เรียนพระอภิธรรมกันเถอะค่ะ ปริยัติ และ ปฏิบัติไปด้วย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Mantalay, 12 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    เมตตา

    วันที่ 10 มี.ค. 2554 12:14
    จาก...เวปบ้านธัมมะ
    [​IMG]

    ปริยัติ...เพื่อน้อมสู่ปฏิบัติ

    ข้อความบางตอนจากการบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ซึ่งท่าน
    แสดงให้เห็นเหตุและผลต้องตรงกัน เมื่อมีเหตุคือความเข้าใจในพระธรรมซึ่งเป็นปริยัติ

    เป็นพระพุทธพจน์ เป็นสิ่งที่มีจริงมีลักษณะสภาพธรรมจริงๆเมื่อมีความเข้าใจ โดยไม่ใช่

    เพียงจำคำ หรือเรื่องราวต่างๆ ได้ ความเข้าใจนั้นจึงเป็นเหตุให้น้อมไปสู่การปฏิบัติได้
    เพราะน้อมก็คือความเข้าใจที่น้อมไป น้อมไปสู่การประพฤติปฏิบัติตามกุศลทุกประการ
    สูงสุดก็คือ สติปัฏฐานเกิดน้อมไปสู่การระลึกลักษณะสภาพธรรมตรงตามความเป็นจริง
    จนกระทั่งไปสู่การรู้แจ้งอริยสัจจธรรม....
    ผู้ที่เห็นคุณของพระรัตนตรัย มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ย่อมไม่ขาดการฟัง
    พระธรรม ซึ่งเป็นปริยัติธรรม มิฉะนั้น แล้วชีวิตวันหนึ่งๆ ก็อยู่ไปๆ โดยไม่รู้ลักษณะ
    สภาพธรรมตามความเป็นจริง ข้อสำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่ฟังพระธรรม และศึกษา
    พระธรรม ก็คือว่า ต้องรู้ว่าเพื่อน้อมประพฤติปฏิบัติตาม เท่าที่สามารถจะกระทำ

    ได้ อย่าเป็นเพียงผู้ฟัง คงจะต้องกล่าวถึงบ่อยๆ ว่า ขออย่าได้เป็นผู้ที่เพียงฟัง
    แต่ต้องฟังเพื่อที่จะได้ประพฤติปฏิบัติตาม จึงชื่อว่าเป็นผู้ที่เคารพในพระธรรมจริงๆ
    [​IMG]กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ค่ะ...

    [​IMG]
     
  2. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    ที่จะรู้ตัว ว่ามีมานะ มากน้อยแค่ไหน ขณะไหน (ตอนที่ ๑)

    [​IMG]

    pirmsombat

    วันที่ 13 มี.ค. 2554 21:06
    จาก...บ้านธัมมะ
    ................................

    ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นในวันหนึ่งๆ ก็ควรจะพิจารณาว่ามีมานะมาก-น้อย
    แค่ไหน และ ในขณะไหนบ้าง เพราะว่าถ้าไม่รู้ว่าขณะใดเป็นมานะ ก็ไม่ละมานะ
    ในขณะนั้น ไม่เห็นโทษ ก็ไม่ละ ทีนี้ทำอย่างไรจึงจะเห็นได้ว่า ขณะนี้มากแล้ว
    จึงได้ปรากฏเพราะว่า ปกติประจำวัน ถ้าไม่สังเกตนะคะ ก็ไม่สามารถจะรู้ได้
    ข้อความในปรมัตถทีปนีอรรถกถา ขุททก อิติวุตตกะ อรรถกถา มานสูตร
    ข้อ ๑๘๔ มีข้อความว่า
    ที่จะรู้ตัว ว่ามีมานะ มากน้อยแค่ไหน ขณะไหน ก็คือ

    มานะทั้งหมดมีการยกตน และ ข่มผู้อื่น เป็น นิมิตร
    คือเป็นสภาพที่ปรากฏให้รู้ได้
    เป็นเหตุให้ไม่ทำการกราบไหว้ ต้อนรับ
    คือ อัญชลีกรรม และ สามีจิกรรม เป็นต้น
    ในท่านผู้อยู่ในฐานะที่ควรเคารพ
    เป็นเหตุให้ถึงความประมาท
    โดยความมัวเมาในชาติเป็นต้น
    ซึ่งสภาพธรรมที่ตรงข้ามกับมานะ
    ก็คือในขณะที่ จิตอ่อนน้อมในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
    ความรู้สึกในขณะนั้นดุจคนจัณฑาล เข้าไปสู่ราชสภา
    เคยเป็นคนสำคัญมาก เวลาที่มานะเกิด ขณะใด ที่มานะไม่เกิดและมีความ
    อ่อนน้อมแทนมานะ ความรู้สึกในขณะนั้น ดุจคนจัณฑาล เข้าไปสู่ราชสภา
    ท่านผู้ฟัง การมีมานะ บางทีเราทราบจากคนอื่นได้ไหม เรามีมานะ คนอื่นเขามี
    ปฏิกิริยาตอบโต้เรามา อย่างนั้น จะถึอว่าเป๋นผลของวิบากกรรม ที่เราได้ทำมาได้
    ไหมครับ
    ท่านอาจารย์ วิบากหมายความถึงสภาพธรรมที่รู้สี่งที่ปรากฏ ทางตา...ทางกาย
    เห็น ได้ยิน...รู้สี่งที่กระทบสัมผัส ที่ไม่น่าพอใจ ขณะใด ขณะนั้นก็เป็นอกุศลวิบาก
    ถ้าเป็นสี่งที่น่าพอใจ ขณะนั้นก็เป็นกุศลวิบาก
    เพราะฉะนั้นก็พอที่จะรู้จักตัวเองได้ ขณะใด ซึ่ง ไม่มีการกราบไหว้ ไม่มีการ
    ต้อนรับ ผู้ที่อยู่ในฐานะที่ควรแก่การที่จะต้อนรับ หรือ กราบไหว้ ในขณะนั้นก็รู้ได้
    ว่า สภาพจิตในขณะนั้นรู้สึกตัวขึ้นมาทันที ก็พอที่จะรู้ถึง ความกระด้างของจิตใน
    ขณะนั้นถ้าเป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ก็จะรู้ได้เลยค่ะ ว่าขณะนั้นเป็นแต่เพียงสภาพ
    ธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วชื่อว่า "มานะ" เป็นสี่งที่ดี หรือ ไม่ดีคะ ต้องเห็นว่า
    เป็นโทษจริงๆ

    สำหรับความสำคัญตนและความทนงตน ซี่งเป็นลักษณะของมานะ ซึ่งทำให้มี
    อาการเย่อหยิ่ง ก็จะเป็นเหตุให้มีการกระทำทางกาย ทางวาจาต่างๆ ซึ่งเป็นไปด้วย
    โลภะ บ้าง มานะ บ้าง เช่นข้อความในอรรถกถา ขุททก กิติวุตตกะ มักขสูตร
    แสดงลักษณะของ มานะ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการกระทำต่างๆทางวาจา ซึ่งในขณะที่
    วาจาต่างๆนั้นเกิดขึ้น เป็นขณะที่จิตเป็นไปด้วยโทสะ แต่เป็นเพราะมานะเป็นมูล เช่นการลบหลู่คุณท่าน
    [​IMG]

    JANYAPINPARD

    วันที่ 15 มี.ค. 2554 08:47
    จาก...เวปบ้านธัมมะ
    ................................
    ลักษณะของมานะไม่ใช่ลักษณะอาการที่อ่อนโยนสนิทสนม เป็นไมตรีกับผู้อื่น ขณะใดมี

    มานะ ขณะนั้นไม่ใช่เมตตา...ผู้มีมานะจึงไม่เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์

    และมานะเป็นมูลให้เกิดมักขะ(ผู้ลบหลู่คุณท่าน)

    ตามข้อความที่ปรากฏใน....มักขสูตร.

