WarRoom - อาสาสมัครเตรียมการเฝ้าระวังประสานงานเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ปี 2013

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 24 เมษายน 2011.

  1. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    [​IMG]

    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=1 width=500><TBODY><TR vAlign=center bgColor=#eeeeee><TD width=94>
    กลุ่มเมฆที่ 1 :
    </TD><TD> กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคเหนือโดยมีฝนฟ้าคะนองปกคลุมทางตอนล่างของภาค </TD></TR><TR vAlign=center bgColor=#eeeeee><TD width=94>
    กลุ่มเมฆที่ 2 :
    </TD><TD> กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีฝนฟ้าคะนองปกคลุมทางตอนกลางและทางตอนล่างของภาค </TD></TR><TR vAlign=center bgColor=#eeeeee><TD width=94>
    กลุ่มเมฆที่ 3 :
    </TD><TD> กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคกลางโดยมีฝนฟ้าคะนองปกคลุมทางตอนกลางและทางตอนล่างของภาค</TD></TR><TR vAlign=center bgColor=#eeeeee><TD width=94>
    กลุ่มเมฆที่ 4 :
    </TD><TD> กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคตะวันออกโดยมีฝนฟ้าคะนองปกคลุมภาคตะวันออกและตามบริเวณชายฝั่ง </TD></TR><TR vAlign=center bgColor=#eeeeee><TD width=94>
    กลุ่มเมฆที่ 5 :
    </TD><TD> กลุ่มเมฆฝนปกคลุมภาคใต้โดยมีฝนฟ้าคะนองปกคลุมทางตอนกลางของภาคและตามบริเวณชายฝั่ง </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ลักษณะอากาศทั่วไป

    ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกมีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม กรุงเทพมหานคร รวมทั้งปริมณฑล ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และเพชรบุรี ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักในระยะ 3-4 วันนี้ สำหรับทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังในการเดินเรือไว้ด้วย

    คาดหมาย
    ในช่วงวันที่ 9-12 ต.ค. ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักหนักบางแห่ง ส่วนทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร ในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. ร่องมรสุมจะมีกำลังอ่อนลง และเลื่อนไปพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไปในระยะนี้

    ข้อควรระวัง
    ในช่วงวันที่ 9-12 ต.ค. ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่จะเกิดขึ้น อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ใน บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 10-14 ต.ค. นี้ไว้ด้วย
     
  2. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    เมื่อตอนบ่าย มีลูกค้ามีหาซื้อชุดหางเรือที่ อู่ทอง

    เลยถามเขาว่าอยู่ที่ไหน บอกอยู่ บางปะหัน อยุธยา ท่วมสูงมาก

    เขาบอกว่า ปีก่อนที่หนักๆ น้ำมาแค่หน้าอก ปีนี้เลยหน้าอกไปเป็นเมตร น้ำจะขึ้นบ้านชั้นสองแล้ว เหลืออีกคืบเดียว

    เครื่องยนต์การเกษตรจมน้ำเสียหายทั้งหมด มูลค่ากว่า 2 แสน

    ไม่มีหน่วยงานไหนเข้าไปช่วยเหลือ...เพราะคนเดือนร้อนมันเยอะมาก จนไม่สามารถช่วยเหลือได้ทั่วถึง

    ทุกคนต้องช่วยตัวเอง.... เพราะฉะนั้น...ขอให้พวกเราผู้ที่อยู่กลุ่มเสี่ยงเตรียมตัวให้พร้อม อย่าหวังว่าจะรอหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ...

    คือ...ก็เข้าใจว่าคนเดือนร้อนจำนวนเยอะกว่าหน่วยงานที่คอยช่วยเหลือจริงๆ รู้สึกเห็นใจทั้ง 2 ฝ่ายเลยค่ะ ...ขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายค่ะ..สู้ๆ :cool:


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 ตุลาคม 2011
  3. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    กทม.พร้อมแจ้งอพยพประชาชน หากน้ำท่วมฉับพลัน

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    รองปลัดกทม.พร้อมสั่งพื้นที่เสี่ยงอพยพประชาชน ลั่นมีแผนพร้อมแล้ว หากน้ำท่วมฉับพลัน ด้านผอ.สำนักระบายน้ำ เผยเร่งระบายน้ำลงทะเล ก่อนน้ำขึ้นสูง

    นายพีระพงษ์ สายเชื้อ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยหลังประชุมผู้อำนวยการเขตฝั่งตะวันออก ทั้ง 9 เขตว่า สั่งให้ทุกในพื้นที่เสี่ยงเตรียมแผนอพยพประชาชน โดยให้ทั้ง 9 เขตดำเนินการสอดคล้องกัน ขณะที่ยอมรับว่าสถานการณ์น้ำท่วมปีนี้รุนแรงมาก และกังวลกับปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้น

    หลังจากนี้จะให้เขตแจ้งเตือนประชาชนเตรียมพร้อมอพยพ หากเกิดน้ำท่วมฉับพลัน พร้อมสรุปจำนวนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงที่อาจต้องอพยพ แต่ยังหนักใจที่ประชาชนบางส่วนไม่ต้องการอพยพออกจากบ้าน เนื่องจากห่วงทรัพย์สิน

    ผอ.สำนักระบายน้ำ เผยเร่งระบายน้ำลงทะเล ก่อนน้ำขึ้นสูงสุด

    นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. กล่าวว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะขึ้นสูงสุดในเวลา 16.30 น. ส่วนปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา วัดที่บริเวณเขื่อนพระราม 6 และเขื่อนเจ้าพระยาล่าสุดอยู่ที่ 4,945 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ที่อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยาอยุ่ที่ 3,135 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทั้งนี้ ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เนื่องจากน้ำที่ปล่อยมาจากทางเหนือปริมาณมากขึ้นทุกวัน ประกอบกับมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำใน 13 เขต รวมถึงพื้นที่ด้านฝั่งตะวันออกของกทม.ยังต้องเฝ้าระวัง

    ขณะเดียวกัน การที่ระดับน้ำในคูคลองชั้นในมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ยังส่งผลให้การระบายน้ำออกไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาทำได้ยาก โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 13-15 ต.ค. นี้ น้ำทะเลจะหนุนสูง และจะสูง 1.11 เมตร ในวันที่ 15 ต.ค. ก่อนจะขึ้นสูงสุดอีกครั้งในวันที่ 29 ต.ค. ที่ 1.31 เมตร โดยทางกทม.กำลังเร่งระบายลงสู่ทะเลให้มากที่สุดเนื่องจากเพื่อให้ได้สูงสุดที่ 20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน หากวันที่ฝนตกอาจจะต้องชะลอกำลังเร่งระบาย ซึ่งจะเร่งให้ได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร
     
  4. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    20 ประการ เตรียมบ้านให้พร้อมก่อนน้ำท่วมใหญ่

    วันที่ 09/10/2554 14:15

    [​IMG]



    เมื่อน้ำเหนือก้อนใหญ่กำลังไหลเข้าสู่เมืองหลวง หลายฝ่ายกำลังสู้รับมือภัยพิบัติ ถึงเวลาที่เราต้องพึ่งพาตัวเอง ด้วยการเตรียมตัวให้พร้อมรับมือเหตุน้ำท่วมกับ "บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม" โดย อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์...

    เมื่อเร็วๆ นี้ ไทยรัฐออนไลน์ได้รับบทความจากอาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ สถาปนิกผู้ดำเนินรายการ รายการ "คุยกับหมอบ้าน" เล็งเห็นว่า บทความนี้น่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือที่ต่ำ ที่ต้องประสบกับเหตุน้ำท่วม เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสียหายให้บรรเทาเบาบางลง โดยอาจารย์ยอดเยี่ยมเขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อเป็นวิทยาทานโดยไม่หวังผลตอบแทน ดังนั้น ไทยรัฐออนไลน์ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อ เพื่อเป็นประโยชน์กับประชาชนในวงกว้างต่อไป

    เมื่อนานมาแล้ว ปี พ.ศ. 2538 น้ำท่วมประเทศไทย ผมเขียนหนังสือร้อยพันปัญหาในการก่อสร้างเล่มที่ 3 เรื่อง “บ้านหลังน้ำท่วม” โดยมีเป้าหมายในการให้คนที่มีทุกข์จากการถูกน้ำท่วม ทราบแนวทางในการปรับปรุงบ้านของตนเองอย่างถูกวิธี และประหยัดงบประมาณ ซึ่งเป็นหนังสือที่ไม่มีลิขสิทธิ์ใดๆ จึงมีผู้จัดพิมพ์เพื่อแจกจ่ายไปเป็นจำนวนหลายแสนเล่ม มาถึงวันนี้ คนไทยทั้งหลายเข้าใจเรื่องน้ำท่วมมากขึ้น ศึกษาข่าวสารบนความไม่ประมาทมากขึ้น และเริ่มมีการ “เตรียมตัว” เพื่อจัดเตรียมบ้านให้พร้อมก่อนที่น้ำจะมา จึงขอเขียนบันทึก “บัญญัติ 20 ประการ เตรียมบ้านก่อนน้ำท่วม” แบบสั้นกระชับนี้ขึ้น ซึ่งหวังว่าคงจะพอมีประโยชน์ครับ ขอให้หลับตาแล้วนึกถึงภาพว่า เรากำลัง “เตรียมเมืองรับศึกสงคราม” นะครับ

    1. ดูทางน้ำที่จะมาสู่บ้านเรา แล้วจะไปทางไหนได้บ้าง

    ขอให้คิดว่า เราเหมือนกำลังตั้งค่ายคูประตูหอรบอยู่ เราต้องรู้ว่าข้าศึกจะเข้ามาโจมตีเราทางทิศใดได้บ้าง และหากเกิดความพลาดพลั้งขึ้นมา เราจะหนีไปทางไหนได้บ้าง ซึ่งข้าศึกอาจจะเข้ามาตีเราหลายทางก็ได้ และเราก็อาจจะมีทางหนีไปหลายทางก็ได้ บางครั้งข้าศึกไม่ได้มาตีแค่ 2-3 ทาง แต่ทำการ “ล้อม” เราเอาไว้ทุกด้านก็ได้ ทำให้ทางหนีของเราถูกปิดกั้นไว้หมด

