอาจลบเลือนไปจนไม่เห็นองค์พระ
    นอกจากพระรอดแล้วยังขุดพบพระชนิดอื่นๆ อีกเช่น พระสิบสอง พระยี่สิบแปด พระกวาง พระกล้วย พระคง พระบาง พระลบ พระเหลี้ยม (พระเหลี้ยมมีอยู่ถึง ๓ ชนิดด้วยกัน ชนิดใหญ่ เท่ากับพระสิบสองชนิดกลางฐานกว้างประมาณ ๒ นิ้ว ชนิดเล็กฐานกว้างประมาณ ๑ นิ้ว) พระงบน้ำอ้อย พระนางเหลียว พระราหู พระรูปเทพธิดา คนธรรพ์ราสกบนสิงห์ และรูปปั้นต่างๆ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ดอกธาตุ" หรือดอกเจดีย์ และรูปอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีคนขุดพบเตาหล่อพระพุทธรูปทองคำ ทองแดง ทองเหลือง และเงินอีกด้วย และยังพบพระเป็นแผ่นบางๆ หน้าตักกว้าง ๑ - ๔ นิ้ว ปางมารวิชัย โดยมากเมื่อขุดพบมักจะซ้อนกันอยู่เป็นตับ ตับละ ๒ - ๕ องค์ บรรจุอยู่ในแผ่นอิฐเผาสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างขนาด ๖ นิ้ว วางทับบนปากหม้อบรรจุอัฎฐิ (กระดูก) เคยค้นพบมาหลายองค์ เมื่อพบแล้วไม่มีใครกล้าเก็บไว้ ถ้าเก็บไว้มักจะมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเอาเก็บไว้ภายหลังจะต้องนำเอามาส่งคืนเสมอ
    ในสมัยเจ้าหลวงอินทยงยศ ทรงได้พิจารณาเห็นว่ามีต้นโพธิ์ แทรกตรงบริเวณฐานเจดีย์มหาวันและมีรากลึกลงไปภายในองค์พระเจดีย์ทำให้มีรอยร้าวชำรุดหลายแห่ง จึงได้ทำการฏิสังขรณ์ฐานรอบนอกองค์พระเจดีย์ใหม่ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ในการนี้ ได้พบพระรอดจำนวนมาก ประมาณหนึ่งกระเช้าบาตร (ตระกร้าบรรจุกับข้าวตักบาตร) และได้นำมาแจกจ่ายบรรดาญาติซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้ ในสมัยต่อๆ มามีการขุดพบพระรอดอยู่เสมอ แต่มีจำนวนไม่มากนักข้อสังเกตในการขุดพบพระรอด ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งพบมากถึงประมาณ ๒๐๐ องค์ บริเวณที่พบพระรอดมักจะมีอิฐโบราณสลับซับซ้อนอยู่โดยรอบพระรอด และพระรอดจะฝังอยู่ในดินหรดาลซึ่งเป็นดินเนื้อละเอียดที่สุด มีสีเหลือง และมีกลิ่นหอมนวลๆ ซึ่งในการสร้างพระรอดสมัยต่อมา ได้นำดินหรดาล ผสมกับเศษพระรอด และพระอื่นๆ สร้างป็นพระรอดขึ้นมา เช่น พระรอดครูบากองแก้ว
    เกี่ยวกับชื่อ ครั้งแรกนั้นไม่ปรากฏชื่อ คงเรียกรวมกันว่าพระพิมพ์ชนิดดินเผา ต่อมาภายหลังเมื่อมีผู้ขุดพบและนำไปใช้กราบไหว้สักการะบูชาก็เลยกลาย มีชื่อเป็นอย่างๆ ไป สำหรับพระรอดนั้นมีข้อที่จะพึงสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อได้ ๓ ทาง คือ ทางแรกกล่าวกันว่าพระพิมพ์ชนิดนี้ฤาษีนารอด (นารท) เป็นผู้สร้างจึงได้นาม ตามที่ผู้สร้างว่า พระรอด ทางที่สองเนื่องจากพระพิมพ์ชนิดนี้ได้มีผู้นำไปสักการะบูชา และนำพาติดตัวไปยังที่ต่างๆ ปรากฏว่าผู้ที่นำไปนั้นได้รับความปลอดภัยรอดพ้นจากสรรพอุปัทยันตรายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นต่อมาจึงได้มีชื่อว่า พระรอด ประการสุดท้ายเพราะพระพิมพ์ชนิดนี้มีองค์เล็กกว่าพระชนิดอื่น จึงเป็นผลพลอยให้ได้นามว่า พระรอด อย่างไรก็ตามทั้ง ๓ อย่าง ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นข้อสันนิษฐานจึงขอฝากไว้ให้เป็นหน้าที่ของนักค้นคว้าโบราณวัตถุสืบต่อไปว่าอันไหนจะถูกกันแน่
    คาถาอาราธนาพระรอด
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
    พุทธังแคล้วคลาด พระเจ้าย่างบาท อิติปิโส นะโมพุทธายะ
    ธัมมังแคล้วคลาด พระเจ้าย่างบาท อิติปิโส นะโมพุทธายะ
    สังฆังแคล้วคลาด พระเจ้าย่างบาท อิติปิโส นะโมพุทธายะ