    มกฺโข (ผู้ลบหลู่คุณท่าน) เพราะทำลายกำจัดสักการะอัน ใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปรากฏ

    แก่คนเหล่าอื่น. พึงเห็นว่าคนลบหลู่นั้น มีการลบล้างคุณผู้อื่นเป็นลักษณะ

    มีการทำให้คนทั้งหลายพินาศเป็นกิจรส มีการปกปิดคุณของเขาเป็นอาการ

    ปรากฏ.....บทว่า มกฺขิตาเส ได้แก่ เป็นผู้ลบล้างคุณของผู้อื่น คือ ป้ายร้าย

    ความดีของผู้อื่น. อธิบายว่า เป็นผู้ขจัดคุณแม้ของตน จากการที่ลบล้างคุณ


    ของผู้อื่นนั้นด้วย.

    โทษของมานะคือตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น

    มนุษย์ เกิด ที่ ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ.

    เชิญคลิกอ่าน...



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2011
  3. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    ที่จะรู้ตัว ว่ามีมานะ มากน้อยแค่ไหน ขณะไหน (ตอนที่ ๒)
    [​IMG]

    pirmsombat วันที่ 16 มี.ค. 2554 16:19

    จาก...บ้านธัมมะ
    ................................




    ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

    ท่านอาจารย์.....ถ้าผู้นั้นไม่มีการสำคัญตน การลบหลู่คุณบุคคลอื่นย่อมไม่มี
    แต่ในขณะใดที่มีความสำคัญตน และไม่มีความพอใจในบุคคลนั้น สามารถที่จะแสดง
    กิริยาอาการ ที่ลบหลู่ได้
    บทว่า มักขัง ได้แก่ลบหลู่คุณท่าน เป็นกรรมอันประกอบด้วยความกระด้าง คนลบ
    หลู่นั้น เหมือนจับคูถคืออุจจาระ แล้วประหารผู้อื่น กายของตนย่อมเปื้อนก่อนทีเดียว
    คนลบหลู่นั้น ย่อมลบหลู่ คือล้างคุณของผู้อื่นให้พินาสไป ดุจผ้าเช็ดน้ำ เช็ดน้ำที่
    ติดตัวของผู้อาบน้ำ ฉะนั้น
    ทั้งๆที่ผู้อื่นมีคุณ แต่การที่จะให้คุณของผู้อื่นหมดไป ก็โดยการลบหลู่ ซึ่ง
    เหมือนกับเอาผ้าเช็ดน้ำที่ติดตัวของผู้อาบน้ำ ฉะนั้น
    หรือข้อความในสัมโมหวิโนทนี ขุขททกวัตถุวิภังคนิทเทส มีข้อความว่า
    "มักขะ" เป็นราวกะว่า เหยียบย่ำความดีของผู้อื่น ไว้ด้วยเท้า
    นี่คือลักษณะของความลบหลู่
    จริงอยู่ท่านกล่าว่า มักโข คือผู้ลบหลู่คุณท่าน เพราะทำลาย กำจัดสักการะอันใหญ่
    ซึ่งเป็นที่ปรากฏแก่ชนเหล่าอื่น พึงเห็นว่าคนลบหลู่นั้น
    มีการลบล้างคุณของผู้อื่น เป็นลักษณะ
    มีการทำให้ผู้อื่นพินาส เป็น รสะ คือเป็นกิจ
    มีการตัดทำลายคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้ว เป็น อาการปรากฏ
    บทว่า มัจฉิปาเส ได้แก่เป็นผู้ลบล้างคุณของผู้อื่น คือป้ายร้ายความดีของ
    ผู้อื่น อธิบายว่า เป็นผู้ขจัดคุณ แม้ของตน จากการที่ลบล้างคุณของผู้อื่นนั้นด้วย
    การลบล้างคุณของผู้อื่นเกิดขึ้นขณะใด ควรจะนึกถึงสภาพของจิตของผู้ที่กำลัง
    ลบล้างคุณของผู้อื่นในขณะนั้นว่าเป็น
    อกุศลกรรม ของตนเอง ซึ่งจะต้องให้ผล
    ทั้งๆที่ในขณะนั้น คิดจะลบล้างคุณ ของผู้อื่นนั้นด้วย
    การลบล้างคุณของผู้อื่นเกิดขึ้นขณะใด ควรจะนึกถึงสภาพของจิต ของผู้ที่
    กำลังลบล้างคุณของผู้อื่น ในขณะนั้นว่าเป็นอกุศลกรรมของตนเอง ซึ่งจะต้องให้
    ผล ทั้งๆที่ในขณะนั้นคิดจะลบล้างคุณของผู้อื่น แต่จิตที่กำลังคิดอย่างนั้นเป็นอกุศล
    และเมื่อได้กระทำกรรมนั้นแล้ว
    ก็เป็นอกุศลกรรมซึ่งตนเองจะต้องเป็น ทายาท

    คือเป็นผู้ที่จะต้องรับผลของกรรมนั้น
    นี่ก็เพราะมานะเป็นเหตุนะคะ
    แม้ในขณะนั้น จิตประกอบด้วยโทสะ

    ผู้ฟัง ถ้ามีผู้มาว่าเรา หมายความว่าในขณะนั้น เราเคยได้สร้างกรรมเอาไว้ เขา
    ก็มาด่าเรา ถ้าเราโต้ตอบไป ก็เท่ากับเราสร้างกรรมต่อไปใช่ไหมคะ
    ท่านอาจารย์ ถูกต้องค่ะ
    ผู้ฟัง ทีนี้อยู่ที่ว่าเราจะอดทน สามารถอดทนเข้าใจความจริงได้แค่ไหน จึงจะไม่
    มีปฏิกริยาโต้ตอบได้
    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ก็จะรู้ลักษณะของสภาพจิตในขณะ
    นั้นได้ เพราะว่าบางครั้งจะต้องโกรธ เป็นของธรรมดา แต่ความโกรธนั้น จะถึงขั้น
    ได้ตอบหรือไม่โต้ตอบ หรือว่าจะเกิดมีจิต ที่คิดเมตตาในบุคคลนั้นแทนก็ได้
    เพราะว่าเห็นว่า ผู้โกรธย่อมเป็นผู้ที่จะได้ผลของ ความโกรธนั้นเอง
    ผู้ฟัง บางครั้งมีคนเขามาว่า แต่เราเมตตาไป เขาจะหายโกรธ เป็นความจริง
    ไหม บางทีเขามาผูกพยาบาทเรา แต่เราเมตตาสงสารที่เขามีทุกข์ ที่เข้าใจในตัวเรา
    ผิดไป คือเราต้องการให้เขาทำอะไรให้ถูกต้อง