    หากเมื่อรู้แนวทางเหล่านั้นแล้ว ก็ขอให้เริ่มวางแผนที่จะ “หยุดน้ำ หยุดข้าศึกที่จะเข้ามาโจมตีเรา” ซึ่งการหยุดยั้งน้ำหรือข้าศึกนั้น มีหลายวิธีที่ต้องจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการ “สร้างเขื่อนชั่วคราว” ด้วยกระสอบทราย หรือเอาแผ่นวัสดุใดๆ มากั้นก็ได้ การปิดกั้นนั้นมีหลายวิธี ซึ่งใช้ความเข้าใจพื้นฐาน บวกกับสอบหาข้อมูล ก็จะพอทราบกันเองได้ครับ

    2. กำแพงบ้านไว้กันน้ำได้ แต่ต้องระวังรั้วพังนะครับ

    ตามปกติแล้ว รั้วบ้านที่เป็นคอนกรีตหรือก่ออิฐ จะเปรียบเสมือนกำแพงเมืองที่จะกันน้ำไม่ให้เข้ามาในบ้านของเรา แต่เราต้องไม่ลืมว่า น้ำหนักของน้ำที่ขังหรือถาโถมเข้ามากดที่ด้านข้างของกำแพงรั้วเรา จะทำให้รั้วบ้านของเราเกิดการเอียง แตกร้าว หรือพังลงมาได้ เพราะรั้วบ้านทั่วไป วิศวกรท่านจะไม่ได้ออกแบบไว้ให้รับแรงหรือน้ำหนักที่กระทำด้านข้างได้มากนัก

    ทางป้องกันที่ง่ายที่สุดก็คือ เราหากระสอบทรายมาวางไว้อีกด้านหนึ่งของรั้วบ้านเรา (ในบ้านเรา) วางไว้ติดชิดกับรั้วไปเลย ยามเมื่อรั้วจะเอียงเพราะว่าน้ำที่ท่วมกดน้ำหนักมาอีกด้านหนึ่ง กระสอบทรายก็จะทำหน้าที่ช่วยรับน้ำหนักเอาไว้ ถ่ายแรงจากรั้วมา รั้วก็ยังตั้งตรงอยู่ได้ "กำแพงเมืองของเราก็ไม่แตก หรือล้มครืนลงมาครับผม"

    3. น่าจะมี “ปืน” ไว้สู้ฝน สู้น้ำท่วม จัดการกับ “รูรั่ว”

    บ้านหลายหลังที่มีรู มีรอยแตกเล็กๆ ตามผนังหรือช่องหน้าต่าง ตามรอยต่อของผนังกับเสาและคาน หรือแม้แต่ตามรั้วบ้าน ซึ่งบางครั้งเราไม่มีเวลา (หรืองบประมาณ) ที่จะแก้ไขได้ที่ต้นเหตุ จะตามช่างมาซ่อมแซมหรือ ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หรือไม่ทันเวลาเสียแล้ว ดังนั้น เราก็น่าจะมีวัสดุอุดประสานรอยจำพวก ซิลิโคน หรือ อะคริลิค หรือ โพลี่ยูริเทน เอาไว้ เพื่ออุดรอยเหล่านี้ ซึ่งเราน่าจะทำได้ด้วยตัวเอง (โดยเฉพาะในจังหวะที่เศรษฐกิจไม่ดี หรืออยากจะฝึกตัวเองเป็นช่างบ้าง) แต่การที่เราจะใช้วัสดุ ประสานที่มีความยืดหยุ่นและอยู่ในหลอดแข็งๆนี้ได้ เราจะต้องมีอุปกรณ์การ "ฉีด" ซึ่งภาษาช่างทั่วไปเขาเรียกกันว่า "ปืน" ที่ราคาไม่แพงเลยครับ บางครั้ง ท่านอาจจะต้อง "พกปืน" ไว้ในบ้านของท่านสักชุด เพื่อช่วยเหลือตัวเองในการต่อสู้ ป้องกันน้ำไม่ให้ไหลเข้ามาในบ้านของเราครับ

    4. อย่าให้ต้นไม้ล้มทับบ้าน ยามน้ำท่วมและพายุมา

    ต้นไม้ทั้งหลายที่อยู่ในบ้านหรือใกล้บ้านเราจะเป็นอันตรายยามมีพายุมา เพราะต้นไม้อาจจะล้ม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ที่ล้อมจากที่อื่นมาปลูก เพราะต้นไม้เหล่านั้นไม่มี “รากแก้ว” ครับ) หรือ กิ่งต้นไม้บางประเภทที่ค่อนข้างเปราะ (เช่น ต้นประดู่กิ่งอ่อน) อาจจะหักลงมาสู่ตัวบ้านเรา ต้องทำการเล็มกิ่งหรือตัดกิ่งบางกิ่งออกไปเสีย

    ยามเมื่อน้ำท่วม ระดับน้ำใต้ดินจะสูงมาก (หรือน้ำท่วมเข้ามาได้จริงๆ) รากของต้นไม้จะแช่น้ำเป็นเวลานาน รากต้นไม้จะเน่าได้ แล้วความสามารถในการยึดเกาะกับดินก็จะน้อยลง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ใหญ่ที่ไม่มีรากแก้ว) ต้นไม้ก็อาจจะล้มลงได้ ต้องทำการค้ำยันลำต้นเอาไว้ให้ดี ก่อนน้ำจะท่วมครับ สิ่งที่น่าคิดอีกอย่างหนึ่งก็คือเรื่องการให้ปุ๋ย ซึ่งตอนที่น้ำท่วม ห้ามให้ปุ๋ยต้นไม้ครับ เพราะจะทำให้รากเน่าเร็วขึ้น (ต้นไม้ที่โดนน้ำท่วมก็เหมือนคนป่วย เขาไม่ต้องการอาหารดีๆ (แต่ย่อยยาก) ครับ ขอให้หายป่วยเสียก่อนค่อยกินอาหารดีๆ เยอะๆได้ครับ)

    5. ตรวจสอบถังน้ำใต้ดิน
    บ้านใครมีถังน้ำใต้ดิน ต้องตรวจสอบ “ฝา” ของถังน้ำให้ดีๆ เพราะเวลาน้ำท่วม ถังน้ำจะอยู่ใต้น้ำด้วย หากฝาของถังน้ำมีระบบป้องกันน้ำเข้าไม่ดี น้ำสกปรกที่ท่วมเข้ามา ก็จะไปปนกับน้ำสะอาดในถังน้ำของเรา ปัญหาเรื่องโรคภัยต่างๆ ก็จะตามเข้ามาหาตัวเราโดยทันทีครับ

    หากเราไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำเล็ดลอดเข้ามาในถังของเราได้ ก็ขอให้ต่อท่อน้ำตรงจากท่อประปาหน้าบ้านเรา เข้ามาที่ตัวบ้านของเราเลย (โดยปกติแล้ว บ้านที่มีถังน้ำใต้ดินจะมีวาล์วหมุนเปิดทางให้น้ำประปาจากหน้าบ้านเรา วิ่งผ่านตรงเข้ามาในบ้านโดยไม่ลงไปที่ถังน้ำใต้ดินได้ ต้องหาวาล์วตัวนี้ให้เจอ แล้วต่อตรงเข้ามาเลยดีกว่า น้ำจะเบาลงหน่อย แต่ก็ยังเป็นน้ำสะอาดครับ)

    6. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้านอกบ้าน ตัดกระแสไฟเสีย

    ภายนอกบ้านของเราจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่าง เช่น ปั๊มน้ำ เครื่องปรับอากาศ หรือแม้กระทั่งไฟสนาม และกริ่งหน้าบ้าน ต้องหาสวิตซ์ตัดไฟให้พบว่า จะต้องตัดไฟตรงไหนไม่ให้ไฟฟ้าวิ่งเข้าไปที่อุปกรณ์เหล่านั้นได้ ยามเมื่อน้ำท่วมเข้ามา ต้องทำการตัดไฟตรงนั้นเสีย (แม้กระทั่งยามจะเข้านอน ถ้าไม่แน่ใจว่าน้ำจะท่วมเข้ามาตอนเราหลับอยู่หรือเปล่า ก็ต้องปิดสวิตซ์ไฟฟ้าของอุปกรณ์เหล่านั้นเสีย ตื่นมาตอนเช้า หากน้ำยังไม่ท่วม ก็ค่อยเปิดสวิตซ์ใหม่อีกครั้งหนึ่งครับ) ส่วนการย้ายเครื่องมือย้ายอุปกรณ์เหล่านั้นในตอนนี้ หากแน่ใจว่าน้ำท่วมแน่ และมีช่างมาช่วยย้าย ก็อาจจะย้ายได้ แต่หากไม่มีช่างมาช่วย ก็เป็นเรื่องยากที่จะทำเอง ก็อาจจะต้องยอมให้อุปกรณ์เหล่านั้นแช่น้ำไปก่อนตอนน้ำท่วม

    7. ป้องกัน งู เงี้ยว เขี้ยว ขอ ตะกวด และสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ
    ยามน้ำท่วม มิใช่เพียงมนุษย์และสัตว์เลี้ยงของเราเท่านั้นที่ต้องหนีน้ำท่วม แต่เหล่าสัตว์ต่างๆ ก็ต้องหนีน้ำกันด้วย และการหนี้น้ำท่วมที่ดีที่สุด ก็คือการเข้ามาในบ้านของเรา เพราะบ้านของเราพยายามกันน้ำท่วมอย่างดีที่สุดแล้ว