    อ้างอิง bast2009
     
  2. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ประวัติ พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน
             พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือพระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน
             พระรอด มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วน ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้พบพระรอด ในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง แต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้ นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม อีกประมาณหนึ่งบาตร    
             พระรอด ขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ใน พ.ศ. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมด และนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น เป็นการพบพระรอดจำนวนมาก พระรอด กรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้ และทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทน เข้าใจว่าคงเป็นรุ่นพี่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนนำออกแจกให้ประชาชนในขณะนั้น เรียกว่า พระรอด ครูบากองแก้ว
             จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิพระ ได้พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์ มีทุกพิมพ์ทรง กรุนี้ถือว่าเป็นกรุพระรอดกรุใหม่ ที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ถึงปี พ.ศ. 2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถ เพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษ พระรอดรุ่นนี้มีผู้นำมาให้เช่า ในกรุงเทพจำนวนมาก พระรอดส่วนใหญ่จะคมชัด และงดงามมากเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสอง หลังจากนั้นต่อมาก็มีผู้ขุดหาพระรอด ในบริเวณลานวัด แทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัด นานๆ ถึงจะได้พบพระรอดขึ้นมาองค์หนึ่ง เป็นเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งทางวัด ได้ระงับการขุดพระรอด นอกจากพระรอดแล้ว วัดมหาวัน ยังขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูน เกือบทุกพิมพ์ ที่พิเศษคือ ได้พบพระแผ่นดุนทองคำเงิน แบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนด้วย  
             พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเนื้อดินเผาละเอียดหนักนุ่มมาก องค์พระประทับนั่งขัดเพ็ชรปางมารวิชัยประกอบด้วยพื้นผนังใบโพธิ์ทั้งสองด้าน มีศิลปะโดยรวมแบบทวาราวดี – ศรีวิชัย เป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่วงสมัยหริภุญไชย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 แบ่งลักษณะ แบบได้ 5 พิมพ์ทรง คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้นนั้น มีลักษณะจุดตำหนิโดยรวมที่เป็นสัญลักษณ์ปรากฏทุกพิมพ์ ในพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก
             เริ่มจากด้านบนของทั้งสามพิมพ์มีจุดโพธิ์ติ่ง ทั้งสามพิมพ์นี้มี 3 ใบ ปรากฏที่เหนือปลายเกศ และด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มใบโพธิ์แถวนอกจะใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่ทั้ง 3 พิมพ์นี้มีระดับสูงเกือบเสมอกัน เส้นรอยพิมพ์แตกมีเฉพาะพิมพ์ใหญ่เท่านั้น มีรูปคล้ายตัวหนอนปรากฏเส้นข้างพระกรรณด้านซ้ายขององค์พระ เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมาวาดจากใต้ข้อศอกพระรอดใต้ฐานชั้นบน เฉพาะพิมพ์ใหญ่มีฐาน 4 ชั้น พิมพ์กลาง เล็ก ต้อ ตื้น มีฐาน 3 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้นมีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานล่างที่สุดเรียกว่า ฐาน 2 ชั้น พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อไม่มี กลุ่มโพธิ์แถวนอกของทุกพิมพ์จะคล้าย ๆ กันเพราะทำมาจากช่างคนเดียวกัน
             นอกจากนั้นพิมพ์ต้อกับพิมพ์ตื้นกลับไม่ค่อยมีใบโพธิ์ในพิมพ์ตื้นมีพื้นผนังโพธิ์แถวใน ใบโพธิ์ติดชิดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตกเป็นจุดสังเกต ในพิมพ์ต้อไม่ปรากฏโพธิ์แถวใน พื้นผิวติดองค์พระสูงลาดเอียงลงมา ที่กลุ่มโพธิ์แถวนอกเฉพาะตรงปลายเส้น ชี้นูนสูงที่สุดเป็นจุดสำคัญ นอกจากนี้ประการสำคัญที่สุดของพระรอด ที่ของปลอมจะทำเลียนแบบได้ยากคือ การจำรูปแบบพิมพ์ทรง และความเก่าของเนื้อเฉพาะพิมพ์ใหญ่จะปรากฏพระโอษฐ์ (ปาก) เม้มจู๋คล้ายปากปลากัด มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก เป็นจุดลับที่ควรสังเกตไว้ และกลุ่มโพธิ์แถวนอกของพิมพ์ใหญ่ด้านซ้าย ขององค์พระ มีระดับลาดเอียงเห็นได้ชัดเจนมาก เป็นจุดสังเกตที่ของปลอมจะทำได้ยาก
    พระรอด วัดมหาวัน ลำพูน ลักษณะ: พระเนื้อดิน เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน 3 ทางได้แก่
             1. ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ
             2. ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด
             3. เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด
             ลักษณะทั่วไปของพระรอด เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง
    สามารถแบ่งได้ 5 พิมพ์
             1. พิมพ์ใหญ่
             2. พิมพ์กลาง
             3. พิมพ์เล็ก
             4. พิมพ์ต้อ
             5. พิมพ์ตื้น
    นอกจากนี้ยังมีสีสันและวรรณะต่างๆของพระรอด ซึ่งมีอยู่ ๖ สีด้วยกันคือ
             1. สีเขียว
             2. สีพิกุล (สีเหลือง)
             3. สีแดง
             4. สีเขียวคราบเหลือง
             5. สีเขียวคราบแดง
             6. สีเขียวหินครก
             สำหรับสีของพระรอด ทั้ง 6 สี นี้เป็นสีของพระรอดทุกพิมพ์ทั้ง 5 พิมพ์จะมีสีสันวรรณะแตกต่างกันไป ตามสีทั้ง 6 และนอกเหนือจากทั้งสี 6 สี นี้พระรอดจะไม่มีสีอื่นๆ ไปโดยเด็ดขาดนอกจากนี้พระรอดทุกพิมพ์ (ทั้ง 5 พิมพ์) พระกรรณ หรือใบหูของพระองค์ จะต้องติดชัดทุกพิมพ์ และฝ่าพระหัตต์ด้านขวา ที่วางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ด้านขวาจะต้องมี 6 พิมพ์ และทุกองค์ โดยเฉพาะองค์ที่มีความคมชัดจะเห็นได้ชัดเจน


