โลกร้อน...เสียงไซเรนที่ไม่อยากฟังก็ต้องฟัง!

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 6 มิถุนายน 2009.

  1. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    การระเบิดของภูเขาไฟ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    ป้ายกำกับ: climate change, การระเบิด ภูเขาไฟ, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ภูเขาไฟ ไอซ์แลนด์ เขียนโดย กรีนพีซ ประเทศไทย on 23 เมษายน 2010 ที่ 15:26

    ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การระเบิดของภูเขาไฟได้เพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของมนุษย์ ผลกระทบจากระเบิดของภูเขาไฟ (ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ถือว่าน้อยมาก

    กล่าวคือ การระเบิดของภูเขาไฟปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศราว 110-250 ตันต่อปี ในขณะที่กิจกรรมของมนุษย์นั้นปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่านั้นเป็นร้อยเท่า



    [​IMG]


    อะไรปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ต่อวันมากกว่ากัน อุตสาหกรรมการบินในยุโรป หรือ ภูเขาไฟ Eyjafjallajokull ในไอซ์แลนด์?

    การระเบิดของภูเขาไฟจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะสั้น หรือจะมีส่วนต่อความแปรปรวนตามธรรมชาติของสภาพภูมิอากาศหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

    หากการระเบิดรุนแรงมากพอ ก็จะทำให้ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือก๊าซที่เป็นกรดชนิดต่างๆ กระจายขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ และแผ่ปกคลุมโลกภายในไม่กี่สัปดาห์ และคงอยู่ในชั้นบรรยากาศนั้นเป็นเดือนหรือเป็นปี

    ละอองเถ้าขนาดเล็กที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์จะสะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์บางส่วนกลับออกสู่อวกาศ แทนที่จะลงสู่พื้นผิวโลก ก๊าซที่เป็นกรดซัลเฟอร์ เมื่อรวมตัวกับน้ำในชั้นบรรยากาศ กลายเป็นละอองลอย (aerosols) ที่ดูดซับรังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ และสะท้อนรังสีเหล่านั้นกลับออกสู่อวกาศ

    การสะท้อนของรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่มายังพื้นผิวโลกนี้เป็นผลทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกลดลง



    [​IMG]

    การระเบิดของภูเขาไฟ Eyjafjallajokull ในไอซ์แลนด์



    ข้อมูลทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า การระเบิดของภูเขาไฟที่รุนแรงเพียงพอที่จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกลดลงชั่วคราวนั้นได้เกิดขึ้นในหลายๆ โอกาสด้วยกันในช่วง 600 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ที่รู้จักกันมากที่สุดและเกิดขึ้นในปี 2534 คือการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟพินาตูโบ (Pinatubo) ในฟิลิปปินส์

    ที่ปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ราว 17 ล้านตัน และละอองเถ้าขนาดเล็ก ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศสูง 40 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวโลก ภายใน 3 สัปดาห์ กลุ่มควันภูเขาไฟก็ได้แผ่ปกคลุมชั้นบรรยากาศของโลก

    ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกลดลง 0.4 องศาเซลเซียส การลดลงของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกดังกล่าวมีต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี

    กลุ่มควันที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ Eyjafjallajokull ในไอซ์แลนด์ที่อยู่ใต้ธารน้ำแข็ง ยังลอยขึ้นไปไม่ถึงชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ นอกจากนี้ การระเบิดที่เกิดขึ้นมิได้ปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาล

    ดังนั้น อาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับท้องถิ่นอยู่บ้าง แต่ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลก ยกเว้นเสียแต่ว่า การระเบิดจะรุนแรงมากขึ้น หรือมีช่วงเวลาที่ยาวนานขึ้น


    ผลกระทบทางด้านสภาพภูมิอากาศอาจเกิดในวงที่กว้างขึ้นได้ แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น การลดลงของอุณภูมิผิวโลกจะเป็นเหตุการณ์ชั่วคราวและไม่อาจชดเชยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นที่การกระทำของมนุษย์ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์และการทำลายป่าไม้


    ธารา บัวคำศรี



    กรีนพีซ | กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
     

แชร์หน้านี้

Loading...