    ปัญหาก็คือ เหล่าสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ที่ทั้งเลื้อยและทั้งคลานเข้ามาในบ้านเรา เป็นสิ่งที่เราไม่ต้อนรับ และอาจเป็นผู้ทำอันตรายเราด้วย ดังนั้นเราต้องมั่นใจว่า “รู” ต่างๆ ของบ้านเราจะต้องโดน “อุด” เอาไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นรูที่ประตูหน้าต่าง หรือที่ผนังบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “รูจากท่อระบายน้ำ” ที่พื้นบ้านของเรา (เขาชอบมาทางนี้กันครับ)

    บางท่านอาจจะมีการโรย “ปูนขาว” ล้อมรอบบ้านเอาไว้ด้วยก็ได้ (แต่ต้องมั่นใจว่าโรยรอบบ้านจริงๆ และ ไม่ถูกน้ำท่วม หรือถูกฝนชะล้างจนหายไปหมดครับ) เพราะปูนขาวจะกันสัตว์เหล่านี้ได้ครับ นอกจากนี้ก็น่าจะเตรียมยาฉีดกันแมลง ติดบ้านไว้ด้วยครับ

    8. เรื่องส้วม ส้วม ส้วม สุขา สุขา

    เป็นเรื่องของความสุขที่เปลี่ยนไปเป็นความทุกข์ทุกครั้งที่เกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบส้วมที่เป็นระบบบ่อเกรอะ บ่อซึมแบบเดิม ที่น้ำจากการบำบัดจะต้องซึมออกสู่ดิน แต่พอน้ำท่วม น้ำจากดินภายนอกจะซึมเข้ามาในบ่อ ก็ทำให้บ่อเกรอะเต็มไปด้วยน้ำ ส้วมก็จะเกิดอาการ “อืด และ ราดไม่ลง” หากน้ำจากภายนอกท่วมมาก มีแรงดันมาก ก็อาจจะเกิดอาการ “ระเบิด” ทำให้สิ่งปฏิกูลต่างๆ พุ่งกลับมาที่โถส้วม ความสุขหายไป ความทุกข์ปล่อยออกไม่ได้

    ในกรณีนี้ ต้องยอมรับในสิ่งที่จะเกิดขึ้น ต้องป้องกันไม่ให้สิ่งปฏิกูลทั้งหลายพุ่งกลับออกมาทางโถส้วม ต้องปิดโถส้วมให้ดี หากเป็นโถส้วมนั่งราบที่มีฝาปิด ก็ต้องปิดฝาให้แน่น เอาเชือกผูกเอาไว้ หากเกิดอาการพุ่งขึ้น ก็จะไม่เรี่ยราดทำความสะอาดยาก กรณีนี้ทำเฉพาะโถส้วมชั้นล่างก็พอ เพราะน้ำคงไม่ท่วมถึงชั้นสองครับ (เพราะหากท่วมถึงชั้นสอง เราคงไม่ได้อยู่ในบ้านได้แล้ว)

    กรณีที่เป็นบ่อบำบัดสำเร็จ ซึ่งเขาจะทำงานโดยไม่ต้องมีบ่อเกรอะบ่อซึม ในเวลาปกติเขาจะบำบัดจนเสร็จภายในถังเอง แล้วก็จะระบายน้ำที่บำบัดเสร็จแล้วลงท่อระบายน้ำนอกบ้านของเรา ยามเมื่อน้ำท่วม น้ำจากบ่อบำบัดจะไหลระบายออกไปไม่ได้ เพราะระดับน้ำที่ท่วมอยู่สูงกว่าบ่อบำบัด ซึ่งเป็นการแก้อะไรไม่ได้ ต้องปล่อยไว้อย่างนั้นครับ

    ถังบำบัดสำเร็จบางรุ่นจะมีมอเตอร์อัดอากาศเข้าไป (ซึ่งในบ้านส่วนใหญ่จะไม่ใช้รุ่นนี้) ก็ต้องตรวจดูว่ามอเตอร์อยู่ที่ไหน หากมอเตอร์น่าจะอยู่ในระดับที่น้ำท่วมถึง ก็ต้องตัดกระแสไฟไม่ให้เข้าไปสู่ตัวเครื่องกลนั้นครับ

    ทั้งนี้สิ่งที่ต้องระวังก็คือ “ท่อหายใจ” ที่เป็นท่อระบายอากาศของระบบส้วมของเรา ต้องมั่นใจว่าท่อหายใจนั้นจะต้องอยู่สูงกว่าระดับน้ำที่มีโอกาสท่วม หากท่อหายใจของเราอยู่ระดับต่ำ ก็ต้อง “ต่อท่อ” ให้มีระดับสูงขึ้นให้ได้ จะต่อแบบถาวรก็ได้ (หากมีช่างมาทำ หรือเราทำเป็น) หรือจะต่อแบบท่อไม่ถาวร ก็คือเอาสายยางธรรมดา มาครอบท่อหายใจเดิม แล้วก็ยกให้ปลายท่อนั้นอยู่สูงขึ้นกว่าระดับน้ำที่คาดหมายว่าจะท่วมครับ ท่อหายใจนี้จะเป็นอุปกรณ์สำคัญมากในการช่วยระบายความดันภายในระบบส้วมของเรา ไม่ให้สิ่งปฏิกูลมีแรงดันมากเกินไปครับ

    9. ปลั๊กไฟ สวิตซ์ไฟ ตรวจสอบและแยกวงจร

    เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของบัญญัติ 20 ประการของบทความนี้ เพราะอันตรายที่มองไม่เห็นก็คือเรื่องของ “ไฟฟ้า” ครับ แต่ในขณะเดียวกัน ไฟฟ้าก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตเสียแล้ว หากบ้านของเรามีการแยกวงจรไฟฟ้าไว้ตั้งแต่แรก คือวงจรไฟฟ้านอกบ้าน วงจรไฟฟ้าชั้นล่าง และวงจรไฟฟ้าชั้นบน ก็ต้องปิดวงจรไฟฟ้านอกบ้านเมื่อน้ำท่วมนอกบ้าน หากน้ำสูงขึ้นมาจนเข้าในตัวบ้าน ก็ต้องปิดวงจรไฟฟ้าชั้นล่าง หากน้ำสูงขึ้นถึงชั้นสอง น่าจะหาทางออกจากบ้านเพื่อย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว เพราะสวิตซ์หลักของบ้านโดยทั่วไปจะอยู่ที่ชั้นล่างระดับประมาณ 1.8 เมตรจากพื้นห้องครับ

    กรณีที่บ้านไหนโชคดี วงจรไฟฟ้าชั้นล่างแยกวงจรออกมาเป็นระดับปลั๊กด้านล่างและระดับสวิตซ์บน ก็ค่อยๆ ตัดวงจรปลั๊กชุดล่างก่อนตามระดับน้ำที่ท่วมขึ้นมา

    หากกรณีที่ไม่มีการจัดวงจรเอาไว้อย่างเป็นระบบตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เราต้องค่อยๆ ทำการทดสอบอย่างใจเย็นๆ ว่าปลั๊กหรือสวิตซ์ชุดใดจะมีการตัดวงจรไฟฟ้าจากคัตเอาท์หลักบ้าง แล้วทำโน้ตบันทึกเอาไว้ หากเมื่อน้ำท่วมเมื่อไร ก็จะได้ทราบว่าเราต้องตัดวงจรชุดใดก่อน (ตัดวงจรส่วนที่ถูกน้ำท่วม) อาจจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากหน่อยที่จะตรวจสอบ แต่ก็ต้องใจเย็นๆ และตั้งใจที่จะตรวจสอบครับ

    ในกรณีที่วงจรบางวงจรที่ควบคุมทั้งปลั๊กหรือสวิตซ์ตัวล่างกับปลั๊กหรือสวิตซ์ตัวบน ก็จำเป็นต้องตัดวงจรทั้งหมด ห้ามเสี่ยงโดยเด็ดขาดครับ

    อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่สามารถขนย้ายได้ในตอนนี้ ก็อาจขนย้ายขึ้นไปไว้ชั้นบนก่อน ยังไม่ต้องใช้ตอนนี้ก็ได้เช่น เตาไฟฟ้า เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องตีไข่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องชาร์จโทรศัพท์ ฯลฯ ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังต้องใช้งานอยู่ ก็ต้องเตรียมการขนย้ายขึ้นข้างบนเอาไว้เลย เช่นเครื่องไมโครเวฟ โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ การขนย้ายยุ่งยาก และหาที่วางยาก เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ฯลฯ ก็ต้องวางแผนว่าจะเอาอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต หากยังใช้อยู่แล้วยามน้ำท่วมขึ้น จะมีคนช่วยขนหรือไม่ หรือจะทิ้งเอาไว้อย่างนั้น

    เรื่องไฟฟ้าเป็นอันตรายที่มองไม่เห็น และน้ำเป็น “สื่อไฟฟ้า” ด้วย ดังนั้นเรื่องไฟฟ้าในบ้าน จึงเป็นสิ่งแรกที่ต้องมีการตรวจสอบและเตรียมการครับ

    10. ตรวจสอบว่าประตูหน้าต่างแน่นหนาและแข็งแรง
    เพราะว่าประตูบ้านของเรา (ไม่ว่าจะเป็นประตูที่รั้วบ้าน หรือประตูที่ตัวบ้านเรา) และหน้าต่าง เป็นจุดหนึ่งที่ถือว่ามีความอ่อนแอมากที่สุด มีโอกาสที่จะบิด หรือเผยอตัว หรืออาจจะหลุดออกมาทั้งบาน หากมีแรงดันน้ำมากๆ ดันเข้ามา

