WarRoom - อาสาสมัครเตรียมการเฝ้าระวังประสานงานเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ปี 2013

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 24 เมษายน 2011.

  1. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    น้ำทะลักเข้าท่วมศาลากลางอ่างทองแล้ว

    10 ตค. 2554 13:48 น.

    สถานการณ์น้ำในจังหวัดอ่างยังหน้าเป็นห่วงอีกหลายพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณศาลากลางจังหวัดอ่างทอง สถานที่ราชการ และชุมชนข้างศาลากลางจังหวัดอ่างทอง ที่ถูกน้ำทะลักข้างโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทองเข้าท่วมมาแล้วครั้งหนึ่งและได้กอบกู้สำเร็จจนเป็นปกติ ล่าสุดเมื่อเช้าที่ผ่านมาเกิดเหตุซ้ำเป็นรอบที่สองเมื่อบริเวณถนนซอยต้นมะขามชุมชนบ้านรอซึ่งอยู่ข้างศาลากลางด้านตะวันออกเกิดเหตุน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ล้นคันกระสอบทรายและคันแทนปูนที่วางกั้นน้ำนอกจากนั้นกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวกราดได้กัดแซะพันพื้นถนนที่เป็นคอนกรีตเข้าบ้านเรือนประชาชนข้างศาลากลางจังหวัดอ่างทองทำให้บริเวณสถานที่ราชการรวมทั้งศาลากลางจังหวัดอ่างทองถูกน้ำท่วมทันทีน้ำสูงกว่า 30 ซ.ม. ทางเทศบาลเมืองอ่างทองต้องระดมรถสามล้อเครื่องรับจ้างเร่งขนกระสอบทรายมาทำการอดรูรั่วนอกคันกั้นน้ำและเร่งดูดน้ำออกจากศาลากลางจังหวัด
     
  2. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    สมุทรสาคร -- ตังเกมหาชัย ลุยต่อไล่ผันน้ำท่าจีนลงทะเล


    10 ตค. 2554 14:03 น.

    ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อวันที่ 10 ต.ค. หลังจากนายจุลภัทร แสงจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วยนายกุลวัชร หงษ์คู นายกเทศมนตรีนครสมุทรสาคร, นายมณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ อดีต ส.ส.สมุทรสาคร และนายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมประมงสมุทรสาคร ได้ร่วมหารือมาตรการขับเคลื่อนผลักดันน้ำป้องกันท่วมพื้นที่ จ.สมุทรสาคร และช่วยพื้นที่ถูกน้ำท่วมอื่นๆ นำกำลังเรือประมง น้อย-ใหญ่ นับ 1,000 ตัน จำนวนมากร่วมกับชาวบ้านที่เกี่ยวข้อง เดินเครื่องเรือเพื่อผลักดันแม่น้ำท่าจีน เพื่อสกัดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ ระบายลงทะเลได้เร็วขึ้น ตั้งแต่เวลาช่วง 17.50 น.วันที่ 9 ต.ค. และได้ยุติผันน้ำลงไปช่วงเวลา 00.10 น.วันที่ 10 ต.ค. เนื่องจากทะเลมีคลื่นและลมแรง

    ล่าสุดเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่เดียวกัน บรรดาสมาชิกสมาคมประมงสมุทรสาคร ได้ทยอยเปิดเดินเครื่องเรือประมงต่ออีกกวัน เพื่อช่วยไล่น้ำท่าจีนไหลลงปากอ่าว สำรองความคล่องตัวไว้ต่อเนื่อง ตั้งแต่บริเวณแถบต.บางหญ้าแพรก ตำบลท่าจีน และโกรกกราก จุดท่าเทียบเรือศักดิ์สวัสดิ์ อ.เมืองสมุทรสาคร รวมระยะห่างจากปากอ่าวมหาชัย ประมาณ 2,000 เมตร ด้วยประสบการณ์ความชำนาญ ส่งผลให้ล่าสุดปริมาณน้ำคล่องตัว และสภาพความสูงของน้ำท่าจีนและทะเลลดลง ทั้งนี้ ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาค่อยข้างหนักตั้งแต่เช้าตรู่ (ราว 3 ชม.) ซึ่งจะใช้เวลาผันน้ำไปเรื่อยๆไม่ต่ำกว่า 15 วัน รับมือทะเลหนุนสูงตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค.นี้เป็นต้นไปถึง พ.ย.ประจำทุกปี

    ส่วนสภาพน้ำมีเอ่อล้นในบางพื้นที่ เนื่องจากมีฝนตกลงมาตั้งแต่ช่วงเช้า ทำให้บางแถบของถนนเศรษฐกิจ ต.ท่าทราย อ.เมืองฯ มีน้ำท่วมขัน การสัญจรติดขัดสลับแล่นได้ด้วยความเร็วต่ำ ตั้งแต่ใกล้ต่างระดับพระราม 2 ผ่านห้างบิ๊กซี สาขาคลองครุ ต.ท่าทราย และไปจนถึงห้างโลตัส ม.7 รอยต่อ ต.นาดี อย่างไรก็ตามในช่วงสั้นๆ ไม่นานน้ำขังถนนก็ลดลงตามลำดับ ทั้งนี้ด้าน สมาคมประมง จ.สมุทรสาคร เผยว่า ยังเปิดรับสมัคร ประชาชนฐานะจิตรอาสาสมัคร หวังอาศัยเรือเข้าร่วมโครงการในแผนผลักดันน้ำของจังหวัดสมุทรสาคร ต่อไป

    สำหรับสถิติสภาพน้ำท่าจีนที่ประมาณการณ์ วันที่ 10 ต.ค.น้ำขึ้นสูงสุดเวลา 16.31 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 3.01 เมตร, วันที่ 11 ต.ค. น้ำขึ้นสูงสุดเวลา 16.56 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 2.97 เมตร, วันที่ 12 ต.ค. น้ำขึ้นสูงสุดเวลา 06.15 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 3.09 เมตร, วันที่ 13 ต.ค. น้ำขึ้นสูงสุดเวลา 06.54 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 3.24 เมตร, วันที่ 14 ต.ค. น้ำขึ้นสูงสุดเวลา 07.28 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 3.30 เมตร, 15 ต.ค. น้ำขึ้นสูงสุดเวลา 07.57 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 3.31 เมตร โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าน้ำจะขึ้นหลังวันที่ 12 ต.ค.ทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่าย
     
  3. loguttara

    loguttara Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +39
    ขณะนี้ เมืองปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์
    ระดับน้ำ ถึงหน้า ร.ร.อนุชนวัฒนา
    ซึ่งเคยท่วมเมื่อปี 2538
    ยังมีแนวโน้มขยับขั้นมาอีกครับ
     
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    เจ้าหน้าที่ กทม.บอกว่ารอด อาจจะตรงกันข้ามก็ได้ ด้วยเพราะบอกไปตามความเคยชิน หากกทม.ไม่รอดจะโทษผู้ว่าสุขุมพันธ์คนเดียวไม่ได้นะ กทม.ก็เป็นจังหวัดหนึ่ง ที่รัฐบาลต้องดูแลด้วยและอำนวยการเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆเช่นกัน ดังนั้นมาล้อมคอก กทม.ไว้ด้วย อย่ามัวไปล้อมคอกเฉพาะจังหวัดที่วัวมันหายไปหมดแล้ว(ไม่ได้ให้ทิ้งผู้คนนะเดี๋ยวเข้าใจผิด)