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องยากที่จะให้ผู้อื่นเข้าใจเจตนาของเรา เพราะว่าบางครั้ง
    แม้ว่าเราจะมีกุศลเจตนา แต่คนอื่นก็ยังเข้าใจผิดได้ เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไร ถ้า
    คนอื่นเข้าใจเราผิด บางท่านก็พากเพียรใช้วิธีต่างๆ ที่จะทำให้คนอื่นเข้าใจถูก แต่
    ถ้าเหลือวิสัยที่จะเข้าใจได้ ก็ต้องปล่อยไป เพราะว่าไม่สามารถจะทำได้ดีกว่านั้นอีก
    ข้อสำคัญที่สุดคือ รักษาใจของเรา ให้เป็นกุศล
    นอกจากนั้น มานะยังเป็นเหตุให้มีอกุศลกรรมทางวาจาคือ "ปลาสะ" การตีเสมอ
    การตีเสมอ
    [​IMG]
    chaiyut

    วันที่ 17 มี.ค. 2554 10:41

    มานะนี้ท่านกล่าวว่าพึงเห็นเหมือนคนบ้า เวลาที่สะสมความบ้าจนมีกำลังแล้ว อาการที่

    แสดงออกก็เย่อหยิ่ง แล้วก็เป็นปัจจัยให้กระทำอกุศลกรรมร้ายแรงมากมายได้อีกด้วย

    ทั้งลบหลู่คุณท่าน ทั้งป้ายร้ายความดีของผู้อื่น เดี๋ยวต่อไปก็จะมีการตีตนเสมอท่านอีก

    น่ากลัวมานะนี้จริงๆ ครับ ถ้าไม่เข้าใจหนทางการเจริญสติปัฏฐาน ก็ไม่รู้ว่าจะขัดเกลา

    มานะ รวมทั้งอกุศลอื่นๆ ออกไปจากใจได้อย่างไร เข้าใจขั้นฟัง ก็ยังเห็นว่าไม่ใช่เรื่อง

    ง่ายที่จะขัดเกลา ไม่ต้องกล่าวถึงขั้นปฏิบัติกันเลย เพราะปัญญาจะต้องเจริญขึ้นเพื่อ

    ขัดเกลาอกุศลที่ไม่เคยเห็นตัวจริงจากขั้นฟังมาก่อน....อย่างมากมายมหาศาลแค่ไหน

    เป็นจิรกาลภาวนาจริงๆ แต่เริ่มได้ ตั้งต้นบนทางที่ถูกด้วยการฟังพระธรรมให้เข้าใจ
    " ข้อสำคัญที่สุดคือ รักษาใจของเรา ให้เป็นกุศล "
    ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอครับ
    [​IMG] (ยังมีต่อ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2011
  4. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    [​IMG]
    มาทำความเข้าใจกับคำว่าปัญญากันค่ะ

    ปัญญา นั้นก่อนอื่นเอาแบบคนธรรมดา ไม่ต้องคิดไปไกลปู้น
    เพราะเรายังไปไม่ถึง
    ยังไม่มีประโยชน์ (ฟังไว้ประดับสมองก็พอ เวลาใครเค้าสอน)
    เอาปัจจุบันที่ควรจะทำได้ ณ เวลานี้ ปัญญา คือความเข้าใจ
    และความเข้าใจ ต้องมีความจำอยู่ด้วย ถ้าเข้าใจแล้วจำไม่ได้
    ก็ไม่มีประโยชน์ ก็ไม่สามารถเอาปัญญามาใช้ได้
    ไม่ต่างจากเด็กเรียนหนังสือเท่าไหร่หรอกค่ะ เมื่อรู้เมื่อเข้าใจ
    ดังนั้น ปัญญาจะเกิดจากการฟัง อ่าน จำ และเข้าใจ
    ดังนั้นจะนำมาปฏิบัติตามได้ถูกต้อง
    ในการปฏิบัติธรรมนั้น ไม่มีทางลัด(กระทู้นี้ หน้าที่8 โพสท์ที่ 155 เข้าไปอ่านทำความเข้าใจกันค่ะ)
    การปฏิบัติไม่มีการกระโดดข้ามขั้น ทุกอย่างต้องตามลำดับขั้นไป
    [​IMG]

    การไปนิพพานได้ มี 2 ทาง คุยกันอย่างสั้นๆ ค่ะ
    1. สมถยานิก ทำฌาน อภิญญา นามรูปแสดงไตรลักษณ์
    2. วิปัสสนายานิก ลงมือกำหนดรูปนาม สติปัญญาไปรู้ตามความเป็นจริง
    ไม่เน้นสมถกรรมฐาน
    [​IMG]

    มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นที่พึ่ง

    ก็คือมีปัญญา

    ความเห็นถูกเป็นที่พึ่ง

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2011
  5. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    แปลกไหม...พอปริยัติเข้ามา...พวกที่อ้างตนเป็นนักปฏิบัติก็หายหน้าไม่กล้าพูดกล้าคุย...
    บ่นว่าเบื่อพวกปริยัติพูดมากเอาแต่พูดไม่ยอมปฏิบัติ...แต่พออ่านในหลายๆ ที่ก็เห็นนักปฏิบัติ
    คุยกันให้จ่อ...สอนกันให้เจี้ยว...อ่านดูแล้วก็ได้แค่เหมือนแต่มันไม่ใช่...ไม่ยั๊กกลัวบาปกลัวกรรม
    เพราะมันเป็น วจีทุจริต...ถ้าสอนก็สอนกันให้ถูกนั่นแหละมันของดี...แต่สอนผิดๆนี่ซีมันอันตราย
    มันกลายเป็นบิดเบือนคำสอนกลายเป็นผู้ทำลายคำสอนกลายเป็นผู้ทำลายพระพุทธศาสนาโดยที่ไม่รู้ตัว
    ทั้งๆที่รักและบูชาพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง...ภัยของพระพุทธศาสนาไม่ได้มาจากภัยภายนอก
    ภัยของพระพุทธศาสนาเกิดจากภัยภายใน คือ พุทธบริษัท 4 อันมี ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
    พระพุทธศาสนาจะตั้งอยู่นาน หรือไม่นานอยู่ที่พุทธบริบริษัท4นี่เอง การที่จะเสื่อมเพราะพุทธบริษัท4ละทิ้งไม่ปฏิบัติตามคำสอน
    มุ่งแสวงหา ลาภ สักการะ สรรเสริญ แม้จะสอนก็สอนโดยไปในทางตามกระแสของกิเลส ทำให้ฟังแล้วเพลินสนุกสนานน่าฟัง
    เหมือนฟังแล้วเข้าใจง่ายนึกว่าปัญญาเกิด แต่เปล่าเลยที่ชอบฟังนั่นแน๊ะกิเลสเขาชอบต่างหาก...