    ดังนั้นเราจึงต้องตรวจสอบความแข็งแรงให้ดี ต้องพยายามที่จะใช้ “กลอน” ช่วยรับน้ำหนักทางด้านข้างด้วย การลงกลอนในบานประตูและหน้าต่างที่ไม่ได้ใช้เป็นปกติธุระ น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะป้องกันน้ำวิ่งเข้ามาที่ตัวบ้านของเราได้ครับ

    หากหนักหนาจริงๆ ประตูหน้าต่างของเราดูจะอ่อนแอรับแรงดันน้ำไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องเอาไม้มาตีพาดขวางช่วยรับแรง หรือเอาของหนักๆมาวางช่วยดันประตูเอาไว้ (ต้องเป็นประตูด้านที่เราไม่ใช้โดยปกตินะครับ ไม่เช่นนั้นอาจจะมีปัญหาตอนที่เราจะหนีออกจากบ้าน หรือตอนที่คนเขาจะเข้ามาช่วยเราในบ้าน ยามเกิดวิกฤติครับ)

    11. เตรียมระบบสื่อสารทุกประเภทเอาไว้ให้พร้อม
    ระบบสื่อสารทุกอย่างที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นระบบโทรศัพท์ปกติหรือโทรศัพท์มือถือ ระบบอินเทอร์เน็ตทั้งมีสายและไร้สาย วิทยุ โทรทัศน์ หรือ อุปกรณ์สื่อสารพิเศษอย่างอื่น (เช่นระบบดาวเทียม วอร์คกี้ทอร์คกี้ เป็นต้น) เพราะการรับข่าวสาร และการติดตามข่าวสารเรื่องภัยน้ำท่วมที่จะมาถึงตัวเราเป็นเรื่องสำคัญ และไม่น่าจะเกิดความผิดพลาดในทุกวินาที

    และหากน้ำท่วมแล้ว การขอความช่วยเหลือ หรือสอบถามข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ ณ วินาทีวิกฤตินั้นแน่นอน อีกทั้งระบบสื่อสารที่เรามีนั้น มิได้ใช้เพียงการที่เราช่วยตัวเอง แต่อาจจะมีผู้เดือดร้อนคนอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือต้องการคำปรึกษาจากเรา ก็สามารถติดต่อกับเราได้ ต้องคนละไม้คนละมือเสมอ ทุกคนล้วนลำบากทั้งสิ้นครับ

    12. ชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างเตรียมพร้อม 24 ชั่วโมง
    อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายอย่างมีความจำเป็นยามเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น ไฟฉาย วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ มือถือ หรือแม้กระทั่งกล้องถ่ายภาพ ฯลฯ จะต้องมีการชาร์จไฟไว้ให้เต็มร้อยตลอดเวลา เพราะยามน้ำท่วม ระบบไฟฟ้าทั้งหมดอาจติดขัดครับ

    นอกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องชาร์จไฟให้เต็มที่แล้ว การใช้อุปกรณ์เหล่านั้นเมื่อไฟฟ้าปกติไม่มา จะต้องประหยัดไฟด้วย เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์เหล่านั้นจะทำงานได้เต็มที่ยามฉุกเฉิน อีกทั้งต้องเตรียมอุปกรณ์อื่นเสริมอีกด้วย เช่น ไม้ขีดไฟ เทียนไข เป็นต้น

    13. ย้ายของทุกอย่างให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม
    ข้าวของในบ้านของเรา ไม่ใช่เพียงเรื่องของอุปกรณ์ไฟฟ้าเท่านั้นที่เราจะต้องมีการจัดการย้ายให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม แต่หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดว่ามีความสำคัญ และอาจจะเสียหายได้เมื่อมีน้ำท่วม ตั้งแต่รถยนต์ ถังกาซ เฟอร์นิเจอร์ หนังสือ ของขวัญ รูปภาพ ฯลฯ ขอให้ย้ายไปสู่ที่ที่เหมาะสม ซึ่งที่ที่เหมาะสมนั้นอาจจะอยู่ในตัวบ้านของเรา หรือจะย้ายออกไปเก็บไว้นอกบ้าน สถานที่อื่นที่คิดว่าปลอดภัย

    มีข้อมูลว่า เมื่อน้ำท่วม หลายคนเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากการ “ห่วงของ” ต้องลุยน้ำกลับไปกลับมาเพื่อขนของออกจากบ้าน และหลายครั้งที่ขนของออกมาแล้ว แต่ไม่มีที่วาง ก็จำต้องวางไว้ในที่ที่ไม่ปลอดภัย ปรากฏว่าของที่อุตส่าห์ขนออกมาด้วยความเสียดายหรือความผูกพันนั้น ถูกผู้ชั่วร้ายใจทรามขโมยต่อเอาไปอีกด้วย

    แต่ของที่เราจะย้ายนั้น ไม่ได้หมายความว่าเป็นของทุกอย่างไปเลย เลือกเฉพาะที่เราคิดว่าต้องย้ายเท่านั้น ของบางอย่างที่แช่น้ำได้ไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องขนย้ายก็ได้

    14. ใช้พลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่กลัวน้ำให้เป็นประโยชน์
    วัสดุส่วนใหญ่จะกลัวน้ำ หรือไม่สามารถที่จะสู้กับน้ำได้ แต่พลาสติกเป็นวัสดุที่ไม่กลัวน้ำ ดังนั้นอุปกรณ์ต่างๆที่เป็นพลาสติก น่าจะต้องมีการเตรียมการเอาไว้ใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นถังน้ำพลาสติก ท่อพลาสติก กระดานพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าหรือแผ่นพลาสติก ที่เราจะเอาไว้ใช้หุ้มอุปกรณ์หรือส่วนต่างๆของบ้านเรา ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ หนังสือ ฯลฯ แม้กระทั่งการหุ้มป้องกันตัวเรา หรืออวัยวะบางส่วนของตัวเราครับ

    ขอให้หาซื้อผ้าหรือกระดานพลาสติกเก็บเอาไว้ใกล้มือเรา ยามฉุกเฉิน พลาสติกจะเป็นวัสดุอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์มากจนคาดไม่ถึงได้ครับ และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ “ห่วงยาง” ครับ

    15. เตรียมอาหาร น้ำดื่ม และยาให้พร้อม
    เพราะยามน้ำท่วมแล้ว เราอาจจะต้องติดอยู่ในบ้านของเราก็ได้ สิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีพของเราก็คือ “อาหาร” ที่ต้องเตรียมเอาไว้ ทั้งอาหารที่ต้องมีการปรุงด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า (หรือกาซ) กับอาหารที่สามารถกินได้เลย โดยไม่ต้องมีการปรุง และต้องเตรียมเรื่อง “น้ำดื่ม” เอาไว้ด้วย เตรียมให้เพียงพอสำหรับทุกคนประมาณ 3 วันครับ

    ยาเป็นสิ่งสำคัญมากอีกอย่างหนึ่งที่เราต้องเตรียมเอาไว้ (ในที่ที่ปลอดภัย) ยาหลักๆก็คือ ยาแก้ปวด ยากแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า ยาล้างแผล ยาแก้แพ้ ยากันแมลงและยาของโรคประจำตัวของทุกคน

    มีผู้หวังดีแนะนำบอกต่อว่า อย่าสะสม “สุรา” เอาไว้ตอนน้ำท่วม เพราะน้ำท่วมนานๆ อาจจะมีคนกลุ้มใจ แล้วใช้สุราแก้ความกลุ้มใจ จะยิ่งทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยมากขึ้น ส่วนเหล่าขวดสุราที่เก็บสะสมเอาไว้ ไม่ต้องขนไปไกลก็ได้ เพราะขวดสุราเหล่านั้น เขาสามารถแช่น้ำได้ ไม่มีปัญหาประการใด

    16. บ้านชั้นเดียว ต้องตรวจสอบหลังคาด้วย
    สำหรับบ้าน 2 ชั้น หลังคาบ้านจะมีผลมากยามเมื่อฝนตกหนักๆ ซึ่งเราน่าจะต้องดูแลกันไปพอสมควรแล้วในเวลาที่เพิ่งผ่านมา แต่ในกรณีน้ำท่วมนั้นหลังคาไม่ค่อยมีผลมากเท่าไร เพราะน้ำท่วมจากข้างล่างขึ้นไป หากท่วมถึงหลังคาชั้นสอง เราก็น่าจะย้ายไปอยู่ที่อื่นก่อนหน้านั้นแล้ว แต่กรณีที่เป็นบ้านชั้นเดียว น้ำอาจจะท่วมชั้นล่างของบ้านอย่างรวดเร็ว หลังคาหรือส่วนของหลังคาจึงเป็นพื้นที่หลบภัยได้ชั่วคราวพื้นที่หนึ่ง เราจึงต้องตรวจสอบทางหนีทีไล่ของเรา กรณีที่เราต้องขึ้นไปหนีภัยบนหลังคา ซึ่งเราอาจจะขึ้นไปทางฝ้าเพดานของเรา (กรุณาอย่าลืมตัดวงจรไฟฟ้าที่บ้านทั้งหมดก่อนจะขึ้นไปบนฝ้าเพดานสู่หลังคานะครับ)

    17. ระวังโจร ระวังมาร ระวังผู้ชั่วร้าย
    เป็นความเปลี่ยนแปลงที่น่าสลดใจที่สังคมน่าอยู่และเห็นอกเห็นใจของเมืองไทยเรา ได้ถูกลัทธิวัตถุนิยมเข้าครอบงำไปหลายส่วนแล้ว ดังนั้นเราจึงได้ข่าวเนืองๆว่า มีผู้ชั่วร้ายที่อยากได้ประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก เข้ามารังแกจี้ปล้นประชาชนที่กำลังลำบากทุกข์เข็ญ

