Magnet Generator .... พลังงาน Free ... ทางเลือกยุคน้ำมันแพง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Pew Pew, 10 กรกฎาคม 2008.

  1. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    วิธีการชาร์จถ่านไฟฉายอีกแบบหนึ่งครับ ผสมผสานเทคโนโลยีร่วมกับ Thin Film Solar Cell

    "SunCat" ถ่านอะไรชาร์จไฟเองได้ ?
    [​IMG]

    คุณเคยคิดไหมว่า จะเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะทำการชาร์จไฟโดยไม่ต้องเสียบเข้ากับที่ชาร์จ?
    หมายถึงว่า เราเอาตัวถ่านเองนั่นแหละ ทำตัวเป็นที่ชาร์จไฟไปในตัว

    ถ้าคุณว่าเข้าท่าดี นักประดิษฐ์นามว่า "Knut Karlsen" ก็พร้อมนำมาทำให้เป็นจริง

    ดูรายละเอียดการสร้างถ่านชาร์จที่ชาร์จได้ด้วยตัวเอง ด้วยพลังงานแสดงอาทิตย์กันดีกว่า

    [​IMG]

    คุณ Knut Karlsen เขาได้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กมาเพื่อการสร้างต้นแบบของ แบตเตอรี่ที่ชาร์จไฟได้ด้วยแสงแดด



    [​IMG]

    วิธีการก็เริ่มต้น และจบลงง่ายๆ แต่ได้นวัตกรรมเหนือชั้น จากพลังงานสะอาดๆ นั่นคือ เริ่มที่การนำเอาถ่านชาร์จเก่าๆ ที่เป็นแบบนิเกิล แคดเมียม (หาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป เพื่อนำมาใส่นาฬิกา หรือ วิทยุ ขนาด 1.5 โวลต์) แล้วพันแผงโซล่าร์เซลล์เข้ากับถ่านแต่ละก้อน จากนั้นก็เอาสายไฟมาเชื่อมโยงระหว่างแผงโซล่าร์เซลล์กับขั้วบวกและลบของถ่าน

    ระหว่างทำงานก็เอาถ่านเหล่านี้วางไว้แถวขอบหน้าต่าง ตอนเย็นก็จะได้ไฟเต็มเปี่ยม พร้อมจะนำมาใส่ไฟฉาย สำหรับเปิดเดินในบ้านยามดึกได้แล้ว

    [​IMG]

    เขาตั้งชื่อนวัตกรรมนี้ว่า "SunCat" เพราะมันทำให้เขาคิดถึงภาพเจ้าแมวตัวอ้วนนอนอาบแดดอยู่ทั้งวัน

    เสาร์นี้หนูอุ่มจะแวะไปแถวบ้านหม้อหาแผงพลังงานแสงอาทิตย์แบบนี้ดูนะคะ ว่าแต่ใครจะมาต่อวงจรไฟให้หนูล่ะ ทำมะเปง... :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2009
  2. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    Solar Island แบบประยุกต์ ผสมผสานเอา free energy จากทั้งลม และแสงอาทิตย์ มาร่วมกัน อนาคตอันใกล้ เราคงจะได้เห็นกันจริงๆ ไม่นานเกินรอ

    enewable "Energy Islands" at Sea To Power Cities, Produce Fresh Water and More

    by Alex Pasternack, Beijing, China on 11.14.08

    Science & Technology

    [​IMG]
    <SMALL>Courtesy Energy Island</SMALL>

    Some artificial islands seem necessary. Some just are and some are excessive. And some may sustain human life in the future. Yesterday LiveScience reminded us of a promising idea that we covered earlier: creating rig-like islands that drill the oceans not for oil but for renewable energy.
    At the core of each man-made island -- the brainchild of inventor Dominic Michaelis and his son and architect Alex -- are power plants that rely on ocean thermal energy conversion (OTEC). That is, they use the differences in temperatures at the depths and surface of the ocean to evaporate and condense another fluid substance, like seawater, which in turn pushes a turbine. The resulting power, they say, would be 250 megawatts (MW) -- enough to drive a small city.
    But the OTEC process itself -- one that's been around for over a century -- requires pumping up large amounts of cold water from the depths of the ocean -- more than 100,000 gallons (400 cubic meters) of cold water per second to be exact. To do it, the 2,000-foot-wide (600-meter-wide) energy island would draw energy from additional windmills, solar collectors, wave energy converters and sea current turbines. As if that weren't enough, if seawater is used to push the turbine, it would be desalinated in the process, yielding 300,000 gallons of fresh water per megawatt of electricity produced every day.

    <!-- google_ad_section_start -->
     
  3. YuiuY

    YuiuY สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ช่วยส่งขอ้มูลให้ด้วยนะคับ bb_310412@hotmail.com ขอบคุณคับ





    ช่วยส่งขอ้มูลให้ด้วยนะคับ bb_310412@hotmail.com ขอบคุณคับ
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775

    โครงการนี้ เป็นการผสมผสานพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆเอาไว้ด้วยกันครับ

    - พลังงานลม จากกังหันลมปั่นไฟฟ้า
    - พลังงานจากโซลาร์เซลล์
    - พลังงานจาก การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร (ลึกๆอุณหภูมิต่ำ ที่ผิวหน้าอุ่นกว่า )นำมาสร้างแรงดันให้ของเหลวจุดเดือดต่ำ แล้วไปปั่นเทอร์ไบน์อีกที

    -พลัังงานจากคลื่นในมหาสมุทร ซึ่งมีคลื่น มีการกระเพื่อมตัวตลอดเวลา เป็นแรงกลมหาศาล นำไปหมุนจักรกลคล้ายเครื่องจักรนาฬิกา แต่ขนาดใหญ่กว่า ได้ไฟฟ้ามาอีก

    จากนั้นนำผลพลอยได้จากการผลิตกระสไฟฟ้า มาแยกน้ำสะอาด ได้อีก 300,000 แกลลอน ทุกการผลิตไฟฟ้า 1 เมกาวัตต์

    ไม่แน่อนาคต เราอาจได้เห็นเมืองลอยน้ำที่มีพลังงานในตัว มีน้ำสะอาด มีอาหารพืชผักไฮรโดรโฟรนิค มีที่พักอาศัยอยู่ก็ได้

    เนื่องจากน้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลายหมด และหลายประเทศอาจจมอยู่ใต้ทะเล

    ดังนั้นทางออกคือ เมืองลอยน้ำครับ
     
  5. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    เขาว่ากันว่า ภายในสิบปีข้างหน้า เทคโนโลยี ของฟิล์มบางโซล่าเซล จะก้าวหน้าไปถึงขั้น แซงหน้า พลังงานน้ำมันเลยทีเดียว เพราะ สะดวก ง่าย และ ราคาถูกครับ



    Thin-Film Solar Technology Could Be Seriously Clobbering Fossil Fuels in Ten Years

    by Jacob Gordon, Nashville, TN on 02.20.07

    Science & Technology (solar)

    <!-- google_ad_section_start -->[​IMG]

