เหรียญครูบาชัยวงศาพระพุทธบาทห้วยต้มรูปหลังเกษาลพ.ไวย์ เหรียญรุ่น๒หลวงพ่อมนัส ทุ่งจันดำ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,749
    ค่าพลัง:
    +21,342
    0281EE12-1430-41C4-B14E-E32C4F4013AD.jpeg

    FB_IMG_1733713727871.jpg

    ครูบาชัยวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม(ข้าวต้ม)อ.ลี้ จ.ลำพูน
    ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ที่รู้ใจคน ถอดกายได้
    "... โดยมีผู้ถ่ายรูปเดี่ยวของท่าน แต่ปรากฏว่ารูปถ่ายที่ออกมา กลายเป็น ๒ องค์ คือองค์หนึ่งนั่ง อีกองค์หนึ่งยืน ท่านออกธุดงค์ตั้งแต่ยังหนุ่ม ..."
    ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย ซึ่งเป็นอาจารย์องค์แรกของท่าน เคยทำนายตอนที่ท่านยังเป็นเณรว่า ท่านจะเป็นผู้มาสร้างวัดพระพุทธบาทห้วยต้มแห่งนี้ นอกจากนั้นท่านยังเป็นลูกศิษย์ของครูบาพรหมจักร(พระอุปัชฌาย์ของท่าน)และครูบาอภิชัยขาวปี ที่มรณะแล้วร่างไม่เน่าเปื่อยอีกด้วย
    ท่านยังได้เรียนวิชาทางจิต จากตำราเก่าสมัยอยุธยาที่พระเก่งๆ ในสมัยโบราณนำมาซ่อนไว้ในถ้ำ เพื่อไม่ให้ตกไปอยู่ในมือพวกพม่า โดยเทวดามาบอกที่ซ่อนคัมภีร์นี้ เมื่อท่านฝึกสำเร็จแล้ว ท่านจึงนำเข้าไปเก็บรักษาไว้ในเจดีย์ที่วัด ท่านฉันเจและชอบฉันลูกเกาลัด
    ที่แปลกก็คือ ท่านชอบไปเข้าฝันคนทั่วไป เช่นเคยไปเข้าฝันบอกตัวยาแก้โรคกระเพาะให้ คนตายแล้วฟื้นเล่าว่า ได้ไปพบครูบาศรีวิชัย ท่านบอกให้มากราบครูบาวงศ์ เพราะท่านเป็นพระอริยะ และเทวดาที่วัดพระบาทห้วยต้มบอกวัดนี้ จะเป็น ๑ ใน ๓ วัด #ที่จะอยู่ได้จนครบ ๕,๐๐๐ ปี ในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
    ที่วัด ยังมีรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงมาประทับรอยไว้ เมื่อคราวที่เสด็จมาที่วัดแห่งนี้ ในครั้งนั้น นายพรานได้ทำข้าวต้มเนื้อกวาง ถวายแก่พระพุทธเจ้า แต่พระองค์ทรงฉันเฉพาะแต่ข้าวต้มเท่านั้น ไม่ทรงฉันเนื้อกวางที่ถวาย
    ทั้งนี้เพราะทรงทราบว่ากวาง
    ตัวนั้นเป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร ซึ่งต่อมาก็คือครูบาชัยวงศ์นั่นเอง และเนื้อกวางนั้น ต่อมาได้กลายเป็นหิน ปัจจุบันก็ยังเก็บรักษาไว้ อยู่ที่วัดพระบาทห้วยต้ม
    ท่านครูบาวิจิตร มนูญโญ แห่งวัดกุเตอร์โกล ต.สามหมื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก ได้เล่าให้ฟังว่า เคยขึ้นเขาไปกับท่านครูบาชัยวงศ์ เพื่อไปกราบพระพุทธบาท "วังตวง" อำเภอแม่พริก ได้เห็นท่านครูบาชัยวงศ์ ได้เอาเท้าของท่านเหยียบลงบนก้อนหินที่บนเขานั้น แล้วก็บอกให้ท่านคอยดูนะ เมื่อท่านยกเท้าขึ้น ก็ได้ปรากฏรอยเท้า บนก้อนหินนั้นจริงๆ..."