    ยามน้ำท่วม เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังยุ่งกับภารกิจอย่างอื่น เหล่าคนชั่วก็จะออกอาละวาดรังแกผู้ที่กำลังเดือดร้อน มีการขโมย จี้ปล้น ฉกชิงวิ่งราว ให้เราได้ทราบอยู่เป็นประจำ และมีความเป็นไปได้ว่าหนึ่งในอนาคตนั้นอาจจะเป็นตัวเราและบ้านของเรา ดังนั้น การเตรียมการป้องกันโจร จึงเป็นอีกประการหนึ่งที่เราต้องเตรียมการ อย่าเก็บของมีค่าเอาไว้ในบ้านของเรา เอาไปฝากที่อื่นก่อนดีกว่า เงินทองไม่จำเป็นที่ต้องพกมากมาย และคอยเฝ้าสังเกตบุคคลที่น่าสงสัย การส่งเสียงดังๆในบางครั้ง จะเป็นอาวุธป้องกันตัวเราได้

    18. เพื่อนบ้าน ต้องร่วมด้วยช่วยกัน
    ในกรณีนี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องของการต่อสู้ป้องกันโจรประการเดียว แต่หมายถึงในทุกๆกรณี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เรา “ขอความช่วยเหลือ” จากเพื่อนบ้าน แต่หมายถึงการที่ “เราจะช่วยเหลือเพื่อนบ้าน” ด้วย รวมๆกันก็หมายถึง “การสร้างชุมชนเข้มแข็ง” เพราะความรักที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้เสมอยามที่คนเรามีความลำบากร่วมกัน อย่าต่อสู้หรือป้องกันภัยทั้งหลายคนเดียว ต้องสื่อสารกัน ต้องจับมือกัน และวางแนวทางการป้องกัน การต่อสู้ที่เป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น แล้วเราจะมีโอกาส หากตอนนี้เหล่าเพื่อนบ้านยังไม่มีการเคลื่อนไหวร่วมกัน เราก็อาจจะเป็นแกนตัวเล็กๆที่จะเป็นผู้เริ่มต้นได้ครับ อย่าอาย อย่ากลัวใครเขาหมั่นไส้ครับ หากเราเป็นคนดี มีจิตใจดี ทุกคนจะเข้าใจครับ

    19. เตรียมทางหนีทีไล่เพื่อออกจากบ้าน

    ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่า การป้องกันน้ำท่วมก็เหมือนการป้องกันเมืองจากการโจมตีของข้าศึก ซึ่งเราอาจจะป้องกันเอาไว้ได้หรือป้องกันไม่ไหวก็ได้ หากถึงที่สุดแล้ว เราไม่มีทางต่อสู้ได้แน่ๆ พ่ายแพ้แล้ว การเตรียม “ทางหนี” เป็นเรื่องที่จำเป็น หากเราเตรียมทางหนีเอาไว้แต่แรก เราก็สามารถหนีได้ หนีทัน เกิดความเสียหายน้อยลง ทางหนีจากกรณีน้ำท่วมบ้าน อย่าคิดเพียงทางหนีออกจากบ้าน แต่ต้องคิดให้จบว่าหนีออกไปแล้ว จะหนีด้วยอะไร มีเรือหรือห่วงยางหรือไม่ มีเชือกสาวตัวเองหรือไม่ จะพกอะไรติดตัวไปบ้าง (ที่สามารถพกพาแบกหามไปได้) และจะมุ่งหน้าไปทางทิศใด มุ่งหน้าไปไหน และจะไปหยุดที่ใด พักที่ใด กับใคร ทุกอย่างต้องคิดเป็นกระบวนการ และคิดให้จบวงจรไว้แต่แรกครับ

    20. ตั้งจิตให้มั่น ตอนนี้ “สติ” สำคัญที่สุด
    อย่าเสียเวลากับการเกรี้ยวโกรธ อย่าเพิ่งด่าอะไรใคร อย่าโทษฟ้าดิน ยังมีเวลาและโอกาสอีกมากมายที่จะทำเช่นนั้น เวลานี้เป็นเวลาที่เราต้องตั้งสติ และคิด และเตรียมการอย่างเป็นระบบ เราต้องรับรู้ข่าวสารต่างๆอย่างทันต่อเหตุการณ์จากคนที่เชื่อถือได้ (ระวังคำพูดนักการเมืองนิดนะครับ) ต้องฟังวิทยุ หรือแม้แต่ติดตามทางอินเทอร์เน็ต (เช่น ศูนย์ข้อมูล ข่าวนํ้าท่วม ดู ข่าวน้ำท่วม ล่าสุด ร่วมแรง ส่งใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่นี่ - หรือ Thailand Flood Monitoring System เป็นต้น)

    ค่อยๆ กลับไปอ่านตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 19 แล้วอาจจะเพิ่มข้ออื่นๆ ที่เราคิดออกเข้าไปอีกได้ เมื่ออ่านแล้วก็ตรวจสอบ และลงมือทำทันทีครับ .... ตอนนี้ “สติ” สำคัญที่สุดครับ

    บทตาม
    บทความนี้ถูกเขียนขึ้นเท่าที่ผู้เขียนมีข้อมูลและความรู้ มิใช่เป็นบทความที่สมบูรณ์ที่สุด แต่ต้องการเขียนขึ้นในฐานะของคนไทยคนหนึ่งที่ต้องการเป็นประโยชน์กับผู้อื่นในสภาวะวิกฤติของบ้านเมืองบ้าง โดยหวังว่าอาจจะ “ลดความทุกข์” ให้สังคมได้ส่วนหนึ่ง แม้เป็นส่วนเล็กน้อยก็ตาม
    นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ สถ. ๓๔๔ ว.
    ตุลาคม ๒๕๕๔

    ไทยรัฐออนไลน์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2011
  5. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    น้ำอูนจ่อทะลักเขื่อน เตือนชาวบ้าน-เกษตรกรเลี้ยงปลาระวังน้ำท่วมฉับพลัน

    วันที่ 09/10/2554 14:49


    วันที่9ต.ค. นายเสน่ห์ แก้วบุญเรือง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำอูน จ.สกลนคร เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำในเขื่อนน้ำอูน มีปริมาณน้ำราว 582.960 ล้าน ลูกบาศก์เมตร หรือ 112.11% ของความจุเขื่อน ทั้งนี้ ยังพบว่าปีนี้มีปริมาณน้ำมากว่าปีที่ผ่านมาเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้น้ำส่วนที่เกินความจุของอ่างไหลผ่านอาคารระบายน้ำล้นเฉลี่ยวันละ 41.750 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ลำนำอูนตั้งแต่ท้ายเขื่อนมีปริมาณน้ำสูงขึ้น ซึ่งทางเขื่อนได้แจ้งให้ชาวบ้านที่มีบ้านเรือนอยู่รินน้ำอูนให้ระมัดระวังน้ำท่วมฉับพลันในระยะนี้แล้ว

    อย่างไรก็ตาม เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชัง บ้านพอกน้อย อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร จำนวนมากกว่า 500 กระชัง ได้เร่งจับปลาในกระชังออกมาขายทั้งหมด เนื่องจากเกรงว่า ถ้าปริมาณน้ำสูงมากว่านี้จะส่งผลให้ปลาหลุดหายจากกระชัง และยอมขาดทุนขายในกิโลกรัมละ 50 บาท จากเดิมขายได้ในกิโลละ 120 -150 บาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2011
  6. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    ศปภ.เข้าพื้นที่อยุธยาไม่ได้ ยังต้องการของบริจาค-อาสาสมัครจำนวนมาก

    วันที่ 09/10/2554 14:59


    วันที่9ต.ค. ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง นายวิม รุ่งวัฒนจินดา โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลยังไม่สามารถนำส่งสิ่งของให้ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ชั้นในของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ เนื่องจากไม่สามารถเดินทางในถนนสายเอเชียได้ แต่ยังสามารถไปบริจาคผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จ.ลพบุรี จ.ปทุมธานี และจ.นนทบุรีได้

    ทั้งนี้ ทางศปภ.ยังต้องการรับบริจาคอีกจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น ข้าวสารอาหารแห้ง ยาสามัญประจำบ้าน และอุปกรณ์ในการปรุงอาหาร ได้แก่ หม้อหุงข้าว กระทะ โดยประชาชนที่ประสงค์จะนำสิ่งของไปบริจาคช่วยผู้ประสบภัยที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถนำมาบริจาคที่ศูนย์ศปภ. หรือที่สนามบินดอนเมืองได้ นอกจากนี้ ยังต้องการอาสาสมัครในการแพ็คของและบรรจุของลงในถุงยังชีพอีกด้วย
     
  7. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    สิงห์บุรีพร้อมเตือนภัย หากน้ำหนุนสูง

    วันที่ 09/10/2554 14:20

    [​IMG]



    นายกเล็กเมืองสิงห์บุรี รับมือน้ำเขื่อนภูมิพล สั่งเฝ้าระวังแนวกั้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา-พนังกั้นน้ำ ใต้สะพานข้ามแม่น้ำตลอด 24 ชม.หวังป้องกันย่านเศรษฐกิจ พร้อมทั้งแจ้งเตือนประชาชนเปิดไซเรนหากมีเหตุฉุกเฉิน เพื่อให้อพยพหนีขึ้นที่สูง...