    Everyone loves solar power. The notion of making electricity from the Earth’s solar income is pretty much irresistible. But the harsh reality of our current state of PV (photovoltaic) technology, a reality that not many choose to acknowledge, is that without government subsides, solar power just doesn’t pay for itself in any timely way—certainly not the kind of way that would make the profit-minded jump. But that may only be because our days of silicon-based solar cells are numbered. In an article from the Telegraph this week, Ambrose Evans-Prichard talks to Anil Sethi of Flisom, a Swiss firm making thin-film solar cells. Sethi confidently expects his company’s products be giving fossil-fuel generated power a run for their money within five years, and that within ten years, solar will undercut coal, natural gas, and nuclear by 50%. That’s what is technically referred to as clobbering. The crucial tipping point, says Evans-Prichard, is the $1 per watt point: the current price of most non-renewable energy sources. Current solar technology puts the price of solar power at about $3 to $4 per watt. Anil Sethi of Flisom foresees his thin-film solar panels (commercially available in late 2009) reaching $.80/watt in five years, and $.50/watt within ten.
    Thin film solar modules don’t use the costly, and limited, silicon that we are used to. The technology is based on CIGS (copper indium gallium selenide) arranged on a flexible backing, suitable for not only the tops, but also the sides of buildings, tinted windows, cell phones, notebook computers, cars, and even clothing. Thin film solar panels are “printed” onto the rolled backing, eliminating many of the highly energy and chemical intensive processes that are typical in convention PV manufacture. Oil Giant Shell is placing its chip on thin-film, and in the US, Nanosolar is positioning itself to be a leader in the thin-revolution. With the investment dollars of Google’s founders, Nanosolar is building a plant in California the capacity of which would catapult it into the top solar makers in the world.
     
  6. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ได้ข่าวความก้าวหน้าเรื่องโซลาร์แบบทินฟิลม์ในประเทศไทยครับ

    ตอนนี้มีการพัฒนาประสิทธิภาพ ให้สูงขึ้น โดยใช้เทคนิค ทำเป็นแบบมัลติเลเยอร์ คือนำฟิลม์โซลาร์เซลมาซ้อนกันหลายชัั้้น ซึ่งจะทำให้ได้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นในพื้นที่เท่าเดิมครับ

    บริษัืทที่พัฒนาอยู่ในไทย มีชาวอินเดียเป็นหุ้นส่วนอยู่

    ซึ่งแนวคิดนี้ สามารถต่อยอดไปได้อีก

    -ชั้นล่างสุดเป็น อลูมินั่มฟอยย์รีเฟล็กซ์ สะท้อนแสง ที่ผ่านลงมาให้สะท้อนกลับเพิ่มความเข้มข้นของแสง ขึ้นไปอีก

    -ปิดทับด้วย ทินฟิลม์โซลาร์เซลล์ ที่พัฒนาให้บางใสลงด้วยนาโนเทคโนโลยี่
    -ปิดทับด้วย ทินพิลม์โซลาร์เซลล์ ชั้นที่ สอง และ สาม รวมสามชั้น โดยการสกรีน

    -เคลือบผิวบนด้วยฟิลมม์ที่ฉาบผิวหน้า บนสุด ด้วย นาโนไทเทเนี่ยมไดออกไซด์ เพื่อป้องกันฝุ่น คราบน้ำเกาะ อันเป็นข้อจำกัดและทำให้ประสิทธิภาพของโซลาร์เซลล์ลดลง


    หากพัฒนาได้ดังนี้ จะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพโซลาร์เซลล์ ได้อีก สามเท่า หรือ สามร้อยเปอร์เซ็นต์ และราคาถูกลงจน ลงมาในระดับประชาชนทั่วไปได้

    และยังลดต้นทุนลงไปได้อีก โดยพัฒนาให้เป็นชิ้นหลังคาสำเร็จประกอบน๊อคดาวน์ได้ ไม่ต้องมาปูหลังคาแล้ววางแผงโซลาร์เซลล์อีก

    หากจะพัฒนาไปอีก สองขั้น

    ใต้แผงหลังคาโซลาร์เซลล์ปูฉนวนความร้อน นำมาหุ้มท่อทองแดง เดินเป็นวงจร เพื่อทำน้ำร้อนจากความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์และระบายความร้อนจากแผงโซลาร์

    อีกขั้นหนึ่ง เดินท่อทองแดงแรงดันสูงบรรจุ สารทำความเย็นจุดเดือดต่ำ เพื่อนำแรงดัน มาขับดันเครื่องปฏิกรตรีเอกานุภาพอีกที

    คราวนี้บ้านก็สร้างพลังงานทั้งใช้ภายในบ้านเอง ขายไฟฟ้า สร้างรายได้
    ให้บ้านเลี้ยงเรา

    คิดมุมกลับ บ้านที่มีแต่ค่าใช้จ่าย กลับกลายเป็นแหล่งพลังงาน และเป็นฝ่ายให้

    โมเดลที่ได้ เกิดจากสมาธิครับ ทราบมาก่อนประมาณ7 ปีที่แล้วจนปีนี้จึงได้ข้อมูลว่ามีผู้ใช้แนวคิดนี้แล้ว( Thin Film MultiLyer Solarcell) แต่ยังไปได้อีกเยอะครับ
     
  7. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ดีครับผม ช่วยกันนำข้อมูลมาเผยแพร่ จะได้มีความรู้ทันโลกกัน ใครมีช่องทางและทุน สามารถทำเป็นธุรกิจ หรือ ซื้อมาทดลองใช้เอง เพื่อลดต้นทุน ทั้งตัวเอง และมลพิษจากแหล่งพลังงานแบบเดิมๆ

    ตัวอย่างของบริษัท ที่กำลังทำเป็นธุรกิจในต่างประเทศ เช่น Solar First เขาทำใน 3 ระดับ คือ

    1. ระดับ Free Field Power Plant คือ ปูบนพื้นอะไรก็ได้ พื้นดิน ทะเลทราย หรือ ในมหาสมุทร ก็ยังได้ ไม่แน่ อาจจะรวมทั้งบนอากาศ และ อวกาศ

    2. ระดับ Commercial คือ ปูบนหลังคาของอาคารโรงงาน Office Building หรือ ตีกใหญ่ๆ อะไรก็ได้ ( ผมสนใจ แบบว่าน่าจะไปปูบนตัวเขื่อนนะ หรือ อาจจะแถมกังหันลมอีกบนสันเขื่อน จะได้ผลิตกระแสไฟฟ้าแบบ 3 in 1 )

    3. ระดับ Residence คือ ปูบนหลังคาบ้าน ประชาชนทั่วไป อันนี้ ดูแล้วใกล้ตัวที่สุด มองเห็นความฝันแห่งพลังงานสะอาด ใกล้ตัวเข้ามาทุกทีแล้ว ใกล้จะเป็นจริงซะที ไม่ต้องรอลุ้น โรงไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ งบมหาศาล เสี่ยงอันตรายด้วย

    หวังว่าภาครัฐจะมองการไกลกะเขามั่งนะ

    ขอเอาภาพมาลงประกอบให้เข้าใจ ทันข่าวสาร เหมือนกัน ตามนี้ครับ

    1. ระดับ Free Field Power Plant

    Project developers, system integrators and operators of renewable energy projects are developing multi-megawatt, grid-tied free field solar projects with First Solar technology.