    การหลุดพ้นนั้นต้องทวนกระแสของกิเลส มุ่งสู่ให้ปัญญาเกิด พอเอาปริยัติมาสอนมากล่าวให้รู้สภาวะตามความเป็นจริงของปัญญาหรือของกิเลส
    กิเลสทั้งหลายนั้นก็จะแสดงอาการให้เห็นด้วยอำนาจของกิเลส โดยการ ง่วงบ้าง ฟังไม่รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เอาอะไรมาสอน
    สุดท้ายก็ไม่ยอมฟังคำสอนที่ถูกต้อง ก็กลายเป็นผู้หลงผิดไปว่าไม่ใช่คำสอน โดยเอากิเลสของตนเองเป็นผู้ตัดสิน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2011
  6. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314


    เก่งจัง อ่ะๆ ๆ ๆ เห็นด้วยๆ จริงๆ จ้า...
     
  7. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    เราก็เข้าใจค่ะ คนเค้าจะนึกแค่ ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง
    เค้าขาดความเข้าใจในการเกิดของปัญญาค่ะ
    ว่าการท่องจำนั้น เมื่อท่องจากการเกิดความเข้าใจแล้ว
    จะจำไปจนถึงวันตาย นำไปใช้ได้ตลอดชีวิต ถ้าท่องถูกวิธีด้วยนะค่ะ
    ถ้าเรานำพระธรรมมาเผยแพร่ แล้ว เค้าว่าไม่รู้เอาอะไรมาสอน
    เค้าฟังไม่รู้เรื่อง ก็เพราะ ขาดการเรียนรู้ตามลำดับขั้น
    ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ โดยเฉพาะพระอภิธรรมนั้น ยากที่สุด
    แต่ทุกอย่างเกิดได้ ถ้ามีความรัก ที่จะรู้ก่อน ถ้าไม่รักที่จะรู้
    ก็วนเวียน กันอยู่อย่างเดิม เหมือนจะรู้ แต่ก็ยังติดๆ ขัดๆ
    [​IMG]
    คลิ๊ก
    ฟังคำตอบได้ที่ >>เห็นแล้วรู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร ไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิก็ได้
    เห็นเป็นสิ่งใด ไม่จำเป็นต้องเห็นผิด

    จาก....บ้านธัมมะ
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2011
  8. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    khampan.a

    วันที่ 28 ก.ค. 2553 21:56
    จาก...บ้านธัมมะ
    [​IMG]


    เมื่อได้กระทำความผิดลงไปแล้ว

    [​IMG][​IMG]

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๐๒
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เรา เมื่อครั้งเป็นสุเมธดาบส ได้คิดว่า (เป็นข้อความที่ท่านสุเมธดาบสสอนตนเอง)

    “… ธรรมดาว่า น้ำ ย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและคนเลวโดยเสมอกัน ชะล้างมลทิน

    คือธุลี(สิ่งสกปรก)ออกได้ แม้ฉันใด แม้ท่าน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงเจริญเมตตาบารมี

    เจริญเมตตาไปสม่ำเสมอในชนผู้ทำประโยชน์และผู้ไม่ทำประโยชน์แล้ว ท่านจักบรรลุสัมโพธิญาณ

    (ข้อความบางตอนจาก ... พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีปกรณ์)

    [​IMG][​IMG]


    อุเบกขา มีการเป็นไปโดยอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลายเป็นลักษณะ มีความเห็น

    สัตว์ทั้งหลายโดยความเสมอกันเป็นรสะ(เป็นกิจ) มีการเข้าไปสงบความโกรธ และ

    ความรักเป็นปัจจุปัฏฐาน(อาการปรากฏ) มีความเห็นสัตว์มีกรรมเป็นของตน อย่างนี้ว่า

    สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน สัตว์เหล่านั้นจักมีความสุข หรือจักพ้นจากทุกข์

    หรือจักไม่เสื่อมจากสมบัติตามความพอใจของใครดังนี้ เป็นปทัฏฐาน(เหตุใกล้ให้เกิด).

    (ข้อความบางตอนจาก ... พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณีปกรณ์)


    [​IMG][​IMG]

    ธรรมดาของบุคคลผู้ที่ยังมีกิเลสนั้น อกุศลย่อมเกิดขึ้นมาก มักจะไหลไป เป็นไป

    ด้วยอำนาจของอกุศลเป็นส่วนใหญ่ และบางครั้งบางคราวก็ล่วงออกมาเป็นทุจริตกรรม

    ทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน ซึ่ง(อาจจะ)มีได้ ทั้งหมด

    ทั้งปวง ก็เป็นธรรม เป็นความเป็นไปของจิต เจตสิกเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล

    ไม่ใช่ตัวตน

    สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิด ย่อมมีแน่นอนสำหรับบุคคลผู้ที่

    กระทำความผิด จะมากหรือน้อยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตัวเราเองก็เช่นเดียวกัน , เวลาที่


    ตนเองทำความผิด ได้ผิดพลาดพลั้งไป ก็อยากจะให้คนอื่นเขาเข้าใจ และเห็นใจ

    คนอื่น ๆ ที่เป็นแบบเราก็มีความต้องการอย่างนี้เช่นเดียวกัน แต่เวลาคนอื่นทำความ

    ผิด ได้ผิดพลาดพลั้งไปนั้น เรามักจะลืมให้อภัยเขา ลืมเข้าใจเขา ..

    พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเป็นเครื่องเตือนที่ดีอยู่เสมอ เพราะพระองค์

    ไม่เคยสอนให้เกิดอกุศลเลยแม้แต่น้อย แม้ในบุคคลผู้กระทำความผิด ก็ไม่ควรโกรธ

    เพราะเหตุว่า บุคคลผู้ควรแก่การโกรธ ไม่มี ..