    วันที่ 9 ต.ค.สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี อ.เมือง สิงห์บุรี นายไสวรินทร์ ศรีชำนิ นายกเทศบาลเมืองสิงห์บุรีกล่าวว่า เนื่องจากปริมาณน้ำไหลลงพื้นที่ภาคกลางเป็นปริมาณมาก รวมถึงมีการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล จะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงขึ้น เพื่อเป็นการไม่ประมาท จึงต้องมีการเฝ้าระวังเขื่อนกั้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา -พนังกั้นน้ำใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาตลอด 24 ชม-เสริมคันกระสอบทราย และซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดให้แข็งแรง ป้องกันน้ำไหลเข้าย่านเศรษฐกิจ ตลาดเทศบาลเมืองสิงห์บุรี

    นายกเทศบาลเมืองสิงห์บุรี กล่าวต่อ ว่า อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุฉุกเฉิน ทางเทศบาลจะเปิดไซเรนเตือนภัย และประกาศเสียงตามสายของเทศบาลเมืองสิงห์บุรี พร้อมทั้งแจ้งเตือนประชาชนให้ได้รับรู้ถึงสถานการณ์น้ำที่จะปล่อยมาจากเขื่อนภูมิพลเป็นระยะๆ คาดว่าปริมาณน้ำจะเพิ่มขึ้น หากพื้นที่ที่น้ำท่วมขังอยู่แล้ว ก็ให้ย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นที่สูงปลอดภัยจากน้ำท่วม และขอให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา

    ทางด้านน้ำเน่าส่งกลิ่นเน่าเหม็น น้ำได้ท่วมขังบริเวณในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรีฝั่งตะวันออก มี 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนวัดตึกราชา ชุมชนวัดสังฆราชวาส ชุมชนวัดเสฐียรวัฒนาดิษฐ์ ชุมชนวัดหัวว่าว และชุมชนวัดโพธิ์ข้าวผอก รวมทั้งหมด มากกว่า 2,000 ครัวเรือน น้ำท่วมขังเป็นเวลานานกว่า 1 เดือน น้ำได้ส่งกลิ่นเน่าเหม็น ได้ประสานไปยังกรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสิงห์บุรี ขอจุลินทรีย์ ( EM ) และ DASTA BALL ออกฉีดพ่นใส่น้ำเน่าเสียที่ส่งกลิ่นเหม็น เป็นการเร่งแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียที่ส่งกลิ่นเหม็นให้กับประชาชนที่เดือดร้อนแล้ว
     
  8. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    ปภ.จับตาสถานการณ์น้ำท่วมอยุธยาต่อเนื่อง วิกฤติแล้ว30จว. เสียชีวิต261ราย

    วันที่ 09/10/2554 15:09


    วันที่9ต.ค. นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ขณะนี้ถนนสายเอเชียยังคงมีน้ำท่วมในบางช่วงของจ.พระนครศรีอยุธยา ที่ไม่สามารถใช้การได้ จึงขอให้ประชาชนเลี่ยงไปใช้เส้นทางสายตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี หรือถนนสายพหลโยธินแทน ก่อนที่ทางกระทรวงคมนาคมกำลังเร่งกอบกู้เส้นทางสายดังกล่าวให้สามารถใช้การได้อย่างเร่งด่วน

    อย่างไรก็ตาม จากรายงานของศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย พบว่า ยังมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 30 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี อุบลราชธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด ลำปาง เลย นครราชสีมา บุรีรัมย์ กำแพงเพชร และจังหวัดตาก รวม 223 อำเภอ 1,532 ตำบล 10,130 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 784,097 ครัวเรือน 2,388,286 คน และมีผู้เสียชีวิต 261 คน สูญหาย 4 คน
     
  9. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    กระทรวงคมนาคมสั่งปิดถนนสายเอเชียเดือดร้อนครึ่งประเทศ

    วันที่ 09/10/2554 14:21

    [​IMG]


    ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ว่า กระทรวงคมนาคมสั่งปิดถนนสายเอเชียซึ่งเป็นถนนสายหลักสำคัญไปสู่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ จ.พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และจ.ชัยนาท เนื่องจากระดับน้ำท่วมถนนสูงเฉลี่ย 70 ซม. และยังไม่มีมาตรการกู้ถนนสายดังกล่าว โดยแนะนำให้ใช้เส้นทางสาย 340 ชัยนาท-สุพรรณบุรี-บางบัวทอง ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวที่เชื่อมต่อระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    ส่งผลให้ผู้ประกอบการขนส่งทุกประเภท สินค้าเกษตร รถยนต์โดยสาร รถยนต์ส่วนบุคคล ต้องวิ่งอ้อมเส้นทางเกือบ 100 กม. ใช้เวลาเดินทางนานหลายชั่วโมง เนื่องจากการจราจรพลุกพล่านและติดขัดทั้งวัน นอกจากนี้กรมเจ้าท่าได้ประกาศห้ามเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งผลให้เรือบรรทุกข้าวสาร น้ำตาล ที่จะส่งออกไปต่างประเทศต้องหยุดการขนส่ง ในขณะที่เศรษฐกิจริมถนนสายเอเชียได้รับผลกระทบมากขึ้น ทยอยปิดบริการโดยปริยาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2011
  10. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    ลือ"เขื่อนลำตะคอง"เมืองย่าโมแตก! ชลประทานออกประกาศยันยังแข็งแรง

    วันที่ 09 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 15:21:57 น

    ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดนครราชสีมา รายงานว่า เมื่อเวลา 10.05 น. วันที่ 9 ตุลาคม ทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง สังกัดสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ได้ออกประกาศชี้แจงข้อเท็จจริงเป็นกรณีเร่งด่วน ผ่านทางเวปไซด์ www.lamtakong.com ซึ่งเว็บไซต์ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง โดยตรง ภายหลังจากมีข่าวลือออกมาอย่างต่อเนื่องว่าเขื่อนลำตะคอง ที่อำเภอสีคิ้ว จ.นครราชสีมา มีการกักเก็บปริมาณน้ำเกินระดับ และได้เกิดความเสียหายแตกร้าว จนสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในพื้นที่ใต้เขื่อนเป็นอย่างมาก โดยภายในประกาศดังกล่าวระบุข้อความว่า

    “ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง สำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ข้อชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวลือเขื่อนลำตะคองแตกในขณะนี้ ตามที่มีข่าวลือว่าเขื่อนลำตะคอง แตก ร้าว บานระบายน้ำได้พังลง ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งได้ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก และเสียขวัญจากข่าวลือดังกล่าว เป็นอย่างมาก โดยแผ่ขยายออกไปเป็นวงกว้างจากการบอกเล่ากัน ปากต่อปาก ดังนั้นโครงการส่งน้ำและ บำรุงรักษาลำตะคอง สำนักชลประทานที่ 8 ซึ่งรับผิดชอบดูแล เขื่อนลำตะคอง จึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงดังนี้ เขื่อนลำตะคอง สามารถรองรับปริมาณน้ำที่จะไหลลงอ่างฯได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีผลกระทบต่อ ความแข็งแรงของตัวเขื่อน ขณะนี้เขื่อนอยู่ ในสภาพมั่นคงแข็งแรงและ ปลอดภัย โดยเจ้าหน้าที่ได้ เฝ้าระวังติดตามตรวจสอบความมั่นคงของตัวเขื่อน และอาคารประกอบต่างๆอย่างใกล้ ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ขอให้ประชาชน อย่าได้วิตกกังวล จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

    และขอความกรุณาอย่าได้ หลงเชื่อ ข่าวลือโดยที่ยังมิได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง กับหน่วยงานชลประทานก่อน โดยดูข้อมูลได้ทุกวันจากเว็บไซต์ www.lamtakong.com ลงวันที่ 9 ต.ค.2554 เวลา 10.05 น.

    ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากรายงานของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคองที่ระบุความเคลื่อนไหวและรายละเอียดต่างๆของโครงการฯ อยู่ภายในเวปไซด์ของ พบว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำภายในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ที่ 313.41 ล้าน ลบ.ม. จากความจุทั้งหมด 314.49 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 99.66 % ของความจุทั้งหมด ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันนี้ วัดได้ 3.29 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่การระบายน้ำอยู่ที่ 1.037 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน และถึงแม้ว่าปริมาณน้ำภายในอ่างเก็บน้ำลำตะคองจะมีปริมาณที่สูงและเกือบเต็มความจุของอ่างเก็บน้ำแล้วก็ตาม แต่ทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ยังไม่มีการเปิดบานประตูระบายน้ำทางช่องระบายน้ำฉุกเฉินที่มีอยู่ที่หมด 7 บาน แต่อย่างใดก็ตาม เนื่องจากขณะนี้ทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคองได้ทำการเพิ่มสันบานประตูระบายน้ำหรือ สต๊อปล็อค เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีก 1 เมตร ดังนั้นทำให้อ่างเก็บน้ำลำตะคองสามารถเพิ่มความจุของอ่างเก็บน้ำได้จากเดิม 314.49 ล้าน ลบ. เป็น 353.00 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งหมายความว่าขณะนี้ทางเขื่อนลำตะคองสามารถรองรับปริมาณน้ำได้อีกกว่า 38 ล้าน ลบ.ม.
     
  11. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    คลิปน้ำท่วมกรุงเทพในอดีต 2485


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=1VhX9gTBPKA]น้ำท่วมกรุงเทพ ปี 2485 (Bangkok floods in 1942) - YouTube[/ame]
     
  12. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ชาวอโยธยาเร่งอพยพหลังน้ำขึ้น

    9 ต.ค. 54 13.30 น.