    เนื้อหาบางส่วนจาก : หนังสือพระชัยวงศานุสสติ ครูบาชัยวงศาพัฒนาคือ อดีตพระฤๅษีวาสุเทพ โดย...ทวีวัฒน์ เติมฤทธิ์(อู๋)
    หลวงปู่ครูบาวงศ์ฯ เป็นสหธรรมิกองค์เอกองค์หนึ่งของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน(ฤาษีลิงดำ)ที่พวกเราเคารพรัก
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้กล่าวแก่ลูกศิษย์ครูบาวงศ์ฯ ว่า
    “พระดีแบบครูบาวงศ์ไม่มีอีกแล้ว หาได้ยาก…..พวกลูกมีบุญมาก และโชคดีที่มาพบพระระดับหลวงพ่อวงศ์ ซึ่งเป็นพระปฏิบัติดี มีคุณธรรมสูง หลวงพ่อได้อะไร หลวงพ่อวงศ์ก็ได้เช่นเดียวกัน ไม่ด้อยไปกว่ากันเลย…. อย่าเสียทีที่เกิดมามีบุญ ได้พบพระระดับหลวงพ่อวงศ์”
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างส่งครับ
    เหรียญครูบาวงศ์ พิมพ์ไม่มีพ.ศ. หายาก
    ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20241209_094716.jpg IMG_20241209_094800.jpg
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,749
    ค่าพลัง:
    +21,342
    FB_IMG_1733727592104.jpg
    เปรตเฝ้าวัด
    ปีนี้ท่านไม่ได้บอกว่าจำพรรษาที่ไหน แต่ได้เล่าต่อไปว่า ออกพรรษาแล้วไปแสวงวิเวกอยู่ที่ถ้ำจำปา บ้านกะลึง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ถ้ำนี้อยู่ในเขตวัดร้างโบราณสร้างสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ประมาณพ.ศ. ๒๐๙๐-๒๑๑๔.
    มีอยู่คืนหนึ่ง เดินจงกรมแล้วนั่งภาวนาจิตสงบเป็นสมาธิ นิมิตเห็นพระภิกษุ ๓ องค์ รูปร่างสูงใหญ่ประมาณ ๘ ศอกคนโบราณเดินเข้ามาหา และห่างออกไปมีแม่ชีอยู่หลายนางเดินไปเดินมาอยู่
    จิตบอกว่า พระ ๓ องค์และพวกแม่ชีที่เห็นนี้ เป็นพวกผีเปรตเฝ้าวัดร้างแห่งนี้แหละ !
    เปรตพระสูงใหญ่ทั้ง ๓ เข้ามาเอามือลูบขาซ้ายพระอาจารย์จันทา แล้วถามถึงอายุพรรษาพระอาจารย์จันทาบอกให้ทราบแล้วจึงถามว่า
    “พวกเราเป็นพระ มีจิตเดียวกัน ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้วอย่างน้อยต้องได้ไปอยู่สวรรค์ แต่เหตุใดพวกท่านจึงมาตกค้างอยู่วัดนี้ด้วยการเป็นเปรตวิสัย ?”
    เปรตพระได้เล่าให้ฟังว่า สมัยเป็นพระอยู่วัดนี้เมื่อร้อย ๆ ปีมาแล้ว ศีล ๒๒๗ ทำขาดเกือบหมด เหลืออยู่แต่ข้อปาราชิกเท่านั้นที่รักษาไว้ได้
    พูดง่าย ๆ ก็คือว่า ตอนเป็นพระได้ทำตัวเหมือนชาวบ้านเกือบทุกอย่าง มีอย่างเดียวที่ยังไม่ได้ทำคือ มีเมียหรือได้เสียกับเพศตรงข้าม
    พระอาจารย์จันทาได้เรียกพวกเปรตแม่ชีเข้ามาถาม ก็ทราบว่าพวกแม่ชีทำความชั่วมาแล้วเช่นเดียวกันกับพวกพระ ท่านได้ซักถามต่อไปว่า
    “เป็นเปรตพระ เปรตชีนี้มีทุกข์มากไหม ?”