    เสนอให้ตั้งศูนย์อำนวยการป้องกัน กทม.ขึ้นอีกศูนย์หนึ่งโดยเฉพาะครับ
    เพื่อคอยติดตามความเคลื่อนไหวของมวลน้ำ และแจ้งเหตุตามความเป็นจริงให้ ปชช.ในกทม.รับทราบทุกๆ ต้นชั่วโมงหรือนาทีต่อนาที(ราชการปกติทำงานนี้ไม่ได้แน่ เพราะติดขั้นตอนการตรวจสอบข่าว)เพื่อประชาชนจะมีข้อมูลประเมินพื้นที่ตัวเองครับ
    ถ้าตั้งไปแล้วก็ขออภัยเพราะตกข่าว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ตุลาคม 2011
  5. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    พายุที่ก่อตัวบริเวณประเทศฟิลิปปินส์

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 ตุลาคม 2011
  6. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    เฮอร์ริเคนลูกที่ 9จ่อถล่มเม็กซิโก

    วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2011 เวลา 14:10 น.

    [​IMG]

    ศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติสหรัฐหรือเอ็นเอชซีแจ้งว่าพายุโฮวาเฮอร์ริเคนลูกที่ 9ของฤดูกาลพายุเฮอร์ริเคนในแปซิฟิกปีนี้กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วลม120กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะนี้อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเม็กซิโก 405 กิโลเมตร แต่คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ด้านสำนักงานอุตุนิยมวิทยาเม็กซิโก คาดว่าเฮอร์ริเคนลูกนี้ จะพัดขึ้นฝั่งทางตอนกลางของประเทศในวันอังคารนี้ พร้อมประกาศเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 5 รัฐตามแนวชายฝั่งให้เฝ้าระวังภัยจากฝนตกหนักและดินถล่ม ที่อาจเกิดขึ้นจากอิทธิพลของพายุลูกนี้

    http://www.thanonline.com/index.php...8:-9&catid=177:2009-06-25-09-27-16&Itemid=525

    http://hisz.rsoe.hu/alertmap/index2.php?area=&lang=eng
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 ตุลาคม 2011
  7. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    อาสาสมัครเฝ้าจับตาสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพ RT@Ragdollgraphic @thaiflood

    น้ำท่วมถนนราชพฤกษ์ ตรงคอสะพานสูง 30 ซม ใกล้โรงเบียร์ฮอลแลน รถติดยาวมาก ทั้ง2ฝั่ง
     
  8. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    เร่งตั้งแนวกันน้ำ"เมืองเอก-รังสิตคลอง 5-ตลิ่งชัน"

    10 ตค. 2554 14:35 น.

    ที่ศปภ. -พล.อ.ประชา พรหมนอก ผอ.ศปภ. กล่าวถึงกรณีที่กระสอบทรายขาดแคลนว่า ขณะนี้ทรายขาดแคลน แต่ได้ใช้หินฝุ่นแทน ซึ่งหินฝุ่นนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบ โดยประสานกับโรงงานหินคลุก หินฝุ่นแล้ว และสามารถจัดซื้อได้แล้ว แต่ปัญหาขณะนี้คือเราต้องการกระสอบทรายสอบ 1.7 ล้านใบ ซึ่งขณะนี้ได้รับบริจาคมาแล้ว 5 แสนใบ ซึ่งยังขาดอีก 1.2 แสนใบ ซึ่งเราได้เร่งจัดหาโดยด่วน สำหรับหินคลุกหินฝุ่นนั้นจะมีปัญหาเรื่องการขนส่ง ซึ่งรมว.คมนาคมกำลังแก้ปัญหา รวมถึงเรื่องยานพานะที่จะต้องนำไปส่งใน 3 จุดหลักที่เราทำแนวป้องกันใน กทม. คือ 1. เมืองเอก ที่ทำแนวป้องกันระยะทาง 10 กม. ซึ่งทางศปภ.จะรับผิดชอบ 2 กม. จากนั้นจะเป็นการประปาร่วมกับ กทม.และ จ.ปทุมธานี ในการทำแนวป้องกัน 2. ตลิ่งชัน บริเวณด้านหลังมหาวิทยาลัยมหิดล 3. รังสิต คลอง 5
    ส่วนการระบายน้ำนั้นจะมีการระบายน้ำจากแม่น้ำป่าสักลงไปยังคลองระพีพัฒน์ จากนั้นจะลงไปทางคลองแสนแสบ และลงทะเลซีกด้านตะวันออก และสภาพพื้นที่ฝั่งแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตก จะสามารถระบายน้ำได้หรือไม่เป็นจุดที่นายกฯไปดูเพิ่มเติม สำหรับความกังวลจุดสกัดที่รังสิต เมือเอก และตลิ่งชัน จะสามารถสกัดไม่ให้เข้ามายัง กทม.ได้หรือไม่นั้น ตนพยายามจะจัดการทั้ง 3 จุดให้เสร็จในวันที่ 13 ต.ค.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 ตุลาคม 2011
  9. loguttara

    loguttara Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    121
    ค่าพลัง:
    +39
    ใครที่มีญาติอยู่แถวตลาดปากน้ำโพ
    โทรศัพท์แจ้งเตือนด้วยนะครับ
    อีกครึ่งชั่วโมง โดยประมาณ
    จะมีการจ่ายกระแสไฟฟ้า
    เพื่อสูบน้ำออก
    ขอให้สับคัทเอาท์ลง
    เพื่อป้องกันอันตราย
     
  10. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    แหลมตะลุมพุกเตรียมอพยพทันทีหากมรสุมเข้า

    10 ตค. 2554 14:32 น.