    First Solar Series 2 Photovoltaic (PV) Modules are used in large scale, grid-tied free field solar power plants ranging from hundreds of kilowatts to tens of megawatts in size. The following projects are examples of large-scale power plant deployments utilizing First Solar PV Modules.
    <TABLE class=roofPP cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    Commissioned: December 2008
    Region: Boulder City, NV
    Project Size: 10 MW
    Project Developer: First Solar​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    Commissioned: 2007 to 2009
    Region: Brandis, Germany
    Project Size: 40 MW
    Project Developer: juwi Holding AG​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    <!-- Commissioned: June 2003, June 2001
    -->Commissioned: November 2007
    Region:
    Bullas, Spain
    Project Size: 5 MW
    Project Developer: Gehrlicher Solar AG
    <!-- Project Size: 500 kW -->​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    Commissioned: March 2007; December 2006
    Region: Rote Jahne, Germany
    Project Size: 6 MW
    Project Developer: juwi Holding AG​
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    Commissioned: December 2006
    Region: Buchheim, Germany
    Project Size: 1.1 MW
    Project Developer: Phoenix Solar​
    </TD></TR><TR><TD width="30%">[​IMG]</TD><TD>
    Commissioned: September 2006
    Region: Althegnenberg, Germany
    Project Size: 2.2 MW
    Project Developer: Phoenix Solar
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    <!-- Commissioned: June 2003, June 2001
    -->Commissioned: December 2004
    Region: Dimbach, Germany
    Project Size: 1.4 MW
    Project Developer: Blitzstrom / Beck Energy
    <!-- Project Size: 500 kW -->
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>
    Commissioned: June 2003, June 2001
    Region: Arizona, United States
    Project Size: 500 kW
    Project Developer: Tucson Electric Power ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    2. ระดับ Commercial

    Commercial rooftop systems convert commercial building rooftops into clean, renewable power generators.

    First Solar Series 2 Photovoltaic (PV) modules are used in grid-tied commercial rooftop applications up to multiple megawatts in size. Some typical implementations are highlighted below.
    <TABLE class=roofPP cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD width="30%">[​IMG]</TD><TD>
    Commissioned: October 2008
    Region: Fontana, CA
    Project Size: 2 MW
    Project Developer: First Solar​
    </TD></TR><TR><TD width="30%">[​IMG]</TD><TD>
    Commissioned: August 2007
    Region: Ramstein, Germany
    Project Size: 2.5 MW
    Project Developer: COLEXON Energy AG
    <!-- strong>Project Size: </strong>120 kW</div -->​
    </TD></TR><TR><TD width="30%">[​IMG]</TD><TD>
    Commissioned: 2007
    Region: Mutterstadt, Germany
    Project Size: 1.6 MW
    Project Developer: juwi Holding AG
    <!-- strong>Project Size: </strong>120 kW</div -->​
    </TD></TR><TR><TD width="30%">[​IMG]</TD><TD>
    Commissioned: August 2006
    Region: Mombach, Germany
    Project Size: 580 kW
    Project Developer: juwi Holding AG​
    </TD></TR><TR><TD width="30%">[​IMG]</TD><TD>
    Commissioned: February 2006; December 2005
    Region: Gescher, Germany
    Project Size: 1.4 MW
    Project Developer: COLEXON Energy AG​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    3. ระดับ Residential (รูปไม่มี เอาจากเวปอื่นมาเสริม)

    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>Enlarge Image
    Image Gallery
    Renewable energy expert Steve Heckeroth developed this building integrated thin-film solar roof system.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]
     
  8. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    รูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ Thin Film Solar Cell กำลังเริ่มทยอยออกมาแล้ว ที่ช่วยให้สามารถนำติดตัว เดินทางไปในถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่ก็ไม่ทำให้เราขาดพลังงานไฟฟ้า ตราบใดที่ยังมีแสงแดด

    Here's my idea though. Buy either of these power-packs and one of these. (Sunlinq 12W solar panel.)
    [​IMG]
    Or one of these (Reware 12W Solar Juice bag ES100)
    [​IMG]
    Then, get on your bike and do a blogging tour. That's what I'm planning to do next year along the Rhein for a week. With no mains power! The super-efficient UMPC's make this possible. Which UMPC would be the best though? I'll be writing in more detail about the planning for it in 2007.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2009
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เยี่ยมเลยครับ ตอนนี้พวกเราเริ่มเข้าในคอนเซปป์ในการผสมผสานพลังงานทดแทนเข้าด้วยกันแล้ว น่ายินดีครับ

    บางครั้งการกดดันจากความขาดแคลนก็กลายเป็นแรงผลักดันความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆเพื่อส่วนรวมขึ้นครับ


    แต่ข้อแตกต่างกันในการคิดประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เทคโนโลยี่ใหม่ๆนั้น

    หากเราเริ่มด้วยความโลภ หรือความคิดที่มีจิตเชิงลบแล้ว ผมประกันได้ว่าเทคโนโลยี่นั้น ส่งผลกระทบแง่ลบติดตามมาแน่นอน


    แต่หากเทคโนโลยี่ใด เราเริ่มด้วยจิตใจที่บริสุทธ์ ทำเพื่อส่วนรวมเพื่อมนุษยชาติ เป็นความคิดสร้างสรรค์เชิงบวก เราก็จะได้เทคโนโลยี่ที่มั่นคง ยั่งยืน เกิดผลกระทบเชิงบวกติดตามมาด้วยเสมอเช่นกันครับ

    ชื่นใจที่ทุกคนในกระทู้นี้ ล้วนมีจิตใจที่ดีงามกันครับ
     
  10. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ประเทศญี่ปุ่น ได้ทดลองติดตั้ง "พื้นก่อกำเนิดพลังงาน" ที่สถานีรถไฟฟ้าแล้ว ต้องติดตามกันดูต่อไปว่าจะคุ้มค่าหรือไม่ ? ถ้าคุ้มเราคงเอามาติดตั้งที่ BTS สยามมั่ง !!



    Human Energy Powers Japanese Subway Station

    Posted on December 12, 2008 by envirothink
    <SCRIPT src="http://s.wordpress.com/wp-content/plugins/adverts/adsense.js?1" type=text/javascript></SCRIPT>
    With the vast U.S. subway systems on the East Coast, this could be an excellent energy-saving solution metropolitan transportation authorities should explore.


    With human foot traffic the most easily available energy, this new power source has been installed in the flooring in what’s commonly believed to be the busiest subway station in the world.