    ตอบเป็นเสียงเดียวกันอย่างเศร้าหมองว่า มีทุกข์มาก อดอยากไม่ได้กินอะไรเลย หิวโหยอยู่ตลอดเวลา ดินฟ้าอากาศร้อนแห้งแล้งหาที่เย็นสบายไม่มี นอนก็ไม่ได้เพราะอากาศร้อนมาก ต้องเดินไปเดินมาอยู่ทั้งวันทั้งคืนมาเกือบสามร้อยปีแล้ว และยังไม่รู้ว่าจะต้องได้รับโทษทัณฑ์อะไรต่อไปอีก
    พระอาจารย์จันทาถามว่า
    “พวกเจ้าอยากจะพ้นไปจากภูมิเปรตวิสัยไหม ?”
    “อยากพ้นไปใจจะขาดอยู่แล้ว แต่ไม่รู้จักทำอย่างไร”
    เปรตพระและเปรตแม่ชีตอบเป็นเสียงเดียวกัน ท่านพระอาจารย์จันทาจึงกำหนดจิตถามพระธรรมว่า สมควรจะสงเคราะห์ช่วยเหลือเปรตพระ เปรตแม่ชีพวกนี้หรือไม่ เป็นประการใด ?
    เสียงพระธรรมตอบว่า เปรตพระและเปรตแม่ชีวัดนี้ เคยเป็นญาติกับพระอาจารย์จันทามาแล้วหลายร้อยชาติ วิบากกรรมบันดาลให้มาพบกันอีกในชาตินี้ สมควรที่พระอาจารย์จันทาจะช่วยเหลือพวกเขาให้พ้นไปจากสภาพเปรตวิสัย
    พระธรรมได้บอกต่อไปว่า ให้เปรตพระและเปรตแม่ชีรับพระไตรสรณคมน์และศีล ๕ แล้วให้หัดเดินจงกรมบริกรรมภาวนาพุทโธ ๆ ๆ และไหว้พระสวดมนต์ไปเรื่อย ๆ อย่าหยุด อย่าเกียจคร้าน ถ้าวันใดมีญาติโยมมาทำบุญกับพระอาจารย์จันทา ก็ให้บอกญาติโยมกรวดน้ำอุทิศกุศลให้เปรตพระและเปรตแม่ชีด้วย
    ท่านพระอาจารย์จันทาทราบแล้ว จึงได้ให้เปรตพระและเปรตแม่ชีรับพระไตรสรณคมน์และศีล ๕ จากนั้นได้สอนให้รู้จักการเจริญภาวนา การเดินจงกรมซึ่งพวกเปรตก็ปฏิบัติตามอย่างตั้งใจ
    ท่านได้เข้าสมาธิสอนเจริญภาวนาให้พวกเปรตกลุ่มนี้อยู่ตลอดหน้าแล้ง ๓ เดือน แม่ชีเปรตนางหนึ่งเข้ามากราบลาว่า
    “ท่านครูบา ดิฉันมีเวรกรรมน้อยกว่าผู้อื่น บัดนี้กรรมเวรหมดแล้ว จะมาขอลาไปเกิดที่บ้านกะลึงเจ้าค่ะ “
    ท่านพระอาจารย์จันทาได้ห้ามไว้ ไม่ให้ไปเกิดบ้านเดิม เกรงว่าจะไปพบกับพระเณรที่ชอบประพฤติชั่ว ละเมิดธรรมวินัยอีก เหมือนชาติก่อนแล้วจะตายมาเกิดเป็นเปรตอีก
    ท่านได้แนะนำ ให้ไปเกิดในอำเภอบ้านผือ ไปเกิดกับพ่อค้าใหญ่เจ้าของโรงสีที่มีจิตใจเลื่อมใสในพระกรรมฐาน หรือจะไปเกิดในเมืองอุดรธานีก็ได้ แต่ให้เลือกเกิดในตระกูลพ่อค้าอาเสี่ยใหญ่ที่มีจิตเลื่อมใสในพระกรรมฐาน
    ก่อนที่จะเกิดกับตระกูลใดให้ตั้งจิตภาวนาพุทโธ ธัมโม สังโฆ ให้แน่วแน่ แล้วอธิษฐานขอเกิดร่วมวงศ์ตระกูลกับเขา แล้วก็จะได้เกิดสมดังปรารถนา เปรตแม่ชีรับคำแล้วก็กราบอำลาไปเกิดใหม่
    จวนจะเข้าพรรษา พระอาจารย์จันทาได้บอกเปรตพระและเปรตแม่ชี ที่ยังไม่หมดเวรหมดกรรม ให้รีบเร่งเจริญภาวนาและรักษาศีล เพื่อช่วยตัวเองให้หลุดพ้นไปจากภพภูมิเปรตวิสัย ส่วนตัวท่านจะไปเข้าพรรษาอยู่กับหลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดบ้านหนองแซง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญจอบและเหรียญกลมหลังหลวงปู่ หลวงปู่จันทาถาวโร ๒ เหรียญ