    และ อีกประการหนึ่งที่ควรพิจารณา คือ ในขณะที่คนอื่นได้กระทำความผิดไป ก็

    อย่าพึ่งโทษหรือโจทก์เขา ควรที่จะสอบสวนพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ถ้าเขา

    ผิดจริง ควรที่จะมีเมตตา คอยอนุเคราะห์เกื้อกูลให้เขาสละคืน คือ ละซึ่งการปฏิบัติอัน

    ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมนั้นเสีย ถ้าเขารับฟัง นั่นเป็นการดี แต่ถ้าเขาเป็นผู้ว่ายาก

    ไม่ยอมรับฟังในคำแนะนำอันถูกต้องนั้น ก็ควรจะเป็นผู้มีอุเบกขา คือ ความเป็นกลาง

    ไม่หวั่นไหวไปด้วยอำนาจของอกุศล คือ โทสะ พร้อมกับพิจารณาเห็นว่าสัตว์โลกมี

    กรรมเป็นของของตน ใครทำกรรมอะไรไว้ ก็ต้องได้รับผลของกรรมนั้น ๆ แต่การจะมี

    อุเบกขา(อุเบกขาพรหมวิหาร ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก) ได้นั้น พื้นฐานของจิตใจ


    ต้องเป็นผู้มีเมตตา

    เพราะฉะนั้นแล้ว ควรมองข้ามความผิดของผู้อื่นไปเสีย และอย่ากระทำให้เขาหมด

    กำลังใจด้วยการพิพากษาโทษของเขาอย่างรุนแรง และประการที่สำคัญอย่างยิ่งที่

    ขาดไม่ได้เลย คือ อย่าได้มองข้ามความผิดของตนเอง เพราะปุถุชนก็คือปุถุชน ไม่ใช่-

    พระอริยบุคคล ย่อมมีอกุศลเกิดมากเป็นธรรมดา มีกุศลเกิดแทรกสลับกับอกุศล เท่า

    นั้นเอง ดีเท่าไหร่ก็ยังไม่พอ จนกว่าจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ซึ่งก็จะต้องอาศัยกาล

    เวลาอันยาวนานในการอบรมเจริญปัญญา เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองต่อไป

    ความเข้าใจพระธรรม (ปัญญา) เท่านั้น ที่จะเป็นที่พึ่งที่แท้จริงสำหรับทุกคน ความ

    เข้าใจพระธรรม นอกจากจะเป็นประโยชน์สำหรับตนเองโดยตรงแล้ว ยังสามารถ

    เกื้อกูลให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ด้วย ด้วยการแนะนำให้เจริญในหนทาง ข้อ

    ปฏิบัติที่ถูกต้องตรงตามพระธรรมคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ตามกำลัง

    ปัญญาของตนเอง ครับ.

    ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุก ๆ ท่านครับ...

    [​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2011
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อนุโมทนาค่ะ

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจนิบาต เล่มที่ ๓๖ - หน้าที่ ๓๐๖

    ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการเป็นของหาได้ยาก

    แก้ว ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
    บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ๑
    บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ๑
    บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ซึ่งผู้อื่นแสดงให้ฟังแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
    กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑

    ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้แล เป็นของหาได้ยากในโลก.


    แก้ว 5 ประการ เป็นของหาได้ยากนี้
    ชวนให้คิดว่า ความกตัญญู อาจเป็นด่านแรกของคนที่จะบรรลุธรรมได้
     
  10. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    อนุโมทนาค่ะ ขอบคุณธรรมทานของคุณปุณฑ์ค่ะ
    [​IMG][​IMG]

    ที่จะรู้ตัว ว่ามีมานะ มากน้อยแค่ไหน ขณะไหน (ตอนที่ ๓)

    [​IMG]

    pirmsombat

    วันที่ 19 มี.ค. 2554 19:39
    จาก...บ้านธัมมะ

    ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์

    ท่านอาจารย์.....นี่ค่ะคือชีวิตตามความเป็นจริง ไม่ใช่ใครทั้งนั้นค่ะ แต่เป็นสภาพ
    ธรรมแต่ละอย่างๆ ซึ่งเมื่อสะสมมีกำลังเพี่มขึ้น ที่จะไม่ให้ปรากฏ ทางกาย ทาง
    วาจาก็เป็นสี่งที่เป็นไปไม่ได้แต่เมื่อมีการปรากฏแล้ว ถ้าสติเกิดระลึกได้ย่อมเห็นโทษ
    ข้อสำคัญที่สุด ต้องเห็น
    โทษของอกุศลตามความเป็นจริง
    ตราบใดที่ยังไม่เห็นว่า อกุศลนั้นเป็นโทษ
    ก็จะไม่มีการพากเพียรที่จะละละอกุศลนั้นๆเลย
    และบางครั้งอาจจะไม่รู้จัก สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
    ว่าเป็นอกุศลประเภทใด เช่น "ตืเสมอ"
    ก็เป็นอกุศลธรรม เพราะมีความสำคัญตนด้วย
    ข้อความใน สัมโมหวิโนทนี ขุททกวัตถุวิภังคนิทเทส วรรณนา ทุกนิทเทส
    มีข้อความว่า บุคคลใดย่อมตีเสมอ ผู้อื่น
    คือไม่แสดงคุณของผู้อื่น ย่อมทำคุณทั้งหลาย คล้ายกับเป็นคุณของตนๆ
    เพือนำมาซึ่งความชนะของตน เป็น ลักษณะ
    ทำคุณทั้งหลายของตนให้เสมอกับคุณของบุคคลอื่น เป็น รสะ
    ดีเท่ากันใช่ไหมคะ เก่งเท่ากัน รู้เท่ากัน
    เพราะฉะนั้นย่อมยังคุณของตน ให้แผ่ออกไปเสมอๆ
    ข้อความในอรรถกถา ยกตัวอย่างเช่น
    ในโรงธัมมสากัจฉา (คือการสนทนาธรรม) ย่อมจะกล่าวเหยียดออกไปซึ่งคุณ
    ของตน ให้เสมอๆกับผู้อื่นว่า "ในวาทะของท่าน และวาทะของเรา เหตุอันแตก
    ต่างกันชื่อว่ามีอยู่หรือ ถ้อยคำของพวกเรา ก็เป็นเช่นเดียวกับท่านนั่นแหละ

    เปรียบเหมือนแท่งทองคำ อันบุคคลผ่าออกแล้ว ก็เป็นทองคำนั่นแหละ
    มิใช่หรือ" ดังนี้
    นี่คือสำนวนของคนในยุคนั้น ซึ่งท่านก็มีคำที่สุภาพ แม้กระนั้นก็เป็นการตีเสมอ
    แม้แต่จะกล่าวว่าวาทะของท่าน กับวาทะของเรา ก็เป็นเช่นเดียวกับท่านนั่นแหละ
    เปรียบเหมือนแท่งทองคำ อันบุคคลผ่าออกแล้ว ก็เป็นทองคำนั่นแหละมิใช่หรือ
    ทำไมถึงจะต้องมีการที่จะสำคัญตน ถึงกับจะแสดงคุณของตนเอง ว่า
    คุณของตนก็มีเท่ากับบุคคลอื่นนั่นแหละ ซึ่งถ้ามีคุณจริง ก็ไม่จำเป็นเลยที่จะ
    ต้องมีการเปรียบเทียบ ว่าจะต้องเท่ากับบุคคลนั้น บุคคลนี้
    เพราะฉะนั้นผู้ที่ตีเสมอจะมีการ
    เอาใจใส่ยึดถือ คุณของผู้อื่น เป็นอาการที่ปรากฏ
    เพราะว่าถ้าเราไม่คิดถึงคุณของผู้อื่นซึ่งมีมาก แล้วก็อยากจะเหมือน ก็คงจะ
    ไม่มีการตีเสมอ ใช่ไหมคะ
    เพราะฉะนั้นเมื่อนึกถึงคุณของผู้อื่น ซึ่งมีมาก แต่ก็อยากให้เท่ากับของตนหรือ
    ว่าเหมือนกับของตน ด้วยความสำคัญตนในขณะนั้นก็เป็น ปลาสะ คือ "ตีเสมอ"
    ด้วยอำนาจของของมานะในขณะนั้น เพราะฉะนั้นก็ เป็นชีวิตประจำวันจริงๆของ
    แต่ละบุคคล มากหรือน้อยตามการสะสม ถ้าเป็นผู้ที่มีสติระลึกได้ ระลึกเร็วก็จะ
    หยุดใช่ไหมคะ ก็ไม่ "ตีเสมอ" ต่อไป หรือไม่ลบหลู่ต่อไปได้ เพราะว่าสติ
    เกิดระลึกได้ แต่ถ้าสติไม่เกิด ระลึกไม่ได้ ก็จะเป็นอุปนิสสัยที่จะสะสมต่อไป
    ซึ่งบุคคลอื่นก็ย่อมจะมองเห็นได้ชัด ในมานะ ของผู้ที่มี กาย วาจา อย่างนั้น
    นอกจากนั้นก็มี สาเถยยะ "ความโอ้อวด" นี่ก็เป็นชีวิตประจำวันอีกเหมือนกัน
    (ยังมีต่อ)
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2011
  11. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    ขอบคุณค่ะ เต็มไปด้วย ความรู้ สาระ ธรรมะมากมายค่ะ

