คลังเรื่องเด่น
-
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๖ -
วิธีแก้อารมณ์กำหนัด
ถาม : เมื่อก่อนสังเกตอารมณ์ตัวเอง อย่างเวลามีความกำหนัดเกิดขึ้น จะมีอยู่สองอารมณ์ที่เกิดขึ้น ก็คือ พยายามที่จะทำตามความรู้สึกนั้น กับพยายามที่จะให้ความรู้สึกนั้นหายไป ทีนี้เกิดมีอีกอารมณ์หนึ่งเกิดขึ้นเข้ามา ก็คือ รู้สึกว่าความกำหนัดเกิดขึ้น แต่ไม่ได้อยากให้หายไป และก็ไม่ได้อยากจะทำตาม ตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งของสังขารุเปกขาญาณหรือเปล่า ?
ตอบ : อันหลังนี่เป็นอารมณ์ที่ถูกต้องกว่า เพราะว่าสภาพร่างกายของเราถ้ายังดีอยู่ เรื่องของราคะ โทสะ โมหะ จะแรงเป็นปกติ แต่จะแรงก็แรงไป เราไม่ให้ความใส่ใจ ไม่ไปนึกคิดปรุงแต่งจินตนาการ ก็จะอยู่ได้ไม่นาน แล้วก็จะหายไปเอง
เพราะฉะนั้น..เราทำตัวเป็นคนดู พอถึงเวลามีตัวละครขึ้นเวทีมา เราก็ดูไปเรื่อย พอเล่นครบบทเดี๋ยวมันก็ลงเวทีไปเอง ถ้ายิ่งสติ สมาธิ ปัญญาของเราเข้มข้น แหลมคม ว่องไวมากเท่าไร ระยะเวลาที่จะอยู่ได้ก็สั้นลงเท่านั้น และท้ายสุดถ้าหากว่าไวจริง ๆ ก็จะตัดตั้งแต่เหตุเลย แล้วมันจะเกิดไม่ได้ ถ้าถึงตอนนั้นคุณสบายแล้ว
อย่างเช่นมองไปจะสักแต่เห็นว่าเป็นคนหรือเป็นสัตว์เท่านั้น จะไม่มีการคิดต่อว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย สวยหรือไม่สวย ชอบหรือไม่ชอบ... -
สู้ขณะเป็นพระกับ สู้ขณะเป็นฆราวาส อย่างไหนง่ายกว่ากัน ?
สู้ขณะเป็นพระกับ สู้ขณะเป็นฆราวาส อย่างไหนง่ายกว่ากัน ?
ถาม : สู้ขณะเป็นพระกับสู้ขณะเป็นฆราวาส อย่างไหนง่ายกว่ากัน ?
ตอบ : ขณะเป็นพระได้เปรียบกว่าเยอะ เพราะถูกจำกัดเขตอยู่ด้วยศีล ถ้าหากประเภทไม่หน้าด้านหน้าทนจริง ๆ ชั่วอย่างไรก็ไม่หลุดไปจากกรอบของศีลหรอก
ถาม : ผมว่าเป็นฆราวาส มีเรื่องกวนใจทุกวัน ?
ตอบ : ชีวิตฆราวาส เหมือนกับว่าเราถูกปล่อยไว้ในป่ากับเสือตัวหนึ่ง บางครั้งเดินทั้งปีก็ไม่เจอเสือตัวนั้นหรอก แต่ชีวิตของพระ เขายัดเราเข้ากรงไปอยู่กับเสือตัวนั้น ก็เลยฟัดกันอยู่ทุกวันจนกว่าจะตายกันไปข้างหนึ่ง
ถาม : เราว่าเราใจเย็น แบบไม่มีใครเหมือน พอเก็บเงินได้สักก้อน ก็จะไปปฏิบัติ ไม่รู้ตอนนั้นจะไหวหรือเปล่า ?
ตอบ : ระวังเอาไว้...ประเภทอีกเดี๋ยวหนึ่งค่อยไปก็ได้ เดี๋ยวตายเสียก่อนไม่ได้ทำหรอก หรือไม่ก็คลานไม่ไหวแล้ว แก่เกินแกง
พวกเรายังได้เปรียบ คือ คิดมุ่งไปทางปฏิบัติดีอย่างนี้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก ใช้คำว่ายังไม่มาก เพราะว่าถ้าคนทุกข์มาก ๆ อยู่มาขนาดนี้ เหลือจะเข็นแล้ว เพราะฉะนั้น..มัวแต่ไปประมาทอยู่ว่าเรายังไหว เดี๋ยวเสร็จ..ตายเสียก่อนก็หมดโอกาสเลย
สนทนากับพระอาจารย์เล็ก... -
"ปัญญาแท้ แก้กิเลส " (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
.