    พุทธคุณ: พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี

    อ้างอิง หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544
     
  3. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ลักษณะทั่วไปของพระรอด
    เป็นพระพิมพ์ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย ใต้ปรกโพธิ์ มีฐานเขียงอยู่ใต้ที่นั่งและมีผ้านิสีทนะ(ผ้าปูนั่ง) รองรับไว้บนฐาน ข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจังชาวพื้นเมืองเหนือเรียกว่า ใบโพธิ์ พระพักตร์ก้มเล็กน้อย รายละเอียดของพระพักตร์คล้ายศิลปะพม่าหรือพุกามเป็นพระศิลปะยุคเดียวกับทวาราวดี ตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ พระอุระผึ่งผาย พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบถึงพระอังสะทั้งสองข้าง ส่วนด้านหลังนั้นนูนเล็กน้อยคล้ายหลังเบี้ย (ริมสองข้างลดต่ำ กลางนูน) ไม่มีลวดลายอะไร บางพิมพ์ข้างหลังตรง บางพิมพ์หลังเอนไม่เกลี้ยงเกลานัก มีรอยนิ้วมือมือติดอยู่มากบ้าง น้อยบ้าง ใต้ฐานพระไม่เรียบเสมอไป บางองค์ลึกบุ๋มเข้าไป บางองค์ก็นูนยื่นออกมา สุกกทันตฤษี และวาสุเทพฤษี ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์และเนื่องจากการสร้างพระรอดทำจากวัสดุต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีหลายสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆ ได้แก่ สีเขียว สีเขียวอ่อน สีขาวปนเหลือง สีดำ สีแดง สีดอกพิกุล เป็นต้น แต่สีหลักของพระรอด มีประมาณ ๔ สี คือ
    ๑.      พระรอดสีขาว เนื่องจากพระรอดเป็นพระที่สร้างจากเนื้อดิน ซึ่งเชื่อว่าเป็นดินในจังหวัดลำพูนหรือจังหวัดใกล้เคียง มีสีขาว เป็นเนื้อดินที่สะอาดและละเอียด จนมีคนเข้าใจว่ากรรมวิธีการนวดดินนั้น น่าจะผ่านการกรองผ้าขาวจนกระทั่งไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ ทั้งสิ้น บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นดินที่ขุดได้จากดินที่ตกตะกอนในธารน้ำไหลภายในถ้ำ จึงสะอาดและไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ ทั้งสิ้น พระรอดสีขาว ควรจะเป็นพระที่อยู่ในบริเวณเตาเผาที่ไม่ถูกความร้อนมากเท่าที่ควร เนื้อพระจึงเป็นสีขาวเพราะไม่สุก และไม่แกร่งเท่าพระรอดสีอื่นๆ จึงมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่มักจะไม่คมชัดเท่าที่ควร
    ๒.      พระรอดสีแดง เป็นพระรอดที่เผาสุกเรียบร้อยแล้ว จึงมีขนาดเล็กลง กว่าพระรอดสีขาว มีความคมลึกและชัดเจน เช่นเดียวกับพระรอดสีอื่นๆ