    [​IMG]
     
  12. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    ขอบคุณค่ะน้องน่าน ที่เข้ามาอ่าน
    [​IMG]
    ที่จะรู้ตัว ว่ามีมานะ มากน้อยแค่ไหน ขณะไหน (ตอนที่ ๔)
    [​IMG]
    pirmsombat

    วันที่ 21 มี.ค. 2554 14:53


    จาก...บ้านธัมมะ
    ข้อความบางตอนจากการบรรยายธรรมโดยท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์


    ท่านอาจารย์...."ความโอ้อวด" คือ การไม่กล่าวโดยชอบ เพราะแสดงคุณ
    อันตนไม่มีอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้โอ้อวด ความโอ้อวดโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่าเป็น
    ผู้โอ้อวดมาก
    ความคดโกง คิอ การแสดงคุณอันไม่มีอยู่ ชื่อว่าความโอ้อวด เป็นสภาพที่
    กระด้าง เพราะไม่อดทนต่อสี่งอันไม่เป็นภัย
    การไม่อดทนต่อสี่งอันไม่เป็นภัย การไม่โอ้อวด ไม่เป็นภัยเลย เพราะฉะนั้น
    ถ้าเป็นผู้ที่อดทน คือ ไม่โอ้อวด ถ้าจะไม่มีการโอ้อวด แต่เพราะว่าไม่อดทนต่อสี่ง
    อันไม่เป็นภัย ไม่อดทนต่อการที่จะไม่โอ้อวดเพราะฉะนั้นก็ต้องโอ้อวดซึ่งเป็นภัย

    เป็นชีวิตประจำวัน ใช่ไหมคะ พอที่จะรู้ได้ขณะใดโอ้อวด แต่ตามความเป็น
    จริงแล้ว เท่าที่ทุกท่านคงจะพิจารณาได้นะคะ สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องการอบรม
    เจริญปัญญา เพือที่จะละกิเลส จะไม่เหมือนผู้ที่ยังเต็มไปด้วยมานะต่างๆ ที่จะ
    ทำให้มีกาย วาจา อย่างนั้น เพราะว่าเรี่มเห็นโทษของ กาย วาจา ที่ไม่สมควร
    ผู้ฟัง บางทีเราต้องการอธิบายให้ผู้อื่นได้ทราบว่าทัสสนะของเรา ความเห็นตรงกัน
    กับคนอื่นหรือเปล่าอย่างนี้ ไม่ทราบว่าจะเป็นการโอ้อวดหรือเปล่าครับ บางทีเรายัง
    ไม่ทราบว่าทัสสนะของเราถูกต้องหรือเปล่า แต่เราก็
    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นรู้สึกตัวว่าเป็นอย่างไรคะ ด้วยการโอ้อวดคือพูดถึงสี่งที่ไม่มี
    ผู้ฟัง ขณะนั้นเรามีอยู่แล้ว แต่ต้องการให้ผู้อื่น
    ท่านอาจารย์ การไม่กล่าวโดยชอบ เพราะแสดงคุณอันตนไม่มีอยู่ ชื่อว่า เป็นผู้
    โอ้อวด ถ้าบอกว่าวันหนึ่งๆ สติเกิดเยอะ เป็นไงคะ
    ผู้ฟัง ก็ไม่ได้ครับ
    ท่านอาจารย์ ความปรารถนาที่จะโอ้อวด โดยเฉพาะในสี่งที่ไม่มี

    ถ้ามีแล้ว ก็ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องโอ้อวดเหมือนกัน
    ถัมภะ เป็นลักษณะหนึ่งของมานะ เป็นอาการอย่างหนึ่งคือ "ความหัวดื้อ"
    (ยังมีต่อ)

    [​IMG]



    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส
    เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

    ความถือตัวว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนชั้นเดียวกัน
    ย่อมเกิดขึ้นแก่อิสสรชน
    มีอมาตย์เป็นต้น.
    ด้วยว่าอมาตย์ย่อมกระทำความถือตัวทั้งหลายเหล่านั้นว่า
    ราชบุรุษอื่นมีใครที่เสนอเราด้วยสมบัติในแว่นแคว้น
    หรือโภคะยานพาหนะ
    เป็นต้น ดังนี้บ้าง. ว่าเรามีการกระทำต่างอะไรกับราชบุรุษอื่น ๆ
    ดังนี้บ้าง,
    ว่า เรามีชื่อว่า อมาตย์เท่านั้น
    แต่ไม่มีแม้สักว่าอาหารและเครื่องนุ่งห่ม
    เราชื่อว่าอมาตย์อะไร ดังนี้บ้าง.
    ความถือตัวว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนเลว เป็นต้น
    ย่อมเกิดขึ้นแก่พวกทาสเป็นต้น.
    ด้วยว่าทาสย่อมกระทำความถือตัวทั้งหลายเหล่านี้ว่า ชื่อว่า
    ทาสอื่นมีใครที่เสมอเราฝ่ายมารดาก็ตาม
    ฝ่ายบิดาก็ตาม ทาสอื่น ๆ ไม่อาจ
    จะเป็นอยู่ เกิดเป็นทาสเพราะปากท้อง
    แต่เราดีกว่า เพราะมาตามเชื้อสาย
    ดังนี้บ้าง, ว่า เรามีการกระทำต่างอะไรกับทาสชื่อโน้น
    ด้วยความเป็นทาส
    แม้ทั้งสองฝ่าย เพราะมาตามเชื้อสาย ดังนี้บ้าง,
    ว่า เราเข้าถึงความเป็นทาส
    เพราะปากท้อง แต่ไม่มีฐานะทาสโดยที่สุด
    แห่งมารดา บิดา เราชื่อว่าทาส
    อะไรดังนี้บ้าง.
    แม้พวกปุกกุสะและพวกจัณฑาลเป็นต้น
    ก็กระทำความถือตัวเหล่านี้
    เหมือนทาสนั่นแล.
    ก็ในบทนี้ ความถือตัวที่เกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ดีกว่าคนดี
    เป็นความถือตัวที่แท้ ความถือตัว ๒ อย่างนอกนี้
    มิใช่ความถือตัวที่แท้

    บรรดาความถือตัวที่แท้และไม่แท้ ๒ อย่างนั้น
    ความถือตัวที่แท้ฆ่าด้วยอรหัตตมรรค,
    ความถือตัวที่ไม่แท้ ฆ่าด้วยโสดาปัตติมรรค.