    ที่ตำบลแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช โดยเฉพาะใน ม.2 และ ม.3 ที่มีอาชีพประมงชายฝั่งปักหลักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านริมทะเลมานานหลายชั่วอายุคน และเป็นพื้นที่ประสบกับมรสุมและคลื่นลมอย่างหนักในช่วงหน้ามรสุมของทุกปี จนคลื่นทะเลได้กัดเซาะหมู่บ้านหายไปเรื่อยๆ จนบ้านหลายหลังพังลงไปในทะเล รวมทั้งถนนคอนกรีต ศาลาหมู่บ้าน โดยเมื่อช่วงภัยพิบัติครั้งที่แล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขณะที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางลงพื้นที่พร้อมทั้งนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณาย้ายหมู่บ้านดังกล่าวข้ามมาอยู่ในอีกฝั่งถนน ซึ่งเป็นที่ดินของ กรมป่าไม้ โดยมีสภาพเป็นป่าชายเลนเสื่อมโทรมจำนวน 150 ไร่ เพื่อให้ชาวบ้านกว่า 200 ครัวเรือนเข้าอาศัยหลีหนีภัยพิบัติที่มาเป็นประจำทุกปีและทวีความหนักหน่วงมากขึ้นเรื่อยๆ
    นายประยุทธ ฐานะวัฒนา กำนันตำบลแหลมตะลุมพุก เปิดเผยว่า หมู่บ้านประมงแหลมตะลุมพุกกว่า 200 ครัวเรือน ในหมู่ 2 และ 3 ได้หารือกันและเตรียมรับมือผลกระทบของลมมรสุมไว้แล้ว รวยมทั้งติดตามข่าวสารจากทางการตลอด ดดยเฉพาะแนวโน้มของการเกิเดมรสุมรุนแรงและพายุหลายระลอกจะพัดเข้าสู่ฝั่งอ่าวไทยในช่วงเดือน ต.ค. และ พ.ย.นี้
    “ชาวบ้านได้หารือกันและต่างเตรียมความพร้อมตลอดเวลา หากเกิดพายุหรือคลื่นสูงซัดเข้าฝั่ง ชาวบ้านจะอพยพออกจากพื้นที่ทันทีไปยังจุดปลอดภัยทันที โดยได้กำหนดจุดอพยพที่ศาลาประชาคมเทศบาลเมืองปากพนัง เพราะขณะนี้ในพื้นที่แหลมตะลุมพุกไม่มีที่หลบภัยที่สร้างความมั่นใจให้กับชาวบ้านได้ เพราะถูกคลื่นกัดเซาะซัดหายจนพัง” กำนันตำบลแหลมตะลุมพุกกล่าว
    นายประยุทธ ฐานะวัฒนา กำนันตำบลแหลมตะลุมพุกยังกล่าวต่ออีกว่า ความหวังของประชาชนจำนวนกว่า 200 ครัวเรือนประมาณ 2,300 คนเศษที่หวังไว้จากรัฐบาลที่แล้วในเรื่องที่ดินจำนวน 150 ไร่ ในฝั่งถนนตรงข้ามกับหมู่บ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยใหม่เริ่มที่จะหมดลง
    หลังจากเปลี่ยนรัฐบาลเรื่องนี้เงียบหายไปแม้ว่าทางสำนักนายกรัฐมนตรีมาตรวจแล้ว 2 ครั้ง เมื่อรัฐบาลเงียบไปเลยจริงๆ สิ่งที่อยากให้รัฐบาลนี้เร่งดำเนินการคือ ที่ดินผืนนี้ อยู่บริเวณอีกฝั่งถนน เพื่อย้ายหมู่บ้านเพราะที่ดินในพื้นที่ ม.2 และ ม.3 ต.แหลมตะลุมพุก อยู่ติดทะเลทั้งหมด หากไม่เร่งช่วยเหลือหรือหาทางป้องกันอีกไม่ช้าหมู่บ้านชาวประมงจะถูกคลื่นเสียหายไปหมด คนเหล่านี้ไม่มีที่อยู่อาศัยอย่างแน่นอน
     
  11. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ขอนแก่น -น้ำชี-น้ำพอง เอ่อท่วมหมู่บ้านริมน้ำ ปภ.6 สั่งอพยพชาวบ้าน

    10 ตค. 2554 14:38 น.

    ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าท่วมชุมชนริมฝั่งลำน้ำชีและลำน้ำพองในจังหวัดขอนแก่น ทำให้หลายชุมชนมีน้ำท่วมสูง 50-100 เซนติเมตร ส่งผลให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่นเร่งอพยพชาวบ้านไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยแล้ว
    นางสุพรรัตน์ แสงมาลี หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ปริมาณน้ำรอบตัวเมืองขอนแก่น พบว่าในพื้นที่ 2 ตำบลคือ ต.บึงเนียม และ ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น ขณะนี้น้ำไหลเข้าท่วมชุมชนระดับน้ำสูงประมาณ 50- 100 เซนติเมตรแล้ว และมีทีท่าว่าจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเก็บข้าวของไว้ในที่สูง และเตรียมอพยพออกจากหมู่บ้าน ล่าสุดได้อพยพชาวบ้านในตำบลพระลับจำนวนกว่า 200 ครัวเรือน ไปอาศัยอยู่ที่โรงเรียนกีฬาขอนแก่นแล้ว
    “ ต.บึงเนียม มีชาวบ้านจำนวน 310 ครัวเรือน และ ต.พระลับอีกกว่า 200 ครัวเรือน ได้รับผลกระทบหนักจากน้ำท่วมพื้นที่ขอนแก่น ส่วนสถานการณ์น้ำยังไม่นิ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากน้ำจากจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดชัยภูมิยังคงไหลเข้าสมทบเขื่อนอุบลรัตน์เป็นจำนวนมาก ทำให้เขื่อนต้องปล่อยน้ำอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ทางโรงไฟฟ้าพลังน้ำขออนุญาตปล่อยน้ำ 50 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน เพื่อไม่ให้น้ำเกินระดับกักเก็บ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตัวเขื่อนด้วย สิ่งที่เป็นกังวลขณะนี้คือทางเจ้าหน้าที่ขาดแคลนเรือท้องแบนที่จะใช้ช่วยเหลือชาวบ้าน เรือที่ใช้ยังเป็นเรือพายทำให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่ทั่วถึง”นางสุพรรัตน์ กล่าว
    ด้านนายศุภเดช เหล็กชูชาติ รักษาการ ผอ.ปภ.เขต 6 ขอนแก่น กล่าวว่า ในพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด คือร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคามและกาฬสินธุ์ ที่ประสพภัยน้ำท่วมส่วนใหญ่อยู่ริมลำน้ำชี และลำน้ำพอง โดยจังหวัดขอนแก่นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจาก 2 จังหวัด คือหนองบัวลำภูและชัยภูมิ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่บรรจบของแม่น้ำสองสาย คือลำน้ำพองและลำน้ำชี ทำให้น้ำมีปริมาณมากแล้วไหลเข้าท่วมหลายชุมชน รวมถึงพื้นที่ทางการเกษตรด้วย
    “ในพื้นที่รับผิดชอบ 4 จังหวัด ขอนแก่นประสบปัญหาน้ำท่วมหนักมากที่สุด ต้องอพยพชาวบ้านไปอยู่ในที่ปลอดภัย แต่ก็ยังมีชาวบ้านบางส่วนที่เป็นห่วงทรัพย์สินไม่ยอมย้ายออกมา จึงได้ประสานให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนจังหวัดอื่นๆ ได้ติดตามสถานการณ์กับหัวหน้าปภ.แต่ละจังหวัดแล้วบอกว่าสามารถรับมือสถานการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ได้ พร้อมเตรียมรับมือปริมาณน้ำฝนในช่วงวันที่ 13-14 และ 17-18 ตุลาคมนี้ อาจจะมีฝนตกในพื้นที่ภาคอีสานอีก นอกจากนี้ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ปภ.เขต 6 จำนวน 25 คน เดินทางไปช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในจังหวัดลพบุรีและอยุธยาซึ่งถือเป็นพื้นที่วิกฤตอยู่ในขณะนี้ด้วย” นายศุภเดช กล่าว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 ตุลาคม 2011
  12. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    มือถือภาคกลางล่มอื้อ น้ำท่วมทำสถานีฐานพังร่วม100จุด

    [​IMG]

    “กสทช.” ชูเครือข่ายวิทยุสื่อสารช่วยน้ำท่วม ด้านเอไอเอส รับสถานีฐานใช้งานไม่ได้ 26 แห่งบริเวณพื้นที่ภาคกลาง ขณะที่ทรูมูฟไม่น้อยหน้าสถานีฐานใช้งานไม่ได้ 50-60 สถานี สาเหตุจากน้ำท่วมและถูกตัดไฟ...

    เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2554 พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ภารกิจเร่งด่วนของ กสทช.จะต้องเข้าไปช่วยเหลือระบบสื่อสารโทรคมนาคมในพื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม โดยจะขยายเครือข่ายวิทยุสื่อสาร และวิทยุสมัครเล่นให้เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นระบบสื่อสารเดียวที่จะใช้ติดต่อสื่อสารและช่วยเหลือผู้ประสบภัยใน พื้นที่น้ำท่วม ซึ่งขณะนี้ได้ให้วิทยุสื่อสารศูนย์สายลม เป็นหน่วยประสานงานในการสื่อสารภัยพิบัติน้ำท่วม ถือเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) ที่ดอนเมือง เพื่อบูรณาการระบบสื่อสาร เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนได้ในทุกพื้นที่ ล่าสุดได้มอบเครื่องทวนสัญญาณ (รีพีทเตอร์) ให้กับชมรมวิทยุสมัครเล่น จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อให้การส่งสัญญาณวิทยุสื่อสารขยายวงกว้างได้มากยิ่งขึ้น

    ด้าน พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. กล่าวว่า สิ่งที่ กสทช.ต้องเร่งทำคือช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ช่วยเหลือได้มาก เพราะระบบสื่อสารหลัก ทั้งโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นระบบหลักอาจมีปัญหาจากสถานีฐานถูกน้ำท่วม แต่เมื่อมีวิทยุสื่อสาร และวิทยุชุมชน ทำให้เข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้ในพื้นที่ที่ภาครัฐเข้าไปไม่ถึง เพราะไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้

    “การพยายามเพิ่มเครือข่ายวิทยุสื่อสารในช่วงนี้ เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่จากนี้ไปจะพยายามขยายเครือข่ายวิทยุสมัครเล่นให้เพิ่มมากขึ้น และมีความเข้มแข็งมากขึ้นด้วย เพราะแนวโน้มของการเกิดภัยพิบัติมีมากขึ้น เพราะฉะนั้นการมีเครือข่ายสาธารณะ เพื่อให้บริการในช่วงเกิดภัยพิบัติ จะเป็นประโยชน์มาก ซึ่งทุกคนสามารถใช้งานร่วมกันได้” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวว่า

    นอกจากนี้ยังได้ประสานงานกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือและผู้ประกอบกิจการวิทยุ และโทรทัศน์ โดยทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดทั้งในเรื่องของการแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติ และส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือ (เอสเอ็มเอส) เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่งถึง รวมถึงจะได้เข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทั่วถึงด้วย

    ขณะที่ นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า จากปัญหาน้ำท่วมส่งผลให้สถานีฐานเอไอเอสเสียหายใช้งานไม่ได้รวม 26 แห่ง บริเวณพื้นที่ภาคกลาง ครอบคลุม จ.พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี และชัยนาท โดยขณะนี้ ได้เร่งให้เจ้าหน้าที่เข้าไปซ่อมแซมแล้ว ซึ่งยอมรับว่าปัญหาน้ำท่วมได้กระจายเป็นวงกว้าง แต่ปัญหาจริงๆ คือ ชาวบ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้ไม่สามารถชาร์จโทรศัพท์มือถือได้ ดังนั้น เอไอเอสจึงได้เข้าไปแจกที่ชาร์จไฟเคลื่อนที่โดยใช้ถ่านไฟฉาย

    นายวิเชียร กล่าวต่อว่า มาตรการช่วยเหลือเบื้องต้น เอไอเอสได้เติมเงินให้ลูกค้าระบบพรีเพด (เติมเงิน) ฟรีมูลค่าเลขหมายละ 50 บาท ซึ่งได้เติมเงินเข้าไปในระบบให้ลูกค้าแล้วกว่า 10,000 ราย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าที่อยู่ในจ.พระนครศรีอยุธยา รวมเป็นเงิน 5 แสนบาท ส่วนลูกค้าระบบโพสต์เพด (รายเดือน) ที่มีกำหนดต้องชำระเงินก็เลื่อนไปออกก่อน ซึ่งลูกค้าจะไม่ถูกตัดสัญญาณ

    "มูลค่าความเสียหายเรายังไม่ได้ประเมิน เพราะสถานีฐานที่เสียหายยังไม่ได้แยกว่า สถานีฐานใดเสียเพราะโดนตัดไฟ หรือเสียเพราะน้ำท่วม แต่จริงๆแล้วอาจมีสถานีฐานเสียหายมากกว่านี้ เพราะมีพื้นที่น้ำท่วมหลายจุด แต่ก็สามารถกู้คืนมาได้ ซึ่งปัญหาสำคัญคือเราต้องทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อสื่อสาร ยังใช้โทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งถ้าจุดใดที่สามารถนำรถโมบายเคลื่อนที่เข้าไปได้ เราก็พร้อมดำเนินการทันที"

    ส่วน นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการ และประธานคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับรายงานว่าสถานีฐาน และชุมสายของทรูมูฟได้รับผลกระทบแล้ว 50-60 สถานีฐาน ซึ่งใน จ.พระนครศรีอยุธยาแห่งเดียวใช้งานไม่ได้แล้ว 10 แห่ง โดยสาเหตุมาจากทั้งสถานีฐานโดนตัดไฟ และน้ำท่วมทำให้ระบบขัดข้อง

    ทั้งนี้ จากปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง ประเมินว่ามีลูกค้าทรูมูฟได้รับความเสียหายราว 1 ล้านครัวเรือน คิดจากฐานส่วนแบ่งรายได้ที่ทรูมูฟมีจำนวน 20-25% ก็น่าจะมีลูกค้าทรูมูฟได้รับผลกระทบใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือติดต่อสื่อสารไม่ได้ราว 200,000 ครัวเรือน โดยขณะนี้ทรูมูฟได้มีมาตรการช่วยเหลือให้ลูกค้าแล้ว ซึ่งลูกค้าเติมเงินหากยังมีเงินค้างอยู่ในระบบแต่วันหมดแล้ว ทรูมูฟก็ได้เพิ่มวันเข้าไปในระบบให้ฟรี 30 วัน ส่วนลูกค้ารายเดือนหากครบกำหนดชำระเงินก็ไม่โดนตัดสัญญาณนอกจากนี้ ยังให้ลูกค้าโทรฟรีเบอร์ฉุกเฉินได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งเบอร์ขอความช่วยเหลือ GCC 1111 กด 5 เบอร์ 1555 หรือ 191 อีกทั้ง ภายในสัปดาห์นี้ทรูมูฟได้ปรับปรุงระบบให้ลูกค้าทรูมูฟสามารถโทรฟรี โดยยังไม่ได้กำหนดมูลค่าแต่อาจจะเป็นลักษณะให้โทรฟรีวันละกี่นาที

    โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ

    10 ตุลาคม 2554, 14:31 น.
     
  13. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    FB- น้ำขึ้น ให้รีบบอก

    ‎14.55 น.

    หมู่บ้านศุภาลัยบุรี รังสิต-คลองสี่
    หลังจากเพียงฝนตก 1 ชั่วโมงกว่า
    น้ำขึ้นสูง 30 ซม. ค่ะ


    เครดิต P'House Casanova

    [​IMG]
     
  14. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    นายกฯรับ กทม.ไม่ปลอดภัย หวั่นน้ำทะลักเข้ากรุง

    [​IMG]

    ศปภ.หวั่นน้ำทะลักแนวกั้นน้ำที่ "หมู่บ้านเมืองเอก- รังสิตคลอง 5 -ตลิ่งชัน" ประกาศซื้อกระสอบทรายเพิ่มอีก 1.5 ล้านใบ ด้านนายกรัฐมนตรียอมรับ กทม.ยังไม่ปลอดภัย แต่โล่งใจพายุลูกใหม่อ่อนกำลังลงแล้ว...

    เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 10 ต.ค. ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมศปภ.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์แถลงว่า จากโดยรวมที่ได้มีการสั่งการให้ผู้ว่าราชการ 10 จังหวัดเข้าไปดำเนินการโดยแบ่งงานทั้งหมดออกเป็น 3 ด้าน คือ การปฏิบัติการป้องกันในพื้นที่ ด้านการอพยพ และด้านการสนับสนุนเสบียงอาหารและกำลัง สำหรับจังหวัดที่ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือ เช่น จ.ลพบุรี วันนี้ได้มีการใช้ค่ายทหารทั้งหมด 9 ค่าย จึงจะสามารถรองรับประชาชนได้ถึง 57,000 คน แต่ในเวลานี้ ประชาชนได้ย้ายเข้าไปอยู่ในค่ายจำนวน 30,000 คนแล้ว ในส่วนของจ.นครสวรรค์ยังมีความต้องการในเรื่องของการอพยพ และในเรื่องของอาหารและน้ำดื่มอยู่บ้าง ปัญหาเรื่องเรือท้องแบนได้มีการประสานขอไปเรียบร้อยแล้ว

    นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสถานการณ์ที่ จ.พระนครศรีอยุธยาว่า วันนี้สถานการณ์ล่าสุด นิคมอุตสาหกรรมที่แบ่งเป็น 3 โซน ในโซนที่ 1 น้ำได้ท่วมแล้ว แต่ได้มีการนำเครื่องจักรออกไปก่อนหน้านี้ โซนที่ 2 เริ่มมีน้ำซึม ที่จะต้องมีการกู้และป้องกัน โดยมีพล.ท.อุดมเดช สีตะบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 ที่รับผิดชอบพื้นที่ดังกล่าว แต่ยังขาดในเรื่องของการทำแนวป้องกั้นน้ำระยะทาง 50 เมตร ซึ่งยังมีปัญหากับชาวบ้าน ตนได้สั่งการให้แม่ทัพและ ผวจ.พระนครศรีอยุธยาไปทำความเข้าใจ เพราะหากน้ำเข้ามาจะมีผลกระทบส่วนท้ายของคลองรังสิต จากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องในกรุงเทพมหานครแต่ในส่วนของพื้นที่รังสิตคลอง 5 จะมีการระดมกระสอบทรายทั้งหมด 1.5 ล้านใบ ซึ่งยังมีปัญหาในเรื่องของการจัดหาซื้อกระสอบทราย อยากขอความกรุณาภาคเอกชนที่มีสต๊อกตรงนี้ ให้แจ้งมายังหน่วยงานราชการ เพราะเราจะรับซื้อทั้งหมด เพื่อเร่งในการทำแนวกั้นน้ำโดยเร็วที่สุด

    น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวต่อ ว่า เรามีเวลา 2 วัน และสิ่งที่ไม่มั่นใจ คือ เราต้องระดมในเรื่องอุปกรณ์กระสอบทราย วันนี้เราใช้เจ้าหน้าที่ทั้งหมด โดยมีทางด้านของกรมโยธาธิการ และกรมชลประทาน ไปตรวจสอบในพื้นที่ ให้แน่ใจว่าการเรียงกระสอบทรายนั้นถูกวิธี และสามารถกั้นน้ำได้หรือไม่ ขณะนี้เราทำงานแข่งกับเวลาอยู่ และคิดว่าต้องทำให้ทัน ผู้สื่อข่าวถามว่า วันที่ 13-17 ต.ค. จะเป็นช่วงอันตรายเนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูงสุดในรอบปี จะป้องกันอย่างไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ดีขึ้นจากการประเมินของกรมอุตุนิยมวิทยาที่ระบุว่า พายุที่พัดผ่านอาจจะยังไม่มาถึงเมืองไทย อาจจะไปอยู่บริเวณทางตอนเหนือไทยขึ้นไป สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่อยู่ในขั้นที่ปลอดภัย ณ วันนี้เราไม่อยากจะนิ่งนอนใจ เพราะปริมาณน้ำฝนยังไม่ชัดเจน

    นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์ภาพรวมของการพยากรณ์อากาศวันนี้ หลังจากการหารือกับกรมอุตุวิทยาระหว่างวันที่ 10-16 ต.ค. 54 คาดว่าพายุยังเข้ามาไม่ถึงประเทศไทย ซึ่งไม่รวมกับปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และหากเป็นไปตามที่คาดการณ์ ปริมาณน้ำจะยังไม่สูงไปมากกว่านี้ จะต้องมีการติดตามสถานการณ์ในทุกวัน ส่วนคอลเซ็นเตอร์จนถึงวันนี้ มีผู้ที่โทรเข้ามาทั้งหมด 69,000 ราย ขอทราบข้อมูลทั่วไป 4,000 ราย และได้สั่งการให้โฆษกศปภ. แจ้งไปยังสถานีโทรทัศน์ และสื่อมวลชนทุกแขนง ช่วยประชาสัมพันธ์ชี้แจงข้อมูลข่าวสาร เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจแก่พี่น้องประชาชน ทั้งนี้มีข้อความช่วยเหลือมีทั้งหมด 1,586 ราย ซึ่งเราได้ช่วยเหลือไปแล้ว 700 กว่าราย ส่วนที่เหลืออยู่ในระหว่างการดำเนินการ เช่น จ.พระนครศรีอยุธยา ประชาชนในจังหวัดเกรงว่า จระเข้จะหลุดจากฟาร์มกว่า 600 ตัว โดยแม่ทัพภาคที่ 1 ได้รับไปแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ตนได้เชิญทางกรุงเทพมหานครเข้ามาร่วมทำงานในศปภ. เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

    น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวด้วยว่า โดยสรุปปริมาณน้ำจากเหนือไหลลงมายังเหนือตอนล่าง ทำให้ปริมาณน้ำเหนือตอนล่างจากจ.นครสวรรค์ลงมาปริมาณน้ำมากขึ้น จะส่งผลกระทบภาคกลาง แต่สิ่งที่เราสบายใจเพิ่มขึ้น คือ พายุลูกใหม่ไม่ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น แต่จะเป็นน้ำไหลตามธรรมชาติที่คร่อมลงมาทางภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ดังนั้นสิ่งที่เราทำคือมาตรการดังนี้ 1. ตั้งเครื่องผันน้ำไปยังจุดต่างๆ โดยกรมชลประทานเป็นผู้รับผิดชอบ 2. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับผิดชอบในการระดมเรือประมาณ 1,000 ลำ ตามคลองต่างๆ เพื่อผันน้ำออกสู่ทะเล 3. ขอความร่วมมือจากกรมเจ้าท่า ให้งดใช้การจราจรทางน้ำในช่วงต้น เพื่อจะให้น้ำระบายได้เต็มที่ 4. ผักตบชวา แต่ละจังหวัดจะต้องจัดการในพื้นที่ของตนเอง เพื่อให้น้ำระบายออกได้ง่าย 5. ถ้าน้ำไหลลงมาจบที่กทม. เราจะทำการป้องกันในส่วนที่เป็นรอยต่อทั้งหมดทุกจังหวัดที่เราต้องรักษา ส่วนที่เหลือเราจะขุดคลองช่วยทั้งหมด 5 คลอง โดยใช้เวลา 7 วัน เมื่อถามว่า มั่นใจหรือไม่ว่าจุดสกัดทั้ง 3 จุด เมืองเอก รังสิต และตลิ่งชัน จะสามารถสกัดน้ำได้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขออนุญาตเรียนว่า ตอบยากจริงเนื่องจากปริมาณน้ำค่อนข้างประมาณการยาก