    ให้บูชา 350 ค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20241209_135513.jpg IMG_20241209_135630.jpg IMG_20241209_135657.jpg IMG_20241209_135544.jpg IMG_20241209_135609.jpg
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,749
    ค่าพลัง:
    +21,342
    วันนี้ จัดส่ง

    1733741812646.jpg
    ขอบคุณครับ
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,749
    ค่าพลัง:
    +21,342
    FB_IMG_1733818342302.jpg FB_IMG_1733818476176.jpg

    หลวงปู่เส่ง พระครูโศภณกัลยาณวัตร
    หลวงปู่เส่ง พระครูโศภณกัลยาณวัตร เส่ง โสภโณ หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร เกจิ พระเกจิหลวงพ่อเส่ง
    พระครูโศภณกัลยาณวัตร(เส่ง โสภโณ) วัดกัลยาณมิตร วรวิหาร หลวงปู่เส่ง เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มิ.ย. 2434 ที่บ้านย่านปากคลองตลาด เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นบุตรของนายเพี้ยน และนางแดง นามสกุล เปี๊ยนสู่ลาภ มีพี่น้องร่วมท้องเดียว กัน 3 คน โดยหลวงปู่เส่งท่านเป็นบุตรคนโต
    หลวงปู่เส่ง โสภโณ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เจ้าพิธีตำรับน้ำมนต์บัวลอย
    วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชื่อดังแห่งฝั่งธนบุรี ไม่เพียงเลื่องลือระบือไกลด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของ "พระพุทธไตรรัตนนายก หรือหลวงพ่อโต" (ซำปอกง) ซึ่งมากด้วยอภินิหารเท่านั้น ทว่า อดีตเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้ ล้วนมากมีไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสายวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมที่สูงส่ง หนึ่งในนั้นก็คือ "พระสุนทรสมาจาร" (พรหม อินทโชติ) หรือ "เจ้าคุณพรหม" พระเกจิอาจารย์ที่เก่งทางวิชาอาคมขลัง เจ้าของพระปรกใบมะขามอันลือลั่นสนั่นกรุง
    ท่านมีศิษย์เอกองค์สำคัญ ที่สร้างชื่อเสียงและความเจริญให้แก่วัดกัลยาณ์อย่างมากคือ "พระครูโศภณกัลยาณวัตร" หรือสมญานามที่บรรดาศิษย์กล่าวขานถึงด้วยความเคารพว่า "หลวงปู่เส่ง โสภโณ"
    แม้ท่านจะอยู่ในฐานะพระลูกวัด แต่มีผู้คนให้ความเคารพศรัทธามากมาย เนื่องจากต่างเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ท่านได้รับการถ่ายทอดจากเจ้าคุณพรหม อีกทั้งเลื่อมใสในความเป็นพระผู้มากด้วยเมตตาบารมีโดยแท้ ท่านมรณภาพไปเมื่อวันที่ ๑๔ ม.ค.๒๕๒๖ สิริอายุได้ ๙๒ ปี ๗ เดือน ๔ วัน นับพรรษาได้ ๗๒ พรรษา รวมเวลากว่า ๒๐ ปีแล้ว แต่ความเลื่อมใสศรัทธาในคุณงามความดีของท่านไม่เคยจางหายไปจากจิตใจของชาว บ้าน