    ระดับน้ำในพื้นที่เทศบาลเมืองอโยธยา ขณะนี้เพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานที่ผ่านมาเล็กน้อย และสังเกตได้ว่า ในบางจุดยังคงมีน้ำไหลเชี่ยวออกมาจากซอยย่อยต่างๆ ของพื้นที่ ทำให้ประชาชนต้องเดินลุยน้ำถึงระดับอก ออกมารอรับของบริจาคที่ทหารขนขึ้นรถบรรทุกมาแจกจ่ายให้กับผู้ประสบอุทกภัย

    ขณะที่กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าได้นำอาหารสด อาทิ ผักและเนื้อหมู มาวางขายตามถนนในจุดที่มีระดับน้ำท่วมสูงไม่มากนัก และมีขาวบ้านอีกจำนวนมากที่ขนย้ายข้าวของอพยพออกจากบ้านเรือนของตนเองหลังจากระดับน้ำในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีรถทหารไว้คอยรับส่งตามจุดต่างๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 ตุลาคม 2011
  13. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    กทม.เตรียมศูนย์อพยพ 80จุด ใน 9เขต คาดรองรับได้ 1หมื่นคน

    วันที่ 09/10/2554 15:25


    วันที่9ต.ค. นายพีระพงษ์ สายเชื้อ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยหลังประชุมผู้อำนวยการเขตฝั่งตะวันออก ทั้ง 9 เขตว่า ได้สั่งให้ทุกพื้นที่เสี่ยงเตรียมแผนอพยพประชาชน โดยให้ทั้ง 9 เขตดำเนินการสอดคล้องกัน ซึ่งได้เตรียมศูนย์อพยพไว้ทั้งหมด 80 ศูนย์ จากทั้งหมด 9 เขต ที่จะสามารถรองรับประชาชนได้ 8,000 - 10,000 คน ในส่วนของกรุงเทพมหานครได้เตรียมแผนไว้รับมือน้ำท่วมไว้ทุกปีอยู่แล้ว แต่ปีนี้ปริมาณน้ำมาก ทำให้ 4 เขต คือ เขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตลาดกระบัง และเขตมีนบุรี อาจจะได้รับผลกระทบมาก

    ทั้งนี้ ต้องรอการประเมินอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงปลายเดือนนี้ เนื่องจากจะเป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำฝนมาก ประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนสูงด้วย โดยยอมรับว่า สถานการณ์น้ำท่วมปีนี้รุนแรงมาก และกังวลกับปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้น หลังจากนี้จะให้เขตแจ้งเตือนประชาชนเตรียมพร้อมอพยพหากเกิดน้ำท่วมฉับพลัน พร้อมสรุปจำนวนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงที่อาจต้องอพยพ แต่ยังหนักใจที่ประชาชนบางส่วนไม่ต้องการอพยพออกจากบ้าน เนื่องจากห่วงทรัพย์สิน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2011
  14. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ม.รังสิต ใช้อาสาสมัครนักศึกษาเป็นด่านหน้าเฝ้าระวังน้ำเข้ากรุง

    9 ตค. 2554 15:35 น.

    นายวีรยุทธ โชคชัยมาดล ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวอาร์เอสยู มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงสถานการณ์น้ำที่กำลังจะเข้ามาถึงมหาวิทยาลัยรังสิต และจะเข้าสู่ตัวเมืองกรุงเทพมหานครว่า ขณะนี้แม่น้ำเจ้าพระยาระดับน้ำสูงกว่าในคลอดงรังสิต โดยในส่วนของคลองรังสิตหากดูจากแผนที่จะขนานกับหมู่บ้านเมืองเอก และใกล้กับมหาวิทยาลัยรังสิตและชุมชนหลัก 6 ที่เป็นเหมือนประตูด่านหน้าที่จะเข้ามาในกรุงเทพฯ เพราะจะเชื่อมกับคลองประปาและคลองเปรมประชากร ถ้าเราไม่สามารถรับน้ำได้และหากน้ำทะลักพนังกั้นน้ำเข้ามาก็จะลามมาทั้งคลองประปา และจะเชื่อมมายังถนนงามวงศ์วาน เข้ามายังคลองประปาในเมือง กับอีกด้านคือคลองเปรมประชากรที่เลียบกับถนนวิภาวดีรังสิต เราไม่ได้มองเฉพาะในมหาวิทยาลัย แต่เรามองว่าเราเป็นด่านหน้าและมหาวิทยาลัยก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยในส่วนของมหาวิทยาลัย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิตก็ได้สั่งการให้รักษาพื้นที่ในมหาวิทยาลัยให้ได้ จึงมีการรับอาสาสมัครนักศึกษาหลายร้อยคน ถ้าเรียกทำงานก็ 24 ชั่วโมง โดยในช่วง 7 วันหลังจะสลับกัน ซึ่งมีอาสาสมัครนักศึกษาทั้งไทยและต่างชาติ และยังเป็นผู้อยู่อาศัยในเมืองเอก รวมถึงทหารที่มาช่วยทำพนังกั้นน้ำและสร้างกระสอบทราย โดยจะมีบางช่วงที่ระดับน้ำดูเหมือนว่าเกือบจะรับไม่ไหว เราก็ต้องช่วยระดมกัน ซึ่งขณะนี้ก็ยังรับได้อยู่
    ผู้สื่อข่าวถามว่า การทำงานตลอด 24 ชั่วโมงนั้น ขณะนี้เริ่มต้นแล้วหรือยัง นายวีรยุทธ กล่าวว่า เริ่มแล้ว เพราะวิกฤตนี้เริ่มมีมาเป็นเดือนแล้ว แต่วิกฤตในคลองรังสิตก็สักประมาณ 1 สัปดาห์หลัง จริงๆแล้วเรามีการเตรียมความพร้อมไว้นานแล้ว เพราะเหตุการณ์แบบนี้ปีที่แล้วก็เกิดแต่ไม่มากเท่าปีนี้ เพราะปีนี้น้ำมาเยอะแล้วก็เร็ว นักศึกษาก็ตื่นตัวกันมาก เพราะอยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยไม่ไกลเลย คนในชุมชนเมืองเอกก็มาช่วยกัน และขณะนี้ก็เป็นช่วงที่นักศึกษากำลังสอบ ก็ต้องให้เครดิตกับนักศึกษา ที่ไม่ได้มุ่งแต่เรียนอย่างเดียว เพราะในส่วนนี้เขาก็ต้องมุ่งช่วยในชุมชนด้วย ช่วยในมหาวิทยาลัยด้วย ในการสลับกันมา เนื่องจากจะมาพร้อมกันก็คงไม่ไหว มีการจัดว่าใครจะมาช่วงตอนเย็นช่วงเช้าอย่างไร
    เมื่อถามว่าได้ตั้งศูนย์ในมหาวิทยาลัยหรือไม่ ผอ.ศูนย์ข่าวอาร์เอสยู กล่าวว่า ตอนนี้ไม่ถึงกับเรียกเป็นศูนย์ แต่หน่วยงานหลักๆก็จะมีสำนักงานชุมชนสัมพันธ์และสำนักงานปกครองของมหาวิทยาลัย ในการเป็นตัวประสานกับทางนักศึกษาและชุมชน รวมถึงกับทางเทศบาลหลัก 6เจ้าของพื้นที่ ว่าจะรับมืออย่างไรกับสถานการณ์
     
  15. fonbao

    fonbao สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +22
    ตอนนี้คนกรุงเทพตื่นตัวกันมาก เมื่อวานออกไปซื้ออาหารแห้งมาตุนไว้ ไม่ค่อยมีของเลยค่ะ วันนี้เลยเลือกไปห้างเล็กหน่อย ก็พอมีบ้าง ต้องพยายามช่วยเหลือตัวเองให้มากมากนะคะ

    เป็นกำลังใจให้ทุกๆคนค่ะ
     
  16. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ฝนยังคงตกหนักในหลายพื้นที่พิจิตร

    9 ตค. 2554 15:09 น.

    สถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดพิจิตร ในวันนี้ยังคงมีฝนตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่ตั้งแต่ช่วงเที่ยงที่ผ่านมา ทำให้ระดับน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทั้ง 12 อำเภอ มีน้ำท่วมขัง มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมที่ยังไม่สามารถระบายน้ำไปยังจังหวัดนครสวรรค์ได้ นอกจากนั้นบรรดาร้านค้าที่อยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองพิจิตร ซึ่งเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวที่น้ำไม่ท่วมขัง บรรดาร้านค้าพากันปิดร้าน เนื่องจากฝนที่ตกลงมา และเกรงว่าน้ำจะเข้าท่วมสินค้า เนื่องจากน้ำจะไม่สามารถระบายลงไปแม่น้ำน่านที่มีระดับที่สูงกว่าได้ ประกอบกับสภาพโดยรอบมีน้ำท่วมถนนหนทาง ประชาชนพากันมาซื้อหาสินค้าไม่สะดวกร้านค้าต่างๆจึงพากันปิดร้านเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายแทน

    [​IMG]
     
  17. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เฮอริเคน"โฮวา"จ่อขึ้นฝั่งเม็กซิโก อังคารนี้</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>9 ตุลาคม 2554 15:26 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT type=text/javascript src="http://platform.twitter.com/widgets.js"></SCRIPT>

    <SCRIPT type=text/javascript src="https://apis.google.com/js/plusone.js"> {lang: 'th'}</SCRIPT>

    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 450px; HEIGHT: 35px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/like.php?href=http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrshort.aspx?NewsID=9540000128566&layout=standard&show_faces=false&width=450&action=like&colorscheme=light&height=35" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐ หรือ เอ็นเอชซี แจ้งว่า พายุโฮวา เฮอริเคนลูกที่ 9 ของฤดูกาลพายุเฮอริเคนในแปซิฟิกปีนี้ กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วลม 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะนี้อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเม็กซิโก ประมาณ 405 กิโลเมตร คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

    ด้านสำนักงานอุตุนิยมวิทยาเม็กซิโก คาดว่า เฮอริเคนลูกนี้จะพัดขึ้นฝั่งทางตอนกลางของประเทศ ในวันอังคารนี้ พร้อมประกาศเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 5 รัฐแนวชายฝั่ง เฝ้าระวังภัยจากฝนตกหนัก และดินถล่ม ที่อาจเกิดขึ้นจากอิทธิพลของพายุลูกนี้

    Hurricane Jova Tracking Map




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3><TBODY><TR></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>อพยพผู้ป่วย รพ.พระนครศรีอยุธยา ชุดแรกทุลักทุเล </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>9 ตุลาคม 2554 15:09 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT type=text/javascript src="http://platform.twitter.com/widgets.js"></SCRIPT>

    <SCRIPT type=text/javascript src="https://apis.google.com/js/plusone.js"> {lang: 'th'}</SCRIPT>