    [​IMG]

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2011
  13. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ถอดเสียงจาก.... ชุดปกิณกธรรม แผ่นที่ ๑๒ ครั้งที่ ๖๗๙
    สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๗
    โดย.... ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์


    " ความโกรธของปุถุชน "


    ท่านอาจารย์ ท่านอนาถบิณฑิก ท่านเป็นพระอริยสาวก ท่านเป็นพระ-
    โสดาบันแล้วนะคะ ท่านยังมีกิเลสมั้ยคะ
    ท่านผู้ฟัง มีครับ

    ท่านอาจารย์ ท่านโกรธมั้ย

    ท่านผู้ฟัง มีครับ ...โกรธ

    ท่านอาจารย์ มี ท่านอนาถบิณฑิก ซึ่งเป็นสาวกโกรธ กับ คนซึ่งไม่ใช่
    พระอริยสาวก ซึ่งเป็นปุถุชนโกรธ พระอริยสาวกยังสามารถที่

    จะระลึกได้ว่า ขณะนั้นน่ะค่ะ เป็นสภาพธรรมที่ไม่ควรที่จะสั่งสม

    เพราะเหตุว่าเป็นอกุศลนะคะ
    แต่ปุถุชนเนี่ยค่ะ โกรธใครวันไหน วันนี้ก็ยังโกรธอยู่

    ยังพูดถึง ยังไม่ลืม นี่ก็แสดงว่าไม่มีปัญญาที่จะรู้สภาพธรรมใน

    ขณะนั้นได้ว่า มีลักษณะที่ไม่ควรที่จะสั่งสมต่อไป เพราะฉะนั้น

    นี่ก็เป็นความต่างกันนะคะ เพราะแม้ว่าจะทรงแสดงว่าไม่ควรที่

    จะโกรธ พยาบาท ผูกโกรธ ...แต่ก็ทำ เพราะเหตุว่า ปัญญา

    ไม่ถึงขั้นที่สามารถที่จะเห็นโทษของสภาพของอกุศลในขณะนั้น

    ได้ มีมั้ยคะความจริง
    ท่านผู้ฟัง ความจริงก็มีครับ

    ท่านอาจารย์ ค่ะ เพราะฉะนั้น มีข้อความว่า ..... "ดูกร คฤหบดี อริย-
    สาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว

    ละอภิชฌาวิสมโลภะ อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย" คือท่านละ

    ได้นะคะ เพราะว่าสติสัมปชัญญะเกิด
    "ทราบว่าพยาบาท อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุป-

    กิเลสแห่งจิตดังนี้แล้ว ละพยาบาท อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา

    อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย" การละของพระอริยะนี่ ก็ต้องต่าง

    กับผู้ที่มีปัญญาไม่ถึงความเป็นพระอริยะ ถ้าผู้ที่มีปัญญาไม่ถึง

    ความเป็นพระอริยะนะคะ อาจจะเกิดสติ ฯ มีความเข้าใจถูก-

    ต้องว่า "ขณะนั้นไม่เป็นประโยชน์เลย" การที่เข้าใจอย่างนั้น

    ขณะนั้นก็ทำให้พยาบาทเหล่านี้ไม่เกิด
    แต่ถ้าเป็นผู้ที่ได้ฟังธรรมะ อบรมเจริญปัญญา ละ

    ด้วยสติสัมปชัญญะที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น และ

    เมื่อเป็นพระอริยสาวกนะคะ ปัญญาก็ย่อมมากกว่าผู้ที่ยังไม่เป็น

    พระอริยสาวก
    จาก...บ้านธัมมะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2011
  14. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    ขอบคุณมากๆครับ สำหรับบทความดีๆ

    ส่วนตัวเคยได้ยินบัานธัมมะอยู่บ้าง เข้าใจว่าอยู่เชียงใหม่แถวคันคลอง พระธาตุดอยคำ

    จะหาโอกาสไปแอ่วครับ :cool:
     
  15. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    ขอบคุณคุณโชแปงที่เข้ามาอ่านนะค่ะ
    [​IMG]
    บ้านธัมมะที่กรุงเทพฯ มีบรรยายธรรมะ
    ช่วงเสาร์อาทิตย์ เมื่อก่อน
    แต่ปัจจุบันไม่ทราบว่า มีวันไหนบ้างค่ะ
    ที่บ้านธัมมะ ถนนเจริญนคร78
    [​IMG]
    วันฉัตรมงคลนี้ ก็มีบรรยายที่กรุงเทพ ที่วังพญาไท

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ..โทร ๐๒ ๔๖๘ ๐๒๓๙
    มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

    เลขที่ ๑๗๔/๑ ซ. เจริญนคร ๗๘ บุคคโล ธนบุรี กทม ๑๐๖๐๐
    [​IMG]

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ถอดเสียงจาก.... ชุดเทปวิทยุ แผ่นที่ ๒๑ ครั้งที่ ๑,๒๓๐
    สนทนาธรรมที่สังกัสสะ
    โดย.... ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

    [​IMG]
    " จุดประสงค์ของการเจริญสติปัฏฐาน "
    กับ
    " ผลพลอยได้ "
    [​IMG]

    จุดประสงค์การเจริญสติปัฏฐานนี้นะคะ อาจจะมีหลายอย่าง


    สำหรับแต่ละบุคคล บางคนอาจจะต้องการผลพลอยได้ของ

    การเจริญสติปัฏฐาน เช่น ให้ทุกขเวทนาน้อยลง

    แต่ว่าจุดประสงค์จริงๆ นี้ค่ะ ไม่ว่าจะฟังพระธรรม หรือว่า



    เจริญสติปัฏฐานก็ตาม
    ควรจะเป็นเพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่พระ-