"ปัญญาแท้ แก้กิเลส"
" .. นี่เคยพูดเสมอเรื่องสติปัญญาที่จะแก้กิเลสนี้ "เป็นสติปัญญาที่ผลิตขึ้นโดยธรรม" โดยตรงทีเดียว สิ่งที่เราคิดทางโลก ๆ ที่จะนำมาใช้นั้นได้นิด ๆ หน่อย ๆ ก็ไม่พ้นที่กิเลสจะคว้าเอาไปเป็นเครื่องมือของมันจนได้แหละ "จึงต้องสติปัญญาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติของตนนี้เท่านั้น"
สรุปลงแล้ว "คือสติปัญญาในวงจิตตภาวนานี้เท่านั้น" เป็นที่จะล้างป่าช้าภายในจิตใจออกให้หมดโดยสิ้นเชิงไม่มีอะไรเหลือ คือปัญญาประเภทนี้เท่านั้น ไม่มีปัญญาใดในสามแดนโลกธาตุนี้ที่จะสามารถถอดถอนกิเลสออกไปได้โดยลำดับลำดา
มีปัญญาที่กล่าวมา ๓ ประเภทนั้นแหละ ดังที่เคยพูดแล้ว ..
- "สุตมยปัญญา" การได้ยินได้ฟังจากครูจากอาจารย์ เพื่อสติปัญญาเพื่ออุบายวิธีที่จะนำไปใช้ในการแก้กิเลสของตน
- "จินตามยปัญญา" คิดอ่านไตร่ตรองด้วยอุบายแยบคาย เพื่อจะแก้กิเลส
- "ภาวนามยปัญญา" นี้เป็นที่รวมแห่งปัญญาทั้งหลาย "นี่ละปัญญาแท้เครื่องมือแท้ที่จะแก้วัฏจักรออกภายในจิต มีปัญญานี้ประเภทเดียวเท่านั้น" รวมลงไปอยู่ประเภทนี้อย่างเดียว จำให้ดีผู้ปฏิบัติ .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๖ -
คุณลุงปรุง ตุงคเศระณี ฆราวาส ผู้จบกิจแห่งวัดท่าซุง
คุณลุงปรุง ตุงคะเศระณี ฆราวาส ผู้จบกิจที่วัดท่าซุง
สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้
คุณลุงปรุง ตุงคะเศระณี ศพของท่านแสดงอสุภกรรมฐาน ความโดยย่อมีว่า ท่านเป็นบุคคลแต่ผู้เดียวที่เฝ้าดูแลตึกกลางน้ำ ที่หลวงพ่อฤๅษีท่านพักอยู่ตอนสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อหลวงพ่อฤๅษีจากไป ท่านก็ยังดูแลอยู่แต่ผู้เดียวต่อไป ผมจำได้ว่าหลวงพ่อเคยพูดว่า ลุงปรุงเป็นพระอนาคามีมานานแล้ว แต่ยังไม่ยอมไป คือ ไม่ยอมทำจิตให้จบกิจในพระพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่รู้หนทางปฏิบัติอย่างดี
ในเมื่อหลวงพ่อท่านจากไปแล้ว ท่านจึงปฏิบัติธรรมให้จบกิจในพระพุทธศาสนา ในเมื่อท่านเป็นฆราวาส พอจิตจบกิจ โดยตัดสังโยชน์ ๑๐ ได้หมดแล้ว ขันธ์ ๕ ก็จะต้องตายภายในวันนั้นทุกคน
แต่ท่านต้องการจะโปรดพระวัดท่าซุง โดยเอาศพของท่านแสดงอสุภกรรมฐาน โดยปล่อยให้ศพเน่าจนหนอนขึ้นเต็มไปหมด แล้วจึงจะให้พระประทีปไปพบ เป็นการแสดงธรรมครั้งสุดท้ายที่สูงสุด เรื่อง กายคตานุสสติควบอสุภกรรมฐานในทางธรรม ส่วนทางโลกก็เรื่อง คนเราเกิดมาก็มาตัวเปล่า เวลาตายไปก็ไปตัวเปล่า ในขณะนั้นผมมิได้อยู่วัด และไม่รู้เรื่องการตายของท่าน เมื่อไปวัดจึงทราบ... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๖ -
คู่ชีวิตที่เป็นพรหมเป็นยังไง❓⚡ตำรายารักษาแผลใจหลวงตา
คู่ชีวิตที่เป็นพรหมเป็นยังไง❓⚡ตำรายารักษาแผลใจหลวงตา -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๖ -