    ๓.      พระรอดสีเหลือง เป็นพระรอดที่เผาได้แกร่งกว่าพระรอดสีแดง จึงมีขนาดขององค์พระเล็กกว่า พระรอดสีแดงเล็กน้อย ตามทฤษฎีจะมีความคมลึกและชัดมากกว่าพระรอดสีแดง
    ๔.      พระรอดสีเขียว เป็นพระรอดที่มีความแข็งแกร่งมากที่สุด มีการหดตัวเล็กลงจากพระรอดสีเหลือง มีความคมชัดที่สุดในจำนวนพระรอด เนื่องมาจากการหดตัวเมื่อเกิดความร้อนจัด เพราะความคมชัดจึงอาจทำให้พระรอดสีเขียวดูไม่ล่ำสันเท่ากับพระรอดสีแดงและสีเหลือง และส่วนมากมี iron oxide จับคลุมทั่วผิวพระ
    นอกจากนี้พระรอดสีเขียวยังมีสีเขียวที่แตกต่างกันไปเป็นลำดับ จากพระรอดสีเขียวคาบเหลือง เป็นพระรอดสีเขียว และเป็นพระรอดสีเขียวเข้ม จนมีขนาดเล็กที่สุดคือ พระรอดสีเขียวเข้มจนเกือบดำ ในบางองค์มีสีลายเหมือนไข่นกกระทา
    นอกจากนี้ ยังมีแม่พระรอดซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก หรือพระดิลกดำ เป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยหินศิลาดำอ่อนๆ คล้ายหินทราย หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว สูง ๑๖ นิ้ว นั่งขัดสมาธิเพชรปัจจุบันประดิษฐานไว้ด้านหน้าพระประธานในวิหารวัดมหาวัน โดยชื่อเรียกว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่พระนางจามเทวีนำขึ้นมาจากเมืองละโว้ (ลพบุรี) ถือว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์องค์นี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “พระรอดหลวง” หรือพระรอดลำพูน เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองหริภุญไชย ลำพูนมาตราบเท่าทุกวันนี้ พระรอดกรุวัดมหาวันเท่าที่พบมีหลักๆ อยู่ ๕ พิมพ์ด้วยกัน คือ พระรอดพิมพ์ใหญ่ พระรอดพิมพ์กลาง พระรอดพิมพ์เล็ก พระรอดพิมพ์ฐานชั้นเดียวหรือบางทีเรียกกันว่า พิมพ์ต้อ และพระรอดพิมพ์ตื้น พระรอดทั้ง ๕ พิมพ์ตามที่กล่าวมานั้นจะมีอยู่สามพิมพ์ที่มีฐานเกินที่ใต้ฐานพระ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้น ส่วนพระพิมพ์เล็ก และพิมพ์ต้อจะไม่มีฐานเกินที่ใต้ฐาน ขนาดของพระรอดมีขนาดไม่เหมือนกัน ขนาดใหญ่เกือบจะเท่าพระคงก็มี เรียกว่าพระรอดหลวง ฐานกว้างประมาณ ๑ นิ้วและขนาดเล็กไปตามลำดับจนถึงขนาดเท่าใบมะขามเรียกว่า พระรอดใบมะขาม ซึ่งหายากที่สุด แต่ส่วนมากที่พบมีขนาด กว้าง ๑.๒ เซนติเมตร สูง ๒.๕ เซนติเมตร เนื้อพระรอดเป็นเนื้อดินเผา ดินละเอียด ไม่มีเม็ดแร่เจือปน ไม่มีรอยร้าวหรือลายแตก เนื้อแน่นมีน้ำหนักกว่าดินธรรมดาในปริมาณที่เท่ากัน และมีความแข็งแกร่งเหมือนหินจนเรียกว่าน่าจะสามารถกรีดกระจกเป็นรอยได้
     