    "หลวงปู่เส่ง" เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ มิ.ย. ๒๔๓๔ที่บ้านย่านปากคลองตลาด เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นบุตรของนายเพี้ยน และนางแดง นามสกุล "เปี๊ยนสู่ลาภ" มีพี่น้องร่วมท้องเดียว กัน ๓ คน ท่านเป็นคนโต สมัยที่ยังเยาว์วัย วัดกัลยาณมิตรซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับปากคลองตลาด มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งมีบารมีทางธรรมสูงและมีความเชี่ยวชาญทาง ด้านพระวิปัสสนาธุระ-วิทยาคมคือ "พระสุนทรสมาจาร" (พรหม) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูพินิตวิหารการ
    กิตติคุณทางไสยศาสตร์ของ ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของมหาชนจำนวนมาก จึงต่างพากันมาขอของดีและฝากตัวเป็นศิษย์ มีทั้งระดับชาวบ้านธรรมดาและชาววัง อาทิ พระยาศิริชัยบุรินทร์, พระยาสิงหเสนีย์, พระยาสุรเทพศักดิ์, พระยามนตรีสุริยวงศ์ และขุนหลวงพระยาไกรสีห์ (เปล่ง เวภาระ) เป็นต้น
    โยมบิดามารดาของหลวง ปู่เส่ง ก็เป็นอีกครอบครัวหนึ่งที่พากันมาฝากตัวเป็นสานุศิษย์ในท่านเจ้าคุณพระสุนทร สมาจาร (พรหม) ทำให้ท่านได้ติดสอยห้อยตามเข้าวัดอยู่บ่อยครั้ง อาศัยที่ท่านมีใจฝักใฝ่ในทางธรรม-รักความสงบชอบความสันโดษ จึงเกิดความพอใจความสงบวิเวกภายในบริเวณวัด โดยมีคำบอกเล่าต่อๆ มาว่า ท่านมักจะหนีออกจากบ้านข้ามฟากมาวัดกัลยาณ์บ่อยๆ เพื่อหนีสภาพความสับสนวุ่นวายในย่านปากคลองตลาด
    บางครั้งก็แอบไป นั่งสมาธิทำความสงบในป่าช้าคนเดียว ซึ่งป่าช้านั้นติดอยู่กับด้านหลังของคณะ ๔ อันเป็นที่พำนักของท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม)
    ในขณะนั้น บิดามารดาเห็นว่าท่านไม่มีอุปนิสัยไปในทางค้าขาย ใฝ่ใจไปในทางธรรม จึงนำบุตรชายไปมอบถวายตัวเป็นสานุศิษย์ของเจ้าคุณพรหม
    กระทั่ง อายุ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร และอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๑ ปี ตรงกับปีพ.ศ. ๒๔๕๕ ณ วัดกัลยาณมิตร โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธัมมสิริ) วัดอรุณราช วราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมเทศา จารย์ (มุ้ย ธัมมปาโล) วัดราชโอรสาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสุนทรสมาจาร (พรหม) วัดกัลยาณมิตร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า "โสภโณ"