ชีวิตนี้เป็นของน้อยยิ่งนัก
ตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี ที่ทุ่มเทให้กับการปฏิบัติด้วยชีวิต จนมาถึงอายุ ๖๑ ปี ในวันนี้ ตัวเลขพอดีพ้องกันในด้านกลับ ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน สิ่งหนึ่งที่อาตมาเห็นว่าน่ากลัวที่สุด คือ จิตสังขาร การปรุงแต่งของใจ ที่เป็นต้นเหตุก่อให้เกิด รัก โลภ โกรธ หลง พาให้ต้องทุกข์อยู่ไม่รู้จักจบจักสิ้น
สิ่งหนึ่งที่นักปฏิบัติธรรมมักจะต้องพบเจอ ก็คือการที่ จิตตก สมาธิตก กรรมฐานแตก ตามแต่จะเรียกกันไป สิ่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะว่าสภาพจิตของเราไปปรุงแต่ง แล้วหลุดจากอารมณ์ปัจจุบัน ไปเสวย รัก โลภ โกรธ หลง เท่ากับยื่นหัวไปให้กิเลสฟันเอง แล้วก็มาโอดครวญว่า ทุกข์อย่างนั้น ลำบากอย่างนี้
แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่เข็ด เพราะว่ากิเลสชักนำไป ให้รู้สึกว่าถ้าทำแบบนั้นแล้วจะดี ทำแบบนี้แล้วจะเด่น แทนที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อละกิเลส ก็กลายเป็นปฏิบัติธรรมเพื่อสั่งสมกิเลส กอบโกยหาทุกข์ใส่ตัวอยู่ทุกวัน แต่ก็โง่เขลาเบาปัญญาพอ คิดว่ากำลังโกยเอาของดีใส่ตัว ซึ่งความจริงแล้วมีแต่ขี้ทั้งนั้น..!
อาตมาขอยืนยันว่า เท่าที่มีประสบการณ์มา สิ่งที่ครูบาอาจารย์พูดมานั้น พอดี พอเหมาะ พอควรกับสถานการณ์นั้น ๆ แล้ว แต่ว่าพวกเรามักจะไปปรุงแต่งเพิ่มเติม... -
อย่าทำตัวมักง่าย คิดว่าแค่เปลี่ยนชื่อแล้วชีวิตจะดีขึ้น
พวกเรามักง่าย อะไรไม่ดีเกิดขึ้นแทนที่จะตั้งหน้าตั้งตาพัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา ดันไปเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนชื่อให้ตายถ้าไม่เปลี่ยนความประพฤติก็ไร้ประโยชน์ ที่แย่อยู่ทุกวันนี้ก็เพราะความประพฤติของเรา กาย วาจา ใจ ไม่ดีพอ ถ้าขัดเกลาด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ให้ กาย วาจา ใจ ดีพอ ทุกอย่างก็จะดีหมด
.....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com -
"จริงอยู่กับหัวใจของเรา" (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
.
"จริงอยู่กับหัวใจของเรา"
" .. ธรรมก็แปลว่า "สิ่งที่ทรงไว้ คือสภาพไม่สูญหายไม่ตาย" คือทำจริงก็เป็นธรรมที่จริง "จริงอยู่กับหัวใจของเรา"
เหมือนอย่าง "ทองคำธรรมชาติ ถึงแม้ว่าไปตกในตม ในโคลนอย่างใดก็ตาม เมื่อเราเอามาชำระล้างให้สะอาดแล้วเนื้อทองนั้นก็ยังเป็นทองอยู่" ฉันใดก็ดี "จิตใจของเรา ถ้าชำระความชั่วออกได้ทั้งหมดแล้ว ย่อมเป็นเช่นนั้น" .. "
"๑๐๓ โอวาทธรรมคำสอน"
หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๖ -
"กรรมนิมิต" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
.