    เมื่อถามว่า ขณะนี้จะประกาศเป็นภาวะภัยพิบัติได้หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ยังไม่ถึงขั้นนั้น ขณะที่เรากำลังทำงาน ในศปภ.สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ จึงไม่จำเป็นในขณะนี้ แต่ก็ต้องมีการประเมินในพายุลูกใหม่ที่จะเข้ามามากกว่า เมื่อถามอีกว่า สถานการณ์วิกฤติทางธรรมชาติในขณะนี้ มั่นใจใช่หรือไม่ว่าไทยยังสามารถรับมือได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งความช่วยเหลือจากต่างประเทศ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็น แต่ขณะเดียวกันบางประเทศได้มีการเสนอที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศไทย เช่น จีนได้บริจาคให้ประเทศไทยจำนวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสิ่งของบริจาคให้ 10 ล้านหยวน ซึ่งรวมมูลค่าแล้วว่า 80 ล้านบาท

    พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รักษาราชการแทน ผบ.ตร. กล่าวถึงการดูแลปัญหาจราจรใน จ.พระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะถนนสายเอเชียว่า ในส่วนของตำรวจมีภารกิจเต็มมืออยู่แล้ว ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้สั่งให้ตำรวจ ที่มีหน้าที่ด้านการจราจรโดยตรงจาก จ.สมุทรปาการ ไปเสริมกำลัง 50 นาย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าการจราจรจะคลี่คลายได้ในวันนี้

    พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผอ.ศปภ.กล่าวว่า ขณะนี้ทรายขาดแคลน แต่ได้ใช้หินฝุ่นแทน ซึ่งหินฝุ่นนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบ โดยประสานกับโรงงานหินคลุก หินฝุ่นแล้ว และสามารถจัดซื้อได้แล้ว แต่ปัญหาขณะนี้ คือ เราต้องการกระสอบทรายสอบ 1.7 ล้านใบ ซึ่งขณะนี้ได้รับบริจาคมาแล้ว 5 แสนใบ ซึ่งยังขาดอีก 1.2 แสนใบ ซึ่งเราได้เร่งจัดหาโดยด่วน สำหรับหินคลุก หินฝุ่นนั้น จะมีปัญหาเรื่องการขนส่ง ซึ่งพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคมกำลังแก้ปัญหา รวมถึงเรื่องยานพานะที่จะต้องนำไปส่งใน 3 จุดหลัก ที่เราทำแนวป้องกันในกทม. คือ 1. หมุ่บ้านเมืองเอกที่ทำแนวป้องกันระยะทาง 10 กม. ซึ่งทางศปภ.จะรับผิดชอบ 2 กม. จากนั้นทางการประปาหลวง(กปน.)จะร่วมกับกทม.และจ.ปทุมธานี ในการทำแนวป้องกัน 2. เขตตลิ่งชัน บริเวณด้านหลังมหาวิทยาลัยมหิดล และ3. ต.รังสิต คลอง 5 จ.ปทุมธานี โดยการระบายน้ำจากแม่น้ำป่าสักลงไปยังคลองระพีพัฒน์ ลงไปที่คลองแสนแสบ และลงทะเลซีกด้านตะวันออก แต่ที่มีความกังวล คือ จุดสกัดที่รังสิต เมืองเอก และตลิ่งชัน จะสามารถสกัดไม่ให้เข้ามายังกทม.ได้หรือไม่นั้น ตนพยายามจะจัดการทั้ง 3 จุดให้เสร็จในวันที่ 13 ต.ค.

    น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวว่า สภาพอากาศขณะนี้ ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านในส่วนของภาคกลางตอนล่างกับกทม.ผ่านไปยังภาคตะวันออก ขณะนี้สภาพความกดอากาศต่ำเป็นปกติในฤดูฝน ไม่ใช่อิทธิพลของพายุแต่อย่างใด ดังนั้นร่องความกดอากาศดังกล่าวจะส่งผลให้มีอิทธิพลเกิดฝน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พายุที่จะเข้ามายังอยู่ในฝั่งตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ยังไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ในเวลาใกล้เคียงกัน จะมีความกดอากาศสูงจากประเทศจีนลงมา ในช่วงจังหวะนั้น พายุตัวนี้ที่จะเคลื่อนไปยังประเทศไทยโดยข้ามเกาะฟิลิปปินส์จะอ่อนตัว

    นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากความกดอากาศจากประเทศจีน จะทำให้ฝนน้อยลง ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล ซึ่งขณะนี้ความจุอยู่ที่ปริมาณ 99.9 % แนวโน้มน้ำที่จะไหลสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ปิง วัง ยม และน่าน โดยเฉพาะลำน้ำที่ชุมแสงจะทรงตัว ซึ่งเป็นเวลาเกือบเดือนแล้ว ส่วนลุ่มแม่น้ำปิงหลังจากเขื่อนภูมิพลระบายแล้วประกอบกับฝนตกหนักที่จ.ลำปาง และที่จ.กำแพงเพชรขึ้นสูงสุดแล้ว ที่อ.บรรพจพิสัย จ.นครสวรรค์ เท่าที่ดูมีแนวโน้มจะลดลงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำปิง วัง ยม น่าน จะมารวมตัวกันที่นครสวรรค์ โดย 3 วันที่ผ่านมา น้ำยังคงทรงตัวอยู่ จึงทำให้มั่นใจว่าน้ำที่มาจากด้านบน และคาดการณ์ว่าในวันที่ 12-13 ต.ค.นี้ น้ำน่าจะไม่เกินกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้ สำหรับน้ำที่ผ่านมายังเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์ที่ทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้น น้ำที่จะมาคงไม่เกินที่คาดการณ์ไว้ หากยังเป็นอย่างนี้ในส่วนของกทม.ยังพอรับมือได้ ส่วนที่ห่วง คือ น้ำที่ทะลักอยู่ในทุ่งเพราะน้ำที่ลงมาจากจ.ลพบุรี และลงมาจ.พระนครศรีอยุธยา และน้ำจากแม่น้ำป่าสักก็จะวกอยู่ในอยุธยา ดังนั้นจุดที่เฝ้าระวังอย่างเมืองเอก รังสิตคลอง 5 ตรงนี้จะเป็นจุดอ่อนซึ่งจะต้องเร่งรัดป้องกัน

    ต่อมาเวลา 10.30 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์พร้อมด้วยนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม รวมถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และนายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทานเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกจากท่าอากาศยานดอนเมืองไปยังสนาม ฮ.ชั่วคราว ที่อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา จากนั้นได้เดินทางโดยรถยนต์ไปยังศูนย์ราชการจ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำ และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากนายวิทยา ผิวผ่อง ผวจ.พระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นไปเยี่ยมศูนย์อพยพ และศูนย์รับบริจาคหน้าศูนย์ราชการ ก่อนเดินทางไปยังเจดีย์วัดสามปลื้ม เพื่อแจกถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย และขึ้นเฮลิคอปเตอร์ตรวจสถานการณ์น้ำทางอากาศโดยรอบก่อนเดินทางกลับ กทม.