    [​IMG] Energy Generating Floor System demonstrated at Tokyo Station

    In the latest drive to harness alternative energy, the East Japan Railway Company (JR East) has installed a revolutionary new piezoelectric energy generating flooring in their Tokyo subway station.JR East recently converted the floor covering from rubber to stone tiles. The total floor space utilized for this power-generating system now encompasses approximately 25 square meters. The company estimates generating around 1,400 kilowatts per day from the system, enough energy to power all the station’s systems.This system will collect the kinetic energy generated by subway travelers entering the turnstile and will power ticket gates and electric displays.
    <!--adcode-->
     
  11. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    หลักใหญ่ใจความสำคัญในการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี่นั้น จากที่พระท่านสอนมาในสมาธินั้น ท่านให้หลักง่ายๆเอาไว้ว่า


    1.การปรับปรุงด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการโมดิฟาย โดยเราสามารถทำได้โดยการพัฒนาให้มีคุณภาพมากขึ้น ใช้พลังงานน้อยลง

    เหมือนอย่างการพัฒนาโซลาร์เซลล์ทินฟิลม์แบบมัลติเลเยอร์เป็นต้น

    หรือการที่เรานำเอาตลับลูกปืนที่มีความลื่นสูง(หน่วยความลื่นของลูกปืน มีหน่วยเป็น abec 1 ไปจน abec 7 ปัจจุบันตลับลูกปืนที่ลื่นที่สุดเป็นเซรามิคแบริ่ง หมุนได้ในระดับแสนรอบต่อนาที)

    ไปใส่ในกังหันลม ก็จะทำให้กังหันลมติดลมได้เร็วขึ้น

    การนำมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง หรือใช้แม่เหล็กกำลังสูงพวกนีโอไดเมี่ยมมาใช้เป็นเจนเนอเรเตอร์ ซึ่งในรอบการหมุนเท่ากัน ได้กำลังไฟฟ้ามากกว่า

    ซึ่งแต่ละจุดที่เราได้ปรับปรุง ไป จุดนี้ 5 เปอร์เซ็นต์ จุดนั้น 10 เปอร์เซนต์ รวมแล้ว ทำครบหมด เราอาจพัฒนา เทคโนโลยี่นั้นๆไปได้ถึง 30 -50 เปอร์เซนต์เลยทีเดียว


    2.แนวคิดการผสมผสาน เทคโนโลยี่และประโยชน์ใช้สอย Compound concept ซึ่งในบางเทคโนโลยี่เราอาจผสมผสานสองสามเทคโนโลยี่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหรือเพื่อให้มีประโยชน์ใช้สอยเพิ่มขึ้นได้

    เช่นกังหันลมเราอาจออกแบบให้สามารถ สับแรงหมุนมาทำงานได้ทั้งปั่นไฟฟ้าผ่านเจนเนอเรเตอร์โดยตรง อัดลม(เพื่อเก็บในถังลมแล้วมาปั่นไฟฟ้าอีกที) หรือเพื่อเป็นปั๊มน้ำสูบน้ำก็ได้


    หรือการออกแบบระบบปะปาชุมชนที่มีหอสูง เราอาจเอาแนวคิดผสมผสานภายใต้โครงสร้างเดียวเพื่อประหยัดค่าก่อสร้าง

    หอสูงด้านบน เก็บน้ำ หลังคาเป็นโซลาร์เซลล์ สูงกว่านั้นอาศัยโครงสร้างที่มีความสูงติดตั้งกังหันลมไปอีก เพื่อสูบน้ำ และหรือ ผลิตกระแสไฟฟ้า

    ส่วนท่อส่งน้ำแรงดัน เราต่อผ่านเทอร์ไบน์อีกครั้งเพื่อผลิตไฟฟ้าพร้อมกับการจ่ายน้ำลงจากหอสูง

    ดังนั้น ระบบปะปาหมู่บ้านก็จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย หากอยากให้เกิดประโยชน์กว่านี้ ก็นำประโยชน์จากความสูงมาใช้เป็นหอกระจายข่าวหมู่บ้านและเครื่องเตือนภัยของชุมชนได้

    นี่เป็นตัวอย่างการผสมผสานเทคโนโลยี่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประหยัดงบประมาณ ในการพัฒนาประเทศ
     
  12. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    -- อิสราเอล ผู้นำพลังงานสะอาด --



    [​IMG]

    พี่ ๆ ทราบกันไหมคะว่า 90% ของครัวเรือนในประเทศอิสราเอลมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการต้มน้ำเพื่อดื่มใช้กันในครอบครัว โดยจะติดตั้งแผงรับพลังงานความร้อนจากพระอาทิตย์ไว้ที่หลังคาบ้านทุกแห่ง


    [​IMG]


    จริงๆ แล้วก็เป็นเพราะกฎหมายของประเทศอิสราเอลที่บังคับให้ทุกบ้านต้องติดตั้งพลังงานสะอาดนี้

    [​IMG]


    ฉะนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่า ตอนนี้ประเทศอิสราเอลก็เป็นผู้นำของประเทศที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ด้วย

    เขาเป็นผู้นำพลังงานสะอาด จากแสงอาทิตย์ แล้ว เราหละ เป็นผู้นำอะไร ???

    เคยหวังว่าจะเป็นผู้นำโลก หลังภัยพิบัติล้างโลก แต่ตอนนี้ชักคิดหนัก เสื้อแดง เสื้อเหลือง เสื้อน้ำเงิน เสื้อขาว ออกมาจนมึนไปหมด ในประเทศยังตีกันขนาดนี้ จะเอาอะไรไปนำเขาน้า... คิดแล้วปลง
     
  13. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    หวังว่า ไอเดีย ของคุณคณานันท์ คงได้เข้าหู ผู้มีหน้าที่พัฒนาพลังงานในประเทศไทยเรา หรือ พวกที่ทำธุรกิจพลังงานในไทยบ้างนะ

    ไอเดียดีๆแบบนี้ เราทำกันเองไม่ค่อยจะไหว เพราะต้องมีความชำนาญ เครื่องไม้ เครื่องมือต้องพร้อม อยากให้เขาเข้ามาอ่านเจอ แล้วเอาไอเดียไปต่อยอด เพื่อส่วนรวม หรือ จะเพื่อธุรกิจก็ได้ ถ้าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ต่อประเทศชาติ เรายินดี ไม่ได้ตังค์ก็ไม่เป็นไร ได้บุญก็ชื่นใจแล้ว หรือไม่ก็นำเสนอเข้าโครงการหลวง.... สาธุ.. จบแค่นี้ดีกว่าจ้า
     
  14. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    <TABLE cellSpacing=8 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#dfe8fb><TABLE cellSpacing=7 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD class=newTechno>เชฟโรเลต โวลต์ รถไฟฟ้าคันแรกของโลกพร้อมผลิตแล้ว</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=normal3><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [​IMG]

    เวเบอร์ แชนด์วิค เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น (จีเอ็ม) ก้าวสู่ศตวรรษใหม่ ด้วยการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2551 ตามเวลาท้องถิ่น เป็นการฉลองวันครบรอบ 100 ปี จีเอ็ม ด้วย เชฟโรเลต โวลต์ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า แบบ ปลั๊ก-อิน (Plug-in) ที่คนทั่วโลกเฝ้าติดตามการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ โวลต์สามารถขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ได้ในระยะทางมากกว่า 65 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางเฉลี่ยที่ผู้ขับขี่รถส่วนใหญ่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ปราศจากมลพิษอย่างสิ้นเชิง พร้อมทั้งยังสามารถใช้งานระยะทางยาวไกลขึ้นอีกหลายร้อยกิโลเมตร เมื่อใช้ควบคู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า มากกว่าการคาดการณ์ไว้เมื่อครั้งที่โวลต์ยังเป็นรถต้นแบบ