"กรรมนิมิต"
" .. "คนเรา ก่อนกายจะแตกดับ" เมื่อจิตปล่อยวางร่างกาย ไม่มีความรู้สึกแล้ว "จะมีภาพอันหนึ่งเกิดขึ้น ให้ปรากฏเห็นเฉพาะใจตนคนเดียว" โดยที่เราจะตั้งใจดู หรือไม่ก็ตาม ภาพอันนั้นถ้าจะเปรียบให้เห็นง่าย ๆ ก็คล้ายกับภาพนิมิตในความฝัน "ภาพนิมิตอันนั้นแล มันจะมาแสดงผลกรรมของเราที่เราได้กระทำไว้แล้วในอดีต" บางทีเราอาจลืมไปแล้วนาน "แต่มันมาปรากฏให้เราเห็นและระลึกขึ้นมาได้"
เป็นต้นว่า "เราเคยได้สร้างโบสถ์วิหารถวายกฐินทานเป็นอาทิ วัตถุทานนั้นก็จะมาปรากฏขึ้นให้เราเห็น" แต่ภาพนิมิตนี้จะสวยสดงดงามและวิเศษยิ่งกว่าที่เราได้กระทำไว้นั้น "จนเป็นเหตุให้เมื่อเราได้เห็นเข้าแล้วเกิดปีติ อิ่มอกอิ่มใจจนหาที่เปรียบมิได้" แล้วจิตจะไปจดจ้องจับเอานิมิตนั้นมาไว้เป็นอารมณ์ ให้เกิดความสุขโดยส่วนเดียวที่เรียกว่า "สัคคะ" ผู้สร้างบุญกุศลจะเห็นผลชัดแจ้งด้วยใจตนเองก็ตอนนี้
ตรงกันข้ามผู้ที่กระทำกรรมชั่วไว้ "กรรมนิมิต ก็จะเกิดในขณะเดียวกัน" แต่จะเป็นเรื่องทนทุกข์ทรมานมากจนเหลือจะอดทน เพราะกรรมตามสนอง "ความทุกข์ทรมานของกายถึงขนาดร่างกายจะแหลกเหลวเปื่อยเน่าไปก็ตาม แต่มันก็ยังมีชีวิตอยู่ไม่ตาย"... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ -
ข่าวชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน (พระอาจารย์เล็ก) เดือนเมษายน ๒๕๖๖
ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
เครือข่ายชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน
ขอรวบรวมข่าวกิจกรรมการดำเนินงานของ
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. (พระอาจารย์เล็ก)
เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
เพื่อให้ทุกท่านได้โมทนาบุญในการทำงานของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
และเพื่อให้ทุกท่านได้ศึกษารูปแบบการดำเนินงานของพระอาจารย์
ซึ่งท่านเป็นต้นแบบการทำงานของ ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
ข่าวการดำเนินงาน เดือนเมษายน ๒๕๖๖ -
"ความผูกพัน คือกรรมทางใจ" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)
.
"ความผูกพัน คือกรรมทางใจ"
" .. "กรรมที่อาจทำให้มนุษย์ในชาติหนึ่งต้องเป็นสัตว์ในอีกชาติหนึ่ง หรือทำสัตว์ในชาติหนึ่งให้กลับเป็นมนุษย์ในอีกชาติหนึ่ง" มีผู้เขียนบ้างเล่าบ้างไว้หลายเรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้ รวมทั้งเรื่องที่มีปรากฏในพุทธกาล "จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามพึงไม่ประมาท" กรรมใดที่เคยมีแสดงไว้ว่า "ทำให้มนุษย์ต้องเกิดเป็นสัตว์ เชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่พึงทำ"
กรรมสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ "เป็นกรรมทางใจคือความผูกพัน" ผู้ตายมีความผูกพันในภพภูมิของตน เช่น "ผูกพันในทรัพย์สมบัติของตน" ในภพภูมินั้น "ความผูกพันยึดมั่นอาจนำให้กลับมาเกิดในบ้านเรือนตนอีกได้" แต่จะมิใช่เป็นมนุษย์
มีเรื่องเล่าว่า "เกิดเป็นเล็นก็มี เกิดเป็นสุนัขก็มี" ซึ่งน่าจะไม่มีผู้ใดปรารถนาจะเป็น จึงน่าจะต้องระวังกรรมทางใจให้มาก เช่นเดียวกับกรรมทางกายทางวาจา อย่ายึดมั่นห่วงใยในอะไรให้มากนัก วางเสีย ปล่อยเสีย "ท่องพุทโธไว้เสมอนั่นแหละจะทำให้ถอนใจจากความยึดมั่นได้"
เคยมีผู้เล่าเรื่องเจ้าของพระพุทธรูปงดงามองค์หนึ่ง "สิ้นชีวิตไปในขณะที่จิตใจกำหลังรักและหวงแหนพระพุทธรูปองค์นั้นอย่างยิ่ง" เมื่อมีผู้มาขอชมพระพุทธรูป... -
จากธาตุรู้ สู่กระแสธรรม จิตเป็นอิสระ
จากธาตุรู้ สู่กระแสธรรม จิตเป็นอิสระ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ -
การจัดงานวันเกิดแบบโบราณ
ตัวกระผม/อาตมภาพเองถือตามแบบโบราณ ก็คือทำบุญวันเกิดตอนอายุ ๖๐ ปี หลังจากนั้นแล้วคนโบราณมีแนวจัดการ ๒ อย่าง ก็คือทำทุก ๑๐ ปี หรือทำทุกรอบนักษัตร ๑๒ ปี ก็แปลว่าหลัง ๖๐ ไปแล้ว ถ้าไม่ใช่ทำบุญอายุ ๗๐ , ๘๐ , ๙๐ ก็จะทำบุญอายุ ๗๒ , ๘๔ , ๙๖ ปี เป็นต้น
เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าบุคคลที่ทำบุญวันเกิดในสมัยก่อนนั้น ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มากด้วยบุญด้วยบารมี เป็นเจ้าพระยามหาอำมาตย์บ้าง เป็นเชื้อพระวงศ์บ้าง ท่านทั้งหลายเหล่านี้มีคนเคารพนับถือมากก็จริง แต่ท่านก็เกรงว่าจะเป็นการรบกวนคนอื่น โดยเฉพาะสมัยก่อน การเดินทางไม่ได้สะดวกสบายเหมือนสมัยนี้ เอาแค่ว่าถ้าในอำเภอทองผาภูมิของเรา จากวังปะโท่จะเดินทางลงไปกาญจนบุรี ต้องลงมาค้างที่อำเภอทองผาภูมิ ๑ คืน ทั้ง ๆ ที่วังปะโท่ห่างจากทองผาภูมิแค่ ๒๒ กิโลเมตรเท่านั้น..!
ดังนั้น..ในสมัยที่เรา ๆ ท่าน ๆ ยังเห็นทันกันอยู่ การเดินทางยังลำบากขนาดนี้ บรรดาเจ้าใหญ่นายโตที่มีบุญมีบารมี จึงใช้วิธีการทำบุญตามรอบนักษัตร ซึ่งมีค่านิยมมาจากประเทศจีนว่า รอบนักษัตรใหญ่เลยก็คือ ๖๐ ปี หลังจากนั้นก็จะถือรอบ ๑๐ ปีครั้ง หรือว่า ๑๒ ปีครั้งก็แล้วแต่เจ้าตัว... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๖ -
ตราบใดที่ยังยึดถือว่า สายการปฏิบัติ "ของกูดีที่สุด" ตราบนั้นกิเลสยังท่วมหัว
แต่ขอให้เชื่อเถอะ..เรื่องของการปฏิบัติธรรมนี่คุยกันไม่ได้หรอก กิเลสคนมีมาก..คุยกันเมื่อไรก็ "สายกูดีที่สุด" พูดง่าย ๆ ก็คือว่า โอกาสที่จะสัมมนาเกี่ยวกับวิปัสสนากรรมฐานให้ครบทุกสายโดยที่ไม่ "วางมวย" กันนี่น้อยมาก กระผม/อาตมภาพเองก็ยังแปลกใจว่า กรรมฐานทุกสาย ต้องบอกว่าเป็นสายของพระพุทธเจ้า ในเมื่อกรรมฐานเป็นสายของพระพุทธเจ้า แล้วทำไมถึงต้องมาเถียงกันด้วย ?