    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 450px; HEIGHT: 35px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/like.php?href=http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrshort.aspx?NewsID=9540000128560&layout=standard&show_faces=false&width=450&action=like&colorscheme=light&height=35" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ภารกิจในการขนย้ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เริ่มดำเนินการขึ้นแล้ว โดยรถจีเอ็มซีของทหาร และเรือ ได้ทำการขนย้ายผู้ป่วยทยอยออกจากโรงพยาบาล โดยมี นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ควบคุมสั่งการด้วยตนเอง สำหรับผู้ป่วยชุดแรกจำนวน 100 คน ในกลุ่มผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เจ้าหน้าที่ได้ทยอยขนขึ้นรถของทหารที่เตรียมมารับผู้ป่วย หลังจากได้มีการประสานจากทางโรงพยาบาลให้ทางจังหวัด เข้ามาขนย้ายผู้ป่วย จำนวน 250 คน ออกไป เนื่องจากระดับน้ำที่ท่วมสูง 2 เมตร จึงมีความจำเป็นที่ต้องย้ายผู้ป่วยออกไปอยู่ในที่ปลอดภัย

    ภารกิจในการขนย้ายผู้ป่วยครั้งนี้ เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากระดับน้ำที่ท่วมสูง จึงต้องมีการใช้เรือเข้าไปรับผู้ป่วยที่โรงพยาบาลออกมาขึ้นรถที่จอดรออยู่บริเวณสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วส่งต่อไปยังศาลากลางจังหวัด เพื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลต่างๆ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>น้ำล้นท่วมบ้านชาวแปดริ้ว ไร้ที่ขับถ่าย ปลดทุกข์ใส่ถุงทิ้งบางปะกง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>9 ตุลาคม 2554 14:38 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT type=text/javascript src="http://platform.twitter.com/widgets.js"></SCRIPT>

    <SCRIPT type=text/javascript src="https://apis.google.com/js/plusone.js"> {lang: 'th'}</SCRIPT>

    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 450px; HEIGHT: 35px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/like.php?href=http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrshort.aspx?NewsID=9540000128491&layout=standard&show_faces=false&width=450&action=like&colorscheme=light&height=35" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD height=1 vAlign=bottom width=1 align=right>[​IMG]</TD><TD height=1 vAlign=bottom background=/images/linedot_hori.gif align=middle>[​IMG]</TD><TD height=1 vAlign=bottom width=1 align=left>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center background=/images/linedot_vert.gif width=1 align=middle>[​IMG]</TD><TD><TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center background=/images/linedot_vert.gif width=1 align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=1 vAlign=top width=1 align=right>[​IMG]</TD><TD height=1 vAlign=top background=/images/linedot_hori.gif align=middle>[​IMG]</TD><TD height=1 vAlign=top width=1 align=left>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=12 vAlign=bottom align=left>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=160 align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=1 vAlign=center width=165 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD background=/images/linedot_vert3.gif width=4>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=7 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ฉะเชิงเทรา - ชาวแปดริ้วได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอ่วม เผย น้ำล้นท่วมบ้านไร้ที่ขับถ่าย ปลดทุกข์ใส่ถุงก่อนลอยเรือหย่อนทิ้งกลางลำน้ำบางปะกง ขณะชาวบ้านส่วนใหญ่ยังยึดติดห่วงบ้าน นอนเฝ้าทรัพย์สินไม่กล้าปล่อยทิ้งร้างหนีภัยขึ้นที่สูง

    นางบุญสม ห้องตรง อายุ 73 ปี อยู่บ้านเลขที่ 96 ม.2 ต.คลองเขื่อน อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งนอนเฝ้าทรัพย์สินอาศัยอยู่บนบ้านพักที่ถูกน้ำท่วมกลางน้ำอยู่เพียงลำพังไม่ยอมโยกย้ายอพยพหนีออกไปอยู่ยังที่อื่น ที่ปลอดภัยตามที่ทางราชการและผู้นำชุมชนได้จัดเตรียมไว้ให้ กล่าวว่า สาเหตุที่ไม่ยอมออกจากบ้านไปไหนนั้น เพราะเป็นห่วงทรัพย์สินภายในบ้าน ทั้งที่ระดับน้ำได้ขึ้นสูงสุดถึงระดับขื่อที่รองรับพื้นกระดานบนตัวบ้านแล้วก็ตาม โดยระบุว่า “ไม่กลัวตายแล้ว เพราะอยู่มาจนแก่ป่านนี้แล้ว”

    โดยตนอาศัยอยู่ที่นี่มาตั้งแต่เกิดกว่า 70 ปีแล้ว และจะไม่ยอมหนีไปไหน โดยน้ำท่วมในครั้งนี้ถือว่าหนักมากที่สุด มากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา และถือว่าเป็นน้ำท่วมใหญ่ ในตลอดชีวิตนี้ ที่เคยประสบภัยน้ำท่วมมาแล้วถึง 3 ครั้ง คือ เมื่อปี พ.ศ.2500 และปี 2526 จนมาในปีนี้ถือว่าเป็นครั้งที่ 3 และถือเป็นการท่วมใหญ่มากที่สุดเท่าที่เคยพบมา

    ส่วนการขับถ่ายปลดทุกข์หลังจากน้ำท่วม จนไม่มีห้องน้ำขับถ่ายนั้น ได้ใช้วิธีการขับถ่ายปลดทุกข์ใส่ถุงเก็บไว้ ก่อนที่จะพายเรือนำออกไปทิ้งลงยังกลางแม่น้ำบางปะกง พร้อมกับขยะภายในบ้านด้วย

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. somsweet

    somsweet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    6,138
    ค่าพลัง:
    +9,874
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ผู้ช่วย ผอ.เขื่อนศรีฯย้ำ 2 เขื่อนใหญ่ในกาญจน์ยังรับน้ำได้อีกมาก</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=40><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>9 ตุลาคม 2554 15:19 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT type=text/javascript src="http://platform.twitter.com/widgets.js"></SCRIPT>

    <SCRIPT type=text/javascript src="https://apis.google.com/js/plusone.js"> {lang: 'th'}</SCRIPT>

    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><IFRAME style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; WIDTH: 450px; HEIGHT: 35px; OVERFLOW: hidden; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" src="http://www.facebook.com/plugins/like.php?href=http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrshort.aspx?NewsID=9540000128559&layout=standard&show_faces=false&width=450&action=like&colorscheme=light&height=35" frameBorder=0 allowTransparency scrolling=no></IFRAME></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD height=1 vAlign=bottom width=1 align=right>[​IMG]</TD><TD height=1 vAlign=bottom background=/images/linedot_hori.gif align=middle>[​IMG]</TD><TD height=1 vAlign=bottom width=1 align=left>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center background=/images/linedot_vert.gif width=1 align=middle>[​IMG]</TD><TD><TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center background=/images/linedot_vert.gif width=1 align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD height=1 vAlign=top width=1 align=right>[​IMG]</TD><TD height=1 vAlign=top background=/images/linedot_hori.gif align=middle>[​IMG]</TD><TD height=1 vAlign=top width=1 align=left>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=12 vAlign=bottom align=left>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=160 align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD height=1 vAlign=center width=165 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD background=/images/linedot_vert3.gif width=4>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=7 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>กาญจนบุรี - ผู้ช่วย ผอ.เขื่อนศรีฯ ย้ำสถานการณ์น้ำ 2 เขื่อนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรี ข้อมูลวันที่ 9 ก.ย.ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกจำนวนมาก ประชาชนท้ายน้ำไม่ต้องวิตกกังวล

    วันนี้ (9 ต.ค.) นายวนิช แสงสุวรรณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์-บริหาร เปิดเผยว่า จากกรณีที่ปัจจุบันเริ่มมีปริมาณฝนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2554) น้ำที่อยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ มีปริมาณ 15747.64 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 88.74% สามารถรับน้ำได้อีก 1997.46 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยปริมาณที่เก็บกักได้สูงสุด 17745 ล้านลูกบาศก์เมตร

    สำหรับเขื่อนวชิราลงกรณ ปริมาณน้ำปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2554) มีปริมาณ 7526.45 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 84.95 % สามารถรองรับน้ำได้อีก 1333.55 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณเก็บกักสูงสุด 8860 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่การระบายน้ำ เขื่อนศรีนครินทร์ จะระบายน้ำประมาณวันละ 20 ล้าน ลบ.ม.และ เขื่อนวชราลงกรณ ระบายวันละประมาณ 18 ล้าน ลบ.ม.ตามแผนการระบายน้ำปกติ

    นายวนิช เปิดเผยต่อว่า สำหรับแผนการระบายน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองนั้น เรามีคณะกรรมการลุ่มน้ำแม่กลองร่วมกันพิจารณากำหนดการระบายน้ำจากแหล่งน้ำต้นทุนทั้งสองเขื่อนตลอดเวลา ซึ่งประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี, กาญจนบุรี และ สมุทรสงคราม รวมทั้งตัวแทนภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวของทั้ง 3 จังหวัด พร้อมทั้งกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาคและนครหลวง ร่วมกันพิจารณา

    โดยการพิจารณาจะให้ความสำคัญเรื่องการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรก่อน จึงจะพิจารณาเรื่องการท่องเที่ยว การคมนาคม และการใช้น้ำเพื่อระบบประปานครหลวง ทั้งนี้ในการระบายน้ำคณะกรรมการลุ่มน้ำฯ จะต้องต้องมีการบริหารจัดการเป็นอย่างดี เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ท้ายน้ำไม่ได้รับผลกระทบ จึงขอให้ประชาชนท้ายน้ำ ไม่ต้องวิตกกังวล เนื่องจากทั้งสองเขื่อนยังสามารถรองรับได้อีกมาก เขื่อนทั้ง 2 แห่งมีสภาพมั่นคงแข็งแรง และมีการตรวจสอบ บำรุงรักษาตามมาตรฐานสากลตลอดเวลา
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...