    ผู้มีพระภาคตรัสรู้ ทรงแสดงไว้ และประพฤติปฏิบัติตาม โดยที่


    ไม่ได้หวังผลพลอยได้อื่นๆ

    ผลพลอยได้นี่ค่ะ ...มี ...แต่ว่าไม่ควรจะเป็นที่หวัง ที่หวัง

    นั้นควรจะเป็นปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ด้วยการฟัง

    ด้วยการอบรมเจริญปฏิบัติไป ทีละเล็กทีละน้อย อย่างท่าน

    พระคิริมานนท์หรือพระสาวกองค์อื่น หรือแม้พระผู้มีพระภาคเอง

    เวลาทรงพระประชวรนะคะ ก็ได้มีท่านพระมหากัสสปะ แสดง

    โพชฌงค์ แสดงธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงให้กับท่าน

    นั่นเอง ในขณะที่กำลังฟังนี่ค่ะ ย่อมเป็นธรรมดาที่ว่า เมื่อมีสิ่ง

    ซึ่งทำให้จิตน้อมไปสู่สิ่งใด ก็มีปัจจัยที่จะให้จิตน้อมไปสู่สิ่งนั้น

    และ ทุกขเวทนา ก็ไม่มีโอกาสที่จะปรากฏ ตามกำลังของเหตุ-

    ปัจจัย แต่ไม่ควรจะคิดว่า ทำอย่างนี้เพื่อหวังจะอย่างนั้นเลย

    หรือว่าเพื่อต้องการที่จะให้ทุกขเวทนาน้อยลง มิฉะนั้นแล้ว

    จะไม่เป็นผู้มั่นคงในธรรมจริงๆ เพราะเหตุว่ายังหวังอย่างอื่นอยู่

    แม้แต่เพียงการหวัง ที่จะให้ทุกขเวทนาเบาบาง ก็ยังไม่ควรที่จะ


    เป็นจุดประสงค์


    [​IMG]


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2011
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ที่กล่าวว่า นักปฏิบัติ หายหน้าไม่กล้าออกมาพูดด้วย นี่เป็นความประมาทของผู้พูดเอง เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่กล้า
    เพียงแต่ เห็นว่า อะไรเป็นข้ออรรถข้อธรรม ไม่ใช่เป็นความโอ้อวด เป็นประโยชน์ ก็ไม่มีอะไรจะต้องมาขัดแย้ง
    และที่กำลังกล่าวธรรมกัน ก็เป็นภาษาปฎิบัติ ไม่ใช่ ภาษาปริยัติ อย่างที่เข้าใจกัน เป็นข้ออรรถข้อธรรมแล้ว

    สำหรับ เรื่องการสอนผิดๆ ก็ควรจะยกตัวอย่างที่ ตนคิดว่า สอนผิด มาไม่ใช่ กล่าวลอยๆ
    เมื่อยกมาแล้ว ก็ต้องฟังเหตุฟังผล ด้วยว่า เรานั้นเป็นคนเข้าใจผิดเองหรือเปล่า
    ไม่ใช่ ใช้ความรู้สึก ตัดสินใจ เป็นสตรีแรกรุ่น พบรัก แบบนั้นไม่เอา
    ต้องรู้จักมีสติ พิจารณา เปิดรับฟัง ที่เราคิดว่าถูก เราก็ต้องชั่งใจว่าอาจจะผิด ที่เราคิดว่าผิด ก็ต้องชั่งใจว่า อาจจะถูก
    แต่ เมื่อใดก็ตาม หากเราใช้สติ พิจารณาลงไปที่ตัวธรรมะล้วนๆ เห็นจริงแล้วด้วยตนเอง นี่ไม่ต้องพิสูจน์
     
  17. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    ลุงขันธ์ บ่นอะไรค่ะ แปะๆ เค้าไม่มาตอบ
    แล้วเข้ามาบ่นอีกนะค่ะ หนูชอบค่ะ อ่านแล้วเพลินดีค่ะ
     
  18. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    เมตตา
    วันที่ 27 มี.ค. 2554 08:52
    จาก...บ้านธัมมะ

    ปรารภคือ ตั้งต้นแล้วตั้งต้นอีก
    [​IMG]

    การศึกษาพระธรรมเพื่อเข้าใจพระธรรม
    ยิ่งรู้ว่าพระธรรมนั้นยาก ลึกซึ้งก็ต้องฟังแล้วฟังอีก
    บางท่านกล่าวว่า ฟังแล้วรู้ว่าพระธรรมนั้นยาก
    ลึกซึ้งจริงๆเข้าใจแล้วพอแล้ว
    ไม่ฟังอีกอย่างนี้จะเป็นผู้ว่าง่ายหรือว่ายาก
    ผู้ที่ฟังพระธรรมต้องอดทนที่จะฟังแล้วฟังอีก
    พิจารณาไตร่ตรองให้เข้าใจยิ่งๆขึ้น
    ก่อนฟังพระธรรมมีแข็งปรากฏ ปรากฏ
    เป็นแข็งที่ขา ที่มือ..... แข็งเป็นแก้วน้ำ
    แข็งเป็นเก้าอี้ แต่เมื่อได้ฟังพระธรรม เริ่มมี
    ความเข้าใจแข็ง ค่อยๆ เข้าใจแข็งเพิ่มขึ้น
    เวลาแข็งปรากฏอีก จะเหมือนแข็ง
    ก่อนที่ได้ฟังพระธรรมไหม ? ก็ต้องต่างกัน
    ปรารภคือ ตั้งต้นแล้วตั้งต้นอีก อบรม
    ความเข้าใจจนกว่า แข็งปรากฏตามปกติเป็นแข็ง
    ไม่ใช่เราแข็ง สติรู้ตรงแข็งตาม
    ปกติตามความเป็นจริง ตั้งต้นแล้วตั้งต้นอีก
    สาระจริงๆของการฟังพระธรรมนั้น
    ไม่ใช่ปล่อยให้แต่ละขณะผ่านไปเรื่อยๆไปกับความไม่รู้
    ความติดข้อง... แต่ต้องเป็นขณะที่
    ปัญญาสามารถที่จะเข้าใจความจริง ของสภาพธรรม
    ที่กำลังปรากฏ ขณะนี้อดทนหรือเปล่าที่จะฟังแล้วฟังอีก
    เริ่มต้นแล้วเริ่มต้นอีก จะ เป็นผู้ว่าง่ายหรือว่ายาก
    [​IMG]
    ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
    ว่าง่าย...ไม่ใช่ว่าคนง่าย...ไม่ใช่เชื่อง่าย
    ...ขออนุโมทนาค่ะ..[​IMG].
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2011
  19. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63

    อาทิตย์นี้จะไปฟังธรรมครับ

     
  20. Mantalay

    Mantalay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,065
    [​IMG] ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณโชแปงค่ะ
    เราขอเป็นผู้ฟังแล้วฟังอีกนะคะ แม้ว่าจะเคยฟังมาแล้ว
    เคยอ่านมาแล้วนะคะ
    [​IMG]
    จากโพสท์ที่ 179
    "บางท่านกล่าวว่า ฟังแล้วรู้ว่าพระธรรมนั้นยาก
    ลึกซึ้งจริงๆ เข้าใจแล้วพอแล้ว
    ไม่ฟังอีกอย่างนี้จะเป็นผู้ว่าง่ายหรือว่ายาก
    ผู้ที่ฟังพระธรรมต้องอดทนที่จะฟังแล้วฟังอีก
    พิจารณาไตร่ตรองให้เข้าใจยิ่งๆขึ้น"

    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...