บรรดาสายการปฏิบัติธรรมต่าง ๆ อย่างในปัจจุบันของเรา ก็จะมีสายวิสุทธิมรรค ที่ใช้การภาวนาพุทโธเป็นหลัก ก็คือสายพระป่าของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สายนามรูปของวัดปราสาททอง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นหลัก สายพองยุบของวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันสายนี้มีผู้ปฏิบัติมาก เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า พระนิสิตหรือว่าญาติโยมที่เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทุกคน โดนบังคับให้ปฏิบัติตามสายนี้
สายสัมมาอะระหัง ถ้าจะว่าไปแล้วก็คือการใช้อานาปานสติ ควบกับอาโลกกสิณและพุทธานุสติ ซึ่งปัจจุบันนี้พอหลวงป๋า (พระเทพญาณมงคล วิ. เสริมชัย ชยมงฺคโล) มรณภาพไป ก็ซา ๆ ลงนิดหนึ่ง เพราะว่าทางสายธรรมกายเองหาคนสอนให้เข้าถึงอย่างแท้จริงได้ยาก... -
การใช้ชีวิต ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ถ้าใส่สติลงไปด้วย ก็จะสามารถทำเป็นกรรมฐานได้ทั้งหมด
พวกเราส่วนใหญ่แล้วมีเวลาปฏิบัติธรรมน้อย ที่มีเวลาน้อยเพราะเราไม่สามารถใช้ทุกเวลาของเราเป็นการปฏิบัติธรรมได้ บางคนอยากจะใช้เวลาทุกเวลาเป็นการปฏิบัติธรรมแบบที่หลวงพ่อทำ ก็ดันโดดข้ามขั้น ตัวเองอยู่ชั้นอนุบาลจะไปทำแบบพวกปริญญา เห็นหลวงพ่อสวดมนต์ไป อ่านหนังสือไป ก็จะเอาบ้าง...พังไม่เป็นท่า เพราะไม่เคยหัดมาก่อน
ต้องสามารถแยกจิต แยกกาย ทำงานหลายอย่างพร้อมกันได้ แล้วปรับให้แต่ละอย่างเท่า ๆ กัน ถ้าเป็น ๒ ส่วน ๒ ส่วนต้องรับรู้ได้เท่ากัน ถ้าเป็น ๓ ส่วน ๓ ส่วนต้องรับรู้ได้เท่ากัน เพราะฉะนั้นสวดมนต์ไป ภาวนาไป จับภาพพระไป อ่านหนังสือไป เป็นการทำงานหลายอย่าง พวกเราเห็นช้างขี้ พยายามขี้ตามช้าง ปรากฏว่าก้นฉีก ขี้มันก้อนใหญ่ไป
ให้ค่อย ๆ ทำแค่ที่ตัวเราทำได้ แต่ให้ทำอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ไม่ใช่รอให้ทางวัดจัดการปฏิบัติธรรมแล้วค่อยมาปฏิบัติกัน กิเลสไม่ได้รอให้วัดจัดปฏิบัติธรรมแล้วค่อยมากินเรา แต่กิเลสกินเราทุกเวลา ทุกนาที ทุกวินาที ถ้าหากว่าเราไปรอให้ทางวัดจัดปฏิบัติธรรมแล้วค่อยไปปฏิบัติ ชาตินี้ทั้งชาติโอกาสที่จะชนะกิเลสไม่มี กิเลสกินเราวันละ ๒๔ ชั่วโมง ทั้งหลับ ทั้งตื่น ทั้งยืน ทั้งนั่ง... -
เทวดาที่มีอานุภาพมาก / พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีฯ)
เทวดาที่มีอานุภาพมาก / พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีฯ) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ -
สอนเด็กปฏิบัติธรรม คือ ผู้ใหญ่ต้องทำให้เขาดู
ถาม : ฟังหลวงพ่อแล้ว อยากให้ลูกมาปฏิบัติกรรมฐานด้วย แต่ว่าลูกยังเล็กอยู่ จะมีวิธีในการสอนในการปฏิบัติอย่างไรครับ ?