    “การเปิดตัว เชฟวี่ โวลต์ รุ่นที่จะผลิตเพื่อการจำหน่ายในครั้งนี้ เป็นแนวทางสำคัญในการก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ของจีเอ็ม” มร.ริค แวกอเนอร์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงการเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นที่จะผลิตออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกของโลก “โวลต์เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกอย่างชัดเจนถึงแนวทางของจีเอ็มในอนาคต...และเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยียานยนต์ของเราที่ต้องการเข้ามาแก้ปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เผชิญอยู่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต” มร. แวกอเนอร์ กล่าวอย่างมั่นใจ

    การออกแบบ เชฟโรเลต โวลต์ ถูกถอดแบบมาจาก เชฟโรเลต โวลต์ ที่เป็นรถยนต์ต้นแบบและเคยเผยโฉมในงาน ดีทรอยท์ มอเตอร์โชว์ (NAIAS: North American International Auto Show) เมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา

    จากการออกแบบเพื่อลดแรงเสียดทานของอากาศ เป็นจุดสำคัญที่ทำให้โวลต์สามารถใช้งานได้ในระยะทางที่ไกลมากขึ้น ทีมวิศวกรผู้ออกแบบของจีเอ็มได้สร้างสรรค์ระบบอากาศพลศาสตร์ที่ส่งผลอันยอดเยี่ยมสำหรับโวลต์รุ่นที่ผลิตออกจำหน่ายนี้ การออกแบบในหลายๆ จุดได้รับการคัดสรรมาจากโวลต์คันที่เป็นรถยนต์ต้นแบบ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ กระจังหน้า รูปทรงที่ดูปราดเปรียวทะมัดทะแมง กราฟฟิคดีไซน์ที่ท้ายรถ กระจกมองหลัง และส่วนอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ แผงมาตรวัดของโวลต์ถูกออกแบบให้ดูโค้งมนกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของ


    [​IMG]

    คอนโซลหน้า ตามมุมรถและกระจังหน้ารถถูกออกแบบให้ดูเรียวบาง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการลดแรงปะทะกับอากาศ ช่วยให้อากาศสามารถไหลผ่านรอบตัวรถไปได้อย่างรวดเร็ว ส่วนด้านท้ายรถถูกออกแบบให้มีสันขอบที่ชัดเจนดูดุดัน พร้อมทั้งออกแบบสปอยเลอร์อย่างประณีตเพื่อลดแรงเสียดทานอากาศเช่นกัน กระจกบังลมหน้าก็ถูกออกแบบให้ลาดเอียงไปด้านหลังค่อนข้างมากเพื่อช่วยลดการเคลื่อนที่อันไร้ทิศทางของกระแสลมที่ผ่านกระทบตัวรถและลดการทอนกำลังจากแรงลมที่เข้ามาปะทะ

    ด้วยการทำงานอย่างพิถีพิถันของทีมออกแบบระบบอากาศพลศาสตร์ของจีเอ็ม ในการกำหนดรูปทรงของโวลต์ จากทั้งทีมออกแบบและวิศวกร ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือรถยนต์ที่มีระบบอากาศพลศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประวัติศาสตร์ของจีเอ็ม ทีมออกแบบและวิศวกรของจีเอ็มทุ่มเทอย่างหนักหลายร้อยชั่วโมงกับการทดสอบ เชฟโรเลต โวลต์ ภายในอุโมงค์ลมของจีเอ็ม ผ่านการทดสอบครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งตัวรถทั้งคันหรือชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งการปะทะลมที่ด้านหน้าตัวรถ ด้านท้ายรถ สปอยเลอร์หลัง ส่วนโค้งของหลังคา และกระจกมองข้าง และด้วยการออกแบบทางอากาศพลศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมนี้ ช่วยให้โวลต์สามารถวิ่งได้ในระยะทางที่มากถึงประมาณ 65 กิโลเมตรโดยไม่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการสันดาปและปลอดมลพิษอย่างสิ้นเชิง ตามมาตรฐานของ “อีพีเอ” (EPA: Environmental Protection Agency) หน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา ที่จะตรวจสอบอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและวัดค่ามลพิษที่ออกจากรถยนต์

    ภายในของ เชฟโรเลต โวลต์ ยังมีความกว้างขวาง ให้ความสบายในการโดยสาร พรั่งพร้อมด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวก และระบบความปลอดภัยที่สมบูรณ์แบบ ตามที่ลูกค้าคาดหวังว่าจะได้พบในรถยนต์ซีดานแบบ 4 ที่นั่ง และโวลต์ยังมีสีสันการออกแบบภายในให้ลูกค้าเลือกใช้อย่างหลากหลาย รวมทั้งเลือกการตกแต่งระบบไฟภายในตัวรถและสีสันในสไตล์ต่างๆ ที่มักจะไม่ค่อยได้พบเห็นทางเลือกมากมายเช่นนี้ในรถยนต์ซีดานของเชฟโรเลต ปุ่มควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในรถยังถูกออกแบบอย่างล้ำสมัย วัสดุต่างๆ ได้รับการออกแบบให้ดูน่าสนใจน่าจับต้อง พร้อมด้วยหน้าจอมอนิเตอร์ 2 ตัว ที่แสดงข้อมูลการขับขี่ อยู่หลังพวงมาลัย และแสดงข้อมูลของรถ ติดตั้งไว้ที่คอนโซลกลาง ซึ่งมอนิเตอร์ที่คอนโซลกลางนี้จะเป็นส่วนแสดงข้อมูลของรถ รวมทั้งควบคุมและแสดงผลการเล่นเครื่องเสียง อุปกรณ์อำนวยความสะดวกความบันเทิงต่างๆ สั่งงานด้วยระบบสัมผัส (touch-sensitive infotainment) ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีและการออกแบบที่ทันสมัยได้อย่างลงตัวนี้ ช่วยยกระดับให้การออกแบบภายในของโวลต์แตกต่างเหนือจากรถยนต์รุ่นอื่นๆ ในตลาด

    เทคโนโลยีภายในห้องโดยสารที่โดดเด่นของโวลต์

    - ส่วนแสดงข้อมูลการขับขี่ผ่านหน้าจอแอลซีดี แทนที่จะเป็นกรอบมาตรวัดต่างๆ เหมือนรถยนต์ทั่วไป

    - ที่คอนโซลกลางยังติดตั้งมอนิเตอร์ระบบสัมผัสขนาด 7 นิ้ว เป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการแสดงข้อมูลต่างๆ ของโวลต์

    - ปรับอุณหภูมิในห้องโดยสารและควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ความบันเทิง ด้วยระบบสัมผัส

    - สามารถเพิ่มเติมการติดตั้งระบบนำทางผ่านสัญญาณดาวเทียมบนฮาร์ดไดร์ฟ (hard drive) ที่ติดตั้งซ่อนไว้ในคอนโซลกลาง โดยสามารถใส่ข้อมูลแผนที่ หรือเป็นไดร์ฟสำหรับเก็บไฟล์เพลงต่างๆ

    - ติดตั้งบลูทูธ (Bluetooth hand free) สำหรับพูดคุยโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน และยังรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์พกพาอย่าง ยูเอสบี (USB removable drive) และอุปกรณ์บลูทูธ สำหรับการโหลดเพลง เล่นเพลง ที่อยู่ในไดร์ฟพกพาเหล่านี้อีกด้วย