    สำหรับตำแหน่ง สมณศักดิ์ เดิมได้รับตำแหน่งเป็นพระฐานานุกรมในท่านเจ้าคุณพระสุนทรสมาจาร (พรหม) เป็นพระปลัด ปีพ.ศ.๒๔๙๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท (จปร.) ที่ "พระครูโศภณกัลยาณวัตร" และอยู่ในสมณศักดิ์เดิมตราบจนสิ้นอายุขัย
    ตลอดระยะเวลาที่ดำรง ตำแหน่งพระปลัดนั้น หลวงปู่เส่งได้มีส่วนช่วยท่านเจ้าคุณพรหม ในด้านการพัฒนาต่างๆ เพราะพระอาจารย์ของท่านนอกจากจะเป็นพระเถระที่ทรงคุณธรรมในด้านพระวิปัสสนา ธุระและวิทยาคม ยังเป็นพระนักพัฒนารูปสำคัญอีกด้วย
    สิ่งที่ "ท่านเจ้าคุณพรหม" สร้างสรรค์ไว้และได้กลายมาเป็นอนุสรณ์อันสำคัญยิ่งก็คือ การที่จัดหล่อระฆังใบใหญ่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ ซึ่งต่อมาปรากฏตามหลักฐานประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากรได้จารึกไว้ว่า "เป็นระฆังใบใหญ่ที่สุดในประเทศไทย"
    ภายหลังจากที่ท่านเจ้าคุณพรหมมรณภาพปี พ.ศ.๒๔๗๖ "หลวงปู่เส่ง" ได้รับภาระการสร้างต่อจนเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๑ ม.ค.๒๔๗๘ ทำพิธีนำระฆังไปประดิษฐานและฉลองเมื่อวันที่ ๑ ก.พ. ๒๔๗๘ โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เสด็จเป็นประธาน
    เนื่องจากท่านใช้เวลาส่วนมากในการช่วยงานพระอาจารย์พัฒนาวัด จึงไม่มีเวลาไปศึกษาทางด้านปริยัติธรรมอย่างจริงจัง ต้องอาศัยเวลาในยามว่างเล่าเรียนธรรมและวิทยาคมจากท่านเจ้าคุณพรหม แต่เป็นการเรียนเพื่อรู้ ไม่ได้เข้าสอบไล่ในสนามหลวงเอาใบประกาศวุฒิบัตร จึงเป็นไปในลักษณะเรียนรู้หลักธรรมเล่านั้น เพื่อที่จะได้นำมาปฏิบัติได้ถูกต้องตามขั้นตอนของพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ปริยัติ-ปฏิบัติ-และปฏิเวธ
    ส่วนทางด้านวิปัสสนาธุระและวิทยาคมนั้น เข้าใจว่าท่านเจ้าคุณพรหมคงจะถ่ายทอดให้หมด เพราะท่านเป็นสานุศิษย์เพียงรูปเดียว ที่อยู่ปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดตลอดมา แต่เนื่องด้วย อุปนิสัยที่สุขุมนุ่มนวลของท่าน ไม่ชอบโอ้อวด ไม่ค่อยแสดงออก จึงไม่เป็นที่เปิดเผยเท่าไรนัก
    ทั้งนี้ ปฏิปทาของหลวงปู่เส่งจะหนักไปในทาง "เมตตาธรรม" เป็นหลักใหญ่ ดังจะเห็นได้จากการที่ใครมีทุกข์เดือดร้อน เมื่อบากหน้ามาหา ท่านก็ไม่เคยปฏิเสธความช่วยเหลือกับใครเลย ถ้าขอเป็นเงินท่านก็ให้เป็นเงินสงเคราะห์ไป ถ้าขอเป็นสิ่งของท่านก็ให้เป็นสิ่งของ บางรายที่ได้ทราบว่าท่านคือศิษย์ก้นกุฏิของท่านเจ้าคุณพรหม ผู้เรืองวิทยาคม ก็จะพากันมาขอรับน้ำมนต์-น้ำพร ท่านก็ไม่เคยขัดศรัทธา ฉลองศรัทธาทำให้ทุกๆ รายไป