ตอบ : ในเบื้องต้นของเด็กเล็ก ๆ อย่าบังคับให้เขาปฏิบัติธรรม หากแต่ใช้วิธีพ่อแม่ทำตนเป็นตัวอย่าง อย่างเช่นว่าสวดมนต์สั้น ๆ สมาทานศีล สอนให้เขาภาวนาพองหนอ ยุบหนอ สัก ๓ คู่ ๕ คู่ หรือว่าพุทโธ พุทโธ สัก ๓ ครั้ง ๕ ครั้งก็เพียงพอ
ถ้าหากว่าเด็กมีวิสัยเดิมเป็นปุพเพกตปุญญตามา เขาจะสามารถต่อบุญเก่าของตนเองได้ หรือถ้าหากว่าเขามีปุพเพกตปุญญตามาน้อย การค่อย ๆ สั่งสมไปทีละเล็กทีละน้อย โดยไม่รู้สึกว่าโดนบังคับ เด็กก็จะยินดีทำมากกว่าจ้ะ
.....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com
ขอขอบคุณภาพจากคุณ ภัทร์ษกรณ์ จิระประเสริฐสุข -
ความตรงต่อเวลาคือสัจจบารมีในรูปแบบหนึ่ง
ในเรื่องของความตรงต่อเวลาของคนไทยเรานั้น เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก บุคคลที่ตรงต่อเวลากลายเป็นบุคคลที่ต้องเสียเวลา ไปรอบุคคลที่ไม่ตรงต่อเวลาเสมอ ซึ่งการตรงต่อเวลานั้น เป็นการวัดบารมีที่ชัดเจนที่สุด ก็คือทำให้เห็นว่า ท่านทั้งหลายมีสัจจบารมีเต็มแล้วหรือไม่ ? ถ้าหากว่าเป็นบุคคลที่มีสัจจบารมีเต็มครบถ้วนสมบูรณ์ ทุกอย่างจะเป็นไปตามเวลา "มีแต่ก่อน ไม่มีหลัง" แต่ถ้าหากว่าสัจจบารมียังบกพร่องอยู่ ก็จะมีความผิดพลาด ไม่ตรงเวลากันเป็นเรื่องปกติ
กระผม/อาตมภาพนั้นมีนิสัยตรงต่อเวลาตั้งแต่ฆราวาสแล้ว ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของฆราวาสทั่วไป หรือตลอดจนกระทั่งชีวิตของความเป็นทหารก็ตาม ในชีวิตฆราวาสนั้น กระผม/อาตมภาพจะไปถึงงานก่อนเวลาอย่างน้อย ๑๕ นาทีเสมอ และจะรอจนเลยเวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ถ้าหากว่าเกินครึ่งชั่วโมงเมื่อไร กระผม/อาตมภาพก็จะไปทำธุระของตนเองต่อทันที ถือว่าบุคคลที่ผิดในครั้งนี้ไม่ใช่เรา..!
ส่วนในขณะที่เป็นทหารนั้น วัน ว. เวลา น. เป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าเป็นการเข้าตีข้าศึก ถึงเวลาแล้วปืนใหญ่ของฝ่ายเราก็จะยิงปูพรมเข้าไปก่อน... -
"บุญและบาปใจมันถึงก่อน" (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
.
"บุญและบาปใจมันถึงก่อน"
กรรมมันไม่ได้อยู่ถึงฟ้าอากาศ กรรมทั้งหลายที่เราว่าเป็นกรรมอย่างโน้นเป็นกรรมอย่างนี้ บาปอย่างโน้นบาปอย่างนี้ บาปอะไรมีที่โน่นที่นี่ ในป่าในดง ภูเขาเหล่ากอไม่ได้เป็นบาปเป็นกรรม "มันเป็นจากดวงใจของเรา"
ท่านจึงว่ากายกรรม "วจีกรรมมโนกรรมเป็นของเรา" กายกรรมทำทางกาย วจีกรรมทำทางวาจา มโนกรรมทำทางใจ ข้อนี้แหละให้พากันพินิจพิจารณาให้เห็นชัด อย่าเข้าใจอย่างอื่น "อย่าให้เป็น สีลพัตตปรามาส ลูบคลำโน่น ๆ นี่ ๆ ว่ากรรมอยู่โน้นบาปอยู่โน้น"
นั้นแหละเข้าใจผิดไป เราต้องใช้โอปนยิกธรรม "ต้องน้อมเข้ามาถึงดวงใจของเรากรรมมันไม่ได้เกิดที่อื่น" เวลานี้กายเราไม่ได้ทำอะไร วาจาเราก็ไม่ได้ทำ เหลือแต่มโนกรรม ความน้อมนึก "มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา" บุญและบาปไม่ว่าใด ๆ ใจถึงก่อน ให้พากันพินิจพิจารณาให้เห็นแจ่มแจ้งลงไป แน่นอนลงไป "บุญและบาปใจมันถึงก่อน" .. "
"การฟังและการปฏิบัติ"
(หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
ม.ร.ว. ส่งศรี เกตุสิงห์ ถอดจากแถบบันทึกเสียง
หน้า 44 ของ 414