    โดย: ทีมข่าวการเมือง

    10 ตุลาคม 2554, 14:30 น.
     
  15. fonbao

    fonbao สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +22
    กทม.เสี่ยงท่วม16-18ต.ค.

    10 ตุลาคม 2554 เวลา 14:05 น.

    <!-- end articleDetailPanel -->
    จับตา16-18ต.ค.กทม.เสี่ยงท่วมสุดสุขุมพันธ์สั่งเฝ้าระวัง3น้ำบรรจบหวั่นฝนตกหนักกลัวระบายไม่ทัน


    ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ได้สั่งให้ตั้งศูนย์ย่อยที่ศาลาประชาคมเขตมีนบุรีเพื่ออำนวยการช่วยเหลือในพื้นที่ กทม.ฝั่งตะวันออก ประกอบด้วย มีนบุรี คลองสามวา ลาดกระบัง และหนองจอก ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ส่วนพื้นที่อื่นเ ช่น กทม.เหนือ-ตะวันตกจะเตรียมการในลักษณะนี้ต่อไป แต่ที่มีการตั้งศูนย์ฯที่มีนบุรีก่อน เพราะ กทม.ฝั่งตะวันออก เป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมในขณะนี้

    [​IMG]

    "น้ำยังควบคุมได้ แต่ห่วงฝนหนักระบายไม่ทัน และวันที่ 16-18 ตุลาคมนี้ต้องเฝ้าระวังพิเศษจากน้ำฝน น้ำเหนือ และน้ำทะเลหนุน" ผู้ว่า กทม.กล่าว

    ด้านศูนย์ประชาสัมพันธ์ กทม.ระบุว่า ขณะนี้ กทม.เปิดประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนาเพื่อช่วยระบายน้ำจาก จ.นนทบุรี และผู้ว่าฯ กทม.อยู่ระหว่างเดินทางไปตรวจสถานการณ์น้ำบริเวณท่าเรือ รพ.ศิริราช


    [​IMG] เกาะทุกประเด็นร้อนกับ โพสต์ทูเดย์ดอทคอม คลิก!
     
  16. fonbao

    fonbao สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +22
    คันนายาวน้ำเอ่อท่วม12ชุมชนริมคลอง


    10 ตุลาคม 2554 เวลา 14:14 น.

    <!-- end articleDetailPanel -->
    ฝนตกหนักทำน้ำเอ่อท่วมชุมชนริมคลองในเขตคันนายาว จนท.เร่งระบาย ด้านเขต สายไหมเตรียมศูนย์อพยพ10แห่ง

    นายหัสฎิน ปิ่นประชาสรร ผู้อำนวยการเขตคันนายาว กล่าวว่า จุดเสี่ยงในคันนายาวคือพื้นที่ชุมชนริมคลองแสนแสบ คลองลำนุ่น คลองระหัส คลองบางชันโดยเฉพาะบริเวณหน้าวัดบางชัน ซึ่งฝนที่ตกลงมาในคืนวันที 9 ต.ค.ต่อเนื่องเช้าวันที่ 10 ต.ค. ทำให้เกิดน้ำเอ่อท่วมบ้านเรือนจำนวน 12 ชุมชน อย่างไรก็ตามได้เร่งระบายน้ำออกและคาดว่าจะลดระดับลงในบ่ายวันนี้

    นอกจากนี้ยังได้เตรียมศูนย์อพยพไว้ 2 จุดคือ 1.โรงเรียนคันนายาวและ 2.โรงเรียนจินดาบำรุง รวมทั้งจุดบริจาคสิ่งของที่สำนักงานเขตคันนายาวด้วย
    ด้าน นางนงพะงา บุญปักษ์ ผู้อำนวยการเขตสายไหม เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในเขตพื้นที่สายไหมในขณะนี้ยังไม่น่าวิตกเนื่องจากจังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นต้นน้ำก่อนเข้าถึงสายไหมยังรับมือสถานการณ์ได้

    อย่างไรก็ตาม หากปทุมธานีไม่สามารถรับมือได้ น้ำจะเข้ามาทางคลอง 2 และคลองสามวา ซึ่งหากเกิดกรณีน้ำท่วมเฉียบพลัน ทางเขตได้เตรียมจุดอพยพไว้ 10 จุด ประกอบด้วย 1.โรงเรียนวัดสายไหม 2.โรงเรียนวัดหนองใหญ่ 3.โรงเรียนวัดพรพระร่วงประสิทธิ์ 4.โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณณาราม
    5.โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย (ประถม) 6.โรงเรียนซอยแอนเน็กซ์ 7.โรงเรียนประชานุกูล 8.โรงเรียนราษฎร์นิยมธรรม 9.โรงเรียนออเงิน และ 10.ฤทธิยะวรรณาลัย 2

    "ส่วนน้ำฝนที่ตกลงมามาให้ระดับน้ำในลำคลองเอ่อล้นเป็นบางจุด แต่ได้เสริมแนวกระสอบทรายแล้ว รวมทั้งบล็อกน้ำไม่ให้ล้นท่อระบายน้ำ และยังไม่มีปัญหากับชาวปทุมธานีเพราะเราเปิดประตูระบายน้ำให้อีก 20 ซม. ซึ่งชาวปทุมฯก็พอใจ"นางนงพะงา กล่าว


    [​IMG] เกาะทุกประเด็นร้อนกับ โพสต์ทูเดย์ดอทคอม คลิก!
     
  17. fonbao

    fonbao สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2011
    โพสต์:
    593
    ค่าพลัง:
    +22
    นวนครเสริมคันดิน-กระสอบทรายป้องน้ำท่วม


    10 ตุลาคม 2554 เวลา 14:39 น.


    <!-- end articleDetailPanel --><IFRAME style="POSITION: absolute; BORDER-BOTTOM-STYLE: none; BORDER-RIGHT-STYLE: none; MARGIN: 0px; WIDTH: 50px; BORDER-TOP-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; TOP: -10000px; LEFT: -10000px" id=I1_1318234375031 title=+1 tabIndex=-1 marginHeight=0 src="https://plusone.google.com/u/0/_/+1/fastbutton?url=http%3A%2F%2Fwww.posttoday.com%2F%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%2F%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.%2F115407%2F%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1&size=tall&count=true&annotation=&hl=th&jsh=r%3Bgc%2F23980661-3686120e#id=I1_1318234375031&parent=http%3A%2F%2Fwww.posttoday.com&rpctoken=881894900&_methods=onPlusOne%2C_ready%2C_close%2C_open%2C_resizeMe" frameBorder=0 width="100%" allowTransparency name=I1_1318234375031 marginWidth=0 scrolling=no></IFRAME>นิคมอุตสาหกรรมนวนครเสริมคันดิน-กระสอบทรายป้องกันน้ำท่วม ขณะที่เมืองอยุธยาน้ำสูง5.74เมตรระดับยังทรงตัว

    นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการ จ.อยุธยา กล่าวว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขตเมืองมีระดับสูง 5.74 เมตร และอยู่ในภาวะทรงตัว โดยได้ประสานเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ให้งดปล่อยน้ำเพื่อลดผลกระทบ แต่ยังห่วงปริมาณน้ำจากภาคเหนือที่ยังไหลมาไม่ถึง โดยขณะนี้ศูนย์อพยพที่ศาลากลางรับผู้อพยพไว้แล้ว 1,500 คน ซึ่งอยู่ระหว่างรอดูระดับน้ำ โดยเตรียมพร้อมอพยพไปที่อื่นทันทีหากระดับน้ำสูงขึ้น

    ขณะที่บรรยากาศในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร โรงงานต่างๆได้เสริมกระสอบทรายอย่างน้อย 4 -5 ชั้น เพื่อป้องกันน้ำ จนท.นิคม และของโรงงานต่างระดมคนตรวจดูระดับน้ำในคลองด้านหลังนิคม รวมทั้งเสริมกำลังพนักงานรักษาความปลอดภัยดูระดับน้ำตลอด 24 ชม.