    นานวันเข้า คำร่ำลือในความศักดิ์สิทธิ์จากน้ำพระพุทธมนต์ที่หลวงปู่เส่งปลุกเสกก็แผ่ออกไปในวงกว้างมากขึ้นทุกที จึงมีมหาชนเป็นจำนวนมากแห่กันมาตั้งแต่เช้าจนกระทั่งเย็น ถึงยามวิกาล ทำให้ท่านเป็นพระเถระที่ทรงวิทยาคมขลังไปในทางปลุกเสก น้ำพระพุทธมนต์บัวลอย ปล่อยเคราะห์ไปโดยเหตุดังที่กล่าวมา
    สาเหตุที่เรียก "น้ำพระพุทธมนต์บัวลอย" ปล่อยเคราะห์ ก็เพราะว่าผู้ที่ต้องการน้ำมนต์-น้ำพรจากหลวงปู่เส่งจะต้องนำดอกบัวขาว ๓ดอกเทียนขาว ๑ เล่ม มาให้หลวงปู่เส่งท่านทำพิธีปลุกเสกให้ที่บาตรน้ำมนต์ แล้วท่านจะรด "น้ำพระพุทธมนต์บัวลอย" นั้นให้ เสร็จแล้วท่านก็จะให้ดอกบัวขาว ๒ ดอกนั้น แก่ผู้ที่นำมา นำดอกบัวขาวที่หักก้านออกแล้ว ๑ ดอกไปลอยลงในแม่พระคงคาเพื่อปล่อยเคราะห์เป็นอันเสร็จพิธี
    สำหรับวิทยาคมด้านอื่นๆ เนื่องจากท่านเป็นพระสมถะที่ไม่ค่อยแสดงออก จึงมักปรากฏผลและทราบก็แต่เฉพาะผู้ที่ท่านสงเคราะห์ไปให้เป็นรายๆ เท่านั้น นอกจากนี้ ท่านได้ใช้เวลาว่างทำผ้ายันต์แจกศิษย์ โดยเขียนลงบนผืนผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัสจารอักขระขอมและยันต์ต่างๆ ด้วยมือของท่านเองทุกๆ ผืน
    ส่วนวัตถุมงคลที่ท่านสร้างแจกแก่บรรดาศิษย์ทั่วไปในวาระต่างๆ มีพระสมเด็จ ปางสมาธิเนื้อผง พิมพ์ทรงฐาน ๕ชั้น, พระหลวงพ่อโตปางมารวิชัย เนื้อดินเผา พระนาคปรกเมล็ดข้าวเม่าหรือใบมะขามเนื้อทอง แดง-ทองเหลือง, พระเกศทองคำปางสมาธิ เนื้อเมฆพัด พระพิมพ์ขุนแผนปางมารวิชัย เนื้อผง และผ้ายันต์รูปสี่เหลี่ยม กว้างและยาวด้านละ ๙ นิ้ว เหรียญรูปเหมือน มีรูปแบบและขนาดแตกต่างกันไป เช่น เหรียญรูปไข่ เนื้อทองแดง, เนื้อทองแดงชุบนิกเกิล, เหรียญรูปใบเสมาเนื้อทองแดง, เหรียญรูปอาร์มเนื้อทองแดง เงิน และทองคำ (ฉลองอายุ ๘๐ ปี) เหรียญรูปไข่ (เหรียญ ๒หน้า) เนื้อทองแดงรมดำ ลักษณะคล้ายเหรียญเจ้าคุณพรหม
    วัตถุมงคลของ "หลวงปู่เส่ง โสภโณ" วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ เล่าขานกันว่า ทรงคุณวิเศษทางเมตตามหานิยม ค้าขาย แคล้วคลาดจากสรรพภัยทั้งปวง และเป็นที่หวงแหน-เสาะหาในหมู่ลูกศิษย์อยู่เสมอ
    เครดิตอ้างอิงข้อมูล itti-patihan.com
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    เหรียญลป.เส่ง ปี๒๕๒๒ และ
    พระผงกลีบบัวเนื้อผงน้ำมัน ๒องค์คู่
    ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    FB_IMG_1733818436008.jpg FB_IMG_1733818438793.jpg FB_IMG_1733818459729.jpg FB_IMG_1733818462486.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...