    เชฟโรเลต โวลต์ กลายเป็นรถยนต์ที่มาพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของพลังงานไฟฟ้าที่นำมาใช้กับรถยนต์ ด้วยการยกระดับตัวเองให้เป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้เป็นระยะทางไกลมากขึ้น (E-REV: Extended-Range Electric Vehicle)

    โวลต์สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนล้ออยู่ตลอดเวลาและทุกย่านความเร็ว โดยสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี ลิเธียม-ไอออน (lithium-ion) วิ่งได้เป็นระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร และเมื่อไรก็ตามที่พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรีหมดลง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิง E85 จะส่งกระแสไฟไปยังระบบขับเคลื่อนของโวลต์อย่างราบรื่น ในระหว่างนั้นก็จะชาร์จไฟเข้าไปเก็บในแบตเตอรีไปพร้อมๆ กันอีกด้วย ด้วยระบบนี้จะทำให้โวลต์สามารถใช้งานได้เป็นระยะทางมากขึ้นอีกหลายร้อยกิโลเมตร จนกว่าจะหาช่องเสียบปลั๊กไฟเพื่อชาร์จไฟเข้าไปเก็บในแบตเตอรี ลิเธียม-ไอออน อีกครั้ง เพื่อให้รถยนต์สามารถกลับมาใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรีได้อีก แบตเตอรี่ในโวลต์แตกต่างจากแบตเตอรี่ของรถพลังงานไฟฟ้ารุ่นอื่น ทำให้ผู้ขับขี่มั่นใจได้ว่า จะไม่พบกับปัญหาแบตเตอรี่หมดอย่างแน่นอน

    เชฟโรเลต โวลต์ สามารถชาร์จพลังงานไฟฟ้าได้ด้วยการเสียบปลั๊กไฟเหมือนอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านที่ใช้ไฟ 120 โวลต์ทั่วไป หรือชาร์จไฟที่ 240 โวลต์ก็ได้ ด้วยเทคโนโลยีอันชาญฉลาดในการชาร์จไฟทำให้โวลต์สามารถชาร์จไฟฟ้าได้เต็มภายในเวลาน้อยกว่า 3 ชั่วโมง สำหรับกระแสไฟ 240 โวลต์ หากใช้กระแสไฟ 120 โวลต์จะใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง ซึ่งเวลาที่ใช้ในการชาร์จไฟนั้นยังอาจจะน้อยกว่านั้นถ้าใน แบตเตอรี ลิเธียม-ไอออน ยังมีปริมาณไฟฟ้าสะสมอยู่บ้าง สำหรับค่าใช้จ่ายในการใช้งานโวลต์จะอยู่ที่ประมาณ 27.20 บาท ต่อวัน (เมื่อคิดจากค่าไฟในสหรัฐอเมริกาที่ประมาณ 3.40 บาท ต่อ กิโลวัตต์ชั่วโมง) ในการชาร์จแบตเตอรีให้เต็มจะสามารถใช้งานได้ประมาณ 65 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางเฉลี่ยที่ผู้ขับขี่รถส่วนใหญ่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจีเอ็มคาดว่าการชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้แก่โวลต์จะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการซื้อกาแฟดื่มต่อถ้วยด้วยซ้ำ และการชาร์จไฟฟ้าให้กับ เชฟโรเลต โวลต์ 1 ครั้งต่อวันในทุกวันตลอดปีนั้น จะใช้ปริมาณไฟฟ้าที่น้อยกว่าการใช้ไฟของตู้เย็นหรือตู้แช่หนึ่งตู้เสียอีก

    สมรรถนะการขับขี่ของเชฟโรเลต โวลต์ แรงเหนือชั้นด้วยแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน จำนวน 220 เซลส์ ให้พละกำลังขับเคลื่อน 150 แรงม้า แรงบิด 370 นิวตัน-เมตร ความเร็วสูงสุดทะยานไปได้ถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากจะให้ความเร้าใจในการขับขี่แล้ว ความเงียบของเครื่องยนต์ในการขับขี่เป็นจุดเด่นที่สุดของโวลต์ ทำให้ห้องโดยสารมีเสียงรบกวนเล็ดลอดเข้ามาน้อยที่สุด

    จากการประเมินของจีเอ็ม ค่าใช้จ่ายในการขับขี่โวลต์อยู่ที่เีพียง 0.43 บาทต่อกิโลเมตร ถูกกว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งอยู่ที่ 2.55 บาทต่อกิโลเมตร (คิดตามราคาน้ำมันในสหรัฐที่ แกลลอนละ 3.60 ดอลลาร์) หากคำนวนจากการใช้รถยนต์เฉลี่ย 65 กิโลเมตรต่อวัน หรือ 24,750 กิโลเมตรต่อปี ผู้ขับขี่สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 51,000 บาท ต่อปี และถ้าหากใช้รถยนต์ในโหมดที่เป็นไฟฟ้าให้ได้มากที่สุดนั้น เชฟวี่ โวลต์ จะใช้ค่าใช้จ่ายเพียง 1 ใน 6 เท่าเมื่อเทียบกับรถที่ใช้น้ำมันทั่วไป นอกจากนี้ ถ้าเลือกชาร์จไฟให้กับโวลต์ในช่วงเวลาที่มีคนใ้ช้ไฟน้อยค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าไฟก็จะถูกลงด้วยเพราะค่าไฟฟ้าในช่วงดังกล่าวจะถูกกว่าในเวลาปกติ

    เชฟโรเลต โวลต์ จะขึ้นสายการผลิตที่โรงงานดีทรอยท์-แฮมแทรค (Detroit-Hamtramck) และจะออกสู่ตลาดรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายปี 2553 โดยยังไม่มีการกำหนดราคาค่าตัวออกมา ทั้งนี้ การผลิต เชฟโรเลต โวลต์ ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายและแนวทางของรัฐบาลด้วย ข้อมูลเพิ่มเติมคลิกเข้าไปได้ที่ media.gm.com/volt
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เชื่อว่า ต่อไป ได้ทำ ได้ใช้กันครับ น่าจะอีกไม่ไกลเกินรอครับ

    สำคัญต้องช่วยกันปลุกความคิดสร้างสรรค์เชิงบวกในจิตใจคนดีๆให้มากๆ ให้กล้า คิด กล้าทำ กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมครับ

    การสร้างคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติต้องมาจากหนทางแห่งการสร้างสรรค์ ไม่ใช่การทำลายล้างแน่นอนครับ
     
  16. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    จำได้ไหมเอ่ย ???? Maglev Train

    หลักการรถไฟฟ้า Maglev Train ครับ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    [​IMG] [​IMG]


    Technology
    All operational implementations of maglev technology have had minimal overlap with wheeled train technology and have not been compatible with conventional rail tracks. Because they cannot share existing infrastructure, maglevs must be designed as complete transportation systems. The term "maglev" refers not only to the vehicles, but to the railway system as well, specifically designed for magnetic levitation and propulsion.