  4. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     
  5. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พุทธลักษณะของพระรอดพิมพ์ใหญ่

    พระรอดพิมพ์ใหญ่นั้น ให้ดูศิลปะตั้งแต่ผนังใบโพธิ์ ที่แบ่งกันเป็นกลุ่มเป็นช่อง โดยมีก้านเป็นแท่งเหลี่ยมที่มีขอบสันและปลายแหลม ซึ่งแสดงเป็นกิ่งก้านของโพธิ์ที่แบ่งกั้นเป็นช่องๆ อยู่ และลักษณะของรูปใบโพธิ์ในแต่ละใบนั้นจะเป็นแบบใบโพธิ์สมมุติ ที่มีมิติต่ำสูงเป็นแท่งแสดงในรูปของใบและมีขอบสันอีกด้วย ซึ่งแสดงถึงลักษณะใบโพธิ์ที่พริ้วไสว เว้นแต่ใบโพธิ์ที่อยู่เหนือเศียรพระทางซ้ายและอยู่ทางด้านขวามือเราตอนบน ใบโพธิ์ใบนี้จะเหมือนใบโพธิ์จริงที่สุดโดยมีก้านเล็กคมพริ้วอยู่ด้านล่างของใบ ส่วนองค์พระมีลักษณะประทับนั่งปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร พระพักตร์มีลักษณะอูมแก้มทางซ้ายมือดูป่อง มองคล้ายอมยิ้มและก้มหน้าลงเล็กน้อย พระเนตรมีลักษณะใหญ่โปน (แบบตาตั๊กแตน) มีปลายแหลมสูงต่ำไม่เท่ากัน พระนาสิกใหญ่บานมองคล้ายลูกชมพู่ ส่วนพระโอษฐ์ยื่นเจ่อและหนา พระกรรณจะมีโคนใบหูส่วนปลายค่อยๆ เรียวลง และหักเป็นตะขอที่งอเข้าทางด้านขวามือเรา ส่วนพระกรรณอีกข้างด้านซ้ายมือเราส่วนปลายจะเป็นเส้นคมพริ้วชี้ขึ้น (เห็นชัดต้องส่องทางด้านข้าง)
    พระอุระมีเส้นอังสะรัดดูเป็นริ้วร่อง ทำให้พระถันพระอุระมองดูยกขึ้น พระนาภีในองค์ที่ติดชัด จะมองเห็นเป็นแอ่งมีขอบแบบเบ้าขนมครก ส่วนพระกรมีลักษณะกางออกเล็กน้อย และแบ่งกันเป็นช่วงแขนที่แยกกันเป็นสัดส่วน พระหัตถ์ที่พาดตักนิ้วหัวแม่มือ จะแบ่งขาด ส่วนพระบาทที่ขัดสมาธิเพชรตรงนี้ จะมองเห็นลดหลั่นอยู่ต่ำกว่ามือ และมีลักษณะคล้ายหัวพญานาคที่อ้าปากบ้าง หุบปากบ้าง
    องค์พระทรงประทับอยู่บนบัลลังก์โพธิ์มีผ้ารอง อาสนะที่คมและพริ้ว ฐานชั้นบนจะใหญ่หนา โดยจะมีเส้นแซมอยู่ใต้ฐานมีลักษณะที่คมบางพริ้ว และหดตัวดูเป็นธรรมชาติไม่เป็นเส้นแข็งทื่อ ส่วนอีก ๓ ชั้นนั้นจะมีขนาดเล็กกว่า และอยู่แยกกันระหว่างฐานที่ ๒ กับฐาน ๓ – ๔ ที่มีลักษณะชิดติดกัน จุดสำคัญๆ ที่น่าสังเกตในพระรอดพิมพ์ใหญ่อีกนั้นก็คือ เส้นแตกพิมพ์ที่อยู่เหนือเศียรข้างบนพระทางด้านซ้ายมือเรา จะมองเห็นคมบางพริ้วเป็นเส้นธรรมชาติ (มองเหมือนแทบไม่ติดก็มี) และมีเส้นแตกพิมพ์จากโคนข้างพระกรรณซ้ายพระตอนบน วิ่งหักลงมาเหมือนกับกิ่งโพธิ์ที่หักงอห้อยลงมาชนกับใบโพธิ์ที่ผนังด้านขวามือเรา และอีกจุดคือก้านโพธิ์ที่อยู่ด้านบนสุด จะตั้งเยื้องกับพระเศียรไปทางซ้ายมือเราเยื้องทางขวาพระ และจะมีลักษณะแตกตรงปลาย ส่วนเส้นน้ำตกที่อยู่ใต้ข้อพระกัสปะ (ข้อศอก) นั้น ในองค์ที่ติดชัดจะเริ่มมาจากข้างบนเหนือพระกรขึ้นไป จะมีลักษณะเป็นเส้นเล็ก คมพริ้วลากผ่านพระพระอุระทะลุแขนลงมา และวิ่งทะลุผ่านพระบาทและพระเพลา ลากลงไปโผล่ใต้ฐานชั้นแรก กลายเป็นเส้นแตก ๓ เส้นชนกับฐานที่สอง ซึ่งในบางองค์อาจจะติดเลือนๆ หรือไม่ติดก็มี ส่วนทางด้านหลังของพระรอดมักจะมีลายมือท่านฤาษีนารอทปรากฏให้เห็น ซึ่งอาจชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง แต่เนื้อพระทางด้านหลังจะหดเหี่ยวมาก และจะเห็นลอยหยิบพระออกจากทางด้านล่างของข้างหลังพระ
     
  6. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     
  7. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์กลาง กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     
  8. มืดบอด

    มืดบอด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    631
    ค่าพลัง:
    +550
    พระรอดเนื้อโลหะมีไหม