    นอกจากนี้ทางนิคมยังใช้รถแบคโฮ 4 คัน และรถแบคโฮทหารอีก 1 คัน เสริมคันดินสูงขึ้นอีก 3 เมตร ตลอดแนวนิคม เพื่อป้องกันน้ำที่อาจจะทะลักคลองเปรมประชากร ซึ่งอยู่ด้านหลังของนิคม อย่างไรก็ตามในจุดนี้มีประตูน้ำอยู่ 2 จุด และระดับน้ำสูงขึ้นเล็กน้อย จากฝนที่ตกหลังติดต่อกันหลายคืน

    อนึ่งคลองเปรมประชากรเป็นคลองที่รับน้ำจากปทุมธานี ก่อนส่งน้ำต่อไปยังประตูน้ำจุฬาฯ ย่านรังสิต ก่อนระบายสู่ กทม. และลงทะเล


    [​IMG] เกาะทุกประเด็นร้อนกับ โพสต์ทูเดย์ดอทคอม คลิก!
     
  18. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    :cool: thank you na ka
     
  19. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    กทม.ตั้งวอร์รูมรับวิกฤตน้ำท่วมตะวันออก-จับตา16-18 ต.ค.

    10 ตค. 2554 15:09 น.

    ที่ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัยและดินโคลนถล่ม กรุงเทพมหานคร(กทม.) ศาลาว่าการกทม. เสาชิงช้า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.แถลงถึงสถานการณ์น้ำในกรุงเทพฯว่า กทม.เตรียมจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมย่อยโดยใช้พื้นที่ศาลาประชาคมในเขตมีนบุรีตั้งเป็นศูนย์ให้ความช่วยเหลือประชาชนใน 4 เขตพื้นที่ตะวันออก ได้แก่ เขตลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก คลองสามวา ในวันที่ 11 ต.ค.นี้ เวลา 10.30 น. โดยมอบหมายให้นายทวีศักดิ์ เดชเดโช ปลัด กทม.เป็นผู้ดูแล ส่วนประชาชน 27 ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำได้เตรียมโรงเรียนฝึกอาชีพของกรุงเทพมหานคร 10 แห่งไว้รองรับ พร้อมจัดกำลังเจ้าหน้าที่รวมถึงนักสังคมสงเคราะห์คอยดูแล

    สถานการณ์น้ำจากนี้ กทม.อาจได้รับผลกระทบเพราะจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นระดับน้ำทะเลที่จะหนุนสูงและน้ำเหนือที่จะไหลผ่านลงมา ซึ่งจะจับตาเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมงในระหว่างวันที่ 16-18 ต.ค.เป็นต้นไป ส่วนในเรื่องของกระสอบทรายก็ยอมรับว่าเป็นปัญหาแต่มีประชาชนได้บริจาคทรายมาล่าสุดปริมาณ 1,200 คิว ซึ่งจะนำทรายจำนวนนี้นำไปช่วยเหลือประชาชน 4 เขตด้านฝั่งตะวันออก ยืนยันว่าวันนี้ยังสามารถบริหารจัดการน้ำได้ แต่กทม.ไม่ได้นิ่งนอนใจและประเมินสถานการณ์แบบวันต่อวัน

    ผู้ว่าฯกทม.กล่าวด้วยว่า กทม.ได้จัดทำเตรียมถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่างจังหวัด โดยขณะนี้มีถุงยังชีพทั้งสิ้น 13,192 ถุงและมีการแจกจ่ายให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในกรุงเทพมหานครแล้วจำนวน 8,992 ถุงและในพื้นที่ต่างจังหวัด 4,200 ถุงซึ่งมีการจัดเตรียมไว้แจกจ่ายเพิ่มเติมอีก 10,000 ถุง หากประชาชนที่ต้องการจะบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ยังคงสามารถบริจาคได้ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. และ 50 สำนักงานเขต

    ขณะนี้มีคนใช้เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์กันมาก เป็นคำถามที่ตนตอบไม่ได้ว่าจะท่วมที่ไหนบ้าง แต่ขณะนี้ขอยืนยันกทม.ยังยันอยู่หากช่วงวันที่ 16 - 18 ต.ค. หากมีน้ำเหนือไหลลงมาเพิ่ม บวกกับน้ำทะเลหนุน หรือฝนตกลงมา กทม.จะต้องสู้เป็นพิเศษ นอกจากนี้ กทม.ได้ประสานงานกับชลประทาน กับรัฐบาลอย่างใกล้ชิด โดยส่งเจ้าหน้าที่ประจำที่ศปภ.ดอนเมือง เพื่อประสานข้อมูลอยู่ตลอดเวลา



     
  20. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    คนกรุงตื่นน้ำท่วมแห่ขนทรายหมดเกลี้ยง

    10 ต.ค. 54 14.04 น. sanook news

    [​IMG]

    บรรยากาศล่าสุด ณ ขณะนี้ บริเวณสำนักงานเขตหนองจอก ชาวบ้านนับ 100 ได้แห่มายื่นคำร้องขอรับกระสอบทราย พร้อมกับ ช่วยกันนำทรายบรรจุใส่กระสอบ เพื่อนำไปทำคันกั้นน้ำโดยรอบที่พักอาศัย นายสุเทพ มาสุริยะ ชาวบ้านริมคลองแสนแสบ เขตหนองจอก เล่าว่า เมื่อคืนที่ผ่านมาได้มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำในคลองเริ่มเอ่อเข้าท่วมชั้น 1 ของบ้านตน พร้อมด้วยภรรยาและลูกจึงได้มาขอรับกระสอบทรายจากเขตเพื่อไปทำคันกั้นน้ำบรรเทาความเดือดร้อน ด้านเจ้าหน้าที่เขต กล่าวว่า ในวันนี้ได้มีการนำทรายมาลงไว้กว่า 10 คันรถแล้ว แต่ก็ยังไม่พอต่อความต้องการของชาวบ้าน เนื่องจากในปีนี้ 8 แขวง ในเขตหนองจอก ประกอบด้วย แขวงคู้ฝั่งเหนือ กระทุ่มลาย หนองจอก ลำต้อยติ่ง คลอง 10 ลำผักชี โคกแฝด และ คลอง 12 ประสบกับปัญหาน้ำท่วมทั้งหมด
     

แชร์หน้านี้

Loading...