    ตอนนี้เขากำลังพัฒนา Maglev Wind Turbine จะไปติดตั้งที่ประเทศจีน แหมๆ น่าอิจฉา ทั้ง Maglev Train และ Maglev Wind Turbine เลย ไม่บ่งกันมั่ง จีนเขาจะสะสมเทคโนโลยีสมัยใหม่ทุกอย่างเลยนิ

    <TABLE cellSpacing=8 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#dfe8fb><TABLE cellSpacing=7 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD class=newTechno>กังหันลม Maglev โรงไฟฟ้าแห่งอนาคต</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=normal3><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [​IMG]

    The Maglev wind turbine กังหันลมผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งถูกเปิดเผยต่อชาวโลกครั้งแรกในงาน Wind Power Asia Exhibition 2006 ที่กรุงปักกิ่ง กำลังจะถูกนำมาใช้งานเพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับชนบทที่ห่างไกลทางตอนกลางของประเทศจีน

    กังหันลม Maglev เป็นกังหันลมที่นำเอาเทคโนโลยีแม่เหล็กไฟฟ้า แบบเดียวกับรถไฟฟ้า Maglev มาใช้ในการออกแบบกังหันลม โดยใบพัดกังหันลมจะลอยอยู่เหนือฐานรองรับด้วยพลังแม่เหล็กจากแม่เหล็กถาวร ทำให้ตัวใบพัดสามารถหมุนได้โดยไม่สูญเสียพลังงานไปกับแรงเสียดทานเลย ด้วยเหตุนี้เองทำให้กังหันลม Maglev สามารถให้พลังงานไฟฟ้าได้มากกว่ากังหันลมแบบธรรมดาถึง 20%, ประหยัดค่าดูแลรักษา 50% และมีอายุการใช้งานกว่า 500 ปี

    กังหันลม Maglev ถูกพัฒนาโดย สถาบันวิจัยพลังงานกวางโจว วิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประเทศจีน (Guangzhou Energy Research Institute under China’s Academy of Sciences) ซึ่งกังหันลมนี้กำลังจะถูกนำมาสร้างเพื่อใช้งานจริง โดยบริษัท เทคโนโลยีพลังงาน จงเค่อ เหิงหยวน (Zhongke Hengyuan Energy Technology) ได้ใช้เงินลงทุนกว่า 400 ล้านหยวน เพื่อสร้างกังหันลม Maglev ในชนบทที่ห่างไกลทางตอนกลางของประเทศจีน เพื่อป้อนกระแสไฟฟ้าให้กับชุมชนในพื้นที่เหล่านั้น

    ทั้งนี้กังหันลม Maglev สามารถใช้งานในแทบทุกพื้นที่ เนื่องจากตัวกังหันลมสามารถผลิตไฟฟ้าได้ แม้มีความเร็วลมเพียงแค่ 3 เมตร/วินาที (กังหันลมจะเริ่มหมุนได้ด้วยลมเพียงแค่ 1.5 เมตร/วินาที) อีกทั้งเมื่อคิดเป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าแล้ว ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากกังหันลม Maglev จะมีต้นทุนเพียงไม่ถึง 1 เซนต์ (ประมาณ 0.35 บาท) ต่อไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ,มีอีกเทคโนโลยี่ที่น่าสนใจครับ คือการนำsuper capacitor batteries มาใช้แทนแบตตารี่ตะกั่ว น้ำกรด ที่ใช้ในปััจุบันนี้

    โดยเทคโนโลยี่นี้ จะทนทานใช้ได้นาน สิบปีขึ้นไป น้ำหนักเบากว่า จ่ายพลังงานไฟฟ้าในรูปของประจุ ไฟฟ้า ประจุไฟฟ้าได้เร็วกว่า ไฟฟ้าที่ได้มีความเสถียรมากกว่า ไม่ต้องเติมของเหลวหรือดูแลรักษาอะไร

    ซึ่งหากนำไปใช้ในรถไฟฟ้าก็จะ ทำให้ประสิทธิภาพของรถไฟฟ้าได้สูงขึ้น แบตนี้ใช้ได้ตลอดอายุการใช้งานของรถ ทำให้กลายเป็นเมนเทนแนนต์ฟรีไป รถเร่งได้เร็วขึ้นจากการที่ น้ำหนักเบาลงและ จ่ายประจุไฟฟ้าได้เร็ว

    เทคโนโลยี่นี้เริ่มใช้ได้จริงแล้วครับ

    ลองดูของทางเอ็มไอทีพัฒนาครับ

    http://peswiki.com/index.php/Directory:MIT_Nanotube_Super_Capacitor
     
  18. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    อันนี้ก็ไฮเทค แต่ส่วนตัวไม่มั่นใจว่า มันจะปลอดภัยหรือเปล่า รู้ไว้เฉยๆก่อน อย่าเพิ่งรีบเชื่อ ให้คนอื่นไปลองดูกันเองก่อนดีว่า

    <TABLE cellSpacing=8 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#dfe8fb><TABLE cellSpacing=7 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD class=newTechno>ย่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เหลือเท่าอ่างอาบน้ำ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=normal3><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>บริษัทสหรัฐย่อขนาดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เหลือเท่ากับอ่างอาบน้ำ กว้างเพียงเมตรครึ่ง ผลิตไฟฟ้าป้อนได้ 2 หมื่นครัวเรือน

    กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดย่อส่วนดังกล่าวเดิมออกแบบไว้โดย โอทิส ปีเตอร์สัน และเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ ประจำห้องปฏิบัติการวิจัยลอสอะลามอส นิวเม็กซิโก สหรัฐ ต่อมาบริษัทไฮเปอเรียน เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น นำแบบมาพัฒนาต่อเพื่อผลิตเชิงพาณิชย์ และเพิ่งประกาศว่าได้รับออเดอร์แรกไปเมื่อไม่นานมานี้ โดยมีแผนผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายทั่วไปใน 5 ปี

    จอห์น ดีล ซีอีโอของไฮเปอเรียนบอกว่า เขาตั้งใจสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าราคาถูกราว 10 เซ็นต์ต่อวัตต์ ให้ใช้งานกันทั่วโลก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของเขาต้นทุนตกโรงละ 25 ล้านดอลลาร์ และสำหรับชุมชนขนาด 1หมื่นครัวเรือน เท่ากับรับภาระกันไปหลังละ 2,500 ดอลลาร์


    [​IMG]

    เนื่องจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของไฮเปอเรียนมีขนาดเล็กมาก สามารถขนย้านด้วยรถบรรทุก รถไฟ หรือเรือ ไปยังพื้นที่ห่างไกลไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ได้สะดวก ประกอบติดตั้งง่าย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กจะเป็นทางเลือกสำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปัจจุบันที่มีขนาดใหญ่ และแพงมโหฬาร สร้างแต่ละทีต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่โตยังไม่เหมาะกับ ชุมชนที่มีประชากรกลุ่มเล็ก นอกจากนี้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของไฮเปอเรียนยังเอามาต่อเพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับเมืองขนาดใหญ่ได้ด้วย