    องค์นี้เป็นเนื้อกะไหล่ทอง ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พุทธลักษณะของพระรอดพิมพ์กลาง

    องค์พระทรงประทับอยู่บนบัลลังก์โพธิ์มีผ้ารอง อาสนะที่คมและพริ้ว ฐานชั้นบนจะใหญ่หนา พระพิมพ์นี้หายากที่สุดในบรรดาพระรอดด้วยกัน พระรอดพิมพ์กลาง มีเอกลักษณ์ที่ฐานมี ๓ ชั้น ใต้ฐานเป็นแบบที่เรียกกันว่า "ก้นแมลงสาบ" คือ มีเนื้อยืนลงมาเล็กน้อย ใบโพธิ์มี ๒ แถวซ้อนกัน ใบโพธิ์มีความถี่มากกว่าพิมพ์อื่นๆ ใบโพธิ์ตรงยอดเกศแตกออกเป็นพุ่ม โดยใบโพธิ์ทางด้านซ้ายมีขนาดใหญ่กว่าทางด้านขวา ยอดเกศมีปลายแหลมชี้ขึ้นชนกับปลายใบโพธิ์ทางด้านซ้าย มีเส้นเอ็นที่คอ และซอกรักแร้ขวามีตุ่ม ๒ ตุ่ม มีพระพักตร์เกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระพักตร์ทางด้านซ้ายลาดต่ำกว่าทางด้านขวา พระกรรณทางด้านซ้ายหนาและกางออกมากกว่าทางด้านขวา
     
  10. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์กลาง กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     
  11. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์กลาง กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     
  12. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์กลาง กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     
  13. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์เล็ก กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     
  14. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พุทธลักษณะของพระรอดพิมพ์เล็ก

    ในพิมพ์ของพระรอดทั้ง ๕ พิมพ์นั้น พระรอดพิมพ์ใหญ่ พระรอดพิมพ์กลาง และพระรอดพิมพ์เล็ก จะมีแถวของใบโพธิ์อยู่สองชั้น หมายถึงจะมีใบโพธิ์ชั้นในอีกหนึ่งแถว ส่วนพระรอดพิมพ์ต้อและพิมพ์ตื้นจะมีใบโพธิ์แถวเดียว และพระรอดพิมพ์ใหญ่ พระรอดพิมพ์กลาง และพระรอดพิมพ์ตื้นจะมีเนื้อเกินที่ใต้ฐาน ส่วนพระรอดพิมพ์เล็กและพระรอดพิมพ์ต้อนั้น จะไม่มีเนื้อเกินที่ใต้ฐาน ที่ใต้ฐานจะเป็นเรียบๆ พระพักตร์ของพระรอดพิมพ์เล็กจะบิดไปทางด้านขวาเล็กน้อย พระกรรณทางด้านซ้ายหนาและกางออกมากกว่าทางด้านขวา พระเนตรมีลักษณะใหญ่โปน (แบบตาตั๊กแตน) มีปลายแหลมสูงต่ำไม่เท่ากัน พระนาสิกใหญ่บานมองคล้ายลูกชมพู่ มีเส้นน้ำตกอยู่ใต้ข้อพระกัสปะ (ข้อศอก) พระหัตถ์ซ้ายองค์พระจะหักมุมเป็นสามส่วน ส่วนกลางมักเห็นเป็นกล้าม ซอกพระหัตถ์ซ้ายเป็นรองลึกปลายแหลม ระหว่างฐานหมอนกับฐานที่ ๒ มีเส้นบางๆ ตรงขอบทางด้านขวา และทางด้านซ้าย โดยทางด้านซ้ายจะยาวกว่าทางด้านขวา ปลายฐานหมอนทางด้านซ้ายจะโค้งขึ้นชนกับพระเพลา
     
  15. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    [​IMG]
     
  16. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    [​IMG]
     
  17. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    [​IMG]
     
  18. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    [​IMG]
     
  19. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์เล็ก กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     
  20. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    พระรอด พิมพ์ตื้น กรุวัดมหาวัน

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...