    สำคัญที่สุด โรงไฟฟ้าของไฮเปอร์เดียนไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวและเกิดสึกหรอได้ ไม่จำเป็นต้องเปิดซ่อมหน้างาน หรือถ้าจำเป็นต้องเปิดจริงๆ เชื้อเพลิงที่กักอยู่ข้างในจะเย็นลงอย่างรวดเร็ว มั่นใจในความปลอดภัยได้ เท่ากับว่า เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นอ่างอาบน้ำไม่มีทางทำให้เกิดอันตราย ละลาย หรือก่อให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

    โรงไฟฟ้าไฮปอเรียนใช้ฝังใต้ดิน และมีขั้นตอนความปลอดภัยหลายขั้น บริษัทรับรองว่าไม่มีทางที่ใครจะบุกเข้าไปทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำไปใช้อย่างผิดกฎหมาย ยิ่งไปกว่านั้น วัสดุที่อยู่ภายในยังไม่เหมาะที่พวกหัวหมอจะเอาไปดัดแปลงเป็นอาวุธนิวเคลียร์

    เตาปฏิกรณ์ตัวนี้จำเป็นต้องเติมเชื้อเพลิงใหม่ทุก 7-10 ปี และหลังจากเดินเครื่องผ่านไป 5 ปี ขยะทั้งหมดที่เกิดจากเตาปฏิกรณ์มีขนาดเท่าลูกซอฟท์บอลเท่านั้น และอาจนำมาใช้ใหม่ได้

    ปัจจุบัน ไฮเปอเดรียนได้รับใบสั่งผลิตแล้ว 100 เครื่อง ส่วนใหญ่มากจากโรงงานผลิตน้ำมันและโรงไฟฟ้า ใบสั่งผลิตชุดแรกมาจากบริษัททีอีเอส ซึ่งทำธุรกิจสาธารณูปโภคด้านประปาและไฟฟ้าของสาธารณรัฐเชค สั่งซื้อทั้งหด 6 เครื่อง

    ไฮเปอเรียนมีแผนสร้างโรงผลิตเตาปฏิกรณ์ 3 แห่ง และตั้งเป้าว่าระหว่างปี 2556 - 2566 จะสามารถผลิตเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 4,000 เครื่อง ปีหน้าบริษัทจะยื่นคำร้องขออนุญาตสร้างกับคณะกรรมการกำกับดูแลนิวเคลียร์ (Nuclear Regulatory Commission)

    อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกำกับดูแลนิวเคลียร์เปิดเผยว่ายังไม่มีแผนพิจารณาแบบของไฮเปอเรียนในอนาคตอันใกล้ แม้จะเคยคุยกันเบื้องต้นแล้วก็ตาม เนื่องจากแบบของไฮเปอเรียนค่อนข้างพิเศษ และคาดว่าคงต้องใช้เวลาอีกพอสมควรให้แน่ใจว่ามันปลอดภัยตรงตามมาตรฐานจริง
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    โซล่าเซลล์ กับ ผลไม้แก้วมังกร มันเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร แทบไม่น่าเชื่อ !!

    <TABLE cellSpacing=8 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#dfe8fb><TABLE cellSpacing=7 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD class=newTechno>ไฟฟ้าส่องสว่างจากพลังแก้วมังกร</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=normal3><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG]แก้วมังกร ผลไม้รสชาติหอมหวานบนโต๊ะอาหาร กำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของโซลาร์เซลล์ เมื่อนักวิจัยพบความสามารถในการดูดซับแสงอาทิตย์ของมัน

    กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : สาลินีย์ ทับพิลา

    นายอานนท์ จินดาดวง ผู้ช่วยนักวิจัยห้องปฏิบัติการอุปกรณ์นาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ทีมงานศึกษาหาสารไวแสงหรือสารเคลือบ จากธรรมชาติ สำหรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง

    เพื่อทดแทนสีสังเคราะห์ที่ราคาแพง และพบว่าสารละลายจากแก้วมังกรมีประสิทธิภาพสูง ในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

    “อิเล็กโทรดของโซลาร์เซลล์ชนิดสีย้อมไวแสงที่เป็นกระจกรับแสงนั้น ปกติจะย้อมด้วยสีสังเคราะห์จากสารรูทีเนียม ซึ่งมีราคาสูง ต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม

    อีกทั้งเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง ก็มีหลักการทำงานคล้ายคลึงกับการสังเคราะห์แสงของพืช นักวิจัยจึงสนใจหาตัวสีย้อมจากพืชผักในธรรมชาติ เพื่อทดแทนแทนสีสังเคราะห์" นายอานนท์กล่าวในงานสัมมนา นาโนไทยแลนด์ ซิมโพเซียม 2008

    ทีมวิจัยได้ศึกษาหาสารเคลือบในผัก ผลไม้และดอกไม้ที่มีสี ไม่ว่าจะเป็น มะละกอ แก้วมังกร ใบบัวบก กะหล่ำปลีม่วง มะเขือเทศ ดอกอัญชันและดาวเรือง มาสกัดเอาสีด้วยวิธีง่ายๆ โดยใช้ตัวทำละลาย

    จากนั้นแยกเนื้อออกไป ก็จะได้สารละลายจากพืชเหล่านั้นมาทำสีย้อมสำหรับโซลาร์เซลล์ จากการทดสอบประสิทธิภาพด้วยเครื่องวัดกระแสและศักย์ พบว่าสารละลายจากแก้วมังกรให้ประสิทธิภาพดีที่สุดที่ 1% ในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

    สำหรับประสิทธิภาพเพียง 1% อาจจะดูด้อยลงเมื่อเทียบกับผลวิจัยอื่นของศูนย์นาโนเทค ที่พัฒนาโซลาร์เซลล์ชนิดสีย้อมไวแสงจากสารรูทีเนียมได้ประสิทธิภาพ 10-11% ใกล้เคียงกับโซลาร์เซลล์ราคาแพงที่ทำจากซิลิกอน

    แต่ตัวเคลือบจากแก้วมังกรมีจุดเด่นที่ต้นทุนต่ำ กระบวนการทำไม่ซับซ้อน จึงเหมาะกับพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ที่มีของเหลือทางการเกษตร

    นอกจากงานวิจัยตัวเคลือบจากสารธรรมชาติของศูนย์นาโนเทคแล้ว ก็มีผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่วิจัยแบ่งสีธรรมชาติเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสีรวมของพริก (สีแดง) แครอท (สีส้ม) มังคุด (สีม่วง) และสะเดา (สีเขียว) กลุ่มสีเขียวล้วนจากสาหร่ายสไปรูลิน่า ฟ้าทลายโจร ดอกปีบและดอกอัญชัน

    แต่ผลที่ได้จากทั้ง 2 กลุ่มสีธรรมชาติพบว่า การนำมาย้อมเพื่อทำเป็นโซลาร์เซลล์ สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ต่ำกว่า 0.1%

    ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก http://technology.thaiza.com/

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2009
  20. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    สุดยอดครับ กังหันลมที่หมุนโดยไร้แรงเสียดทานจากแบริ่ง

    ที่จริงหากมนุษย์เราใช้ความคิดสร้างสรรค์เชิงบวกนี่ทำอะไรได้มากมายเลยครับ

    เมื่อไรที่ไทยเรารักชาติ เห็นประโยชน์ส่วนรวมเต็มที่ก็คงมีโครงการดีๆแบบนี้เกิดขึ้นมากมายครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...